บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันพฤหัสบดีที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2554

คิดดีแล้วหรือ

  papa05:

ม.ร.ว.จัตุมงคล โสณกุล ประธานคณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวถึงกรณีที่ นายพิชัย นริพทะพันธุ์ รมว.พลังงาน มีแนวคิดที่จะนำเงินส่วนหนึ่งของทุนสำรองทางการระหว่างประเทศ ไปลงทุนในบ่อน้ำมัน หรือซื้อน้ำมันสำรองว่า หลังจากที่ได้หารือกันในภายใน ธปท.แล้ว พบว่า แนวคิดการจัดตั้งกองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติ (Sovereign Wealth Fund) ของ ธปท.ยังไม่สามารถตกลงกันได้ และในช่วงที่เศรษฐกิจโลกมีโอกาสกลับเข้าสู่วิกฤติอีกครั้ง ซึ่งในหลักการแล้วเงินสำรองระหว่างประเทศ ควรจะใช้เพื่อรองรับความผันผวน และสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงในต่างประเทศ ซึ่งจะกระทบต่อการไหลเข้าออกของเงินทุน และค่าเงินบาทของไทยมากกว่า

“รัฐบาล มีนโยบายอะไรก็ทำไป แต่ภาวะเช่นนี้ทุนสำรองต้องใช้ดูแลเรื่องระหว่างประเทศ ไม่แน่ใจว่ารัฐบาลนี้ใช้วิธีบริหารจัดการแบบรวมทั้งหมดหรือไม่ แต่ประเพณีที่ผ่านมาไม่ใช่อย่างนั้น ไม่อยากให้ปัญหาหรือนโยบายที่ใช้ในประเทศ ไปกระทบฐานะต่างประเทศของไทย และการลงทุนในน้ำมันเป็นเรื่องเสี่ยง โดยเฉพาะบ่อน้ำมัน เพราะการนำทุนสำรองไปลงทุนอะไร ต้องเน้นที่ความมั่นคงเป็นหลัก และต้องมีสภาพคล่องสูงในการแปลงเป็นเงินสด”

 

  ตัวเลขทุนสำรองทางการฯล่าสุด ณ 5 ส.ค.54 ธปท.มีทุนสำรองทางการระหว่างประเทศ 186,700 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือ 5,589,300 ล้านบาท โดยมีฐานะซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าสุทธิ 26,600 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือ 11 เท่าของการส่งออกรวมของประเทศ ทั้งนี้ ช่วงรัฐบาลก่อน มีแนวคิดต้องการให้งบดุล ธปท. กลับมามีผลกำไร หลังขาดทุนหนัก จากการเข้าแทรกแซงเพื่อลดการแข็งค่าของเงินบาท เพื่อจะได้มีเงินส่งคืนคลังเพื่อชำระหนี้เงินต้นของกองทุนฟื้นฟูฯ ที่ค้างชำระอยู่ 1.14 ล้านล้านบาท โดยมองว่า ทุนสำรองทางการฯซึ่งมีจำนวนมาก ยังลงทุนในสินทรัพย์ที่ได้ผลตอบแทนต่ำ จึงต้องการให้ ธปท.ลงทุนในสินทรัพย์ที่หลากหลายขึ้น หรือตัดเงินบางส่วนออกมาตั้งเป็นกองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติ เพื่อลงทุนในสินทรัพย์ที่ได้ผลตอบแทนมากขึ้น เช่น หุ้นหรือพันธบัตรรัฐบาลที่ต่ำกว่าอันดับความน่าเชื่อถือ AAA เป็น

    [Vnjvq55] [Vnjvq55] [Vnjvq55]รูนะว่าจะเอาเงินสำรองไปถลุงเล่น    สนองตัณหาใครบางกลุ่มแล้วแบ่งกันกิน

  รู้ๆๆอยู่ว่าใครอยู่เบื้องหลัง ปตท.ถ้าทำจริงชาติล่มจม  นักธุรกิจรวยอู้ฟู้  เรื่องแบบนี้ถนัดนัก

     ทักษิณ เป็นเจ้าของ ปตท. ซึ่งมีความพร้อมในเรื่องทั้งขุดเจาะ จัดจำหน่าย ดังนั้นปตท จะเป็นกลไกสำคัญที่จะช่วยให้ธุรกิจพลังงานในเขมร เป็นจริง โดยมีเครือข่ายธุรกิจพลังงานของ อัล ฟาเยด ร่วมเป็นกองหนุน

ถ้า เลือกได้ เป้าหมายทำสัญญาให้เช่าเกาะกงของทักษิณกับเขมร ที่มีรัฐบาลฮุนเซนเป็นคู่สัญญา หาใช่ทำในนามรัฐต่อรัฐ แต่เป็นการทำในนาม “นิติบุคคล” โดยที่เกาะกงจะได้รับเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ ซึ่งได้รับการยกเว้นภาษี ซึ่งรายได้ไม่ต้องเข้ารัฐบาลกัมพูชา และเป็นเขตปกครองพิเศษ นอกเหนืออธิปไตย

แน่นอนว่าสิ่งที่ทักษิณต้อง การมากที่สุดคือ การสร้างระบอบ “การเมือง” ใหม่ เป็นประชาธิปไตยแบบตัวแทน ที่เรียกว่า ระบอบทักษิณ โดยอ้างถึงระบอบประชาธิปไตยแบบตัวแทน ที่ใครมีเงินก็เล่นการเมืองได้
   
  อันนี้เป็นข้อมูลเก่า แต่ก็คงจะเป็นจริงถ้าทำสำเร็จ

    อะไรจะเกิดขึ้น หากทักษิณสามารถนำบริษัทเข้าไปลงทุนในเขมร ?

โมฮัมหมัด อัล ฟาเยด - เพื่อนซี้ “ทักษิณ” ร่วมก๊วน “เทมาเส็ก” แนบแน่น “ปตท.”

เมื่อ ย้อนกลับไปดูประวัติศาสตร์ขุดเจาะน้ำมันของไทย จะพบว่ามหาเศรษฐีห้างสรรพสินค้าแฮร์รอดส์ (Harrods) โมฮัมหมัด อัล ฟาเยด (Mohamed Al Fayed) เพื่อนเลิฟของอดีตนายก “ทักษิณ” เข้ามาได้ประโยชน์จากธุรกิจน้ำมันในไทยมานาน ผ่าน ปตท.สผ. บริษัทลูก ปตท. ก่อนที่ปตท. จะเข้าตลาดหุ้นเมื่อปี 2544
โดย Asian Economic News และนิตยสาร Offshore ลงข่าวพร้อมเพรียงกันในช่วงธันวาคม 2542 ว่าหลังจากโมฮัมหมัด อัล ฟาเยดจัดตั้งบริษัท แฮร์รอดส์ เอ็นเนอร์ยี่ (Harrods Energy) ก็ได้สิทธิสำรวจน้ำมันใน 4 แปลงขุดเจาะในอ่าวไทย คือ B2/38, B11/32, B11/38 และ B12/32. ห่างจากชายฝั่งระยอง 150 กิโลเมตร โดยมีศักยภาพในการขุดเจาะน้ำมันวันละ 8,000 บาร์เรล ซึ่งในการสำรวจขุดเจาะครั้งนั้น Harrods Energy ถือหุ้น 50% ในการลงทุนสำรวจขณะที่ ปตท.สผ. ถือหุ้น 50%ที่เหลือ

จากการสืบค้น ข้อมูลของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ พบว่า บริษัท แฮร์รอดส์ เอ็นเนอร์ยี่ จดทะเบียนในเมืองไทยเมื่อ 22 พฤษภาคม 2541 ใช้ชื่อเป็นทางการว่า แฮร์รอดส์ เอ็นเนอร์ยี่ (ประเทศไทย) ต่อมาเปลี่ยนชื่อจนไม่เหลือคราบเดิม เป็นเพิร์ล ออย (Pearl Oil) (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมในรายชื่อผู้ถือหุ้น) เมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2547 เพราะถูกขายให้กับบริษัท Pearl Energy Pte. Ltd. ที่มีฐานอยู่ในสิงคโปร์ สิ่งที่น่าสนใจอย่างยิ่งคือเมื่อสืบสาวต้นทางจะพบกลุ่มทุนเทมาเส็ก (Temasek) แห่งสิงคโปร์ถือหุ้นบริษัทดังกล่าวผ่านทาง Mubadala Development (ข้อมูลจาก Business Week และ RGE Monitor) ซึ่ง “เทมาเส็ก” มีความสัมพันธ์แนบแน่นกับ “ทักษิณ” และคือบริษัทที่ซื้อหุ้นในชินคอร์ป จากครอบครัว ”ทักษิณ” ด้วยมูลค่ากว่า 73,000 ล้านบาท



  เมื่อสังคมเริ่มจับตามองอย่างจริงจังในจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการ เมืองแล้ว สังคมควรจับตาในจริยธรรม และความมีธรรมาภิบาลขององค์กรที่รัฐถือหุ้นใหญ่ในตลาดหลักทรัพย์ด้วย ตัวอย่างเช่น บริษัท ปตท.ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจกึ่งบริษัทเอกชนมหาชน ที่มีผลประกอบการดีเยี่ยมติดต่อกันมาตลอด จนได้รับรางวัลรัฐวิสาหกิจดีเด่น และยังได้รับการจัดอันดับจากสถาบันในต่างประเทศ เป็นบริษัทติดอันดับหนึ่งในสิบในอาเซียน

แต่น่าแปลกที่กลับไม่มีใคร ตั้งคำถามต่อบริษัท ปตท.ว่า เหตุใดบริษัทจึงไปตั้งบริษัทลูกบนเกาะเคย์แมน (CAYMAN ISLANDS) อันเป็นเกาะฟอกเงินในกลุ่มเดียวกับเกาะบริติช เวอร์จิน ที่สำคัญคือ การลงทุนของบริษัทลูกของ ปตท.บนเกาะเคย์แมน สูญเงินไปมากกว่า 6,000 ล้านบาท ในระยะเวลาสั้นๆ แต่กลับไม่ถูกนำมาประเมินผลการประกอบกิจการของบริษัท แม้แต่กระทรวงการคลัง ที่เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ใน ปตท.เกินกว่า 50% ก็มิได้มีปฏิกิริยาต่อการลงทุนอันสูญเปล่านี้แต่ประการใด

บริษัท ปตท.ซึ่งมีสถานะทางด้านงบประมาณเป็นรัฐวิสาหกิจ ได้จัดตั้งบริษัท PTT INTERNATIONAL TRADING ขึ้นที่เกาะเคย์แมนเมื่อปี 2545 ในสมัยรัฐบาลของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร โดยมีนายวิเศษ จูภิบาล เป็นผู้บริหารสูงสุดของ ปตท.ในขณะนั้น การจัดตั้งบริษัทลูกบนเกาะเคย์แมน ใช้เงินลงทุน 4,067.50 ล้านบาท และในปีเดียวกัน ในงบการเงินรวมของบริษัท ปตท.พบว่าผลประกอบการขาดทุนเหลือเงินทุนเพียง 150,000 บาท ซึ่งเท่ากับขาดทุนไปถึง 4,067.35 ล้านบาท ภายในเวลา 1 ปี และบริษัทนี้ในเกาะเคย์แมนก็ถูกปิดไปในปี 2546 ส่วนนายวิเศษ จูภิบาล ได้รับการแต่งตั้งให้ได้เป็นรัฐมนตรีกระทรวงพลังงานในรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร

นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ ได้เป็นผู้บริหารสูงสุดของ ปตท.ต่อจากนายวิเศษ จูภิบาล ก็ได้จัดตั้งบริษัทที่เกาะเคย์แมนขึ้นมาใหม่ ในปี 2547 ชื่อบริษัท SUBLIC BAY ENERGY บริษัทใหม่นี้ขาดทุน 439.71 ล้านบาท ในปี 2547 และขาดทุนอีก 1,016.57 ล้านบาท ในปี 2548 ตามงบการเงินบริษัท ปตท.ระบุว่า เป็นการขาดทุนที่เกินกว่าเงินลงทุนทั้ง 2 ปี

  มีเงินมากแต่บริหารห่วยแตก แบบนี้น่าลงทุนใหมพ่น้อง 

เป็นข่าวที่สร้างความฮือฮามาโดยตลอด เมื่อ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) หรือยักษ์ใหญ่ทางด้านพลังงานที่ครองส่วนแบ่งตลาดมากที่สุด ได้เปิดเผยตัวเลขผลกำไรนับ 100,000 ล้านบาทต่อปี แถมผู้บริหารระดับสูงของ ปตท. ประกาศเปรี้ยงว่า จะผลักดันให้ ปตท. เติบโตขึ้นทำเนียบ 100 บริษัทชั้นนำของโลกในเวลาอันใกล้นี้**
แต่เชื่อหรือไม่ว่า ภาพความสำเร็จของ ปตท. ที่ปรากฏแก่สาธารณะ ที่ทำให้ผู้บริหารและนักการเมืองขาใหญ่ที่ติดบ่วงบ้านเลขที่ 111 ซึ่งขณะนี้มีบทบาทสูงมากใน ปตท .และธุรกิจพลังงาน ต่างออกมาการันตีความโปร่งใสและบริหารงานยึดหลักธรรมาภิบาลนั้น นับว่ายังเป็นข้อกังขาของผู้ที่เกี่ยวข้องในแวดวงพลังงาน เพราะเบื้องหลังความสำเร็จอันสวยหรูของยักษ์ ปตท. ยังมีอะไรที่ไม่ชอบมาพลกลแต่กลับ  **“ซุกไว้ใต้พรม”** จำนวนมาก
ทั้งนี้ เป็นเพราะหลายเหตุผล ไล่เรียงตั้งแต่หลังจากที่ กระทรวงการคลัง ในยุครัฐบาลนายใหญ่ครอบงำ ได้ส่งบริวารประกอบด้วย **“ปตท.-ธนาคารออมสิน-กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.)-กองทุนวายุภักษ์ 1” เข้ายึดทีพีไอ ซึ่งเป็นกิจการของเอกชน ได้กลายเป็นจุดเริ่มต้นของ “การขัดหลักธรรมาภิบาลและความโปร่งใส”** รวมถึงได้มีการเปิดช่องทุจริตกันอย่างโจ่งครึ่มใน ปตท.

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

รีโมท ซื้อ รีโมท จากผู้ค้าส่งโดยตรง ที่มีหน้าร้านจริง ที่ บ้านหม้อ และ คลองถม ราคาถูกกว่าใคร ปลอดภัย มีรับประกัน

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

บทความย้อนหลัง