ตกเป็นข่าวใหญ่ไม่แพ้น้ำท่วม แต่คนละความหมาย คนละอารมณ์ คนละความรู้สึก เรื่องที่คณะรัฐมนตรี (ครม.)
เมื่อ 15 พฤศจิกายน 2554 ซุ่มพิจารณา "วาระจรลับ" เกี่ยวกับพระราชกฤษฎีกา (พ.ร.ฎ.) พระราชทานอภัยโทษ พ.ศ. ....
เขาว่ากันว่า เป็นการกำหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับคุณสมบัติของนักโทษที่จะเข้าข่ายได้รับพระราชทานอภัยโทษในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 84 พรรษา 5 ธันวาคม 2554
ซ้ำร้ายเนื้อหาของ พ.ร.ฎ. ได้กำหนดคุณสมบัติของผู้ที่ได้รับพระราชทานอภัยโทษ ต้องเป็นผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี แถมมีการตัดคำแนบท้ายของ พ.ร.ฎ.อภัยโทษ พ.ศ. 2553 ที่มีเนื้อหาระบุว่า ผู้ที่เข้าข่ายได้รับอภัยโทษ ต้องเป็นโทษที่ไม่เกี่ยวกับยาเสพติด และไม่เกี่ยวกับการทุจริตคอร์รัปชันออก นี่เป็นเนื้อหาสาระที่สื่อนำมาเผยแพร่กันสนั่นเมือง
หากเรื่องที่ว่าทั้งหมดเป็นจริง จะไปเอื้อให้ คุณทักษิณ ชินวัตร อยู่ในเกณฑ์ที่ว่าด้วยหรือไม่? สังคมไทยพิจารณากันเอาเอง ที่สำคัญต้องพิจารณาให้ถ่องแท้ว่า เรื่องนี้สำคัญมากน้อยแค่ไหน หากเทียบกับวิกฤติน้ำท่วมที่พี่น้องประชาชนกำลังได้รับความเดือดร้อนอยู่ในเวลานี้...
สิ่งที่น่าคิด การประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2554 มัน "กลับตาลปัตร" คนที่ควรจะอยู่ในที่ประชุม แต่กลับไม่อยู่ อย่าง นายกฯ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร รองนายกฯ ยงยุทธ วิชัยดิษฐ ซึ่งจะไม่อยู่ด้วยความบริสุทธิ์ใจหรือไม่ นายกฯ เท่านั้น ที่ควรจะมีคำตอบ
สิ่งที่เกิดขึ้น ถามว่า นายกฯ จะปฏิเสธความรับผิดชอบ ไม่รู้ไม่เห็นได้หรือไม่? ในฐานะผู้ที่มีอำนาจสูงสุดในคณะรัฐมนตรี ยิ่งเป็นวาระจรด้วยซ้ำ นายกฯ จะไม่รับรู้เลยหรือ
ปกติการเสนอวาระจรเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายกฯ ก็ไม่ได้ให้เสนอเข้าได้ง่ายๆ ไม่ใช่หรือ? ทุกเรื่องที่เข้าคณะรัฐมนตรี นายกฯ ต้องเซ็นรับทราบก่อนหรือไม่?
ตามกฎระเบียบราชการเวลาจะเสนอเรื่องเข้าคณะรัฐมนตรี กระทรวงต้นสังกัดต้องทำเรื่องเสนอไปยังสำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เพื่อให้เลขาธิการคณะรัฐมนตรีพิจารณาข้อกฎหมายและความถูกต้อง เมื่อพิจารณาเสร็จต้องส่งกลับไปให้รองนายกฯ ที่รับผิดชอบในสายงานของตัวเองลงนาม สุดท้ายเอกสารก็ต้องกลับมาที่เลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง เพื่อบรรจุเป็นวาระเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี
เป็นปกติที่ทุกเรื่องก่อนจะบรรจุเป็นวาระเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เลขาธิการคณะรัฐมนตรี ต้องเสนอเรื่องให้นายกฯ พิจารณา หรือรับทราบ เรียกว่า "นายกฯ ก็ต้องรับรู้ทุกเรื่อง"
เช่นเดียวกับเรื่องพระราชกฤษฎีกา (พ.ร.ฎ.) พระราชทานอภัยโทษ พ.ศ. ....ที่เจ้าของเรื่องอย่าง กระทรวงยุติธรรม แม้จะเป็นวาระจรลับ เรื่องนี้ก็ต้องแจ้งเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เพื่อทำบันทึกว่าเป็นเรื่องเร่งด่วน เห็นสมควรเสนอเป็นวาระจร นายกฯ เองก็ต้องเห็นชอบ ฉะนั้นเรื่องนี้ทั้งนายกฯ และเลขาธิการคณะรัฐมนตรี จะไม่รู้เลยหรือ
ฉะนั้น แม้ว่า นายกฯ จะไม่อยู่ร่วมประชุมคณะรัฐมนตรี แต่เป็นเรื่องสำคัญ ยังไงเสีย นายกฯ ก็ปฏิเสธความรับผิดชอบ ไม่รับ..ไม่รู้..ไม่ได้
แต่ถ้าเป็นเรื่องที่นายกฯ ไม่รู้เรื่องนี้มาก่อนจริงๆ น่าจะเป็นเรื่องของการบกพร่องการบริหารราชการแผ่นดินที่รองนายกฯ ปฏิบัติการเอง จะเป็นการ "สอดไส้" วาระหรือไม่ เรื่องนี้นายกฯ ต้องออกมาชี้แจงสังคมให้ได้
นายกฯ ลืมเรื่องนี้หรือยัง...เมื่อ 25 สิงหาคม 2554 อำพน กิตติอำพน บอกชัดเจนว่า นายกฯ ได้เสนอกฎระเบียบการเสนอเรื่องเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ควรเป็นไปตามพระราชกฤษฎีกา ว่าด้วยการเสนอเรื่องต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรีว่า วาระจร ต้องน้อยที่สุด เรื่องต่างๆ ที่เสนอต้องรอบคอบ เชื่อมโยงกับส่วนราชการต่างๆ หากเรื่องที่ไม่มีความเร่งด่วน "นายกฯ จะไม่ให้เสนอเป็นวาระจร เพื่อให้ ครม.นำไปพิจารณาก่อน"
ดังนั้น แม้การ พ.ร.ฎ. จะเป็นอำนาจของคณะรัฐมนตรีก็ตาม สำคัญยิ่ง ต้องเป็นเรื่องที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ ถูกกาลเทศะ ต้องเปิดเผย "ไม่ใช่งุบงิบทำกัน" อย่างที่เป็นอยู่ ถ้าจะงุบงิบ หรือไม่ต้องการให้สังคมรับรู้ มันน่าจะเป็นเรื่องของความมั่นคงประเทศ หรือวางแผนจะไปสู้รบกับประเทศใดก็อีกเรื่องหนึ่ง แต่สิ่งที่ทำไม่น่าจะใช่
สำหรับการอภัยโทษ ปกติก็มีการกระทำกันอย่างเปิดเผยอยู่แล้ว เป็นประเพณีปฏิบัติ เป็นการกระทำเพื่อสาธารณะ แต่ไม่ใช่เพื่อใครคนใดคนหนึ่ง นายกฯ ต้องออกมาชี้แจง อย่าปล่อยให้สังคมสับสนจนกลายเป็นวิกฤติรอบใหม่สำหรับประเทศไทยอีกเลย
ที่มา.กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
////////////////////////////////////////////////////////////////
วันพฤหัสบดีที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554
ชัด!ร่างพรฎ.อภัยโทษเอื้อ'แม้ว'
ชัด ร่าง พรฎ.อภัยโทษ ช่วย 'ทักษิณ' พบ 3 ประเด็น เปิดกว้างเพื่อนายใหญ่ จับตา 'ชลอ เกิดเทศ' คุณสมบัติครบ เข้าข่ายได้รับการปล่อยตัว ด้าน ปชป. ชี้ ผิดขั้นตอน ระบุ จะเป็นประวัติศาสตร์ชาติ รัฐปล่อยทุจริตลอยนวล
แหล่งข่าวจากกระทรวงยุติธรรม เปิดเผยถึงความผิดปกติในการยกร่าง ร่างพระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษ พ.ศ.2554 ว่า ตามปกติการยกร่างกฎหมายเกี่ยวกับการพระราชทานอภัยโทษในวโรกาสสำคัญต่างๆ จะกระทำในรูปแบบคณะกรรมการ มีส่วนงานที่เกี่ยวข้องร่วมยกร่างกฎหมายไม่ต่ำกว่า 20 คน
อย่างไรก็ตาม ในครั้งนี้ ภายหลังครม.แต่งตั้งพ.ต.อ.สุชาติ วงศ์อนันต์ชัย จากผู้ตรวจราชการกระทรวงไอซีที มาเป็นอธิบดีกรมราชทัณฑ์ ก็เริ่มมีการดำเนินการยกร่างกฎหมาย โดยกำหนดตัวบุคคลเข้าไปเกี่ยวข้องให้น้อยที่สุด แม้แต่นายชาติชาย สุทธิกลม รองปลัดกระทรวงยุติธรรม กำกับดูแลกรมราชทัณฑ์ ก็ไม่เห็นร่างกฎหมายดังกล่าวที่รายงานตรงถึงพล.ต.อ.ประชา พรหมนอก รมว.ยุติธรรม
แหล่งข่าวเปิดเผยด้วยว่า ร่าง พรฎ.พระราชทานอภัยโทษ ปี54 เป็นการยกร่างโดยคัดลอกมาจากพรฎ.พระราชทานอภัยโทษ ปี 53 แต่ขยายขอบเขตและหลักเกณฑ์เพื่อให้มีการปล่อยตัวผู้ต้องขังได้มากขึ้น เนื่องจากขณะนี้เรือนจำมีปัญหานักโทษล้นคุก จึงมีแนวคิดที่จะปล่อยตัวผู้ต้องขังคดีทั่วไป โทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี รวมถึงนักโทษชราและนักโทษที่ป่วยเรื้อรัง หรือป่วยระยะสุดท้าย ซึ่งการปล่อยตัวนักโทษครั้งนี้ จะจัดอย่างยิ่งใหญ่คล้ายกับสมัยที่พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกฯ โดยคาดว่า จะมีนักโทษได้รับการปล่อยตัวเกือบ 30,000 คน
สำหรับนักโทษคดีร้ายแรง ที่ประพฤติดีเป็นนักโทษชั้นดีและชั้นเยี่ยม จะได้รับการลดวันต้องโทษ เพื่อให้เข้าเกณฑ์ในการย้ายระบายไปยังเรือนจำจังหวัดต่างๆ ซึ่งคาดว่า จะเหลือนักโทษอยู่น้อยมาก
ทั้งนี้ นักโทษคดีสำคัญที่อาจอยู่ในข่ายได้รับการพระราชทานอภัยโทษ คือ พล.ต.ท.ชลอ เกิดเทศ จำเลยคดีอุ้มฆ่าสองแม่ลูกตระกูลศรีธนะขันฑ์ และคดีอมเพชรซาอุ เนื่องจากเป็นนักโทษชราอายุเกิน 70 ปีขึ้นไป ซึ่งต้องโทษจำคุกในเรือนจำนานหลายสิบปีจนมีคุณสมบัติเข้าหลักเกณฑ์ได้รับการ ปล่อยตัว
ในส่วนของนักการเมืองที่ต้องโทษคดีทุจริตแล้วหลบหนีไม่รับโทษตามคำพิพากษา อาทิ นายสมชาย คุณปลื้ม นายวัฒนา อัศวเหม ไม่อยู่ในข่ายได้รับการพระราชทานอภัยโทษเพราะโทษจำคุกเกิน 3 ปี เช่นเดียวกับแนวร่วมและแกนนำคนเสื้อแดงที่หลบหนีคดีไปต่างประเทศ ซึ่งไม่อยู่ในข่ายเช่นกันเพราะคดียังไม่มีคำพิพากษาถึงที่สุด
ทั้งนี้ ผู้ที่อยู่ในข่ายได้รับประโยชน์จากการเปิดกว้างอภัยโทษให้แก่ผู้ร้ายหลบหนี คำพิพากษาจำคุกไม่เกิน 3 ปี โดยใช้คำจำกัดความว่า "ผู้ต้องคำพิพากษาจำคุก" ซึ่งเพิ่มเติมจากเดิมที่ใช้เพียงคำว่าผู้ต้องราชทัณฑ์ จะเป็นประชาชนทั่วไปที่หลบหนีหลังก่อคดีไม่ร้ายแรง
พบ 3 ประเด็น เปิดกว้างเพื่อนายใหญ่
รายงานข่าวจากกระทรวงยุติธรรม เปิดเผยถึงการยกร่างพรฎ.พระราชทานอภัยโทษเนื่องในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 5 ธันวาคม ว่า ตามปกติกระบวนการยกร่างพ.ร.ฎ.จะดำเนินการขึ้นอย่างเป็นความลับ ซึ่งโดยปกติการเสนอเรื่องเกี่ยวกับการพระราชทานอภัยโทษเนื่องในวโรกาสสำคัญ มักกระทำขึ้นเป็นประจำทุกปี เพื่อให้นักโทษมีขวัญกำลังใจในการประพฤติตนเป็นคนดี และเลื่อนระดับจากนักโทษธรรมดาขึ้นเป็นนักโทษชั้นดี และนักโทษชั้นเยี่ยม ซึ่งจะส่งผลต่อการได้รับการลดหย่อนวันต้องโทษและการได้รับพระราชทานอภัยโทษ
อย่างไรก็ตาม ตามระเบียบปฏิบัติ รมว.ยุติธรรม จะเป็นผู้ทำเสนอเป็นวาระเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี เพื่อยกร่างพรฎ.พระราชทานอภัยโทษ จากนั้นเมื่อครม.มีมติเห็นชอบ ร่างพรฎ.จะถูกเสนอให้องคมนตรีพิจารณาตรวจทาน จากนั้น จึงจะนำขึ้นทูลเกล้าฯเพื่อลงพระปรมาภิไธย
ทั้งนี้ การพระราชทานอภัยโทษเป็นพระราชอำนาจ ดังนั้น ครม.จึงไม่สามารถกำหนดหรือกะเกณฑ์เนื้อหาภายในพรฎ.พระราชทานอภัยโทษได้
รายงานข่าวเปิดเผยด้วยว่า ประเด็นที่ต้องจับตาเป็นพิเศษคือ การยกร่างพรฎ.พระราชทานอภัยโทษครั้งนี้ ไม่ได้ดำเนินการโดยกระทรวงยุติธรรม แต่เป็นการประสานตรงระหว่าง ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี กำกับดูแลกระทรวงยุติธรรม กับพ.ต.อ.สุชาติ วงศ์อนันต์ชัย อธิบดีกรมราชทัณฑ์ พร้อมทีมนักกฎหมายเฉพาะกลุ่ม และเจาะจงนำเสนอเข้าสู่การพิจารณาของครม.ก่อนเดือนธันวาคม ซึ่งพอเหมาะพอดีกับช่วงวิกฤตน้ำท่วม
สำหรับ เนื้อหาของร่างพรฎ.พระราชทานอภัยโทษฉบับนี้ มีความแตกต่างจากพรฎ.พระราชทานอภัยโทษอื่นๆ ซึ่งเป็นการอภัยโทษให้กับผู้ต้องโทษคุมขังในเรือนจำ ที่กลับตัวกลับใจเป็นคนดี และรับโทษจำคุกมาแล้วเป็นเวลานาน 2 ใน 3 ของโทษจำคุกตามคำพิพากษา
รายงานข่าวเปิดเผยต่อว่า ร่างพรฎ.พระราชทานอภัยโทษ ฉบับ ล่าสุด มีความแตกต่างกับการพระราชทานอภัยโทษทั่วไป รวม 3 ประเด็น ประเด็นแรก คือ ร่างพรฎ.ฉบับนี้เป็นยกร่าง โดยเลือกใช้คำว่า อภัยโทษแก่ “ผู้ต้องคำพิพากษาจำคุก” ไม่ใช่ “นักโทษ” ที่ต้องโทษจำคุก จึงส่งผลดีต่อนักโทษในเรือนจำที่เหลือโทษจำคุกไม่ถึง 3 ปี และผู้ต้องหาที่หลบหนีความผิดตามคำพิพากษาลงโทษ
ประเด็นที่ 2 คือ การกำหนดหลักเกณฑ์ในการอภัยโทษแก่ผู้ต้องโทษตามคำพิพากษาที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปี ขึ้นไป ซึ่งต้องโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี ก็เป็นการขยายจากขอบเขตเดิม เนื่องจากในอดีตกรมราชทัณฑ์มองว่า คนอายุ 60 ปี ในปัจจุบันยังไม่เข้าสู่วัยชรา บางรายอาจยังสร้างความเดือดร้อนให้แก่สังคมภายนอกได้
ทั้งนี้ เดิมเคยวางหลักเกณฑ์ว่า จะต้องเป็นนักโทษอายุ 60 ปีขึ้นไป และเหลือโทษจำคุกไม่ถึง 1 ปี ต่อมารัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ได้ขยายหลักเกณฑ์ว่าจะต้องเหลือโทษจำคุกไม่ถึง 2 ปี และล่าสุดรัฐบาลพรรคเพื่อไทยขยายหลักเกณฑ์ออกเป็นคงเหลือโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี
และประเด็นที่ 3 เป็นการตัดทิ้งเงื่อนไข ความผิดที่ไม่สมควรได้รับการพระราชทานอภัยโทษ ใน คดีนโยบายต่างๆที่บ่อนทำลายความมั่นคงของชาติ เช่น คดียาเสพติด และคดีทุจริตคอร์รัปชั่น ซึ่งครม.ชุดนี้ได้ตัดทิ้งเนื้อหาในเงื่อนไขดังกล่าวออก เพื่อเปิดกว้างในการอภัยโทษให้กับผู้ต้องโทษทุกข้อหาความผิด
แหล่งข่าวจากกระทรวงยุติธรรม เปิดเผยว่า สำหรับเรือนจำชั่วคราวหลักสี่ หรือโรงเรียนพลตำรวจบางเขนเดิม ซึ่งก่อนหน้านี้ พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก รมว.ยุติธรรม ประกาศให้เป็นเรือนจำชั่วคราว เพื่อให้สำหรับคุมขังนักโทษคดีความมั่นคงนั้น จนถึงขณะนี้กรมราชทัณฑ์ยังไม่ได้เข้าไปปรับปรุงพื้นที่ เนื่องจากบริเวณดังกล่าวยังเป็นพื้นที่รับผิดชอบของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
ดังนั้น เชื่อว่า เมื่อมีการยกร่างพรฎ.พระราชทานอภัยโทษแก่ผู้ต้องคำพิพากษาจำคุกที่มีอายุ ตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป โดยต้องโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี จึงไม่มีความจำเป็นต้องเข้าไปปรับปรุงพื้นที่ เพื่อใช้เป็นสถานที่คุมขังพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เนื่องจากร่างพรฎ.เปิดกว้างแก่ผู้ต้องโทษที่หลบหนีไม่เข้ารับโทษตามคำ พิพากษาด้วย
ปชป. ชี้ ผิดขั้นตอน ระบุ จะเป็นประวัติศาสตร์ชาติ รัฐปล่อยทุจริตลอยนวล
นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค ส.ส.ประชาธิปัตย์ อดีตรมว.ยุติธรรม กล่าวว่า ถึงจะเป็นอำนาจ ครม. ที่สามารถออก พรฏ.ได้ก็จริง แต่ขอตั้งคำถามว่า ในกระบวนการครั้งนี้เป็นไปตามขั้นตอนหรือไม่
นายพีรพันธุ์ กล่าวว่าในการออกกฎหมายเกี่ยวกับการขอพระราชทานอภัยโทษ จะ ต้องเริ่มจากกรมราชทัณฑ์เป็นผู้ร่าง ส่งต่อให้รมว.ยุติธรรมนำเข้าที่ประชุมครม.พิจารณา และส่งให้คณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอความเห็น ก่อนตีกลับมายังครม.อีกครั้ง เพื่อทูลเกล้าถวายผ่านสำนักราชเลขาธิการ แต่ครั้งนี้กลับไม่เป็นเช่นนั้น เพราะมีการข้ามขั้นตอนโดยครม.เป็นผู้เสนอเลย ซึ่งน่าสงสัยว่ามีเหตุผลใดถึงต้องรีบร้อนขนาดนั้น
ส่วนกรณีที่ครม.มีการตัดหลักเกณฑ์ในพรฏ.โดยตัดในมาตาม 4 ซึ่งระบุถึงการที่ผู้ขอรับการอภัยโทษ ต้องอยู่ ในการควบคุมตัวของราชการ รวมถึงตัดบัญชีลักษณะความผิดแนบท้าย ในส่วนความผิดที่เกี่ยวกับการทุจริตคอร์รัปชั่น และคดียาเสพติดออก ถือเป็นครั้งแรกของประวัติศาสตร์การขออภัยโทษ เพราะโดยสามัญสำนึกแล้ว ความผิดเช่นนี้ ถือเป็นความผิดร้ายแรง จึงไม่อยู่ในขอบข่ายการขอพระราชทานอภัยโทษ
ทั้งนี้ การปรับเปลี่ยนหลักเกณฑ์ดังกล่าว รัฐบาลจึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ ที่จะเชื่อมโยงว่า เป็นความพยายามเพื่อบุคคลใดบุคคลหนึ่ง และประเด็นกังขาเหล่านี้ หากรัฐบาลกล้าทำ ก็ต้องกล้าตอบสังคมให้ชัดว่า มีเหตุผลอะไร
“การเปลี่ยนหลักเกณฑ์ครั้งนี้จะเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ ที่จะทำให้ผู้ต้องหาในคดีคอร์รัปชั่นได้รับการอภัยโทษ ซึ่ง จะรวมถึงกรณีของนายวัฒนา อัศวเหม ที่กำลังหลบหนีอยู่ด้วย เมื่อรัฐบาลทำถึงขั้นนี้แล้วก็คงหยุดยาก จากนี้ไปคงขึ้นอยู่กับสำนักราชเลขาธิการที่จะนำเรื่องเข้าที่ประชุมองคมนตรี พิจารณาว่า มีความเห็นต่อกรณีดังกล่าวอย่างไร ” นายพีระพันธุ์ กล่าว
คมชัดลึก
อย่างไรก็ตาม ในครั้งนี้ ภายหลังครม.แต่งตั้งพ.ต.อ.สุชาติ วงศ์อนันต์ชัย จากผู้ตรวจราชการกระทรวงไอซีที มาเป็นอธิบดีกรมราชทัณฑ์ ก็เริ่มมีการดำเนินการยกร่างกฎหมาย โดยกำหนดตัวบุคคลเข้าไปเกี่ยวข้องให้น้อยที่สุด แม้แต่นายชาติชาย สุทธิกลม รองปลัดกระทรวงยุติธรรม กำกับดูแลกรมราชทัณฑ์ ก็ไม่เห็นร่างกฎหมายดังกล่าวที่รายงานตรงถึงพล.ต.อ.ประชา พรหมนอก รมว.ยุติธรรม
แหล่งข่าวเปิดเผยด้วยว่า ร่าง พรฎ.พระราชทานอภัยโทษ ปี54 เป็นการยกร่างโดยคัดลอกมาจากพรฎ.พระราชทานอภัยโทษ ปี 53 แต่ขยายขอบเขตและหลักเกณฑ์เพื่อให้มีการปล่อยตัวผู้ต้องขังได้มากขึ้น เนื่องจากขณะนี้เรือนจำมีปัญหานักโทษล้นคุก จึงมีแนวคิดที่จะปล่อยตัวผู้ต้องขังคดีทั่วไป โทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี รวมถึงนักโทษชราและนักโทษที่ป่วยเรื้อรัง หรือป่วยระยะสุดท้าย ซึ่งการปล่อยตัวนักโทษครั้งนี้ จะจัดอย่างยิ่งใหญ่คล้ายกับสมัยที่พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกฯ โดยคาดว่า จะมีนักโทษได้รับการปล่อยตัวเกือบ 30,000 คน
สำหรับนักโทษคดีร้ายแรง ที่ประพฤติดีเป็นนักโทษชั้นดีและชั้นเยี่ยม จะได้รับการลดวันต้องโทษ เพื่อให้เข้าเกณฑ์ในการย้ายระบายไปยังเรือนจำจังหวัดต่างๆ ซึ่งคาดว่า จะเหลือนักโทษอยู่น้อยมาก
ทั้งนี้ นักโทษคดีสำคัญที่อาจอยู่ในข่ายได้รับการพระราชทานอภัยโทษ คือ พล.ต.ท.ชลอ เกิดเทศ จำเลยคดีอุ้มฆ่าสองแม่ลูกตระกูลศรีธนะขันฑ์ และคดีอมเพชรซาอุ เนื่องจากเป็นนักโทษชราอายุเกิน 70 ปีขึ้นไป ซึ่งต้องโทษจำคุกในเรือนจำนานหลายสิบปีจนมีคุณสมบัติเข้าหลักเกณฑ์ได้รับการ ปล่อยตัว
ในส่วนของนักการเมืองที่ต้องโทษคดีทุจริตแล้วหลบหนีไม่รับโทษตามคำพิพากษา อาทิ นายสมชาย คุณปลื้ม นายวัฒนา อัศวเหม ไม่อยู่ในข่ายได้รับการพระราชทานอภัยโทษเพราะโทษจำคุกเกิน 3 ปี เช่นเดียวกับแนวร่วมและแกนนำคนเสื้อแดงที่หลบหนีคดีไปต่างประเทศ ซึ่งไม่อยู่ในข่ายเช่นกันเพราะคดียังไม่มีคำพิพากษาถึงที่สุด
ทั้งนี้ ผู้ที่อยู่ในข่ายได้รับประโยชน์จากการเปิดกว้างอภัยโทษให้แก่ผู้ร้ายหลบหนี คำพิพากษาจำคุกไม่เกิน 3 ปี โดยใช้คำจำกัดความว่า "ผู้ต้องคำพิพากษาจำคุก" ซึ่งเพิ่มเติมจากเดิมที่ใช้เพียงคำว่าผู้ต้องราชทัณฑ์ จะเป็นประชาชนทั่วไปที่หลบหนีหลังก่อคดีไม่ร้ายแรง
พบ 3 ประเด็น เปิดกว้างเพื่อนายใหญ่
รายงานข่าวจากกระทรวงยุติธรรม เปิดเผยถึงการยกร่างพรฎ.พระราชทานอภัยโทษเนื่องในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 5 ธันวาคม ว่า ตามปกติกระบวนการยกร่างพ.ร.ฎ.จะดำเนินการขึ้นอย่างเป็นความลับ ซึ่งโดยปกติการเสนอเรื่องเกี่ยวกับการพระราชทานอภัยโทษเนื่องในวโรกาสสำคัญ มักกระทำขึ้นเป็นประจำทุกปี เพื่อให้นักโทษมีขวัญกำลังใจในการประพฤติตนเป็นคนดี และเลื่อนระดับจากนักโทษธรรมดาขึ้นเป็นนักโทษชั้นดี และนักโทษชั้นเยี่ยม ซึ่งจะส่งผลต่อการได้รับการลดหย่อนวันต้องโทษและการได้รับพระราชทานอภัยโทษ
อย่างไรก็ตาม ตามระเบียบปฏิบัติ รมว.ยุติธรรม จะเป็นผู้ทำเสนอเป็นวาระเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี เพื่อยกร่างพรฎ.พระราชทานอภัยโทษ จากนั้นเมื่อครม.มีมติเห็นชอบ ร่างพรฎ.จะถูกเสนอให้องคมนตรีพิจารณาตรวจทาน จากนั้น จึงจะนำขึ้นทูลเกล้าฯเพื่อลงพระปรมาภิไธย
ทั้งนี้ การพระราชทานอภัยโทษเป็นพระราชอำนาจ ดังนั้น ครม.จึงไม่สามารถกำหนดหรือกะเกณฑ์เนื้อหาภายในพรฎ.พระราชทานอภัยโทษได้
รายงานข่าวเปิดเผยด้วยว่า ประเด็นที่ต้องจับตาเป็นพิเศษคือ การยกร่างพรฎ.พระราชทานอภัยโทษครั้งนี้ ไม่ได้ดำเนินการโดยกระทรวงยุติธรรม แต่เป็นการประสานตรงระหว่าง ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี กำกับดูแลกระทรวงยุติธรรม กับพ.ต.อ.สุชาติ วงศ์อนันต์ชัย อธิบดีกรมราชทัณฑ์ พร้อมทีมนักกฎหมายเฉพาะกลุ่ม และเจาะจงนำเสนอเข้าสู่การพิจารณาของครม.ก่อนเดือนธันวาคม ซึ่งพอเหมาะพอดีกับช่วงวิกฤตน้ำท่วม
สำหรับ เนื้อหาของร่างพรฎ.พระราชทานอภัยโทษฉบับนี้ มีความแตกต่างจากพรฎ.พระราชทานอภัยโทษอื่นๆ ซึ่งเป็นการอภัยโทษให้กับผู้ต้องโทษคุมขังในเรือนจำ ที่กลับตัวกลับใจเป็นคนดี และรับโทษจำคุกมาแล้วเป็นเวลานาน 2 ใน 3 ของโทษจำคุกตามคำพิพากษา
รายงานข่าวเปิดเผยต่อว่า ร่างพรฎ.พระราชทานอภัยโทษ ฉบับ ล่าสุด มีความแตกต่างกับการพระราชทานอภัยโทษทั่วไป รวม 3 ประเด็น ประเด็นแรก คือ ร่างพรฎ.ฉบับนี้เป็นยกร่าง โดยเลือกใช้คำว่า อภัยโทษแก่ “ผู้ต้องคำพิพากษาจำคุก” ไม่ใช่ “นักโทษ” ที่ต้องโทษจำคุก จึงส่งผลดีต่อนักโทษในเรือนจำที่เหลือโทษจำคุกไม่ถึง 3 ปี และผู้ต้องหาที่หลบหนีความผิดตามคำพิพากษาลงโทษ
ประเด็นที่ 2 คือ การกำหนดหลักเกณฑ์ในการอภัยโทษแก่ผู้ต้องโทษตามคำพิพากษาที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปี ขึ้นไป ซึ่งต้องโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี ก็เป็นการขยายจากขอบเขตเดิม เนื่องจากในอดีตกรมราชทัณฑ์มองว่า คนอายุ 60 ปี ในปัจจุบันยังไม่เข้าสู่วัยชรา บางรายอาจยังสร้างความเดือดร้อนให้แก่สังคมภายนอกได้
ทั้งนี้ เดิมเคยวางหลักเกณฑ์ว่า จะต้องเป็นนักโทษอายุ 60 ปีขึ้นไป และเหลือโทษจำคุกไม่ถึง 1 ปี ต่อมารัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ได้ขยายหลักเกณฑ์ว่าจะต้องเหลือโทษจำคุกไม่ถึง 2 ปี และล่าสุดรัฐบาลพรรคเพื่อไทยขยายหลักเกณฑ์ออกเป็นคงเหลือโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี
และประเด็นที่ 3 เป็นการตัดทิ้งเงื่อนไข ความผิดที่ไม่สมควรได้รับการพระราชทานอภัยโทษ ใน คดีนโยบายต่างๆที่บ่อนทำลายความมั่นคงของชาติ เช่น คดียาเสพติด และคดีทุจริตคอร์รัปชั่น ซึ่งครม.ชุดนี้ได้ตัดทิ้งเนื้อหาในเงื่อนไขดังกล่าวออก เพื่อเปิดกว้างในการอภัยโทษให้กับผู้ต้องโทษทุกข้อหาความผิด
แหล่งข่าวจากกระทรวงยุติธรรม เปิดเผยว่า สำหรับเรือนจำชั่วคราวหลักสี่ หรือโรงเรียนพลตำรวจบางเขนเดิม ซึ่งก่อนหน้านี้ พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก รมว.ยุติธรรม ประกาศให้เป็นเรือนจำชั่วคราว เพื่อให้สำหรับคุมขังนักโทษคดีความมั่นคงนั้น จนถึงขณะนี้กรมราชทัณฑ์ยังไม่ได้เข้าไปปรับปรุงพื้นที่ เนื่องจากบริเวณดังกล่าวยังเป็นพื้นที่รับผิดชอบของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
ดังนั้น เชื่อว่า เมื่อมีการยกร่างพรฎ.พระราชทานอภัยโทษแก่ผู้ต้องคำพิพากษาจำคุกที่มีอายุ ตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป โดยต้องโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี จึงไม่มีความจำเป็นต้องเข้าไปปรับปรุงพื้นที่ เพื่อใช้เป็นสถานที่คุมขังพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เนื่องจากร่างพรฎ.เปิดกว้างแก่ผู้ต้องโทษที่หลบหนีไม่เข้ารับโทษตามคำ พิพากษาด้วย
ปชป. ชี้ ผิดขั้นตอน ระบุ จะเป็นประวัติศาสตร์ชาติ รัฐปล่อยทุจริตลอยนวล
นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค ส.ส.ประชาธิปัตย์ อดีตรมว.ยุติธรรม กล่าวว่า ถึงจะเป็นอำนาจ ครม. ที่สามารถออก พรฏ.ได้ก็จริง แต่ขอตั้งคำถามว่า ในกระบวนการครั้งนี้เป็นไปตามขั้นตอนหรือไม่
นายพีรพันธุ์ กล่าวว่าในการออกกฎหมายเกี่ยวกับการขอพระราชทานอภัยโทษ จะ ต้องเริ่มจากกรมราชทัณฑ์เป็นผู้ร่าง ส่งต่อให้รมว.ยุติธรรมนำเข้าที่ประชุมครม.พิจารณา และส่งให้คณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอความเห็น ก่อนตีกลับมายังครม.อีกครั้ง เพื่อทูลเกล้าถวายผ่านสำนักราชเลขาธิการ แต่ครั้งนี้กลับไม่เป็นเช่นนั้น เพราะมีการข้ามขั้นตอนโดยครม.เป็นผู้เสนอเลย ซึ่งน่าสงสัยว่ามีเหตุผลใดถึงต้องรีบร้อนขนาดนั้น
ส่วนกรณีที่ครม.มีการตัดหลักเกณฑ์ในพรฏ.โดยตัดในมาตาม 4 ซึ่งระบุถึงการที่ผู้ขอรับการอภัยโทษ ต้องอยู่ ในการควบคุมตัวของราชการ รวมถึงตัดบัญชีลักษณะความผิดแนบท้าย ในส่วนความผิดที่เกี่ยวกับการทุจริตคอร์รัปชั่น และคดียาเสพติดออก ถือเป็นครั้งแรกของประวัติศาสตร์การขออภัยโทษ เพราะโดยสามัญสำนึกแล้ว ความผิดเช่นนี้ ถือเป็นความผิดร้ายแรง จึงไม่อยู่ในขอบข่ายการขอพระราชทานอภัยโทษ
ทั้งนี้ การปรับเปลี่ยนหลักเกณฑ์ดังกล่าว รัฐบาลจึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ ที่จะเชื่อมโยงว่า เป็นความพยายามเพื่อบุคคลใดบุคคลหนึ่ง และประเด็นกังขาเหล่านี้ หากรัฐบาลกล้าทำ ก็ต้องกล้าตอบสังคมให้ชัดว่า มีเหตุผลอะไร
“การเปลี่ยนหลักเกณฑ์ครั้งนี้จะเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ ที่จะทำให้ผู้ต้องหาในคดีคอร์รัปชั่นได้รับการอภัยโทษ ซึ่ง จะรวมถึงกรณีของนายวัฒนา อัศวเหม ที่กำลังหลบหนีอยู่ด้วย เมื่อรัฐบาลทำถึงขั้นนี้แล้วก็คงหยุดยาก จากนี้ไปคงขึ้นอยู่กับสำนักราชเลขาธิการที่จะนำเรื่องเข้าที่ประชุมองคมนตรี พิจารณาว่า มีความเห็นต่อกรณีดังกล่าวอย่างไร ” นายพีระพันธุ์ กล่าว
คมชัดลึก
“สนธิ” ชี้ พ.ร.ฎ.อภัยโทษ พิสูจน์ชัด “เพื่อไทย” เล่นการเมืองเพื่อ “แม้ว” คนเดียว ระบุย้ายอธิบดีราชทัณฑ์-ผบช.ภ.5 ไว้รอรับ “ทักษิณ” นั่งเครื่องลงเชียงใหม่ จวก “รัฐบาลปู” เสียบชื่อทักษิณรับพระราชทานอภัยโทษ หวังบีบคั้นพระองค์ท่าน เข้าข่ายหมิ่นเบื้องสูง ชี้ ปชป.ต้องร่วมรับผิดชอบ ทำร่างไว้ให้รัฐบาลสวมตอ ย้ำ หากเงื่อนไข พ.ร.ฎ.ไม่ให้ติดคุกแม้วันเดียว เคลื่อนไหวแน่
คลิกที่นี่ เพื่อฟัง “นาย สนธิ ลิ้มทองกุล” ให้สัมภาษณ์
กรณีที่ คณะรัฐมนตรีที่มี ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ได้เปิดประชุมลับ เมื่อวันที่ 15 พ.ย.เพื่อพิจารณาแก้ไขร่างพระราชกฤษฎีกา (พ.ร.ฎ.) พระราชทานอภัยโทษเพื่อเอื้อประโยชน์แก่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี และนักโทษผู้หนีคำพิพากษาจำคุกจากศาลฎีกา ในขณะที่ประชาชนกำลังประสบกับภัยพิบัติน้ำท่วมใหญ่ วันนี้ (16) นายสนธิ ลิ้มทองกุล แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ซึ่งอยู่ระหว่างการปราศรัยและพบกับพี่น้องพันธมิตรฯ ในประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ให้สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ผ่านรายการ News Hour ทางเอเอสทีวี ว่า การออกพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว สะท้อนถึงความเลวทรามต่ำช้าของนักการเมืองที่เล่นการเมืองเพื่อประโยชน์ของตัวเอง เพราะเป็นการประชุมลับท่ามกลางความเดือดร้อนของประชาชนจากปัญหาน้ำท่วม เป็นการพิสูจน์ว่า นักการเมืองในพรรคเพื่อไทยทุกคนเข้ามาเล่นการเมืองให้ พ.ต.ท.ทักษิณ เท่านั้น ไม่ได้เล่นการเมืองให้ชาติบ้านเมือง จึงถือว่าเป็นการกระทำที่บัดซบเลวทรามต่ำช้ามาก
นายสนธิ กล่าวต่อว่า การร่างพระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษครั้งนี้ เป็นการบังอาจใช้ช่วงเวลาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เจริญพระชนมพรรษา 84 ปี มาสวมรอยในการทำลายหลักนิติรัฐ และเป็นการทำร้ายพระองค์ท่าน เพราะพระองค์ท่านทรงเน้นเรื่องนิติรัฐ ขณะเดียวกัน การออก พ.ร.ฎ.นี้ พรรคประชาธิปัตย์ต้องร่วมรับผิดชอบด้วย เพราะเขาเอาพื้นฐานการตั้งเรื่องสมัยรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์มาทำต่อ ขอให้คอยดูว่า ร.ต.อ.เฉลิม จะต้องออกมาพูดว่า เขาไม่ได้ทำเอง แต่เป็นการทำต่อจากพรรคประชาธิปัตย์
นายสนธิ กล่าวต่อว่า ในโอกาสที่ปีนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เจริญพระชนมพรรษา 84 ปี ถ้าจะมีการขอพระราชทานอภัยโทษก็เป็นเรื่องธรรมดา และถ้าทำไปโดยไม่มี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นตัวตั้ง ก็ทำไปตามปกติ แต่ถ้าเป็นการทำไปโดยมี พ.ต.ท.ทักษิณ เป็นตัวตั้ง ก็มีการเตรียมการโดยให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ได้ประโยชน์ รวมถึงการโยกย้ายแต่งตั้งคนของตัวเองไว้รอรับ พ.ต.ท.ทักษิณ กลับมา ด้วยการเอา พ.ต.อ.สุชาติ วงศ์อนันต์ชัย มาเป็นอธิบดีกรมราชทัณฑ์ เผื่อว่า หาก พ.ต.ท.ทักษิณ กลับมาแล้วจำเป็นต้องเข้าห้องขังระยะสั้น 1-2 วัน ก็จะได้รับการดูแลปกป้องอย่างดี
นายสนธิ กล่าวอีกว่า ถ้า พ.ต.ท.ทักษิณ จริงใจ ร.ต.อ.เฉลิม จริงใจ หรือ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร มีความจริงใจ ควรปล่อยให้ทุกอย่างเป็นไปตามกระบวนการยุติธรรม โดยให้ พ.ต.ท.ทักษิณ กลับมาติดคุกก่อน แล้วค่อยขอพระราชทานอภัยโทษ แต่วันนี้ ถึงเขาจะยอมติดคุกก่อน แต่ก็จะเข้ามาโดยที่รัฐบาลขอพระราชทานอภัยโทษให้ และมีการแก้เงื่อนไขให้นักโทษอายุ 60 ปีขึ้นไป ซึ่งมันไม่สง่างาม และพิสูจน์อีกครั้งว่า พรรคเพื่อไทยเข้ามาบริหารประเทศไม่ได้บริหารเพื่อชาติบ้านเมือง แต่เข้ามาเพื่อเอา พ.ต.ท.ทักษิณ กลับ ซึ่งมันจะนำไปสู่การแตกหัก
นายสนธิ กล่าวต่อว่า หาก พ.ต.ท.ทักษิณ กลับมา จะนั่งเครื่องบินมาลงที่เชียงใหม่ เพื่อให้มีคนมาห้อมล้อม โดยที่มีการตั้ง พล.ต.ต.สุเทพ เดชรักษา เป็นผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 5 ไว้รอรับอยู่แล้ว ขณะที่กรมราชทัณฑ์อาจเตรียมที่อยู่ไว้ให้อย่างดี หากจำเป็นต้องเข้าคุก หรืออาจจะมีการแก้ไขพระราชกฤษฎีกาให้ไม่ต้องเข้าคุกก่อนก็ได้ ซึ่งจะถือว่าเป็นการตบหน้าประชาชนอย่างแรง และเป็นการจาบจ้วงสถาบันพระมหากษัตริย์
“สำหรับผมแล้วถือว่าการกระทำครั้งนี้ ร้ายกาจถึงขั้นหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ จริงอยู่ เป็นพระราชอำนาจของพระองค์ท่านในการพระราชทานอภัยโทษ แต่ว่าการกระทำครั้งนี้เป็นการจงใจบีบคั้นพระองค์ท่าน เพราะพระองค์ท่านจะไม่เซ็นก็ไม่ได้ คนพวกนี้ก็จะหาว่าเป็นการกลั่นแกล้ง” นายสนธิ กล่าว
นายสนธิ กล่าวต่อว่า การใช้โอกาส 84 พรรษา ที่พระองค์ท่านทรงมีพระเมตตาพระราชทานอภัยโทษให้นักโทษทั่วประเทศโดยเสียบชื่อ พ.ต.ท.ทักษิณ เข้าไป เป็นการสะท้อนการเมืองที่เลวทรามต่ำช้าที่สุด และเป็นการกระทำที่กระทบจิตใจของประชาชน แทนที่ พ.ต.ท.ทักษิณ จะอยู่ต่างประเทศ รอให้คดีหมดอายุความก่อนค่อยกลับมา แต่ ร.ต.อ.เฉลิม คงคิดว่า หาก น.ส.ยิ่งลักษณ์ เป็นนายกฯ ต่อไปไม่ไหว พ.ต.ท.ทักษิณ ก็อาจตั้งให้ตัวเองเป็นนายกฯ จึงรีบดำเนินการก่อน
นายสนธิ กล่าวอีกว่า เรื่องนี้อยู่ในเงื่อนไขที่พันธมิตรฯ จะเคลื่อนไหวเมื่อมีการพระราชทานอภัยโทษออกมา และเนื้อหาในพระราชกฤษฎีกามีการเปลี่ยนแปลงเพื่อไม่ให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ต้องติดคุก เราจะเคลื่อนไหวแน่นอน ถ้ามีการอภัยโทษเฉยๆ เราไม่ขวาง ถ้ารัฐบาลจะหัวหมอ อ้างว่า เงื่อนไขการพระราชทานอภัยโทษให้ผู้ต้องขังอายุ 60 ปีขึ้นไปนั้น พรรคประชาธิปัตย์เสนอไว้ก่อน เราจะยอมกัดฟันกลืนเลือด และพร้อมที่จะด่าพรรคประชาธิปัตย์ว่าเสนอเรื่องไว้ให้พรรคเพื่อไทยสวมตอ ซึ่งร่างนี้เกิดขึ้นสมัยที่ประชาธิปัตย์กำลังจะปรองดองกับเสื้อแดงตอนชุมนุมที่ราชประสงค์ แต่ถ้ามีเนื้อหาว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ไม่ต้องติดคุกแม้แต่นิดเดียว อันนี้มีเรื่อง โดยส่วนตัวจะออกมาเคลื่อนไหวแน่นอน แต่แกนนำพันธมิตรฯ ทั้งหมดจะมีการคุยกันอีกครั้ง
คำต่อคำ : “สนธิ ลิ้มทองกุล” ให้สัมภาษณ์แก่ “เติมศักดิ์ จารุปราณ” และ “อุษณีย์ เอกอุษณีย์” ในรายการ News Hour ทางเอเอสทีวี วันที่ 16 พฤศจิกายน 2554
เติมศักดิ์ - คุณสนธิมีมุมมองและความรู้สึกกับเรื่องนี้อย่างไรบ้าง
สนธิ - ผมว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องที่สะท้อนให้เห็นถึงความเลวทรามต่ำช้าของสันดานนักการเมืองที่พิสูจน์ชัดเจนว่ามาเล่นการเมือง เพื่อพวกพ้อง เพื่อประโยชน์ของตัวเอง เมื่อกี้คุณเติมศักดิ์อ่านเนื้อข่าว ในเนื้อข่าวมันระบุอยู่แล้ว 1. ประชุมลับ กับที่สำคัญก็คือ 2. ท่ามกลางความเดือดร้อนของปัญหาน้ำท่วม แล้ววันนี้ก็เป็นพิสูจน์ชัดเจนว่าพรรคเพื่อไทย และคนทุกคนในพรรคเพื่อไทย ไม่ว่าจะเป็น ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง หรือใครก็ตาม ทุกคนเข้ามาเล่นการเมืองวันนี้ มาเล่นให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เท่านั้นเอง ไม่ได้เล่นให้ชาติบ้านเมือง
ความเห็นของผม พูดสั้นๆ ว่า บัดซบ เลวทรามต่ำช้ามากเลย คือการที่จะให้มีการพระราชทานอภัยโทษนั้น เป็นสิทธิของรัฐบาล แล้วก็ที่สำคัญคือ บังอาจใช้ช่วงโอกาสของการที่พระองค์ท่านมีพระชนมายุ 84 พรรษา มาใช้สวมรอย แล้วก็มาทำลายหลักนิติรัฐ ทำไมผมถึงพูดว่าทำลายหลักนิติรัฐ การทำเช่นนี้เท่ากับเป็นการทำร้ายพระองค์ท่าน เพราะว่า องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ของเรา ใครๆ ก็รู้ว่าเป็นคนซึ่งเน้นเรื่องหลักนิติรัฐ การที่คุณทำเช่นนี้ คุณไปทำลายหลักนิติรัฐ เพื่อการสร้างความเป็นนิติรัฐในตัวเองด้วยการทำลายตัวเอง ทำไมผมถึงพูดเช่นนั้น
เอาละเราวันนี้ผมขี้เกียจจะไปรื้อความหลังว่า พระราชกฤษฎีกาตัวนี้ต้นเรื่องคนตั้งขึ้นมาก็คือ พรรคประชาธิปัตย์ พรรคประชาธิปัตย์จะต้องมีส่วนรับผิดชอบด้วย เพราะว่าพรรคเพื่อไทย เอาพื้นฐานของการตั้งเรื่องของพรรคประชาธิปัตย์ขึ้นมาทำ แล้วคุณเชื่อซิว่า คุณเฉลิม อยู่บำรุง และพรรคเพื่อไทย จะบอกว่า เขาไม่ได้ทำเอง เขาเพียงแต่ดำเนินการต่อเรื่องของพรรคประชาธิปัตย์ เราอย่าเพิ่งไปพูดถึงตอนนั้น เราพูดถึงตอนจิตสำนึก มโนธรรม และคุณธรรม ของคนที่เข้ามาบริหารชาติบ้านเมือง ต้องรู้ว่าปีนี้เป็นปีเกิดปีที่ 84 ของพระเจ้าอยู่หัวฯ เป็นธรรมดา ธรรมชาติ ที่จะต้องมีการอภัยโทษ
การอภัยโทษนั้น หากกระทำไปโดยที่ไม่ได้คิดถึงคุณทักษิณเป็นตัวตั้ง ก็ทำไปโดยปกติ แต่ถ้าคิดถึงคุณทักษิณเป็นตัวตั้ง ก็ต้องเตรียมการ เตรียมงาน เพื่อให้การอภัยโทษนี้เข้าไปในทิศทางที่คุณทักษิณได้ประโยชน์ การเตรียมการ เตรียมงานนี้ ไม่ใช่ลำพังแค่กฤษฎีกานะคุณเติมศักดิ์
การเตรียมการเตรียมงานนี่รวมไปจนถึงการโยกย้ายแต่งตั้งข้าราชการซึ่งเป็นของตัวเอง เพื่อที่จะเอาไปรองรับตอนที่คุณทักษิณกลับมา นั่นคือการเอาคนของตัวเอง คือ พ.ต.อ.สุชาติ ซึ่งเคยอยู่ดีเอสไอ และเป็นอดีตรองปลัดกระทรวงไอซีที ไปเป็นอธิบดีกรมราชทัณฑ์ เพื่ออะไร เพื่อที่จะเผื่อ เผื่อคุณทักษิณกลับมาแล้วจำเป็นจะต้องเข้าห้องคุมขัง หรือปิดห้องคุมขัง อยู่ประมาณสักระยะสั้น 1-2 วัน หรือแม้กระทั่งวันเดียว ก็จะได้รับการดูแลปกป้องอย่างดี
เพราะฉะนั้นจะเห็นได้ชัดว่าได้มีการปูพื้นให้เรียบร้อยแล้ว ทั้งๆ ที่ผมเคยพูดอยู่ตลอดเวลาว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นั้น ถูกข้อหาและก็ถูกตัดสินพิพากษาไปเรียบร้อยแล้ว และมีสถานภาพเป็นนักโทษไปเรียบร้อยแล้ว ถ้า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มีความจริงใจต่อชาติบ้านเมือง และคุณทักษิณ และคุณเฉลิม มีความจริงใจกับบ้านเมือง ก็ต้องปล่อยให้ทุกอย่างเป็นไปตามกระบวนการยุติธรรม
ผมพูดมาตั้งนานแล้วว่า พ.ต.ท.ทักษิณ นั้นควรจะกลับมาแล้วก็ติดคุก แล้วก็ขอพระราชทานอภัยโทษ วันนี้ก็กลับเข้ามาในรูปแบบเดิมที่ผมพูด ก็คือว่ายอมกลับเข้ามาติดคุก แต่ว่าเข้ามาในจังหวะที่รัฐบาลขอพระราชทานอภัยโทษให้ โดยที่ขยับอายุ ให้เลื่อนเข้ามาอยู่ในเกณฑ์ที่คุณทักษิณจะได้ ก็คือ 62 ปีขึ้นไป การกระทำเช่นนี้ ผมถามว่า สง่างามไหม ต้องตอบว่า ไม่สง่างาม จะสง่างามได้อย่างไร เพราะว่าการเล่นการเมืองครั้งนี้ พรรคเพื่อไทยเข้ามาครั้งนี้ คุณเฉลิมบริหารชาติบ้านเมืองครั้งนี้ คุณยิ่งลักษณ์บริหารชาติบ้านเมืองครั้งนี้ ไม่ได้บริหารเพื่อชาติบ้านเมือง ไม่ได้บริหารเพื่อการแก้น้ำท่วม แต่บริหารเพื่อเอาคุณทักษิณกลับมาให้ได้
เพราะฉะนั้นแล้วประเทศไทยก็ก้าวสู่ภาวะการณ์ของการแตกหักอีกครั้งหนึ่ง เพราะวันที่คุณทักษิณจะต้องลงมาบนผืนแผ่นดินไทย พนันกับผม คุณทักษิณจะต้องนั่งเครื่องบินมาลงที่เชียงใหม่ ทำไมต้องนั่งเครื่องบินลงที่เชียงใหม่ เพราะว่าได้ปูพื้นฐานไว้หมดแล้ว ที่กรมราชทัณฑ์เป็นคนของเขา ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 5 พล.ต.ท.สุเทพ เป็นคนของคุณเยาวภา วงศ์สวัสดิ์ ซึ่งคุมเชียงใหม่ เขาลงเชียงใหม่ เขาจะมีประชาชนห้อมล้อม เข้าไปอยู่ ทางราชทัณฑ์อาจจะสร้างสถานที่พักอย่างดีให้
หรือในเนื้อหากฤษฎีกานั้น อาจจะถูกแปรเปลี่ยนไปถึงประเด็นที่เรียกว่า ไม่จำเป็นจะต้องเข้ามาติดคุก เพราะฉะนั้นแล้ว การกระทำเช่นนี้เท่ากับเป็นการตบหน้าประชาชน เป็นการจาบจ้วงสถาบันกษัตริย์อย่างแรง นี่คือการแสดงความไม่จงรักภักดี สำหรับผมแล้ว ร้ายกาจถึงขั้นเรียกว่า อาจจะถึงขั้นเรียกว่า หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ เพราะว่า จริงอยู่เป็นพระราชอำนาจของพระองค์ท่าน แต่การกระทำของตัวเองนั้น กระทำโดยจงใจที่จะบีบคั้นให้พระองค์ท่านไม่มีทางเลือก เพราะว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ นั้น พระองค์ท่านจะทำอะไรไม่ได้ รัฐบาลเสนออะไรมาแล้วจำเป็นจะต้องลงพระนาม เพราะฉะนั้นพวกนี้จับจุดอ่อนตรงนี้ เพื่อบีบบังคับให้พระองค์ท่านใช้พระราชอำนาจโดยไม่มีทางเลือก เพราะพระองค์ท่านจะไม่เซ็นก็ไม่ได้ จะไม่เซ็นก็กลายเป็นว่าพระองค์ท่านนั้นมีเจตนาจะกลั่นแกล้ง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เพราะพวกนี้จะพูดตลอดเวลา พูดว่า พระองค์ท่านเน้นหลักนิติรัฐ นี่ก็ถูกต้อง มีพระราชกฤษฎีกา เป็นธรรมเนียมประเพณีว่าจะต้องพระราชทานอภัยโทษให้ได้ โดยวาระครบ 84 ปี ต้องแสดงความทรงพระเมตตาให้กับนักโทษทั่วประเทศ 26,000 คน ก็เสียบคุณทักษิณเข้าไปคนจะเสียหายอะไร
ผมคิดว่าการกระทำเช่นนี้ ผมถือว่า เป็นการแสดงภาพสะท้อนของนักการเมือง ซึ่งเลวทรามต่ำช้า และบัดซบที่สุด และผมคิดว่านี่เป็นการตบหน้าประชาชน ดูถูกประชาชน กระทืบจิตใจ น้ำใจของประชาชน ซึ่งคุณทักษิณทนรอสักนิด ผมเข้าใจว่าปีหน้า หรืออีก 1 ปี อายุความคดีคุณทักษิณหมด ซึ่งคุณทักษิณสามารถกลับมาได้ กลับมาได้อย่างสง่าผ่าเผย แต่ผมว่า คุณเฉลิมต้องการเอาอกเอาใจคุณทักษิณ เพราะตัวเองหวังไว้ว่า วันหนึ่งข้างหน้า เร็วๆ นี้ถ้าคุณยิ่งลักษณ์ไปไหนไม่รอด เดินทางไม่ออก คุณทักษิณอาจพิจารณาความดีความชอบที่จะให้คุณเฉลิมนั้นเป็นนายกรัฐมนตรีต่อจากคุณยิ่งลักษณ์ การเมืองเล่นอยู่แค่นี้ ผมถึงบอกว่า นักการเมืองไม่ว่าจะเป็นพรรคไหนก็ตาม
แล้วอย่าลืมว่า ร่างพระราชกฤษฎีกาตัวนี้ ต้นร่างมาจากพรรคประชาธิปัตย์ ไม่ใช่มาจากใครเลย อายุ 62 ปี มาจากพรรคประชาธิปัตย์ พรรคเพื่อไทยเอามาสวมตอแล้วใส่คนของตัวเองเข้าไปเพื่อให้ตัวเองได้ประโยชน์
เติมศักดิ์ - เรื่องนี้จะอยู่ในเงื่อนไขที่พันธมิตรฯ จะออกมาเคลื่อนไหวต่อต้านในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งหรือไม่
สนธิ - เรื่องนี้จะอยู่ในเงื่อนไขก็ต่อเมื่อ เงื่อนไขของการพระราชทานอภัยโทษ ออกมาและในขณะเดียวกัน เนื้อหาของกฤษฎีกาดำเนินการเปลี่ยนแปลง ดัดแปลง กระทำจนกระทั่งคุณทักษิณไม่จำเป็นต้องเข้ามาติดคุกเลย อันนั้นต้องเคลื่อนไหวแน่นอน เพราะว่าการพระราชทานอภัยโทษนั้นเราไม่ขวาง แล้ว 62 ปีที่บรรจุเข้าไปนั้น เป็น 62 ปีที่พรรคประชาธิปัตย์เป็นคนเสนอ แต่ว่าถ้ามีเนื้อหาของกฤษฎีกา ในส่วนตัวของผมนะครับ ยังไม่ประชุมแกนนำ ซึ่งเราจะประชุมในเร็วๆ นี้ ถ้าในเนื้อหาถึงขั้นตอนที่เรียกว่าคุณทักษิณไม่จำเป็นต้องเข้ามาติดคุกเลยแม้แต่นิดเดียว อันนี้มีเรื่อง
อุษณีย์ - คือเข้าข่ายทำลายนิติรัฐเมื่อไร กำหนดจุดยืน
สนธิ - มีเรื่องทันที ถูกต้องครับ เพราะว่าเราพูดชัดเจนแล้ว เอาล่ะคุณจะหัวหมอ คุณจะใช้หลักการของการขอพระราชทานอภัยโทษ ซึ่งเราไปขวางเขาไม่ได้ ที่เราไปขวางเขาไม่ได้ก็คือว่า ก็เป็นประเพณีไม่ใช่เหรอ พอครบ 84 พรรษา พระเจ้าอยู่หัวฯ ธรรมดาทุกปี วันเกิดพระองค์ท่านก็มีการพระราชทานอภัยโทษแล้ว ปีนี้ถือโอกาสครบรอบ 84 ปี เป็นงานใหญ่ยิ่ง 7 รอบ ในชีวิตจะมีครั้งหนึ่ง ก็ต้องพระราชทานอภัยโทษ แล้ว 62 ปีเนี่ย ผมไม่ได้เป็นคนร่าง ผมเอามาจากพรรคประชาธิปัตย์ ไอ้อย่างนี้เรากัดฟันกลืนเลือด แล้วบอก เออมึงมันหัวหมอ แล้วพร้อมจะด่าพรรคประชาธิปัตย์ไปด้วย บอก ระยำ เป็นตัวการที่สร้างเรื่องนี้ขึ้นมาเพื่อให้พรรคเพื่อไทยสวมตอ แล้วจริงๆ เบื้องหลังจริงๆ ไอ้ร่างตัวนี้เกิดขึ้นตอนที่พรรคประชาธิปัตย์กำลังปรองดองกับเสื้อแดง ตอนนั้น ตอนที่เจรจากันที่ตรงราชประสงค์ ที่เจรจาลับกันนั่นล่ะ คือที่มา จริงๆ แล้วพรรคประชาธิปัตย์ กับพรรคเพื่อไทย จับมือกันในเรื่องนี้ เพื่อปรองดองกับเสื้อแดง
เอาล่ะ ผมกัดฟันกลืนเลือด พันธมิตรฯ กัดฟันกลืนเลือด แต่ก็บอกว่าทำไป ไม่เป็นไร แต่ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงเนื้อหากฤษฎีกาถึงขั้นที่เรียกว่าทำลายหลักนิติรัฐ โดยที่คุณทักษิณไม่จำเป็นต้องเข้ามาติดคุกเลยแม้แต่นิดเดียว แล้วพระราชทานอภัยโทษ ผมถือว่าเรื่องนี้เราเคลื่อนไหวแน่นอน ในส่วนตัวผมนะ ผมเคลื่อนไหวแน่นอน
เติมศักดิ์ - ซึ่งจะมีการกำหนดท่าทีของพันธมิตรฯ อีกครั้งหนึ่งนะครับ
สนธิ - ครับ เมื่อเราได้มีการประชุมแกนนำกันครับ
เติมศักดิ์ - วันนี้ขอบคุณครับคุณสนธิ
มุมมองคุณเปลวสีเงิน
เปลว สีเงิน
เคยดูหนัง “ก๊อดฟาเธอร์” กันใช่มั้ย ที่เจ้าพ่อบอกอีกฝ่าย “เราจะเสนอในสิ่งที่เจ้าไม่สามารถปฏิเสธได้” การออก พ.ร.ฎ.ของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ “ไม่ต้องติดคุกก็พระราชทานอภัยโทษได้” ก็ทำนองนั้น นอกจากอหังการ ลบล้างกฎหมายแม่บทคือรัฐธรรมนูญแล้ว ยังคล้ายจงใจให้ทักษิณเป็นมนุษย์พิเศษ “อยู่เหนือกฎหมาย” แล้วนำไปเป็นเครื่องท้าทาย “พระราชอำนาจ” ว่าจะโปรดเกล้าฯ หรือไม่โปรดเกล้าฯ?….ท่ามกลางการจ้องเขม็งทั้งชาวไทยและชาวโลก
ท้าทายทำไม…?
ก็ไม่ทราบความคิดลึกๆ เขา แต่ฟังๆ ที่ นปช.ประกาศและทำให้ปรากฏอยู่เวลานี้คือ ท้าทายเพื่อปลุกเร้าไปสู่ความเป็น “แดงทั้งแผ่นดิน” ให้รวบรัดและเร็วขึ้น
ครับ..พลันที่ข่าวประชุม ครม. (๑๕ พ.ย.๕๔) โดยตัวนายกฯ “แกล้งตก ฮ.อยู่ต่างจังหวัด” เป็นผลให้ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกฯ นั่งหัวโต๊ะแทน ทำคลอดร่าง พ.ร.ฎ.พระราชทานอภัยโทษ พ.ศ.๒๕๕๔ ออกมา มีสาระหลัก “ทักษิณ ชินวัตร” ไม่ต้องติดคุก ก็จะได้รับพระราชทานอภัยโทษปล่อยตัว
ก็เหมือน “บิ๊กแบ็ก” ดอนเมืองแตก! ไม่เพียงมหาอุทกไหลบ่าท่วม ดูเหมือนว่า “มหาอัคคี” ลุกพรึ่บกลางน้ำขึ้นทันทีทันใด เท่าที่สดับตรับฟัง ก็หลากท่าที หลากความเห็น และหลากความเคลื่อนไหว พูดในองค์รวมก็คือ
เรื่องนี้ สะท้าน-สะเทือนปฐพี จากทุกวงการ! จะชอบหรือไม่ชอบนั่นก็ช่าง แต่ผมขอบอกจงอย่าใช้ “ความรู้สึก” หรือสัญชาตญาณตอบสนองเรื่องนี้ ขั้นแรกเมื่อรับรู้จง “ใช้สติ” ตอบสนอง พ.ร.ฎ.อภัยโทษด้วยการลำดับเรื่องราวและความเป็นไปแต่ละขั้นตอนก่อน อย่าเพิ่งด่วนสรุปไปทางใด-ทางหนึ่ง
เพราะถ้าเดินผิดร่อง จะพลาดทั้งเรื่อง!
ขั้นแรก ค่อยๆ สาวไปตามเค้ามูลให้แน่ก่อนว่า รัฐบาลยิ่งลักษณ์จะออก พ.ร.ฎ.ลักษณะนี้แน่มั้ย? กับนายกฯ นางสาวดอกท้อ “ไม่ต้องไปสน เรื่องอย่างนี้เธอตอบได้อย่างเดียว…หนูไม่รู้…หนูไม่อยู่ แต่เอาเหอะ สุดท้ายแล้วด้วยความเป็นหัวหน้ารัฐบาล รู้หรือไม่รู้ก็ต้องรับผิดชอบเต็มประตูทุกบาน เพราะนายกฯ จะต้องเป็นผู้กราบบังคมทูลเสนอ “หลักเกณฑ์อภัยโทษ” และทั้งต้องเป็น “ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ” ด้วย!
เรื่องพระราชทานอภัยโทษนั้น จะโปรดเกล้าฯ หรือไม่อย่างใด เป็นเรื่อง “พระบรมราชวินิจฉัย” โดยตรง ประเด็นสำคัญอยู่ที่ว่า หลักเกณฑ์ที่นำขึ้นกราบบังคมทูลนั้น รัฐบาลทำถูกต้องตามครรลองกฎหมายและขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงามของบ้านเมือง ที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาหรือเปล่า?
อย่าลืม….!
“ทุกอย่าง” ที่นำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย จะต้องคัดสรร กลั่นกรอง จัดทำประณีตแล้ว ถูกต้องแล้ว เป็นสิ่งบริสุทธิ์ ปลดเปลื้องสิ้นแล้วซึ่งสิ่งมลทินทั้งมวล นั่นแหละเป็นสิ่งคู่ควร-สมควร และเหมาะสมแล้วที่ผู้เป็นหัวหน้ารัฐบาลจะน้ำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายและกราบบังคมทูล
ก็ฝากตรงนี้ไปกับสายลมให้นายกฯ ยิ่งลักษณ์ได้ตระหนักเสียแต่เนิ่นๆ ผิดบางอย่างก็อภัยได้ แต่บางอย่างผิดนั้นเกินอภัย โดยเฉพาะ…ผิดด้วยจงใจไม่สุจริต!
เอ้า…ในเมื่อท่านรองฯ เฉลิมเป็นหัวโต๊ะ ครม.ทำคลอด พ.ร.ฎ.นี้ ก็ฟังดูซิว่าท่านจะรับหรือปฏิเสธ เมื่อวาน (๑๖ พ.ย.) นักข่าวไปคอนเฟิร์ม ท่านก็ตอบว่า
“เป็นการประชุมลับ รายละเอียดไม่สามารถเปิดเผยได้ เนื่องจากยังไม่ได้ข้อสรุปและไม่ใช่อำนาจรัฐบาลชัดเจน เนื่องจากเป็นเรื่องของกระทรวงยุติธรรมที่จะแต่งตั้งกรรมการขึ้นมาพิจารณา ศึกษา…..”
ก็ชัดเป๊ะมาอีกเปลาะ รองฯ เฉลิมปฏิเสธตอบรายละเอียด แต่ไม่ปฏิเสธว่าร่าง พ.ร.ฎ.พระราชทานอภัยโทษ “ฉบับล็อกสเปก” เพื่อทักษิณ เข้า ครม.วานซืนนี้ ทักษิณนอกจากมีฝีมือป่วนเมืองแล้ว ด้านอาหารยังมีฝีมือทำไข่คว่ำเป็นที่หนึ่ง ทีนี้ลองตรวจสอบทาง “ไข่หงาย” ของทักษิณบ้าง คือนายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รมว.กระทรวงการต่างประเทศ บอกนักข่าวว่า
“ไม่ทราบว่ามีการออกมติดังกล่าวหรือไม่ เพราะไม่ได้อยู่ประชุมด้วย เนื่องจากติดประชุมร่วมรัฐสภาเรื่องไทย-กัมพูชา แต่เท่าที่ติดตามข่าวเรื่องการออก พ.ร.ฎ.อภัยโทษ เห็นว่าเป็นการออกในโอกาสครบรอบ ๘๔ พรรษาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งมีการทำเป็นประจำทุกปี เชื่อว่าไม่ใช่การลักไก่ออกพระราชกฤษฎีกาอภัยโทษในช่วงน้ำท่วม หรือเอื้อประโยชน์ให้ พ.ต.ท.ทักษิณแต่อย่างใด อีกทั้งการขอพระราชทานอภัยโทษครั้งนี้มีผู้เข้าข่ายถึง ๒.๖ หมื่นคน แต่ไม่รู้ว่า และขั้นตอนสุดท้ายขึ้นอยู่กับพระราชอำนาจ ว่าจะพระราชทานอภัยโทษให้หรือไม่”
ครับ..จากชัดเป๊ะเป็นชัดเหน่งๆ เลยทีเดียวว่า ออก พ.ร.ฎ.เช่นนั้นจริง และพอนักข่าวยิงประเด็น “ทำไม ครม.ตัดเงื่อนไขเรื่องคดียาเสพติดและคดีทุจริตคอรัปชั่นทิ้งไปเสียล่ะ มันเหมือนเจตนาเอื้อประโยชน์ให้ทักษิณใช่หรือไม่?”
นายสุรพงษ์ใช้ ๑ กระบวนท่า แต่ ๓ พลิกแพลง คือทั้งแก้ตัว ทั้งขยายความ และทั้งตีกลับว่า
“เงื่อนไขทั้งสองข้อ เป็นการออกเพิ่มเติมในสมัยรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ จึงไม่ใช่เรื่องแปลก เมื่อพรรคประชาธิปัตย์เติมได้ เราก็มีสิทธิ์ตัดทิ้งได้ คุณเติมฉันไม่ว่า แต่ฉันตัดอย่ามาโวย ทั้งนี้การออกพระราชกฤษฎีกาถือเป็นอำนาจของ ครม.ที่มีสิทธิ์ทำได้อยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องนำเข้าสภาฯ หารือ เหมือนกับที่สมัยรัฐบาลประชาธิปัตย์เคยออกพระราชกฤษฎีกากู้เงิน 4 แสนล้านบาท ทั้งนี้ เชื่อว่าอาจจะมีการนำเอาประเด็นเรื่องการออก พ.ร.ฎ.กฤษฎีกาอภัยโทษจุดชนวนให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง โดยการปลุกม็อบสีต่างๆ ตามมาภายหลัง แต่รัฐบาลชุดนี้ก็เป็นรัฐบาลประชาธิปไตย เพราะมีที่มาจากการเลือกตั้ง ๑๕ ล้านเสียง และทุกประเทศก็ให้การต้อนรับดี”
“เอ็งเติมไม่ว่า แต่ข้าตัดอย่ามาโวย” วาทะทูตบาดตูดเหลือหลายนะท่านทูตปึ้ง เรื่องอย่างนี้มันไม่ใช่เรื่องเอ็ง-เรื่องข้า เข้าใจอะไรผิดหรือเปล่า อย่าไปผูกใจอยู่แค่ประชาธิปัตย์เลย ก็เคยอาศัยชายคาพรรคเขาคุ้มหัวมาก่อนด้วยมิใช่หรือ?
ใครจะตัด-จะเติม วิญญูชนจะไม่นำเรื่องเช่นนี้มาอ้าง มาย้อนเพื่อการทำ และการไม่ทำของตัวเอง ความถูก-ผิด ไม่ใช่สินค้าที่จะเลียนแบบกัน แต่มันเป็นมรรคาที่ปวงสุจริตชนพึงแยกแยะเพื่อเดิน ที่ประชาธิปัตย์เติม…นั่นไม่ใช่เติม หากแต่นำความตามแม่บทกฎหมาย ทั้งรัฐธรรมนูญ ทั้งพระราชบัญญัติ ทั้งพระราชกำหนด รวมถึงมโนธรรมสำนึกสังคมอารยประชาธิปไตย มาร่างเป็นกรอบแห่งคุณสมบัติผู้จะได้รับพระราชทานอภัยโทษ
ดังนั้น การที่รัฐบาล นปช.เพื่อไทยตัดทิ้ง แล้วร่างใหม่ตรงกันข้าม ก็เท่ากับทำขัดทั้งหลัก พ.ร.บ.หลัก พ.ร.ฎ. และรัฐธรรมนูญ มาตรา ๖ ที่บอกว่า…
“รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ บทบัญญัติใดของกฎหมาย กฎ หรือข้อบังคับ ขัดแย้ง หรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญนี้ บทบัญญัตินั้นเป็นอันใช้บังคับมิได้”
แล้วมันมีมั้ยที่ “กฎหมายแม่” คือทั้งรัฐธรรมนูญ รวมถึง พ.ร.บ.และ พ.ร.ฎ.มีข้อระบุบ่งว่า “คนที่ทำผิดแล้วหนีโทษจำคุก ไม่ยอมติดคุก จะได้รับอภัยโทษ”!?
ก็ไม่มี..!
เมื่อไม่มี เป็นรัฐบาลถึงมีอำนาจบริหารก็ใช่ว่าจะใช้อำนาจนั้นเขียนกฎหมายใช้เองอย่างใด ก็ได้ตามใจชอบ ดังเช่นเขียน พ.ร.ฎ.ให้คนไม่ติดคุกได้รับอภัยโทษ เพียงเพื่อช่วยให้ทักษิณหมดโทษเท่านั้น ซึ่งแบบนั้นต่อไปบ้านเมืองจะอยู่อย่างไร เพราะคนไม่เกรงกลัวและเคารพกฎระเบียบ มุ่งแต่แย่งอำนาจกัน ใครมีอำนาจก็เขียนกฎหมายไปในทางที่ตัวเอง-พวกตัวเองพอใจ พึงประโยชน์
เที่ยวว่าคนอื่นเขา ๒ มาตรฐาน ไอ้พวกคุณนั่นแหละ “มาตรฐานเดียว” คือ มาตรฐานโจร!
เมื่อใช้สติ และใจเย็นๆ ค่อยๆ เรียบเรียงจนได้ความชัดไปเปลาะหนึ่งว่า มีความพยายามร่าง พ.ร.ฎ.เช่นนั้นจริง แต่ยังไม่ลงตัว ฟังเหมือนว่าเจ้าภาพงานนี้ “กระทรวงยุติธรรม” โดย พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก ผู้กำกับดูแล “กรมราชทัณฑ์” ยังไม่พร้อมเป็นหนังหน้าไฟ อีกอย่างนี่เป็นเพียงร่าง พ.ร.ฎ.พระราชทานอภัยโทษ พ.ศ.๒๕๕๔ ผ่านจาก ครม.ชั้นเนาๆ ยังไม่ลงจักร จะต้องส่งให้ “คณะกรรมการกฤษฎีกา” พิจารณาตรวจสอบก่อนว่า มีตรงไหนขัดกับตัวบทกฎหมายแม่หรือไม่-อย่างไร อีกทั้งการประชุม ครม.วันที่ ๑๕ พ.ย.นั้น เป็นการประชุมที่ถูกต้อง ถูกหลัก-ถูกเกณฑ์ ตามบทบัญญัติครบถ้วนไหม?
เพราะเห็นๆ กันอยู่ว่า ละครฉากโรยตัวช่วยทักษิณนี้ มันมีพิรุธให้เห็นเยอะแยะ นับตั้งแต่นางเอก “นางสาวดอกท้อ” ตก ฮ.ต้องนอนค้างอ้างแรมอยู่สิงห์บุรี มาทำหน้าที่ประธานการประชุม ครม.ไม่ได้ เป็นต้น
เอ๊ะ…หรือว่า ทักษิณดอดเข้ามาเมืองไทยแล้ว น้องสาวเลยอ้างตก ฮ. ที่แท้แอบพบปะพี่ชายที่สิงห์บุรีคืนนั้น?!
สรุปหยาบๆ ก็คือ เรื่องนี้ปูทำได้ แต่มันไม่ง่ายอย่างที่หวังหรอก พ.ร.ฎ.ด้วยข้อความนั้น ขัดหลักกฎหมายแม่ ๑ ยังต้องผ่านคณะกรรมการกฤษฎีกาอีก ๑ การมีตัวอยู่ แต่นายกฯ เลี่ยงไม่ประชุม ครม.ด้วยเรื่องสำคัญ ยังต้องตรวจสอบอีก ๑ ประชาชนจับตาดูการใช้อำนาจขัดกฎหมายเพื่อช่วยคนคนเดียวที่ชื่อทักษิณอีก ๑ การนำ พ.ร.ฎ.ที่ขัดกฎหมายขึ้นกราบบังคมทูลเป็นการไม่สมควรอีก ๑
ต่างๆ เหล่านี้ลองชั่งน้ำหนักกันดูซิว่า นปช.เพื่อไทย-บายทักษิณ จะกล้า “หักด่าน” ประชาชน เนื่องในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ๕ ธันวานี้หรือไม่?
รัฐบาลทำผิดกฎหมาย ฝ่ายค้านหรือประชาชนเข้าชื่อกัน ก็ยื่นถอดถอนรัฐบาลได้ และถ้าประชาชนในองค์กรแห่งความรู้ต่างๆ สามัคคีกัน ใช้ช่องทางกฎหมายตามองค์ความผิดต่างๆ ของรัฐบาล ก็สามารถฟ้องร้องเป็นการยับยั้งได้
ฉะนั้น “เรื่องเล็กควรใส่ใจ-เรื่องใหญ่อย่าวู่วาม” ดาบนั้น ทำไมจึงต้องมีฝัก…เพราะเขาไม่ต้องการให้ชักตั้งแต่ได้ยินเสียงหมาเห่าน่ะ ซี!
ฟ้องฟันผิดอาญา ‘ยิ่งลักษณ์’ฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่
คลี่ปมร้อน ร่างพ.ร.ฎ.ขอพระราชทานอภัยโทษ ลุกลามส่อฟ้องฟันผิดอาญา ‘ยิ่งลักษณ์’ฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่
เป็นที่น่าจับตาเมื่อคณะรัฐมนตรีประชุมในการพิจารณาและลงมติผ่านร่างพระราช
กฤษฎีกา(พ.ร.ฎ.) ขอพระราชทานอภัยโทษ พ.ศ....
ซึ่งเป็นการกำหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับคุณสมบัติของนักโทษที่จะเข้าข่ายในการ
เข้ารับพระราชทานอภัยโทษ เนื่องในวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษา 84 พรรษา 5
ธันวาคม 2554 โดยเป็นการประชุมลับ
ทำให้เกิดการวิพากษ์ทางสังคมจนกลายเป็นประเด็นฮอตส่อฟ้อง
นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร
ผิดกฎหมายอาญาฐานะละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ
ทางศูนย์ข่าว TCIJ ได้ตรวจสอบพบว่า รายละเอียดประเด็นดังกล่าว เริ่มต้นมาจาก ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี นั่งเป็นประธานการประชุมแทนน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ที่ไม่สามารถเข้าประชุมได้เนื่องจากติดภารกิจเดินทางไปราชการจังหวัด สิงห์บุรี
ขณะที่ร.ต.อ.เฉลิม เป็นผู้รับผิดชอบเรื่องการออกกฎหมายอภัยโทษและเป็นผู้เสนอเข้าที่ประชุม ครม.ในวาระจร โดยเป็นการประชุมลับ เชิญเจ้าหน้าที่ที่ไม่เกี่ยวข้องออกจากห้องประชุมทั้งหมด เหลือเพียงคณะรัฐมนตรีเท่านั้น หลังพิจารณาวาระดังกล่าวแล้วเสร็จมีการเก็บรายละเอียดเอกสารทั้งหมดกลับ เพื่อป้องกันการเผยแพร่ แต่กลับมีการให้ข่าวกับผู้สื่อข่าวภายหลังการประชุมครม.โดยรัฐมนตรีบางคน จึงกลายเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ทางสังคมอย่างหนัก
อย่างไรก็ตามมีการวิพากษ์วิจารณ์ถึงกรณีที่นายกรัฐมนตรีไม่ได้เข้าร่วม การประชุมครม.จนอาจจะนำไปสู่ประเด็นการพิจารณาร่างพ.ร.ฏ. ขอพระราชทานอภัยโทษ มิชอบด้วยกฎหมายเนื่องจากขัดรัฐธรรมนูญและขัดกับพระราชบัญญัติอภัยโทษ หรือเข้าข่ายความผิดประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ฐานะละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ที่ไม่ได้เข้าร่วมประชุมครม. หรือประเด็นดังกล่าวสามารถฟ้องร้องต่อศาลปกครองเพื่อขอให้เพิกถอนพ.ร.ฎ.ดัง กล่าวเป็นโมฆะ ไม่มีผลในทางกฎหมาย
รศ.สิริพรรณ นกสวน สวัสดี อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้สัมภาษณ์กับ ศูนย์ข่าว TCIJ ถึงแง่มุมรัฐศาสตร์ ด้านการปกครองว่า จะไปฟ้องนายกฯว่าเป็นการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่เนื่องจากไม่เข้าร่วมประชุม ครม. มองว่าเป็นเรื่องความสง่างามมากกว่าจะมองในประเด็นด้านรัฐศาสตร์ แต่เป็นเรื่องมารยาทและความเหมาะสม แต่ถ้าจะมีคนฟ้องต่อศาลปกครองอาจจะทำได้ แต่การออกพ.ร.ฎ.อภัยโทษ เป็นเรื่องปกติทำกันทุกปีอยู่แล้ว ถ้าไม่เกี่ยวข้องกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ในฐานะพี่ชายน.ส.ยิ่งลักษณ์ ซึ่งต้องคำพิพากษาจำคุก 2 ปี ในคดีที่ดินรัชดา แต่อยู่ระหว่างการหลบหนีในต่างประเทศ ก็ไม่มีใครสนใจอยู่แล้ว ปัญหาหรือความร้ายแรงจะไม่มีอยู่แล้ว
รศ.สิริพรรณ กล่าวด้วยว่า ประเด็นที่น่าตั้งข้อสังเกตคือ พ.ต.ท.ทักษิณ ยังไม่เคยกลับเข้ารับผิดทางอาญาจึงไม่น่าจะเข้าข่ายพ.ร.ฎ. อภัยโทษ เว้นเสียแต่ ร.ต.อ.เฉลิมได้เตรียมการไว้แล้ว แต่ประเด็นนายกฯ เข้าหรือไม่เข้าร่วมประชุมครม.ก็ไม่อยากให้ทำเป็นเรื่องใหญ่ก่อให้เกิดความ แตกแยกทางสังคม แต่ถ้าประเด็นการออก พ.ร.ฏ.อภัยโทษทั่วไป นายกฯอาจจะไม่จำเป็นต้องอยู่ร่วมประชุมทุกครั้งก็ได้
“แต่สิ่งที่อยากเห็นคือการพิสูจน์ความผิดในกระบวนการยุติธรรมของคุณ ทักษิณ มากกว่าวิธีการสอดไส้แบบนี้เพราะจะทำให้เกิดความขัดแย้งต่อไปมากขึ้น” รศ.สิริพรรณ กล่าว
ทั้งนี้รศ.สิริพรรณ ยังอธิบายถึงหลักการเพิกถอนพ.ร.ฏ.ที่ฝ่ายบริหารออกนั้น สมัยก่อนมีการเพิกถอนพ.ร.ฏ.แปรรูปรัฐวิสาหกิจ ให้เป็นโมฆะ ที่น.ส.รสนา โตสิตระกูล ส.ว.สรรหาเป็นผู้ฟ้องต่อศาลปกครองในขณะนั้น แต่ประเด็นไม่เหมือนกัน ดังนั้นฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยกับพ.ร.ฎ.อภัยโทษ ที่รัฐบาลเสนอนั้นสอดคล้องกับกฎหมายแม่หรือไม่ ส่วนประเด็นที่จะเอาผิดกับนายกฯ เรื่องไม่เข้าประชุมครม. คิดว่าไม่ได้ แต่เชื่อว่าจะมีคนฟ้องร้องประเด็นดังกล่าวไปยังศาลรัฐธรรมนูญแน่นอน
“ไม่อยากจะให้คนพยายามคิดว่าพอมีปัญหาหนึ่งก็พยายามใช้ช่องทางจ้องล้ม รัฐบาลด้วยเรื่องไม่เป็นเรื่อง ตอนนี้มีคนออกมาวิเคราะห์แล้วใช้ช่องโค่นล้มรัฐบาล ในกรณีนี้อาจเป็นแค่เรื่องการออกพ.ร.ฎ.อภัยโทษ ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญแต่ไม่ได้มีความผิดอาจจะแจ้งให้เป็นโมฆะไป อาจจะถูกประชาชนพิพากษาว่าไม่สง่างาม อันนั้นก็เป็นการตัดสินใจของประชาชนในระบอบประชาธิปไตยไป” รศ.สิริพรรณ กล่าว
ขณะที่นายจรัล ภักดีธนากุล ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ กล่าวกับศูนย์ข่าว TCIJ ว่า ความขัดแย้งระหว่างข้อมูลจากที่เป็นข่าวกับข้อเท็จจริงมันดูเหมือนว่าจะยัง ไม่ตรงกัน ขอเช็คข้อมูลก่อน ถ้าพูดไปร้อยแปดประการก็ไม่ดี เวลาพูดไปแล้วฐานข้อมูลเราต้องได้แน่นอนก่อน เพราะข้อมูลฝ่ายหนึ่งในรัฐบาลก็ออกมาระบุว่าไม่เห็นมีการออกพ.ร.ฎ.อภัยโทษ ให้กับพ.ต.ท.ทักษิณ อีกฝ่ายก็บอกว่ามีการออกพ.ร.ฎ.อภัยโทษ เพราะฉะนั้นมันจึงเร็วเกินไปที่จะให้แสดงความคิดเห็น
เมื่อถามว่า การออกพ.ร.ฎ.ขอพระราชทานอภัยโทษ จะขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ นายจรัล กล่าวว่า หลักกฎหมายเขียนอย่างไร กฎหมายก็เป็นอย่างนั้น แต่ต้องเข้าใจด้วยว่า ตนเองไม่สามารถพูดอย่างนั้นได้ด้วยหน้าที่มันก็ไม่ถูกต้องอีกเหมือนกัน ส่วนกรณีที่การออกพ.ร.ฎ.อภัยโทษดังกล่าวจะขัดต่อประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 การละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ของนายกรัฐมนตรี นายจรัล กล่าวว่า ไม่มีประเด็นใดที่ขัดกับประมวลกฎหมายดังกล่าวเลย
ด้านร.ต.อ.เฉลิม ให้สัมภาษณ์นักข่าวเพียงว่า พ.ร.ฎ.ขอพระราชทานอภัยโทษ ต้องเป็นเรื่องของกระทรวงยุติธรรม ซึ่งจะทำได้โดยการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาไม่ต่ำ 20 คน ไปศึกษาข้อกฎหมาย หลักเกณฑ์ของคนที่ได้รับพระมหากรุณาธิคุณ จากนั้นจะเสนอ รมว.ยุติธรรมก่อนเสนอ ครม. เมื่อเห็นชอบก็จะส่งให้คณะกรรมการกฤษฎีกา หากเห็นด้วยก็จะส่งกลับมาที่เลขาธิการคณะรัฐมนตรีเพื่อนำความขึ้นกราบบังคม ทูล ซึ่งเป็นเรื่องของพระราชอำนาจโดยแท้และยืนยันว่ารัฐบาลชุดนี้ไม่ทำผิดกฎหมาย โดยเด็ดขาดและรัฐบาลก็จะไม่ยอมให้ใครทำผิดกฎหมายเช่นกัน และเมื่อยังไม่มีบทสรุปก็ยังไม่สามารถพูดได้ เพราะหากพูดไปก่อนแล้วภายภาคหน้าไม่เป็นไปตามนั้นก็เสียคน
รายละเอียดเกี่ยวกับ ร่าง พ.ร.ฎ.ขอพระราชทานอภัยโทษ ที่ผ่านการลงมติของครม.มีรายละเอียดดังนี้ ประการแรก การกำหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับคุณสมบัติของนักโทษที่เข้าข่ายในการเข้ารับพระราช ทานอภัยโทษ เนื่องในวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษา 84 พรรษา ในวันที่ 5 ธ.ค. 2554 จำนวน 26,000 คน โดยกำหนดคุณสมบัติหลักเกณฑ์ของนักโทษที่จะได้รับพระราชทานอภัยโทษ ต้องเป็นผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปและมีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี ทั้งนี้ไม่มีการระบุถึงหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการต้องโทษ ซึ่งแตกต่างจากพ.ร.ฎ.อภัยโทษ พ.ศ. 2553 ที่ระบุหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการต้องโทษไว้ว่า “ผู้คนที่เข้าข่ายได้รับอภัยโทษจะต้องเป็นโทษที่ไม่เกี่ยวกับยาเสพติดและไม่ เกี่ยวกับการทุจริตคอรัปชั่น”
ขณะเดียวกันการเตรียมการในการขอพระราชทานอภัยโทษดังกล่าวมีการวิพากษ์ วิจารณ์ถึงการโยกย้ายอธิบดีกรมราชทัณฑ์ โดยรัฐบาลแต่งตั้ง พ.ต.ท.สุชาติ วงศ์อนันตชัย ขึ้นดำรงตำแหน่งดังกล่าวแทนนายนัทธี จิตสว่าง พร้อมกันนี้มีรายงานข่าวทางหนังสือพิมพ์หลายฉบับว่ามีการเตรียมโรงเรียนพล ตำรวจบางเขนให้เป็นสถานที่จำคุกพ.ต.ท.ทักษิณ
ขั้นตอนการขอพระราชทานอภัยโทษมีดังนี้
1.ตรวจสอบเรื่องราวโดยละเอียดเกี่ยวกับฎีกา คำพิพากษา หมายจำคุก หมายลดโทษ เอกสารประกอบ เรื่องราวว่าถูกต้องตามระเบียบหรือไม่ หากไม่ถูกต้องจะจัดส่งกลับไปเรือนจำและทัณฑสถานเพื่อแก้ไขให้ถูกต้อง
2.ในกรณีมีปัญหาที่จะต้องขอทราบข้อเท็จจริง ประวัติการกระทำผิดหรือรายละเอียดบางประการเกี่ยวกับ นักโทษ จะต้องประสานงานไปยังเรือนจำ หรือส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงานตำรวจแห่งชาติ สถานีตำรวจภูธร ท้องที่ หรือศาล เป็นต้น
3.ในรายที่เป็นนักโทษความผิดคดียาเสพติดให้โทษ ต้องขอทราบข้อมูลประวัติการกระทำผิดไปยัง สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด เพื่อนำมาประกอบการพิจารณาทุกราย
4.สรุปย่อฎีกาทูลเกล้าฯ และคำพิพากษาในคดีของนักโทษเด็ดขาดรายนั้น ๆ
5.ประมวลเรื่องราว ข้อเท็จจริง ข้อกฎหมายและเหตุผลที่จะถวายความเห็นขึ้นไปตามลำดับชั้น จนถึง กระทรวงยุติธรรม เมื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมพิจารณาให้ความเห็นแล้ว จะเสนอเรื่องเพื่อให้นายกรัฐมนตรีนำความ ขึ้นกราบบังคมทูลฯ ต่อไป
6.เมื่อมีพระบรมราชวินิจฉัยในเรื่องราวทูลเกล้าฯ ถวายฎีกานั้นเป็นประการใด กรมราชทัณฑ์จะแจ้งให้เรือนจำหรือทัณฑสถานทราบเพื่อแจ้งผู้ถวายฎีกา และบันทึกรับทราบไว้เป็นหลักฐานต่อไป
7.กรณีนักโทษซึ่งต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้ประหารชีวิตก็จะต้องดำเนินการ โดยนัยเดียวกันกับการขอ พระราชทานอภัยโทษเป็นรายบุคคลดังกล่าวมาแล้ว หากมีพระราชกระแสให้ยกฎีกา คือไม่พระราชทานอภัยโทษให้ กรมราชทัณฑ์จะแจ้งเรือนจำให้บังคับโทษประหารชีวิตกับนักโทษรายนั้นโดยไม่ชัก ช้า
มุมมองวิษณุ เครืองาม มีต่อ ยิ่งลักษณ์
ในแวดวงการเมือง รักใครอย่ารักจนหมดหัวใจ และเกลียดใครก็อย่าเกลียดเขาจนหมด ทุกคนมีทั้งข้อดีและข้อเสียทั้งนั้น"
คือคำแนะนำถึงคนดู-คนฟัง-คนติดตามการเมือง ที่หลุดจากปากบุรุษผู้เคยอยุู่ทั้ง "เบื้องหน้า" และ "เบื้องหลัง" ม่านการเมือง
เคยสัมผัสบุคคลระดับ "เบื้องบน" และ "เบื้องล่าง"
จนสามารถเก็บรายละเอียด-ข้อเท็จจริง-บทสนทนาประวัติศาสตร์ ก่อนถ่ายทอด "เบื้องลึก" ในทุกแง่มุมผ่านหนังสือ "เรื่องเล่าจากเนติบริกร"
แม้ "วิษณุ เครืองาม" อดีตรองนายกรัฐมนตรี และอดีตเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (ครม.) จะไม่เคยร่วมงานกับ "นายกฯหญิง" นาม "ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร"
แต่ประสบการณ์รับใช้ 7 นายกฯ 10 รัฐบาล ทำให้เขาอดติดตามลีลา-ท่วงท่าของ "นักแสดงนำ" บนเวทีการเมืองไม่ได้
"วิษณุ" เปิดปากรับสารภาพว่า รู้สึกเข้าใจ-เห็นใจ "ยิ่งลักษณ์" ที่ต้องขึ้นเป็น "นายกฯ คนที่ 28" ทั้งที่ไม่มีประสบการณ์ทางการเมือง
มิหนำซ้ำ เข้ามาไม่ทันไร ก็ต้องรับมือกับอุทกภัยครั้งรุนแรงที่สุดของประวัติศาสตร์ชาติไทย
"ถ้า จะให้ประเมิน ให้มอง อย่างไรเสียมันก็ดีไปไม่ได้หรอก ต้องให้เวลาหน่อย แต่ถ้าให้มองเฉพาะตัวคุณยิ่งลักษณ์คนเดียว เรื่องการปฏิบัติการในขีดความสามารถที่จำกัด หรือที่มีอยู่ ท่านทำได้ดีพอสมควร หรือเกินกว่าที่ผมคิดเอาไว้เยอะเลย ผมยังนึกว่าถ้าน้ำซัดมาตูมแรก คุณยิ่งลักษณ์คงนั่งร้องไห้ 7 วัน บังเอิญแกร้องอยู่วันเดียวแล้วจบ จากนั้นก็ก้มหน้าก้มตาทำงาน ใครแนะอะไรก็ทำ แต่ บังเอิญคนแนะมันมีหลายคน แนะคนละอย่าง แกเลยทำอะไรไม่ถูก ก็ได้ทำไปดีเท่าที่คนคนหนึ่งจะพึงทำได้ในเวลาอันจำกัด และขีดความสามารถอันจำกัด ถ้าเป็นคนอื่น เขาอาจทำได้ดีกว่านี้ หรือถ้าเป็นคนอื่นแล้วดันทำได้เหมือนคุณยิ่งลักษณ์ ต้องโดนตำหนิมากแน่เพราะคุณเจนเวที นี่เขาทำได้แค่นี้ ผมถึงได้ให้คะแนนด้วยความเห็นใจ"
คือเสียงเชียร์จาก "วิษณุ" หลังสลัดบท "เนติบริกร" แล้วมานั่งชมละครการเมืองในฐานะ "คนดู" มาได้ 5 ปีแล้ว
ไม่ว่า "ยิ่งลักษณ์" จะแสดงดี-มีเรตติ้งหรือไม่ แต่ "วิษณุ" ยอมคารวะให้ในฐานะที่ "เธอ" คือ "ผู้นำ"
"เมือง ไทยเราเสียอย่าง ใครเป็นผู้นำ เราไม่เรสเปก (เคารพนับถือ) มีแต่จะเหยียบย่ำทำลาย หรือเหยียดหยาม ซึ่งมันผิดทั้งมารยาทและผิดวัฒนธรรมไทย"
ในภาวะวิกฤตธรรมชาติ ผู้นำแบบไหนจะสามารถนำพาประเทศให้ก้าวพ้นภัยได้?
เขาบอกว่า นิยาม "ผู้นำ" ที่ง่ายที่สุดคือคนที่คนเขายอมตาม ใครที่ขึ้นมาแล้วคนไม่ยอมตาม แปลว่าคนคนนั้นสักแต่ว่าเป็นผู้นำเพราะมีคนตั้งให้เป็น แต่เมื่อคนไม่ตาม คุณก็นำใครไม่ได้ วัวก็เป็นผู้นำได้ ถ้าฝูงโคยอมตาม แต่ถ้าผู้นำโคจะเลี้ยวซ้าย ฝูงโคจะเลี้ยวขวา หัวหน้าโคก็นำไม่ได้ฉันใด ผู้นำจึงต้องยอมทำให้คนตามฉันนั้น เราจะเห็นเทคนิคของผู้นำหลากหลาย บางคนใช้เงินเพื่อจะให้คนตาม บางคนใช้สติปัญญา บางคนใช้ความกล้า บางคนใช้คุณธรรม ดังนั้น สไตล์ใคร ศักยภาพของแต่ละคนก็ไม่เหมือนกัน
"หาก ใช้สไตล์คนอื่นมาเทียบกับคุณยิ่งลักษณ์ ก็เป็นการไม่ยุติธรรม ต้องใช้ที่คุณยิ่งลักษณ์เองว่าสามารถทำให้คนตามได้หรือไม่ ผ่านมา 2 เดือนเศษ ผมมองว่ายังไม่เต็มที่ ซึ่งอาจเป็นเพราะคนยังมองว่าเหนือคุณยิ่งลักษณ์มีคนอื่น ถ้าจะตามคือตามคนอื่นดูจะถูกเป้า และตรงประเด็นกว่า แต่คุณยิ่งลักษณ์เองก็พยายามอย่างเต็มที่ที่จะสร้างภาวะผู้นำของตัวขึ้นมา เท่าที่เห็นและเท่าที่ผมทราบมา มีหลายเรื่องที่ใครจะว่ายังไงก็ตาม แต่คุณยิ่งลักษณ์คิดว่าจะเป็นอย่างนี้ แล้วแกก็ชนะด้วย แกก็ได้ด้วย"
อดีตเสนาธิการ ครม.ชี้ว่าคุณสมบัติที่ "ผู้นำ" พึงมี-พึงเป็น มีอย่างน้อย 4 ประการ
1.มีเวลาในการทำงาน แต่ของไทยอยู่ 3 เดือน 6 เดือน เดี๋ยวก็ยุบสภา เดี๋ยวก็ลาออก ทำอะไรยังไม่ทันเห็นผลสำเร็จก็ไปแล้ว "พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร" อดีตนายกรัฐมนตรี ได้เปรียบเพราะเป็นผู้นำคนแรกที่อยู่ครบเทอม 4 ปี ชนิดไม่มีรัฐบาลไหนเสมอเหมือน จึงได้ประโยชน์จากเวลา
2.มีเสนาคือ มีลูกมือเอาไว้คอยช่วยงาน ผู้นำที่เก่งคนเดียว คิดคนเดียว เหนื่อยคนเดียว ก็บ้าอยู่คนเดียว นายกฯไทยหลายคนคิดแล้วไม่มีคนเอาไปทำต่อ แต่หลายคนคิดแล้วมีคนเอาไปทำต่อ อย่าง "พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์" ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ มีบุญตรงนี้ พอคิดก็จะมีคนเอาไปทำต่อ ถ้าเศรษฐกิจ "เสนาะ อูนากูล" เอาไปทำต่อ ถ้ากฎหมาย "มีชัย ฤชุพันธ์" เอาไปทำต่อ การเมืองมีอีกคนเอาไปทำต่อ ดังนั้น ไม่ต้องคิดจนจบ คิดสัก 2 ประโยค ก็จะมีคนมาต่อให้ 3, 4, 5
3.มีวิสัยทัศน์ ซึ่งต้องยกให้ "พ.ต.ท.ทักษิณ" ที่เห็นอะไรนิดเดียว คิดไปคืบหนึ่ง พอเห็นคืบ คิดไปศอก
4.มีธรรมะ ซึ่งผู้นำไทยหาไม่ค่อยเห็นในเรื่องนี้
"ถ้า ผู้นำมีสิ่งเหล่านี้จะประสบความสำเร็จได้ง่าย จริงๆ นายกฯอย่างคุณชวน (หลีกภัย) คุณบรรหาร (ศิลปอาชา) คุณทักษิณ (ชินวัตร) ก็มีสิ่งเหล่านี้ แต่อาจจะยังไม่ครบ แต่คุณยิ่งลักษณ์อาจยังไม่มีเลยสักข้อ ก็ต้องใช้เวลาสร้างขึ้นมาให้ได้ ทำอย่างไรจะให้มีครบทุกข้อ หรือไม่ครบ แต่ทำได้สัก 2 ใน 4 ก็จะเป็นผู้นำที่นั่งอยู่ในใจคนได้"
นอกจาก "คุณสมบัติเฉพาะตัว" ซึ่งเป็นเรื่องที่ "ผู้นำ" แต่ละคนต้องสร้าง-สั่งสมขึ้นเองแล้ว หลายครั้งเมื่อต้องเผชิญวิกฤต พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงประทานกำลังใจให้รัฐบาล ดุจ "น้ำทิพย์ชโลมใจ"
ทว่าในช่วงที่ผ่านมาพระบรมราโชวาท พระราชดำรัส ที่รับสั่งกับคณะบุคคลต่างๆ มักถูกนำไปแปลความเข้าข้างตนเอง โดย "สุรเกียรติ์ เสถียรไทย" อดีตรองนายกฯ ใช้คำว่า "รู้สึกว่าเจ้านายท่านไม่กลับรับสั่งอะไรแล้ว?"
ในฐานะที่เคยทำงานใกล้ชิดราชสำนัก มีโอกาสเข้าเฝ้าฯพร้อมนายกฯหลายคน "วิษณุ" กล่าวยืนยันว่า "พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระมหากรุณาต่อรัฐบาลทุกรัฐบาลเท่าเทียมกัน ในความหมายที่ว่าต้องการให้ท่านช่วยอะไร ท่านช่วยเสมอเหมือนกัน และไม่ต้องไปดูว่าพรรคไหน ใคร มาจากไหน เรื่องอย่างนี้คนอย่างคุณทักษิณรู้แก่ใจ คนอย่างคุณบรรหาร คุณชวน พล.อ.ชวลิตรู้อยู่แก่ใจทั้งหมดว่าหากไม่ได้พระมหากรุณา รัฐบาลจะเป็นอย่างไร และในฐานะที่ท่านเป็นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นผู้นำ ท่านมีอำนาจที่เราเปิดไม่เจอในรัฐธรรมนูญ แต่เขาพูดกันมาตั้งแต่โบราณ พูดมาตั้งแต่อังกฤษว่าพระมหากษัตริย์แม้จะอยู่ในระบอบประชาธิปไตย แต่ก็มีอำนาจตักเตือนรัฐบาล มีอำนาจจะให้กำลังใจรัฐบาล มีอำนาจจะแนะนำรัฐบาล เป็นอำนาจ ไม่ใช่หน้าที่ ดังนั้น ถ้าจะมาบอกว่าอ้าว! ทำไมไม่เห็นทรงแนะนำเลย ก็มันไม่ใช่หน้าที่ท่าน เมื่อเป็นอำนาจ ท่านจะทรงใช้ก็ได้ ไม่ใช้ก็ได้ ทางที่ดีเนี่ย รัฐบาลขอพระราชทานให้ทรงใช้อำนาจเสียเองสิ ถ้าไม่ขอ ท่านก็ไม่พูด เพราะเมื่อพูดไปแล้วก็ไม่รู้ใครจะเอาไปทำตามหรือเปล่า นายกฯหลายคนกล้ากราบบังคมทูลฯขอ แล้วได้รับสิ่งดีๆ กลับคืนมาทั้งนั้น"
ไม่ว่าจะเป็น "บรรหาร" ที่ก้มลงกราบพระบาท เมื่อได้เข้าเฝ้าฯ หลังมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นนายกฯ ในปี 2538 โดยบอกว่า "ข้าพเจ้าเกิดมาไม่เคยเป็นนายกฯ ข้าพเจ้าหนักใจเหลือเกินว่าจะไม่สามารถจัดการปกครองบ้านเมืองให้ดีได้ กลัวเหลือเกิน ไม่มั่นใจ"
พระองค์ท่านรับสั่งเลยว่า "ไม่ต้องคิดอะไรมาก คุณบรรหารทำสุพรรณบุรีได้ คุณบรรหารก็ทำกรุงเทพฯได้ คุณบรรหารทำกรุงเทพฯได้ ก็ทำประเทศไทยได้ ช่วยทำกับประเทศไทยเหมือนที่ทำกับสุพรรณฯน่ะพอแล้ว" แค่นี้ชื่นใจแล้ว
หรือในรัฐบาล "พล.อ.ชวลิต" ซึ่งเกิดเรื่องใหญ่ จะรบกับประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งรัฐบาลคิดว่าควรจะลงพระปรมาภิไธย พอถวายขึ้นไป รับสั่งว่านายกฯ กลับเมื่อไรให้มาพบ จากนั้นเมื่อนายกฯได้เข้าเฝ้าฯ หายไป 2 ชั่วโมง
"พอกลับ ออกมาทุกคนรุมถามท่านว่าทรงลงพระปรมาภิไธยหรือไม่ พล.อ.ชวลิตถือกระดาษเปล่าออกมา บอกว่าไม่ทรงลง แต่พระราชทานสิ่งที่ดีกว่านั้น เอาไปทำกันเถอะ แล้วก็มาจัดการทำกัน หายไป 1-2 เดือน วิกฤตการณ์ผ่านไปโดยเรียบร้อย ไม่มีเหตุเภทภัยใดๆ เกิดขึ้น พล.อ.ชวลิตจึงลงมือร่างหนังสือด้วยตนเอง กราบบังคมทูลฯว่า "ถ้าไม่ได้อาศัยพระมหากรุณาธิคุณ เหตุเภทภัยจะเกิดขึ้นกับประเทศชาติ ด้วยอาศัยพระมหากรุณาธิคุณในวันนั้น ภยันตรายจึงผ่านพ้นไปด้วยดี" ในเวลาต่อมาเมื่อนายกฯไปเฝ้าฯ ท่านทรงถือจดหมายนั้นแล้วถามว่าท่านนายกฯคิดอย่างนี้จริงๆ หรือ พล.อ.ชวลิตบอกว่าคิดอย่างนั้นจริงๆ ก็ทรงพระสรวลอย่างพอพระทัย
"ดัง นั้น คนเป็นรัฐบาล ถ้าขอพระมหากรุณาก็จะได้มหากรุณา ในช่วง 3-4 วันนี้ เห็นภาพข่าวหนังสือพิมพ์ นายกฯยิ่งลักษณ์ก็ไปเข้าเฝ้าฯ ขอประทานพระราชกระแสเรื่องน้ำท่วม ก็กลับออกมาก็อิ่มเอิบยิ้มแย้มแจ่มใส รู้แล้วว่าควรต้องทำอย่างไร เรื่องอย่างนี้เวลาจะทรงแนะนำอะไร จะจบด้วยประโยคหนึ่งเสมอว่า "ก็แนะไปอย่างนั้น แต่เอาไปคิดดู ถ้าคิดว่าไม่ถูกก็ไม่ต้องทำตามนะ และถ้าคิดว่ามันไม่ถูกก็ช่วยมาบอกหน่อย คราวต่อไปฉันจะได้แก้ไขเสียใหม่ แต่ถ้าคิดว่าดีก็ลองทำเถิด" นี่คือพระเจ้าแผ่นดินในระบอบประชาธิปไตยครับ"
ท้ายที่สุดก่อนรูดม่านบนเวทีสนทนา "วิษณุ" ถูกถามถึงโอกาสหวนคืนเวทีทางการเมืองอีกครั้ง?
"คง ได้เห็นผมบนเวทีที่มานั่งคุยเรื่องหนังสือ มานั่งเซ็นหนังสือแน่ เพราะเขียนไว้อีกหลายเล่ม ส่วนเวทีการเมืองนั้น ผมไม่ได้คิดอยากจะเข้าไปตั้งแต่ต้น แต่มีความจำเป็นต้องเข้าไป และเมื่อออกมาแล้วยังจะดันดิ้นรนกลับเข้าไป โดยไม่ได้มีความจำเป็นอีกเนี่ย ผมก็ไม่รู้จะหาเรื่องไปทำไม ทุกวันนี้ก็สบายดีอยู่แล้ว"
เป็นคำตอบที่ชัดเจนว่า "วิษณุ" ไม่สนใจรับบท "เนติบริกร" ให้รัฐบาลไหน เว้นแต่ "มีความจำเป็น"!!!
ที่มา - ส่วนหนึ่งของเนื้อหาบนเวทีเสวนาในงานมหกรรมหนังสือระดับชาติ ครั้งที่ 16 หัวข้อ "เรื่องเล่าจากเนติบริกร : ความลับและความจริงในทำเนียบที่ยังไม่เคยเปิดเผยมาก่อน" ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
ขอบคุณ มติชนออนไลน์
ตะลึง!นายทุนเงินบริจาค"ชาติไทย"กวาดเละรับเหมา สุพรรณฯ 1.2 พันล้าน
สุพรรณบุรีโมเดล!บริษัทนายทุนเงินบริจาคให้พรรคชาติไทยรวยเละกวาดสารพัด โครงการก่อสร้าง จ.สุพรรณบุรี 1.2 พันล้าน ทั้งหมู่บ้านมังกร พิพิธภัณฑ์ชาวนาไทย บึงฉวาก ท่องเที่ยว และชลประทาน
บริษัทนายทุนเงินบริจาคให้พรรคชาติไทยอยู่ในขาขึ้นอย่างแท้จริงเมื่อพบว่า เป็นผู้รับเหมาโครงการก่อสร้างในจสุพรรณบุรีนับพันล้านบาท
สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) ตรวจสอบรายชื่อผู้บริจาคเงินให้พรรคชาติไทย (ชาติไทยพัฒนา) ซึ่งเปิดเผยโดยสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ในช่วงปี 2546- 2552 พบผู้บริจาคหลัก 5-6 ราย ได้แก่
นายบรรหาร ศิลปอาชา , บริษัท ปิ่น รังษี จำกัด ของ นายธรรมมา ปิ่นสุกาญจนะ ,นายวิศาล ตันติไพจิตร ,บริษัท มหาราชแพลนเนอร์ จำกัด ของ นายสวัสดิ์ หอรุ่งเรือง , นายสณชัย เล็กสมบูรณ์ และ หจก.ศรีสมบูรณ์สุวัฒนะ
ทั้งนี้ในส่วนของ นายสณชัย เล็กสมบูรณ์ และ หจก.ศรีสมบูรณ์สุวัฒนะ จากการตรวจสอบพบว่าเป็นผู้บริจาคให้พรรคชาติไทย 5,300,000 บาท
สำนักข่าวอิศรา ตรวจสอบข้อมูลกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้าพบว่า หจก.ศรีสมบูรณ์สุวัฒนะ ประกอบธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง จดทะเบียนวันที 18 พฤษภาคม 2533 ทุน 12 ล้านบาท ที่ตั้งเลขที่ 38 หมู่ที่ 3 ตำบลสนามชัย อำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี หุ้นส่วนมี 4 คน นายไชยวุฒิ เล็กสมบูรณ์ นางสาวนันทิยา เล็กสมบูรณ์ นายสมมิตร เล็กสมบูรณ์ นางสุวิณา เล็กสมบูรณ์
ขณะที่นายสณชัย เล็กสมบูรณ์ เป็นกรรมการผู้มีอำนาจ ร้านขายวัสดุก่อสร้างและรับเหมาชื่อ หจก. สมบูรณ์พัฒนาก่อสร้าง (1970) จดทะเบียนวันที่ 3 มีนาคม 2513 ทุน 15 ล้านบาท ที่ตั้ง เลขที่ 139 หมู่ที่ 3 ถนนปราบไตรจักร ตำบลศรีประจันต์ อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี
สำนักข่าวอิศรา ตรวจสอบพบว่า ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2551-2554 ( 1 ต.ค.2550-30 ก.ย.2554) หจก.ศรีสมบูรณ์สุวัฒนะ และ หจก.สมบูรณ์พัฒนาก่อสร้าง (1970) เป็นผู้รับเหมาโครงการของ กรมชลประทาน กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา และหน่วยงานต่างๆใน จ.สุพรรณบุรีอย่างน้อย 48 โครงการ รวม 1,192.1 ล้านบาท แบ่งเป็น หจก.ศรีสมบูรณ์สุวัฒนะ 21 โครงการ วงเงิน 174.5 ล้านบาท หจก.สมบูรณ์พัฒนาก่อสร้าง(1970) 27 โครงการ วงเงิน 1,017.6 ล้านบาท อาทิ
โครงการพัฒนาบึงฉวาก โครงการก่อสร้างพิพิธภัณฑ์ชาวนาไทย อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี โครงการก่อสร้างของกรมชลประทาน (โครงการก่อสร้าง 2 สำนักชลประทานที่ 12) โครงการก่อสร้างของสำนักงานโยธาธิการและผังเมืองจังหวัดสุพรรณบุรี (กรมโยธาธิการและผังเมือง) ว่าจ้าง หจก.ศรีสมบูรณ์สุวัฒนะ รับเหมาปรับปรุงเขื่อนป้องกันตลิ่งริมบึงระหารความยาว 215 เมตร วงเงิน 1,364,000 บาท และรับเหมาก่อสร้างเขื่อนป้องกันริมตลิ่งบึงระหาร ความยาว 143 เมตร วงเงิน 7,885,000 บาท (ดูตาราง)
น่าสังเกตว่าโครงการก่อสร้างจำนวนมากอยู่ในกำกับดูแลของรัฐมนตรีที่กำกับ ดูแลโดยพรรคชาติไทย อาทิ กรมพละศึกษา กระทรงการท่องและกีฬา กรมเจ้าท่า กระทรวงคมนาคม เป็นต้น
โครงการก่อสร้างที่ หจก. สมบูรณ์พัฒนาก่อสร้าง (1970) เป็นผู้รับเหมา
โครงการก่อสร้างที่ หจก.ศรีสมบูรณ์สุวัฒนะ เป็นผู้รับเหมา
การบริจาคเงินให้พรรคชาติไทยของ หจก.ศรีสมบูรณ์สุวัฒนะ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)
รีโมท
ซื้อ รีโมท จากผู้ค้าส่งโดยตรง ที่มีหน้าร้านจริง ที่ บ้านหม้อ และ คลองถม ราคาถูกกว่าใคร ปลอดภัย มีรับประกัน