บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันศุกร์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2554

แดงเอ๋ยแดงเทียม เมื่อไทยเข้าสู่ยุคคณาธิปไตยของแดงเทียม

ผมได้ไปอ่านเจอบทความนี้มาจากเวบบอร์ดบ้านตุลาไทย เขียนไว้ตั้งแต่วันที่ 2 - 30 กันยายน  มีเนื้อหาที่น่าสนใจ และทำให้ผมได้รู้จักคนเสื้อแดงดีขึ้น เป็นบทความของคุณ แสนไชย เลยเอามาให้อ่านกัน ขอขอบคุณคุณแสนไชย สำหรับความรู้มา ณที่นี้ด้วยครับ / ช.ช้าง


แสนไชย Hero Member
หลังจากคอยดูรัฐบาลปูตั้งไข่มาได้ระยะหนึ่ง

ตอนแรกก็พยายามคิดในแง่ดีว่า   คงจะมีการสรุปบทเรียนหรือทำอะไรให้ดีกว่าเดิมบ้าง
แต่ปรากฏว่าบทเรียนที่ผ่านมาไม่ได้สอนอะไรให้กับทักษิณ ชินวัตรและพวกพ้องเลย
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำให้ "ปู" กลายเป็น "หุ่น" จริงๆ  ไม่ว่าการแย่งซีนในต่างประเทศของทักษิณ ชินวัตร

เป็น ทักษิณ ชินวัตร ผู้ที่ไม่เคยอดทนแม้แต่เรื่องใดๆ  เวลานี้เขาพยายามทำตัวในต่างประเทศให้ต่างประเทศเข้าใจเสมือนหนึ่งว่าเขา เป็นนายกจริงๆ
ส่วนในประเทศ  แทนที่จะสอน ปู ให้เล่นบทนายกให้เป็น  (เอาแค่ครึ่งของนายกมือใหม่ในหนังของไทยพีบีเอส ก็เพียงพอ)
แต่เขากลับปล่อยให้เฉลิม อยู่บำรุงออกมาวาดลวดลาย  ตอกย้ำความเป็น "หุ่น" ของปูเข้าไปอีก

แถมในวงราชการก็ยังเต็มไปด้วยการล้างผลาญฝ่ายตรงข้าม   ซึ่งจะก่อให้เกิดแรงต้านโดยธรรมชาติขึ้นมาอีกในกลไกของข้าราชการประจำ
สิ่งเดียวที่ดูเหมือนทักษิณจะสรุปบทเรียนแล้วนำมาแก้จุดอ่อนของตน
ได้แก่การตั้งเหล่าเสื้อแดงให้มีตำแหน่งข้าราชการการเมือง  เพื่อเป็นแนวมวลชนป้องกันรัฐบาลหุ่นปูไว้ชั้นหนึ่ง
ซึ่ง เป็นแน่ว่า   หากสีอื่นๆ คิดจะล้มรัฐบาลด้วยการเดินขบวนประท้วงยืดเยื้ออีก   ครั้งนึ้ไม่ใช่จะล้มรัฐบาลหุ่นปูได้ง่ายเหมือนกับยุคของสมชาย วงศ์สวัสดิ์ หรือสมัคร สุนทรเวชอีก
แต่นั่นก็เป็นการขว้างูไม่พ้นคอ
เพราะยิ่งทำก็ยิ่งทำให้รัฐบาลชุดนี้เข้าสู่ยุคของ "คณาธิปไตย" เป็นอธิปไตยของกลุ่มคนคณะหนึ่ง พวกหนึ่งไปอย่างสมบูรณ์

ในขณะที่พลพรรคเสื้อแดงของแท้  แม้จะพยายามทำความเข้าใจ   แต่ลึกๆ  ก็รู้อยู่แก่ใจดีว่า
นี่คือ  "คณะธิปไตยของเสื้อแดง"  แต่หาใช่ เสื้อแดงของแท้ไม่   แต่กลับกลายเป็น "คณาธิปไตยของแดงเทียม" เท่านั้น






ความขมขื่นของเหล่า "แดงแท้"  ก็คือ การที่เฉลิม อยู่บำรุง ประกาศอย่างโอหังว่า  "เพื่อไทยกับเสื้อแดง เป็นพวกเดียวกัน"
เพราะ คำว่า "พวกเดียวกันนั้น"  หมายถึงพวกนักการเมืองสอบตก  คนสนิทนักการเมือง คนหิ้วกระเป๋านักการเมือง กระทั่งนักเลงอันธพาลมือคุ้มกันนักการเมือง หรือพวกหวังตำแหน่งทางการเมืองเท่านั้น
คนเหล่านี้หาได้มีอุดมการณ์ "สีแดง" อย่างที่คุยนักคุยหนากันหาได้ไม่

เพราะ อุดมการณ์ของคนพวกนี้มีแต่ "อุดมกิน" คืออาศัยเสื้อสีแดงมาเคลื่อนไหวทางการเมืองเพื่อให้เจ้านายของฉัน พวกของฉัน ได้กลับมาเป็นรัฐบาลก็เพียงพอแล้ว
เวลานี้พวกเขาต่างพากันเสวยสุข  และคิดว่าถึงฟากฝั่งหรือจุดมุ่งหมายแล้ว  นั่นคือการกลับมาเป็นรัฐบาลที่มั่นคงไปอย่างน้อยอีก 4 ปี
เวลานี้ก็เป็นเวลาที่จะได้ลืมตาอ้าปาก  หากินตามโครงการต่างๆ ได้เสียที
ได้เวลา กอบโกย และรวย รวย รวย กันเท่านั้น

ทิ้งให้บรรดาเหล่าสหายเสื้อแดง  พากันกลืนไม่เข้าคายไม่ออก
จะออกมาตำหนิติติงกันแต่ตอนนี้  ก็กลัวสหายเสื้อเหลืองจะพากันหัวเราะเยาะ
ว่าถึงที่สุดที่ไปเหนื่อย ไปตายกันนั้น......
ก็เพียงเพื่อให้คนกลุ่มหนึ่งได้ขึ้นไปเสวยสุขเป็นผู้ปกครองหรือ "อำมาตย์" ที่เคยร่วมกันด่ามาเท่านั้น
นับเป็นเรื่องที่หัวร่อก็ไม่ออก  จะร้องไห้ก็ไม่ได้เสียจริงๆ     สำหรับสหายเสื้อแดงของแท้ในเวลานี้  




แต่บางคนก็บอกว่า  สำหรับ "สหาย"เสื้อแดง นั้น  ก็คงไม่ใช่แดงแท้อะไรหรอก
เพราะตอนนี้เห็นพากันเทียวไล้เทียวขื่อบันไดบ้าน สส. อดีตเสื้อแดงที่ได้กลายเป็น "ฯพณฯ" ผู้ทรงเกียรติกันเป็นแถวๆ 

บางคนก็หวังว่าจะได้ผลักดันงบประมาณลงมาให้นำไปทำกิจกรรมตามหมู่บ้านให้ปรีด์เปรมกันอีกสมัย
บางคนก็หวังจะได้กองทุนหมู่บ้านไปแบ่งเค็ก  อย่างน้อยก็อ้างกับชาวบ้านได้ว่านี่คือ "ผลสำเร็จ" ของพวกเรา

รวมแล้วก็ไม่ต่างกับพวกลิ่วล้อของนักการเมืองที่ตรงไหน
เพราะอดีตนักปฏิวัติเวลานี้  บางคนก็เป็นถึงผู้อาวุโส  แต่ก็ยังทำได้แค่เลียแข้งเลียขานักการเมือง
บางคนก็เอาได้แค่ไปนั่งเป็นประธานกับ อดีตสหาย  ก็คิดว่าโก้หรือเป็นการแสดงบุญบารมีบ้าง  ก็เพียงพอแล้ว

ก็เป็นอย่างนั้นจริงๆ
เวลานี้แดงลูกน้องนักการเมืองก็เป็นแค่ "แดงเทียม"
แดงอดีตสหายในกลุ่มเสื้อแดง ก็เป็นแค่ "แดงเทียม" 
อุดมการณ์ที่พ่นออกมาก็เป็นแค่ลมปาก

เพราะเอาเข้าจริงก็เป็นแค่ "อุดมกิน" กันเท่านั้น




ข่าวคราวที่ออกมาในปลายอาทิตย์นี้   รวมทั้งผลสำรวจหรือโพลล์ต่างๆ  ชี้ให้เห็นว่า   ช่วงฮันนีมูนของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ได้ผ่านไปแล้วอย่างรวดเร็ว  เวลานี้มีแต่ทุกฝ่ายจับจ้อง 
แรกๆ ก็ยังหวังว่ายิ่งลักษณ์จะทำได้คล้ายๆ ในหนังเรื่องนายกมือใหม่ที่ช่องไทยพีบีเอสเอามาฉายถึงสองครั้งสองครา   หวังว่าทำได้สักครึ่งหนึ่งก็ยังดี
แต่ยิ่งดูก็จะยิ่งห่างออกไปทุกที..

เพราะอะไร   ก็เพราะเธอไม่สามารถทำให้ตัวให้ซื่อบริสุทธิ์เหมือนกับนายกในหนังเรื่องนายกมือใหม่
ใน เรื่องนั้น  แม้นายกมือใหม่จะได้มาด้วยอุบัติเหตุเหมือนกัน    แต่เขาเป็นคนที่มีจิตใจซื่อบริสุทธิ์จริงๆ     เขาไม่รู้เรื่องการอิงแอบกับนักการเมืองหรือผู้ทรงอิทธิพลใดๆ
ดังนั้นจึงสามารถคิดแก้ปัญหาต่างๆ ได้โดยอิสระ  อย่างที่ไม่เคยมีใครทำมาก่อน

คุณยิ่งลักษณ์จะประสบความสำเร็จได้ก็ต้องรีบเป็นตัวของตัวเอง   อย่าให้เสือสิงห์กระทิงแรดทางการเมืองมาชักนำให้เสียเรื่อง

ไม่เช่นนั้นยิ่งลักษณ์ก็จะกลายเป็น "ยิ่งเละ" อย่างแน่นอน




ลอกเค้ามาอีกที

Yingluck, Thai first female priminister walks into a Bank to cash a check. As she approaches the cashier she says "Good morning Ma'am, could you please cash this check for me"?

Cashier: "It would be my pleasure madame. Could you please show me your ID"?

Yingluck: "Truthfully, I did not bring my ID with me as I didn't think there was any need to. I am Yingluck, the priminister of Thailand !!!!"

Cashier: "Yes madame, I know who you are, but with all the regulations and monitoring of the banks because of impostors and forgers, etc I must insist on seeing ID"

Yingluck: "Just ask anyone here at the bank who I am and they will tell you. Everybody knows who I am"
Cashier: "I am sorry but these are the bank rules and I must follow them."

Yingluck: "I am urging you, please, to cash this check"

Cashier: "Look Ms Primeminister this is what we can do:

One day Tiger Woods came into the bank without ID. To prove he was Tiger Woods he pulled out his putter and made a beautiful shot across the bank into a cup. With that shot we knew him to be Tiger Woods and cashed his check.

Another time, Andre Agassi came in without ID. He pulled out his tennis racquet and made a fabulous shot whereas the tennis ball landed in my cup. With that shot we cashed his check.
So, Ms. Primeminister, what can you do to prove that it is you, and only you, as the priminister of Thailand?"

Yingluck stood there thinking, and thinking and finally says: "Honestly, my mind is a total blank~~~there is nothing that comes to my mind. I can't think of a single thing, Just wait, let me call my brother"

Cashier: "OK ma'am, that's proved who you are, would you like large or small bills?
ขณะที่เศรษฐกิจโลกกำลังไม่เป็นใจ

รัฐบาลปัปเปต  ในไทยก็กำลังโขกหมากให้เข้าสู่กลียุคขึ้นทุกวัน

ด้วยความเป็นคนไม่รู้จักรอคอยของทักษิณ ชินวัตร 

และด้วยการแพ้ภัยตนเอง  ที่ไม่ว่าอะไรก็ต้องเล่นในเกมส์ที่ตนเองมีอำนาจสั่งการได้โดยตรง

จึงไม่รีรอที่จะให้พวกพ้องรีบเร่งการนิรโทษกรรมโดยไม่ต้องติดคุก  และนำพาเขากลับประเทศเพื่อจะได้มาเป็นนายกตัวจริงเสียที

เดินหมากแบบนี้  ก็เท่ากับพากันเดินเข้าสู่มุมอับ   ทำให้เลี่ยงความรุนแรงในวันข้างหน้าได้ยากยิ่งนัก

ทั้งๆ ที่มีทางอื่นที่ทำได้   แต่ทักษิณก็ชอบที่จะเดินหมากแบบนี้   ด้วยความไม่รู้จักรอคอย

ความรุนแรงในประเทศไทยในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า 

ก็ต้องบันทึกว่า  เกิดจากทักษิณ ชินวัตรคนเดียว
ภาระกิจของแดงเทียมมีอยู่ประการเดียวคือ

"พาทักษิณกลับบ้านอย่างไม่มีความผิด"   นี่เป็นบันไดสำหรับกระโดดก้าวแรก

จากนั้นก็คือบันไดขั้นที่สองคือ  "นำทักษิณกลับมาเป็นนายกตัวจริง"  อีกครั้ง

นี่คือภาระหน้าที่ของ "แดง"  ที่เป็น "แดงเทียม" กันทั้งนั้น

รวม ทั้งอดีตสหายที่พากันไปเข้าร่วมขบวนการเสื้อแดง  พากันแห่แหนแกนนำขึ้นรับตำแหน่งเป็นอำมาตย์  แล้วก็พากันเลียแข้งเลียขา ส.ส.อดีตสหายหรือแกนนำเสื้อแดงอยู่ในเวลานี้  ก็ล้วนแล้วแต่เป็น "แดงเทียม" กันทั้งนั้น   เพราะที่ต้องการก็มีเพียงแค่นี้   ส่วนอุดมการณ์เพื่อประชาธิปไตยที่แท้จริง  เพื่อประชาธิปไตยของคนรากหญ้า  เพื่อความเท่าเทียมกันในสังคมเวลานี้ก็ได้พากันโยนทิ้งหมดแล้ว    ขอแค่ได้เป็นแค่ลูกน้องอำมาตย์ไพร่  ได้แห่แหนอำมาตย์ไพร่ทั้งหลาย เท่านี้ก็เพียงพอ

หมู่บ้านเสื้อแดงที่พากันตั้งขึ้น  ก็เพียงเพื่อรอรับงบกองทุนหมู่บ้านหรือเงินสนับสนุนการพัฒนาต่างๆ ที่จะลงมาเท่านั้น

เห็นภาพแบบนี้แล้ว  ยังต้องนับถือว่า จักรภพหรือไจลส์  ยังเป็นแดงของแท้มากกว่าพวกนี้หลายเท่านัก !!!
มวยตอนจะขึ้นชิงแชมป์ถือว่ายากแล้ว
แต่การรักษาบัลลังค์แชมป์ที่ได้มานั้นยากยิ่งกว่า
เรื่องนี้ ปู-ยิ่งเละ  คงจะได้รับอารมณ์ความรู้สึกแบบนี้ไปอย่างมาก
ไม่ต้องอื่นไกลแค่ไม่ถึงเดือนของการนั่งเก้าอี้อัครมหาอำมาตย์เสนาบดี
ผลของเอแบคโพลล์วันนี้ก็ยังออกมาอย่างนี้แล้ว

"แต่ ที่น่าเป็นห่วงคือ ผลการศึกษาพบว่า ประชาชนไม่มีความสุขต่อทุกตัวชี้วัดด้านเศรษฐกิจ ได้แก่ เรื่อง รายได้ส่วนตัวเปรียบเทียบกับช่วงเวลารัฐบาล นายอภิสิทธิ์  หรือจะเป็นเรื่องรายได้ครัวเรือน และการใช้จ่ายต่างๆ ในชีวิตประจำวัน การร้องเรียกสิทธิของผู้บริโภคจากกลุ่มนายทุนผู้ประกอบธุรกิจ และสภาวะเศรษฐกิจของประเทศ โดยได้ค่าความสุขต่ำกว่ามาตรฐาน ได้แก่ 93.1จุด 83.2 จุด 75.6 จุด 74.7 จุด และ 61.3 จุด ตามลำดับ

โดยค่าความสุขมวลรวมด้านเศรษฐกิจก็ต่ำกว่าค่ามาตรฐานเช่นกันคือได้ 77.58 หมายความว่า ประชาชนยังไม่มีความสุขต่อตัวชี้วัดด้านเศรษฐกิจ

ยิ่ง ไปกว่านั้น ผลการศึกษายังพบว่า ประชาชนไม่มีความสุขต่อทุกตัวชี้วัดด้านการเมืองเช่นกัน ได้แก่ ไม่มีความสุขต่อนโยบายของรัฐบาลชุดปัจจุบันเปรียบเทียบกับรัฐบาลยุคนาย อภิสิทธิ์  เวชชาชีวะ ได้เพียง 92.5 จุด ถือว่าต่ำกว่าค่ามาตรฐาน นอกจากนี้ ประชาชนยังไม่มีความสุขต่อ การทำงานของรัฐบาลในการป้องกันแก้ไขปัญหาภัยพิบัติต่างๆ ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา 91.2 จุด ไม่มีความสุขต่อการทำงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจในการดูแลความปลอดภัยในชีวิตและ ทรัพย์สินในช่วง 30 วันที่ผ่านมา 90.8 จุด ไม่มีความสุขต่อการทำงานของรัฐบาลโดยภาพรวมช่วงนี้ 90.0 จุด ไม่มีความสุขต่อการพบเห็นการทำงานของเจ้าหน้าที่รัฐในช่วง 30 วันที่ผ่านมา 89.6 จุด ไม่มีความสุขต่อการทำงานของนักการเมืองฝ่ายค้าน 87.2 จุด ไม่มีความสุขต่อนักการเมืองระดับท้องถิ่นในชุมชน 80.4 จุด ไม่มีความสุขต่อคุณภาพนักการเมืองระดับชาติในช่วง 30 วันที่ผ่านมา 71.1 จุด และไม่มีความสุขต่อสถานการณ์การเมืองโดยภาพรวมในช่วง 30 วันที่ผ่านมา 68.2 จุด ตามลำดับ โดยค่าความสุขมวลรวมด้านการเมืองก็ต่ำกว่าค่ามาตรฐานเช่นกันคือได้ 84.56 หมายความว่า ประชาชนยังไม่มีความสุขต่อตัวชี้วัดด้านการเมือง"
เมื่อวานก็เรื่องบินไปหาพี่ชาย  แล้วก็เอาหม้อข้าวไปฝากมหาเศรษฐีบรูไน  ไม่รู้ใครคิด 

มาวันนี้พวกโง่แต่ขยัน  หรือสามล้อถูกหวย  นักเลงเล่นพระหมอผีกลายมาเป็นรัฐมนตรีก็สร้างเรื่องอีกแล้ว

ขอยกที่สุทธิชัย หยุ่น เขาถามไว้

""มติชน" เช้านี้พาดหัวหน้าหนึ่งว่า "หนุนลูกคนรวยเข้า ร.ร. ดัง ฟื้นแป๊ะเจี๊ยะ!"

และพาดหัวรองบอกว่า "ไอเดียวรวัจน์ ชี้สกัดยาก..."

เนื้อหาข่าวบอกตอนหนึ่งว่า

"....รัฐมนตรี ศึกษา (วรวัจน์ เอื้ออภิญญากุล) กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ยังเห็นว่าหากใครมีฐานะดี ก็มีสิทธิที่จะเลือกโรงเรียนที่ดี ๆ ให้กับลูกหลานได้ ดังนั้น ต่อไป หากผู้ปกครองคนใดอยากสนับสนุนโรงเรียน ก็สามารถทำได้ เพราะในความเป็นจริงต้องถามกลับไปว่ากระทรวงศึกษาสามารถปิดกั้นเรื่อง แป๊ะเจี๊ยะได้จริงหรือไม่ ถ้าปิดกั้นไม่ได้ ก็ต้องคิดนอกกรอบ เพื่อที่จะพัฒนาโรงเรียนที่อยู่รอบนอกให้มีคุณภาพมากขึ้น และให้นักเรียนทุกคนมีสิทธิได้เรียนอย่างมีคุณภาพ ฉะนั้นใครที่มีฐานะดีอยากจะให้ลูกเข้าโรงเรียนดัง และพร้อมจะสนับสนุนโรงเรียนก็ทำได้เต็มที่..."

คุณว่าอย่างไรครับ"

ก็อยากถามต่อว่าประชาชนไทยว่ายังไงครับ  พี่น้องชาวรากหญ้าเสื้อแดงที่ไม่มีตังค์ฝากลูกเรียนโรงเรียนดังๆ ว่ายังไงครับ

หากรัฐมนตรีกระทรวงศึกษานายวรวัจน์อยากเล่นเรื่องนี้จริงๆ   ก็ควรทำให้เนียนกว่านี้
นั่นคือรณรงค์ให้มหาเศรษฐีต่างๆ บริจาคเงินให้กับโรงเรียนต่างๆ  โดยไม่หวังตอบแทน (ที่ออกนอกหน้า)มากกว่า
โรงเรียนนั้นอาจเป็นโรงเรียนเดิมของท่านมหาเศรษฐีหรือโรงเรียนอื่นๆ ที่ท่านคิดว่าจะสนับสนุนก็ได้
เหมือน กับเมืองนอกหรือประเทศทุนนิยมใหญ่ของอเมริกา  โรงเรียนและมหาวิทยาลัยเขาก็มีการรณรงค์ให้บริจาคเงินให้กับสถาบันการศึกษา  ได้เงินเป็นกอบเป็นกำ
แต่เขาไม่พูดหรอกว่า    จะได้ส่งลูกหลานเข้าเรียนได้   เขาถือว่าบริจาคคืดบริจาค  ให้แล้วให้เลย อย่าไปหวังผล
เพราะคริสต์เขาก็มีคำอยู่ว่า "เมื่อมือขวาจะบริจาค  มือซ้ายของคุณอย่าถามว่าจะได้อะไร"
เรื่องนี้ก็ยังสอดคล้องกับศาสนาพุทธของไทย  เหมือนกับการทอดผ้าป่า ทอดกฐิน   บริจาคแล้วบริจาคเลย ให้แล้วให้เลย
ถ้า รณรงค์อย่างนี้ได้กับเศรษฐีทุกคนในเมืองไทย  ก็เป็นบุญโข  และชาวรากหญ้า ชาวเสื้อแดงที่ส่วนใหญ่บอกว่าไม่มีตังค์จะได้ยกนิ้วให้แก่ท่าน

และคนที่ท่านควรไปรณรงค์ก่อนอื่นก็คือ  นายใหญ่ของท่านนั่นแหละ
ว่าเคยบริจาคอะไรให้กับโรงเรียนในภาคเหนือที่เรียนมาบ้าง
เพราะทุกว่านี้เวลาเขาจะไปขอให้ศิษย์เก่ามาช่วยเหลือการเงินของโรงเรียน
เศรษฐี(ขี้เหนียว)ศิษย์เก่าโรงเรียนก็จะพากันพูดว่า  "ก่อไอ่ทักษิณมันยังบ่ะหื้อ ฮาจะไปหื้อฮิหยัง

อยากฟังคนเดือนตุลาที่เป็นเสื้อแดงว่าจะอธิบายเรื่องนี้อย่างไร



"เมื่อวันที่ 19 กันยายน องค์การนักศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์(มธ.) จัดเสวนา เรื่อง การรัฐประหารเปลี่ยนแปลงประเทศไทยอย่างไร ที่ห้องจิ๊ด เศรษฐบุตร คณะนิติศาสตร์ มธ.ท่าพระจันทร์ โดยบรรยากาศเป็นไปอย่างคึกคัก เนื่องจาก มีประชาชนและคนเสื้อแดงจำนวนหนึ่ง มาร่วมฟังการเสวนาท่ามกลางการดูแลความปลอดภัยของเจ้าหน้าที่ตำรวจสน.ชนะ สงคราม หลายสิบนาย

 สำหรับผู้เข้าร่วมในการเสวนาครั้งนี้ประกอบด้วย นายสมบัติ บุญงามอนงค์ หรือ บก.ลายจุด แกนนำกลุ่มวันอาทิตย์สีแดง รศ.ดร.สุดา รังกุพันธุ์ อาจารย์จากคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นพ.ตุลย์ สิทธิสมวงศ์ แกนนำกลุ่มคนเสื้อหลากสี และนายแทนคุณ จิตต์อิสระ อดีตผู้สมัครสส.กทม.พรรค ประชาธิปัตย์

ก่อนการเสวนานั้น นายสมบัติ จับมือ กับ นพ.ตุลย์ ท่ามกลางเสียงปรบมือของประชาชนที่มาฟังการเสวนา และในช่วงที่ฉายวีดีโอรำลึก 5 ปี การรัฐประหารของ คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ(คมช.) ก็มีเสียงตะโกนโห่ลั่นห้องประชุม อีกทั้งระหว่างที่นพ.ตุลย์ และนายแทนคุณ อภิปรายนั้น ก็มีเสียงโห่ไล่แสดงความไม่พอใจจากคนเสื้อแดง เป็นระยะๆ และมีเสียงปรบมือเชียร์ในช่วงที่นายสมบัติพูดแสดงความเห็น

ผู้สื่อ ข่าวรายงานว่า ทั้งนี้ ระหว่าง การอภิปรายตลอดรายการมีเสียงโห่อยู่ตลอดและ 2 ฝ่ายต่างชี้แจงเหตุผล ทำให้สถานการณ์ร้อน ระอุมากขึ้น ต่อมาในช่วงเปิดโอกาสผู้ฟังถามผู้อภิปราย ปรากฏว่าผู้ฟังส่วนใหญ่ที่เป็นคนเสื้อแดง แสดงความไม่พอใจคำตอบของ นพ.ตุลย์ และนายแทนคุณ เริ่มส่งเสียงโห่ดังขึ้นทุกที

 จนกระทั่งตัวแทนนัก ศึกษาจากมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง ที่ไปร่วมฟังเสวนาได้แย่งไมโครโฟนจากเจ้าหน้าที่ไปพูดว่า ที่ประชุมไม่รับฟังความเห็นการเสวนาในวันนี้ เพราะมีแต่โต้เถียงกัน ทำให้เกิดการชุลมุนวุ่นวายขึ้นทันที กลุ่มผู้ฟังเสื้อแดงบางส่วนฮือเข้ามาปาด้วยขวดน้ำ และปรี่เข้าไปหมายทำร้ายร่างกาย นักศึกษาด้วยความไม่พอใจ ตำรวจต้องรีบพา นพ.ตุลย์ และนักศึกษาออกจากห้องประชุมส่งตัวกลับไป"

...........................................

หรือจะอธิบายว่าเป็นเพราะคนเสื้อแดงเขาเก็บกด   ต้องเข้าใจเขา ;55555<

ไม่ว่าการเคลื่อนไหวจะอ้างว่า  "เพื่อประชาธิปไตย"

แต่ความเป็นจริงก็คือ "เผด็จการที่คนกลุ่มหนึ่งกระทำต่อคนอีกกลุ่มหนึ่งเท่านั้น"


ช่างไม่ต่างจากพลพรรคนาซี"อันธพาลเชิร์ตน้ำตาล" เที่ยวไล่กระทืบทุกฝ่ายที่ไม่ใช่พวกตน...นี่คือ   อันธพาลนาธิปไตยของพวกแดง...

แต่รับรองได้ว่า  พวกนิติราษฎร์จะไม่แอะปากตำหนิให้กระเทือนต่อมมีท่อของพวกแดงทักษิณา

เพราะ ซือแป๋  นิธิ เอียว ของพวกแดงนิติราษฎร์  ได้กล่าวไว้ในการพูดถึงเกร็ดประวัติศาสตร์คนดีในหนัง "ขุนรองปลัดชู"  ไว้อย่าง(ไม่)น่าฟัง

ว่า  " ผมไม่แคร์  ว่าคนชั่วจะขึ้นมาปกครอง เพียงแต่เราจะควบคุมคนชั่วได้อย่างไร..." ( แหม  ช่าง.. แตกต่างจากแนวคิดที่ให้คนดีปกครองบ้านเมือง..? อย่าให้คนชั่วขึ้นมามีอำนาจปกครองราวฟ้ากับเหวอย่างมีเลศนัย...เลยนะ นิธิ   แลบลิ้น  )
ขอบคุณศาลปกครองกลาง  ที่ช่วยถ่วงดุล  ทำให้บ้านนี้เมืองนี้ไม่ถูกพวกมากลากไปตามใจชอบได้

ศาล ปกครองตบหน้าเสื้อแดง สั่งคุ้มครอง “ทีนิวส์” ชี้ กรมประชาฯระงับการออกอากาศรายการ “เจาะข่าวร้อนล้วงข่าวลึก” เป็นการละเมิดสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นที่มาตรา 45 ตามที่รัฐธรรมนูญให้การคุ้มครองไว้ แถมระบุเนื้อหารายการต่อต้านขบวนการล้มสถาบัน ไม่ถือว่ากระทบต่อความมั่นคงของรัฐ และความเรียบร้อยของประชาชน



เห็นข่าวทักษิณใช้ skype มาบัญชาการทำงานของรัฐมนตรีพรรคเพื่อไทยโดยตรงแล้ว

ด้านหนึ่งก็ทำให้เห็นได้ชัดว่า คนๆ นี้ไม่รู้จักยับยั้งชั่งใจ  ไม่รู้จักรอคอยอะไรเสียเลยจริงๆ

และนี่เป็นสิ่งที่ทำให้เขาที่ดูเหมือนเป็นคนฉลาดมีเงินมีทองซื้อทุกสิ่งทุกอย่างที่ขวางหน้าได้  กลับต้องล้มเหลวครั้งแล้วครั้งเล่า

อีกด้านหนึ่ง  ก็แสดงให้เห็นว่า น้องสาวของเขานั้นไม่มีน้ำยาอะไรในการบริหารกิจการบ้านเมือง

กระทั่งไม่รู้เรื่องรู้ราวอะไร  ไม่สามารถบริหารรัฐมนตรีและ ส.ส.ของพรรคตนเองเสียด้วยซ้ำ

ด้วยการกระทำเช่นนี้

ก็เป็นเหมือนกับการดิสเครดิต  และตบหน้าน้องสาวของตนเองอย่างจัง

สิ่งที่นักเคลื่อนไหวซ้ายจัดหลงยุคที่ยังแสดงตัวทั้งทางทฤษฎีและการปฏิบัติในเวลานี้พยายามจะกลบเกลื่อนก็คือ...

การ ยึดกลางเมืองกรุงเทพที่ผ่านมาของกลุ่มเสื้อแดงนั้น   หาใช่เป็นการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยอันบริสุทธิ์อย่างที่ครั้งเมื่อง 6 ตุลาไม่

หากแต่เป็นการแฝงด้วยความทะเยอทะยานทางการเมืองของกลุ่มตน

แต่ที่สำคัญคือการบรรลุจุดหมายทำเพื่อคนๆ เดียวเท่านั้น

ในการนี้  คนจะตาย จะเจ็บไปเท่าไรไม่เสียดาย   เอาแต่ปลุกระดมกันอย่างไม่ลืมหูลืมตา

เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในครั้งนั้นแท้จริงคือความพยายามในการเข้ายึดอำนาจรัฐต่างหาก

เมื่อคิดจะยึดอำนาจรัฐก็ต้องนำกำลังเข้าปะทะ 

แล้วที่เข่นฆ่าอีกฝ่ายนั้นไม่คิดบ้างเลยหรือ ? 

เช่นนี้จึงกล่าวได้ว่าความคิดของคนเหล่านี้เป็นแค่ "แดงเทียม"   หาใช่ "แดงแท้" อะไรไม่


ตอนอธิการบดี มธ. คนนี้เปิดโอกาสให้พวกนิติทรราชได้เคลื่อนไหว

ก็ถูกต่อว่ากลับไปเหมือนกันว่า  เป็น "อีแอบ" ของฝั่งสีแดงอยู่เหมือนกัน

แต่พอออกมาตั้งคำถามข้างต้น

พวกสีแดงก็เข้ากระหน่ำ หาว่าอธิการคนนี้เป็นสีเหลืองมาแต่ไหนแต่ไร

ตกลงมันเป็นอย่างไรกันแน่ (วะ)

หรือความถูกต้องเวลานี้จะมีแค่สีเหลืองกับสีแดงเท่านั้น

ไม่มีความถูก และความผิด ที่ไม่สังกัดสีเลยหรือ ?


พิ่งมีคนเขียนกลอนบรรยายเหตุการณ์สำหรับฝ่ายซ้ายไทย(บางคน)ในเวลานี้ได้ดีจริงๆ จาก oknation

....................................................

ปรากฎการณ์อธิบายถึงธาตุแท้
ธิดาแดงณ.ขะแมร์ที่แลเห็น
คารวะปฏิกริยาจอมฮุนเซ็น
เป็นภาพเด่นภาพร้ายฝ่ายซ้ายไทย
สามัคคีทุนสามานย์ในประเทศ
ออกนอกเขตชิงสมคบชวนสงสัย
นี่ละหรือคือแนวทางของแดงไทย
ลัทธิใหม่ลัทธิแก้แปรทฤษฎี
ฤาเป็นนักปฏิวัติถนัดขาย
ชอบรับใช้รับจ้างพวกเศรษฐี
ทุนสามานย์ประเทศไหนก็ขายดี

หน้าอย่างนี้บอกรักชาติอนาถจริง

จากประจญยุทธ บล็อก oknation


หากใครคิดจะเอาวีรภาพของประชาชนในอดีตมาเกลือกลั้วกับอุดมคติของพวกที่อ้างเป็นแดงแท้ แต่ที่แท้เป็นแค่แดงเทียม

หรือแดงที่ทำตัวเป็นขี้ข้านายทุนสามานย์อย่างไม่ลืมหูลืมตา

เราต้องช่วยกันคัดค้าน กระทั่งประณามคนเหล่านี้ด้วยซ้ำไป


คุณคงจะจำ จิตรา คชเดช ไพร่แดงเจ้าของวลี "ดีแต่ปาก" ได้นะครับ ไพร่ตัวนี้แหละที่มา"ฉีกเหงือก"(สาระแน) เรื่องนี้ไม่เข้าท่า
หล่อนกล่าวราวๆว่า ๖ ตุลา มีส่วนเกี่ยวกับ เหตุการณ์เผาบ้านเผาเมือง เหตุเพราะเปนเหตุการณ์ที่มีการฆ่ากันตายโดยฝีมือรัฐ....(คือพยายามโยงว่าฆาตรคือคนๆเดียวกัน ต้องถามกลับไปว่า ตอนนั้น คุณจิตรา.. ไถนาอยู่ที่ไหน? หนังสืออ่านออกแล้วหรือยัง? จึงจะถูก ขยิบตา)

อ้าว แล้วฝ่ายอื่นที่ตายล่ะ..? อย่าดีแต่ปากซี แบบนี้เปนที่เข้าใจกันโดยทั่วไปเลยว่า วิภาและพรรคพวก ทั้งไอ้วัฒน์ ไอ้สมศักดิ์ เจียมฯ ไอ้สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ เลือกปฏิบัติ!


ขอยกคำพูด ธง แจ่มศรี เมื่อวันที่ ๑๘ กันยายน ๒๕๕๔ ณ โรงแรมรัตนโกสินทร์ มาลงไว้ให้เห็นเปนประจักษ์ต่อสายตาครับ(มีอดีตสหายดังผู้หนึ่งช่วยจำมา)


"โลกทุกวันนี้เป็นกระแสทุนนิยมเราจะต้องปรับตัวให้เท่าทันกระแสทุนนิยม และการต่อสู้ของพี่น้องเสื้อแดงเป็นสิ่งที่ถูกต้อง และพรรคเพื่อไทยก็เป็นพรรคทุนนิยมประชาธิปไตย เราเดินทางมาถูกต้องแล้ว" - ธง แจ่มศรี ๑๘ กันยายน ๒๕๕๔

เริ่มเลอะเลือน.... ลุงแกน่าจะอยู่เลี้ยงหลานอย่างเดียวได้แล้ว(เอ หรือไม่มี?)


คือลุงแกจำฝังใจแต่เรื่องสมัยบ้านแตกเมื่อปี 07-08 อยู่อย่างนั้นนั่นแหละ

ดังนั้นเมื่อใครจะขึ้นมาง้างกับเจ้าเก่าของเดิมได้ แกก็คิดว่าคนนั้นแหละ

เวลานี้ก็ทุ่มให้เขาหมดหน้าตัก

เอาไว้เขาซูเอี๋ยกันแล้ว ลุงก็จะช้ำใจเปล่าๆ

มันเป็นเรื่องตลกนะ น่าวิเคราะห์กันทีว่าการขึ้นมาของพรรคเพื่อไทยครั้งนี้ได้ทำให้สังคมไทยก้าวหน้าอะไรขึ้นมาบ้าง

ที่เห็นนี่ไม่มีอะไรเลย นอกจากลดแลกแจกแถม แถมยังจะกู้เงินอีก 8 แสนล้านมาอีลุ่ยฉุยแฉกกันอีก

ทั้งที่เรื่องของกรีซเอย สเปนเอย เป็นตัวอย่างที่เป็นรูปธรรมที่สุด

เวลานี้ผมจึงไม่แปลกใจว่า "ขบวนการเรดการ์ดของจีนเกิดขึ้นมาได้อย่างไร" ก็เพราะความเป็นเจ้าทฤษฎีจ๋ากันนี่แหละ

ต่อมาจีนเขาจึงต้องแก้ด้วยคำว่า "แสวงหาสัจจะจากความเป็นจริง" คืออย่าเป็นบ้ากับทฤษฎี(ที่ยึดถือเพียงบางอย่างหรือในบางด้านที่สนับสนุนแนวคิดและการกระทำของตนเท่านั้น) เพราะมันทำให้ประเทศแหลกราญมาแล้ว

แต่อดีตฝ่ายซ้ายไทยบางคนอาจชอบ เพราะมันอาจทำให้ได้ยืดอกในทำนองว่า "เราชนะแล้ว" บางคนก็ได้ภูมิใจว่ามีมิตรสหายได้เป็น รมต.บ้าง ผู้ช่วยรมต. บ้าง อะไรทำนองนี้

ไม่ก็มีเงินรางวัลติดปลายนวมมาให้ชื่นใจกันนิดๆ หน่อยๆ

เห็นแบบนี้แล้ว ผมก็ได้ข้อยุติแบบคนอื่นๆ เหมือนกันว่า "โชคดีแล้ว ที่พคท. มันไม่ชนะการปฏิวัติ" (ว่ะ)


ระยะก่อนตั้งแต่ก่อนการเลือกตั้งว่าใครจะได้มาเป็นรัฐบาลเสียด้วยซ้ำไป

ผมไปงานเขตงานแห่งหนึ่ง เมื่อไปพบกับสภาพของคนเก่าๆ แถบนั้นแล้ว ก็ทำให้ผมถึงกับหยุดชะงักและคิดทบทวนเรื่องต่างๆ เสียใหม่

ด้วยเห็นว่าคนเก่าๆ ของเราจำนวนไม่น้อย เป็น "สิ่งชำรุดทางประวัติศาสตร์" ไปแล้วจริงๆ

เวลานี้ดำรงตัวอยู่แบบที่ว่า ถ้าเอาอะไรได้เอาหมด ชอบให้มีคนมาคิดมาทำแทน ชอบให้คนภายนอกมาโอบอุ้ม

จริตเช่นนี้จึงไม่ต้องบอกว่าถูกกับวิถีทางของกลุ่มการเมืองใด

จึงง่ายที่จะตกไปเป็นลูกมือเขา หรือไม่ใช่ถูกหลอกแต่เต็มใจจะไปเป็นลูกมือให้เขา

เรื่องนี้ไม่เว้นแม้แต่คนที่ผมหงอกแล้วหงอกอีก

ไปงานนั้นมาแล้ว จึงทำให้ผมประกาศกับตัวเองว่า "คงจะไม่ไปร่วมงานอีกแล้ว"

เพราะเสียความรู้สึกกับสิ่งชำรุดทางประวัติศาสตร์เหล่านี้เสียจริงๆ


พวกกากเดนหรือที่เด็กๆ เรียกกันตาม fb ว่า "พวกกาก"

ก็รวมถึงคนที่คอยเอา spam มาแปะเวลาคุยการเมืองเริ่มเข้มข้น

รู้สึกว่าพวกเขาจะมีมือวางติดตามไปเกือบทุกที่นะครับ โกรธ

แล้วอย่างนี้นะหรือจะถือว่าเป็นพวกต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย

แค่นี้ก็รับไม่ได้ แล้วก็มาทำอย่างนี้ ทำแบบนี้ก็เป็นได้แค่ "พวกกาก พวกแดงเทียม พวกกากไซเบอร์" เท่านั้น



พวกกากเดนหรือที่เด็กๆ เรียกกันตาม fb ว่า "พวกกาก"

ก็รวมถึงคนที่คอยเอา spam มาแปะเวลาคุยการเมืองเริ่มเข้มข้น

รู้สึกว่าพวกเขาจะมีมือวางติดตามไปเกือบทุกที่นะครับ โกรธ

แล้วอย่างนี้นะหรือจะถือว่าเป็นพวกต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย

แค่นี้ก็รับไม่ได้ แล้วก็มาทำอย่างนี้ ทำแบบนี้ก็เป็นได้แค่ "พวกกาก พวกแดงเทียม พวกกากไซเบอร์" เท่านั้น


ผมยังเชื่อว่าคนเดือนตุลาที่ร่วมอยู่ในคนเสื้อแดง (ส่วนใหญ่ หรือ..ส่วนน้อย ? ) ยังเป็นผู้ที่มีอุดมคติเพื่อประชาชนและเพื่อประชาธิปไตยที่แท้จริงอยู่บ้าง

แต่อยากให้เรียงมาตอบกันหน่อยว่าเรื่องที่เขาจี้ถามมาอย่างนี้ พวกท่านไม่รู้ร้อนหรือหนาวบ้างเชียวหรือ ฮืม หรือจะว่าอย่างไรก็ได้ขอแต่ลงเรือลำเดียวกันไปโค่นเจ้าเก่าเขาเท่านั้นเป็นพอ แลบลิ้น


คือพวกนี้อยู่กับเสื้อแดงนานๆ ก็ติดนิสัยเสื้อแดง

อย่างพวกเขาว่า ที่ไม่ชอบใจทหาร เพราะทหารไม่ยอมรับคำสั่งให้ปราบเสื้อเหลืองในสมัยสมชายและสมัคร
ดังนั้นถ้ายุคนั้นทหารปราบเสื้อเหลืองเขาจะว่าเป็นประชาธิปไตยเพราะปกป้องอำนาจรัฐ(ของพวกเขา)
แต่เมื่อพวกเขาถูกทหารปราบ เขาก็ว่าทหารไม่ดี เป็นพวกเผด็จการ เป็นพวกไม่เป็นประชาธิปไตย (เพราะทำลายอำนาจรัฐของเขา)

เมื่อพวกเขาก่อการยึดอำนาจแต่ใจไม่ถึง และมีคนไม่มาตามนัด พวกเขาก็บอกว่าเป็นการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย
ทั้งที่มีการเตรียมการ เตรียมอาวุธ เตรียมยึดอำนาจรัฐกันชัดๆ (เรื่องนี้ไม่ต้องมาปฏิเสธกันเวลานี้ เพราะเวลานั้นเห็นเที่ยวประกาศระดมคน ระดมของกันขวักไขว่)
แต่เมื่อใจไม่ถึงและมีคนไม่มาตามนัด ก็ต้องถูกปราบ
ถูกปราบแล้วหาว่าฝ่ายประชาธิปไตยถูกรังแก มีคนมือเปล่าตายมากมาย
ก็พรรคพวกก็ช่วยกันเตือนแล้วเตือนอีกว่าอย่าพาคนบริสุทธิ์ไปตาย เพราะการเคลื่อนไหวอย่างนั้นคนจะตายกันมาก ก็ไม่ฟัง เพราะมุ่งมั่นจะเอาชนะให้ได้เพียงอย่างเดียว
ความจริงคนที่ต้องรับผิดชอบเรื่องนี้ก็คือพวกคนเดือนตุลาเสื้อแดงนั่นแหละ เพราะมีประสบการณ์เรื่องนี้กันมาหลายครั้งหลายครา

พาคนไปตาย คนที่ควรรับผิดชอบก็พวกคนเดือนตุลาเสื้อแดงนั่นแหละ !!!

กลุ่มเครือข่ายนักศึกษารวมพลังคัดค้านสร้างบ่อนกาสิโน


altวันนี้ (30 ก.ย.) ที่กระทรวงการคลัง เครือข่ายนักศึกษากฎหมายเพื่อสังคมมหาวิทยาลัยรามคำแหง และเพื่อนนักศึกษา 6 สถาบัน ประกอบไปด้วย ม.สยาม มรภ.สวนสุนันทา มรภ.จันทรเกษม มรภ.บ้านสมเด็จ วิทยาลัยราชพฤกษ์
ได้เดินทางมารวมตัวกันประมาณ 50 คน ยื่นหนังสือถึงกระทรวงการคลัง เพื่อคัดค้านแนวความคิดที่จะก่อตั้งกาสิโน เอนเตอร์เทนเม้นต์คอมเพล็กซ์ โดยทางเครือข่ายนักศึกษาทั้ง 6 สถาบันได้ออกแถลงการณ์คัดค้าน 3 ข้อ ประกอบไปด้วย


alt1. ขอประณามและให้กระทรวงการคลังยุติแนวคิดการสร้างกาสิโน เอนเตอร์เทนเม้นต์ คอมเพล็กซ์ รวมถึงยุติการผลักดันให้เกิดการจำหน่ายสลากด้วยเครื่องอัตโนมัติ มอมเมาประชาชน โดยเครือข่ายนักศึกษาจะรวมพลังต่อต้านเรื่องนี้ให้ถึงที่สุด
 2. ขอให้ภาครัฐ นักการเมืองแสดงจุดยืนที่ชัดเจนต่อการจัดการปัญหาพนันที่เกิดขึ้นกับสังคม ไทยมากกว่ายอมจำนนต่อปัญหา โดยไม่ส่งเสริมให้การพนันเป็นสิ่งที่ถูกกฎหมายเพิ่มขึ้นอีก
3. ขอเรียกร้องให้เพื่อนนักศึกษาทั่วทั้งประเทศ จับตาการกระทำทุกรูปแบบที่เป็นการซ้ำเติม เพิ่มปัญหาให้สังคม โดยเฉพาะการทำให้พนันเป็นสิ่งถูกกฎหมาย พร้อมทั้งให้ออกมาแสดงพลังคัดค้านอย่างจริงจัง ทั้งนี้กลุ่มเครือข่ายนักศึกษาทั้ง 6 สถาบัน ได้แต่งกายด้วยชุดนักศึกษา พร้อมกับมีการเขียนข้อความคัดค้านการเปิดบ่อนเสรีลงบนแผ่นป้าย แล้วนำมาชูแสดงออกในเชิงสัญลักษณ์ และมีการนำกล่องกระดาษลังมาสร้างเป็นรูปตึกจำลองของกาสิโน วางโชว์ไว้ริมฟุตบาทหน้ากระทรวงการคลัง
altขณะ ที่ตัวแทนของนักศึกษาจุดไฟเผาตึกกาสิโนจำลอง ตามด้วยการนำดอกไม้จันทน์วางลงในถังทำพิธีฌาปนกิจ เพื่อคัดค้านการสร้างกาสิโน ขณะที่จ้าหน้าที่จากกระทรวงการคลัง เดินทางมารับหนังสือของกลุ่มเครือข่ายนักศึกษาฯ พร้อมรับปากจะส่งเรื่องดังกล่าวให้กับผู้ใหญ่ในกระทรวงฯ ไว้พิจารณาต่อไป จากนั้นกลุ่มเครือข่ายจึงสลายการชุมนุม

ผู้ประศาสน์การมีคนเดียว

สิงหาคม 1984

ไม่กี่วันมานี้ได้มีประกาศทางวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยว่าให้ชาว ธรรมศาสตรไปร่วมกันเททองหล่อรูปเคารพของดร.ปรีดี พนมยงค์, ผู้ประศาสน์การ, ที่มหาวิทยาลัยเพื่อเอาประดิษฐานไว้เป็นที่ระลึก ณ มหาวิทยาลัยแห่งนั้น. หลังจากนั้นไม่ทันไร, วิทยุแห่งเดียวกันนั้นก็กลับออกข่าวใหม่ว่าจะมีการเททองหล่อพระพุทธรูปสี่ องค์แยกไปประดิษฐานไว้ที่มหาวิทยาลัย, ที่สโมสรธรรมศาสตร, และที่วิทยาเขตอีกสองแห่ง; ในการนี้กษัตริย์จะมาเองด้วย. เรื่องหล่อรูปดร.ปรีดีเงียบไป.
ดร.ปรีดีเป็น “ผู้ประศาสน์การมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตรและการเมือง” ซึ่งดร.ปรีดีเป็นผู้ตั้งขึ้นเองหลังจากเปลี่ยนการปกครองแผ่นดิน, ควบคู่ไปกับการตั้งธนาคารชาติ. ต่อมามหาวิทยาลัยนี้ถูกพวกทหารฟาสซิสต์ยึดไป, ขับไล่ดร.ปรีดีไปนอกประเทศหลายครั้งจนในที่สุดก็ไปตายที่ประเทศฝรั่งเศส. ตั้งแต่นั้นมาตำแหน่งผู้ประศาสน์การก็เป็นอันยกเลิกมีตำแหน่งอธิการบดีขึ้น มาทำหน้าที่แทน. และนับแต่นั้นมาก็ไม่มีผู้ประศาสน์การอีกแล้ว.



คำว่า “อธิการบดี” มีสำเนียงไปทางพระ, ไม่เหมาะกับชื่อผู้ปกครองและชี้นำมหาวิทยาลัยของฆราวาส. ที่ว่ามีสำเนียงไปทางพระก็เพราะมีตำแหน่งในการปกครองวัดตำแหน่งหนึ่งเรียก ว่า “เจ้าอธิการ”; พระทำผิดวินัยก็เรียกว่ามีอธิกรณ์. หากเรียกว่าอธิการบดีก็อาจโน้มนำไปทางสมภารเจ้าวัดได้. ชื่อมหาวิทยาลัยมีคำว่าธรรมศาสตรก็ อาจมีผู้คิดว่าคงจะเกี่ยวกับศาสนาอยู่แล้ว. แท้จริงคำ “ธรรมศาสตร” หมายถึงกฎหมายบ้านเมือง, หาได้หมายถึงเรื่องทางศาสนาไม่. มีคำว่า “คัมภีร์มานวธรรมศาสตร” เรียกคัมภีร์หรือบัญญัติกฎหมายโบราณเป็นที่รู้กันทั่วไปดี. คำว่า “มนู” ก็ถูกใช้เรียกเป็นชื่อผู้พิพากษามาแต่เดิมในฐานเป็นราชทินนาม. ในตำราโบราณที่เรารับมาจากอินเดียโบราณกล่าวว่าเจ้ากฎหมายคือพรหมชื่อท้าว มนู; ในตำราไทยโบราณเรียกเจ้ากฎหมายว่าพระมโนสาราจารย์, และได้ทำเป็นรูปของมโนสาราจารย์นั่งแท่นชูตาชั่งอยู่. ชื่อหรือราชทินนามของดร.ปรีดี พนมยงค์ก็มีคำว่า “มนู” อยู่ในนั้น, คือหลวงประดิษฐมนูธรรม. คำว่า “มนูธรรม” ก็คือกฎหมายของท้าวมนูมหาพรหมตามความเชื่อแต่ก่อน. คำว่า “ธรรมศาสตร” ที่เป็นชื่อของมหาวิทยาลัยนั้นตรงกับคำว่า moral sciences.  และดังนั้นตราของมหาวิทยาลัยจึงทำเป็นรูปพระธรรมจักรมี รัฐธรรมนูญตรงกลาง, หมายถึงกฎหมายต้องเที่ยงธรรมและยึดถือหลักรัฐธรรมนูญประชาธิปไตยด้วย. รัฐธรรมนูญในที่นี้หมายถึงรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยามที่เป็นหลักประชาธิปไตย, มิใช่รัฐธรรมนูญที่มีหลักการอย่างอื่น. และ “ประชาธิปไตย” ที่ว่านั้นก็ถือว่าต้องเป็นประชาธิปไตยตามแบบอย่างที่คณะราษฎรนำมาประดิษฐาน ไว้เป็นหลักการปกครองใหม่ของประเทศไทย; รูปธรรมก็คือหลักการแห่งรัฐธรรมนูญ ฉะบับแรกหรือฉะบับที่หนึ่ง. การแก้ไขรัฐธรรมนูญในระยะต่อมาจะมากน้อยสักเท่าไรก็ตาม, หากไม่ยึดถือหลักรัฐธรรมนูญฉะบับที่หนึ่งแล้วก็ไม่อาจถือได้ว่าเป็น ประชาธิปไตยตามที่คณะราษฎรนำมา. ส่วนใครจะว่าฉะบับไหนเป็นประชาธิปไตยจริงจังหรือไม่นั้นก็ตามแต่อัธยาศัยของ ผู้กล่าวนั้นเองเป็นส่วนตัว. ประชาธิปไตยที่คณะราษฎรนำมาและจารึกรับรองลงในรัฐธรรมนูญฉะบับแรกอย่างชัด แจ้งนั้นเป็นประชาธิปไตยกระฎุมพี, ประชาธิปไตยของชนชั้นกระฎุมพีหรือบูรีชน,หรือที่มีเรียกกันว่าชนชั้นนายทุน ไทยผู้ทำการโค่นระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์แล้วเปลี่ยนเป็นระบอบราชาธิปไตย อำนาจจำกัด. แม้นคำว่า “ประชาธิปไตย” จะเคยมีใช้ตั้งแต่ครั้งสมัยระบอบทาสของโรมัน, ทว่าคำ “ประชาธิปไตย” ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันทั้งหมดก็เป็นเพียงคำที่พวกกระฎุมพีซึ่งโค่นอำนาจ ปกครองของพวกเจ้าศักดินาลงนำมาใช้เรียกระบอบของตนเท่านั้น, จึงมีความหมายตามที่ว่านี้หาได้มีความหมายเหมือนอย่างในสมัยทาสไม่. หัวใจสำคัญของระบอบแห่งชนชั้นกระฎุมพีก็คือ กรรมสิทธิ์เอกชนในปัจจัยการผลิต, และดังนั้นระบอบประชาธิปไตยของพวกเขาจึงเป็นระบอบที่ดำเนินกรรมสิทธิ์เอกชน ในปัจจัยการผลิต. การที่พวกชนชั้นกระฎุมพีหรือชนชั้นนายทุนทำเช่นนี้ก็เพื่อสถาปนาและพัฒนาการ ผลิตทุนนิยมของพวกเขาและรักษาผลประโยชน์เอกชนของพวกเขาซึ่งเนื้อแท้ที่สำคัญ ก็คือการขูดรีดมูลค่าส่วนเกินจากชนชั้นกรรมกรนั่นเอง. ด้วยเหตุนี้กฎหมายของพวกชนชั้นกระฎุมพีหรือชนชั้นนายทุนก็เป็นกฎหมายที่คุ้ม ครองกรรมสิทธิ์เอกชนในปัจจัยการผลิตของพวกเขา. กฎหมายหลักที่เป็นแบบอย่างของเรื่องนี้ก็คือกฎหมายนโปเลียน, ประมวลกฎหมายนโปเลียนหรือ “โค้ดนโปเลียน” นั่นเอง. กฎหมายของพวกกระฎุมพีในโลกนี้ทั้งหมดไม่ว่าจะเขียนพลิกแพลงอย่างไรก็ไม่พ้น ไปจากหลักของกฎหมายนโปเลียนนี้ได้. กฎหมายนี้ได้คุ้มครองสิ่งที่เรียกว่า “กระฎุมพีสิทธิ์” อย่างมั่นคง. ในระบอบสังคมนิยมซึ่งเป็นระยะผ่านทางประวัติศาสตรอันยาวนานทั้งระยะก่อนข้าม ไปสู่ระบอบคอมมิวนิสต์นั้นก็เป็นระยะแห่งกระฎุมพีสิทธิ์, หรือระยะสิทธิ์แห่งพวกกระฎุมพีที่ไม่มีพวกกระฎุมพีนั่นเอง. ผู้ใดไม่เข้าใจเรื่องนี้และด่วนทำลายกระฎุมพีสิทธิ์เร็วเกินกว่าความเป็นจริงก็ย่อมจะกระทำความผิดเอียง “ซ้าย”.
ด้วยเหตุนี้ที่เรียกว่าการปฏิวัติประชาธิปไตยนั้นเนื้อแท้แล้วก็เป็นการ ปฏิวัติกระฎุมพี (ที่เคยเรียกว่าการปฏิวัติชนชั้นนายทุน) เพื่อสถาปนาระบอบขูดรีดของชนชั้นกระฎุมพีขึ้นทั่วทั้งสังคม. การปฏิวัติกระฎุมพีที่สำคัญคือการปลดปล่อยพลังผลิตเกษตร, คือทาสกสิกรและชาวนาเอกเทศทั่วไป; เหตุนี้จึงได้รับการสนับสนุนจากเลกและ ไพร่, จากชาวนาและพวกอนุกระฎุมพีทั้งหมด. นั่นก็คือพวกกระฎุมพีเป็นเจ้าการ, เป็นเจ้ากี้เจ้าการของการปฏิวัติประชาธิปไตย, เป็นผู้นำการปฏิวัติประชาธิปไตย, เป็นผู้นำชาวนาโดยส่วนรวม. เมื่อพวกกระฎุมพีจะสถาปนาระบอบขูดรีดทุนนิยมก่อนอื่นเขาก็จะต้องปลดปล่อย พลังผลิตในสังคมที่เป็นชาวนา, ให้
ชาวนาเป็นอิสระไม่ถูกผูกมัดอยู่กับที่ดินตามระบอบศักดินา, ให้ชาวนาได้เป็นอิสระ, เลิกล้มระบอบทาสกสิกรและทำลายเศษเดนของศักดินานิยมให้หมดสิ้นไป. ทั้งนี้ก็เพื่อชาวนาที่เป็นอิสระแล้วจะได้สามารถขายพลังแรงงานของตนให้แก่ชน ชั้นกระฎุมพีหรือชนชั้นนายทุนในโรงงาน, การผลิตทุนนิยมถึงจะสามารถดำเนินไปได้. ในสมัย ร.5, ทาสกสิกรทั้งหมดอยู่ใต้อาณัติของเจ้าที่ดินศักดินา, ไม่เป็นอิสระ, ไม่สามารถขายพลังแรงงานของตนให้แก่พวกกระฎุมพี, โดยฉะเพาะพวกทุนผูกขาดสากลคือพวกจักรพรรดินิยมที่รุกเข้ามาในเมืองไทยขณะ นั้น. เหตุนี้พวกจักรพรรดินิยมจึงได้ยุยงส่งเสริมและสนับสนุนให้ ร.5 ดำเนินการปฏิรูปสังคม, ปลดปล่อยทาสกสิกรให้พ้นอำนาจของพวกเจ้าที่ดินศักดินาซึ่งในเวลานั้นตัวใหญ่ ที่สุดคือสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริย-วงศ์, ผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน. การต่อสู้ระหว่าง ร.5 กับสมเด็จเจ้าพระยาฯเป็นไปอย่างดุเดือด. แต่เนื่องจากจักรพรรดินิยมหนุนหลังและ ร.5 มีกำลังของพวกเจ้าศักดินาหัวใหม่ที่ต้องการเปลี่ยนระบอบขูดรีดทางที่ดินของ ตนส่วนหนึ่ง (เพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น) ไปเป็นการขูดรีดทางทุนนิยมช่วยเหลือ กับมีการต่อสู้ของมวลชน
ชาวนาและพวกไพร่ทาสเป็นกำลังผลักดันช่วยที่สำคัญ, ฉะนั้นการปฏิรูปของ ร.5 จึงได้บรรลุผลโดยพื้นฐาน. การต่อต้านอย่างทรหดของพวกเจ้าศักดินาหัวดื้อในสมัยนั้นทำให้การปฏิรูปของ ร.5 ต้องยืดเยื้อยาวนานไป. อย่างไรก็ดี, การปฏิรูปครั้งนั้นก็เป็นแต่เพียงครึ่งๆกลางๆ. ระบอบศักดินาถูกทำลายไปทีละก้าวทีละน้อยก็จริง, ทว่าการขูดรีดชาวนาในที่ดินอันเป็นระบอบขูดรีดศักดินานิยมนั้นยังดำรงอยู่ บริบูรณ์. พวกกระฎุมพีสามารถก่อกำเนิดและเติบโตขึ้นไประดับหนึ่งก็จริง, ทว่าไม่สามารถดำเนินก้าวหน้าต่อไปโดยอิสระ. ทั้งนี้เพราะอุปสรรคที่เกิดจาก การสมคบกันระหว่างจักรพรรดินิยมนักล่าเมืองขึ้นกับเจ้าศักดินาไทยที่ยังมี อำนาจเหลืออยู่อย่างมากมายไม่ได้มิได้ถูกทำลายไป, เพราะไม่มีการปฏิวัติกระ ฎุมพี. ดังนั้นจักรพรรดินิยมจึงได้กลายเป็นกำลังที่ค้ำจุนให้การขูดรีดศักดินานิยม ยังมีอยู่ต่อไปอีกอย่างมั่นคงและศักดินานิยมก็ได้กลายเป็นรากฐานการขูดรีด และปล้นสะดมประเทศไทยของจักรพรรดินิยม, เป็นผู้ช่วยให้จักรพรรดินิยมสามารถดำเนินการปล้นสะดมประเทศไทยและขูดรีด ประชาชนไทยได้อย่างเสรี. เหตุนี้เองจึงทำให้ประเทศไทยสามารถดำรงรักษา “ความเป็นเอกราช” ของตนไว้ได้ไม่ตกเป็นเมืองขึ้นโดยตรงของ จักรพรรดินิยมเหมือนประเทศเพื่อนบ้านรอบๆ. แต่ “เอกราช” หลอกๆที่ว่านี้เป็นแต่เพียง “เอกราชทางรูปแบบ” เล็กๆน้อยๆ, เนื้อแท้แล้วจักรพรรดินิยมได้อาศัยการยินยอมของศักดินานิยมเข้าปกครองประเทศ ไทยทางอ้อม. สภาพเช่นนี้คือสภาพที่เลนินเรียกว่าสภาพของประเทศกึ่งเมืองขึ้น. สิ่งที่เราเห็นได้ชัดก็คือสภาพนอกอาณาเขตมิได้ถูกยกเลิกไป, สัญญาไม่เสมอภาคกับจักรพรรดินิยมยังมีอยู่อย่างครบถ้วน. การเข้าร่วมในมหายุทธสงครามจักรพรรดินิยมครั้งที่หนึ่งของ ร.6 ไม่สามารถแก้ปัญหานี้ให้ตกไปได้. และสิ่งเหล่านี้เองที่คณะราษฎรถือเป็นข้ออ้างสำคัญในการรัฐประหารเปลี่ยน แปลงการปกครองแผ่นดินเมื่อปี ’75 ซึ่งสี่ทหารเสือเป็นหัวหน้าและมีดร.ปรีดี พนมยงค์เป็นผู้ดลใจและจัดตั้ง. หลังปี ’75 คณะราษฎร, โดยดร.ปรีดี, ได้พยายามเลิกสัญญาไม่เสมอภาคนั้น “สำเร็จ”, เลิกสภาพนอกอาณาเขต “โดยสิ้นเชิง”; ทว่าก็ยังไม่สามารถเลิกระบอบขูดรีดศักดินานิยม, ชาวนายังไม่มีที่ดินทำกินของตนเองโดยครบถ้วน, รูปแบบการขูดรีดชาวนาในเงื่อนไขใหม่ได้เกิดขึ้นต่างๆนานา. พวกกระฎุมพีเองก็ยังไม่สามารถพัฒนาทุนนิยมของตนให้ใหญ่โตเพราะจักรพรรดินิยม ยังขัดขวางอยู่และพวกศักดินาที่ตนเองไปประนีประนอมด้วยนั้นก็ยังอยู่, ยังรักษาระบอบขูดรีดของเขาไว้อยู่. ในยี่สิบปีหลังนี้, หลังจากที่ได้เปิด ให้ทุนต่างประเทศเข้ามาดำเนินการขูดรีดเต็มที่ได้, ทุนนิยมได้เฟื่องขึ้นใน ระดับที่แน่นอน. แต่นี่เป็นเพียงรูปภายนอกและปรากฏการณ์ที่ฉาบฉวยดุจดอก มะเดื่อ; โดยความเป็นจริงแล้ว, ด้านหนึ่งทรัพยากรทุกชะนิดในประเทศได้ถูก จักรพรรดินิยมและทุนผูกขาดต่างประเทศปล้นสะดมไป “อย่างหวานหมู” จนจะเหือด แห้งอยู่แล้ว, กระทั่งแรงงานก็ถูกส่งออกไปขายยังต่างประเทศด้วยราคาถูกน่าใจ หาย; อีกด้านหนึ่งความเฟื่องดังกล่าวนั้นตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเป็นหนี้ ขี้ข้าต่างประเทศ, คือพวกจักรพรรดินิยม, อย่างท่วมท้นล้นหลาย. เมื่อใดเจ้า หนี้ทวงถามเมื่อนั้นไทยก็จะไม่มีความสามารถชำระหนี้ได้, ก็จะต้องล้ม ละลาย. พวกผู้จัดการบริษัทคือพวกปกครองปฏิกิริยาที่ขูดรีดทั้งหลายก็จะหนีไป หมดเหมือนพวกเท้าแชร์. เวลานี้เขาก็ได้โอนทรัพย์สินหนีไปซ่อนไว้ต่างประเทศ ทุกวัน. เรื่องนี้เป็นความลับที่เปิดเผยทั่วไป. วิทยุรัฐบาลได้ออกข่าว เรื่องนี้เรื่อยๆ. การลงทุนต่างประเทศล้วนแต่เป็นทุนฉาบฉวยที่ทำกำไรมหึมา ให้ได้ในระยะสั้นที่สุด. พวกเขาลงทุนอย่างเสี่ยงภัยทั้งสิ้น.
เมื่อคณะราษฎรทำรัฐประหารเปลี่ยนการปกครองนั้นพวกเขาไม่ได้คาดคิดถึง สภาพอย่างในปัจจุบันนี้. พวกเขาคิดซื่อๆว่าจะสร้างระบอบทุนนิยมและจะทำให้ ประเทศไทยเป็นอิสระและเฟื่องฟู. พวกเขาคิดว่าระบอบใหม่ในประเทศไทยที่พวกเขา นำมาให้นี้จะมั่นคงถาวร. ดังนั้นโครงการของพวกเขาก็เป็นโครงการที่หนัก แน่นอยู่. พวกเรามักพูดกันถึงโครงการสมุดปกเหลืองของหลวงประดิษฐมนู ธรรม, แต่เราไม่เคยพูดถึงการพยายามตั้งโครงการถาวรที่จะทำให้ระบอบทุนนิยม สถิตเสถียรในประเทศไทย. เค้าโครงการเศรษฐกิจของคณะราษฎรเป็นแต่เพียงส่วน หนึ่งของความพยายามเปลี่ยนระบบเศรษฐกิจซึ่งเป็นรากฐานของสังคม. แต่โครงการ อีกส่วนหนึ่งซึ่งมีความสำคัญมากก็คือการสร้างโครงสร้างชั้นบนของสังคมใหม่ ให้เป็นโครงสร้างชั้นบนของสังคมทุนนิยมของพวกกระฎุมพี. เพื่อการนี้, ดร .ปรีดีได้ดำเนินการสร้างหลายอย่าง; ที่สำคัญก็คือการตั้งธนาคารชาติและ มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง. แท้จริง, การตั้งมหาวิทยาลัยนั้นก็ คือการเพาะผู้ปฏิบัติงานใหม่ให้แก่ระบอบของพวกกระฎุมพีนั่นเอง, คือการเพาะ ผู้ปฏิบัติงานกระฎุมพีขึ้นจำนวนหนึ่งในระบบของตนเอง. พวกขุนนางเก่าฝังหัวใน ระบอบเก่า, แก้ยาก. พวกนักเรียนเก่าก็ถูกอบรมมาอย่างเก่า, เปลี่ยนยาก . เพราะฉะนั้นดร.ปรีดีจึงได้สร้างระบบใหม่ทางการศึกษานี้ขึ้นโดยสิ้น เชิง. วิชาที่สอนก็เป็นวิชาอย่างใหม่, กฎหมายที่สอนก็เป็นกฎหมายกระฎุมพีที่ เดินตามรอยครรลองของโค้ดนโปเลียนหมดจด, ทฤษฎีการเมืองก็เป็นทฤษฎีใหม่ของพวก กระฎุมพีสากลมิใช่เป็นทฤษฎีศักดินาแบบเก่า. ผู้เข้าเรียนก็เป็นคนใหม่ หมด, ส่วนใหญ่หรือโดยพื้นฐานเป็นคนในชนชั้นกระฎุมพีหรือกระทั่งพวกคนยาก จน. เหตุนี้ค่าเล่าเรียนจึงถูกที่สุด, การรับนักศึกษาก็กว้างขวางโดยรับทั่ว ไปไม่จำกัดวิทยฐานะดังมหาวิทยาลัยอื่น, การสอนก็ใช้ระบบใหม่สิ้นเชิงรวมทั้ง การสอบด้วย, โดยสอบเก็บเป็นรายวิชาได้. ระบบคะแนนก็ใช้ระบบห้าคะแนนและมีสอบ สัมภาษณ์แบบเซ็มมินาร์เพื่อเลือกเฟ้นบุคคลที่มีทรรศนะแบบใหม่ทั้งหมด. คำว่า มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง (มธก) เป็นตลาดวิชานั้น ดังมากในสมัยนั้น. ดร.ปรีดียังจัดตั้งนิคมมธก.ขึ้นรับนักศึกษาที่ประสงค์จะ มาอยู่กินด้วยกันแบบโรงเรียนกินนอนอีกมีจำนวน 100 คนอยู่ในสองตึกใหญ่แยก อยู่ด้านท่าพระจันทร์กับด้านท่าช้างตึกละ 50 คน. ผู้ปกครองนิคมเป็น ศาสตราจารย์ชาวอังกฤษชื่อดร.เจ เอฟ ฮัตเจสสันซึ่งได้มากินนอนร่วมกับนัก ศึกษาอย่างสนิทสนม. กำลังใหม่เพื่อระบอบทุนนิยมกระฎุมพีได้รับการทำนุบำรุง เป็นอย่างดียิ่ง.
ชื่อของมหาวิทยาลัยที่เติมคำว่า “การเมือง” เข้าไปข้างท้ายนั้นเป็น เรื่องอึกทึกมาก, ทำให้คนทั้งหลายหันมาสนใจการเมืองกันอย่างจริงจังว่าคือ อะไรกันแน่. แต่คนพวกหนึ่งก็กลัวเพราะรู้ว่า “การเมือง” นั้นคือการเมืองกระ ฎุมพีที่เป็นปฏิปักษ์ต่อพวกเขา; ในที่สุดพวกเขาก็หาเรื่องทำลายเสียโดยตัดคำ นี้ออกจากชื่อของมหาวิทยาลัย, คล้ายกับว่าเมื่อได้ตัดชื่อที่ว่า “การ เมือง” นี้ออกเสียแล้วก็จะไม่มีการเมืองของพวกกระฎุมพีในเมืองไทยอีก. เรา ท่านเห็นถนัดแล้วว่าเวลานี้การเมืองกระฎุมพีเฟื่องเพียงไรในเมืองเราโดยไม่ ต้องมีคำนี้ห้อยท้ายชื่อมหาวิทยาลัย.
ดร.ปรีดีได้ตั้งใจอบรมสั่งสอนวิชาการเมืองแก่นักศึกษาของมธก.เต็มที่จนบัดนี้ได้กลายเป็นพื้นฐานของระบอบการเมืองไทยระดับหนึ่งไปแล้ว.
กีฬาประเพณีที่ดังในชั้นหลังนั้นในตอนแรกยังไม่มีอะไรมากนอกจากการแข่ง ขันฟุตบอลล์ระหว่างสองมหาวิทยาลัยซึ่งเป็นสถาบันการศึกษาสูงสุด. เวลานั้น ยังไม่มีมหาวิทยาลัยอื่นเกิดขึ้น. สนามที่ใช้ก็เป็นสนามที่ดีที่สุดในสมัย นั้นนั้นคือสนามโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย, ต่อมาย้ายไปที่สนามกีฬาแห่ง ชาติ. เมื่อเล่นกันครั้งแรก, จุฬาฯเขามีสีของเขาคือสีชมพู; แต่มธก.ยังไม่มี สี. ดังนั้นจึงเป็นเรื่องยุ่งยาก. ชาวนิคมที่เข้าร่วมเป็นกำลังสำคัญในกีฬา นั้นจึงได้เสนอง่ายๆให้ใช้สีเหลือง-แดงเป็นสีของมหาวิทยาลัยและได้แต่งเพลง ประจำมหาวิทยาลัยขึ้น. เพลงนั้นมีคำหนึ่งว่า “เหลืองของเราคือธรรมประจำ จิต, แดงของเราคือโลหิตอุทิศให้”. ผู้แต่งเป็นกวีและปัญญาชนชั้นสูงมีชื่อ ของเมืองไทยขณะนั้น, คือขุนวิจิตรมาตรา (สง่า กาญจนาคพันธุ์) ผู้แต่งเพลง ชาติชื่อดัง. เพลงของเขามีพลังและมีความหมายเด่นชัดมาก. น่าเสียดายที่ต่อมา เขาได้กลายเป็นนักคัดค้านประชาชน, คัดค้านการปฏิวัติของประชาชนไปพร้อมๆกับ สหายคู่หูของเขาอีกผู้หนึ่งซึ่งก็ชื่อดังเหมือนกัน, ทำงานอยู่ที่กระทรวง พาณิชย์เหมือนกัน. ต่อมาการกีฬาระหว่างสองมหาวิทยาลัยได้เพิ่มกีฬารักบี้ฟุ ตบอลล์ขึ้นอีกอย่างหนึ่งซึ่งจุฬาฯมีเปรียบมาก. ผู้อบรมฝึกหัดทางจุฬาฯก็คือ มจ.จันทรา, ส่วนทางมธก.นั้นผู้ฝึกฟุตบอลล์คือขุนประเสริฐศุภมาตราและต่อมา คือนายโฉลก โกมารกุล ณ อยุธยา. กีฬารักบี้นั้นนายโฉลกเป็นผู้ฝึกแต่ผู้เดียว . ถัดจากนั้นมธก.ได้เสนอแข่งเรือกรรเชียงโดยนายโฉลกเป็นผู้ฝึกอีก, แต่จุฬา อ้างว่าไม่มีน้ำจึงไม่เอา. กีฬาแข่งเรือกรรเชียงแบบเฮนเลย์ รีแกตต้าที่แม่ น้ำเทมส์ระหว่างอ็อกฟอร์ดกับเคมบริดจ์จึงไม่เกิดขึ้นที่แม่น้ำเจ้าพระยาตาม ประสงค์, เป็นที่น่าเสียดายอยู่. แต่พวกเราก็ลงกรรเชียงกันทุกวันตอน เย็น, มีคนทึ่งมาดูกันมาก. ดร.ปรีดีได้สนับสนุนการกีฬาทุกชะนิดดังกล่าวแล้ว เต็มที่. เมื่อฟุตบอลล์ชะนะแต่ละครั้งก็จะเดินขบวนกันไปที่บ้านป้อมเพชรแสดง ความดีใจ, และนักกีฬาก็จะได้ดื่มแชมเปญอย่างดีที่นั่นด้วย.
หลังจากสอบไล่แล้วก็จะประสาทปริญญา, จะมีการเรียกนักศึกษาที่จะเข้ารับ ปริญญาบัตรไปอบรมพิเศษโดยให้กินนอนอยู่ที่มหาวิทยาลัย, จะทบทวนวิชาความรู้ ให้แน่น, จะทำความรู้จักรักใคร่และสามัคคีซึ่งกันและกันอย่างสนิทสนมด้วยการ กินอยู่อบรมฝึกฝนร่วมกัน. พวกเขาจะช่วยตัวเองทั้งหมด. จะไปจ่ายตลาดเองด้วย รถนักฟุตบอลล์ทุกเช้า, จะทำอาหารเอง, จะกำหนดเมนูเอง, ผลัดเปลี่ยนกันเสิรฟ อาหารและเก็บกวาดล้างถ้วยชามเอง,หัดนั่งโต๊ะดินเน่อร์และแกรนด์ ดินเน่อร์ไป พร้อมเผื่อว่าเมื่อออกไปประกอบอาชีพอยู่ในสังคมภายนอกแล้วจะได้สามารถ ปฏิบัติตนถูกต้องอย่างสะบาย. วันรับปริญญาจะมีแกรนด์ ดินเน่อร์, มีกล่าวอวย พรนักศึกษาที่รับปริญญา, มีการฉลองภายใน. ดร.ปรีดีล้วนแต่มาติดตามดูแลด้วย ตนเองอย่างใกล้ชิดตลอดเวลา. รับปริญญาแล้วก็จะไปพบดร.ปรีดีเป็นการส่วนตัวที ละคนทุกคน, สนทนากันถึงอนาคตของแต่ละคน, ให้ผู้ประศาสน์การได้รับรู้ว่าใคร จะไปทำอะไรอยู่ที่ไหน. หลังจากจบการศึกษาออกไปและหลังจากที่นิคมมธก.เลิกไป แล้ว, พวกชาวนิคมร้อยคนนั้นก็จะพบกันเป็นประจำทุกปี, รับรู้ซึ่งกันและ กัน, เสนอความเห็นซึ่งกันและกัน, รักษาสายสัมพันธ์นี้ไว้ไม่ให้ขาด. พวกเขา เป็นแกนของนักเรียนเก่ามธก.และได้เป็นผู้ริเริ่มสิ่งที่เรียกว่าการกิน เลี้ยงในคณะนักเรียนเก่าประจำปี (หรือบางพวกเรียกว่าการเลี้ยงรุ่น). เวลา นั้นเขาจะแต่งเครื่องหมายของ มธก., มีหมวกกระดาษเป็นหมวกหนีบสีเหลืองแดงใส่ ทุกคน, มีธงกระดาษเล็กๆสีเหลืองแดงถือมากัน. การกินอาหารเป็นเพียงสิ่งจำ เป็นเพราะเป็นเวลาค่ำ, เรื่องหลักคือการพบปะรับรู้ซึ่งกันและกัน, เสนอความ เห็นซึ่งกันและกันด้วยความรักใคร่ห่วงใยและพิทักษ์เกียรติกับศักดิ์ศรีของม ธก.เรา. พวกเขากระจายกันอยู่ทุกแห่งทั่วประเทศ, ในงานอาชีพทุกชะนิด: บ้าง เป็นข้าราชการ, บ้างเป็นพ่อค้า; บ้างเป็นผู้พิพากษา, บ้างเป็นทนาย ความ; บ้างเป็นนักการเมือง, บ้างเป็นนักปฏิวัติ; บ้างเป็นครูบาอาจารย์และ บ้างก็เป็นนักประพันธ์, ฯลฯ. อิงอรเป็นคนหนึ่งในจำนวนนี้, ก่อ เกียรติ (เวื่อง) ษัฎเสณ ก็เป็นคนหนึ่งในจำนวนนี้. พิบูล ภาษีผลเป็นคนหนึ่ง ในจำนวนนี้และสานน (สีนวล) สายสว่างก็เป็นคนหนึ่งในจำนวนนี้. บัดนี้ชาวนิคม ได้ร่อยหรอไปมากแล้วและได้ขาดการพบปะติดต่อกันไป. แต่ชาวมธก.และวิญญาณของม ธก.ยังอยู่. มหาวิทยาลัยสถานที่เพาะผู้ปฏิบัติงานกระฎุมพีนี้ยังอยู่มิได้ ล้มไปเพราะการปองร้ายของพวกศัตรูประชาธิปไตย. ประชาธิปไตยกระฎุมพียังไม่อาจ มั่นคงเข้มแข็งเพราะชนชั้นกระฎุมพีไทยมีความอ่อนแอทางเศรษฐกิจและการเมือง เป็นอันมาก. แต่พวกเขาก็ได้มีคุณูปการที่สำคัญมากต่อการเมืองเมืองไทย. พวก เขาได้สร้างสะพานเชื่อมให้แก่การปฏิวัติของประชาชนอย่างแท้ จริง. ดร.สายหยุด แสงอุทัยไม่รู้ว่าเขาได้สอนนักศึกษาที่ต้องการไปไกลกว่า ระบอบของพวกชนชั้นนายทุน. มาโนช วุฑยาทิตย์หัวหน้าห้องสมุดมธก.ก็ไม่รู้ว่า เขาได้ช่วยให้เพื่อนนักศึกษาของเขาได้ไปค้นคว้าหาทางออกที่แท้จริงของการ ปฏิวัติประเทศไทยที่นั่น. ดร.เดือน บุนนาค, เลขาธิการ, ไม่รู้ว่ามธก.ได้ กลายเป็นป้อมประชาธิปไตยที่ก้าวหน้าและเป็นป้อมเพชรที่แข็งแกร่งที่สุดในการ ต่อสู้เพื่อเอกราชประชาธิปไตยมาตลอดทุกยุคทุกสมัยของการผันผวนของการเมือง ไทยที่ล้มลุกคุกคลานมาเป็นเวลาห้าสิบปีแล้ว. หลวงวิจิตรวาทการไม่รู้ว่าเขา ได้ให้มหาวิทยาลัยศิลปากรเป็นมิตรร่วมทางที่ดีและซื่อสัตย์แก่นักประชา ธิปไตยในมธก. เจ้าคุณอนุมานราชธนไม่รู้ว่าท่านได้อำนวยความสะดวกให้แก่นัก ศึกษามธก.ใช้ห้องอ่านหนังสือของหอพระสมุดแห่งชาติเป็นที่ค้นคว้าและทำ งานอย่างสงบเพื่อการต่อสู้ปฏิวัติที่อึกทึกครึกโครมและนองเลือดข้าง นอก. หลวงพิบูลสงครามไม่รู้ว่าการยึดและทำลายมธก., เอานักศึกษาไปเรียนร่วม กับนิสิตจุฬาฯนั้นเป็นการยกจุฬาฯให้เป็นสหายศึกของสำนักนักศึกษาท่าพระ จันทร์. ประยูร ภมรมนตรี, เจ้ากรมยุวชนทหาร, ไม่รู้ว่าการเข้าไปในมธก.เพื่อ ยุให้นักศึกษาเดินขบวนเรียกร้องดินแดนคืนจากฝรั่งเศสนั้นแท้จริงเป็นการ พิสูจน์การนำของพรรคการเมืองชนชั้นกรรมาชีพแท้ๆ, ทำให้มวลนักศึกษาเดินตาม การนำที่ถูกต้องของพรรคแห่งชนชั้นกรรมาชีพซึ่งได้รับการทดสอบอย่างนองเลือด ในครั้งนั้น. หลายคนไม่รู้ว่าอะไรได้เกิดขึ้นในมธก., อะไรได้พัฒนาไปใน มธก., แต่ก็ไม่พอใจที่มธก.ได้ทำเรื่องที่คนไทยไม่เคยทำมาก่อนทั้งสิ้น. มี แต่ผู้ประศาสน์การผู้เดียวที่รู้, ที่ทราบ; แต่ก็มิได้ปริปากจนกระทั่งตัว ท่านถึงแก่อสัญกรรมที่ฝรั่งเศส–ดินแดนแห่งการปฏิวัติกระฎุมพีที่ยิ่ง ใหญ่. ผู้ประศาสน์การไม่ได้เป็นผู้จัดตั้งการเคลื่อนไหวที่ก้าวหน้าใน มธก., ไม่ควรเอาชื่อผู้ประศาสน์การไปพัวพัน. แต่การกระทำของผู้ประศาสน์การ ที่ได้สร้างสถานฝึกอบรมผู้ปฏิบัติงานแบบใหม่ของพวกกระฎุมพีนี้ในตัวของมัน เองได้กลายเป็นการจัดตั้งพลังที่ก้าวหน้าของสังคมไทย.
ผู้ประศาสน์การไม่รู้ไม่เห็นต่อการกระทำทางการเมืองใหญ่ๆของนักศึกษามา ก่อน. นี่เป็นความสัจจริงที่ชาวมธก.ทุกคนรับรอง. แต่ผู้ประศาสน์การก็เป็น ผู้ที่เห็นอกเห็นใจบรรดานักศึกษาและบรรดาการเคลื่อนไหวนั้นๆทุกครั้ง. มี เพียงครั้งเดียวที่ผู้ประศาสน์การไม่เห็นด้วย, คือการเตรียมเดินขบวนเรียก ร้องดินแดนคืนจากอินโดจีนฝรั่งเศสซึ่งหลวงพิบูลฯได้ยุให้เกิดขึ้นเพื่อ เตรียมเปิดทางให้จักรพรรดินิยมญี่ปุ่นเข้ายึดประเทศไทยสะดวกจากทางด้านอินโด จีน. และครั้งนั้นนักศึกษามธก.ก็ได้ทำผิดพลาดไป, ไม่ฟังคำเตือนด้วยหวังดี ของผู้ประศาสน์การของตนเองเพราะอำนาจลัทธิชาตินิยมหรือลัทธิไทยมหาอำนาจที่ หลวงพิบูลฯยุขึ้นมาบดบังทรรศนะทางการเมืองที่ตนได้ศึกษามา.
ลัทธิชาตินิยมกระฎุมพีเป็นอันตรายร้ายแรงของเยาวชนและก็เป็นอันตรายร้ายแรงของประเทศชาติด้วย.
มธก.เป็นสถาบันการศึกษาของพวกกระฎุมพี. เพราะฉะนั้นถึงอย่างไรก็ยากที่จะคัดค้านทรรศนะของกระฎุมพีเองได้, โดยฉะเพาะทรรศนะชาตินิยม.
มีแต่นักศึกษาที่ก้าวไปไกลกว่าทรรศนะของกระฎุมพีเท่านั้นที่จะมีหูตาค่อนข้างแจ่มใสในเรื่องนี้.
กรณี 14 ตุลาคม เป็นเรื่องใหญ่, แต่ก็หยุดอยู่แค่ทรรศนะกระฎุมพี. อนาคตของมธก.ได้ฝากอยู่กับทรรศนะใหม่ของประชาชนที่ต้องการเอกราชและ ประชาธิปไตยอันแท้จริงแม้ภายใต้ระบบโลกทุนนิยม, ระบบโลกจักรพรรดินิยม.
มธก.จะต้องก้าวไป, จะต้องก้าวต่อไป, จะต้องไม่หยุดอยู่แค่พรมแดนกระฎุมพีเท่านั้น.
บัดนี้ไม่มีผู้ประศาสน์การแล้ว, แต่ทว่าวิญญาณประชาธิปไตยที่ก้าวหน้าของผู้ประศาสน์การจะยังคงดำรงอยู่สืบไป.
ผู้ประศาสน์การมีคนเดียว!
หมายเหตุ
ต้นฉบับของความเรียงเรื่อง “ผู้ประศาสน์การมีคนเดียว” สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ได้เผยแพร่ต่อสาธารณะครั้งแรกในวาระ 84 ปี อัศนี พลจันทร (15 กันยายน 2416 – 2545) เขาได้ต้นฉบับความเรียงนี้ในในรูปเอกสารถ่ายสำเนา (“ซีร็อกซ์”) ขนาด “จดหมาย” ต้นฉบับคงเป็นกระดาษแบบแผ่นใสบาง ๆ และพิมพ์ด้วยเครื่องพิมพ์ดีด บางจุดมีการเขียนด้วยลายมือแก้เพื่อเพิ่มคำที่พิมพ์ผิดหรือตกหล่น ความเรียงนี้มีการสะกดคำให้ตรงกับต้นฉบับมากที่สุด

'วางเกมสู้'สิ่งที่ไม่คาดคิด ยึดตำรวจ-ครองทัพเรือ เกิดวิกฤตพึ่งเพื่อนไม่ได้ ต้องพึ่งคน'ในครอบครัว'

เอกยุทธ์


ไม่ใช่เรื่องแปลก ที่พอ “รัฐบาลพี่คิด-น้องทำ” ได้ครองอำนาจแบบเบ็ดเสร็จ การปลุกผี “รัฐตำรวจ” ให้กลับมายิ่งใหญ่อีกครั้ง...จึงต้องเกิดขึ้นอย่างแน่นอน เพราะเป็นอะไรที่ “ทักษิณ ชินวัตร” ต้องการให้เป็นเช่นนั้นจริงๆ เพื่อหวังมาคานอำนาจกับ “คนสีอื่น” โดยเฉพาะ “สีเขียว”
ดังนั้นเกมเขย่าบัลลังก์ “ผู้นำสีกากี” เพื่อเปิดทางให้ “พี่เมีย-พล.ต.อ.เพรียวพันธุ์ ดามาพงศ์” ได้ก้าวขึ้นมามีอำนาจ และเป็นเกียรติยศแก่วงศ์ตระกูล จึงจำเป็นต้องเร่งทำ-รีบทำ โดยไม่สนใจเสียงนกเสียงกา
ต่อด้วย...การดึง “พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว” รองผบ.ตร.อีกคน ไปทำหน้าที่ “รักษาการเลขาธิการสำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติด” (ป.ป.ส.) หรือแนวคิดที่จะโยก “พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง” รองปลัดกระทรวงยุติธรรม ไปเป็น “ผอ.ศอ.บต.” ซึ่งเป็นระดับ 11 ก็เพื่อเปิดทางไว้ภายภาคหน้า หากได้สลับเก้าอี้ใหญ่อื่นๆ ในฐานะ “ปลัดกระทรวง”
ส่วนที่สำเร็จไปแล้วคือ การดึง “พ.ต.อ.สุชาติ วงศ์อนันตชัย” (คนที่เคยทำคดียุบพรรคประชาธิปัตย์) จากตำแหน่ง “ผู้ตรวจราชการกระทรวงไอซีที” กลับมาใหญ่ เป็นถึง “อธิบดีกรมราชทัณฑ์” เพื่อมาดูแลเรื่อง “ฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษ” ให้ “นักโทษทักษิณ” รวมถึงการให้ “พ.ต.อ.ดุษฎี อารยวุฒิ” ผู้ตรวจราชการกระทรวงยุติธรรม (เพื่อนซี้พ.ต.อ.ทวี) มาเป็น “เลขาธิการ ป.ป.ท.” เพื่อเข้ามาดูแลเรื่องทุจริตในภาครัฐ
ส่วนการโยกย้ายระดับ “นายพลสีกากี” ก็คงมีการจัดทัพกันใหม่หมด “นายพลใจสีแดง” คงได้รับอานิสงส์กันถ้วนหน้า โดยเฉพาะเก้าอี้ “ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล” (มีหน่วยอรินทราช) และ “ผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง” (มีหน่วยคอมมานโด-สังกัดกองปราบปราม) ที่คงหนีไม่พ้น “พล.ต.ต.วินัย ทองสอง” (หลานเขย) กับ “พล.ต.ต.โกสินทร์ หินเธาว์” (เด็กสร้างแห่งบ้านจันทร์ส่องหล้า) เพื่อจะได้วางใจในกรณีที่มีม็อบมาป่วนกรุง
แต่ที่น่าสนใจเวลานี้คือ...การรุกคืบเข้าไปขยายอาณาจักรใน “กองทัพเรือ” ด้วยการเริ่ม “เอาใจ” ในการจะ “ไฟเขียว” ให้ซื้อ “เรือดำน้ำ” ซึ่งเป็นความหวังของ “ราชนาวี” มาตลอด แต่ที่ผ่านมา “ถูกดอง” เพราะ “ผู้มีอำนาจรัฐ” มักไม่เห็นค่า มองเป็นแค่ “ลูกเมียน้อย ผิดกับ “กองทัพบก” ที่เป็น “ลูกเมียหลวง” และ “กองทัพอากาศ” ที่เป็นลูกในไส้...อีกคน
กระแสข่าวที่ว่า “ตท.10” เพื่อนร่วมรุ่นของ “ทักษิณ” และ “พล.ร.อ.กำธร พุ่มหิรัญ” ผบ.ทร.คนปัจจุบัน ที่กำลังเกษียณราชการในอีกไม่กี่วัน มีการต่อสายตรงถึง “ทักษิณ” เพื่อขอ “ไฟเขียว” ในการอนุมัติให้จัดซื้อเรือดำน้ำ (ยู 206 เอ ซึ่งเป็นเรือดำน้ำมือสองจากเยอรมัน จำนวน 6 ลำ วงเงิน 7.7 พันล้านบาท) เพื่อให้ทันปีงบประมาณและ “เส้นตาย” ที่กองทัพเรือเยอรมันขอคำตอบว่า “จะเอา” หรือ “ไม่เอา”
ซึ่งข่าวรายงานว่า “ทักษิณ” โอเคแล้ว เพราะมองว่า ถึงเวลาต้องหันกลับมาดูแลกองทัพเรือบ้าง เพราะที่ผ่านมา “ถูกมองข้าม” มาตลอด…ก็คงต้องรอดูกันต่อไปว่า ระยะเวลาอีก 2 สัปดาห์ที่เหลือ ก่อนถึงเดตไลน์  “น้องสาว” จะทำตามที่ “พี่ชาย” คิด...หรือไม่
แต่อยากให้มองไกลๆ ไปว่า นี่คือเกมที่ “ทักษิณ” ถนัด...นั่น คือ การเอาใจ “กองทัพเรือ” เพื่อจะดึงมาคานกับ “กองทัพบก-กองทัพอากาศ” ซึ่งรับรู้กันว่า “หัวขบวนใหญ่” ของทั้งสองกองทัพ อยู่คนละข้าง-คนละขั้วกับ “ระบอบทักษิณ” และเป็นไม้เบื่อไม้เมากันมาตลอด
ผิดกับ “กองทัพเรือ” ที่พยายามทิ้งระยะห่างกับ “การเมือง” มาตลอด และ “พล.ร.อ.กำธร” ก็เป็นตท.10 อีกทั้ง “ว่าที่ผบ.ทร.คนใหม่” ที่ว่ากันว่าจะเป็น “พล.ร.อ.สุรศักดิ์ หรุ่นเริงรมย์” ทั้งที่มีอาวุโสอันดับ 8 แต่ดันเป็น “น้องเลิฟ” ของ “พล.ร.อ.กำธร”
ปมสำคัญอีกประการคือ โผกองทัพเรือครั้งนี้...มีชื่อ “พล.ร.ท.เกียรติศักดิ์ ดามาพงศ์” ที่ปรึกษากองทัพเรือ  (เป็น ตท.13 แต่จบ ตท.15) ซึ่งเป็นพี่ชายต่างมารดาของคุณหญิงพจมาน ณ ป้อมเพ็ชร ที่จะข้ามหัวไปเป็น “ผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน” (ผบ.นย.) ซึ่งหากเป็นจริง ถือว่า “แยบยลยิ่ง”
ที่บอกว่า “แยบยลยิ่ง” ก็เพราะ “นาวิกโยธิน” คือ ทหาร เรือที่ได้รับการฝึกฝนเป็นพิเศษ เพื่อปฏิบัติภารกิจนอกเหนือจากในน่านน้ำตามปกติ โดยมุ่งเน้นการรบภาคพื้นดิน ที่เรียกว่า การรบสะเทินน้ำสะเทินบก เปรียบเสมือนเป็น “ทหารเหล่าราบ” ของกองทัพเรือนั่นเอง แถมมีขีดความสามารถสูง ได้รับการฝึกทั้งการรบทางทะเลและการรบทางบก สามารถปฏิบัติการได้คล่องตัว เช่น เมื่อต้องการยกพลขึ้นบก การยุทธที่มีความคาบเกี่ยวกับสถานการณ์บกและน้ำ นอกจากนี้ยังสามารถปฏิบัติงานในท้องที่ชายฝั่ง รักษาความสงบตลอดน่านน้ำ เป็นต้น
สาเหตุสำคัญที่ “ทักษิณ” ต้องรุกคืบ ก้าวเข้ามายึดกุม “ตำรวจ” และครอบงำ “กองทัพเรือ” ก็เพื่อเอาไว้เป็นขุมกำลังไว้ต่อกรกับ “กองทัพบก-กองทัพอากาศ” ในกรณีที่อาจเกิดเหตุ “ขออภัยในความไม่สะดวก” อีกครั้ง
อย่าลืมว่า ก่อนโดนปฏิวัติรัฐประหาร 19 ก.ย. 2549 ที่ช่วงเวลานั้น “สถานการณ์การเมืองคุกรุ่นและร้อนแรง” ทาง “ทักษิณ” ก็ตั้งใจจะให้ “พล.ร.ท.เกียรติศักดิ์” ก้าวมารับตำแหน่งนี้แล้ว เพียงแต่ว่า “โดนปฏิวัติเสียก่อน” ทำให้แผนการที่จะนำ “นาวิกโยธิน” มาเป็นเกราะป้องกัน-ค้ำบัลลังก์ให้ตัวเองต้องพังพาบไป
ดังนั้น...เมื่อหนนี้กลับมามีอำนาจอีกครั้ง การเร่งดำเนิน การโยกย้าย-แต่งตั้ง “คนของตัวเอง” ให้ได้ยึดครองเก้าอี้สำคัญทั้ง “ตำรวจ-กองทัพเรือ” โดยเฉพาะตำแหน่งที่จะกุมกองกำลังที่มีประสิทธิภาพ จึงเป็นสิ่งที่ต้อง “รีบทำ”
เพราะบทเรียนในอดีตมีให้เห็นแล้วว่า แม้แต่ “เพื่อน” ที่คิดว่า “เชื่อใจได้” สุดท้ายเมื่อถึงเวลาต้อง “แตกหัก” ก็ไม่มีใครกล้าต่อต้าน/ต่อสู้
ยิ่งหนทางข้างหน้า...“การเมือง” ดูท่าจะร้อนแรงและรุนแรงมากยิ่งขึ้น การใช้ “คนในครอบครัว-คนในเครือญาติ” จึงน่าจะไว้วางใจในยามที่ต้องเผชิญกับ “เรื่องคาดไม่ถึง”
เห็นแนวคิดอย่างนี้แล้ว...บอกได้คำเดียวว่า เป็น “รัฐบาลเพื่อเครือญาติ” และห้ามกระพริบตาเด็ดขาด!!!

ปชป.บุกร้องผู้ตรวจการ สอบจริยธรรมยิ่งลักษณ์ 'นายกฯ'โต้SCไม่ได้ปย. 'ถ้าดูข้อเท็จจริงก็คงเห็น'



"ปชป." ร้อง "ผู้ตรวจการฯ" เร่งสอบจริยธรรม “ยิ่งลักษณ์” โดยส่งต่อให้ป.ป.ช.ตรวจสอบ กรณีโครงการบ้านหลังแรก เอื้อประโยชน์ให้ "เอสซี แอสเสทฯ" ด้าน “นายกฯปู” โต้ทันควัน ยัน "เอสซีฯ" ได้ประโยชน์น้อยมาก อ้อนใส่ ถ้าคนได้ดูข้อเท็จจริงก็คงจะเห็น

วันที่ 29 ก.ย. 2554 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 12.15 น. ที่สำนักงารผู้ตรวจการแผ่นดิน ศูนย์ราชการ แจ้งวัฒนะ อาคารบี นายวิรัตน์ กัลยาศิริ ส.ส.สงขลา และนายบุญยอด สุขถิ่นไทย ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะคณะทำงานด้านกฎหมาย ได้เข้ายื่นหนังสือร้องเรียนต่อผู้ตรวจการแผ่นดิน เพื่อขอให้ตรวจสอบจริยธรรมผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองของน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กรณีที่มีผลประโยชน์ทับซ้อนกับนโยบายโครงการบ้านหลังแรกของรัฐบาลผ่านนาย เฉลิมศักดิ์ จันทรทิม เลขาธิการสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน

โดยนายวิ รัตน์ กล่าวว่า คณะทำงานด้านกฎหมายของพรรคประชาธิปัตย์เห็นว่าการที่รัฐบาลมีนโยบายลดการจัด เก็บภาษีให้กับประชาชนที่ซื้อบ้านหลังแรกโดยกำหนดเพดานราคาบ้านที่มีสิทธิ เข้าร่วมโครงการที่ราคาไม่เกิน 5 ล้านบาทนั้นเป็นการเอื้อประโยชน์ให้กับบริษัทเอสซี แอสเสท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นบริษัทของครอบครัวตระกูลชินวัตรถือเป็นกรณีมีผลประโยชน์ทับซ้อนที่ มีสภาพร้ายแรงขัดต่อรัฐธรรมนูญ และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยจริยธรรมข้าราชการการเมือง พ.ศ. 2551 สมควรที่ผู้ตรวจการแผ่นดินต้องดำเนินการตรวจสอบ และส่งเรื่องให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) พิจารณาดำเนินการเพื่อนำไปสู่การถอดถอน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ออกจากตำแหน่งตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 279

“เดิมรัฐบาลกำหนดเพดานราคา บ้านที่จะได้รับการลดหย่อนการเก็บภาษีว่า มีราคาหลังละไม่เกิน 3 ล้านบาท แต่ต่อมาได้ปรับเป็น 5ล้านบาท ซึ่งผู้ที่จะซื้อบ้านราคาหลังละ 5ล้านบาทได้นั้นต้องมีรายได้ต่อเดือนไม่ต่ำกว่า 1 แสนบาท โดยกรณีดังกล่าวนี้ บริษัทเอสซี แอสเสทฯ ได้มีการโฆษณาเชิญชวนให้ประชาชนไปซื้อบ้านของบริษัทฯ เพื่อรับโปรโมชั่นลดหย่อนภาษีบ้านหลังแรกตามนโยบายของรัฐบาล แต่น.ส.ยิ่งลักษณ์กลับบอกว่าไม่รู้ว่าบริษัทฯ มีนโยบายดังกล่าวและไม่รู้ว่าราคาบ้านของบริษัทฯนั้นเข้าข่ายได้รับการลด หย่อนภาษี ทั้งที่ตามข้อเท็จจริงน.ส.ยิ่งลักษณ์เป็นประธานกรรมการบริษัทฯมาก่อนปีพ. ศ.2550”นายวิรัตน์กล่าวและว่า  ดังนั้นโดยพยานหลักฐานจึงเชื่อได้ว่าน.ส.ยิ่งลักษณ์รู้เห็นกับนโยบายที่จะ เอื้อประโยชน์ต่อบริษัทและถือว่าเป็นกรณีผลประโยชน์ทับซ้อนร้ายแรงขัดต่อ ประมวลจริยธรรมผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองอย่างชัดเจน ถ้าเราปล่อยเรื่องนี้ผ่านไป อนาคตก็จะมีการซุกนั้นซุกนี้โดยไม่หวั่นเกรงกฎหมาย จึงหวังว่าผู้ตรวจการฯจะดำเนินการเรื่องดังกล่าวให้สมกับเจตนารมณ์ที่กฎหมาย บัญญัติไว้โดยเร็ว

สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินจะเร่งรัดสรุปเรื่อง เหตุปชช.ให้ความสนใจ
ด้าน นายบุญยอด กล่าวว่า การที่รัฐบาลลดทอนเพดานราคาบ้านลงมาคนที่ได้ประโยชน์จากการลดหย่อนภาษีต้อง เป็นบุคคลที่มีรายได้ต่อเดือนประมาณ 3 หมื่นบาท เพราะประชาชนที่มีรายได้น้อยก็ไม่ได้เป็นผู้ทีมีหน้าที่เสียภาษีอยู่แล้ว เมื่อไม่ได้เสียภาษีก็ไม่ได้รับการลดหย่อน ดังนั้นวิธีการของรัฐบาลในตอนหลังจึงไม่ได้อธิบายในเรื่องของผลประโยชน์ทับ ซ้อน โครงการดังกล่าวของรัฐจึงไม่ได้เป็นการตอบโจทย์ให้กับผู้มีรายได้น้อย แต่เป็นการตอบโจทย์ให้กับผู้ประกอบการมากกว่า

ขณะที่นายเฉลิมศักดิ์ กล่าวว่า ในส่วนของสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินจะดำเนินการเร่งสรุปเรื่องร้องเรียนดัง กล่าว เพื่อเสนอต่อผู้ตรวจการแผ่นดินให้พิจารณาภายใน 1-2 วันนี้ แต่ทั้งนี้ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยจริยธรรมข้าราชการการเมือง พ.ศ. 2551 มีขั้นตอนในการดำเนินการ ซึ่งต้องใช้ระยะเวลา อีกทั้งกรณีดังกล่าวไม่เคยมีตัวอย่างการดำเนินการมาก่อน อย่างไรก็ตามทางสำนักงานฯจะพยายามเร่งรัด เนื่องจากเป็นเรื่องที่ประชาชนสนใจ

“ปู” โต้โครงการคืนภาษีบ้านหลังแรก "เอสซีแอสเสทฯ" ไม่ตรงกลุ่มเป้าหมายที่ได้ผลประโยชน์

เวลา 13.30น. ที่ทำเนียบรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่นายวิรัตน์ กัลยาศิริ ส.ส.สงขลา หัวหน้าคณะทำงานฝ่ายกฎหมายพรรคประชาธิปัตย์ เตรียมยื่นผู้ตรวจการแผ่นดินรัฐสภา เอาผิดนายกรัฐมนตรี กรณีมีผลประโยชน์ทับซ้อนจากโครงการคืนภาษีบ้านหลังแรก ทำให้ บมจ. เอสซีแอสเสท คอเปอร์เรชั่น (SC) ที่ตัวเองมีหุ้นอยู่ได้ประโยชน์จำนวนมหาศาลว่า เรื่องนี้ได้ชี้แจงให้ประชาชนรับทราบแล้ว ทั้งนี้นโยบายคืนภาษีบ้านหลังแรกเป็นนโยบายที่เราตั้งใจที่จะคืนภาษีให้กับ ประชาชน และถ้าดูรายละเอียดของนโยบายจะเห็นว่าสุดท้ายประโยชน์ที่ได้รับจะอยู่ที่ตัว ผู้ซื้อ ที่สำคัญเรายังไม่มีนโยบายอะไรที่จะเอื้อกับผู้ประกอบการ และในส่วนของบริษัทเอสซีแอสเสทฯนั้น ถ้าถามถึงจำนวนประโยชน์ที่จะได้รับก็จะเห็นว่าน้อยมาก และไม่ตรงกับกลุ่มของบริษัทเอสซีแอสเสทฯเลยทีเดียว

“ดิฉันเองก็เข้า ใจกรณีที่มีการเตรียมยื่นถอดถอน แต่คงไม่ขอวิจารณ์แล้ว เพราะในรายละเอียดเชื่อว่าถ้าคนที่ได้ดูในข้อเท็จจริง ก็น่าจะเห็น”น.ส.ยิ่งลักษณ์กล่าว

นิติราษฎร์ Effect – ปฏิกิริยาต่อข้อเสนอของกลุ่มนิติราษฎร์

Siam Intelligence
ประเด็นทางการเมืองที่ร้อนแรงที่สุดในรอบ 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา คือ ข้อเสนอ 4 ประเด็นของ “คณะนิติราษฎร์” กลุ่มอาจารย์ด้านกฎหมายจากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่แถลงข่าวเมื่อวันที่ 18 กันยายน 2554 ในโอกาสครบรอบ 5 ปีเหตุการณ์รัฐประหาร 19 กันยายน
ข้อเสนอนี้ถูกจับตาจากสื่อมวลชนเป็นอย่างมาก เพราะหนึ่งในสี่ประเด็นที่นิติราษฎร์เสนอ มีประเด็น “การลบล้างผลจากการทำรัฐประหาร” โดยเฉพาะคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุข (คปค.) ตั้งแต่วันที่ 19 กันยายน 2549 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2549เสียเปล่าและถือว่าไม่เคยเกิดขึ้นและไม่เคยมีผลในทางกฎหมาย   ซึ่งสื่อหลายแหล่งมองว่านี่คือข้อเสนอ “ล้างผิดให้ทักษิณ” นั่นเอง
อย่างไรก็ตาม การวิพากษ์วิจารณ์ข้อเสนอของนิติราษฎร์ ก็ไม่ได้จำกัดเฉพาะประเด็นล้างผิดให้ทักษิณเท่านั้น ยังมีการถกเถียงกันในประเด็นอื่นๆ เช่น การแก้ไขมาตรา 112 หรือการแก้รัฐธรรมนูญด้วย
ผู้ร่วมถกเถียงข้อเสนอครั้งนี้ก็มีหลากหลายเป็นประวัติการณ์ ไม่ว่าจะเป็นนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี อดีตสมาชิก คมช. คตส. สสร. สนช. สื่อมวลชน และนักวิชาการอีกมาก นี่ยังไม่รวมความเห็นจาก “บุคคลทั่วไป” ที่ไม่มีชื่อเสียงทางสังคมมากนัก ซึ่งกระจายอยู่ทั่วประเทศไม่ว่าจะเป็นสภากาแฟหรือเฟซบุ๊ก
นิติราษฎร์
ไม่ว่าจะคัดค้าน สนับสนุน เห็นด้วย ตั้งคำถาม ข้อเสนอของนิติราษฎร์ครั้งนี้ ถือว่าเป็นประโยชน์ต่อประเทศไทยเป็นอย่างยิ่ง
เหตุเพราะข้อเสนอนี้จะเป็น “ตัวกระตุ้น” ให้คนไทยคิด ตั้งคำถาม อภิปราย ในข้อเสนอเหล่านี้อย่างเป็นวิชาการ หักล้างโต้เถียงกันด้วยเหตุผลและหลักการ ซึ่งย่อมจะมีผลดีต่อประเทศไทยในอนาคตอย่างแน่นอน
เราขอตั้งชื่อปรากฎการณ์นี้ว่า “นิติราษฎร์ Effect” ซึ่งถ้าเราอยู่ในอนาคตเบื้องหน้า แล้วหันมามองเหตุการณ์ช่วงเวลานี้ ก็คงจะเป็น “ช่วงเวลาสำคัญทางประวัติศาสตร์” อีกครั้งหนึ่ง
เพื่อให้ง่ายแก่การติดตาม SIU ขอนำเสนอ “เรื่องราว” และ “ปฏิกิริยา” ต่อข้อเสนอของนิติราษฎร์ จากบุคคลกลุ่มต่างๆ ในสังคมโดยสังเขป ผู้ที่สนใจสามารถอ่านเพิ่มเติมตามลิงก์ไปยังต้นฉบับที่ให้ไว้ และได้จัดทำ “แผนภาพ” (diagram) เพื่อช่วยทำความเข้าใจความสัมพันธ์ของเรื่องราวด้วย
แผนผังปฏิกริยาข้อเสนอนิติราษฎร์
แผนผังความสัมพันธ์ของ “ปฏิกิริยา” ต่อข้อเสนอนิติราษฎร์ (คลิกเพื่อดูภาพขนาดเต็ม)
หมายเหตุ: เพื่อไม่ให้บทความยาวจนเกินไป SIU จะขอคัดเฉพาะข้อความหรือคำพูดบางส่วนมาแสดงเท่านั้น (ตัวเน้นโดย SIU)

ข้อเสนอนิติราษฎร์ รอบแรก 18 กันยายน 2554

เรื่องราวเริ่มขึ้นจาก กลุ่มนิติราษฎร์ซึ่งประกอบด้วยคณาจารย์จากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้ใช้เวที “5 ปี รัฐประหาร 1 ปี นิติราษฎร์” เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2554 แถลงข้อเสนอ 4 ประเด็นใหญ่ ได้แก่
  • ลบล้างผลพวงของรัฐประหาร 19 กันยายน 2549
  • แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112
  • กระบวนการยุติธรรมของผู้ต้องหาหรือจำเลย และเยียวยาผู้ได้รับความเสียหายหลังรัฐประหาร
  • ยกเลิกรัฐธรรมนูญ 2550 และจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
รายละเอียดของข้อเสนอจากนิติราษฎร์ สามารถดูได้จาก แถลงการณ์คณะนิติราษฎร์: ลบล้างผลพวงรัฐประหาร, แก้ไขมาตรา 112, เยียวยาผู้เสียหายจากรัฐประหาร และ จัดทำรธน.ใหม่

หลากหลายปฏิกิริยาต่อข้อเสนอของนิติราษฎร์ ในสัปดาห์แรก

กลุ่มนายทหาร
พล.อ.สมเจตน์ บุญถนอม ส.ว.สรรหา และอดีตหัวหน้าสำนักงานเลขาณุการคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) ให้สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ในรายการ “สภาท่าพระอาทิตย์” ออกอากาศทางเอเอสทีวี เมื่อเช้าวันที่ 20 ก.ย. (ต้นฉบับจาก Manager) ว่าข้อเสนอของนิติราษฎร์เป็นการลบล้างความผิดของ พ.ต.ท.ทักษิณ ที่อยู่ระหว่างการหลบหนีคดีเท่านั้น
ได้อ่านแถลงการณ์ดังกล่าวแล้ว สรุปได้อย่างเดียวว่า เป็นไปเพื่อลบล้างคำพิพากษาต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ ที่อยู่ระหว่างหลบหนีคดีเท่านั้น

อดีตหัวหน้าสำนักงานเลขาฯ คมช.กล่าวต่อว่า ถ้าหากมีการเดินหน้าตามคำแถลงของคณะนิติราษฎร์จะเกิดกลียุคขึ้นอย่างแน่นอนซึ่ง ไม่ใช่การรัฐประหาร เมื่อก่อนถ้ามีการบริหารประเทศผิดพลาด มันเป็นเรื่องของความชอบกับไม่ชอบของประชาชน แต่สมัย พ.ต.ท.ทักษิณเป็นเรื่องของความรักกับความเกลียด หากทำตามคำแถลงของ คณะนิติราษฎร์คนที่รักทักษิณก็จะพอใจ แต่คนที่เกลียดทักษิณก็จะไม่พอใจ แล้วคนสองกลุ่มนี้จะออกมาปะทะกันเข้า อะไรจะเกิดขึ้นกับประเทศ จึงคิดว่าน่าจะทำให้เกิดกลียุคขึ้นอีกครั้งในแผ่นดินไทย
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก ให้สัมภาษณ์เมื่อ 23 กันยายน 2554 ว่าเป็นเสรีภาพในการคิด แต่จะทำอะไรต้องระมัดระวังว่าจะเกิดความแตกแยกขึ้นหรือไม่ (ข่าวจาก Nation)
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก กล่าวถึงข้อเสนอของนิติราษฎร์ที่ให้รัฐประหารเป็นโมฆะ พร้อมทั้งให้แก้ไขม.112 ของประมวลกฎหมายอาญาว่า เป็นแนวคิดของบรรดานักวิชาการ เพราะท่านมีเสรีในการคิด แต่เวลาจะพูดหรือทำอะไรก็ตาม ต้องระวังว่า จะทำให้เกิดความแตกแยกขึ้นมาหรือไม่ ซึ่งวันนี้บ้านเมืองกำลังเดินทางไปสู่การช่วยเหลือประชาชนที่ประสบภัยน้ำ ท่วม ดังนั้นเรื่องอื่นๆ ขอให้หยุดไว้ก่อนได้หรือไม่ แล้วค่อยมาหารือกัน เพราะทุกอย่างต้องเป็นเรื่องกระบวนการยุติธรรม ต้องใช้กระบวนการยุติธรรมแก้ไขปัญหา การพูดโต้ตอบไปมาไม่เกิดประโยชน์ ตนก็ไม่โต้ตอบดีกว่า
กลุ่มพันธมิตร-ผู้จัดการ
นายพิภพ ธงไชย แกนนำพันธมิตรฯ จัดรายการ “คนเคาะข่าว” ทาง ASTV เมื่อวันที่ 23 กันยายน (ต้นฉบับ) โดยบอกว่าข้อเสนอของนิติราษฎร์นั้น “ตื้น แคบ อคติ ขาดความฉลาดและลุ่มลึก” และบอกว่านิติราษฎร์ไม่ควรใช้มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นที่แถลงข่าว
นายพิภพได้กล่าวในช่วงหนึ่งว่า ต้องเข้าใจว่าคณะนิติราษฎร์เป็นการรวมตัวของนักวิชาการไม่กี่คน แต่เผอิญเป็นอาจารย์นิติศาสตร์ธรรมศาสตร์ แล้วไปแถลงที่คณะ อันนี้ไม่ยุติธรรมเพราะภาพออกมาว่านิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์เห็นด้วยกับข้อเสนอของกลุ่ม อันนี้ต้องระวัง ขอฝากถึงอาจารย์วรเจตน์ถ้าจะแสดงความคิดเห็นทางการเมือง ไม่ควรแถลงการณ์ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ตั้งเป็นกลุ่มนิติราษฎร์ก็ได้แต่ควรเสนอข้างนอก เพราะอาจารย์มหาวิทยาลัยไทยคลุมเครือในเรื่องนี้มาก ใช้ฐานะอาจารย์ ฐานะคณะ ฐานะของมหาวิทยาลัย ทำประหนึ่งเหมือนกับว่าเป็นฉันทานุมัติของมหาวิทยาลัย อันนี้ทำให้สังคมสับสน
นายพิภพกล่าวอีกว่า ข้อเสนอของคณะนิติราษฎร์ตื้น แคบ อคติ ขาดความฉลาดและลุ่มลึก ขัดแย้งกันในตัว เพราะเริ่มต้นการมองปัญหาก็มองผิดแล้ว ที่บอกว่ารัฐประหารปี 2549 เป็นการที่กระทำที่ผิดกฎหมาย ใช่เป็นการกระทำผิดรัฐธรรมนูญ เพราะรัฐธรรนูญปี 2540 มีการบัญญัติไว้ว่าให้ประชาชนสามารถรวมกลุ่มต่อต้านการรัฐประหาร และนำไปสู่การฟ้องศาลได้ แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จ
ที่บอกว่ารัฐประหารเป็นการทำลายนิติรัฐประชาธิปไตย และยังเป็นต้นเหตุของความขัดแย้งทางการเมืองต่อเนื่องมาจนปัจจุบัน ตน ขอถามอาจารย์วรเจตน์หน่อยว่าลืมไปแล้วหรือว่าต้นเหตุของปัญหาที่แท้จริงมา จากคำพิพากษาของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญในคดีซุกหุ้นภาค 1 เมื่อตุลาการบางคนรับเงิน เรื่องนี้เป็นเรื่องจริง เพราะพฤติกรรมที่ออกมาบอกมติของตุลาการก่อนเวลาปิดตลาดหุ้น ทำให้มีผลต่อตลาดหุ้นทันที เป็นการกระทำที่เห็นถึงความผิดชัดเจน
นายคำนูณ สิทธิสมาน คอลัมนิสต์ของเครือผู้จัดการ อดีตสมาชิก สนช. และ ส.ว. สรรหา เขียนบทความ “คณะนิติราษฎร์ รัฐธรรมนูญฉบับใต้ตุ่ม 2555 ??!” ในคอลัมน์ หน้ากระดานเรียงห้า บนเว็บไซต์ผู้จัดการ เมื่อวันที่ 24 กันยายน 2554 (ต้นฉบับ) พูดถึงประเด็นเรื่องรัฐธรรมนูญฉบับต่างๆ ที่คณะนิติราษฎร์เสนอให้นำมาใช้เป็นฐานในการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ (ประเด็นที่ 4 ของนิติราษฎร์) ที่อาจจะเกี่ยวข้องกับสถาบันพระมหากษัตริย์
แม้คณะนิติราษฎร์ไม่ได้ระบุออกมาตรง ๆ ว่ารัฐธรรมนูญใหม่ควรจะต้องร่างอย่างนี้ แต่การหยิบยกให้นำแต่เฉพาะรัฐธรรมนูญของคณะราษฎร 3 ฉบับ โดยเฉพาะรัฐธรรมนูญ 27 มิถุนายน 2475 ที่มีลักษณะเฉพาะแตกต่างออกไปจากรัฐธรรมนูญทุกฉบับ มาเป็นต้นแบบ โดยลดความสำคัญของรัฐธรรมนูญ 2540 ลงไป มันชวนให้คิดชวนให้คาดการณ์ได้ไม่ใช่หรือ ?
คำถามก็คือคนพรรคเพื่อไทยทั้งในฟากสภาและฟากรัฐบาลที่ออกมาสนับสนุนน่ะ ได้อ่านแถลงการณ์คณะนิติราษฎร์ครบถ้วนแล้วหรือยัง ? และมีความรู้ความเข้าใจในสิ่งที่คณะนักวิชาการที่ตั้งชื่อกลุ่มให้ล้อกับ “คณะราษฎร” คณะนี้ดีพอแล้วหรือยัง ??
นายประพันธ์ คูณมี อดีตสมาชิก สนช. และนายตวง อันทะไชย ส.ว.สรรหา ร่วมคุยในรายการ “คนเคาะข่าว” เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2554 ทาง ASTV (ต้นฉบับ) ว่าข้อเสนอของนิติราษฎร์เป็นการล้มล้างกระบวนการยุติธรรม
นายประพันธ์กล่าวว่า แถลงการณ์ของคณะนิติราษฎร์ ดูเจตนารมณ์แล้วไม่ใช่เพื่อราษฎร แต่หลักๆ ต้องการล้มล้างกระบวนการยุติธรรม ล้มล้างกระบวนการตรวจสอบยุคพ.ต.ท.ทักษิณ ผลพวงรัฐประหาร 19 กันยายน และรัฐธรรมนูญ 2550 ตนยังไม่เห็นมีประชาชนคนไหนตกเป็นเหยื่อของรัฐประหารเลย นอกจากมีราษฎรคนเดียวที่ชื่อ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ทีนี้คณะนิติราษฎร์มาเสนอให้ยกเลิกรัฐธรรมนูญ ยกเลิกประกาศ คปค. (คณะปฏิรูปการปกครองในระบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข) ประกาศให้การปฏิวัติเป็นโมฆะ คำวินิจฉัยของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองเป็นไม่มีผล สรุปมันก็ไม่ได้มีผลดีต่อราษฎร ยกเว้น พ.ต.ท.ทักษิณคนเดียว
มีรัฐธรรมนูญไหนบ้างที่ไม่ได้มาจากปฏิวัติ แล้วจะเอาหลักอะไรเป็นที่ตั้ง เอา หลักของนายวรเจตน์ (ภาคีรัตน์) หรือ ทั้งๆ ที่ไม่เคยเห็นนายวรเจตน์ทำอะไรให้บ้านเมืองเลย บรรพบุรุษวางรากฐานมาก็จะมารื้อทั้งหมด แล้วบอกไม่นิรโทษอันนี้มันยิ่งกว่านิรโทษอีก
ถ้าเป็นนักกฎหมายที่ดีต้องคิดว่ามีผลกระทบราษฎรตรงไหน แม้กระทั่งเยียวยาพวกเผาบ้านเผาเมือง ควรเยียวยาผู้เสียหาย ไม่ใช่เยียวยาคนกระทำผิด ถ้าจะเอาหลักต้องเอาหลักยุติธรรมของบ้านเมือง แต่คนพวกนี้ไม่เคยคิดให้ดำเนินการตามกฎหมายอย่างตรงไปตรงมา กลับต้องการรื้อกฎหมายเพื่อช่วยคนผิด
นายตวงกล่าวว่า ข้อเรียกร้องของคณะนิติราษฎร์ขัดกับตัวเอง เช่น เรียกร้องให้ปฏิรูปการเมือง ให้เป็นการเมืองสมัยใหม่ แต่กลับเรียกร้องให้ใช้รัฐธรรมนูญปี 2475 ต้องถามก่อนว่ามันคืออะไร คนกลุ่มนี้เรียกตัวเองว่าเป็นนักกฎหมายหัวใหม่ เอาเข้าจริงวิธีคิดก็เป็นแบบนักปฏิวัติ
ถ้าเราคิดย้อนหลังไปเรื่อยๆอย่างนี้สังคมมันอยู่ไม่ได้หรอก ถ้าขึ้นมามีอำนาจก็แก้กฎหมายแก้ความผิด ถามว่าแล้วยุติธรรมต่อประชาชนหรือเปล่า หากจะคิดสามารถทำได้ แต่ต้องกลับไปสู่ความเป็นจริง หากอ้างว่าทำเพื่อการปรองดอง อย่าลืมว่าเพื่อไทยเป็นรัฐบาลตอนนี้ แล้วคนเป็นนายกฯจะบริหารบ้านเมืองอย่างไร ถ้าไม่สามารถควบคุมคนของพรรค หรือเครือข่ายตัวเองได้ ควบคุมไม่ได้ก็ไม่สามารถทำเรื่องปรองดองได้
พรรคประชาธิปัตย์
นายถาวร เสนเนียม ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะ “รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมเงา” ให้สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 19 กันยายนว่า ข้อเสนอของนิติราษฎร์อาจมีประเด็นแอบแฝง และรับงานจากกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งมา นอกจากนี้ยังตั้งประเด็นว่าอาจารย์จากกลุ่มนิติราษฎร์ เตรียมจะเข้าร่วมเป็นคณะกรรมการอิสระว่าด้วยหลักนิติธรรมแห่งชาติ (คอ.นธ.) ที่มีนายอุกฤษ มงคลนาวิน เป็นประธาน (ข่าวจาก MCOT)
“ขอตั้งคำถามกลับไปยังกลุ่มอาจารย์กลุ่มดังกล่าวที่ออกมาเคลื่อนไหวในเรื่องนี้ ว่าได้รับงานจากใคร กลุ่มใดหรือไม่ และมีผลประโยชน์อะไรหรือไม่ อย่างไร ทั้งหมดเพื่อเป็นการย้ำเตือนให้สังคมและสาธารณชนได้ฉุกคิดให้รอบคอบถึงข้อ เสนอดังกล่าว เพราะที่สุดแล้วอาจจะเป็นการทำลายหลักนิติรัฐ นิติธรรมของชาติได้ เช่นเดียวกันกรณีที่บุตรและภริยาของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี จะได้ประโยชน์จากการยกเลิกกรณีดังกล่าวหรือไม่ และใครจะเป็นผู้รับผิดชอบ” นายถาวร กล่าว
ในวันเดียวกัน นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และอดีตนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ว่าไม่เข้าใจแนวคิดของกลุ่มนิติราษฎร์ และดูเหมือนจะเจาะจงผลประโยชน์แก่คนบางกลุ่ม (ข่าวจาก Manager)
เมื่อถามกรณีกลุ่มนักวิชาการนิติราษฎร์ เสนอให้มีการรื้อระบบจากการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ใหม่ทั้งหมด เพื่อล้างผลปฏิวัติ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ไม่เข้าใจว่าจะผูกโยงไป ไกลกันทำไม ถ้าคิดว่ารัฐธรรมนูญเป็นปัญหาควรเสนอแก้ไขในประเด็นที่เป็นปัญหา แต่การก้าวล่วงถึงขนาดให้ลบล้างคำพิพากษาตนไม่เข้าใจ ดูเหมือนเป็นการเจาะจงเพื่อประโยชน์คนบางกลุ่มเท่านั้น อย่างไรก็ตาม ข้อเสนอของคอป.เขียนไว้ชัดในเรื่องประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ที่ระบุถึงการบังคับใช้กฎหมาย การรักษาหลักนิติรัฐ นิติธรรม การทำอะไรที่โปร่งใส ตรงไปตรงมายังเป็นเรื่องสำคัญ ซึ่ง นายกิตติพงษ์ (กิตยารักษ์ ปลัดกระทรวงยุติธรรม) รู้ดี
อดีต คตส.
นายแก้วสรร อติโพธิ อดีตเลขาธิการ คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) เขียนบทความชื่อ การเมืองไทยกำลังแปลงร่างเป็นระบอบทักษิณใหม่ ลงพิมพ์ในเว็บไซต์ Prasong.com ของนายประสงค์ เลิศรัตนวิสุทธิ์ อดีตบรรณาธิการในเครือมติชน เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2554 โดยบอกว่าความเคลื่อนไหวของกลุ่มนิติราษฎร์ เป็นหนึ่งในแผน 4 ขั้นของระบอบทักษิณใหม่ ซึ่งอยู่ในแผนส่วนที่ 4 คือสถาปนาระบอบใหม่ผ่านรัฐธรรมนูญใหม่ และใช้ คณะกรรมการองค์กรอิสระว่าด้วยหลักนิติธรรมแห่งชาติ (คอ.นธ.) และเครือข่ายนิติราษฎร์ ช่วยสนับสนุน
แผน๑ แผนมวลชนแดง ต้องปลุกให้พร้อมต่อไป เช่นจัดชุมนุม ๑๙กันยาเป็นต้น
แผน๒ แผนการเมือง เป็นรัฐบาลแล้วเข้ายึด สตช.และ ราชทัณฑ์ เตรียมอภัยโทษ
แผน๓ แผนสร้างภาพ เปิดญี่ปุ่นให้ผู้นำเข้า, ผู้นำกอดฮุนเซ็นได้ภาพนำสันติภาพ , จับมือเชฟรอนได้พันธมิตรยักษ์
แผน ๔ แผนสถาปนาระบอบใหม่ ใช้อำนาจรัฐบาลตั้ง คอ.นธ.เพื่อลงมือปูความคิด
“นิติธรรมแห่งชาติ”แล้วหล่อลื่นด้วยเครือข่าย“นิติราษฎร์”ในนิติธรรมศาสตร์
สื่อมวลชน-คอลัมนิสต์
เปลว สีเงิน บรรณาธิการและคอลัมนิสต์หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ เขียนถึงในบทความ ”วรเจตน์เพื่อวรเชษฐาทักษิณ” เมื่อวันที่ 22 กันยายน 2554
สรุปข้อเสนอจากกลุ่ม “วรเจตน์เพื่อวรเชษฐาทักษิณ” หรือเรียกตามสามัญศัพท์ว่า “กลุ่มอาจารย์เพี้ยนท่าพระจันทร์” ก็คือ เขา จะให้เขียนลงไปในรัฐธรรมนูญที่กำลังจะตั้ง “สภาร่าง” กันขึ้นมานั้น โดยให้ระบุลงไปในเนื้อหาเลยว่า ทุกคดี-ทุกเรื่อง ที่ทักษิณและคณะถูกดำเนินคดีจากกฎหมาย คมช.เป็นโมฆะหมด!
เหตุผลของเขาคือ อะไรที่เป็นผลพวงของรัฐประหาร ไม่ถูกต้อง ไม่ชอบธรรม ต้องล้างให้หมด!
นี่ ดีนะที่ “เพี้ยนท่าพระจันทร์” ขีดวงล้างเฉพาะกฎหมายจากปฏิวัติ ๑๙ กันยา ๔๙ พออ้างกับลูกศิษย์ในการสอนได้ว่า “ทักษิณเป็นบุคคลเลวโดยสุจริต ฉะนั้น กฎหมายใดที่ไม่เป็นคุณกับทักษิณ ถือว่าชั่วร้าย-ไม่เป็นธรรม ต้องล้างให้หมด”
ดีไม่เพี้ยนไปถึงขั้นให้ล้างกฎหมายทุกฉบับที่มาจาก ปฏิวัติ-รัฐประหาร ซึ่งมีทั้งหมด ๑๑-๑๒ ครั้ง ถ้าถึงขั้นนั้นกฎหมายที่เกิดจาก “คณะราษฎร” ปี ๒๔๗๕ ก็นับเป็นผลพวงจากสิ่งชั่วร้าย ไม่ถูกต้อง-ไม่ชอบธรรม ต้องล้างให้หมดไปด้วยเช่นกัน
‘จารย์เพี้ยนว่างั้นมั้ย!?

พรรคเพื่อไทยสนับสนุนข้อเสนอนิติราษฎร์

นายเฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ที่ทำเนียบรัฐบาลเมื่อ 19 กันยายน 2554 ว่าข้อเสนอของนิติราษฎร์มีเหตุผล แต่ก็ยอมรับว่าเป็นไปได้ยากในทางปฏิบัติ (ข่าวจากเดลินิวส์)
อาจารย์กลุ่มนี้มีความรู้ความสามารถ โดยความเป็นจริงไม่มีครูที่ไหนเห็นด้วยกับการปฏิวัติ และการปฏิวัติเป็นผลพวงทำให้เกิดความยุ่งยากของบ้านเมือง ถ้าพูดในนามส่วนตัวของตนเห็นว่าอาจารย์มีเหตุผล แล้วใครไปตอบเขาได้หรือไม่ที่เขาพูดในแต่ละข้อ อาจารย์คณะนี้กล้าวิเคราะห์คำพิพากษาของศาลในหลายฉบับ ซึ่งตนอ่านและได้ติดตามอยู่แม้ส่วนตัวจะไม่รู้จักก็ตาม
ถามว่าข้อเรียกร้องดังกล่าวมีความเป็นไปได้หรือไม่ ร.ต.อ.เฉลิม กล่าวว่า เป็นไปได้ยาก เรื่องมันแล้วไปแล้ว อาจเป็นการแสดงความเห็นเชิงวิชาการ แต่ทุกอย่างเกิดขึ้นได้ทั้งนั้นถ้าประชาชนส่วนใหญ่ในประเทศเห็นด้วย
นางฐิติมา ฉายแสง โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงข่าวเมื่อ 21 กันยายน 2554 บอกว่าข้อเสนอของนิติราษฎร์สะท้อนถึงประชาธิปไตย และสมควรเผยแพร่ในสังคม (ข่าวจาก INN)
นางฐิติมา ฉายแสง โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงข่าวถึงข้อเสนอของคณะนิติราษฎร์ ที่เสนอแนวคิดมุ่งไปสู่การวางรากฐานของประชาธิปไตย ที่ไม่ยอมรับการรัฐประหาร และสมควรได้รับการเผยแพร่ในสังคม โดยมีมุมมองที่ตรงกับจุดยืนของรัฐบาล ที่อยากให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญปี 2550 ซึ่งมีที่มาจากการทำรัฐประหาร จึงไม่มีความเป็นประชาธิปไตย และทางรัฐบาลได้ยืนหยัดคัดค้านการรัฐประหารมาตั้งแต่ต้น ส่วนการที่พรรคประชาธิปัตย์ออกมาวิจารณ์คณะนิติราษฎร์ ที่ระบุว่า ทำเพื่อใครคนใดคนหนึ่ง และเป็นข้อเสนอที่ทำลายหลักนิติรัฐนั้น รัฐบาลเห็นว่าเป็นการกล่าวหาที่เลวร้ายเกินไป และแนวคิดดังกล่าว ตรงกับข้อเสนอของคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดอง แห่งชาติ (คอป.) จึงเสนอให้พรรคประชาธิปัตย์ เสนอบทความทางวิชาการของตัวเอง ที่จะโต้แย้งแนวคิดของคณะนิติราษฎร์ เพื่อให้ประชาชนได้ทราบถึงจุดยืนของพรรคประชาธิปัตย์ ว่ามีความเห็นต่อรัฐประหารอย่างไร

ภาพจากงานแถลงข่าวของนิติราษฎร์เมื่อ 27 มีนาคม 2554 (ภาพโดย SIU)

นิติราษฎร์แถลงชี้แจงรอบสอง 25 กันยายน 2554

หลังจากกลุ่มนิติราษฎร์เปิดข้อเสนอ 4 ประเด็นเพื่อลบล้างผลพวงของรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 และกลายเป็นประเด็นถกเถียงอย่างมากตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยเฉพาะการวิจารณ์จากนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์และอดีตนายกรัฐมนตรี รวมถึงนายถาวร เสนเนียม แกนนำพรรคประชาธิปัตย์
ทางคณะนิติราษฎร์จึงประกาศจัดเวทีให้วิพากษ์วิจารณ์ข้อเสนอ และตอบข้อซักถามต่างๆ ในวันอาทิตย์ที่ 25 กันยายน ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ซึ่งคณะนิติราษฎร์ก็แถลงการณ์ชี้แจงเพิ่มเติมอีก 7 ประเด็น (อ่านแถลงการณ์ฉบับเต็ม)
  1. คณะนิติราษฎร์เห็นว่าสื่อมวลชนบางสำนัก และนักการเมืองจำนวนหนึ่งเข้าใจข้อเสนอคลาดเคลื่อน ทั้งโดยเจตนา และไม่เจตนา โดยไปมุ่งเน้นประเด็นการลบล้างความผิด (ประเด็นแรกของแถลงการณ์ชิ้นแรก) เพียงประเด็นเดียว
  2. การลบล้างผลพวงของรัฐประหาร ๑๙ กันยายน ๒๕๔๙ ไม่ใช่เป็นการนิรโทษกรรม หรือการอภัยโทษ หากจะเริ่มดำเนินคดีกับบุคลดังกล่าวใหม่ก็สามารถกระทำไปตาม กระบวนการทางกฎหมายปกติได้
  3. คณะตุลาการรัฐธรรมนูญ ศาลรัฐธรรมนูญ และศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ได้นำเอาประกาศ คปค. มาใช้บังคับแก่คดี จึงไม่อาจปฏิเสธได้ว่าคำวินิจฉัยของหน่วยงานข้างต้นเป็นผลจากรัฐประหาร
  4. คณะนิติราษฎร์ไม่ได้เสนอให้ลบล้างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๔๙ และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ เป็นการทั่วไป แต่เลือกเฉพาะบางมาตรา (เฉพาะมาตรา ๓๖-๓๗) เพื่อไม่ให้ส่งกระทบต่อคนทั่วไปในวงกว้าง
  5. การลบล้างผลพวงของรัฐประหารสามารถทำได้ในทางกฎหมาย ดังตัวอย่างที่ปรากฏให้เห็นในนานาอารยประเทศ เช่น เยอรมนี ฝรั่งเศส สวิตเซอร์แลนด์ กรีซ
  6. เหตุที่คณะนิติราษฎร์เสนอให้ลบล้างผลพวงของรัฐประหาร ๑๙ กันยายน ๒๕๔๙ ในเบื้องต้นก่อนนั้น ก็เพราะว่าผลพวงของรัฐประหาร ๑๙ กันยายน ๒๕๔๙ ยังคงดำรงอยู่ และเป็นต้นตอของความขัดแย้งทางการเมืองซึ่งฝังรากลึกอยู่ในสังคมไทยในขณะนี้
  7. คณะนิติราษฎร์ขอยืนยันว่า แถลงการณ์ของเราเป็นไปเพื่อประโยชน์ทางวิชาการ โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานของการปฏิเสธรัฐประหารอย่างถึงที่สุด

อภิสิทธิ์-ถาวร ปฏิเสธไม่ร่วมซักถาม พร้อมพงศ์ อัด “ไม่กล้า”

นายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ไม่ไปร่วมงานแถลงข่าวและแลกเปลี่ยนความเห็นกับกลุ่มคณะนิติราษฎร์วันที่ 25 ก.ย.ว่า  ถือเป็นเรื่องปกติที่นายอภิสิทธิ์จะไม่ไป หากกลุ่มคนดังกล่าวต้องการแลกเปลี่ยนความเห็นก็มาพบได้ที่พรรคประชาธิปัตย์ หรือโทรศัพท์นัดมาที่ตน ซึ่งจะประสานงานหาสถานที่ที่เหมาะสม เนื่องจากเห็นว่ากลุ่มคณะนิติราษฎร์ยังคงใช้เวทีของมหาวิทยาลัย ซึ่งถือเป็นเรื่องไม่เหมาะสม ดังนั้นจึงอยากให้เลิกใช้มหาวิทยาลัยในการแสดงความคิดเห็นส่วนตัวหรือส่วน กลุ่ม เพราะยังมีบุคลากรภายในมหาวิทยาลัยจำนวนมาก ที่ไม่ได้เห็นด้วยกับการออกมาเคลื่อนไหวของกลุ่มนิติราษฎร์ ถ้าแน่จริงเลิกใช้หมวกมหาวิทยาลัยและหมวกนักวิชาการเคลื่อนไหว
ด้านนายถาวร เสนเนียม ส.ส.สงขลา ในฐานะรมว.ยุติธรรมเงา พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงนายวรเจตน์ ภาคีรัตน์ นักวิชาการกลุ่มนิติราษฎร์ ออกมาท้าให้ไปแสดงวิสัยทัศน์ต่อเวทีสาธารณะว่า คนอย่างนายวรเจตน์ไม่มีค่าพอ เพราะจากคำพูดและพฤติกรรมที่แสดงออกก็ชัดเจนว่าเป็นการทำเพื่อใคร และคิดหวังถึงประโยชน์ต่อประเทศชาติอย่างไร ทำไมต้องเสนอให้ล้างมลทินแค่ปี 49 ทำไมไม่ย้อนกลับไปทั้งหมดที่มีการปฏิวัติรัฐประหาร มีเจตนาที่จะช่วยคดีความของใครเป็นการเฉพาะหรือไม่ ถ้าอยากแสดงวิสัยทัศน์กับตนหรือพรรคประชาธิปัตย์จริง ก็ขอให้ไปบอกรัฐบาลให้จัดการแสดงวิสัยทัศน์ผ่านฟรีทีวี ตนพร้อมที่จะไป ขณะนี้สังคมต่างเคลือบแคลงว่า ข้อเสนอที่กลุ่มนิติราษฎร์เสนอมา โดยอ้างความเป็นนักวิชาการว่ามีความสุจริต ถูกต้องในความเป็นนักวิชาการหรือไม่อย่างไร (ข่าวจากเดลินิวส์)
นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย แถลงข่าวเมื่อ 25 กันยายน 2554 ไม่ได้พูดถึงข้อเสนอของนิติราษฎร์โดยตรง แต่โจมตีความเคลื่อนไหวของฝั่งพรรคประชาธิปัตย์ คือ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรค และนายถาวร เสนเนียม โดยบอกว่ากลุ่มนิติราษฎร์ไม่มีความเกี่ยวข้องกับพรรคเพื่อไทย และบอกว่านายอภิสิทธิ์ไม่มีความกล้าไปเชิญหน้ากับคณะนิติราษฎร์ (ข่าวจากเดลินิวส์)

หลากหลายปฏิกิริยาคัดค้านนิติราษฎร์ สัปดาห์ที่สอง

สภาทนายความ
วันที่ 27 ก.ย. นายสัก กอแสงเรือง อดีต คตส.และปัจจุบันดำรงตำแหน่ง ส.ว.สรรหา  ในฐานะนายกสภาทนายความ พร้อมคณะ เปิดแถลงการณ์ต่อกรณีของคณะนิติราษฎร์ โดยบอกว่าไม่เห็นด้วยกับการรัฐประหาร แต่ก็ไม่เห็นด้วยกับการใช้อำนาจรัฐบาลของ พ.ต.ท.ทักษิณ ครอบงำองค์กรอื่น (ข่าวจากเดลินิวส์)
การที่คณะนิติราษฎร์ออกแถลงการณ์ให้แก้ไขมาตรา 112 นั้น ทางสภานายความไม่เห็นด้วย รวมทั้งข้อเสนอยกเลิกรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 เนื่องจากมีการนิรโทษกรรมการรัฐประหาร ทางสภาทนายความเห็นว่าเป็นการเลือกใช้หลักการที่เป็นประโยชน์ต่อกลุ่มที่ตนเองต้องการสนับสนุนเท่านั้น มิได้ยึดถือหลักการทั่วไป สำหรับ การที่คณะนิติราษฎร์นำเสนอว่าเคยมีกรณีลบล้างคำพิพากษาและการกระทำที่เสีย เปล่าในต่างประเทศนั้น เห็นว่าระบบการเมืองไทยกับต่างประเทศนั้นแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง การนำแนวคิดต่างประเทศที่มีเหตุการณ์รุนแรงมาเผยแพร่ จะต้องรับฟังด้วยความระมัดระวัง ซึ่งอาจจะทำให้เกิดความแตกแยกในสังคมได้ รวมทั้งมีนักการเมืองบางคนสืบทอดเจตนารมณ์ทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตย โดยทุจริตมิชอบต่อทรัพย์สินของรัฐจนทำให้เกิดรัฐประหาร
โดยสภาทนายความตั้งข้อสังเกตว่า คณะนิติราษฎร์เสนอให้ส่วนที่ เป็นผลร้ายต่อนักการเมืองในอดีตเป็นอันสูญเปล่า แต่กลับเป็นประโยชน์ต่ออดีตนักการเมืองมากกว่าการแสวงหาความยุติธรรมให้แก่ สังคม การฉ้อราษฎร์บังหลวงเป็นอาชญากรรมระหว่างประเทศ ซึ่งไม่มีนักการเมืองคนใดที่จะทำให้สังคมไทยรับรู้ว่าการโกงบ้านโกงเมือง นั้นเลวร้ายยิ่งกว่ารัฐประหาร ซึ่งมุ่งทำลายความเลวของนักการเมืองบางคน และกระทำเพื่อผลประโยชน์ของประชาชนอย่างแท้จริง
พรรคประชาธิปัตย์
นายสกลธี ภัททิยกุล ส.ส. กทม. เขต 4 และรองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ (บุตรชายของพลเอกวินัย ภัททิยกุล อดีตเลขาธิการคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ) ให้สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 26 กันยายน ว่ากลุ่มนิติราษฎร์ควรฟังเสียงส่วนรวม และจับตามองว่านิติราษฎร์อาจได้ปูนบำเหน็จได้ (ข่าวจาก Manager)
นายสกลธี ภัททิยกุล รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีที่นักวิชาการของกลุ่มนิติราษฎร์ ออกมาแถลงการณ์ เป็นฉบับที่ 2 นั้น ซึ่งเห็นว่ากลุ่มนิติราษฎร์ควรที่จะรับฟังคำวิพากษ์วิจารณ์ ของส่วนรวมมากกว่านี้ และควรที่จะยกเลิกการใช้มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นเวทีในการแถลงข่าว เพื่อไม่สร้างความสับสนให้แก่ประชาชน พร้อมทั้งขอให้กลับไปย้อนดูข่าวก่อนการรัฐประหาร วันที่ 19 กันยายน 2549 ว่า มีการแทรกแซงองค์กรอิสระอย่างไรบ้าง รวมถึงการศึกษาคดีต่างๆ ของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ และสุดท้ายย้ำว่า พรรคประชาธิปัตย์ไม่ใช่คู่กรณีของกลุ่มนิติราษฎร์
นอกจากนี้ นายสกลธี ยังกล่าวอีกว่า อยากให้จับตามอง นักวิชาการของกลุ่มนิติราษฎร์ ต่อไปว่า อนาคตจะได้รับการปูนบำเหน็จเป็น สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) หรือไม่ ถ้าได้ ก็แสดงว่าเป็นการทำเพื่อตนเอง และ พ.ต.ท.ทักษิณ
ประสงค์ สุ่นศิริ
น.ต.ประสงค์ สุ่นศิริ อดีตประธานกรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญปี 50 (ส.ส.ร.) ให้สัมภาษณ์เมื่อ วันที่ 27 ก.ย.  ว่าอาจารย์บางคนในกลุ่มนิติราษฎร์ ทำงานรับใช้ พ.ต.ท.ทักษิณมาโดยตลอด และข้อเสนอมีจุดประสงค์เพื่อช่วยทักษิณคนเดียว (ไทยรัฐออนไลน์)
สำหรับนักวิชาการพวกนี้ หากดูจากการทำงานของอาจารย์บางคน ที่ผ่านมาก็ได้รับใช้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีมาตลอด เพราะฉะนั้นจุดมุ่งหมายที่สำคัญของคนกลุ่มนี้ ที่มีแนวทางตรงกันกับรัฐบาลชุดปัจจุบัน ซึ่งนำโดย น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี คือ ต้องการปลดเปลื้องพันธนาการให้กับ พ.ต.ท.ทักษิณ เพียงคนเดียวเท่านั้น  ไม่ได้มองสาเหตุของการปฏิวัติรัฐประหาร ทั้งนี้วิธีการต่าง ๆ ที่กลุ่มนิติราษฎร์นำมาออกมาเผยแพร่  ก็เพื่อเป็นการสร้างกลยุทธ์ที่ทำให้ประชาชนเกิดสงสัยและความเข้าใจผิด  อย่างไรก็ตามคณะนิติราษฎร์ก็เป็นเพียงกลุ่มที่ทำงานรับใช้อดีตนายกรัฐมนตรี มันไม่มีอะไรมากกว่านั้น
รัฐประหารที่ผ่านมา มันมีเหตุผล จะมาลบล้างทั้งหมดได้อย่างไร พวกนักวิชาการ ทำไมไม่มองที่ต้นเหตุ ส่วนข้อเรียกร้องที่ออกมาประกาศนั้น ดูกันดี ๆ ก็เพื่อช่วยเหลือทักษิณเพียงคนเดียว แต่ไม่เคยย้อนกลับไปว่า ทักษิณ ทำอะไรไว้บ้าง” น.ต.ประสงค์ กล่าว

หลากหลายปฏิกิริยาสนับสนุนนิติราษฎร์ สัปดาห์ที่สอง

นักการเมือง
จาตุรนต์ ฉายแสง อดีตรักษาการหัวหน้าพรรคไทยรักไทย เขียนแสดงความเห็นผ่านทวิตเตอร์ @chaturon (รวบรวมโดยมติชนออนไลน์)
มีความเห็นสั้นๆ อีกหน่อยครับเรื่องวิวาทะเกี่ยวกับข้อเสนอของกลุ่มนิติราษฎร์
เห็นกลุ่มนิติราษฎร์ออกมาชี้แจงเทียบกับคำวิพากษ์วิจารณ์ของปชป.แล้วก็ให้รู้สึกวังเวงเสียจริงๆ
กลุ่มนิติราษฎร์เขาชี้แจงอย่างมวยหลัก เต็มไปด้วยเนื้อหาสาระและเหตุผล ที่สำคัญคือมีความกล้าที่จะยืนยันหลักการและจิตวิญญาณของประชาธิปไตย
กลุ่มนิติราษฎร์ได้จุดประกายให้เห็นทางสว่างสำหรับสังคมไทยในการที่จะต่อต้านคัดค้านการรัฐประหารที่จะมีผลในระยะยาวต่อไป
ขณะที่ปชป.รวมทั้งคุณอภิสิทธิ์โจมตีเขาอย่างสะเปะสะปะ ไม่มีหลักการและยังกล่าวหาแบบมุ่งลดความน่าเชื่อถือด้วยการโยงเข้ากับคนๆ เดียวตามที่ถนัดตลอดมา
ปชป.และคุณอภิสิทธิ์ไม่ได้พูดถึงหลักการเกี่ยวกับประชาธิปไตยหรือการรัฐ ประหารซึ่งเป็นสาระสำคัญที่จะเป็นประโยชน์ต่อประชาชนเลยแม้แต่น้อย
ที่น่าสนใจไม่แพ้กันก็คือไม่มีนักวิชาการฝ่ายตรงข้ามหรือฝ่ายที่สนับสนุนการรัฐประหารที่ผ่านมาออกมาโต้แย้งหรือให้ความเห็นกันเลย
น่าสงสารประเทศไทยยิ่งขึ้นไปอีก
ที่ควรออกมาพูดแล้วไม่ออกมาพูดกันเลยก็รวมถึงนักกฎหมายมหาชนและคนใน กระบวนการยุติธรรมด้วย เข้าใจว่าถ้าออกมาก็จะสู้เหตุผลไม่ได้ พูดไปก็มีแต่เข้าเนื้อเปล่าๆ
ผมจึงเสนอว่าสังคมไทยน่าจะให้ความสนใจกรณีข้อเสนอของกลุ่มนิติราษฎร์กัน ต่อไป ส่งเสริมให้ฝ่ายต่างๆ ออกมาแสดงจุดยืน ความเห็นกันให้มากขึ้น
นักวิชาการ
สุจิตต์ วงษ์เทศ ศิลปิน แห่งชาติ นักประวัติศาสตร์ โบราณคดี บรรณาธิการนิตยสารศิลปวัฒนธรรม ในเครือมติชน แต่งกลอนตีพิมพ์ลงในหนังสือพิมพ์มติชนรายวัน 25 กันยายน 2554 (ต้นฉบับจากมติชนออนไลน์)
นิติรัฐเลือกสนองผองอำนาจ
นิติราษฎร์เลือกมวลชนคนส่วนใหญ่
นิติรัฐประหารเหี้ยนอธิปไตย
นิติราษฎร์ไล่รัฐประหารนั้นฯ
รองศาสตราจารย์ สุขุม นวลสกุล  อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยรามคำแหง อดีตคณบดีคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง บอก “เห็นด้วยที่สุด” (Voice TV)
การลบล้างผลพวงของรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 คือข้อเสนอในใจของ รศ.สุขุม นวลสกุล มานานแล้ว แต่เมื่อคณะนิติราษฎร์ออกแถลงการณ์เรียกร้องข้อเสนอนี้ ทำให้นักรัฐศาสตร์วัย 68 ปีท่านนี้ พูดได้อย่างเต็มปากเต็มคำว่า “เห็นด้วยที่สุด” เพราะถือว่าเป็นแนวทางการแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง ที่ดีกว่าการนิรโทษกรรม หรือขอพระราชทานอภัยโทษ
เนื่องจากการลบล้างผลพวงรัฐประหาร คือการนำคดีมาเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมตามกฎหมายปกติ ซึ่งจะทำให้จำเลยได้รับความเป็นธรรม มากกว่าการใช้กระบวนการพิเศษเหมือนในสมัยที่คณะรัฐประหารมีอำนาจ พร้อมย้ำว่าหากคนผิดขึ้นศาลไหนก็ผิด
สำหรับข้อเรียกร้องเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้น รศ.สุขุม ไม่ติดใจเรื่องที่จะนำรัฐธรรมนูญฉบับไหนมาปรับแก้ เพราะล้วนมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกัน แต่ประเด็นสำคัญคือการทำอย่างไร ให้จำเลยจากการรัฐประหาร 2549 ได้รับความเป็นธรรมมากที่สุด และจะต้องยืนยันว่าอำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน พร้อมเปิดเผยว่า หากมีการลงโทษคณะรัฐประหารได้จริง อาจเป็นปมขัดแย้งรอบใหม่
ส่วนข้อเสนอเรื่องการจัดทำคำประกาศ เพื่อป้องกันการก่อรัฐประหารในอนาคตนั้น รศ.สุขุม เชื่อมั่นว่าวิธีนี้ไม่ได้ผล เพราะแม้จะบัญญัติข้อห้ามไว้ในรัฐธรรมนูญแล้ว ก็ยังเกิดการรัฐประหารอยู่เป็นระยะ สิ่งสำคัญจึงน่าจะอยู่อุดมการณ์ของประชาชน เพราะหากทุกคนเชื่อมั่นและยึดถือแนวทางประชาธิปไตยอย่างแท้จริง การก่อรัฐประหารก็ไม่ใช่เรื่องง่ายอีกต่อไป
สื่อมวลชน
ใบตองแห้ง คอลัมนิสต์อิสระ เขียนบทความ “ทางสองแพร่งนิติรัฐ” เผยแพร่ 27 ก.ย. 2554 บนเว็บไซต์ Voice TV ในประเด็นเรื่องความรู้ความเข้าใจของสื่อมวลชน
ผมไม่ได้ไปฟัง อ.วรเจตน์และนิติราษฎร์เมื่อวันอาทิตย์ เพราะเดาไว้แล้วว่าประชาธิปัตย์ไม่กล้าไป พออภิสิทธิ์ถอยฉาก ถูกเย้ยหยันนินทา ถาวรก็ออกมาแก้เกี้ยว อ้างว่าวรเจตน์ไม่มีราคา
โห ไม่มีราคาแล้วพวกท่านจะสะดุ้งกันขนาดนี้หรือ ออกมาเต้นตั้งแต่หัวหน้าพรรคยันหางแถว วันก่อนผมเห็นข่าวแล้วหัวร่อกลิ้ง สกลธี ภัททิยกุล รองโฆษก ปชป.หาว่านิติราษฎร์เล่นปาหี่ทางการเมือง ไปถามบิดาคุณดูสิ ปาหี่จริงเป่า? ถ้าไม่สะดุ้ง 18 ตลบ ทำไมต้องออกมาเต้นตั้งแต่ลูก คมช.ยัน ผบ.ทบ.
สื่อโง่หรือสื่อแกล้งโง่
เท่าที่ทราบ นอกจาก ปชป.ไม่ไปแล้ว สื่อตัวดียังไม่ส่งคนไปซักถาม ว่ามีข้อข้องใจตรงไหนกับข้อเสนอของนิติราษฎร์ ทำยังกะเข้าใจหมดแล้ว แต่ความจริงเปล่า เอ๊ะ หรือว่าเข้าใจแต่แกล้งทำเป็นไม่เข้าใจ
สื่อโง่ หรือสื่อแกล้งโง่ ต่อข้อเสนอของนิติราษฎร์ สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติควรตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นมาสอบสวนสักชุด (เผื่อจะพิสูจน์ความบริสุทธิ์ว่าโง่จริงๆนะ ไม่ได้แกล้งโง่-ฮา)
คำวิจารณ์ของสื่อไม่เป็นธรรมต่อนิติราษฎร์ ผมกล้าพูดเช่นนั้น แน่นอน เราต้องขีดเส้นแบ่งว่าสื่อมีเสรีภาพที่จะวิพากษ์วิจารณ์ แต่ก่อนวิจารณ์คุณต้องเสนอข่าวคำแถลงนิติราษฎร์ให้ครบถ้วนทุกประเด็น ตีความ ทำการบ้าน แยกแยะให้ชัดเจนว่ามีสาระอย่างไรบ้าง แล้วค่อยบอกว่าเห็นด้วยไม่เห็นด้วย หรือจะด่าว่ากันอย่างไรก็ตามแต่
นี่คือจรรยาบรรณสื่อ ไม่ว่าคุณจะวิจารณ์ใคร คุณต้องทำการบ้าน ทำความเข้าใจความคิดเห็น ประวัติความเป็นมาของเขา ไม่ใช่ด่าเอามัน เอาใจคนอ่าน หรือเอาตามกระแส
แต่นี่เปล่าเลย เวลาเสนอข่าว สื่อส่วนใหญ่เสนอแต่ “ล้างผิดทักษิณ” แล้วพวกคอลัมนิดคอลัมหน่อย ก็อ่านจากข่าวเอาไปวิจารณ์ ไม่ได้อ่านรายละเอียด ไม่ทำความเข้าใจ หรือเข้าใจแล้วแกล้งทำเป็นไม่เข้าใจ
ทนายความ-นักกฎหมาย
กลุ่มทนายความและนักกฎหมายเพื่อสิทธิมนุษยชน ออกแถลงการณ์คัดค้าน “แถลงการณ์ของสภาทนายความ” ย้ำการรัฐประหารถือเป็นอาชญากรรมต่อประชาธิปไตยและความมั่นคงของรัฐ (เผยแพร่บนเว็บไซต์ประชาไท 28 ก.ย. 54)
ตามที่สภาทนายความได้ออกแถลงการณ์ฉบับที่ 2/2554 ขอแสดงความคิดเห็นต่อข้อเสนอของกลุ่มนิติราษฎร์ ความละเอียดปรากฏตามที่อ้างถึงนั้น
กลุ่มทนายความและนักกฎหมายดังปรากฏรายนามท้ายแถลงการณ์นี้ ซึ่งเป็นสมาชิกสภาทนายความ ตามพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. 2548 และนักกฎหมายที่ทำงานด้านการส่งเสริมสิทธิมนุษยชนและประชาธิปไตยมีความวิตก กังวลต่อสาระสำคัญของแถลงการณ์ดังกล่าว ที่อาจนำความเสื่อมเสียต่อเกียรติภูมิของทนายความโดยรวม โดยเหตุที่สภาทนายความมี 2 สถานภาพทางสังคมกล่าวคือ สภาทนายความเป็นสถาบันวิชาชีพที่ออกใบอนุญาตให้แก่ผู้ที่จะเป็นทนายความ ซึ่งทนายความถือเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการยุติธรรมในการดำเนินการเพื่อส่ง เสริมหลักนิติธรรม (Rule of Law) ร่วมค้นหาความจริงกับอัยการและผู้พิพากษาต่อการกระทำของผู้ต้องหาหรือจำเลย ในคดีอาญาเพื่อนำตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษตามกฎหมาย และยังมีหน้าที่ “ผดุงไว้ซึ่งเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพ และปฏิบัติตน ตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติทนายความ”[1] อีกสถานภาพหนึ่ง สภาทนายความพึงเป็นสถาบันของสังคมในการส่งเสริมการปกครองในระบอบประชาธิปไตย สภาทนายความเป็นแถวหน้าของผู้เรียกร้องการปกครองระบอบประชาธิปไตย ต่อต้านอำนาจนิยมและผลักดันให้มีกฎหมายที่ส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน สภาทนายความจึงเป็นสถาบันของผู้ประกอบวิชาชีพทนายความและเสาหลักหนึ่งใน สังคมประชาธิปไตย สภาทนายความจึงต้องปฏิบัติหน้าที่ให้เหมาะสมแก่เกียรติภูมิของสมาชิกและ ประชาชนในสังคมประชาธิปไตย สภาทนายความต้องยึดมั่นในหลักการสำคัญของหลักนิติธรรม หลักสิทธิมนุษยชน และร่วมกันจรรโลงไว้ซึ่งหลักการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันนานาอารยประเทศยึดถือด้วย แต่จากแถลงการณ์ของสภาทนายความ ตามที่อ้างถึง กลุ่มทนายความฯ ขอแสดงความคิดเห็น ดังนี้
ข้อ 1 แถลงการณ์ของสภาทนายความ ข้อ 1 กล่าวว่า “สภาทนายความไม่เห็นด้วยกับการรัฐประหารที่ล้มล้างรัฐบาลที่ใช้อำนาจบริหาร โดยชอบธรรม ….สำหรับการรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 …สภาทนายความไม่เห็นด้วยกับรัฐบาลที่ใช้อำนาจบริหารในขณะนั้นได้ใช้อำนาจ เงินครอบงำพรรคการเมืองอื่น จนสามารถรวบรวมเป็นพรรคการเมืองที่มีอำนาจเด็ดขาดในรัฐสภา ใช้อำนาจบริหาร และอำนาจเงินครอบงำสื่อสารมวลชน และองค์กรอิสระ จนทำให้การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐไม่บรรลุผลตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย และมีการทุจริต ประพฤติมิชอบ เพื่อหาประโยชน์แก่ตนเอง และพวกพ้อง จนกระทั่งเป็นเหตุให้มีการรัฐประหาร”
กลุ่มทนายความและนักกฎหมายเพื่อสิทธิมนุษยชน มีความเห็นว่า “การรัฐประหารทุกครั้งถือเป็นการทำลายหลักนิติธรรมและทำลายกลไกของระบอบ ประชาธิปไตย” ที่ทุกฝ่ายในสังคมต้องออกมาประณามการกระทำที่ไร้เกียรติ ไร้สติ และมิอาจอ้างมูลอันชอบด้วยหลักการใดๆ ในสังคมรัฐเสรีประชาธิปไตยได้ และต้องถือว่า “การรัฐประหาร” ถือเป็นอาชญากรรมต่อประชาธิปไตยและความมั่นคงของรัฐ ตามนัยแห่งประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 113 ทั้ง ผู้ก่อการ ผู้ใช้ ผู้สนับสนุน ต้องรับผิดร่วมกันหรือแทนกันตามความหนักเบาแห่งการกระทำ โดยไม่มีข้อยกเว้น แต่ตามแถลงการณ์ดังกล่าวการที่สภาทนายความยอมรับการรัฐประหาร เมื่อ 19 กันยายน 2549 โดยอ้างว่า หากรัฐบาลฉ้อฉล ใช้อำนาจโดยมิชอบ ก็สามารถให้อำนาจนอกระบบล้มล้างรัฐธรรมนูญและรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งของ ประชาชนได้ ซึ่งเท่ากับสภาทนายความสนับสนุนอาชญากรรมต่อความมั่นคงของรัฐและระบอบ ประชาธิปไตย
ข้อเสนอของสภาทนายความ ในข้อนี้ กลุ่มทนายความและนักกฎหมายเพื่อสิทธิมนุษยชน มีความเห็นว่า เป็นการทำลายหลักนิติธรรม และระบอบประชาธิปไตย อันนำความเสื่อมเสียมาสู่เกียรติภูมิของสภาทนายความ
ข้อ 2 แถลงการณ์สภาทนายความที่เห็นว่า การแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สิน (คตส.) ได้ดำเนินการไปตามกระบวนการยุติธรรมปกติ คือ เมื่อ คตส. สอบสวนเสร็จแล้ว ต้องส่งแก่อัยการสูงสุด และนำไปสู่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ในที่สุดนั้น
กลุ่มทนายความและนักกฎหมายเพื่อสิทธิมนุษยชน เห็นว่า ที่มาของ คตส. มาจากการการแต่งตั้งของคณะรัฐประหาร หรือ คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) ในขณะนั้น คมช. ถือเป็นองค์กรของอาชญากร ที่ยึดอำนาจโดยมิชอบมาจากรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง คมช.จึงไม่มีอำนาจในการปกครองประเทศมาตั้งแต่ยึดอำนาจแล้ว ดังนั้น การแต่งตั้งบุคคลหรือคณะบุคคลให้ดำเนินการใด ตามอำนาจที่ได้มาโดยมิชอบ ย่อมไม่มีผลทางกฎหมาย เทียบเคียงได้กับภาษิตกฎหมายที่ว่า “ผลของต้นไม้พิษ (Fruit of the poisonous tree) ย่อมมีพิษ” การดำเนินการของ คตส. โดยมาจากต้นไม้ที่ไม่ชอบ คตส.ย่อมเป็นผลไม้ของต้นไม้ที่ไม่ชอบ จึงไม่มีอำนาจดำเนินการใดๆ ดังนั้น จึงไม่ต้องพิจารณาต่อไปว่า คตส. ได้ดำเนินกระบวนการตามกระบวนการยุติธรรมปกติ หรือไม่ เพราะมีที่มาโดยมิชอบ
ประการต่อมา นายกสภาทนายความ (นายสัก กอแสงเรือง) มิอาจอ้างเหตุผลข้อนี้มาอ้างความชอบธรรมในแถลงการณ์ของสภาทนายความได้ เพราะนายกสภาทนายความมีผลประโยชน์ทับซ้อน จากการได้รับการแต่งตั้งจาก คมช. ให้เป็นหนึ่งในกรรมการ คตส. การปกป้องตนเองที่ทำหน้าที่ โดยมีที่มาจากการแต่งตั้งโดยมิชอบ อาจทำความเสื่อมเสียแก่เกียรติภูมิของทนายความโดยรวม และไม่เป็นแบบอย่างที่ดีแก่อนุชนทนายความรุ่นหลัง
ข้อ 3 สภาทนายความไม่เห็นด้วยกับการเสนอให้แก้ไข มาตรา 112 แห่งประมวลกฎหมายอาญา ว่าด้วยความผิดฐานหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ นั้น
กลุ่มทนายความและนักกฎหมายเพื่อสิทธิมนุษยชน เห็นว่า สภาทนายความจำเป็นต้องแสดงจุดยืนในการเคารพต่อหลักนิติธรรม เนื่องจากมีการใช้กฎหมายข้อหานี้ ทำลายผู้มีความคิดเห็นทางการเมืองที่แตกต่างจากตน และเป็นการให้อำนาจแก่ใครก็ได้ในการแจ้งความดำเนินคดีบุคคลอื่น โดยอาศัยกฎหมายข้อหานี้ การแก้ไขสาระสำคัญของกฎหมายอาญา มาตรา 112 ย่อมไม่เป็นการกระทบกระเทือนต่อประเพณีของชาติ หรือขัดแย้งต่อประวัติศาสตร์หรือขนบธรรมเนียมของประเทศ หรือเป็นการลดเกียรติยศของพระมหากษัตริย์แต่ประการใด ตรงกันข้าม การใช้กฎหมายมาตรา 112 ในปัจจุบัน กลับกลายเป็นการทำลายพระเกียรติ และทำให้สถานะของสถาบันพระมหากษัตริย์เสื่อมถอยลงอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน ในสังคม ขณะเดียวกัน การใช้กฎหมายอาญามาตรา 112 ย่อมนำมาซึ่งความขัดแย้งระหว่างประชาชนในสังคมไทย ซึ่งควรได้รับการพิจารณาอย่างจริงจัง
กลุ่มทนายความและนักกฎหมายเพื่อสิทธิมนุษยชน ขอแสดงความคิดเห็นดังกล่าว เพื่อแสดงจุดยืนว่า สังคมใดจะเป็นสังคมที่เจริญและสงบสุขได้นั้น สถาบันต่างๆในสังคมต้องยึดมั่นต่อ หลักนิติธรรม สิทธิมนุษยชน และเคารพต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตย โดยต้องร่วมกันแสดงความคิดเห็นคัดค้านอำนาจที่มิชอบ เช่น การรัฐประหาร ดังเหตุผลข้างต้น และขอเรียกร้องให้สภาทนายความ ในฐานะสถาบันหลักสถาบันหนึ่งของสังคม จงเป็นที่พึ่งแก่คนยากไร้ที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมตามกฎหมาย และเป็นสถาบันที่ธำรงไว้ซึ่ง หลักนิติธรรม สิทธิมนุษยชน และหลักประชาธิปไตย ตลอดไป
ณ วันที่ 28 กันยายน 2554

วิวาทะนักกฎหมาย-ประชาคมธรรมศาสตร์

ฝั่งความเคลื่อนไหวจากประชาคมธรรมศาสตร์ ซึ่งเป็นต้นสังกัดของกลุ่มนิติราษฎร์ ก็มีการถกเถียงเรื่องข้อเสนอของนิติราษฎร์เช่นกัน
ศ.ดร.สมคิด เลิศไพฑูรย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อดีตสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญและเลขานุการคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 ตอบคำถามนักศึกษาผ่าน Facebook ส่วนตัว โดยเสนอคำถาม 15 ข้อให้ช่วยกันตอบ (นำเสนอโดยประชาไท และคมชัดลึก)
  1. เราสามารถยกเลิกกฎหมายที่ถูกยกเลิกไปแล้วได้หรือไม่ เช่นการยกเลิก รธน. 2549
  2. ถ้าตำรวจจับคนร้ายที่ทำผิดจริงมาแต่ไม่ได้สอบสวนโดยละเอียด ต่อมาคนร้ายถูกฟ้องศาล มีการโต้แย้งว่ากระบวนการของตำรวจไม่ค่อยถูกต้อง แต่ศาลเห็นว่าไม่เป็นไร ศาลก็พิพากษาไป ตกลงคำพิพากษาของศาลใช้ได้หรือไม่
  3. ‎ถ้ามีคนเห็นว่ากระบวนการยุติธรรมในช่วง คมช.ไม่ถูกต้อง ก็ให้ดำเนินการใหม่ คนอีกกลุ่มเห็นว่าการตัดสินคดีซุกหุ้น ศาลตัดสินผิดโดยสิ้นเชิง คนกลุ่มหลังจะขอให้ยกเลิกรธน. 2540 ตั้งศาลรธน.ใหม่ แล้วพิพากษาคดีซุกหุ้นใหม่ จะได้หรือไม่
  4. ประชาชนจะลงมติแก้รธน.ที่ถูกยกเลิกไปแล้วได้หรือไม่
  5. รธน.2550 ได้รับการลงประชามติโดยประชาชน ในทางกฎหมายเราจะพูดได้หรือไม่ว่า ประชาชนลงมติโดยไม่ถูกต้อง หรือรธน. 2550 ไม่ได้ผ่านความเห็นชอบของประชาชน?
  6. ‎คตส. ตั้งโดยคมช. ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองก็ตั้งโดย คมช. ใช่หรือไม่
  7. การดำเนินการตามแนวคิดของนิติราษฎร์ ไม่มีผลทางกฎหมายต่อนายกทักษิณเลยใช่หรือไม่
  8. มาตรา 112 ขัดแย้งกับ รธน .จริงหรือ และขัดกับรธน. 2550 ที่จะถูกยกเลิกใช่หรือไม่
  9. ประเทศทั้งหลายในโลกรวมทั้งเยอรมัน เขาไม่คุ้มครองประมุขของประเทศเป็นพิเศษแตกต่างไปจากประชาชนใช่หรือไม่
  10. ถ้ามีคนไปโต้แย้งนิติราษฎร์ในที่สาธารณะเขาจะไม่ถูกขว้างปาและโห่ฮาเหมือนกับหมอตุลย์ใช่หรือไม่
  11. ‎ถ้าเรายกเลิกกฎหมายที่ถูกยกเลิกไปแล้วได้ เราจะล้มเลิกการกระทำทั้งหลายและลงโทษคณะรัฐประหารกี่ชุด สุจินดา ถนอม ประภาศ สฤษฏ์ จอมพล ป. อ.ปรีดี หรือจะลงโทษเฉพาะคณะรัฐประหารที่กระทำต่อนายกทักษิณ
  12. ‎ความเห็นของนักกฎหมายที่เห็นไม่ตรงกับนิติราษฎร์แต่ดีกว่านิติราษฎร์ รัฐบาลนี้จะรับไปใช่หรือไม่
  13. ศาลรธน. ช่วยนายกทักษิณคดีซุกหุ้นถือว่าใช้ได้ แต่ไม่ช่วยคดียึดทรัพย์ถือว่าใช้ไม่ได้ เป็นตุลาการภิวัตน์ใช่หรือไม่
  14. บทบัญญัติว่าด้วยสิทธิเสรีภาพของประชาชนตามรธน. 2550 แย่กว่า รธน. 2540, 2475 ที่นิติราษฎร์จะนำมาใช้ใช่หรือไม่
  15. คมช. เลว สสร.ที่มาจาก คมช.ก็เลว รธน.2550 ที่มาจาก สสร.ก็เลว แต่รัฐบาลที่มาจาก รธน. เลว เป็นรัฐบาลดีใช่หรือไม่สสร.ที่มาจากรัฐบาลชุดนี้ และที่ อ.วรเจตน์จะเข้าร่วม ก็เป็นสสร.ที่ดีใช่หรือไม่”
ศ.ดร.สมคิดยังแสดงความเห็นด้วยว่า “คน มธ.ส่วนใหญ่ไม่ได้เห็นด้วยกับความเห็นของอาจารย์นิติกลุ่มนี้หรอกครับ ไม่เว้นแม้แต่อาจารย์ในนิติศาสตร์ส่วนใหญ่ ไม่เชื่อก็ลองถามท่านคณบดีสุรศักดิ์ อ.เอกบุญ อ.อุดม อ.สุรพล อ.วิจิตรา อ.ไพโรจน์ อ.กิตติพงศ์ อ.ทวีเกียรติ อ.สมเกียรติ อ.วีรวัฒน์ อ.กิตติศักดิ์ อ.ปริญญา……………….”
นายกิตติศักดิ์ ปรกติ อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้เขียนแสดงความคิดเห็น ตั้งชื่อเรื่องว่า ‘สิ่งที่คล้ายกันพึงได้รับการปฏิบัติอย่างเดียวกัน แต่ไม่พึงปฏิบัติอย่างเดียวกันกับสิ่งที่ต่างกัน’ (สำเนาจาก คมชัดลึก และ Manager) บอกว่าชื่นชมความกล้าหาญของนิติราษฎร์ แต่ก็ตะขิดตะขวงใจในหลักการ และตรรกะในการนำเสนอของนิติราษฎร์
การที่นักวิชาการนำเสนอความเห็นต่อสาธารณชน โดยนำ สิ่งที่ไม่ควรเทียบกันมาเทียบกันประหนึ่งว่าเป็นสิ่งที่เทียบกันได้ หรือแสดงความเห็นโดยไม่ชี้แจงให้ชัดว่าเป็นความเห็น แต่ทำให้คนเชื่อไปว่าเป็นความรู้โดยมิได้ตั้งแง่คิดให้ผู้อ่านได้ไตร่ตรอง อย่างแจ่มชัดนั้น อาจชวนให้เกิดความหลงทาง หรือเกิดไขว้เขวทางความคิดแก่คนหมู่มากจนยากจะแก้ไข เป็นสิ่งที่นักวิชาการพึงระวัง
เรื่องการลบล้างผลคำพิพากษาที่อ้างว่าขัดต่อหลักความยุติธรรมอย่างร้าย แรงโดยอ้างอำนาจประชาชนนั้น ก่อนอื่นต้องพิเคราะห์กันเสียก่อนว่าสิ่งที่เรียกว่า การอ้างอำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนขึ้นลบล้างคำพิพากษานั้น ในเชิงหลักการเป็นสิ่งที่ทำได้หรือไม่
หลักของการปกครองในระบอบประชาธิปไตยนั้น ดำรงอยู่ได้ไม่ใช่เพราะตั้งอยู่บนฐานของเสียงข้างมากเฉย ๆ แต่เพราะเป็นเสียงข้างมากที่ยืนยันหลักการถือกฎหมายเป็นใหญ่ หรือที่เรียกกันว่าหลักนิติธรรม นั่นคือนับถือว่า ข้อพิพาททั้งปวงต้องได้รับการวินิจฉัยจากศาลยุติธรรมที่ตั้งขึ้นโดยชอบด้วย กฎหมาย กล่าวอีกอย่างก็คือ อำนาจสูงสุดแม้จะเป็นของประชาชน แต่ก็จำกัดโดยกฎหมายเสมอ และกฎหมายที่ว่านี้มีอยู่อย่างไรก็ต้องตัดสินโดยผู้พิพากษาซึ่งเป็นอิสระ
ที่ว่าเป็นอิสระในที่นี้ก็คือต้องเป็นคนกลาง ที่เข้าสู่ตำแหน่งเพราะมีคุณสมบัติเป็นที่ประจักษ์ทั้งในทางคุณวุฒิ และทางคุณธรรม ไม่ใช่ตั้งกันตามอำเภอใจของผู้มีอำนาจ แต่ตั้งขึ้นจากบุคคลที่ผ่านการคัดเลือกตามเกณฑ์ที่พอจะทำให้น่าเชื่อได้ว่า บุคคลเหล่านี้ล้วนมีคุณวุฒิเป็นผู้รู้กฎหมาย รู้ผิดชอบชั่วดี และเป็นผู้ทรงคุณธรรมคือวินิจฉัยตัดสินคดีไปตามความรู้และความสำนักผิดถูก ของตน โดยตั้งตนอยู่ในความปราศจากอคติ และมีหลักเกณฑ์ทางจรรยาบรรณคอยควบคุม
ด้วยเหตุนี้แม้ประชาชนจะลงประชามติไว้ว่าอย่างไรก็ตาม หากประชามติซึ่งเป็นการใช้อำนาจสูงสุดของประชาชนนั้นขัดต่อกฎหมาย ศาลซึ่งเป็นคนกลางที่เป็นอิสระก็มีอำนาจชี้ขาดว่าประชามตินั้นขัดต่อกฎหมาย และไม่มีผลบังคับ
พนัส ทัศนียานนท์ อดีตคณบดี คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อดีต สสร.รัฐธรรมนูญ 2540 และสว. จากการเลือกตั้งสมัยแรก ตอบคำถาม 15 ข้อของนายสมคิด เลิศไพฑูรย์ (ต้นฉบับทั้งหมดจากประชาไท)
1. เราสามารถยกเลิกกฎหมายที่ถูกยกเลิกไปแล้วได้หรือไม่ เช่นการยกเลิก รธน. 2549
ตอบ นิติราษฎร์ไม่ได้เสนอให้ยกเลิกรธน. 2549 แต่ให้ถือว่าการนิรโทษกรรมให้แก่ผู้ทำรัฐประหารตามมาตรา 37 ไม่เกิดผลตามกฎหมาย
2.ถ้าตำรวจจับคนร้ายที่ทำผิดจริงมาแต่ไม่ได้สอบสวนโดยละเอียด ต่อมาคนร้ายถูกฟ้องศาล มีการโต้แย้งว่ากระบวนการของตำรวจไม่ค่อยถูกต้อง แต่ศาลเห็นว่าไม่เป็นไร ศาลก็พิพากษาไป ตกลงคำพิพากษาของศาลใช้ได้หรือไม่
ตอบ ตามป.วิอาญา การสอบสวนที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ย่อมมีผลทำให้การฟ้องคดีของอัยการไม่ชอบด้วยกฎหมายด้วย ซึ่งโดยหลักการพิจารณาคดีก็ต้องถือว่าไม่ชอบทั้งหมด แต่ศาลไทยบอกไม่เป็นไร หากพิจารณาว่าจำเลยกระทำผิดจริง ก็ลงโทษจำเลยได้ ซึ่งก็เหมือนกับการยอมรับว่าการรัฐประหาร(การกระทำความผิดฐานกบฎ)เป็นการ กระทำที่ชอบด้วยกฎหมายหากทำสำเร็จนั้นเอง
3.ถ้ามีคนเห็นว่ากระบวนการยุติธรรมในช่วง คมช.ไม่ถูกต้อง ก็ให้ดำเนินการใหม่ คนอีกกลุ่มเห็นว่าการตัดสินคดีซุกหุ้น ศาลตัดสินผิดโดยสิ้นเชิง คนกลุ่มหลังจะขอให้ยกเลิกรธน. 2540 ตั้งศาลรธน.ใหม่ แล้วพิพากษาคดีซุกหุ้นใหม่ จะได้หรือไม่
ตอบ ศาลรัฐธรรมนูญที่ตัดสินคดีซุกหุ้นของทักษิณ เกิดจากรธน. 2540 ที่มิได้มีที่มาจาการรัฐประหารเหมือน รธน.2550 หากมีหลักฐานพิสูจน์ได้ว่าศาลตัดสินผิดก็น่าจะมีการออกกฎหมายมาให้รื้อฟื้น คดีใหม่ได้ โดยไม่ต้องยก
เลิกรธน. 2540 ซึ่งมิได้เกิดขึ้นจากการกระทำผิดกฎหมายฐานกบฎ (การทำรัฐประหาร)
4.ประชาชนจะลงมติแก้รธน.ที่ถูกยกเลิกไปแล้วได้หรือไม่
ตอบ เป็นคำถามประเด็นเดียวกันกับคำถามที่ 1 คำตอบก็คือไม่ใช่การแก้รัฐธรรมนูญที่ถูกยกเลิกไปแล้ว แต่เป็นการยกเลิกเพิกถอนผลของการกระทำที่เกิดจากรัฐธรรมนูญที่เป็นผลพวงของ การรัฐประหารที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
5.รธน.2550 ได้รับการลงประชามติโดยประชาชน ในทางกฎหมายเราจะพูดได้หรือไม่ว่า ประชาชนลงมติโดยไม่ถูกต้อง หรือรธน. 2550 ไม่ได้ผ่านความเห็นชอบของประชาชน?
ตอบ พูดได้ เพราะมีการหลอกลวงขู่เข็ญบังคับให้ประชาชนลงมติ จึงเป็นการลงประชามติที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
6.ตั้งโดยคมช. ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองก็ตั้งโดย คมช. ใช่หรือไม่
ตอบ คตส.ตั้งโดย คมช.แน่นอน ส่วนศาลฎีกาแผนกคดีอาญานักการเมืองก็เกิดจากรัฐธรรมนูญ 2550 ซึ่ง คมช.เป็นผู้ให้กำเนิดเช่นกัน ดังนั้น เมื่อการกระทำรัฐประหารของคมช.เป็นการกระทำที่ละเมิดบทบัญญัติมาตรา 63 แห่งรธน. 2540 และเป็นความผิดฐานกบฎตามป.อาญามาตรา 113 ทั้งคตส.และศาลฎีกาแผนกคดีอาญานักการเมืองจึงเป็นองค์กรที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ด้วยกันทั้งคู่
7.การดำเนินการตามแนวคิดของนิติราษฎร์ ไม่มีผลทางกฎหมายต่อนายกทักษิณเลยใช่หรือไม่
ตอบ ตามที่นิติราษฎร์แถลง มีผลโดยตรงแน่นอน คือต้องพิจารณาคดีใหม่โดยกระบวนการยุึติธรรม ที่ชอบด้ยหลักนิติธรรม ถ้ากระทำผิดจริงตามข้อกล่าวหาก็ต้องถูกลงโทษ
8.มาตรา 112 ขัดแย้งกับ รธน .จริงหรือ และขัดกับรธน. 2550 ที่จะถูกยกเลิกใช่หรือไม่
ตอบ ป.อาญา ม.112 เท่าที่มีการตีความและใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันมีผลขัดแย้งกับรัฐธรรมนูญแน่ นอน เพราะเป็นการลิดรอนเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของประชาชนซึ้งเป็นสิทธิขั้น มูลฐานตามรธน.ของประชาชนโดยสิ้นเชิง แต่อาจไม่ขัดแย้งกับรธน.2550 เพราะเจตนารมณ์ของผู้ร่าง (สสร. 2550) ไม่ถือว่าขัดแย้งอยู่แล้ว
9.ประเทศทั้งหลายในโลกรวมทั้งเยอรมัน เขาไม่คุ้มครองประมุขของประเทศเป็นพิเศษแตกต่างไปจากประชาชนใช่หรือไม่
ตอบ ทุกประเทศมีกฎหมายคุ้มครองประมุขของประเทศ แต่ประเทศที่เป็นประชาธิปไตยอย่างเช่นเยอรมัน อังกฤษ อเมริกา เขาถือว่าเสรีภาพในการแสดงออกซึ่งความคิดเห็นของประชาชนเป็นสิ่งสำคัญที่สุด ในการปกครองระบอบประชาธิปไตยตามหลักนิติธรรม ประมุขของประเทศจึงอาจถูกวิพากษ์วิจารณ์ได้ หากมีการกระทำใด ๆที่มีผลต่อการเมืองการปกครองของประเทศไม่ว่าจะโดยตรงหรือโดยอ้อม
10.ถ้ามีคนไปโต้แย้งนิติราษฎร์ในที่สาธารณะเขาจะไม่ถูกขว้างปาและโห่ฮาเหมือนกับหมอตุลย์ใช่หรือไม่
ตอบ หากท่านคิดจะไปโต้แย้งกับนิติราษฎร์ ท่านอธิการก็จัดเวทีที่ธรรมศาสตร์สิครับ ผมเชื่อว่าไม่มีใครกล้าโห่ฮาท่านแน่นอน
11.ถ้าเรายกเลิกกฎหมายที่ถูกยกเลิกไปแล้วได้ เราจะล้มเลิกการกระทำทั้งหลายและลงโทษคณะรัฐประหารกี่ชุด สุจินดา ถนอม ประภาศ สฤษฏ์ จอมพล ป. อ.ปรีดี หรือจะลงโทษเฉพาะคณะรัฐประหารที่กระทำต่อนายกทักษิณ
ตอบ การประกาศให้ผลของการรัฐประหาร ไม่เป็นการนิรโทษกรรมให้แก่ผู้กระทำผิดฐานกบฎ โดยการแก้ไขรัฐธรรมนูญ และให้ประชาชนลงประชามติตามที่นิติราษฎร์เสนอ เป็นการยกเลิกการนิรโทษกรรมที่กำหนดไว้ใน รธน. 2550 ไม่ใช่ยกเลิกกฎหมายที่ยกเลิกไปแล้ว ส่วนที่ถามว่าทำไมไม่ยกเลิกผลของการกระทำรัฐประหารของสุจินดา ถนอม สฤษดิ์ จอมพล ป. ปรีดี แล้วเอาตัวคนเหล่านี้มาลงโทษฐานกบฎด้วย เห็นด้วยว่าสมควรทำในสิ่งที่ยังพอกระทำได้ เช่นการให้ความช่วยเหลือเยียวยาแก่ผู้ที่ได้รับผลร้ายจากการกระทำรัฐประหาร เหล่านั้น (โดยเฉพาะผู้ที่ถูกลงโทษโดยไม่ผ่านการพิจารณาคดีตามกระบวนการยุติธรรม) แต่การนำตัวผู้กระทำรัฐประหารมาลงโทษคงกระทำไม่ได้แล้วเพราะผู้กระทำผิดส่วน ใหญ่ตายไปแล้ว ที่ยังเหลืออยู่คดีก็ขาดอายุความหมดแล้ว
12.ความเห็นของนักกฎหมายที่เห็นไม่ตรงกับนิติราษฎร์แต่ดีกว่านิติราษฎร์ รัฐบาลนี้จะรับไปใช่หรือไม่
ตอบ ช่วยเสนอให้หน่อยว่าความเห็นของท่านที่ดีกว่าของนิติราษฎร์ คือ อย่างไร ถ้าดีกว่าจริงจะขอสนับสนุนเต็มที่เลย ในฐานะที่เป็นนักกฎหมายด้วยกัน
13.ศาลรธน. ช่วยนายกทักษิณคดีซุกหุ้นถือว่าใช้ได้ แต่ไม่ช่วยคดียึดทรัพย์ถือว่าใช้ไม่ได้ เป็นตุลาการภิวัตน์ใช่หรือไม่
ตอบ ตุลาการภิวัตน์ คือตุลาการที่ยอมตนเป็นเครื่องมือและอาวุธให้แก่ผู้มีอำนาจกลุ่มใดกลุ่ม หนึ่งได้ใช้เพื่อประหัตประหารและทำลายล้างศัตรูของตน ตุลาการศาลทั้งในคดีซุกหุ้นและคดียึดทรัพย์ทักษิณ จึงเป็นตุลาการภิวัฒน์ด้วยกันทั้งสิ้น เพียงแต่ว่าในคดีซุกหุ้นตุลาการภิวัตน์เป็นฝ่ายแพ้
14.บทบัญญัติว่าด้วยสิทธิเสรีภาพของประชาชนตามรธน. 2550 แย่กว่า รธน. 2540, 2475 ที่นิติราษฎร์จะนำมาใช้ใช่หรือไม่
ตอบ บทบัญญัติว่าด้วยสิทธิเสรีภาพตามรธน.2550 และฉบับอื่นทุกฉบับไม่มีความหมายอะไรเลย ไม่มีฉบับใดดีกว่ากัน เพราะตราบใดที่ตุลาการไทยยังยอมรับว่ารัฏฐาธิปัตย์คือผู้ที่ได้อำนาจอธิปไตย มาโดยรถถังและปืนและอำนาจอธิปไตยไม่ใช่อำนาจของประชาชน
15.คมช. เลว สสร.ที่มาจาก คมช.ก็เลว รธน.2550 ที่มาจาก สสร.ก็เลว แต่รัฐบาลที่มาจาก รธน. เลว เป็นรัฐบาลดีใช่หรือไม่สสร.ที่มาจากรัฐบาลชุดนี้ และที่ อ.วรเจตน์จะเข้าร่วม ก็เป็นสสร.ที่ดีใช่หรือไม่”
ตอบ ไม่ใช่เรื่องใครดีใครเลว แต่เป็นเรื่องของหลักการในทางนิติศาสตร์ ที่จะต้องมีการยืนยันว่าระหว่างอำนาจรัฐกับเสรีภาพของประชาชนและระหว่าง ระบอบเผด็จการกับระบอบประชาธิปไตย นักกฎหมายควรจะยืนอยู่ข้างใดมากกว่า
นอกจากนี้ยังมีคำตอบจากบุคคลอีกหลายกลุ่ม ต่อคำถามของนายสมคิดและนายกิตติศักดิ์ ซึ่งผู้สนใจสามารถติดตามได้จากลิงก์ด้านล่าง
สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล อาจารย์ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เขียนบันทึกใน Facebook ของตัวเอง (28 ก.ย. 54)
ขอเรื่อง สมคิด นิดนะ พอดี มีข้อหนึ่งที่เขาเขียน เดิมผมเตรียมจะพูดในงานนิติราษฎร์ แต่ไม่มีเวลา นี่เสียดายไม่ได้พูดไป จะได้ไม่ต้องมาเขียน
“ถ้าตำรวจจับคนร้ายที่ทำผิดจริงมา แต่ไม่ได้สอบสวนโดยละเอียด ต่อมาคนร้ายถูกฟ้องศาล มีการโต้แย้งว่ากระบวนการของตำรวจไม่ค่อยถูกต้อง แต่ศาลเห็นว่าไม่เป็นไร ศาลก็พิพากษาไป ตกลงคำพิพากษาของศาลใช้ได้หรือไม่”
ความจริง การเรียบเรียงคำของสมคิดนี้ไม่รัดกุมเลย (เสียทีที่เป็นศาสคราจารย์กฎหมาย) ตอนแรกที่ใช้คำว่า “ไม่ได้สอบสวนโดยละเอียด” นั้น คลุมเครือเกินไป ไม่สอบสวนโดยละเอียด ความจริง ไมใช่ปัญหากระบวนการทางกฎหมาย (due process of law) เสียทีเดียว แต่เป็นเรือ่งการไม่มีประสิทธิภาพ ไม่มีความสามารถ (incompetence) ของพนักงานสอบสวนหรืออัยการ ซึ่งถ้าเช่นนั้น ก็ไม่มีเหตุผลอะไรที่ศาลจะบอกว่าเป็นไรหรือไม่เป็นไร และเรื่องนี้ก็ไม่เกี่ยวกับการดีเบตนิติราษฎร์เท่าไร
ถ้าให้ดีสมคิดควรเรียบเรียงคำใหม่ ยกตัวอย่างซึ่งจะเกี่ยวกับกรณีทีกำลังดีเบตนิติราษฎร์อยู่ และเป็นปัญหาสำคัญมากๆ (ทีเดิมผมคิดจะพูด) ในลักษณะนี้ คือ สมมุติว่า
- คนร้ายทำความผิดจริง
[ในตัวอย่างนี้ ผมจะข้ามประเด็นเรื่อง presumed innocent ไปเลย คือ ให้สมมุติกันเลยว่าคนที่โดนดำเนินคดีนี้ ผิดแน่ๆ ใครๆก็เห็น ใครๆก็รู้ เช่น นาย ก ข่มขืน แล้วฆ่าเด็กหญิงคนหนึ่ง ทุกคนรู้ แบบไม่มีข้อโต้แย้งเลยว่า ทำจริงๆ]
- ในระหว่างการสอบสวน พนักงานตำรวจได้ทำหรือใช้วิธีการทีไม่ค่อยชอบมาพากลทางกฎหมาย (คือไม่ใช่แค่ “ไม่ละเอียด” เท่านั้น)
- คดีขึ้นศาล และศาลตัดสินว่าผิด
คำถามคือในกรณีแบบนี้ (ซึ่งนี่คือสิ่งที่สมคิดตั้งเป็นคำถามสมมุติข้างต้น) เราควรถือว่า “คำพิพากษาของศาลใช้ได้หรือไม่” (ขอย้ำว่า ให้สมมุติตกลงร่วมกันเลยว่า หมอนั่นที่ถูกตัดสิน “ทำผิดจริง” (คำของสมคิด) แน่ๆ)
คำตอบที่ถูกต้อง และควรจะเป็น ต่อคำถามของสมคิดว่า “คำพิพากษาของศาลใช้ได้หรือไม่” คือ “ไม่” NO ตัวใหญ่ๆเลย (ในการตั้งคำถามของสมคิดเห็นได้ชัดว่า เขาต้องการจะบอกว่า “ให้ใช้ได้สิ”)
นี่เป็นเรื่องที่คนไทยจำนวนมาก หรืออาจจะส่วนใหญ่ด้วยซ้ำ ไม่เข้าใจ คือประเด็นเรื่องความสำคัญของ “วิธีการ” ในการดำเนินการเอาผิดคน
ในประเทศอารยะ ที่มีระบบบกฎหมายเข้มงวดนั้น ควรถือว่า “วิธีการ” สำคัญมากๆ สำคัญยิ่งกว่าตัวคำติดสินเสียอีก
ทำไม?
ก็เพราะว่า ถ้าเรายอมรับ “วิธีการ” หรือ “กระบวนการ” ที่ไม่ชอบมาพากล ที่ผิดหลักการแล้ว ต่อให้ในเฉพาะกรณีที่พูดถึง คนที่ถูกตัดสิน “ทำผิดจริง”
ก็จะเป็นการสร้างบรรทัดฐานที่ไม่ถูกต้อง ซึ่งจะเป็นผลเสียแก่คนอื่นๆที่บริสุทธิ์ ที่อาจจะต้องมาผ่าน “กระบวนการ” แบบนี้สักวันหนึ่ง ทั้งยังเป็นการละเมิดสิทธิของคนที่ “ทำผิดจริง” นั้นด้วย (คนทำผิดจริง ก็มีสิทธิบางอย่างที่ละเมิดไม่ได้ เช่นเดียวกับคนทั่วไป – นี่เป็นประเด็นที่ “สังคมไทย” ไม่เข้าใจเช่นกัน การละเมิดสิทธิของ “คนทำผิดจริง” ก็จะเป็นผลเสียต่อบรรทัดฐาน ที่จะต้องใช้ปฏิบัติต่อคนที่ไม่ทำผิดด้วย)
อย่างที่ผมบอกว่า นี่เป็นประเด็นสำคัญ ที่คนไทยส่วนใหญ่ไม่ค่อยเข้าใจ เรียกว่า เป็น “วัฒนธรรม” ทางกฎหมายหรือทางสังคมอย่างหนึ่งก็ได้
ทีน่าเศร้าคือ ประเด็นนี้ แม้แต่คนที่ “มีการศึกษา” จบเมืองนอกเมืองนา ก็ไม่เข้าใจ หรือไม่ยอมให้ความสำคัญ
ใครที่ได้อ่านที่ผม “ดีเบต” หรือ “ด่า” สฤณี ทีสนับสนคำตัดสินยึดทรัพย์ทักษิณ คงเห็นว่า นี่คือประเด็นที่กำลังกล่าวถึงนี้แหละ เป็นประเด็นเดียวกับที่สมคิดยกขึ้นมาเป็นคำถามข้างต้นนั่นแหละ http://weareallhuman2.info/index.php?showtopic=42364
ที่ สฤณี ไม่เข้าใจเรื่องประเด็น “วิธีการ” หรือ “กระบวน” เอาผิดคน เป็นเรื่องน่าเศร้าอยู่แล้ว (คนจบเมืองนอกเมืองนามา)
แต่ยิ่งกว่าน่าเศร้า (น่ากลัว น่าห่วงด้วย) คือ คนระดับศาสตราจารย์ทางกฎหมาย อดีตคณบดีคณะนิติศาสตร์ ที่สำคัญที่สุดในเมืองไทย (นิติ มธ) ก็ยังไม่เข้าใจ ยังอุตส่าห์ ตั้งเป็นคำถามและตอบในลักษณะเดียวกันด้วย
ให้ผมเล่ากรณีสำคัญทางประวัติศาสตร์มากๆในสหรัฐ ที่รู้จักกันในนาม “สิทธิ มิแรนด้า” (Miranda right)
ใครที่ชอบดูหนังฮอลิวู้ด เกี่ยวกับตำรวจหรือศาล (cop show, legal drama) จะต้องเคยเห็นว่า ในระหว่างการจับผู้ต้องหานั้น คำรวจจะต้อง “อ่าน” คือบอกคนถูกจับ ทำนองนี้
“คุณมีสิทธิที่จะเงียบ อะไรที่คุณพูดขึ้นมาต่อจากนี้ สามารถใช้เล่นงานคุณในศาลได้ คุณมีสิทธิที่จะมีทนาย ถ้าคุณไม่สามารถหาทนายได้ เราจะจัดหาทนายให้…”
เรื่องนี้มีความเป็นมา ที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับประเด็นทักษิณ และข้อเสนอนิติราษฎร์ ระหว่างอ่าน ผมขอแนะนำให้ผู้อ่าน ลองนึกในใจ เรื่องคดีทักษิณ (ที่ดินรัชดา, ยึดทรัพย์) และข้อเสนอนิติราษฎร์ (โมฆะคำตัดสิน แต่ให้ฟ้องใหม่ได้) แล้วก็คำถามสมมุติของสมคิดข้างต้น ตามไปด้วย
ในทศวรรษ 1960 นายโกเมซ มิแรนด้า ได้ทำการลักพาตัวหญิงสาวอายุ 18 ปีคนหนึ่ง แล้วข่มขืนเธอ (นีคือ “ทำผิดจริง” ตามคำสมคิด และเป็นการผิดที่แรงมากๆด้วย)
ในระหว่างการสอบสวน 2 ชั่วโมงของตำรวจ มิแรนด้า ไม่ได้รับการบอกเรื่อง “สิทธิในการเงียบ” และ “สิทธิในการมีทนาย”
หลังจาก 2 ชั่วโมงของการสอบสวนของตำรวจผ่านไป มิแรนด้า ได้ลงนามในคำรับสารภาพ ว่าลักพาและข่มขืนจริง
ในเอกสารคำรับสารภาพที่ มิแรนด้า ลงนามไปนั้น ความจริง มีตัวอักษรพิมพ์กำกับอยู่ด้วยว่า “ข้าพเจ้าขอสาบานว่า ข้าพเจ้าลงนามเอกสารสารภาพนี้ ด้วยความสมัคร โดยไม่ได้ถูกข่มขู่ หรือบังคับ … และด้วยความตระหนักเต็มที่ถึงสิทธิทางกฎหมายของข้าพเจ้า…”
ปรากฏว่า เมื่อคดีนี้ขึ้นสู่ศาลที่อริโซน่า ทนายความของนายมิแรนด้า (เป็นทนายที่ศาลตั้งให้) ได้ยื่นต่อศาลว่า คำสารภาพที่ลงนามไปนั้น ใช้ไม่ได้ เพราะระหว่างการสอบสวน ตำรวจไม่เคยบอก มิแรนด้า ว่า เขามีสิทธิจะเงียบ และมีสิทธิจะมีทนายความปรึกษาด้วยระหว่างการให้การกับตำรวจ
ศาลชั้นต้นอริโซน่า ไม่ยอมรับข้ออ้างนี้ (โปรดนึกถึงตัวอย่างของสมคิดในใจ) แล้วตัดสินว่า มิแรนด้า ผิดจริง จากหลักฐานคำให้การรับสารภาพที่ลงนามนี้ ให้จำคุก 20-30 ปี (รวมแล้วหลายๆสิบปี เพราะหลายกระทง ศาลให้นับต่อกัน สมมุติ กระทงหนึ่ง 20 อีกระทงหนึ่ง 30 ก็คือต้องติดคุก 50 ปี)
ฝ่ายจำเลย ยื่นอุทธรณ์ต่อศาลสูงของอริโซน่า ศาลสูงอริโซน่ายืนตามศาลชั้นต้น
(นึกถึงตัวอย่างสมคิด นี่เป็นสิ่งที่เขาสนับสนุน มองในแง่คนไทยทั่วไป ก็คงรู้สึกว่า การตัดสินเช่นนี้ เป็นเรื่อง “ดีแล้ว” เพราะ มิแรนด้า “ทำผิดจริงๆ” มิหนำซ้ำ ยังลงนามในเอกสารคำรับสารภาพด้วยซ้ำ)
แต่ปรากฏว่า เรื่องนี้ จำเลยได้ยื่นให้ ศาลสูงสุดของสหรัฐ (Supreme Court) พิจารณา ….
ในการตัดสินครั้งประวัติศาสตร์ ศาลสูงสุดของสหรัฐ ได้ลงมติ ยกเลิกคำตัดสินของศาลอริโซน่า (โมฆะคำตัดสินนั้น) เพราะถือว่า ตำรวจได้ทำผิด ไม่บอกให้มิแรนด้า รู้อย่างชัดเจนก่อนว่า เขามีสิทธิจะเงียบ และมีสิทธิจะมีทนายอยู่ด้วย ระหว่างให้การ เป็นการละเมิดสิทธิตามรัฐธรรมนูญสหรัฐ (ข้อแก้ไขที่ 5 และ 6)
ผลคือ คำตัดสินจำคุกหลายสิบปีของมิแรนด้า ถูกยกเลิกไป
มิแรนด้า ถูกดำเนินคดีใหม่ ขึ้นศาลใหม่ และฝ่ายอัยการ ต้องใช้หลักฐานอื่น ไม่สามารถใช้หลักฐานเอกสารคำสารภาพของมิแรนด้า แต่ในที่สุด มิแรนด้า ก็ถูกตัดสินว่าผิดจริง (โทษตามเดิม แต่ในที่สุด ได้รับการปล่อยตัวก่อน หลังจากนั้นไม่นาน ไปมีเรื่องกับคนอื่น แล้วถูกแทงตาย)
นี่คือ ความเป็นมาทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญมากๆ ที่เป็น “เบื้องหลัง” ของสิ่งที่เรามาได้เห็นกันในหนังฮอลิวู้ด ที่ตำรวจต้องอ่าน “สิทธิ มิแรนด้า” ให้คนที่ถูกจับก่อนเสมอ และต้องถามเจ้าตัวก่อนว่า “เข้าใจที่บอกนี้ไหม” และถ้าคนถูกจับ เรียกร้องขอมีทนาย จะต้องหาทนายให้ ทำการสอบสวนต่อไม่ได้ ฯลฯ (ผมเล่าแบบคร่าวๆ จริงๆมีรายละเอียดน่าสนใจกว่านี้)
………………………..
ประเด็นที่อยากจะย้ำคือ วิธีการ หรือ “กระบวน” ที่ถูกต้อง (due process) เป็นเรื่องสำคัญมากๆ สำคัญยิ่งกว่า เรื่องที่ว่า “คนทำผิดจริง” (คำของสมคิด และนึกถึงตัวอย่างที่เขายกมา) สำคัญกว่าตัว “เนื้อหา” ของคดี หรือคำตัดสินด้วยซ้ำ
เพราะเรื่อง due process นี่เป็นเรื่องที่จะต้องใช้กับทุกคน ไม่ว่าใครทั้งนั้น ต่อไปอีกในอนาคต รวมทั้งคนทีบริสุทธิ์ ทีจะต้องมีโอกาสเจอด้วย
นี่เป็นเรื่องของ “บรรทัดฐาน” ของสังคมโดยรวมว่า เราต้องการสังคมแบบไหน
แบบที่ไม่คำนึงถึง “วิธีการ” หรือ “กระบวนการ” อะไร ขอแต่ให้ ในเมื่อ “หมอนั่นผิดจริง” ก็ไม่ต้องสนใจว่า ในการนำเขามาขึ้นศาล และมีคำตัดสินนั้น มี วิธีการ ที่ “หละหลวม” หรือ ไม่ชอบมาพากลอย่างไร
หรือ เราต้องการสังคมที่เคารพในสิทธิของทุกคน แม้แต่คนที่เรามั่นใจเต็มที่ว่า “ผิดจริง” (ขอให้นึกถึงกรณี มิแรนด้า ว่า เขาทำผิดร้ายแรงขนาดไหน) สังคมที่สร้าง บรรทัดฐาน หรือ กระบวนการทีถูกต้อง ในการได้มาซึ่งคำตัดสิน เพราะกระบวนการที่ถูกต้องนั้น จะใช้บังคับกับคนอื่นๆทุกคนด้วย
(ในการเล่าเรื่องนี้ ผม “ผ่าน” ประเด็นเรื่อง presumed innocent ไป จริงๆ แล้ว การยืนยันเรื่องทีต้องเคารพและเข้มงวดกับวิธีการที่ถูกต้อง หรือ due process นั้น เป็นอะไรที่เกี่ยวข้องด้วย
ตอนที่ผมวิพากษ์สฤณี นั้น ผมยกตัวอย่างทำนองนี้ด้วยซ้ำว่า ต่อให้ ผู้ต้องหา “รับสารภาพ” ในระหว่างการสอบสวน ถ้าการรับสารภาพนั้น กระทำภายใต้วิธีการที่ไม่ถูกต้อง คำสารภาพนั้น อาจจะไม่จริงก็ได้ เช่น คนอาจจะ รับสารภาพ เพราะโดนแรงกดดันของการสอบสวน หรือไม่ ก็อาจจะ “โทษตัวเอง” อยาก “ลงโทษตัวเอง” (คล้ายคนอยากฆ่าตัวตาย) หรือ ด้วยเหตุอื่นอีกสารพัด ซึ่งเป็นไปได้
นั่นคือ เป็นไปได้ว่า คนที่ innocent อาจจะ “รับสารภาพ” ก็ได้ ภายใต้เหตุผลบางอย่าง ดังนั้น การมี due process หรือ กระบวนการ วิธีการที่ถูกต้อง จึงเป็นการป้องกัน ไม่ให้คนที่ไม่ได้ผิด ต้องรับผิด – แม้จะจากการ “ยอมรับ” ของตัวเองด้วยซ้ำ)

นิติราษฎร์ ขอบคุณทุกความเห็น

วันที่ 28 กันยายน 2554 คณะนิติราษฎร์ ได้โพสต์บทความบนเว็บไซต์ของตัวเอง ชื่อว่า สารถึงผู้อ่าน – ถึงประชาชนผู้รักในนิติรัฐ-ประชาธิปไตย ขอบคุณทุกความเห็นไม่ว่าจะเป็นฝ่ายสนับสนุนหรือคัดค้าน
สืบเนื่องจากข้อเสนอทางวิชาการ “5 ปี รัฐประหาร 1 ปี นิติราษฏร์” และคำชี้แจงรายละเอียดของข้อเสนอให้ “ลบล้างผลพวงของรัฐประหาร 19 กันยายน 2549″ ซึ่งคณะนิติราษฎร์ ได้เปิดแถลงข้อเสนอต่อประชาชนผู้สนใจ และแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนอย่างเป็นทางการเมื่อวันอาทิตย์ที่ 18 และ 25 กันยายน 2554 ตามลำดับ
ปรากฎว่ามีผู้เขียนบทความ จดหมาย คำกลอน รวมทั้งส่งอีเมลมาถึงคณะนิติราษฏร์จำนวนมาก ทั้งที่ให้กำลังใจ สนับสนุนข้อเสนอ รวมทั้งเสนอแนะเพิ่มเติม และทั้งที่ตั้งคำถาม แสดงความไม่เห็นด้วย หรือต่อว่าด่าทอ แต่ด้วยสมาชิกของคณะนิติราษฎร์ไม่สามารถแสดงความคิดเห็น หรือตอบกลับอีเมลเหล่านั้นได้ทั้งหมด จึงขอส่งสารมายังทุกท่านว่า
คณะนิติราษฏร์ ได้รับสารเหล่านั้นทั้งหมดแล้ว และขอขอบคุณในทุกคำให้กำลังใจและสนับสนุนของประชาชนผู้มีใจรักในนิติรัฐ – ประชาธิปไตย และปฏิเสธ ไม่ก้มหัว หรือยอมจำนนต่อรัฐประหารไม่ว่า ณ เวลาใด ๆ ขอขอบคุณและชื่นชมทุกท่านที่พร้อมร่วมกันยืนยันว่า ในที่สุดแล้ว ประชาชนคือรัฐาธิปัตย์ที่แท้จริงในระบอบประชาธิปไตย เป็นผู้มีอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญ และมีความชอบธรรมอย่างเต็มที่ในการลบล้างผลพวงจากการประกอบอาชญากรรมยึด อำนาจไปจากมือประชาชน
คณะนิติราษฏร์ จะน้อมรับและตอบข้อสงสัยในคำวิพากษ์วิจารณ์ข้อเสนอฯ ก็ต่อเมื่อบุคคลหรือกลุ่มบุคคลเหล่านั้นได้อ่านและทำความเข้าใจทุกถ้อยแถลง ของข้อเสนอฯ อย่างละเอียดเพียงพอแล้ว ด้วยจิตใจที่เปิดกว้าง วิจารณ์อยู่บนพื้นฐานหลักการแห่งกฎหมาย และขอแสดงความเสียดาย แต่ไม่แสดงความท้อใจเมื่อเราพบว่า ยังมีคนอีกจำนวนหนึ่งที่จำนนต่อรัฐประหาร พร้อมสยบยอมต่ออำนาจอื่นใด เหยียบย่ำหลักการ และมองข้ามหัวประชาชน.

ปรับปรุงข้อมูล: ข้อถกเถียงเพิ่มเติมต่อข้อเสนอของนิติราษฎร์

หลังจากบทความชิ้นนี้เผยแพร่เมื่อช่วงเย็นของวันที่ 28 กันยายน 2554 ทางทีมงาน SIU ก็ได้รับข้อมูลเพิ่มเติมจากท่านผู้อ่าน ถึงบทความ ข้อเขียน ความเห็นอื่นๆ ต่อข้อเสนอของกลุ่มนิติราษฎร์ ที่ไม่ถูกรวบรวมไว้ในบทความชิ้นนี้
ทีมงาน SIU ขอขอบคุณข้อมูลจากทุกท่าน และนำมารวมไว้ในที่นี้ เพื่อประโยชน์ในการติดตามประเด็นการสนทนาเรื่องข้อเสนอของนิติราษฎร์ (อย่างไรก็ตาม เพื่อไม่ให้บทความยาวเกินไป จะลงเฉพาะลิงก์ไปยังบทความต้นฉบับเท่านั้น)
รีโมท ซื้อ รีโมท จากผู้ค้าส่งโดยตรง ที่มีหน้าร้านจริง ที่ บ้านหม้อ และ คลองถม ราคาถูกกว่าใคร ปลอดภัย มีรับประกัน

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

บทความย้อนหลัง