บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันเสาร์ที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2555

“อุกฤษ-คอ.นธ.” ลักไก่เสนอ กก.แดงเถือกแก้ รธน. “คำนูณ-ปานเทพ” ลั่นไม่ร่วม





คณะกรรมการอิสระว่าด้วยการส่งเสริมหลักนิติธรรมแห่งชาติ (คอ.นธ.) Independent National Rule of Law Commission (NRLC)











ASTVผู้จัดการ - “ศ.ดร.อุกฤษ-คอ.นธ.” เดินหน้าตามใบสั่งแม้ว ลักไก่เสนอแก้รัฐธรรมนูญเมิน ส.ส.ร. แต่งตั้งคณะกรรมการอิสระฯ 34 คนยกร่างแทน เผยชื่อแดงเถือกเกินครึ่ง คนอื่นแค่ไม้ประดับ “คำนูณ” ขอบคุณแต่ไม่รับระบุเป็น ส.ว.อยู่แล้วไม่เห็นด้วยกับการแก้ รธน. “ปานเทพ” เผยไม่รู้เรื่องมาก่อน ยัน พธม. ไม่ยอมเป็นเครื่องมือ



  วานนี้ (5 ม.ค.) เว็บไซต์คณะกรรมการอิสระว่าด้วยการส่งเสริมหลักนิติธรรมแห่งชาติ (คอ.นธ.) ซึ่งมีศาสตราจารย์ ดร.อุกฤษ มงคลนาวิน ดำรงตำแหน่งเป็นประธาน คอ.นธ.ตามมติคณะรัฐมนตรีของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 13 ก.ย. 2554 ได้ออกประกาศเป็นข้อเสนอ “การแก้ไขปัญหาบ้านเมืองว่าด้วยความสามัคคี และความสมานฉันท์ของคนในชาติ” โดยมีเนื้อหาให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญโดยไม่ต้องผ่านสภาร่างรัฐธรรมนูญ ส.ส.ร. แต่ใช้วิธีการแต่งตั้งคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญแทน
      
       สำหรับข้อเสนอร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม เพื่อให้สภาพิจารณาของ คอ.นธ. แบ่งเป็นสองวิธี คือ ให้ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนไม่น้อยกว่า 5 หมื่นคน เป็นผู้เสนอร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม และให้คณะรัฐมนตรีแต่งตั้งคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม 30-35 คน
      
       “ให้คณะรัฐมนตรีแต่งตั้งคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมขึ้น คณะหนึ่ง จำนวนระหว่าง 30-35 คน โดยคัดเลือกจากบุคคลผู้มีความรู้ และ มีประสบการณ์ด้านรัฐธรรมนูญ เป็นที่ยอมรับในสังคม เช่นมีผลงานการเขียน ตำรา เขียนบทความ ให้ความเห็นทางสื่อมวลชนทุกแขนง “เป็นนักรัฐธรรมนูญ” โดยต้องไม่เลือก จากเฉพาะบุคคลฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หรือต้องเป็นผู้มีแนวความคิด ทางเดียวกัน โดยให้มีองค์ประกอบจากบุคคลทุกฝ่าย ที่มีความปรารถนาจะให้ ประเทศไทยได้มีรัฐธรรมนูญที่สมบูรณ์ และถูกต้องตามหลักนิติธรรม สากลมากที่สุด คณะกรรมการควรใช้เวลาพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญไม่เกิน 60 วัน เพราะทุกคนมี แนวคิดของตนเองอยู่แล้ว” ข้อเสนอของ คอ.นธ.ระบุ





























การแก้ไขปัญหาบ้านเมืองว่าด้วยความสามัคคี
และความสมานฉันท์ของคนในชาติ


พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่พระราชทานพระราชดำรัสแก่คณะรัฐมนตรีในวันเข้าเฝ้าถวายสัตย์ปฏิญาณ เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2554 มีความตอนหนึ่งว่า “โลกนี้มีความวุ่นวายพอแล้ว
ขอให้รัฐบาลทำให้ประเทศไทยมีความสงบเรียบร้อย เป็นที่อยู่ที่สบายในโลก
” พระราชดำรัสนี้ถือว่า พระราชทานให้แก่ประชาชนชาวไทยทั้งชาติ พึงน้อมรับไว้และปฏิบัติตาม โดยช่วยกันทำให้ประเทศปราศจากความวุ่นวาย และให้เกิดความสงบเรียบร้อย โดยการนำความสามัคคีและความสมานฉันท์มาสู่คนในชาติ ด้วยการยึดแนวทางข้างต้น




คณะกรรมการอิสระว่าด้วยการส่งเสริมหลักนิติธรรมแห่งชาติ (คอ.นธ.) จึงขอเสนอหลักการและวิธีการแก้ไขปัญหาบ้านเมืองดังนี้







ข้อเสนอแนะของคณะกรรมการอิสระเพื่อส่งเสริมหลักนิติธรรมแห่งชาติ (คอ.นธ.)
ว่าด้วยกระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญ




ข้อ 1. เสนอให้การปกครองประเทศเป็นการปกครองในระบอบ ประชาธิปไตยที่แท้จริง ให้เป็น
ที่ยอมรับของสังคมโลกในปัจจุบัน ที่รับรองหลักประชาธิปไตยว่า เป็นการปกครอง
ประชาชน โดยประชาชน และเพื่อประชาชน
ข้อ 2. เป็นการปกครองโดยอาศัยเสียงข้างมากของประชาชนเป็นหลัก แต่ต้องให้ความสำคัญและ
คุ้มครองเสียงข้างน้อยด้วย
ข้อ 3. เป็นการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
ข้อ 4. เป็นการปกครองที่อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นประมุข
ทรงใช้อำนาจนั้น ทางรัฐสภาคณะรัฐมนตรีและศาล เพียงสามทางเท่านั้น
ข้อ 5. การปฏิบัติหน้าที่ของรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล รวมทั้งองค์กรตามรัฐธรรมนูญ ได้แก่
คณะกรรมการการเลือกตั้ง ผู้ตรวจการแผ่นดิน คณะกรรมการป้องกันและปราบปราม
การทุจริตแห่งชาติ คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน และองค์กรอื่นตามรัฐธรรมนูญ
ได้แก่องค์กรอัยการ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและ
สังคมแห่งชาติ และหน่วยงานของรัฐต้องเป็นไปตามหลักนิติธรรม
ข้อ 6. ความหมายของ “หลักนิติธรรม” ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 3 วรรคสอง โดยสรุปได้แก่
การปกครองบ้านเมืองต้องปกครองโดยกฎหมาย กฎหมายที่ใช้ปกครองต้องเป็นกฎหมายที่ดี
และมีความเป็นธรรม
กฎหมายที่ดี คือ กฎหมายที่ไม่ขัดต่อหลักนิติรัฐหรือหลักนิติธรรม กฎหมายต้องให้ความ
คุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน คุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และความ
เสมอภาคของบุคคล กฎหมายต้องมีผลใช้บังคับเป็นการทั่วไป และไม่มุ่งหมายให้ใช้บังคับ
แก่กรณีใดกรณีหนึ่ง หรือแก่บุคคลใดบุคคลหนึ่งเป็นการเจาะจง “ โดยยึดหลักการสำคัญ
ที่ว่า ไม่มีกฎหมาย ไม่มีความผิด ไม่มีโทษ”
ห้ามออกกฎหมายย้อนหลังไปลงโทษ
หรือเพิ่มโทษ ไม่ว่าจะเป็นโทษทางอาญา หรือโทษทางด้านสิทธิพลเมือง (ได้แก่การจำกัดสิทธิ
ทางการเมือง) หลักการที่ใช้ในการลงโทษในกรณีมีบางคนในคณะได้กระทำความผิด
จะลงโทษได้เฉพาะ ผู้กระทำความผิดเท่านั้น บุคคลอื่นๆ ในคณะนั้น อาจต้องรับผิดร่วมด้วย
ถ้าพิสูจน์ได้ว่าบุคคลคณะนั้นได้มอบหมายเห็นชอบ ร่วมรู้เห็นหรือยินยอมกับการกระทำ
ความผิดนั้นซึ่งกรณีนี้ถือเป็นข้อยกเว้นของหลักทั่วไปที่ว่า “บุคคลจักได้รับผลร้ายก็เฉพาะ
จากการกระทำความผิดของเขาเอง”



โดยสรุป การปกครองโดยหลักนิติธรรม ได้แก่ “การปกครองตามทำนองคลองธรรม”
เท่านั้น การใดๆ ที่ขัดต่อหลักการปกครองตามทำนองคลองธรรม ถือว่าเป็นการปกครองหรือเป็นการกระทำที่ขัดกับหลักนิติธรรมทั้งสิ้น
ข้อ 7. เนื่องจากการพิจารณาว่า การปกครองประเทศ ดำเนินไปตามหลักนิติธรรมหรือไม่ จะต้อง
พิจารณาถึงกฎหมายสูงสุดที่ใช้ในการปกครองประเทศในขณะนั้นๆ เป็นหลักพิจารณา
เมื่อได้พิจารณาถึงที่มา และเนื้อหาของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
โดยละเอียดแล้ว เห็นว่าแม้ว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้มีบทบัญญัติบางส่วนเป็นบทบัญญัติที่ดี
เพราะยึดมั่นในหลักนิติธรรม แต่ก็มีบทบัญญัติหลายส่วนที่ลบล้างและขัดแย้งกันเอง และ
มีบทบัญญัติหลายบทหลายมาตราที่ขัดกับหลักนิติธรรมอย่างแจ้งชัด นอกจากนั้นยังคงให้
คณะบุคคลบางคณะที่ได้รับแต่งตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่สำคัญในศาลรัฐธรรมนูญ และในองค์กร
อิสระซึ่งเป็นองค์กรที่กำหนดชะตากรรมของประเทศ และของประชาชน ของพรรคการเมือง
ของประชาชน ของสมาชิกรัฐสภา ที่ได้รับเลือกตั้งมาจากประชาชน เป็นผู้ที่ไม่ได้รับการ
โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งตามรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน แต่เป็นผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งจากคณะปฏิวัติ
ซึ่งไม่ได้รับมอบอำนาจมาจากประชาชน เมื่อมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน และ
อำนาจอธิปไตยกลับคืนมาเป็นของประชาชนแล้ว บุคคลที่ได้รับการแต่งตั้งให้ทำหน้าที่
สำคัญของบ้านเมือง โดยคณะปฏิวัติจึงต้องพ้นจากการปฏิบัติหน้าที่ในทันที และให้มี
กระบวนการตามกฎหมายรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ให้ตำแหน่งสำคัญทุกตำแหน่งดังกล่าว
ได้รับการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นพระราชอำนาจ
โดยเฉพาะ และให้สอดคล้องกับประเพณีการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมี
พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข



ด้วยเหตุผลสำคัญข้างต้น ประกอบกับความต้องการของประชาชนส่วนใหญ่ของ
ประเทศที่สนับสนุนพรรคการเมืองที่นำเสนอนโยบายว่า ถ้าได้รับการเลือกตั้งเข้ามาเป็น
เสียงข้างมากแล้ว จะดำเนินการแก้ไขรัฐธรรมนูญในทันที เมื่อผลการเลือกตั้งได้แสดง
ถึงเจตนารมณ์อันแท้จริงของประชาชนแล้ว จึงต้องดำเนินการตามคำมั่นสัญญาที่ให้ไว้
กับประชาชนโดยทันที ก่อนที่จะมีเหตุอันทำให้บ้านเมืองเสียหายไปมากกว่านี้เกิดขึ้น
โดยผลพวงของกฎหมาย ระเบียบ หรือคำสั่ง หรือโดยการกระทำของบุคคลหรือคณะ
บุคคลที่ยังทำหน้าที่อยู่ โดยขัดต่อกฎหมายและขัดต่อหลักนิติธรรม เช่น ยังมีอำนาจในการ
ยุบพรรคการเมือง หรือ การวินิจฉัยสถานภาพการเป็นสมาชิกรัฐสภา เป็นต้น ซึ่งจะก่อให้เกด
ความเสียหายต่อชาติบ้านเมืองอย่างมาก




ข้อเสนอแนะของคณะกรรมการอิสระเพื่อส่งเสริมหลักนิติธรรมแห่งชาติ (คอ.นธ.)
ว่าด้วยการเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญ




ข้อ 1. ให้ดำเนินการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ให้สอดคล้องกับหลักนิติธรรมสากล และเพื่อ
ให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของประชาชนส่วนใหญ่ที่ต้องการให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
ในการเลือกตั้งทั่วไป เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2554
ข้อ 2.

ให้ดำเนินการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ตามหมวด 15 การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ มาตรา
291 ซึ่งบัญญัติไว้ดังนี้


(1) ญัติขอแก้ไขเพิ่มเติมต้องมาจากคณะรัฐมนตรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
มีจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของจำนวนสมาชิกเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร
(ไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยคน) หรือจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา
มีจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ทั้งสองสภา
(ไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยสามสิบคน) หรือจากประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนไม่น้อยกว่า
ห้าหมื่นคนตามกฎหมายว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย


ญัติขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญที่มีผลเป็นการเปลี่ยนแปลงการปกครองระบอบ
ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือเปลี่ยนแปลงรูปของรัฐ
จะเสนอมิได้



(2) ญัติขอแก้ไขเพิ่มเติมต้องเสนอเป็นร่างรัฐธรรมนูญ แก้ไขเพิ่มเติมและให้สภา
พิจารณาเป็นสามวาวะ


(3) การออกเสียงลงคะแนนในวาระที่หนึ่งขั้นรับหลักการ ให้ใช้วิธีเรียกชื่อและ
ลงคะแนนโดยเปิดเผย และต้องมีคะแนนเสียงเห็นชอบด้วยในการแก้ไขเพิ่มเติมนั้น ไม่
น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา


(4) การพิจารณาในวาระที่สองขั้นพิจารณาเรียงลำดับมาตรา ต้องจัดให้มีการรับฟัง
ความคิดเห็นจากประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่เข้าชื่อเสนอร่างรัฐธรรมนูญแก้ไข
เพิ่มเติมด้วย
การออกเสียงลงคะแนนในวาระที่สองขั้นพิจารณาเรียงลำดับมาตรา ให้
ถือเอาเสียงข้างมากเป็นประมาณ



(5) เมื่อการพิจารณาวาระที่สองเสร็จสิ้นแล้ว ให้รอไว้สิบห้าวัน เมื่อพ้นกำหนดนี้แล้วให้
รัฐสภาพิจารณาในวาระที่สามต่อไป


(6) การออกเสียงลงคะแนนในวาระที่สามขั้นสุดท้าย ให้ใช้วิธีเรียกชื่อและลงคะแนนโดย
เปิดเผย และต้องมีคะแนนเสียงเห็นชอบด้วยในการที่จะให้ออกใช้เป็นรัฐธรรมนูญมากกว่า
กึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา


(7) เมื่อการลงมติได้เป็นไปตามที่กล่าวแล้ว ให้นำร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมขึ้นทูลเกล้า
ทูลกระหม่อมถวาย และให้นำบทบัญญัติมาตรา ๑๕๐ และมาตรา ๑๕๑ มาใช้บังคับ
โดยอนุโลม
ข้อ 3. ให้มีการเสนอร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม เพื่อให้สภาพิจารณาดังนี้



วิธีที่หนึ่ง ให้คณะรัฐมนตรีแต่งตั้งคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม
ขึ้นคณะหนึ่ง จำนวนระหว่าง 30-35 คน โดยคัดเลือกจากบุคคลผู้มีความรู้ และ
มีประสบการณ์ด้านรัฐธรรมนูญ เป็นที่ยอมรับในสังคม เช่นมีผลงานการเขียน
ตำรา เขียนบทความ ให้ความเห็นทางสื่อมวลชนทุกแขนง “เป็นนักรัฐธรรมนูญ”
โดยต้องไม่เลือก จากเฉพาะบุคคลฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หรือต้องเป็นผู้มีแนวความคิด
ทางเดียวกัน โดยให้มีองค์ประกอบจากบุคคลทุกฝ่าย ที่มีความปรารถนาจะให้
ประเทศไทยได้มีรัฐธรรมนูญที่สมบูรณ์ และถูกต้องตามหลักนิติธรรม สากลมากที่สุด
คณะกรรมการควรใช้เวลาพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญไม่เกิน 60 วัน เพราะทุกคนมี
แนวคิดของตนเองอยู่แล้ว


เหตุผลที่ไม่ควรแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 เพื่อจัดตั้งสมาชิกสภาร่าง-
รัฐธรรมนูญ (สสร.) โดยให้เลือกสมาชิกจากผู้เป็นตัวแทนของจังหวัด รวม 77 คน
และรัฐบาลแต่งตั้งเพิ่มเติมอีก 22 คน (หรือให้สมาชิกเลือกผู้รู้ อีก 22 คน)
รวมเป็น 99 คน ตามที่มีผู้เสนอแนะนั้น มีความเห็นว่า การเขียนแบบแปลนเพื่อ
สร้างบ้านอยู่อาศัย ต้องใช้สถาปนิก และวิศวกร เป็นผู้เขียนแบบและรับผิดชอบ
ซึ่งจะถูกต้องกว่าเลือกผู้มีอาชีพหลากหลายมาเป็นผู้ร่างรัฐธรรมนูญ เพราะขาดความรู้และ
ประสบการณ์ และในที่สุดจะตกอยู่ภายใต้การครอบงำของกรรมการที่คณะรัฐมนตรี
ตั้งขึ้น หรือของผู้รู้ที่สมาชิกเลือกตั้ง นอกจากนั้น
การดำเนินการจะมีกระบวนการขั้นตอนที่ยุ่งยากและใช้เวลามาก โดยต้องมีการขอแก้ไข
รัฐธรรมนูญมาตรา 291 เพื่อให้มีการจัดตั้ง สสร. การกำหนดจำนวน สสร. โดย
กำหนดให้แต่ละจังหวัดมีสิทธิเลือกตั้งสมาชิกสสร. ได้หนึ่งคน ขัดกับหลักนิติธรรม
ไม่เป็นธรรมเพราะแต่ละจังหวัดมีขนาดใหญ่ – เล็ก และมีจำนวนประชาชนแตกต่าง
กันมาก เช่น กรุงเทพมหานคร กับจังหวัดระนอง มีสิทธิเลือกตั้งสมาชิก สสร.
ได้หนึ่งคนเท่ากัน เป็นการขัดหลักนิติธรรมว่าด้วยความเสมอภาค นอกจากนั้นการ
เลือกตั้งจะใช้เวลานาน และต้องใช้งบประมาณจำนวนมาก ซึ่งควรรอไว้ให้ประชาชน
มีส่วนร่วมในการลงประชามติ จะถูกต้องและเป็นธรรมกว่า



วิธีที่สอง ให้ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนไม่น้อยกว่าห้าหมื่นคน เป็นผู้เสนอ
ร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม โดยประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจะเสนอร่างรัฐธรรมนูญ
แก้ไขเพิ่มเติมมากกว่าหนึ่งคณะก็ได้
ข้อ 4. ให้คณะรัฐมนตรี หรือประชาชนเสนอร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมให้สภา
พิจารณาเป็นสามวาระดังกล่าวข้างต้น
ข้อ 5. การพิจารณาในวาระที่สองขั้นพิจารณาเรียงลำดับมาตรา ต้อง
จัดให้การรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่เข้าชื่อเสนอร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมด้วย
(ผู้ที่ต้องการมีสิทธิร่วมแสดงความคิดเห็นควรเป็น
ผู้ที่เข้าชื่อเสนอร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมเท่านั้น) การพิจารณาในวาระที่สอง
ให้พิจารณาโดยเปิดเผยและโปร่งใส โดยให้มีการถ่ายทอดการประชุมทางโทรทัศน์
และวิทยุ หรือสื่ออื่นๆ เพื่อให้ประชาชนได้รับรู้ และติดตามความคืบหน้าของการร่าง
รัฐธรรมนูญตลอดการประชุมในวาระที่สองนี้ ซึ่งประชาชนทั่วไปจะได้รับความรู้
จากบรรดาผู้แปรญัติ ซึ่งเป็นประชาชน ผู้มีความรู้เฉพาะด้านอย่างกว้างขวาง
ข้อ 6. เมื่อการพิจารณาในวาระที่สองเสร็จสิ้นแล้ว ให้ออกเสียงลงคะแนนในวาระที่สาม
เป็นขั้นสุดท้าย
การออกเสียงลงประชามติ


เมื่อสภาได้พิจารณาเห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมในวาระที่สามแล้ว
ควรจัดให้มีการออกเสียง ลงประชามติ โดยประชาชนผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้ง
เพื่อให้ประเทศไทยมีรัฐธรรมนูญ ฉบับประชาชนอย่างแท้จริง หลังจากผ่านการลง
ประชามติ โดยประชาชนเห็นชอบแล้ว จึงนำร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมขึ้นทูลเกล้า
ทูกกระหม่อมถวาย เพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย ประกาศใช้เป็นรัฐธรรมนูญต่อไป
(การลงประชามติเป็นขั้นตอนสำคัญแม้ว่าจะไม่มีบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญก็ตาม)










ภาคผนวก



รายชื่อบุคคลที่มีความรู้และมีความสนใจในรัฐธรรมนูญเท่าที่คิดได้ และนำเสนอจะเป็นผู้ที่มีความคิดเห็นหลากหลาย และแตกต่างกัน ถ้าบุคคลเหล่านี้ยอมรับเข้าร่วมเป็นกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ จะทำให้กระแสความต้านทานหรือความไม่พอใจลดน้อยลงเพราะบุคคลสำคัญที่เป็นผู้นำในการสนับสนุน หรือคัดค้านได้มานั่งประชุมพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญด้วยกันอยู่แล้ว อันจะเป็นก้าวแรกของการสามัคคีปรองดองต่อไป



รายนามคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ





1 พล.ร.อ. เกาะหลัก เจริญรุกข์

2 นายคณิน บุญสุวรรณ


3 นายคำนูน สิทธิสมาน

4 นายจาตุรนต์ ฉายแสง

5 ดร.เจษฎ์ โทณะวณิก

6 ดร.ชูศักดิ์ ศิรินิล

7 มล.ณัฎฐกรณ์ เทวกุล

8 นายขรรชัย บุนปาน

9 ดร.บวรศักดิ์ อุวรรณโณ

10 ดร.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล

11 นายปานเทพ วงศ์พัวพันธ์


12 ดร. ปานปรีย์ พหิทธานุกร

13 ดร. ปิยะบุตร วานิชพงษ์พันธุ์

14 นายเผด็จ ภูรีปฏิภาณ

15 นายพงษ์เทพ เทพกาญจนา

16 น.พ. พรหมมินทร์ เลิศสุริยะเดช

17 นายพันธ์ศักดิ์ วิญญรัตน์

18 ดร. พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์

19 ดร. ยุพา อุดมศักดิ์

20 นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ


21 พล.อ. เลิศรัตน์ รัตนวานิช

22 ดร. วรเจตน์ ภาคีรัตน์

23 ดร. วิษณุ เครืองาม

24 นายสมเกียรติ อ่อนวิมล

25 ดร. สมคิด เลิศไพฑูรย์

26 นายสรจักร เกษมสุวรรณ

27 นายสราวุธ วัชรพล

28 นายสัก กอแสงเรือง

29 นายสุขุม เฉลยทรัพย์


30 ดร. สุขุม นวลสกุล

31 รศ. สุดสงวน สุธีสร

32 นายสุทธิชัย หยุ่น

33 นายสุรนันท์ เวชชาชีวะ

34 นายเสรี สุวรรณภานนท์







      ด้าน นายคำนูณ สิทธิสมาน ส.ว.สรรหา ซึ่งเป็นหนึ่งในรายนามของคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญที่ คอ.นธ.เสนอขึ้นมา เมื่อได้ทราบข่าวดังกล่าว ช่วงเช้าวันนี้ (6 ม.ค.) ก็แสดงความเห็นผ่านทวิตเตอร์ส่วนตัว @kamnoon ระบุว่า ก่อนหน้านี้ทาง คอ.นธ.ไม่เคยติดต่อ หรือบอกกล่าวตนล่วงหน้ามาก่อนเลยว่าจะเสนอชื่อตนเป็นคณะกรรมการร่างรัฐ ธรรมนูญ ซึ่งการเสนอชื่อดังกล่าวตนขอขอบคุณแต่ไม่ขอรับตำแหน่ง เพราะปฏิบัติหน้าที่สมาชิกวุฒิสภาอยู่และไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
      
       “คอ.นธ.เสนอชื่อผมเป็นกรรมการแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยไม่ได้บอกกล่าว ขอขอบคุณ แต่รับไม่ได้ครับ เพราะผมทําหน้าที่ ส.ว.อยู่ และมีจุดยืนไม่เห็นด้วยกับการแก้ รธน. ใครจะแก้ รธน.แบบไหนอย่างไร ก็เสนอเข้าสภาฯ มา ผมจะตัดสินใจและแสดงความเห็นในฐานะ ‘สมาชิกรัฐสภา’ เอง ไปร่วมเป็นกรรมการกับใครไม่ได้ และไม่ไปครับ” นายคำนูณระบุ
      
       ด้าน นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ โฆษกกลุ่มพันธมิตรฯ ให้สัมภาษณ์กับผู้สื่อข่าว ASTVผู้จัดการ โดยระบุว่า ตนไม่ทราบเรื่องนี้มาก่อนเช่นกัน ไม่เคยมีการทาบทาม พูดคุย หรือหนังสือเชิญผ่านทางแกนนำพันธมิตรฯ หรือ ในนามส่วนตัว นอกจากนี้เอกสารดังกล่าวมีเงื่อนไขว่าถ้าผู้ที่รับเชิญตอบรับ ก็แสดงว่า ไม่มีการตอบรับมาก่อน อีกทั้งแม้แต่นามสกุลของตนเองก็ยังเขียนผิดจาก “พัวพงษ์พันธ์” เป็น “วงศ์พัวพันธ์”
      
       “เราเห็นว่าแนวทางดังกล่าวไม่ได้นำไปสู่การปรองดองที่แท้จริง สืบเนื่องจากรายชื่อคณะกรรมการส่วนใหญ่เป็นเครือข่ายของรัฐบาล และคนเสื้อแดง ส่วนรายชื่อคนกลางหรือฝ่ายอื่นที่เอาเข้าไปก็เป็นเพียงไม้ประดับ สร้างความชอบธรรมให้กับตัวเองเท่านั้นเอง ด้วยเหตุนี้ทางกลุ่มพันธมิตรฯ จึงไม่ขอมีส่วนร่วมกับแนวทางดังกล่าว” นายปานเทพกล่าวในนามกลุ่มพันธมิตรฯ










"ก้านธูป" เปิดใจมติชนออนไลน์ครั้งแรก!

หนูไม่มีปัญหาถ้าจะอยู่กับคนที่แตกต่าง (แต่) เขาจะมีปัญหาหรือเปล่าถ้าจะมาอยู่กับความแตกต่างอย่างหนู"



สัมภาษณ์โดย ฟ้ารุ่ง ศรีขาว 


 



แม้ว่าความเปลี่ยนแปลงของโลกจะเดินทางผ่านยุคแห่งการลงโทษโดยปราศจากการพิสูจน์ความผิดไปแล้ว แต่ในสังคมไทยยังมี "ข้อกล่าวหาต้องห้าม" ที่ใครก็ตามซึ่งถูกกล่าวหา ก็มักจะถูกสังคมพิพากษาจนแทบจะไม่ต้องผ่านกระบวนการพิสูจน์ความผิด  

"มติชนออนไลน์" สัมภาษณ์ "ก้านธูป" นักศึกษาปี 1 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้ถูกหมายเรียกในกระบวนการยุติธรรม และเป็นจำเลยของสังคมในคดี "หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ" ซึ่งถูก "ล่าแม่มด" ตั้งแต่ เธอยังไม่บรรลุนิติภาวะ จนถึงขณะนี้ ชีวิตของเธอผ่านความพลิกผันมากมาย จากที่เคยทำคะแนนสอบข้อเขียนเข้ามหาวิทยาลัยได้ 3 แห่ง แต่ท้ายที่สุด ก็มีเงื่อนไขที่ทำให้เธอไม่สามารถเป็น "นิสิต-นักศึกษา" ใน 3 สถาบันดังกล่าวได้

ไม่มีใครบอกได้ว่า สิ่งที่เกิดขึ้นเป็นความบังเอิญหรือโชคชะตาขีดกำหนดไว้ตั้งแต่แรก เพราะปัจจุบัน เธอกลายมาเป็น "ลูกแม่โดม" ที่มีบุคคลที่เธออยากเจริญรอยตามคือ "สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล" นักประวัติศาสตร์ผู้อำนวยให้เกิดข้อถกเถียงในสังคมและถูกมองว่าเป็นนักวิชาการที่รวบรวม "ข้อมูล" ได้อย่างมีน้ำหนักในการท้าทายกับความคิดและความเชื่อของคน ไม่ว่าใครจะเห็นด้วยหรือไม่ก็ตาม

สัมผัสทรรศนะของ "ก้านธูป" ได้ในบทสัมภาษณ์ชิ้นนี้    

@ตั้งแต่จบมัธยมปลาย สอบติดที่ไหนบ้าง

ปี 52 ติดที่คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร และไปสอบสัมภาษณ์ตามปกติ แต่ผลออกมาไม่ผ่าน แล้วในปีเดียวกันก็ติด (รัฐศาสตร์) คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ แต่เดินทางไปสัมภาษณ์แล้ว ตัดสินใจไม่เข้าไปสัมภาษณ์ เพราะดูจากสถานการณ์ที่มีคนมาเยอะ คิดว่าตัวเองอาจจะไม่ปลอดภัย และหนูก็ไปคนเดียว จึงสละสิทธิ์ไม่ไปสัมภาษณ์ ส่วนปี 53 สอบติดที่ มศว.ประสานมิตร แต่เมื่อเข้าไปสัมภาษณ์แล้ว อาจารย์ไม่แฮปปี้กับการที่หนูสอบติด เมื่อไปสอบสัมภาษณ์ยังไม่ทันเสร็จอาจารย์เขาก็ให้กลับไปรอผลสัมภาษณ์ ก็ปรากฏว่าสอบสัมภาษณ์ ที่ มศว. ไม่ผ่าน จากนั้นปี 54 ก็มาสอบติดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

@วันสอบสัมภาษณ์ที่ม.เกษตรศาสตร์ คือก่อนหน้านั้นมีคนโพสต์ในเวบไซต์ให้ไปต่อต้านใช่หรือไม่

ใช่ค่ะ

@ที่บอกว่าอาจารย์ผู้สอบสัมภาษณ์ไม่แฮปปี้ คือมีปฏิกิริยาอย่างไร

ที่ม.ศิลปากรไม่มีปฏิกิริยา และสัมภาษณ์ตามปกติทุกอย่าง ส่วนที่ประสานมิตร พอ เราเดินเข้าไปก็แนะนำตัว แนะนำตัวยังไม่ทันจบ อาจารย์เขาก็เบรกแล้วบอกว่า ครูก็พอจะรู้ว่าเธอทำอะไรไว้บ้าง เพราะฉะนั้นก็กลับไปรอลุ้นผลสัมภาษณ์ที่บ้าน

@เปลี่ยนชื่อตอนไหน

ตอนสอบเข้า ม.ศิลปากรยังไม่เปลี่ยนชื่อ แต่ตอนมา มศว. เปลี่ยนชื่อแล้ว

@ความรู้สึกตอนสอบเข้า มธ. คิดว่าจะซ้ำรอย 3 มหาวิทยาลัยที่ผ่านมาไหม

ก็ลุ้นพอสมควรค่ะ ก็เตรียมใจไว้อยู่แล้ว ถ้าไม่ผ่าน

@เคยเจอผู้บริหารอย่าง อ.สมคิด เลิศไพฑูรย์ และอ.ปริญญา เทวานฤมิตรกุลไหม

ไม่เคยเจอเป็นการส่วนตัว แต่เคยเรียนกับอ.ปริญญา ในวิชา TU100 ต้องเจออาจารย์ในคาบเรียน

@ตอนรับเพื่อนใหม่ ไม่ยืนเคารพเพลงสรรเสริญพระบารมีจริงหรือไม่

ไม่จริงค่ะ เป็นการยืนกันกลางสนามบอล ต่อให้ใครไม่ยืนก็ต้องมีการกดดันจากคนรอบข้างอยู่แล้ว ต่อให้หนูหรือใครก็ตามก็เป็นไปไม่ได้ที่จะไม่ยืน

@ทราบหรือไม่ว่ามีข่าวลือว่าน้องไม่ยืน

ทราบค่ะ เห็นข่าว รู้สึกว่าไม่ make sense (สมเหตุสมผล)  ที่เอาเรื่่องนี้มาโจมตี เพราะว่ามันไม่มีมูลความจริง แล้วลองจินตนาการดูก็ทำไม่ได้อยู่แล้ว

@มาอยู่ในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ถูก Sanction หรือไม่

ก็มีบ้าง โดยการเสียดสีประชดประชัน เอาไปพูดกลางชั้น แล้วที่หนักสุดคือปารองเท้าใส่ เหตุการณ์เกิดในช่วงแรกๆ ของการเข้ามาในธรรมศาสตร์

@ช่วยเล่าเหตุการณ์ให้ฟังหน่อย

ตอนนั้นเป็นช่วงกลางคืนแล้วมีกลุ่มนักศึกษากลับมาจากออกค่ายโดยมี อาการเมามาเป็นกลุ่ม เมื่อลงจากรถบริเวณที่พวกหนูนั่งทำงานอยู่กับเพื่อนๆ เขายืนคุยกันอยู่ แล้วรองเท้าก็ลอยมาโดนเรา แล้วเขาก็วิ่งเข้ามาเก็บแล้วบอกว่ารองเท้าหลุด

@เขารู้หรือไม่ว่าเป็น "ก้านธูป"

คือตั้งแต่เขาลงมาจากรถก็มีเสียงซุบซิบนินทาแต่แรก และฮือฮาเมื่อเห็นว่าใครเป็นคนนั่งอยู่ตรงนี้

@แสดงว่าทุกคนรู้จักและรู้ว่าเคยมีคดี

ก็รู้ เพื่อนที่คณะทุกคนก็รู้

@คำพูดประชดเหน็บแนมคืออะไร

ก็เช่นว่า ใครไม่รัก...ก็ออกไปจากประเทศนี้ซะ แนวๆ เดียวกับท่าน ผบ.ทบ.ที่ไล่คนออกนอกประเทศ

@ด้านดีของบรรยากาศในธรรมศาสตร์คืออะไร

ทุกคนมีความแตกต่าง และหนูมองว่าการที่ทุกคนแตกต่างเป็นสิ่งสวยงามของโลกใบนี้ และหนูไม่เคยหันกลับไปทำร้ายคนอื่น หรือไปแซงค์ชั่นกลับ หรือกระทั่งไม่ได้โกรธเพื่อนๆ ที่ทำอย่างนั้นกับหนู เพราะหนูเข้าใจว่าส่วนหนึ่งเขาได้รับข้อมูลมาอีกอย่างหนึ่ง

@ครอบครัวว่าอย่างไรบ้างเมื่อมีคดีขึ้นมา

ก็ให้กำลังใจกันดี

@เคยขึ้นเวทีเสื้อแดงจริงหรือเปล่า

จริงค่ะ เคยขึ้นเวทีเสื้อแดงตั้งแต่ตอนอยู่มัธยม เป็นเวทีในกรุงเทพฯ ช่วงรวมพล ไปที่บ้านป๋าเปรม เป็นปีที่มีการสลายม็อบเสื้อแดงรอบแรกในเดือนเมษายน (2552)

@ทุกวันนี้ ยังทำกิจกรรมในมหาวิทยาลัย

ทำกิจกรรมในมหาวิทยาลัยเหมือนที่นักศึกษาทั่วไปทำตามปกติคะ เป็นกลุ่มอิสระที่ทำงานร่วมกับทุกกลุ่มได้ และทำงานร่วมกับกลุ่มนอกมหาวิทยาลัยได้ด้วยซ้ำ

@ไม่เข็ดหรือไม่กลัวกับการโดนคดีอีกหรือ

หนูรู้สึกว่า ทำกิจกรรมไม่จำเป็นต้องเกี่ยวข้องกับการเมืองเสมอไป เพราะฉะนั้น คำว่า ไม่เข็ด ก็เลยไม่รู้จะตอบยังไง เพราะบางกิจกรรมก็ไม่เกี่ยวกับการเมืองเลย

@ทำกิจกรรมอะไรบ้าง

เกี่ยวกับต่อต้านการรับน้องการโซตัส การใช้ความรุนแรงต่อเพื่อนมนุษย์ เพื่อนร่วมมหาวิทยาลัย

@ทำกิจกรรมตอนน้ำท่วมหรือไม่

ก็พยายามจะไปช่วยให้ได้มากที่สุด เพราะมีข้อจำกัดหลายอย่าง เพราะที่บ้านก็เป็นห่วง หนูก็เคยไปช่วยที่ศูนย์พักพิงที่ธรรมศาสตร์ แต่นั่งทำงานอยู่ดีๆ ก็มีคนเอากล้องมาถ่ายรูป หนูก็เลยไปทำที่อื่น เช่นที่ดอนเมืองแทน

@ครอบครัวห้ามทำกิจกรรมหรือไม่

ก็เตือน ก็ห้าม ไม่อยากให้ทำกิจกรรมมาก

@ทำไมยังอยู่ในเส้นทางการทำกิจกรรม ทั้งที่ถูกกล่าวหาในคดีร้ายแรง

ก็อยากจะทำทุกอย่างให้เป็นปกติ ไม่อยากให้มันมีอิทธิพลกับชีวิตมากนัก เพราะไม่ว่ายังไง ชีวิตเราก็ต้องดำเนินต่อไป ส่วนคดี ก็ปล่อยให้เป็นไปตามกระบวนการ

@ที่บ้านเป็นเสื้อแดง หรือเปล่า

ไม่ได้เป็นค่ะ

@แล้วเขาทำยังไงกับเรื่องนี้

เขาก็ห้าม ก็เตือน พยายามจะดึงกลับไป หนูก็เข้าใจที่บ้านว่า ทำไมถึงพยายามจะห้าม แต่ที่สุดแล้ว ก็ทนไม่ได้กับความไม่เป็นธรรมในสังคมนี้ คือต่อให้ไม่ใช่หนู แต่เป็นคนอื่น เขาก็ต้องทำแบบนี้เหมือนกัน ถ้าเขาได้เห็นอะไรแบบที่หนูได้เห็น ได้สัมผัส

@จุดเปลี่ยนที่ทำให้คิดแบบนี้

มีหลายจุดมากคะ คือ คนที่ติดตามการ เมือง คงจะรู้สึกถึงความไม่เป็นธรรมในสังคมนี้ ที่มันเป็นมาอยู่ตลอด ไม่ว่าจะ 2 มาตรฐาน หรือการใช้กฎหมายที่ไม่เป็นธรรม มันทำให้เราไม่สามารถหยุดเพื่อเอาตัวรอดได้

@ตอนที่ถูกกล่าวหาอายุ 17 ปี ชีวิตช่วงนั้นรู้สึกถึงความไม่เป็นธรรมด้วยหรือเปล่า
หนูรู้สึกว่า "การคิดได้" มันไม่เกี่ยวกับเรื่องอายุค่ะ ไม่ว่าอายุเท่าไหร่ ถ้าคนมันจะคิดได้มันก็คิดได้

@อนาคตอยากทำงานอะไร

อยากเป็นอาจารย์ อยากเป็นครู อยากเจริญรอยตามอาจารย์สมศักดิ์ (เจียมธีรสกุล)

@ชอบเรียนวิชาอะไร

ตอนนี้หนูเพิ่งเรียนแค่ 6 ตัว ก็รู้สึกสนุกกับทุกวิชาที่ได้กำลังเรียนรู้อยู่

@ลงทะเบียนเรียนกับอาจารย์สมศักดิ์ด้วยหรือเปล่า

ก็ไปนั่งซิทอินเฉยๆ (ฟังบรรยาย โดยไม่ได้ลงทะเบียนเรียน) เมื่อเทอมที่แล้วอาจารย์สมศักดิ์ สอนที่รังสิตตัวเดียว ก็เลยไปนั่งซิทอินตัวนั้น ตัวเดียว เป็นวิชาประวัติศาสตร์รัสเซีย

@ไปซิทอินวิชาอื่นด้วยหรือเปล่า

ก็ไปนั่งซิทอินกับ คณะนิติศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ 

@เรียนกับ "คณะนิติราษฎร์" ด้วยหรือเปล่า

ยังค่ะ ยังไม่มีโอกาส

@ ทำไมถึงเลือกเรียนคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์

เพราะหนูเคยทำกิจกรรมจิตอาสา แล้วรู้จักพี่คนหนึ่งที่เขาเป็นรุ่นพี่เรียนคณะนี้เหมือนกัน แล้วรู้สึกว่าทัศนคติของเขาในการมองสังคมสวยงามมาก จรรโลงใจ คือ หลักการคณะนี้ ทำให้เขาคิดได้ขนาดนี้ มันรู้สึกแฮปปี้กับความคิดเขา ก็เลยอยากเข้ามาเรียนรู้ว่าอะไรที่ทำให้เขาคิดแบบนี้

@ถูกกล่าวหาในข้อหารุนแรงในช่วงนี้ คิดว่าเกิดจากอะไร

การใช้ข้อกล่าวหานี้มาโจมตีกันทางการเมือง... คือมันก็เคลื่อนไปตามกระบวนการของมัน เพราะว่าการเมืองมันมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาอยู่แล้ว

@คิดว่าตัวเองเป็นเหยื่อ หรือว่าเป็นปรากฎการณ์ที่สะท้อนสังคมนี้หรือเปล่า

หนูรู้สึกว่าต้องให้คนอื่นคิดกับหนูมากกว่า เพราะว่าหนูก็ยังใช้ชีวิตตามปกติของหนู ก็ไปกินข้าว ไปดูหนัง ไปเที่ยวเล่นและทำกิจกรรมตามปกติ

@ถูกขบวนการล่าแม่มดแล้วมีคนที่เรารู้จักส่วนตัวในขบวนการนั้นไหม

ไม่ได้รู้จักใครเป็นการส่วนตัว หรือต่อให้รู้จักส่วนตัว ก็ไม่ทราบว่าเขาอยู่ในขบวนการนั้นหรือเปล่า แล้วก็ไม่มีปัญหา ถ้าจะคบกับคนเหล่านั้น

@ทำไมคิดว่าเราสามารถคบกับคนที่ตามล่าเราได้

คือคณะสังคมสงเคราะห์ สอนให้หนูเรียนรู้แล้วก็อยู่ร่วมกับความแตกต่างในสังคมอยู่แล้วค่ะ เพราะฉะนั้น หนูก็เลยไม่มีปัญหา ถ้าจะอยู่กับคนที่แตกต่างกับหนู ขึ้นอยู่กับว่า คนคนนั้นเขาจะมีปัญหาหรือเปล่า ถ้าจะมาอยู่กับความแตกต่าง สิ่งที่แตกต่างอย่างหนู

@มีอะไรเป็นหลักในการดำเนินชีวิตสำหรับสิ่งที่เจอในอายุแค่นี้

มันก็เป็นแค่การเรียนรู้ เพราะทุกอย่าง สิ่งที่เข้ามาในชีวิต เดี๋ยวมันก็ผ่านไป แล้วมันก็จะกลายมาเป็นบทเรียนเรา ที่ยังไงก็ต้องเรียนรู้ต่อไป มันต้องดำเนินชีวิตต่อไปให้ได้คะ

@เคยเครียดไหม

ก็เครียดเป็นปกติ ไม่ใช่เรื่องนี้เรื่องเดียว ก็มีเครียดเรื่องเรียน เรื่องสอบ เรื่องอื่นๆ ด้วย

@ครอบครัวไม่อยากให้น้องมาทำกิจกรรม แล้วสามารถประนีประนอมกับครอบครัวยังไง

หนูก็มาทำกิจกรรม โดยไม่ให้มีผลกระทบ แล้วหนูก็พยายามทำอยู่หลังไมค์ (เบื้องหลัง) ไม่ออกหน้ามาก พยายามจะไม่ให้มีชื่อเข้าไปในกิจกรรม แต่ก็ยังทำอยู่ตามปกติ

@อยากเห็นสังคมเปลี่ยนแปลงไปแบบไหน

หนูคิดว่ามันก็กำลังเปลี่ยนแปลงอยู่ค่ะ ก็อยากให้เปิดกว้างกว่านี้ ยอมรับกันมากขึ้น เรียนรู้กันมากขึ้น

@คิดว่าทำไมต้องเป็นเรา ที่ถูกข้อกล่าวหานี้ด้วย

ข้อหานี้ใช้กล่าวหากันได้ง่ายมาก แล้วต่อให้ไม่เป็นหนู เดี๋ยวก็มีคนอื่นโดน แล้วมันก็กำลังมีอยู่เรื่อยๆ

@ขอเลื่อนพบเจ้าหน้าที่ สน.บางเขน ในวันที่ 11 ม.ค. นี้ เพราะอะไร
ติดสอบปลายเทอมที่ 1 คะ ยังสอบไม่เสร็จ เลื่อนสอบจากเหตุการณ์น้ำท่วม ไปเป็น 11 ก.พ.

@หมายมาตรา 112 อ้างข้อเท็จจริงเหตุการณ์ในปีไหน

น่าจะเป็นปี 53 คือมีคนเผยแพร่ข้อความในอินเตอร์เน็ต โดยการแคปภาพในเฟซบุ๊กหลายอันมาลงในฟอร์เวิร์ดเมล์ ซึ่งไม่แน่ใจว่า การนำภาพตัดแปะในอินเตอร์เน็ต มาเป็นหลักฐานในการฟ้องแล้วจะเป็นหลักฐานฟ้องร้องได้จริงหรือ  ในเมื่อมันตัดต่อยังไงก็ได้

@สรุปคือ มีข้อเท็จจริงว่ามีการตัดต่อภาพพร้อมข้อความ กล่าวหาว่า "ก้านธูป" โพสต์ข้อความบางอย่างแล้วนำมาเผยแพร่ จากนั้นก็มีการตามล่า ใช่หรือไม่

ใช่ค่ะ

@แล้วมหาวิทยาลัยดูแลอย่างไร

อาจารย์ที่ปรึกษาที่คณะ ก็โทรมาสอบถามด้วยความเป็นห่วง อาจารย์บอกว่า ปล่อยให้ทุกอย่างเป็นไปตามกระบวนการของมัน เรื่องความปลอดภัยอาจารย์ก็ช่วยดูแลให้

@เหตุที่ย้ายบ้านจากจังหวัดหนึ่งไปอีกจังหวัดหนึ่งตอน ม.4 เพราะถูกคุกคามหรือเปล่า

ไม่ได้ถูกคุกคามค่ะ แต่ครอบครัวย้ายอยู่แล้วก็ย้ายตามครอบครัว

@นอกจากการคุกคามในโลกอินเตอร์เนตแล้ว ในชีวิตจริง มีการคุกคามด้วยหรือไม่

ก็มีบ้าง อย่างปีที่แล้ว ก็มีคนตามไปบ้านที่จังหวัดเดิม มีคนไปสอบถามแถวบ้านว่ารู้จักหรือเปล่า โดยมีคนอ้างตัวว่าเป็นเจ้าหน้าที่บ้าง เป็นคนทั่วไปบ้าง

@ฝ่ายที่ให้กำลังใจ เขาพูดกับเราว่าไงบ้าง

เขาบอกว่า "เป็นกำลังใจให้" หนูว่าแค่คำนี้คำเดียว ทุกอย่างก็ลงตัวแล้ว หนูว่าเรื่องกำลังใจสำคัญที่สุด เพราะสิ่งที่ทำให้หนูหยัดยืนได้ ก็คือกำลังใจจากเพื่อนๆ กำลังใจจากอาจารย์ที่รัก

@ได้เข้ามาศึกษาในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แล้วรู้สึกประทับใจอะไรหรือเปล่า

ก็รู้สึกว่ามหาวิทยาลัยนี้ เป็นมหาวิทยาลัยที่เปิดกว้างที่สุด ในบรรดามหาวิทยาลัยที่หนูเคยสอบได้มา ก็รู้สึกประทับใจตรงนี้มาก 

@นิยมชมชอบบุคคลในประวัติศาสตร์ไหม

อืม หนูไม่บูชาบุคคลในประวัติศาสตร์ค่ะ ชอบที่จะชื่นชมคนที่เรารู้จักตัวจริงๆ มากกว่า เพราะเชื่อว่าถ้าเป็นคนที่หนูรู้จัก หนูจะชื่นชมชื่นชอบได้อย่างสนิทใจ หรือรักได้อย่างสนิทใจมากกว่าบุคคลในประวัติศาสตร์ค่ะ

@หมายความว่าเรื่องราวของคนที่ถูกบอกเล่าโดยที่เราไม่เคยสัมผัสส่วนตัว - เราไม่ได้เชื่ออะไรแบบนั้น 

ก็ไม่ได้ให้ความสำคัญมากถึงขนาดเอาไปเคารพบูชาหรือรักใคร่ เราไม่ได้เชื่อ

@ชอบอ่านหนังสืออะไร

หนังสือประวัติศาสตร์และก็นวนิยาย

@ชอบเขียนเรื่องอะไรเก็บเอาไว้

ก็เขียนพวกกลอน เพราะหนูก็ถนัดแต่งกลอน แต่งโคลง ก็ไม่ได้เขียนแค่เรื่องการเมือง เขียนเรื่องความรัก เพ้อเจ้อ ธรรมชาติ ก็เขียนค่ะ

@มีกลอนอะไรที่อยู่ในใจตลอดเวลา

(หัวเราะ) ก็มีกลอนของพี่วิสา คัญทัพ แต่รู้สึกว่าพี่วิสาเขาก็..(หัวเราะ) เขาก็มีความเปลี่ยนแปลงอะไรไปแล้ว 



มติชน 




อ่าน  เปิดใจอธิการบดี มธ. ว่าด้วยเรื่องก้านธูปและม. 112

เปิดร่าง พ.ร.ก.ซุกหนี้กว่า1ล้านล้านบาทให้อำนาจ ครม.ล้วงสินทรัพย์ -ทองคำหลวงตาบัว

หมาย เหตุ-คณะรัฐมนตรี น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร มีมติเมื่อวันที่ 4 มกราคม 2555 เห็นชอบในหลักการ ร่างพระราชกำหนด (พ.ร.ก.)  4 ฉบับ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณาว่า ควรตราเป็น พ.ร.ก. หรือ พระราชบัญญัติ( พ.ร.บ.)
ร่าง พ.ร.ก.ทั้ง 4 ฉบับดังกล่าว ประกอบด้วย
1.ร่าง พ.ร.ก. การให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ได้รับความเสียหายจากอุทกภัย พ.ศ...ซึ่งมีสาระสำคัญในการแก้ไข พ.ร.บ.ธนาคารแห่งประเทศไทยให้สามารถปล่อยเงินกู้อัตราดอกเบี้ยผ่อนปรน(ซอฟท์ โลน) วงเงิน 300,000 ล้านบาท เพื่อในอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 0.1 ให้สถาบันการเงินปล่อยกู้ให้แก่ผู้ประกอบการวิสาหกิจรายย่อยและประชาชนผู้ ประสบอุทกภัย
2.ร่าง พ.ร.ก.ปรับปรุงการ บริหารหนี้เงินกู้ ที่กระทรวงการคลังกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบัน การเงิน พ.ศ. ....มีสาระสำคัญในการโอนหนี้ 1.14 ล้านล้านบาทของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินที่กระทรวงการ คลังเคยรับภาระดอกเบี้ยให้ธนาคารแห่งประเทศไทย( ธปท. )รับผิดชอบทั้งดอกเบี้ยและเงินต้น
3.ร่าง พ.ร.ก.ให้กระทรวงการคลังกู้เงินวงเงิน 350,000 ล้านบาท เพื่อฟื้นฟูประเทศหลังประสบอุทกภัย
และ 4.ร่าง พ.ร.ก.จัดตั้งกองทุนประกันภัย วงเงิน 50,000 ล้านบาท
อย่างไรก็ตาม ร่าง พ.ร.ก.ที่ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์มากที่สุดคือ ร่าง พ.ร.ก.ปรับปรุงการ บริหารหนี้เงินกู้ ที่กระทรวงการคลังกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบัน การเงิน พ.ศ… เพราะ นอกจากจะเป็นการเป็นการซุกหนี้กว่า 1 ล้านล้านบาทมิให้ปรากฏในบัญชีหนี้สาธารณะแล้ว ยังเป็นกฎหมายที่ให้อำนาจ ครม. แทรกแซงการทำงานของ ธปท. รวมถึงการเปิดช่องให้ ครม.มีอำนาจล้วงสินทรัพย์ของ ธปท.ซึ่งอาจรวมถึงทุนสำรองเงินตราระหว่างประเทศ ทองคำและเงินตราต่างประเทศที่หลวงตามหาบัว ญาณสัมปัโน(พระธรรมวิสุทธิมงคล) วัดป่าบ้านตาดมอบให้ ธปท.ดูแลรักษาในช่วงงวิกฤตการเงินมาใช้หนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯได้ด้วย ตามมาตรา 7 (3) ที่บัญญัติว่า
“ในระหว่างการชำระหนี้ต้นเงินกู้ตามมาตรา 4(หนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ) ให้ดำเนินการดังต่อไปนี้ (3) ให้โอนเงินหรือสินทรัพย์ของธนาคารแห่งประเทศไทย หรือกองทุนเข้าบัญชีตามมาตรา 5 ตามจำนวนที่คณะรัฐมนตรีกำหนด
สำหรับ ร่าง พ.ร.ก.ปรับปรุงการ บริหารหนี้เงินกู้ ที่กระทรวงการคลังกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบัน การเงิน พ.ศ. …. มีรายละเอียด ดังนี้
หลักการ และ เหตุผล
เนื่องจากในปี พ.ศ. 2554 ได้เกิดอุทกภัยอย่างร้ายแรงในพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศไทย ทำให้เกิดความเสียหายเป็นอย่างมากแก่โครงสร้างพื้นฐานด้านสาธารณูปโภคและ สาธารณูปการ รัฐบาลมีความจำเป็นต้องใช้งบประมาณในการบูรณะและฟื้นฟูประเทศที่ได้รับความ เสียหาย รวมทั้งลงทุนหรือก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญของประเทศ สมควรให้มีกฎหมายว่าด้วยการปรับปรุงการบริหารหนี้เงินกู้ที่กระทรวงการคลัง กู้เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน โดยกำหนดให้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินมีหน้าที่และรับ ผิดชอบเกี่ยวกับการชำระคืนค้นเงินกู้และการชำระดอกเบี้ยเงินกู้ ในส่วนที่เกี่ยวกับหนี้เงินกู้ที่กระทรวงการคลังกู้
เพื่อช่วยเหลือการจัดการและฟื้นฟูสถาบันการเงินที่ประสบปัญหาวิกฤติทาง การเงินเมื่อปี พ.ศ. 2540 และให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้กำกับดูแลการดำเนินการของกองทุนดังกล่าวใน การชำระคืนตัวเงินกู้ การชำระต้นดอกเบี้ยเงินกู้และดอกเบี้ยเงินกู้ได้อย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดประสิทธิภาพในการบริหารหนี้เงินกู้ดังกล่าว และไม่เป็นภาระต่องบประมาณรายจ่ายของรัฐบาลอีกต่อไปซึ่งทำให้รัฐบาลมีวงเงิน งบประมาณรายจ่ายเพิ่มขึ้นเพื่อนำไปใช้ในการบูรณะ และฟื้นฟูประเทศได้ทันเหตุการณ์ อีกทั้งยังเป็นการสร้างเสถียรภาพต่อระบบการเงินการคลังของประเทศโดยรวมด้วย และโดยที่เป็นกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นรีบด่วนอันมิอาจหลีกเลี่ยงได้ เพื่อประโยชน์ในอันที่จะรักษาความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ จึงจำเป็นต้องตราพระราชกำหนดนี้
มาตรา 1 พระราชกำหนดฉบับนี้เรียกว่า “พระราชกำหนดปรับปรุงการบริหารหนี้เงินกู้ ที่ กระทรวงการคลังกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการ เงิน พ.ศ. ….”
มาตรา 2 พระราชกำหนดฉบับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา 3 ในพระราชกำหนดฉบับนี้
“กองทุน” หมายความว่า กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยธนาคารแห่งประเทศไทย
“รัฐมนตรี” หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา 4 ให้กองทุนมีหน้าที่และรับผิดชอบเกี่ยวกับการชำระคืนต้นเงินกู้และการชำระ ดอกเบี้ยเงินกู้ ในส่วนที่เกี่ยวกับเงินกู้ดังต่อไปนี้
(1)หนี้เงินกู้ที่กระทรวงการคลังกู้ตามพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการ คลังกู้ เงินและจัดการเงินกู้เพื่อช่วยเหลือการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน พ.ศ. 2541 ที่ยังคงมีอยู่
(2) หนี้เงินกู้ที่กระทรวงการคลังกู้ตามพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้ เงินและจัดการเงินกู้เพื่อช่วยเหลือการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน พ.ศ. 2541 ระยะที่สอง ที่ยังคงมีอยู่
การจัดลำดับการชำระหนี้ต้นเงินกู้ หรือดอกเบี้ยเงินกู้ และการกำหนดจำนวนเงินที่จะต้องชำระตามพระราชกำหนดนี้ ให้เป็นไปตามที่กระทรวงการคลังแจ้งให้กองทุนทราบ
หนี้เงินกู้ตามมาตรานี้ ให้หมายความรวมถึงหนี้ที่เกิดจากการปรับโครงสร้างหนี้เงินกู้ด้วย
มาตรา 5 เพื่อประโยชน์ในการดำเนินการตามมาตรา 4 ให้บัญชีสะสมเพื่อการชำระคืนต้นเงินกู้ชดเชยความเสียหายของกองทุนเพื่อการ ฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ซึ่งจัดตั้งโดยพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินและจัดการเงินกู้ เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ระยะที่สอง พ.ศ. 2545 มีวัตถุประสงค์เพื่อการชำระคืนต้นเงินกู้ตามมาตรา 4 และการชำระดอกเบี้ยเงินกู้ที่เกิดจากหนี้เงินกู้ดังกล่าว
เงินหรือสินทรัพย์ดังต่อไปนี้ ให้นำส่งเข้าหรือรับขึ้นบัญชีตามวรรคหนึ่ง
(1) เงินหรือสินทรัพย์ที่โอนเข้าตามมาตรา 7
(2) เงินที่สถาบันการเงินนำส่งตามมาตรา 8 และมาตรา 9
(3) เงินหรือสินทรัพย์ที่กระทรวงการคลังโอนตามมาตรา 11
(4) ดอกผลของเงินหรือสินทรัพย์ตาม (1) ถึง (3)
มาตรา 6 รายได้ของธนาคารแห่งประเทศเทศไทยอันเป็นเงินหรือสินทรัพย์ในบัญชีตามมาตรา 5 มิให้นำไปจัดสรรเป็นเงินสำรองหรือเป็นเงินนำส่งรัฐตามกฎหมายว่าด้วยธนาคาร แห่งประเทศไทยหรือกฎหมายอื่นใด และให้ธนาคารแห่งประเทศไทยมีหน้าที่ดูแลรักษา ตลอดจนจัดการเงินหรือสินทรัพย์ดังกล่าว และแปลงเงินตราต่างประเทศเป็นเงินบาท เพื่อให้สอดคล้องกับต้นเงินกู้และดอกเบี้ยเงินกู้ตามพระราชกำหนดฉบับนี้ รวมทั้งให้มีอำนาจจ่ายเงินจากบัญชีดังกล่าวเพื่อการอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้
(1) ชำระดอกเบี้ยเงินกู้ที่เกิดจากหนี้เงินกู้ตามมาตรา 4
(2) ชำระคืนต้นเงินกู้ตามมาตรา 4
(3) จ่ายเป็นค่าบริหารจัดการเกี่ยวกับการดำเนินการตาม (1) และ (2)
ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่รัฐมนตรีกำหนด
มาตรา 7 ในระหว่างการชำระหนี้ต้นเงินกู้ตามมาตรา 4 ให้ดำเนินการดังต่อไปนี้
(1) ในแต่ละปีให้ธนาคารแห่งประเทศไทยนำส่งเงินกำไรสุทธิเป็นจำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 เข้าบัญชีตามมาตรา 5
(2) ให้โอนสินทรัพย์คงเหลือในบัญชีผลประโยชน์ประจำปีตามกฎหมายว่าด้วยเงินตรา หลังจากการจ่ายเมื่อสิ้นปีเข้าบัญชีตามมาตรา 5 โดยไม่ต้องโอนเข้าบัญชีสำรองพิเศษ
(3) ให้โอนเงินหรือสินทรัพย์ของธนาคารแห่งประเทศไทย หรือกองทุนเข้าบัญชีตามมาตรา 5 ตามจำนวนที่คณะรัฐมนตรีกำหนด
มาตรา 8 ให้สถาบันการเงินนำส่งเงินให้แก่กองทุนตามอัตราที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ประกาศกำหนด แต่เมื่อรวมอัตราดังกล่าวกับอัตราที่กำหนดให้สถาบันการเงินนำส่งเข้ากองทุน คุ้มครองเงินฝากตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันคุ้มครองเงินฝากแล้ว ต้องไม่เกินร้อยละ 1 ต่อปีของยอดเงินฝากถัวเฉลี่ยของบัญชีที่ได้รับการคุ้มครองเงินฝาก
มาตรา 9 สถาบันการเงินใดไม่นำส่งเงินตามมาตรา 8 หรือนำส่งไม่ครบภายในระยะเวลาที่กำหนด ต้องเสียเงินเพิ่มในอัตราไม่เกินร้อยละ 2 ต่อเดือนของจำนวนเงินที่ไม่นำส่งหรือนำส่งไม่ครบ ทั้งนี้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด
ในกรณีที่สถาบันการเงินใดไม่นำส่งเงินตามมาตรา 8 หรือนำส่งไม่ครบและไม่เสียเงินเพิ่มตามวรรคหนึ่ง ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยมีอำนาจออกคำสั่งเรียกให้สถาบันการเงินนั้นชำระเงิน ดังกล่าวภายในระยะเวลาที่กำหนด
มาตรา 10 เงินที่สถาบันการเงินนำส่งตามมาตรา 8 และเงินเพิ่มตามมาตรา 9 ให้กองทุนนำส่งเข้าบัญชีตามมาตรา 5 ต่อไป และให้ถือว่าเงินที่สถาบันการเงินต้องนำส่งตามมาตรา 8 และเงินเพิ่มตามมาตรา 9 ให้กองทุนนำส่งเข้าบัญชีตามมาตรา 5 ต่อไป และให้ถือว่าเงินที่สถาบันการเงินต้องนำส่งตามมาตรา 8 และเงินเพิ่มตามมาตรา 9 เป็นหนี้อันมีบุริมสิทธิลำดับต่อจากหนี้ภาษีอากรของสถาบันการเงินนั้น
การนำส่งเงินของสถาบันการเงินให้แก่กองทุนตามพระราชกำหนดนี้ มิให้ถือว่าเป็นการนำส่งเงินเข้ากองทุนตามกฎหมายว่าด้วยธนาคารแห่งประเทศไทย
มาตรา 11 ให้กระทรวงการคลังโอนเงินของกองทุนเพื่อการชำระคืนเงินกู้ชดใช้ความเสียหาย ของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินในกระทรวงการคลัง ซึ่งจัดตั้งโดยพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินและจัดการเงินกู้ เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน พ.ศ. 2541 เข้าบัญชีตามมาตรา 5
เมื่อดำเนินการตามวรรคหนึ่งเสร็จสิ้นแล้ว ให้ยุบเลิกกองทุนเพื่อการชำระคืนต้นเงินกู้ชดใช้ความเสียหายของกองทุนเพื่อ การฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ซึ่งจัดตั้งโดย พ.ร.ก.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินและจัดการเงินกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุน เพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน พ.ศ. 2541 ทั้งนี้ นับแต่วันที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด
มาตรา 12 ให้บทบัญญัติมาตรา 9 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินและจัดการเงินกู้เพื่อช่วย เหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน พ.ศ. 2541 และบทบัญญัติ มาตรา 8 วรรคสอง มาตรา 9 และ มาตรา 10 แห่งพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินและจัดการเงินกู้เพื่อช่วย เหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ระยะที่สอง พ.ศ. 2545 เป็นอันสิ้นผลใช้บังคับนับแต่วันที่พระราชกำหนดนี้บังคับ
มาตรา 13 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รักษาการตามพระราชกำหนดนี้



  เขียนโดย ประสงค์ เลิศรัตนวิสุทธิ์

โลกจับตาไทยขัดแย้งถึงขีดสุด-ละเมิดสิทธิอื้อ

โลกจับตาไทยขัดแย้งถึงขีดสุด-ละเมิดสิทธิอื้อ ‘ไกรศักดิ์ ชุณหะวัณ’ แนะแก้ค้ามนุษย์-ค้าสัตว์ป่า ชี้เสรีอาเซียนไทยยังได้เปรียบ

ด้วยความที่ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีความพร้อม ทั้งด้านทรัพยากรธรรมชาติ สาธารณูปโภค การแพทย์ แรงงาน การคมนาคมขนส่ง และระบอบการปกครอง ฯลฯ มากกว่าหลายประเทศในภูมิภาคนี้ ทำให้เป็นเป้าหมายและโอกาสทั้งด้านการลงทุน การค้า อุตสาหกรรม ฯลฯ ขณะเดียวกัน เป็นที่จับตามองของประเทศต่างๆทั่วโลกทั้งในแง่บวกและแง่ลบ อันส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆที่เป็นกิจการภายใน หรือการบริหารประเทศโดยรวม
โดย เอมพงศ์ บุญญานุพงศ์ ศูนย์ข่าว TCIJ
โดยเฉพาะในห้วงกว่า 10ปีที่ผ่านมา ประเทศต่างๆทั่วโลกและประเทศในแถบเอเชีย เกิดความเปลี่ยนแปลง เกิดการพัฒนาในรูปแบบต่างๆ โดยมีเป้าหมายหรือฐานหลักอยู่ในประเทศไทย‘ไกรศักดิ์ ชุณหะวัณ’ส.ส.บัญชีรายชื่อ และรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านต่างประเทศ จับตามองสถานการณ์และความเปลี่ยนแปลงอันหลากหลายที่เกิดขึ้นกับประเทศไทย
ไกรศักดิ์กล่าวว่า ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ณ ปัจจุบัน และคาดว่าส่งผลกระทบต่อประเทศไทย คิดว่ามี หลายระดับ ระดับภูมิภาค มี 2 ระดับด้วยกันคือ อาเซียน เอเชียอาคเนย์ ผมหมายถึง ความความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับอาเซียน กับเอเชีย กับโลก มองรวมๆ แล้ว อยากจะมองข้างนอกเข้ามาข้างใน
ประเทศไทยเป็นประเทศที่มาตรฐานทางความเป็นธรรม สิ่งแวดล้อม ความยุติธรรมในระดับสากล เรื่องสิทธิมนุษยชน ขึ้นๆลงๆมาก คือตั้งแต่ทศวรรษ 1990 ดูเหมือนว่าจะดีขึ้นตั้งแต่มีรัฐธรรมนูญ ตั้งแต่เหตุการณ์ภายใน ยกระดับประเทศไทยให้เป็นประเทศที่มีมาตรฐานก้าวไกล และเป็นตัวอย่างที่ไม่ใช่ในเอเชียอย่างเดียว แต่พอสถานการณ์เปลี่ยนไปตั้งแต่ปี 2000 เป็นต้นมา เราก็ลดลงมา ยกตัวอย่างง่ายๆ เราอยู่ในสายตาของชาวโลกมาก เพราะไทยเป็นประเทศที่มีสำนักงานของสหประชาชาติอยู่จำนวนมาก ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีสิทธิเสรีภาพมากกว่าประเทศอื่นๆในภูมิภาคนี้ มากกว่าพม่า ลาว เวียดนาม กัมพูชา จีน มาเลเซีย อินโดนีเซีย บรูไน และมากกว่าสิงคโปร์ด้วยซ้ำไป
เพราะฉะนั้นเราจะเห็นได้ว่า สื่อมวลชนใช้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลาง ของการสื่อสารข่าวของประเทศเพื่อนบ้าน สำนักงานเกือบทุกสาขาทั้งใหม่และเก่ามาอยู่ที่กรุงเทพฯเกือบทั้งหมด มิหนำซ้ำประเทศไทยเป็นประเทศที่นักการเมืองผู้ลี้ภัยทั้งเศรษฐกิจ และการเมือง มาอยู่ที่ประเทศไทย ผู้ลี้ภัยจากการเมืองหลายคนจากบังคลาเทศ ปากีสถาน พม่า เวียดนาม ลาว มาเลเซีย
ซึ่งเมื่อ 10 ปีมาแล้วประเทศไทยเป็นประเทศที่ มีมาตรฐานค่อนข้างสูง แต่ในเวลาเดียวกันเรารู้สึกว่าเราชะงักงันในการเติบโตทางด้านนี้ เมื่อมีการเปลี่ยนรัฐบาล รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งเริ่มมีปัญหาในด้านการควบคุมสื่อ มาครอบงำสื่อ พอตัวเองมีปัญหา เพราะพฤติกรรมผลประโยชน์ทับซ้อนตามมาโดยข้อครหา ว่ามีการฉ้อราษฎร์บังหลวง ตามมาที่หนักยิ่งกว่านั้นคือว่า การละเมิดสิทธิถึงขั้นที่ว่า เป็นอาชญากรต่อมนุษยชาติ เช่น ฆ่าตัดตอนยาเสพติด 3,000 คน ในปี ค.ศ.2004 การฆ่าประชาชนกรณีของตากใบ เป็นต้น ทุกวันนี้ตกต่ำถึงขั้นที่ว่า เรามีคดีที่เราไม่ยอมรับเป็นคดีการเมือง ราว 2,000 กว่าคดี ถือว่ามากกว่าพม่าแล้ว ซึ่งพม่าไม่มีประชาธิปไตย ไม่มีสิทธิเสรีภาพเท่าประเทศไทย แต่ด้วยความขัดแย้งการพัฒนาของการด้อยพัฒนา

ไกรศักดิ์กล่าวต่อว่า ปัจจุบันประเทศไทยนับว่า มีความขัดแย้งค่อนข้างจะสูงสุดแล้ว และปีนี้จะเป็นปีหัวเลี้ยวหัวต่อเลยว่า ประเทศไทยจะเดินไปข้างหน้าหรือจะถอยหลัง เพราะถึงขั้นมีการถกเถียงกันว่า อาจจะต้องมีการปรับเปลี่ยนกฎหมายเกี่ยวกับสถาบันสูงสุด ที่เป็นสัญลักษณ์ของรัฐไทยมาเป็นเวลายาวนาน
อันนี้ถ้ามองในสายทั่วโลกแล้ว ประเทศไทยพัฒนาจริง แต่ในปี 2006 ถูกสหประชาชาติกล่าวหาว่า ละเมิดสิทธิ 23 เรื่องด้วยกัน เริ่มด้วยการหายไปของทนายสมชาย นีละไพจิตร การตายของผู้นำท้องถิ่น จาก 13 คนเป็น 30 กว่าคนไปแล้ว กรณีฆ่าตัดตอนยาเสพติดโดยเจ้าหน้าที่ 3,000 กว่าคดี การเสียชีวิตในพื้นที่ภาคใต้เกือบ 6,000 คน
รัฐบาลที่เข้ามา และรัฐบาลที่ไม่ได้กระทำเหล่านี้ ก็ไม่ได้แก้ไขปัญหาในอดีต กรณีการฆ่า 3,000 คน ก็ไม่ได้มีการสอบสวนอะไรเลย ปล่อยปละละเลย มิหนำซ้ำการประท้วงในประเทศไทยปัจจุบัน เป็นการประท้วงติดอาวุธไปแล้ว ไม่ใช่เป็นการประท้วงเหมือนในอดีตที่ประชาชนมีความบริสุทธิ์ แต่ปัจจุบันเป็นการจัดตั้ง เป็นระบบ มีหน่วยติดอาวุธร้ายแรง อันนี้หลักฐานชัดเจน แต่การละเมิดสิทธิกลับกล่าวหาว่า รัฐบาลในอดีตเป็นฝ่ายกระทำ ทั้งๆที่ตัวรัฐบาลก่อนนั้น เป็นฝ่ายทำลายกระบวนการสันติวิธีอย่างสิ้นเชิง
เราจะแก้ปัญหานี้ยังไง
ยังไม่เห็นลู่ทางที่จะกู้ขึ้นมาจากอันนี้เลย ไม่เห็นลู่ทางว่าจะหลุดจากอันนี้ได้อย่างไร มีอยู่ทางเดียวคือ ประเทศไทยอาจจะต้องไปพึ่งศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ ศาลสูงสุด ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลปกครอง กลายเป็นว่าฝ่ายนิติบัญญัติทำงานไม่ได้ เพราะฝ่ายรัฐไม่ปฏิบัติตามกระบวนการทางกฎหมาย ทุกคนต้องไปพึ่งศาลหมด ประชาชนมีเรื่องกับบริษัทที่มาขุดทำลายสิ่งแวดล้อม ฝ่ายรัฐสนับสนุน ให้ทำลายชุมชน ให้ทำลายวิถีชีวิต ประชาชนไม่มีทางเลือกต้องไปฟ้องศาล ระบบนิติบัญญัติไม่ทำงาน เพราะส.ส. ส.ว.มีส่วนร่วมด้วย
ส่วนในระดับโลกเขามองเรื่องการใช้ความรุนแรงทางการเมือง เป็นที่รู้กันว่าเขายิงกันตอนเลือกตั้ง ไทยก็ยิงกันในระดับท้องถิ่นตอนนี้ยิงกันเป็นประจำ ผ่านมาไม่รู้กี่ศพแล้ว ต่อไปคงระดับชาติ ระบบที่เขาตั้งขึ้นมาคือระบบที่รัฐ สมมุติว่าไม่สามารถควบคุมดูแลความขัดแย้งได้ จนมีการแบ่งเป็นพรรคเป็นพวก มันจะเกิดความรุนแรงขึ้นมา เพื่อช่วงชิงและใช้ควบคุมอำนาจ เขามองว่าอันนี้คืออาชญากรรมต่อมนุษยชาติ ซึ่งมีเกิดขึ้นในหลายประเทศ เขาจึงมีศาลอาญาระหว่างประเทศขึ้นมา ในสมัยคุณชวน หลีกภัย ปี 1996 ไปเป็นสมาชิกแล้ว ไปเซ็นสัญญา แต่พอมาถึงสมัยคุณทักษิณ ชินวัตร ก็ไม่สนใจ ปล่อยปละละเลย มาจนกระทั่งปัจจุบันคุณสุนัย จุลพงศธร ยกเรื่องนี้ขึ้นมา เพื่อจะมาเล่นงานคุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ในการปราบปรามม็อบเสื้อแดงเมื่อเดือนพ.ค.2553 อันนี้ผมสนับสนุนนะว่า ถ้าเราไม่มีทางออกภายใน ก่อนที่จะไปสู่การฆ่าหมู่อีกเหมือนเมื่อสมัยคุณทักษิณ เราจะระงับผู้นำลักษณะนี้ได้อย่างไร มีอยู่ทางเดียวคือ เราต้องเป็นสมาชิกของศาลอาญาระหว่างประเทศ ซึ่งเราก็ต้องดูว่าไปสมัครใหม่ได้หรือเปล่า เพราะเวลามันหมดแล้ว ไปลงเป็นสมาชิกใหม่แล้ว ก็ขอให้รัฐสภาอนุมัติจะได้เป็นสมาชิกถาวรเลย ทีนี้ต่อไปถ้าผู้นำเราฆ่าคน เราสามารถให้ทนายนำพยานไปฟ้องศาลนี้ได้ ทีนี้ผู้นำจะได้อยู่ในวินัยของกระบวนการยุติธรรมทันที
ตอนนี้โลกมองเราอย่างไร เพราะเรามีความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองบ่อย
โลกของความหวือหวาทางสื่อ สื่อมักจะรายงานผิดอย่างสิ้นเชิง อันนี้เรื่องอันตรายมาก เช่น กรณีเกี่ยวกับคนเสื้อแดง กลายเป็นผู้บริสุทธิ์ ไม่มีอาวุธ ไม่มีอะไรเลย โดยที่ไม่คำนึงถึงว่ามีทหารกี่คนที่ตายไป เจ้าหน้าที่บาดเจ็บสาหัสกี่ร้อยกี่พันคนไม่ได้คำนึงถึงเลย เอะอะก็ 91 ศพ พอมีสื่อมวลชนตายด้วย ซึ่งใครยิงก็ไม่รู้ การปั่นเรื่องเพื่อให้เกิดความรุนแรง ไม่ได้อยู่ในสายตาเลย ไม่ได้คิดเลยว่า คนที่อยู่ฝ่ายประท้วงนี้มีมาตรฐานแบบนี้ แต่ผมเชื่อเป็นอย่างนั้น เพราะหลักฐานบ่งชี้ไปทางนั้นมาตลอด เพราะฉะนั้นเมืองไทยมองแต่ว่ารัฐบาลโหดเหี้ยม ทีนี้พอยิ่งลักษณ์เข้ามามันเป็นคนละเรื่องกันเลย
อย่างเรื่องน้ำท่วมนี่ ถือว่าเป็นความผิดทางมนุษย์อย่างชัดเจนนะ ทำให้ต่างประเทศเริ่มถอยหลังจากประเทศไทยอย่างสิ้นเชิง อย่างรมว.ต่างประเทศ ไม่เคยเรียกทูตมาชี้แจงเลยว่าน้ำท่วมจะไปรุนแรงไปถึงขั้นไหนอย่างไร เราจะป้องกันอย่างไร ไม่พูดไม่จา ไม่บอกเขา สถานทูตต่างประเทศย้ายหนีออกจากกรุงเทพฯหมดเลย เขาสั่งย้ายหมดเลย เพราะเขาคิดว่าต้องตายกันหมดแน่ๆ
สิ่งเหล่านี้ทำให้เกิดผลกระทบต่อภาพลักษณ์ทางเศรษฐกิจด้วยหรือเปล่า
ผมว่ามีสูงพอสมควรนะ แต่อย่างไรก็ตามเราวางฐานของการลงทุน ของเศรษฐกิจว่าฝ่ายของคนไทยมีประสิทธิภาพสูง อันนี้ยังมีเครดิตอยู่ แต่ถ้าเราไม่ปรับปรุงเรื่องน้ำท่วมแล้วปล่อยให้ปีหน้ามาอีก ผมมองว่าไม่เหลือแล้วอุตสาหกรรม เขาจะไปหมด ไปหมดจริงๆ อย่างอุตสาหกรรมรถยนต์ คอมพิวเตอร์ อิเลคทรอนิกส์ เขาจะย้ายหนีไปอยู่จีนกันหมด

มองอย่างไรที่สหรัฐอเมริกาเริ่มกลับมาในเอเชียอีก และจีนก็ยังขยายตัวอยู่ในแถบนี้ ประเทศไทยเราควรวางตัวยังไง
สหรัฐอเมริกาไม่กลับมาในเชิงการลงทุนมากนัก ทั้งที่อเมริกาเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดของไทย แต่ตอนนี้ก็เล็กลง ยุโรปกับจีนมีบทบาทสูงขึ้น แต่ปัญหาของประเทศไทยคือว่า ทั้งได้ทั้งเสียตลอดเวลาจากประเทศจีน ได้ในเชิงตลาด แต่เวลาเดียวกันเราก็เสียด้านการแข่งขันด้านการผลิต ทั้งภาคเกษตรและอุตสาหกรรม แต่วัดไปวัดมาแล้ว จีนได้เปรียบเรา แต่มันไม่ออกมาเป็นตัวเลข เพราะสินค้าจีนใช้วิธีการลักลอบนำเข้ามา อย่างมหาศาลโดยผ่านเส้นทางภาคเหนือ ถ้าเราทำทางรถไฟ ถ้าเราทำถนนยิ่งไปกันใหญ่เลย นี่ขนาดเรืออย่างเดียว เรือที่ลงมาจากจีนที่อ.แม่สาย จ.เชียงราย มีอยู่ท่าเดียวที่มีด่านศุลกากร อีก 5 ท่าไม่มี เรือจีนลงปล่อยสินค้าเป็นสินค้าเถื่อนทั้งนั้น อันนี้เป็นปัญหาของรัฐ ที่ไม่เคยมีการแก้ไขเลย
ปัญหาที่สองคือว่า ถ้าบทบาทเปลี่ยนไปมากกว่านี้ อย่างเช่นพม่า พม่าที่มีการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง ที่ดูเหมือนว่าอเมริกากลับเข้ามา เพราะว่าตัวเองนั้นไม่สามารถต้านทางการครอบงำของจีนได้อีกแล้ว อันนี้มีหลักฐานชัดเจนว่า เมืองมัณฑเลย์ กลายเป็นเมืองจีนไปแล้ว ชาวพม่าไปอยู่รอบนอกหมด ไปอยู่ตามสลัม ตรงกลางเป็นคนจีนหมดเลย ไม่พูดภาษาพม่า พูดภาษาจีนอย่างเดียว แล้วภาคเหนือทั้งหมดตั้งแต่เมืองยอนลงมา กลายเป็นแหล่งผลิตยาเสพติดที่ใหญ่ที่สุดในโลก เพราะฉะนั้นอยู่ใกล้จีนมีทั้งดีทั้งเสีย ถ้าเราไม่ระมัดระวัง  ไม่เข้มแข็งด้วยตัวของเราเอง เราจะลำบาก และเราจะต้องใช้งบประมาณเท่าไหร่ ในการควบคุมทั้งสินค้าที่เป็นสินค้าคน ยาเสพติด สินค้าผิดกฎหมายทุกอย่าง
ผมว่าอนาคตทุกอย่างมันขึ้นอยู่กับภายในประเทศ ทำไมประเทศสวิตเซอร์แลนด์จึงเข้มแข็งได้ ก็เพราะระบบภายใน จึงต้านทานสงครามโลกครั้งที่ 2 การฆ่ากัน การทิ้งระเบิด มันไม่เคยเข้าไปร่วมเลย มันได้ประโยชน์อย่างเดียว และสร้างสรรค์สังคมที่มีประสิทธิภาพมาก แล้วสังคมที่มีประสิทธิภาพมาจากอะไรรู้มั้ย มาจากการมีประชาธิปไตยที่สูงที่สุดในโลก ประชาชนมีส่วนร่วมในทุกระดับเลย อันนี้คือความเข้มแข็ง ซึ่งตรงกันข้ามกับการพัฒนาที่เราเห็นมา แต่บ้านเราจะมาแก้กฎหมายเพื่อให้คนมีอำนาจไม่ต้องโดนลงโทษอะไรอย่างนั้นหรือ เปล่า
เมื่อก่อนนี้คนชั้นล่างในต่างจังหวัดไม่มีความคิดทางการเมืองเท่าไหร่ แต่ว่าโดนกำหนดโดยการประท้วงที่กรุงเทพฯ ที่นำไปสู่การอุ้มชูของปัญญาชน ที่จะมาร่างกฎระเบียบใหม่ เพื่อที่จะปรับปรุงสังคมไทยในรูปแบบใหม่ นี่คือการพัฒนาส่วนหนึ่งของประเทศไทย แต่ปัจจุบันนี้เริ่มที่จะเปลี่ยนแปลงอีกแล้ว แต่การที่จะมี ส.ส.ร.(สภาร่างรัฐธรรมนูญ) ไม่ได้หมายถึงได้รับเสรีภาพเพิ่มขึ้น หรือเดินไปข้างหน้า บทที่ว่าด้วยการมีส่วนร่วมของประชาชนยังไม่เกิดการปฏิบัติเลย
ปัจจุบันเราจะไปสร้างถนน สร้างเขื่อน สร้างทางหลวงขนาดใหญ่ ไปทำลายทั้งหมู่บ้านก็ยังทำได้ เพราะไม่มีกฎหมายบังคับการมีส่วนร่วมของประชาชน รัฐธรรมนูญมาตรา 68 หัวใจของประชาธิปไตยของประเทศเราไม่มีใครพูดถึงเวลา ตอนนี้กลายเป็นเรื่องทักษิณอย่างเดียว เรื่องของบุคคลเลย ความก้าวหน้าหรือล้าหลังจะอยู่กับคนๆนี้เหรอ ฝ่ายที่ไม่นิยมสถาบันเก่าก็มาสนับสนุนคนนี้ คนนี้ก็สนับสนุนให้รัฐบาลปราบปรามผู้ที่จะละเมิดสถาบันอีก แล้วเอาอะไรเป็นมาตรฐานละทีนี้ (หัวเราะ)
ความเปราะบางทางการเมือง และสภาพสังคมไทย ทำให้ประเทศไทยเกิดช่องว่างที่ต่างชาติจะเข้ามาทำอะไรก็ได้หรือเปล่า เช่น เรื่องการลงทุนแบบไม่รับผิดชอบ ขบวนการยาเสพติด มาเฟีย แก๊งต้มตุ๋น ฯลฯ
มีคนเคยเล่าให้ผมฟังว่า ตอนนี้พัทยาเป็นศูนย์อาชญากรของโลกไปแล้ว ทั้งรัสเซีย อุซเบกิสถาน จีน ไทย ฯลฯ ไปรวมกันอยู่ที่นั่นแล้ว รถราคาแพงขายดีที่สุดในโลกที่พัทยา เป็นแหล่งฟอกเงินที่ใหญ่ที่สุด แต่ยังโชคดีที่อาชญากรรมวันต่อวันไม่สูงมากนัก ก็แสดงว่ามีระบบควบคุมให้มันอยู่อย่างสันติในประเทศไทย แต่ละปีอังกฤษขอให้เราส่งตัวผู้ต้องหากลับไปปีละ 10 กว่าคนทุกปี นี่คือน่าเป็นห่วง
อีกอย่างเรามีชายแดนติดกับพม่า ที่มีการผลิตยาเสพติด ล่าสุดสหประชาชาติรายงานว่าการผลิตฝิ่น และเฮโรอีนสูงกว่าอาฟกานิสถาน  แล้วประเทศไทยยังเป็นศูนย์ของการค้าสัตว์ป่าและพืชป่าที่ผิดกฎหมายมากที่สุด ในโลก  สภาพแบบนี้แสดงให้เห็นถึงความไม่เคารพกฎหมายของเจ้าหน้าที่ด้วย เพราะว่าอยู่ในเศรษฐกิจที่ผิดกฎหมายด้วย มันก็สร้างรายได้สร้างอะไรขึ้นมาอีกชั้นหนึ่ง เขาก็ยินยอมร่วมมือ เพราะเป็นเศรษฐกิจที่ใหญ่มาก ที่ร่วมกันสร้างและร่วมกันปกป้องด้วย แล้วมีหน่วยไม่กี่หน่วยที่ทำถูกต้องตามกฎหมาย ผมทำเรื่องการค้ามนุษย์ การค้าสัตว์ป่า มา 15 ปีแล้ว แต่ละปีเราได้ตำรวจที่ฝึกฝนมาอย่างดี เราผลิตขึ้นมาทุกปี แต่ตลาดสิ่งเหล่านี้ก็ขยายขึ้นทุกปี ทุกปีจับได้มากขึ้นแต่จับไม่ไหว เพราะรุ่งขึ้นมันมาอีกแล้ว
ส่วนการแก้ปัญหาการค้ามนุษย์เราต้องตกลงกับจีน พม่า ลาว เขมร เวียดนาม ไทย เราต้องตกลงกันว่าเราต้องร่วมมือกันปราบปรามเรื่องนี้ อินโดนีเซีย มาเลเซีย จะต้องร่วมมือกัน แล้วรัฐบาลจะต้องหาวิธีที่จะแก้ไขให้ดีที่สุด ให้การค้ามนุษย์ไม่เกิดขึ้น ข่าวที่ว่าชาวเขมร พม่า ต้องมาตายในเรือประมงของไทยต้องยุติแล้ว ต้องหยุดแล้ว และจะต้องมีการร่วมมือกันในระดับสากล
ไทยดูเหมือนจะทำดีแต่กลายเป็นตัวละเมิดหลักเลย เพราะนักธุรกิจไทยเป็นตัวนำเลยในการละเมิดสิทธิมนุษยชน หรืออย่างเรื่องการค้าสัตว์ป่าที่ผิดกฎหมาย จีนเป็นตัวนำเลย เพราะเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดในการบริโภคสัตว์ป่า ตามมาด้วยเวียดนาม ตามมาด้วยเกาหลี ประเทศพวกนี้ต้องเปลี่ยนวัฒนธรรม อเมริกาเป็นประเทศที่ค้าสัตว์ป่าใหญ่ที่สุดรองลงมาจากจีน ประเทศพวกนี้ซึ่งเป็นแหล่งใหญ่มันต้องเปลี่ยน เพราะประเทศเล็กแบบเราเป็นแหล่ง Supply

มองเรื่องการพัฒนาในประเทศแถบนี้อย่างไรเช่น เรื่องท่าเรือน้ำลึกและเขตอุตสาหกรรมในทวาย ประเทศพม่า การทำเขื่อนในลาว-เขมร การทำถนนจากจีนผ่านพม่า ลาว เพื่อไปออกทะเล
ประเทศไหนที่เข้มแข็งประเทศนั้นจะได้เปรียบ ที่สร้างนี่ ไม่ใช่ว่าลาวอยากจะสร้างนะ แต่ลาวไม่รู้ว่าจะเอารายได้มาจากไหน ลาวไม่มีคน ต้องใช้แรงงานจีน ฉะนั้นจีนจะสร้างตรงไหนลาวก็บอกเอาเลย จะเอาไม้เท่าไหร่เอาเลย ขอให้รายได้มา เพราะลาวไม่มีวัฒนธรรมในการสร้างโรงงาน ในการสร้างรายได้อื่น เพราะอยู่กันแบบเผ่าพันธุ์แบบพ่อแม่พี่น้อง ไม่มีวัฒนธรรมการใช้แรงงาน จึงถูกเอารัดเอาเปรียบเยอะมาก เช่นเดียวกับพม่า
ถ้าไปดูที่สอบสองปันนา ยูนาน จะเห็นต้นไม้ใหญ่ๆ เขาขายกันเลย อายุร้อยปีพันปี ตัดเป็นโต๊ะเลย ถามว่าเอามาจากไหนบอกว่าเอามาจากพม่า เอามาจากลาว เฟอร์นิเจอร์ทำกันแบบเกือบยกกันไม่ไหว ขาหนึ่งอายุเกือบร้อยปี รูปแกะสลักทำด้วยหยกรูปมังกรขนาดใหญ่มาจากพม่าทั้งนั้น เป็นทรัพยากรแบบดิบๆจริงๆ ถามว่าคนพื้นที่ได้อะไร ก็ไม่ได้อะไร ตรงกันข้ามทำให้น้ำตกเสีย ทำให้ต้นน้ำลำธารเสียหาย ทำให้เขาอยู่ไม่ได้ เขาก็เลยต้องจับอาวุธสู้ ตามชายแดนทุกกลุ่มรบกับจีน รบกับพม่า รัฐบาลก็ทำหน้าที่ปกป้องการกระทำของจีนต่อประเทศของเขา ชนกลุ่มน้อยก็สู้ถึงวาระสุดท้าย จนเกือบจะสูญพันธุ์อยู่แล้ว นอกจากนี้การสร้างถนนหนทางเข้ามา ถ้าเราไม่พร้อมภายใน สร้างไปก็ไม่มีประโยชน์ เช่น สหพันธ์ยุโรปที่มีอยู่ 10 กว่าประเทศตอนนี้ เอาประเทศด้อยพัฒนาเข้าไป ซึ่งไม่เคยมีแหล่งทุน พอเข้าไปนายทุนที่ไม่มีศักยภาพ ไม่มีประสิทธิภาพ จาก กรีซ สเปน โปรตุเกส ก็ได้ทุนกู้จากประเทศฝรั่งเศส อังกฤษ เยอรมัน มันก็กู้หูดับตับไหม้ ทีนี้พอเจ๊ง ก็เจ๊งทั้งระบบ
ไทยพร้อมรับกับการจะเปิดเสรีอาเซียนในอีก 3 ปีข้างหน้าหรือเปล่า
ปี 2558 เราจะได้เปรียบมหาศาล ถ้าเราไม่เปิด 100 เปอร์เซ็นต์กับจีนนะ ถ้าเราเปิดกับอาเซียน เราได้เปรียบ เพราะเราเข้มแข็งที่สุด เราแข็งกว่ามาเลเซีย อินโดนีเซีย คือเราผลิตสินค้าหลายระดับมาก ตั้งแต่เสื้อผ้า อิเลคทรอนิกส์ รถยนต์ คอมพิวเตอร์ มิหนำซ้ำช้อนส้อม ปิ่นโต โต๊ะ ถ้วยชามรามไห ฯลฯ ซึ่งประเทศของเรามีศักยภาพมากในการส่งออก ซึ่งประเทศเพื่อนบ้านเขาก็กลัวเราด้วยนะ โดยเฉพาะมาเลเซียกลัวเรามาก รมว.ต่างประเทศมาเลเซียเคยบอกว่า สินค้าทุกอย่างในประเทศเขามาจากประเทศเราหมดแล้ว จริงๆแล้วมาเลเซียประชากรเขาน้อยกว่าเรา แต่เงินทุนเขาสูงกว่าเรา เพราะเงินทุนเขามาจากน้ำมัน แล้วเขาไปลงทุนที่อินโดนีเซียเยอะมาก ใช้แรงงานอินโดนีเซีย ส่งออกถ้าเสรีจริงๆ ไทยเราจะได้เปรียบมาก แต่สินค้าอินโดนีเซียก็เริ่มมีสีสัน ถ้าสินค้าอินโดฯ เข้ามาได้มากขึ้นผมว่ามีสีสันมาก อาจจะมีตลาดที่มีรสนิยมสูง คนที่ชอบวัฒนธรรม ความสวยงามอาจจะซื้อสินค้าจากอินโดนีเซียในราคาถูกหน่อย อาจจะเป็นสิ่งที่ดีสำหรับอินโดฯ และหากเราจะขายให้อินโดฯก็น่าจะดี เพราะประเทศเขาตลาดใหญ่มาก
มองเรื่องผลกระทบอย่างไร อย่างเรื่องการเคลื่อนย้ายแรงงานเสรี
ไม่ต้องกังวล เพราะในประเทศเราตอนนี้เกือบ 5 ล้านคนมาจากพม่า มันจะมาอัดไปมากกว่านี้ก็ลำบากแล้ว ของเรามันเคลื่อนย้ายแบบเสรีมานานแล้ว แต่เสรีแบบผิดกฎหมาย แล้วเราก็รับไม่รู้กี่รุ่นแล้ว ข้อสำคัญคือว่า มันเป็นสิ่งดีหรือเปล่า มันมีความพยายามที่จะให้ความเป็นธรรมหรือเปล่า หรือเป็นการซ้ำเติมความอยุติธรรมที่อยู่ในประเทศไทย แล้วจะไปกดดันให้วัฒนธรรมของคนไทยต่ำลงด้วยหรือเปล่า กลัวเรื่องสุดท้ายนี้ เพราะที่ผ่านมาน้อยมาก ที่จะเอาเรื่องแรงงานต่างด้าวมาเป็นประเด็น ไม่ว่าในรัฐสภา หรือที่ไหน แต่ในสื่อนี่มีบ้างไม่มากก็น้อย แต่อย่างน้อยก็มีความพยายาม
ผมหวังว่าความเปลี่ยนแปลงจะเกิดขึ้น อย่างคนที่ใช้แรงงานพม่า และอยู่ในสภาก็ยังพูดถึงบ้าง ยังพูดถึงโดยยอมรับความเป็นจริงว่า เรายังไม่ได้ให้ความเป็นธรรมเขาอย่างเพียงพอ หมายถึงว่าถ้าประชากรที่มหาชัย มีพม่าอยู่ 3 แสนคน มีคนไทยอยู่ราว 8 หมื่น คน 3 แสนคนนี้รวมลูกหลานไปด้วยก็ราว 5 แสนคน เราจะให้บริการด้านการสาธารณสุข ด้านการศึกษาต่อลูกหลานของเขาหรือเปล่า นี่เป็นคำถามใหญ่ที่เราจะต้องทำ 4-5 แสนคนที่แม่สอด จ.ตาก ซึ่งเข้ามาอยู่ค่อนข้างจะถาวรแล้ว เราจะทำอย่างไร

ขอบคุณภาพจาก www.backtohome.org, www.oknation.net

ซัลเฟอร์ฯอ่วมปีละกว่า 4 แสนตัน ป่าตะวันตกถูกตัดขาดทำน้ำท่วมหนัก

เปิด ‘HIA ทวาย’ เดชรัต สุขกำเนิด ชี้ผลกระทบอื้อ ซัลเฟอร์ฯอ่วมปีละกว่า 4 แสนตัน ป่าตะวันตกถูกตัดขาด ถนนบางใหญ่-กาญจน์ ทำน้ำท่วมหนัก

นักวิชาการดังคณะเศรษฐศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์ ‘เดชรัต สุขกำเนิด’เปิดงานวิจัย HIA กับการลงทุนข้ามพรมแดน : กรณีศึกษาท่าเรือน้ำลึกและนิคมอุตสาหกรรมทวาย ประเทศพม่าหวังชี้ให้เห็นผลกระทบที่มีเพียบ ระบุ 6 ประเด็นหลักที่น่าห่วง ตั้งแต่ก๊าซคาร์บอนฯปีละ 30 ล้านตัน ที่จะเกิดจากโรงไฟฟ้า ก๊าซซัลเฟอร์ฯ จากนิคมอุตสาหกรรม ปีละกว่า 4 แสนตัน ใช้น้ำจืดวันละ 5.9 ล้านลบ.ม. เถ้าถ่านหินปีละ 1.3 ล้านตัน ขยะอุตสาหกรรมกว่าปีละ 7 แสนตัน ชุมชนชาวพม่าได้รับผลกระทบกว่า 20 หมู่บ้าน 3.2 หมื่นคน ส่วนในฝั่งไทย ผืนป่าตะวันตกอาจถูกตัดขาด และแนวถนนสายใหม่จากบางใหญ่ จ.นนทบุรี-นครปฐม-กาญจนบุรี จะขวางทางน้ำหลาก หวั่นเกิดน้ำท่วมหนักอีกในอนาคต
โดย วรลักษณ์ ศรีใย ศูนย์ข่าว TCIJ
ดร.เดชรัตน์ สุขกำเนิด  อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  ให้สัมภาษณ์ศูนย์ข่าว TCIJ ถึงงานวิจัย เรื่อง HIA กับการลงทุนข้ามพรมแดน : กรณีศึกษาท่าเรือน้ำลึกและนิคมอุตสาหกรรมทวาย  ประเทศพม่า ว่า จุดประสงค์ของการทำงานวิจัยชิ้นนี้ เพื่อเป็นข้อมูลให้กับภาคประชาสังคมในประเทศพม่า ซึ่งก่อนหน้านี้ภาคประชาสังคมของพม่าเคยมาอบรมที่เสมสิกขาลัย ประเทศไทย และมีการหารือกันในประเด็นนี้อีกหลายครั้ง ว่าจะทำอย่างไรจึงจะมีการศึกษาถึงผลกระทบบ้าง พร้อมทั้งขอให้ช่วยทำงานวิจัยชิ้นนี้ขึ้นมา และจากนี้ต่อไปตนจะมีการแปลเป็นภาษาอังกฤษและส่งให้ภาคประชาสังคมของพม่าต่อ ไป
งานวิจัยชิ้นนี้นับว่าเป็นต้นแบบการจัดทำ HIA (Health Impact Assessment) ได้ ในระดับหนึ่ง มีองค์ประกอบการศึกษาเกือบทุกด้าน แต่อาจจะขาดในเรื่องพื้นที่ เนื่องจากไม่ได้เห็นพื้นที่จริง แต่การศึกษาได้ใช้พื้นที่ในประเทศไทยที่ใกล้เคียง เป็นตัวอย่างในการศึกษา
ผู้สื่อข่าวถามว่า ทางการของประเทศพม่าจะเชื่อถืองานวิจัยฉบับนี้หรือไม่ ดร.เดชรัตน์กล่าวว่า เป็นเรื่องที่ภาคประชาสังคมพม่าต้องทำงานต่อไป โดยการนำเสนอกับรัฐบาลพม่า ส่วนบริษัทของไทยที่เข้าไปลงทุนในโครงการนี้ คงจะได้รับทราบเนื้อหาของงานวิจัย จากการเผยแพร่ผ่านสื่อต่างๆ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับงานวิจัยดังกล่าว มีทั้งหมด 15 หน้า โดยเบื้องต้นเป็นการกล่าวถึงข้อมูลเบื้องต้นของโครงการก่อสร้างท่าเรือน้ำ ลึกและนิคมอุตสาหกรรมทวาย ในประเทศพม่า พร้อมคำสัมภาษณ์นักลงทุนและผู้เกี่ยวข้องจากประเทศไทย พร้อมทั้งผลกระทบที่คาดว่าจะเกิดขึ้น จากนั้นเป็นบทสรุปและข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย

(ฉบับเต็ม)
HIA กับการลงทุนข้ามพรมแดน : กรณีศึกษาท่าเรือน้ำลึกและนิคมอุตสาหกรรมทวาย  ประเทศพม่า
บทนำ
ในขณะที่ประเทศทั้ง 10 ประเทศในสมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรือ ASEAN กำลังนับถอยหลังเข้าสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปีพ.ศ.2558 การเชื่อมโยงกันของระบบเศรษฐกิจ การค้า และการลงทุนในประเทศเหล่านี้ก็กำลังคืบคลานเข้ามาใกล้ตัวเรา และเริ่มปรากฏเป็นรูปเป็นร่างแจ่มชัดขึ้นทุกทีเช่นกัน การลงทุนทางโครงสร้างพื้นฐานและการลงทุนของภาคอุตสาหกรรมเริ่มปรับตัวสู่การ ลงทุนแบบข้ามพรมแดน ซึ่งนำไปสู่การขยายโอกาสใหม่ๆ ทางการค้าและทางเศรษฐกิจ แต่ผลกระทบทางสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่จะเกิดขึ้นจากการขยายพรมแดนการค้าและ การลงทุนในกลุ่มอาเซียน ทั้งทางบวกและทางลบ กลับยังไม่ได้มีการหารือและศึกษากันอย่างจริงจังแต่อย่างใด
โครงการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกและนิคมอุตสาหกรรมทวาย ประเทศพม่า เป็นหนึ่งในรูปธรรมของการขยายการลงทุนข้ามพรมแดนจากประเทศไทยสู่ประเทศพม่า เพื่อที่จะนำทรัพยากรพลังงานและผลผลิตต่างๆ กลับมาหล่อเลี้ยงการเติบโตทางเศรษฐกิจในประเทศไทย ทั้งยังมีแนวคิดที่จะเชื่อมโยงเส้นทางการคมนาคมจากประเทศพม่า ผ่านประเทศไทย ไปสู่ประเทศกัมพูชาและเวียดนามอีกด้วย โครงการนี้จึงเป็นเสมือนรูปธรรมที่ชัดเจนอย่างหนึ่งของการเปิดประชาคม เศรษฐกิจอาเซียน โครงการนี้จึงได้รับความสนใจจากผู้ร่วมลงทุนหลายประเทศ และได้รับการสนับสนุนทางนโยบายจากรัฐบาลพม่าและรัฐบาลไทย ไม่ว่าจะเป็นรัฐบาลที่ผ่านมา (รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ) หรือรัฐบาลปัจจุบัน (รัฐบา น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร) ก็ตาม
บทความนี้จะเริ่มต้นด้วยการประมวลข่าวความคืบหน้าในการลงทุนในโครงการนี้ ทั้งในเชิงภาพรวมของโครงการ และในโครงการย่อยที่สำคัญต่างๆ รวมไปถึงการขยายแนวคิดเรื่องเส้นทางคมนาคมเชื่อมโยงภูมิภาค และผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นในมุมมองของเจ้าของโครงการ จากนั้น บทความนี้จะเริ่มต้นฉายภาพให้เห็นถึงผลกระทบทางลบที่อาจจะเกิดขึ้น และจำเป็นที่จะต้องได้รับการประเมินความเสี่ยงและการศึกษาผลกระทบทางสิ่งแวด ล้อมและสุขภาพในภาพรวมหรือในระดับยุทธศาสตร์ ก่อนที่จะดำเนินการโครงการตามแผนที่วางไว้ สุดท้ายบทความนี้จะเสนอข้อเสนอแนะที่น่าจะเป็นประโยชน์การคุ้มครองและการ สร้างเสริมสุขภาพของประชาชนทั้งสองประเทศ ผ่านกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันที่เรียกว่า การประเมินผลกระทบทางสุขภาพหรือ HIA นั่นเอง
รูปแบบการลงทุนในภาพรวมของโครงการ
เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2554 นายเปรมชัย กรรณสูต ประธานบริหาร บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวลล็อปเมนท์ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยความคืบหน้าโครงการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกและนิคมอุตสาหกรรมทวาย พื้นที่ 250 ตร.กม.ในประเทศพม่ากับสื่อมวลชนว่า บริษัท ทวาย ดีเวลล็อปเมนท์ จำกัด หรือ ดีดีซี ซึ่งปัจจุบันอิตาเลียนไทยฯ ถือหุ้น 100% จะเป็นผู้ดำเนินโครงการพัฒนา และจัดหาผู้ร่วมลงทุนในแต่ละโครงการ โดยขณะนี้นักลงทุนพม่าแสดงความจำนงถือหุ้นดีดีซีแล้ว 25% และในระยะต่อไป บ.อิตาเลียนไทยฯ จะลดสัดส่วนหุ้นในดีดีซีเหลือ 51% [1]
บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวลล็อปเมนท์ จำกัด (มหาชน) อ้างว่าได้ใช้เวลา 16 ปี ในการศึกษาโครงการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกและนิคมอุตสาหกรรมทวายในประเทศพม่า เพราะเห็นว่าเป็นพื้นที่ยุทธศาสตร์ที่เหมาะต่อการลงทุน รองรับการเติบโตของเศรษฐกิจโลกในอนาคต กระทั่งเมื่อวันที่ 2 พ.ย. 2553 รัฐบาลพม่าได้ลงนามสัญญากับอิตาเลียนไทยฯ เพื่อให้สิทธิในการพัฒนาพื้นที่เป็นเวลา 75 ปี ซึ่งบ. อิตาเลียนไทยฯ ได้จัดตั้งบริษัท ทวาย ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด ทุนจดทะเบียน 100 ล้านดอลลาร์ เพื่อพัฒนาโครงการนี้ [2]
นายสมเจตน์ ทิณพงษ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ทวาย ดีเวลล็อปเมนท์ จำกัด ให้สัมภาษณ์กับหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจว่า บริษัทได้รับอนุญาตจากรัฐบาลพม่าให้พัฒนาโครงการดังกล่าวบนพื้นที่ 250 ตร.กม. หรือประมาณ 2 แสนไร่ ใหญ่กว่านิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด 10 เท่า[3] ปัจจุบันรัฐบาลพม่าได้ประกาศให้พื้นที่โครงการเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ (Dawei Special Economic Zone) หรือ DSEZ แล้ว ส่งผลให้เป็นพื้นที่ส่วนราชการแบบเบ็ดเสร็จ (One-Stop Service) เพื่อลดขั้นตอนการดำเนินงานให้เกิดความคล่องตัวมากที่สุด รวมทั้งการให้สิทธิประโยชน์ต่างๆ รวมทั้งมาตรการด้านภาษี เพื่อจูงใจนักลงทุน [4]
การลงทุนโครงการระยะแรก ดีดีซีจะก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกในพื้นที่ 6,100 ไร่ ก่อสร้างถนนจากทวายมายังชายแดนไทย-พม่า บริเวณ จ.กาญจนบุรี ระยะทาง 132 กม. ขนาด 4 ช่องจราจร รวมทั้งก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน ขนาด 4,000 เมกะวัตต์ ในพื้นที่ 2,300 ไร่ และระบบสาธารณูปโภคต่างๆ [5]
ทั้งนี้ การพัฒนาโครงการระยะแรกจะใช้เงินลงทุน 2.4 แสนล้านบาท ใช้เวลาดำเนินการ 4 ปี 6 เดือน ประกอบด้วย โครงการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกที่ใหญ่ที่สุดในโลก รองรับสินค้าคอนเทนเนอร์ปีละ 20 ล้านตัน หรือ 2 เท่าของท่าเรือแหลมฉบัง ระยะต่อไปจะพัฒนาให้รองรับได้ถึงปีละ 100 ล้านตัน [6]
ที่ผ่านมา นายสมเจตน์เล่าว่า บริษัทได้สำรวจพื้นที่โครงการทั้งบนบกและในทะเลแล้ว ทั้งพื้นที่แนวราบและแนวตั้ง ได้ก่อสร้างถนนชั่วคราว เพื่อใช้ขนส่งวัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือในการก่อสร้างจากกาญจนบุรีไปยังทวาย ในอนาคตจะพัฒนาเป็นถนนขนาด 4 ช่องจราจร รวมทั้งการสำรวจพื้นที่เพื่อก่อสร้างอ่างเก็บน้ำ ขนาด 500 ล้านลูกบาศก์เมตร อยู่ห่างจากนิคมฯ 18 กม. ทั้งนี้ SCB เป็นผู้ให้กู้เบื้องต้น 4,000 ล้านเหรียญสหรัฐ สำหรับสนับสนุนการดำเนินงานปัจจุบันทั้งศึกษาและจ้างที่ปรึกษา [7]
การลงทุนข้ามพรมแดนในโครงการย่อยต่างๆ
การลงทุนโครงการท่าเรือและนิคมฯทวาย ถือเป็นการลงทุนในต่างประเทศของนักลงทุนไทย หรือ Offshore Investment ซึ่งเป็นแนวนโยบายที่รัฐบาลไทยส่งเสริมและสนับสนุนมาตลอด และยิ่งให้ความสำคัญมากขึ้น เพราะเป็นส่วนหนึ่งของการนำรายได้เข้าประเทศ จะส่งผลดีต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ เช่นเดียวกับประเทศที่มีความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจอื่นๆ เช่น ญี่ปุ่น จีน ก็สนับสนุนให้มีโครงการลงทุนในต่างประเทศเช่นกัน ดังนั้น การลงทุนในโครงการย่อยต่างๆ ในโครงการนิคมอุตสาหกรรมทวาย จึงเป็นการร่วมลงทุนของนักลงทุนรายใหญ่จากหลากหลายประเทศ ดังที่จะนำเสนอรายละเอียดของโครงการย่อยที่สำคัญ ดังนี้
โครงการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกและถนน มูลค่าเงินลงทุน 3,500 ล้านเหรียญสหรัฐ ที่ได้รับการสนับสนุนเงินกู้จากธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่ง ญี่ปุ่น (เจบิก) 3,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ระยะ 20 ปี อัตราดอกเบี้ย 12.3% ผ่านธนาคารขนาดใหญ่ของไทย คือ ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารกรุงไทย และธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย [8]
โครงการท่าเรือดังกล่าว DDC ถือหุ้นทั้งหมด มีพื้นที่ 6,000 ไร่ ขณะนี้ตั้งบริษัทลูกแล้ว โดยการแปลงที่ดินเป็นทุนและอยู่ระหว่างการหาผู้ร่วมทุน คาดว่าจะเป็นญี่ปุ่น โดยมีต่างชาติ 3 รายแสดงความสนใจเข้ามาแล้ว ส่วนโครงการสร้างรถไฟ มูลค่า 2,000 ล้านเหรียญสหรัฐ DDC กำลังตัดสินใจว่าจะกู้เงินจากจีนหรือญี่ปุ่น [9]
โครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินขนาด 4 พันเมกะวัตต์ พื้นที่ 2,300 ไร่ มูลค่า 1 หมื่นล้านดอลลาร์ จะส่งเข้ามาจำหน่ายในไทยประมาณ 3,600 เมกะวัตต์ ส่วนที่เหลือใช้ในพม่า [10] ล่าสุดบริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายใหญ่ของประเทศไทย ยืนยันจะร่วมถือหุ้น 30% เพื่อลงทุนโรงไฟฟ้า DDC ถือหุ้น 40 % ที่เหลือเป็นผู้ร่วมทุนเชิงกลยุทธ์ที่คาดว่าจะเป็นญี่ปุ่น [11] ส่วนแหล่งถ่านหิน จะนำมาจากเกาะสุมาตราในอินโดนีเซีย [12]
นายนพพล มิลินทางกูร กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง(RATCH) กล่าวว่า ในระยะแรกบริษัทจะลงทุนก่อสร้างโรงไฟฟ้า SPP ขนาดโรงละ 130 เมกะวัตต์ รวม 3 โรง หรือราว 400 เมกะวัตต์ เพื่อจำหน่ายภายในนิคมฯ โดยคาดว่าจะผลิตเชิงพาณิชย์ได้ปี 57 ใช้ถ่านหินเป็นพลังงาน ดังนั้น บริษัทคาดว่าธุรกิจการจัดหาถ่านหินและท่าเทียบเรือในอนาคตน่าจะมีความร่วม มือกันเพิ่มเติม [13]
ส่วนโครงการก่อสร้างโรงเหล็กขนาดใหญ่ 1.3 หมื่นไร่ มีการจดทะเบียนจัดตั้งแล้วเช่นกัน [14] โดยการแปลงที่ดินเป็นทุน และมีบริษัทผู้ผลิตเหล็กชั้นนำของโลกสนใจเข้าร่วมทุนหลายราย อาทิ กลุ่ม Posco จากเกาหลี กลุ่ม Mittal จากอินเดีย และกลุ่ม Nippon Steel จากญี่ปุ่น ปัจจุบัน อยู่ในระหว่างการเจรจารายละเอียด [15]
ขณะที่โครงการก่อสร้างปิโตรเคมี คอมเพล็กซ์ กำลังเจรจากับนักลงทุนหลายราย เช่น กลุ่มมิตซูบิชิ กลุ่มโตโย กลุ่มโตคิว รวมทั้งบริษัทในคูเวต และกาตาร์ การก่อสร้างโรงงานต่างๆ จะแล้วเสร็จและเปิดดำเนินการภายใน 3 ปี นับจากเดือนม.ค. 2555 [16] เช่นเดียวกับบริษัทร่วมทุนโรงกลั่นน้ำมันและก๊าซ ประมาณ 4,000-5,000 ไร่ ก็เริ่มมีบริษัทสนใจแล้วเช่นกัน [17]
นายเทวินทร์ วงศ์วานิช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารการเงิน บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) บริษัทพลังงานที่ใหญ่ที่สุดของประเทศไทย เปิดเผยกับสื่อมวลชนว่า “ปตท.สนใจการลงทุนในพม่า เพราะมีศักยภาพด้านพลังงานน้ำและถ่านหิน รวมถึงพม่ากำลังมีโครงการนิคมอุตสาหกรรมทวาย ที่จะมีการลงทุนในท่าเรือน้ำลึก ขนส่งทางถนน ขนส่งทางท่อ และโรงไฟฟ้า โดยจะมีรูปแบบการลงทุนเช่นเดียวกับโครงการเซาท์เทิร์นซีบอร์ดของไทย ซึ่ง ปตท.สนใจลงทุนเกี่ยวกับธุรกิจพลังงานในนิคมเหล่านี้” [18]
นายสมเจตน์ ทิณพงษ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ทวาย ดีเวล้อปเมนท์ จำกัด เจ้าของโครงการย้ำว่า สิ่งที่รัฐบาลไทยควรเร่งจัดหาเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำให้นักลงทุนไทย ที่ต้องการลงทุนโครงการในนิคมฯทวาย และการให้สิทธิประโยชน์หรือการส่งเสริมการลงทุน ซึ่งคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนหรือบีโอไอ ต้องเร่งออกกฎหมาย เพื่อให้นักลงทุนไทยสามารถลงทุนในต่างประเทศได้ดียิ่งขึ้น [19]

ท่าเรือชั่วคราวเพื่อใช้ในการขนส่งระหว่างก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกและนิคมอุตสาหกรรมทวาย
ยุทธศาสตร์โลจิสติกส์ของภูมิภาค
นายเปรมชัย กรรณสูตร ประธานกรรมการบริหารบริษัท อิตาเลี่ยนไทย ดีเวลล็อปเมนท์ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยถึงการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกทวายและนิคมอุตสาหกรรมว่า โครงการดังกล่าวคิดและพัฒนาโดยประเทศญี่ปุ่น เรียกว่า GMS southern corridor เพื่อเชื่อมโยงการพัฒนาประเทศในภูมิภาคเอเชีย ทั้งประเทศจีน เวียดนาม สปป.สาว และ กัมพูชา นายเปรมชัยเชื่อว่า โครงการที่เรือนำลึกทวายจะเป็นฮับคอนเทนเนอร์ ที่สามารถกระจายสินค้าไปยังภูมิภาคต่างๆได้ เช่น ประเทศอินเดีย บังคลาเทศ จนถึงแอฟริกาใต้ได้ ซึ่งสามารถประหยัดเวลา 4-5 วัน จากเดิมที่ต้องผ่านประเทศสิงคโปร์ [20]
นายเปรมชัย กรรณสูต ประธานบริหาร บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า สาเหตุที่เลือกเขตพื้นที่ทวายเป็นเขตนิคมอุตสาหกรรม คือ ระบบคมนาคมทางถนนจากกรุงเทพมหานครมายังเขตทวายมีระยะทางประมาณ 300 กิโลเมตร ซึ่งใช้ระยะเวลาในการเดินทางประมาณ 2 ชั่วโมง ซึ่งสอดคล้องกับแผนการพัฒนาระบบทางของรัฐบาล และมีพื้นที่เพื่อสร้างเขื่อนอ่างเก็บน้ำ บริเวณแม่น้ำทวาย รองรับน้ำได้ถึง 400 ล้านลิตร สามารถใช้ได้ทั้งปี [21]
ประเทศไทยจะมีเส้นทางขนส่งออกสู่ทะเลอันดามันเพิ่มขึ้น โดยระยะเวลาการขนส่งจะลดลง เพราะพม่าจะก่อสร้างถนนจากท่าเรือผ่านนิคมฯทวายมายังบ้านพุน้ำร้อน จ.กาญจนบุรี สอดรับกับแผนงานของกรมทางหลวง ซึ่งมีแผนก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหรือมอเตอร์เวย์จากบาง ใหญ่-นครปฐม-กาญจนบุรี เชื่อมต่อกับเส้นทางดังกล่าว และเส้นทางนี้สามารถเชื่อมต่อไปยังกัมพูชา ผ่านเมืองศรีโสภณ เสียมเรียบ พนมเปญ และเชื่อมต่อไปยังเวียดนาม โดยผ่านโฮจิมินห์ เพื่อออกสู่มหาสมุทรแปซิฟิก [22]
นายสมเจตน์ ทิณพงษ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ทวาย ดีเวลล็อปเมนท์ จำกัด ย้ำว่าสิ่งที่รัฐบาลไทยควรเร่งดำเนินการคือ ผลักดันโครงการก่อสร้างมอเตอร์เวย์บางใหญ่-นครปฐม-กาญจนบุรี เพื่อเชื่อมต่อไปยังท่าเรือและนิคมฯทวาย สร้างระบบโลจิสติกส์รองรับการค้าการลงทุนและการขนส่งในอนาคต [23]
ล่าสุด นายวันชัย ภาคลักษณ์ อธิบดีกรมทางหลวง เปิดเผยกับสื่อมวลชนว่า กรมทางหลวงได้สำรวจและออกแบบรายละเอียดโครงการ โดยแล้วเสร็จตั้งแต่ปี 2552 และคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติได้ให้ความเห็นชอบรายงานผลกระทบสิ่งแวด ล้อมในช่วงบางใหญ่-บ้านโป่ง ตั้งแต่ปี 2541 ส่วนช่วงบ้านโป่ง-กาญจนบุรี ได้รับความเห็นชอบตั้งแต่ปี 2546 ปัจจุบันกรมทางหลวง อยู่ระหว่างศึกษาแนวทางและรูปแบบการลงทุนโครงการในรูปแบบ Public Private Partnership หรือ PPPs โดยให้เอกชนร่วมลงทุน ซึ่งได้รับการสนับสนุนด้านวิชาการในการศึกษาจากธนาคารพัฒนาเอเชียหรือเอดีบี คาดว่าผลการศึกษาจะแล้วเสร็จภายในปี 2555 [24]
ทั้งนี้ เพื่อให้การเชื่อมต่อมอเตอร์เวย์สายบางใหญ่-นครปฐม-กาญจนบุรี สามารถเชื่อมต่อไปถึงชายแดนพม่าได้ นายวันชัย ภาคลักษณ์ อธิบดีกรมทางหลวง ระบุว่า กรมทางหลวงได้จ้างบริษัทศึกษาความเหมาะสมทางด้านเศรษฐกิจ วิศวกรรม และผลกระทบสิ่งแวดล้อมโครงการมอเตอร์เวย์สายกาญจนบุรี-ชายแดนไทย-พม่า ที่บ้านพุน้ำร้อน ระยะทางประมาณ 70 กม. ตามที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณปี 2555 คาดว่าจะใช้เวลาศึกษาประมาณ 1 ปี
ผลกระทบในมุมมองของผู้ลงทุน
นายเปรมชัย กรรณสูต ประธานบริหาร บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) กล่าวถึงผลกระทบในด้านบวกจากโครงการดังกล่าวว่า โครงการท่าเรือน้ำลึกและนิคมอุตสาหกรรมทวายมีแผนการสร้างที่อยู่อาศัยภายใน โครงการกว่า 2 แสนยูนิต สำหรับประชากร 2 ล้านคน ซึ่งหากโครงการแล้วเสร็จท่าเรือน้ำลึกทวายและนิคมอุตสาหกรรม จะสามารถรองรับแรงงานได้ถึง 6 แสนคน [25]
อย่างไรก็ตาม นายสมเจตน์ ทิณพงษ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ทวาย ดีเวล้อปเมนท์ จำกัด ได้ชี้ให้เห็นข้อควรระวังของการลงทุนในพม่าว่า การลงทุนจะต้องไม่มีผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นประเด็นที่รัฐบาลและประชาชนพม่าให้ความสำคัญมาก นักลงทุนจึงต้องดำเนินการตามกฎระเบียบและกติกาต่างๆ อย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะการลงทุนอุตสาหกรรมหนัก แม้ต้องใช้เวลาเพิ่มขึ้นก็ตาม จะเห็นว่าที่ผ่านมาพม่าสั่งระงับโครงการก่อสร้างเขื่อนมูลค่า 1.2 แสนล้านบาทในแม่น้ำอิระวดี เป็นโครงการที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลจีน เพราะการสร้างเขื่อนจะมีผลต่อกระแสน้ำในแม่น้ำอิระวดี จึงได้รับการต่อต้านจากประชาชนที่ได้รับผลกระทบ เพราะฉะนั้น นายสมเจตน์จึงย้ำว่า นักลงทุนและบริษัทจะต้องทำตามกติกาโลก เช่น กลุ่ม Posco ของเกาหลีใช้เวลากว่า 7 ปี กว่าจะได้ก่อสร้างโรงงานเหล็กในนิคมฯโอริสสาของประเทศอินเดีย [26]
ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับทวาย
ทวายหรือ Dawei (เดิมเรียกว่า Tavoy) ในภาษาอังกฤษเป็นเมืองหลวงของแคว้นตะนาวศรี (หรือ Tanintharyi region) ในประเทศพม่า มีจำนวนประชากรราว 5 แสนคน มีกลุ่มชาติพันธุ์หลายกลุ่มได้แก่ ทวาย มอญ กระเหรี่ยง และอื่นๆ ภาษาหลักที่ใช้คือ ภาษาทวาย [27]
พื้นที่ที่เป็นที่ตั้งของนิคมอุตสาหกรรมเรียกว่า Nabule แขวง Yebyu เขตเมืองทวาย ในพื้นที่ 250 ตร.กม. ที่มาทำเป็นนิคมอุตสาหกรรม จะต้องเวนคืนที่ดินและอพยพประชาชนกว่า 20 หมู่บ้าน ประมาณ 4,000 หลังคาเรือน และมีจำนวนประชากรที่จะต้องอพยพประมาณ 32,000 คน ประชาชนเหล่านี้ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมและประมง เช่น สวนผลไม้ สวนยาง คล้ายกับภาคใต้ของประเทศไทย
ประชาชนในพื้นที่อพยพส่วนใหญ่ทราบเรื่องที่จะต้องอพยพออกจากพื้นที่ แต่จากการบอกเล่าของผู้แทนประชาชนจากประเทศพม่าที่มาประชุมในประเทศไทย เมื่อเดือนธ.ค. 2554 ที่ผ่านมา พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ยังไม่ทราบเรื่องการจ่ายค่าชดเชย และความพร้อมของสถานที่รองรับการอพยพ
ขณะเดียวกัน ประชาชนและภาคประชาสังคมในพม่าก็เริ่มแสดงความห่วงกังวลกับผลกระทบทางสิ่ง แวดล้อมและสุขภาพที่จะเกิดขึ้นจากโครงการนี้ และเรียกร้องให้มีการประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและสังคมตามาตรฐานสากล และผ่านกระบวนการปรึกษาหารือกับประชาชนในพื้นที่ [28]

ผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้น
การสร้างนิคมอุตสาหกรรมขนาดใหญ่มักจะก่อให้เกิดผลกระทบในหลายด้าน เพื่อที่จะช่วยชี้ให้เห็นถึงผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นจากการพัฒนานิคม อุตสาหกรรมทวาย ผู้เขียนจึงได้จำลองอัตราของผลกระทบแต่ละด้านเมื่อเทียบกับพื้นที่และขนาด การผลิต โดยเทียบเคียงจากเทคโนโลยีที่ใช้ในการผลิตและการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมมาบตา พุด
ดังนั้น การประมาณการณ์ผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นในบทความนี้จึงเป็นการประมาณอย่าง คร่าวๆ เพื่อจุดประเด็นและจุดประกายให้เห็นถึงความสำคัญในการประเมินผลกระทบทาง สุขภาพในเชิงยุทธศาสตร์อย่างจริงจัง ก่อนที่จะพัฒนาโครงการย่อยต่างๆ ตามที่บริษัทเจ้าของโครงการได้วางแผนไว้ เพื่อป้องกันมิให้เกิดผลกระทบเช่นเดียวกับที่ประชาชนในเขตนิคมอุตสาหกรรมมาบ ตาพุด (ซึ่งมีพื้นที่เล็กกว่านิคมอุตสาหกรรมทวายมาก) ต้องแบกรับมาเป็นเวลานาน
1) การปล่อยก๊าซเรือนกระจก
การก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินขนาดใหญ่ ในเขตนิคมอุตสาหกรรมทวาย ย่อมส่งผลกระทบทางลบอย่างมากต่อการปล่อยก๊าซเรือนกระจก อันเป็นต้นเหตุของการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลก เพราะถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงที่เมื่อเผาไหม้แล้วจะปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศมากกว่าเชื้อเพลิงอื่นๆ
ทั้งนี้ ประมาณการณ์ในเบื้องต้นว่า เมื่อโรงไฟฟ้าถ่านหินแห่งนี้เดินเครื่องเต็มกำลังการผลิต 4,000 เมกะวัตต์แล้ว โรงไฟฟ้าแห่งนี้จะปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากถึง 30 ล้านตัน/ปี[29] ซึ่งเป็นปริมาณที่มากกว่าการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของประเทศพม่าทั้ง ประเทศในปีพ.ศ. 2551 ถึง 2 เท่า (ปีพ.ศ. 2551 ประเทศพม่าปล่อยก๊าซเรือนกระจก 12.8 ล้านตันเทียบเท่าคาร์บอนไดออกไซด์/ปี[30]) และเนื่องจากประมาณร้อยละ 90 ของไฟฟ้าที่ผลิตได้จะถูกส่งมายังประเทศไทย โครงการนี้จึงเป็นตัวอย่างที่ชัดเจนของการผลักภาระทางด้านสิ่งแวดล้อมให้กับ ประเทศเพื่อนบ้าน
ทั้งนี้ ยังไม่รวมถึงการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากอุตสาหกรรมอื่นๆ ที่ใช้พลังงานเข้มข้นและเป็นต้นเหตุหลักของก๊าซปล่อยก๊าซเรือนกระจก เช่น อุตสาหกรรมถลุงเหล็ก อุตสาหกรรมผลิตปุ๋ยเคมี และอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ดังนั้น จึงมีความเป็นไปได้สูงว่า ประเทศพม่าจะมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 4-5 เท่าของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปัจจุบัน ภายหลังจากการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมทวายเต็มรูปแบบ
2) มลภาวะทางอากาศ
นอกเหนือจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจกแล้ว การพัฒนานิคมอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ยังนำมาซึ่งการปลดปล่อยมลสารหลายชนิดที่กลาย เป็นมลภาวะทางอากาศด้วย หากเทียบเคียงจากประสบการณ์ในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด การพัฒนาพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ถึง 194 ตร.กม.[31] ในเขตทวาย อาจนำไปสู่การปล่อยก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ได้มากถึง 442,560 ตัน/ปี[32] ก๊าซออกไซด์ของไนโตรเจนได้มากถึง 354,000 ตัน/ปี[33] และฝุ่นละอองขนาดเล็กอีกไม่น้อยกว่า 88,500 ตัน/ปี[34]
ทั้งนี้ ยังไม่นับรวมถึงการปล่อยมลสารของโรงไฟฟ้าถ่านหิน 4,000 เมกะวัตต์ ซึ่งในการเผาไหม้ถ่านหินประมาณ 11 ล้านตัน/ปี ก็อาจจะปล่อยก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ได้มากถึง 118,000 ตัน/ปี ก๊าซออกไซด์ของไนโตรเจนได้มากถึง 119,000 ตัน/ปี รวมทั้ง ฝุ่นละอองขนาดเล็กอีกไม่น้อยกว่า 10,300 ตัน/ปี[35]
การเพิ่มขึ้นของมลสารที่เป็นต้นเหตุของภาวะฝนกรดประมาณ 1 ล้านตัน/ปี และฝุ่นละอองขนาดเล็กอีกกว่า 1 แสนตัน/ปี จะกลายเป็นแรงกดดันสำคัญให้เกิดปัญหามลภาวะทางอากาศขึ้นในพื้นที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ด้วยสภาพภูมิประเทศของทวายที่มีเทือกเขาตะนาวศรีเป็นภูเขาสูงขนาบทางทิศ ตะวันออก ทำให้สภาพมลภาวะทางอากาศสะสมอยู่ในพื้นที่ และอาจจะส่งผลกระทบทางลบอย่างมาก ทั้งต่อการทำการเกษตรและสุขภาพของประชาชนในพื้นที่
นอกจากมลสารที่ทำให้เกิดฝนกรดแล้ว การปล่อยมลสารประเภทโลหะหนักเช่น ปรอท จากโรงไฟฟ้าถ่านหิน ซึ่งอาจจะมีปริมาณสูงถึง 10,000 กิโลกรัมในแต่ละปี โลหะหนักเหล่านี้จะถูกฝนชะล้างลงสู่แหล่งน้ำ และสะสมในสัตว์น้ำและในห่วงโซ่อาหาร เมื่อมนุษย์นำสัตว์น้ำมาบริโภคก็จะส่งผลกระทบต่อการพัฒนาการทางสมอง โดยเฉพาะของเด็ก และทารกในครรภ์
สิ่งหนึ่งซึ่งเป็นห่วงสำหรับการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมขนาดใหญ่เช่นนี้คือ การกำหนดและการรักษาพื้นที่กันชนระหว่างเขตอุตสาหกรรมกับเขตชุมชน (หรือ buffer zone) เพื่อป้องกันมลพิษทางอากาศและอุบัติสารเคมี ดังเช่นที่ทราบกันดีในกรณีของนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดว่า เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงพื้นที่กันชนไปเป็นพื้นที่อุตสาหกรรม และพื้นที่อุตสาหกรรมก็ขยายมาติดพื้นที่ชุมชน จนทำให้มลพิษคุกคามชุมชนโดยตรง และต้องมีการย้ายโรงเรียนและโรงพยาบาลในที่สุด ส่วนในกรณีของนิคมอุตสาหกรรมทวาย จากการศึกษาแผนแม่บทของบริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) ยังไม่ปรากฏพบการจัดเตรียมพื้นที่กันชนไว้แต่อย่างใด

ถนนจากบริเวณชายแดนจ.กาญจนบุรี ไปยังทวาย ประเทศพม่า
3) ทรัพยากรน้ำ
แรงกดดันทางด้านทรัพยากรน้ำ จะเกิดขึ้นทั้งจากความต้องการใช้น้ำของภาคอุตสาหกรรมที่เพิ่มขึ้น การปล่อยมลสารลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ รวมถึงจากมลภาวะทางอากาศที่ถูกฝนชะล้างลงสู่แหล่งน้ำด้วย และภาวะการขาดแคลนน้ำในแง่ของนิคมอุตสาหกรรม หากนิคมอุตสาหกรรมทวายมีการเติบโตเต็มพื้นที่ 194 ตร.กม. ตามแผนที่วางไว้ ก็อาจจะมีความต้องการน้ำจืดสูงถึง 5.9 ล้านลบ.ม./วัน [36] หรือประมาณ 2,150 ล้านลบ.ม./ปี เพราะฉะนั้น อ่างเก็บน้ำขนาด 400-500 ล้านลบ.ม. ที่บริษัท ทวาย ดีเวลล็อปเมนท์ จำกัด วางแผนก่อสร้างไว้จึงยังคงไม่เพียงพอ และคงต้องมีการสร้างแหล่งกักเก็บน้ำขนาดใหญ่อื่นๆ อีกไม่น้อยกว่า 2 แห่ง การสร้างเขื่อนหรืออ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ในพื้นที่รอบๆ ก็จะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ระบบนิเวศ และสังคมตามมา นอกจากนั้น ยังอาจเกิดปัญหาการขาดแคลนน้ำในบางช่วงเวลาด้วย
ในส่วนของน้ำเสีย หากเทียบเคียงจากอัตราการปล่อยน้ำเสียที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด นิคมอุตสาหกรรมทวายที่มีขนาดใหญ่กว่าก็จะปล่อยน้ำเสียมากถึง 1.5 ล้านลบ.ม./วัน หรือประมาณ 550 ล้านลบ.ม./ปี เมื่อรวมกับความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะฝนกรดจากมลภาวะทางอากาศที่ได้กล่าวไป แล้วข้างต้น ผลกระทบทางด้านคุณภาพน้ำก็นับเป็นความเสี่ยงสำคัญที่ต้องมีการประเมินและ ศึกษาให้รอบคอบก่อนที่จะดำเนินโครงการจริง
ประกอบกับสภาพภูมิศาสตร์ที่พื้นที่นิคมอุตสาหกรรมทวายแห่งนี้จะตั้งอยู่ ทางตอนเหนือของเมืองทวาย ฉะนั้น หากเกิดภาวะน้ำเสีย หรือโลหะหนักปนเปื้อน หรือภาวะน้ำขาดแคลนจะส่งผลกระทบอย่างมากต่อสุขภาพและคุณภาพชีวิตของประชาชน ในเมืองทวาย ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับทรัพยากรน้ำในพื้นที่จึงเป็นประเด็นปัญหาที่จะต้อง ให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก
นอกเหนือแหล่งน้ำจืดแล้ว โรงไฟฟ้าถ่านหินยังมีการนำน้ำทะเลเข้ามาใช้ในการหล่อเย็นอีกไม่น้อยกว่า 20 ล้าน ลบ.ม. ต่อวัน หรือประมาณ 6,700 ล้านลบ.ม./ปี [37] แม้ว่า การนำน้ำทะเลเข้ามาใช้ในการหล่อเย็นจะไม่ทำให้เกิดปัญหาการขาดแคลนน้ำ แต่ก็อาจส่งผลกระทบต่อทรัพยากรประมงทางชายฝั่ง ซึ่งเป็นฐานทรัพยากรหลักของอาชีพประมงได้เช่นกัน
4) กากของเสีย
ผลกระทบอีกประการหนึ่งที่ติดตามมาอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้คือ กากของเสียจำนวนมหาศาลจากภาคอุตสาหกรรม โดยในการเผาไหม้ถ่านหินของโรงไฟฟ้าถ่านหินขนาด 4,000 เมกะวัตต์ จะทำให้เกิดเถ้าถ่านหินถึงประมาณ 1.3 ล้านตัน/ปี นิคมอุตสาหกรรมขนาด 194 ตร.กม. จะทำให้เกิดกากของเสียอุตสาหกรรมถึง 757,000 ตัน/ปี [38] และมีกากของเสียอันตรายที่จะต้องกำจัดอีกประมาณ 45 ตัน/ปี[39] นอกจากนั้น ยังมีของเสียครัวเรือนในพื้นที่พักอาศัยอีกไม่น้อยกว่า 101,000 ตันต่อปี[40] รวมแล้วมีกากของเสียที่จะต้องจัดการไม่น้อยกว่า 2 ล้านตันในแต่ละปี
หากการจัดการกากของเสียไม่เป็นไปอย่างรอบคอบ และเข้มงวด ก็จะเกิดการลักลอบทิ้งกากของเสีย และเกิดการปนเปื้อนสู่สิ่งแวดล้อม เช่นน้ำใต้ดิน ดังที่เคยเกิดขึ้นในพื้นที่อุตสาหกรรมมาบตาพุด
5) ผลกระทบต่อชุมชนและวิถีชีวิต
จากที่กล่าวมาแล้วข้างต้น การเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินขนาดใหญ่จะส่งผลกระทบโดยตรงกับชุมชนไม่น้อยกว่า 20 หมูบ้าน และประชากรกว่า 32,000 คน ที่จะต้องโยกย้ายถิ่นฐาน และเริ่มต้นอาชีพเกษตรกรรมในพื้นที่ใหม่ โดยเฉพาะชาวสวนที่ต้องใช้เวลาหลายปีกว่าที่ต้นไม้จะให้ผลผลิตที่เป็นราย ได้แก่ครัวเรือน
นอกจากนั้น การพัฒนานิคมอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ยังอาจส่งผลกระทบกับชุมชนที่อยู่รอบๆ นิคม ทั้งโดยตรง (เช่น มลภาวะทางอากาศและมลภาวะทางน้ำ) และทางอ้อม (เช่น การขาดแคลนทรัพยากรน้ำ การปนเปื้อนของมลสารในห่วงโซ่อาหาร ความแตกต่างทางวัฒนธรรมของประชากรในพื้นที่กับประชากรที่อพยพเข้ามา และความไม่เพียงพอของบริการสาธารณะในพื้นที่) ทั้งยังอาจส่งผลกระทบต่อเนื่องถึงเมืองทวายที่อยู่ทางตอนล่างด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะหากเกิดความเสื่อมโทรมของทรัพยากรน้ำในลุ่มน้ำทวาย

จุดก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกทวาย
6) ผลกระทบในฝั่งประเทศไทย
แน่นอนว่า เนื่องจากนิคมอุตสาหกรรมนั้นตั้งขึ้นที่ชายฝั่งประเทศพม่า ประกอบกับพรมแดนระหว่างประเทศไทยกับพม่าในบริเวณนี้ มีเทือกเขาตะนาวศรีเป็นภูเขาสูงกั้นอยู่ ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับทางฝั่งไทยจึงน้อยมาก เมื่อเทียบกับที่ประชาชนชาวพม่าที่จะต้องกลายเป็นผู้แบกรับความเสี่ยงที่จะ เกิดผลกระทบทางลบขึ้นในพื้นที่
อย่างไรก็ดี การสร้างเส้นทางคมนาคมขนส่งขนาดใหญ่ทั้งถนน ทางรถไฟ ท่อน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ และสายส่งไฟฟ้าแรงสูงพาดจากกรุงเทพ ผ่านนครปฐม กาญจนบุรี ไปยังทวาย ก็ทำให้มีผู้ห่วงกังวลกับผลกระทบที่จะเกิดขึ้นในฝั่งไทยอย่างน้อย 2 ประเด็นด้วยกันคือ
•       การตัดขาดพื้นที่ผืนป่าตะวันตก ที่เคยเป็นป่าที่อุดมสมบูรณ์ทอดยาวจากอ.อุ้มผาง จ.ตาก ไปจนถึงเขตอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน จ.เพชรบุรี ด้วยเส้นทางขนส่งขนาดใหญ่ ทำให้ความสมบูรณ์ของทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่าอาจลดน้อยลงไป
•       แนวทางหลวงใหม่ที่จะตัดผ่านจากบางใหญ่ไปจนถึงนครปฐม อาจกั้นขวางเส้นทางการไหลของน้ำในพื้นที่ทุ่งพระพิมลในยามที่น้ำหลาก และกลายเป็นอุปสรรคสำคัญสำหรับการจัดการน้ำในช่วงที่มีน้ำมากหรือเกิด อุทกภัย
สรุปและข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย
 เนื่องจากโครงการท่าเรือน้ำลึกและนิคมอุตสาหกรรมทวายเป็นโครงการขนาด ใหญ่ ที่มีประเทศผู้ลงทุนและผู้ได้รับผลประโยชน์ในหลายประเทศ ขณะเดียวกัน ก็เป็นโครงการที่มีโครงการย่อยๆ หลายโครงการ ซึ่งอาจสร้างผลกระทบทางลบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชนเป็นอย่างมาก เช่นกัน การเติบโตและความเชื่อมโยงของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนจึงไม่ควรมุ่งหวังแต่ผล ประโยชน์ทางเศรษฐกิจ และเพิกเฉยต่อข้อห่วงกังวลของประชาชน รวมถึงไม่ควรละเลยความเสี่ยงต่างๆ ที่อาจจะเกิดผลกระทบทางลบขึ้นในพื้นที่
ดังนั้น ก่อนที่จะดำเนินโครงการนี้ในลำดับต่อไป ผู้ลงทุนและรัฐบาลทุกประเทศที่เกี่ยวข้องกับโครงการนี้ โดยเฉพาะรัฐบาลและผู้ลงทุนจากประเทศไทย ซึ่งมีบทเรียนที่ชัดเจนเกี่ยวกับปัญหามลภาวะและสุขภาพที่มาบตาพุด จึงควรให้ความสำคัญกับการประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ โดยในเบื้องต้น ผู้เขียนจะขอเสนอแนะแนวทางเบื้องต้นดังต่อไปนี้
1) การประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของโครงการนี้ จะต้องกระทำในลักษณะของการประเมินผลกระทบทางยุทธศาสตร์หรือ Strategic Environmental Assessment (SEA) มิใช่การประเมินผลกระทบเป็นรายโครงการย่อย เนื่องจากการประเมินผลกระทบเป็นรายโครงการย่อยจะแยกส่วน และมองไม่เห็นผลกระทบสะสมหรือผลกระทบภาพรวม (หรือ cumulative impacts) ที่เกิดขึ้นจากโครงการทั้งหมด ที่มีต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชนในพื้นที่เลย การประเมินผลกระทบทางยุทธศาสตร์ที่ดีจะช่วยให้เกิดการปรับปรุงแผนแม่บทของ โครงการนี้ (รวมถึงการเลือกโครงการย่อยต่างๆ) ให้สอดคล้องกับสภาพทรัพยากร ระบบนิเวศ และระบบวัฒนธรรมของพื้นที่ได้
2) การศึกษาเรื่องขีดความสามารถของทรัพยากรในการรองรับการขยายตัวทาง เศรษฐกิจ และขีดความสามารถในการรองรับมลพิษ (หรือ Carrying capacity) ทั้งทางทรัพยากรที่ดิน ทรัพยากรน้ำ คุณภาพอากาศ และทรัพยากรป่าไม้ เป็นสิ่งที่มีความสำคัญมาก ในการวางแผนและประเมินผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับประชาชนในพื้นที่ มิฉะนั้น จะเกิดปัญหาที่ตามมา คือ มีความต้องการใช้ทรัพยากร และมีการปล่อยมลสาร จนเกินกว่าขีดความสามารถที่จะรองรับได้ ดังเช่นที่เคยเกิดขึ้นที่มาบตาพุด
3) เพื่อมิให้ประชาชนในพื้นที่เสียโอกาสในการพัฒนาที่ยั่งยืน การประเมินผลกระทบต่างๆ ทั้งการประเมินผลกระทบในระดับยุทธศาสตร์ และการประเมินผลกระทบในโครงการย่อยควรพิจารณาแนวทางเลือกต่างๆ ที่มีอยู่ให้รอบด้าน ตั้งแต่การเลือกพื้นที่โครงการ การเลือกประเภทของอุตสาหกรรม (เช่นอุตสาหกรรมเหล็ก หรืออุตสาหกรรมอาหาร) การเลือกเทคโนโลยีที่ใช้ (เช่น โรงไฟฟ้าถ่านหิน หรือโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน) มิใช่เป็นการประเมินผลกระทบตามกรอบของแผนแม่บทหรือแนวทางที่เจ้าของโครงการ พัฒนาขึ้นแต่เพียงด้านเดียว

4)  การดำเนินโครงการย่อยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับประเทศไทย หรือที่เป็นประเทศไทยเป็นผู้รับประโยชน์โดยตรง เช่น โครงการโรงไฟฟ้าถ่านหิน ควรเป็นไปตามมาตรฐานเดียวกับที่ถือปฏิบัติในประเทศไทยเช่น มีการประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและสุขภาพที่เปิดให้ประชาชนในพื้นที่เข้า ถึงข้อมูลและนำเสนอความคิดเห็นได้โดยตรง เพื่อป้องกันมิให้เกิดผลกระทบทางลบกับประชาชนในประเทศเพื่อนบ้าน จากโครงการที่ทำขึ้นเพื่อผลประโยชน์ของประเทศไทย
5) การประเมินผลกระทบจะต้องพิจารณาถึงผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม ทางสังคม และทางสุขภาพที่จะเกิดขึ้น จากการอพยพโยกย้ายของประชาชน ทั้งการโยกย้ายประชาชนในพื้นที่เดิม และการอพยพของแรงงานและสมาชิกในครัวเรือนเข้ามาทำงานในนิคมอุตสาหกรรม โดยจะต้องมีแผนพัฒนาชุมชนที่สอดคล้องกับระบบนิเวศและระบบวัฒนธรรม รวมถึงวิถีการดำเนินชีวิตสำหรับประชากรทั้งสองกลุ่ม ขณะเดียวกัน ก็ต้องเตรียมแผนป้องกันผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นจากมลภาวะและอุบัติภัยที่ ชัดเจน และควรมีการกำหนดพื้นที่กันชนระหว่างนิคมอุตสาหกรรมและพื้นที่ชุมชนให้ ชัดเจน
6) เพื่อให้การประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม สังคม และสุขภาพตามข้อ 5) เป็นไปอย่างถูกต้องและรัดกุม รวมถึงสามารถให้ประชาชนได้เข้าถึงและนำเสนอข้อมูล ความคิดเห็นต่างๆ ตามข้อ 4) เจ้าของโครงการจะต้องเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับโครงการ ทั้งในภาพรวมและในแต่ละโครงการย่อย โดยข้อมูลที่เปิดเผยจะต้องครอบคลุมถึงความเสี่ยงและผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม สังคม และสุขภาพที่จะเกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการดังกล่าวด้วย
7) ภาคประชาชนในพื้นที่และภาคประชาสังคมในพม่าจะมีบทบาทสำคัญในการผลัก ดันข้อห่วงกังวลและข้อเสนอแนะต่างๆ ให้แปลงเป็นรูปธรรมในการดำเนินการที่จะคุ้มครองและสร้างเสริมสุขภาพของ ประชาชนในพม่า ภาคประชาชนในพื้นที่จึงควรศึกษาและเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับวิถีชีวิตและความ ห่วงกังวลของประชาชนในพื้นที่ รวมถึงความมุ่งหวังและทางเลือกในการพัฒนาของประชาชนในพื้นที่ เพื่อให้ประชาคมอาเซียนได้รับทราบ และร่วมกันสนับสนุนแนวทางการพัฒนาที่จะเอื้อต่อการมีสุขภาพที่ดีของประชาชน ในทุกๆ ประเทศ และทุกๆ พื้นที่ โดยอาจดำเนินการในลักษณะของการประเมินผลกระทบทางสุขภาพโดยชุมชน (หรือ Community HIA) ที่มีการดำเนินการในประเทศไทย ในการนี้ ภาคประชาชนและภาคประชาสังคมในประเทศไทย ซึ่งมีประสบการณ์ในการพยายามแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมและสุขภาพมาเป็นเวลากว่า สองทศวรรษแล้ว จะมีส่วนสำคัญในการแลกเปลี่ยนบทเรียนและประสบการณ์กับภาคประชาชนในพื้นที่ และภาคประชาสังคมในพม่า
8) การดำเนินโครงการขนาดใหญ่เช่นนี้อาจส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและ สุขภาพในระยะยาว หน่วยงานของรัฐบาลกลางและหน่วยงานท้องถิ่นในพื้นที่จึงจำเป็นต้องเตรียมความ พร้อมรับมือกับผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นไว้ล่วงหน้า ไม่ว่าจะเป็นการประเมินผลกระทบ การเฝ้าระวังมลพิษและอุบัติภัย การเฝ้าระวังผลกระทบต่อสุขภาพ การตอบโต้อุบัติภัย ความพร้อมของโรงพยาบาลและสถานบริการสุขภาพต่างๆ ดังนั้น หากรัฐบาลไทยเห็นว่าโครงการนี้เป็นความร่วมมือระหว่างรัฐภายใต้กรอบของ ประชาคมอาเซียนจริง ก็ควรให้การสนับสนุนรัฐบาลพม่าในการสร้างกลไกและทรัพยากรบุคคลที่เพียงพอต่อ การรับมือความเสี่ยงและผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นดังกล่าว
กรณีศึกษาการพัฒนาโครงการท่าเรือน้ำลึกและนิคมอุตสาหกรรมทวายเป็น ตัวอย่างสำคัญที่บ่งชี้ให้เห็นว่า การลงทุนในโครงการพัฒนาในอนาคตจะเป็นไปในลักษณะข้ามพรมแดน ไปสู่ประเทศเพื่อนบ้านในประชาคมอาเซียนมากยิ่งขึ้น ดังนั้น การคุ้มครองและสร้างเสริมสุขภาพของประชาชนในอาเซียนก็จำเป็นต้องก้าวข้าม พรมแดนด้วยเช่นกัน ผ่านกลไกการเรียนรู้ร่วมกัน โดยใช้การประเมินผลกระทบทางสุขภาพเป็นเครื่องมือสำคัญ ทั้งในระดับยุทธศาสตร์การพัฒนาในภาพรวม ไปจนถึงยุทธศาสตร์การพัฒนาในแต่ละพื้นที่
ความท้าทายจึงขึ้นอยู่กับว่า การพัฒนาการประเมินผลกระทบทางสุขภาพของภาคประชาชนในกลุ่มประเทศอาเซียน ปัจจุบัน จะก้าวทันย่างก้าวอันรวดเร็วของผู้ลงทุนข้ามชาติได้มากน้อยเพียงใด และสามารถประสานข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่างๆ เข้าสู่การปรับทิศทางการพัฒนา หรือแนวทางการวางแผนในโครงการลงทุนข้ามชาติเหล่านี้ได้มากน้อยเพียงใด เป็นสำคัญ
________________________________________
[1] กรุงเทพธุรกิจ. 27 ธันวาคม 2554. “เจบิคเล็งปล่อยกู้3พันล.ดอลล์ สร้างท่าเรือ-นิคมฯทวายพม่า”
[2] กรุงเทพธุรกิจ. 27 ธันวาคม 2554. “ทุนข้ามชาติทะลักเข้าทวาย”
[3] พื้นที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด 5 นิคมรวมกัน 31 ตร.กม.
[4] กรุงเทพธุรกิจ. 27 ธันวาคม 2554. “ทุนข้ามชาติทะลักเข้าทวาย”
[5] กรุงเทพธุรกิจ. 27 ธันวาคม 2554. “เจบิคเล็งปล่อยกู้3พันล.ดอลล์ สร้างท่าเรือ-นิคมฯทวายพม่า”
[6] กรุงเทพธุรกิจ. 27 ธันวาคม 2554. “ทุนข้ามชาติทะลักเข้าทวาย”
[7] โพสต์ทูเดย์  27 ธันวาคม 2554 . “ITDทุนอื้อไม่เพิ่มทุน”
[8] โพสต์ทูเดย์  27 ธันวาคม 2554 . “ITDทุนอื้อไม่เพิ่มทุน”
[9] โพสต์ทูเดย์  27 ธันวาคม 2554 . “ITDทุนอื้อไม่เพิ่มทุน”
[10] กรุงเทพธุรกิจ. 27 ธันวาคม 2554. “ทุนข้ามชาติทะลักเข้าทวาย”
[11] โพสต์ทูเดย์  27 ธันวาคม 2554 . “ITDทุนอื้อไม่เพิ่มทุน”
[12] กรุงเทพธุรกิจ. 27 ธันวาคม 2554. “ทุนข้ามชาติทะลักเข้าทวาย”
[13] สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) 14 พฤศจิกายน 2554. “RATCH เซ็น MOU ร่วมมือ ITD สร้างโรงไฟฟ้ารวม 4 พันเมกะวัตต์ในนิคมฯทวาย”
[14] โพสต์ทูเดย์  27 ธันวาคม 2554 . “ITDทุนอื้อไม่เพิ่มทุน”
[15] กรุงเทพธุรกิจ. 27 ธันวาคม 2554. “ทุนข้ามชาติทะลักเข้าทวาย”
[16] กรุงเทพธุรกิจ. 27 ธันวาคม 2554. “ทุนข้ามชาติทะลักเข้าทวาย”
[17] โพสต์ทูเดย์  27 ธันวาคม 2554 . “ITDทุนอื้อไม่เพิ่มทุน”
[18] ไทยรัฐออนไลน์ 22 ธันวาคม 2554. “ปตท.เล็งลงทุนธุรกิจพลังงานนิคมอุตฯทวายในพม่า”
[19] กรุงเทพธุรกิจ. 27 ธันวาคม 2554. “ทุนข้ามชาติทะลักเข้าทวาย”
[20] กรุงเทพธุรกิจออนไลน์. 26 ธันวาคม 2554  “อิตาเลี่ยนไทยเชื่อนิคมฯทวายเป็นฮับคอนเทนเนอร์”
[21] กรุงเทพธุรกิจออนไลน์. 26 ธันวาคม 2554  “อิตาเลี่ยนไทยเชื่อนิคมฯทวายเป็นฮับคอนเทนเนอร์”
[22] กรุงเทพธุรกิจ. 27 ธันวาคม 2554. “ทุนข้ามชาติทะลักเข้าทวาย”
[23] กรุงเทพธุรกิจ. 27 ธันวาคม 2554. “ทุนข้ามชาติทะลักเข้าทวาย”
[24] กรุงเทพธุรกิจ.  26 ธันวาคม 2554   “ทล.เล็งผุดมอเตอร์เวย์4.5หมื่นล.เชื่อมทวาย”
[25] กรุงเทพธุรกิจออนไลน์. 26 ธันวาคม 2554  “อิตาเลี่ยนไทยเชื่อนิคมฯทวายเป็นฮับคอนเทนเนอร์”
[26] กรุงเทพธุรกิจ. 27 ธันวาคม 2554. “ทุนข้ามชาติทะลักเข้าทวาย”
[27] Dawei Development Association. 15 December 2011. Press Release Disclosing the Desires of Local People on the Dawei Deep Seaport and Special Economic Zone.
[28] Dawei Development Association. 15 December 2011. Press Release Disclosing the Desires of Local People on the Dawei Deep Seaport and Special Economic Zone.
[29] คำนวณจากค่าสัมประสิทธิ์มาตรฐานของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการผลิตไฟฟ้าโดยใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิง เท่ากับ 0.96 กก./kWh
[30] ข้อมูลจาก http://en.wikipedia.org/wiki/List_of_countries_by_carbon_dioxide_emissions
[31] ไม่รวมพื้นที่ชุมชนและพื้นที่อยู่อาศัย
[32] คำนวณจากอัตราการปล่อยก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ของภาคอุตสาหกรรมที่ 6.25 ตัน/ตร.กม./วัน (มูลนิธินโยบายสุขภาวะ, 2554, ฝัน ร่าง สร้าง ทำ: ผังเมืองทางเลือกเพื่อสุขภาวะ)
[33] คำนวณจากอัตราการปล่อยก๊าซออกไซด์ของไนโตรเจนจากภาคอุตสาหกรรมที่ 5.0 ตัน/ตร.กม./วัน (มูลนิธินโยบายสุขภาวะ, 2554, อ้างแล้ว)
[34] คำนวณจากอัตราการปล่อยฝุ่นละอองขนาดเล็กของภาคอุตสาหกรรมที่ 1.25 ตัน/ตร.กม./วัน (มูลนิธินโยบายสุขภาวะ, 2554, อ้างแล้ว)
[35] คำนวณจากค่าสัมประสิทธิ์มาตรฐานของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการผลิตไฟฟ้าโดยใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิง
[36] คำนวณจากอัตราการใช้น้ำของภาคอุตสาหกรรมที่ 30,000 ลบ.ม./ตร.กม./วัน (มูลนิธินโยบายสุขภาวะ, 2554, อ้างแล้ว)
[37] คำนวณจากข้อมูลรายการประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของโครงการ Gheco-one
[38] คำนวณจากอัตราการเกิดกากของเสียอุตสาหกรรมที่ 10.69 ตัน/ตร.กม./วัน (มูลนิธินโยบายสุขภาวะ, 2554, อ้างแล้ว)
[39] คำนวณจากอัตราการเกิดกากของเสียอันตรายที่ 0.64 ตัน/ตร.กม./วัน (มูลนิธินโยบายสุขภาวะ, 2554, อ้างแล้ว)
[40] คำนวณจากอัตราการเกิดขยะชุมชนที่ 1.43 ตัน/ตร.กม./วัน (มูลนิธินโยบายสุขภาวะ, 2554, อ้างแล้ว)

ขอบคุณภาพจาก Google, Greenpeace, salweennews.org,

ปรากฏในหน้าแรกที่: 
ข่าวเจาะพาดหัว (สไลด์โชว์) 
 

เปิด ‘HIA ทวาย’ เดชรัต สุขกำเนิด ชี้ผลกระทบอื้อ ซัลเฟอร์ฯอ่วมปีละกว่า 4 แสนตัน ป่าตะวันตกถูกตัดขาด ถนนบางใหญ่-กาญจน์ ทำน้ำท่วมหนัก

นักวิชาการดังคณะเศรษฐศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์ ‘เดชรัต สุขกำเนิด’เปิดงานวิจัย HIA กับการลงทุนข้ามพรมแดน : กรณีศึกษาท่าเรือน้ำลึกและนิคมอุตสาหกรรมทวาย ประเทศพม่าหวังชี้ให้เห็นผลกระทบที่มีเพียบ ระบุ 6 ประเด็นหลักที่น่าห่วง ตั้งแต่ก๊าซคาร์บอนฯปีละ 30 ล้านตัน ที่จะเกิดจากโรงไฟฟ้า ก๊าซซัลเฟอร์ฯ จากนิคมอุตสาหกรรม ปีละกว่า 4 แสนตัน ใช้น้ำจืดวันละ 5.9 ล้านลบ.ม. เถ้าถ่านหินปีละ 1.3 ล้านตัน ขยะอุตสาหกรรมกว่าปีละ 7 แสนตัน ชุมชนชาวพม่าได้รับผลกระทบกว่า 20 หมู่บ้าน 3.2 หมื่นคน ส่วนในฝั่งไทย ผืนป่าตะวันตกอาจถูกตัดขาด และแนวถนนสายใหม่จากบางใหญ่ จ.นนทบุรี-นครปฐม-กาญจนบุรี จะขวางทางน้ำหลาก หวั่นเกิดน้ำท่วมหนักอีกในอนาคต
โดย วรลักษณ์ ศรีใย ศูนย์ข่าว TCIJ
ดร.เดชรัตน์ สุขกำเนิด  อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  ให้สัมภาษณ์ศูนย์ข่าว TCIJ ถึงงานวิจัย เรื่อง HIA กับการลงทุนข้ามพรมแดน : กรณีศึกษาท่าเรือน้ำลึกและนิคมอุตสาหกรรมทวาย  ประเทศพม่า ว่า จุดประสงค์ของการทำงานวิจัยชิ้นนี้ เพื่อเป็นข้อมูลให้กับภาคประชาสังคมในประเทศพม่า ซึ่งก่อนหน้านี้ภาคประชาสังคมของพม่าเคยมาอบรมที่เสมสิกขาลัย ประเทศไทย และมีการหารือกันในประเด็นนี้อีกหลายครั้ง ว่าจะทำอย่างไรจึงจะมีการศึกษาถึงผลกระทบบ้าง พร้อมทั้งขอให้ช่วยทำงานวิจัยชิ้นนี้ขึ้นมา และจากนี้ต่อไปตนจะมีการแปลเป็นภาษาอังกฤษและส่งให้ภาคประชาสังคมของพม่าต่อ ไป
งานวิจัยชิ้นนี้นับว่าเป็นต้นแบบการจัดทำ HIA (Health Impact Assessment) ได้ ในระดับหนึ่ง มีองค์ประกอบการศึกษาเกือบทุกด้าน แต่อาจจะขาดในเรื่องพื้นที่ เนื่องจากไม่ได้เห็นพื้นที่จริง แต่การศึกษาได้ใช้พื้นที่ในประเทศไทยที่ใกล้เคียง เป็นตัวอย่างในการศึกษา
ผู้สื่อข่าวถามว่า ทางการของประเทศพม่าจะเชื่อถืองานวิจัยฉบับนี้หรือไม่ ดร.เดชรัตน์กล่าวว่า เป็นเรื่องที่ภาคประชาสังคมพม่าต้องทำงานต่อไป โดยการนำเสนอกับรัฐบาลพม่า ส่วนบริษัทของไทยที่เข้าไปลงทุนในโครงการนี้ คงจะได้รับทราบเนื้อหาของงานวิจัย จากการเผยแพร่ผ่านสื่อต่างๆ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับงานวิจัยดังกล่าว มีทั้งหมด 15 หน้า โดยเบื้องต้นเป็นการกล่าวถึงข้อมูลเบื้องต้นของโครงการก่อสร้างท่าเรือน้ำ ลึกและนิคมอุตสาหกรรมทวาย ในประเทศพม่า พร้อมคำสัมภาษณ์นักลงทุนและผู้เกี่ยวข้องจากประเทศไทย พร้อมทั้งผลกระทบที่คาดว่าจะเกิดขึ้น จากนั้นเป็นบทสรุปและข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย

(ฉบับเต็ม)
HIA กับการลงทุนข้ามพรมแดน : กรณีศึกษาท่าเรือน้ำลึกและนิคมอุตสาหกรรมทวาย  ประเทศพม่า
บทนำ
ในขณะที่ประเทศทั้ง 10 ประเทศในสมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรือ ASEAN กำลังนับถอยหลังเข้าสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปีพ.ศ.2558 การเชื่อมโยงกันของระบบเศรษฐกิจ การค้า และการลงทุนในประเทศเหล่านี้ก็กำลังคืบคลานเข้ามาใกล้ตัวเรา และเริ่มปรากฏเป็นรูปเป็นร่างแจ่มชัดขึ้นทุกทีเช่นกัน การลงทุนทางโครงสร้างพื้นฐานและการลงทุนของภาคอุตสาหกรรมเริ่มปรับตัวสู่การ ลงทุนแบบข้ามพรมแดน ซึ่งนำไปสู่การขยายโอกาสใหม่ๆ ทางการค้าและทางเศรษฐกิจ แต่ผลกระทบทางสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่จะเกิดขึ้นจากการขยายพรมแดนการค้าและ การลงทุนในกลุ่มอาเซียน ทั้งทางบวกและทางลบ กลับยังไม่ได้มีการหารือและศึกษากันอย่างจริงจังแต่อย่างใด
โครงการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกและนิคมอุตสาหกรรมทวาย ประเทศพม่า เป็นหนึ่งในรูปธรรมของการขยายการลงทุนข้ามพรมแดนจากประเทศไทยสู่ประเทศพม่า เพื่อที่จะนำทรัพยากรพลังงานและผลผลิตต่างๆ กลับมาหล่อเลี้ยงการเติบโตทางเศรษฐกิจในประเทศไทย ทั้งยังมีแนวคิดที่จะเชื่อมโยงเส้นทางการคมนาคมจากประเทศพม่า ผ่านประเทศไทย ไปสู่ประเทศกัมพูชาและเวียดนามอีกด้วย โครงการนี้จึงเป็นเสมือนรูปธรรมที่ชัดเจนอย่างหนึ่งของการเปิดประชาคม เศรษฐกิจอาเซียน โครงการนี้จึงได้รับความสนใจจากผู้ร่วมลงทุนหลายประเทศ และได้รับการสนับสนุนทางนโยบายจากรัฐบาลพม่าและรัฐบาลไทย ไม่ว่าจะเป็นรัฐบาลที่ผ่านมา (รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ) หรือรัฐบาลปัจจุบัน (รัฐบา น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร) ก็ตาม
บทความนี้จะเริ่มต้นด้วยการประมวลข่าวความคืบหน้าในการลงทุนในโครงการนี้ ทั้งในเชิงภาพรวมของโครงการ และในโครงการย่อยที่สำคัญต่างๆ รวมไปถึงการขยายแนวคิดเรื่องเส้นทางคมนาคมเชื่อมโยงภูมิภาค และผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นในมุมมองของเจ้าของโครงการ จากนั้น บทความนี้จะเริ่มต้นฉายภาพให้เห็นถึงผลกระทบทางลบที่อาจจะเกิดขึ้น และจำเป็นที่จะต้องได้รับการประเมินความเสี่ยงและการศึกษาผลกระทบทางสิ่งแวด ล้อมและสุขภาพในภาพรวมหรือในระดับยุทธศาสตร์ ก่อนที่จะดำเนินการโครงการตามแผนที่วางไว้ สุดท้ายบทความนี้จะเสนอข้อเสนอแนะที่น่าจะเป็นประโยชน์การคุ้มครองและการ สร้างเสริมสุขภาพของประชาชนทั้งสองประเทศ ผ่านกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันที่เรียกว่า การประเมินผลกระทบทางสุขภาพหรือ HIA นั่นเอง
รูปแบบการลงทุนในภาพรวมของโครงการ
เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2554 นายเปรมชัย กรรณสูต ประธานบริหาร บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวลล็อปเมนท์ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยความคืบหน้าโครงการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกและนิคมอุตสาหกรรมทวาย พื้นที่ 250 ตร.กม.ในประเทศพม่ากับสื่อมวลชนว่า บริษัท ทวาย ดีเวลล็อปเมนท์ จำกัด หรือ ดีดีซี ซึ่งปัจจุบันอิตาเลียนไทยฯ ถือหุ้น 100% จะเป็นผู้ดำเนินโครงการพัฒนา และจัดหาผู้ร่วมลงทุนในแต่ละโครงการ โดยขณะนี้นักลงทุนพม่าแสดงความจำนงถือหุ้นดีดีซีแล้ว 25% และในระยะต่อไป บ.อิตาเลียนไทยฯ จะลดสัดส่วนหุ้นในดีดีซีเหลือ 51% [1]
บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวลล็อปเมนท์ จำกัด (มหาชน) อ้างว่าได้ใช้เวลา 16 ปี ในการศึกษาโครงการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกและนิคมอุตสาหกรรมทวายในประเทศพม่า เพราะเห็นว่าเป็นพื้นที่ยุทธศาสตร์ที่เหมาะต่อการลงทุน รองรับการเติบโตของเศรษฐกิจโลกในอนาคต กระทั่งเมื่อวันที่ 2 พ.ย. 2553 รัฐบาลพม่าได้ลงนามสัญญากับอิตาเลียนไทยฯ เพื่อให้สิทธิในการพัฒนาพื้นที่เป็นเวลา 75 ปี ซึ่งบ. อิตาเลียนไทยฯ ได้จัดตั้งบริษัท ทวาย ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด ทุนจดทะเบียน 100 ล้านดอลลาร์ เพื่อพัฒนาโครงการนี้ [2]
นายสมเจตน์ ทิณพงษ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ทวาย ดีเวลล็อปเมนท์ จำกัด ให้สัมภาษณ์กับหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจว่า บริษัทได้รับอนุญาตจากรัฐบาลพม่าให้พัฒนาโครงการดังกล่าวบนพื้นที่ 250 ตร.กม. หรือประมาณ 2 แสนไร่ ใหญ่กว่านิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด 10 เท่า[3] ปัจจุบันรัฐบาลพม่าได้ประกาศให้พื้นที่โครงการเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ (Dawei Special Economic Zone) หรือ DSEZ แล้ว ส่งผลให้เป็นพื้นที่ส่วนราชการแบบเบ็ดเสร็จ (One-Stop Service) เพื่อลดขั้นตอนการดำเนินงานให้เกิดความคล่องตัวมากที่สุด รวมทั้งการให้สิทธิประโยชน์ต่างๆ รวมทั้งมาตรการด้านภาษี เพื่อจูงใจนักลงทุน [4]
การลงทุนโครงการระยะแรก ดีดีซีจะก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกในพื้นที่ 6,100 ไร่ ก่อสร้างถนนจากทวายมายังชายแดนไทย-พม่า บริเวณ จ.กาญจนบุรี ระยะทาง 132 กม. ขนาด 4 ช่องจราจร รวมทั้งก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน ขนาด 4,000 เมกะวัตต์ ในพื้นที่ 2,300 ไร่ และระบบสาธารณูปโภคต่างๆ [5]
ทั้งนี้ การพัฒนาโครงการระยะแรกจะใช้เงินลงทุน 2.4 แสนล้านบาท ใช้เวลาดำเนินการ 4 ปี 6 เดือน ประกอบด้วย โครงการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกที่ใหญ่ที่สุดในโลก รองรับสินค้าคอนเทนเนอร์ปีละ 20 ล้านตัน หรือ 2 เท่าของท่าเรือแหลมฉบัง ระยะต่อไปจะพัฒนาให้รองรับได้ถึงปีละ 100 ล้านตัน [6]
ที่ผ่านมา นายสมเจตน์เล่าว่า บริษัทได้สำรวจพื้นที่โครงการทั้งบนบกและในทะเลแล้ว ทั้งพื้นที่แนวราบและแนวตั้ง ได้ก่อสร้างถนนชั่วคราว เพื่อใช้ขนส่งวัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือในการก่อสร้างจากกาญจนบุรีไปยังทวาย ในอนาคตจะพัฒนาเป็นถนนขนาด 4 ช่องจราจร รวมทั้งการสำรวจพื้นที่เพื่อก่อสร้างอ่างเก็บน้ำ ขนาด 500 ล้านลูกบาศก์เมตร อยู่ห่างจากนิคมฯ 18 กม. ทั้งนี้ SCB เป็นผู้ให้กู้เบื้องต้น 4,000 ล้านเหรียญสหรัฐ สำหรับสนับสนุนการดำเนินงานปัจจุบันทั้งศึกษาและจ้างที่ปรึกษา [7]
การลงทุนข้ามพรมแดนในโครงการย่อยต่างๆ
การลงทุนโครงการท่าเรือและนิคมฯทวาย ถือเป็นการลงทุนในต่างประเทศของนักลงทุนไทย หรือ Offshore Investment ซึ่งเป็นแนวนโยบายที่รัฐบาลไทยส่งเสริมและสนับสนุนมาตลอด และยิ่งให้ความสำคัญมากขึ้น เพราะเป็นส่วนหนึ่งของการนำรายได้เข้าประเทศ จะส่งผลดีต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ เช่นเดียวกับประเทศที่มีความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจอื่นๆ เช่น ญี่ปุ่น จีน ก็สนับสนุนให้มีโครงการลงทุนในต่างประเทศเช่นกัน ดังนั้น การลงทุนในโครงการย่อยต่างๆ ในโครงการนิคมอุตสาหกรรมทวาย จึงเป็นการร่วมลงทุนของนักลงทุนรายใหญ่จากหลากหลายประเทศ ดังที่จะนำเสนอรายละเอียดของโครงการย่อยที่สำคัญ ดังนี้
โครงการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกและถนน มูลค่าเงินลงทุน 3,500 ล้านเหรียญสหรัฐ ที่ได้รับการสนับสนุนเงินกู้จากธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่ง ญี่ปุ่น (เจบิก) 3,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ระยะ 20 ปี อัตราดอกเบี้ย 12.3% ผ่านธนาคารขนาดใหญ่ของไทย คือ ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารกรุงไทย และธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย [8]
โครงการท่าเรือดังกล่าว DDC ถือหุ้นทั้งหมด มีพื้นที่ 6,000 ไร่ ขณะนี้ตั้งบริษัทลูกแล้ว โดยการแปลงที่ดินเป็นทุนและอยู่ระหว่างการหาผู้ร่วมทุน คาดว่าจะเป็นญี่ปุ่น โดยมีต่างชาติ 3 รายแสดงความสนใจเข้ามาแล้ว ส่วนโครงการสร้างรถไฟ มูลค่า 2,000 ล้านเหรียญสหรัฐ DDC กำลังตัดสินใจว่าจะกู้เงินจากจีนหรือญี่ปุ่น [9]
โครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินขนาด 4 พันเมกะวัตต์ พื้นที่ 2,300 ไร่ มูลค่า 1 หมื่นล้านดอลลาร์ จะส่งเข้ามาจำหน่ายในไทยประมาณ 3,600 เมกะวัตต์ ส่วนที่เหลือใช้ในพม่า [10] ล่าสุดบริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายใหญ่ของประเทศไทย ยืนยันจะร่วมถือหุ้น 30% เพื่อลงทุนโรงไฟฟ้า DDC ถือหุ้น 40 % ที่เหลือเป็นผู้ร่วมทุนเชิงกลยุทธ์ที่คาดว่าจะเป็นญี่ปุ่น [11] ส่วนแหล่งถ่านหิน จะนำมาจากเกาะสุมาตราในอินโดนีเซีย [12]
นายนพพล มิลินทางกูร กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง(RATCH) กล่าวว่า ในระยะแรกบริษัทจะลงทุนก่อสร้างโรงไฟฟ้า SPP ขนาดโรงละ 130 เมกะวัตต์ รวม 3 โรง หรือราว 400 เมกะวัตต์ เพื่อจำหน่ายภายในนิคมฯ โดยคาดว่าจะผลิตเชิงพาณิชย์ได้ปี 57 ใช้ถ่านหินเป็นพลังงาน ดังนั้น บริษัทคาดว่าธุรกิจการจัดหาถ่านหินและท่าเทียบเรือในอนาคตน่าจะมีความร่วม มือกันเพิ่มเติม [13]
ส่วนโครงการก่อสร้างโรงเหล็กขนาดใหญ่ 1.3 หมื่นไร่ มีการจดทะเบียนจัดตั้งแล้วเช่นกัน [14] โดยการแปลงที่ดินเป็นทุน และมีบริษัทผู้ผลิตเหล็กชั้นนำของโลกสนใจเข้าร่วมทุนหลายราย อาทิ กลุ่ม Posco จากเกาหลี กลุ่ม Mittal จากอินเดีย และกลุ่ม Nippon Steel จากญี่ปุ่น ปัจจุบัน อยู่ในระหว่างการเจรจารายละเอียด [15]
ขณะที่โครงการก่อสร้างปิโตรเคมี คอมเพล็กซ์ กำลังเจรจากับนักลงทุนหลายราย เช่น กลุ่มมิตซูบิชิ กลุ่มโตโย กลุ่มโตคิว รวมทั้งบริษัทในคูเวต และกาตาร์ การก่อสร้างโรงงานต่างๆ จะแล้วเสร็จและเปิดดำเนินการภายใน 3 ปี นับจากเดือนม.ค. 2555 [16] เช่นเดียวกับบริษัทร่วมทุนโรงกลั่นน้ำมันและก๊าซ ประมาณ 4,000-5,000 ไร่ ก็เริ่มมีบริษัทสนใจแล้วเช่นกัน [17]
นายเทวินทร์ วงศ์วานิช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารการเงิน บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) บริษัทพลังงานที่ใหญ่ที่สุดของประเทศไทย เปิดเผยกับสื่อมวลชนว่า “ปตท.สนใจการลงทุนในพม่า เพราะมีศักยภาพด้านพลังงานน้ำและถ่านหิน รวมถึงพม่ากำลังมีโครงการนิคมอุตสาหกรรมทวาย ที่จะมีการลงทุนในท่าเรือน้ำลึก ขนส่งทางถนน ขนส่งทางท่อ และโรงไฟฟ้า โดยจะมีรูปแบบการลงทุนเช่นเดียวกับโครงการเซาท์เทิร์นซีบอร์ดของไทย ซึ่ง ปตท.สนใจลงทุนเกี่ยวกับธุรกิจพลังงานในนิคมเหล่านี้” [18]
นายสมเจตน์ ทิณพงษ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ทวาย ดีเวล้อปเมนท์ จำกัด เจ้าของโครงการย้ำว่า สิ่งที่รัฐบาลไทยควรเร่งจัดหาเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำให้นักลงทุนไทย ที่ต้องการลงทุนโครงการในนิคมฯทวาย และการให้สิทธิประโยชน์หรือการส่งเสริมการลงทุน ซึ่งคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนหรือบีโอไอ ต้องเร่งออกกฎหมาย เพื่อให้นักลงทุนไทยสามารถลงทุนในต่างประเทศได้ดียิ่งขึ้น [19]

ท่าเรือชั่วคราวเพื่อใช้ในการขนส่งระหว่างก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกและนิคมอุตสาหกรรมทวาย
ยุทธศาสตร์โลจิสติกส์ของภูมิภาค
นายเปรมชัย กรรณสูตร ประธานกรรมการบริหารบริษัท อิตาเลี่ยนไทย ดีเวลล็อปเมนท์ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยถึงการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกทวายและนิคมอุตสาหกรรมว่า โครงการดังกล่าวคิดและพัฒนาโดยประเทศญี่ปุ่น เรียกว่า GMS southern corridor เพื่อเชื่อมโยงการพัฒนาประเทศในภูมิภาคเอเชีย ทั้งประเทศจีน เวียดนาม สปป.สาว และ กัมพูชา นายเปรมชัยเชื่อว่า โครงการที่เรือนำลึกทวายจะเป็นฮับคอนเทนเนอร์ ที่สามารถกระจายสินค้าไปยังภูมิภาคต่างๆได้ เช่น ประเทศอินเดีย บังคลาเทศ จนถึงแอฟริกาใต้ได้ ซึ่งสามารถประหยัดเวลา 4-5 วัน จากเดิมที่ต้องผ่านประเทศสิงคโปร์ [20]
นายเปรมชัย กรรณสูต ประธานบริหาร บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า สาเหตุที่เลือกเขตพื้นที่ทวายเป็นเขตนิคมอุตสาหกรรม คือ ระบบคมนาคมทางถนนจากกรุงเทพมหานครมายังเขตทวายมีระยะทางประมาณ 300 กิโลเมตร ซึ่งใช้ระยะเวลาในการเดินทางประมาณ 2 ชั่วโมง ซึ่งสอดคล้องกับแผนการพัฒนาระบบทางของรัฐบาล และมีพื้นที่เพื่อสร้างเขื่อนอ่างเก็บน้ำ บริเวณแม่น้ำทวาย รองรับน้ำได้ถึง 400 ล้านลิตร สามารถใช้ได้ทั้งปี [21]
ประเทศไทยจะมีเส้นทางขนส่งออกสู่ทะเลอันดามันเพิ่มขึ้น โดยระยะเวลาการขนส่งจะลดลง เพราะพม่าจะก่อสร้างถนนจากท่าเรือผ่านนิคมฯทวายมายังบ้านพุน้ำร้อน จ.กาญจนบุรี สอดรับกับแผนงานของกรมทางหลวง ซึ่งมีแผนก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหรือมอเตอร์เวย์จากบาง ใหญ่-นครปฐม-กาญจนบุรี เชื่อมต่อกับเส้นทางดังกล่าว และเส้นทางนี้สามารถเชื่อมต่อไปยังกัมพูชา ผ่านเมืองศรีโสภณ เสียมเรียบ พนมเปญ และเชื่อมต่อไปยังเวียดนาม โดยผ่านโฮจิมินห์ เพื่อออกสู่มหาสมุทรแปซิฟิก [22]
นายสมเจตน์ ทิณพงษ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ทวาย ดีเวลล็อปเมนท์ จำกัด ย้ำว่าสิ่งที่รัฐบาลไทยควรเร่งดำเนินการคือ ผลักดันโครงการก่อสร้างมอเตอร์เวย์บางใหญ่-นครปฐม-กาญจนบุรี เพื่อเชื่อมต่อไปยังท่าเรือและนิคมฯทวาย สร้างระบบโลจิสติกส์รองรับการค้าการลงทุนและการขนส่งในอนาคต [23]
ล่าสุด นายวันชัย ภาคลักษณ์ อธิบดีกรมทางหลวง เปิดเผยกับสื่อมวลชนว่า กรมทางหลวงได้สำรวจและออกแบบรายละเอียดโครงการ โดยแล้วเสร็จตั้งแต่ปี 2552 และคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติได้ให้ความเห็นชอบรายงานผลกระทบสิ่งแวด ล้อมในช่วงบางใหญ่-บ้านโป่ง ตั้งแต่ปี 2541 ส่วนช่วงบ้านโป่ง-กาญจนบุรี ได้รับความเห็นชอบตั้งแต่ปี 2546 ปัจจุบันกรมทางหลวง อยู่ระหว่างศึกษาแนวทางและรูปแบบการลงทุนโครงการในรูปแบบ Public Private Partnership หรือ PPPs โดยให้เอกชนร่วมลงทุน ซึ่งได้รับการสนับสนุนด้านวิชาการในการศึกษาจากธนาคารพัฒนาเอเชียหรือเอดีบี คาดว่าผลการศึกษาจะแล้วเสร็จภายในปี 2555 [24]
ทั้งนี้ เพื่อให้การเชื่อมต่อมอเตอร์เวย์สายบางใหญ่-นครปฐม-กาญจนบุรี สามารถเชื่อมต่อไปถึงชายแดนพม่าได้ นายวันชัย ภาคลักษณ์ อธิบดีกรมทางหลวง ระบุว่า กรมทางหลวงได้จ้างบริษัทศึกษาความเหมาะสมทางด้านเศรษฐกิจ วิศวกรรม และผลกระทบสิ่งแวดล้อมโครงการมอเตอร์เวย์สายกาญจนบุรี-ชายแดนไทย-พม่า ที่บ้านพุน้ำร้อน ระยะทางประมาณ 70 กม. ตามที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณปี 2555 คาดว่าจะใช้เวลาศึกษาประมาณ 1 ปี
ผลกระทบในมุมมองของผู้ลงทุน
นายเปรมชัย กรรณสูต ประธานบริหาร บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) กล่าวถึงผลกระทบในด้านบวกจากโครงการดังกล่าวว่า โครงการท่าเรือน้ำลึกและนิคมอุตสาหกรรมทวายมีแผนการสร้างที่อยู่อาศัยภายใน โครงการกว่า 2 แสนยูนิต สำหรับประชากร 2 ล้านคน ซึ่งหากโครงการแล้วเสร็จท่าเรือน้ำลึกทวายและนิคมอุตสาหกรรม จะสามารถรองรับแรงงานได้ถึง 6 แสนคน [25]
อย่างไรก็ตาม นายสมเจตน์ ทิณพงษ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ทวาย ดีเวล้อปเมนท์ จำกัด ได้ชี้ให้เห็นข้อควรระวังของการลงทุนในพม่าว่า การลงทุนจะต้องไม่มีผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นประเด็นที่รัฐบาลและประชาชนพม่าให้ความสำคัญมาก นักลงทุนจึงต้องดำเนินการตามกฎระเบียบและกติกาต่างๆ อย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะการลงทุนอุตสาหกรรมหนัก แม้ต้องใช้เวลาเพิ่มขึ้นก็ตาม จะเห็นว่าที่ผ่านมาพม่าสั่งระงับโครงการก่อสร้างเขื่อนมูลค่า 1.2 แสนล้านบาทในแม่น้ำอิระวดี เป็นโครงการที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลจีน เพราะการสร้างเขื่อนจะมีผลต่อกระแสน้ำในแม่น้ำอิระวดี จึงได้รับการต่อต้านจากประชาชนที่ได้รับผลกระทบ เพราะฉะนั้น นายสมเจตน์จึงย้ำว่า นักลงทุนและบริษัทจะต้องทำตามกติกาโลก เช่น กลุ่ม Posco ของเกาหลีใช้เวลากว่า 7 ปี กว่าจะได้ก่อสร้างโรงงานเหล็กในนิคมฯโอริสสาของประเทศอินเดีย [26]
ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับทวาย
ทวายหรือ Dawei (เดิมเรียกว่า Tavoy) ในภาษาอังกฤษเป็นเมืองหลวงของแคว้นตะนาวศรี (หรือ Tanintharyi region) ในประเทศพม่า มีจำนวนประชากรราว 5 แสนคน มีกลุ่มชาติพันธุ์หลายกลุ่มได้แก่ ทวาย มอญ กระเหรี่ยง และอื่นๆ ภาษาหลักที่ใช้คือ ภาษาทวาย [27]
พื้นที่ที่เป็นที่ตั้งของนิคมอุตสาหกรรมเรียกว่า Nabule แขวง Yebyu เขตเมืองทวาย ในพื้นที่ 250 ตร.กม. ที่มาทำเป็นนิคมอุตสาหกรรม จะต้องเวนคืนที่ดินและอพยพประชาชนกว่า 20 หมู่บ้าน ประมาณ 4,000 หลังคาเรือน และมีจำนวนประชากรที่จะต้องอพยพประมาณ 32,000 คน ประชาชนเหล่านี้ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมและประมง เช่น สวนผลไม้ สวนยาง คล้ายกับภาคใต้ของประเทศไทย
ประชาชนในพื้นที่อพยพส่วนใหญ่ทราบเรื่องที่จะต้องอพยพออกจากพื้นที่ แต่จากการบอกเล่าของผู้แทนประชาชนจากประเทศพม่าที่มาประชุมในประเทศไทย เมื่อเดือนธ.ค. 2554 ที่ผ่านมา พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ยังไม่ทราบเรื่องการจ่ายค่าชดเชย และความพร้อมของสถานที่รองรับการอพยพ
ขณะเดียวกัน ประชาชนและภาคประชาสังคมในพม่าก็เริ่มแสดงความห่วงกังวลกับผลกระทบทางสิ่ง แวดล้อมและสุขภาพที่จะเกิดขึ้นจากโครงการนี้ และเรียกร้องให้มีการประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและสังคมตามาตรฐานสากล และผ่านกระบวนการปรึกษาหารือกับประชาชนในพื้นที่ [28]

ผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้น
การสร้างนิคมอุตสาหกรรมขนาดใหญ่มักจะก่อให้เกิดผลกระทบในหลายด้าน เพื่อที่จะช่วยชี้ให้เห็นถึงผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นจากการพัฒนานิคม อุตสาหกรรมทวาย ผู้เขียนจึงได้จำลองอัตราของผลกระทบแต่ละด้านเมื่อเทียบกับพื้นที่และขนาด การผลิต โดยเทียบเคียงจากเทคโนโลยีที่ใช้ในการผลิตและการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมมาบตา พุด
ดังนั้น การประมาณการณ์ผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นในบทความนี้จึงเป็นการประมาณอย่าง คร่าวๆ เพื่อจุดประเด็นและจุดประกายให้เห็นถึงความสำคัญในการประเมินผลกระทบทาง สุขภาพในเชิงยุทธศาสตร์อย่างจริงจัง ก่อนที่จะพัฒนาโครงการย่อยต่างๆ ตามที่บริษัทเจ้าของโครงการได้วางแผนไว้ เพื่อป้องกันมิให้เกิดผลกระทบเช่นเดียวกับที่ประชาชนในเขตนิคมอุตสาหกรรมมาบ ตาพุด (ซึ่งมีพื้นที่เล็กกว่านิคมอุตสาหกรรมทวายมาก) ต้องแบกรับมาเป็นเวลานาน
1) การปล่อยก๊าซเรือนกระจก
การก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินขนาดใหญ่ ในเขตนิคมอุตสาหกรรมทวาย ย่อมส่งผลกระทบทางลบอย่างมากต่อการปล่อยก๊าซเรือนกระจก อันเป็นต้นเหตุของการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลก เพราะถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงที่เมื่อเผาไหม้แล้วจะปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศมากกว่าเชื้อเพลิงอื่นๆ
ทั้งนี้ ประมาณการณ์ในเบื้องต้นว่า เมื่อโรงไฟฟ้าถ่านหินแห่งนี้เดินเครื่องเต็มกำลังการผลิต 4,000 เมกะวัตต์แล้ว โรงไฟฟ้าแห่งนี้จะปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากถึง 30 ล้านตัน/ปี[29] ซึ่งเป็นปริมาณที่มากกว่าการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของประเทศพม่าทั้ง ประเทศในปีพ.ศ. 2551 ถึง 2 เท่า (ปีพ.ศ. 2551 ประเทศพม่าปล่อยก๊าซเรือนกระจก 12.8 ล้านตันเทียบเท่าคาร์บอนไดออกไซด์/ปี[30]) และเนื่องจากประมาณร้อยละ 90 ของไฟฟ้าที่ผลิตได้จะถูกส่งมายังประเทศไทย โครงการนี้จึงเป็นตัวอย่างที่ชัดเจนของการผลักภาระทางด้านสิ่งแวดล้อมให้กับ ประเทศเพื่อนบ้าน
ทั้งนี้ ยังไม่รวมถึงการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากอุตสาหกรรมอื่นๆ ที่ใช้พลังงานเข้มข้นและเป็นต้นเหตุหลักของก๊าซปล่อยก๊าซเรือนกระจก เช่น อุตสาหกรรมถลุงเหล็ก อุตสาหกรรมผลิตปุ๋ยเคมี และอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ดังนั้น จึงมีความเป็นไปได้สูงว่า ประเทศพม่าจะมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 4-5 เท่าของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปัจจุบัน ภายหลังจากการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมทวายเต็มรูปแบบ
2) มลภาวะทางอากาศ
นอกเหนือจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจกแล้ว การพัฒนานิคมอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ยังนำมาซึ่งการปลดปล่อยมลสารหลายชนิดที่กลาย เป็นมลภาวะทางอากาศด้วย หากเทียบเคียงจากประสบการณ์ในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด การพัฒนาพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ถึง 194 ตร.กม.[31] ในเขตทวาย อาจนำไปสู่การปล่อยก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ได้มากถึง 442,560 ตัน/ปี[32] ก๊าซออกไซด์ของไนโตรเจนได้มากถึง 354,000 ตัน/ปี[33] และฝุ่นละอองขนาดเล็กอีกไม่น้อยกว่า 88,500 ตัน/ปี[34]
ทั้งนี้ ยังไม่นับรวมถึงการปล่อยมลสารของโรงไฟฟ้าถ่านหิน 4,000 เมกะวัตต์ ซึ่งในการเผาไหม้ถ่านหินประมาณ 11 ล้านตัน/ปี ก็อาจจะปล่อยก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ได้มากถึง 118,000 ตัน/ปี ก๊าซออกไซด์ของไนโตรเจนได้มากถึง 119,000 ตัน/ปี รวมทั้ง ฝุ่นละอองขนาดเล็กอีกไม่น้อยกว่า 10,300 ตัน/ปี[35]
การเพิ่มขึ้นของมลสารที่เป็นต้นเหตุของภาวะฝนกรดประมาณ 1 ล้านตัน/ปี และฝุ่นละอองขนาดเล็กอีกกว่า 1 แสนตัน/ปี จะกลายเป็นแรงกดดันสำคัญให้เกิดปัญหามลภาวะทางอากาศขึ้นในพื้นที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ด้วยสภาพภูมิประเทศของทวายที่มีเทือกเขาตะนาวศรีเป็นภูเขาสูงขนาบทางทิศ ตะวันออก ทำให้สภาพมลภาวะทางอากาศสะสมอยู่ในพื้นที่ และอาจจะส่งผลกระทบทางลบอย่างมาก ทั้งต่อการทำการเกษตรและสุขภาพของประชาชนในพื้นที่
นอกจากมลสารที่ทำให้เกิดฝนกรดแล้ว การปล่อยมลสารประเภทโลหะหนักเช่น ปรอท จากโรงไฟฟ้าถ่านหิน ซึ่งอาจจะมีปริมาณสูงถึง 10,000 กิโลกรัมในแต่ละปี โลหะหนักเหล่านี้จะถูกฝนชะล้างลงสู่แหล่งน้ำ และสะสมในสัตว์น้ำและในห่วงโซ่อาหาร เมื่อมนุษย์นำสัตว์น้ำมาบริโภคก็จะส่งผลกระทบต่อการพัฒนาการทางสมอง โดยเฉพาะของเด็ก และทารกในครรภ์
สิ่งหนึ่งซึ่งเป็นห่วงสำหรับการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมขนาดใหญ่เช่นนี้คือ การกำหนดและการรักษาพื้นที่กันชนระหว่างเขตอุตสาหกรรมกับเขตชุมชน (หรือ buffer zone) เพื่อป้องกันมลพิษทางอากาศและอุบัติสารเคมี ดังเช่นที่ทราบกันดีในกรณีของนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดว่า เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงพื้นที่กันชนไปเป็นพื้นที่อุตสาหกรรม และพื้นที่อุตสาหกรรมก็ขยายมาติดพื้นที่ชุมชน จนทำให้มลพิษคุกคามชุมชนโดยตรง และต้องมีการย้ายโรงเรียนและโรงพยาบาลในที่สุด ส่วนในกรณีของนิคมอุตสาหกรรมทวาย จากการศึกษาแผนแม่บทของบริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) ยังไม่ปรากฏพบการจัดเตรียมพื้นที่กันชนไว้แต่อย่างใด

ถนนจากบริเวณชายแดนจ.กาญจนบุรี ไปยังทวาย ประเทศพม่า
3) ทรัพยากรน้ำ
แรงกดดันทางด้านทรัพยากรน้ำ จะเกิดขึ้นทั้งจากความต้องการใช้น้ำของภาคอุตสาหกรรมที่เพิ่มขึ้น การปล่อยมลสารลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ รวมถึงจากมลภาวะทางอากาศที่ถูกฝนชะล้างลงสู่แหล่งน้ำด้วย และภาวะการขาดแคลนน้ำในแง่ของนิคมอุตสาหกรรม หากนิคมอุตสาหกรรมทวายมีการเติบโตเต็มพื้นที่ 194 ตร.กม. ตามแผนที่วางไว้ ก็อาจจะมีความต้องการน้ำจืดสูงถึง 5.9 ล้านลบ.ม./วัน [36] หรือประมาณ 2,150 ล้านลบ.ม./ปี เพราะฉะนั้น อ่างเก็บน้ำขนาด 400-500 ล้านลบ.ม. ที่บริษัท ทวาย ดีเวลล็อปเมนท์ จำกัด วางแผนก่อสร้างไว้จึงยังคงไม่เพียงพอ และคงต้องมีการสร้างแหล่งกักเก็บน้ำขนาดใหญ่อื่นๆ อีกไม่น้อยกว่า 2 แห่ง การสร้างเขื่อนหรืออ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ในพื้นที่รอบๆ ก็จะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ระบบนิเวศ และสังคมตามมา นอกจากนั้น ยังอาจเกิดปัญหาการขาดแคลนน้ำในบางช่วงเวลาด้วย
ในส่วนของน้ำเสีย หากเทียบเคียงจากอัตราการปล่อยน้ำเสียที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด นิคมอุตสาหกรรมทวายที่มีขนาดใหญ่กว่าก็จะปล่อยน้ำเสียมากถึง 1.5 ล้านลบ.ม./วัน หรือประมาณ 550 ล้านลบ.ม./ปี เมื่อรวมกับความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะฝนกรดจากมลภาวะทางอากาศที่ได้กล่าวไป แล้วข้างต้น ผลกระทบทางด้านคุณภาพน้ำก็นับเป็นความเสี่ยงสำคัญที่ต้องมีการประเมินและ ศึกษาให้รอบคอบก่อนที่จะดำเนินโครงการจริง
ประกอบกับสภาพภูมิศาสตร์ที่พื้นที่นิคมอุตสาหกรรมทวายแห่งนี้จะตั้งอยู่ ทางตอนเหนือของเมืองทวาย ฉะนั้น หากเกิดภาวะน้ำเสีย หรือโลหะหนักปนเปื้อน หรือภาวะน้ำขาดแคลนจะส่งผลกระทบอย่างมากต่อสุขภาพและคุณภาพชีวิตของประชาชน ในเมืองทวาย ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับทรัพยากรน้ำในพื้นที่จึงเป็นประเด็นปัญหาที่จะต้อง ให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก
นอกเหนือแหล่งน้ำจืดแล้ว โรงไฟฟ้าถ่านหินยังมีการนำน้ำทะเลเข้ามาใช้ในการหล่อเย็นอีกไม่น้อยกว่า 20 ล้าน ลบ.ม. ต่อวัน หรือประมาณ 6,700 ล้านลบ.ม./ปี [37] แม้ว่า การนำน้ำทะเลเข้ามาใช้ในการหล่อเย็นจะไม่ทำให้เกิดปัญหาการขาดแคลนน้ำ แต่ก็อาจส่งผลกระทบต่อทรัพยากรประมงทางชายฝั่ง ซึ่งเป็นฐานทรัพยากรหลักของอาชีพประมงได้เช่นกัน
4) กากของเสีย
ผลกระทบอีกประการหนึ่งที่ติดตามมาอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้คือ กากของเสียจำนวนมหาศาลจากภาคอุตสาหกรรม โดยในการเผาไหม้ถ่านหินของโรงไฟฟ้าถ่านหินขนาด 4,000 เมกะวัตต์ จะทำให้เกิดเถ้าถ่านหินถึงประมาณ 1.3 ล้านตัน/ปี นิคมอุตสาหกรรมขนาด 194 ตร.กม. จะทำให้เกิดกากของเสียอุตสาหกรรมถึง 757,000 ตัน/ปี [38] และมีกากของเสียอันตรายที่จะต้องกำจัดอีกประมาณ 45 ตัน/ปี[39] นอกจากนั้น ยังมีของเสียครัวเรือนในพื้นที่พักอาศัยอีกไม่น้อยกว่า 101,000 ตันต่อปี[40] รวมแล้วมีกากของเสียที่จะต้องจัดการไม่น้อยกว่า 2 ล้านตันในแต่ละปี
หากการจัดการกากของเสียไม่เป็นไปอย่างรอบคอบ และเข้มงวด ก็จะเกิดการลักลอบทิ้งกากของเสีย และเกิดการปนเปื้อนสู่สิ่งแวดล้อม เช่นน้ำใต้ดิน ดังที่เคยเกิดขึ้นในพื้นที่อุตสาหกรรมมาบตาพุด
5) ผลกระทบต่อชุมชนและวิถีชีวิต
จากที่กล่าวมาแล้วข้างต้น การเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินขนาดใหญ่จะส่งผลกระทบโดยตรงกับชุมชนไม่น้อยกว่า 20 หมูบ้าน และประชากรกว่า 32,000 คน ที่จะต้องโยกย้ายถิ่นฐาน และเริ่มต้นอาชีพเกษตรกรรมในพื้นที่ใหม่ โดยเฉพาะชาวสวนที่ต้องใช้เวลาหลายปีกว่าที่ต้นไม้จะให้ผลผลิตที่เป็นราย ได้แก่ครัวเรือน
นอกจากนั้น การพัฒนานิคมอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ยังอาจส่งผลกระทบกับชุมชนที่อยู่รอบๆ นิคม ทั้งโดยตรง (เช่น มลภาวะทางอากาศและมลภาวะทางน้ำ) และทางอ้อม (เช่น การขาดแคลนทรัพยากรน้ำ การปนเปื้อนของมลสารในห่วงโซ่อาหาร ความแตกต่างทางวัฒนธรรมของประชากรในพื้นที่กับประชากรที่อพยพเข้ามา และความไม่เพียงพอของบริการสาธารณะในพื้นที่) ทั้งยังอาจส่งผลกระทบต่อเนื่องถึงเมืองทวายที่อยู่ทางตอนล่างด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะหากเกิดความเสื่อมโทรมของทรัพยากรน้ำในลุ่มน้ำทวาย

จุดก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกทวาย
6) ผลกระทบในฝั่งประเทศไทย
แน่นอนว่า เนื่องจากนิคมอุตสาหกรรมนั้นตั้งขึ้นที่ชายฝั่งประเทศพม่า ประกอบกับพรมแดนระหว่างประเทศไทยกับพม่าในบริเวณนี้ มีเทือกเขาตะนาวศรีเป็นภูเขาสูงกั้นอยู่ ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับทางฝั่งไทยจึงน้อยมาก เมื่อเทียบกับที่ประชาชนชาวพม่าที่จะต้องกลายเป็นผู้แบกรับความเสี่ยงที่จะ เกิดผลกระทบทางลบขึ้นในพื้นที่
อย่างไรก็ดี การสร้างเส้นทางคมนาคมขนส่งขนาดใหญ่ทั้งถนน ทางรถไฟ ท่อน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ และสายส่งไฟฟ้าแรงสูงพาดจากกรุงเทพ ผ่านนครปฐม กาญจนบุรี ไปยังทวาย ก็ทำให้มีผู้ห่วงกังวลกับผลกระทบที่จะเกิดขึ้นในฝั่งไทยอย่างน้อย 2 ประเด็นด้วยกันคือ
•       การตัดขาดพื้นที่ผืนป่าตะวันตก ที่เคยเป็นป่าที่อุดมสมบูรณ์ทอดยาวจากอ.อุ้มผาง จ.ตาก ไปจนถึงเขตอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน จ.เพชรบุรี ด้วยเส้นทางขนส่งขนาดใหญ่ ทำให้ความสมบูรณ์ของทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่าอาจลดน้อยลงไป
•       แนวทางหลวงใหม่ที่จะตัดผ่านจากบางใหญ่ไปจนถึงนครปฐม อาจกั้นขวางเส้นทางการไหลของน้ำในพื้นที่ทุ่งพระพิมลในยามที่น้ำหลาก และกลายเป็นอุปสรรคสำคัญสำหรับการจัดการน้ำในช่วงที่มีน้ำมากหรือเกิด อุทกภัย
สรุปและข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย
 เนื่องจากโครงการท่าเรือน้ำลึกและนิคมอุตสาหกรรมทวายเป็นโครงการขนาด ใหญ่ ที่มีประเทศผู้ลงทุนและผู้ได้รับผลประโยชน์ในหลายประเทศ ขณะเดียวกัน ก็เป็นโครงการที่มีโครงการย่อยๆ หลายโครงการ ซึ่งอาจสร้างผลกระทบทางลบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชนเป็นอย่างมาก เช่นกัน การเติบโตและความเชื่อมโยงของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนจึงไม่ควรมุ่งหวังแต่ผล ประโยชน์ทางเศรษฐกิจ และเพิกเฉยต่อข้อห่วงกังวลของประชาชน รวมถึงไม่ควรละเลยความเสี่ยงต่างๆ ที่อาจจะเกิดผลกระทบทางลบขึ้นในพื้นที่
ดังนั้น ก่อนที่จะดำเนินโครงการนี้ในลำดับต่อไป ผู้ลงทุนและรัฐบาลทุกประเทศที่เกี่ยวข้องกับโครงการนี้ โดยเฉพาะรัฐบาลและผู้ลงทุนจากประเทศไทย ซึ่งมีบทเรียนที่ชัดเจนเกี่ยวกับปัญหามลภาวะและสุขภาพที่มาบตาพุด จึงควรให้ความสำคัญกับการประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ โดยในเบื้องต้น ผู้เขียนจะขอเสนอแนะแนวทางเบื้องต้นดังต่อไปนี้
1) การประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของโครงการนี้ จะต้องกระทำในลักษณะของการประเมินผลกระทบทางยุทธศาสตร์หรือ Strategic Environmental Assessment (SEA) มิใช่การประเมินผลกระทบเป็นรายโครงการย่อย เนื่องจากการประเมินผลกระทบเป็นรายโครงการย่อยจะแยกส่วน และมองไม่เห็นผลกระทบสะสมหรือผลกระทบภาพรวม (หรือ cumulative impacts) ที่เกิดขึ้นจากโครงการทั้งหมด ที่มีต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชนในพื้นที่เลย การประเมินผลกระทบทางยุทธศาสตร์ที่ดีจะช่วยให้เกิดการปรับปรุงแผนแม่บทของ โครงการนี้ (รวมถึงการเลือกโครงการย่อยต่างๆ) ให้สอดคล้องกับสภาพทรัพยากร ระบบนิเวศ และระบบวัฒนธรรมของพื้นที่ได้
2) การศึกษาเรื่องขีดความสามารถของทรัพยากรในการรองรับการขยายตัวทาง เศรษฐกิจ และขีดความสามารถในการรองรับมลพิษ (หรือ Carrying capacity) ทั้งทางทรัพยากรที่ดิน ทรัพยากรน้ำ คุณภาพอากาศ และทรัพยากรป่าไม้ เป็นสิ่งที่มีความสำคัญมาก ในการวางแผนและประเมินผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับประชาชนในพื้นที่ มิฉะนั้น จะเกิดปัญหาที่ตามมา คือ มีความต้องการใช้ทรัพยากร และมีการปล่อยมลสาร จนเกินกว่าขีดความสามารถที่จะรองรับได้ ดังเช่นที่เคยเกิดขึ้นที่มาบตาพุด
3) เพื่อมิให้ประชาชนในพื้นที่เสียโอกาสในการพัฒนาที่ยั่งยืน การประเมินผลกระทบต่างๆ ทั้งการประเมินผลกระทบในระดับยุทธศาสตร์ และการประเมินผลกระทบในโครงการย่อยควรพิจารณาแนวทางเลือกต่างๆ ที่มีอยู่ให้รอบด้าน ตั้งแต่การเลือกพื้นที่โครงการ การเลือกประเภทของอุตสาหกรรม (เช่นอุตสาหกรรมเหล็ก หรืออุตสาหกรรมอาหาร) การเลือกเทคโนโลยีที่ใช้ (เช่น โรงไฟฟ้าถ่านหิน หรือโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน) มิใช่เป็นการประเมินผลกระทบตามกรอบของแผนแม่บทหรือแนวทางที่เจ้าของโครงการ พัฒนาขึ้นแต่เพียงด้านเดียว

4)  การดำเนินโครงการย่อยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับประเทศไทย หรือที่เป็นประเทศไทยเป็นผู้รับประโยชน์โดยตรง เช่น โครงการโรงไฟฟ้าถ่านหิน ควรเป็นไปตามมาตรฐานเดียวกับที่ถือปฏิบัติในประเทศไทยเช่น มีการประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและสุขภาพที่เปิดให้ประชาชนในพื้นที่เข้า ถึงข้อมูลและนำเสนอความคิดเห็นได้โดยตรง เพื่อป้องกันมิให้เกิดผลกระทบทางลบกับประชาชนในประเทศเพื่อนบ้าน จากโครงการที่ทำขึ้นเพื่อผลประโยชน์ของประเทศไทย
5) การประเมินผลกระทบจะต้องพิจารณาถึงผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม ทางสังคม และทางสุขภาพที่จะเกิดขึ้น จากการอพยพโยกย้ายของประชาชน ทั้งการโยกย้ายประชาชนในพื้นที่เดิม และการอพยพของแรงงานและสมาชิกในครัวเรือนเข้ามาทำงานในนิคมอุตสาหกรรม โดยจะต้องมีแผนพัฒนาชุมชนที่สอดคล้องกับระบบนิเวศและระบบวัฒนธรรม รวมถึงวิถีการดำเนินชีวิตสำหรับประชากรทั้งสองกลุ่ม ขณะเดียวกัน ก็ต้องเตรียมแผนป้องกันผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นจากมลภาวะและอุบัติภัยที่ ชัดเจน และควรมีการกำหนดพื้นที่กันชนระหว่างนิคมอุตสาหกรรมและพื้นที่ชุมชนให้ ชัดเจน
6) เพื่อให้การประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม สังคม และสุขภาพตามข้อ 5) เป็นไปอย่างถูกต้องและรัดกุม รวมถึงสามารถให้ประชาชนได้เข้าถึงและนำเสนอข้อมูล ความคิดเห็นต่างๆ ตามข้อ 4) เจ้าของโครงการจะต้องเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับโครงการ ทั้งในภาพรวมและในแต่ละโครงการย่อย โดยข้อมูลที่เปิดเผยจะต้องครอบคลุมถึงความเสี่ยงและผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม สังคม และสุขภาพที่จะเกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการดังกล่าวด้วย
7) ภาคประชาชนในพื้นที่และภาคประชาสังคมในพม่าจะมีบทบาทสำคัญในการผลัก ดันข้อห่วงกังวลและข้อเสนอแนะต่างๆ ให้แปลงเป็นรูปธรรมในการดำเนินการที่จะคุ้มครองและสร้างเสริมสุขภาพของ ประชาชนในพม่า ภาคประชาชนในพื้นที่จึงควรศึกษาและเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับวิถีชีวิตและความ ห่วงกังวลของประชาชนในพื้นที่ รวมถึงความมุ่งหวังและทางเลือกในการพัฒนาของประชาชนในพื้นที่ เพื่อให้ประชาคมอาเซียนได้รับทราบ และร่วมกันสนับสนุนแนวทางการพัฒนาที่จะเอื้อต่อการมีสุขภาพที่ดีของประชาชน ในทุกๆ ประเทศ และทุกๆ พื้นที่ โดยอาจดำเนินการในลักษณะของการประเมินผลกระทบทางสุขภาพโดยชุมชน (หรือ Community HIA) ที่มีการดำเนินการในประเทศไทย ในการนี้ ภาคประชาชนและภาคประชาสังคมในประเทศไทย ซึ่งมีประสบการณ์ในการพยายามแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมและสุขภาพมาเป็นเวลากว่า สองทศวรรษแล้ว จะมีส่วนสำคัญในการแลกเปลี่ยนบทเรียนและประสบการณ์กับภาคประชาชนในพื้นที่ และภาคประชาสังคมในพม่า
8) การดำเนินโครงการขนาดใหญ่เช่นนี้อาจส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและ สุขภาพในระยะยาว หน่วยงานของรัฐบาลกลางและหน่วยงานท้องถิ่นในพื้นที่จึงจำเป็นต้องเตรียมความ พร้อมรับมือกับผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นไว้ล่วงหน้า ไม่ว่าจะเป็นการประเมินผลกระทบ การเฝ้าระวังมลพิษและอุบัติภัย การเฝ้าระวังผลกระทบต่อสุขภาพ การตอบโต้อุบัติภัย ความพร้อมของโรงพยาบาลและสถานบริการสุขภาพต่างๆ ดังนั้น หากรัฐบาลไทยเห็นว่าโครงการนี้เป็นความร่วมมือระหว่างรัฐภายใต้กรอบของ ประชาคมอาเซียนจริง ก็ควรให้การสนับสนุนรัฐบาลพม่าในการสร้างกลไกและทรัพยากรบุคคลที่เพียงพอต่อ การรับมือความเสี่ยงและผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นดังกล่าว
กรณีศึกษาการพัฒนาโครงการท่าเรือน้ำลึกและนิคมอุตสาหกรรมทวายเป็น ตัวอย่างสำคัญที่บ่งชี้ให้เห็นว่า การลงทุนในโครงการพัฒนาในอนาคตจะเป็นไปในลักษณะข้ามพรมแดน ไปสู่ประเทศเพื่อนบ้านในประชาคมอาเซียนมากยิ่งขึ้น ดังนั้น การคุ้มครองและสร้างเสริมสุขภาพของประชาชนในอาเซียนก็จำเป็นต้องก้าวข้าม พรมแดนด้วยเช่นกัน ผ่านกลไกการเรียนรู้ร่วมกัน โดยใช้การประเมินผลกระทบทางสุขภาพเป็นเครื่องมือสำคัญ ทั้งในระดับยุทธศาสตร์การพัฒนาในภาพรวม ไปจนถึงยุทธศาสตร์การพัฒนาในแต่ละพื้นที่
ความท้าทายจึงขึ้นอยู่กับว่า การพัฒนาการประเมินผลกระทบทางสุขภาพของภาคประชาชนในกลุ่มประเทศอาเซียน ปัจจุบัน จะก้าวทันย่างก้าวอันรวดเร็วของผู้ลงทุนข้ามชาติได้มากน้อยเพียงใด และสามารถประสานข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่างๆ เข้าสู่การปรับทิศทางการพัฒนา หรือแนวทางการวางแผนในโครงการลงทุนข้ามชาติเหล่านี้ได้มากน้อยเพียงใด เป็นสำคัญ
________________________________________
[1] กรุงเทพธุรกิจ. 27 ธันวาคม 2554. “เจบิคเล็งปล่อยกู้3พันล.ดอลล์ สร้างท่าเรือ-นิคมฯทวายพม่า”
[2] กรุงเทพธุรกิจ. 27 ธันวาคม 2554. “ทุนข้ามชาติทะลักเข้าทวาย”
[3] พื้นที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด 5 นิคมรวมกัน 31 ตร.กม.
[4] กรุงเทพธุรกิจ. 27 ธันวาคม 2554. “ทุนข้ามชาติทะลักเข้าทวาย”
[5] กรุงเทพธุรกิจ. 27 ธันวาคม 2554. “เจบิคเล็งปล่อยกู้3พันล.ดอลล์ สร้างท่าเรือ-นิคมฯทวายพม่า”
[6] กรุงเทพธุรกิจ. 27 ธันวาคม 2554. “ทุนข้ามชาติทะลักเข้าทวาย”
[7] โพสต์ทูเดย์  27 ธันวาคม 2554 . “ITDทุนอื้อไม่เพิ่มทุน”
[8] โพสต์ทูเดย์  27 ธันวาคม 2554 . “ITDทุนอื้อไม่เพิ่มทุน”
[9] โพสต์ทูเดย์  27 ธันวาคม 2554 . “ITDทุนอื้อไม่เพิ่มทุน”
[10] กรุงเทพธุรกิจ. 27 ธันวาคม 2554. “ทุนข้ามชาติทะลักเข้าทวาย”
[11] โพสต์ทูเดย์  27 ธันวาคม 2554 . “ITDทุนอื้อไม่เพิ่มทุน”
[12] กรุงเทพธุรกิจ. 27 ธันวาคม 2554. “ทุนข้ามชาติทะลักเข้าทวาย”
[13] สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) 14 พฤศจิกายน 2554. “RATCH เซ็น MOU ร่วมมือ ITD สร้างโรงไฟฟ้ารวม 4 พันเมกะวัตต์ในนิคมฯทวาย”
[14] โพสต์ทูเดย์  27 ธันวาคม 2554 . “ITDทุนอื้อไม่เพิ่มทุน”
[15] กรุงเทพธุรกิจ. 27 ธันวาคม 2554. “ทุนข้ามชาติทะลักเข้าทวาย”
[16] กรุงเทพธุรกิจ. 27 ธันวาคม 2554. “ทุนข้ามชาติทะลักเข้าทวาย”
[17] โพสต์ทูเดย์  27 ธันวาคม 2554 . “ITDทุนอื้อไม่เพิ่มทุน”
[18] ไทยรัฐออนไลน์ 22 ธันวาคม 2554. “ปตท.เล็งลงทุนธุรกิจพลังงานนิคมอุตฯทวายในพม่า”
[19] กรุงเทพธุรกิจ. 27 ธันวาคม 2554. “ทุนข้ามชาติทะลักเข้าทวาย”
[20] กรุงเทพธุรกิจออนไลน์. 26 ธันวาคม 2554  “อิตาเลี่ยนไทยเชื่อนิคมฯทวายเป็นฮับคอนเทนเนอร์”
[21] กรุงเทพธุรกิจออนไลน์. 26 ธันวาคม 2554  “อิตาเลี่ยนไทยเชื่อนิคมฯทวายเป็นฮับคอนเทนเนอร์”
[22] กรุงเทพธุรกิจ. 27 ธันวาคม 2554. “ทุนข้ามชาติทะลักเข้าทวาย”
[23] กรุงเทพธุรกิจ. 27 ธันวาคม 2554. “ทุนข้ามชาติทะลักเข้าทวาย”
[24] กรุงเทพธุรกิจ.  26 ธันวาคม 2554   “ทล.เล็งผุดมอเตอร์เวย์4.5หมื่นล.เชื่อมทวาย”
[25] กรุงเทพธุรกิจออนไลน์. 26 ธันวาคม 2554  “อิตาเลี่ยนไทยเชื่อนิคมฯทวายเป็นฮับคอนเทนเนอร์”
[26] กรุงเทพธุรกิจ. 27 ธันวาคม 2554. “ทุนข้ามชาติทะลักเข้าทวาย”
[27] Dawei Development Association. 15 December 2011. Press Release Disclosing the Desires of Local People on the Dawei Deep Seaport and Special Economic Zone.
[28] Dawei Development Association. 15 December 2011. Press Release Disclosing the Desires of Local People on the Dawei Deep Seaport and Special Economic Zone.
[29] คำนวณจากค่าสัมประสิทธิ์มาตรฐานของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการผลิตไฟฟ้าโดยใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิง เท่ากับ 0.96 กก./kWh
[30] ข้อมูลจาก http://en.wikipedia.org/wiki/List_of_countries_by_carbon_dioxide_emissions
[31] ไม่รวมพื้นที่ชุมชนและพื้นที่อยู่อาศัย
[32] คำนวณจากอัตราการปล่อยก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ของภาคอุตสาหกรรมที่ 6.25 ตัน/ตร.กม./วัน (มูลนิธินโยบายสุขภาวะ, 2554, ฝัน ร่าง สร้าง ทำ: ผังเมืองทางเลือกเพื่อสุขภาวะ)
[33] คำนวณจากอัตราการปล่อยก๊าซออกไซด์ของไนโตรเจนจากภาคอุตสาหกรรมที่ 5.0 ตัน/ตร.กม./วัน (มูลนิธินโยบายสุขภาวะ, 2554, อ้างแล้ว)
[34] คำนวณจากอัตราการปล่อยฝุ่นละอองขนาดเล็กของภาคอุตสาหกรรมที่ 1.25 ตัน/ตร.กม./วัน (มูลนิธินโยบายสุขภาวะ, 2554, อ้างแล้ว)
[35] คำนวณจากค่าสัมประสิทธิ์มาตรฐานของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการผลิตไฟฟ้าโดยใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิง
[36] คำนวณจากอัตราการใช้น้ำของภาคอุตสาหกรรมที่ 30,000 ลบ.ม./ตร.กม./วัน (มูลนิธินโยบายสุขภาวะ, 2554, อ้างแล้ว)
[37] คำนวณจากข้อมูลรายการประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของโครงการ Gheco-one
[38] คำนวณจากอัตราการเกิดกากของเสียอุตสาหกรรมที่ 10.69 ตัน/ตร.กม./วัน (มูลนิธินโยบายสุขภาวะ, 2554, อ้างแล้ว)
[39] คำนวณจากอัตราการเกิดกากของเสียอันตรายที่ 0.64 ตัน/ตร.กม./วัน (มูลนิธินโยบายสุขภาวะ, 2554, อ้างแล้ว)
[40] คำนวณจากอัตราการเกิดขยะชุมชนที่ 1.43 ตัน/ตร.กม./วัน (มูลนิธินโยบายสุขภาวะ, 2554, อ้างแล้ว)

ขอบคุณภาพจาก Google, Greenpeace, salweennews.org,

ปรากฏในหน้าแรกที่: 
ข่าวเจาะพาดหัว (สไลด์โชว์)
 
รีโมท ซื้อ รีโมท จากผู้ค้าส่งโดยตรง ที่มีหน้าร้านจริง ที่ บ้านหม้อ และ คลองถม ราคาถูกกว่าใคร ปลอดภัย มีรับประกัน

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

บทความย้อนหลัง