บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันจันทร์ที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

สเตรทไทมส์ เปิดใจ “ทักษิณ”: กฎหมายหมิ่นทำให้สถาบันฯเสื่อม

สเตรทไทมส์ เปิดใจ “ทักษิณ”: กฎหมายหมิ่นทำให้สถาบันฯเสื่อม

โดย นิรมล โฆษ (Nirmal Ghosh) ผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์เสตรทไทมส์

ทักษิณ ชินวัตร ให้สัมภาษณ์นสพ.เสตรทไทมส์ มั่นใจชนะการเลือกตั้งอย่างสง่างาม มุ่งอยากกลับประเทศเพื่อแก้ไขความบอบช้ำ ขอโอกาสเพื่อให้ประเทศก้าวไปข้างหน้า ชี้ทหาร “พารานอย”มากเกินไป

29 พ.ค. 54 – อดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร ให้สัมภาษณ์กับผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์สเตรทไทมส์ในวันพฤหัสบดีที่ผ่านมาที่ ประเทศดู​ไบว่า ความพยายามของรัฐบาลประชาธิปัตย์ในการสร้างแผนการปรองดองนั้นล้มเหลว และทำให้ประเทศแตกแยกมากขึ้น ขณะนี้จึงเป็นหน้าที่ของพรรคเพื่อไทยในการสร้างการปรองดองในชาติ และหวังว่าตนเองจะสามารถกลับประเทศไทยได้ เพื่อแก้ไขบาดแผลทางการเมืองของประเทศในช่วงห้าปีที่ผ่านมา แต่ถึงแม้ว่าจะกลับมาไม่ได้ ตนก็ยังอยากให้ประเทศไทยกลับสู่สภาวะปรกติ

“ความปรกติในความหมายของพรรคประชาธิปัตย์นั้นเป็นคนล่ะความหมาย เขาพยายามจะปรองดองมา 2 ปีครึ่งแล้ว แต่ก็ล้มเหลว ซ้ำยังทำให้ประเทศแตกแยกมากขึ้น เป็นคราวของเราแล้วที่จะต้องสร้างความปรองดองให้เกิดขึ้น” อดีตนายกกล่าว

ในระหว่างการสัมภาษณ์ที่ยาว 1 ชั่วโมง เขายอมรับว่าการกระทำที่รุนแรงต่อชาวมาเลย์มุสลิมในภาคใต้สมัยที่เขาเป็น นายกถือเป็น​ความผิดพลาด และกล่าวว่าการเป็นตำรวจนั้นทำให้ตนถูกสอนมาว่าต้องใช้ทั้งกำปั้นเหล็กและ ถุงมือกำมะ​หยี่ ซึ่งที่ผ่านมาได้ใช้กำปั้นเหล็กมากไป และเสียใจในสิ่งที่เคยทำ ทั้งนี้ ในอนาคตจะต้องเปลี่ยนแปลงไป
เขายังเสริมว่า พรรคเพื่อไทยจะรื้อฟื้นข้อตกลงกรณีพื้นที่ทับซ้อนบริเวณ 4.6 ตารางกิโลเมตรบริเวณใกล้กับเขาพระวิหารเพื่อพิจารณาถอนข้อตกลงดังกล่าว “เราควรมีการพูดคุยกัน ไม่ใช่เอะอะๆก็ส่งทหารเข้าไป ถ้าคุณมายิงใส่เพื่อนบ้านตัวเอง แล้วจะอยู่ด้วยกันอย่างสงบได้ยังไง ถ้าคุณใหญ่กว่าหรือรวยกว่า คุณก็ควรมีจิตใจที่ดีและเมตตาต่อคนที่จนกว่าและตัวเล็กกว่า” ทักษิณกล่าว

ถึงแม้จะมีการวิเคราะห์ว่าผลของการเลือกตั้งในเดือนกรกฎาคมจะค่อนข้างสูสี โดยโพลล์สำรวจความคิดเห็นได้เผยว่าพรรคเพื่อไทยจะชนะอย่างฉิวเฉียด แต่ทักษิณค่อนข้างมั่นใจว่าเพื่อไทยน่าจะชนะได้อย่างชัดเจน และเผยว่าตนเองได้ติดตามการหาเสียงในไทยอยู่ทุกวันและวางแผนยุทธศาสตร์การ เลือกตั้งอ​ยู่เสมอ โดยดำเนินการจากบ้านหรูหราขนาดห้องนอน 7 ห้องในย่านหรูที่ดูไบ หรือบางทีก็จากเครื่องบินเจ็ตส่วนตัว และรับข้อมูลความเคลื่อนไหวต่างๆจากนักการเมืองในประเทศไทย พร้อมกับปราศรัยผ่านทางโทรศัพท์ หรือ “โฟนอิน” ในการชุมนุมของคนเสื้อแดงและการปราศรัยของเพื่อไทยอย่างสม่ำเสมอ นอกจากนี้ยังพูดคุยทางโทรศัพท์จากกลุ่มฐานเสียงต่างๆด้วย

“ถึงเวลาที่เราจะต้องยึดมั่นในหลักการว่าเราเคารพในความคิดของประชาชน ...ถ้าคุณเรียกตัวเองว่าเป็นประชาธิปไตย คุณก็ต้องเคารพเจตจำนงของประชาชน แล้วสิ่งต่างๆก็จะดำเนินไปต่อได้เอง ผมไม่สนใจว่าใครจะว่าอะไร ไม่สนใจว่าผมจะได้กลับบ้านหรือไม่ ผมสนใจแค่ว่าเมื่อไหร่ที่ประเทศจะกลับสู่สภาวะปรกติได้เสียที”

เมื่อผู้สื่อข่าวเสตรทไทมส์ถามว่า คิดว่าเสถียรภาพหลังการเลือกตั้งของประเทศไทยจะขึ้นอยู่กับการเจรจามากแค่ ไหน เขาตอบว่า “ไม่มีอะไรดีไปกว่าการสานเสวนาอีกแล้ว”

เขากล่าวว่ามีบางก๊กบางฝ่ายติดต่อเข้ามาหาเขาหลังจากหมดอำนาจ เขาจึงให้ยิ่งลักษณ์เป็นตัวแทนในการเจรจาพูดคุย “ผมไม่ไว้ใจนักการเมืองคนไหนๆหรอก เพราะไม่มีความลับในหมู่นักการเมือง ผมจึงให้เธอเป็นคนไปพูดคุยกับพรรคการเมืองต่างๆ และทำงานในพื้นที่เยอะๆ ตอนนี้อยากเห็นประเทศไทยก้าวไปข้างหน้า ไม่หยุดอยู่ในสภาพเดิมๆ”

ว่าด้วยทหารกับการเมือง

“พวกทหารเกิดอาการวิตกจริตกันใหญ่เพราะมีข่าวว่าผมจะเปลี่ยนประเทศไทยให้ เป็นสาธารณร​ัฐ และตั้งตนเป็นประธานาธิบดี แต่ในความเป็นจริงแล้วไม่ใช่เลย เมื่อคุณกลายเป็นผู้นำ คุณก็ต้องเข้มแข็ง ไม่เช่นนั้นก็ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงสิ่งต่างๆที่เป็นปัญหาเรื้อรังได้ และพอเมื่อคุณเข้มแข็งปุ๊บ ก็มีคนบอกว่าผมอยากเป็นประธานาธิบดี ซึ่งไร้สาระมาก และนี่ก็คือเหตุผลว่าทำไมเราถึงให้มีนายกรัฐมนตรีที่เป็นผู้หญิง เขาจะได้ไม่ต้องคิดว่าผู้หญิงจะสามารถทำอะไรเช่นนั้น”

ว่าด้วยนโยบายพรรค
“ก็มีความเหมือนและความต่างอยู่บ้าง เมื่อคุณเห็นคนกำลังกินปลา ไม่ว่าจะจากเพื่อไทยหรือประชาธิปัตย์ ปลาเหล่านั้นก็ดูเหมือนกัน แต่ในขณะที่พรรคประชาธิปัตย์แจกแต่ปลา แต่เราจะให้เบ็ดตกปลา และให้ประชาชนได้ตกปลาเองกินเอง และมีปลาจากทั้งแม่น้ำเอาไว้กินได้

ถ้าคุณดูการบริหารประเทศของพรรคประชาธิปัตย์ เขาต้องการเพียงแค่ผลประโยชน์ทางการเมือง แต่ของผมคือความสุขของประชาชนต้องมาก่อน และผลประโยชน์ทางการเมืองก็จะเป็นผลจากการที่พี่น้องประชาชนมีความสุข”

กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ “ทำให้เสื่อม”
ต่อประเด็นการฟ้องร้องและดำเนินคดีบุคคลจำนวนมากในข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุ ภาพ ทักษิณกล่าวว่า “ทำให้สิ่งที่แย่อยู่แล้วเสื่อมลงไปอีก...หากว่าคุณเคารพและจงรักภักดีต่อ พระมหากษัตริย์ ต้องหยุดการแสดงความจงรักภักดีด้วยวิธีโง่ๆเช่นนี้”

และเมื่อถามว่าเขาเห็นด้วยหรือไม่กับการรณรงค์ให้ยกเลิกกฎหมายดังกล่าว เขาตอบว่า “ก็ถ้ามีอยู่แล้วไม่ได้ใช้แบบไม่จำเป็นล่ะก็...” ซึ่งสื่อว่าก็ไม่ได้เห็นด้วยเท่าใดนัก และยังเสริมว่า “ยิ่งคุณดำเนินคดีกับคนในข้อกล่าวหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพมากขึ้นเท่าใด ประชาคมนานาชาติและองค์กรสิทธิมนุษยชนก็จะเรียกร้องให้มีการยกเลิก(กฎหมาย นี้)มากขึ้​นเท่านั้น”

เขาย้อนไปถึงสมัยที่เขาเป็นนายกรัฐมนตรี เขาเล่าว่าเคยเกือบให้มีการจับกุมผู้วิพากษ์วิจารณ์สถาบันกษัตริย์คนหนึ่ง และในการเข้าเฝ้ากับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวครั้งก่อน พระมหากษัตริย์ทรงตรัสว่า “ไม่อยากให้ใช้กฎหมายตัวนี้พร่ำเพรื่อ” อดีตนายกผู้ลี้ภัยสะท้อนว่า “ผู้ที่พยายามจะแสดงออกว่าเขาจงรักภักดีต่อกษัตริย์มากๆ และประกาศว่าจะเล่นงานคนที่แตะต้องสถาบันกษัตริย์นั้น เป็นการทำให้สิ่งที่แย่อยู่แล้วแย่ยิ่งขึ้น”

ต่อกรณีที่กองทัพบกได้เป็นผู้ยื่นฟ้องในกรณีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพรายล่าสุด นั้น ทักษิณกล่าวว่า ทหารมีหน้าที่หลักๆสองอย่าง อย่างแรกคือปกป้องอธิปไตยของชาติ อย่างที่สองคือปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ กองทัพต้องการแสดงความจงรักภักดีของตนเองโดยแสดงออกชัดแจ้งเกินไป ตนคิดว่าการกระทำดังกล่าวเป็นผลเสียต่อกองทัพและไม่ดีต่อสถาบันกษัตริย์เอง ด้วย

ที่มา: แปลและเรียบเรียงจาก
หนังสือพิมพ์เสตรทไทมส์ ฉบับวัันที่ 28 พฤษภาคม 2554

I love my king

เจาะขุมธุรกิจ “อนุสรณ์ อมรฉัตร” กล่องดวงใจ “ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร

อนุสรณ์ อมรฉัตร
เจาะเครือข่ายธุรกิจ “อนุสรณ์ อมรฉัตร”หลังบ้าน “ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร” พบทำธุรกิจนับสิบแห่งโยงคอนเนกชั่นลึกตระกูลเจียรวนนท์
ในการก้าวขึ้นเป็นแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีหญิงแห่งประเทศไทยของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตรนอกจากปูมหลังทางธุรกิจที่มาจากผู้บริหาร บริษัท เอสซี แอสเสท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)ของครอบครัว ...ทักษิณ ชินวัตรพี่ชายแล้ว ข้อมูลอีกด้านที่สาธารณชนรับรู้ในระดับ “น้อยมาก” คือ “สถานภาพ”ของครอบครัว
ข้อมูลที่ถูกเปิดเผยสู่สาธารณะก่อนหน้านี้คือ “ยิ่งลักษณ์”มีสามีนอกสมรสชื่อ“อนุสรณ์ อมรฉัตร”เป็นผู้บริหารธุรกิจขายโทรศัพท์มือถือในกลุ่มเอ็มลิงค์ของ นางเยาวภา วงศ์สวัสดิ์(เจ๊แดง)น้องสาว พ.ต.ท.ทักษิณ
กระนั้นเจ้าตัวก็มิได้เล่ารายละเอียดของ“หวานใจ” มากนัก นอกจาก “ทายาทตัวน้อย” พยานรักซึ่งพาไปหาเสียงด้วยในบางครั้ง
ศูนย์ข้อมูล&ข่าวสืบสวนฯ (TCIJ)ตรวจสอบธุรกิจของนายอนุสรณ์พบข้อมูลดังนี้
นายอนุสรณ์เป็นกรรมการ 13 บริษัท (เลิกกิจการแล้ว 6 บริษัท ยังประกอบกิจการ 7 บริษัท) ในจำนวนบริษัทที่เปิดดำเนินการ 8 บริษัท มี 2 บริษัทที่นายอนุสรณ์ถือหุ้นจำนวนมาก
1.บริษัท แอ็ด อินเด็กซ์ จำกัดให้ เช่าอพาร์เมนท์ นายอนุสรณ์ถือ 4,010,000 หุ้น มูลค่าหุ้นละ 10 บาท (เดิมนายอนุสรณ์ถือ 10,000 หุ้น วันที่ 20 เมษายน 2554 เพิ่มอีก 4,000,000 หุ้น)
2.บริษัท เอ็ม –บิท จำกัดขายเครื่องมือสื่อสาร จำนวน 499,800หุ้น มูลค่าหุ้นละ 10 บาท
บริษัท แอ็ด อินเด็กซ์ จำกัด จดทะเบียนวันที่ 23 พฤษภาคม 2540 ทุนล่าสุด 45 ล้านบาท ที่ตั้งอาคารเอ็มลิงค์ ถนนสุขุมวิท นางสาวนัทธฤทัย คล่องคำนวณการ (ญาติ...ทักษิณ) ถือหุ้น 163,333หุ้นนางสาวสอางทิพย์ อมรฉัตร163,332 หุ้น นางสาวสุมิตรา อิงคผาติ 163,332 หุ้น
บริษัท เอ็ม –บิท จำกัด(เดิมชื่อ บริษัท มิวชวลเบเนฟิตอินเตอร์เนชั่นแนลเทรดดิ้ง จำกัด นายธนินท์ และ คนตระกูลเจียรวนนท์ถือ หุ้นใหญ่ ) จดทะเบียนวันที่ 16 มีนาคม 2531 ทุน 15 ล้านบาท ที่ตั้งเลขที่ 1 ซอยสุวรรณสวัสดิ์ ถนนพระราม 4 แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร กรุงเทพฯนอกจากนายอนุสรณ์ อมรฉัตรแล้ว นายเชวง โคตะนันท์(ผู้ถือหุ้นบริษัท เกาะรังนก จำกัด ) นายบุญธรรม อรุณรังสีเวชถือหุ้นคนละ 499,800 หุ้น
บริษัทเครือเอ็มลิงค์ที่นายอนุสรณ์เป็นกรรมการ
บริษัท เอ็ม ลิงค์ เอเชีย คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)ประกอบ ธุรกิจขายโทรศัพท์มือถือ จดทะเบียนวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2545 ทุนปัจจุบัน 690 ล้านบาท บริษัท เอ็มแคปปิตอลโฮลดิ้ง จำกัด ถือหุ้นใหญ่ 35.1% นายยศชนัน วงศ์สวัสดิ์ ถือหุ้น 10%
บริษัท พอร์ทัลเน็ท จำกัด(ชื่อเดิม บริษัท ทรูพาวเวอร์ไอที จำกัด) จดทะเบียน วันที่ 24 มกราคม 2543 ทุนปัจจุบัน 100 ล้านบาท
บริษัท เทเลแม็กซ์ เอเชีย คอร์ปอเรชั่น จำกัดจดทะเบียนวันที่ 6 พฤษภาคม 2541 ทุนปัจจุบัน 30 ล้านบาท
บริษัท เอ็ม โซลูชั่น จำกัดจดทะเบียนวันที่ 9 สิงหาคม 2545 ทุน 10 ล้านบาท
บริษัท เอ็ม ช็อป โมบาย จำกัด จดทะเบียนวันที่ 13 มีนาคม 2546 ทุน 10 ล้านบาท
บริษัทที่เลิกกิจการ 6 บริษัท ได้แก่
1. บริษัท นีโอ ยู จำกัด ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ จดทะเบียน 28 ส.ค. 2546 ทุน 5 ล้าน เลิกกิจการ 30 ก.ย.2552
2.บริษัท นีโอฟลาย จำกัด ขายโทรศัพท์มือถือ จดทะเบียน 8 มิ.ย.2541 ทุน 1 ล้าน เลิกกิจการ 15 ก.ค. 2547
3.บริษัท ฟอสเตอร์ แอนด์ เฟน จำกัด ขายอุปกรณ์สื่อสาร จดทะเบียนวันที่ 25 ก.ย. 2535 ทุน 5 แสนบาท เลิกกิจการ วันที่ 4 พ.ย. 2545
4. บริษัท อาร์เด้นท์ เฟิร์ม จำกัด นำเข้าสินค้า จดทะเบียน 3 มี.ค. 2535 ทุน 1 แสนบาท เลิกกิจการ 8 มิ.ย.2544
5. บริษัท แอล แอล เอส คอร์ปอเรชั่น จำกัด จดทะเบียนวันที่ 24 กันยายน 2547 ทุน 30 ล้านบาท ที่ตั้งเลขที่ 99/384 หมู่ 2 ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ นายอนุสรณ์ 999,999 หุ้นนาง มณฑาทิพย์ โกวิทเจริญกุล 999,999 หุ้น (พี่สาว นางสาวยิ่งลักษณ์) นางสาวชินณิชา วงศ์สวัสดิ์ 500,000 หุ้น นางสาวชยาภา วงสวัสดิ์ 499,999 หุ้น
(เลิกกิจการ 27 กรกฎาคม 2550) มูลค่าหุ้นละ 10 บาท
6.บริษัท เอ็มไพร์ที่ดิน จำกัดอสังหาริมทรัพย์ จดทะเบียน 30 เม.ย.2534 ทุน 5 แสนบาท เลิกกิจการ 8 มี.ค. 2550
สำหรับ บริษัท เอ็มไพร์ที่ดินจำกัด จดทะเบียนวันที่ 30 เมษายน 2534 ทุน 5 แสนบาท รายชื่อผู้ถือหุ้น ณ วันที่ 9 เมษายน 2550 (เลิกกิจการ ปี 2550) บริษัท เอ็ม-บิท จำกัดถือหุ้น 45,000 หุ้น นายอนุสรณ์ อมรฉัตร2,500 หุ้น นางสาว เทพิน เกิดปั้น นางสาวรัชนี จรรยาจรัสพร นายสุภกิต เจียรวนนท์คนละ 500 หุ้น นาย กัมปนาท หงเวชกุล 499 หุ้น โดยมีนายอนุสรณ์ อมรฉัตร นายสุชาติ พุ่งกุมาร นายสุภกิต เจียรวนนท์ นายณรงค์ เจียรวนนท์ นายชัชวาลย์ เจียรวนนท์ เป็นกรรมการ
ทั้งนี้ ผู้สมัคร ส..พรรคเพื่อไทยมีนายวัฒนา เมืองสุข เขยซี.พี.เป็นผู้สมัครแบบบัญชีรายชื่อ อันดับ 22

บริษัทที่ “อนุสรณ์ อมรฉัตร”ถือหุ้นอดีต-ปัจจุบัน
ชื่อ
จำนวน (หุ้น)
บริษัท แอ็ด อินเด็กซ์ จำกัด
4,010,000
บริษัท แอล แอล เอส คอร์ปอเรชั่น จำกัด
999,999
บริษัท เอ็ม-บิท จำกัด
499,800
บริษัท เอ็มไพร์ ที่ดิน จำกัด
2,500
บริษัท นีโอฟลาย จำกัด
100
ที่มา: กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ,ศูนย์ข้อมูล & ข่าวสืบสวนฯ(TCIJ)รวมรวม


รายชื่อผู้ถือหุ้น บริษัท เอ็มไพร์ ที่ดิน จำกัด (ณ วันที่ 9 เมษายน 2550)
ชื่อผู้ถือหุ้น
จำนวน (หุ้น)
บริษัท เอ็ม-บิท จำกัด
45,000
นายอนุสรณ์ อมรฉัตร
2,500
นางสาว เทพิน
500
นางสาว รัชนี จรรยาจรัสพร
500
นายสุภกิต เจียรวนนท์
500
นาย กัมปนาท หงเวชกุล
499
นางสาว พิทยา ปลาลาศ
1
ที่มา: กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ,ศูนย์ข้อมูล & ข่าวสืบสวนฯ(TCIJ)รวมรวม

รายชื่อผู้ถือหุ้น บริษัท เอ็ม-บิท จำกัด( ณ วันที่ 27 เม..2553 )
ชื่อผู้ถือหุ้น
จำนวน (หุ้น)
นายอนุสรณ์ อมรฉัตร
499,800
นาย เชวง โคตะนันท์
499,800
นายบุญธรรม อรุณรังสีเวช
499,800
นายนพจักร สุววิพันธ์
150
นางสุจิตรา กงทอง
150
นาย สุมิตร ธวัชเกียรติศักดิ์
150
นางสาว สุมิตรา อิงคผาดิ
150

ที่มา: กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ,ศูนย์ข้อมูล & ข่าวสืบสวนฯ(TCIJ)รวมรวม

เปิดถุงเงินเลือกตั้ง 4 พรรคใหญ่ ปชป.พรึ่บบิ๊กกลุ่มทุนหนุนอื้อ

โดย TCIJ.

เปิดถุงเงินเลือกตั้ง 4 พรรคใหญ่ ปชป.พรึ่บบิ๊กกลุ่มทุนหนุนอื้อ
เปิดถุงเงินเลือกตั้ง 4 พรรคการเมือง เสี่ยเจริญ ล่ำซำ โสภณพนิช ตระกูลดังพรึ่บเลือกปชป. ซี.พี.จ่าย 2 พรรค นักธุรกิจใกล้ชิด “คุณหญิงอ้อ”ท่อน้ำเลี้ยงเพื่อไทย พรรคเนวิน“โนเนม”อื้อ ชาติไทยฯรับสดๆบ.เจียรวนนท์ 11 ล้าน
ศึกเลือกตั้งทั่วไปที่จะมีขึ้นในวันที่ 3 กรกฎาคมนี้เป็นการเดิมพันเก้าอี้นายกรัฐมนตรีแห่งประเทศไทยระหว่าง นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ผู้สมัครบัญชีรายชื่อลำดับ 1  และ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร  ผู้สมัครระบบบัญชีรายชื่อหมายเลข 1 พรรคเพื่อไทย โดยมีบุคคลอื่นเป็นตัวสอดแทรก
ศูนย์ข้อมูล & ข่าวสืบสวนเพื่อสิทธิพลเมือง (Thailand Information Center For Civil Rights And Investigative Journalism- TCIJ) เจาะข้อมูลกลุ่มทุนสนับสนุนแต่ละพรรคมานำเสนอดังนี้
พรรคประชาธิปัตย์นับตั้งแต่คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)ได้เปิดเผยเงินบริจาคในปลายปี 2543 จนถึงเดือนเมษายน 2554 ผู้บริจาคมากสุดคือ บริษัทในเครือ ซี.พี.ของตระกูลเจียรวนนท์ จำนวน 65.9 ล้านบาท
รองลงมา นายประกอบ จิรกิติ ผู้สมัครส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ และเครือญาติ ผู้บริหารกลุ่มยูคอม ประกอบด้วย  นายประทีป จิรกิติ  ประเสริฐ จิรกิติ  นางสิริกานต์ ทองไท และ นางสาวสมรศรี จิรกิติ รวมทั้งสิ้น  58.9 ล้านบาท
ที่น่าสนใจคือ บริษัทในเครือข่าย นายเจริญ สิริวัฒนภักดี เจ้าพ่อน้ำเมา จำนวน 53.7 ล้านบาท 
นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการพรรค นายแทน เทือกสุบรรณ บุตรชาย และ บริษัท ศรีสุบรรณฟาร์ม จำกัด ของนายแทนและน้องสาว รวม 35.6 ล้านบาท  (นายแทนบริจาคมากสุด 4 ครั้ง รวม 14.5 ล้านบาท)
นายโพธิพงษ์ ล่ำซำ และบริษัทในเครือเมืองไทยประกันชีวิต 34 ล้านบาท ในจำนวนนี้เป็นการบริจาคครั้งใหญ่สุดวันที่ 18 ก.ย.2549  โดยนายโพธิพงษ์  10 ล้านบาท
นายอิสระ ว่องกุศลกิจ เจ้าของโรงงานน้ำตาลมิตรผล  บริษัท แฟซิฟิก ซูการ์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด 30  ล้านบาท
คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช ,นายชาตรี โสภณพนิช นายชาญ โสภณพนิช คุณหญิงชดช้อย โสภณพนิช และธนาคารกรุงเทพ  15.9 ล้านบาท
ระดับยอดรวมต่ำกว่า 10 ล้าน   นายกรณ์ จาติกวาณิช  และเครือญาติ  6.7 ล้านบาท
นายปลิว ตรีวิศวเวทย์ เจ้าของยักษ์รับเหมา “ช.การช่าง” และบริษัทในเครือ อาทิ บริษัท อินเด็กซ์ อินเตอร์เนชั่นแนล กรุ๊ป  บริษัท โรจนะสวนเกษตรและรีสอร์ท จำกัด  บริษัท คอนสตรัคชั่น แมททีเรียลซัพพลาย  บริษัท น้ำประปาไทย จำกัด (มหาชน) รวม 6.5 ล้านบาท
บริษัท เสริมสงวนก่อสร้าง จำกัดของนายสงวน-นางสมจิตร ชื่นพาณิชยกุล 5.1 ล้านบาท ,บริษัท ช.ทวีก่อสร้าง  3.5 ล้านบาท ,บมจ.อิตาเลี่ยนไทย ดีเวลลอปเม้นท์  รวม 2.7 ล้านบาท เป็นต้น
รวมวงเงินเฉพาะ 7 อันดับแรก 294 ล้านบาท
ผู้บริจาคพรรครายใหญ่ของพรรคประชาธิปัตย์ (ตั้งแต่ ต.ค. 2543-เม.ย.2554)
รายชื่อ
จำนวนเงิน (บาท)
เครือซี.พี.และตระกูลเจียรวนนท์
65.9 ล้าน
นายประกอบ จิรกิติ และเครือญาติ
58.9 ล้าน
เครือนายเจริญ สิริวัฒนภักดี
53.7 ล้าน
นายสุเทพ-นายแทน เทือกสุบรรณ และ บ.ศรีสุบรรณฟาร์ม
35.6 ล้าน
นายโพธิพงษ์ ล่ำซำ และบริษัทในเครือ
34 ล้าน
กลุ่มนายอิสระ ว่องกุศลกิจ และน้ำตาลมิตรผล
30 ล้าน
ตระกูลโสภณพนิชและธนาคารกรุงเทพ
15.9 ล้าน
นายกรณ์ จาติกวาณิช และเครือญาติ
6.7 ล้าน
กลุ่ม ช.การช่าง
6.5 ล้าน
ที่มา: สำนักงาน กกต.  ,ศูนย์ข้อมูล&ข่าวสืบสวนฯ  (TCIJ) รวบรวม
ขณะที่พรรคเพื่อไทย ในช่วงปี 2552- 2553 ผู้บริจาคหลักยังเป็นคนใกล้ชิด คุณหญิงพจมาน ดามาพงศ์  มากสุด  นายพิชัย นริพทะพันธุ์   อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง จำนวน 12  ล้านบาท แบ่งเป็น ปี 2552  เดือนมิถุนายน จำนวน  5 ล้าน บาท   เดือนตุลาคม 2 ล้าน บาท    และ ปี 2553  เดือนเมษายน 2 ล้าน บาท   เดือนธันวาคม จำนวน 3 ล้าน  บาท
รองลงมา
  • นางสาวจุฑารัตน์  เมนะเสวต  จำนวน 7 ล้านบาท แบ่งเดือนพฤษภาคม 2552  จำนวน 2 ล้าน บาท    เดือนธันวาคม  2552 จำนวน 5 ล้านบาท 
  • นางสาวพนิดา ปัญจาบุตร  6 ล้านบาท  แบ่งเป็น เดือนพฤษภาคม จำนวน  4 ล้าน บาท เดือนพฤศจิกายน 2552  จำนวน   2 ล้าน บาท  
  • บริษัท ซีวิลเอนจิเนียริ่ง จำกัด  จำนวน  5 ล้านบาท   (เดือนสิงหาคม  2552)  
  • นายองอาจ เอื้ออภิญญากุล  จำนวน 4  ล้าน บาท   แบ่งเป็น เดือกมกราคม 2552 จำนวน 2 ล้าน บาท เดือนกรกฎาคม 2553 จำนวน 2 ล้านบาท
  • บริษัท เฉลิมโลก จำกัด  (ของกลุ่มนายวิรุฬ เตชะไพบูลย์)  จำนวน 3 ล้าน บาท
  • นางสาวสุกัญญา ประจวบเหมาะ   จำนวน  2 ล้านบาท 
  • นางสาวธิติมา เลขะวณิช   2 ล้าน บาท   
  • นางสาวพิสมัย จิตรวิมล   2 ล้าน บาท 
ทั้งนี้นายพิชัย นางสาวจุฑารัตน์ นางสาวพนิดา ล้วนเป็นคนใกล้ชิดคุณหญิงพจมาน ณ ป้อมเพ็ชร (ชินวัตร-ดามาพงศ์)
พรรคภูมิใจไทย ผู้สนับสนุนทางการเงินหลักยังเป็นเครือข่ายของ นายอนุทิน ชาญวีรกุล และนายเนวิน ชิดชอบ
ทั้งนี้ข้อมูลจาก กกต. ระบุว่า  ในปี 2552 (เฉพาะ 5 เดือนหลัง) -2553  พรรคภูมิใจไทยได้รับเงินบริจาครวม  54,780,000 บาท  มากสุด นายพรชัย สุนิศทรามาศ  จำนวน 4 ล้านบาท  (ก.ย. 2552 จำนวน 2 ล้าน , เดือนสิงหาคม 2553 จำนวน 2 ล้าน)  บริษัท เชียงใหม่ คอนสตรัคชั่น จำกัด ของนายคะแนนบุญสุภา พ่อตานายเนวิน 3 ล้านบาท
รายละ 2 ล้านบาท 17 คน ได้แก่  นางสนองนุช ชาญวีรกูล ภรรยา นายอนุทิน ชาญวีรกูล  ,นายพิสิษฐ์ อำไพพิพัฒนกุล  , นายสุธี มีบุญมี  ,  นายบุญสุข สุริยนนท์  ,นายมีน ธเนศวาณิชย์ , นางสาวศิริพร โกศลสมบัติ ,  นายพีระศักดิ์ ศรีรุ่งสุขจินดา , นายจำเริญ ศรีสมบัติไพบูลย์, นายวิสุทธิ์  ขันศิริ ,นายยิ่งศักดิ์  พงษ์ช้าง  , นางสาวบรรณสี ธเนศวาณิชย์ , นายสิทธิชัย สุรัชตชัยพงศ์ ,นางสาววัฒนา เอี่ยมอร่ามศรี  , นายวสันต์ กระจ่างเมธีกุล ,นางสุขศรี ปึกขาว ,นายชาญชัย สุรัชตชัยพงศ์   ,นายวิวรรธน์ สรรพกิจทิพากร 
น่าสังเกตว่าผู้บริจาคเกือบทั้งหมดไม่เป็นที่รู้จักทางการเมือง และไม่อยู่ในผู้สมัครแบบบัญชีรายชื่อ
พรรคชาติไทยพัฒนา ผู้สนับสนุนเงินหลักคือนายบรรหาร ศิลปะอาชา และ นายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ อดีตเลขาธิการพรรครวมใจชาติพัฒนาซึ่งย้ายเข้ามาอยู่กับ พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์
ในปี 2552-2553 นายบรรหารบริจาคเงินให้พรรคทั้งสิ้น 6.9 ล้านบาท  นายสณชัย เล็กสมบูรณ์ และ ห้างหุ้นส่วนจำกัดศรีสมบูรณ์สุวัฒนะ รายละ 1 ล้านบาท  ส่วนนายประดิษฐ์ ขณะเป็นพรรครวมใจชาติพัฒนาได้รับเงินบริจาคจากเครือญาติเกือบ 8 ล้านบาท
ล่าสุดในการระดุมทุนเมื่อเดือนเมษายน 2554 บริษัทเครือซี.พี.บริจาคถึง 11 ล้านบาท (บมจ.กรุงเทพโปรดิ๊วส์ 3 ล้านบาท บมจ.เจริญโภคภัณฑ์อีสาน 2 ล้านบาท บริษัท ซี.พี.เมอร์แชนไดซิ่ง จำกัด 2 ล้านบาท  บริษัท บี พี ผลิตภัณฑ์อาหาร จำกัด 2 ล้านบาท และ บริษัท ราชบุรีอาหาร 2 ล้านบาท)  ,หจก.ประสิทธิ์ 1 ล้านบาท ,บริษัท ปิ่นรังษี จำกัด 5 แสนบาท ,บริษัท บุญรอดเทรดดิ้ง ของกลุ่มนายสันติ ภิรมย์ภักดี 5 แสนบาท และนางศรวิษฐา นิสิตสุขเจริญ 5 แสนบาท
กล่าวสำหรับห้างหุ้นส่วนจำกัด ศรีสมบูรณ์สุวัฒนะ รับเหมาก่อสร้าง เครือญาตินายสณชัย  เล็กสมบูรณ์ ตั้งอยู่ใน ต.สนามชัย อ.เมืองสุพรรณบุรี จ.สุพรรณบุรี 
จากการตรวจสอบพบว่า ตั้งแต่ปี 2550 เป็นต้นมา ผู้รับเหมารายนี้ได้งานก่อสร้างในหน่วยงานรัฐทั้งหมด 9 แห่ง รวม 26 สัญญา 163.7 ล้านบาท ในจำนวนนี้เป็นหน่วยงานสังกัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกระทรวงคมนาคม อาทิ
  • รับเหมาปรับปรุงภูมิทัศน์ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองจังหวัด สุพรรณบุรี  โดยศูนย์การท่องเที่ยวกีฬาและนันทนาการ จังหวัดสุพรรณบุรี กรมพลศึกษา เป็นผู้ว่าจ้าง เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2552 วงเงิน 40 ล้านบาท
  • ปรับปรุงอาคารพิพิธภัณฑ์ชาวนาไทย โดยศูนย์การท่องเที่ยวกีฬาและนันทนาการ จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นผู้ว่าจ้าง เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม  2553 วงเงิน 1.9 ล้านบาท
  • ก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่ง แม่น้ำท่าจีน  ต.เดิมบางนางบวช จ.สุพรรณบุรี โดยกรมเจ้าท่า กระทรวงคมนาคม เป็นผู้ว่าจ้าง เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2533 วงเงิน 13.3 ล้านบาท

นักการเมืองเศรษฐีเงินฝาก 59 คน 1.2 พันล้าน-เด็ก ปชป.แชมป์

ตรวจสอบเงินฝากนักการเมือง ตะลึง!เกือบ 60  คนตุนอื้อกว่า 10 ล้าน กระจายทุกพรรค อดีต ส.ส.กรุงเทพฯ ปชป. แชมป์ 313 ล้าน 
ศูนย์ข้อมูล&ข่าวสืบสวนเพื่อสิทธิพลเมือง (Thailand Information Center For Civil Rights And Investigative Journalism-TCIJ) ตรวจสอบเงินฝากนักการเมืองตามที่ได้แจ้งบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน ต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ตอนรับตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เมื่อปี 2550   พบนักการเมืองที่มีเงินฝากมากกว่า 10 ล้านบาทขึ้นไปจำนวน 59  คนมากที่สุด 10 ลำดับแรก
  1. นายวิลาศ จันทร์พิทักษ์ อดีต ส.ส.กรุงเทพฯ พรรคประชาธิปัตย์ และคู่สมรส มีเงินฝาก 313,777,719 บาท
  2. นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ อดีต ส.ส.กรุงเทพฯ พรรคประชาธิปัตย์ และคู่สมรส มีเงินฝาก 160,470,017 บาท 
  3. นายกรณ์ จาติกวณิช อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และคู่สมรส  101,605,593 บาท 
  4. นายมานิต นพอมรบดี  อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ส.ส.ราชบุรี พรรคภูมิใจไทย 78,486,752 บาท 
  5. คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ มีเงินฝาก 49,603,866 บาท     
  6. นายชัย ชิดชอบ อดีตประธานรัฐสภา ส.ส.สัดส่วน  และคู่สมรส 46,585,353 บาท 
  7. นางชนากานต์ ยืนยง  อดีต ส.ส.ปทุมธานี พรรคประชาราช เจ้าของมหาวิทยาลัยปทุมธานี 45,372,861 บาท
  8. นายบุญจง วงศ์ไตรรัตน์ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย และคู่สมรส 42,130,759 บาท 
  9. นายวิชาญ มีนชัยนันท์ อดีต ส.ส.กรุงเทพฯ พรรคเพื่อไทย และคู่สมรส 40,738,954 บาท
  10. นายอำนวย คลังผา อดีต ส.ส.ลพบุรี พรรคเพื่อไทย และคู่สมรส 39,237,827 บาท
รอง ลงมา นายสมเกียรติ ฉันทวานิช อดีตส.ส.กรุงเทพฯ พรรคประชาธิปัตย์ และคู่สมรส 37,993,091 บาท นายทศพร เทพบุตร อดีตส.ส.ภูเก็ต พรรคประชาธิปัตย์ และคู่สมรส 36,205,630 บาท นางสาวนริศรา อดิเทพวรพันธุ์ อดีต ส.ส. นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์  32,763,702 บาท  นางพรทิวา นาคาศัย  อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ และคู่สมรส 31,085,487 บาท  นางปานหทัย เสรีรักษ์ อดีต ส.ส.แพร่ พรรคเพื่อไทย และคู่สมรส 30,290,223 บาท นายมนต์ชัย วิวัฒน์ธนาฒน์ อดีต ส.ส.พิษณุโลก พรรคกิจสังคม และคู่สมรส 29,372,988 บาท
นายชนินทร์ รุ่งแสง อดีต ส.ส.กรุงเทพฯ ประชาธิปัตย์ และคู่สมรส 25,711,399 บาท  นายวินัย ภัทรประสิทธิ์ อดีตส.ส.พิจิตร พรรครวมใจชาติพัฒนา  25,461,960 บาท นายมณฑล ไกรวัฒนุสรณ์  อดีต ส.ส.สมุทรสาคร และคู่สมรส 24,775,253 บาท นายสุทธิ ปัญญาสกุลวงศ์  อดีต ส.ส.กรุงเทพฯ ประชาธิปัตย์ 24,420,841 บาท    
นายสุรพงษ์ อึ้งอัมพรวิไล อดีต ส.ส.ปทุมธานีพรรคชาติไทยพัฒนา  มีเงินฝาก 23,726,415 บาท  นางตรีนุช เทียนทอง อดีต ส.ส.สระแก้ว  และคู่สมรส  23,633,324 บาท ร.ต.อ.เฉลิมอยู่ บำรุง อดีต ส.ส.กรุงเทพฯ พรรคเพื่อไทย และคู่สมรส 22,620,729 บาท นายไพฑูรย์ แก้วทอง อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ และคู่สมรส 22,519,840 บาท     
นายจักริน พัฒน์ดำรงจิตร อดีต ส.ส.ขอนแก่น พรรคเพื่อไทย 23,726,415 บาท นางนันทนา ทิมสุวรรณ อดีต ส.ส.เลย พรรคเพื่อไทย และคู่สมรส  21,179,780 บาท  นายองอาจ คล้ามไพบูลย์  อดีต ส.ส.กรุงเทพฯ 18,740,693 บาท นายลาภศักดิ์ ลาภาโรจน์กิจ อดีต ส.ส.สงขลา และคู่สมรส 18,092,058 บาท นายภุชงค์ รุ่งโรจน์ อดีต ส.ส.สัดส่วน ประชาธิปัตย์ และคู่สมรส 18,059,663 บาท นายชาดา ไทยเศรษฐ์  อดีต ส.ส.อุทัยธานี พรรคชาติไทยพัฒนา 17,272,162 บาท นางทัศนียา รัตนเศรษฐ อดีต ส.ส.นครราชสีมา พรรครวมใจชาติพัฒนา และบุตรฯ 17,243,235 บาท  นายพฤติชัย วิริยะโรจน์ อดีตส.ส.สัดส่วน พรรคเพื่อไทย มีเงินฝาก 17,182,307 บาท   
นาง สาวมัลลิกา จิระพันธุ์วาณิช อดีต ส.ส.ลพบุรี พรรคชาติไทยพัฒนา 16,0470,763 บาท นางสาวชินณิชา วงศ์สวัสดิ์ อดีต ส.ส.เชียงใหม่ พรรคเพื่อไทย 16,038,995 บาท นายสุนัย จุลพงศธรอดีต ส.ส.นครสวรรค์ พรรคเพื่อไทย และคู่สมรส 15,696,316 บาท นายอัฏฐพล โพธิพิพิธ อดีต ส.ส.กาญจนบุรี พรรคประชาธิปัตย์ และคู่สมรส 15,12,296 บาท นายมานะ โลหะวณิชย์  อดีต ส.ส.ชัยภูมิพรรคเพื่อไทย และคู่สมรส 14,444,526 บาท  นายนิยม วรปัญญา อดีต  ส.ส.ลพบุรี พรรคเพื่อไทย 14,172,679 บาท  พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ อดีตรองนายกฯ และคู่สมรส 13,952,633 บาท
นายชัยวุฒิ บรรณวัฒน์ อดีตรัฐมนตรีว่ากาการกระทรวงอุตสาหกรรม และคู่สมรส 13,610,953 บาท นายบรรจบ รุ่งโรจน์  อดีต ส.ส.ชลบุรี พรรคประชาธิปัตย์ 12,964,532 บาท นายวรรณรัตน์ ชาญนุกูล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน และคู่สมรส 12,823,636 บาท นายวัชรพล โตมรศักดิ์ อดีต ส.ส.นครราชสีมา พรรครวมใจชาติพัฒนา และคู่สมรส 12,297,563 บาท นางผุสดี ตามไท อดีต ส.ส.สัดส่วน ประชาธิปัตย์ และคู่สมรส 11,359,681 บาท นายชุมพล จุลใส อดีต ส.ส.ชุมพร ประชาธิปัตย์ และคู่สมรส 11,262,556 บาท นายชูวิทย์ พิทักษ์พรพัลลภ อดีต ส.ส.อุบลราชธานี พรรคเพื่อไทย และคู่สมรส 11,183,477 บาท  พล.ต.ศรชัย มนตริวัต อดีต ส.ส.สัดส่วน พรรคเพื่อไทย 11,068,923 บาท นายอนุชา สะสมทรัพย์ อดีต ส.ส.นครปฐม พรรคเพื่อไทย และคู่สมรส 10,820,611 บาท  นายสรวงศ์ เทียนทอง อดีต ส.ส.สระแก้ว ประชาราช 10,636,177 บาท     
นางอรอนงค์ คล้ายนก อดีต ส.ส.กรุงเทพฯ ประชาธิปัตย์ และคู่สมรส 10,630,624 บาท นายวิฑูรย์ นามบุตร อดีต ส.ส.สัดส่วน และคู่สมรส 10,595,818 บาท นายเลิศศักดิ์ ทัศนเศรษฐ อดีต ส.ส.สุรินทร์ พรรคภูมิใจไทย  และคู่สมรส 10,541,480 บาท  นายสงกรานต์ จิตสุทธิภากร อดีต ส.ส.นครสวรรค์ ประชาธิปัตย์ และคู่สมรส 10,440,434 บาท นายภูมิ สาระผล อดีต ส.ส.ขอนแก่น พรรคเพื่อไทย และคู่สมรส  10,347,574 บาท นางอานิก อัมระนันทน์ อดีต ส.ส.สัดส่วนพรรคประชาธิปัตย์ และคู่สมรส มี 10,243,869 บาท และว่าที่ร้อยตรีสุเมธ ฤทธาคนี อดีต ส.ส.ปทุมธานี พรรคเพื่อไทย  และคู่สมรส 10,164,626 บาท
 รวม 59 คน 1,216,090,275 บาท
นักการเมืองที่มีเงินฝากมากสุด 20 ลำดับแรก
ชื่อ
จำนวน(บาท)
1.นายวิลาศ จันทร์พิทักษ์ และคู่สมรส
313,777,719
2.นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ และคู่สมรส
160,470,017
3.นายกรณ์ จาติกวณิช และคู่สมรส
101,605,593
4.นายมานิต นพอมรบดี
78,486,752
5.คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช และคู่สมรส
49,603,866
6.นายชัย ชิดชอบ และคู่สมรส
46,585,353
7.นางชนากานต์ ยืนยง 
45,372,861
8.นายบุญจง วงศ์ไตรรัตน์ และคู่สมรส
42,130,759
9.นายวิชาญ มีนชัยนันท์ และคู่สมรส
40,738,954
10.นายอำนวย คลังผา และคู่สมรส
39,237,827
11.นายสมเกียรติ ฉันวานิช และคู่สมรส
37,993,091
12.นายทศพร เทพบุตร และคู่สมรส
36,205,630
13.นางสาวนริศรา อดิเทพวรพันธุ์
32,763,702
14.นางพรทิวา นาคาศัย และคู่สมรส
31,085,487
15.นางปานหทัย เสรีรักษ์ และคู่สมรส
30,290,223
16.นายมนต์ชัย วิวัฒน์ธนาฒน์ และคู่สมรส
29,372,988
17.นายชนินทร์ รุ่งแสง และคู่สมรส
25,711,399
18.นายวินัย ภัทรประสิทธิ์ 
25,461,960
19.นายมณฑล ไกรวัฒนุสรณ์ และคู่สมรส
24,775,253
20.นายสุทธิ ปัญญาสกุลวงศ์
24,420,841
รีโมท ซื้อ รีโมท จากผู้ค้าส่งโดยตรง ที่มีหน้าร้านจริง ที่ บ้านหม้อ และ คลองถม ราคาถูกกว่าใคร ปลอดภัย มีรับประกัน

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

บทความย้อนหลัง