บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันพฤหัสบดีที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

“ประชาวิวัฒน์” บนกระแสทัศน์ “ประชาชน”

พลันที่มาตรการ “ประชาวิวัฒน์” 9 ข้อของรัฐบาลถูกเปิดต่อสายตาสาธารณชน ความหวังครั้งใหม่ก็เกิดขึ้นทันทีว่า   สภาพชีวิตกำลังจะดีขึ้น ประกอบกับคาดการณ์กันว่า เศรษฐกิจจะดีตามมาเป็นลำดับ ในขณะเดียวกันก็มีอีกหลายเสียงวิพากษ์วิจารณ์ ตามมา
บ้างก็ว่า ไม่ต่างจากนโยบาย "ประชานิยม" ที่หว่าน เพื่อโหมโรงก่อนการเลือกตั้งใหญ่  บ้างก็ไม่ถึงกับผิดหวัง แต่ก็เห็นว่าไม่มีอะไรใหม่ แค่มุ่งช่วยเหลือคนเฉพาะกลุ่ม

แต่สำหรับมุมมองกรรมการปฏิรูป และกรรมการสมัชชาปฏิรูป บางท่าน รวมทั้งคนหาเช้ากินค่ำ คนชั้นรากหญ้า อย่างพ่อค้าแม่ค้า หาบเร่แผงลอย คนขับแท็กซี่ มอเตอร์ไซต์รับจ้าง จะมีความเห็นอย่างไร กับแผนปฏิบัติการ “ประชาวิวัฒน์”
เริ่มกันนโยบายช่วยเหลือแรงงานนอกระบบ ที่ไม่ได้อยู่ในระบบประกันสังคม โดยรัฐบาลหยิบยื่นแพ็คเกจดึงดูดใจ หากสมทบ 70 บาท รัฐออกให้ 30 บาท  รับทันทีสิทธิประโยชน์ชดเชยรายได้เมื่อเจ็บป่วย ทุพพลภาพ และเสียชีวิต หรือกรณีจ่าย 100 บาท รัฐสมทบให้ 50 บาท ก็รับสิทธิพิเศษกว่าด้วยบำเหน็จชราภาพ
ปรับระบบ แก้กฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกันขนาดนี้ แล้วจะสู้ 30 บาทรักษาทุกโรคได้หรือไม่
โดยเฉพาะกับ “สินเชื่อพิเศษ” เปิด โอกาสให้กลุ่มแท็กซี่ที่มีประสบการณ์มากกว่า 3 – 9 ปีขึ้นไป รับสิทธิในการผ่อนเงินดาวน์ต่ำสุด 5% ซึ่งภาครัฐมองว่า เป็นการลดภาระค่าใช้จ่าย และเปิดโอกาสให้แรงงานนอกระบบมีรายได้ที่ดีขึ้น
สิทธิประโยชน์ ของฟรีที่ด้อยคุณภาพ ?
เสียงสะท้อนจากคนขับแท็กซี่ที่มีประสบการณ์กว่า 19 ปี นายบุญโฮม แก้วสาลี ซึ่งแสดงความวิตกกังวลว่า สิทธิประโยชน์เหล่านี้จะเป็นของฟรีที่ด้อยคุณภาพเหมือน “30 บาทรักษาทุกโรค” อันเป็นตัวตอกย้ำให้สังคมรับรู้ว่า การแบ่งชนชั้นยังอยู่คู่ชนชาติไทยเสมอ
“ภาครัฐมีประกันสังคมในราคาถูกให้พวกเราถือ เป็นเรื่องที่น่ายินดี แต่ผมจะมั่นใจได้อย่างไรว่า สิทธิประโยชน์หรือเงินชดเชยที่ได้รับจะมีคุณภาพ”
ในขณะที่ “บำเหน็จชราภาพ” เขาก็หวั่นว่า จ่ายแค่ 100 บาทต่อเดือน สุดท้ายบั้นปลายชีวิตเงินก้อนนั้นไม่รู้จะได้รับคืนมากน้อยแค่ไหน
เช่นเดียวกันกับ “สินเชื่อพิเศษ” ที่คนขับแท็กซี่อย่าง “บุญโฮม” มั่นใจว่า หากผ่อนดาวน์ 5% จะเป็นการเปิดโอกาสให้คนขับแท็กซี่เป็นเจ้าของรถด้วยตนเองสูงขึ้น แต่ก็ยังมีคำถามในใจ ที่กังขาอยู่ที่ความชัดเจน ว่า  “จ่ายให้ใคร ? เท่าไหร่?”
เพราะหากย้อนกลับไปจ่ายในรูปแบบสหกรณ์ เขายืนยันว่า ก็คงไม่ต่างอะไรกันกับการเช่าซื้อรถจากผู้ประกอบการ เพราะมีการเรียกเก็บผลประโยชน์ได้อีกหลายช่องทาง ในขณะเดียวกันอัตราดอกเบี้ย และระยะเวลาการผ่อนชำระนั้น รัฐบาลต้องระบุให้ชัดเจนด้วย รวมถึงการแจกแจงรายละเอียดที่เกี่ยวข้องทั้งหมด เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับคนหาเช้ากินค่ำอย่างพวกเขา
ด้านของขวัญเพื่อผู้ประกอบอาชีพมอเตอร์ไซ ค์รับจ้าง ที่รัฐจะเข้ามาจัดระเบียบให้มีการขึ้นทะเบียนอย่างถูกต้องตามกฏหมาย พร้อมจัดระบบออกบัตรประจำตัว เลขทะเบียน หมายเลขเสื้อวิน หมวกนิรภัย รวมถึงการปรับปรุงสภาพแวดล้อมในอาณาบริเวณด้วยการจัดระเบียบที่พักวิน ป้ายราคาที่ชัดเจน ประกอบกับเชิญชวนให้มอเตอร์ไซค์รับจ้างมาทำหน้าที่เป็นอาสาพิทักษ์ดูแลชุมชน นั้น
สิ่งต่างๆ เหล่านี้ "ชุติมา ขำแก้ว" หัวหน้าวินมอเตอร์ไซต์ชุมชนสวนอ้อย บอกว่า  เป็นแนวคิดที่รัฐบาล “นำของเก่ามาเล่าใหม่”
ซึ่งเธอก็เห็นว่า การประกาศมาตรการดังกล่าวเป็นเรื่องที่ดี "พวกเราชื่นชอบแน่นอน แต่ที่สำคัญคือรัฐบาลต้องลงมากำกับดูแลอย่างทั่วถึง ไม่เช่นนั้นแล้วจะกลับไปสู่ปัญหาเดิมคือความขัดแย้งกันเองระหว่างชุมชนกับ เขตการปกครอง ดังนั้นภาครัฐไม่ควรปล่อยนโยบายดีๆ อย่างนี้ไว้เป็นเพียงแค่ยาหอมให้กับประชาชน”
อีกประการหนึ่งที่สำคัญ คือ กรณีการจัดทำป้ายเหลือง ที่ผ่านมาเจอขั้นตอนที่ยุ่งยากซับซ้อน และใช้เวลานาน เธอเสนอแนะทันที ว่า ภาครัฐสามารถลดลำดับขั้นตอนด้วยการมอบหมายให้หัวหน้าวินเป็นผู้รวบรวมราย ชื่อ และใบขับขี่เจ้าของรถ เพื่อนำส่งไปจัดทำเป็นรายวินได้
รัฐต้องเลิกเป็น ‘พ่อบุญทุ่ม’
ในมุมมองนักเศรษฐศาสตร์ รศ.ดร.ปราณี ทินกร กรรมการปฏิรูป เห็นว่า นโยบายของรัฐบาลกับการดูแลคนยากจนหรือด้อยโอกาสในประเทศที่เจริญแล้ว ถือเป็นเรื่องสามัญขั้นพื้นฐานที่รัฐพึงต้องปฏิบัติ
“ประเทศไทยไม่เคยมีมาตราการตรงนี้ เพราะลักษณะการใช้นโยบายของรัฐในช่วงเวลาที่ผ่านมาอยู่ในรูปแบบ “พ่อบุญทุ่ม” มีเท่าไหร่ให้หมด โดยไม่คำนึงถึงผลกระทบซึ่งเกิดรอบด้านอย่างรอบคอบ”
อาจารย์ปราณี ชี้ไปที่แนวคิดที่จะทำให้แรงงานนอกระบบมีหลักประกันทางสังคม เดินมาถูกทางแล้ว แม้บางเรื่องยังต้องทำการบ้านให้หนักขึ้น อย่างเช่นกรณี “บำเหน็จชราภาพ” ที่ยังไม่มีความมั่นใจว่า กองทุนจะอยู่ยั่งยืนหรือไม่
เพราะมีบทเรียนจากแรงงานในระบบก็มีการทำ เรื่องนี้มานาน ท้ายที่สุดนักวิชาการต่างก็ประเมินกันแล้วว่า เมื่อถึงเวลาที่ต้องจ่ายคืน  อาจจะทำให้มีปัญหา เพราะเป็นเงินก้อนนี้ค่อนข้างมหาศาล
ส่วนการตรึงราคาแก๊ส “LPG” ที่รัฐเลือกอุ้มไว้ให้ภาคขนส่งกับครัวเรือนนั้น รศ.ดร.ปราณี เสนอว่า  หากต้องการจะช่วยเหลือกลุ่มคนที่มีรายได้น้อย หรือยากจนจริงๆ  ควรจะใช้มาตรการอื่นเข้าไปเสริมทัพ เช่น แจกคูปองสำหรับซื้อแก๊สหุงต้มให้แก่ประชากรผู้ที่มีรายได้ต่ำกว่าเส้นความ ยากจน มั่นใจ ตรงเป้าหมายมากกว่าที่จะตรึงราคาในลักษณะเช่นนี้ เพราะท้ายที่สุดจะส่งผลให้ตลาดบิดเบือน
“รัฐต้องไม่ลืมว่าสิ่งที่นำเสนอเป็นมาตรา การเหล่านี้ ก็เพื่อมุ่งเป้าหมายหลักไปที่ประชาชนกลุ่มหนึ่งซึ่งเสียโอกาส ดังนั้นในแต่ละประเด็นต้องมีการวิเคราะห์ถึงผู้ได้รับประโยชน์สูงสุดว่าถูก จุดหรือไม่” รศ.ดร.ปราณี กล่าว และชี้ว่า มาตราการ “ไฟฟรี” สำหรับผู้ที่ใช้ต่ำกว่า 90 หน่วย ก็เช่นเดียวกัน  รัฐบาลต้องคิดให้ละเอียดรอบคอบ เพราะในสังคมปัจจุบัน มีประชาชนผู้มีฐานะบางกลุ่ม มีทรัพย์สินเป็นคอนโดมิเนียม บ้านจัดสรรหลายแห่ง ซึ่งคนเหล่านี้ปล่อยทิ้งว่าง ไม่ได้อาศัยเป็นที่พักประจำ ดังนั้นอาจจะทำให้เข้าไปอยู่ในเกณฑ์ผู้ที่ได้รับประโยชน์จากมาตรการนี้ไป ด้วย
ลดนโยบายผูกขาดควบคู่มาตรการใหม่
ขณะที่ภาคเกษตรกรรม ก็ได้รับของขวัญจากรัฐบาลเช่นกัน หนึ่งในผู้ที่คลุกคลีกับภาคเกษตรมายาวนานอย่าง นายเอ็นนู ซื่อสุวรรณ อดีตรองผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) และกรรมการสมัชชาปฏิรูป มองมาตรการลด “ต้นทุนการเกษตร” ในส่วนของอาหารสัตว์ พ่อพันธุ์ แม่พันธุ์สัตว์ ซึ่งนอกจากจะช่วยให้เกษตรกรรายย่อยลดต้นทุนการผลิตแล้ว ยังส่งผลให้ผู้บริโภคซื้อสินค้าในราคาถูกลง โดยยืนยันว่า รัฐต้องแก้ปัญหาการผูกขาดให้ได้ก่อน เพราะเศรษฐกิจประเทศไทยเดินหน้าด้วยนายทุนมาตลอด ดังนั้นต้องใช้ยุทธวิธีที่มีคุณภาพพอสมควร
“สังคมไทยรับรู้มาตลอดว่าปศุสัตว์มีผู้ผูก ขาดสินค้าอยู่ไม่กี่บริษัท ครอบคลุมทั้งหมดตั้งแต่การจำหน่ายพันธุ์สัตว์ อาหาร รวมถึงการเปิดตลาดรองรับ ทำให้การควบคุมราคาตลาดขึ้นอยู่กับนายทุน ที่ผ่านมา หากเกษตรกรรายย่อยไม่รวมตัวกันเป็นเครือข่ายเข้าไปเปิดโต๊ะเจรจานั้น ก็ไม่มีโอกาสที่จะต่อรองราคาตามที่ต้องการได้”
ส่วนการมีระบบพันธะสัญญา ที่รวบรัด อดีตรองผู้จัดการ ธ.ก.ส. ให้ทรรรศนะเพิ่มเติมว่า กระบวนการก็เสมือนแต่งตั้งเกษตรกรเป็นลูกจ้างของนายทุนเท่านั้น เกษตรกรรับผลกำไรเพียงเล็กน้อย อีกทั้งยังไม่อาจเข้ามาช่วยขจัดปัญหาความยากจนให้หมดไปได้ เพราะเกษตรกรยังมีต้นทุนอีกหลายด้านที่ต้องแบกรับภาระไว้คนเดียว อย่างเช่น การสร้างโรงเรือนเพื่อเลี้ยงสัตว์ ทำให้เกษตรกรต้องหาแหล่งเงินทุนมาเพื่อจัดการปัญหาดังกล่าว
หนึ่งในแผนปฏิบัติการประชาวิวัฒน์ ที่ประกาศจะเข้าไปดูแล เน้นการเปิดเผยข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับต้นทุนราคาสินค้าต่าง ๆ นั้น อดีตรองผู้จัดการ ธ.ก.ส. วิเคราะห์ต่อว่า ลำพังประกาศในเว็บไซต์หรือโทรทัศน์ก็ยังไม่เพียงพอ เพราะเข้าไม่ถึงชาวบ้าน ดังนั้นควรให้ อบต. เป็นอีกช่องทางหนึ่งที่นำข้อมูลในรูปแบบเอกสาร กระจายไปที่ศาลาประชาคมตามท้องที่ต่างๆ
รวมทั้ง การเปิดเผยเฉพาะข้อมูลดิบๆ มีแต่ตัวเลข ก็ไม่เพียงพอด้วย นายเอ็นนู เสนอให้มีการวิเคราะห์แนวโน้มราคาที่จะขึ้นหรือลงของสินค้า ทำคล้ายๆ กับตลาดหุ้นด้วย เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับชาวบ้าน
ขาย ‘ไข่เป็นกิโล’ ภาระตกที่ร้านค้า
สำหรับนโยบายที่มาใหม่ แปลกว่าใครเพื่อน คือ นำร่องให้มีการซื้อขายไข่เป็นกิโล ประหยัดการคัดแยก หวังทำให้ต้นทุนการผลิตลดลงถึง 5 – 10 สตางค์ต่อฟองนั้น
นายเอ็นนู มองว่า จะสร้างความชัดเจนให้กับราคามากขึ้น เพราะที่ผ่านมานายทุนที่รับซื้อไข่ใช้หลักคำนวนราคาจาก Feed Conversion Ratio (FCR) ซึ่งจะวิเคราะห์ว่า การเลี้ยงไก่นั้นใช้อาหารจำนวนเท่าไหร่ และจะออกมาเป็นสินค้าเท่าไหร่ ที่ผ่านมาไม่เคยมีแก้ไขปรับปรุงอัตราราคา
"ตรงจุดนี้คงไม่ต่างอะไรกับพ่อค้าเขียงหมูที่กำหนดราคาซื้อเอง แทนที่จะเป็นผู้เลี้ยงตั้งราคาขาย"
แม้สังคมยังมีความวิตกกังวลถึงความไม่ได้มาตรฐานของ “ไข่ชั่งกิโล” แต่นายเอ็นนู ก็มั่นใจว่าปัญหานี้มีทางออกได้ไม่ยาก เพราะการกำหนดให้ไข่ไก่แต่ละชุดมีขนาดเท่ากันนั้น ในเชิงเทคโนโลยีสามารถทำได้ แต่ประเด็นที่สำคัญกว่าคือ การจัดตั้งหน่วยงานเข้าไปตรวจสอบกระบวนการผลิตอย่างใกล้ชิดและปฏิบัติตน อย่างตรงไปตรงมา
ในมุมมองของผู้ค้าส่งอย่าง นางพัทริยา จันทารักษ์ ขายไข่มากว่า 10 ปี บอกว่า มาตรการดังกล่าวไม่ส่งผลต่อผู้ขายส่งไข่ไก่มากนัก แต่ผู้ที่รับผลกระทบโดยตรงน่าจะเป็นร้านค้า และร้านอาหาร
ซึ่งเมื่อไปถามความเห็นแม่ค้าก๋วยเตี๋ยวต้มยำไข่ นางรุ่งนภาพร ลันแก้ว ก็บอกทันทีว่า  การขายไข่ไก่เป็นกิโลกรัม โดยไม่มีการคัดแยกขนาดไข่ไก่นั้น จะส่งผลกระทบแน่นอน โดยเฉพาะกับพ่อค้าแม่ค้าที่ใช้ไข่เป็นวัตถุดิบ
“ปกติทางร้านจะใช้ไข่ไก่ที่มีขนาดใหญ่สุด (เบอร์ศูนย์) เท่ากันทุกชาม ถ้าหากไม่มีการคัดขนาดไข่ไก่ ท้ายที่สุดแม่ค้าจะต้องเสียเวลา หรือค่าใช้จ่ายในการคัดแยกเอง เนื่องจากไข่ในแต่ละชามจะต้องมีขนาดที่เท่ากัน เพื่อความเป็นธรรมต่อลูกค้า ฉะนั้นแม้จะเป็นการลดต้นทุน หรือลดภาระค่าคัดแยกขนาดไข่ไก่จากผู้ผลิต แต่ก็เป็นการผลักภาระมาให้ร้านค้า ต้องคัดแยกเองอยู่ดี”
มาตราการ 9 ข้อของรัฐบาล ถือเป็นความท้าทายที่ต้องเร่งพิสูจน์ให้เห็นโดยเร็ว ว่า มุ่งแก้ปัญหาเชิงโครงสร้าง และมีเจตนาดีช่วยเหลือพี่น้องประชาชนจำนวนมหาศาล ไม่ใช่แค่การหาเสียง

มุมมองการปฏิรูปประเทศไทย โดยคุณอานันท์ ปันยารชุน


MusicPlaylistView Profile
Create a playlist at MixPod.com

สตรีกับสัตว์สี่ขา—ม้าขาวหรือตัวเงินตัวทอง?โดย ไสว บุญมา

                        OR

ก่อนสงกรานต์ทุกปี จะมีประกาศออกมาว่า ปีต่อไปนางสงกรานต์จะนั่งหลังสัตว์ชนิดใดและถืออะไรมาในมือ ปีนี้นางสงกรานต์นั่งหลังช้างและมือสองข้างถือปืนและตะขอ ผู้สันทัดกรณีมีความเห็นว่า ปีนี้ทางดีจะมีน้อยกว่าทางร้ายซึ่งไปกันได้กับฝ่ายที่สนใจในด้านการเมืองที่พูดถึงตำนานเรื่องสตรีขี่ม้าขาวที่จะเข้ามาพาให้ชาติพ้นภัย จึงมองได้ว่าสังคมไทยคุ้นเคยเป็นอันดีเรื่องสตรีกับสัตว์สี่ขา
      
  
       ในสังคมตะวันตก เรื่องสตรีกับสัตว์สี่ขามักมีอยู่ในเทพนิยายโบราณ ในตำนานเรื่องการขี่ม้าออกศึกจำพวกโจนออฟอาร์คแห่งฝรั่งเศสและในกีฬาบาง ประเภทของยุคปัจจุบัน ปีนี้มีเรื่องสตรีกับรูปเสือโคร่งขนาดใหญ่ในนิตยสารไทม์ซึ่งเกิดขึ้นไม่ค่อย บ่อยนัก
     
       นิตยสารไทม์ยกเอมี่ ฉั่ว ให้เป็นหนึ่งในผู้ทรงอิทธิพลสูงสุดในรอบปี เอมี่ ฉั่ว เป็นสตรีอเมริกันและอาจารย์ด้านกฎหมายของมหาวิทยาลัยเยล ปัจจัยที่ทำให้เธอได้รับการยกย่องว่ามีอิทธิพลสูงมากมาจากการเขียนหนังสือ ชื่อ Battle Hymn of the Tiger Mother ซึ่งคงแปลว่า “เพลงรบของแม่เสือ” เนื้อหามาจากประสบการณ์ในด้านการเลี้ยงลูกสาวสองคนของเธอซึ่งต่างอย่างชนิด คนละขั้วกับวิธีที่ชาวอเมริกันทั่วไปใช้กันอยู่ นั่นคือ ชาวอเมริกันมักไม่เคี่ยวเข็ญลูกให้เรียนหนังสือหรือทำกิจกรรมต่างๆ อย่างเอาเป็นเอาตาย แต่ให้อิสระที่จะเลือกเรียนและทำกิจกรรมตามใจชอบ ส่วนเอมี่ ฉั่ว บังคับลูกให้ทำตามคำสั่งทุกอย่างเพราะเชื่อว่านั่นเป็นทางที่จะนำไปสู่ความ สำเร็จ
     
       หนังสือจุดประกายให้ชาวอเมริกันถกถียงกันอย่างเข้มข้นว่า ขั้วไหนน่าจะได้ผลดีกว่ากัน การถกเถียงนี้มีการเปรียบเทียบผลการทดสอบเด็กนักเรียนทั่วโลกเป็นบริบท เนื่องจากเท่าที่ผ่านมาคะแนนของเด็กอเมริกันตามหลังเด็กเอเชียซึ่งเชื่อกัน ว่าโดยทั่วไปได้รับการเลี้ยงดูแบบขู่บังคับ อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้มีข้อโต้แย้งที่อาศัยข้อมูลจากฟินแลนด์ นั่นคือ สังคมฟินแลนด์โดยทั่วไปให้อิสระเด็กสูงกว่าสังคมอเมริกัน แต่ผลการทดสอบดังกล่าวออกมาเป็นเลิศเท่าๆ กับของชาวเอเชีย เช่น สิงคโปร์และเกาหลีใต้ อะไรเป็นปัจจัยที่ทำให้ผลออกมาเช่นนั้นยังถกเถียงกันอยู่
     
       อันที่จริง ประเด็นนี้ไม่น่าจะถกเถียงกันมากนักเนื่องจากชาวเมริกันมีคำพังเพยที่มักพูด กันติดปากว่า There is more than one way to skin a cat. ซึ่งแปลตรงๆ ว่า การถลกหนังแมวทำได้หลายวิธี ฉะนั้น การเลี้ยงลูกให้ดีและเก่งก็น่าจะทำได้หลายวิธีด้วย สื่อที่เข้าไปสัมผัสครอบครัวของเอมี่ ฉั่ว รายงานว่า ลูกสาวสองคนของเธอเรียนดีเป็นเลิศ มีความประพฤติดีและมีความสามารถพิเศษจากการทำกิจกรรมที่แม่เลือกให้ แต่นั่นไม่น่าจะพิสูจน์อะไรได้มากนักเนื่องจากการเลี้ยงลูกแบบให้อิสระสูง ส่งผลให้ได้คน เช่น บิล เกตส์ และ ฮิลลารี คลินตัน
     
       สองคนนั้นเติบโตในครอบครัวที่ให้อิสระแก่ลูกสูงและมีผลการเรียนเป็น เลิศ บิล เกตส์ ทิ้งการเรียนในมหาวิทยาลัยเพื่อออกไปทำธุรกิจ เมื่อเป็นเศรษฐีมีทรัพย์นับหมื่นล้านดอลลาร์ก็นำมาบริจาคช่วยเพื่อนมนุษย์ ส่วนฮิลลารี คลินตัน ไม่ต้องการเป็นมหาเศรษฐีทั้งที่มีโอกาสสูงมาก หากเลือกทำงานบริการสังคม ทั้งสองเขียนหนังสือออกมาหลายเล่ม เรื่องที่เกี่ยวกับการเลี้ยงดูเด็กได้แก่ It Takes a Village ซึ่งทำรายได้หลายล้านดอลลาร์ที่ฮิลลารีนำมาบริจาคให้แก่การกุศล
     
       ประเด็นสำคัญของหนังสือเล่มนั้นได้แก่การเสนอว่า การเลี้ยงดูเด็กเป็นความรับผิดชอบร่วมกันของสังคม มิใช่เฉพาะแต่ของพ่อแม่หรือครูที่เด็กอยู่ด้วยวันละไม่กี่ชั่วโมง ข้อเสนอนี้ตีความหมายได้หลายอย่างรวมทั้งการสร้างนโยบายจำพวกให้การสนับสนุน แก่พ่อแม่ที่มีลูกเล็กๆ และการเอื้อให้เด็กจากทุกหมู่เหล่าเข้าถึงโอกาสทางการศึกษาอย่างเต็มที่ นอกจากนั้น ยังมีเรื่องผู้ใหญ่ทำตนให้เป็นต้นแบบอีกด้วย
     
       ตามรายงานของนิตยสารไทม์ประจำวันที่ 11 เมษายน ที่ผ่านมา ภาคการศึกษาของไทยได้ทดลองใช้แนวคิดของฟินแลนด์แต่ไม่ได้ผล เรื่องนี้ไม่น่าแปลกใจเพราะสังคมไทยกับสังคมฟินแลนด์ต่างกันปานดินกับน้ำโดย เฉพาะเรื่องความฉ้อฉลดังข้อมูลขององค์กรความโปร่งใสสากลที่บ่งชี้ปีแล้วปี เล่าว่า สังคมฟินแลนด์แทบไม่มีความฉ้อฉล ส่วนสังคมไทยอยู่ในประเภทฉ้อฉลสูงมาก ความฉ้อฉลเป็นพฤติกรรมที่เด็กลอกเลียนจากผู้ใหญ่ ทายาทอสูรทางการเมืองเกิดขึ้นได้เพราะคนส่วนใหญ่ไม่รังเกียจลูกหลานนักการ เมืองเลวทราม
     
       เมื่อสังคมเป็นเช่นนี้ โอกาสที่จะเกิดสตรีเพียบพร้อมด้วยความเก่งและความดีขี่ม้าขาวเข้ามาพาสังคม ไทยให้พ้นภัยจึงมีไม่สูงนัก ตรงข้าม สตรีที่เสนอหน้าเข้ามานำพรรคการเมืองใหญ่ในตอนนี้มิได้ขี่ม้าขาว หากแฝงเข้ามาบนหลังตัวเงินตัวทองที่พรางให้มองเห็นธรรมชาติธาตุแท้ได้ยาก สำหรับคนที่มากด้วยความโง่ ความโลภ และความฉ้อฉล ในการเลือกตั้งครั้งหน้า หากคนไทยส่วนใหญ่มองว่าเธอคือสตรีขี่ม้าขาวตามตำนานเพราะการชี้นำของสื่อ ฉ้อฉลและคนชั่วแล้วเลือกเธอเป็นหัวหน้ารัฐบาล อีกไม่นานหายนะจะมาเยือน
รีโมท ซื้อ รีโมท จากผู้ค้าส่งโดยตรง ที่มีหน้าร้านจริง ที่ บ้านหม้อ และ คลองถม ราคาถูกกว่าใคร ปลอดภัย มีรับประกัน

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

บทความย้อนหลัง