บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันอังคารที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

เอกสาร vote no( โหวตโน )

นักการเมืองกักตุนที่ดินเกือบ 7 หมื่นไร่ เกษตรกรไร้ที่ทำกิน

นักการเมืองกักตุนที่ดินเกือบ 7 หมื่นไร่ เกษตรกรไร้ที่ทำกิน

WWW.TPD.IN.TH

ผลสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมครัวเรือนปี 2549 โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ ระบุว่า ร้อยละ 40 ของครัวเรือนภาคเกษตร ไม่มีที่ดิน หรือถือครองที่ดินน้อยกว่า 10 ไร่ และจำนวนครัวเรือนที่ไม่ได้ถือครองที่ดินเพิ่มขึ้น ในปี พ.ศ. 2542 มีเกษตรกรที่ไม่มีที่ดินทำกินเป็นของตนเองจำนวน 546,942 ครัวเรือน ข้อมูลจากการขึ้นทะเบียนคนจนในปี 2547 พบว่า “คนจน” ที่มาขึ้นทะเบียนฯ เป็นผู้ที่ไม่มีที่ดินทำกิน จำนวน 1,003,360 ราย เป็นผู้เช่าที่ดิน 378,077 ราย ยืมผู้อื่นทำกิน 314,090 ราย และเป็นผู้รับจ้างทำการเกษตรจำนวน 311,193 ราย นอกจากนี้ ยังมีผู้ที่มีที่ดินทำกิน แต่ไม่พอเพียง ต้องการที่ดินทำกินเพิ่มอีก 1,651,922 ราย รวมผู้ที่มาลงทะเบียนที่ไม่มีที่ดินทำกินหรือมีที่ดินทำกินแต่ไม่เพียงพอ ทั้ง สิ้นจำนวน 2,955,282 ราย นอกจากนี้ ผลการวิจัยยังพบว่า นับวันการถือครองที่ดินมีการกระจุกตัวมากขึ้น ที่ดินไปตกอยู่ในมือของคนมีเงินและมีอำนาจทางเมืองเพิ่มขึ้น มีการเสนอให้รัฐเร่งปรับปรุงกฎหมาย เพื่อลดการเก็งกำไรที่ดิน จำกัดการกระจุกตัวของการถือครองที่ดิน กระจายการถือครองที่ดินไปยังเกษตรกร เก็บภาษี Capital Gain จากการถือครองที่ดิน ฯลฯ เป็นต้น
แต่ในอีกด้านหนึ่ง มีการเปิดเผยรายงานการวิจัยในปี 2553 ว่านักการเมืองในรัฐสภา ทั้ง ส.ส. และ ส.ว. เป็นตัวการกักตุนที่ดินไว้ในมือมากกกว่าใครทั้งหมด นักการเมืองจำนวน 580 คน ถือครองที่ดิน รวมทั้งสิ้น 69,942 ไร่ (เท่าที่นักการเมืองแสดงบัญชีทรัพย์สินฯ ต่อ ป.ป.ช.เท่านั้น ไม่รวมส่วนที่โอนไปให้คนในครอบครัววงศ์ตระกูลถือครอง หรือที่ไม่ได้แจ้งต่อ ป.ป.ช.)
จึงเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์กันว่า บรรดานักการเมืองในสภา ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินรายใหญ่เหล่านี้ จะไปเสนอกฎหมายเพื่อกระจายการถือครองที่ดิน หรือจะไปขัดขวางการออกกฎหมายจำกัดการถือครองที่ดิน กฎหมายกระจายการถือครองที่ดิน หรือกฎหมายภาษี Capital Gain จากการถือครองที่ดิน หรือไม่? บรรดาพรรคการเมืองต่างๆ ที่ไปหาเสียง ไปให้สัญญากับประชาชนว่าจะเร่งแก้ปัญหาหนี้สินเกษตรกรผู้ด้อยโอกาส แก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำระหว่างคนรวย-คนจน ให้คนชนบทในภาคการเกษตรหลุดพ้นจากความยากจน มีที่ดินทำกินเป็นของตนเอง ฯลฯ แต่ ส.ส. ของพรรคส่วนใหญ่เป็นเศรษฐีที่ดิน กักตุนที่ดินไว้ในมือจำนวนมาก นโยบายการหาเสียงและสัญญาทางการเมืองเหล่านี้ จะเชื่อถือได้แค่ไหน?

การเลือกตั้งครั้งที่จะมาถึงนี้ ประชาชนพลเมืองอย่างเราจะตัดสินใจอย่างไร?

ที่มาของข้อมูล
1. อดิศร์ อิศรางกูร ณ อยุธยา และบัณฑูร เศรษฐศิโรตม์ เสนอในการสัมมนาวิชาการประจำปี 2553 ของสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาแห่งประเทศไทย เรื่อง การลดความเหลื่อมลํ้าและสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจ (Reducing Inequality and Creating Economic Opportunity) วันที่ 29-30 พฤศจิกายน 2554 โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ เซ็นทรัลเวิลด์ กทม.)
2. ปรีชา วทัญญู (2544) ผู้เชี่ยวชาญพิเศษด้านเศรษฐกิจที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน รายละเอียดโครงการ : สมาชิก สภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา จำนวน 580 คน (จากทั้งหมด 630 คน) ถือครองที่ดินรวมกัน 69,942 ไร่เศษ รวมมูลค่า 24,760 ล้านบาท ส.ส. พรรคเพื่อไทยถือครองที่ดินมากที่สุด รองลงมาคือส.ส. พรรคประชาธิปัตย์ สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ส.ส.พรรคภูมิใจไทยและพรรคการเมืองอื่น

พรรคเพื่อไทย มี ส.ส.ที่แจ้งว่าเป็นเจ้าของที่ดิน 172 คน รวมเนื้อที่ 21,042 ไร่เศษ มูลค่า 4,755.9 ล้านบาท ในจำนวนนี้ ผู้ถือครองที่ดินตั้งแต่ 100 ไร่ขึ้นไปมีทั้งสิ้น 39 คน 10 อันดับแรก ของ ส.ส. พรรคเพื่อไทยที่ถือครองที่ดินมากที่สุด คือ นายอำนวย คลังผา ส.ส.ลพบุรี เนื้อที่ 2,095 ไร่เศษ มูลค่า 60.3 ล้านบาท นายนิยม วรปัญญา ส.ส.ลพบุรี เนื้อที่ 1,446 ไร่เศษ มูลค่า 160 ล้านบาท นายอัสนี เชิดชัย ส.ส.นครราชสีมา เนื้อที่ 1,249ไร่เศษ มูลค่า 94.8 ล้านบาท นายอดิศักดิ์ โภคกุลกานนท์ ส.ส.สัดส่วน เนื้อที่ 1,197 ไร่ มูลค่า 195.6 ล้านบาท นายชูชาติ หาญสวัสดิ์ ส.ส.ปทุมธานี เนื้อที่ 1,059 ไร่เศษ มูลค่า 250.8 ล้านบาท นายมณฑล ไกรวัตนุสสรณ์ ส.ส.สมุทรสาคร เนื้อที่ 761-3-23 ไร่ มูลค่า 168 ล้านบาท นายวุฒิพงศ์ ฉายแสง ส.ส.ฉะเชิงเทรา เนื้อที่ 559-0-78 ไร่ มูลค่า 34.2 ล้านบาท นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ส.ส.ขอนแก่น เนื้อที่ 507ไร่ มูลค่า 22.4 ล้านบาท นายสุรศักดิ์ อนรรฆพันธุ์ ส.ส.เพชรบูรณ์ เนื้อที่ 394 ไร่ มูลค่า 32.5 ล้านบาท นายสุรจิตร ยนต์ตระกูล ส.ส.มหาสารคาม เนื้อที่ 346 ไร่ มูลค่า 46.7 ล้านบาท (มติชนออนไลน์ 25 มิถุนายน 2553)

พรรคประชาธิปัตย์ มี ส.ส. ที่แจ้งต่อ ปปช. ว่ามีที่ดินจำนวน 160 คน เนื้อที่ 15,000 ไร่เศษ มูลค่า 5,829,647,600 บาท ในจำนวนนี้มีจำนวน 39 คนถือครองตั้งแต่ 100 ไร่ขึ้นไป ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ที่มีที่ดินมากที่สุด 10 อันดับแรกคือนายอนุชา บูรพชัยศรี ส.ส.กรุงเทพฯ เนื้อที่ 1,284 ไร่เศษ มูลค่า 220 ล้านบาท นายทศพร เทพบุตร ส.ส.ภูเก็ต เนื้อที่ 1,095 ไร่เศษ มูลค่า 240 ล้านบาท นายอรรถวิชช์ สุวรรณภักดี ส.ส.กรุงเทพฯ เนื้อที่ 1,078 ไร่เศษ มูลค่า 106.8 ล้านบาท นายสุทธิ ปัญญาสกุลวงศ์ ส.ส.กรุงเทพฯ เนื้อที่ 526ไร่เศษ มูลค่า 78.7 ล้านบาท นายปารเมศ โพธารากุล ส.ส.กาญจนบุรี เนื้อที่ 519 ไร่เศษ มูลค่า 29.7 ล้านบาท นายพิเชษฐ พันธุ์วิชาติกุล ส.ส.กระบี่ เนื้อที่ 508 ไร่เศษ มูลค่า66.1ล้านบาท นายอภิวัฒน์ เงินหมื่น ส.ส. เนื้อที่ 492 ไร่เศษ มูลค่า39 ล้านบาท นายไพฑูรย์ แก้วทอง ส.ส.สัดส่วน เนื้อที่ 485 ไร่เศษ มูลค่า 104.5 ล้านบาท นายสาคร เกี่ยวข้อง ส.ส.กระบี่ เนื้อที่ 434 ไร่เศษ มูลค่า 803.6 ล้านบาท นายสกล ม่วงศิริ ส.ส.กรุงเทพฯ เนื้อที่ 413 ไร่เศษ มูลค่า 46 ล้านบาท (มติชนออนไลน์ 27 มิถุนายน 2553)

พรรคภูมิใจไทย ส.ส. 31 คนของพรรคภูมิใจไทย มีที่ดินในครอบครอง 3,853 ไร่เศษ มูลค่า 733.8 ล้านบาท ในจำนวนนี้ถือครองที่ดินตั้งแต่ 100 ไร่ขึ้นไปจำนวน 13 คน 10 อันดับแรกของ ส.ส. เศรษฐีที่ดินพรรคภูมิใจไทยคือ นายชัย ชิดชอบ เนื้อที่ 854 ไร่เศษ มูลค่า 38.1 ล้านบาท นายมานิต นพอมรบดี ส.ส.ราชบุรี เนื้อที่ 511 ไร่ มูลค่า 136.1 ล้านบาท นายศุภชัย โพธิสุ ส.ส.นครพนม เนื้อที่ 344 ไร่ มูลค่า 21.8 ล้านบาท นายเพิ่มพูน ทองศรี ส.ส.สัดส่วน เนื้อที่ 272 ไร่เศษ มูลค่า 25.3 ล้านบาท นายมนต์ไชย ชาติวัฒนศิริ ส.ส.บุรีรัมย์ เนื้อที่ 233ไร่เศษ มูลค่า 25.4 ล้านบาท นายปกรณ์ มุ่งเจริญพร ส.ส.สุรินทร์ เนื้อที่ 198 ไร่เศษ มูลค่า 42.5 ล้านบาท นางอุดมลักษณ์ เพ็งนรพัฒน์ ส.ส.ศรีสะเกษ เนื้อที่ 198 ไร่เศษ มูลค่า 29.4 ล้านบาท นายโสภณ ซารัมย์ ส.ส.บุรีรัมย์เนื้อที่ 193-3-43 ไร่ มูลค่า 6.3 ล้านบาท นายบุญจง วงศ์ไตรรัตน์ ส.ส.นครราชสีมา เนื้อที่ 180 ไร่เศษ มูลค่า 43.7 ล้านบาท นายสุชาติ โชคชัยวัฒนากร ส.ส.มหาสารคาม เนื้อที่ 150 ไร่เศษ มูลค่า 47.5 ล้านบาท (มติชนออนไลน์ 29 มิถุนายน 2553)

พรรคเพื่อแผ่นดิน ส.ส.พรรคเพื่อแผ่นดินที่แจ้งต่อ ปปช. ว่ามี“ที่ดินในครอบครองมี”จำนวน 29 คน (จาก ทั้งหมด 32 คน) รวมเนื้อที่ 5,323 ไร่ มูลค่า 1,299.4 ล้านบาท ในจำนวนนี้มี ส.ส. ที่ถือครองเกิน 1,000 ไร่ 1 คน คือนายพีระพงษ์ เฮงสวัสดิ์ ส.ส.บุรีรัมย์ เนื้อที่ 2,155 ไร่ มูลค่า 111.5 ล้านบาท มี ส.ส. ที่มีที่ดิน 100 ไร่ขึ้นไป (แต่ไม่ถึง 1,000 ไร่) จำนวน 10 คน คือ นางจิตรวรรณ หวังศุภกิจโกศล ส.ส.โคราช เนื้อที่ 749 ไร่เศษ มูลค่า 31 ล้านบาท นายพิเชษฐ์ ตันเจริญ ส.ส.ฉะเชิงเทรา เนื้อที่ 364 ไร่เศษ มูลค่า 463.7 ล้านบาท ร.ต.หญิงระนองรักษ์ สุวรรณฉวี ส.ส.โคราช เนื้อที่ 257-0-05 ไร่ มูลค่า 59 ล้านบาท นางรัชนี พลซื่อ ส.ส.ร้อยเอ็ด เนื้อที่ 251ไร่เศษ มูลค่า 16.6 ล้านบาท นายไชยยศ จิรเมธากร ส.ส.อุดรธานี เนื้อที่ 219 ไร่เศษ มูลค่า 40.8 ล้านบาท นายนิมุคตาร์ วาบา เนื้อที่ 168 ไร่ มูลค่า 19.7 ล้านบาท นายธีระทัศน์ เตียวเจริญโสภา ส.ส.สุรินทร์ เนื้อที่ 167 ไร่เศษ มูลค่า 42 ล้านบาท นายอุดร ทองประเสริฐ ส.ส.อุบลราชธานี เนื้อที่ 145 ไร่เศษ มูลค่า 9.2 ล้านบาท นายสุชาติ ตันติวณิชชานนท์ ส.ส.อุบลราชธานี เนื้อที่ 138 ไร่ มูลค่า 23.8 ล้านบาท นายประนอม โพธิ์คำ ส.ส.นครราชสีมา เนื้อที่ 125 ไร่เศษ มูลค่า 19.4 ล้านบาท (มติชนออนไลน์ 30 มิถุนายน 2553)

พรรครวมใจไทยชาติพัฒนา มี ส.ส. 9 คน ในจำนวนนี้ 8 คน ถือครองที่ดินรวม 819 ไร่เศษ มูลค่า 681.1 ล้านบาท มี ส.ส.ถือครองที่ดินมากกว่า 100 ไร่ จำนวน 3 คนคือ นายวรรณรัตน์ ชาญนุกูล ส.ส.นคราชสีมา เนื้อที่ 262 ไร่เศษ มูลค่า 220.3 ล้านบาท นายสมชัย ฉัตรพิพัฒนศิริ ส.ส.นครราชสีมา เนื้อที่ 231 ไร่ มูลค่า 68.1 ล้านบาท นางทัศนียา รัตนเศรษฐ ส.ส.นครราชสีมา เนื้อที่ 101 ไร่เศษ มูลค่า 61.2 ล้านบาท

พรรคประชาราช มี ส.ส. 9 คน ในจำนวนนี้ 8 คน ถือครองที่ดินรวม 3,088 ไร่เศษ มูลค่า 449.2 ล้านบาท ส.ส. ที่มีที่ดินเกิน 1,000 ไร่มี 1 คนคือ นายเสนาะ เทียนทอง ส.ส.สัดส่วน เนื้อที่ 1,900 ไร่ มูลค่า 189.6 ล้านบาท ส.ส. ที่มีที่ดินเกิน 100 ไร่ 3 คน โดย 2 ใน 3 เป็นตระกูลเทียนทอง คือ นายฐานิสร์ เทียนทอง ส.ส.สระแก้ว 16 แปลง เนื้อที่ 563 ไร่เศษ มูลค่า 9.4 ล้านบาท และ นางตรีนุช เทียนทอง ส.ส.สระแก้ว เนื้อที่ 289 ไร่เศษ มูลค่า 19.8 ล้านบาท อีก 1 รายคือนางชนากานต์ ยืนยง ส.ส.ปทุมธานี เนื้อที่ 230 ไร่เศษ มูลค่า 141.3 ล้านบาท

พรรคกิจสังคม มีส.ส. 4 คน จาก ทั้งหมด 5 คน ถือครองที่ดิน 858 ไร่ มูลค่า 70.9 ล้านบาท ส.ส. ที่มีที่ดินเกิน 100 ไร่ 2 คน คือ นายมนต์ชัย วิวัฒน์ธนาฒน์ ส.ส.พิษณุโลก เนื้อที่ 644 ไร่เศษ มูลค่า 24.2 ล้านบาท นายชยุต ภุมมะกาญจนะ ส.ส.ปราจีนบุรี เนื้อที่ 128 ไร่เศษ มูลค่า 13 ล้านบาท

พรรคมาตุภูมิ มี ส.ส. 3 คน ถือครองที่ดินรวม 216 ไร่ มูลค่า 28 ล้านบาท ที่มีเกิน 100 ไร่มี 1 คน คือ นายนัจมุดดีน อูมา ส.ส. นราธิวาส เนื้อที่ 123-2-13 ไร่ มูลค่า 5.6 ล้านบาท (มติชนออนไลน์ 1 กรกฎาคม 2553)

สมาชิกวุฒิสภา ส.ว.จำนวน 145 คน (จากทั้งหมด 150 คน) แจ้งต่อ ปปช. ว่ามีที่ดินในครอบครองรวมกัน 19,311 ไร่เศษ มูลค่ารวม 10,429.4 ล้านบาท ส.ว. ที่ถือครองที่ดินมากกว่า 1,000 ไร่ มี 2 คนคือนายสิทธิศักดิ์ ยนต์ตระกูล ส.ว.กาฬสินธุ์ เนื้อที่ 1,854- ไร่เศษ มูลค่า 120.7 ล้านบาท และนางกีระณา สุมาวงศ์ ส.ว.สรรหา เนื้อที่ 1,430 ไร่เศษ มูลค่า 224.8 ล้านบาท ส.ว.ที่มีที่ดินมากกว่า 500 ไร่ แต่ไม่ถึง 1,000 ไร่ จำนวน 7 คนคือนาย สุรพงษ์ ตันธนศรีกุล ส.ว.กาญจนบุรี เนื้อที่ 974 ไร่เศษ มูลค่า 123.7 ล้านบาท นายโชติรัส ชวนิตย์ ส.ว.สรรหา เนื้อที่ 856 ไร่เศษ มูลค่า 413.6 ล้านบาท นายประดิษฐ์ ตันวัฒนะพงษ์ ส.ว.สกลนคร เนื้อที่ 851 ไร่เศษ มูลค่า 232.6 ล้านบาท นายวิชาญ ศิริชัยเอกวัฒน์ ส.ว.สรรหา เนื้อที่ 787 ไร่ มูลค่า 343.4 ล้านบาท นายขวัญชัย พนมขวัญ ส.ว.แพร่ เนื้อที่ 621 ไร่เศษ มูลค่า 59.2 ล้านบาท นายไพบูลย์ ซำสิริพงษ์ ส.ว.ปทุมธานี เนื้อที่ 504ไร่เศษ มูลค่า 207.2 ล้านบาท นายสิริวัฒน์ ไกรสินธุ์ ส.ว.นครศรีธรรมราช เนื้อที่ 500 ไร่เศษ มูลค่า 43.5 ล้านบาท

ล้างนักการเมืองและข้าราชการคอร์รัปชั่น ด้วยมาตรการทางภาษี โดย อนุรักษ์ สง่าอารีย์กูล ผ่าน มติชน

ล้างนักการเมืองและข้าราชการคอร์รัปชั่น ด้วยมาตรการทางภาษี
          อนุรักษ์ สง่าอารีย์กูล
        
เลขานุการแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองในศาลฎีกา
          สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ เปิดเผยผลสำรวจ เรื่องต้นตอทุจริตคอร์รัปชั่น และทัศนคติของประชาชนต่อรัฐบาลทุจริตคอร์รัปชั่น ว่าประชาชนร้อยละ 74.2 ยังคงคิดว่าถ้ามีการเลือกตั้งใหม่จะมีการซื้อสิทธิขายเสียงเกิดขึ้น ร้อยละ 77.6 เชื่อว่ามีนักการเมืองระดับชาติและบรรดาที่ปรึกษาอยู่เบื้องหลังการแสวงหาผล ประโยชน์จากการทำธุรกิจของพวกพ้อง ร้อยละ 90.1 เชื่อว่ามีข้าราชการและเจ้าหน้าที่รัฐยังคงทุจริตคอร์รัปชั่นอยู่ในรัฐบาล ชุดปัจจุบัน
          และผลสำรวจยังพบด้วยว่า สัดส่วนของประชาชนที่มีทัศนคติยอมรับรัฐบาลทุจริตคอร์รัปชั่น แต่ขอให้ประเทศชาติรุ่งเรือง ประชาชนอยู่ดีกินดี(โกงไม่เป็นไรขอให้ตัวเองได้ผลประโยชน์ด้วย)เพิ่มขึ้นจาก ร้อยละ 63.2 ในเดือนตุลาคม 2551 มาอยู่ที่ร้อยละ 76.1 ในปัจจุบัน
          จากการจัดอันดับ "ดัชนีชี้วัดภาพลักษณ์คอร์รัปชั่น" (Corruption Perceptions Index หรือ CPI) ประจำปี 2553 ของ "องค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ" (Transparency International)ระบุว่า ประเทศไทยได้คะแนน 3.5 จากคะแนนเต็ม10 คะแนน (ค่าคะแนน 0 คือ คอร์รัปชั่นมากที่สุด10 คือคอร์รัปชั่นน้อยที่สุด) อยู่อันดับที่ 78 จากการจัดอันดับทั้งหมด 178 ประเทศทั่วโลก และอยู่อันดับที่ 9 จาก 23 ประเทศในภูมิภาคเอเชีย
          แม้รัฐธรรมนูญจะได้กำหนดให้มีองค์กรและกลไกในการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐไว้ อย่างมากมาย แต่ก็ดูเหมือนว่ายังไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอที่จะป้องกันและสามารถแก้ปัญหา การทุจริตคอร์รัปชั่นให้ลดน้อยลงได้
          โดยเฉพาะรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2550 หมวด 12 การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ ส่วนที่ 1 การตรวจสอบทรัพย์สินมาตรา 259-264 ที่บัญญัติให้ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและเจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัฐต้อง ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินทั้งของตนเอง คู่สมรส และบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะต่อคณะกรรมการป้องกันละปราบปรามการทุจริตแห่ง ชาติ ซึ่งมีเจตนารมณ์ให้นักการเมืองและเจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัฐแสดงความ บริสุทธิ์โปร่งใสเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาการทุจริตจากการใช้อำนาจรัฐ ก็ตรวจสอบได้เพียงความถูกต้องและมีอยู่จริงของทรัพย์สินและหนี้สินเท่านั้น
          ไม่สามารถตรวจสอบที่มาที่ไปว่าชอบด้วยกฎหมายและเสียภาษีถูกต้องแล้วหรือไม่
          ทั้งๆ ที่บัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของนักการเมืองที่มีตำแหน่งรัฐมนตรี ส.ส.และ ส.ว.จำนวนรวมกันไม่กี่ร้อยคนตามที่ ป.ป.ช.เปิดเผยต่อสาธารณะปรากฏว่ามีทรัพย์สินและหนี้สินรวมนับพันนับหมื่น ล้านบาท และมีหลายรายที่เมื่อเปรียบเทียบทรัพย์สินและหนี้สินกับเงินได้ตามแบบแสดง รายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา(ภ.ง.ด.90, 91) ของผู้นั้นที่ได้ยื่นไว้พร้อมกันแล้วมีมูลค่าไม่สอดคล้องกันและไม่สมเหตุสม ผล เราจึงได้เห็นนักการเมืองที่ไม่ปรากฏอาชีพสุจริตชัดเจนแต่มีฐานะร่ำรวย มหาศาล
          จากประสบการณ์เกี่ยวกับเรื่องอัล คาโปนนักธุรกิจหัวหน้าแก๊งอันธพาล ช่วงทศวรรษที่20-30 ที่เป็นวายร้ายป่วนเมืองทั่วอเมริกา ผู้ที่ทำให้ FBI ต้องปวดหัวหนักแม้จะมีประวัติอาชญากรรมหนากว่าพันหน้าแต่ก็เอาผิดเขาไม่ได้ จนกระทั่งเขาถูกจำคุกในข้อหา "หลีกเลี่ยงภาษี"
          และกรณีของนักการเมืองให้รัฐบาลของพล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ ที่ถูกคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ หรือ รสช. ยึดทรัพย์ในปี2534 จำนวน 11 คน และกรมสรรพากรโดยอธิบดีในสมัยรัฐบาล นายชวน หลีกภัยใช้อำนาจตามประมวลรัษฎากร มาตรา 49 ประเมินภาษีจากทรัพย์สินที่ถูกยึดไว้จนกระทั่งศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาถึงที่ สุดให้ชำระภาษีและเงินเพิ่มพร้อมทั้งค่าปรับตามที่กรมสรรพากรประเมินจำนวน 3 ราย คือพล.ต.อ.ประมาณ อดิเรกสารอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย นายสุบิน ปิ่นขยันอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ และ นายปริญญา ช่วยปลอดอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ตามนัยคำพิพากษาศาลฎีกาที่10235/2539, 3665/2540 และ 8478/2540 ตามลำดับ
          เมื่อครั้งที่ผู้เขียนได้รับการแต่งตั้งให้เป็นอนุกรรมาธิการยกร่างรัฐ ธรรมนูญฯ 50 จึงได้นำหลักการประเมินภาษีผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและเจ้าหน้าที่ระดับ สูงของรัฐไปเสนอให้บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญฯ ดังนี้
          รัฐธรรมนูญฯ 50 มาตรา 261 "บัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินและเอกสารประกอบของนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกวุฒิสภา ให้เปิดเผยให้สาธารณชนทราบโดยเร็วแต่ต้องไม่เกินสามสิบวันนับแต่วันครบกำหนด ต้องยื่นบัญชีดังกล่าว บัญชีของผู้ดำรงตำแหน่งอื่นจะเปิดเผยได้ต่อเมื่อการเปิดเผยดังกล่าวจะเป็น ประโยชน์ต่อการพิจารณาพิพากษาคดีหรือการวินิจฉัยชี้ขาดและได้รับการร้องขอ จากศาล หรือผู้มีส่วนได้เสียหรือคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน
          ให้ประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติจัดให้มีการประชุมคณะ กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติเพื่อตรวจสอบความถูกต้องและความ มีอยู่จริงของทรัพย์สินและหนี้สินดังกล่าวโดยเร็ว" "หากปรากฏชัดแจ้งจากบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของผู้ดำรงตำแหน่ง ทางการเมืองตามมาตรา 259 วรรคหนึ่ง ที่ยื่นในกรณีที่เป็นการเข้ารับตำแหน่ง ครั้งแรกผู้ใดเมื่อเปรียบเทียบกับเงินได้ตามที่ปรากฏในสำเนาแบบแสดงรายการ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในรอบปีภาษีที่ผ่านมาแล้วไม่ได้สัดส่วนกัน ให้ประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติส่งเรื่องให้เจ้า พนักงานผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการจัดเก็บภาษีอากรทำการตรวจสอบและประเมิน ภาษีเงินได้ของผู้นั้น ย้อนหลังไปเป็นเวลาสิบปีนับแต่วันที่ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและ หนี้สินต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
          ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองผู้ใดซึ่งเจ้าพนักงานประเมินภาษีอากรมีคำสั่งให้ ชำระภาษีเงินได้ ตลอดจนเงินเพิ่มและค่าปรับเพิ่มเติมและผู้นั้นยินยอมชำระ หรือศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดยืนยันตามคำสั่งของเจ้าพนักงานประเมินอากรดัง กล่าว ให้ผู้นั้นพ้นจากตำแหน่งนับแต่วันที่ผู้นั้นยินยอมชำระตามวัน เวลา ที่เจ้าพนักงานประเมินภาษีอากรกำหนดหรือวันที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว แต่กรณี
          และผู้นั้นต้องห้ามมิให้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เป็นสมาชิกพรรคการเมือง และสมัครรับเลือกตั้งในตำแหน่งทางการเมืองใดๆ เป็นเวลาสิบปีนับแต่วันที่พ้นจากตำแหน่ง"
          เดิมหลักการนี้ได้บรรจุไว้ในร่างแรกของรัฐธรรมนูญฯ 50 เรียบร้อยแล้ว แต่อดีตเลขานุการคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญในขณะนั้น ได้กล่าวกับผู้เขียนว่า "คุณมองคนในแง่ร้ายอย่างนี้คนดีๆ ก็ไม่มีใครกล้าเข้ามาเล่นการเมืองหรอก" และอดีตเลขานุการคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญก็ได้ไปแถลงต่อคณะกรรมาธิการ ยกร่างรัฐธรรมนูญขอตัดหลักการนี้ออกไป โดยให้เหตุผลว่า "เป็นรายละเอียดควรไปบัญญัติไว้ในกฎหมายลูก" ซึ่งผู้เขียนมาถึงบางอ้อก็เมื่อทราบข่าวจากสื่อว่าอดีตเลขานุการคณะ กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญท่านนี้ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นที่ปรึกษาของ นายกรัฐมนตรีในรัฐบาลปัจจุบัน
          หากหลักการดังกล่าวยังคงบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญฯ 50 วันนี้ประเทศไทยอาจได้เห็นการปฏิรูปนักการเมืองเกิดขึ้นแล้วก็เป็นได้ เพราะเมื่อตรวจดูจากบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของนักการเมืองที่ คณะกรรมการ ป.ป.ช.เปิดเผยผ่านทางเว็บไซต์แล้ว ตระกูลนักการเมืองไทยในปัจจุบันอาจหายไปจากวงการเมืองเกินกว่าครึ่งก็เป็น ได้
          ดังนั้น การจะแก้ไขปัญหานักการเมืองและข้าราชการทุจริตคอร์รัปชั่นและนำไปสู่การ เปลี่ยนแปลงทัศนคติของสังคมไทยตามที่ปรากฏจากผลสำรวจของเอแบคโพลล์ดังกล่าว ประชาชนไทยโดยเฉพาะสื่อมวลชนและกลุ่มมวลชนที่ออกมาเรียกประชาธิปไตยในขณะนี้ น่าจะรวมกันรณรงค์นำเอาบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของรัฐมนตรีส.ส. และ ส.ว.ทั้งอดีตและปัจจุบันที่คณะกรรมการป.ป.ช.เผยแพร่ไว้มาตีแผ่ให้สังคมรับ รู้ตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญฯ เพื่อให้เป็นข้อมูลในการตัดสินใจเลือกผู้แทนราษฎรที่ดีมีความสุจริตและจิต สาธารณะอย่างแท้จริง
          และคงต้องร่วมกันช่วยเรียกร้องให้สร้างความเข้มแข็งแก่ระบบตรวจสอบโดยนำ กระบวนการประเมินภาษีตามที่เสนอไว้นี้มาใช้โดยเร็วต่อไป
          "FBI ต้องปวดหัวหนัก
          แม้จะมีประวัติอาชญากรรมหนากว่า
          พันหน้าแต่ก็เอาผิดเขาไม่ได้ จนกระทั่งเขาถูกจำคุก
          ในข้อหา "หลีกเลี่ยงภาษี"
--จบ--

          --มติชน ฉบับวันที่ 10 พ.ค. 2554 (กรอบบ่าย)--

รีโมท ซื้อ รีโมท จากผู้ค้าส่งโดยตรง ที่มีหน้าร้านจริง ที่ บ้านหม้อ และ คลองถม ราคาถูกกว่าใคร ปลอดภัย มีรับประกัน

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

บทความย้อนหลัง