บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันศุกร์ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2554

"นิติราษฎร์" เตรียมขยับประเด็น รธน. สัปดาห์หน้า




ที่มา ประชาไท


วงเสวนาที่ มธ. หนุนข้อเสนอนิติราษฎร์ สุนัย ชี้ไม่ล้างพิษรัฐประหาร โครงสร้างประชาธิปไตยฯพังแน่ พิชิต เชื่อข้อเสนอนิติราษฎร์ไม่เพียงทำให้รัฐประหารเป็นโมฆะ แต่ยังเป็นการต่อสู้ทางความคิดขั้นรากฐานด้วยว่าอำนาจอธิปไตยเป็นของใคร ส่วนสุธาชัย หนุนเอารัฐธรรมนูญสามฉบับแรกเป็นต้นร่างรัฐธรรมนูญใหม่ วรเจตน์ย้ำนิติราษฎร์ทำงานความคิด ไม่นำมวลชน

(6 ต.ค.54) ที่ห้องจี๊ด เศรษฐบุตร คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) ท่าพระจันทร์ มีการเสวนาวิพากษ์ข้อเสนอนิติราษฎร์ "การล้มล้างผลพวงของคณะรัฐประหาร" ในงานรำลึก 35 ปี 6 ตุลา



สุนัย จุลพงศธร ส.ส.พรรคเพื่อไทย กล่าวขอบคุณคณะนิติราษฎร์ที่ประกาศข้อเสนอการล้างผลพวงรัฐประหาร โดยมองว่า นิติราษฎร์หวังดีกับบ้านเมืองและสถาบันฯ ทั้งนี้ ยืนยันว่าไม่เคยรู้จักกันเป็นการส่วนตัวมาก่อน

สุนัย กล่าวว่า ที่ผ่านมา มีนักวิชาการอยากรื้อประกาศคณะปฏิวัติ โดยชี้ว่า ขณะที่ ส.ส. กว่าจะเข้าสภาได้ยากมาก หลายครั้งอยู่ได้ไม่ครบ 4 ปี กว่าจะออกกฎหมายได้ทีก็ลำบาก ขณะที่กลุ่มยึดอำนาจมาถึงก็ออกได้สบาย และกลายเป็นรัฏฐาธิปัตย์

ทั้งนี้ สุนัยระบุด้วยว่า สมคิด เลิศไพฑูรย์ อธิการบดี มธ. ไม่ควรตำหนินิติราษฎร์ และสมคิดเองควรจะพิจารณาลาออก เพราะผิดจริยธรรมการก่อตั้งมหาวิทยาลัยและจริยธรรมการต่อสู้ของนักศึกษา มธ.ตลอดหลายสิบปีที่ผ่านมา

เขากล่าวว่า หากไม่ล้างกระบวนการรัฐประหาร ระบบแห่งโครงสร้างการเมืองซึ่งคือ "ประชาธิปไตยอันมีกษัตริย์เป็นประมุข" จะพัง โดยชี้ว่า โครงสร้างรัฐธรรมนูญ 2550 ดึงเอาศาลมาเกลือกกลั้วกับการเมือง เรียกว่า รัฐธรรมนูญที่ศาลติดคุกการเมือง ยกตัวอย่าง การสรรหา ส.ว. 74 คนที่ทำโดยประธานศาลรัฐธรรมนูญ ตัวแทนจากศาลฎีกา ตัวแทนศาลปกครอง และตัวแทนองค์กรอิสระ 4 องค์กรซึ่งก็มีที่มาจากศาลเช่นกัน นอกจากนี้ รัฐธรรมนูญฉบับนี้ทำให้องค์กรอิสระเป็นองค์กรเหนือรัฐ โดยสามารถยื่นกฎหมายเข้าสภาได้เอง ไม่ต้องผ่านรัฐบาล สภาจะเรียกศาลหรือองค์กรอิสระมาให้ปากคำใดๆ ไม่ได้ ซึ่งในที่นี้ การไม่ให้ศาลมา เข้าใจได้ เพราะถือเป็นหนึ่งในสามอำนาจอธิปไตย แต่องค์กรอิสระนั้นไม่ได้มีที่มาจากประชาชนเลย

ขณะที่ พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์ อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ มธ. กล่าวว่า แนวคิดล้างพิษรัฐประหาร 19 ก.ย. นั้นมีการพูดคุยมาตั้งแต่หลัง 19 ก.ย.ไม่นาน แต่คณะนิติราษฎร์ถือเป็นบุคคลคณะแรกที่สังเคราะห์ความคิดนี้ได้สำเร็จ และจะผลักดันให้เป็นจริงได้โดยประชาชน

พิชิต ระบุว่า ข้อเสนอนี้ไม่เพียงแต่ทำให้การรัฐประหารเป็นโมฆะ แต่ยังเป็นการต่อสู้ทางความคิดขั้นรากฐานว่าในประเทศไทย อำนาจอธิปไตยเป็นของใครด้วย เนื่องจากที่ผ่านมา มีแนวคิดสองแนวต่อสู้กัน หนึ่งคือ แนวคิดเชิงประเพณีว่า "อำนาจอยู่ที่ไหน รัฏฐาธิปัตย์อยู่ที่นั่น" ซึ่งจะเห็นจากนักกฎหมายเมืองไทยที่ถือเอาคำสั่งเป็นความชอบธรรม และออกมาโต้นิติราษฎร์ว่าทำเพื่อคนๆ เดียว ส่วนกระแสที่สอง ซึ่งเริ่มแข็งแรงขึ้น จนพัฒนามาเป็นประกาศของคณะนิติราษฎร์ คือความเชื่อที่ว่าประชาชนคือรัฎฐาธิปัตย์ และประชาชนคือรัฎฐาธิปัตย์อยู่ตลอดเวลาไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น แนวคิดนี้เป็นปรัชญาพื้นฐานของหลักการเสรีนิยมและประชาธิปไตย ดังนั้น เพื่อให้ประชาชนเป็นรัฎฐาธิปัตย์ ต้องกลับไปล้างผลพวงของรัฐประหาร ตามข้อเสนอของนิติราษฎร์ ซึ่งเป็นทางสายกลางที่สุดแล้ว

สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ อาจารย์ภาควิชาประวัติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า เมื่อประเทศมีปัญหาหนัก เห็นด้วยกับนิติราษฎร์ว่าต้องแก้ที่กฎหมาย โดยลบล้างดอกผลของรัฐประหารก่อน ทั้งนี้ สุธาชัยระบุว่า ข้อเสนอเรื่องแก้ไขมาตรา 112 ประมวลกฎหมายอาญานั้นมองว่าเป็นข้อเสนอที่อยู่ในทางสายกลางและควรทำ แม้ว่าส่วนตัวไม่เห็นด้วย โดยเห็นว่าควรให้ยกเลิกเพราะมีกฎหมายหมิ่นประมาทอยู่แล้ว

ส่วนข้อเสนอเรื่องยกเลิกรัฐธรรมนูญ 2550 และร่างใหม่โดยเอารัฐธรรมนูญสามฉบับแรกเป็นตัวตั้ง สุธาชัยกล่าวว่า เป็นข้อเสนอที่ดีมาก และเป็นสายกลางที่จะใช้แก้ปัญหาบ้านเมือง ส่วนที่มีผู้คัดค้านโดยบอกว่ามีการเสนอนิรโทษกรรมให้ พ.ต.ท.ทักษิณคนเดียวนั้น ยังไม่เห็นว่ามีข้อไหน ขณะที่ข้ออ้างเรื่องรัฐธรรมนูญไทยมีพัฒนาการมาไกลแล้ว ก็ยังไม่เห็นพัฒนาการเช่นกัน

ทั้งนี้ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการเสวนาดังกล่าว อาจารย์จากกลุ่มนิติราษฎร์ 4 คนได้แก่ วรเจตน์ ภาคีรัตน์, ปิยบุตร แสงกนกกุล, สาวตรี สุขศรี และปูนเทพ ศิรินุพงศ์ เข้าร่วมรับฟังและแลกเปลี่ยนด้วย

โดย วรเจตน์ ภาคีรัตน์ กลุ่มนิติราษฎร์ กล่าวว่า อีกสองประเด็นที่ต้องทำให้ชัดขึ้นอีก นอกจากเรื่องลบล้างผลพวง คือการยกร่างรัฐธรรมนูญที่เสนอให้เอารัฐธรรมนูญสามฉบับแรกเป็นแนวทางยกร่าง ที่ยังต้องขยายความรายละเอียด เพราะหากทำให้เป็นเรื่องที่วิพากษ์วิจารณ์ คุยกันอย่างเปิดเผยได้ จะทำให้ความคิดเคลื่อนไปในประชาชนวงกว้าง และได้รัฐธรรมนูญที่เกิดการปรับสมดุลแห่งอำนาจ เป็นการเปลี่ยนเชิงระบบอย่างสันติ

ทั้งนี้ วรเจตน์ ขยายความว่า ที่เสนอรัฐธรรมนูญสามฉบับแรกเป็นแนวทาง เนื่องจากสามฉบับแรกเกิดหลังเปลี่ยนระบอบการปกครอง โดยฉบับที่สามถูกฆ่าในรัฐประหาร 2490 ซึ่งถือเป็นรัฐประหารครั้งแรก นี่จึงเป็นการย้อนกลับไปเชื่อมเอาอดีตกับปัจจุบันเข้าด้วยกัน ส่วนที่มีการตั้งข้อสังเกตว่าสามฉบับแรกไม่มีองคมนตรีนั้นถูกต้องแล้ว นอกจากนี้อีกเรื่องที่ต้องพูดกันคือ สถานะของพระมหากษัตริย์ เพราะหลังๆ มีหลายเรื่องที่เป็นเรื่องต้องห้ามเช่น การสืบสันตะติวงศ์ ซึ่งสังคมไทยไม่คุยกัน

"การทำให้ระบอบประชาธิปไตยยั่งยืน การปรับความคิดเป็นเรื่องสำคัญ ปูฐานความคิดให้คนเห็นภาพ ที่สุดจะทำให้ประเทศไปในทิศทางที่เป็นประชาธิปไตยได้" วรเจตน์กล่าวและตอบกรณีมีผู้เรียกร้องให้นิติราษฎร์นำมวลชนในการเคลื่อนไหว โดยย้ำว่า นิติราษฎร์ทำงานทางความคิด จะไม่นำมวลชนเด็ดขาด เพราะนอกจะไม่ใช่ความถนัดแล้ว จะทำให้หลักการเสียด้วย

ด้าน ปิยบุตร กล่าวว่า การทำงานทางความคิดของนิติราษฎร์คงไม่ได้จุดพลุแล้วเงียบ สัปดาห์หน้าจะเตรียมขยับอีกเล็กน้อย สำหรับประเด็นการลบล้างผลพวงรัฐประหารได้อธิบายหลายรอบแล้ว ซึ่งคนที่ไม่เข้าใจก็จะไม่เข้าใจหรือแกล้งไม่เข้าใจอยู่ แต่ประเด็นที่จะขยายความต่อไปคือประเด็นที่สี่ ซึ่งใจความสำคัญอยู่ที่การนำรัฐธรรมนูญสามฉบับแรกมาเป็นต้นแบบ และคำประกาศ ซึ่งไม่ได้อยู่ในรัฐธรรมนูญ แต่เป็นสปิริตว่ารัฐไทยจะเป็นแบบนี้

คิดบ้างมั้ย ก่อนจะทำอะไร




เอาอะไรคิดครับ ออกมาเพื่ออะไร มันไม่ได้เป็นการช่วยเหลืออะไรเลยแม้แต่ให้กำลังใจประชาชนที่เค้าประสบปัญหาและเผชิญวิกฤตขณะนี้ ประชาชนที่รอความช่วยเหลือจากภาครัฐ ประชาชนที่หวังจะให้รัฐหาหนทาง หาทางออกที่ดีให้ประชาชน ถ้าเค้ามาเห็นหนังสือฉบับนี้เค้าจะรู้สึกอย่างไรครับ แน่ใจว่า เค้าจะรู้สึกดีขึ้นจริงๆหรือครับ ถ้าเป็นท่าน ท่านจะรู้สึกดีขึ้นจริงๆหรือครับ ผมว่าถ้าหมดหนทางจริงๆพวกท่านลงแรงลงไปเผชิญสถานการณ์พร้อมฝ่าฟันวิกฤตกับชาวบ้านถึงแม้จะช่วยอะไรไม่ได้มากนัก แต่ช่วยให้ประชาชนได้มีกำลังใจที่จะเผชิญปัญหาได้มากกว่าที่จะทำแบบนี้นะครับ หรือถ้าไม่อยากทำอะไรจริงๆ อยู่เฉยๆจะเหมาะกว่าครับ!



Chorchang

ทันสมัยแต่ "ไม่ทันคน"


 
เมื่อ วันที่ ๒๘ มิถุนายน ๒๕๔๐ ผมได้ไปออกรายการโทรทัศน์แห่งหนึ่งที่มีคุณ พิศณุ นิลกลัด เป็นพิธีกร เพื่ออภิปรายเรื่องผลกระทบของการเล่นเกม “ทามากอตจิ” หรือสัตว์เลี้ยงคอมพิวเตอร์ต่อเด็กไทย นักวิชาการทางการศึกษาที่ร่วมรายการได้ให้ทัศนะว่าเป็นเรื่องที่ดีมาก สมควรส่งเสริมให้เล่น เพราะเป็นการสร้างความคิดริเริ่ม จะได้นำไปพัฒนาต่อไป


ส่วนผมมีความเห็นว่าประโยชน์อาจมีอยู่บ้างเช่นเดียวกับของเล่นอื่นๆ แต่เกรงว่าเด็กจะรู้จักแต่การเล่น เนื่องจากไม่มีช่องทางให้เด็กพัฒนาความคิดสร้างสรรค์อย่างที่อยากให้เป็น มีแต่ถูกหลอกให้ซื้อกันเครื่องละ ๕๐๐ บาท ผลาญเงินพ่อแม่และทำให้ประเทศไทยขาดดุลการค้าโดยไม่จำเป็น
หลังจากนั้นไม่กี่วันก็มีคอลัมนิสต์หนังสือพิมพ์รายวันฉบับหนึ่งเขียน วิพากษ์ วิจารณ์ผมอย่างรุนแรงว่ามีจิตใจคับแคบไม่ทันสมัย พร้อมกับสรรเสริญเยินยอนักการศึกษาท่านนั้นอย่างเลิศเลอ ซึ่งภายหลังท่านก็ได้เป็นนักการเมืองผู้บริหารการศึกษาของประเทศในรัฐบาลที่ ถูกประชาชนขับไล่
ผ่านไปไม่ถึงหนึ่งปี เกมนั้นก็หมดความนิยมไป โดยมีของเล่นใหม่มาแทน และไม่ปรากฏว่าเด็กไทยได้พัฒนาความสามารถด้านความคิดริเริ่มที่ชัดเจน หรือมีความเมตตาต่อสัตว์มากขึ้นแต่อย่างใด จะมีก็แต่การเปลี่ยนรูปแบบของของเล่นมาเป็นอุปกรณ์อื่น เช่น โทรศัพท์ที่ถ่ายรูปได้ เกมคอมพิวเตอร์ ตลอดมาจนถึงของเล่นตระกูลไอตระกูลอีทั้งหลาย
เรื่องนี้ศาสตราจารย์ Peter Smith หัว หน้าหน่วยศึกษาด้านโรงเรียนและครอบครัว ภาควิชาจิตวิทยา มหาวิทยาลัยลอนดอน เคยรายงานไว้ว่าของเล่นอิเล็กทรอนิกส์ที่ถูกตั้งโปรแกรมไว้ล่วงหน้า สามารถครอบงำสมองเด็กได้ เพราะเด็กโต้ตอบกับสถานการณ์ที่คนอื่นสร้างขึ้นไว้ให้ ซึ่งนอกจากจะไม่สร้างสรรค์ความคิดริเริ่มของเด็กแล้ว ยังสกัดกั้นการคิดค้นการละเล่นของเด็กเอง ทำให้เด็กขาดจินตนาการที่พึงมีตามพัฒนาการปกติของเด็กทั่วไป
น่าเป็นห่วงว่า เด็กไทยตกเป็นเหยื่อของการขายสินค้าโดยผ่านช่องทางต่างๆ กล่าวคือ เริ่มต้นสร้างความต้องการให้เด็กอยากได้อยากเล่นก่อน แล้วเด็กก็ไปไถเงินพ่อแม่มาซื้อจนได้ เพราะพ่อแม่มักทนการรบเร้าของลูกไม่ได้ โดยเฉพาะเมื่อลูกบอกว่าเพื่อนๆ เขามีกันทั้งนั้น
การแจกแท็บเล็ตให้เด็กประถมเป็นกลวิธีการตลาดที่ร้ายกาจมาก เป็นทั้งประชานิยมเพื่อการหาเสียง เป็นการเอาเงินหลวงมาแจกแล้วผันเข้ากระเป๋าตัวเอง ทั้งในรูปการค้าขายเองและรับเงินทอนจากบริษัท เมื่อเด็กเริ่มใช้ก็เริ่มมีค่าซ่อมค่าอะไหล่ จะได้ไปดักจากตรงนั้นอีกรอบหนึ่ง ครั้นไม่นานสินค้าตกรุ่นก็ติดเล่นเสียแล้ว เป็นโอกาสให้ขายของใหม่ได้อีก เรียกว่าแยบยลคล้ายแปรรูปรัฐวิสาหกิจ ทำครั้งเดียวกินไปได้นานเป็นชาติ ตอนนี้ก็มีนักวิชาการหลายคนออกมาคัดค้านโครงการนี้แล้ว เพราะเห็นแล้วว่าเป็นการทำลายนิสัยรักการอ่านหนังสือของเด็ก
ผลแทรกซ้อนอีกอย่างหนึ่งของโครงการนี้ก็คือการสร้างความอยากได้ อยากมีให้คน กลุ่มอื่น เริ่มมีคำถามจากหลายฝ่ายว่าทำไมฉันไม่ได้รับแจกบ้าง เพราะฉันเป็นเด็กโตหรือเป็นผู้ใหญ่ น่าจะใช้ประโยชน์ได้มากกว่าเด็ก กลายเป็นโรคระบาดที่แพร่กระจายได้กว้างขวางรวดเร็วมาก เพราะเป็นการแจกที่ไม่มีเหตุผล ไม่เหมือนซานตาคลอสที่แจกของเด็กเฉพาะวันคริสต์มาส และมีเงื่อนไขว่าต้องประพฤติตัวดีด้วย ไม่เหมือนยุคปัจจุบันที่ไม่ว่าดีชั่วก็แจกหมด ยิ่งถ้าชั่วได้ระดับก็แจกตำแหน่งให้ใหญ่โตมีเงินเดือนแสนไปเลย
นี่เป็นตัวอย่างหนึ่งของการทำประชานิยม แบบแจกของที่ไม่สมเหตุผล โดยผู้แจกไม่ต้องใช้เงินตัวเอง แต่ใช้เงินภาษีอากรที่ผู้แจกไม่ค่อยมีส่วนจ่ายเพราะหลบเลี่ยงเป็นประจำใน ปริมาณสูง เช่นเดียวกับโครงการอื่นทั้งหลายที่ผู้แจกได้รับผลกลับคืนทั้งทางตรงและทาง อ้อม แต่ผู้รับแจกมักไม่มีวันพอ และยังสร้างกิเลสให้คนกลุ่มอื่นต่อไปด้วย ผลที่สุดก็เลิกไม่ได้เพราะเสพติดเสียแล้วและ เป็นยาเสพติดร้ายแรงที่เคยทำให้บางประเทศล่มจมมาแล้ว ไม่รู้ว่ารัฐบาลนี้คิดจะปราบด้วยการฆ่าตัดตอนเหมือนแบบที่เคยทำในอดีตหรือ เปล่า แต่คงไม่ทำหรอก
กลยุทธการตลาดอย่างหนึ่งที่ใช้ได้ผลคือการสร้างความต้องการสินค้าให้เกิด ขึ้น ในกลุ่มเป้าหมาย โดยให้ความต้องการนั้นตรงกับจริตของผู้ซื้อ เช่นสร้างภาพให้เป็นสินค้าทันสมัย มีเทคโนโลยีล้ำหน้า ถ้าเป็นเครื่องแต่งตัวก็ต้องเป็นแฟชั่นล่าสุดที่มีอยู่ในโลกและยังไม่มีใน เมืองไทย แบบนี้ก็จะมีคนไปเข้าแถวแย่งกันซื้อมากกว่างานทิ้งกระจาดของมูลนิธิเสียอีก
ในบ้านเรามีคนบางคนที่ได้รับสมญาว่า”มนุษย์ไฮเทค” เพราะมีเครื่องไม้เครื่องมือและอุปกรณ์ทันสมัยทุกอย่าง ไม่ว่าอุปกรณ์ใดรุ่นใหม่ล่าสุดเพียงใด แม้จะยังไม่มีขายในบ้านเรา เขาก็สามารถหาซื้อมาเล่นมาอวดคนอื่นได้ ปัญหาอยู่ตรงที่ว่าเขามีศักยภาพเป็นแค่ผู้ซื้อผู้ใช้และผู้นำเสนอ (presenter) ให้ ผู้อื่นอยากได้และซื้อใช้ตาม แต่ไม่มีความสามารถเป็นผู้ผลิตและผู้ขายแต่อย่างใด ผลประโยชน์จึงไปตกอยู่แก่ผู้ผลิตและผู้ขาย โดยที่ผู้ซื้อไม่ค่อยได้อะไรนอกจากความสนุกและความภูมิใจว่าตนทันสมัย เหมือนกับเจ้าทามากอตจินั่นแหละ
กลยุทธการตลาดเป็นเสมือนการหลอกให้คนซื้อสินค้า โดยการสร้างความต้องการในรูปแบบต่างๆ ทั้งแท้และเทียม ทำให้มีการซื้อหรือบริโภคมากเกินพอดี เพื่อให้ผู้ขายร่ำรวยขึ้น แต่ผู้ซื้อหากไม่ระมัดระวังอาจเป็นหนี้ที่ไม่สามารถใช้คืนได้ เป็นต้นเหตุของหายนะทางเศรษฐกิจของโลก ที่กำลังเป็นปัญหาใหญ่ในสหรัฐอเมริกาและยุโรป และคงหนีไม่พ้นที่จะต้องกระทบถึงไทยอย่างแน่นอน การประกันเงินฝากเพียงบัญชีละล้านบาทเป็นการส่งสัญญาณแห่งความหายนะที่ใกล้ เข้ามาเต็มทีแล้ว
“การตลาด” อันเป็นกลไกสำคัญของระบบทุนนิยมสามานย์นี้ ได้แพร่เข้าสู่วงการแพทย์แล้ว โดยที่น้อยคนจะตระหนักรู้ ลองสังเกตดูให้ดีว่าใบสั่งยาของแพทย์แต่ละใบ เหตุใดจึงมีมูลค่าเพิ่มขึ้นมากมายในปัจจุบันเมื่อเทียบกับไม่กี่ปีก่อนหน้า นี้ มีความจำเป็นเพียงใดที่จะต้องใช้ยาในวงเงินหลายพันหลายหมื่นบาทต่อเดือน และมีความจำเป็นเพียงใดที่ต้องตรวจเลือดและตรวจทางห้องปฏิบัติการมากมายขนาด นั้น ยิ่งเป็นข้าราชการหรือพนักงานรัฐวิสาหกิจก็ยิ่งแพง ส่วนใหญ่ค่ายาค่าตรวจทางห้องปฏิบัติการมากกว่ารายได้ในแต่ละเดือนเสียอีก
การทำการตลาดในวงการแพทย์ก็ต้องเริ่มที่ แพทย์ซึ่งเป็นผู้สั่งยาเป็นหลัก จะให้แพทย์สั่งใช้ยาของเขาก็ต้องทำให้แพทย์เชื่อเสียก่อนว่ายาของเขามี สรรพคุณดีวิเศษกว่ายาอื่น โดยเฉพาะยารุ่นเก่าที่สามารถผลิตได้โดยไม่มีสิทธิบัตรและมีราคาถูกกว่ามาก จึงจำเป็นต้อง “ให้ร้าย” ด้วยการหยิบยกข้อไม่ดีบางอย่างของยารุ่นเก่ามาโจมตีและขยายผล จนแพทย์จำนวนมากเกิดความรังเกียจและเลิกสั่งใช้ยารุ่นเก่าไปเลย แต่กลับไม่เคยคำนึงถึงผลข้างเคียงของยารุ่นใหม่ที่อาจร้ายแรงกว่ายาเก่า มารับรู้อีกทีก็ต่อเมื่อมีการเพิกถอนทะเบียนของยารุ่นใหม่นั้นเพราะเกิดผล เสียร้ายแรง และยังสามารถมองข้ามความไม่สมเหตุผลของราคายาที่บริษัทกำหนดไว้สูงลิ่ว จนประชาชนทั่วไปไม่มีทางเข้าถึงยาได้
แพทย์หลายคนเชื่อโดยบริสุทธิ์ใจว่ายารุ่นใหม่มีข้อดีกว่ายารุ่น เก่าอย่างเทียบกัน ไม่ได้ โดยได้รับข้อมูลจากรายงานการวิจัยที่ส่วนใหญ่ได้รับทุนสนับสนุนจากบริษัทยา และยังมีการปกปิดไม่รายงานข้อมูลในส่วนที่ไม่เป็นประโยชน์ต่อยาของเขา เมื่อนำข้อมูลมาป้อนให้ซ้ำๆ เหมือนสื่อสีแดงกรอกหูสาวกของเขา ก็ทำให้แพทย์บางคนเชื่อโดยบริสุทธิ์ใจ จนบางทีไม่เคยสั่งใช้ยาราคาถูกเลย และไม่สนใจหลักฐานในชีวิตจริงที่มีอยู่ว่า แพทย์ที่ใช้เพียงยารุ่นเก่าก็สามารถรักษาผู้ป่วยได้ด้วยคุณภาพที่ไม่ด้อย กว่ากันแต่ประหยัดกว่ามาก
แพทย์ส่วนหนึ่งก็เป็นพวกที่ชอบความทัน สมัย และทนไม่ได้ถ้าไม่ได้ลองสั่งยารุ่นใหม่ล่าสุด หรือกลัวถูกหาว่าเชย จึงทำให้แพทย์ส่วนใหญ่มีความนิยมใช้แต่ยารุ่นใหม่ราคาแพง จนกลายเป็น “มือปืน” ยิงยาให้บริษัทยาข้ามชาติทั้งหลายมาช่วยกันขนเงินจากเมืองไทยไป
นอกจากการสร้างภาพให้แพทย์เลื่อมใสศรัทธาแล้ว ยังมีการส่งเสริมการขายโดยบริษัทยาข้ามชาติทั้งหลายที่ตั้งงบประมาณส่วนนี้ ไว้สูงมาก เพราะเห็นแล้วว่าได้ผลจริง เริ่มตั้งแต่การให้ของชำร่วย ของขวัญเล็กๆ น้อยๆ ราคาไม่แพง เลี้ยงขนมและอาหารว่างในช่วงพัก ไปจนถึงการจัดประชุมสัมมนาในต่างจังหวัดหรือให้ทุนไปประชุมวิชาการต่าง ประเทศ  ผู้แทนบริษัทยาก็ต้องเลือกที่มีหน้าตาดี เอาใจเก่ง เพื่อให้สัมพันธภาพกับแพทย์เกิดได้ง่ายและมีความเห็นใจสงสารกลัวเขามีรายได้ น้อยไม่พอใช้จ่าย บางทีก็เกรงใจเพราะเห็นเขามาบ่อยและมาคอยช่วยเหลือดูแลราวกับญาติสนิท เรื่องนี้ก็ทำให้แพทย์เสพติดได้เหมือนกัน
เมื่อแพทย์ได้รับข้อมูลที่ทำให้เชื่อถือ ประกอบกับประชานิยมที่บริษัทยาจัดให้ ก็ย่อมมีแนวโน้มจะสั่งใช้ยารุ่นใหม่ราคาแพง และมองข้ามความไม่คุ้มค่าและข้อเสียอื่นๆ ไปได้ รวมทั้งผลประโยชน์ทับซ้อนที่ตนอาจมีอยู่ โดยไม่คำนึงถึงความเดือดร้อนของผู้ป่วยที่อาจต้องกู้หนี้ยืมสินมาเป็นค่ายา ค่ารักษา
การมีรสนิยมสูง ชอบความทันสมัย กลายเป็นค่านิยมส่วนใหญ่ของวงการแพทย์ในปัจจุบัน ตั้งแต่อาจารย์แพทย์ไปจนถึงแพทย์จบใหม่ที่รับการสอนมาจากอาจารย์และผู้แทน บริษัทยา เป็นการยากที่จะไปทวนกระแสนี้ได้ ทำให้งบประมาณค่ารักษาพยาบาลของประเทศเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจากหมื่นล้าน เป็นแสนล้านบาทต่อปี โดยที่คนไทยไม่ได้มีการเจ็บป่วยน้อยลงหรือมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นแต่อย่างใด เพราะความอยากทันสมัย แต่ไม่ทันคน จึงตกเป็นเครื่องมือให้เขาโดยไม่รู้ตัว หรือบางคนอาจรู้แต่ก็เต็มใจให้เขาหลอก
มื่อไม่นานมานี้ ศาสตราจารย์ Joseph E. Stiglitz นักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบล ได้มาแสดงปาฐกถาในประเทศไทย โดยมีอดีตนายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะไปร่วมฟังด้วย เนื้อหาตอนหนึ่งเขาได้กล่าวเป็นใจความว่า ประเทศในกลุ่มเอเชียควรเลิกเดินตามประเทศตะวันตก และหันมาใช้ภูมิปัญญาของตนเองให้มากขึ้น ไม่ควรไปยึดติดกับเรื่องของตัวเลขอัตราเติบโตทางเศรษฐกิจมากเกินไป ฝรั่งแท้ๆ ที่มีความรู้และมีวิสัยทัศน์ยังแนะนำให้เราใช้ภูมิปัญญาของตัวเองให้มาก อย่าไปตามก้นฝรั่งโดยเห็นว่าทันสมัยหรือเห็นเป็นความโก้เก๋ เพราะหากชาติล่มสลายไปแล้ว ไม่มีวันจะฟื้นคืนมาได้อีก
ฝรั่ง หลายคนที่รักและอยากอยู่เมืองไทยเพราะเขาชื่นชมที่เรามีพระพุทธศาสนา มีพระมหากษัตริย์ที่ทรงทศพิธราชธรรม และสอนให้คนไทยดำเนินชีวิตตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง เรามีของดีแต่กลับไม่เห็นคุณค่าและไม่ภาคภูมิใจ อยากทันสมัยแต่รู้ไม่เท่าทันทรราช ที่ชักนำให้คนหลงใหลมัวเมาในลัทธิวัตถุนิยมและบริโภคนิยม โดยเอาวิธีการประชานิยมสุดกู่มามอมเมาให้คนบ้าคลั่งไปเกือบหมดทั้งเมือง เหลืออยู่ก็แต่เพียงคนหัวโบราณบางคนเท่านั้นที่ยังพอมีสติอยู่ .


ISRA Institute Thai Press Development Foundation

ที่ปรึกษา คอป.เตือนคิดให้หนัก นิรโทษกรรมแล้ว ปรองดองจะเกิดหรือไม่


'อารี บาสซิน' ชี้นิรโทษกรรม คำฮิต ใช้ในประเทศที่ต้องการสันติภาพ ยันประเทศไทยจำเป็นต้องพิจารณาสถานการณ์ในอดีต ก่อนเลือกใช้เครื่องมือที่เหมาะสม เพื่อนำสันติภาพ -ความยุติธรรมกลับสู่สังคม

วันที่ 5 ตุลาคม 2554 สถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งเอเชีย หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพัฒนาระหว่างประเทศ ศูนย์ศึกษาสันติภาพและความขัดแย้ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และศูนย์ศึกษาการพัฒนาสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดการประชุมโต๊ะกลม เรื่อง “การนิรโทษกรรมและการปรองดอง”
นายอารี บาสซิน (Mr.Ari Bassin) จากศูนย์ความยุติธรรมเปลี่ยนผ่านระหว่างประเทศ หรือ JCTI  ซึ่งปัจจุบัน ดำรงตำแหน่งผู้จัดการภูมิภาคเอเชีย ของศูนย์ความยุติธรรมเปลี่ยนผ่านระหว่างประเทศ และเป็นหนึ่งในคณะทำงานร่วมกับที่ปรึกษาของคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหา ความจริง เพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.)  กล่าวว่า ทั่วโลกมีการละเมิดสิทธิมนุษยชนเป็นจำนวนมาก มีผู้คนต้องถูกฆ่าตาย ข่มขืน หรือถูกเผาบ้าน  ภายใต้ความขัดแย้ง รวมถึงการถูกปราบปรามและการกดขี่ของรัฐด้วย ซึ่งสันติภาพจะเกิดขึ้นได้ ต้องทำให้การปราบปรามและการขดขี่ของรัฐมีทิศทางเปลี่ยนไป
กระบวนการที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงนั้น ที่ปรึกษา คอป. กล่าวว่า มีอยู่หลายทางเลือก อาทิ เลือกที่จะลืมเหตุการณ์ที่ผ่านมา หรือใช้วิธีการตรวจสอบหาความจริง รวมถึงการเลือกที่จะชดเชยให้ผู้เสียหาย เพื่อที่จะปรับปรุงกลไกปฏิบัติการที่เลวร้ายให้ดีขึ้น ซึ่งทางเลือกทั้งหมดมีความเกี่ยวข้องกับความยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่านทั้ง สิ้น 
“ความยุติธรรมเป็นสิ่งสำคัญ เมื่อมีการละเมิดสิทธิมนุษยชนแล้ว ย่อมส่งผลกระทบต่อผู้เสียหาย และญาติพี่น้อง รวมถึงสังคมด้วย ซึ่งยังส่งผลให้ความไว้วางใจของประชาชนที่มีต่อรัฐลดน้อยลง ถือเป็นความล้มเหลวของรัฐ ที่รัฐต้องรับผิดชอบกับการกระทำที่ทำลงไป เพื่อป้องกันมิให้เกิดซ้ำอีก”
นายอารี กล่าวอีกว่า การที่จะนำบริบทของความยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่านมาใช้กับประเทศไทย ต้องมีการพิจารณาว่า ประเทศไทยอยู่ในช่วงระยะเปลี่ยนผ่านหรือไม่  ถ้าคำตอบออกมาว่า ประเทศไทยอยู่ในระยะเปลี่ยนผ่าน ก็คงต้องหาคำตอบ ต่อไปอีกว่า อยู่ในระบบเปลี่ยนผ่านจากอะไรไปสู่อะไร โดยพิจารณาตามหลักเกณฑ์ ว่า ภายในประเทศมีการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างกว้างขวางหรือไม่ มีความยุติธรรมเกิดขึ้นจริงหรือไม่  รวมทั้งต้องดูว่า ความศรัทธาของประชาชนที่มีต่อรัฐถูกบั่นทอนลงไปหรือไม่ ซึ่งสาเหตุเหล่านี้จะนำพาไปสู่การปฏิบัติตามกรอบแนวคิดของความยุติธรรมใน ระยะเปลี่ยนผ่าน
นอกจากนี้ นายอารี กล่าวถึงการนิรโทษกรรมว่า คำนี้กำลังเป็นคำยอดฮิต ยอดนิยม โดยเฉพาะในประเทศที่ต้องการสร้างสันติภาพ ใช้เป็นเครื่องมือเพื่อยุติความขัดแย้ง ซึ่งก็มีส่วนเชื่อมโยงถึงการปรองดองว่า การนิรโทษกรรมนั้น สามารถนำไปสู่การปรองดองได้จริงหรือไม่
"แม้จะเป็นเรื่องที่สมเหตุสมผล แต่ก็ต้องมีการพิจารณาอย่างละเอียด เพราะมีความซับซ้อนและลึกซึ้งมาก เมื่อมีการนิรโทษกรรมแล้ว ผู้ที่ถุูกนิรโทษกรรมจะยอมปรองดองด้วยหรือไม่" ที่ปรึกษา คอป. กล่าว และว่า  การนิรโทษกรรมนั้นเป็นมาตรการทางกฎหมายที่นำไปสู่การดำเนินคดี หรือเป็นมาตรการทางกฎหมาย ต่อบุคคลหรือกลุ่มบุคคลในเรื่องของความผิดทางอาญาที่เกิดขึ้นก่อนการนิรโทษ กรรม และยังเป็นการยกเลิกภาระรับผิดทางกฎหมายก่อนที่จะนิรโทษกรรม ซึ่งเมื่อมาพิจารณากันใหม่ ในบริบทที่ 2 จะมีข้อขัดแย้งอยู่ นั่นคือ การนิรโทษกรรมไม่ได้เป็นการยกเลิกภาระรับผิดทางกฎหมายที่ไม่ได้เกิดขึ้นก่อน การนิรโทษกรรม เพราะว่า ถ้าเป็นเช่นนั้นก็เหมือนเป็นการเชื้อเชิญให้คนละเมิดกฎหมาย
นายอารี  กล่าวต่อว่า การนิรโทษกรรมแบ่งออกเป็น  4 ประเภทคือ 1. การนิรโทษกรรมตนเอง ไม่ให้ได้รับโทษทางอาญา 2. การนิรโทษกรรมทั่วไป  คือการนิรโทษกรรมแบบครอบคลุม 3. นิรโทษกรรมแบบมีเงื่อนไข เป็นการกำหนดให้ผู้กระทำผิดทำตามเงื่อนไขก่อนได้รับนิรโทษกรรม  และ 4. นิรโทษกรรมพฤตินัย
“การที่จะให้มีการนิรโทษกรรมหรือไม่นั้น ต้องมีการพิจารณาว่าเป็นการถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ ต้องดูกฎหมายระหว่างประเทศและภายในประเทศ ตัวอย่าง ประเทศไทยมีข้อโต้แย้งทางกฎหมายอย่างเข้มข้นว่า การนิรโทษกรรมอาจถูกต้องตามกฎหมาย ตามมาตรา 32 ในเรื่องการมีสิทธิด้านต่างๆ แต่เมื่อพิจารณาดูในย่อหน้าสุดท้าย เนื้อหาที่ว่า หากถูกละเมิดสิทธิ ผู้เสียหายมีสิทธิร้องต่อศาลเพื่อให้สั่งระงับหรือเพิกถอนการกระทำเช่นว่า นั้น รวมทั้งจะกำหนดวิธีการตามสมควรหรือการเยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้นด้วยก็ ได้ ซึ่งการนิรโทษกรรมไม่ตรงตามเนื้อหาดังกล่าว จึงอาจกล่าวได้ว่า การนิรโทษกรรมนั้นไม่ถูกต้องตามกฎหมายรัฐธรรมนูญไทย”
ช่วงท้าย  นายอารี ได้ตั้งคำถามว่า หากมีการให้นิรโทษกรรมแล้วนั้นจะมีความยั่งยืนหรือไม่ โดยสิ่งที่สำคัญที่สุดในสังคมที่ไม่ควรมองข้ามคือ ผู้ที่ตกเป็นเหยื่อ ผู้เสียหาย รวมทั้งต้องคิดว่า หากเป็นเรานั้นจะรู้สึกอย่างไร กับการนิรโทษกรรมให้กับการกระทำร้ายแรง และจะรู้สึกอย่างไร หากผลประโยชน์ของคนในสังคมนั้นสำคัญน้อยกว่าของรัฐ หากผู้คนเหล่านั้นได้รับการนิรโทษกรรม ฉะนั้น ประเทศไทยจึงต้องกลับไปพิจารณาสถานการณ์ที่ผ่านมา และเลือกใช้เครื่องมือที่เหมาะสม เพื่อนำสันติภาพ และความยุติธรรมกลับสู่สังคม 
" ขณะนี้ประเทศไทยมีการจัดตั้ง คอป. ขึ้นมาเพื่อค้นหาความจริง โดยคณะกรรมการมีหน้าที่ในการค้นหาความจริงในภาพใหญ่ ซึ่งมีอุปสรรคมากมายในการทำงาน จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องได้รับการสนับสนุนจากทุกภาคส่วน เพื่อให้การทำงานสำเร็จลุล่วง และมีประสิทธิภาพ"

“ชาวนาไทยน้ำตานอง"



นายชูวิทย์ กมลวิศิษฏ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรครักประเทศไทย เปิดเผยภาพการขนถ่ายข้าวผ่านการชักรอกบริเวณคลองน้ำใสชายแดน ไทย-กัมพูชา ขึ้นมาสวมสิทธิ์ตามนโยบายการจำนำข้าวของรัฐบาล
คลิปชุดแรกเป็นภาพการขนข้าว ระบุว่า เป็นบริเวณคลองน้ำใส ชายแดนไทยเขมร โดยข้าวอยู่ในถุงปุ๋ยสีแดงและสีขาว ขนข้ามคลองโดยการใช้รอก เมื่อข้ามฝั่งมาถุงฝั่งไทย ก็ถ่ายข้าวสารใส่กระสอบข้าว
ซึ่งนายชูวิทย์ ระบุว่ามีการลักลอบขนข้าวสารอีก 20-30 จุด และจุดที่สังเกตคือข้าวกัมพูชาจะใส่กระสอบปุ๋ย แต่ชาวนาไทย จะใช้กระสอบป่าน
คลิปชุดที่ 2 เป็นการขนข้าวข้ามคลองน้ำใสเช่นกัน แต่ใช้คนขนแทน โดยยกลงจากรถ 20 ล้อที่มีภาษากัมพูชาเขียนอยู่ ซึ่งข้าวที่นำมานี้เป็นข้าวไม่มียี่ห้อ ซึ่งอาจจะมาผสมในโรงสีเพื่อสวมในโรงสี เพราะข้าวฝั่งเขมรนั้นราคา ตันละ 7,000 บาท แต่บ้านเราราคา 1.5 หมื่นบาทและด้วยความสมยอมโรงสีอาจจะนำไปแจ้งเท็จ
ขณะที่ คลิปชุดที่ 3 เป็นการขนย้ายถังแก๊สเปล่ามาจากฝั่งเขมร มาเติมที่ฝั่งไทย การกระทำอย่างนี้เกิดขึ้นได้เพราะเจ้าหน้าที่ละเลย ซึ่งคนที่ทำคือพวกนายทุน
และคลิปชุดสุดท้าย เป็นภาพรถกระบะขนแรงงานเถื่อนโดยใช้ยาบ้าที่บรรจุในกล่องแป้งเป็นค่าผ่านทาง ที่บริเวณ ถนนศรีเพ็ญ ซึ่งเป็นพื้นที่ควบคุม มีทหารตั้งด่านไม่ให้มีใครผ่าน โดยรถกระบะคันหนึ่งมีคนอยู่นับ 10 คน พร้อมทั้งถ่ายให้เห็นป้าย กองร้อยทหารพรานที่ 1302
ที่ตนนำคลิปทั้งหมดออกมาเผยแพร่นั้นต้องการให้มีการป้องกันมาตรการ ป้องกันการทุจริตจำนำข้าวเพราะกรณีที่ข้าวไม่มียี่ห้อ ก็ไม่ทราบว่าเป็นข้าวจากที่ไหน การทำอย่างนี้
“ชาวนาไทยน้ำตานอง ชาวนาเขมรยิ้มแย้ม วันนี้หมาไทยไปเขมร ข้าวเขมรเข้าไทย แก๊สไทยไปเขมร แรงงานเขมรเข้าไทย”








ข่าวโดย : Mthai news




กองทัพปัดคลิป'ชูวิทย์'ไม่จริง

'กองกำลังบูรพา' ลั่น พร้อมตรวจข้อมูลคลิป 'ชูวิทย์' มั่นใจ ไม่มีกำลังพลเข้าไปเกี่ยวข้อง ระบุ 'ผบ.ทบ.' กำชับเรื่องการทำงานให้โปร่งใสมาตลอด ย้ำชัด กำลังพลเข้าไปเอี่ยวจะลงโทษถึงที่สุด

          ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากที่ นายชูวิทย์ กมลวิศิษฏ์ ส.ส.พรรครักประเทศไทย ออกมาแฉถึงขบวนการลักลอบข้าวจากประเทศกัมพูชาข้ามแดนมายังประเทศไทย เพื่อสวมสิทธิ์ และถังเปล่าเพื่อเติมแก๊สของประเทศไทย ไปยังประเทศเขมร  รวมถึงการขนแรงงานข้ามชาติผ่านในพื้นที่เขตทหารนั้น ในเบื้องต้น ทาง พล.ท.อุดมเดช สีตบุตร แม่ทัพภาคที่ 1 ได้ตรวจสอบไปยังพื้นที่กองกำลังบูรพา ซึ่งเป็นหน่วยงานต้นสังกัด ของกองร้อยทหารพรานที่ 1302 กรมทหารพรานที่  13 รวมถึงการสอบถามไปยังของกรมทหารพรานที่ 13 พบว่า ไม่ได้เป็นไปตามคลิปที่ นายชูวิทย์ มาเปิดเผย

          ส่วนเรื่องแรงงานข้ามชาติไปทำงาน มีข้อตกลงของทางจังหวัด โดยทางจังหวัดจะอนุโลม และแจ้งให้หน่วยทหารได้รับทราบ เนื่องจากในระบบตามกฎหมายที่ถูกต้อง จะมีการอนุโลมในการใช้แรงงานวันละเท่าไหร่ จะมีระบบที่ถูกต้องอยู่ และเมื่อถึงเวลาเลิกงานแรงงานดังกล่าว ก็จะกลับเข้าไปในพื้นที่ดั้งเดิม ซึ่งถือเป็นการผ่อนผันด้านแรงงาน ไม่ใช่เรื่องทหารจะต้องเข้าไปรับผิดชอบ เพียงแต่อำนาจหน้าที่เป็นของผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้ดำเนินการ
          “เรื่องการขนข้าว และขนถังแก๊ส เข้ามาในประเทศไทย โดยใช้ค่ายทหารเป็นที่พื้นที่ในการขนถ่าย ไม่น่าจะเป็นแบบนั้น เพราะจุดที่ถ่ายนั้น จะเป็นจุดพื้นที่ใดนั้นเราไม่ทราบ แต่อย่างไรก็ตาม กองทัพภาคที่ 1 ในฐานะที่รับผิดชอบในพื้นที่ คงจะต้องมีการตรวจสอบรายละเอียดอีกครั้งหนึ่งก่อนว่าข้อมูลข้อเท็จจริงเป็น อย่างไร และภาพที่ปรากฎก็ไม่รู้ว่าเป็นการขนถ่ายเมื่อปีใด"
          อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมาตั้งแต่ พล.ท.อุดมเดช ขึ้นมาดำรงตำแหน่งแม่ทัพภาคที่ 1 ก็ได้มีการกวดขัดเรื่องนี้ โดยเฉพาะได้มีการสั่งการให้กรมทหารพรานที่  13 ดำเนินการการลงโทษกำลังพลบางคนที่เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องมาก่อนหน้านี้ ดังนั้น ภาพที่ปรากฎ อาจจะเป็นภาพเก่าในอดีต แต่ปัจจุบันยืนยันได้ว่า ไม่มีลักษณะแบบนี้เกิดขึ้น ในพื้นที่กองกำลังบูรพา หรือภายในกองร้อยทหารพรานที่  1302 เด็ดขาด แต่เรื่องทั้งหมดไม่ได้ละเลย พยายามตรวจสอบให้ชัดเจนอีกครั้งหนึ่งก่อน
          แหล่งข่าวระบุด้วยว่า กองกำลังบูรพาไม่ได้ละเลย แต่หากมีกำลังพลคนใดเข้าไปเกี่ยวข้องทางกองกำลังก็คงจะต้องดำเนินการขั้น เด็ดขาดอยู่แล้ว โดยเฉพาะการยื่นเรื่องไปยังกรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือ ดีเอสไอ เพราะยุคปัจจุบัน จะต้องไม่มีเรื่องพวกนี้เกิดขึ้น
          นอกจากนี้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก ก็ได้กำชับกับทุกส่วนราชการแล้วในเรื่องความโปร่งใส และตรวจสอบได้ อะไรที่ไม่ดีก็จะไม่เข้าข้าง มันหมดสมัยที่จะมีเรื่องแบบนี้เกิดขึ้น มันเสียชื่อ แต่ทั้งหมดก็จะต้องตรวจสอบภาพรายละเอียดอีกครั้งหนึ่ง

คมชัดลึก



กรุงเทพโพลล์ สำรวจนักเศรษฐศาสตร์ชั้นนำ 82.1% เชื่อจำนำทุจริตชัวร์ โรงสีได้ปย. ผู้บริโภคเดือดร้อน

ศูนย์ติดตามประชาธิปไตยไทย
นักเศรษฐศาสตร์ 82.1% เชื่อโครงการรับจำนำข้าวเปลือกจะมีการคอร์รัปชั่นอย่างแน่นอน 

86.6% ระบุโรงสี/ไซโล คือ กลุ่มได้รับผลประโยชน์มากที่สุด   

74.6%  เชื่อผู้บริโภค คือ กลุ่มผู้เสียผลประโยชน์มากที่สุด

59.7% พร้อมยืนยัน โครงการประกันราคา ดีกว่าโครงการรับจำนำ          

ศูนย์ วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ(กรุงเทพโพลล์) เปิดเผยผลสำรวจความเห็นนักเศรษฐศาสตร์ที่ทำงานอยู่ในหน่วยงานด้านการวิ เคราะห์ วิจัยเศรษฐกิจระดับชั้นนำของประเทศ 31 แห่ง จำนวน 67 คน เรื่อง “อนาคตโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี : ใครกำไร ใครขาดทุน?” โดยเก็บข้อมูลระหว่างวันที่   26 ก.ย. – 3 ต.ค. ที่ผ่านมา พบว่า

นักเศรษฐศาสตร์ร้อยละ  50.7  เชื่อว่าราคารับจำนำข้าวเปลือกที่ชาวนาจะได้จะต่ำกว่าราคาที่รัฐบาลประกาศไว้  ขณะที่ร้อยละ  38.8  เชื่อว่าราคารับจำนำที่ชาวนาจะได้จะเท่ากับราคาที่รัฐบาลประกาศไว้ เมื่อสอบถามความเห็นที่มีต่อราคาข้าวสารในตลาดโลกโดยรวม ในปี 2555  จะสูงกว่าราคาที่รัฐบาลจะขายหรือไม่  นักเศรษฐศาสตร์ร้อยละ  56.7  เชื่อว่า  มีโอกาสน้อย ที่ราคาข้าวสารในตลาดโลกโดยรวมจะสูงกว่าราคาที่รัฐบาลจะขาย   ในขณะที่ร้อยละ 19.4  เชื่อว่า  ไม่มีโอกาสเลย ที่ราคาข้าวสารในตลาดโลกโดยรวมจะสูงกว่าราคาที่รัฐบาลจะขาย  มีเพียงร้อยละ 17.9   ที่เชื่อว่า  มีโอกาสมาก ที่ราคาข้าวสารในตลาดโลกโดยรวมจะสูงกว่าราคาที่รัฐบาลจะขาย

ส่วนปัญหาทุจริตคอร์รัปชั่นในโครงการรับจำนำข้าวเปลือก   นักเศรษฐศาสตร์มากถึงร้อยละ 82.1  เชื่อว่า  จะมีการทุจริตคอร์รัปชั่นอย่างแน่นอน  มีเพียงร้อยละ  4.5 เท่านั้นที่เชื่อว่าจะไม่มีการทุจริตคอร์รัปชั่น  

สำหรับกลุ่มผู้ได้รับผลประโยชน์มากที่สุด 3 ลำดับแรก  ในโครงการรับจำนำข้าวเปลือก คือ  โรงสี/ไซโล (ร้อยละ  86.6)  นักการเมือง (ร้อยละ 61.2) และ ผู้ส่งออก (ร้อยละ 43.3)  ส่วนกลุ่มผู้เสียผลประโยชน์มากที่สุด 3 ลำดับแรก คือ ผู้บริโภค (ร้อยละ 74.6) ชาวนา (ร้อยละ 41.8) รัฐบาล (ร้อยละ 37.3)

ด้านความคิดเห็นที่จะเสนอต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์  ในการแก้ปัญหาราคาข้าวด้วยวิธีใดจึงจะดีและมีความเหมาะสมที่สุด  นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่  ร้อยละ  59.7  เห็นว่า  ควรแก้ปัญหาโดยไม่เข้าไปแทรกแซงกลไกราคา  แต่ควรใช้การประกันราคาในระดับที่เหมาะสมกับต้นทุน ดังที่ได้ดำเนินมาในโครงการประกันรายได้เกษตรกร ของพรรคประชาธิปัตย์  ขณะที่มีเพียงร้อยละ  17.9  เท่านั้นที่เห็นว่า  ควรแก้ปัญหาโดยใช้วิธีการบริหารจัดการอุปทาน (Supply side)  ดังที่กำลังดำเนินการอยู่ในโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี 

นอกจากนี้นักเศรษฐศาสตร์ยังได้เสนอแนะแนวทางอื่นๆ ที่เกี่ยวกับการแก้ปัญหาราคาข้าว/โครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี  คือ

(1) การแก้ปัญหาราคาข้าวต้องมีการบริหารจัดการที่รัดกุมอย่าให้เกิดการทุจริตได้  โดยการรวบรวมสาเหตุที่โครงการรับจำนำข้าวในอดีตขาดทุน  แล้วกำหนดมาตรการป้องกันไม่ให้เกิดซ้ำ  เช่น  ปัญหาการสวมสิทธิ์เข้าร่วมโครงการ  หรือ โรงสีนำข้าวเปลือกจากชาวนาหมุนเวียนเข้าร่วมโครงการ  เป็นต้น

(2) ควรใช้เศรษฐกิจพอเพียงเพื่อลดต้นทุนการปลูกข้าว มากกว่าการแทรกแซงราคา  พัฒนาผลผลิตต่อไร่  พัฒนาคุณภาพข้าว  เป็นต้น

1.  ความคิดเห็นที่มีต่อ  ราคารับจำนำข้าวเปลือกที่ชาวนาได้รับจริงว่าจะเป็นไปตามที่รัฐบาลประกาศไว้หรือไม่ (พิจารณาเฉพาะปีการผลิต             2554/2555      )

ร้อยละ 38.8 เชื่อว่า  ราคารับจำนำที่ชาวนาจะได้  จะเท่ากับราคาที่รัฐบาลประกาศไว้

ร้อยละ 50.7 เชื่อว่า  ราคารับจำนำที่ชาวนาจะได้  จะต่ำกว่าราคาที่ประกาศไว้

ร้อยละ 10.5 ไม่ตอบ/ไม่มั่นใจ/ไม่ทราบ

2. ความคิดเห็นที่มีต่อ  โอกาสที่ราคาข้าวสาร(milled rice) ในตลาดโลกโดยรวม ในปี 2555  จะสูงกว่าราคาที่รัฐบาลจะขาย (ราคารับจำนำ + ต้นทุนในการสี) 

ร้อยละ 17.9 เชื่อว่า  มีโอกาสมาก ที่ราคาข้าวสารในตลาดโลกโดยรวมจะสูงกว่าราคาที่รัฐบาลจะขาย

ร้อยละ 56.7 เชื่อว่า  มีโอกาสน้อย ที่ราคาข้าวสารในตลาดโลกโดยรวมจะสูงกว่าราคาที่รัฐบาลจะขาย

ร้อยละ 19.4 เชื่อว่า  ไม่มีโอกาสเลย ที่ราคาข้าวสารในตลาดโลกโดยรวมจะสูงกว่าราคาที่รัฐบาลจะขาย

ร้อยละ 6.0 ไม่ตอบ/ไม่มั่นใจ/ไม่ทราบ

          3.  ความคิดเห็นที่มีต่อ  ปัญหาทุจริตคอร์รัปชั่นในโครงการรับจำนำข้าวเปลือก 

ร้อยละ 82.1 เชื่อว่า  จะมีการทุจริตคอร์รัปชั่น อย่างแน่นอน

ร้อยละ   4.5 เชื่อว่า  จะไม่มีการทุจริตคอร์รัปชั่น  อย่างแน่นอน

ร้อยละ 13.4 ไม่ตอบ/ไม่มั่นใจ/ไม่ทราบ

4.  ความคิดเห็นต่อกลุ่มผู้ได้รับผลประโยชน์มากที่สุด 3 ลำดับแรก  ในโครงการรับจำนำข้าวเปลือก(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)

ร้อยละ 86.6 โรงสี/ไซโล

ร้อยละ 61.2 นักการเมือง

ร้อยละ 43.3 ผู้ส่งออก 

ร้อยละ 34.3 ชาวนา 

ร้อยละ 11.9 รัฐบาล 

ร้อยละ 6.0 พ่อค้า/แม่ค้า

ร้อยละ 3.0 ดิสเคาท์สโตร์

ร้อยละ 1.5 ผู้บริโภค 

ร้อยละ 6.0 อื่นๆ  คือ  ชาวนารายใหญ่    ธกส.

ร้อยละ 7.5 ไม่ตอบ/ไม่มั่นใจ/ไม่ทราบ

5.  ความคิดเห็นต่อกลุ่มผู้เสียผลประโยชน์มากที่สุด 3 ลำดับแรก  ในโครงการรับจำนำข้าวเปลือก  (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)

ร้อยละ 74.6 ผู้บริโภค 

ร้อยละ 41.8 ชาวนา 

ร้อยละ 37.3 รัฐบาล 

ร้อยละ 32.8 ผู้ส่งออก 

ร้อยละ 13.4 พ่อค้า/แม่ค้า

ร้อยละ 3.0 โรงสี/ไซโล

ร้อยละ 3.0 นักการเมือง

ร้อยละ 3.0 ดิสเคาท์สโตร์

ร้อยละ 16.4 อื่นๆ  คือ ชาวนารายย่อย  ผู้ส่งออกรายย่อย  โรงสีที่ไม่มีเส้นสายทางการเมือง ประชาชนผู้เสียภาษี  และประเทศชาติโดยรวม 

ร้อยละ 7.5 ไม่ตอบ/ไม่มั่นใจ/ไม่ทราบ

          6. ความคิดเห็น  เสนอต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์  ในการแก้ปัญหาราคาข้าวด้วยวิธีใดจึงจะดีและมีความเหมาะสมที่สุด  

ร้อยละ 17.9 เห็นว่า  ควรแก้ปัญหาโดยใช้วิธีการบริหารจัดการอุปทาน (Supply side) ดังที่กำลังดำเนินการอยู่ในโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี 

          ร้อยละ  59.7 เห็นว่า  ควรแก้ปัญหาโดยไม่เข้าไปแทรกแซงกลไกราคา  แต่ จะใช้การประกันราคาในระดับที่เหมาะสมกับต้นทุน ดังที่ได้ดำเนินมาในโครงการประกันรายได้เกษตรกร ของพรรคประชาธิปัตย์ โดยให้เหตุผลเพิ่มเติม คือ

(1) ด้วยภาระต้นทุนของรัฐที่ใกล้เคียงกัน  แต่การประกันราคาจะทำให้เกษตรกรได้รับผลประโยชน์โดยตรง และครบถ้วน ต่างจากการรับจำนำข้าวที่ผู้ได้รับผลประโยชน์สูงสุดคือโรงสี

(2) ต้องกำหนดราคาประกันตามต้นทุนของเกษตรกรเพื่อช่วยให้เกษตรกรอยู่ได้      อีกทั้งต้องส่งเสริมการบริหารจัดการต้นทุนการผลิตของเกษตรกรอย่างมีประสิทธิภาพ

(3) ควรปรับปรุงระเบียบบางส่วนเพื่อให้ชาวนาที่ไม่มีที่นาของตัวเอง  แต่เช่าที่นาของผู้อื่น  ได้รับประโยชน์ด้วย

          ร้อยละ  14.9 เสนอ  วิธีการอื่นๆ คือ

(1) บริหารจัดการทั้งด้านอุปสงค์และอุปทาน โดยนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาช่วย รวมถึงการกำหนด zoning พื้นที่ปลูกข้าว เพื่อจำกัดปริมาณการผลิตข้าวในแต่ละฤดู

(2) บริหารจัดการต้นทุนการผลิต  สร้างระบบชลประทาน  พัฒนาคุณภาพข้าว      สร้าง economy of scale

(3) บริหารจัดการด้านการตลาด  การส่งออก  เพื่อยกระดับราคาข้าวส่งออก

(4) ควรเป็นวิธีที่คำนึงถึงปัญหาน้ำท่วม  ในกรณีที่ไม่มีข้าวขายควรจะมีเงินชดเชยให้

          ร้อยละ 7.5 ไม่ตอบ/ไม่มั่นใจ/ไม่ทราบ

          7.  ข้อเสนอแนะอื่นๆ ที่เกี่ยวกับการแก้ปัญหาราคาข้าว/โครงการรับจำนำข้าวนาปี 

(1) การแก้ปัญหาราคาข้าวต้องมีการบริหารจัดการที่รัดกุมอย่าให้เกิดการทุจริตได้  โดยการรวบรวมสาเหตุที่โครงการรับจำนำข้าวในอดีตขาดทุน  แล้วกำหนดมาตรการป้องกันไม่ให้เกิดซ้ำ  เช่น  ปัญหาการสวมสิทธิ์เข้าร่วมโครงการ  หรือ โรงสีนำข้าวเปลือกจากชาวนาหมุนเวียนเข้าร่วมโครงการ  เป็นต้น

(2) ควรใช้เศรษฐกิจพอเพียงเพื่อลดต้นทุนการปลูกข้าวมากกว่าการแทรกแซงราคา  พัฒนาผลผลิตต่อไร่    พัฒนาคุณภาพข้าว  เป็นต้น

(3) เลือกจังหวะเวลาในการแก้ปัญหา  เพราะทั้งโครงการประกันรายได้  และโครงการรับจำนำข้าว ก็มีประโยชน์ที่แตกต่างกันไป  รวมถึงควรดูอัตราแลกเปลี่ยนประกอบ  เพื่อไม่ให้ผู้ส่งออกและรัฐบาลเสียผลประโยชน์

(4) ควรมีการจดทะเบียนผู้ปลูกข้าวเหมือนผู้ปลูกอ้อย  ซึ่งจะทำให้สามารถควบคุมปริมาณผลผลิตได้  รวมถึงควรหาวิธีในการเป็นผู้กำหนดราคาข้าวในตลาดโลก

(5) ต้องยอมรับว่าแนวทางประกันราคาเป็นวิธีที่ดีที่สุดในขณะนี้  ไม่ควรยึดว่าเป็นของต่างพรรคการเมือง(มติชนออนไลน์ 5 ตุลาคม 2554)




คำถามจากคนเล็กๆ ถึงอัยการสูงสุด



โดย สุรวิชช์ วีรวรรณ

       การสั่งไม่ฎีกาในคดีการหลีกเลี่ยงภาษีหุ้น บริษัท ชินคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือชินคอร์ป ของนายจุลสิงห์ วสันตสิงห์ อัยการสูงสุดสร้างความกังขาต่อสาธารณชนโดยทั่วไป
      
        แม้ว่านายจุลสิงห์จะให้สัมภาษณ์ชี้แจงถึงเหตุผลของตัวเองแล้ว แต่ดูเหมือนว่ายิ่งให้สัมภาษณ์ความไม่เข้าใจต่อท่าทีดังกล่าวก็ยิ่งเพิ่ม ขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “ความเป็นอิสระ” ต่ออำนาจหน้าที่ที่อัยการสูงสุดนำมาอ้างเพื่อสั่งไม่ฎีกาในคดี
      
        ในการให้สัมภาษณ์มติชน คุณจุลสิงห์ตอบคำถามว่า “อัยการเวลาจะสั่งคดีต้องถามใครหรือไม่ ผมจะสั่งฟ้องหรือไม่ฟ้อง อุทธรณ์หรือไม่อุทธรณ์ต้องถามใคร และประชาชนศรัทธาอะไร ศรัทธาในความเป็นอิสระของอัยการใช่หรือไม่ เวลาสั่งฟ้องหรือไม่ฟ้อง ต้องไปถามรัฐบาล ฝ่ายค้าน หรือจำเลยหรือไม่ ในเมื่อรัฐธรรมนูญรับประกันความเป็นอิสระ เราหวงแหนเราก็ได้มาแล้ว ศรัทธาของประชาชนหมายถึงอัยการสูงสุดต้องฎีกาทุกเรื่องหรืออย่างไร”
      
        คุณจุลสิงห์ให้สัมภาษณ์ด้วยว่า “หน่วยงานที่รับรองความเป็นอิสระตามรัฐธรรมนูญ คือ ศาลกับอัยการ ทำไมจึงไม่สงสัยศาลอุทธรณ์บ้าง กล้าว่าหรือไม่ ทำไมศาลอุทธรณ์ตัดสินไม่ถูกต้อง มีใครกล้าพูดบ้าง สำนักงานอัยการก็รับรองความเป็นอิสระเหมือนกันทำไมพูดถึงแต่อัยการ ผมก็อ่านยึดคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เป็นหลักและก็เห็นพ้องด้วย”
      
        คุณจุลสิงห์ครับ ที่ถามว่าทำไมไม่มีใครกล้าพูดว่าคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ ผมนี่แหละที่จะพูดว่าไม่เห็นด้วย และอย่างน้อยประธานศาลอุทธรณ์ก็มีความเห็นแย้งว่า กรณีนายบรรณพจน์ ไม่สมควรรอลงอาญา
      
        ผมจับคำพูดของคุณจุลสิงห์ได้ว่า “ความเป็นอิสระ” ของอัยการในความหมายที่คุณจุลสิงห์เข้าใจ ถ้าพูดแบบภาษาชาวบ้าน “ความอิสระ” ที่ซ่อนอยู่ใต้นัยคำพูดของคุณจุลสิงห์ก็คือ เรื่องของกูคนอื่นไม่เกี่ยว
      
        แต่ความหมายที่ผมคิดว่าน่าจะถูกต้องก็คือ ความเป็นอิสระของอัยการนั้นหมายถึงการใช้อำนาจโดยปราศจากการแทรกแซง แต่การใช้อำนาจนั้นต้องตั้งอยู่บนความสุจริตและเที่ยงธรรมด้วย
      
        คุณจุลสิงห์เล่นลิ้นแบบยียวนว่า อัยการจะสั่งคดีต้องถามใครหรือ ในเมื่ออัยการเป็นอิสระ รัฐธรรมนูญประกันความเป็นอิสระ เราหวงแหนก็ได้มาแล้ว
      
        คุณจุลสิงห์ยืนกระต่ายขาเดียวว่าที่ไม่สั่งฎีกาเพราะเชื่อในคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์
      
        พอถูกถามว่า การไม่ฎีกาทั้งที่ศาลชั้นต้นกับศาลอุทธรณ์ขัดกัน การไม่ฎีกา อัยการสูงสุดทำตัวเป็นศาลฎีกาเสียเองหรือไม่
      
        คุณจุลสิงห์ตอบว่า “ถ้าคุณบอกว่าผมเป็นศาลฎีกาเสียเอง ก็จะถามหน่อยว่ามีศาลอุทธรณ์ไว้ทำไม ถ้าทุกอย่างต้องไปที่ศาลฎีกาหมด”
      
        คำตอบของคุณจุลสิงห์นั้นเป็นคนละเรื่องกับคำถาม คุณจุลสิงห์ควรจะตอบว่าทำไมถึงไม่ฎีกา ในเมื่อศาลอุทธรณ์ขัดกับศาลชั้นต้น คุณจุลสิงห์กลับแถไปว่าแล้วมีศาลอุทธรณ์ไว้ทำไม
      
        นัยของคุณจุลสิงห์ก็คงต้องการบอกว่า เขามีศาลอุทธรณ์เอาไว้เพื่อตรวจสอบการพิพากษาของศาลชั้นต้น ถ้าเป็นเช่นนั้นคุณจุลสิงห์ก็ควรต้องถามตัวเองแล้วตอบคำถามด้วยว่า “แล้วมี 3 ศาลไปทำไม”
      
        ผมคิดว่าคุณจุลสิงห์น่าจะลองตอบคำถามตัวเองดูว่า ถ้าการใช้ “ความเป็นอิสระ” คือ การใช้ดุลพินิจตามอำเภอใจ นั่นคือ “การจรรโลงความเป็นอิสระของอัยการ” หรือแท้จริงแล้วคือ “การทำลายความเป็นอิสระของอัยการ” กันแน่ เพราะการอ้างความอิสระเช่นนั้นมันทำให้สังคมกังขา
      
        แล้วคุณจุลสิงห์เข้าใจหรือไม่ต่อคำพูดของตัวเองที่ว่า “ประชาชนศรัทธาอะไร ศรัทธาในความเป็นอิสระของอัยการใช่หรือไม่”
      
        คุณจุลสิงห์เข้าใจไหมว่า ประชาชนศรัทธาอำนาจอิสระของอัยการเพราะต้องการเห็นอัยการใช้อำนาจอย่างชอบ ธรรมปราศจากการแทรกแซงหรือศรัทธาเพราะอัยการจะใช้ความอิสระตามอำเภอใจกันแน่
      
        เรารู้ว่าในอดีตนั้นอัยการไม่มีความอิสระเพราะเป็นหน่วยราชการอยู่ภายใต้สังกัดของกระทรวงอยู่ภายใต้อำนาจของนักการเมือง
      
        การได้ความเป็นอิสระของอัยการที่ได้มานั้นน่าจะหมายถึง การที่หลุดพ้นจากการเป็นหน่วยราชการภายใต้สังกัดของกระทรวงมหาดไทยแบบในอดีต มาเป็นหน่วยงานอิสระตามรัฐธรรมนูญ การหวงแหนความอิสระของอัยการจึงน่าจะหมายถึงการใช้อำนาจตามครรลองของกฎหมาย ไม่ตกอยู่ใต้อำนาจของใคร
      
        ผมคงไม่ต้องสอนอัยการสูงสุดว่าตามครรลองของกฎหมายคืออะไร
      
        จริงอยู่พระราชบัญญัติองค์กรอัยการและพนักงานอัยการ พ.ศ. 2553 จะให้อำนาจอัยการในการไม่ยื่นคำร้อง ไม่อุทธรณ์ ไม่ฎีกา ถอนฟ้อง ถอนคำร้อง ถอนอุทธรณ์และถอนฎีกาด้วยโดยอนุโลม
      
        มาตรา 21 พนักงานอัยการมีอิสระในการพิจารณาสั่งคดีและการปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตาม รัฐธรรมนูญและตามกฎหมายโดยสุจริตและเที่ยงธรรม ถ้าพนักงานอัยการเห็นว่า การฟ้องคดีอาญาจะไม่เป็นประโยชน์แก่สาธารณชน หรือจะมีผลกระทบต่อความปลอดภัยหรือความมั่นคงของชาติ หรือต่อผลประโยชน์อันสำคัญของประเทศให้เสนอต่ออัยการสูงสุดและอัยการสูงสุด มีอำนาจสั่งไม่ฟ้องได้
      
        ไม่มีตรงไหนเลยที่บอกว่า อัยการจะใช้อำนาจอิสระได้ตามอำเภอใจ นอกจาก ถ้าพนักงานอัยการเห็นว่า การฟ้องคดีอาญาจะไม่เป็นประโยชน์แก่สาธารณชน หรือจะมีผลกระทบต่อความปลอดภัยหรือความมั่นคงของชาติ หรือต่อผลประโยชน์อันสำคัญของประเทศจึงเสนอต่ออัยการสูงสุดและอัยการสูงสุด มีอำนาจสั่งไม่ฟ้องได้
      
        คำถามที่ตามมาก็คือ การสั่งไม่ฎีกาคดีการหลีกเลี่ยงภาษีหุ้น บริษัท ชินคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือชินคอร์ปของคุณหญิงพจมานและพี่ชายนั้น มันเข้ากับหลักการตามมาตรา 21ของพระราชบัญญัติองค์กรอัยการและพนักงานอัยการ พ.ศ.2553 หรือไม่อย่างไร ทำให้สาธารณะได้ประโยชน์อย่างไร เกี่ยวกับความมั่นคงตรงไหน
      
        ดูเหมือนว่าในการให้สัมภาษณ์คุณจุลสิงห์จะใช้ข้ออ้างเรื่องความแตกแยกในบ้าน เมืองเป็นข้ออ้างด้วยว่า “ในยามที่บ้านเมืองมีสองฝักสองฝ่าย ถ้าสั่งไปในทางที่ฝ่ายหนึ่งพอใจ ฝ่ายที่สองก็อยากจะถอดถอน ผมเคยถูกทั้งสองฝ่ายต่อว่า ดังนั้น ทางที่ดีที่สุดคือความเป็นกลาง”
      
        ผมคิดว่า คุณจุลสิงห์มีความสับสนเรื่องความเป็นกลาง ผมไม่รู้ว่า บ้านเมืองมีสองฝ่ายในความหมายของคุณจุลสิงห์ คือ การเอาทักษิณกับการไม่เอาทักษิณ เหลืองกับแดง หรือพวกเอาเจ้ากับไม่เอาเจ้าหรือไม่ แต่ผมว่าคำพูดนี้เป็นข้อแก้ตัวที่ตลกที่สุด ถ้ากระบวนการยุติธรรมยึดหลักการที่ว่ามาเป็นบรรทัดฐาน แสดงว่าคดีที่มีความขัดแย้งในบ้านเมืองทุกวันนี้จะตัดสินออกไปทางใดทางหนึ่ง ไม่ได้เลย
      
        และผมไม่ทราบว่า คุณจุลสิงห์จะเข้าใจสภาพความเป็นจริงของความแตกแยกเป็นฝักฝ่ายของบ้านเมือง หรือไม่ว่า ส่วนหนึ่งนั้นมีปัญหามาจากการบังคับใช้กฎหมายที่ไม่เป็นธรรม และกระบวนการยุติธรรมที่ไม่เป็นธรรม ความไม่เชื่อมั่นต่อนิติรัฐและนิติธรรม ความไม่เท่าเทียมกัน หรือที่พูดกันอย่างกว้างขวางเรื่อง 2 มาตรฐาน
      
        คุณจุลสิงห์ทราบหรือไม่ว่า ปัญหาของบ้านเมืองทุกวันนี้มีต้นธารมาจากการตั้งคำถามต่อความไม่ชอบธรรมที่ เกิดขึ้นในยุคที่ระบอบทักษิณเรืองอำนาจ
      
        การสั่งไม่ฎีกาคดีคุณหญิงพจมานที่ศาลชั้นต้น และศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาขัดกันนั้นมันทำลายความเชื่อมั่นในกระบวนการ ยุติธรรมหรือไม่ แล้วตอบคำถามด้วยว่าเราจะมีศาลฎีกาไว้ทำไม

แกะรอยเส้นทางระหกระเหิน“เจ๊ดา-ดารุณี

แกะรอยเส้นทางระหกระเหิน“เจ๊ดา-ดารุณี กฤตบุญญาลัย”จากราชประสงค์-หิ้วกระเป๋ากลับไทย

       หลังหลบหนีออกนอกประเทศในช่วงที่ถูกดรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ  กระชับพื้นที่ราชประสงค์  ล่าสุดเมื่อวันที่ 2 จุลาคม 2554 ที่ผ่านมา นางดารุณีœกฤตบุญญาลัยœหรือเจ๊ดาไฮ โซชื่อดังเดินทางกลับเข้าประเทศไทยทาง ด่านตรวจคนเข้ามาเมือง อ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว เพื่อต่อสู่คดีศาลออกหมายจับฐานฝ่าฝืนประกาศตามœพ.ร.ก.การบริหารราชการใน สถานการณ์ฉุกเฉินพร้อมพรรคพวก 17 คนเมื่อวันที่ 8 เมษายน2553
       และยังถูกศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน(ศอฉ.)ห้ามทำธุรกรรมทางการเงิน พร้อมบุคคลและนิติบุคคลอื่นรวม106 รายœ(คำสั่งที่49/2553) เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม2553
       พลิกเส้นทางของไฮโซดังมีดังนี้
       “เจ๊ดา”มีœชื่อเสียงœจากซีรีส์œโทรทัศน์ไฮโซœบ้านนอกœ ยังมีผลงานจัดรายการวิทยุรับเชิญแสดงละครโทรทัศน์โฆษณาœและภาพยนตร์œ กระทั่งเป็นสุดยอดแฟนพันธุ์แท้เครื่องเพชรœ
       ชีวิตครอบครัวสมรสกับนายประกิจ กฤตบุญญาลัยมีลูก 3 คนคือ ..วิรุฬานต์(น้ำน)œ.ส.ธารนที (น้ำพุ) และœนายไอยคุปย์ (น้ำนิ่ง) หุ้นส่วนธุรกิจของนายพานทองแท้ ชินวัตร 
       นางดารณีและสามีทำธุรกิจขายเครื่องปรับอากาศในนาม จก.พีแอนด์.พี.เอ็นจิเนียริ่งœ ก่อ ตั้งวันที่ 5 เมษายน 2516 ทุนจดทะเบียน 1 ล้านบาทœและœบริษัทœสยามเอ.อาร์.ไอ. จำกัด จดทะเบียนตั้งวันที่ 13 มกราคม2526 ทุน35 ล้านบาทœ
       กิจการขนส่งชื่อœบริษัทไทยแอร์-คอนพาร์ทส์ จำกัดœเมื่อวันที่œ28 กรกฎาคมœ2536  ทุนจดทะเบียนœ10 ล้านบาทœ เลิกกิจการในœปี 2544
       กิจการขายอาหารร่วมกับ พล.ท.เจริญศักดิ์œเที่ยงธรรมœในชื่อ บริษัทœซุปปอร์แฝด จำกัดœ จดทะเบียนวันที่ 23 พฤศจิกายน 2544  ทุน 6 แสนบาทœเลิกกิจการปีใน2547
       ปัจุบันมีแห่งเดียวที่เปิดดำเนินการคือ ขายเครื่องปรับอากาศใน ชื่อ บริษัทœซีเนเตอร์(ประเทศไทย)จำกัดœก่อตั้งวันที่ 9 พฤษภาคมœ2522  ทุนจดทะเบียน1 ล้านบาทœ
       ขณะที่นายไอคุปต์œกฤตบุญญาลัยœบุตรชายœเปิดร้านขายโทรศัพท์มือถือร่วมกับนายพานทองœแท้ชินวัตรœในชื่อบริษัท มาสตอร์โฟนœจำกัด และœ บริษัทœฮาวคัมเอวีœจำกัดœ
        และก่อตั้บริษัทสวีทแอนด์ เซเวอรี่ จำกัดœขายอาหารเมื่อวันที่œ22เมษายน2552 ทุนจดทะเบีย น1 ล้านบาทœ
        ส่วนนางสาวธารนทีœเป็นเจ้าของกิจการอาหารชื่อ บริษัทวีพายจำกัดก่อตั้งวันที่ 30 เมษายน 2550 ทุนจดทะเบียน 2 ล้านบาทœอยู่ในอาคารเพรสิเดนท์ œถนนสุขุมวิทœ
       “เจ๊ดา"ตกเป็นข่าวกรณีถูกศาลล้มละลายกลางตัดสินให้ล้มละลายเมื่อวันที่ 24 ตุลาคมœ2549
        คดีดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อบริษัทœเงินทุนบุคคลัภย์ จำกัดœ(มหาชน)œเจ้า หนี้เป็นโจทก์ยื่นฟ้องต่อศาลล้มละลายกลางขอให้ลูกหนี้ล้มละลายและศาลได้มีคำ สั่งลงวันที่ 14 กันยายน2548 ให้พิทักษ์ทรัพย์ของห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล พี.แอนด์.พี.เอ็นจิเนียนิ่งœที่ 1 ยประกิจ กฤตบุญญาลัยœที่2 นางดารุณี กฤตบุญญาลัยที่œ3 บริษัท สยาม เอ.อาร์.ไอ.œจำกัดœที่ 4 นางสาววิรุกานต์œกฤตบุญญาลัย ที่5 นางสาวธารนทีœกฤตบุญญาลัยœที่6 ตามพ.ร.บ.ล้มละลายพุทธศักราชœ2483
        ต่อมาถูกปลดจากลูกหนี้ล้มละละลายตามประกาศเจ้าพนักงานพิทักษ์นับ แต่วันที่25 ตุลาคมœ2552 แต่ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 19 ม.ค.2553
        ขณะที่บริษัทสยามเอ.อาร์.ไอ.จำกัดถูกศาลล้มละลายกลางตัดสินให้ล้มละลายเช่นเดียวกันเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์œ2550
       เมื่อครั้งที่แกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติœ(นปช.œ) ได้แก่นายวีระœมุสิกพงศ์œนพ.เหวงœโตจิราการœนายก่อแก้ว พิกุลทองœเข้ามอบตัว เมื่อวันที่21 พฤษภาคมœไม่œปรากฏว่า“เจ๊ดา”รวมอยู่ด้วยœ
       ความจริงแล้วเธอหายตัวไปตั้งแต่กลางดึกœวันที่ 18 พฤษภาคมถึงเช้ามืดวันที่ 19 พฤษภาคมœพร้อมวีระ หมอเหวง และœจรัลœดิษฐาอภิชัยœ
       ครั้นแดงสลายวีระœหมอเหวงœเข้ามอบตัวแต่เธอก็ไม่ได้ไปด้วยเช่นเดียวกับ“จรัล”
       เธอเพิ่งให้สัมภาษณ์จากเขมรเมื่อเร็วๆนี้ว่า ตอนหลบหนีออกจากไทยเธอเดินทางไปหลายประเทศทั้งเขมร เวียดนาม และย้อนมาพบ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ที่เขมรและถูกกล่อมให้เข้ามอบตัว
       เมื่อรัฐบาลเพื่อไทยเรืองอำนาจ เธอจึงเดินหนีบกระเป๋าหรูใบโตเข้าประเทศไทยเมื่อ 2 ต.ค.2554 เพื่อต่อสู้คดีเช่นเดียวกับเหล่าผองเพื่อน...


TCIJ
รีโมท ซื้อ รีโมท จากผู้ค้าส่งโดยตรง ที่มีหน้าร้านจริง ที่ บ้านหม้อ และ คลองถม ราคาถูกกว่าใคร ปลอดภัย มีรับประกัน

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

บทความย้อนหลัง