ได้ยินเสียงผ่านไมโครโฟน โหวกๆเหวกๆ หน้าบ้าน ก็นึกขึ้นได้ว่าถึงเวลาของนักการเมืองทุกคนที่ต้องขยับกาย เสียสละเวลาอันมีค่า มาให้เห็นหน้าเห็นตากันซะที แล้วก็จะพบกับภาพเดิมๆ นักการเมืองทุกคนจะปรับตัวสู่ความเป็นผู้น้อย ไร้ยศ ไร้เกียรติ อ่อนน้อมถ่อมตนกันทุกคน พูดคุยสนิทสนม ให้ทำอะไรทำหมด ทำได้ทุกอย่าง และก็มีคนมาประกาศความดีที่ท่านได้ทำมา ว่าท่านเคยทำอะไรให้บ้าง ถนนนี้ก็ทำให้ ซอยโน่นทำแบบนี้ ซอยนี้ทำแบบนั้น แหม ความดีเยอะจริงเชียว
ทั้งหมดมันก็เป็นเพียงการเสแสร้งแกล้งทำ หวังเพียงแค่ การขีด 2 ขีดของพวกเราให้ไปประทับในช่องสี่เหลี่ยมหลังชื่อของตนเพื่อให้ตนได้คะแนนเป็นอันดับ 1 เท่านั้นแหละครับ พอหลังจากที่เรากาเลือกพวกเค้าเสร็จ ตัวตนที่แท้จริงจะกลับมาทันที มือไม้จะแข็ง ตัวจะยืด แล้วความจำที่สัญญาไว้ก็จะเสื่อมไป ก็คงไม่เป็นการใส่ร้ายกันจนเกินไปนะครับ ผมเชื่อว่าประชาชนทุกคนรู้ในข้อนี้ดี ตรงนี้อย่าไปใส่ใจดีกว่าครับ เพราะใจจริงก็ไม่ได้เชื่อสัญญาปากเปล่าอยู่แล้ว และก็ไม่ได้ต้องการให้มาไหว้กันตลอด ขอเพียงเจอหน้ากันนอกเวลาหาเสียงเพียงครั้งเดียว ถ้าท่านทำได้ ก็ดีใจน้ำหูน้ำตาไหลแล้ว
แต่ที่ผมสงสัยและไม่เข้าใจนะครับ แถวบ้านผม พวกผู้แทนเค้าเป็นอะไรกับ "หมา" กับ" แมว" จัง แทบจะทุกครั้ง ทุกพรรค ไม่ว่าจะเป็นการเลือกอะไรก็แล้วแต่ นโยบายที่ออกมามีแต่ประเภท อุ้มหมอมาหาหมา , ฉีดวัคซีนให้หมาให้แมวฟรี เดินมาหาเสียง เลือกผมนะครับ เดี๋ยวไปฉีดยาให้หมาให้แมวฟรี ฟังแล้วก็อยากจะตะโกนบอกอย่าลืมฉีดตัวเองด้วยนะ เพราะผมว่า บ้ากันก่อนหมา แมว แล้วครับ
ถามจริงๆ ให้ไปเลือกพวกท่านเนี่ย ผมจะเลือกลงมั้ยครับ นโยบายหาเสียงหลักที่จะทำให้หลังจากได้คะแนนไปแล้ว คือ ฉีดหมาฉีดแมวเนี่ยนะครับ ผมว่า ผมพาไปฉีดเองและเสียเงินก็ได้ครับ มันจะบัดซบอะไรขนาดนี้การเมืองประเทศไทย แล้วไอ้ความดีที่พร่ำบอก ว่าถนนที่โน่น ถนนนี้ ทำให้เห็นเนี่ย ท่านทำจริงครับ ผมรู้ผมเห็น เพราะท่านก็ทำทุกทีที่ได้ตำแหน่ง ทำอยู่เส้นเดิมๆเนี่ยจะไม่เห็นได้ไง มันพังมันเสียท่านก็ให้คนมาทำให้ตลอด เห็นประจำ แต่ผมว่าไม่ต้องทำบ่อยๆให้เห็นว่าท่านทำจริงก็ได้นะครับ ขอแบบทีเดียวดีไปเลย นี่ทำ 2ปีพัง 3ปีพัง เอาซะจำความดีท่านแม่นเลย แบบนี้ไม่แปลกหรอก ว่าทำไมความดีท่านถึงได้เยอะมากมายแบบนี้ ความดีเยอะ ship หายเลย
ผมไม่แปลกใจหรอกครับ ทำไม โพล ที่หลายๆสำนักทำกันคะแนน โนโหวต โหวตโน มันถึงได้นำแทบจะทุกสำนัก มันสะท้อนให้เห็นความเบื่อ ความเซ็ง กับอะไรที่มันทุเรศ เน่าเฟะของนักการเมืองประเทศเราเป็นอย่างดี มันบอกว่าประชาชนไม่อยากเห็นหยุดความอุบาทว์พวกนี้อีกต่อไปแล้ว นี่ยังไม่ได้รวมถึง พวกนักการเมืองดังๆที่หน้าด้านให้สัมภาษณ์ หน้าด้านยกเหตุผลทุเรศๆ ออกข่าว ออกทีวี ประจานตัวเองทุกวันๆเลยนะครับ แค่ดูรอบๆตัวเองก็เพียงพอที่ จะมีเหตุผลให้ไป โหวตโน แล้วล่ะครับ
ผมว่าถึงเวลาแล้วครับที่จะหยุดอะไรที่มันทุเรศทุรังของสังคมและประเทศเราได้เสียที ช่วยๆกันครับ ช่วยกันเปลี่ยนแปลงการเมืองครั้งใหญ่ ไปโหวตโน กันเยอะๆ อย่าไปฟังเหตุผลปัญญาอ่อน ประเภท ให้เลือกคนเลวน้อยที่สุด ไม่เลือกเราเขามาแน่ โหวตโนเท่ากับเพิ่มคะแนนให้พรรคโน่นพรรคนี้ มันฟังแล้วตลกๆ เหลือเกินครับ จะเลวเยอะเลวน้อย จะหล่อ จะเหลี่ยม มันก็ได้ชื่อ ว่า เลว พอกัน ( อันนี้พวกท่านๆ ออกมายอมรับว่า เลว กันเองนะ ผมไม่ได้ปรักปรำ )
ฉะนั้น ถ้าไม่มีคนดีให้เลือกจริงๆ ก็ โหวตโน กันลูกเดียวครับ ช่องเค้ามีไว้ มันต้องมีเหตุผล อย่าไปสนใครจะทักจะถามจะติง ว่ามันไม่ช่วยให้เปลี่ยนแปลงการเมืองได้หรอกมันไม่ใช่ประชาธิปไตย อำนาจจะไปอยู่ที่ใคร อย่าไปใส่ใจเลยครับ อย่างน้อยคะแนนเสียงเราก็ไม่ได้มีส่วนให้คนเลวเข้าไปทำลายประเทศ และแม้ว่า โหวตโน จะไม่สามารถชี้แนวทางต่อไปได้ชัดเจน แต่ก็ดีกว่า ย่ำอยู่กับที่ ใช่มั้ยครับ สำหรับผม ผมเชื่อสนิทใจเลยครับ ว่า ถ้าโหวตโน กันมากๆ จะเกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นแน่นอน เพราะถ้า มันไม่มีผลและไม่ดีขึ้นจริง นักการเมืองในระบบเก่าๆนี้ คงไม่แสดงอาการทุรนทุราย ต้องคอยสรรหาเหตุผลใหม่ๆมาต่อต้านกันทุกวี่ทุกวัน แบบนี้หรอกครับจริงมั้ย??
วันจันทร์ที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2554
คะแนนจัดตั้ง โดย Kittinun Nakthong Showcase
คะแนนจัดตั้ง
มีคำถามตามมามาก มายสำหรับแคมเปญโหวตโน (VOTE NO) หรือการเลือกทำเครื่องหมายใน “ช่องไม่ประสงค์ลงคะแนน” ลงบนบัตรเลือกตั้ง ซึ่งพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยได้ออกมาเคลื่อนไหวอยู่ในขณะนี้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสั่งสอนว่ามีประชาชนจำนวนมากรังเกียจนักการเมืองใน ระบบที่เป็นอยู่ปัจจุบันนี้ และเพื่อผลักดัน “พลังบริสุทธิ์” ที่ออกเสียงในช่องไม่ประสงค์ลงคะแนน ให้เกิดการปฏิรูปการเมืองโดยประชาชน
ไม่ ว่าจะมาจากฝั่งพรรคประชาธิปัตย์ ที่มองว่าการรณรงค์โหวตโนของพันธมิตรฯ ไม่สามารถตอบโจทย์ให้กับบ้านเมืองได้ ทำให้ประเทศเสียโอกาส โดยอ้างว่าระหว่างพรรคการเมืองหลักคะแนนแตกต่างกันไม่มากนัก ประมาณสิบที่นั่งหรือแสนกว่าเสียง ผมเห็นเจตนาเป็นแบบนี้ ก็น่าจะสะท้อนให้เห็นว่าพรรคนี้มุ่งแต่ต้องการเอาชนะทางการเมือง โดยเฉพาะการเลือกตั้งเพียงอย่างเดียว ถึงกระนั้นแกนนำพรรคถึงกับยอมรับกลายๆ ว่า การเลือกตั้งครั้งนี้เฉพาะ กระแสพรรคไม่สามารถชนะการเลือกตั้งได้ และพบว่า ส.ส.ของพรรคหลายเขตที่ไม่ได้ทำพื้นที่และเสี่ยงไม่ชนะการเลือกตั้ง
หรือ จะเป็นพรรคเพื่อไทย ในฐานะที่เป็นไม้เบื่อไม้เมาของพันธมิตรฯ ซึ่งขับไล่ผู้นำระบอบทักษิณที่ขายชาติ-โกงแผ่นดินมาอย่างยาวนาน ก็ออกมาโจมตีว่าการโหวตโนเป็นการขัดขวางกระบวนการเลือกตั้ง เปิดทางให้มีการทำรัฐประหาร หรือขอพระราชทาน นายกรัฐมนตรีตามมาตรา 7 ไม่เป็นประชาธิปไตย ผมฟังดูแล้วไม่เห็นว่าการโหวตโนจะขัดขวางการเลือกตั้งแต่อย่างใดเลย ไปเลือกตั้งแต่กาช่องไม่ลงคะแนน ให้เลือกพรรคเพื่อไทยนะสิถึงจะได้ ส.ส.ที่ชอบโดดประชุม ด่าพ่อล่อแม่ แจกกล้วยแล้ววางมวยในสภา
อีก ทั้งผมเชื่อว่าในเวลานี้บรรดานายทหารทั้งหลายคงไม่คิดที่จะปฏิวัติรัฐประหาร เพราะนอกจากผู้นำเหล่าทัพจะออกมาพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า ไม่คิดจะปฏิวัติ รัฐบาลกับกองทัพยังมีความสัมพันธ์กันดีจากผู้จัดการรัฐบาลที่ชื่อ “สุเทพ เทือกสุบรรณ” รวมทั้ง “พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ” รมว.กลาโหม ที่มีความสัมพันธ์อันดีกับกองทัพ โดยเฉพาะ “พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา” ผบ.ทบ.จะมีก็แต่เสื้อแดงที่ออกอาการหลอน แค่ดาวเทียมไทยคม 5 ขัดข้อง ทำทีวีจอดำไป 4-5 ชั่วโมงก็ปล่อยข่าวลือไปทั่วว่ามีปฏิวัติ...
ส่วนบรรดานักวิชาการทั้งหลายก็มีมุมมองแตกต่างกันไป ทั้งไม่เห็นด้วยอย่างสุดโต่ง และเห็นด้วยแบบน่ากังขา อย่าง รศ.ดร.ไชยันต์ ไชยพร อาจารย์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ ที่เคยฉีกบัตรในการเลือกตั้ง 2 เมษายน 2549 ก็มองว่าที่พันธมิตรฯ รณรงค์ให้โหวตโนนั้นไม่ผิดกฎหมายและไม่ได้ขัดกับระบอบประชาธิปไตย เพียงแต่อาจจะเกิดคำถามว่าพันธมิตรฯ ตั้งพรรคการเมืองใหม่ แล้ว ไม่พร้อมจะลงแข่งขันในการเลือกตั้งหรืออย่างไร จึงรณรงค์ให้ผู้คนไปกาช่องไม่ประสงค์จะลงคะแนนให้ผู้สมัครคนใดเลยเท่านั้น
ผม เห็นว่าอาจารย์ไชยันต์อาจจะเข้าใจผิดก็ได้ เพราะพันธมิตรฯ กับพรรคการเมืองใหม่ เดี๋ยวนี้เหมือนจะเป็นคนละเรื่องเดียวกันไปแล้ว ที่ชัดเจนที่สุดคือการประชุมใหญ่สามัญประจำปีของพรรคการเมืองใหม่ เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2554 ที่ผ่านมา เสียงสนับสนุนเกือบเต็มห้องประชุมเห็นว่าไม่ควรส่งผู้สมัคร ตามมาด้วยท่าทีของแกนนำพันธมิตรฯ ออกมาโจมตีถึงความชอบธรรมในการส่งผู้สมัครรับเลือกตั้ง โดยเฉพาะข้อกล่าวหาว่ากระสันต์อยากเป็น ส.ส. รวมทั้งการที่สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) มีมติให้ “สมศักดิ์ โกศัยสุข” และ “สาวิทย์ แก้วหวาน” ประธานสหภาพแรงงานการรถไฟฯ ออกจากการเป็นแกนนำพันธมิตรฯ
ได้ ยินได้ฟังอย่างนี้ บรรดาผู้สนับสนุนพันธมิตรฯ และพรรคการเมืองใหม่ทั้งสองฝ่ายอาจจะรู้สึกไม่ดีนัก แต่ผมเห็นว่าไม่ใช่เรื่องแปลก มันก็เหมือนกับที่ นพ.เหวง โตจิราการ ที่วันนี้เดินบนเส้นทางการเมืองคนละแนวทางกับ พล.ต.จำลอง ศรีเมือง แม้ ทั้งคู่จะเคยออกมาเคลื่อนไหวในช่วงเหตุการณ์พฤษภาทมิฬปี 2535 ก็ตาม ผู้ใหญ่ท่านหนึ่งก็เคยสอนเอาไว้ว่า มนุษย์มันเปลี่ยนแปลงได้ เมื่อมันเปลี่ยนก็เปลี่ยน เมื่อมันเป็นอย่างนี้ต้องยอมรับว่ามันเป็นอย่างนี้นี่เอง อย่าไปฟูมฟายกับมัน...
อีกมุมมองหนึ่งเกี่ยวกับเรื่องโหวตโนก็คือ รศ.วิทยากร เชียงกูล คณบดี วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต ที่มองว่าการโหวตโนเป็นเรื่องเพ้อฝัน ทำให้เสียของ เพราะนักการเมืองหน้าเดิมๆ ก็จะเข้ามาอยู่ดี ถ้าเปลี่ยนแนวคิดไปใช้สิทธิเลือก พรรคการเมืองใหม่ หรือพรรคเล็กอื่นๆ เรายังจะมีโอกาสได้ ส.ส.หน้าใหม่ โดยเฉพาะจากระบบบัญชีรายชื่อเข้าไปเป็นฝ่ายค้านได้ดีกว่า ผมฟังอย่างนี้แล้วดูเหมือนว่า อ.วิทยากรคงจะคิดแบบคนที่เห็นแก่ตัวไปหน่อยหรือไม่ ถ้าอย่างนั้นคนที่ซื้อหวย ซื้อสลากกินแบ่งเป็นประจำทุกงวดเพื่อเสี่ยงโชคลุ้นรางวัลที่ 1 หรืออย่างน้อยรางวัลเลขท้าย ก็เท่ากับอาจารย์วิทยากรดูถูกคนเหล่านั้นเช่นเดียวกัน
อาจารย์วิทยากร ผู้ที่เคยเป็นเจ้าของบทกลอนที่ขึ้นต้นว่า “ฉันเยาว์ ฉันเขลา ฉันทึ่ง” คงไม่เข้าใจถึงนิยามของการแสดงออกในเชิงสัญลักษณ์ ที่จะจุดประกายให้สังคมได้มองเห็นว่า ประชาชนไม่พอใจนักการเมืองในระบบที่มีอยู่ในปัจจุบันนี้มากน้อยขนาดไหน แม้จะมีความแตกต่างในส่วนของการเลือกตั้ง 2 เมษายน 2549 ที่มีจำนวนโหวตโนมากกว่า 10 ล้านใบ เทียบกับการเลือกตั้งครั้งล่าสุด 23 ธันวาคม 2550 ที่มีจำนวนโหวตโนเพียงแค่ 1.4 ล้านใบในระบบสัดส่วน (ระบบแบ่งเขต 9.3 แสนใบ) แต่อย่างน้อยก็เป็นการจุดประกายให้ช่องไม่ประสงค์ลงคะแนนเป็นที่รับรู้ และเป็นทางเลือกแก่ประชาชนที่ไม่ต้องการแม้แต่นักการเมืองที่เลวน้อยที่สุด เข้าสภา
ในเมื่อทุกวันนี้ต้องยอมรับความจริงว่า ไม่ว่าพรรคไหนเป็นรัฐบาลก็มีการทุจริตไม่แพ้กัน ทั้งที่ทุกคนรู้อยู่แล้วว่ามีแต่นักการเมืองโกงชาติ ทำไมตัวเลือกถึงหยุดอยู่แค่เพียงว่า ต้องเลือกนักการเมืองที่เลวน้อยที่สุด เพราะคำว่าเลวไม่ว่าจะมากหรือน้อยมันก็ย่อมสร้างความเสียหายให้แก่ประเทศ ชาติ และประชาชนเสียโอกาสเหมือนกันมิใช่หรือ และอันที่จริงการที่อาจารย์วิทยากรเสนอว่าให้ไปเลือกพรรคการเมืองขนาดเล็ก ซึ่งไม่มี “คะแนนจัดตั้ง” เหมือนพรรคการเมืองขนาดใหญ่ ทำเช่นนี้ไม่เสียของไปกว่ากันหรือ
ถ้าคุณผู้อ่านยังไม่ทราบว่า “คะแนนจัดตั้ง” หมายถึงอะไร ฐานข้อมูลการเมืองการปกครองของสถาบันพระปกเกล้า ได้ให้ความหมายเอาไว้ว่า หมายถึงคะแนนเสียงของผู้สมัครรับเลือกตั้ง ที่ผู้ลงคะแนนเสียงมาลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง โดยการชักนําของหัวคะแนนของผูสมัครรับเลือกตั้ง คะแนนจัดตั้งจึงถือเป็นคะแนนที่ผู้สมัครจะได้รับค่อนข้างแน่นอน โดยคะแนนเหล่านี้จะผ่านการจัดวางอย่างเป็นระบบของหัวคะแนนที่พร้อมจะสนับ สนุนผู้สมัครับเลือกตั้ง คะแนนดังกล่าวจะเป็นฐานในการประเมินของผู้สมัครรับเลือกตั้งและหัวคะแนนใน การวางยุทธวิธีหาเสียงเพื่อให้ชัยชนะในการเลือกตั้ง การมีคะแนนจัดตั้งเป็นฐานประเมินคะแนนเสียงจะทำให้ผู้สมัครรู้ว่าจะต้องหา คะแนนเสียงอีกแค่ไหนจึงจะได้รับเลือกตั้ง
อธิบายเป็นภาษาชาว บ้าน คะแนนจัดตั้งก็คือการซื้อเสียงแบบกลายๆ ผ่านบรรดาหัวคะแนนที่มีมวลชนอยู่ในมือ แต่ที่ไม่พูดคำว่าซื้อเสียงโดยตรง เพราะสุ่มเสี่ยงทั้งผิดกฎหมายเลือกตั้ง หากผู้สมัครรับเลือกตั้งและหัวคะแนนกระทำเช่นนั้นจริง หรืออาจถูกฟ้องร้องข้อหาหมิ่นประมาทในกรณีที่เป็นการกล่าวหาผู้สมัครอีกฝ่าย หนึ่ง คะแนนจัดตั้งนี้แหละสามารถรู้ได้เลยว่า ส.ส.คนนี้จะแพ้หรือชนะกันตั้งแต่ยังไม่หย่อนบัตร แทนที่ผู้สมัคร ส.ส.ที่มีภาพลักษณ์ดีหรือเป็นที่ชื่นชอบของประชาชน ที่ไม่อาจวัดผลได้ว่าจะชนะหรือแพ้
กระบวนการของคะแนนจัดตั้ง เริ่มต้นขึ้นที่พรรคการเมือง ไปถามนักเลือกตั้ง ซึ่งเป็น ส.ส.หรือผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งว่า คะแนนจัดตั้งของคุณมีเท่าไหร่ เกินกึ่งหนึ่งของผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตที่จะลงสมัครรับเลือกตั้งหรือไม่ ทีนี้นักเลือกตั้งก็จะมีหัวคะแนนจากหมู่บ้านต่างๆ ได้นำรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่สามารถนำมาลงคะแนนเสียงให้กับนักเลือก ตั้งคนนี้ ตามจำนวนที่ระบุไว้เตรียมเอาไว้แล้ว
ถ้ามีคะแนนจัด ตั้งเกินกึ่งหนึ่ง นักเลือกตั้งคนนี้ก็จะดูดีมีราคาค่างวด เป็นที่ต้องการตัวของพรรคการเมือง ถึงขนาดยอมที่จะจ่ายเงินแบบไม่อั้นให้ไปซื้อเสียงกับชาวบ้านในรายชื่อที่ว่า นี้ โดยจะต้องแข่งกับผู้สมัครอีกฝ่ายหนึ่งที่ไม่รู้ว่าจะเกทับมาอีกเท่าไหร่ จากนั้น นักเลือกตั้งเหล่านี้ก็จะลงพื้นที่พบกับคนที่ควบคุมคะแนนเสียง ซึ่งเป็นนักการเมืองท้องถิ่นที่เป็นพวกกัน ตั้งแต่สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด (ส.อบจ.) นายกเทศมนตรี สมาชิกสภาเทศบาล นายกองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) สมาชิกสภา อบต. กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และผู้นำชุมชน เพื่อขอคะแนนที่พวกเขาคุมอยู่มาไม่น้อยกว่า 60 % ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งในแต่ละหมู่
ทีนี้ เวลาที่ขอคะแนนเขาไม่ได้ขอกันเปล่าๆ แต่ต้องส่งมอบเงินให้ไปจัดซื้อเสียง ซึ่งคนที่ควบคุมคะแนนเสียงก็จะได้เงินค่าตอบแทนพร้อมกับค่าหัวที่แล้วแต่ ตกลงกันเป็นหลักสิบ เมื่อหัวคะแนนพวกนี้ตอบตกลงแบ่งคะแนนให้นักเลือกตั้งฝ่ายไหนมากกว่า ฝ่ายนั้นก็จะชนะ ส่วนฝ่ายที่แบ่งให้น้อยกว่าก็จะแพ้ คะแนนจัดตั้งจะเป็นตัวช่วยให้นักเลือกตั้งเหล่านี้สามารถรู้ได้ทันทีว่า อนาคตทางการเมืองเขาจะเป็นอย่างไร แม้กระแสพรรคจะเป็นส่วนหนึ่งให้ประสบความสำเร็จแต่ไม่ยั่งยืนเท่ากระแสนัก เลือกตั้งคนนั้น
อันที่จริงคะแนนจัดตั้งมีทั้งแบบใช้เงิน ใช้ชื่อเสียงหรืออิทธิพล หรืออาจจะมีทั้งสองอย่างก็ได้ วิธีการนี้หากนักเลือกตั้งคนไหนลงเลือกตั้งบ่อยครั้ง และมีอิทธิพลในพื้นที่ คะแนนจัดตั้งก็จะยังอยู่ตามความจงรักภักดีของชาวบ้านที่ลงคะแนนให้ เมื่อมีความสัมพันธ์ระหว่างชาวบ้านกับ ส.ส. ประเภทที่ว่าชาวบ้านลงคะแนนให้ ส.ส.ก็ออกไปช่วยชาวบ้าน ทั้งช่วยประกันลูกชายที่ติดคุก ช่วยงานศพ งานบวช งานแต่ง งานทำบุญขึ้นบ้านใหม่ ทำถนน ทำสะพานให้ใช้ ให้เงินทำกิจกรรม ฯลฯ
ผล ประโยชน์ต่างตอบแทนเหล่านี้ก็กำเนิดมาเป็น “ระบบอุปถัมภ์” ซึ่งทำลายประชาธิปไตยที่บริสุทธิ์ ยุติธรรม เพราะประชาชนถูกซื้อ และเป็นต้นกำเนิดสำคัญที่ทำให้กลุ่มคนเสื้อแดงถูกนักการเมืองปลุกระดมลงมา ชุมนุมที่กรุงเทพฯ เพื่อเอาทักษิณกลับมาโดยใช้คำว่าประชาธิปไตยบังหน้า กดดันให้รัฐบาลยุบสภาแล้ว พอไม่ได้ดังใจก็เผาบ้านเผาเมือง ปล้นสะดม แล้วยังปลุกระดมให้ศาลากลางจังหวัด 4 แห่งถูกเผาเหลือแต่ซาก ไม่ใช่เพราะนักเลือกตั้งหรอกหรือ?
ผมเชื่อว่าการ เลือกตั้งที่จะมาถึงครั้งนี้คงเป็นการเลือกตั้งที่สกปรกที่สุด พอๆ กับการเลือกตั้งวันที่ 23 ธันวาคม 2550 ที่ซื้อเสียงกันทุกพรรค ไม่เว้นแม้แต่กรรมการบริหารพรรค และเมื่อมีปัจจัยที่มีนักเลือกตั้งจากพรรคการเมืองที่ถูกยุบ แตกออกมารวมกันเป็นพรรคใหม่ ถ้านักเลือกตั้งคนนั้นเป็นคนใหม่ หรือนักเลือกตั้งคนเดิมแต่อยู่พรรคใหม่ จะปล่อยให้กระแสสีเสื้อเอาเปรียบโดยมัวแต่นั่งตีขิม ไม่สนใจที่จะทำคะแนนจัดตั้งเหมือนคนอื่นก็ไม่ได้ ดังนั้นไม่ว่านักเลือกตั้งหรือพรรคการเมืองพรรคไหนจะเข้ามาก็หนีไม่พ้นระบบ นี้
และในเมื่อนักเลือกตั้งบางคนย้ายพรรค ย้ายสังกัด ก็ต้องดึงข้าราชการ นักการเมืองท้องถิ่น และหัวคะแนนเข้ามาเป็นพวก นักเลือกตั้งบางคนเลือกที่จะย้ายพรรคก็เพื่อดึงงบประมาณจากสภาให้มาลงใน พื้นที่ นักเลือกตั้งบางคนก็ใช้กระแสสีเสื้อและนโยบายประชานิยมเข้ามาหาเสียง ผมเชื่อว่าปัญหาคะแนนจัดตั้งเนี่ยแหละจะเป็นต้นเหตุให้การซื้อเสียงเป็นไป อย่างรุนแรง และถ้าผลการเลือกตั้งออกมาแตกต่างจากคะแนนที่จัดตั้งมากๆ เข้า งานเข้าก็ตกอยู่กับหัวคะแนนถึงขั้นเลือดตกยางออกก็เป็นได้
วัน ก่อนผมคุยกับนักการเมืองคนหนึ่งที่รู้จักกันมานานในพื้นที่อีสานใต้ ซึ่งในอีกไม่กี่วันเขาก็จะกลับมาลงสมัคร ส.ส.ในพรรคการเมืองพรรคหนึ่งอีกครั้ง ทราบมาว่าเดี๋ยวนี้ ส.ส.บางคนที่เป็นถึงรัฐมนตรี ขนกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และชาวบ้านไปทัศนศึกษาดูงาน (ซึ่งจริงๆ ก็คือพาไปเที่ยวนั่นแหละ) กันเป็นว่าเล่น และขณะนี้ธนบัตรย่อยตั้งแต่ใบละ 20 ถึง 100 บาทเริ่มขาดตลาด ซึ่งเขาคาดว่าเป็นเพราะนักเลือกตั้งในพื้นที่แลกธนบัตรย่อยตุนเอาไว้ เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับซื้อเสียงเลือกตั้ง โดยเฉพาะในคืนหมาหอน
ความ ตกต่ำที่เกิดขึ้นในสภาผู้แทนราษฎรยุคนี้ ต้นตอที่สำคัญคือคะแนนจัดตั้ง นำไปสู่ระบบอุปถัมภ์ กระทั่งเราได้นักการเมืองที่เข้ามาเพื่อซื้อเสียงเลือกตั้ง กลายมาเป็นรัฐบาลที่โกงบ้านกินเมืองแทบทุกยุคทุกสมัย ไม่ว่าพรรคการเมืองไหนหรือใครจะเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล เพราะฉะนั้นผมเชื่อว่าการออกมาสั่งสอนนักการเมืองด้วยการโหวตโนในการเลือก ตั้งที่จะถึงนี้ จึงเป็นการแสดงพลังโดยบริสุทธิ์ใจและคะแนนไม่ตกไปอยู่กับคนใดคนหนึ่งที่จะ สร้างความชอบธรรมในการเข้าไปสังฆกรรมโกงบ้านกินเมืองในสภา
ส่วน ใครที่คิดว่าการเลือกโหวตโนนั้นเสียของ จะเลือกพรรคการเมืองทางเลือก นักการเมืองหน้าใหม่ หรือนักเลือกตั้งที่คิดว่าเลวน้อยกว่าก็เป็นสิทธิ์ของท่าน แต่ได้โปรดทำใจล่วงหน้าหากคนที่คุณคิดว่าเป็นทางเลือกใหม่ หรือคนที่เลวน้อยกว่าเขาไม่ซื่อสัตย์กับหนึ่งเสียงคุณ ถูกเมินเฉยเวลาที่จะทวงบุญคุณจากผู้แทน และทำประเทศชาติเสียหาย ก็อย่ามานั่งเสียใจภายหลัง แทนที่เราจะไม่ต้องผูกมัดกับนักการเมืองคนไหน แถมยังช่วยกดดันจิตสำนึกแก่บรรดานักการเมืองหน้าเดิมๆ ให้รู้จักเปลี่ยนแปลงตัวเองด้วยการลงคะแนนในช่องไม่ประสงค์ลงคะแนน แบบตัดไฟแต่ต้นลมเสียแต่วันนี้
(ตีพิมพ์ครั้งแรก หนังสือพิมพ์โคราชคนอีสาน ฉบับที่ 2012 ประจำวันที่ 30 เมษายน - 4 พฤษภาคม 2554)
มีคำถามตามมามาก มายสำหรับแคมเปญโหวตโน (VOTE NO) หรือการเลือกทำเครื่องหมายใน “ช่องไม่ประสงค์ลงคะแนน” ลงบนบัตรเลือกตั้ง ซึ่งพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยได้ออกมาเคลื่อนไหวอยู่ในขณะนี้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสั่งสอนว่ามีประชาชนจำนวนมากรังเกียจนักการเมืองใน ระบบที่เป็นอยู่ปัจจุบันนี้ และเพื่อผลักดัน “พลังบริสุทธิ์” ที่ออกเสียงในช่องไม่ประสงค์ลงคะแนน ให้เกิดการปฏิรูปการเมืองโดยประชาชน
ไม่ ว่าจะมาจากฝั่งพรรคประชาธิปัตย์ ที่มองว่าการรณรงค์โหวตโนของพันธมิตรฯ ไม่สามารถตอบโจทย์ให้กับบ้านเมืองได้ ทำให้ประเทศเสียโอกาส โดยอ้างว่าระหว่างพรรคการเมืองหลักคะแนนแตกต่างกันไม่มากนัก ประมาณสิบที่นั่งหรือแสนกว่าเสียง ผมเห็นเจตนาเป็นแบบนี้ ก็น่าจะสะท้อนให้เห็นว่าพรรคนี้มุ่งแต่ต้องการเอาชนะทางการเมือง โดยเฉพาะการเลือกตั้งเพียงอย่างเดียว ถึงกระนั้นแกนนำพรรคถึงกับยอมรับกลายๆ ว่า การเลือกตั้งครั้งนี้เฉพาะ กระแสพรรคไม่สามารถชนะการเลือกตั้งได้ และพบว่า ส.ส.ของพรรคหลายเขตที่ไม่ได้ทำพื้นที่และเสี่ยงไม่ชนะการเลือกตั้ง
หรือ จะเป็นพรรคเพื่อไทย ในฐานะที่เป็นไม้เบื่อไม้เมาของพันธมิตรฯ ซึ่งขับไล่ผู้นำระบอบทักษิณที่ขายชาติ-โกงแผ่นดินมาอย่างยาวนาน ก็ออกมาโจมตีว่าการโหวตโนเป็นการขัดขวางกระบวนการเลือกตั้ง เปิดทางให้มีการทำรัฐประหาร หรือขอพระราชทาน นายกรัฐมนตรีตามมาตรา 7 ไม่เป็นประชาธิปไตย ผมฟังดูแล้วไม่เห็นว่าการโหวตโนจะขัดขวางการเลือกตั้งแต่อย่างใดเลย ไปเลือกตั้งแต่กาช่องไม่ลงคะแนน ให้เลือกพรรคเพื่อไทยนะสิถึงจะได้ ส.ส.ที่ชอบโดดประชุม ด่าพ่อล่อแม่ แจกกล้วยแล้ววางมวยในสภา
อีก ทั้งผมเชื่อว่าในเวลานี้บรรดานายทหารทั้งหลายคงไม่คิดที่จะปฏิวัติรัฐประหาร เพราะนอกจากผู้นำเหล่าทัพจะออกมาพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า ไม่คิดจะปฏิวัติ รัฐบาลกับกองทัพยังมีความสัมพันธ์กันดีจากผู้จัดการรัฐบาลที่ชื่อ “สุเทพ เทือกสุบรรณ” รวมทั้ง “พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ” รมว.กลาโหม ที่มีความสัมพันธ์อันดีกับกองทัพ โดยเฉพาะ “พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา” ผบ.ทบ.จะมีก็แต่เสื้อแดงที่ออกอาการหลอน แค่ดาวเทียมไทยคม 5 ขัดข้อง ทำทีวีจอดำไป 4-5 ชั่วโมงก็ปล่อยข่าวลือไปทั่วว่ามีปฏิวัติ...
ส่วนบรรดานักวิชาการทั้งหลายก็มีมุมมองแตกต่างกันไป ทั้งไม่เห็นด้วยอย่างสุดโต่ง และเห็นด้วยแบบน่ากังขา อย่าง รศ.ดร.ไชยันต์ ไชยพร อาจารย์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ ที่เคยฉีกบัตรในการเลือกตั้ง 2 เมษายน 2549 ก็มองว่าที่พันธมิตรฯ รณรงค์ให้โหวตโนนั้นไม่ผิดกฎหมายและไม่ได้ขัดกับระบอบประชาธิปไตย เพียงแต่อาจจะเกิดคำถามว่าพันธมิตรฯ ตั้งพรรคการเมืองใหม่ แล้ว ไม่พร้อมจะลงแข่งขันในการเลือกตั้งหรืออย่างไร จึงรณรงค์ให้ผู้คนไปกาช่องไม่ประสงค์จะลงคะแนนให้ผู้สมัครคนใดเลยเท่านั้น
ผม เห็นว่าอาจารย์ไชยันต์อาจจะเข้าใจผิดก็ได้ เพราะพันธมิตรฯ กับพรรคการเมืองใหม่ เดี๋ยวนี้เหมือนจะเป็นคนละเรื่องเดียวกันไปแล้ว ที่ชัดเจนที่สุดคือการประชุมใหญ่สามัญประจำปีของพรรคการเมืองใหม่ เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2554 ที่ผ่านมา เสียงสนับสนุนเกือบเต็มห้องประชุมเห็นว่าไม่ควรส่งผู้สมัคร ตามมาด้วยท่าทีของแกนนำพันธมิตรฯ ออกมาโจมตีถึงความชอบธรรมในการส่งผู้สมัครรับเลือกตั้ง โดยเฉพาะข้อกล่าวหาว่ากระสันต์อยากเป็น ส.ส. รวมทั้งการที่สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) มีมติให้ “สมศักดิ์ โกศัยสุข” และ “สาวิทย์ แก้วหวาน” ประธานสหภาพแรงงานการรถไฟฯ ออกจากการเป็นแกนนำพันธมิตรฯ
ได้ ยินได้ฟังอย่างนี้ บรรดาผู้สนับสนุนพันธมิตรฯ และพรรคการเมืองใหม่ทั้งสองฝ่ายอาจจะรู้สึกไม่ดีนัก แต่ผมเห็นว่าไม่ใช่เรื่องแปลก มันก็เหมือนกับที่ นพ.เหวง โตจิราการ ที่วันนี้เดินบนเส้นทางการเมืองคนละแนวทางกับ พล.ต.จำลอง ศรีเมือง แม้ ทั้งคู่จะเคยออกมาเคลื่อนไหวในช่วงเหตุการณ์พฤษภาทมิฬปี 2535 ก็ตาม ผู้ใหญ่ท่านหนึ่งก็เคยสอนเอาไว้ว่า มนุษย์มันเปลี่ยนแปลงได้ เมื่อมันเปลี่ยนก็เปลี่ยน เมื่อมันเป็นอย่างนี้ต้องยอมรับว่ามันเป็นอย่างนี้นี่เอง อย่าไปฟูมฟายกับมัน...
อีกมุมมองหนึ่งเกี่ยวกับเรื่องโหวตโนก็คือ รศ.วิทยากร เชียงกูล คณบดี วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต ที่มองว่าการโหวตโนเป็นเรื่องเพ้อฝัน ทำให้เสียของ เพราะนักการเมืองหน้าเดิมๆ ก็จะเข้ามาอยู่ดี ถ้าเปลี่ยนแนวคิดไปใช้สิทธิเลือก พรรคการเมืองใหม่ หรือพรรคเล็กอื่นๆ เรายังจะมีโอกาสได้ ส.ส.หน้าใหม่ โดยเฉพาะจากระบบบัญชีรายชื่อเข้าไปเป็นฝ่ายค้านได้ดีกว่า ผมฟังอย่างนี้แล้วดูเหมือนว่า อ.วิทยากรคงจะคิดแบบคนที่เห็นแก่ตัวไปหน่อยหรือไม่ ถ้าอย่างนั้นคนที่ซื้อหวย ซื้อสลากกินแบ่งเป็นประจำทุกงวดเพื่อเสี่ยงโชคลุ้นรางวัลที่ 1 หรืออย่างน้อยรางวัลเลขท้าย ก็เท่ากับอาจารย์วิทยากรดูถูกคนเหล่านั้นเช่นเดียวกัน
อาจารย์วิทยากร ผู้ที่เคยเป็นเจ้าของบทกลอนที่ขึ้นต้นว่า “ฉันเยาว์ ฉันเขลา ฉันทึ่ง” คงไม่เข้าใจถึงนิยามของการแสดงออกในเชิงสัญลักษณ์ ที่จะจุดประกายให้สังคมได้มองเห็นว่า ประชาชนไม่พอใจนักการเมืองในระบบที่มีอยู่ในปัจจุบันนี้มากน้อยขนาดไหน แม้จะมีความแตกต่างในส่วนของการเลือกตั้ง 2 เมษายน 2549 ที่มีจำนวนโหวตโนมากกว่า 10 ล้านใบ เทียบกับการเลือกตั้งครั้งล่าสุด 23 ธันวาคม 2550 ที่มีจำนวนโหวตโนเพียงแค่ 1.4 ล้านใบในระบบสัดส่วน (ระบบแบ่งเขต 9.3 แสนใบ) แต่อย่างน้อยก็เป็นการจุดประกายให้ช่องไม่ประสงค์ลงคะแนนเป็นที่รับรู้ และเป็นทางเลือกแก่ประชาชนที่ไม่ต้องการแม้แต่นักการเมืองที่เลวน้อยที่สุด เข้าสภา
ในเมื่อทุกวันนี้ต้องยอมรับความจริงว่า ไม่ว่าพรรคไหนเป็นรัฐบาลก็มีการทุจริตไม่แพ้กัน ทั้งที่ทุกคนรู้อยู่แล้วว่ามีแต่นักการเมืองโกงชาติ ทำไมตัวเลือกถึงหยุดอยู่แค่เพียงว่า ต้องเลือกนักการเมืองที่เลวน้อยที่สุด เพราะคำว่าเลวไม่ว่าจะมากหรือน้อยมันก็ย่อมสร้างความเสียหายให้แก่ประเทศ ชาติ และประชาชนเสียโอกาสเหมือนกันมิใช่หรือ และอันที่จริงการที่อาจารย์วิทยากรเสนอว่าให้ไปเลือกพรรคการเมืองขนาดเล็ก ซึ่งไม่มี “คะแนนจัดตั้ง” เหมือนพรรคการเมืองขนาดใหญ่ ทำเช่นนี้ไม่เสียของไปกว่ากันหรือ
ถ้าคุณผู้อ่านยังไม่ทราบว่า “คะแนนจัดตั้ง” หมายถึงอะไร ฐานข้อมูลการเมืองการปกครองของสถาบันพระปกเกล้า ได้ให้ความหมายเอาไว้ว่า หมายถึงคะแนนเสียงของผู้สมัครรับเลือกตั้ง ที่ผู้ลงคะแนนเสียงมาลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง โดยการชักนําของหัวคะแนนของผูสมัครรับเลือกตั้ง คะแนนจัดตั้งจึงถือเป็นคะแนนที่ผู้สมัครจะได้รับค่อนข้างแน่นอน โดยคะแนนเหล่านี้จะผ่านการจัดวางอย่างเป็นระบบของหัวคะแนนที่พร้อมจะสนับ สนุนผู้สมัครับเลือกตั้ง คะแนนดังกล่าวจะเป็นฐานในการประเมินของผู้สมัครรับเลือกตั้งและหัวคะแนนใน การวางยุทธวิธีหาเสียงเพื่อให้ชัยชนะในการเลือกตั้ง การมีคะแนนจัดตั้งเป็นฐานประเมินคะแนนเสียงจะทำให้ผู้สมัครรู้ว่าจะต้องหา คะแนนเสียงอีกแค่ไหนจึงจะได้รับเลือกตั้ง
อธิบายเป็นภาษาชาว บ้าน คะแนนจัดตั้งก็คือการซื้อเสียงแบบกลายๆ ผ่านบรรดาหัวคะแนนที่มีมวลชนอยู่ในมือ แต่ที่ไม่พูดคำว่าซื้อเสียงโดยตรง เพราะสุ่มเสี่ยงทั้งผิดกฎหมายเลือกตั้ง หากผู้สมัครรับเลือกตั้งและหัวคะแนนกระทำเช่นนั้นจริง หรืออาจถูกฟ้องร้องข้อหาหมิ่นประมาทในกรณีที่เป็นการกล่าวหาผู้สมัครอีกฝ่าย หนึ่ง คะแนนจัดตั้งนี้แหละสามารถรู้ได้เลยว่า ส.ส.คนนี้จะแพ้หรือชนะกันตั้งแต่ยังไม่หย่อนบัตร แทนที่ผู้สมัคร ส.ส.ที่มีภาพลักษณ์ดีหรือเป็นที่ชื่นชอบของประชาชน ที่ไม่อาจวัดผลได้ว่าจะชนะหรือแพ้
กระบวนการของคะแนนจัดตั้ง เริ่มต้นขึ้นที่พรรคการเมือง ไปถามนักเลือกตั้ง ซึ่งเป็น ส.ส.หรือผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งว่า คะแนนจัดตั้งของคุณมีเท่าไหร่ เกินกึ่งหนึ่งของผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตที่จะลงสมัครรับเลือกตั้งหรือไม่ ทีนี้นักเลือกตั้งก็จะมีหัวคะแนนจากหมู่บ้านต่างๆ ได้นำรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่สามารถนำมาลงคะแนนเสียงให้กับนักเลือก ตั้งคนนี้ ตามจำนวนที่ระบุไว้เตรียมเอาไว้แล้ว
ถ้ามีคะแนนจัด ตั้งเกินกึ่งหนึ่ง นักเลือกตั้งคนนี้ก็จะดูดีมีราคาค่างวด เป็นที่ต้องการตัวของพรรคการเมือง ถึงขนาดยอมที่จะจ่ายเงินแบบไม่อั้นให้ไปซื้อเสียงกับชาวบ้านในรายชื่อที่ว่า นี้ โดยจะต้องแข่งกับผู้สมัครอีกฝ่ายหนึ่งที่ไม่รู้ว่าจะเกทับมาอีกเท่าไหร่ จากนั้น นักเลือกตั้งเหล่านี้ก็จะลงพื้นที่พบกับคนที่ควบคุมคะแนนเสียง ซึ่งเป็นนักการเมืองท้องถิ่นที่เป็นพวกกัน ตั้งแต่สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด (ส.อบจ.) นายกเทศมนตรี สมาชิกสภาเทศบาล นายกองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) สมาชิกสภา อบต. กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และผู้นำชุมชน เพื่อขอคะแนนที่พวกเขาคุมอยู่มาไม่น้อยกว่า 60 % ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งในแต่ละหมู่
ทีนี้ เวลาที่ขอคะแนนเขาไม่ได้ขอกันเปล่าๆ แต่ต้องส่งมอบเงินให้ไปจัดซื้อเสียง ซึ่งคนที่ควบคุมคะแนนเสียงก็จะได้เงินค่าตอบแทนพร้อมกับค่าหัวที่แล้วแต่ ตกลงกันเป็นหลักสิบ เมื่อหัวคะแนนพวกนี้ตอบตกลงแบ่งคะแนนให้นักเลือกตั้งฝ่ายไหนมากกว่า ฝ่ายนั้นก็จะชนะ ส่วนฝ่ายที่แบ่งให้น้อยกว่าก็จะแพ้ คะแนนจัดตั้งจะเป็นตัวช่วยให้นักเลือกตั้งเหล่านี้สามารถรู้ได้ทันทีว่า อนาคตทางการเมืองเขาจะเป็นอย่างไร แม้กระแสพรรคจะเป็นส่วนหนึ่งให้ประสบความสำเร็จแต่ไม่ยั่งยืนเท่ากระแสนัก เลือกตั้งคนนั้น
อันที่จริงคะแนนจัดตั้งมีทั้งแบบใช้เงิน ใช้ชื่อเสียงหรืออิทธิพล หรืออาจจะมีทั้งสองอย่างก็ได้ วิธีการนี้หากนักเลือกตั้งคนไหนลงเลือกตั้งบ่อยครั้ง และมีอิทธิพลในพื้นที่ คะแนนจัดตั้งก็จะยังอยู่ตามความจงรักภักดีของชาวบ้านที่ลงคะแนนให้ เมื่อมีความสัมพันธ์ระหว่างชาวบ้านกับ ส.ส. ประเภทที่ว่าชาวบ้านลงคะแนนให้ ส.ส.ก็ออกไปช่วยชาวบ้าน ทั้งช่วยประกันลูกชายที่ติดคุก ช่วยงานศพ งานบวช งานแต่ง งานทำบุญขึ้นบ้านใหม่ ทำถนน ทำสะพานให้ใช้ ให้เงินทำกิจกรรม ฯลฯ
ผล ประโยชน์ต่างตอบแทนเหล่านี้ก็กำเนิดมาเป็น “ระบบอุปถัมภ์” ซึ่งทำลายประชาธิปไตยที่บริสุทธิ์ ยุติธรรม เพราะประชาชนถูกซื้อ และเป็นต้นกำเนิดสำคัญที่ทำให้กลุ่มคนเสื้อแดงถูกนักการเมืองปลุกระดมลงมา ชุมนุมที่กรุงเทพฯ เพื่อเอาทักษิณกลับมาโดยใช้คำว่าประชาธิปไตยบังหน้า กดดันให้รัฐบาลยุบสภาแล้ว พอไม่ได้ดังใจก็เผาบ้านเผาเมือง ปล้นสะดม แล้วยังปลุกระดมให้ศาลากลางจังหวัด 4 แห่งถูกเผาเหลือแต่ซาก ไม่ใช่เพราะนักเลือกตั้งหรอกหรือ?
ผมเชื่อว่าการ เลือกตั้งที่จะมาถึงครั้งนี้คงเป็นการเลือกตั้งที่สกปรกที่สุด พอๆ กับการเลือกตั้งวันที่ 23 ธันวาคม 2550 ที่ซื้อเสียงกันทุกพรรค ไม่เว้นแม้แต่กรรมการบริหารพรรค และเมื่อมีปัจจัยที่มีนักเลือกตั้งจากพรรคการเมืองที่ถูกยุบ แตกออกมารวมกันเป็นพรรคใหม่ ถ้านักเลือกตั้งคนนั้นเป็นคนใหม่ หรือนักเลือกตั้งคนเดิมแต่อยู่พรรคใหม่ จะปล่อยให้กระแสสีเสื้อเอาเปรียบโดยมัวแต่นั่งตีขิม ไม่สนใจที่จะทำคะแนนจัดตั้งเหมือนคนอื่นก็ไม่ได้ ดังนั้นไม่ว่านักเลือกตั้งหรือพรรคการเมืองพรรคไหนจะเข้ามาก็หนีไม่พ้นระบบ นี้
และในเมื่อนักเลือกตั้งบางคนย้ายพรรค ย้ายสังกัด ก็ต้องดึงข้าราชการ นักการเมืองท้องถิ่น และหัวคะแนนเข้ามาเป็นพวก นักเลือกตั้งบางคนเลือกที่จะย้ายพรรคก็เพื่อดึงงบประมาณจากสภาให้มาลงใน พื้นที่ นักเลือกตั้งบางคนก็ใช้กระแสสีเสื้อและนโยบายประชานิยมเข้ามาหาเสียง ผมเชื่อว่าปัญหาคะแนนจัดตั้งเนี่ยแหละจะเป็นต้นเหตุให้การซื้อเสียงเป็นไป อย่างรุนแรง และถ้าผลการเลือกตั้งออกมาแตกต่างจากคะแนนที่จัดตั้งมากๆ เข้า งานเข้าก็ตกอยู่กับหัวคะแนนถึงขั้นเลือดตกยางออกก็เป็นได้
วัน ก่อนผมคุยกับนักการเมืองคนหนึ่งที่รู้จักกันมานานในพื้นที่อีสานใต้ ซึ่งในอีกไม่กี่วันเขาก็จะกลับมาลงสมัคร ส.ส.ในพรรคการเมืองพรรคหนึ่งอีกครั้ง ทราบมาว่าเดี๋ยวนี้ ส.ส.บางคนที่เป็นถึงรัฐมนตรี ขนกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และชาวบ้านไปทัศนศึกษาดูงาน (ซึ่งจริงๆ ก็คือพาไปเที่ยวนั่นแหละ) กันเป็นว่าเล่น และขณะนี้ธนบัตรย่อยตั้งแต่ใบละ 20 ถึง 100 บาทเริ่มขาดตลาด ซึ่งเขาคาดว่าเป็นเพราะนักเลือกตั้งในพื้นที่แลกธนบัตรย่อยตุนเอาไว้ เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับซื้อเสียงเลือกตั้ง โดยเฉพาะในคืนหมาหอน
ความ ตกต่ำที่เกิดขึ้นในสภาผู้แทนราษฎรยุคนี้ ต้นตอที่สำคัญคือคะแนนจัดตั้ง นำไปสู่ระบบอุปถัมภ์ กระทั่งเราได้นักการเมืองที่เข้ามาเพื่อซื้อเสียงเลือกตั้ง กลายมาเป็นรัฐบาลที่โกงบ้านกินเมืองแทบทุกยุคทุกสมัย ไม่ว่าพรรคการเมืองไหนหรือใครจะเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล เพราะฉะนั้นผมเชื่อว่าการออกมาสั่งสอนนักการเมืองด้วยการโหวตโนในการเลือก ตั้งที่จะถึงนี้ จึงเป็นการแสดงพลังโดยบริสุทธิ์ใจและคะแนนไม่ตกไปอยู่กับคนใดคนหนึ่งที่จะ สร้างความชอบธรรมในการเข้าไปสังฆกรรมโกงบ้านกินเมืองในสภา
ส่วน ใครที่คิดว่าการเลือกโหวตโนนั้นเสียของ จะเลือกพรรคการเมืองทางเลือก นักการเมืองหน้าใหม่ หรือนักเลือกตั้งที่คิดว่าเลวน้อยกว่าก็เป็นสิทธิ์ของท่าน แต่ได้โปรดทำใจล่วงหน้าหากคนที่คุณคิดว่าเป็นทางเลือกใหม่ หรือคนที่เลวน้อยกว่าเขาไม่ซื่อสัตย์กับหนึ่งเสียงคุณ ถูกเมินเฉยเวลาที่จะทวงบุญคุณจากผู้แทน และทำประเทศชาติเสียหาย ก็อย่ามานั่งเสียใจภายหลัง แทนที่เราจะไม่ต้องผูกมัดกับนักการเมืองคนไหน แถมยังช่วยกดดันจิตสำนึกแก่บรรดานักการเมืองหน้าเดิมๆ ให้รู้จักเปลี่ยนแปลงตัวเองด้วยการลงคะแนนในช่องไม่ประสงค์ลงคะแนน แบบตัดไฟแต่ต้นลมเสียแต่วันนี้
(ตีพิมพ์ครั้งแรก หนังสือพิมพ์โคราชคนอีสาน ฉบับที่ 2012 ประจำวันที่ 30 เมษายน - 4 พฤษภาคม 2554)
“โหวตโน” รวมพลังสั่งสอนนักการเมือง เดินหน้าปฏิรูปการเมือง (ฉบับร่างเพื่อรับฟังความคิดเห็น) โดย ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์
2 พฤษภาคม 2011 เวลา 9:07 น.
รวมพลังสั่งสอนนักการเมือง เดินหน้าปฏิรูปการเมือง
ไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งกากบาท X ไม่เลือกใคร
โดย คณะกรรมการรณรงค์โหวตโนเพื่อการปฏิรูปการเมือง
หย่อนบัตรกากบาท X ไม่เลือกใคร เพื่อไม่ให้นักการเมืองเอาคะแนนของเราไปทำร้ายและทำบาปกับประเทศชาติ
1. พวกหนึ่งทำทุกวิถีทางเพื่อช่วงชิงอำนาจรัฐจนถึงขั้นใช้อาวุธสงครามและเผาบ้านเผาเมือง อีกพวกหนึ่งปล่อยให้โจรเผาบ้านเผาเมืองแล้วยังสนับสนุนให้ประกันตัวคนเผาบ้านเผาเมืองให้ออกมาแล้วยังมีหน้าข่มขู่ประชาชนว่าระวังจะมีการเผาบ้านเผาเมืองอีก
2. พวกหนึ่งโกงชาติโกงแผ่นดินรวบอำนาจเป็นของคนในครอบครัว อีกพวกหนึ่งก็แบ่งกระทรวงโกงชาติกินเมืองอย่างอำมหิตจนทำให้ข้าวยากหมากแพงประชาชนเดือดร้อนอย่างแสนสาหัส
3. พวกหนึ่งขายชาติยกแผ่นดินไทยให้เป็นของกัมพูชา อีกพวกหนึ่งก็อ่อนแอปล่อยให้กัมพูชารุกรานยึดครองแผ่นดินไทย ปล่อยให้กัมพูชายิงรังแกราษฎรไทยจนต้องอพยพหนีออกจากแผ่นดินไทยอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อนในประวัติศาสตร์ชาติไทย แล้วยังปล่อยให้คนไทยถูกทหารกัมพูชาจับตัวบนผืนแผ่นดินไทยและถูกลงโทษจำคุกโดยศาลกัมพูชา
4. พวกหนึ่งมาเป็นรัฐบาลเข้ามาก็ลุแก่อำนาจจนมีประชาชนต้องออกมาชุมนุม อีกพวกหนึ่งมาเป็นรัฐบาลประชาชนของพรรคการเมืองฝ่ายตรงกันข้ามก็จะออกมาชุมนุมอย่างไม่รู้จบสิ้น
ทำไมคะแนนเสียงของเราต้องลงให้กับคนเหล่านี้มาทำร้ายและทำบาปให้กับประเทศชาติ
อย่าปล่อยให้นักการเมืองดูถูกประชาชน!!
ร่วมกันใช้สิทธิ์เลือกตั้งแต่ “โหวตโน” หรือ กากบาท X ในช่องไม่ประสงค์จะลงคะแนน เพื่อสั่งสอนนักการเมือง และเรียกร้องการเปลี่ยนแปลงและการปฏิรูปการเมืองครั้งใหญ่
เบื่อการชุมนุม เบื่อความรุนแรง เบื่อความขัดแย้ง
กากบาท X ไม่เลือกใครส่งสัญญาณสั่งสอนนักการเมืองทุกพรรค
ถ้าคุณเป็นคนหนึ่งที่เบื่อการชุมนุม เบื่อความขัดแย้งทางการเมือง คุณเป็นคนหนึ่งที่ควรไปเลือกโหวตโน หรือ กากบาท X ลงในช่อง “ไม่ประสงค์จะลงคะแนน” คือไม่เลือกใคร เพราะไม่ว่าเลือกใครก็มีแต่จะมีความขัดแย้งให้ดำรงอยู่ต่อไปไม่รู้จบสิ้น
เพราะการไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งแล้วกากบาท โหวตโน หรือ ไม่เลือกใคร คือการส่งสัญญาณสั่งสอนไปยังนักการเมืองทุกพรรคว่าปัญหาของประเทศชาติในเวลานี้เพราะเรามีระบบการเมืองและนักการเมืองที่เป็นปัญหาของแผ่นดิน ถือเป็นการส่งสัญญาณอย่างสันติวิธีเรียกร้องให้มีการเปลี่ยนแปลงปฏิรูปครั้งใหญ่เพื่อยุติความขัดแย้งทั้งปวง
เพราะเมื่อมีการปฏิรูปการเมืองแล้ว ก็คือการวางกติกาใหม่ ให้กลุ่มเคลื่อนไหวเรียกร้องทั้งหลายมีระบบกลไกและมีเวทีในการตรวจสอบถ่วงดุลอำนาจของนักการเมืองด้วยความรวดเร็ว มีประสิทธิภาพ และแม่นยำในความยุติธรรม ตลอดจนเดินหน้าปฏิรูปการเมืองเพื่อทำให้เกิดความโปร่งใส ขจัดการทุจริตคอร์รัปชั่น สร้างความเป็นธรรมและโอกาสให้กับประชาชนทั้งระบบไม่ว่าจะเป็น ด้านเศรษฐกิจ ด้านการเมือง และด้านสังคม
เมื่อมีกติกาและการปฏิรูปการเมืองเสียใหม่ ทำให้ประเทศไทยมีนักการเมืองที่หลากหลาย มีคุณธรรมมากขึ้น และมีระบบตรวจสอบถ่วงดุลที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น การแก้ไขปัญหาของประเทศย่อมมีประสิทธิภาพมากขึ้น เมื่อเป็นเช่นนั้นความขัดแย้งในสังคมย่อมลดลง และเป็นผลทำให้การชุมนุมหลายกลุ่มก็จะลดลงตามไปด้วย เพราะสามารถใช้กลไกอื่นทดแทนการชุมนุมได้
การโหวตโน หรือ กากบาท X ในช่องไม่ประสงค์จะลงคะแนน จึงเป็นการส่งสัญญาณเพื่อเรียกร้องเพื่อยุติความขัดแย้ง แสวงหาเวทีและกลไกในการปฏิรูปให้คนไทยทุกกลุ่มได้เข้ามามีส่วนร่วม โดยไม่ปล่อยให้ทหารออกมารัฐประหารรวบอำนาจให้กับพวกพ้อง และไม่ปล่อยให้คนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งออกมาชุมนุมช่วงชิงการปฏิวัติประชาชาติในลักษณะของการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองโดยไม่เป็นที่ต้องการของคนส่วนใหญ่ในประเทศ จึงถือเป็นกลไกหนึ่งที่จะช่วยมิให้ความขัดแย้งทางการเมืองต้องเผชิญหน้าในลักษณะใช้ความรุนแรงและสำไปสู่การเสียเลือดเนื้อระหว่างคนไทยด้วยกันเอง
ระบบที่ล้มเหลว ไม่มีใครเป็นคนดีจริงให้เลือก
นักการเมืองมี 2 ประเภทเท่านั้นภายใต้ระบบที่เป็นอยู่ คือ
1. เป็นคนเลวชั่วช้าโกงบ้านกินเมือง ลุแก่อำนาจซึ่งสัมปทานตำแหน่งทางการเมืองด้วยจำนวน ส.ส.ในมือเพื่อแบ่งโควต้าตำแหน่งรัฐมนตรีให้มาเป็นของกลุ่มตัวเอง
2. เหมือนเป็นคนดีแต่ยกมือให้คนเลวปกครองบ้านเมือง (ซึ่งก็เลวเหมือนกัน) ยอมจำนนทำตามมติพรรคยกมือไว้วางใจคนโกงบ้านกินเมืองเพื่อรักษาอำนาจรัฐบาล เพราะนักการเมืองที่โกงชาตินั้นเป็นนายทุนสำคัญจ่ายสนับสนุนให้กับพรรคการเมือง
ถ้าเลือกสมมุติคนที่เราเลือกเชื่อมั่นว่าเป็นคนดี แต่ต้องไปพ่ายแพ้ต่อระบบการเมืองน้ำเน่า จึงเสมือนปล่อยปลาดีลงไปว่ายในน้ำเน่าจึงไม่มีประโยชน์อะไร นอกจากเราจะเปลี่ยนน้ำให้เหมาะสมกับปลาที่ดีเสียก่อน
ตัวอย่างที่เป็นจริงและเห็นชัดที่สุด คือ โพลสำรวจออกมาในการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีคนใดมากที่สุด รัฐมนตรีคนนั้นกลับได้รับคะแนนเสียงไว้วางใจในสภาผู้แทนราษฎรมากที่สุด (ทั้งจากนักการเมืองที่ชั่วและนักการเมืองที่ประชาชนคิดว่าดี) นั่นหมายความว่านักการเมืองที่โกงชาติกินเมืองมากที่สุดก็จะเป็นคนรวยที่สุดที่จะหาเงินมาสนับสนุนพรรคการเมืองจึงควบคุมเสียงในสภาผู้แทนราษฎรได้ ดังนั้นคนโกงชาติกินเมืองจึงไม่เคยถูกปรับออกจากคณะรัฐมนตรี
เพราะนักการเมืองส่วนใหญ่ที่เข้าในสภานั้นต่างซื้อเสียงกันอย่างมโหฬารแต่คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) สามารถจับทุจริตเลือกตั้งเพียงแค่ไม่กี่คดี เมื่อนักการเมืองขี้โกงเข้าสภาได้ก็จะนำมาซึ่งปัญหาการโกงบ้านกินเมือง สร้างความเดือดร้อนและความขัดแย้งให้กับประชาชนไม่รู้จบสิ้น กรรมการการเลือกตั้งท่านหนึ่งออกมายืนยันว่า การเลือกตั้งครั้งนี้จะมีการซื้อสิทธิขายเสียงกันอย่างมโหฬาร
ในขณะเดียวกัน คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริต (ปปช.) มีคดีท่วมท้น จนคนที่ถูกจับทุจริตได้มีน้อยมาก นักการเมืองจึงย่ามใจและเหิมเกริมมากขึ้นทุกวัน ระบบเช่นนี้นอกจากจะเป็นการกัดกร่อนทำลายชาติ ลูกหลานของเราจะมีแต่นักวิ่งเต้น หาเส้น หาพวก และจ่ายส่วยให้กับความล้มเหลวของระบบการเมืองไปตลอดชีวิต คนทำงานสุจริตเติบโตไม่ได้ คนทุจริตเจริญเติบโตก้าวหน้า
เพราะเราต้องยอมรับความจริงว่า ไม่ว่าพรรคไหนเป็นรัฐบาลก็มีการทุจริตไม่แพ้กัน แม้กระทั่งผล ลการสำรวจของหอการค้าไทยยืนยันว่า 3 ปีที่ผ่านมาภายใต้รัฐบาลอภิสิทธิ์นั้น มีการทุจริตยิ่งกว่ายุคทักษิณเสียอีก
หย่อนบัตรเลือกใคร คือความพ่ายแพ้ หมดโอกาสปฏิรูปการเมือง
การหย่อนบัตรเลือกใครนั้น แสดงว่าเป็น “คะแนนที่ยอมจำนนต่อระบบที่เป็นอยู่” ผลก็คือคะแนนของเราจะต้องไปอยู่กับนักการเมืองข้างใดดังต่อไปนี้
1. คะแนนของเราอยู่กับนักการเมืองฝ่ายรัฐบาล นักการเมืองก็จะอ้างคะแนนที่ได้มาจากเราว่าเป็นเสียงข้างมากจะทำอะไรก็ได้ สิทธิ์ของคนที่หย่อนบัตรลงไปเช่นนี้จะหมดความหมายในทันทีที่หย่อนบัตรในคูหา และนักการเมืองก็จะไปถอนทุนโกงงบประมาณแผ่นดิน ทำร้ายและทำบาปกับประเทศชาติอีก
2. คะแนนของเราอยู่กับนักการเมืองฝ่ายค้าน สิทธิ์ของคนที่หย่อนบัตรเช่นนี้ก็จะหมดความหายในทันทีเช่นกัน เพราะนักการเมืองฝ่ายรัฐบาลก็จะอ้างว่าคะแนนของเราที่ลงไปนั้นอยู่ในเสียงส่วนน้อยในระบบ ฝ่ายรัฐบาลจะทำอะไรก็ได้เหมือนกับทุกยุคทุกสมัย
ดังนั้นไม่ว่าคะแนนของเราจะไปเลือกข้างไหน นักการเมืองก็จะอ้างเพื่อไปทำร้ายและทำบาปกับประเทศชาติอยู่ดี
แต่ถ้าเราไปใช้สิทธิ์ โหวตโน หรือ กากบาท X ลงในช่องไม่ประสงค์จะลงคะแนน ก็คือ “การสงวนสิทธิ์คะแนนเสียงของประชาชน” ที่ไม่ยอมจำนนกับระบบ นักการเมืองฝ่ายรัฐบาลที่ชนะแล้วจะไปทำร้ายประเทศชาติก็ไม่ได้มาจากเรา นักการเมืองฝ่ายค้านที่แพ้ในระบบก็ไม่ได้มาจากเราเช่นกัน ดังนั้นเสียงที่ไม่หย่อนบัตรเลือกใครจึงมีคุณค่าตลอดเวลาเพราะยังไม่ให้นักการเมืองฝ่ายไหนเลย เมื่อเป็นเสียงที่ไม่ยอมจำนนต่อระบบจึงเป็นเสียงที่มีสิทธิ์เรียกร้องให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและการปฏิรูปทางการเมืองเพื่อยุติปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองในรอบหลายปีที่ผ่านมา
ไม่เลือกเราเขามาแน่ วาทกรรมข่มขืนสิทธิ์ของประชาชน
หลักการที่ถูกต้องในการเลือกตั้งก็คือ
“เลือกคนดีให้มาปกครองบ้านเมือง และป้องกันมิให้คนไม่ดีมีอำนาจ”
ไม่ใช่เลือกคนกลุ่มหนึ่งที่เลวน้อยกว่าคนอีกกลุ่มหนึ่ง เพราะไม่ว่าเลวมากหรือเลวน้อยก็คือเลวเหมือนกัน เพราะคนเลวต่างไปทำบาปและทำร้ายประเทศชาติเหมือนกัน ทำให้ประชาชนต้องเดือดร้อนเหมือนกัน เพียงแต่คนที่เลวเหล่านั้นต่างก็กล่าวหาฝ่ายตรงกันข้ามว่าเลวกว่าพวกตัวเองกันทั้งสิ้น
ยกตัวอย่างที่ชัดที่สุด นักการเมืองฝ่ายหนึ่งอยู่เบื้องหลังการเผาบ้านเผาเมือง แต่นักการเมืองอีกฝ่ายหนึ่งกลับสนับสนุนการประกันตัวคนเผาบ้านเผาเมืองเพื่อให้มาข่มขู่ประชาชนเพื่อหวังให้ประชาชนหวาดกลัวแล้วมาลงคะแนนให้กับพรรคตัวเอง
หรือเลือกคนจากพรรคไหนก็ไปยกมือให้นักการเมืองไปโกงบ้านกินเมืองถอนทุนเหมือนกันหมด
เปรียบเสมือน มีอาหารอยู่ 2 จาน จานหนึ่งเป็น “ยาพิษ” อีกจานหนึ่งเป็น “เชื้อโรค” บอกว่าประชาธิปไตยต้องเลือกกินเชื้อโรคเพราะเลวน้อยกว่ายาพิษ ผู้ไปใช้สิทธิ์โหวตโน หรือ กากบาท X ลงในช่องไม่ประสงค์จะลงคะแนน คือคนประเภทที่ขอเลือกไม่กินจานไหนเลยไม่ว่ายาพิษ หรือ เชื้อโรค แล้วเอาจานไปล้างหรือเปลี่ยนจานใหม่ แล้วไปทำอาหารจานใหม่ที่อร่อย สะอาด และเป็นประโยชน์ต่อร่างกาย
จากประวัติศาสตร์เมืองไทย นักการเมืองเลวทรามต่ำช้าหากไม่มีความชอบธรรม แม้ว่าจะชนะเลือกตั้งได้เสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎรก็ตาม ก็ไม่สามารถอยู่ได้เพราะประชาชนก็จะต้องออกมาชุมนุมประท้วงขับไล่อยู่ดี
ไปใช้สิทธิ์ไม่เลือกใคร ได้มากกว่าที่คุณคิด
1. ได้กับคนที่หย่อนบัตรแล้ว โหวตโน หรือ กากบาท ในช่อง “ไม่ประสงค์ลงคะแนน” ว่าคะแนนเสียงของเราไม่ถูกนำไปอ้างโดยนักการเมืองเพื่อไปทำร้ายและทำบาปประเทศชาติ หากนักการเมืองประพฤติชั่วช้าเลวทรามตามระบบที่เป็นอยู่อย่างน้อยก็ไม่เกิดจากคะแนนของเรา เท่ากับว่าเราไม่ได้เป็นผู้ที่มีส่วนทำบาปและทำร้ายประเทศชาติ
2. คะแนนโหวตโน หรือ ไม่เลือกใคร ส่งสัญญาณให้โอกาสนักการเมืองต้องยอมให้มีการปฏิรูปการเมือง เพื่อให้คะแนนที่ไม่เลือกใครสามารถกลับเข้าสู่ระบบได้ คะแนนที่ไม่เลือกใครจึงเป็นทั้งแรงกดดันและแรงจูงใจควบคุมพฤติกรรมนักการเมืองในระบบที่ล้มเหลว
3. หากประชาชนไปใช้สิทธิ์โหวตโน หรือ กากบาท X ลงในช่องไม่ประสงค์จะลงคะแนน จำนวนมากพอจนมีนัยยะสำคัญทางการเมือง แม้จะไม่ได้มีผลเปลี่ยนแปลงทางกฎหมาย แต่เมื่อเป็นคะแนนเสียงที่สงวนสิทธิ์ออกมาจากระบบจำนวนมาก ย่อมเป็นการส่งสัญญาณต่อนักการเมืองว่าประชาชนไม่ยอมรับในนักการเมือง เป็นแรงกดดันให้นักการเมืองต้องเปลี่ยนแปลง และต้องนำไปสู่การปฏิรูปการเมืองครั้งใหญ่
หากคนที่โหวตโน หรือ ไปใช้สิทธิ์ไม่เลือกใครมีมาก ก็จะนำไปสู่กระบวนการระดมความคิดเห็นเพื่อการปฏิรูปการเมือง เข้าชื่อเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญ หรือเสนอกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ และกฎหมายอื่นๆเพื่อทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้ แม้สุดท้ายจะต้องผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภา แต่การแสดงออกในการใช้สิทธิ์ในช่องไม่ประสงค์จะลงคะแนนที่มาก จะทำให้เป็นแรงกดดันให้นักการเมืองต้องยอมรับการเปลี่ยนแปลง เหมือนกับเหตุการณ์ที่นักการเมืองต้องผ่านความเห็นชอบในรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540
ทุกวันนี้แม้ว่ารัฐบาลจะตั้งคณะกรรมการปฏิรูปการเมือง แต่คนไทยคนได้เห็นแล้วว่านักการเมืองเลือกแก้ไขรัฐธรรมนูญเฉพาะในประเด็นที่นักการเมืองต้องการและเพื่อผลประโยชน์ของนักการเมืองเท่านั้น นักการเมืองจึงไม่ใช่ผู้ที่จะมาปฏิรูปการเมืองได้ ดังนั้นการส่งสัญญาณ ไม่เลือกใคร ก็คือการสนับสนุนกระบวนการปฏิรูปทางการเมืองให้เดินหน้าโดยมีประชาชนหนุนหลัง โดยอาจเป็นทั้งการส่งเสริมและสนับสนุนและยื่นข้อเรียกร้องผ่านคณะกรรมการปฏิรูปการเมืองเพื่อเสนอแนวทางอันเป็นการกดดันต่อรัฐบาลและนักการเมืองให้ยอมปฏิรูปการเมืองต่อไป
กากบาทไม่เลือกใครคือ X ช่องที่ไม่มีหมายเลขในบัตรเลือกตั้ง ถูกกฎหมาย
พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการ
ได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2550 ระบุไว้ว่า:
มาตรา 67 การลงคะแนนเลือกตั้ง ให้ทำเครื่องหมายกากบาทลงในช่องทำเครื่องหมายของ
หมายเลขผู้สมัครหรือพรรคการเมืองในบัตรเลือกตั้ง และในกรณีที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งไม่ประสงค์จะลงคะแนนเลือกตั้ง ให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งทำเครื่องหมายกากบาทในช่องทำเครื่องหมายไม่ประสงค์ลงคะแนนเลือกตั้งในบัตรเลือกตั้ง
และการที่กฎหมายประกอบการเลือกตั้งบัญญัติสิทธิของประชาชนเอาไว้ตามมาตรา 67 ดังนั้น จึงชี้ช่องให้เห็นว่า ประชาชนไม่จำเป็นต้อง “จำนน” ต่อนักการเมือง แต่ยังมีช่องทาง โหวตโน หรือการกาช่องไม่เลือกใคร เป็น “สิทธิอันชอบธรรมของประชาชน” ในระบอบประชาธิปไตย
การ โหวตโน หรือการไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งแต่กากบาท X ไม่ประสงค์จะลงคะแนนให้ใคร เป็นการสะท้อนความไม่พอใจต่อพรรคการเมืองและนักการเมืองไม่ว่าจะเป็นผู้สมัครพรรคใด แต่การ โนโหวต หรือการไม่ไปลงคะแนนคือ การนอนหลับทับสิทธิ และเป็นการเปิดโอกาสให้พรรคการเมืองที่ใช้เงินและมีเงินทุนพรรคซื้อเสียงเข้ามาในสภา และเข้ามาทุจริตเพื่อถอนทุนภายหลัง
นอกจากนั้นมาตรา 72 ของรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 บัญญัติไว้ว่า บุคคลมีหน้าที่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง บุคคลซึ่งไปใช้สิทธิหรือไม่ไปใช้สิทธิโดยไม่แจ้งเหตุอันควรที่ทำให้ไม่ไปใช้สิทธิได้ย่อมได้รับสิทธิตามที่กฎหมายกำหนด
สำหรับช่องไม่ประสงค์จะลงคะแนน โดยปกติจะอยู่ “มุมขวาด้านล่าง” ของบัตรเลือกตั้ง แต่มีความไม่แน่นอน เพราะพบว่าบัตรเลือกตั้งบางแห่งมีช่องไม่ประสงค์จะลงคะแนนอยู่ “มุมขวาบน” หรือ”มุมซ้ายบน” ก็มี
ดังนั้นเพื่อความชัดเจน คือกากบาท X ลงในช่องที่อยู่มุมใดมุมหนึ่งที่ไม่มีหมายเลขอยู่ข้างหน้าช่องนั้น
เพียงแค่โหวตโน หรือ ไปใช้สิทธิ์กากบาท X ลงในช่องไม่ประสงค์จะลงคะแนนนั้น นอกจากจะไม่ได้ทำบาปและทำร้ายประเทศชาติแล้ว ยังถือว่าประชาชนต้องการการปฏิรูปการเมืองครั้งใหญ่อีกด้วย
ชำแหละนโยบาย ปชป.-พท.“แม้ว”จัดหนักเหนือกว่า “อภิสิทธิ์”
แม้ยังไม่มีการเป่านกหวีดยุบสภาอย่างเป็นทางการ แต่ปี่กลองเลือกตั้งเริ่มต้นขึ้นแล้ว หลังที่หลายพรรคการเมืองเตรียมตัวจัดทัพเข้าสู่โหมดเลือกตั้งกันเป็นถ้วน หน้า
ทั้งการจัดงานระดมทุน เปลี่ยนชื่อพรรค หรือเปิดตัวผู้สมัคร ส่วนที่เปิดเกมวัดกันชัดๆ ก็เป็นเรื่อง “นโยบาย” ที่ทยอยส่งออกมาเป็นระลอกๆ อย่างไรก็ดียังมีบางพรรคการเมืองเขียนนโยบายจากฐานความคิดแบบ “สภาตำบล” หรือ “กรรมการหมู่บ้าน” ที่อาศัยความฮือฮาใช้ตัวเลขสูงๆเกทับกันเข้าไว้ โดยไม่คิดถึงความเป็นจริงว่า สามารถทำได้หรือไม่
ดูที่ค่ายการเมืองซึ่งจะดวลกันในเรื่องนโยบายกันอย่างจริงจัง คงหนีไม่พ้นคู่รักคู่แค้น “ประชาธิปัตย์” - “เพื่อไทย” ที่ต้องเดินหน้าเต็มสูบเพื่อช่วงชิงการนำจัดตั้งรัฐบาลรอบหน้า แน่นอนว่าในฐานะรัฐบาล พรรคประชาธิปัตย์ย่อมต้องปล่อยแคมเปญเพื่อขอเข้ามามาสานงานบริหารบ้านเมือง ให้ต่อเนื่อง
คราวนี้ฝั่งประชาธิปัตย์จึงเลือกใช้สัญลักษณ์ “ฟอร์เวิร์ด” ปะบนทุกสื่อประชาสัมพันธ์ของพรรค พร้อมชูแคมเปญ “เดินหน้าต่อไป ด้วยนโยบายเพื่อประชาชน” ส่วนฟากเพื่อไทยก็เปิดหน้าชูจุดขายกันอย่างไม่มีเหนียมด้วยข้อความสั้นๆแต่ได้ใจความแบบเห็นหน้าลอยมาจากแดนไกลกับ “ทักษิณช่วยคิด เพื่อไทยทำ”
ในเบื้องต้นทั้ง 2 ค่ายก็ปล่อยชุดนโยบายออกมาแล้วบางส่วน เริ่มจากพรรคประชาธิปัตย์ด้วย “ครอบครัว-เศรษฐกิจ-ประเทศต้องเดินหน้า” ที่ยึดแนวทางจากโครงการที่รัฐบาลทำมาในช่วง 2 ปีที่มีโอกาสนั่งบริหารประเทศ ทั้งการให้ประชาชนใช้ไฟฟ้าฟรีถาวร เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ รักษาฟรี เงินกู้เพื่อการศึกษา โฉนดชุมชน ปรับโครงสร้างหนี้นอกระบบ ขยายระบบประกันสังคมครอบคลุมแรงงานนอกระบบ บำนาญประชาชน รถไฟความเร็วสูง ไทย-จีน บรอดแบนด์แห่งชาติ สร้างเขตเศรษฐกิจเกษตรพิเศษ และการจัดหาพลังงานทดแทน เป็นต้น
ส่วนที่วอร์รูมของพรรคหวังใช้เป็น “ไม้เด็ด” คือ การเพิ่มรายได้ใน 2 กลุ่มหลัก เกษตรกร-แรงงาน ที่ตีปิ๊ปว่าจะเพิ่มเงินกำไรจากโครงการประกันรายได้เกษตรกร และค่าแรงขั้นต่ำให้ได้ร้อยละ 25 ภายใน 2 ปี
ขณะที่ทางพรรคเพื่อไทยออกแนวย้อนยุคไปเมื่อครั้งการเลือกตั้ง 2544 ตามต้นตำรับ พรรคไทยรักไทย ที่เคยคลอดนโยบายออกมาแบบที่นักการเมืองยุคเก่า “หน้าหงาย” กันมาแล้ว มาคราวนี้ใช้สโลแกนคุ้นหู “ขอคิดใหม่ทำใหม่ เพื่อไทยทุกคน” โดยเต็มสร้อยคำว่า “..อีกครั้ง” เข้ามาระลึกนึกถึงผลงานในอดีตกันอีกต่างหาก
แน่นอนต้องเริ่มด้วยรถไฟฟ้า “หวานเย็น” 10 สาย สานต่อโครงการที่ค้างเติ่งมาตั้งแต่สมัยรัฐบาลพรรคไทยรักไทย พร้อมด้วยรถไฟรางคู่ รถไฟความเร็วสูง เพิ่มกองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา กองทุนตั้งตัวได้ คืนภาษี/เพิ่มค่าลดหย่อน แจกแทบเล็ตให้นักเรียน หรือสัญญาณอินเตอร์เนตในที่สาธารณะฟรี เป็นต้น
ส่วนที่ใช้วัดกับพรรคประชาธิปัตย์ตรงๆได้แก่ การนำระบบ “จำนำ” รายได้เกษตรกร กลับมาใช้แทนการ “ประกัน” ของ รัฐบาล ประชาธิปัตย์ ด้านค่าแรงขั้นต่ำโยนตัวเลขออกมาแบบไม่ต้องมานั่งคำนวณให้ปวดหัวที่ 300 บาท แถมด้วยยโยบายปรับฐานเงินเดือนระดับปริญญาตรี ขั้นต่ำที่ 15,000 บาท
เมื่อพิจารณาชุดนโยบายของ 2 ฝ่ายเพียงเท่านี้อาจมองไม่เห็นข้อแตกต่าง มีหลายนโยบายที่ต่างฝ่ายต่าง “ประยุกต์” ใช้กันแบบใครลอกใครก็เดาไม่ออก แต่เมื่อพิจารณาลงลึกในรายละเอียดเพื่อ “เปรียบมวย” อย่างปราศจากอคติ ก็ต้องยกให้ฟากฝั่งพรรคเพื่อไทยเป็นต่ออยู่พอสมควร
เพราะขณะที่พรรคประชาธิปัตย์ยังออกนโยบายแก้ปัญหาเฉพาะหน้า และทำงานวันต่อวัน ที่สำคัญยังตัดสินใจช้าหรือทำตัว “ต้วมเตี้ยม” ในสายตาคนดูที่เฝ้าติดตามมากว่า 2 ปีที่ผ่านมา จนถูกปรามาสว่า “รัฐบาลดีแต่พูด” แต่ฝั่งเพื่อไทยดูเหมือนผุดแคมเปญที่มองถึงการกำหนดทิศทางของประเทศอย่างเป็นระบบ และมีรูปธรรมมากกว่า
วัดกันที่ประเด็นค่าแรงขั้นต่ำ ระหว่าง 25 % กับ 300 บาท ที่วันนี้แผนของประชาธิปัตย์ในการขึ้นเงินอย่างเป็นขั้นบันไดให้สำเร็จภายใน 2 ปียังไม่แล้วเสร็จดี แต่ฝ่ายเพื่อไทยประกาศตูมเดียวว่า จะลดภาษีให้นายจ้าง-นายทุน เพื่อนำส่วนต่างมาโปะเงินให้ครบตามจำนวน 300 บาทที่ว่าไว้
หมัดเดียวเข้าเป้าน็อกเลย
หรือโครงการ “แจกบัตรเครดิตเกษตรกร” ที่แม้จะถูก มองว่าเป็นการก่อหนี้ให้กับชาวนาชาวไร่ แต่หากเดินหน้าได้อย่างมีประสิทธิภาพก็จะกลายเป็นการปลดภาระให้แก่เกษตรกร ในการจัดหาวุสดุอุปกรณ์ ตลอดจนไปถึงเมล็ดพันธุ์พืช โดยรัฐบาลเป็นผู้รับประกัน ที่ไม่ต้องเป็นหนี้หรือถูกพ่อค้าโก่งราคา ตัดความเป็น “ทาส” ของพ่อค้าออกจากสารบบได้ทันที
เพื่อไทยยังเตรียมเปิด “ทีเด็ด” ชุดใหญ่ โดยเฉพาะในวันที่ 4 พ.ค.นี้ ที่จะยึดสวมลุมพินีคิกออฟนโยบาย “เพื่อไทย กทม. ต้องทำได้จริง และเห็นผลเร็ว” โดยที่น่าสนใจนอกเหนือจากโครงการคมนาคมที่ใช้เป็น “ยาสามัญประจำบ้าน” กันมาหลายยุคหลายสมัยแล้ว
ยังมีการผนวกปัญหา 2 ส่วน ทั้งการขยายตัวของเมืองหลวง และปัญหาน้ำทะเลหนุนท่วม กทม. ออกแบบมาเป็นนโยบาย “แก้ปัญหาน้ำท่วมซ้ำซาก ทำเมืองหลวงให้สง่างาม” โดยการถมทะเล สร้างเขื่อนกันน้ำท่วม ที่ประสบความสำเร็จมาแล้วในหลายประเทศ ทั้งที่ญี่ปุ่น ฮอลแลนด์ หรือฮ่องกง ทั้งยังเป็นการแก้ปัญหาการสร้างเมืองใหม่ โดยไม่ต้องย้ายไปพื้นที่อื่น เช่นที่ จ.นครนายก ซึ่งติดปัญหาทางเทคนิค ต้องแก้กฎหมายอีกหลายฉบับ และใช้งบประมาณมหาศาล จนสุดท้ายต้องพับโครงการไปในที่สุด
โดยการสร้างเมืองใหม่โดยอาศัยการถมทะเลนั้น จะนำงบประมาณในการลงทุน จากการเปิดขายพื้นที่ล่วงหน้า ซึ่งสามารถตั้งราคาได้สูงกว่าต้นทุนการลงทุนได้หลายเท่าตัว เพื่อวางแผนเปิดเป็นนิคมอุตสาหกรรม สร้างโอกาสทางธุรกิจ และสร้างงานอีกอย่างน้อย 1 แสนอัตรา ยกตัวอย่าง นิคมอุตสาหกรรมไอที ตามแนวทางที่ประเทศอินเดียประสบความสำเร็จมาแล้ว และเป็นฐานใหญ่ในการผลิตให้ผู้ประกอบการของสหรัฐฯ หรือแม้แต่ประเทศฟิลิปปินส์ ที่ดำเนินโครงการลักษณะนี้ จนทำให้เศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวในเวลาอันรวดเร็ว
ขณะที่พรรคประชาธิปัตย์ยังไร้วี่แววของโครงการขนาดใหญ่ที่จะมาเป็น ตัวช่วยในการพัฒนาประเทศให้แข็งแกร่ง อาจจะมีโครงการสร้างแหลมฉบัง ให้เป็นเมืองท่าสมบูรณ์แบบ (Harbor City) หรือการพลิกโฉมเมืองท่องเที่ยวตลอดชายฝั่งทะเลภาคใต้ และแหล่งท่องเที่ยวทั่วประเทศ ซึ่งเหมือนนำเรื่องเก่ามาเล่าใหม่ โดยที่ในอดีตก็เคยมีความพยายาม แต่ก็ยังไม่สัมฤทธิ์ผลเสียที
เมื่อเป็นเช่นนี้แล้วแนวนโยบายของพรรคประชาธิปัตย์ก็ไม่ต่างจาก “น้ำขุ่น” ที่มองไม่เห็นอนาคตของประเทศ ตามสโลแกนที่ตั้งไว้เลย ทำได้เพียงการย่ำอยู่กับที่ ประคองเอาตัวรอดไปวันๆ ในขณะที่นโยบายของพรรคเพื่อไทยที่เป็น "น้ำใส" เห็นทิศทางของประเทศค่อนข้างชัดเจน แต่ก็ยังมี “ตำหนิ” ที่คล้ายกับ สายน้ำใส แต่ดันมีปลิงอาศัยอยู่ ซึ่ง “ปลิง” ที่ว่าก็คือ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯผู้หลบหนีคดีอยู่ในต่างแดน
ว่ากันว่า ชุดนโยบายต่างๆที่คลอดออกมา ก็เป็นแนวคิดของ พ.ต.ท.ทักษิณแทบทั้งสิ้น ตามคอบเซปต์ “ทักษิณช่วยคิด เพื่อไทยทำ” ซึ่งทำให้บดบังความโดดเด่นของตัว “แคนดิเดต” ที่จะมาเป็นนายกฯของพรรคเพื่อไทย
ที่สำคัญยังต้องถูกค่อนแคะว่าพรรคเพื่อไทยให้ “คนต่างชาติ” อย่าง พ.ต.ท.ทักษิณเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องกับพรรค ย่อมถูกนำไปสู่กระบวนการพิจารณาเพื่อ “ยุบพรรค” อีกคำรบก็เป็นได้
แต่พรรคประชาธิปัตย์ก็ต้องระวังจะเข้าตัวเอง ว่าแต่เขาอิเหนาเป็นเองเพราะอย่าลืมว่า “สถานะ” ของนายอภิสิทธิ์วันนี้ก็ไม่ต่างจาก พ.ต.ท.ทักษิณเท่าไรนัก เนื่องจากการถือครองสัญชาติอังกฤษ ที่แม้จะเป็นประเด็นเล็กน้อย แต่หลังจากเรื่องแดงขึ้นมาก็ยังไม่เห็นนายอภิสิทธิ์พยายามจัดการให้พ้นจาก ข้อกล่าวหาตรงนี้ ทั้งที่สามารถเดินไปแจ้งความประสงค์ต่อสถานทูตอังกฤษ ประจำประเทศไทย ที่อยู่ไม่ไกลจากบ้านในซอยสวัสดีของนายกฯคนปัจจุบันเท่าไรนัก เพื่อสละสัญชาติอังกฤษ
ดังนั้นหาก “ลิ่วล้อ” ค่ายพระแม่ธรณีบีบมวยผม อยากเดินหน้าเล่นงานพรรคเพื่อไทยให้จมดินด้วยประเด็นสัญชาติของ พ.ต.ท.ทักษิณ ก็คงต้องสะกิดให้หัวหน้าพรรคไปเคลียร์ตัวเองให้เรียบร้อยเสียก่อน
ถึงตอนนี้เวลาประชาธิปัตย์คงปิดจุดอ่อนด้านนโยบายไม่ทันแล้ว แบบนี้ “เพื่อแม้ว” มีโอกาสกำชัยชนะในสนามเลือกตั้ง และได้รีเทิร์นกลับมาครองอำนาจค่อนข้างแน่
ทั้งการจัดงานระดมทุน เปลี่ยนชื่อพรรค หรือเปิดตัวผู้สมัคร ส่วนที่เปิดเกมวัดกันชัดๆ ก็เป็นเรื่อง “นโยบาย” ที่ทยอยส่งออกมาเป็นระลอกๆ อย่างไรก็ดียังมีบางพรรคการเมืองเขียนนโยบายจากฐานความคิดแบบ “สภาตำบล” หรือ “กรรมการหมู่บ้าน” ที่อาศัยความฮือฮาใช้ตัวเลขสูงๆเกทับกันเข้าไว้ โดยไม่คิดถึงความเป็นจริงว่า สามารถทำได้หรือไม่
ดูที่ค่ายการเมืองซึ่งจะดวลกันในเรื่องนโยบายกันอย่างจริงจัง คงหนีไม่พ้นคู่รักคู่แค้น “ประชาธิปัตย์” - “เพื่อไทย” ที่ต้องเดินหน้าเต็มสูบเพื่อช่วงชิงการนำจัดตั้งรัฐบาลรอบหน้า แน่นอนว่าในฐานะรัฐบาล พรรคประชาธิปัตย์ย่อมต้องปล่อยแคมเปญเพื่อขอเข้ามามาสานงานบริหารบ้านเมือง ให้ต่อเนื่อง
คราวนี้ฝั่งประชาธิปัตย์จึงเลือกใช้สัญลักษณ์ “ฟอร์เวิร์ด” ปะบนทุกสื่อประชาสัมพันธ์ของพรรค พร้อมชูแคมเปญ “เดินหน้าต่อไป ด้วยนโยบายเพื่อประชาชน” ส่วนฟากเพื่อไทยก็เปิดหน้าชูจุดขายกันอย่างไม่มีเหนียมด้วยข้อความสั้นๆแต่ได้ใจความแบบเห็นหน้าลอยมาจากแดนไกลกับ “ทักษิณช่วยคิด เพื่อไทยทำ”
ในเบื้องต้นทั้ง 2 ค่ายก็ปล่อยชุดนโยบายออกมาแล้วบางส่วน เริ่มจากพรรคประชาธิปัตย์ด้วย “ครอบครัว-เศรษฐกิจ-ประเทศต้องเดินหน้า” ที่ยึดแนวทางจากโครงการที่รัฐบาลทำมาในช่วง 2 ปีที่มีโอกาสนั่งบริหารประเทศ ทั้งการให้ประชาชนใช้ไฟฟ้าฟรีถาวร เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ รักษาฟรี เงินกู้เพื่อการศึกษา โฉนดชุมชน ปรับโครงสร้างหนี้นอกระบบ ขยายระบบประกันสังคมครอบคลุมแรงงานนอกระบบ บำนาญประชาชน รถไฟความเร็วสูง ไทย-จีน บรอดแบนด์แห่งชาติ สร้างเขตเศรษฐกิจเกษตรพิเศษ และการจัดหาพลังงานทดแทน เป็นต้น
ส่วนที่วอร์รูมของพรรคหวังใช้เป็น “ไม้เด็ด” คือ การเพิ่มรายได้ใน 2 กลุ่มหลัก เกษตรกร-แรงงาน ที่ตีปิ๊ปว่าจะเพิ่มเงินกำไรจากโครงการประกันรายได้เกษตรกร และค่าแรงขั้นต่ำให้ได้ร้อยละ 25 ภายใน 2 ปี
ขณะที่ทางพรรคเพื่อไทยออกแนวย้อนยุคไปเมื่อครั้งการเลือกตั้ง 2544 ตามต้นตำรับ พรรคไทยรักไทย ที่เคยคลอดนโยบายออกมาแบบที่นักการเมืองยุคเก่า “หน้าหงาย” กันมาแล้ว มาคราวนี้ใช้สโลแกนคุ้นหู “ขอคิดใหม่ทำใหม่ เพื่อไทยทุกคน” โดยเต็มสร้อยคำว่า “..อีกครั้ง” เข้ามาระลึกนึกถึงผลงานในอดีตกันอีกต่างหาก
แน่นอนต้องเริ่มด้วยรถไฟฟ้า “หวานเย็น” 10 สาย สานต่อโครงการที่ค้างเติ่งมาตั้งแต่สมัยรัฐบาลพรรคไทยรักไทย พร้อมด้วยรถไฟรางคู่ รถไฟความเร็วสูง เพิ่มกองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา กองทุนตั้งตัวได้ คืนภาษี/เพิ่มค่าลดหย่อน แจกแทบเล็ตให้นักเรียน หรือสัญญาณอินเตอร์เนตในที่สาธารณะฟรี เป็นต้น
ส่วนที่ใช้วัดกับพรรคประชาธิปัตย์ตรงๆได้แก่ การนำระบบ “จำนำ” รายได้เกษตรกร กลับมาใช้แทนการ “ประกัน” ของ รัฐบาล ประชาธิปัตย์ ด้านค่าแรงขั้นต่ำโยนตัวเลขออกมาแบบไม่ต้องมานั่งคำนวณให้ปวดหัวที่ 300 บาท แถมด้วยยโยบายปรับฐานเงินเดือนระดับปริญญาตรี ขั้นต่ำที่ 15,000 บาท
เมื่อพิจารณาชุดนโยบายของ 2 ฝ่ายเพียงเท่านี้อาจมองไม่เห็นข้อแตกต่าง มีหลายนโยบายที่ต่างฝ่ายต่าง “ประยุกต์” ใช้กันแบบใครลอกใครก็เดาไม่ออก แต่เมื่อพิจารณาลงลึกในรายละเอียดเพื่อ “เปรียบมวย” อย่างปราศจากอคติ ก็ต้องยกให้ฟากฝั่งพรรคเพื่อไทยเป็นต่ออยู่พอสมควร
เพราะขณะที่พรรคประชาธิปัตย์ยังออกนโยบายแก้ปัญหาเฉพาะหน้า และทำงานวันต่อวัน ที่สำคัญยังตัดสินใจช้าหรือทำตัว “ต้วมเตี้ยม” ในสายตาคนดูที่เฝ้าติดตามมากว่า 2 ปีที่ผ่านมา จนถูกปรามาสว่า “รัฐบาลดีแต่พูด” แต่ฝั่งเพื่อไทยดูเหมือนผุดแคมเปญที่มองถึงการกำหนดทิศทางของประเทศอย่างเป็นระบบ และมีรูปธรรมมากกว่า
วัดกันที่ประเด็นค่าแรงขั้นต่ำ ระหว่าง 25 % กับ 300 บาท ที่วันนี้แผนของประชาธิปัตย์ในการขึ้นเงินอย่างเป็นขั้นบันไดให้สำเร็จภายใน 2 ปียังไม่แล้วเสร็จดี แต่ฝ่ายเพื่อไทยประกาศตูมเดียวว่า จะลดภาษีให้นายจ้าง-นายทุน เพื่อนำส่วนต่างมาโปะเงินให้ครบตามจำนวน 300 บาทที่ว่าไว้
หมัดเดียวเข้าเป้าน็อกเลย
หรือโครงการ “แจกบัตรเครดิตเกษตรกร” ที่แม้จะถูก มองว่าเป็นการก่อหนี้ให้กับชาวนาชาวไร่ แต่หากเดินหน้าได้อย่างมีประสิทธิภาพก็จะกลายเป็นการปลดภาระให้แก่เกษตรกร ในการจัดหาวุสดุอุปกรณ์ ตลอดจนไปถึงเมล็ดพันธุ์พืช โดยรัฐบาลเป็นผู้รับประกัน ที่ไม่ต้องเป็นหนี้หรือถูกพ่อค้าโก่งราคา ตัดความเป็น “ทาส” ของพ่อค้าออกจากสารบบได้ทันที
เพื่อไทยยังเตรียมเปิด “ทีเด็ด” ชุดใหญ่ โดยเฉพาะในวันที่ 4 พ.ค.นี้ ที่จะยึดสวมลุมพินีคิกออฟนโยบาย “เพื่อไทย กทม. ต้องทำได้จริง และเห็นผลเร็ว” โดยที่น่าสนใจนอกเหนือจากโครงการคมนาคมที่ใช้เป็น “ยาสามัญประจำบ้าน” กันมาหลายยุคหลายสมัยแล้ว
ยังมีการผนวกปัญหา 2 ส่วน ทั้งการขยายตัวของเมืองหลวง และปัญหาน้ำทะเลหนุนท่วม กทม. ออกแบบมาเป็นนโยบาย “แก้ปัญหาน้ำท่วมซ้ำซาก ทำเมืองหลวงให้สง่างาม” โดยการถมทะเล สร้างเขื่อนกันน้ำท่วม ที่ประสบความสำเร็จมาแล้วในหลายประเทศ ทั้งที่ญี่ปุ่น ฮอลแลนด์ หรือฮ่องกง ทั้งยังเป็นการแก้ปัญหาการสร้างเมืองใหม่ โดยไม่ต้องย้ายไปพื้นที่อื่น เช่นที่ จ.นครนายก ซึ่งติดปัญหาทางเทคนิค ต้องแก้กฎหมายอีกหลายฉบับ และใช้งบประมาณมหาศาล จนสุดท้ายต้องพับโครงการไปในที่สุด
โดยการสร้างเมืองใหม่โดยอาศัยการถมทะเลนั้น จะนำงบประมาณในการลงทุน จากการเปิดขายพื้นที่ล่วงหน้า ซึ่งสามารถตั้งราคาได้สูงกว่าต้นทุนการลงทุนได้หลายเท่าตัว เพื่อวางแผนเปิดเป็นนิคมอุตสาหกรรม สร้างโอกาสทางธุรกิจ และสร้างงานอีกอย่างน้อย 1 แสนอัตรา ยกตัวอย่าง นิคมอุตสาหกรรมไอที ตามแนวทางที่ประเทศอินเดียประสบความสำเร็จมาแล้ว และเป็นฐานใหญ่ในการผลิตให้ผู้ประกอบการของสหรัฐฯ หรือแม้แต่ประเทศฟิลิปปินส์ ที่ดำเนินโครงการลักษณะนี้ จนทำให้เศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวในเวลาอันรวดเร็ว
ขณะที่พรรคประชาธิปัตย์ยังไร้วี่แววของโครงการขนาดใหญ่ที่จะมาเป็น ตัวช่วยในการพัฒนาประเทศให้แข็งแกร่ง อาจจะมีโครงการสร้างแหลมฉบัง ให้เป็นเมืองท่าสมบูรณ์แบบ (Harbor City) หรือการพลิกโฉมเมืองท่องเที่ยวตลอดชายฝั่งทะเลภาคใต้ และแหล่งท่องเที่ยวทั่วประเทศ ซึ่งเหมือนนำเรื่องเก่ามาเล่าใหม่ โดยที่ในอดีตก็เคยมีความพยายาม แต่ก็ยังไม่สัมฤทธิ์ผลเสียที
เมื่อเป็นเช่นนี้แล้วแนวนโยบายของพรรคประชาธิปัตย์ก็ไม่ต่างจาก “น้ำขุ่น” ที่มองไม่เห็นอนาคตของประเทศ ตามสโลแกนที่ตั้งไว้เลย ทำได้เพียงการย่ำอยู่กับที่ ประคองเอาตัวรอดไปวันๆ ในขณะที่นโยบายของพรรคเพื่อไทยที่เป็น "น้ำใส" เห็นทิศทางของประเทศค่อนข้างชัดเจน แต่ก็ยังมี “ตำหนิ” ที่คล้ายกับ สายน้ำใส แต่ดันมีปลิงอาศัยอยู่ ซึ่ง “ปลิง” ที่ว่าก็คือ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯผู้หลบหนีคดีอยู่ในต่างแดน
ว่ากันว่า ชุดนโยบายต่างๆที่คลอดออกมา ก็เป็นแนวคิดของ พ.ต.ท.ทักษิณแทบทั้งสิ้น ตามคอบเซปต์ “ทักษิณช่วยคิด เพื่อไทยทำ” ซึ่งทำให้บดบังความโดดเด่นของตัว “แคนดิเดต” ที่จะมาเป็นนายกฯของพรรคเพื่อไทย
ที่สำคัญยังต้องถูกค่อนแคะว่าพรรคเพื่อไทยให้ “คนต่างชาติ” อย่าง พ.ต.ท.ทักษิณเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องกับพรรค ย่อมถูกนำไปสู่กระบวนการพิจารณาเพื่อ “ยุบพรรค” อีกคำรบก็เป็นได้
แต่พรรคประชาธิปัตย์ก็ต้องระวังจะเข้าตัวเอง ว่าแต่เขาอิเหนาเป็นเองเพราะอย่าลืมว่า “สถานะ” ของนายอภิสิทธิ์วันนี้ก็ไม่ต่างจาก พ.ต.ท.ทักษิณเท่าไรนัก เนื่องจากการถือครองสัญชาติอังกฤษ ที่แม้จะเป็นประเด็นเล็กน้อย แต่หลังจากเรื่องแดงขึ้นมาก็ยังไม่เห็นนายอภิสิทธิ์พยายามจัดการให้พ้นจาก ข้อกล่าวหาตรงนี้ ทั้งที่สามารถเดินไปแจ้งความประสงค์ต่อสถานทูตอังกฤษ ประจำประเทศไทย ที่อยู่ไม่ไกลจากบ้านในซอยสวัสดีของนายกฯคนปัจจุบันเท่าไรนัก เพื่อสละสัญชาติอังกฤษ
ดังนั้นหาก “ลิ่วล้อ” ค่ายพระแม่ธรณีบีบมวยผม อยากเดินหน้าเล่นงานพรรคเพื่อไทยให้จมดินด้วยประเด็นสัญชาติของ พ.ต.ท.ทักษิณ ก็คงต้องสะกิดให้หัวหน้าพรรคไปเคลียร์ตัวเองให้เรียบร้อยเสียก่อน
ถึงตอนนี้เวลาประชาธิปัตย์คงปิดจุดอ่อนด้านนโยบายไม่ทันแล้ว แบบนี้ “เพื่อแม้ว” มีโอกาสกำชัยชนะในสนามเลือกตั้ง และได้รีเทิร์นกลับมาครองอำนาจค่อนข้างแน่
วิบากกรรมเพื่อแม้ว2ปมพาเสื่อม ส่อจาบจ้วงเบื้องสูง-สู้เพื่อคนคนเดียว
แม้ว่าจะเกิดปรากฏการณ์และข่าวลือสะพัดว่าจะเกิดอุบัติเหตุทางการเมืองทำให้ไม่มีการเลือกตั้งทั่วไป แต่นายกฯอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ก็ประกาศย้ำส่งสัญญาณชัดเจนว่าการเลือกตั้งทั่วไปจะต้องมีขึ้นอย่างแน่นอน โดยยืนยันที่จะประกาศยุบสภาในช่วงสัปดาห์แรกของเดืองพ.ค.นี้ ซึ่งน่าจะเป็นวันที่ 6 พ.ค. ซึ่งจากสัญญาณการเลือกตั้งทั่วไปที่จะมีขี้นอย่างชัดเจนทำให้พรรคการเมืองต่างๆเริ่มมีการเคลื่อนไหวกันอย่างคึกคักซึ่งที่สำคัญก็คือความเคลื่อนไหวของพรรคเพื่อแม้วที่มุ่งมั่นจะเอาชนะการเลือกตั้งหวังช่วงชิงอำนาจรัฐฟื้นระบอบทักษิณกลับมายึดครองประเทศอีกครั้งให้ได้
การเปิดตัวผู้สมัคร ส.ส.ทั้งระบบเขตและแบบบัญชีรายชื่อ(ปาร์ตี้ลิสต์)รวมทั้งการแถลงนโยบายหาเสียงของพรรคเพื่อแม้วที่หอประชุมมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิตเมื่อวันเสาร์ที่แล้วสะท้อนให้เห็นชัดเจนถึงความเป็นพรรคหุ่นเชิดโดยนักโทษชายแม้ว ของนักโทษชายแม้ว และเพื่อนักโทษชายแม้ว อย่างแท้จริง ขณะเดียวกันก็สะท้อนให้เห็นว่าพรรคเพื่อแม้วกำลังถูกยึดครองโดยเหล่าแกนนำคนเสื้อแดงที่ได้รับการสนับสนุนจาก นักโทษชายแม้ว ผู้เป็นนายใหญ่มากขึ้นตามลำดับ
ในการแถลงนโยบายของพรรคเพื่อแม้วครังนี้ นักโทษชายแม้ว เป็นผู้คิดนโยบายและแถลงนโยบายดุจเป็นผู้นำพรรคว รวมทั้งบัญชาการรบกำหนดทิศทางแนวทางการทำสงครามชิงอำนาจรัฐครั้งนี้ด้วยตัวเอง ซึ่งนอกจาก นักโทษชายแม้ว จะขายฝันบรรดาโครงการประชานิยมและอภิมหาโปรเจท์ทั้งหลายเพื่อเกทับบลั๊ฟแหลกพรรคประชาธิปัตย์อันเป็นคู่แข่งสำคัญแล้ว ยังประกาศนโยบายทางการเมือง 7 ข้อเพื่อนำชาติไปสู่ความปรองดอง ซึ่งในจำนวนนี้ นักโทษชายแม้ว พยายามลบล้างจุดอ่อนสำคัญของตัวเองและสร้างภาพว่ามีความจงรักภักดีต่อสถาบันเบื้องสูง และที่สำคัญคือนโยบายข้อสุดท้ายซึ่งอำพรางเป้าหมายที่แท้จริงของตัวเองนั่นคือข้อเสนอให้ออกกฏหมายนิรโทษกรรมฟอกโทษความผิดแก่ทุกฝ่ายที่ได้รับผลกระทบหลังจากที่เกิดการรัฐประหารโค่นล้มระบอบทักษิณเมื่อวันที่ 19 ก.ย.2549
ภาพพจน์เรื่องความไม่จงรักภักดีจาบจ้วงเบื้องสูง รวมทั้งการอยู่เบื้องหลังขบวนการเพื่อแม้วที่เผาบ้านทำลายเมืองเพื่อตัวเองของ นักโทษชาแม้ว ถือเป็นชะนักปักหลัง 2 เรื่องสำคัญที่จนวันนี้ นักโทษชายแม้ว ก็ยังแก้ไม่ตกและอาจจะเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อผลการเลือกตั้งทั่วไปที่จะมีขึ้น
แม้ นักโทษชายแม้ว จะพยายามสร้างภาพเอาตัวรอดด้วยการประกาศว่า หากได้กลับ ประเทศไทยแล้วตัวเองแสดงให้เห็นถึงความไม่จงรักภักดีก็พร้อมที่จะให้ประชาชนรุมประชาทัณฑ์ แต่กลับถูกตั้งข้อสังเกตุว่า นั่นเป็นเพียงเล่ห์เหลี่ยมสร้างภาพเอาตัวรอดในยามที่พรรคเพื่อแม้วกำลังเพลี่ยงพล้ำหลังจากที่ 2 ส.ส.ของพรรคเพื่อแม้วซึ่งเป็นแกนนำคนสำคัญของขบวนการเสื้อแดงคือ นายจตุพร พรหมพันธุ์ และ นายวิเชียร ขาวขำ ปราศรัยบนเวทีคนเสื้อแดงเมื่อวันที่ 10 เม.ย.ที่ผ่านมาส่อเจตนาจาบจ้วงเบื้องสูงจนกองทัพรับไม่ได้ประกาศกร้าวแจ้งความดำเนินคดี ขณะที่หน่วยคุมกำลังสำคัญทั้งหมดของกองทัพต่างตบแถวออกมาดับเครื่องชนขบวนการจาบจ้วงเบื้องสูงซึ่งทำให้แผลเก่าภาพพจน์ความไม่จงรักภักดีของขบวนการเพื่อแม้วถูกจุดกระแสลุกโชนขึ้นอีกครั้งซึ่งเป็นผลเสียอย่างมากต่อสงครามช่วงชิงอำนาจรัฐผ่านการเลือกตั้งทั่วไปที่จะมีขึ้น
ทั้งนี้ไม่อาจปฏิเสธได้ว่าพฤติกรรมของ นักโทษชายแม้ว รวมทั้งเหล่าแกนนำขบวนการคนเสื้อแดงตลอดช่วงที่ผ่านมาสะท้อนให้เห็นถึงการจวบจ้วงเบื้องสูงมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งบางคนถูกดำเนินคดีฐานหมิ่นเบื้องสูง และหลายคนหลบหนีหมายจับไปอยู่ต่างประเทศ อาทิ นายจักรภพ เพ็ญแข นายใจ อึ้งภากรณ์ น.ส.ดารณี ชาญเชิงศิลปชัย หรือ "ดาร์ ตอร์ปิโด" นายสุชาติ นาคบางไทร และอีกหลายต่อหลายคนล้วนส่อเจตนาจาบจ้วงเบื้องสูงจนบางคนถูกจับดำเนินคดีและบางคนหนีหมายจับออกนอกประเทศ
นอกจากนี้การจาบจ้วงเบื้องสูงของขบวนการเพื่อแม้วยังเคลื่อนไหวอย่างเป็นระบบและเหิมเกริมมากขึ้นทุกขณะ ทั้งด้วยเว็บไซต์ทั้งในและนอกประเทศ สื่อในเครือคนเสื้อแดงทั้งหนังสือหรือวิทยุชุมชน ใบปลิวเถื่อน รวมทั้งการจัดตั้งปลุกระดมมวลชนให้โค่นล้มระบอบอำมาตย์และเปลี่ยนแปลงการปกครองประเทศไปสู่ความเป็น"รัฐไทยใหม่" และแม้ในปัจจุบันสื่อในเครือคนเสื้อแดงก็ยังจาบจ้วงเบื้องสูงอย่างเหิมเกริมจนล่าสุดกำลังตำรวจและทหารบุกเข้าจับกุมและปิดสถานีวิทยุชุมชุมหลายสิบสถานีเนื่องจากพบว่ามีการจวบจ้วงสถาบันเบื้องสูงอย่างชัดเจน
ที่สำคัญตลอดช่วงที่ผ่านมา นักโทษชายแม้ว เองก็ส่อเจตนาจาบจ้วงเบื้องสูงมาอย่างต่อเนื่อง อาทิ ในช่วงที่นักโทษชายแม้ว เป็นผู้บริหารประเทศได้พูดในรายการ"นายกฯพบประชาชน" เมื่อวันที่ 4 ก.พ.49 ตอนหนึ่งความว่า " คนที่จะให้ผมออกจากตำแหน่งนายกฯได้ไม่ต้องหลายคนเลย คนเดียวให้ออกได้เลย นั่นคือพระเจ้าอยู่หัว ถ้าพระเจ้าอยู่หัวกระซิบผม......รับรองกราบพระบาทออกแน่นอน " หรือการวีดีโอลิงก์มายังเวทีคนเสื้อแดงด้วยคำกล่าวตอนหนึ่งว่า "อำมาตย์อายุ 80 กว่าแล้ว อีกไม่กี่ปีก็ตายแล้ว " หรืออีกครั้งหนึ่งที่กล่าวว่า "อำมาตย์ร่ำรวยแล้ว มีมรดกให้ลูกหลานอย่างเพียงพอแล้ว ปล่อยประชาชนไปเถอะ"
นอกจากนิ้ นักโทษชายแม้ว เคยให้สัมภาษณ์นิตยสารไทม์ฉบับวันที่ 1 ก.พ.50 โดยตอบคำถามเกี่ยวกับการถูกรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 ก.ย.49 ว่า " มันก็เหมือนกับการทำรัฐประหารในอดีตของไทยที่ผ่านมา 17 ครั้ง ตอนแรกประชาชนอาจรู้สึกตกใจ จากนั้นพวกเขาจะเริ่มแสดงความวิตกกังวล แล้วจึงเริ่มยอมรับสิ่งที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากที่การรัฐประหารได้รับการรับรองจากองค์พระมหากษัตริย์ พวกเขาอยู่ในกรอบระเบียบมากๆ พวกเขาเชื่อฟัง "
หรือการให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์อาราเบียน บิซิเนสของสหรัฐอาหรับอิมิเรสต์เมื่อวันที่ 24 พ.ย.51 ตอนหนึ่งความว่า " ผมคิดว่าหลายๆอย่างขึ้นอยู่กับอำนาจของประชาชน หากพวกเขารู้สึกว่าอยู่อย่างยากลำบาก และต้องการให้ผมช่วย ผมก็จะกลับไป หากพระมหากษัตริย์ทรงเห็นว่าผมยังสามารถทำคุณประโยชน์ได้ ผมจะกลับไป และพระองค์อาจพระราชทานอภัยโทษให้แก่ผม แต่ถ้าพวกเขาไม่ต้องการผม และพระองค์ทรงเห็นว่าผมกลับไปก็ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง ผมก็จะอยู่ที่นี่ทำธุรกิจไป "
อีกตัวอย่างหนึ่ง นักโทษชายแม้ว ให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์ไฟแนนเชียลไทม์ฉบับวันที่ 20 เม.ย.52 มีใจความสำคัญตอนหนึ่งว่า " ก่อนเกิดการรัฐประหารเมื่อเดือนก.ย.49 นั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ และองคมนตรีบางคนเข้าเฝ้าทูละอองธุลีพระบาทและผู้ที่เข้าเฝ้ากราบบังคมทูลว่าจะกำจัดผมถวายเพราะผมไม่จงรักภักดี .....เมื่อผมพยายามจะปราบปรามการประท้วงที่เป็นปฏิปักษ์ต่อรัฐบาลก็ไม่มีผู้ใดร่วมมือเพราะมีบางคนส่งเสริมอยู่เบื้องหลัง "
แม้แต่คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ อดีตแกนนำพรรคไทยรักไทยที่เป็นสมาชิกบ้านเลขที่ 111 ซึ่งถูกเว้นวรรคทางการเมือง 5 ปี และเป็นหนึ่งในคนสนิทของนักโทษชายแม้ว ก็ยังให้ความเห็นผ่านสื่อแสดงความวิตกว่าเรื่องจาบจ้วงสถาบันเบื้องสูงถือเป็นจุดอ่อนสำคัญที่สุดสำหรับขบวนการเพื่อแม้วซี่งจะต้องมีการแก้ไขเป็นการด่วน เพราะเป็นอุปสรรคสำหรับความสำเร็จของพรรคเพื่อแม้วในวันข้างหน้า
นอกจากภาพพจน์ความไม่จงรักภักดีแล้ว ชะนักปักหลังที่สำคัญอีกเรื่องหนึ่งของ นักโทษชายแม้ว ก็คือการอยู่เบื้องหลังการเผาบ้านทำลายเมืองสร้างความปั่นป่วนวุ่นวายตลอดช่วงหลายปีที่ผ่านมาล้วนทำเพื่อตัวเองทิ้งสิ้น โดยมีเป้าหมายเบื้องต้นอยู่ที่ความพยายามออกกฏหมายฟอกโทษความผิดทั้งหมดให้ตัวเองและเหล่าแดงก่อการร้ายที่เผาบ้านทำลายเมือง รวมทั้งทวงทรัพย์สิน 46,000 ล้านบาทของตัวเองที่ถูกยึดตกเป็นของแผ่นดินคืน
แม้ในคำประกาศนโยบายสร้าความปรองดองข้อสุดท้ายที่ต้องการให้มีการออกกฏหมายนิรโทษกรรมแก่ทุกฝ่ายที่ได้รับผลกระทบหลังการรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 ก.ย.2549 แต่สาธารณชนย่อมมองออกว่านั่นเป็นเพียงภาพลวงตาเพราะเป้าหมายที่แท้จริงของนักโทษชายแม้ว ก็คือการฟอกโทษความผิดทั้งหมดให้ตัวเอง
เพราะฉะนั้นชะนักปักหลังนักโทษชายแม้วทั้งข้อสงสัยในเรื่องไม่จงรักภักดีรวมทั้งการอยู่เบื้องหลังการเผาบ้านทำลายเมืองมุ่งช่วงชิงอำนาจรัฐเพื่อตัวเองจึงถือเป็นวิบากกรรมและเป็นปัจจัยเสื่อมที่นักโทษชายแม้วและชบวนการเพื่อแม้วยังแก้ไม่ตก ขณะเดียวกันจะส่งผลกลับมาทำลายขบวนการเพื่อแม้วทั้งระยะสั้นและระยะยาว โดยเฉพาะเมื่อกองทัพแสดงจุดยืนชัดเจนว่ารับไม่ได้อีกต่อไปกับการจวบจ้วงสถาบันเบื้องสูง และพร้อมที่จะปฏิบัติการทุกรูปแบบเพื่อจัดการกับขบวนการที่ไม่จงรักภักดีซึ่งหมาถจึงขบวนการเพื่อแม้วนั่นเอง ขณะที่จากบทบาทของพรรคเพื่อแม้วที่เคลื่อนไหวเป็นเนื้อเดียวกับม็อบคนเสื้อแดงจนเกิดกรณีจาบจ้วงเบื้องสูงได้กลายเป็นชนวนสร้างรอยร้าวแตกแยกและกำลังนำไปสู่การแยกทางของแกนนำและส.ส.กลุ่มต่างๆในพรรคเพื่อแม้ว อาทิ กลุ่มพล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ กลุ่มนายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์ รวมทั้งการยกเลิกแผนเข้าร่วมกับพรรคเพื่อแม้วของนายเสนาะ เทียนทอง หัวหน้าพรรคประชาราช ขณะที่แนวคิดของนักโทษชายแม้วที่พยายามผลักดันกฏหมายฟอกโทษความผิดของตัวเองกลายเป็นระเบิดเวลาทางการเมืองที่คาดว่าจะนำไปสู่กระแสต่อต้านอย่างรุนแรงและเชื่อว่าจะส่งผลต่อพรรคเพื่อแม้วในการเลือกตั้งทั่วไปที่กำลังจะมีขึ้น
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)
รีโมท
ซื้อ รีโมท จากผู้ค้าส่งโดยตรง ที่มีหน้าร้านจริง ที่ บ้านหม้อ และ คลองถม ราคาถูกกว่าใคร ปลอดภัย มีรับประกัน