บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันพุธที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2554

มาดูประเด็นกลุ่มปีกซ้ายพฤษภาอยากแก้รัฐธรรมนูญหมวด 1 และ 2 กันครับ


ปีกซ้ายพฤษภาฯ : มาแก้รัฐธรรมนูญ หมวด 1 และ หมวด 2 กันดีกว่า !!!

ที่มา ประชาไท

ผม รับฟังข่าวการแก้ไขรัฐธรรมนูญด้วยความสนใจอย่างยิ่ง แล้วก็ต้องผิดหวังอย่างยิ่ง ที่ผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการแก้ไขรัฐธรรมนูญซี่งมาจากการเลือกตั้ง กลับบอกว่า จะไม่แตะต้องรัฐธรรมนูญ หมวด1 (บททั่วไป) และหมวด 2 (พระมหากษัตริย์)
ทั้งนี้ หากไม่ใช่ผู้ที่บอดใบ้ไร้เดียงสาทางประวัติศาสตร์การเมืองไทยจนเกินไปนัก ก็คงจะตระหนักแก่ใจว่า ปัญหาสำคัญที่ทำให้สังคมไทยยังคงย่ำเป็น “ประชาธิปไตยแบบไทยๆ” ไม่ใช่ “ประชาธิปไตย” ที่เอื้อประโยชน์กับคนส่วนใหญ่ ก็คือ ปัญหาที่มีที่มาจาก หมวด 1 และ 2 ของรัฐธรรมนูญ ซึ่งโดยเนื้อหา แทบจะไม่เคยเปลี่ยนแปลงมานานนับ 20 ปีทีเดียว
ดังนั้น วาทกรรม “การแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยไม่แตะ หมวด 1 และหมวด 2” จึงเป็นเรื่องเหลวไหลไร้สาระ เพราะเท่ากับไม่ได้แก้ไขรัฐธรรมนูญให้ตรงจุดที่เป็นปัญหาใหญ่สุดนั่นเอง
ประวัติ ศาสตร์การเมืองไทยได้เป็นประจักษ์พยานว่า ในการรัฐประหารทุกครั้ง ได้มีการอ้างว่าทำเพื่อสถาบันพระมหากษัตริย์ทุกครั้งทุกครา ซ้ำๆ ซากๆ โดยทุกฝ่ายไม่สนใจที่จะป้องกันและแก้ไขไม่ให้เกิดขึ้นอีก มีการเข่นฆ่าและปลุกเร้าความเกลียดชังกันระหว่างคนไทยด้วยกันอย่างป่าเถื่อน และโหดเหี้ยมถึง 3 เหตุการณ์ นั่นคือ กรณีสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล, กรณี 6 ตุลาคม 2519 และ กรณีวิกฤติทางการเมืองที่เกี่ยวเนื่องกับเหตุการณ์ก่อนการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิต และถูกละเมิดสิทธิต่างๆมากมาย
กลุ่มปีกซ้ายพฤษภาฯ มีความเห็นร่วมกันเกี่ยวกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญในหมวดที่ 1 และ 2 (รวมทั้ง “อารัมภบท”) ดังนี้
อารัมภบท
พอ กันที กับ อารัมภบท ที่เป็นภาษาศัพท์แสงโบร่ำโบราณ อ่านไม่รู้เรื่อง และที่สำคัญที่สุด ไม่ได้สะท้อนความเป็นจริงของปัญหาสังคมการเมืองไทย
เป็น ไปได้อย่างไรที่ “อารัมภบท”ของรัฐธรรมนูญไทย ไม่มีการกล่าวถึง การโค่นล้มระบอบเผด็จการ สมบูรณาญาสิทธิราชย์ในปี พ.ศ.2475 , ไม่มีการกล่าวถึงการรัฐประหารโดยเหล่าเผด็จการทหารรุ่นแล้วรุ่นเล่า, ไม่มีการกล่าวถึงการต่อสู้และการเสียสละของประชาชนเลย
โครงเรื่องของ “อารัมภบท” ในรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน กลับห่างไกลจากความเป็นจริง (อาจจะโดย เจตนา) กลายเป็นนิทาน หรือเทพนิยาย ว่า “พระมหากษัติย์” ทรงมีพระราชดำริ … “พระมหากษัตริย์” ทรงโปรดให้….
ภาพของ ประชาชนในรัฐธรรมนูญ จึงเป็นเพียง “สัตว์ผู้ยาก” ที่รอรับความเมตตาจากพระมหากษัตริย์ แทนที่จะเป็น “เสรีชน”อย่างที่สังคมประชาธิปไตยทั้งมวลพึงเป็น…
“อารัมภบท”ของ รัฐธรรมนูญ ควรสะท้อนถึงจิตวิญญาณประชาธิปไตย และมุ่งเพิ่มพลังอำนาจของประชาชน และควรกล่าวถึงสิทธิเสรีภาพของประชาชนมากกว่าความเมตตาของพระมหากษัตริย์ และควรกล่าวถึงข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์อย่างตรงไปตรงมา
หมวด1 : บททั่วไป
“……..มาตรา ๑ (รูปแบบรัฐ)
ประเทศไทยเป็นราชอาณาจักรอันหนึ่งอันเดียว จะแบ่งแยกมิได้
มาตรา ๒ (รูปแบบการปกครอง)
ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
มาตรา ๓ (อำนาจอธิปไตย)
อำนาจ อธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นประมุขทรงใช้อำนาจนั้นทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้
การปฏิบัติหน้าที่ของรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล รวมทั้งองค์กรตามรัฐธรรมนูญ และหน่วยงานของรัฐ ต้องเป็นไปตามหลักนิติธรรม
มาตรา ๔ (ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาค)
ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคลย่อมได้รับความคุ้มครอง
มาตรา ๕ (ความเสมอภาคภายใต้กฎหมาย)
ประชาชนชาวไทยไม่ว่าเหล่ากำเนิด เพศ หรือศาสนาใด ย่อมอยู่ในความคุ้มครองแห่งรัฐธรรมนูญนี้เสมอกัน
มาตรา ๖ (กฎหมายสูงสุดของประเทศ)
รัฐ ธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ บทบัญญัติใดของกฎหมาย กฎ หรือข้อบังคับ ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญนี้ บทบัญญัตินั้นเป็นอันใช้บังคับมิได้
มาตรา ๗ (การอุดช่องว่างในรัฐธรรมนูญ)
ใน เมื่อไม่มีบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้บังคับแก่กรณีใด ให้วินิจฉัยกรณีนั้นไปตามประเพณีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหา กษัตริย์ทรงเป็นประมุข……..”

หากสังเกตให้ดีจะพบว่า ในหมวดนี้มีจุดที่ควรปรับปรุงเพื่อให้ประเทศไทยมีความเป็นประชาธิปไตยที่ก้าวหน้ายิ่งขึ้น ดังนี้
1) ควรใช้คำว่า “ประชาธิปไตย” หรือ “ประชาธิปไตยในระบบรัฐสภา” แทนที่คำว่า “ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข” ซึ่งสะท้อนถึงความหวาดกลัวต่อสถาบันพระมหากษัตริย์(หรือ ความหวาดกลัวที่จะถูกกล่าวหาว่า “ไม่จงรักภักดี” – ไม่ว่าจะถูกดำเนินคดีหรือไม่ก็ตาม) ที่ถูกสร้างขึ้นมาในช่วง 6 ตุลาคม 2519 การใช้คำว่า “ประชาธิปไตย” กลางๆ จะน้อมนำให้ประชาชนและสถาบันกษัตริย์ใกล้ชิด และผูกพันกันด้วยความรักมากกว่าความหวาดเกรงอย่างที่ปรากฏอยู่
2) มาตรา 3 อันเกี่ยวกับอำนาจอธิปไตยนั้น ควรแก้ไข เพื่อยืนยันหลักการที่สำคัญที่สุดของระบอบประชาธิปไตย นั่นคือ หลักการ “ประชาชนเป็นผู้ถือครองอำนาจสูงสุด” ( - ไม่ว่าประมุขจะเป็นกษัตริย์หรือประธานาธิบดีก็ต้องยึดถือหลักการนี้เสมอ) ดังนั้นจึงควรเปลี่ยนเป็น “อำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชนไทย พระมหากษัตริย์ทรงใช้อำนาจนั้นตามเจตน์จำนงของประชาชนส่วนใหญ่ ผ่านทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้”
3) มาตรา7 (ซึ่งมักถูกผู้ฝักใฝ่ในระบอบเผด็จการ และผู้ต้องการทำลายสถาบันกษัตริย์ นำมาอ้างโดยมุ่งหวังในการทำลายระบอบประชาธิปไตยเสมอ – ดังที่ปรากฏในตอนต้นปี 2549 จนองค์ประมุขต้องทรงออกมาปฏิเสธ) ควรเปลี่ยนแปลง เพื่อมิให้แอบอ้างเอาธรรมเนียมป่าเถื่อนประเพณีเลวทรามของสังคมการเมืองไทย ในอดีตมาใช้ทำลายระบอบประชาธิปไตย ดังนี้ “เมื่อไม่มีบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้บังคับแก่กรณีใด ให้วินิจฉัยกรณีนั้นไปตามหลักประชาธิปไตยสากล รวมถึงหลักปฎิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนด้วย”
4) รัฐธรรมนูญควรเปิดโอกาสให้ประชาชนมีสิทธิในการเปลี่ยนแปลงรูปแบบรัฐ และระบอบการปกครองได้ โดยกระบวนการที่สันติและภายใต้รัฐธรรมนูญ (โดยไม่ต้องใช้กำลังอาวุธ หรือ เข่นฆ่ากันอย่างในอดีตที่ผ่านมา) จึงควรเพิ่มเข้าไปอีกหนึ่งมาตราในหมวดนี้ ดังนี้ “การเปลี่ยนแปลงรูปแบบรัฐ และระบอบการปกครองตามที่กำหนดในหมวด ๑ แห่งรัฐธรรมนูญนี้ สามารถกระทำได้โดยผ่านกระบวนการทำประชามติ แต่ทั้งนี้จักต้องได้รับคะแนนเห็นชอบสองในสามของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง”

หมวด 2: พระมหากษัตริย์
“…..มาตรา ๘ (ฐานะของพระมหากษัตริย์)
องค์พระมหากษัตริย์ทรงดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้
ผู้ใดจะกล่าวหาหรือฟ้องร้องพระมหากษัตริย์ในทางใด ๆ มิได้

มาตรา ๙ (พระมหากษัตริย์กับศาสนา)
พระมหากษัตริย์ทรงเป็นพุทธมามกะ และทรงเป็นอัครศาสนูปถัมภก
มาตรา ๑๐ (จอมทัพไทย)
พระมหากษัตริย์ทรงดำรงตำแหน่งจอมทัพไทย
มาตรา ๑๑ (พระราชอำนาจที่จะสถาปนาฐานันดรศักดิ์และพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์)
พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจที่จะสถาปนาฐานันดรศักดิ์และพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์
มาตรา ๑๒ (คณะองคมนตรี)
พระมหากษัตริย์ทรงเลือกและทรงแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิเป็นประธานองคมนตรีคนหนึ่งและองคมนตรีอื่นอีกไม่เกินสิบแปดคนประกอบเป็นคณะองคมนตรี
คณะ องคมนตรีมีหน้าที่ถวายความเห็นต่อพระมหากษัตริย์ในพระราชกรณียกิจทั้งปวงที่ พระมหากษัตริย์ทรงปรึกษา และมีหน้าที่อื่นตามที่บัญญัติในรัฐธรรมนูญนี้
มาตรา ๑๓ (การเลือกและแต่งตั้งองคมนตรีหรือการให้องคมนตรีพ้นจากตำแหน่ง)
การเลือกและแต่งตั้งองคมนตรีหรือการให้องคมนตรีพ้นจากตำแหน่งให้เป็นไปตามพระราชอัธยาศัย
ให้ประธานรัฐสภาเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งประธานองคมนตรีหรือให้ประธานองคมนตรีพ้นจากตำแหน่ง
ให้ประธานองคมนตรีเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งองคมนตรีอื่นหรือให้องคมนตรีอื่นพ้นจากตำแหน่ง
มาตรา ๑๔ (ข้อห้ามสำหรับองคมนตรี)
องคมนตรี ต้องไม่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา กรรมการการเลือกตั้ง ผู้ตรวจการแผ่นดิน กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ตุลาการศาลปกครอง กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ กรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำ พนักงานรัฐวิสาหกิจ เจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ หรือสมาชิกหรือเจ้าหน้าที่ของพรรคการเมือง และต้องไม่แสดงการฝักใฝ่ในพรรคการเมืองใด ๆ
มาตรา ๑๕ (สัตย์ปฏิญาณขององคมนตรี)
ก่อนเข้ารับหน้าที่ องคมนตรีต้องถวายสัตย์ปฏิญาณต่อพระมหากษัตริย์ด้วยถ้อยคำ ดังต่อไปนี้
"ข้า พระพุทธเจ้า (ชื่อผู้ปฏิญาณ) ขอถวายสัตย์ปฏิญาณว่า ข้าพระพุทธเจ้าจะจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ และจะปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต เพื่อประโยชน์ของประเทศและประชาชน ทั้งจะรักษาไว้และปฏิบัติตามซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยทุกประการ"
มาตรา ๑๖ (การพ้นจากตำแหน่งองคมนตรี)
องคมนตรีพ้นจากตำแหน่งเมื่อตาย ลาออก หรือมีพระบรมราชโองการให้พ้นจากตำแหน่ง
มาตรา ๑๗ (ข้าราชการในพระองค์และสมุหราชองครักษ์)
การแต่งตั้งและการให้ข้าราชการในพระองค์และสมุหราชองครักษ์พ้นจากตำแหน่ง ให้เป็นไปตามพระราชอัธยาศัย
มาตรา ๑๘ (ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์)
ใน เมื่อพระมหากษัตริย์จะไม่ประทับอยู่ในราชอาณาจักร หรือจะทรงบริหารพระราชภาระไม่ได้ด้วยเหตุใดก็ตาม จะได้ทรงแต่งตั้งผู้ใดผู้หนึ่งเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ และให้ประธานรัฐสภาเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ
มาตรา ๑๙ (ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์)
ใน กรณีที่พระมหากษัตริย์มิได้ทรงแต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ตามมาตรา ๑๘ หรือในกรณีที่พระมหากษัตริย์ไม่สามารถทรงแต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ เพราะยังไม่ทรงบรรลุนิติภาวะหรือเพราะเหตุอื่น ให้คณะองคมนตรีเสนอชื่อผู้ใดผู้หนึ่งซึ่งสมควรดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการ แทนพระองค์ต่อรัฐสภาเพื่อขอความเห็นชอบ เมื่อรัฐสภาให้ความเห็นชอบแล้ว ให้ประธานรัฐสภาประกาศในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์ แต่งตั้งผู้นั้นเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
ในระหว่างที่สภาผู้แทนราษฎรสิ้นอายุหรือสภาผู้แทนราษฎรถูกยุบ ให้วุฒิสภาทำหน้าที่รัฐสภาในการให้ความเห็นชอบตามวรรคหนึ่ง
มาตรา ๒๐ (ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์)
ใน ระหว่างที่ไม่มีผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๑๘ หรือมาตรา ๑๙ ให้ประธานองคมนตรีเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์เป็นการชั่วคราวไปพลางก่อน
ใน กรณีที่ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ซึ่งได้รับการแต่งตั้งตามมาตรา ๑๘ หรือมาตรา ๑๙ ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้ประธานองคมนตรีทำหน้าที่ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์เป็นการชั่วคราวไปพลาง ก่อน
ใน ระหว่างที่ประธานองคมนตรีเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ตามวรรคหนึ่ง หรือในระหว่างที่ประธานองคมนตรีทำหน้าที่ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ตามวรรค สอง ประธานองคมนตรีจะปฏิบัติหน้าที่ในฐานะเป็นประธานองคมนตรีมิได้ ในกรณีเช่นว่านี้ ให้คณะองคมนตรีเลือกองคมนตรีคนหนึ่งขึ้นทำหน้าที่ประธานองคมนตรีเป็นการชั่ว คราวไปพลางก่อน
มาตรา ๒๑ (ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์)
ก่อน เข้ารับหน้าที่ ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ซึ่งได้รับการแต่งตั้งตามมาตรา ๑๘ หรือมาตรา ๑๙ ต้องปฏิญาณตนในที่ประชุมรัฐสภาด้วยถ้อยคำ ดังต่อไปนี้
"ข้าพเจ้า (ชื่อผู้ปฏิญาณ) ขอปฏิญาณว่า ข้าพเจ้าจะจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ (พระปรมาภิไธย) และจะปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต เพื่อประโยชน์ของประเทศและประชาชน ทั้งจะรักษาไว้และปฏิบัติตามซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยทุกประการ"
ในระหว่างที่สภาผู้แทนราษฎรสิ้นอายุหรือสภาผู้แทนราษฎรถูกยุบ ให้วุฒิสภาทำหน้าที่รัฐสภาตามมาตรานี้

มาตรา ๒๒ (การสืบราชสมบัติ)
ภายใต้บังคับมาตรา ๒๓ การสืบราชสมบัติให้เป็นไปโดยนัยแห่งกฎมณเฑียรบาล ว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ พระพุทธศักราช ๒๔๖๗
การ แก้ไขเพิ่มเติมกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ พระพุทธศักราช ๒๔๖๗ เป็นพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์โดยเฉพาะ เมื่อมีพระราชดำริประการใด ให้คณะองคมนตรีจัดทำร่างกฎมณเฑียรบาลแก้ไขเพิ่มเติมกฎมณเฑียรบาลเดิมขึ้นทูล เกล้าทูลกระหม่อมถวายเพื่อมีพระราชวินิจฉัย เมื่อทรงเห็นชอบและทรงลงพระปรมาภิไธยแล้ว ให้ประธานองคมนตรีดำเนินการแจ้งประธานรัฐสภาเพื่อให้ประธานรัฐสภาแจ้งให้ รัฐสภาทราบ และให้ประธานรัฐสภาลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ และเมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้ใช้บังคับเป็นกฎหมายได้
ในระหว่างที่สภาผู้แทนราษฎรสิ้นอายุหรือสภาผู้แทนราษฎรถูกยุบ ให้วุฒิสภาทำหน้าที่รัฐสภาในการรับทราบตามวรรคสอง
มาตรา ๒๓ (การสืบราชสมบัติ)
ใน กรณีที่ราชบัลลังก์หากว่างลงและเป็นกรณีที่พระมหากษัตริย์ได้ทรงแต่งตั้ง พระรัชทายาทไว้ตามกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ พระพุทธศักราช ๒๔๖๗ แล้ว ให้คณะรัฐมนตรีแจ้งให้ประธานรัฐสภาทราบ และให้ประธานรัฐสภาเรียกประชุมรัฐสภาเพื่อรับทราบและให้ประธานรัฐสภาอัญเชิญ องค์พระรัชทายาทขึ้นทรงราชย์เป็นพระมหากษัตริย์สืบไป แล้วให้ประธานรัฐสภาประกาศให้ประชาชนทราบ
ในกรณีที่ราชบัลลังก์หากว่างลง และเป็นกรณีที่พระมหากษัตริย์มิได้ทรงแต่ง ตั้งพระรัชทายาทไว้ตามวรรคหนึ่ง ให้คณะองคมนตรีเสนอพระนามผู้สืบราชสันตติวงศ์ตามมาตรา ๒๒ ต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อเสนอต่อรัฐสภาเพื่อรัฐสภาให้ความเห็นชอบ ในการนี้ จะเสนอพระนามพระราชธิดาก็ได้ เมื่อรัฐสภาให้ความเห็นชอบแล้ว ให้ประธานรัฐสภาอัญเชิญองค์ผู้สืบราชสันตติวงศ์ขึ้นทรงราชย์เป็นพระมหา กษัตริย์สืบไป แล้วให้ประธานรัฐสภาประกาศให้ประชาชนทราบ
ในระหว่างที่สภา ผู้แทนราษฎรสิ้นอายุหรือสภาผู้แทนราษฎรถูกยุบ ให้วุฒิสภาทำหน้าที่รัฐสภาในการรับทราบตามวรรคหนึ่งหรือให้ความเห็นชอบตาม วรรคสอง
มาตรา ๒๔ (การสำเร็จราชการแทนชั่วคราวระหว่างไม่มีผู้สืบราชสมบัติ)
ใน ระหว่างที่ยังไม่มีประกาศอัญเชิญองค์พระรัชทายาทหรือองค์ผู้สืบราชสันตติ วงศ์ขึ้นทรงราชย์เป็นพระมหากษัตริย์ตามมาตรา ๒๓ ให้ประธานองคมนตรีเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์เป็นการชั่วคราวไปพลางก่อน แต่ในกรณีที่ราชบัลลังก์ว่างลงในระหว่างที่ได้แต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทน พระองค์ไว้ตามมาตรา ๑๘ หรือมาตรา ๑๙ หรือระหว่างเวลาที่ประธานองคมนตรีเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ตามมาตรา ๒๐ วรรคหนึ่ง ให้ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์นั้น ๆ แล้วแต่กรณี เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ต่อไป ทั้งนี้ จนกว่าจะได้ประกาศอัญเชิญองค์พระรัชทายาทหรือองค์ผู้สืบราชสันตติวงศ์ขึ้น ทรงราชย์เป็นพระมหากษัตริย์
ในกรณีที่ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ซึ่งได้ รับการแต่งตั้งไว้และเป็นผู้ สำเร็จราชการแทนพระองค์ต่อไปตามวรรคหนึ่งไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้ประธานองคมนตรีทำหน้าที่ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์เป็นการชั่วคราวไปพลาง ก่อน
ใน กรณีที่ประธานองคมนตรีเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ตามวรรคหนึ่งหรือทำ หน้าที่ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์เป็นการชั่วคราวตามวรรคสอง ให้นำบทบัญญัติมาตรา ๒๐ วรรคสาม มาใช้บังคับ
มาตรา ๒๕ (การปฏิบัติหน้าที่ขององคมนตรี)
ใน กรณีที่คณะองคมนตรีจะต้องปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๑๙ หรือมาตรา ๒๓ วรรคสอง หรือประธานองคมนตรีจะต้องปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๒๐ วรรคหนึ่ง หรือวรรคสอง หรือมาตรา ๒๔ วรรคสอง และอยู่ในระหว่างที่ไม่มีประธานองคมนตรีหรือมีแต่ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ ได้ ให้คณะองคมนตรีที่เหลืออยู่เลือกองคมนตรีคนหนึ่งเพื่อทำหน้าที่ประธาน องคมนตรีหรือปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๒๐ วรรคหนึ่งหรือวรรคสอง หรือตามมาตรา ๒๔ วรรคสาม แล้วแต่กรณี….”

ปัญหาในหมวด 2 มีมากมาย ทั้งในแง่ของการตีความ และ โดยเนื้อหา ซึ่งควรได้รับการร่างใหม่ทั้งหมด ทั้งนี้เพื่อความสอดคล้องต้องกันระหว่างหลักการประชาธปไตย กับสถานะของพระมหากษัตริย์ภายในระบอบนี้
1) ข้อความที่ว่า “….เป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้….” มีความหมายกว้างขวางเพียงใด ควรได้รับการวิเคราะห์ ทั้งในเชิงกฎหมายและสังคมวัฒนธรรม ในความเห็นของผู้เขียน วลีนี้ ไม่รวมถึง การวิพากษ์วิจารณ์การปฏิบัติหน้าที่ในฐานะของพระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นการแสดงความเห็นโดยสุจริต และเป็นสิทธิที่ประชาชนนั้นมีมาแต่สมัยสมบูรณญาสิทธิราชย์แล้ว อีกทั้งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระองค์ปัจจุบันก็เคยทรงตรัสรับรองไว้ (แน่นอนว่าย่อมไม่รวมการวิจารณ์เรื่องส่วนพระองค์ หรือการซุบซิบนินทาที่ชนชั้นกลางนิยมทำกัน)
2) “….ผู้ใดจะกล่าวหาหรือฟ้องร้องพระมหากษัตริย์ในทางใดๆ มิได้…” ข้อความนี้ตีความได้ 2 ประการ คือ
ก) กล่าวหาหรือฟ้องร้องไม่ได้เลยโดยสมบูรณ์ หรือ
ข) กล่าวหาหรือฟ้องร้องได้เมื่อทรงพ้นจากการครองราชย์สมบัติแล้ว ดังปรากฏในบางสังคม ถ้าประมุขของชาติกระทำความผิดร้ายแรง เช่น ทรยศต่อชาติ ฯลฯ ประมุขนั้นจะต้องถูกถอดออกจากตำแหน่งก่อน จึงจะพิจารณาโทษได้ (ไทยในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ก็เป็นเช่นนี้
สำหรับผู้เขียนเองตีความตามข้อ ข) แต่ก็ยังไม่มั่นใจนัก คงยกให้อาจารย์ทางนิติศาสตร์ได้พิจารณา
3) การขึ้นครองราชย์ของพระมหากษัตริย์ ต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา (แม้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระองค์ปัจจุบัน เมื่อแรกทรงขึ้นครองราชย์ ก็ทรงได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาเช่นกัน) และควรจัดให้ทรงปฏิญาณตนต่อรัฐสภาก่อนขึ้นครองราชย์ด้วย
4) การแก้ไขเพิ่มเติมกฎมณเฑียรบาล ว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ พระพุทธศักราช ๒๔๖๗ ควรเป็นอำนาจของรัฐสภา เพื่อป้องกันความสับสนและป้องกันการแอบอ้างแต่งตั้ง
5) ควรกำหนดการพ้นจากราชสมบัติในรัฐธรรมนูญด้วย ดังอาจวางเกณฑ์ไว้ดังนี้
ก) สวรรคต
ข) ทรงสละราชสมบัติ(ต้องทรงได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาก่อน)
ค) ทรงสละการเป็นพุทธมามกะ และ/หรือ ไม่อาจทรงเป็นอัครศาสนูปถัมภก
ง) ทรงมีสภาพเป็นคนไร้ความสามารถโดยเหตุวิกลจริต ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา๒๘
จ) ทรงมีสภาพเป็นคนเสมือนไร้ความสามารถ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๓๒
ฉ) ทรงหายสาบสูญ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๖๑
ช) ทรงกระทำผิด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๑๓ – ๑๑๗ และ มาตรา ๑๑๙ – ๑๒๒ และ มาตรา ๑๒๗ – ๑๒๙
(จากข้อ ง) ถึง ข้อ ฉ) ให้รัฐสภา เป็นผู้ดำเนินการจนสิ้นกระบวนการ)
ซ) เมื่อรัฐธรรมนูญสิ้นผลบังคับใช้ ไม่ว่าจะด้วยกรณีใดๆ ก็ตาม (ด้วยเหตุที่พระมหากษัตริย์เป็นส่วนหนึ่งของรัฐธรรมนูญ ดังนั้น เมื่อใดก็ตามที่มีการรัฐประหารฉีกรัฐธรรมนูญ จึงเท่ากับทำให้ “สถาบันกษัตริย์”สิ้นสุดลงด้วยทุกครั้ง หากจะให้พระมหากษัตริย์ขึ้นครองราชย์ต่อ ก็จะต้องเริ่มกระบวนการใหม่จึงจะถูกต้อง - ว่าที่จริงข้อนี้ ไม่จำเป็นต้องบัญญัติในรัฐธรรมนูญก็ได้ เพราะเป็นไปตามสามัญสำนึกอยู่แล้ว - แต่บัญญัติไว้ก็ดี เพราะผู้ทำรัฐประหารล้วนเป็นผู้ที่ปราศจากสามัญสำนึกทั้งสิ้น !!!)
6) ยกเลิกบทบัญญัติเกี่ยวกับองคมนตรีในรัฐธรรมนูญให้หมดสิ้น ต้องขอเรียนว่า ผู้เขียนมิได้มุ่งหมายให้ยกเลิกองคมนตรี แต่เนื่องจากผู้เขียนเห็นว่า การแต่งตั้งองคมนตรี (หรือที่ปรึกษาของพระมหากษัตริย์) เป็นพระราชอำนาจโดยบริบูรณ์ขององค์พระมหากษัตริย์อยู่แล้ว จึงไม่ควรถูกจำกัดโดยรัฐธรรมนูญ
ทั้งนี้ อำนาจที่นอกเหนือจากการเป็นที่ปรึกษาของพระมหากษัตริย์ ต้องตกเป็นของรัฐสภาทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นอำนาจในการเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์, การเสนอชื่อผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ และ การเสนอพระนามผู้สืบราชสันตติวงศ์
หากยังคงกำหนดองคมนตรีไว้ในรัฐ ธรรมนูญ ก็ควรจำกัดอำนาจขององคมนตรีไว้เพียงการเป็นที่ปรึกษาของพระมหากษัตริย์เท่า นั้น และควรกำหนดสัดส่วนให้สอดคล้องกับภาพรวมของสังคมไทย เช่น ต้องมีผู้หญิง, ต้องมีวิชาชีพต่างๆ และสถานะทางสังคมที่หลากหลาย มิใช่มีแต่ผู้ชาย ชนชั้นสูง และอดีตข้าราชการระดับสูงเท่านั้น

อัน ที่จริง กลุ่มปีกซ้ายพฤษภาฯ ยังมีข้อเสนอในการแก้ไขปรับปรุงรัฐธรรมนูญ ในหมวด ๓ “สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย” หมวด ๔ “หน้าที่ของชนชาวไทย” และ หมวด ๕ “แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ” แต่ขอยกไปในโอกาสหน้าครับ






     อ่านแล้วคิดเห็นกันยังไง เห็นด้วยหรือไม่ คอมเม้นแนะนำกันบ้างนะครับ

ถุงกระดาษ (เคลือบพลาสติก) ???

'สุขุมพันธ์'โวยรัฐ'วางยา' ให้'ถุงกระดาษห่อทราย' โดนปภ.โต้กลับชี้ของดี! โว'ใช้งานได้ดีกว่าปกติ'


[สุขุมพันธ์]


สุขุมพันธ์
"สุขุมพันธ์" อึ้งไม่อยากคิดรัฐวางยา หลังได้รับมอบถุงกระดาษ 8 แสนใบบรรจุทราย "มาร์ค"บี้รบ.ออกมาตรการเยียวยาเอกชนให้ชัดถ้าจะไม่ใช่กม.พิเศษ ปัดกทม.ทำงานไม่มีการเมือง ปภ.โต้กลับกทม. แจงกระสอบทรายแข็งแรง ใช้งานได้ดี


วันที่ 18 ต.ค.2554 ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าฯกทม. เปิดเผยว่ารัฐบาลได้จัดถุงใส่ทรายมาให้ 8 แสนใบ แต่อาจเกิดความเข้าใจผิด เพราะส่งมาเป็นถุงกระดาษไม่สามารถบรรจุทรายกั้นน้ำได้ แต่ไม่อยากคิดว่ารัฐบาลตั้งใจวางยา ส่วนการบรรจุทรายได้รับความร่วมมือจากประชาชนและใช้ถุงของกทม.


"ยืนยันมาตลอดว่าพร้อมที่จะช่วยตัวเองหากไม่มีใครช่วย ซึ่งทางกองทัพอากาศได้ส่งกำลังมาช่วยสร้างคันกั้นน้ำ ยังเชื่อมั่นในคำสัญญาของรัฐบาลว่า หากมีการระบายน้ำในส่วนรอยต่อที่มีผลกระทบต่อเมืองหลวง จะประสานงานมายังกทม.เช่น กรณีที่จะเปิดประตูน้ำ5บาน เพื่อระบายน้ำจากนวนคร รัฐบาลก็แจ้งมาว่าจะไม่เปิดพร้อมกัน จะทยอยระบายรอให้กทม.สร้างพนังกั้นน้ำให้เสร็จก่อน"ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ กล่าว


“มาร์ค” ปัดกทม.ทำงานไม่มีการเมือง ไม่อยากซ้ำเติมรบ.ผิดพลาด


นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ พร้อมคณะ ประกอบด้วย นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน นายกรณ์ จาติกวณิช รองหัวหน้าพรรค ลงพื้นที่โรงเรียนฤทธิยะวรรณลัย 2 เขตสายไหม กทม. ซึ่งเป็นสถานที่บรรจุถุงทรายและพนังกั้นน้ำคลองหกวา ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์สำคัญกั้นน้ำไหลเข้าดอนเมือง


โดยนายอภิสิทธิ์ได้เดินตรวจคันกั้นน้ำโดยรอบก่อนกล่าวว่า มีความมั่นใจว่ากทม.เตรียมการรับมือเต็มที่ แต่การบริหารจัดการน้ำในส่วนรอยต่อพื้นที่กทม.กับจังหวัดอื่น ไม่อยู่ในอำนาจของกทม. ดังนั้นต้องกทม.ประสานงานกับรัฐบาลอย่างใกล้ชิด เช่น กรณีที่จะมีการเปิดประตูน้ำ 5 บานเพื่อระบายน้ำออกจากพื้นที่นวนคร ก็ต้องประสานให้กทม.รับทราบ เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อกทม.


นายอภิสิทธิ์ กล่าวถึงกรณีผู้บริหารนิคมอุตสาหกรรมนวนครที่ประกาศว่าจะไม่ฟังรัฐบาลต่อไป ว่า สถานการณ์เช่นนี้แต่ละฝ่ายจะคิดถึงการลดความเสียหายเฉพาะส่วนของตนเองไม่ได้ ต้องคำนึงส่วนร่วมด้วย ความเสียหายด้านเศรษฐกิจรัฐบาลต้องเยียวยาและกำหนดมาตรการให้ชัดเจน ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่ายในการเจรจาทำความเข้าใจ แต่เมื่อรัฐบาลจะใช้วิธีนี้แทนกฏหมายพิเศษ ก็ต้องทำให้ได้ผลอย่างมีประสิทธิภาพด้วย อย่างไรก็ตาม กังวลว่ายังมีน้ำฝนที่สะสมอยู่ตอนเหนืออาจไหลลงมาซ้ำเติมจึง ฝากผู้ว่าฯกทม.ติดตามสถานการณ์น้ำจากการวัดระดับน้ำของกรมชลประทาน เพราะเส้นทางน้ำแตกแขนงออกไปหลายสายมากกว่ามาตรวัดน้ำที่กรมชลประทานมีอยู่ จึงทำให้หลงผิดว่ามวลน้ำขนาดใหญ่ไหลเลยกทม.แล้ว โดยในการประชุมครม.เงา พรรคประชาธิปัตย์ วันที่ 19 ต.ค.นี้ จะพิจารณามาตรการรองรับผู้ที่จะได้รับผลกระทบจากภาคอุตสาหกรรมที่ประมาณการว่าทั้งผู้ใช้แรงงานและครอบครัวน่าจะทะลุหลักล้านคน


นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ขณะเดียวกันอยากให้ทบทวนนโยบายประชานิยมก่อนกำหนดวงเงินกู้ เช่น ยกเลิกการให้สิทธิด้านคืนภาษีรถยนต์คันแรก และบ้านหลังแรกในวงเงินที่สูง รวมถึงการลดอัตราภาษีนิติบุคคลที่จะเริ่มในปี 2555 เพราะไม่สอดคล้องกับสถานการณ์เนื่องจากผู้ประกอบการไม่ได้ผลกระทบทุกราย จำเป็นที่รัฐบาลต้องเก็บรายได้ส่วนนี้มาดูแลผู้ได้รับรายผลกระทบแทนที่จะกู้เงินมหาศาลที่จะเป็นภาระหนี้ที่ไม่เป็นธรรมกับประชาชนและจะกระทบต่อเศรษฐกิจระยะยาว เช่นเดียวกับที่มีข่าวว่ารัฐบาลอาจจะกู้เงิน 5 แสนล้านบาท เพื่อจัดการน้ำทั้งระบบ หากจะกู้เงินจริงต้องชัดเจนแต่ละโครงการว่าดำเนินการอย่างไร มีประสิทธิภาพมากน้อยแค่ไหน โดยพรรคจะตรวจสอบเรื่องนี้


“ผมไม่อยากจะวิจารณ์ซ้ำเติมในความผิดพลาดที่เกิดขึ้นของรัฐบาล แต่ยืนยันว่าการทำงานของกทม. แม้จะอยู่ภายใต้การบริหารของพรรคปชป. แต่ก็ไม่เคยคิดถึงเรื่องการเมืองเพราะทุกภาคส่วนต้องร่วมกันทำเพื่อประชาชน”นายอภิสิทธิ์ กล่าว


ปภ.โต้กทม. แจงกระสอบทรายแข็งแรง


นายวิบูลย์ สงวนพงศ์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย แถลงตอบโต้กทม. ที่ระบุว่าศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (ศปภ.) นำถุงบรรจุทรายที่เป็นกระดาษมาใช้ซึ่งไม่สามารถป้องกันน้ำได้ว่า ขณะนี้มีทั้งภาคเอกชนและราชการบริจาคกระสอบทรายมายังศปภ. ส่วนถุงบรรจุทรายที่ได้รับมอบจากเอกชน จำนวน 5 แสนใบ เป็นกระดาษอยู่ด้านนอกจริง แต่ภายในเป็นวัสดุโพลีเอสเตอร์ ซึ่งเหมือนถุงกระสอบทรายทั่วไป และได้มีการทดสอบโดยใช้แรงผู้ชาย 2 คนดึง ก็ยังไม่ฉีกขาด จึงมั่นใจว่ามีความคงทนเท่าเทียมกับกระสอบทรายปกติหรือมากกว่า จึงขอให้ทาง กทม.มั่นใจว่ากระสอบทรายดังกล่าวสามารถนำไปใช้งานได้ โดยศูนย์จะจัดส่งไปให้ตามความต้องการและเร็วที่สุด พร้อมจะส่งกระสอบทรายไปไว้ที่ศูนย์กลางเพื่อสะดวกในการจัดส่งในแต่ละพื้นที่






แหล่งข่าวจากกรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผยว่า ได้สอบถามพนักงานขับรถที่นำถุงกระสอบทรายมาส่งให้ กทม.ที่บริเวณโรงเรียนฤทธิยะวรรณาลัย 2 เขตสายไหม ทราบว่าเป็นถุงที่ได้มาจาก ศปภ. ดอนเมือง เมื่อตรวจสอบวัสดุแล้วพบว่า ด้านนอกเป็นถุงกระดาษ ส่วนด้านในเคลือบด้วยฟิล์มพลาสติก ซึ่งไม่สามารถนำมาใช้งานได้ นอกจากนี้ ยังพบว่ามีถุงกระสอบขนาดเล็ก และเคลือบสารบนพื้นผิวกระสอบ ทำให้ลื่นและไม่เหมาะสำหรับการใช้งาน เพราะอาจทำให้เกิดรูรั่ว จึงไม่สามารถกั้นน้ำได้ อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่ได้นำถุงกระดาษไปกองรวมไว้กับถุงกระสอบที่รับบริจาคมาจากประชาชน คาดว่ามีจำนวนนับหมื่นใบ






ศปภ.แข็งแรงทนทานใช้บรรจุทรายได้




ทั้งนี้นายวิบูลย์ สงวนพงษ์ อธิบดีกรมบรรเทาและป้องกันสาธารณภัย แถลงข่าวชี้แจงว่า ศปภ.ได้เตรียมกระสอบทรายและหินคลุกไว้ที่ วิทยาลัยการปกครอง และ ศปภ.ดอนเมืองเพื่อพร้อมจัดส่งตามกทม.ร้องขอ ล่าสุดได้มีการส่งกระสอบทราย ไปที่ ซอยนวมินทร์ และร.ร.ฤทธิ์ยะวรรณลัย 2 เขตสายไหม ส่วนกระสอบกทม. ขอรับการสนับสนุน 5 แสนใบ เบิกไปแล้ว 2.5 แสนใบ


ส่วนของกระสอบกระดาษ ที่ด้านในเป็นพลาสติก โพลิเอสเตอร์ ศปภ. ยังไม่จัดส่งไปให้ กทม. และขอยืนยันว่ากระสอบใยโพลิเอสเตอร์มีความเหนียวและ แข็งแรงสามารถใช้บรรจุทรายได้ ไม่ต่างจากกระสอบพาสติกในรูปลักษณ์เดิม








จากกรณีที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้พูดตามสื่อฯ ในทำนองว่า ถุงกระสอบทรายที่รัฐบาลจัดหามาให้นั้นเป็นถุงกระดาษ ซึ่งรัฐบาลได้ตอบปฏิเสธไปแล้ว


ล่าสุด ผู้บริจาคถุงกระดาษดังกล่าวได้แจ้งจดหมายอย่างเป็นทางการถึง ศปภ. ว่าถุงกระดาษดังกล่าวนั้น เป็นถุงพลาสติคเคลือบกระดาษซึ่งมีความทนทนแข็งแรงเหมือนถุงพลาสติคทุกประการ





ดาตอร์ปิโดน้ำท่วมปากศาลตัดสินคดีหมิ่น15ธันวา เท่ากับปิดช่องขอพระราชทานอภัยโทษ84พรรษา


ดารณี ชาญเชิงศิลปกุล จำเลยในคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ(ภาพโดย:สุรพล พรหมสาขา ณ สกลนคร บางกอกโพสต์ )

15 ธ.ค.พิพากษาคดี ‘ดา ตอร์ปิโด’ หลังศาล รธน.ฟันธงพิจารณาลับไม่ขัดรธน.

เว็บไซต์ประชาไท รายงาน ว่า เมื่อ 17 ต.ค.54 ที่ศาลอาญา ห้องพิจารณาคดี 801 ผู้พิพากษาขึ้นบัลลังก์อ่านคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ กรณีที่ น.ส.ดารณี ชาญเชิงศิลปกุล จำเลยในคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพได้ทำคำโต้แย้งว่า คำสั่งของศาลชั้นต้นให้พิจารณาคดีลับอาจเป็นการขัดรัฐธรรมนูญ ศาลรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัย (คำวินิจฉัยที่ 30/2554) เป็นที่เรียบร้อยแล้วว่า คำสั่งดังกล่าวไม่ขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญ จึงให้นัดฟังคำพิพากษาในวันที่ 15 ธ.ค.54 เวลา 9.00 น. ที่ศาลอาญา

โดยทนายจำเลยระบุว่า จำเลยเตรียมจะทำการขออภัยโทษต่อไป ซึ่งหากศาลนัดพิพากษากลางเดือนธันวาคม ก็จะไม่ทันวาระเฉลิมพระชนมพรรษา 5 ธ.ค.ปีนี้ตามที่จำเลยคาดหวัง

ทั้งนี้ ก่อนหน้านี้ศาลชั้นต้นได้พิจารณาคดีนี้เป็นการลับ และพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลย 18 ปีในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ต่อมาจำเลยอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ได้ยกคำพิพากษาของศาลชั้นต้น พร้อมทั้งมีคำสั่งให้ศาลชั้นต้นส่งคำโต้แย้งของจำเลยไปให้ศาลรัฐธรรมนูญเป็น ผู้วินิจฉัยว่า คำสั่งให้พิจารณาคดีเป็นการลับตามมาตรา 177 ของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญ มาตรา 29 และ 40 (2) หรือไม่

อย่างไรก็ตาม แม้ศาลอาญาจะนัดฟังคำวินิจฉัยในวานนี้ (17 ต.ค.) แต่เว็บไซต์ศาลรัฐธรรมนูญได้เผยแพร่คำวินิจฉัยดังกล่าวล่วงหน้าเป็นเวลาหลาย เดือนแล้ว

โดยคำวินิจฉัยที่ 30/2554 นี้ลงวันที่ 11 พ.ค.54 ระบุเหตุผลตอนหนึ่งว่า การพิจารณาคดีลับ มิได้หมายความว่าคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะไมได้รับความเป็นธรรมในกระบวนการ ยุติธรรม และมิได้จำกัดสิทธิของจำเลยในคดีอาญาแต่อย่างใด เพราะเมื่อมีการพิจารณาเป็นการลับ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 178 กำหนดให้มีบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการพิจารณามีสิทธิอยู่ในห้องพิจารณาได้ อาทิเช่น โจทก์และทนายความโจทก์ จำเลยและทนายความของจำเลย ผู้ควบคุมตัวจำเลย พยานผู้เชี่ยวชาญ และล่าม เป็นต้น

จึงเห็นได้ว่าประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 177 เป็นบทบัญญัติที่อูยู่ในขอบเขตแห่งการให้สิทธิพื้นฐานในกระบวนพิจารณาแก่ บุคคลตามที่รัฐธรรมนูญรับรองไว้ ถึงแม้จะมีผลเป็นการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอยู่บ้าง แต่ก็เป็นการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลเพียงเท่าที่จำเป็น มิได้กระทบเทือนสาระสำคัญแห่งสิทธิและเสรีภาพ อีกทั้งเป็นบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ใช้บังคับเป็นการทั่วไป มิได้มุ่งหมายให้ใช้บังคับแก่กรณีใดกรณีหนึ่งหรือแก่บุคคลใดบุคคลหนึ่งเป็น การเจาะจง จึงไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 29 และมาตรา 40 (2)

ขณะที่หนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์รายงาน การสัมภาษณ์ดารณี ว่า เธอได้แต่หวังว่าศาลจะเมตตาร่นเวลาพิจารณาตัดสินคดีเสียใหม่มาเป็นภายในสิ้น เดือนพฤศจิกายน เพื่อที่จะให้โอกาสเธอได้ยื่่นขอพระราชทานอภัยโทษเนื่องในวันเฉลิมพระ ชนมพรรษา 5 ธันวาคมนี้ เพราะการที่ศาลแจ้งว่าจะตัดสินคดีของเธอในวันที่ 15 ธันวาคมนั้น เป็นกา่รไม่ยุติธรรมและตัดโอกาสของเธอในการขอพระราชทานอภัยโทษ

Daranee hoping verdict will be rescheduled

A woman sentenced to 18 years in jail for lese majeste, Daranee Charncherngsilapakul, feels the Criminal Court is unfairly denying her the chance of a royal pardon by delaying its final verdict until Dec 15, after His Majesty the King's birthday.

His Majesty the King traditionally approves on Dec 5 a list of people serving prison sentences who have appealed for royal amenesty and been granted the boon as part of the royal birthday celebrations.

His Majesty turns 84 on Dec 5 this year.

Ms Daranee, 49, told the Bangkok Post on Monday that she hoped the court would reschedule the delivery of its final verdict to before the end of November. Then she would at least become eligible for consideration for a royal pardon under the usual conditions.

Speaking from a temporary cell under the Ratchada Criminal Court, she said this year's executive decree announcing royal pardons celebrating His Majesty's birthday on Dec 5 has not yet been finalised.

So she could still live inhope that the court would show mercy and reschedule the reading of her verdict so she could at least be entitled to apply for a pardon.

Ms Daranee, aka Da Torpedo, was convicted and sentenced to 18-year imprisonment for defaming the monarchy in public remarks made Sanam Luang on Jan 18, June 7 and June 13 in 2008. Her trial was closed to the public and the press.

She appealed against the verdict and also challenged the constutionality of secret trials.

The Criminal Court read out the Constitution Court's verdict this morning, that the closed trial of Daranee's case was not unconstitutional.

She said it was yet known whether what the criteria were this year for a special royal pardon but she heard that the red-shirt core leaders were pleading for those detained behind bars.

"It's time to measure the heart of the government, which was elected by the power of the red-shirt members. There are also other people such as Surachai and Somyot who should be also included in the list,” said Ms Daranee.

Currently, there are 11 other lese majeste prisoners in Bangkok Remand Prison. Three of their court cases have already reached the final verdict. But Surachai Danwattanusorn and Somyot Prueksakasemsuk are still waiting a final verdict. Ms Daranee has been the only lese majeste prisoner detained at the Central Women's Correctional Institution.

Ms Daranee said she would certainly be discouraged if the Yingluck Shinawatra government did not care to help her and other fighting for democracy.

"After all, I was put into the prison on July 22, 2008 during the Samak Sundaravej administration. The current government might forget that they are here now due to the sacrifice of many others. But whatever will be, will be. They did not ask me to speak on stage, I just did it myself," she said.

Ms Daranee said she remained thankful to Bhumjaithai Party de facto leader Newin Chidchob who had provided monthly financial support during the first 14 months, but after his party joined the Democrat-led administration, he stopped sending the money.

"No politicians have ever visited me, neither the core leaders of the red-shirt United Front for Democracy Against Dictatorship. My spirit remains intact only because of my own brother’s weekly visit and some individual red-shirt members who still care for me," said Ms Daranee, who defended that she did not like the fugitive former prime minister Thaksin Shinawatra more than any others.

She said her remarks did not indicate any wish to overthrow the monarchy and she is not a communist.

"I'm a Buddhist and I do meditation in prison. I used to work with the now-defunct Seu Turakit (Business Media) which was jointly owned by the Crown Property Bureau for three years. I'm also thankful to Princess Bajrakitiyabha's medical support for female inmates, which helped the scan of my skull," said Ms Daranee.

A native of Phuket, she suffered a rare case of locked jaw due to a virus-caused fibrosis in her mouth and temporal bones that caused her much pain. She was temporarily bailed for medical treatment twice at Police Hospital for 11 days and haS been treated at the Prison General Hospital five times.

Ms Daranee said she haD lost weight, from 65 to 50 kilogrammes, in the first few months of imprisonment. Now she has gaining four more kilogrammes.

However, she has become worried now because her 57-year-old brother Kittichai Charncherngsilapakul had been abruptly put in jail for a month on Aug 27 as a suspct in a case that went back to 1999. The two just met this morning in the court room.


The Appeal Courts called decided in February that the procedure taken by the Criminal Court was not right, and it shoud restart from the beginning by sending her appeal to the Constitution Court first.

After receiving the Constitutional Court verdict, the Criminal Court process could proceed.

The Constitution Court issued its ruling on its website in late July, and it was read out today. The defence had hoped that the Criminal Court would then proceed with the reading of its final verdict today. It did not do so,

The Criminal Court said that this month was a period of reshuffle and new judges could be involved in the verdict, so Dec 15 was more suitable.

สื่อนอกเผยภาพ อยุธยาจมบาดาลอีก


สำนักข่าวเอพี ได้เผยภาพสุดสวยภายใต้ความโศกเศร้าและทุกข์หนักของประชาชนชาวอยุธยา จากสถานการณ์น้ำท่วมที่เกิดขึ้นอยู่ในขณะนี้
โดย รายงานข่าวได้ระบุว่า เหตุการณ์ดังกล่าวเป็นเหตุการณ์น้ำท่วมที่ร้ายแรงที่สุดของประเทศ ซึ่งได้ทำลายพืชผลทางการเกษตร และโรงงานอุตสาหกรรมหลายแห่ง อีกทั้งทำประชาชนกว่า 8.2ล้านคนเดือดร้อนหนัก

Mthai News

เกาะติดทุกข่าวเด่น ประเด็นร้อน ในรอบวันกับ Mthainews บน facebook คลิ๊กเลย

ติดต่อทีมข่าว MThai News : news@mthai.com















































Photo/AP
รีโมท ซื้อ รีโมท จากผู้ค้าส่งโดยตรง ที่มีหน้าร้านจริง ที่ บ้านหม้อ และ คลองถม ราคาถูกกว่าใคร ปลอดภัย มีรับประกัน

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

บทความย้อนหลัง