บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันพุธที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

.... เปิดหลักฐานโต้งๆ!!! แฉนพเหล่โกหกคำโต ขว้างงู ไม่พ้นคอนายใหญ่แม้วว ....

 by ประยูร ,

(ขอบคุณภาพจากอินเตอร์เนต)

.... เปิดหลักฐานโต้งๆ!!! แฉนพเหล่โกหกคำโต ขว้างงู ไม่พ้นคอนายใหญ่แม้วว ....

ฮิตเลอร์จอมเผด็จการระดับโลก เคยเขียนไว้ เกี่ยวกับการโฆษณาชวนเชื่อว่า
“If you tell a big enough lie and tell it frequently enough, it will be believed. ”หากถอดความเป็นภาษาไทย ก็น่าจะเป็น 
“หากโกหกเรื่องใหญ่มากพอ โกหกบ่อยครั้งพอ คนก็จะเชื่อ”

วันนี้ อ่านข่าวจากมติชน  ที่พาดหัวเอาไว้ว่า

"นพดล"ปัด"โรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม"ไม่ได้เป็นทนายทักษิณ ยอมรับเข้าพบ"ผู้นำเลบานอน"จริง
โดยมีเนื้อหาตอนหนึ่งว่า  “... นายโรเบิร์ตไม่ได้เป็นทนายความของ พ.ต.ท.ทักษิณ แต่เป็นที่ปรึกษาทางกฎหมายของกลุ่ม นปช.ในคดีฟ้องศาลอาชญากรรมระหว่างประเทศเท่านั้น..”
โดยมีสาระสำคัญ เพื่อจะแก้ต่างให้นายใหญ่ว่า ไม่เกี่ยวข้องกับความพยายามเคลื่อนไหว ให้มีการแก้ไขกฎหมายอาญา ม. 112

อ่านดูก็ออกจะแปลกใจ ว่าเป็นไปได้ยังไง ?
เพราะทนายผีโม่แป้งคนนี้ไม่ใช่หรือ ที่ทำทุกอย่าง เพื่อที่จะแก้ต่างให้นช.แม้ววในเวทีต่างประเทศ
และประเด็นที่แปลกหนักเข้าไปอีก ก็คือ กลุ่มนปช.มีปัญหาไปหาเงินที่ไหน มาว่าจ้างทนายคนนี้
เลยเข้าไปสืบค้นหาดูในอินเตอร์เนต ก็พบข่าวชิ้นนี้เข้า (เมื่อ 3 พ.ค. 2010) 

Former Prime Minister of Thailand Thaksin Shinawatra Hires International Law Firm Amsterdam & Peroff
http://www.prnewswire.com/news-releases/former-prime-minister-of-thailand-thaksin-shinawatra-hires-international-law-firm-amsterdam--peroff-92662189.html
เป็นรายงานข่าว ซึ่งอ้างแหล่งข่าวจากสำนักทนาย Amsterdam & Peroff  ที่ระบุตอนหนึ่งว่า 
“...Today Amsterdam & Peroff announce that they have been appointed counsel to the former Prime Minister of Thailand Thaksin Shinawatra,..”
ซึ่งบอกไว้ชัดเจน ว่า ทักษิณ เป็นผู้ว่าจ้างสำนักทนายแห่งนี้ให้เป็นทนายของตน
นพเหล่ .. จะอธิบายความอย่างไรดี ?
โกหก จนลิ้นพันกันแล้วกระมัง ?


ร่างรัฐธรรมนูญฉบับพรรคเพื่อไทย


★ ร่างรัฐธรรมนูญฉบับพรรคเพื่อไทย
JJ_Sathon


หมายเหตุ - เนื้อหาของร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่..) พ.ศ..... ที่คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎร (วิปรัฐบาล) จากพรรคเพื่อไทย (พท.) เป็นผู้ยกร่าง และเตรียมเสนอประธานรัฐสภาวันที่ 9 กุมภาพันธ์ โดยมีสาระสำคัญอยู่เพียง 5 มาตรา เพื่อแก้ไขมาตรา 291 ของรัฐธรรมนูญปี 2550 เพื่อเปิดทางให้มีการตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) 3 ขึ้นมายกร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ

ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่..) พ.ศ.....

โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

มาตรา 1 รัฐธรรมนูญนี้เรียกว่า รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่..) พุทธศักราช...

มาตรา 2 รัฐธรรมนูญนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

มาตรา 3 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (17) ของมาตรา 136 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 "(17) การให้ความเห็นชอบสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญตามมาตรา 291/1 (2)"

มาตรา 4 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นหมวด 16 การจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่มาตรา 291/1 ถึงมาตรา 291/16 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550

หมวด 16 การจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่

มาตรา 291/1 ให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูญ ทำหน้าที่จัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ตามหมวดนี้ ประกอบด้วยสมาชิก ดังต่อไปนี้

(1) สมาชิก ซึ่งมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน จังหวัดละ 1 คน

(2) สมาชิก ซึ่งมาจากการคัดเลือกโดยที่ประชุมของรัฐสภา จำนวน 22 คน ดังต่อไปนี้

(ก) ผู้เชี่ยวชาญสาขากฎหมายมหาชน จำนวน 7 คน

(ข) ผู้เชี่ยวชาญสาขารัฐศาสตร์ หรือรัฐประศาสนศาสตร์ จำนวน 7 คน

(ค) ผู้มีประสบการณ์ด้านการเมือง การบริหารราชการแผ่นดิน หรือการร่างรัฐธรรมนูญ ตามหลักเกณฑ์ที่ประธานรัฐสภาประกาศกำหนด จำนวน 8 คนคน

มาตรา 291/2 บุคคลผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญตามมาตรา 291/1 (1) ต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้

(1) มีสัญชาติไทยโดยการเกิด

(2) มีอายุไม่ต่ำกว่า 35 ปีบริบูรณ์ในวันเลือกตั้ง

(3) สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี หรือเทียบเท่า

(4) มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในจังหวัดที่สมัครรับเลือกตั้งมาแล้ว เป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 5 ปี นับถึงวันสมัครรับเลือกตั้ง หรือเป็นบุคคลซึ่งเกิดในจังหวัดที่สมัครรับเลือกตั้ง หรือเคยศึกษาในสถานศึกษาที่ตั้งอยู่ในจังหวัดที่สมัครรับเลือกตั้ง เป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 5 ปี การศึกษา หรือเคยรับราชการ หรือเคยมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในจังหวัดที่สมัครรับเลือกตั้ง เป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 5 ปี

มาตรา 291/3 บุคคลผู้มีลักษณะดังต่อไปนี้ เป็นบุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ

(1) เป็นบุคคลซึ่งมีลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้ แทนราษฎรตามมาตรา 102 (1) (2) (3) (4) (6) (7) (9) (11) (12) (13) หรือ (14)

(2) เป็นข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำ

(3) เป็นข้าราชการการเมือง

มาตรา 291/4 สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญตามมาตรา 291/1 (2) ต้องมีคุณสมบัติตามมาตรา 291/2 (1) (2) และ (3) และไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา

มาตรา 291/5 ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งจัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญตาม มาตรา 291/1 (1) และให้รัฐสภาดำเนินการคัดเลือกสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญตามมาตรา 291/1 (2) ให้แล้วเสร็จภายใน 90 วัน นับแต่วันที่รัฐธรรมนูญนี้มีผลบังคับใช้

การกำหนดวันเลือกตั้งตามวรรคหนึ่ง ให้กระทำโดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกาซึ่งต้องกำหนดเป็นวันเดียวกันทั่วราชอาณาจักร

หลัก เกณฑ์และวิธีการในการเลือกตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญให้เป็นไปตามระเบียบ ที่คณะกรรมการการเลือกตั้งกำหนด โดยอาจนำหลักเกณฑ์ และวิธีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งมาใช้บังคับ โดยอนุโลม

เมื่อได้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญเสร็จแล้ว ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศรับรองผลการเลือกตั้งให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน นับแต่วันเลือกตั้ง โดยให้ผู้สมัครที่ได้รับคะแนนสูงสุดในการเลือกตั้งแต่ละจังหวัดเป็นผู้ได้ รับเลือกเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญของจังหวัดนั้น

มาตรา 291/6 ให้สภาของสถาบันอุดมศึกษาแต่ละแห่ง คัดเลือกบุคคลซึ่งมีคุณสมบัติที่จะเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญตามมาตรา 291/1 (2) ในประเภทต่างๆ ตามมาตรา 291/1 (2) (ก) (ข) และ (ค) ประเภทละไม่เกิน 3 คน โดยจัดทำเป็นบัญชีรายชื่อของแต่ละประเภท พร้อมทั้งรายละเอียดตามที่ประธานรัฐสภากำหนด และส่งให้ประธานรัฐสภาภายใน 15 วัน นับแต่วันพ้นกำหนดวันรับสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญตามมาตรา 291/1 (1)

ให้ประธานรัฐสภาแต่งตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญจำนวน 15 คน ซึ่งมาจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวน 9 คน และสมาชิกวุฒิสภาจำนวน 6 คน เพื่อดำเนินการตรวจสอบคุณสมบัติผู้ได้รับการเสนอชื่อเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐ ธรรมนูญตามวรรคหนึ่ง ให้แล้วเสร็จภายใน 7 วัน แล้วส่งผลการตรวจสอบให้ประธานรัฐสภาทราบ และให้ประธานรัฐสภาเรียกประชุมรัฐสภาภายใน 15 วัน นับแต่ได้รับผลการตรวจสอบดังกล่าว เพื่อให้รัฐสภาลงมติคัดเลือกผู้สมควรได้รับการแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐ ธรรมนูญ

ในการคัดเลือกผู้สมควรได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐ ธรรมนูญตามวรรคสอง ให้เลือกจากบัญชีรายชื่อที่ส่งต่อประธานรัฐสภาตามวรรคหนึ่งและได้ผ่านการ ตรวจสอบคุณสมบัติตามวรรคสอง ตามจำนวนสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญตามมาตรา 291/1 (2) การลงคะแนนดังกล่าวให้กระทำเป็นการลับ

ให้ประธานรัฐสภาประกาศรายชื่อผู้ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญตามมาตรา 291/1 (1) และ (2) ในราชกิจจานุเบกษา

มาตรา 291/7 ในกรณีที่รัฐสภาจะต้องดำเนินการใดตามหมวดนี้ในระหว่างปิดสมัยประชุมรัฐสภา ให้ประธานรัฐสภานำความกราบบังคมทูลเพื่อมีพระบรมราชโองการเรียกประชุมรัฐสภา เป็นการประชุมสมัยวิสามัญ และให้ประธานรัฐสภาเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ แต่ถ้าอายุของสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลง หรือมีการยุบสภาผู้แทนราษฎร และมีกรณีที่รัฐสภาจะต้องดำเนินการใดภายในระยะเวลาที่กำหนดตามหมวดนี้ มิให้นับระยะเวลาตั้งแต่วันที่อายุของสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลง หรือมีการยุบสภาผู้แทนราษฎร แล้วแต่กรณี จนถึงวันประชุมสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกภายหลังจากมีพระบรมราชโองการโปรด เกล้าฯ แต่งตั้งประธานสภาผู้แทนราษฎร รวมเข้าในระยะเวลาที่รัฐสภาจะต้องดำเนินการ

มาตรา 291/8 สมาชิกภาพของสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญตามมาตรา 291/1 (1) และ (2) เริ่มตั้งแต่วันเลือกตั้ง หรือวันที่รัฐสภามีมติแล้วแต่กรณี

สมาชิกภาพของสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญตามมาตรา 291/1 (1) หรือ (2) สิ้นสุดลง เมื่อ

(1) สภาร่างรัฐธรรมนูญสิ้นสุดลงตามมาตรา 291/16

(2) ตาย

(3) ลาออก

(4) ขาดคุณสมบัติตามมาตรา 291/2 หรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 291/3 แล้วแต่กรณี

เมื่อ ตำแหน่งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญตามมาตรา 291/1 (1) หรือ (2) ว่างลง เพราะเหตุอื่นใดนอกจากถึงคราวออกตามมาตรา 291/16 ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งหรือรัฐสภาดำเนินการเลือกตั้ง หรือคัดเลือกสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญขึ้นแทนตำแหน่งที่ว่าง ภายในกำหนดเวลา 30 วัน เว้นแต่ระยะเวลาการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญของสภาร่างรัฐธรรมนูญตามมาตรา 291/11 จะเหลือไม่ถึง 90 วัน

ในกรณีที่สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญตาม มาตรา 291/1 (1) ว่างลง และไม่มีรายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งรายอื่นในบัญชีรายชื่อผู้สมัครรับเลือก ตั้งของจังหวัดนั้นแล้ว หรือในกรณีที่สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญตามมาตรา 291/1 (2) (ก) (ข) หรือ (ค) ประเภทใดประเภทหนึ่งว่างลง และไม่มีรายชื่อผู้เชี่ยวชาญ หรือผู้มีประสบการณ์ตามบัญชีรายชื่อในประเภทที่ว่างลงนั้นแล้ว ให้สภาร่างรัฐธรรมนูญปฏิบัติหน้าที่ได้ต่อไปโดยไม่ต้องดำเนินการเลือกตั้ง หรือคัดเลือกแทนตำแหน่งที่ว่างนั้น แต่ทั้งนี้สภาร่างรัฐธรรมนูญจะต้องมีจำนวนสมาชิกเหลืออยู่ไม่น้อยกว่ากึ่ง หนึ่งของจำนวนสมาชิกตามมาตรา 291/1 (1) และ (2)

มาตรา 291/9 สภาร่างรัฐธรรมนูญ มีประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ 1 คน และรองประธานค 1 หรือ 2 คน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งจากสมาชิกแห่งสภาร่างรัฐธรรมนูญตามมติของสภา ร่างรัฐธรรมนูญ และให้ประธานรัฐสภาเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ

ประธาน สภาร่างรัฐธรรมนูญมีอำนาจหน้าที่ดำเนินกิจการของสภาร่างรัฐธรรมนูญตามหมวด นี้ รองประธานมีอำนาจหน้าที่ตามที่ประธานมอบหมาย และปฏิบัติหน้าที่แทนประธานเมื่อประธานไม่อยู่ หรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้

เมื่อประธานและรองประธานไม่อยู่ในที่ประชุม ให้สมาชิกแห่งสภาร่างรัฐธรรมนูญเลือกตั้งกันขึ้นเองเป็นประธานในคราวประชุมนั้น

มาตรา 291/10 เงินประจำตำแหน่งและประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นของประธานและรองประธานสภาร่าง รัฐธรรมนูญ สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ และกรรมาธิการที่สภาร่างรัฐธรรมนูญแต่งตั้ง ให้เป็นไปตามที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา

มาตรา 291/11 สภาร่างรัฐธรรมนูญจะต้องจัดทำร่างรัฐธรรมนูญให้แล้วเสร็จภายในกำหนดเวลา 180 วัน นับแต่วันถัดจากวันประกาศรายชื่อสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป

ในการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญนั้น สภาร่างรัฐธรรมนูญอาจนำรัฐธรรมนูญฉบับใดฉบับหนึ่งที่เห็นว่ามีความเป็น ประชาธิปไตยสูงมาเป็นต้นแบบในการยกร่างก็ได้

การที่สภาผู้แทนราษฎร สิ้นอายุ หรือมีการยุบสภาผู้แทนราษฎร ไม่เป็นเหตุกระทบกระเทือนการปฏิบัติหน้าที่ของสภาร่างรัฐธรรมนูญตามวรรค หนึ่ง

ในการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญ สภาร่างรัฐธรรมนูญต้องจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในทั่วทุกภูมิภาคด้วย

ร่าง รัฐธรรมนูญที่มีผลเป็นการเปลี่ยนแปลงการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหา กษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือเปลี่ยนแปลงรูปของรัฐจะกระทำมิได้

ในกรณีที่รัฐสภาวินิจฉัยว่าร่างรัฐธรรมนูญมีลักษณะตามวรรคห้า ให้ร่างรัฐธรรมนูญเป็นอันตกไป

มาตรา 291/12 วิธีพิจารณาและจัดทำร่างรัฐธรรมนูญ การประชุม การลงมติ การแต่งตั้งกรรมาธิการและการดำเนินการของกรรมาธิการ การรักษาระเบียบและความเรียบร้อย และกิจการอื่นเพื่อดำเนินการตามบทบัญญัติของหมวดนี้ ให้ใช้ข้อบังคับการประชุมของรัฐสภาโดยอนุโลม

ให้นำบทบัญญัติมาตรา 126 วรรคหนึ่งถึงวรรคสี่ มาใช้กับการประชุมของสภาร่างรัฐธรรมนูญโดยอนุโลม เอกสิทธิ์ที่บัญญัติไว้ในมาตรา 130 และความคุ้มกันที่บัญญัติไว้ในมาตรา 131 ให้นำมาใช้บังคับกับการประชุมของสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญและกรรมาธิการ โดยอนุโลม

มาตรา 291/13 เมื่อสภาร่างรัฐธรรมนูญได้จัดทำร่างรัฐธรรมนูญเสร็จสิ้นแล้วให้นำเสนอต่อรัฐสภา

เมื่อ ประธานรัฐสภาได้รับร่างรัฐธรรมนูญแล้ว ให้ส่งร่างรัฐธรรมนูญดังกล่าวไปยังคณะกรรมการการเลือกตั้งภายใน 7 วัน นับแต่วันที่รัฐสภาได้รับร่างรัฐธรรมนูญนั้นจากสภาร่างรัฐธรรมนูญ เพื่อให้คณะกรรมการการเลือกตั้งดำเนินการจัดให้มีการออกเสียงลงประชามติของ ประชาชนว่าจะเห็นชอบกับร่างรัฐธรรมนูญนั้นหรือไม่

ให้คณะกรรมการการ เลือกตั้งประกาศกำหนดวันออกเสียงประชามติภายในไม่เกิน 60 วัน แต่ไม่น้อยกว่า 45 วัน นับแต่วันที่ได้รับร่างรัฐธรรมนูญจากรัฐสภา วันออกเสียงประชามติให้กำหนดเป็นวันเดียวกันทั่วราชอาณาจักรตั้งแต่เวลา 08.00-17.00 น. สำหรับหลักเกณฑ์และวิธีการในการออกเสียงประชามติให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วย การนั้นเท่าที่ไม่ขัด หรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญนี้

ให้คณะกรรมการการ เลือกตั้งประกาศรับรองผลการออกเสียงประชามติให้แล้วเสร็จภายใน 15 วัน นับแต่วันออกเสียงประชามติ หากคะแนนการออกเสียงประชามติเห็นชอบกับร่างรัฐธรรมนูญให้ดำเนินการตามมาตรา 291/14 ต่อไป แต่หากคะแนนการออกเสียงประชามติไม่เห็นชอบกับร่างรัฐธรรมนูญ ให้ร่างรัฐธรรมนูญนั้นเป็นอันตกไป

ในกรณีที่พระมหากษัตริย์ไม่ทรง เห็นชอบด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญและพระราชทานคืนมา หรือเมื่อพ้นกำหนด 90 วันแล้วมิได้พระราชทานคืนมา ให้ร่างรัฐธรรมนูญนั้นเป็นอันตกไป

มาตรา 291/14 เมื่อมีประชามติเห็นชอบด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญ ให้ประชาชนรัฐสภานำร่างรัฐธรรมนูญขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย และให้นำบทบัญญัติมาตรา 150 มาใช้บังคับโดยอนุโลม และให้ประธานรัฐสภาเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ

มาตรา 291/15 สภาร่างรัฐธรรมนูญสิ้นสุดลง ในกรณีดังต่อไปนี้

(1) สภาร่างรัฐธรรมนูญมีจำนวนสมาชิกเหลืออยู่ไม่ถึงกึ่งหนึ่ง ตามมาตรา 291/8 วรรคสี่

(2) สภาร่างรัฐธรรมนูญจัดทำร่างรัฐธรรมนูญไม่แล้วเสร็จภายในกำหนดระยะเวลาตามมาตรา 291/11 วรรคหนึ่ง

(3) เมื่อร่างรัฐธรรมนูญได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้ใช้บังคับเป็นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

(4) เมื่อร่างรัฐธรรมนูญตกไปตามมาตรา 291/11 วรรคหก มาตรา 291/13 วรรคสี่หรือวรรคห้า

ใน กรณีที่สภาร่างรัฐธรรมนูญสิ้นสุดลงตามวรรคหนึ่ง (2) ให้ดำเนินการจัดให้มีสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญขึ้นใหม่ตามหมวดนี้ ภายใน 90 วันนับแต่วันสิ้นสุดระยะเวลาตามมาตรา 291/11 วรรคหนึ่ง ทั้งนี้ บุคคลผู้ที่เคยเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญชุดเดิมจะเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐ ธรรมนูญอีกไม่ได้

มาตรา 291/16 ถ้าร่างรัฐธรรมนูญที่จัดทำขึ้นตามหมวดนี้ตกไป คณะรัฐมนตรี หรือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร หรือสมาชิกวุฒิสภาและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา มีสิทธิเสนอญัตติต่อรัฐสภาเพื่อให้รัฐสภามีมติให้มีการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับ ใหม่ตามความในหมวดนี้อีกได้ การออกเสียงลงคะแนนให้ความเห็นชอบของรัฐสภาให้ถือเอาเสียงข้างมากเป็นประมาณ


เมื่อรัฐสภามีมติอย่างหนึ่งอย่างใดตามวรรคหนึ่งแล้ว จะมีการเสนอญัตติตามวรรคหนึ่งอีกไม่ได้ เว้นแต่จะมีการเลือกตั้งทั่วไปครั้งใหม่

มาตรา 5 ในวาระเริ่มแรก ให้ตราพระราชกฤษฎีกากำหนดให้มีการรับสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐ ธรรมนูญภายใน 30 วัน นับแต่วันที่รัฐธรรมนูญนี้ใช้บังคับ และให้ดำเนินการตามมาตรา 291/5 ให้แล้วเสร็จภายใน 90 วัน นับแต่วันที่รัฐธรรมนูญนี้ใช้บังคับ

ผู้รับสนองพระราชโองการ

ประธานสภา









สยามประชาภิวัฒน์ เปิดเวทีแฉระบบเผด็จการพรรคการเมือง กินรวบประเทศไทย

สำนักข่าวอิศรา

"ดร.บรรเจิด ชี้เมืองไทยมีเสื้อคลุมเป็นประชาธิปไตย แต่เนื้อในเผด็จการพรรคการเมือง ด้าน "ดร.จรัส" เปรียบสังคมไทย ไม่ต่างอะไรจากสังคมแบบโจร แย่งชิงเงินภาษีไปเข้ากระเป๋าตนเอง มีนักการเมือง-ขรก.ร่วมมือกันหักหลังปชช.


วันที่ 6 กุมภาพันธ์ สยามประชาภิวัฒน์ จัดงานเสวนาทางวิชาการเรื่อง “วิกฤตประเทศ ใครคือตัวการ?” ที่ห้องประชุมจี๊ด เศรษฐบุตร คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยมีผู้สนใจเข้าร่วมรับฟังจำนวนมาก ในช่วงแรก ศ.ดร.อมร จันทรสมบูรณ์ อดีตเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา ปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “ระบบเผด็จการ โดยพรรคการเมืองทุนนิยมผูกขาด” ตอนหนึ่งว่า ตั้งแต่ พ.ศ.2535 เป็นต้นมา ระบอบประชาธิปไตยในประเทศไทย กลายเป็นระบบเผด็จการ โดยพรรคการเมืองนายทุนเต็มตัว เนื่องจากพบว่า มีการทำลายหลักการของความเป็นประชาธิปไตย (the principle of democracy) ด้วยการบังคับให้ ส.ส. ทุกคนต้องสังกัดพรรคการเมือง และให้พรรคการเมืองมีอำนาจบังคับให้ ส.ส. ทำตามมติพรรค มิฉะนั้นอาจถูกพรรคมีมติให้พ้นจากการเป็น ส.ส.ได้ ทำให้พบการโหวตตามใบสั่งของพรรค

“ประเทศไทยเป็นประเทศเดียวในโลกที่มีการบังคับในลักษณะดังกล่าว ทำให้ปัญหาการผูกขาดอำนาจรัฐในระบบเผด็จการ โดยพรรคการเมืองนายทุนยังคงดำเนินอยู่ในปัจจุบัน ต่างจากในต่างประเทศ ไม่ว่าจะเยอรมนี ฝรั่งเศส เกาหลีใต้ เดนมาร์ก ส.ส. สามารถใช้มโนทัศน์ในการบริหารและออกเสียงได้ด้วยตนเอง”ศ.ดร.อมร กล่าว และว่า สำหรับแนวทางแก้ไขปัญหานั้น ต้องเริ่มแก้ที่ระบบสถาบันการเมือง โดยคนไทยต้องร่วมกันคิดว่าจะแก้อย่างไร

จากนั้นมีการเสวนาเรื่อง “วิกฤตประเทศ ใครคือตัวการ?” โดยนายคมสัน โพธิ์คง อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช กล่าวถึงสถานการณ์ประเทศไทยในขณะนี้ เกิดวิกฤตความแตกแยกของคนในชาติ และวิกฤตทางการเมืองตลอดเวลา เนื่องจากมีผู้อยู่เบื้องหลังกระบวนการสร้างความแตกแยก แบ่งคนออกเป็นฝักฝ่าย เพื่อลดทอนอำนาจของประชาชน ในการต่อสู้กับทุนผูกขาดทางการเมือง ขณะเดียวกันยังเกิดวิกฤตจริยธรรมทางวิชาการของนักวิชาการ ซึ่งพบว่า มีการละเมิดจริยธรรมทางวิชาการอย่างร้ายแรง นำเสนอข้อมูลทางวิชาการแบบตัดตอน ทั้งนี้ เพื่อ นำเสนอรูปแบบที่ตนต้องการ และเอื้อประโยชน์ต่อคนบ้างกลุ่ม โดยอ้างประชาธิปไตย ดังนั้น จะต้องมีการแก้ไขในเรื่องดังกล่าว และถ้าเมื่อใดคนในชาติรวมตัวกันได้ นักธุรกิจการเมืองจะไม่ได้ประโยชน์จากการที่คนในชาติแตกความสามัคคี

ขณะที่ รศ.ดร.บรรเจิด สิงคะเนติ คณบดีคณะนิติศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ กล่าวว่า จุดเริ่มต้นวิกฤตของประเทศเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 21 ส.ค. 2544 ซึ่งเป็นวันอ่านคำวินิจฉัยคดีซุกหุ้น และเป็นวันที่รัฐธรรมนูญไทยถูกหักยอดมงกุฎ เนื่องจากมีคนอยู่เหนือรัฐธรรมนูญ ทำผิดกระบวนการยุติธรรม จากนั้นในวันที่ 19 ก.ย.2549 รัฐธรรมนูญก็ถูกฌาปนกิจ และในปัจจุบันระบบต่างๆ กำลังเข้าสู่วังวนเดิมอีกครั้ง เนื่องจากการผูกขาดอำนาจทางการเมือง โดยบริษัททางการเมืองตามรัฐธรรมนูญ

“รัฐธรรมนูญไทยระบุไว้ว่า คนที่สามารถเข้าสู่เวทีการเมืองได้นั้น ต้องสังกัดพรรคการเมือง ขณะที่พรรคการเมืองในปัจจุบันเป็นสมบัติส่วนบุคคล ถามว่า การเมืองจะเป็นประชาธิปไตยได้หรือไม่ เมื่อคนที่มีรีโมทสามารถคุมได้ทั้งอำนาจนิติบัญญัติและอำนาจบริหาร” รศ.ดร.บรรเจิด กล่าว พร้อมตั้งคำถาม บ้านเรา 1 ครอบครัวมีนายกรัฐมนตรี 3 คนเป็นไปได้อย่างไร สิ่งเหล่านี้ประเทศตะวันตกไม่มีทางเข้าใจประเทศไทย เนื่องจากประเทศตะวันตกเข้าใจว่า พรรคการเมืองเป็นสถาบันประชาธิปไตย

รศ.ดร.บรรเจิด กล่าวว่า บ้านเรามีเสื้อคลุมเป็นประชาธิปไตย แต่เนื้อในเป็นเผด็จการจากเจ้าของพรรค และหากย้อนดู ในสมัยที่เป็นประชาธิปไตยครึ่งใบ จะพบว่า ส.ส. ยังมีการต่อสู้กับเผด็จการทหาร แต่ปัจจุบันทั้งที่เป็นประชาธิปไตยเต็มใบ ส.ส. ได้ทำอะไรบ้างหรือไม่

"ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีระบบอุปถัมภ์หนักแน่นมาก เราไม่สามารถปล่อยให้สังคมเดินหน้าต่อไปเช่นนี้ได้ และก่อนที่ประเทศจะมีหนี้สินล้นพ้นตัว มีหนี้สาธารณะสูง ต้องร่วมกันคิดหาทางออกจากวังวนดังกล่าว"

โจทย์แก้รธน.เพื่อยกระดับกินรวบให้เข้มแข้งขึ้น

ส่วนศ.ดร.จรัส สุวรรณมาลา อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ในสังคมบ้านเราขณะนี้เกิดการแย่งชิงเงินภาษีของประชาชนไปเข้ากระเป๋าตนเอง และมักพบว่า ใครใหญ่กว่าแย่งได้มากกว่าก็เอาเงินไปหมด ส่วนคนที่แพ้ไม่ได้อะไรเลย ดังนั้น ในสภาวการณ์เช่นนี้ ไม่ต่างอะไรจากสังคมแบบโจร ขณะที่พบว่ามีการหักหลังประชาชน โดยที่นักการเมืองและข้าราชการร่วมมือ จนทำให้ระบบการปกครองในปัจจุบันกลายเป็นระบบเผด็จการทุน อำมาตย์ผูกขาด ดังนั้น จึงเห็นว่า สถานการณ์ในปัจจุบันแทนที่จะมาคุยถึงเรื่องการแก้รัฐธรรมนูญ การจะมี สสร. หรือแต่งตั้งคนบางกลุ่มขึ้นมานั้น ควรหันให้ความสนใจกับเรื่องการปฏิรูปการเมือง เพื่อทำให้การแย่งชิง หักหลังหลุดออกไป

“ที่ผ่านมาไม่ว่าจะแก้รัฐธรรมนูญกี่สิบครั้ง ก็ไม่สามารถปฏิรูปการเมืองได้สำเร็จ แม้จะปฏิเสธไม่ได้ว่า รัฐธรรมนูญยังไม่มีความสมบูรณ์ จำเป็นต้องมีการแก้ไข แต่หากโจทย์ของการแก้รัฐธรรมนูญในครั้งนี้ ไม่ได้เป็นไปเพื่อลดอำนาจผูกขาดทางการเมือง การแก้ก็จะทำให้เราติดกับดักเดิมๆ รวมทั้งยกระดับการกินรวบให้มีความเข้มแข้งมากขึ้น”

ทั้งนี้ ศ.ดร.จรัส กล่าวถึงวิธีหลุดพ้นจากระบบการเมืองแบบผูกขาดด้วยว่า จะต้องมีการกระจายอำนาจ ให้คนในพื้นที่ได้ปกครองตนเอง ใช้เงินภาษีของตนเอง ซึ่งจะช่วยลดขนาดตะกร้าที่ใหญ่ลงได้ และตัดวงจรการแย่งกัน ขณะเดียวกันต้องปฏิรูปการเมืองภาคประชาชนให้มีเข็มแข้ง โดยต้องมีกฎหมายให้อำนาจกับประชาชนในการตรวจสอบ แฉ บอยคอต ประณาม ไม่ว่าจะนักการเมือง หรือข้าราชการ ทั้งนี้ เชื่อว่า จะช่วยปิดประตูไม่ให้นักการเมือง ข้าราชการรวมหัวกันได้ อีกทั้งยังจะช่วยทำลายภาพลวงตาที่นักการเมืองสร้างขึ้น เพื่อเป็นเกาะบังหน้าในการหาประโยชน์ส่วนตน

ด้าน ดร.โอฬาร ถิ่นบางเตียว คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา กล่าวถึงปัญหาของการเมืองไทยว่า เกิดจากการที่ตัวแทนในแต่ละจังหวัดมาจากคนไม่กี่ตระกูล จนกลายเป็นประชาธิปไตย แบบกรรมพันธุ์ ในลักษณะที่ว่า พ่อแม่เป็น ส.ส. ลูกก็มีโอกาสสูงที่จะเป็น ส.ส. เช่นกัน สิ่งเหล่านี้ทำให้สังคมไทยอยู่กับภาวะผิดปกติ จนเป็นปกติ และในขณะเดียวกันได้ทำให้เจตจำนงของรัฐธรรมนูญที่ต้องการคงไว้ซึ่งเสถียรภาพการเมือง การแก้ปัญหาคอร์รัปชั่น การมีส่วนร่วมถูกบิดเบือนไปสู่การสัมปทานอำนาจในท้องถิ่น เปิดช่องให้คนที่ทรัพยากรมากกว่าได้เปรียบ

“ฉะนั้น ต้องมีการกระจายอำนาจไปสู่ท้องถิ่น ผลักงบประมาณ ภารกิจ และคนไปสู่ท้องถิ่นมากขึ้น เพื่อให้เวทีการเมืองระดับชาติลดทอนลง ขณะเดียวกันการให้ความสำคัญกับคุณภาพประชาธิปไตย คุณภาพของการเลือกตั้งก็เป็นเรื่องสำคัญ ไม่เช่นนั้น องค์กรอาชญากรรมทางการเมืองจะกลายเป็นตัวทำลายประเทศ ไม่ต่างจากองค์กรค้ายาเสพติด”

ส่วน รศ.ดร.สุวินัย ภรณวลัย อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า แนวคิดตามระบอบทักษิโณมิกส์ และเครือข่ายนั้นจะทำให้ประเทศก้าวสู่หายนะ เนื่องจากพบว่า สถานะทางการเงินของรัฐบาลชุดปัจจุบัน อยู่ในสภาวะที่ไม่มีกระแสเงินสดมาลงทุน เนื่องจากภาระหนี้สินในอดีต ทั้งหนี้จากกองทุนฟื้นฟูฯ หนี้สาธารณะ ทำให้รัฐบาลไม่มีเงินดำเนินการตามโครงการประชานิยม จึงมีความพยายามในการขายรัฐวิสาหกิจ ให้ตกอยู่ในมือของพวกพ้อง เพื่อกลับเข้ามาผูกขาดประเทศผ่านระบบอุปถัมภ์ในการเลือกตั้ง ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะทำให้ประเทศไทยเผชิญหายนะ เช่นเดียวกับกรีซ และอาเจนติน่า

“นอกจากนี้ยังพบว่า ความพยายามในการจับมือกับทุนต่างประเทศ รุกคืบเข้ามาถือครองที่ดินการเกษตรในประเทศไทยเพื่อรองรับภาวะการขาดแคลนอาหารจากสภาวะโลกร้อนในอนาคต รวมถึงการยึดครองทรัพยากรธรรมชาติของประเทศไทย โดยเฉพาะแหล่งพลังงานใต้ทะเล ดังนั้น สยามประชาภิวัตน์ จะเน้นสร้างความองค์ความรู้ทางวิชาการให้แก่ประชาชน โดยยึดหลักนิติรัฐในการคุ้มครองสิทธิเสรี ความเสมอภาพ เพื่อส่งเสริมประชาธิปไตย ที่ไม่เปิดช่องทางให้เกิดการผูกขาดอำนาจในสังคม”
รีโมท ซื้อ รีโมท จากผู้ค้าส่งโดยตรง ที่มีหน้าร้านจริง ที่ บ้านหม้อ และ คลองถม ราคาถูกกว่าใคร ปลอดภัย มีรับประกัน

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

บทความย้อนหลัง