บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันอังคารที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554

เอกสารต่างๆของ ศอฉ.

เอกสารที่สุเทพ เทือกสุบรรณ และพ.อ.สรรเสริญ แก้วกำเนิด สารภาพว่าเป็นของจริง


สาระสำคัญของเอกสารคือ:นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ สั่งการ นายสุเทพรับมอบหมาย นายทหารตั้งแต่ผบ.ทบ.รับงานไปสังหารผู้ชุมนุม ผลคือตาย 92 ศพ เจ็บกว่า2,000 สุดท้ายจับกุมฝ่ายผู้ชุมนุมไปขังคุกไว้400คนเศษ


เอกสารที่ทหารยอมรับว่ามีการปฏิบัติการโฆษณาชวนเชื่อให้คนมองผู้ชุมนุม เสื้อแดงเป็นผู้ก่อการร้าย เพื่อออกใบอนุญาตฆ่า โดยคนในสังคมเห็นคล้อยตามไม่คัดต้าน

สาระสำคัญของเอกสารคือ:ทำไมการสลายการชุมนุมคราวนี้ได้รับการสนับ สนุนจากประชาชนจำนวนมาก และสื่อกระแสหลักนำเสนอแต่ภาพเผาบ้านเผาเมือง ไฟไหม้ห้าง เผาโรงหนังสยาม


เอกสารแผนการรบเต็มอัตราศึกต่อผู้ชุมนุม และรายงานผลชัยชนะของฝ่ายทหาร 






สาระสำคัญของเอกสารคือ:ทหารยอมรับว่า นโยบายรัฐบาลชัดเจนมาตลอดที่จะใช้มาตรการทางทหารกดดันม็อบกลุ่ม นปช. ความชัดเจนก็คือนโยบายกระชับวงล้อม เพื่อการยุติ การชุมนุมไม่ใช้การกระชับวงล้อมเพื่อเปิดการเจรจา ..และนายกรัฐมนตรีได้สั่งการในที่ประชุม ศอฉ.ในวันที่ 12 พฤษภาคม ให้ฝ่ายทหารเริ่มต้นปฏิบัติการตามแผนยุทธการที่ได้วางไว้


อกสารระบุชื่อนายทหารระดับบังคับบัญชาต่อกรณีสังหารผู้ชุมนุม10เมษา-19พฤษภาคม53








สาระสำคัญของเอกสารคือ:เป็นการเปิดเผยรายชื่อนายทหารระดับผู้บังคับ บัญชาในการควบคุมการสังหาร และรายชื่อเหยื่อผู้ถูกสังหาร ซึ่งทำให้รู้ชัดเจนว่านายทหารคนใดต้องรับผิดชอบทั้งทางอาญาและทางแพ่ง


เอกสารคอป.ชุดอภิสิทธิ์ตั้งชี้ชัดทหารฆ่าอย่างน้อย13ศพ ต้องเอาทหารขึ้นศาล แต่DSIถูกแทรก ศาลไม่เข้าใจทำให้ไม่ให้ประกันนักโทษเสื้อแดง




สาระสำคัญของเอกสารคือ:พบว่าอย่างน้อยผู้เสียชีวิต ๑๓ ราย เกิดจาก การกระทำของเจ้าหน้าที่ฝ่ายรัฐ ไม่มีตอนใดเลยกล่าวถึงชายชุดดำว่าเป็นผู้สังหารเหยื่อ10เมษายน-19พฤษภาคม 2553 แต่การทำงานของตำรวจและDSIถูกฝ่ายการเมืองแทรกแซง เพราะไม่มีการดำเนินคดีต่อทหารและฝ่ายการเมือง ขณะที่ศาลไม่เข้าใจเหตุการณ์กลับดำเนินคดีต่อนักโทษเสื้อแดงเหมือนคดีอาญา ทั่วไป ไม่ยอมให้ประกันตัว แต่คอป.ไม่เห็นด้วยกับการนิรโษกรรม

โผ ครม. ล่าสุด

นายกรัฐมนตรี นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร

รองนายกรัฐมนตรี ด้านเศรษฐกิจ นายโอฬาร ไชยประวัติ
รองนายกรัฐมนตรี ด้านความมั่นคง พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก
รองนายกรัฐมนตรี ด้านความมั่นคง ควบ รมว.มหาดไทย นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ
รองนายกรัฐมนตรี ควบ รมว.ท่องเที่ยวฯ นายชุมพล ศิลปอาชา

รัฐมนตรีประจำสำนักนายกฯ (กำกับดูแลด้านสื่อฯ) นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล อดีตผู้บริหารไอทีวี
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกฯ (กำกับดูแลด้านกฎหทาย) นายพีรพันธ์ พาลุสุข

รมว.คลัง นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตเลขาธิการ กลต.
รมช.คลัง นายวิรุฬ เตชะไพบูลย์

รมว.พาณิชย์ นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง (หรือ นายเผดิมชัย สะสมทรัพย์)
รมช. พาณิชย์ นายศิริวัฒน์ ขจรประศาสตร์

รมว.มหาดไทย นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ
รมช. มหาดไทย พล.ต.ท.ชัจจ์ กุลดิลก
รมช.มหาดไทย นายฐานิสร์ เทียนทอง
รมว.ศึกษาธิการ พ.อ.อภิวันท์ วิริยะชัย
รมช.ศึกษาธิการ นางบุญรื่น ศรีธเรศ 
รมว.คมนาคม พล.อ. อ. สุกำพล สุวรรณทัต
รมช.คมนาคม นายประภัสร์ จงสงวน

รมว.ต่างประเทศ นายวิกรม คุ้มไพโรจน์ อดีตเอกอัครราชทูตประจำอังกฤษ
รมช.ต่างประเทศ นายต่อพงษ์ ไชยสาส์น

รมว.สาธารณสุข นายวิทยา บุรณศิริ หรือ นายวิชาญ มีนชัยนันท์
รมช.สาธารณสุข นายสุรวิทย์ คนสมบูรณ์

รมว.ยุติธรรม นายชัยเกษม นิติสิริ หรือ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง
รมว.แรงงานฯ นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ
รมว.พลังงานฯ นายพิชัย นริพทะพันธุ์
รมว.เกษตรฯ นายธีระ วงศ์สมุทร
รมช.เกษตรฯ นายพรศักดิ์ เจริญประเสริฐ
รมว.อุตสาหกรรม นพ.วรรณรัตน์ ชาญนุกูล
รมว.กลาโหม พล.ร.อ. สถิรพันธ์ เกยานนท์ หรือ พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา
รมว.การท่องเที่ยวและกีฬาฯ นายชุมพล ศิลปอาชา
รมว.วัฒนธรรม นางสุกุมล คุณปลื้ม
รมว.เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร(ไอซีที) นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ หรือ นายสันติ พร้อมพัฒน์
รมว.พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ
รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นายปรีชา เร่งสมบูรณ์สุข
รมว.วิทยาศาสตร์ฯ นายกิตติศักดิ์ หัตถสงเคราะห์
เลขาธิการนายกฯ นายบัณฑูร สุภัควนิช (อดีตผอ.สำนักงบประมาณ)
ประธานที่ปรึกษานายกฯ นายเสนาะ เทียนทอง

'A-Z' อักษร 'ซี๊ด' อธิบาย 'สามัญสู่สูงสุด...!!!' นายกฯหญิง ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร


'A-Z' อักษร 'ซี๊ด' อธิบาย 'สามัญสู่สูงสุด...!!!' นายกฯหญิง ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร

วันที่ 09/08/2554 05:30 (ผ่านมา 11 ชั่วโมง 25 นาที)



นอกจากประวัติของผู้นำทั้งประเทศ ที่สื่อส่วนใหญ่ออกมาไล่เรียงตามสื่อมากมายแล้ว ยังมีอะไรตกค้างสำหรับผู้หญิงคนนี้อีกไหม หลายคนสงสัย...? ทีมข่าวไทยรัฐออนไลน์ จับเอาอักษรตั้งแต่ A-Z สไตล์ซี๊ดๆ แล้วมาไล่ลึกความลับที่อธิบายความเป็น น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของไทย ที่ฟังแล้วหลายคนต้องซี๊ดปากรับประกันความมันส์...


 


A : Amnesty

เรื่องออก “กฎหมายนิรโทษกรรม” ให้กับ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร พี่ชายของน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ถือว่าเป็นกระแสในการหาเสียงของพรรคเพื่อไทย แรงมาก โดยเฉพาะ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง ผู้สมัครส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ ที่หมั่นออกมาให้สัมภาษณ์ถึงการออกพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) นิรโทษกรรมความผิด ให้ พ.ต.ท.ทักษิณ พร้อมกับยอมรับว่า ตนเป็นผู้เปิดประเด็นนี้เอง เพราะถ้าไม่พูด ประชาชนก็จะไม่เอา ดังนั้นต้องเปิดหน้าชนเลย

อย่างไรก็ดี แม้วันนี้ประเด็นร้อนนี้จะยังไม่มีใครกล้าแตะ เนื่องจากกระแสสังคมไม่ตอบรับ แต่ใครจะมั่นใจได้ว่า น้องสาวที่เป็นนายกรัฐมนตรี จะไม่ทำเพื่อพี่ชาย ...!



B : Boy / Billionaire

น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร แต่งงานกับ นายอนุสรณ์ อมรฉัตร (อดีตผู้บริหารในเครือบริษัท ซีพี และกรรมการผู้อำนวยการบริษัท เอ็ม ลิงค์ เอเชีย คอร์ปอเรชั่น จำกัด ของนางเยาวภา วงศ์สวัสดิ์) ปูกับป๊อปแต่งงานกันเมื่อปี 2538 ที่โรงแรมไฮแอท ครองรักกันแบบไร้ทายาทมายาวนาน 7 ปี ก็มีน้องไปป์ หรือเด็กชาย (Boy) ศุภเสกข์ (แปลว่านักปราชญ์ที่เก่งที่เลื่องลือ) เธอค่อนข้างจะรักลูกชายคนนี้มาก ขนาดสร้างสนามฟุตบอล 2,500 ตารางเมตรติดกับบ้าน ถือว่าเป็นการตามใจลูกชายหัวแก้วหัวแหวนสุดๆ (“น้องไปค์” ชื่นชอบทีมเชลซี และมีแลมพาร์ดเป็นนักเตะขวัญใจ)

ส่วนเรื่องมั่งคั่งทางการเงิน ที่ดิน และสินทรัพย์ต่างๆ ก็มีมากล้นแทบจะไม่ต้องอธิบายต่อ...!

C : Chiang Mai / Customer

นอกจาก น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เกิดที่จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2510 และครั้งหนึ่งในการปราศัย ยิ่งลักษณ์เคยพลั้งปากเรียกบรรดาผู้สนับสนุนบนเวทีปราศรัยว่า “ลูกค้า” ซึ่งสื่อต่างชาตินำไปจัดอันดับ 10 เหตุการณ์สุดแปลกในการเลือกตั้งทั่วไปในปี 2554 ของประเทศไทยด้วย
D : Development

เป็นนายกผู้หญิงคนแรกในประเทศไทยที่หลายคนฝากความ “หวัง” มากมายเพื่อที่จะให้เธอ “พัฒนา” ประเทศไทยไปสู่สิ่งที่ดีกว่า และ “พัฒนา” ความสัมพันธ์ระหว่าง “ไทยกับกัมพูชา” (มีรายงานข่าวทันทีที่พรรคเพื่อไทยชนะการเลือกตั้งแบบถล่มทลาย เหล่าบรรดาผู้นำกัมพูชา ต่างออกมาเปิดแชมเปญฉลองกันเลยทีเดียว) ที่กำลังอยู่ในภาวะตึงเครียด ที่จะก่อสงครามประหัตประหารกัน กรณีเขาพระวิหาร และพื้นที่ทับซ้อน 4.6 ตารางกิโลเมตร

E : Election

ผลการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 3 ก.ค. 2554 ปรากฏว่า "พรรคเพื่อไทย" โดยการนำของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ชนะการเลือกตั้งถล่มทลาย โดยพรรคเพื่อไทยได้บัญชีรายชื่อ 15.7 ล้านคะแนน ส.ส.รวม 265 ที่นั่ง ประชาธิปัตย์ได้บัญชีรายชื่อ 11.4 ล้านคะแนน ส.ส. รวม 159 ที่นั่ง

F : First Female Prime Minister of Thailand

เป็นนายกหญิงคนแรกของประเทศไทย (คนที่ 28 ในทำเนียบประวัติศาสตร์นายกรัฐมนตรีแห่งประเทศไทย) และเป็นนายกฯหญิงคนที่ 52 ของโลก โดย นายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของโลกคือ นางสิริมาโว บันดาราไนยาเก ผู้นำของศรีลังกา

G : Gossip

น.ส.ยิ่งลักษณ์ถือเป็นนายกรัฐมนตรีที่ไม่ค่อยจะมีใครรู้เรื่องส่วนตัวของเธอมากมายนัก ทำให้ระหว่างการท้าชิงในการเป็นนายกรัฐมนตรีนั้น มีเรื่องเมาท์ในที่ลับๆ และในที่แจ้ง ผุดออกมามากมาย ตั้งแต่เรื่องชีวิตคู่ เรื่องการจดทะเบียนสมรส เรื่องในวงวานญาติเครือ เรื่องหุ้น เรื่องธุรกิจ และเรื่องไลฟ์สไตล์ ที่ยังกลายเป็นจุดที่ทำให้คู่ต่อสู้โจมตีอยู่ ตราบใดผู้ที่เป็นผู้นำในประเทศ ที่ต้องการความโปร่งใส ต้องออกมาชี้แจง ที่สำคัญสังคมไทย เป็นสังคมที่ชอบกล่าวหากัน ต้องให้โอกาสเธออธิบายความจริง ไม่ใช่หลับหูหลับตาเชื่อเรื่องเมาท์ๆ ไปซะหมด
H : Harmony

คงจะไม่ผิดหากจะพูดว่า “ความสามัคคีปรองดอง” เป็นหนึ่งในนโยบายหลักที่ประชาชนเลือกพรรคเพื่อไทยขึ้นมาอย่างถล่มทลาย แต่อย่างไรก็ดี จากวันนี้ จากข่าวคราวของแกนนำเสื้อแดงบนท้องถนน และแกนนำเสื้อแดงที่เพิ่งเข้าไปในสภา เย้วๆ กันอยู่ จึงยังห่างไกลคำว่า “สามัคคี”

I : Income tax

น่าจับตาว่า นโยบาย “ลดภาษี” เงินได้นิติบุคคล จาก 30% เหลือ 23% และลดถึง 20% ภายในปีพ.ศ.2556 เป็นอีกหนึ่งนโยบายที่คนไทยทั้งประเทศรอคอยว่าจะสามารถทำได้จริง หรือดีแต่พูด แบบที่พรรคเพื่อไทยเคยกล่าวหาพรรคประชาธิปปัตย์เอาไว้ตลอดการเป็นรัฐบาล...?

J : June

เดือนมิถุนายน คือเดือนเกิดของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร

K : Kentucky State University

เป็นสถานที่ที่เธอจบการศึกษาระดับปริญญาโท สาขา Management Information Systems เป็นการปูทางเพื่อเข้ามารับไม้ต่อจากกิจการการสื่อสารของทางครอบครัวชินวัตร
L : Last child

1. นางเยาวลักษณ์ ชินวัตร (เสียชีวิต) 2. พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร  3. นางเยาวเรศ ชินวัตร 4. นางปิยนุช ลิ้มพัฒนาชาติ 5. นายอุดร ชินวัตร (เสียชีวิต) 6. นางเยาวภา วงศ์สวัสดิ์ 7. นายพายัพ ชินวัตร 8. นางมณฑาทิพย์ โกวิทเจริญกุล 9. นายทัศนีย์ ชินวัตร (เสียชีวิต) และ 10. นางยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ถือว่าเป็นน้องคนสุดท้อง

M : Military Coup

แม้จะไม่ได้เป็นรัฐบาลหลังจากทำ “รัฐประหาร” แต่พรรคเพื่อไทย โดยการนำของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ก็ถือว่าโดนทำรัฐประหาร สร้างความเจ็บช้ำให้ครอบครัวชินวัตรเป็นอย่างมาก ล่าสุดเมื่อ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ประกาศชัดว่า ต่อต้านรัฐประหาร อย่างไรก็ดี เมื่อพวกเขาได้เข้ามาบริหารบ้านเมือง หลายคนก็ยังลุ้นๆ ว่าเมืองไทยจะปลอดรัฐประหารได้หรือไม่

N : Nominee

เป็นเรื่องที่คนไทยทั้งประเทศตั้งคำถามกับคำนี้มากที่สุด เพราะก่อนหน้านี้ พี่ชายของเธอเองออกมายอมรับว่า ยิ่งลักษณ์คือโคลนนิ่งของตัวเอง นอกจากนี้ยังเป็นการพิสูจน์ย้ำชัดอีกด้วยการหาเสียงว่า “ทักษิณ” คิด “ยิ่งลักษณ์” ส่งผลให้เธอสลัดคำว่า “นอมินี” ได้ยาก ดูง่ายๆ การจัดโผรัฐบาลส.ส.เพื่อไทยหลายคน ยังต้องบินไปดูไบ เพื่อไปหานายใหญ่ กรณีวิ่งเต้นตำแหน่ง แม้ว่าเธอเองจะให้สัมภาษณ์ว่า 'โผ' รัฐมนตรีอยู่ที่ 'เมืองไทย' แต่ทว่าผลกลับไม่เป็นอย่างนั้น เพราะล่าสุด ดร.วิชิต สุรพงษ์ชัย ซีอีโอแห่งไทยพาณิชย์ ที่ตกปากรับคำเขียนใบลาออกเป็นวรรคเป็นเวร เพื่อไปกินตำแหน่ง รมว.คลัง ดูเศรษฐกิจในฐานะ 'คนนอก' ตามแรงดันของปู แต่ฟาก 'นายใหญ่' เสี่ยดูไบ ยืนยันว่าจะส่ง 'นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล' ไปเสียบตำแหน่งนี้แทน หากเป็นเช่นข่าวลือกันจริงๆ แบบนี้จะไม่เรียกว่า 'นอมินี' แล้วจะเรียกว่าอะไร..?

O : Opportunity

เป็นโอกาสที่คนไทยหยิบยื่นให้ผู้หญิงที่ไม่มีประสบการณ์ทางการเมือง เป็นโชเฟอร์นำรัฐนาวาประเทศไทยก้าวไปข้างหน้า

P :  Policy Pu

กล่าวสำหรับนโยบายสวยหรูที่ว่ากันว่าเป็นสิ่งแรกๆ ที่ทำให้พรรคเพื่อไทยชนะพรรคประชาธิปปัตย์ขาดกระจุย...! โดยยิ่งลักษณ์ได้อธิบายวิสัยทัศน์ 2020 ว่าจะกำจัดความยากจน เธอสัญญาว่าจะลดภาษีเงินได้นิติบุคคลจาก 30% เหลือ 23% และลดถึง 20% ภายในปี พ.ศ. 2556 และเพิ่มอัตราค่าแรงขั้นต่ำเป็น 300 บาทต่อวัน และค่าแรงขั้นต่ำสำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี 15,000 บาทต่อเดือน นโยบายด้านการเกษตรของเธอรวมไปถึงการเพิ่มกระแสเงินสุดจากการดำเนินงาน (Operating Cashflow) ให้แก่ชาวนา และจัดหาเงินกู้ที่สามารถกู้ได้มาที่สุดถึง 70% ของรายได้ที่คาดว่าจะได้รับ โดยอาศัยราคจำนำข้าว 15,000 บาทต่อตัน เธอยังได้วางแผนที่จะจัดเตรียมวายฟายสา ธารณะและแท็บเบล็ดพีซีแก่เด็กนักเรียนทุกคน ซึ่งครั้งหนึ่งพรรคไทยรักไทยมีแผนที่จะทำ แต่ถูกยกเลิกไปเพราะรัฐประหารเมื่อปี พ.ศ. 2549

แต่ทั้งหมดทั้งมวลก็คือ ยังคงถูกสังคมตั้งคำถามย้อนกลับไปด้วยว่า วิมานสวยหรูทั้งหมด ทำได้จริงหรือดีแต่พูดเช่นเคย
Q : Quick

'ควิก' ในที่นี้ ไม่ได้โฆษณาบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปแต่อย่างใด แต่ 'ควิก' นี้ หมายถึงการขึ้นมาเป็นนายกฯหญิงที่รวดเร็ว สื่อไทยและสื่อต่างประเทศต่างก็ตั้งคำถามตรงกัน ถึงเส้นทางที่ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ก้าวเข้ามาในวงการการเมืองไทยนั้น ใช้เวลาเพียง 49 วัน ในการเป็นผู้หญิงธรรมดาๆ คนหนึ่ง ก้าวเข้ามาเป็นนายกรัฐมนตรีผู้หญิงคนแรกของประเทศไทย

คำถามที่สื่อและประชาชนทั้งประเทศสงสัยก็คือ ในสังคมเสือ สิงห์ กระทิง แรด เช่นนี้ นายกฯหญิงจะผ่านไปได้ไหม

R : Red shirt

ถ้าเปรียบเป็น 2 ขา นางธิดา ถาวรเศรษฐ์ คือผู้นำเสื้อแดง “บนท้องถนน” ในห้วงเวลาที่ผ่านมา น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ก็เปรียบเสมือนอีกหนึ่งขาของผู้นำฝั่งเสื้อแดง ที่ “เล่นเกมในสภา” จนในที่สุดผลเลือกตั้งออกมายุทธศาสตร์ 2 ขาของเสื้อแดงในวันนี้ คงไม่ผิดถ้าหากจะบอกว่า ณ วันนี้ประสบความสำเร็จ เพราะแดงคลุมทั้งแผ่นดินจริงๆ

S : Ex-PM Thaksin Shinawatra's sister

น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นน้องสาวของอดีตนายกฯทักษิณ ชินวัตร ที่โดนรัฐประหาร จนต้องระเห็จออกจากพื้นแผ่นดินเกิด ตั้งแต่ 19 ก.ย.2549 เป็นต้นมา

T : Twenty Eighth term in Thailand's Prime Minister

นายกรัฐมนตรี คนที่ 1 พระยามโนปกรณ์นิติธาดา นายก รัฐมนตรี คนที่ 2 พันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน) นายก รัฐมนตรี คนที่ 3 จอมพลแปลก พิบูลสงคราม (แปลก ขีตตะสังคะ) นายก รัฐมนตรี คนที่ 4 พันตรีควง อภัยวงศ์ นายก รัฐมนตรี คนที่ 5 นายทวี บุณยเกตุ นายก รัฐมนตรี คนที่ 6 หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช นายก รัฐมนตรี คนที่ 7 นายปรีดี พนมยงค์ (หลวงประดิษฐ์มนูธรรม)

นายก รัฐมนตรี คนที่ 8 พลเรือตรีถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ (หลวง ธำรงนาวาสวัสดิ์) นายก รัฐมนตรี คนที่ 9 นายพจน์ สารสิน นายก รัฐมนตรี คนที่ 10 จอมพลถนอม กิตติขจร นายก รัฐมนตรี คนที่ 11 จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ นายก รัฐมนตรี คนที่ 12 นายสัญญา ธรรมศักดิ์ นายก รัฐมนตรี คนที่ 13 พลตรีหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช นายก รัฐมนตรี คนที่ 14 นายธานินทร์ กรัยวิเชียร นายก รัฐมนตรี คนที่ 15 พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ นายก รัฐมนตรี คนที่ 16 พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ นายก รัฐมนตรี คนที่ 17 พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ นายก รัฐมนตรี คนที่ 18 นายอานันท์ ปันยารชุน นายก รัฐมนตรี คนที่ 19 พลเอกสุจินดา คราประยูร นายก รัฐมนตรี คนที่ 20 นายชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรี คนที่ 21 นายบรรหาร ศิลปอาชา นายกรัฐมนตรี คนที่ 22 พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ นายกรัฐมนตรี คนที่ 23 พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายก รัฐมนตรี คนที่ 24 พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ นายก รัฐมนตรี คนที่ 25 นายสมัคร สุนทรเวช นายก รัฐมนตรี คนที่ 26 นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรี คนที่ 27 นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และนายกรัฐมนตรี คนที่ 28 ของประเทศไทยชื่อ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
U : USA : United States of America

เรื่องลับๆ นี้แหล่งข่าวทางการทูต “สหรัฐฯ” ออกมาแฉเมื่อวันที่ 9 เดือน 9 ปี 2009 สมพงษ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีรองนายกสมัยพี่ชายเธอ เผยกับ อิริค จอห์น ทูตสหรัฐฯประจำประเทศไทยในขณะนั้นว่า ทักษิณเลือกแล้ว ยิ่งลักษณ์จะเป็นนายกคนต่อไป เรียกได้ว่าประเทศสหรัฐฯรู้ก่อนประชาชนไทยทั้งประเทศว่า นายกฯคนต่อไปของตระกูลนี้คือ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร น้องสาวที่ทักษิณระบุว่า โคลนนิ่งเขามา

V : Vote / Victory

ถ้ารัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชาชีวะ โดนกล่าวหาว่าจัดตั้งลัดมาจากการเลือกตั้ง จนได้รับชัยชนะท่วมท้น รัฐบาลเพื่อไทยก็ถือว่าเป็นรัฐบาลล่าสุด ที่ได้รับฉันทามติจากประชาชนทั้งประเทศ ชนะการเลือกตั้งและเป็นผู้ชนะเหนือพรรคประชาธิปปัตย์

W : Working Women

ในวงการการเมือง เธออาจจะเบบี้ แต่ในวงการธุรกิจ ยิ่งลักษณ์ถือว่าประสบความสำเร็จมากมาย เธอเริ่มทำงานเมื่อปี พ.ศ. 2534 บริษัท ชินวัตร ไดเร็กทอรี่ส์ จำกัด (ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็นบริษัทเทเลอินโฟ มีเดีย จำกัด มหาชน) ซึ่งเป็นธุรกิจสื่อสิ่งพิมพ์ฐานข้อมูลและการสื่อสาร ในตำแหน่งพนักงานฝึกหัดด้านการตลาดและการขาย หลังจากก็เลื่อนตำแหน่งเป็นผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ และเลื่อนขั้นมาเป็นผู้อำนวยการฝ่ายผลิตในเวลาต่อมา

พ.ศ.2537 ดำรงผู้จัดการทั่วไปของบริษัทโฆษณา เรนโบว์ มีเดีย ซึ่งเดิมเป็นแผนกงานหนึ่งของบริษัท ไอบีซี อินเตอร์เนชั่นแนล บรอดคาสติ้ง คอร์ปอเรชั่น หรือ ทรูวิชั่นส์ ในปัจจุบัน ตำแหน่งสุดท้าย ก่อนลาออกจากบริษัทไอบีซีฯ คือตำแหน่งรองกรรมการผู้อำนวยการ ปี พ.ศ. 2545 เข้าสู่แวดวงธุรกิจเครือข่ายโทรศัพท์และการสื่อสาร ดำรงตำแหน่งกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ และรองกรรมการผู้อำนวยการสายงานตลาด บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) และได้ขึ้นดำรงตำแหน่งประธานกรรมการบริหารบริษัท เป็นตำแหน่งสุดท้ายหลังจากตระกูลชินวัตรและดามาพงศ์ขายหุ้นกลุ่มบริษัทชินคอร์ปให้แก่เทมาเส็ก ปูลาออกจากตำแหน่งในเอไอเอส โดยก่อนหน้านั้นเธอได้ขายหุ้นที่ถืออยู่ในมือทั้งหมดตั้งแต่ปลาย พ.ศ. 2548 เพื่อบริหารธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ คือบริษัท เอสซี แอสเสท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ดำรงตำแหน่งประธานกรรมการบริหาร และยังดำรงตำแหน่งกรรมการและเลขานุการมูลนิธิไทยคม และเคยดำรงตำแหน่งกรรมการบริหารของสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ ซิตี อีกด้วย

ซึ่งเมื่อไล่เรียงออกมา เช่นเคย น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ไม่เคยมีประสบการณ์เล่นการเมืองเลย...!

X : Generation - X

เจเนอเรชั่น เอ็กซ์ หมายถึง คนที่เกิดตั้งแต่ครึ่งหลังของทศวรรษ 1960 ตั้งแต่ปี 1965 เป็นต้นไปจนถึงปลายทศวรรษ 1970 โดย ปู-ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เกิดเมื่อปีค.ศ. 1967 นอกจากนี้ยังมีผู้นำประเทศมากความสามราถ ที่เกิดมาในยุค Generation – X ด้วยเช่นกัน ได้แก่ นายกรัฐมนตรีของประเทศอังกฤษ เดวิด คาเมรอน ผู้เกิดเมื่อปี ค.ศ. 1966 เป็นต้น
Y : Yindi Ramingwong  (อ่านว่า "ยินดี ระมิงวงศ์")

นายเลิศ ชินวัตร บิดาของน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร แต่งงานกับ น.ส.ยินดี ชินวัตร (หรือนามสกุลเดิม ระมิงวงศ์) ซึ่งเป็นธิดาในเจ้าหญิงจันทร์ทิพย์ (ณ เชียงใหม่) ระมิงวงศ์ (วิกิพีเดีย)

Z : Zigzag

ได้รับการขนานนามตลอดการเดินทางหาเสียงและออกรายการทีวีว่า เป็นผู้ท้าชิงตำแหน่งนายกฯ ที่ตอบคำถามได้คลุมเครือมากที่สุดคนหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการนิรโทรกรรมของพี่ชาย เรื่องไม่จดทะเบียนสมรส เรื่องชี้แจงคำให้การต่อศาลกรณีซุกหุ้นของพี่ชาย จนมีหลายฝ่ายจ้องจะใช้เหตุผลเหล่านี้ เตะ "สกัด" และ "โค่น" ล้มตั้งแต่เธอยังไม่ได้บริหารประเทศเลย...!

เหนืออื่นใดความหมายผูกโยง A-Z ทั้งหมด จะเป็นจริงได้หรือไหม หรือนโยบายสร้างฝันของพรรคเพื่อไทยจะทำได้จริงหรือไม่ อีกไม่นานเราคงจะได้เหตุฝีมือของเธอ (และพี่ชาย)


ไทยรัฐออนไลน์


ที่มา: ไทยรัฐ

ชนชั้นกลางกับสถานะพลังทางสังคมยุคใหม่

สิบสงสัย ๔/ใครคือชนชั้นกรรมาชีพยุคใหม่?
ชนชั้นกลางกับสถานะพลังทางสังคมยุคใหม่

     โดย Tan Rasana       

        หลังการปฏิวัติเทคโนโลยีสารสนเทศ เครือข่ายโลกาภิวัตน์ได้สยายปีกการควบคุมระบบสังคมโลกทั้งระบบ ตั้งแต่เศรษฐกิจ การเมือง สังคมและวัฒนธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อทุนนิยมก้าวเข้ามาถึงจุดหนึ่งที่สถาบันเงินและอุตสาหกรรมการเงินมี อำนาจผูกขาดเป็นจักรพรรดิแห่งทุนเหนือธุรกิจอุตสาหกรรมภาคการผลิตจริงอื่นใด ทั้งหมด การแปรเปลี่ยนรูปแบบการขูดรีดครั้งมโหฬารได้เกิดขึ้นในรูปของดอกเบี้ยและการ เก็งกำไร  ชั้นชนในสังคมตั้งแต่ กรรมกร ชาวนา นายทุนน้อย ถูกหลอมรวมกันเป็นชนชั้นเดียวคือชั้นที่ถูกขูดรีดในลักษณาการเดียวกัน  การขูดรีดแบบศักดินาเก็บกินค่าเช่านาได้หายไปจากของสังคมไทย การขูดรีดแรงงานในโรงงานแบบเก่าค่อยๆเลือนหายไป การปรากฏตัวของชนชั้นกรรมาชีพยุคใหม่ที่ไม่ได้ทำงานเฉพาะในโรงงาน หากพวกเขาขายทั้งแรงงานกายแรงงานสมอง เพื่อปลดโซ่ตรวนของหนี้สินอันเกิดขึ้นจากนวัตกรรมทางการเงินระบบสินเชื่อ เครดิตและการเช่าซื้อ ในตลาดแรงงานทุกที่ที่มีบรรษัท บริษัท โรงงานขนาดใหญ่ ขนาดกลางและขนาดเล็ก แม้กระทั่งในภาคเกษตรกรรมเอง ทุนผูกขาดภาคการเกษตรขนาดใหญ่ก็ได้ใช้รูปแบบวิธีการดังกล่าวเช่นกัน การคุกคามของทุนอุตสาหกรรมการเกษตรระดับโลกต่อเกษตรกรรายย่อยในประเทศยากจน เริ่มมีแนวโน้มรุนแรงขึ้น โดยอาศัยเทคโนโลยีชีวภาพ ทำให้เกษตรกรต้องพึ่งพาแหล่งเงินทุน แหล่งพันธุกรรมพืชและสัตว์จากทุนผูกขาดขนาดใหญ่ที่มีลักษณะข้ามชาติ
          ชนชั้นกลางเป็นชนชั้นปริศนาของนักติดทางสังคมมาเนิ่นนาน ไม่เคยมีคำจำกัดความที่ตายตัวลงไปสำหรับชนชั้นนี้ว่า พวกเขาดำรงสถานะอย่างไร กุมการผลิตได้สัดส่วนเท่าไหร่ หรือถือใบหุ้นเอาไว้กี่ใบ ทฤษฎีการปฏิวัติแบบเดิมๆเรียกชนชั้นนี้ว่า ชนชั้นนายทุนน้อย ท่าทีทางการเมืองก็คือ โลเล เสรี เย่อหยิ่ง ไม่จำเป็นต้องวิเคราะห์ก็พอจะรู้ว่า นี่คือมโนทัศน์ของการปฏิวัติประเทศจีนที่มีต่อชนชั้นกลาง  ชนชั้นกลางเติบโตจากชนชั้นโดยตนขึ้นเป็นชนชั้นเพื่อตนหลังการปฏิวัติ อุตสาหกรรมครั้งที่หนึ่ง และมีลักษณะพิเศษทางสังคมที่แตกต่างจากชนชั้นกรรมกร ชนชั้นชาวนา เนื่องจากพวกเขาเป็นส่วนกลางของสังคม จำนวนของชนชั้นกลางจึงมีมากที่สุดในสังคม(ภายหลังเริ่มมีแนวคิดว่าด้วยการ หายตัวไปของชนชั้นกลาง) ถ้าหากอ้างอิงทฤษฎีสีวัตถุธาตุเอาแค่เพียงให้เกิดมโนภาพชนชั้นกลาง การประสมสีตรงกันข้าม(true contrast)ในสัดส่วนที่เท่ากันหรือมากน้อยต่างกัน สีที่ได้มาใหม่ก็คือสีกลางหรือสีเทา(gray) หากนำมาเปรียบเทียบกับวิทยาศาสตร์สังคม ชนชั้นกลางคือชนชั้นที่อยู่ระหว่างชนชั้นสูง(ผู้กุมปัจจัยการผลิต)กับคนชั้น ล่าง(ผู้ขายแรงงาน)พวกเขาก็มีสถานะเหมือนกับอยู่ในพื้นที่สีกลางหรือสีเทา ชนชั้นกลางมักจะถูกกล่าวหาจากท่าทีทางการเมืองของเขาว่า เป็นพวกทำอะไรครึ่งๆกลางๆอันเนื่องมาจากสถานะที่มือก็เอื้อมไม่ถึงฟ้า ตีนก็ไม่ติดดิน แต่นี่เป็นคำถากถางที่ชนชั้นกลางผู้เป็นปัญญาชนไม่อาจรับได้
        อย่างไรก็ตาม มีแนวคิดเกี่ยวกับคนชั้นกลางที่น่าสนใจของนักคิดสังคมนิยมใหม่หรือแนว มาร์กซิสต์ใหม่ อยู่สี่แนวคิดก็คือ แนวคิดของแนวคิดของคอมมิวนิสต์ฝรั่งเศส ยุคทศวรรษที่ ๑๙๗๐ ที่เชื่อว่า ในสังคมสมัยใหม่จะมีชนชั้นอยู่สองชนชั้นเท่านั้น(ไม่มีชนชั้นกลาง)นั่นก็คือ ชนชั้นผูกขาด(นายทุน-นักบริหารระดับสูง)และชนชั้นกรรมาชีพอุตสาหกรรม แนวคิดนี้นับรวมบรรดามืออาชีพผู้บริหารระดับสูงเข้าไปเป็นชนชั้นนายทุนด้วย
        แนวคิดที่สอง เป็นแบบจำลองของ Erik Olin Wright  ที่ว่า สังคมสมัยใหม่ประกอบไปด้วยสองชนชั้นใหญ่(ทุนกับแรงงาน) ในขณะเดียวกันก็มีชนอีกกลุ่มที่อยู่ระหว่างกลางหลายกลุ่ม ซึ่งส่วนหนึ่งจะผูกพันกับนายทุนและอีกส่วนหนึ่งจะมีชีวิตที่ตกตำอยู่กับแรง งาน และยังมีอีกส่วนหนึ่งที่ดำรงชีวิตได้อย่างอิสระ เช่นนายทุนน้อย นักธุรกิจขนาดเล็ก ฯลฯ แต่แนวคิดนี้ยังยึดถือโครงสร้างสองชนชั้นเป็นหลักในการวิเคราะห์คือนายทุน กับแรงงาน
        แนวคิดที่สาม เป็นแบบจำลองของ Harry Braverman  (ค.ศ. ๑๙๗๔)ซึ่งมีความเห็นว่า ในยุคทุนนิยมผูกขาด ทุนได้แผ่อิทธิพลเข้าไปในกิจกรรมของการค้า การบริการและงานอาชีพของ คนงานคอปกขาว ((white collar)หลายๆประเภท ในขณะเดียวกัน การจัดระบบงานแบบใหม่และคอมพิวเตอร์มากขึ้นได้ส่งผลกระทบต่อแรงงานที่มีความ รู้เป็นอย่างมาก เพราะความรู้ความชำนาญที่เคยรำเรียนและฝึกฝนมาไม่สอดคล้องกับมาตรฐานงานใหม่ เสียแล้ว ด้วยเหตุนี้ “ชนช้นกลางรุ่นใหม่”ซึ่งเป็นแรงงานคอปกขาว จึงแปรสภาพไปเป็นแรงงานชนขั้นกรรมาชีพแบบใหม่ ภาวะแรงงานแบบ ต่ำกว่าเกณฑ์Unqualified หรือ สูงกว่าเกณฑ์ Overqualified เช่นนี้มีผลให้แรงงานที่มีการศึกษาหลายประเภทมีเงินเดือนและรายได้ต่ำกว่า แรงงานฝีมือของชนชั้นกรรมาชีพเสียอีก ในโลกสมัยใหม่จึงเป็นการไม่เหมาะสมแล้วที่จะแยกระหว่างการใช้แรงงานกายและ แรงงานสมอง
        แนวคิดของกลุ่มนี้เน้นสิ่งที่เรียกว่า proletarianization of labor power ของกลุ่มชนที่อยู่ตรงกลาง(ทุนกับแรงงาน)ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่ต้องอาศัยคน กลุ่มใหม่หรือแรงงานชนิดใหม่ๆที่เข้าใจเทคโนโลยีเพื่อประสิทธิภาพของการสะสม ทุนและธำรงรักษาระบบทุน
        แนวคิดสุดท้ายให้ความสำคัญอย่างสูงกับ “ชนชั้นกลาง”ซึ่งเป็นชนชั้นที่มีเอกลักษณ์ของตัวเอง ตัวอย่างที่ดีก็คือแนวคิดของ Poulantzas ซึ่งย้ำว่า เป็นไปไม่ได้ที่จะบอกว่ากลุ่มคนที่อยู่ระหว่างกลางได้อยู่ในโครงสร้างชนชั้น แรงงารนที่เรียกว่า แรงงานคอปกขาวไม้ได้สังกัดทั้งชนชั้นนายทุนและชนชั้นแรงงาน พวกเขาคือชนชั้นกลางอย่างแท้จริง Nicos Poulantzas  ใช้คำว่า New Petty Buorgeoisie หรือพวกชั้นกลางที่เกิดใหม่ ชนชั้นนี้มีลักษณะสำคัญ ๓ ประการคือ
        ทางด้านเศรษฐกิจ พวกเขาถูกแยกออกจากความเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตและพวกเขาก็ไม่ใช่แรงงานที่ทำการผลิตด้วย
        ทางด้านการเมือง พวกเขามีอำนาจควบคุมดูแลแรงงานที่ทำการผลิต
        ทางด้านอุดมการณ์ พวกเขามีอำนาจผูกขาดความรู้เกี่ยวกับระบบการทำงานของเศรษฐกิจและแรงงาน
        สรุปแล้ว ชนชั้นกลางก็คือกลุ่มชนทุกอาชีพที่ไม่ได้ทำการผลิด(แรงงานกาย)ใช้แต่ความคิด และมีหน้าที่ดูแลกำกับควบคุม หน้าที่หลักคือเป็นคนกลางในการสร้างความชอบธรรมของระบบทุนนิยมทางด้านการ เมืองและอุดมการณ์(อ่านทฤษฎีชนชั้นกลาง ปรีชา เปี่ยมพงศ์สานต์ หนังสือชนชั้นกลางบนกระแสประชาธิปไตยไทย)
        ในโลกยุคหลังการปฏิวัติเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ด้านหนึ่งการรวมศูนย์กำไรและการผูกขาดทำให้ชนชั้นนายทุนผู้ด้อยสมรรถภาพ ในการแข่งขันล้มละลายและค่อยๆสลายตัวลงมาเป็นชนชั้นกลางอย่างต่อเนื่องแล้ว เทคโนโลยียุคใหม่ที่เครื่องยนต์กลไกและคอมพิวเตอร์ได้เข้าไปเบียดขับกรรมกร ผู้ด้อยทักษะออกจากโรงงาน พวกเขาต้องเร่งออกมาเพิ่มพูนทักษะให้กับตนเอง ด้วยการส่งลูกหลานเข้าเรียนหลักสูตรบริหารและการบัญชี เพื่อมุ่งเข้าสู่อุตสาหกรรมบริการ และทำให้แรงงานเกิดใหม่เหล่านี้ถูกดูดดึงเข้าสู่อุตสาหกรรมบริการที่เติบโต ขึ้นรองรับการขยายตัวอย่างไร้ขีดจำกัดของการแข่งขัน นัยหนึ่ง-อุตสาหกรรมบริการเช่นการบริการด้านธุรกรรมทางการเงิน ไฟแนนซ์และลิสซิ่ง บริการแรงงานรับจ้างในห้างสรรพสินค้า บริการแรงงานเพื่อการสื่อสารคมนาคมและขนส่ง บริการงานโฆษณาประชาสัมพันธ์เพื่อการกระตุ้นยอดขาย ฯลฯ ได้ช่วยให้การเติบโตของทุนนิยมเป็นไปอย่างต่อเนื่อง แต่นัยที่สำคัญคือ มันได้ช่วยปรับสมดุลระหว่างผลผลิตที่ล้นเกินด้วยการกระตุ้นความต้องการส่วน เกินของสังคมอย่างหนักหน่วงให้สามารถรองรับผลผลิตล้นเกินจำนวนมหาศาลเอาไว้ ให้ได้ อุตสาหกรรมบริการกลายเป็นเสาเอกต้นใหม่ที่เข้าไปเสริมทดแทนเสาเอกเดิมที่นำ มาซึ่งกำไรคือการขูดรีดแรงงานส่วนเกินและการทุ่มทำตลาดและขายผลผลิตที่มี ลักษณะอนาธิปไตย ที่จะนำหายนะมาสู่ระบบทุนโดยรวม
        กรรมกรที่ออกจากโรงงานมาผู้ชายผูกเนคไทผู้หญิงใส่สูทเหล่านี้เป็นกองทัพชน ชั้นกรรมาชีพใหม่ที่อยู่ในห้างสรรพสินค้า(Modern Trade Industry)และหน่วยบริการต่างๆทั้งภาครัฐและเอกชนถูกยกฐานะจากชนชั้นกรรมกรไป เป็นชนชั้นกลางด้วยภาระหน้าที่และแรงจูงใจโดยวัฒนธรรมหน้าที่ที่พวกเขา ปฏิบัติอยู่ พวกเขาต้องฝึกทักษะในการให้บริการ ฝึกภาษาพูดที่นอบน้อมแต่เต็มไปด้วยการกระตุ้นเร้าให้เกิดการบริโภคเพียงแค่ มีผู้คนเดินผ่านหรือเพียงได้ยินสัญญาณการเปิดประตูร้านค้าหรือแม้กระทั่ง แสดงเจตนาจะเก็บเงินทอนเอาไว้โดยแลกกับสินค้าอื่นๆที่ลูกค้าไม่ต้องการในนาม ของการบริการ
        แรงงานส่วนเกินส่วนหนึ่งของกรรมกรในโรงงานถูกทดแทนด้วยเครื่องจักรและ คอมพิวเตอร์ ส่วนใหญ่ที่เหลือของพวกเขาก็คือแรงงานที่เต็มไปด้วยทักษะและได้รับการแบ่ง ปันหุ้นให้ดูเสมือนว่าเป็นเจ้าของร่วม อันเป็นการเพิ่มขวัญกำลังใจให้เขารับใช้ระบบด้วยจิตสำนึกของความเป็นเจ้าของ
การ มีและดำรงอยู่ของตลาดหุ้น/ตลาดทุนเป็นนวัตกรรมใหม่ของประเด็นความสัมพันธ์ ทางการผลิต ทำให้กรรมาชีพผู้ขายแรงงานกลายเป็นผู้มีสมบัติในรูปใบหุ้น แต่ขาดการตระหนักว่าหุ้นที่กระจัดกระจายอยู่ในพวกเขาเหล่าแมลงเม่านั้นเป็น พื้นที่หรือหน่วยกระจายความเสี่ยง และอำพรางวิธีการขูดรีดที่ซับซ้อนขึ้น อีกนัยหนึ่ง มันได้ลดการเผชิญหน้าระหว่างเจ้าของปัจจัยการผลิตที่แท้กับแรงงานในรูปความ สัมพันธ์ทางการผลิตที่เอารัดเอาเปรียบแบบเดิมลงไป เป็นการผ่อนคลายความขัดแย้งระหว่างด้านตรงข้ามทั้งสองให้ยังคงตรึงเอาไว้ อยู่ในด้านที่พึ่งพามากกว่าด้านที่ขัดแย้งกัน ยืดระยะเวลาการดำรงอยู่ของระบบทุนออกไปดูคล้ายไม่สิ้นสุด
        กรรมาชีพหรือชนชั้นผู้ไร้สมบัติในความหมายเดิม ถูกทำให้มี “สมบัติเสมือน”ในโลกเสมือนจริงของระบบทุนดิจิทัล เพียงแต่สมบัติที่ตนเองได้รับมาใหม่นั้น ไม่ใช่ปัจจัยการผลิตที่แท้จริง เพราะปัจจัยการผลิตจริงอันได้แก่โรงงาน(ผู้ควบคุมโรงงาน)ปัจจัยการผลิต(ผู้ ควบคุมปัจจัยการผลิต)ก็คือระบบการบริหารจัดการ นโยบายและกำไรสุทธิของบริษัทที่กรรมาชีพใหม่ได้ปันผลมาอย่างกระเส็นกระสาย ในยุคนี้เงินได้กลายมาเป็นปัจจัยการผลิตเป็นเครื่องจักรเสมือน อำนาจเงินก็คืออำนาจที่ใหญ่ที่สุดและก็คือผู้เป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตที่ แท้จริง
        หากใช้หลักคิด “วิภาษวิธีของแรงงาน”น่าจะทำให้เราค้นคว้าหาความสัมพันธ์ระหว่างแรงงานกาย กับแรงงานสมองได้ว่า แรงงานทั้งสองไม่สามารถแบ่งตัดกันได้อย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด ผู้มีอาชีพใช้แรงงานสมองเป็นหลักก็ย่อมต้องมีแรงงานกายจำนวนที่แน่นอนรองรับ เช่นเดียวกันผู้ใช้แรงงานกาย หากไม่มีแรงงานสมองๆรองรับก็ไม่ต่างจากเครื่องจักร จากข้อคิดนี้ อาจจะสร้างโมเดลชนชั้นกลางขึ้นมาได้ดังนี้
          การจัดแบ่งสถานการณ์ใช้แรงงานระดับสูง(A)ที่ใช้แรงงานสมองถึงร้อยละ ๗๐-๘๐ จะเป็นแรงงานชั้นสูง แรงงานเหล่านี้คือผู้มีอาชีพรับจ้างระดับผู้บริหาร(อาชีพ)ที่ขายความรู้ การตัดสินใจและไม่ใช่เจ้าของปัจจัยการผลิต แรงงานระดับนี้หากจะเรียกว่าเป็นกรรมาชีพใหม่ก็ย่อมได้ แต่พวกเขาผูกติดกับระบบ เป็นกำลังสำคัญในการสร้างและทำให้ระบบทุนเดินไปข้างหน้าได้ ท่าทีทางการเมืองของเขาก็คือท่าทีที่ไร้สำนึกทางชนชั้น เพราะผลประโยชน์ที่เขาได้รับจากระบบนั้นเพียงพอและเหลือเฟือ ชนชั้นกลางระดับสูงเหล่านี้จะกลายเป็นมาตรฐานของชนชั้นกลางใหม่ เป็นต้นฉบับเป็น ตัวอย่าง(Idol)ให้กับชนชั้นกลางทั่วไปที่มีค่าตัวแพงสำหรับระบบทุน
        ชนชั้นกลาง-กลาง (B)จะมีทวิลักษณะที่ตัดกันรุนแรงและพร้อมที่จะเลือกข้างใดข้างหนึ่งที่ตนเอง ได้รับประโยชน์สูงสุด ในสถานการณ์ที่บนหรือล่างแปรเปลี่ยนไปสู่กันและกัน ระดับนี้เองที่ถูกกระทบกระเทียบด้วยวลีที่ว่า โลเล เสรี เย่อหยิ่ง
        ชนชั้นกลาง-ล่าง(C) ระดับนี้ใช้แรงงานกายเป็นหลัก แรงงานระดับนี้เป็นแรงงานที่เครื่องจักรทดแทนไม่ได้ เพราะจำเป็นต้องใช้ฝีมือหรือการตัดสินใจของมนุษย์เข้าไปเกี่ยวข้องด้วย ชนชั้นนี้ก็คือชนชั้นแรงงานแบบดั้งเดิม เป็นกรรมาชีพดั้งเดิม แต่ภายหลังมักถูกหล่อหลอมด้วยวัฒนธรรมใหม่ๆจากนอกโรงงาน วิถีชีวิตที่เปลี่ยนไปในระบบทุน อุตสาหกรรมการเงินทีเข้าไปมีส่วนในชีวิตแรงงานประจำผู้มีรายได้ต่ำแต่มั่นคง เหล่านี้ จะเป็นตลาดใหญ่ของบัตรเครดิตและการขูดรีดแบบเช่าซื้อหลังจากถูกขูดรีดในโรง งาน ด้วยระบบดอกเบี้ยที่เป็นการขูดรีดจากในอนาคต เป็นชนชั้นที่ถูกขูดรีดซ้ำที่หนักหน่วงที่สุด มีสถิติหนี้เสียในอุตสาหกรรมการเงิน คนเหล่านี้มีหนี้เสียเรื่องบัตรเครดิตน้อยที่สุด เพราะต้องรักษาความมั่งคงของตัวเองที่ถูกผูกติดกับเครื่องจักรเอาไว้ เคยมีปรากฏการณ์การประท้วงของแรงงานเหล่านี้เพราะต้องการให้เพิ่มเวลาการทำ งาน(Over Time)ให้มากขึ้นเพื่อรายได้ที่มากขึ้นจากค่าใช้จ่ายที่หยิบยืมจากอนาคตในรูป แบบของสัญญาเช่าซื้อ
                กล่าวโดยสรุป ชนชั้นกลางนับลงมาตั้งแต่กลาง-กลางจะมีแนวโน้มสลายตัวลงมาเป็นชนชั้น กลาง-ล่าง และหลอมไหลเข้ากับกรรมาชีพแบบดั้งเดิมที่ยังตกค้างอยู่ในสังคมประเทศกำลัง พัฒนาซึ่งถูกรูปแบบการถูกขูดรีดที่ซ้ำซ้อนจากในโรงงานสู่นอกโรงงาน จากปัจจุบันสู่การขูดรีดจากอนาคต จากการขูดรีดแรงงานส่วนเกินสู่การขูดรีดความต้องการส่วนเกิน ด้วยกลไกทางการเงินและดอกเบี้ย ชนชั้นกรรมาชีพใหม่เหล่านี้จะมีพลังพิเศษอันน่าสนใจก็คือ พวกเขาอยู่กับเทคโนโลยี มีความรู้ความสามารถในการใช้พลังสื่อและการสื่อสารที่เป็นอาวุธของการต่อสู้ ทางชนชั้นยุคใหม่  พวกเขาจะมีบทบาทเป็นกองหน้าที่ตื่นรู้ ของกรรมาชีพใหม่และเก่าทั้งชนชั้นที่ยังหลับใหลจากการถูกมอมเมาทางวัฒนธรรม ของทุนอันเนื่องมาจากปรีชาญาณของพวกเขา.





 


/การขูดรีดโลกยุคใหม่เป็นอย่างไร?

จากจำเป็นต้องกิน จำเป็นต้องใช้สู่จำเป็นต้องมี การสูบกินผ่านความสมัครใจ
     
          นักคิดของระบบทุนนิยมสร้างกลไกทางจิตวิญญาณขึ้นมากระตุ้นการบริโภค เพื่อรองรับการผลิตที่ล้นเกินอันเนื่องมาจากการแข่งขันผลิตจนเกินความต้อง การจริงของตลาด (Over Supply)ทำให้การบริโภคเป็นการบริโภคเชิงสัญญะ เพื่อสร้างตลาดใหม่ที่มอมเมาขึ้นดูดซับเอาสิ่งล้นเกิน เป็นการข้ามยุคจากการขูดรีดมูลค่าส่วนเกินของแรงงาน มาสู่ยุคของการสูบกินความต้องการส่วนเกินของผู้บริโภค คือจาก “ความจำเป็นต้องกิน จำเป็นต้องใช้สู่จำเป็นต้องมี”
        ฌอง โบดริยาร์ด (Jean Baudrillard)* เป็นนักคิดวิพากษ์สังคมบริโภคนิยมที่มีพื้นฐานมาจากการศึกษาแนวคิดมาร์กซและ เองเกลส์และความเป็นนักสังคมวิทยา เขาเป็นนักคิดรุ่นใหม่ที่ให้ความสำคัญกับผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้มีความหมายเพียง สินค้า หากแต่มุ่งค้นคว้า “นัยยะ”หรือ “สัญญะ”ที่ซ่อนอยู่ในตัวผลิตภัณฑ์ ที่ทำให้ผู้คนบริโภคโดยมีเหตุผลการตัดสินใจอื่นๆที่ไม่ได้เป็นแค่เพียงความ จำเป็นต้องกินจำเป็นต้องใช้
         โบดริยาร์ดมองเห็นว่าการบริโภคในปัจจุบันไม่ใช่การบริโภคเพื่อสนองตอบความ จำเป็นขั้นพื้นฐาน หรือการใช้ประโยชน์โดยตรงจากสินค้าอีกต่อไป หากแต่กลายเป็นการบริโภคเชิงความหมาย หรือที่เรียกว่า “การบริโภคเชิงสัญญะ” (consumption of sign) สำหรับเขาแล้ว สัญญะทำหน้าที่เป็นตัวแทนของสิ่งอื่นปฏิบัติหน้าที่แทนสิ่งอื่นที่ขาดหายไป ดังนั้นสิ่งของต่างๆไม่ได้มีคุณค่าในตัวเอง แต่ถูกกำหนดให้เป็นส่วนประกอบในการสร้างบรรยากาศของระบบคุณค่าระบบใดระบบ หนึ่ง ที่ดำรงอยู่มากมายในสังคม
        ฌอง โบดริยาร์ดมองเห็นว่า ในสังคมแห่งการบริโภค ที่เต็มไปด้วยการบริโภคเชิงสัญญะนั้น ตัวสินค้าได้ถูกเปลี่ยนไปเป็นสัญญะก่อนที่จะถูกบริโภค การกลายเป็นสัญญะของสินค้ากระทำได้หลากหลาย ทั้งการจัดวาง การกำหนดราคา การตกแต่งสถานที่ขาย การใส่ยี่ห้อ การออกแบบหีบห่อ และที่สำคัญการโฆษณาที่ประกอบด้วยการใส่รหัสต่างๆ เข้าไปมากมาย ซึ่งรหัสเหล่านั้นต่างมีลำดับชั้นที่จะมากำหนดและจัดระเบียบให้กับสินค้า โดยเป็นลำดับชั้นที่สอดคล้องกับโครงสร้างการจัดระเบียบทางชนชั้นของสังคม ด้วยเหตุนี้ผู้คนจึงรับรู้ตำแหน่งแห่งที่ของตนในโครงสร้างทางสังคม จากลำดับชั้นของสินค้าที่เขาต่างบริโภคกันในชีวิตประจำวัน
        ปรากฏการณ์ทางวัฒนธรรมที่กำลังเกิดขึ้นกับสินค้า ผู้บริโภคและวัฒนธรรมการบริโภคในสังคมปัจจุบันจึงเป็นการบริโภคเชิงสัญญะ (consumption of sign) ที่สนองตอบความหมายบางอย่างที่ถูกสร้างขึ้น  และความต้องการความหมายแตกต่างจากผู้อื่น ภาพของสังคมแห่งการบริโภคของโบดริยาร์ดเต็มไปด้วยมนุษย์ที่ถูกมอมเมาในสัญญะ ภายใต้การมุ่ง เน้นและแสวงหาความต่าง มนุษย์จะอยู่ท่ามกลางระบบคุณค่ามากมายที่สร้างสรรค์ค่านิยมหลากหลายเป็นสัญ ญะให้มนุษย์บริโภค ลักษณะสำคัญของสังคมบริโภคนิยม คือ สินค้าสัญญะมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วผ่านความหมายใหม่ๆ ที่ถูกสร้างขึ้นอย่างเร่งรีบ รวมทั้งแบบรักษากฏเกณฑ์ทางวัฒนธรรม สมาชิกในแต่ละกลุ่มวัฒนธรรมต่างต้อง “เรียนรู้” กฎเกณฑ์เหล่านี้ผ่านทางสัญญะในวัฒนธรรมการบริโภค เพราะนอกจากสัญญะในตัวสินค้าจะมีมากมายแล้ว ความต้องการเชิงสัญญะยังถูกปรุงแต่งขึ้นอีก กล่าวคือเป็นความต้องการใช้สินค้า
        อีกนัยหนึ่ง การผลิตสินค้าในปัจจุบันมักให้ความสำคัญกับการเติม “มูลค่าเพิ่ม”( Value Added) ให้กับสินค้าที่สามารถตอบสนองอารมณ์ความรู้สึกของผู้บริโภค ทำให้ได้กำไรและเพิ่มยอดขายได้มากกว่าความจำเป็นต้องกินต้องใช้ที่เป็นความ ต้องการพื้นฐาน
        ทีวีจอแบนหน้ากว้างสี่สิบนิ้ว ย่อมกระตุ้นให้การความอยากได้ใคร่มีมากกว่าจอยี่สิบนิ้วหลังนูนแบบเดิมๆ ทั้งๆที่รายการผังรายการเป็นทีวียังแสดงออกถึงการเป็น “กล่องงี่เง่า”( Idiod Boxes) มีรายการละครน้ำเน่าโปรแกรมเดียวกันอยู่เช่นเดิม รถยนต์ขับเคลื่อนสี่ล้อแบบใหม่ที่ไม่เคยได้ใช้เกียร์ที่ออกแบบมาให้ล้อทำงาน ครบทั้งสี่ล้อเพราะสภาพถนนที่ราบเรียบ ย่อมดึงดูดใจนักขับได้ดีกว่ารถขับเคลื่อนสี่ล้อแบบเดิมๆ  โทรศัพท์มือถือที่ทำได้สารพัดอย่างเช่นไอแพด ไอโฟนย่อมเร้าใจวัยรุ่นได้มากกว่าโทรศัพท์ที่มีกลไกแบบธรรมดาๆและทำให้คนถึง กับขายไตข้างหนึ่งเพื่อซื้อมาใช้ เด็กวัยรุ่นถึงกับขายตัวแลกกับมือถือเพียงเครื่องเดียว สินค้าที่เรียกว่า consumer product อื่นๆกระหน่ำโฆษณากรอกหูวัยเยาว์ที่มีรายได้มาจากการแบมือขอ ครีมรักแร้ขาว ครีมผิวกระจ่างใส ครีมหน้าเด้ง ครีมอกตูม ยาสระผมที่ทำให้ผมเด้งได้ เมื่อสระผมแล้วก็ต้องพยายามเปลี่ยนแปลงยีนส์ของตัวเองด้วยการไปทำ “ไฮไลท์”สีผมแบบที่บรรพบุรษถ้าได้เห็นคนต้องทึ่ง ชาเขียวมหัศจรรย์ น้ำปั่นสารพัดประโยชน์ ยาลดน้ำหนักที่ทำให้รูปร่างผอมแห้งเหมือนไม้เสียบผีเลียนแบบดาราฯลฯ
          วัฒนธรรมไม่เพียงแต่ทำให้ความหมายของสินค้าเปลี่ยนแปลงไปแล้วจากยุคก่อนๆ มันยังได้สร้างระบบขูดรีดแบบใหม่ขึ้นมาพร้อมกันด้วย นั่นก็คือการขูดรีดและการถูกเอารัดเอาเปรียบแบบสมยอม (Exploit by  Consent)
        ฌอง โบดริยาร์ด ได้ให้ความหมายใหม่ของสินค้าแตกต่างจากที่มาร์กซกล่าวเอาไว้ เขาไม่ได้เน้นความสำคัญที่ตัวสินค้าโดยตรง แต่เขาให้ความสำคัญกับการเป็นอยู่ของมันเพื่อการบริโภคมากกว่า ซึ่งภายหลังทำให้เขามีความสัมพันธ์อย่างอิสระทางความคิดจากทั้งมาร์กซ และแนวคิดเก่าๆแบบอดัม สมิธ
        เขากล่าวว่าสินค้าจะแสดงออกถึงมูลค่าของมันดังนี้คือ
        ๑.มูลค่าของการใช้งาน เช่น ปากกามีไว้เพื่อเขียน ตู้เย็นมีเอาไว้เพื่อทำความเย็น นี่นับเป็นมูลค่าพื้นฐานคือมูลค่าในการใช้ประโยชน์จริงของมัน     
         ๒.มูลค่าของการแลกเปลี่ยน ปากกาด้านหนึ่งอาจจะแลกดินสอได้สามเล่ม ตู้เย็นใบหนึ่งอาจแทนค่าแรงงานคนได้ถึงสามเดือน เป็นมูลค่าที่แปรค่าได้ ซึ่งอาจจะยังต้องขึ้นกับความต้องการของผู้แลกเปลี่ยน
        ๓.มูลค่าเชิงสัญลักษณ์ เช่นการนำปากกาไปเป็นรางวัลให้กับผู้ได้รับทุนเรียนดีหรือให้กับผู้ประศาสน์ ปริญญา หรือเพชรเป็นสัญลักษณ์ของความรักในวันแต่งงาน และ
        ๔.คือมูลค่าในฐานะสร้างช่วงชั้นหรือการแสดงถึงฐานะละความมีระดับทางสังคม
        มูลค่าที่สี่นี่เองที่นักคิดระบบทุนนำไปกระตุ้นการบริโภคของผู้คนให้อยากได้ ใคร่มี ความหมายของมันก็คือการเบียดตัวเองขึ้นไปในช่องว่างที่สูงกว่าสถานะของตนเอง และความภาคภูมิใจในการแสดงรสนิยมเพื่อบอกฐานะตำแหน่งและช่วงชั้นในทางสังคม
            การกระตุ้นการบริโภคจะเป็นไปไม่ได้หากขาดสื่อ นักคิดผู้สร้างสรรค์หรือครีเอทีฟของระบบจำต้องอาศัยสื่อ ไม่เพียงเพื่อทำให้เกิดความจงรักภักดีในสินค้าเท่านั้น หากการใช้สื่อยังมีความหมายรวมไปถึงการครอบงำในทุกปริมณฑลทางความคิด ไม่เพียงรสนิยมของการกินการอยู่ การใช้ชีวิต การอ่านหนังสือ ฟังเพลง การเสพศิลปะ มันยังรวมเอาการกำหนดตำแหน่งแห่งที่ทางการเมืองให้กับผู้คนอย่างเป็นไปเอง
        หลังยุคของการปฏิวัติเทคโนโลยีสารสนเทศ เกิดการก้าวกระโดดฉับพลันของเทคโนโลยีด้านการสื่อสาร ระบบทุนนิยมดิจิทัลมีเครื่องไม้เครื่องมือเพิ่มขึ้นอีกมากมายในการเผยแพร่ ข่าวสารการโฆษณา สร้างวัฒนธรรมการบริโภคที่ไม่สิ้นสุดและไม่จำกัด เป็นสังคมบริโภคแบบ “ข้ามเวลา” มีร้านสะดวกซื้อเกิดขึ้นเป็นดอกเห็ดในทุกชุมชน บางชุมชนมีมากกว่าสองแห่ง มีอินเทอร์เน็ท ๒๔ ชั่วโมง จาก ๗๐,๓๙๒,๕๖๗ เว็บไซท์และอีก ๒๐,๓๔๐,๐๐๐,๐๐๐เว็บเพจ(ตัวเลขเมื่อพฤศจิกายน ๒๐๐๙)รวมทั้งผ่านการค้าของห้างสรรพสินค้ายุคใหม่( Modern Trade)ที่รวมศูนย์ความต้องการเอาไว้ในที่เดียวกันบริการด้วยระบบสายพานที่ สะดวกและรวดเร็ว เพื่อการนี้ระบบยังได้สร้างบริการด้านการเงิน เช่นระบบเงินผ่อน ระบบสินเชื่ออื่นๆสูบกินจากอนาคตของคนทำงาน และเพื่อเป็นหลักประกันให้กับอนาคตทางเศรษฐกิจอันว่างเปล่าของผู้คน ระบบทุนก็ได้สร้างปรัชญาของการ “รวยทางลัด” (Shotcut Wealhty) หรือเศรษฐีชั่วข้ามคืน (Overnight Millionaires)เป็นวัฒนธรรมใหม่ของโลก เป็นศาสนาใหม่ที่เงินคือพระเจ้า คิดค้นตั๋วจำนำแรงงานเป็นสัญญาก่อหนี้รายวันในรูปแบบสลิปของบัตรเครดิต สารพัดเงินด่วน-หนี้ด่วน ที่สามารถอนุมัติฉับพลันไม่ทันที่จะนั่งรอ เป็นหนี้ติดล้อหากหลักประกันก็คือพาหนะที่นำไปค้ำประกันที่ยิ่งขับหนี้สิน ยิ่งเพิ่มพูน การสูบกินแบบใหม่นี้เป็นการขูดรีดถึงสามชั้น นั่นคือการขูดรีดจากแรงงาน สอง การขูดรีดจากผลกำไร ที่ผนวกรวมถึงงบโฆษณาประชาสัมพันธ์ และสามการขูดรีดจากดอกเบี้ยเงินผ่อนที่สูงลิ่ว.

เทพไท เสนพงศ์ ทวิตฯโจมตีพรรคเพื่อไทย – คนเสื้อแดง เรื่อง ไพร่-อำมาตย์

หลังจากมีพระบรมราชโองการแต่งตั้ง ยิ่งลักษณ​์ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 28  เกิดเรื่องที่น่าสนใจเมื่อ นาย เทพไท เสนพงศ์ อดีตโฆษกประจำตัวนาย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หยิบมาประเป็นประเด็น วิวาทะ “ไพร่ – อำมาตย์” เพื่อที่จะตอบโต้กลุ่มคนเสื้อแดง โดยมีความเห็นว่าเป็นพิธีกรรมของอำมาตย์ และทำไมพวกไพร่ถึงดิ้นรนใส่ชุดพิธีการ โดยไล่ไปใส่ชุดม่อฮ่อม

ภาพวิวาทะจาก @theptai
ภาพวิวาทะจาก @theptai

โดยก่อนหน้านี้คุณ เทพไท ได้ใช้ทวิตเตอร์ในนาม @theptai เพื่อเป็นปากเป็นเสียงให้กับพรรคประชาธิปัตย์มาตลอดช่วงสมัยรัฐบาลก่อน โดยมีสโลแกนส่วนตัวว่า “รู้จักแล้วจะรักเอง”  แต่คาดเดาว่าอีกไม่นานอาจจะมีการตอบโต้จากกลุ่มคนเสื้อแดง และผู้สนับสนุนพรรคเพื่อไทย

ทักษิณและมาร์กอส : การวางรากฐานอำนาจ

Century Fox:
 
ทักษิณและมาร์กอส : การวางรากฐานอำนาจ

Thaksin & Ferdinand Marcos  : Launching of Enforcement


รัฐบาล ภายใต้การนำของนายกฯ ทักษิณ ชินวัตร และรัฐบาลของประธานาธิบดี เฟอร์ดินาล มาร์กอส นอกจากจะมีความเหมือนกันในแง่ของความพยายามแก้ไขกฎหมาย เพื่อเพิ่มอำนาจและรักษาอำนาจให้กับตนเอง ตลอดจนมีความพยายามแทรกแซงและครอบงำ สื่อสารมวลชนแล้ว รัฐบาลคู่แฝดแต่อยู่คนละประเทศยังมีความเหมือนกันในแง่ของ การสร้างคะแนนนิยมจากประชาชนและการสร้างฐานอำนาจ

แนวคิดนโยบายประชานิยม
เฟอร์ดินาล มาร์กอส มีนโยบายสร้างสังคมใหม่ (New Society) เพื่อพัฒนาประเทศให้ก้าวหน้าที่สุดในอาเซียน  โดยออกนโยบาย
ปฏิรูป เศรษฐกิจรากหญ้า การพัฒนาคนจนในท้องถิ่นห่างไกล การอุดหนุนราคาสินค้าเกษตร การจัดสรรสวัสดิการให้ประชาชน รวมถึงการสร้าง โครงสร้างพื้นฐานจำนวนมาก ซึ่งนโยบายต่าง ๆ เหล่านี้ทำให้ประเทศเป็นหนี้เป็นจำนวนมาก

ส่วน รัฐบาลไทยรักไทยมีแนวนโยบายที่คล้ายคลึงกัน คือ “คิดใหม่ ทำใหม่” โดยกำหนดชุดของนโยบายประชา นิยมจำนวนมาก ที่พยายามเอาใจประชาชนระดับรากหญ้า อาทิ โครงการพักชำระหนี้เกษตรกร กองทุนหมู่บ้าน โครงการเอื้ออาทรต่าง ๆ การปรับโครงสร้างหนี้ภาคประชาชน การทำสงครามกับความยากจน โครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค การขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ รวมทั้งรัฐบาลยังมี แผนลงทุนในโครงการ
เมกะโปรเจกต์ เพื่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานจำนวนมาก ซึ่งโครงการต่าง ๆ เหล่านี้ ทำให้ประชาชนเป็นหนี้มากขึ้น และอาจจะทำให้ประเทศเป็นหนี้จำนวนมาก หากรีบเร่งลงทุนในโครงการเมกะโปรเจกต์

การสร้างเครือข่ายกับกลุ่ม ผลประโยชน์ต่าง ๆ
รัฐ บาลมาร์กอสยังพยายามสร้างเครือข่าย กับกลุ่มผลประโยชน์ต่าง ๆ ที่มีบทบาทสำคัญในการเกื้อหนุนเสถียรภาพของรัฐบาล 12 คน (12 Rolex) เพื่อให้ทหารหนุนหลังรัฐบาล เช่น การแต่งตั้งกลุ่มมุสลิม เข้ามาดำรงตำแหน่งในรัฐบาล การให้ผลประโยชน์แก่นายทหารในกองทัพ โดยกรณีที่เป็นที่โจษจันกันมากคือ การให้นาฬิกาโรเล็กซ์แก่นายทหารชั้นผู้ใหญ่

รัฐบาลทักษิณได้พยายาม สร้างเครือข่ายการสนับสนุนจากกลุ่มผลประโยชน์สำคัญ ๆ “คนเดือนตุลา”มาเป็นแกนนำในรัฐบาล เพื่อให้ได้ฐานเสียงจากกลุ่มองค์กรพัฒนาเอกชนต่าง ๆ การดูด ส.ส.ของ 3 จังหวัด ชายแดนภาคใต้ ซึ่งเป็นชาวมุสลิม เข้ามาเป็นสมาชิกของพรรค หรือความพยายามสร้าง สัมพันธ์กับนายพลในกองทัพ โดยเฉพาะการแนะนำให้เลขาของภริยานายกฯแต่งงานกับผู้บัญชาการทหารอากาศ

วางเครือญาติและพวกพ้องในตำแหน่งสำคัญ
รัฐบาลมาร์กอสได้วางเครือญาติและพวกพ้องในตำแหน่ง สำคัญทางการเมือง และหน่วยงานของรัฐ เพื่อให้รัฐบาลสามารถดำเนินนโยบายและ
บริหาร ประเทศ ที่เอื้อประโยชนต่อธุรกิจของประธานาธิบดีและพวกพ้อง ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ การแต่งตั้งญาติของ อิเมลด้า มาร์กอส เป็นผู้คุมกรมสรรพากร ซึ่งทำให้ดำเนินธุรกิจของครอบครัวมาร์กอสได้รับประโยชน์จากการยกเว้นภาษี

ขณะ ที่รัฐบาลทักษิณได้ใช้วิธีการเดียวกันเช่น การแต่งตั้งพลเอกชัยสิทธิ์ ชินวัตร ลูกพี่ลูกน้องผู้พี่ของนายกฯ เป็นผู้บัญชาการทหารบก เพื่อควบคุมกำลังทหาร การแต่งตั้งพล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์ ซึ่งเป็นพี่เขย เป็นผู้บัญชาการ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพื่อดูแล ควบคุมกำลังตํารวจ ตลอดจนการแต่งตั้งพล.อ.อ.คงศักดิ์ วันทนา ซึ่งเป็นสามีของเลขาฯ คนสนิทของคุณหญิง พจมาน ชินวัตร เป็น รมว.มหาดไทย มากไปกว่านั้นการแต่งตั้งพล.ต.ต.สุรสิทธ์  สังขพงศ์ เพื่อนนักเรียนนายร้อยตำรวจ รุ่น 26 ควบคุมดูแลกองสลากกินแบ่งรัฐบาล ฯลฯ โดย แต่งตั้งเครือญาติและพวก พ้องของผู้มีอำนาจในรัฐบาลให้เป็นใหญ่ในหน่วยงานสำคัญ ๆ

เราจะเห็น ได้ว่า รัฐบาลคู่แฝดใช้วิธีการเดียวกันในการวางรากฐานอำนาจ เพื่อที่จะให้อำนาจของตนเองนั้นยั่งยืน ด้วยการใช้นโยบายเอาใจคนระดับรากหญ้า การสร้างเครือข่ายกับกลุ่มผลประโยชน์ต่าง ๆ โดยการแบ่งสรรประโยชน์ที่ไม่อาจปฏิเสธได้ ตลอดจนการสร้างฐานอำนาจในองค์กรสำคัญของรัฐ
 
ทักษิณและมาร์กอส  : การละเมิดสิทธิมนุษยชน
Thaksin & Ferdinand Marcos  : The Violation of Human Rights


ความ เหมือนระหว่างรัฐบาลของประธานธิบดีเฟอร์ดินาล มาร์กอสในอดีต กับการบริหารงานของรัฐบาลทักษิณ รัฐบาลทั้งสองยุคนอกจากจะมีความเหมือนในด้าน การวางรากฐานอำนาจ การออกกฎหมายที่เอื้อประโยชน์ต่อตนเองและพวกพ้อง รวมไปถึงการแทรกแซงสื่อ ทั้งสองรัฐบาลยังมีความเหมือนกันอีกประการหนึ่ง คือ การกระทำที่ละเมิดสิทธิมนุษยชน

เมื่อมองย้อนกลับไปในยุคของรัฐบาล มาร์กอส ได้ใช้อำนาจรัฐเพื่อปรับปรุงและจัดระบบระเบียบสังคมในประเทศ ฟิลิปปินส์ในเวลานั้น โดยการประกาศใช้กฎอัยการศึก ซึ่งทำให้ประชาชนฝ่ายต่อต้านนับพันคนถูกคุมขัง รวมไปถึงการหายสาบสูญของผู้ต่อต้านจำนวนหนึ่งที่ ถูกอุ้มฆ่าโดยกองกำลังรักษาความปลอดภัยที่อยู่ภายใต้การนำของมาร์ กอส

นอก จากนี้ มาร์กอสยังระงับใช้กฎหมายที่กำหนดให้ต้องส่งตัวผู้ต้องหาไปฟ้องร้องต่อศาล อีกทั้งอนุญาตให้ตำรวจจับใครก็ได้ โดยไม่ต้องมีหมายจับ ซึ่งเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนของคนในประเทศ ทำให้และประชาชนไม่สามารถใช้สิทธิอย่างที่ตนเองมีภายใต้ระบอบประชาธิปไตยได้ ตัวอย่างที่ชัดเจน คือ เหตุการณ์ในเดือนมกราคม ปี 1970 ที่ประธานาธิบดีอนุญาตให้ใช้กำลังสลาย กลุ่มนักศึกษาที่มาชุมนุมประท้วง ทำให้นักศึกษา 6 คนเสียชีวิต และได้รับบาดเจ็บจำนวนมาก

การละเมิด สิทธิมนุษยชนได้ เกิดขึ้นอย่างชัดเจนในรัฐบาลทักษิณ อาทิ การประกาศทำสงครามยาเสพติดจน ทำให้มีการวิสามัญฆาตกรรมผู้ต้องหาค้ายาเสพติดจำนวน 2,849 ศพ การเข้าสลายการชุมนุมม็อบท่อ ก๊าซไทย-มาเลย์รุนแรงเกินความจำเป็น โดยที่ตำรวจ 500 นาย ใช้ไม้กระบองไล่ตีกลุ่มผู้ชุมนุมที่หน้าโรงแรมเจบี หาดใหญ่ ขณะที่ทำละหมาด การสังหารหมู่ผู้ก่อความไม่สงบ ที่หนีเข้าไปหลบในมัสยิดกรือเซะ 106 ศพ รวมไปถึงการใช้กำลังเข้าปราบ ปรามผู้ชุมนุมที่ สภอ.ตากใบ จนทำให้มีผู้เสีย ชีวิต 85 รายจากการขนย้ายผู้ต้องหาที่ผิดวิธี

มาตรการสำคัญที่ทำให้เกิดการ ละเมิดสิทธิมนุษยชน อย่างรุนแรงใน 3 จังหวัดภาคใต้ คือ การประกาศกฎอัยการศึก ซึ่งต่อมารัฐบาลได้เปลี่ยนเป็นพ.ร.ก.ฉุกเฉิน ที่ให้อำนาจเจ้าหน้าที่ของรัฐในการตรวจสอบและจับกุมผู้ต้องสงสัยได้เลยทันที กฎหมายดังกล่าวมีส่วนทำให้เกิดคดีที่ประชาชนสูญหายโดยไร้ร่องรอยเป็น จำนวนมาก ซึ่งมีการสันนิษฐานว่าอาจจะถูกอุ้มฆ่าโดยเจ้าหน้าที่รัฐ ตัวอย่างที่ชัดเจนและโด่งดังที่สุด คือ การหายสาบสูญไป ของทนายสมชาย นีละไพจิตร ซึ่งมีความชัดเจนในชั้นศาลแล้วว่า ตำรวจ เป็นผู้พาตัวทนายสมชายไป เพียงแต่ยังไม่พบหลักฐานการตายของทนายสมชายเท่านั้น

การใช้นโยบายของ รัฐบาลทักษิณนับเป็นการลิดรอน สิทธิมนุษยชนอย่างชัดเจนและรุนแรง จนทำให้องค์กรสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ แสดงท่าทีไม่เห็นด้วยและต้องการเข้ามาตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนในกรณี ต่าง ๆ รวมทั้งองค์การสหประชาชาติยังได้จัดอันดับความรุนแรงในการละเมิดสิทธิมนุษย ชนของประเทศไทยให้อยู่ในอันดับที่แย่ลง

หากรัฐบาลของประธานาธิบดี มาร์กอส ถูกจัดให้เป็นรัฐบาลที่ปกครอง ด้วยระบอบเผด็จการ อำนาจนิยม โดยมีดัชนีชี้วัดสำคัญ คือการละเมิดสิทธิมนุษยชน ดังนั้นการที่รัฐบาลทักษิณที่มีพฤติกรรม ที่คล้ายคลึงกันในการละเมิดสิทธิมนุษยชน เราจึงอาจจะจัดให้รัฐบาลนี้อยู่ในพวกเผด็จการ อำนาจนิยมได้เช่นกัน

ทักษิณและมาร์กอส : ผลประโยชน์ทับซ้อน
Thaksin & Ferdinand Marcos  : The Conflicts of Interest


ประธานาธิบดี มาร์กอสนั้นมีผล งานที่โดดเด่นเป็นที่จดจำ คือ การคอร์รัปชันอย่างมโหฬารติดอันดับโลก มาร์กอสดำเนินนโยบายที่เอื้อประโยชน์ต่อญาติพี่น้องและพวกพ้องของ ตนเอง โดยเฉพาะการให้บริษัทฯในเครือญาติชนะการประมูลโครงการ สำคัญของรัฐ เช่น โครงการสาธารณูปโภคพื้นฐานด้านไฟฟ้า ประปา โทรคมนาคม การส่งออกน้ำตาล หนังสือพิมพ์ และน้ำมัน ซึ่งบางโครงการได้รับการยกเว้นเก็บภาษีเข้ารัฐ

มาร์ก อสยังใช้อำนาจรัฐครอบงำและทำลายธุรกิจที่เป็นคู่แข่งทางการ เมือง เพื่อทำให้ธุรกิจของครอบครัวและพวกพ้องสามารถครอบ ครองอุตสาหกรรมหลักของประเทศไว้ได้ทั้งหมด ซึ่งในสมัยที่ประธานาธิบดีมาร์กอสดำรงตำแหน่ง มีเพียงไม่กี่ตระกูล เท่านั้นที่ได้รับประโยชน์จากนโยบายรัฐและครอบครองเศรษฐกิจของ ฟิลิปปินส์ ได้แก่ ตระกูลโลเปซ โรมัวล์เดช ตัน โคฮวงโก อายาลา และโซริยาโน

เมื่อ หันมาพิจารณา ระบอบทักษิณจะพบลักษณะที่คล้ายคลึงกัน คือการกำหนดนโยบายที่ทำให้ธุรกิจของ ตนเองและพวกพ้องได้รับผลประโยชน์ เช่น การแก้ไขกฎหมายสรรพสามิตโทรคมนาคมเพื่อให้ธุรกิจบริการโทรศัพท์มือถือของ ครอบครัวนายกฯได้รับประโยชน์ การให้สัมปทานพัฒนาพื้นที่อุโมงค์รถไฟฟ้าใต้ดินแก่บริษัทของลูกชายนายกฯ การให้ EXIM Bank อนุมัติเงินกู้ให้แก่รัฐบาล พม่า 4,000 ล้านบาท เพื่อนำเงินดังกล่าวมาจ้างบริษัทชินแซทฯ รับงานเครือข่ายดาวเทียม ตลอดจนการยกเว้นภาษีให้กับโครงการดาวเทียม IP Star ของบริษัทชินแซทฯ เป็นต้น

แนวนโยบายของรัฐบาล ทักษิณยังมีความพยายามครอบงำหรือทำลายกิจการของรัฐ ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นคู่แข่งกับธุรกิจของคนในรัฐบาล อาทิ การขายหุ้นกิจการพลังงานของรัฐแล้วให้พวกพ้องของตนเข้าไปถือหุ้นโดยหวังผล ประโยชน์จากการผูกขาดในกิจการนั้น การทำให้สายการบินไทยอ่อนแอเพื่อให้สายการบินต้นทุนต่ำของตนเองได้ประโยชน์ การทำให้โรงพยาบาลของรัฐมีคุณภาพต่ำด้วยการดำเนินนโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรคทั้ง ๆ ที่ไม่มีความพร้อม จนทำให้คนหันไปใช้บริการโรงพยาบาลเอกชนที่ตนเองเข้าไปครอบงำกิจการ หรือการทำให้รัฐวิสาหกิจด้านโทรคมนาคมและการสื่อสารอ่อนแอจนมีการครหาว่า เพื่อที่จะไม่ขึ้นมาเป็นคู่แข่งกับธุรกิจมือถือของตน หรือแม้แต่การจัดการกับเจ้าหนี้นอกระบบแต่กลับไม่จัดการกับบริษัทเงินด่วน ของตนเองที่คิดดอกเบี้ยสูง ฯลฯ

เป็นที่ทราบกันดีว่า ในรัฐบาลทักษิณ มีตระกูลใหญ่เพียง 10 ตระกูลเท่านั้นที่ได้รับประโยชน์ โดยรัฐบาลได้กำหนดนโยบายที่ให้เอื้อ ประโยชน์ต่อกลุ่มทุนที่ใกล้ชิดกับรัฐบาล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเจรจาเขตการค้าเสรี (FTA) ซึ่งมีความพยายามแลกผลประโยชน์ของธุรกิจที่ใกล้ชิดรัฐบาลกับความเสียหายของ ภาคเศรษฐกิจอื่น ๆ เช่น เอฟทีเอไทย-ออสเตรเลียที่แลกผลประโยชน์ของอุตสาหกรรมยานยนต์กับความเสียหาย ของอุตสาหกรรมโคเนื้อและโคนม เป็นต้น หรือการกำหนดอุตสาหกรรมยุทธศาสตร์ 5 ด้าน (Global Niche) โดยปราศจากผลการศึกษาวิจัยอย่างรอบคอบ

จากการ ศึกษาประวัติศาสตร์ พบว่า รัฐบาลเผด็จการแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทตามเป้าหมายของรัฐบาล รัฐบาลเผด็จการประเภทแรก เป็นรัฐบาลที่มีพฤติกรรมเข้าข่ายเผด็จการ ตั้งแต่การรวบอำนาจ การแทรกแซงองค์กรต่าง ๆ และการละเมิดสิทธิมนุษยชน โดยมีเป้า หมายเพื่อการสร้างชาติให้เข้มแข็ง ส่วนรัฐบาลเผด็จการประเภทที่สอง คือรัฐบาลที่มีพฤติกรรมเผด็จการเช่นกัน แต่กลับมีเป้าหมายเพื่อ แสวงหาผลประโยชน์เข้ากระเป๋าของตนเองและพวกพ้อง รัฐบาลประเภทนี้ เราเรียกว่า “รัฐบาล เผด็จการทรราชย์”

ทักษิณกับมาร์กอส
Taksin & Ferdinand Marcos


จากการ ศึกษาประวัติศาสตร์ ของประเทศฟิลิปปินส์ ในยุคของประธานาธิบดี เฟอร์ดินาล มาร์กอส ได้พบความคล้ายคลึงกันของผู้นำประเทศต่างยุคต่างสมัยกัน ระหว่างรัฐบาลอดีตประธานาธิบดีของฟิลิปปินส์ และรัฐบาลไทยในปัจจุบันในหลาย ๆ ประเด็น อาทิแก้ไขกฎหมายเพื่อเพิ่มและรักษาอำนาจให้กับตนเอง

ในช่วง ที่ครองอำนาจ ประธานาธิบดีมาร์กอสได้ความพยายามเพิ่มและรักษาอำนาจของตนเอง โดยเฉพาะความพยายาม แก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ในปี 1971 เพื่อให้ ตนเองสามารถดำรงตำแหน่งต่อไปได้ ซึ่งได้มีข่าวอื้อฉาวว่ามากอร์ส พยายามติดสินบนให้ผู้เข้าร่วมแก้ไขรัฐธรรมนูญ โหวตแก้ไขให้ประธานาธิบดีสามารถดำรงตำแหน่งเกินกว่า 8 ปี หรือ 2 สมัย แต่ความพยายามดังกล่าวไม่สำเร็จ มาร์กอสจึงประกาศกฎอัยการศึกใน วันที่ 21 ก.ย.1972 หลังจากนั้นอีก 14 ปีต่อมา เขาปกครองฟิลิปปินส์ในแบบเผด็จการ

พฤติกรรม ดังกล่าวคล้ายกับสิ่งที่รัฐบาลทักษิณ ชินวัตร พยายามทำในช่วงที่ผ่านมา เช่น การออกพระราชกำหนดการบริหารราชการ แผ่นดินในภาวะฉุกเฉิน พ.ศ.2548 เพื่อเพิ่มอำนาจเด็ดขาดให้กับนายกฯ การผลักดันร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการเสนอเรื่องและการประชุม เพื่อให้นายกฯและรัฐมนตรีเจ้ากระทรวงพิจารณาและถือเป็นมติคณะรัฐมนตรี โดยไม่จำเป็นต้องประชุม ครม.ทั้งคณะ และล่าสุดคือการออก พ.ร.ฎ.ยุบสภา ซึ่งกำหนดวันเลือกตั้งอย่างกระชั้นชิด เพื่อให้พรรคไทยรักไทยได้เปรียบในการเลือกตั้ง และประเด็นที่เราต้องติดตามต่อไป คือ จะมีความพยายามแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อรักษาอำนาจให้ตนเองหรือไม่

แทรก แซงและปิดกั้นสื่อ ในยุคของประธานาธิบดีมาร์กอส เป็นยุคที่สื่อสารมวลชนของฟิลิปปินส์ขาดเสรีภาพ เพราะสถานีวิทยุมี กลุ่มทุนที่ใกล้ชิดกับรัฐบาลเป็นเจ้าของ และมาร์กอสยังได้ให้เครือ ญาติรวมไปถึงเพื่อนของตนควบคุมหนังสือพิมพ์ทุกฉบับ แต่ หลังจากการตายของเบนิญโญ อาร์คีโน ผู้นำฝ่ายค้านของฟิลิปปินส์ จากการถูกลอบสังหาร ซึ่งมีการครหาว่าเป็นการบงการของประธานาธิบดี หนังสือพิมพ์ในฟิลิปปินส์จึงเริ่มปลอดจากการเมืองมากขึ้น

ในยุคสมัย ของรัฐบาลทักษิณ  ชินวัตร สื่อสารมวลชนในประเทศไทยถูก แทรกแซงและปิดกั้นไม่แตกต่างกัน ทำให้ไม่สามารถสื่อสารความจริงให้ประชาชนได้อย่างเต็มที่ ดังตัวอย่างของกรณีที่ชินคอร์ปเข้าถือหุ้นใหญ่ในไอทีวี และย้าย บรรณาธิการข่าวของไอทีวี เพราะไปวิจารณ์การแก้ปัญหาไข้หวัดนกของนายกฯ รวมทั้งการปลดผู้สื่อข่าวไอทีวี 23 คน การปลด บรรณาธิการและบรรณาธิการข่าวสายความมั่นคงของหนังสือพิมพ์ บางกอกโพสต์ การฟ้องร้องหนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ที่ เสนอข่าววิพากษ์วิจารณ์ธุรกิจครอบครัวของนายกฯ การปิดวิทยุชุมชนที่ วิจารณ์รัฐบาล รวมไปถึงการแทรกแซงสถานีโทรทัศน์ทุกช่อง แต่หลังจากการ ชุมนุมขับไล่นายกฯ มีความเข้มข้นมากขึ้น การเสนอข่าวของโทรทัศน์และ หนังสือพิมพ์จึงเริ่มมีความเป็นกลางมากขึ้น

นี่คือบางส่วนของความเหมือนของผู้นำทั้งสองประเทศซึ่งใช้วิธีการที่ไม่แตกต่างกัน ในการรักษาอำนาจของตนเองให้ได้นานที่สุด
-------------

นี่ คือบทความที่ ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ ได้เขียนไว้ก่อนทักษิณจะถูกยึดอำนาจครับ ไม่ต้องมาปั้นแต่งใส่ร้ายเหมือน นปช. ในปัจจุบัน 


ซูฮาร์โต+มาร์กอส=ทักษิณ

เราคงไม่ต้องไปประเมินว่า สินทรัพย์ของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และเครือญาติมีอยู่เท่าไหร่ เมื่อไม่นานมานี้ หนังสือ พิมพ์ไฟแนนเชียลไทมส์ ได้เลื่อนการจัดอันดับให้นายกฯ ของเราเป็นมหาเศรษฐีที่ทรงอำนาจที่สุดคนหนึ่งในโลก จากอันดับที่ 21 มาอยู่อันดับที่ 14 เลื่อนขึ้นมา 7 อันดับ ด้วยทรัพย์สิน 56,000 ล้านบาท

แน่ นอนว่า การประสบความสำเร็จทางธุรกิจของพ.ต.ท.ทักษิณ นี่เองที่ทำให้ประชาชนมีความคาดหวัง หลังจากเขาตั้งพรรคไทยรักไทยขึ้นมาพร้อมนโยบายที่เป็นรูปธรรม

เมื่อ ได้เข้ามาบริหารประเทศ รัฐบาลทักษิณมีนโยบายประชานิยมออกมาเป็นชุดๆเพื่อเอาอกเอาใจคนทั้งประเทศ แต่เมื่อระยะเวลาผ่านไปกลับพบว่า นโยบายเหล่านี้ไม่ต่างกับการทำโปรโมชันเพื่อส่งเสริมการขายสินค้า ซึ่งในฐานะการเมืองก็คือ การส่งเสริมฐานะของพ.ต.ท.ทักษิณเอง

นโยบาย และวาทกรรมของพ.ต.ท.ทักษิณ หลายครั้ง ได้สะท้อนให้เห็นว่ารัฐบาลชุดนี้ ยึดมั่นในแนวทางการใช้จ่ายที่ฟุ่มเฟือย การดำเนินนโยบายเศรษฐกิจแบบเกินตัว สนับสนุนการบริโภคนิยมแบบสุดลิ่มทิ่มประตู ซึ่งตรงข้ามกับแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

ดัง นั้นเมื่อสมัยที่ 2 ของรัฐบาลผ่านมาเพียงไม่กีเดือน สังคมและสื่อมวลชนก็เริ่มออกมาตั้งคำถามต่อแนวนโยบายของรัฐบาลชุดนี้ เพราะนโยบายหลายอย่างเริ่มเห็นความล้มเหลว และสะท้อนให้เห็นว่า เอื้อที่จะตอบแทนผลประโยชน์ให้แก่บริษัทวงศ์วานว่านเครือ และรัฐวิสาหกิจซึ่งเป็นผลประโยชน์ของชาติก็ถูกนำมาแปรรูปเพื่อแบ่งปันกันใน หมู่พวกพ้อง

ความชัดเจนในเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อนที่หลายฝ่ายเคยตั้งคำถามและกังขาเริ่มปรากฏขึ้น

หลาย คนจึงเริ่มนึกถึงอดีตประธานาธิบดี แห่งอินโดนีเซีย และอดีตประธานาธิบดีเฟอร์ดินานด์ มาร์กอส แห่งฟิลิปปินส์ ราวกับว่า สามคนนี้มีความละม้ายคล้ายคลึงกัน

อย่างไรก็ตามมีคนบอกว่า ซูฮาร์โต ก็คือ ซูฮาร์โต มาร์กอส ก็คือ มาร์กอส ทั้งสองคนมีความต่างกันอยู่ เพียงแต่ทักษิณเองที่ดันไปเหมือนกับมาร์กอสบวกกับซูฮาร์โตเข้าอย่างช่วยไม่ ได้

ก่อนหน้านี้องค์การเพื่อความโปร่งใสระหว่างประเทศ(ทีไอ)เคยระบุ ว่า อดีตประธานาธิบดีซูฮาร์โต แห่งอินโดนีเซีย ครองอันดับหนึ่งผู้นำที่โกงกินมากที่สุดในโลก ทั้งนี้ตามบัญชีจัดอันดับ 10 ผู้นำทุจริตคอร์รัปชันที่สุดของโลกในรอบ 20 ปีที่ โดยมาร์กอส อดีตผู้นำของฟิลิปปินส์มาเป็นอันดับ 2

รายงานดังกล่าวประเมินว่า ตระกูลซูฮาร์โต(1967-98)โกงกินประเทศชาติไปราว 15,000-35,000 ล้านดอลลาร์ ระหว่างที่เขากุมอำนาจปกครองประเทศนานถึง 32 ปี นับตั้งแต่ปี 1967

ผู้ ที่ติดอันดับที่ 2 ได้แก่ เฟอร์ดินานด์ มาร์กอส อดีตประธานาธิบดีฟิลิปปินส์(1972-86) ซึ่งก้าวเข้ามาสู่อำนาจเมื่อปี 1972 ด้วยการคอร์รัปชันประเทศชาติไป 5,000-10,000 ล้านดอลลาร์

แต่เราต้อง ยอมรับว่า ความร่ำรวยของพ.ต.ท.ทักษิณนั้น มาจากการทำธุรกิจของเขา แม้ว่า การได้มาของธุรกิจนั้นจะถูกมองว่า เป็นการวิ่งเต้นจากผู้มีอำนาจในยุคเผด็จการรสช.

ในระหว่างที่มีอำนาจ นั้น ประธานาธิบดีซูฮาร์โต ก็ถือเป็นหนึ่งในสิบอภิมหาเศรษฐีรวยที่สุดของโลกด้วยสินทรัพย์ส่วนตัว 16,000 ล้านดอลลาร์

นิตยสารฟอร์บส์ เคยรายงานไว้ว่า แหล่งสร้างความร่ำรวยให้แก่ประธานาธิบดีซูฮาร์โตคือหุ้นที่ซูฮาร์โตถือครอง ในบรรดาบริษัทธุรกิจระดับยักษ์ของอินโดนีเซีย โดยมีข้อมูลว่า รัฐบาลอินโดนีเซียจะเอื้อประโยชน์สูงสุด แก่บริษัทที่สัมพันธ์ใกล้ชิดกับท่านประธานาธิบดี

บรรดาเครือข่าย ธุรกิจที่สร้างรายได้ปันส่วนแบ่งป้อนให้แก่ซูฮาร์โต จะได้รับสิทธิผูกขาดในหลายหลากธุรกิจภายใต้รูปแบบ ใบอนุญาต-สัมปทาน แต่เพียงผู้เดียว หรือเพียงสองสามราย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หลังปี 1982 รัฐบาลอินโดนีเซียบังคับใช้ระบบ "เทรดเดอร์รับอนุญาต" เพื่อผูกขาดการนำเข้าและการจัดจำหน่ายสินค้านำเข้าให้อยู่ในอำนาจของหน่วย งานรัฐเพียงบางหน่วย สิทธิผูกขาดเหล่านั้นจะทยอยถ่ายโอนสู่เครือข่ายธุรกิจในอุปถัมภ์

ประธานาธิบดี ซูฮาร์โต สามารถพลิกฐานะจากลูกชาวนามาเป็นอภิมหาเศรษฐีของโลก เช่นเดียวกับพ.ต.ท.ทักษิณ ที่สามารถพลิกชีวิตจากการวิ่งแลกเช็คขึ้นมาเป็นมหาเศรษฐีในระยะเวลาไม่กี่ปี แต่ความจริงแล้วซูฮาร์โตไม่ได้ลงแรงประกอบการธุรกิจด้วยตัวเอง แต่เขาเก็บเกี่ยวผลประโยชน์จากตัวแทนธุรกิจใกล้ชิดที่โอบอุ้มคุ้มครองจาก อำนาจรัฐนั่นเอง

ฮูโตโม มันดาลา บุตรา บุตรคนที่ 5 ของประธานาธิบดีซูฮาร์โต ก็มีธุรกิจหลายอย่างที่ร่ำรวยมาจากการได้สิทธิพิเศษ สัมปทานผูกขาด จากการอิงแอบอำนาจของบิดา

หลังซูฮาร์โต ผูกขาดตำแหน่งผู้นำอินโดนีเซียมา 32 ปี อินโดนีเซียเจอพิษเศรษฐกิจในปี 1998 การลุกฮือครั้งใหญ่ของประชาชนจึงปะทุขึ้น ทหารและตำรวจใช้กำลังปราบปรามอย่างรุนแรง แต่ยิ่งปราบเหมือนยิ่งปลุก การจลาจลลุกลามไปทั่ว จนซูฮาร์โตจำต้องประกาศสละเก้าอี้ในที่สุด

และในช่วงปลายปีนั้น นักศึกษาอิเหนาได้ลุกฮือขึ้นเรียกร้องรัฐบาลให้ดำเนินคดีโกงชาติกับอดีตประธานาธิบดีซูฮาร์โต

ส่วน ยุคสมัยแห่งการเรืองอำนาจของ มาร์กอสแห่งฟิลิปปินส์นั้น ประชาชนฟิลิปปินส์ต้องตกอยู่ภายใต้อำนาจของเผด็จการเสียงข้างมาก มาร์กอสก็เช่นเดียวกับ พ.ต.ท.ทักษิณ เขาเริ่มต้นด้วยความคาดหวังของประชาชน ด้วยชัยชนะจากการเลือกตั้งอย่างท่วมท้น มาร์กอสบริหารประเทศผสมผสานความก้าวหน้า แต่แฝงไปด้วยผลประโยชน์ในการคอร์รัปชัน และการลิดรอนสิทธิมนุษยชน

ขณะ ที่บ้านเมืองระส่ำระสาย อีเมลด้า เริ่มบทบาทหน้าที่สตรีหมายเลข 1 เธอออกเดินทางไปทั่วโลกพบปะผู้นำประเทศ และจับจ่ายซื้อสินค้าอย่างฟุ่มเฟือย เธอเข้ามามีบทบาทในการบงการทางการเมืองทั้งเบื้องหน้าและเบื้องหลัง

มาร์ก อสก็ไม่ต่างกับผู้มีอำนาจบางคน เขาอาศัยประชาธิปไตยเป็นฉากบังหน้ายุคของเขาถูกมองว่าเป็นยุคโคตรอภิมหาโกง ด้วยอิทธิพล “ปืน-เงินทอง-อันธพาล (gun-gold-goon)” ช่วงแห่งการเสวยอำนาจของเขาเต็มไปด้วยการกดขี่ข่มเหงฝ่ายตรงข้าม และประชาชน การทุจริตคอร์รัปชันระบาดไปทั่วทุกหย่อมหญ้า

ความฮึกเหิมของมาร์กอสมาจากการมีฐานเสียงสนับสนุนในสภาและในกองทัพอย่างล้นหลาม

ใน ระยะหลัง ชาวฟิลิปปินส์เริ่มตั้งคำถามต่อรัฐบาลมาร์กอส แต่ชนวนของการลุกฮือก็ยังไม่เกิดขึ้น เพราะพวกเขามัวแต่ตั้งคำถามว่าไม่เอามาร์กอสแล้วจะเอาใคร จนกระทั่งเบนินโย่ อาคิโน่ นักโทษการเมืองที่ลี้ภัยออกจากฟิลิปปินส์เดินทางกลับมาบ้านเกิด ทันทีที่ลงจากเครื่องบินและเท้าสัมผัสแผ่นดินเกิด อาคิโน่ ก็ถูกลอบสังหาร

ความ ตายของอาคิโน่นี่เองที่เป็นชนวนให้ประชาชนลุกฮือขึ้นมาขับไล่ระบอบมาร์ก อส จนในที่สุดเขายอมปิดฉากอำนาจของตนลง แม้จะจัดให้มีการเลือกตั้ง มาร์กอสก็พ่ายแพ้อย่างหมดรูป เขา และ อีเมลด้า ถูกชาวฟิลิปปินส์ขับไล่ออกจากประเทศ ยุคสมัยแห่งอำนาจของ เฟอร์ดินานด์ และ อีเมลด้า สิ้นสุดลงตั้งแต่บัดนั้น

ไม่น่าเชื่อว่า เมื่อย้อนกลับไปมองมาร์กอสและซูฮาร์โตแล้วหันกลับมามองบ้านเรา ก็เริ่มเห็นเค้าลางแล้วใช่ไหมว่า รัฐบาลทักษิณจะมีจุดจบอย่างไร

ผุดเมกะโปรเจกต์แสนล้าน ทุนไทย-เทศ ชิงธงแลนด์มาร์ค “บางนา”

Pic_191880

เผยแนวโน้มแลนด์มาร์คแห่งใหม่เริ่มเคลื่อนจากย่าน สีลม เพลินจิต ราชประสงค์ สู่สี่แยกบางนา หลังกลุ่มทุนไทย–เทศชิงผุดโครงการเมกะโปรเจกต์สุดคึก ค่ายบีเคเคนำร่องผุดคอนโดหรู “เดอะโคส” ก่อนใคร...


นาย เหรียญชัย ลิขิตพฤกษ์ ประธานกรรมการบริหารบริษัทบีเคเค แกรนด์ เอสเตท จำกัด เจ้าของโครงการ “เดอะโคส บางกอก” โครงการคอนโดระดับไฮเอนด์ พร้อมไลฟ์สไตล์มอลล์มูลค่ากว่า 5,000 ล้านบาท บริเวณสี่แยกบางนา เปิดเผยว่า ภายในช่วง 1-2 ปีจากนี้ เชื่อแน่ว่าทำเลทองในย่านบางนาจะขยับขึ้นมาเป็นย่านธุรกิจแห่งใหม่ Central Business District แทนย่านธุรกิจเดิมอย่างสีลม เพลินจิต หรือราชประสงค์ อย่างแน่นอน เพราะมีความพร้อมในระบบขนส่งมวลชนและโครงข่ายคมนาคมโดยรอบพื้นที่ ทั้งยังอยู่ใกล้สนามบินสุวรรณภูมิเพียง 10 กม.เศษ ซึ่งในอนาคต ทอท.มีแผนก่อสร้างเทอร์มินัลฝั่งใต้ ทำให้กลุ่มทุนไทย-เทศต่างชิงธงเข้ามาผุดโครงการกันอย่างคึกคัก

ใน ส่วนของเดอะโคสบางนาเป็นโครงการระดับไฮเอนด์ที่นอกจากจะเป็นเรสซิเดนท์แล้ว ยังมีไลฟ์สไตล์มอลล์ 5,000 ตร.ม.ที่เชื่อมด้วยสกายวอล์กกับสถานีรถไฟฟ้าบางนา ซึ่งหากเปรียบเทียบทำเลทองย่านอื่นอย่างอ่อนนุช เพลินจิตที่อยู่ติดแนวเขตรถไฟฟ้าแล้วต่างมีราคาขายเกิน 120,000-150,000 บาทต่อตาราง เมตรขึ้นไป ขณะที่เดอะโคสฯตั้งราคาไว้ต่ำเพียง 79,000 บาทต่อตารางเมตร เท่านั้น โดยขณะนี้เฟสแรกทาวเวอร์เอ สูง 34 ชั้น 400 กว่ายูนิต ขายไปกว่า 80% แล้ว บริษัทจึงเตรียมจัดโปรโมชั่นพิเศษเปิดขายเฟส 2 ทาวเวอร์บี ในวันแม่ 12-14 ส.ค.ศกนี้

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังกรุงเทพมหานครได้ขยายแนวรถไฟฟ้าสายสีเขียว (อ่อนนุช-แบริ่ง) ระยะทาง 5.2 กม. ไปสิ้นสุดที่สถานีแบริ่ง โดยเตรียมเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการในวันที่ 12 ส.ค.นี้ ยังส่งผลให้ทำเลทองย่านบางนา-ตราดกลายเป็นย่านธุรกิจใหม่ หรือ “แลนด์มาร์ค” ที่มีความพร้อมสรรพยิ่งกว่าย่านธุรกิจเดิมอย่างสีลม ราชประสงค์ โดยกลุ่มทุนที่แห่เข้ามาเปิดโครงการในย่านนี้ นอกจากกลุ่มเซ็นทรัลเดิมที่ปรับลุคใหม่ของห้างเซ็นทรัลบางนาแล้ว ยังมีกลุ่ม “อีเกีย” ยักษ์ใหญ่วงการเฟอร์นิเจอร์จากสวีเดน ที่จับมือกับกลุ่มสยามฟิวเจอร์ ดีเวลอปเมนท์ ผุดโครงการ “เมกา-บางนา” พื้นที่กว่า 400,000 ตร.ม. บริเวณ กม.8 ด้วยมูลค่าลงทุนกว่า 15,000 ล้านบาทที่ประกอบด้วยศูนย์จำหน่ายเฟอร์นิเจอร์ อีเกีย ศูนย์สินค้าดีไอวาย (DIY), โฮมโปร และเมเจอร์ซีนีเพล็กซ์ โดยมีกำหนดเปิดตัวภายในเดือน พ.ย.54 นี้

นอกจากนี้ยังมีกลุ่มทุนจากจีนแผ่นดินใหญ่ที่ผุดโครงการศูนย์ค้า ส่ง “ไทย-ไชน่าซิตี้ คอมเพล็กซ์” ศูนย์ค้าส่งขนาดยักษ์มูลค่าลงทุนกว่า 45,000 ล้านบาทบริเวณบางนา-ตราด กม. 9 ข้างศูนย์วัสดุบุญถาวร โดยเฟสแรกจะเปิดให้บริการกลางปี 55 และกลุ่มเดอะมอลล์ได้เตรียมผุดศูนย์การค้าขนาด 400,000 ตร.ม.บริเวณสี่แยกบางนา ทั้งยังมีกลุ่มทีซีซีแลนด์ที่เตรียมผุด “ไอทีสแควร์” พื้นที่กว่า 20 ไร่บริเวณเดียวกัน ขณะที่กลุ่มไบเทคบางนากำลังขยายศูนย์แสดงสินค้าอีก 5,000 ตร.ม. พร้อมก่อสร้างโรงแรมระดับ 5 ดาวภายในศูนย์แสดงสินค้าไบเทค บางนาอีกด้วย



      

ทักษิณ มิใช่นักประชาธิปไตย

 “ทักษิณ ชินวัตร” ปลุกระดมผู้คนเสื้อแดง อ้างว่า จะโค่นล้มประธานองคมนตรี ล้มล้างระบบอำมาตย์ และจะทวงคืนประชาธิปไตยที่แท้จริง ???

    แต่จะทำเช่นนั้นได้อย่างไร ก็ในเมื่อ “ทักษิณ ชินวัตร” นั่นเอง คือผู้บิดเบือนและทำลายเนื้อแท้ของประชาธิปไตยด้วยน้ำมือตัวเขาเอง ตลอดเวลาที่อยู่ในอำนาจการเมือง

    ทักษิณเคยเป็นนายกรัฐมนตรีที่มาจากการเลือกตั้ง แต่ทักษิณไม่ใช่สัญลักษณ์ของระบอบประชาธิปไตยอย่างแน่นอน

    ตรงกันข้าม ทักษิณเป็นสัญลักษณ์ของนักการเมืองที่เข้ามาบิดเบือน ทำลาย แสวงหาอำนาจและผลประโยชน์ส่วนตัวจากระบอบประชาธิปไตยอย่างแท้จริง

    “ทักษิณ ชินวัตร” เป็นตัวแทนและเป็นสัญลักษณ์ของระบอบอะไรที่ไม่ใช่ประชาธิปไตย ?

    1)“ทักษิณ” มุ่งทำการเมืองการปกครองให้เป็นการเมืองพรรคเดียวเป็นใหญ่ และต้องเป็นพรรคที่ตนเองเป็นใหญ่คนเดียวเท่านั้น ทำให้ไม่มีสมดุล ไม่มีการถ่วงดุล ไม่มีความหลากหลาย

    นี่คือ “ คณาธิปไตย” ที่ปกครองโดยคนกลุ่มเดียวที่มีอำนาจทุน ไม่ใช่ประชาธิปไตยอย่างแท้จริง

    2)“ทักษิณ” ใช้วิธีการดูด ส.ส. ดูดพรรคการเมือง บีบสลายพรรคการเมือง เทคโอเวอร์ ฮุบพรรคการเมือง (ทั้งพรรคขนาดกลางและขนาดเล็ก ให้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของพรรคตนเอง) ใช้เงินและอำนาจ เพื่อเพิ่มขนาดพรรคการเมืองของตนเอง เพิ่มจำนวน ส.ส.ที่อยู่ภายใต้อาณัติของตนเอง ไม่ใช้การเติบโตจากภายใน ไม่ใช่การเติบโตจากฐานล่างของประชาชน แต่เป็นการมุ่งไปสู่การผูกขาดทางการเมือง กระทั่งเกิดมุ้งเล็กมุ้งใหญ่ในพรรค เกิดรอยร้าวทั้งในพรรคและระหว่างพรรค

    มุ่งสั่งสมจำนวน ส.ส. 400 เสียง เพื่อหลีกเลี่ยงการตรวจสอบและคานอำนาจตามรัฐธรรมนูญ โดยใช้วิธีการหลอกล่อ จูงใจ ยุให้แตก บีบให้แยก หรือซื้อตรง อันมิใช่ฉันทานุมัติของประชาชน ทำให้ขาดการตรวจสอบของรัฐสภา ขาดการผสานความสมดุล รวบอำนาจเข้ามาอยู่ใต้อาณัติสั่งการของตนเพียงคนเดียว

    ใช้นโยบายเอาหน้าประชานิยม ที่ไม่แก้ปัญหาที่แท้จริงให้ประชาชน ไม่ช่วยประชาชนให้ประชาชนพึ่งตนเองได้อย่างสมศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ แต่เอาเงินหลวงไปยื่นผลประโยชน์เฉพาะหน้าให้ประชาชน แลกกับคะแนนนิยมทางการเมือง ลวงหลอกประชาชนว่าจะแก้ปัญหาความยากจน แต่เปิดเผยกับนายเสนาะ เทียนทอง ไว้ในหนังสือ “ รู้ทันทักษิณ 4” (สำนักพิมพ์ขอคิดด้วยคน) ว่าขึ้นทะเบียนคนจนไว้ก็เพื่อหาเสียงเท่านั้นเอง โดยที่ยังไม่มีนโยบายหรือแผนการรูปธรรมรองรับใดๆ เลย

    นี่คือ “ธนาธิปไตย” ที่ใช้เงินเป็นเครื่องมือเข้าสู่อำนาจ รักษาอำนาจ และเพิ่มพูนอำนาจของตนเอง ไม่ใช่ประชาธิปไตยที่แท้จริง

    3)“ทักษิณ” ทำการแทรกซึมเข้าครอบงำวุฒิสภา และสมาชิกวุฒิสภา โดยการหว่านผลประโยชน์ล่อใจ ทำให้การทำงานของวุฒิสภาอ่อนแรง (แต่งตั้ง ตรวจสอบ ถอดถอน กลั่นกรองกฎหมาย) ทำให้ขาดความหลากหลายทางความคิด ขาดการกำกับดูแลที่มีประสิทธิภาพ

    “ทักษิณ” ทำการแทรกแซงกระบวนการได้มาซึ่งองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ ทั้งองค์กรอิสระที่มีอำนาจทางการเมืองอย่างศาลรัฐธรรมนูญ ป.ป.ช. กกต. และองค์กรอิสระที่ดูแลผลประโยชน์ในเชิงอำนาจทุนอย่าง กทช. กสช. ทำให้ขาดความเป็นอิสระ ขาดการตรวจสอบถ่วงดุล ขาดธรรมาภิบาล

    เป็นความพยายามผูกขาดการยึดกุมฐานอำนาจการเมืองและอำนาจทุน

    ที่สำคัญ ยังยึดกุมตัดตอนระบบตรวจสอบและกระบวนการยุติธรรมเอาไว้ทั้งหมด ตั้งแต่ต้นธารของกระบวนการยุติธรรม คือ ตำรวจ ทำให้ไม่สามารถดำเนินคดีกับทักษิณและพวกได้เลย

    นี่คือ “เอกาธิปไตย” ที่พยายามยึดครองทุกอย่าง ผูกขาดอำนาจรัฐและอำนาจทุนไว้ที่ตนเองฝ่ายเดียว ไม่ใช่ประชาธิปไตยโดยแท้จริง

    4) “ทักษิณ” ใช้อำนาจการปกครองที่ได้มาจากประชาชน กำหนดนโยบายเอื้อประโยชน์แก่กลุ่มทุนของตัวเอง หรือปูทางธุรกิจให้พวกพ้อง เช่น การส่งเสริมการลงทุนยกเว้นภาษีเงินได้ให้กิจการดาวเทียมของบริษัทในเครือ ชินฯ, การลดค่าส่วนแบ่งรายได้ที่ต้องจ่ายให้รัฐในกิจการโทรศัพท์มือถือประเภทพรีเพ ด, การแปลงค่าสัมปทานไปเป็นภาษีสรรพสามิตเอื้อประโยชน์ให้กิจการบริษัทมือถือ รายเก่า, การบีบให้เอ็กซิมแบงก์ปล่อยกู้ให้รัฐบาลพม่า นำเงินไปซื้อสินค้าจากบริษัทชินฯ, การขายกิจการรัฐวิสาหกิจ ขายสมบัติแผ่นดินไปเป็นของเอกชน, การใช้อำนาจแก้กฎหมายการถือครองหุ้นของต่างชาติในกิจการโทรคมนาคม เพื่อเปิดทางให้ครอบครัวของตนขายสมบัติแผ่นดินให้ต่างชาติ ทั้งดาวเทียม คลื่นความถี่ และนามพระราชทานไทยคม โดยหลบเลี่ยงไม่จ่ายภาษี, การเปิดสายการบินราคาต่ำ ทำลายสายการบินของชาติ เอื้อประโยชน์ใก้บริษัทของตนมากมาย ฯลฯ

    นี่คือ “โจราธิปไตย” ที่พยายามใช้อำนาจรัฐมาปล้นชิงหรือแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตัวโดยมิชอบ แปลงทรัพย์สินของหลวงไปเป็นสมบัติส่วนตัวของเอกชน ทรยศต่อความไว้วางใจของประชาชน ไม่ใช่ประชาธิปไตยอย่างแน่นอน

    5)“ทักษิณ” ทำการบิดเบือนทำลายเจตนารมณ์รัฐธรรมนูญ 2540 ลงเสียหมดสิ้น

    ทำการแปลงรัฐธรรมนูญประชาธิปไตยให้เป็นเครื่องมือของเผด็จการรูปแบบใหม่

    ทำลายเนื้อหาสาระของรัฐธรรมนูญ 2540 ย่อยยับ จนกระทั่งอดีต สสร.2540 “ คณิน บุญสุวรรณ” ได้เขียนหนังสือตีแผ่ชื่อ “ รัฐธรรมนูญตายแล้ว” (สำนักพิมพ์ขอคิดด้วยคน)

                          อีกทั้ง ยังมีการแต่งตั้งผู้ว่าซีอีโอ เพิ่มอำนาจให้ตัวแทนของรัฐบาลในภูมิภาค โดยไม่มีการจัดสรรอำนาจให้ภาคประชาชน เสมือนการตั้งคนของตนเองไป “ กินเมือง” หรือ “ ปกครองเมือง” โดยไม่ได้รับฉันทานุมัติจากประชาชน ทำให้ไม่เกิดการกระจายอำนาจ และยังจงใจละเว้น ไม่ดำเนินการกระจายอำนาจตาม พ.ร.บ.กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจฯ เพื่อให้อำนาจการปกครองประเทศรวมศูนย์อยู่ที่ตนเอง

    นี่คือ “เผด็จการ” โดย “ทักษิณาธิปไตย” คือ ใช้อำนาจจากทักษิณ โดยทักษิณ และเพื่อทักษิณ ไม่ใช่ประชาธิปไตยที่แท้จริง

    6)“ทักษิณ” ไม่เคารพเสียงข้างน้อย ไม่รับฟังเสียงวิพากษ์วิจารณ์ มุ่งทำลายความคิดเห็นที่แตกต่าง เหยียดหยามฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎรว่าอีกไม่นานจะไม่มีที่นั่งในสภาให้เล่น การเมือง ดูหมิ่นองค์กรภาคประชาชนว่ารับเงินต่างชาติมาเคลื่อนไหว ถากถางและดูถูกนักวิชาการว่าใช้สมองซีกเดียว ไม่รู้จริง พวกขาประจำ แทรกแซงและแทรกซื้อสื่อมวลชน ทำให้เสียงที่แตกต่างจากรัฐบาลไม่มีโอกาสสะท้อนความคิดเห็นในสื่อกระแสหลัก โดยเฉพาะโทรทัศน์และวิทยุของรัฐ

    ยิ่งกว่านั้น “ทักษิณ” ยังดำเนินนโยบายละเมิดสิทธิมนุษยชน และทำลายหลักนิติธรรมอย่างร้ายแรง เช่น วิ่งเต้นคดีซุกหุ้นจนรอดพ้นความผิด, การฆ่าตัดตอน หรือการฆาตรกรรมในสงครามยาเสพติดกว่า 2,500 ศพ, กรณีสลายการชุมนุมที่ตากใบ ทำให้ประชาชนตายอย่างทรมาน 83 ศพ, กรณีล้อมปราบ ยิงถล่มใส่มัสยิดกรือเซะ จากการสั่งการของพลเอกพัลลภ ปิ่นมณี และกรณีสะบ้าย้อยที่คนตายมากกว่าสิบคน, กรณีอุ้มฆ่าทนายสมชาย นีลไพจิตร ก็ละเว้นไม่ดำเนินการหาตัวผู้บงการมาลงโทษ รวมถึงกรณีการลอบสังหารผู้นำประชาชนอีกหลายสิบคน ตลอดช่วงที่ทักษิณครองอำนาจอยู่ เป็นต้น

    นี่คือ “อัตตาธิปไตย” ที่เอาความคิดเห็นและความต้องการของตนเองเป็นใหญ่ และทำทุกวิถีทางเพื่อบรรลุความต้องการของตนเอง ไม่ใช่ประชาธิปไตยอย่างแน่นอน

    7)“ทักษิณ” ก่อให้เกิดการจาบจ้วง ล่วงละเมิดพระราชอำนาจ ทั้งโดยวาจาและการกระทำ ต่างกรรม ต่างวาระ หลายต่อหลายครั้ง

    แม้กระทั่ง เมื่อพ้นจากตำแหน่งนายกฯไปแล้ว ถูกดำเนินคดีตามกระบวนการยุติธรรม ถูกศาลฎีกา พิพากษาลงโทษจำคุกในคดีเกี่ยวข้องกับการทุจริตที่ดินรัชดาฯ และถูกดำเนินคดียึดทรัพย์ที่ได้มาโดยมิชอบให้คืนเป็นของแผ่นดิน 76,000 ล้านบาท ทักษิณก็ยังเคลื่อนไหวปลุกระดมตนเสื้อแดง โดยโจมตีใส่ร้ายประธานองคมนตรี องคมนตรี และศาลยุติธรรม ซึ่งเป็นสถาบันที่รับใช้ใกล้ชิดพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ ปฏิบัติหน้าที่ในพระปรมาภิไธยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

    ล่าสุด พล.อ.พิจิตร กุลละวณิชย์ องคมนตรี ถึงกับกล่าวอย่างตรงไปตรงมาถึงการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพของทักษิณ และขบวนการเคลื่อนไหวของทักษิณและเสื้อแดง และเมื่อนักข่าวถามว่า การต่อสู้ของ พ.ต.ท.ทักษิณ เป็นการจ้องล้มสถาบันกษัตริย์หรือไม่ ? พล.อ.พิจิตร ตอบว่า “ แน่นอน ทำไมคนที่มีหน้าที่รับผิดชอบไม่ไปดำเนินการ”

    “ระบอบทักษิณ” จึงไม่ใช่ประชาธิปไตย แต่เป็น “ ทรราชธิปไตย” ที่มุ่งโค่นล้ม กลืนกิน และทำลายระบอบประชาธิปไตยอันพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุขโดยแท้

    บัดนี้ ... เมื่อ “ทักษิณ ชินวัตร” ประกาศตัวเป็นแม่ทัพ ปลุกระดมจัดตั้งประชาชนเสื้อแดง อ้างว่าจะต่อสู้แตกหัก เพื่อนำประชาธิปไตยที่แท้จริงกลับคืนมา จึงเป็นการโกหกหลอกลวงประชาชนมากที่สุดอีกครั้งหนึ่ง

    แท้ที่จริง ความต้องการของ “ทักษิณ ชินวัตร” ในขณะนี้ คือ ต้องการให้ตนเองไม่ถูกยึดทรัพย์ 76,000 ล้านบาท และไม่ต้องติดคุก เท่านั้นเอง !

    “ทักษิณ ชินวัตร” จะรังเกียจทหารหรือเผด็จการได้อย่างไร ในเมื่อตัวเขาเองร่ำรวยมาทุกวันนี้ ก็เพราะสัมปทานผูกขาดดาวเทียมที่ได้รับจากการวิ่งเต้นในสมัยเผด็จการทหาร รสช.

    “ทักษิณ ชินวัตร” จะต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยได้อย่างไร ในเมื่อเขาได้ทำลายรัฐธรรมนูญ 2540 และทำลายประชาธิปไตย โดยแปลงมาเป็นเผด็จการผูกขาดด้วยน้ำมือตนเอง และตลอดชีวิตที่ผ่านมา เขาก็ไม่เคยปรากฏว่าได้ยืนหยัดต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยร่วมกับประชาชนเลย

    “ทักษิณ ชินวัตร” จะจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ได้อย่างไร ในเมื่อตัวเขาเองกระทำการในสิ่งที่ขัดแย้งกับคำพูดที่อ้างจงรักภักดีมาโดย ตลอด โดยเฉพาะการมุ่งโจมตีทำลายสถาบันองคมนตรี สถาบันศาล และสถาบันทหาร เสมือนพยายามลิดรอนกิ่งก้าน มือไม้ ตัดแขนตัดขา โค่นล้มหรือตัดทอนกำลังของสถาบันหลักของชาติ

    มี 3 อย่าง ที่ “ ทักษิณ ชินวัตร” จะเป็นได้หรือได้เป็น หลังวันที่ 8 เมษายน 2552 คือ 1) นักโทษหนีการจับกุมผู้พยายามขอลี้ภัย 2) นักโทษเด็ดขาดในคุก และ 3) กบฏ หรือ ทรราช

              
                          ตอนนี้ขอเกาะชายกระโปรงน้องกลับบ้าน   

   แล้วทักษิณก็หงายไพ่ "นายกฯ ตัวแทน" ในแผนปฏิบัติการรุกคืบ "ยึดอำนาจ-เปลี่ยนระบอบ-กลืนสถาบัน-บายสีสู่ขวัญ...ทักษิณคืนเมือง "บันทึกไว้ ณ วันจันทร์เล็งอังคารที่ ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๕๔ ตรงกับขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๖ ปีเถาะ ก็ต้องกราบขอบคุณทักษิณที่ดูถูกคนไทยแบบไว้หน้า โดยส่งน้องสาว "ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร" แทนเสาไฟฟ้าให้สาวกแดงได้เลือกเป็นนาย!
เห็น มวลสมาชิกเพื่อไทยปรบมือ โห่ร้อง ดีใจ กับว่าที่นายกฯ หญิงคนแรก ถึงขนาดอดีตนายพลแห่งกองทัพไทย "พลเอกพัลลภ ปิ่นมณี" อวยนายเหนือหัวคนใหม่ว่า...
ถึงยุค "นารีขี่ม้าขาว" มาเป็นผู้นำประเทศที่จะทำให้ประชาชนร่ำรวยแล้ว
ผมน้ำตาเล็ด!!
เล็ด ด้วยปริ่มปลื้มไปกับคุณยิ่งลักษณ์และคณะพรรคเพื่อไทย มีนายกฯ ผู้ชายมาแล้วตั้ง ๓ คน ทั้งทักษิณ-สมัคร-สมชาย เกาะขากางเกงมันก็งั้นๆ
เปลี่ยน เป็นนายกฯ ผู้หญิงดูบ้าง ลองเกาะชายกระโปรงนำหน้า อาจจะเข้าท่า-เข้าทางกว่าด้วยซ้ำ ถึงพูดไม่เก่ง เรียนรู้การเมืองจากพี่ชายมาหลักสูตรเดียวคือ "แปลงการเมืองเป็นหุ้น" แค่นั้นก็เหลือเฟือ ถึงอย่างอื่นทำไม่เป็นก็ไม่เป็นไร แจกยิ้มเข้าไว้ ภูเขาทั้งลูกยังพังได้
แล้วจะซักเท่าไหร่ กับการบริหารประเทศไทยที่ "เงินซื้อได้" จากปลายยันยอด!?
ครับ...แต่ ละพรรคก็เปิดตัวผู้สมัคร ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ หรือ ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ของพรรคตัวเองเพื่อชิงที่นั่งในสภา ๑๒๕ ที่นั่งกันแล้วแต่เมื่อวาน (๑๖ พ.ค.๕๔) ปาร์ตี้ลิสต์เบอร์ ๑ เพื่อไทย ก็เป็นไปตามที่รู้กัน คือทักษิณสั่ง...ต้องยิ่งลักษณ์คนเดียว



papa05:

มหากาพย์พลังงานไทยโกงไทย

โดย บัณรส บัวคลี่


       นับจากนี้เหตุการณ์ประชาชนรวมกันคัดค้านบริษัทสำรวจ-หรือขุดเจาะ น้ำมัน-แก๊สธรรมชาติอย่างที่สมุย-เกาะเต่า สุราษฎร์ธานีหรือที่บ้านกลาย ท่าศาลา นครศรีธรรมราชจะต้องเกิดขึ้นอีกอย่างแน่นอนด้วยพล็อตเรื่องที่ซ้ำจำเจเพียงแต่เปลี่ยนฉากเปลี่ยนตัวละครบริษัทน้ำมันชื่อต่างไปเรื่อยเนื่องจากประเทศไทยพบแหล่งก๊าซและน้ำมันดิบแหล่งใหม่มากขึ้นกว่าทศวรรษที่แล้วมากมายและก็มีสัมปทานแบบที่เป็นอยู่เพิ่มขึ้นเรื่อย
 
       เมื่อปี 2524 ในยุค พล.อ.เปรมที่เราเจอแหล่งก๊าซธรรมชาติแหล่งแรกเราประกาศว่าประเทศไทยกำลัง เข้าสู่ยุค “โชติช่วงชัชวาล” แต่ในทางปฏิบัติจริงของการพลังงานไทยเมื่อ 30 ปีก่อนยังทำได้แค่เชื่อมท่อก๊าซเข้าสู่โรงผลิตไฟฟ้า ใช้ก๊าซแทนน้ำมันเตาที่แพงกว่ากัน หาได้ใช้ก๊าซพื่อประโยชน์ด้านอื่นอย่างคุ้มค่าและครบวงจรแต่อย่างใด
 
       แม้กระทั่งเมื่อ 10 ปีก่อน-หลังจากเราประสบปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจต้มยำกุ้ง ประเทศไทยเพิ่งจะเริ่มคิดเรื่องการผลักดันให้ใช้ก๊าซ NGV เพื่อการขนส่งโดยตรงทำให้ 10 ปีหลังมีรถ NGV วิ่งบนถนนมากมายแม้รถยนต์ของเรายังไม่ได้เป็น FFV (Flexible-fuel vehicle) เหมือนต่างประเทศที่สามารถเลือกเติมเชื้อเพลิงแบบไหนก็ได้ลงไป(ตามแต่ สถานการณ์และราคาแล้วเจ้าเครื่องอัจฉริยะจะแยกแยะนำไปใช้เอง) เอาแค่ NGV กับ LPG รถติดก๊าซก็ได้เป็นหนึ่งในทางเลือกของพลังงานเพื่อการขนส่งไปแล้วเต็มตัว
 
       เราเคยมีความคิดแบบดั้งเดิมว่า ก๊าซธรรมชาติหรือจะสู้น้ำมันดิบที่ทั้งราคาแพง และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้มากกว่าต่อให้เราเป็นเจ้าแห่งก๊าซธรรมชาติก็คง สู้ประเทศผู้ผลิตน้ำมันดิบไม่ได้ ฐานคิดดังกล่าวควรจะปรับปรุงใหม่เพราะด้วยพลานุภาพของเทคโนโลยีในปัจจุบันจะ เป็นน้ำมัน เป็นก๊าซหรือเป็นไฟฟ้าล้วนแต่สามารถแปลงมาใช้ประโยชน์ในฐานะ “พลังงานในชีวิตประจำวัน” ของคนระดับชาวบ้านทั่วไปได้ไม่แตกต่างกัน
 
       พี่น้องคนไทยทราบหรือไม่ว่าเทคโนโลยีปัจจุบันมีเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ขนาดเล็กแค่มีท่อก๊าซเสียบเข้าไปก็ปั่นไฟฟ้าใช้ได้ในชุมชนได้เลย ภาพจินตนาการสวยที่ ประชาชนได้ใช้ประโยชน์จากพลังงานของเราเองอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วยดังกล่าวจะ เกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมีการรื้อปรับนโยบายพลังงานของประเทศกันเสียก่อน
 
       ปริมาณที่เพิ่มขึ้นของบริษัทน้ำมันที่พาเหรดเข้ามาสัมปทานขุดเจาะ สำรวจและผลิตน้ำมัน-ก๊าซทั้งบนบกและในน้ำยืนยันความล้ำค่าของทรัพยากร น้ำมัน-ก๊าซที่ประเทศไทยมีอยู่เป็นอย่างดี...ถ้าทำแล้วขายไม่ได้ไม่มีคนต้อง การมีหรือที่บริษัทเหล่านี้จะพาเหรดเข้ามาแบบหัวกะไดไม่แห้งอย่างที่เป็น อยู่
 
       ถ้ายังจำกรณีที่บริษัทขุดเจาะสำรวจน้ำมันยุคแรกอย่างยูโนแคลประกาศ ขายกิจการซึ่งครอบคลุมพื้นที่ไทยพม่าและเอเชียอาคเนย์มีบริษัทจีนมาซื้อที่ สุดอเมริกาไม่ยอมขายถึงขั้นต้องเอาเข้าสภาคองเกรสและให้เชฟรอนมาซื้อกิจการ นี้แทนจนเชฟรอนกลายเป็นยักษ์ใหญ่ในอ่าวไทยที่กำลังมีปัญหากับคนสมุย-คนบ้านกลายในเวลานี้
 
       นอกเหนือจากยุทธศาสตร์พลังงานในเอเชียอาคเนย์ที่เป็นเหตุผลต้องซื้อ ยูโนแคลแล้ว อเมริกายังทราบเรื่องปริมาณน้ำมันและก๊าซสำรองของไทยเป็นอย่างดี ข้อมูลของอเมริกานี่เองที่บอกว่าปริมาณพลังงานของไทยนั้นติดอันดับโลก เอาเฉพาะหมวดก๊าซธรรมชาติยังเหนือกว่าประเทศในกลุ่มโอเปคบางประเทศเสียอีก
 
       มาดูตารางของสถาบัน Energy Information Administration - EIA ของสหรัฐอเมริกา ตารางนี้ผุ้เชี่ยวชาญที่เกาะติดสถานการณ์น้ำมันชาวไทยท่านหนึ่งที่ไม่อยาก เปิดเผยตัวปรับมาเป็นภาษาไทยเพื่อให้ง่ายต่อการเปรียบเทียบและทำความเข้าใจ นำมาจากสถาบัน EIAสหรัฐอเมริกาเพื่อบอกว่า อเมริการู้ดีว่าประเทศไทยมีก๊าซธรรมชาติเป็นลำดับ 27 ของโลก อยู่ท่ามกลางประเทศกลุ่มโอเปคและประเทศที่เราเชื่อว่ามีทรัพยากรเยอะ(ที่วง กลมไว้) ไม่เฉพาะก๊าซธรรมชาติเท่านั้นแม้กระทั่งการผลิตน้ำมันดิบก็อยู่ลำดับ 33 ของโลกเหนือกว่าบรูไนหรืออดีตโอเปคอย่างกาบองเสียอีก
      
(ที่มา-ปรับปรุงจากhttp://www.eia.doe.gov/)
       นี่จึงเป็นเครื่องยืนยันเชิงตัวเลขที่มาของการเปิดแปลงสัมปทานขุด เจาะและผลิตน้ำมัน-ก๊าซธรรมชาติอย่างคึกคักทั้งบนบกและในอ่าวไทยไม่แพ้ อเมริกายุคตื่นทองและนี่จึงเป็นที่มาของเหตุการณ์คนสมุยออกมาจับมือล้อมเกาะ รวมทั้งคนบ้านกลายและคนนครศรีธรรมราชออกมาคัดค้านโครงการกลุ่มเชฟรอนอย่าง ที่เห็นกันอยู่ในหน้าข่าวหนังสือพิมพ์
 
       ทรัพยากรพลังงานของไทยแม้จะไม่มากเท่ากับยักษ์ใหญ่ซาอุดิอาระเบีย รัสเซีย หรือประเทศตะวันออกกลางอื่นแต่มันก็มากเพียงพอจะให้ไทยอยู่ในแผนที่พลังงานโลกไม่ว่าจะด้วยปริมาณสำรองหรือด้านภูมิรัฐศาสตร์
 
       สิ่งที่ต้องย้ำเป็นหลักคิดพื้นฐานจากภาวการณ์นี้ก็คือประชาชนคนไทยมี สิทธิ์เต็ม 100% ในทรัพยากรพลังงานเหล่านี้ น้ำมันและก๊าซเหล่านี้ไม่ใช่เป็นของรัฐมนตรีกระทรวงพลังงาน ผู้บริหารปตท. หรือกระทั่งนายทุนจมูกไว
 
       หลักคิดที่สอง-ทรัพยากรพลังงานที่เรามีอยู่จะต้องสร้างประโยชน์สูงสุดให้กับประเทศชาติและประชาชน
 
       หลักคิดข้อสุดท้ายก็คือเราไม่สามารถหลีกเลี่ยงความเป็นประเทศที่ถูก จัดในแผนที่แหล่งพลังงานโลก จะดีร้ายยังไงเราก็ต้องเจอกับกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการพลังงานไม่ทางใดทาง หนึ่งอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ดังนั้นน่าจะเปลี่ยนกรอบคิดในทำนอง “มึงมาข้าเผา” หรือปฏิเสธไม่เอาสถานเดียว เพราะเทคโนโลยีในปัจจุบันสามารถวางใจได้มากกว่ายุคก่อนหน้าแต่สิ่งที่ต้อง เร่งกระทำก็คือการทำความเข้าใจกับสิ่งเปลี่ยนแปลงในบ้านของเราอย่างลึกซึ้ง และรอบด้าน เลือกสิ่งที่เป็นประโยชน์สูงสุดให้กับบ้านเมืองและชุมชนของเราเอง อย่างน้อยไม่ใช่แค่ค่าภาคหลวงให้อบต.ปีละไม่กี่สตางค์เมื่อเทียบกับกำไรที่เขาสูบได้ไป
 
       ฐานคิดของประชาชนจึงไม่ควรคิดแต่ผลกระทบกับเราเท่านั้น เพราะทุกอย่างที่มีทั้งบวกลบ อย่างเช่นเทคนิคการขุดเจาะสำรวจแบบน้ำตื้นย่อมวางใจได้มากกว่าแบบที่ BP ทำในอ่าวเม็กซิโก หรือแม้แต่ระบบท่อแก๊ซมาตรฐานโลกก็สามารถวางใจได้ในทางทฤษฎีมิฉะนั้นเขาไม่ มีการวางท่อแก๊ซเหมือนท่อประปาไปตามบ้านเรือนในหลายประเทศ
 
       เรื่องเหล่านี้จะเป็นเรื่องใกล้ตัวคนไทยมากขึ้นที่ สุดแล้วเรายังสามารถไว้วางใจเทคโนโลยีและระบบที่ดีได้เพราะสิ่งเหล่านี้เป็น ของตาย.. แต่ที่ไม่ควรวางใจนั่นคือคน-โดยเฉพาะคนไทยด้วยกันเอง !
 
       ท่านทราบหรือไม่ว่าในขณะที่ประเทศไทยเริ่มกลายเป็นเป้าหมายในแผนที่ พลังงานโลก และคนไทยเป็นเจ้าของทรัพยากรที่คนทั้งโลกต่างต้องใช้แต่ไทยยังเก็บภาษีขุด เจาะน้ำมันและพลังงานเพียงเฉลี่ย 10-11% เท่านั้น ขณะที่บางประเทศเขาต่อรองกับบริษัทน้ำมันรัฐบาลเก็บไป 80% บริษัทน้ำมัน 20% และโดยส่วนใหญ่หลายประเทศเขาแบ่งผลประโยชน์กันครึ่ง
 
       คนที่อื่นเขาได้ 50-80% แต่คนไทยเจ้าของน้ำมันได้แค่เฉลี่ย 10% เท่านั้น !
 
       ก่อนหน้านี้ประเทศไทยเคยเก็บภาษีขุดเจาะน้ำมันและก๊าซที่อัตรา 12.58% อัตราดังกล่าวกำหนดในยุคที่ประเทศไทยเราไม่มีเทคโนโลยีและทักษะเรื่องการขุด เจาะมากเพียงพอต้องอาศัยการลงทุนจากภายนอกทั้งหมด อัตราดังกล่าวจึงตั้งขึ้นให้จูงใจดึงคนมาลงทุนสำรวจและลงทุนขุดเจาะนำมาใช้ แต่พอถึงยุคปลายรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรต่อเนื่อง พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ได้แก้กฎหมายใหม่อ้างสวยหรูว่าเป็นอัตราภาษีก้าวหน้า อยู่ในช่วง 5-15% ตามแต่ปริมาณการขุดขึ้นมา
 
       อัตราก้าวหน้าจึงทำให้เราเก็บภาษีน้ำมันได้เฉลี่ยแค่ 10% กว่าลดจากเดิมลงไปอีก !!!
 
       น่าแค้นใจไหมคนไทยเจ้าของบ่อก๊าซบ่อน้ำมัน .. ในช่วงเวลาใกล้เคียงกับที่เราปรับภาษีขุดเจาะน้ำมันให้ไทยได้รับน้อยลง ประธานาธิบดีฮูโก้ ชาเวซ ของเวเนซุเอล่ากลับเป็นเป้าหมายสนใจของคนทั้งโลกเพราะปฏิวัติระบบรายได้ส่วน แบ่งน้ำมันจากบริษัทต่างชาติให้ประเทศชาติและประชาชนได้ประโยชน์สูงสุด
 
       อยากให้พี่น้องคนไทยอ่านงานของกมล กมลตระกูลเรื่อง ฮูโก ชาเวซ : เส้นทางสู่การเมืองภาคประชาชน ว่าเขามีแนวทางทำให้ทรัพยากรธรรมชาติยังประโยชน์ให้กับประชาชนเจ้าของ ทรัพยากรอย่างไร เอาแค่ตัวอย่างเดียวก่อนหน้านี้เวเนซูเอล่าถูกสูบน้ำมันโดยนักการเมืองร่วม กับทุนต่างชาติ โดยผ่านองค์กรรัฐวิสาหกิจชื่อPDVSA (Petroleos de Venezuela, S.A.) แต่ผลกำไรของบริษัทที่ตั้งขึ้นตกอยู่ในกลุ่มพวกพ้องทั้งสิ้นแทบไม่เหลือกลับ เข้าประเทศเลย
 
       กรณีประเทศเขา PDVSA ที่ไม่แยแสประชาชนไปสนแต่นักลงทุนเหตุไฉนจึงเหมือนกับ ปตท.บ้านเราได้ถึงเพียงนี้
 
       มีหลักฐานมากมายหลายประการยืนยันว่านโยบายการพลังงานที่เอื้อต่อทุน ไม่สนประชาชน การแปรรูปปตท.และการทำมาหากินในเครือข่ายขุนนางพลังงานกับทุน การพาเหรดเข้ามาของต่างชาติบนพื้นฐานนโยบายไม่แยแสประชาชน ฯลฯ ล้วนเป็นเรื่องเดียวกันทั้งสิ้นนั่นก็คือปัญหาโครงสร้างการพลังงานไทยที่ อัปลักษณ์ ไม่วางบนผลประโยชน์ชาติและประชาชนจริง
 
       ในฐานะเจ้าของทรัพยากรแทบไม่ได้อะไร
 
       ในฐานะผู้บริโภคยังถูกเปรียบในทุกขั้นตอน
 
       ถ้านโยบายและการปฏิบัติในเรื่องพลังงานยังไม่ได้ยืนบนประโยชน์ประชาชนจริงก็ รบเถิดประชาชน !! นี่ไม่ใช่เป็นการยุเอามันแบบมึงมาข้าเผา หากแต่ต้องการให้ประชาชนคนไทยรบเพื่อเรียกร้องสิทธิพื้นฐานและสิทธิของความ เป็นเจ้าของทรัพยากรมากขึ้น
 
       ระหว่างที่พี่น้องสมุยออกมาเคลื่อนไหว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานออกมาให้สัมภาษณ์ว่าเทคโนโลยีขุดเจาะไม่เป็น อันตรายไม่เหมือนอ่าวเม็กซิโกอย่างแน่นอน ส่วนกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติซึ่งมีหน้าที่ให้สัมปทานและกำกับดูแลสัมปทานต่างก็ออกมาแถลงแบบเดียวกันไม่เพียงเท่านั้นยังซื้อหน้ากระดาษหนังสือพิมพ์รายวันโฆษณาความปลอดภัยในประเด็นดังกล่าว
 
       ทั้งนักการเมืองและข้าราชการ รวมทั้งขุนนางพลังงานเทคโนแครตทั้งหลายคงจะคิดว่าประชาชนไม่เข้าใจข้อมูล ตื่นกลัวไปเอง.. ฐานคิดคือ “ประชาชนไม่รู้ข้อมูล !!?”
 
       แต่ขอโทษเถิดอยากจะใช้คำแรงเช่น บัดซบหรืออะไรก็ได้ที่ใกล้เคียงกันมาประกอบนั่นเพราะว่ารัฐที่หมายถึงนักการ เมืองและขุนนางพลังงานต่างหากที่ปิดบังข้อมูลอันเป็นสิทธิพื้นฐานของประชาชน
 
       แค่เริ่มต้นกระบวนการแรกก็ละเมิดสิทธิ์ประชาชนแล้ว -จะไม่ให้ประกาศรบยังไงไหว !!
 
       พรบ.ข้อมูลข่าวสารของราชการ 2540 กำหนดว่า สัญญาในการดำเนินการต่างของ รัฐย่อมไม่เป็นความลับ มาตรา 9(6) จึงกำหนดให้หน่วยงานจัดสัญญาดังต่อไปนี้ให้ประชาชนตรวจดู นั่นคือ ก.สัญญาสัมปทาน ข.สัญญาผูกขาดตัดตอน ค.สัญญาร่วมทุนกับเอกชนในการจัดทำบริการสาธารณะ
 
       แต่กระทรวงพลังงานโดยเฉพาะกรมเชื้อเพลิงพลังงานไม่ได้เปิดสัมปทานสำรวจ-ขุดเจาะน้ำมันใดออกสู่สาธารณะ เรื่องนี้เป็นที่รับรู้กันในแวดวงผู้สนใจปัญหาพลังงานมานานแล้ว
 
       และเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 19 สิงหาคมเวลาบ่ายผมทดสอบเพื่อยืนยันเรื่องนี้อีกครั้งโดยได้โทรฯไปที่เบอร์ซึ่งเว็บไซต์กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติระบุให้โทรฯไปสอบถามผู้เชี่ยวชาญด้านสัมปทานปิโตรเลียม มติคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับสัมปทานปิโตรเลียม และมติคณะกรรมการปิโตรเลียม
 
       ผมไม่ทะเลาะกับเจ้าหน้าที่หรอก พูดดีด้วยสุภาพเพราะรู้ว่าคนผิดคือฝ่ายนโยบายและข้าราชการระดับสูงเพียงแต่ ได้รับการยืนยันว่าให้ไปหาข้อมูลแปลงสัมปทานต่างได้ในรายงานประจำปี ซึ่งเมื่อไปดูแล้วมันเป็นคนละเรื่องกับสัญญาสัมปทานที่กฎหมายกำหนดให้หน่วยงานต้องเปิดให้คนทั่วไปเข้าดูได้ทันที
 
       สัญญาสัมปทานสำรวจน้ำมันหรือก๊าซเป็นสิทธิพื้นฐานที่ประชาชนต้องรู้ และเข้าถึงได้ทันที แต่เพราะว่ามันมีผลประโยชน์ในระหว่างทุน-ขุนนางพลังงานและนักการเมืองร่วม กันกำอยู่ดังนั้นเรื่องพื้นดังกล่าวจึงกลายเป็นความลับงี่เง่าประจานตัวเองรัฐบาลไทย
 
       ปากหนึ่งบอกประชาชนไม่ศึกษาข้อมูล แต่อีกทางหนึ่งก็ปิดข้อมูลพื้นฐานเอาไว้ !!
 
       ตัวอย่างสัมปทานที่เอกชนไม่ทำ..ปล่อยคาราคาซังไม่ทำตามสัญญาถ้าเป็น ประเทศที่เขาโปร่งใสประชาชนจะไม่ยอมให้บริษัทดังกล่าวได้สัญญาอีก แต่เชื่อไหมว่าต่อมาได้มีพลังลึกลับอุ้มชูบริษัทดังกล่าวเข้ามาฮุบพื้นที่ แปลงสัมปทานทั่วอ่าวไทยก็คือ กรณี “Harrods Energy” ที่ต่อมาแปลงร่างเป็น “Pearl Oil”
 
       เพื่อนพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรที่ชื่อโมฮัมหมัด อัล ฟาเยดตั้งบริษัท แฮร์รอดส์ เอ็นเนอร์ยี่ (Harrods Energy) ก็ได้สิทธิสำรวจน้ำมันใน 4 แปลงขุดเจาะในอ่าวไทยอีกบริษัทหนึ่งไปสำรวจแหล่งแร่ที่ชายฝั่งพังงาซึ่งคนใน วงการรู้ว่าไม่ได้ทำอะไรเป็นชิ้นเป็นอัน ต่อมาแฮรอดส์ก็ไปจดทะเบียนเปลี่ยนชื่อเป็น “Pearl Oil” เมื่อ 2547 คราวนี้มีเป้าหมายใหม่ใหญ่กว่าเดิมเพราะต้องการแปลงสัมปทานในประเทศไทยมาก ขึ้นจนกลายเป็นยักษ์ใหญ่คู่กับ เชฟรอน-ปตท.
 
       เรื่องแฮรอดส์-เพิร์ลออยล์มีรายละเอียดเยอะจะค้างไว้วันหลังเพียงรอบ นี้อยากบอกว่าเงื่อนไขสัมปทานทั้งหลายแหล่นั้นไม่ได้มีไว้เพื่อการประกอบการ พิจารณาให้สัมปทานใหม่หรือเพื่อรักษาผลประโยชน์ชาติ จึงเป็นช่องให้ทุนบางรายมีไว้เพื่อรักษาสิทธิ์และทำมาหากินได้ต่อไป
 
       และถ้าหากเปิดสัญญาสัมปทานดูดีไม่แน่จะพบบริษัทน้ำมันที่จดทะเบียนที่เกาะเคย์แมน หรือเกาะฟอกเงินอื่นก็ ได้เพราะครั้งหนึ่งบริษัทในกลุ่มเพิร์ลออยล์ก็เคยจดทะเบียนที่เกาะฟอกเงิน นี้มาแล้ว -นี่กระมังที่เป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่ขุนนางพลังงานไม่อยากเปิดข้อมูลส่วนนี้ ให้คนไทยรับรู้
 
       นโยบายการพลังงานไทยปัจจุบันยังเป็นกรอบนโยบายที่ถูกกำหนดโดยขุนนาง พลังงานร่วมกับทุนใหญ่ โดยมีปตท.ผู้สวมหมวกสองใบเอกชนก็เป็นรัฐวิสาหกิจก็ใช่เป็นกลไกควบคุม มหากาพย์เรื่องการพลังงานหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่ต้องกล่าวถึงปัญหาของปตท. ที่เดินห่างจากคำว่าผลประโยชน์ชาติและประชาชนมากขึ้นทุกขณะ เอาง่ายราคาขายปลีกน้ำมันที่ขายให้คนไทยห่างจากราคาน้ำมันดิบมาตรฐานมากขึ้นเรื่อยนับจากปี 2544 เป็นต้นมา
 
       ยกตัวอย่างราคาขายปลีกหน้าปั๊มน้ำมันเบนซิน 91 เมื่อปี 2546 ปตท.คิดเพิ่มจากราคาน้ำมันดิบดูไบแค่ลิตรละ 10 บาทโดยเฉลี่ย มาปีนี้การคิดบวกเพิ่มขึ้นเท่าตัวเป็น 20 บาท จะเอากำไรมากมายไปทำไมคำตอบก็คือเขาต้องกำไรเพราะเข้าตลาดหุ้น ต้องปันผลและต้องสร้างผลงาน นี่เป็นตัวอย่างเล็กตัวอย่างหนึ่งในหลายร้อยตัวอย่างที่บ่งบอกว่า ปตท. ไม่ได้ยืนบนผลประโยชน์ประชาชนตามความคาดหวัง
 
       จะเรื่องสมุย เรื่องเชฟรอนที่บ้านกลาย หรือเรื่อง ปตท. ล้วนแต่เป็นเรื่องเดียวกัน เพราะนี่เป็นปัญหาทั้งใหม่และใหญ่ที่กำลังเผชิญหน้าคนไทย
 
       เชื่อเถอะครับนโยบายพลังงานที่มองเห็นหัวประชาชนสามารถเติมเงินในกระเป๋าคนไทยได้จริงแต่ปรากฏว่ามีคนกลุ่มเล็กเท่านั้นที่ได้ประโยชน์จากความมั่งคั่งดังกล่าวมิหนำซ้ำยังสูบเงินจากกระเป๋าคผู้บริโภคคนไทยไปอีก
 
       ทั้งนักการเมือง ทั้งทุน และทั้งขุนนางพลังงานที่เบาะก็รับเงินค่าตำแหน่งเพิ่มปีละ 5 ล้าน 10 ล้านล้วนแต่ปกปิดกีดกันประโยชน์ดังกล่าวนี้
 
       การปกป้องสิทธิ์ของตัวเองทั้งในฐานะเจ้าของทรัพยากรและในฐานะผู้ บริโภค- อันดับแรกชาวสมุยและชาวนครศรีฯ ควรจะทวงสิทธิ์การรับรู้ข่าวสารพื้นฐานจากกระทรวงพลังงานซึ่งดีแต่โฆษณาใน มุมเดียว หลังจากนั้นถึงคราวคนไทยต้องมาทวงสิทธิ์รับรู้ขั้นตอนการทำกำไรเกินควรจาก ผู้บริโภคพลังงาน และที่สุดคือสิทธิ์ที่จะร่วมคิดร่วมจัดการทรัพยากรของประเทศซึ่งที่สุดแล้ว คนไทยทุกคนมีสิทธิ์ในทรัพยากรนั้นอย่างเท่าเทียม
       

คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่ขึ้น





ถ้าทุนทักษิณและพวกแปรรูปปตท.เมื่อปี 2544 แบบเนียนไม่ โลภเกินเหตุ กระแสข้อสงสัยคลางแคลงใจต่อการเข้ามาแบ่งผลประโยชน์มหาศาลในกิจการพลังงานคง ไม่เกิดอย่างกว้างขวางและต่อเนื่องมาถึงปัจจุบันทั้งที่เวลาได้ผ่านไปร่วม 9 ปีแล้ว
  
        ถ้าพวกเขาฮุบหุ้นแบบเนียนผ่าน กองทุนต่างประเทศ และผ่านโบรกเกอร์ไม่หน้ามืดตามัวไปแย่งเอาจากส่วนจัดสรรของประชาชนรายย่อย ที่มีสัดส่วนน้อยกว่าเยอะ การค้นหาหลักฐานบ่งชี้ว่ามี “ผู้มีอำนาจเหนือระบบ” กำหนดและบงการการจัดสรรหุ้นคงจะยากขึ้นอีกมากเพราะเป็นหุ้นที่ผ่านกองทุน ต่างประเทศ
  
       ความโลภเกินพิกัดตัวเดียวนี่เองที่ทำให้เกิดหลักฐานผูกมัดปรากฏใน ประวัติศาสตร์การพลังงานไทยให้จดจำชั่วลูกหลานว่าการแปรรูปการปิโตรเลียม แห่งประเทศไทย (ปตท.) เป็นบริษัท ปตท. จำกัด(มหาชน) เมื่อพ.ศ.2544 นั้นสกปรกโสมมที่สุดอีกครั้งหนึ่ง และต้องบันทึกว่าการแปรรูป ปตท.เนื้อแท้มาจากทุนและอำนาจทางการเมืองหวังผลประโยชน์และความมั่งคั่งจาก กลไกควบคุมพลังงานของไทย
  
        ปตท. แปลงร่างเป็น Super Enterprise ปากหนึ่งบอกว่าการแปรรูปเดินตามปรัชญาการแข่งขันเสรี ทำให้เป็นเอกชนปราศจากการครอบงำของรัฐซึ่งฐานของปรัชญานี้เชื่อว่าทำให้การ ประกอบการมีประสิทธิภาพขึ้น แต่อีกทางหนึ่งเจ้าบริษัทมหาชนแห่งนี้ก็คงอำนาจหน้าที่ของความเป็นรัฐ วิสาหกิจเอาไว้คงเดิม
  
        ปตท.กระจายหุ้นเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2544 รวม 800 ล้านหุ้น มูลค่าหุ้นละ 35 บาท(ปัจจุบันประมาณ 260 บาท) แบ่งเป็น 4 กลุ่มซึ่งแต่ละกลุ่มล้วนมีปัญหาทั้งสิ้น
  
        กลุ่มแรก-หุ้นผู้มีอุปการะคุณ 25 ล้านหุ้น ซึ่งกรรมการปตท.สามารถตัดสินใจที่จะให้ใครก็ได้ในนามของผู้มีอุปการะคุณคำถามตัวโตก็ คือหุ้นปตท.ตีค่าเป็นทรัพย์สินของส่วนรวมไม่ใช่หุ้นบริษัทเอกชนที่เจ้าของ นึกพิศวาสใครก็ยกให้ได้ในราคาถูก ถ้าปตท.ไม่ใช่รัฐวิสาหกิจจะไม่มีคำครหาใดสำหรับ ประเด็นนี้ มูลค่าส่วนต่างของผู้ที่ได้หุ้นกลุ่มนี้ ถ้าคิดจาก 260-35= 225 บาท/หุ้น จะเป็นเม็ดเงินถึง 5,625 ล้านบาทซึ่งบรรดาผู้มีอุปการะคุณใครก็ไม่รู้ได้ไปสบายจากกิจการที่เป็นทรัพย์สมบัติชาติ
  
        นี่เป็นความไม่ชอบประการแรกในการกระจายหุ้นครั้งนั้น และที่สำคัญสังคมไทยยังไม่เคยทราบข้อมูลจากปตท.เลยว่าบรรดาผู้มีอุปการะคุณ ที่ได้รับแจกหุ้นไปมีใครบ้างและได้ไปคนละเท่าไหร่ ทั้งที่เรื่องนี้เป็นธรรมาภิบาลพื้นฐาน
  
        กลุ่มที่สอง-หุ้นขายให้ผู้ลงทุนต่างประเทศ 320 ล้านหุ้น มูลค่าส่วนต่างประมาณ 7.2 หมื่นล้านบาทไม่นับรวมเงินปันผลและสิทธิอื่นหุ้นกลุ่มนี้เชื่อว่ามีฝรั่งหัวดำที่เป็นคนไทยและทุนไทยโดยเฉพาะทุนการเมืองคว้าไปโดยจนบัดนี้ก็ไม่เคยปรากฏจะสืบสาวได้ต่อ
  
        กลุ่มที่สาม-เป็นหุ้นสำหรับบุคคลทั่วไปในประเทศ 235 ล้านหุ้นซึ่งส่วนใหญ่เป็นนักเล่นหุ้นที่มีบัญชีกับโบรกเกอร์อยู่แล้ว
  
        และกลุ่มสุดท้าย-คือหุ้นที่จัดสรรให้ผู้จองซื้อราย ย่อยในประเทศ 220 ล้านหุ้น กลุ่มนี้เขาบอกว่าเป็นประชาชนทั่วไปที่พอมีเงินเก็บอยากลงทุนระยะยาว อยู่ตามต่างจังหวัด และเป็นหุ้นแต่งหน้าเค้ก- ก็คือกระจายให้ทั่วลงไปสู่ประชาชนจริงให้เกิดภาพลักษณ์ที่สวยงามว่าการแปรรูปครั้งนี้กว้างขวางและลึกไปถึงมือคนไทยอย่างหลากหลาย
  
        อย่างที่บอก-คนที่มีเงินมีอำนาจ สามารถจะหาช่องเก็บหุ้นจาก 3 ส่วนแรกได้สบายแค่ 600 ล้านหุ้นก็เป็นสัดส่วนที่โขอยู่ หากต้องการเพิ่มค่อยตามไล่เก็บในตลาดหุ้นภายหลังก็น่าจะไหวอยู่เพราะรายย่อย นั้นพอมีกำไรนิดหน่อยก็คงปล่อยแล้ว
  
        แต่นั่นเองคนคำนวณมิสู้ฟ้าลิขิต การจัดสรรให้รายย่อยคุณป้าคุณอาอาซิ้มอาซ้อก็ยังมีปัญหา !
  
        หุ้นที่จัดสรรให้กับรายย่อย 220 ล้านหุ้น(ซึ่งที่จริงในครั้งนั้นกระทรวงการคลังจะเจียดเพิ่มให้อีก 120 ล้านหุ้นรวมแล้วที่จัดสรรผ่านรายย่อยจำนวน 340 ล้านหุ้น)ต้องไปจองซื้อผ่านธนาคารพาณิชย์ 5 แห่งโดยมีธนาคารไทยพาณิชย์เป็นแม่ข่ายศูนย์ข้อมูลรับจองซื้อหุ้นจากสาขา ธนาคารต่างทั่วประเทศ
  
        การขายหุ้นครั้งประวัติศาสตร์เมื่อ 15 พฤศจิกายน 2544 หมดเกลี้ยงในพริบตา
  
        หุ้นล็อตแรก 220 ล้านหุ้นหมดใน 1.25 นาที !!
  
        หุ้นเพิ่มเติมที่กระทรวงการคลังตัดมาให้อีก 120 ล้านหุ้นก็หมดไปด้วยรวมแล้ว 340 ล้านหุ้นรวมแล้วขายหมดเกลี้ยงในเวลาเพียง 4.4 นาทีเท่านั้น
  
        ถึงขนาดว่าบางธนาคารผู้ลงทุนรายย่อยบางคนยังไม่ทันกรอกรายละเอียดในใบจองเลยหุ้นก็หมดแล้ว
  
        ข่าวสารที่ออกไปก่อนหน้าเขาบอกประชาชนรายย่อยซื้อได้ไม่เกินแสนหุ้น แต่ปรากฏว่ามีคนได้เป็นหลายแสนถึงล้านหุ้นก็มี
  
        หลักฐานหนังสือชี้ชวนเขียนไว้ชัดเจนว่า “ผู้จองซื้อรายย่อยจะต้องจองซื้อขั้นต่ำจำนวน 1,000 หุ้น และจะต้องเป็นทวีคูณของ 100 หุ้นแต่ทั้งนี้ต้องไม่เกิน 100,000 หุ้นต่อใบจองซื้อ”
  
        และหากไม่ชัดเจนให้ดูข่าวเก่าที่นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ ให้ข่าวกับสื่อมวลชน 5 วันก่อนหน้าวันขายหุ้นเพื่อยืนยันกันอีกครั้งว่าการกระจายหุ้นรอบนี้มีเป้า หมายกระจายให้ชาวบ้านมาประกอบว่ามีเป้าหมายจัดสรรไม่เกินคนละแสนหุ้น
  
   
ปตท.เลื่อนรับใบจองหุ้น / 9 พ.ย. 44
ผู้จัดการรายวัน - นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มธุรกิจก๊าซธรรมชาติ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า จากการประเมินผลหลังจากการเดินสายชี้แจงข้อมูลบริษัทให้แก่นักลงทุนใน ภูมิภาครวม 5 จังหวัดที่เสร็จสิ้นไปเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายนที่ผ่านมา ผลปรากฏว่า นักลงทุนรายย่อยและผู้ที่มีเงินออม ซึ่งเป็นลูกค้าของธนาคารพาณิชย์ให้ความสนใจสูงมาก นอกจากนั้นผลสำรวจความต้องการหุ้นของ นักลงทุนสถาบันก็มีสูงมากเช่นกัน อีกทั้งเพื่อให้สามารถกระจายหุ้นไปสู่ประชาชนผู้สนใจได้จำนวนมาก จึงได้มีการ ปรับ ลดยอดการสั่งจองหุ้นต่อ 1 ใบจองจากเดิม สามารถจองได้ตั้งแต่ 1,000 หุ้น สูงสุดไม่เกิน 500,000 หุ้น มาเป็นตั้งแต่ 1,000 หุ้น สูงสุดไม่เกิน 100,000 หุ้น ดังนั้น เพื่อให้สามารถรองรับความต้องการในการสั่งจองหุ้น ปตท.ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด บริษัทฯ จึงได้วางมาตรการอย่างรัดกุมให้การแจกใบจองหุ้นพร้อมเอกสารและขั้นตอนการจอง หุ้นมี ความสมบูรณ์ ครบถ้วนและพร้อมเพรียงกันทุกสาขาธนาคารทั่วประเทศ มาตรการดังกล่าวส่งผล ให้บริษัทจำเป็นต้องเลื่อนการเปิดให้ประชาชนมา รับใบจองหุ้นจากเดิมวันจันทร์ที่ 12 พฤศจิกายน 2544 เป็นวันที่ 14 พฤศจิกายน 2544

       
       เรื่องนี้เป็นข่าววิพากษ์วิจารณ์คึกโครมเพราะมีข่าวว่ามีแต่นักการ เมือง ญาติมิตรพวกพ้องและคนรวยเท่านั้นที่ได้หุ้นปตท.ไป เสียงวิจารณ์มากขึ้นเพราะมีผู้ครองหุ้นเป็นล้านหุ้น ในตอนนั้นฝ่ายประชาสัมพันธ์ของปตท.จะพยายามแก้ต่างว่ารายชื่อญาติพี่น้อง นักการเมืองที่ปรากฏตามสื่อเขาได้หุ้นจากหลายแหล่งทั้งหุ้นอุปการะคุณหุ้น ซื้อจากโบรกเกอร์มารวมกันทำให้มีจำนวนมาก
  
       ปตท.ให้ข่าวได้ถูก-แต่ถูกเพียงส่วนเดียวเพราะไม่ได้บอกว่า หากจะหยิบเอามาเฉพาะกลุ่มที่จองซื้อจากธนาคารซึ่งเป็นสัดส่วนรายย่อยล้วนก็มีบุคคลที่กวาดหุ้นเป็นล้านหรือหลายแสนหุ้นเช่นเดียวกัน
  
        เสียงวิจารณ์ที่ดังไม่หยุดเพราะคนไทยไม่ได้โง่ขนาดที่ไม่รู้ว่าขาย 220 ล้านหุ้นในเวลาแค่ 1.25 นาที(75วินาที) มันผิดปกติอย่างแน่นอนจนที่สุด ก.ล.ต. ในฐานะในฐานะองค์กรผู้รักษากติกาและธรรมาภิบาลตลาดทุนอยู่ไม่ติดได้มีการสอบ ตรวจสอบการขายหุ้นครั้งนั้นซึ่งดูเผินเหมือนจะทำให้เรื่องจบลงแบบง่าย
  
        ก.ล.ต.ตรวจสอบการกระจายหุ้นซึ่งมีธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด(มหาชน) เป็นแม่ข่ายคอมพิวเตอร์ร่วมกับธนาคารอีก 4 แห่งในที่สุดผลการตรวจสอบก็ออกมาเมื่อมกราคม 2545 ผลสอบระบุว่า การจัดสรรหุ้นครั้งนั้น “ผิดปกติจริง” เพราะธนาคารไทยพาณิชย์ใช้ระบบคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า web server ไม่เป็นไปตามเงื่อนไขข้อชี้ชวน
  
        พูดเป็นภาษาชาวบ้านง่ายคือ ธนาคารแห่งนี้และลูกค้าในกลุ่มนี้เอาเปรียบชาวบ้านเขา เล่นกรอกรายการล่วงหน้าแล้วกดปุ่มรอบเดียว ชื่อที่ล็อกไว้ก็จะเข้าไปในบัญชีรายการจองได้เร็วกว่าคนอื่น นำมาสู่มติของก.ล.ต.ที่ลงโทษธนาคารไทยพาณิชย์ด้วยการพักการเป็นตัวแทน จำหน่ายหุ้นในประเทศเป็นเวลา 6 เดือน
  
        การสั่งสอบของ ก.ล.ต.ดูเผินเหมือนจะธำรงความยุติธรรมให้กับสังคมโดยเฉพาะประชาชนรายย่อยแต่แท้จริงแล้วกลับไม่มีผลใดเลย เพราะมีแค่ลงโทษด้วยการไม่ให้ธนาคารไทยพาณิชย์ไม่ต้องขายหุ้นในประเทศแค่ 6 เดือน ส่วนหุ้นที่ได้มาโดยเอาเปรียบชาวบ้านเขาผลสอบบอกว่ามีสัดส่วนน้อยมากไม่มีผล กระทบต่อภาพรวม กลุ่มที่ได้มาแบบไม่ปกติก็ยังคงได้สิทธิ์นั้นต่อไป
  
        เรื่องจึงเหมือนเจ๊ากันไป...กลายเป็นน้ำกระทบฝั่ง คนที่รวยหุ้นปตท. ก็รวยไปเพราะหลังจากนั้น ปตท.ก็โตเอาทำ กำไรหลายร้อยเปอร์เซ็นต์ ราคาหุ้นทะลุ 300 บาทจากราคาที่ซื้อมาตอนแรก 35 บาทร่ำรวยกันใหญ่โต ทั้งกลุ่มที่ได้มาโดยจองได้จริง และกลุ่มที่ได้โดยการโกงชาวบ้านมา !
  
       ข้อแคลงใจ-ผู้สอบกับผู้ถูกสอบเป็นพี่น้องกัน ?
  
       





  
       ที่มาของภาพ : คุณหญิง ชฎา วัฒนศิริธรรมจากเว็บไซต์ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย http://www.set.or.th และศาสตราจารย์กิตติคุณ เติมศักดิ์ กฤษณามระ จากเว็บไซต์สมาคมศิษย์เก่าจุฬาลงกรณ์ฯ http://www.shicu.com
       อธิบายภาพ : คุณหญิงชฎา วัฒนศิริธรรม กรรมการผู้จัดการ ใหญ่ ธนาคารไทยพาณิชย์ (ในเวลานั้น) ซึ่งถูกชี้ว่ากระจายหุ้นโดยขัดข้อชี้ชวนและถูกก.ล.ต.สั่งลงโทษ กับ ศ.กิตติคุณเติมศักดิ์ กฤษณามระ ตำแหน่งผู้สอบบัญชี รับอนุญาตบริษัทดีลอยท์ ทู้ช โธมัทสุ ไชยยศ จำกัด ซึ่งก.ล.ต.ให้เข้ามาตรวจสอบการขายหุ้นที่ผิดปกติ(เป็นพี่น้องกัน ทั้งสองท่านเป็นพี่น้องกัน โดยต่างเป็นบุตรของพระยาไชยยศสมบัติ(เสริม กฤษณามระ) และคุณหญิงดารา ไชยยศสมบัติ

  
        การตรวจสอบการจองและจัดสรรหุ้นปตท. โดยก.ล.ต.ได้ดำเนินการแล้วเสร็จเมื่อเดือนมกราคม 2545 จนเมื่อเดือนเมษายน 2553 ที่ผ่านมากองบรรณาธิการเอเอสทีวีผู้จัดการรายวันรื้อฟื้น-ศึกษากรณีการขาย หุ้นปตท.ขึ้นมาดูอีกรอบ
  
       เอกสารรายงานการตรวจสอบดังกล่าวจากก.ล.ต. ซึ่งเป็นชุดที่เผยแพร่ให้นักลงทุนทราบมีจำนวน21 หน้าและได้เอกสารบัญชีผู้ได้รับการจัดสรรหุ้นปตท.ในครั้งนั้นอีกปึกใหญ่
  
       เอกสารผลการตรวจสอบระบุว่า ก.ล.ต.ได้อ้างอิงการตรวจสอบที่เรียกว่า “รายงานการสอบทานระบบที่ใช้ในการรับจองซื้อหุ้น” โดยบริษัท ดีลอยท์ ทู้ช โธมัสสุ ไชยยศ จำกัด
  
       เอกสารชิ้นนี้อธิบายวิธีการตรวจสอบในขั้นตอนต่างจน ได้ข้อสรุปสุดท้ายว่า.. “เกิดจากการไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงการรับจองซื้อหุ้นของธนาคารไทยพาณิชย์ทำให้ สิทธิของผู้จองซื้อหุ้นที่จะได้รับการจัดสรรไม่เท่าเทียมกันและไม่เป็นไปตาม เจตนาของหนังสือชี้ชวน”
  
       ถ้าตัดเฉพาะถ้อยคำนี้เหมือนจะชัดเจนตรงตัวว่า การกระทำความผิดย่อมไม่สามารถจะปิดบังได้เพราะยังไงหลักฐานที่ปรากฏมัน ชัดเจนว่าธนาคารไทยพาณิชย์ในฐานะแม่ข่ายคอมพิวเตอร์ใช้เทคนิคทำให้คน บางกลุ่มได้เปรียบ
  
       แต่เมื่ออ่านบรรทัดต่อมา.....ที่ระบุว่า
  
       “อย่างไรก็ดีรายการจองซื้อที่เข้าข่ายว่ามีความผิดปกติดังกล่าวมี จำนวนไม่มากนักเมื่อเทียบกับรายการทั้งหมด........จึงเห็นว่าความผิดปกติดัง กล่าวไม่มีผลกระทบกับภาพรวมของการเสนอขายหุ้นของ บมจ.ปตท.ในครั้งนี้จนทำให้ต้องมีการเปิดรับจองใหม่”
  
       เอกสารบอกว่ารายการที่ผิดปกติที่ดีลอยท์ ทู้ช โธมัสสุ ไชยยศตรวจพบมีจำนวน 859 รายการหรือคิดเป็น 7.73% ของจำนวนรายการที่ได้รับการจัดสรร
  
       และจึงเป็นที่มาของการที่ก.ล.ต.สั่งลงโทษธนาคารไทยพาณิชย์ ไม่ให้เป็นตัวแทนจำหน่ายหุ้นในประเทศ 6 เดือน (แต่ไม่ทำอย่างอื่นใดนอกเหนือจากเรื่องนี้รวมถึงเรื่องหุ้นผิดปกติที่ตรวจพบ 859 รายการ)
  
       การที่ได้เอกสารชิ้นดังกล่าวมาศึกษาอีกครั้งทำให้พบเงื่อนงำที่น่า สนใจอย่างหนึ่งนั่นคือ ผู้บริหารของกิจการตรวจสอบ กับ ผู้บริหารของกิจการที่ถูกสอบมีความสัมพันธ์เป็นพี่น้องกันโดยทั้งสองท่าน ต่างเป็นบุตรของพระยาไชยยศสมบัติ(เสริม กฤษณามระ) และคุณหญิงดารา ไชยยศสมบัติ ผู้มีคุณูปการต่อวงการบัญชีไทยอย่างเอกอุ โดยศ.เติมศักดิ์ นั้นเป็นพี่ชายคนโต
  
       นี่เป็นความบังเอิญที่ ก.ล.ต. หรือ ปตท. กำหนดสคริปต์ไว้ก่อนหรือไม่ ? ไม่สามารถตอบได้แต่แน่นอนว่าความบังเอิญนี้ก่อให้เกิดความคลางแคลงใจตามมา
  
       ผมไม่บังอาจตั้งข้อกล่าวหาใดกับ ทั้งท่านศ.เติมศักดิ์ กฤษณามระ และทั้งท่านคุณหญิงชฎา วัฒนศิริธรรม เพราะทั้งสอนท่านต่างเป็นผู้มีชื่อเสียงได้รับการยกย่องอย่างกว้างขวางใน ความเป็นมืออาชีพ
  
       หากมองในมุมบวก-ผลการตรวจสอบของดีลอยท์ฯ ได้ชี้ความผิดปกติที่ธนาคารไทยพาณิชย์กระทำจนกระทั่งถูกลงโทษเอาแค่ประเด็น นี้ก็ยากจะลุกขึ้นกล่าวหาว่า ดีลอยท์ฯ หรือผู้บริหารท่านใดไม่เป็นมืออาชีพได้อย่างเต็มปาก
  
       แต่อย่างไรความแคลงใจมันห้ามกันไม่ได้..เพราะตามปกติของระบบราชการ ไทยทั่วไป การตั้งเรื่องสอบแล้วเอาพวกเดียวกันมาสอบนั้นเป็นวิชามารของระบบราชการไทย ที่เป็นที่ทราบกันดี
  
       เรื่องร้ายแรงที่ไม่สามารถปิดฟ้าด้วยฝ่ามือก็ทำให้เบาลงเสีย
  
       จากลงโทษหนัก ก็มาเป็นลงโทษเบาจนแทบไม่ต้องเปลี่ยนแปลงผลใด
  
       ความคลางแคลงใจในเรื่องผลการตรวจสอบการกระจายหุ้นในครั้งนั้นจึงไม่สามารถจะปัดเป่าได้ด้วยการสั่งลงโทษพักงาน 6 เดือนแล้วจบไป
  
        ด้วยเหตุดังกล่าวกองบรรณาธิการเอเอสทีวีผู้จัดการรายวันจึงทำหนังสือขอ ข้อมูลข่าวสารตามพรบ.ข้อมูลข่าวสารของราชการ 2540 ไปยังคณะกรรมการ ก.ล.ต. เพื่อจะขอเอกสารหลักฐานการตรวจสอบครั้งดังกล่าวฉบับสมบูรณ์ ที่มิใช่เอกสารสรุป 21 หน้าที่เผยแพร่ทั่วไป ทั้งเพื่อเพื่อจะพิสูจน์เพื่อลบความคลางแคลงใจทั้งมวลที่มีอยู่
  
        ความคลางแคลงใจต่อเอกสารผลการตรวจสอบจำนวน 21 หน้าที่ก.ล.ต.พยายามชี้แจงต่อสังคมและเพื่อ “ปิดคดี” ยังมีอยู่มากมายหลายประเด็น
  
       1. ก.ล.ต.ตั้งประเด็นสอบเฉพาะระบบและเทคนิคการจัดสรรหุ้น และก็ได้ผลสรุปออกมาว่าใช้เทคนิคที่ผิดจากข้อตกลงทำให้มีการเอาเปรียบชาว บ้านจริงพร้อมกัน นั้นก็ข้ามประเด็นปัญหาการจัดสรรหุ้นเกินโควตา 1 แสนหุ้นที่ปรากฏในหนังสือชี้ชวน โดยก.ล.ต.ยกประโยชน์ให้กับถ้อยคำที่คลุมเครือตีความได้หลายแบบ ทำให้บางรายยื่นจองหลายฉบับและได้รับจัดสรรหลายแสนหรือเป็นล้านหุ้น หากมีการสอบลึกลงไปถึงมติคณะกรรมการเตรียมการจัดสรรหุ้น และเป้าหมายของการจัดสรรให้รายย่อยดั่งที่นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ แถลงข่าวต่อสื่อมวลชนนั่นแสดงว่าการจัดสรรหุ้นครั้งนี้ผิดจากเป้าหมายเดิม สมควรจะถูกยกเลิกและจัดสรรใหม่
  
       2. ก.ล.ต.เปิดเผยข้อมูลเพียง 21 หน้ากระดาษที่เน้นไปที่การอธิบายภาพรวมของระบบจองและจัดสรรในเอกสารอ้างอิง ผลการตรวจสอบของบริษัท ดีลอยท์ ทู้ช โธมัสสุ ไชยยศ จำกัด ซึ่งมีหน้าที่ทำรายงานการสอบทานระบบคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการรับจองหุ้นรายงาน เป็นหลัก แต่ไม่ได้พยายามตรวจสอบความผิดปกติอื่นที่ ปรากฏโดยเฉพาะการสอบย้อนเส้นทางการจองและได้รับจัดสรรของผู้ได้รับจัดสรร เกิน 3 แสน-1 ล้านหุ้น เพราะบางรายใช้ธนาคารคนและแห่ง และคนละสาขาแยกใบจองแต่ได้รับการจัดสรรมากมายอย่างน่าทึ่ง ขณะที่ชาวบ้านซึ่งจองคนละไม่เกิน 1 แสนหุ้นถูกปฏิเสธไปมากกว่า นี่เป็นความผิดปกติที่ชัดเจนที่สุดแต่ไม่ได้ถูกกล่าวถึงเหมือนจะจงใจละเลย ประเด็นความผิดปกตินี้
  
       3. ในเอกสารการตรวจสอบระบุว่าธนาคารอีก 4 แห่งปฏิเสธจะลงนามในข้อตกลงการรับจองซื้อหุ้นสามัญของบริษัท ปตท.จำกัด(มหาชน) แม้กระทั่งวันเปิดจองหุ้นธนาคารอีก 4 แห่งก็ยังไม่ลงนาม..นี่จึงเป็นไปได้หรือไม่ที่มีข่าวที่นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ออกมาแถลงว่าต้องเลื่อนวันจองออกไป แต่ที่สุดธนาคารที่เหลือก็ไม่ลงนาม นี่เป็นความผิดปกติที่ก.ล.ต.ไม่พยายามจะหารายละเอียดข้อปัญหา แต่สรุปไปเลยว่า ธนาคารทุกแห่งเข้าใจระบบตรงกันดี
  
       4. รายงานฉบับเต็มสมควรมีรายชื่อผู้ได้รับการจัดสรรหุ้นที่ระบุในรายงานว่ามีความผิดปกติ หรือพูดง่ายโกงเพื่อนมาจำนวน 859 รายการนั้นเป็นใครบ้าง ?
  
       5. จากรายงานที่สรุปออกมา 21 หน้า แสดงให้เห็นว่า ก.ล.ต.น่าจะมีรายงานฉบับเต็มและมีข้อมูลการตรวจสอบฉบับเต็ม ซึ่งควรจะเป็นเอกสารที่เปิดเผยต่อสาธารณะได้เพื่อแสดงความโปร่งใสของระบบ ตลาดทุนไทย และเพื่อความโปร่งใสของการขายสมบัติแผ่นดินในนามของการแปรรูป
  
       ด้วยเหตุนี้กองบรรณาธิการเอเอสทีวีผู้จัดการรายวันจึงได้ยื่นหนังสือ ขอข้อมูลข่าวสารจากคณะกรรมการก.ล.ต.ไปแต่ทว่าเวลาผ่านไป 3 เดือนยังไม่ได้คำตอบใดจา กก.ล.ต. ทำให้กองบรรณาธิการเอเอสทีวีผู้จัดการรายวันได้ยื่นร้องเรียนต่อคณะกรรมการ ข้อมูลข่าวสารของราชการไปแล้ว เรื่องนี้อยู่ในกระบวนการพิจารณาและพิสูจน์ว่าสิทธิในการรับรู้ข่าวสารของ ประชาชนในประเทศนี้มีจริงแท้แค่ไหน-เพียงไร ?
  
       ปัญหาการกระจายหุ้นป.ต.ท.ในครั้งนั้นยังคงเป็นปมปริศนาอีกมากมาย นักลงทุนรายใหญ่มากระดับ นักการเมืองนั้นไม่ใช้วิธีไล่ซื้อแข่งกับรายย่อยในประเทศหรอกเพราะมีหุ้นที่ กระจายผ่านโบรกเกอร์ต่างประเทศถึง 320 ล้านหุ้น แต่เท่าที่ปรากฏเป็นหลักฐานต่อสาธารณะการมีหุ้นอุปการะคุณมันก็น่าเกลียด เกินบรรยายแล้ว จนบัดนี้ปตท.ก็ยังไม่กล้าเปิดข้อมูลคนกลุ่มนี้ออกมา และที่น่าเกลียดหนักไปกว่านั้นก็คือยังมีช่องทางซิกแซ็กแย่งหุ้นจากประชาชน รายย่อยอีก
  
        ปัญหาการกระจายหุ้นรายย่อยแม้เป็นเพียงส่วนยอดภูเขาน้ำแข็งที่เพิ่งโผล่แพลม ขึ้นมาเหนือผิวน้ำ แต่ก็สามารถบ่งบอกว่าการแปรรูปรัฐวิสาหกิจที่ทำกำไรปีละแสนสองแสนล้านแห่ง นี้ไม่ได้เป็นไปตามธรรมาภิบาลดั่งที่ประกาศไว้ทั้งหมด
  
       หมายเหตุก่อนปิดเรื่องมี ผู้ทักท้วงความผิดพลาดในข้อเขียนตอนที่ 1 เกี่ยวกับอัตราภาษีน้ำมันที่ผู้เขียนระบุว่าเก็บเฉลี่ยเพียง 10% จึงขออธิบายความว่าเป็นความไม่รอบคอบของผู้เขียนที่ต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ ขอยืนยันว่าการทำงานเรื่องนี้จะไม่ตะแบง ไม่บิดเบือนใดกอด ยึดหลักการเดียวคือสิทธิของประชาชนและสิทธิของผู้บริโภคเป็นสำคัญ ขออธิบายว่าภาษี 10%ที่กล่าวถึงมีภาษาทางการว่า ค่าภาคหลวงเป็นไปตาม พรบ.ปิโตรเลียม พ.ศ.2514 ส่วนที่ไม่ได้กล่าวถึงก็คือ ภาษีรายได้น้ำมันตามพรบ.ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม 2514 ที่กำหนดให้เก็บ 50% แต่ไม่เกิน 60%
  
       อย่างไรก็ตามมีผู้อ้างว่าเมื่อรวมภาษีทั้ง 2 ตัวแล้วทำให้ไทยเก็บภาษีปิโตรเลียมถึง 60% ไม่เป็นจริงในทางปฏิบัติแต่อย่างใด เพราะว่าภาษีรายได้น้ำมันกำหนดให้คำนวณเก็บตามกำไรสุทธิที่หักค่าใช้จ่าย แล้ว ค่าใช้จ่ายที่หักยังครอบคลุมไปถึงค่าภาคหลวงที่บริษัทน้ำมันจ่ายไปก่อนล่วง หน้า และยังมีปัญหาเทคนิคการคำนวณราคาปิโตรเลียมที่ขุดเจาะได้ เมื่อปี 2552 ที่น้ำมันโลกแพงมาก หากคิดเฉลี่ยต่ำสุดน้ำมันดิบดูไบที่ 70 ดอลลาร์สหรัฐแต่น้ำมันดิบที่ตีราคา ณ แท่นขุดเจาะบ้านเรากลับไม่ถึงตามนั้น (ไม่รู้ว่าด้วยสาเหตุใด)
  
       ผมนั้นไม่ใช่ผู้รู้หรือผู้ชำนาญการ..แต่ที่สามารถหยิบมาเขียนเล่า เรื่องเพราะเข้าไปร่วมวงศึกษา นั่งฟังบรรดาผู้เชี่ยวชาญบรรยายสรุปอยู่หลายรอบจึงนำความรู้นั้นมาเรียบ เรียงใหม่ มีผู้เชี่ยวชาญท่านหนึ่งคำนวณว่ารวมภาษีทุกชนิดแล้วประเทศไทยเก็บจากบริษัท น้ำมันจริงได้สูงสุดแค่ประมาณ 30% ของมูลค่าและปริมาณน้ำมันที่ได้ไป
  
       ปัญหาของการพลังงานของไทยจึงไม่ใช่การนั่งงอมืองอเท้าคร่ำครวญว่ายังไงเรา ก็ขุดเองได้ 30-40% ที่เหลือต้องนำเข้า เขามาลงทุนให้ก็บุญโขแล้ว อุปมาอุปไมยกรอบคิดใหม่ของคนไทยเหมือนต้องนำเข้าข้าวทั้งหมดซื้อในราคาต่าง ประเทศ วันดีคืนดีก็ปลูกได้เอง 40% ของที่เคยกิน แต่คนไทยไม่รู้เรื่องราวของข้าวที่เราปลูกได้เองเลยว่า มีคุณภาพแบบไหน ปลูกเสร็จมีคนผูกขาดเอาไปสีแล้วจำหน่ายราคาเดียวกับที่เราเคยซื้อมา แล้วโรงสีก็รวยเอาในนามของความมั่นคงอาหารไทยหรือไม่?
  
       มีเรื่องเล่าในวงการพลังงานว่าคุณภาพของน้ำมันและก๊าซไทยสูงมาก ราคาดี ปรากฏมีมือดีเอาน้ำมันและก๊าซคุณภาพสูงจากแท่นไปขายทำกำไรรอบแรก จากนั้นก็นำเข้าของคุณภาพต่ำมากลั่นขายคนไทย คิดกำไรทุกขั้นตอนตั้งแต่การขนส่งยันจำหน่าย ความโปร่งใสเหล่านี้เรายังไม่เห็นจริงในวงการพลังงานไทย มีแต่ธรรมาภิบาลครึ่งกลางเท่านั้น

  
       หมายเหตุ 2- ท่านที่สนใจรายงานการตรวจสอบการเสนอขายหุ้นสามัญของบริษัท ปตท.จำกัด(มหาชน) มกราคม 2545 สามารถติดต่อถามได้จากศูนย์สารสนเทศตลาดทุน สนง.คณะกรรมการ ก.ล.ต.


ปตท.เป็นอะไรกันแน่ ?
   
       เป็นรัฐวิสาหกิจน่ะแน่นอนเพราะรัฐบาลถือหุ้นเกินกึ่งแถมยังใช้สิทธิ์พิเศษต่างในนามขององค์กรรัฐตั้งแต่เรื่องใหญ่ที่เป็นนโยบายชาติมาจนกระทั่งถึงเรื่องเล็กเช่นภาษีป้ายก็ไม่ต้องเสีย
   
       ก่อนหน้าจะแปรรูป สถานะของปตท.คือรัฐวิสาหกิจคนไทยที่ต้องต่อกรอย่างยากลำบากกับบริษัทน้ำมัน ข้ามชาติ มียุคหนึ่งที่ถูกโรงกลั่นและบริษัทต่างชาติบีบเรื่องราคาขายปลีก แต่วันนี้ปตท.เป็นผู้ผูกขาดโรงกลั่นในประเทศ แม้ว่าจะมีข้ออ้างการถือหุ้นไม่ถึงครึ่งหรืออะไรก็ตามแต่ทว่าเนื้อแท้ต้องไป ดูจากผู้บริหารที่ส่งเข้าไปกำกับโรงกลั่นน้ำมันและดูจากนโยบายการแข่งขัน ระหว่างโรงกลั่นซึ่งไม่ได้แข่งกันเลยในทางปฏิบัติ
   
       หลังการแปรรูปปตท.อ้างว่าต้องทำกำไรสูงสุดเพื่อรับผิดชอบต่อผู้ถือหุ้น ซึ่งปรัชญาข้อนี้มันทะแม่งหากนำมาอธิบายภารกิจขององค์กรที่เรียกตัวเองว่ารัฐวิสาหกิจ
   
       ปรัชญาการแปรรูปรัฐวิสาหกิจที่ฝรั่งเข้าใจก็คือการแปลงองค์กรของรัฐ ซึ่งมีแนวโน้มจะผูกขาดตัดตอนให้เป็นเอกชนและอยู่ใต้กฎการแข่งขันเสรีที่เท่า เทียม กรอบคิดกระแสหลักของสำนักแปรรูปฯ ทุนนิยม-เสรีนิยมใหม่มองว่าการบริหารแบบรัฐกิจขาดประสิทธิภาพสู้บรรษัทเอกชน ไม่ได้
   
       แต่สำหรับกรณี บริษัท ปตท. จำกัด(มหาชน) กลับใช้ทฤษฎีใดเกี่ยว กับการแปรรูปฯมาอธิบายแทบไมได้เลย เพราะแปรรูปไปแล้วยังคงอำนาจและสิทธิประโยชน์ของรัฐวิสาหกิจเต็มตัว และยังได้เงื่อนไขหลุดพ้นจากสภาพกฎระเบียบหยุมหยิมแบบเดิมที่ร้อยรัดอยู่
   
       รายงานประจำปี 2552 ของบริษัท ปตท.จำกัด(มหาชน) ประกาศไว้อย่างน่าตื่นเต้นว่า พันธกิจของเขามี 6 ด้านคือพันธกิจต่อประเทศ ต่อสังคมชุมชน ต่อผู้ถือหุ้น ต่อลูกค้า ต่อคู่ค้า และต่อพนักงาน
   
       ที่น่าสนใจคือต่อผู้ถือหุ้นที่ประกาศไว้อย่างชัดเจนว่า “จะดำเนินธุรกิจเชิงพาณิชย์สามารถสร้างกำไรเพื่อให้ผลตอบแทนที่ดีและมีความ เจริญเติบโตต่อเนื่องอย่างยั่งยืน”
   
       และได้ประกาศพันธกิจต่อลูกค้า ซึ่งส่วนใหญ่ก็คือคนไทยผู้บริโภคน้ำมันและก๊าซว่า “จะสร้างความพึงพอใจต่อลูกค้าโดยผ่านการนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการที่มี คุณภาพสูงในระดับมาตรฐานสากลด้วยราคาเป็นธรรม”
   
       ไม่มีข้อสงสัยใดเลย ในพันธกิจต่อผู้ถือหุ้นเพราะปตท.สามารถสร้างกำไรอย่างต่อเนื่องเป็นทบเท่า หลายร้อยเปอร์เซ็นต์นับจากปี 2545 เป็นต้นมาและก็ดูแลผุ้ถือหุ้นอย่างอิ่มหมีพีมัน
   
       เมื่อปี 2551 ปตท.มีรายได้จากการขายและบริการมากเป็นประวัติการณ์ 2,000,816 ล้านบาท ส่วนปี 2552 ลดลงมาเหลือ 1,586,174 ล้านบาทซึ่งก็มหาศาลอยู่ดี เอกสารฉบับเดียวกันในหน้า 90 ระบุว่า ปตท.มีนโยบายจ่ายเงินปันผลไม่ต่ำกว่าร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิ
   
       ด้านพันธกิจต่อพนักงานบริษัท ปตท.ก็ปฏิบัติได้อย่างเต็มที่สามารถนับเป็นกิจการที่จ่ายค่าตอบแทนแก่ พนักงานติดอันดับท็อปของประเทศ
   
       ปี 2552 ปตท.ระบุว่ามีพนักงานจำนวน 3,405 คน (ไม่รวมพนักงานที่ไปปฏิบัติหน้าที่กับบริษัทในเครือ) งบการเงินเขียนไว้ว่าได้จ่ายค่าตอบแทนบุคลากรไม่รวมกรรมการผู้จัดการใหญ่และ ผู้บริหารระดับสูงเอาไว้ดังนี้
   
       เงินเดือน/โบนัส/ค่าสมทบกองทุนเลี้ยงชีพและอื่น5,684,386,009 บาท
   
       หารเฉลี่ยจำนวนพนักงาน 3,405 คนตกอยู่ที่ประมาณคนละ 1,722,369.75 บาท/ปี
   
       ส่วนผู้บริหารและกรรมการต่างจะ ยังไม่กล่าวถึงในตอนนี้เพราะเรื่องนี้ต้องแยกไปพิจารณาในกรอบของความ สัมพันธ์ระหว่างรัฐ การกำกับดูแล การรักษาผลประโยชน์รัฐและประชาชน กับ รัฐวิสาหกิจที่ถูกกำหนดให้เป็นบริษัทมหาชนในตลาดหลักทรัพย์ เนื่องจากมีข้าราชการตำแหน่งสูงไป นั่งกินเงินเดือนของบริษัทเหล่านี้ในนามของการส่งไปกำกับดูแล..แต่แท้จริง ไม่รู้ใครถูกกำกับและใครดูแลใครกันแน่ เชื่อหรือไม่บางคนซัดไปเกือบ 10 ล้าน/ปีไปนั่งกำกับโดยไม่ต้องสนใจเงินเดือนข้าราชการก็ยังไหว !
   
       เรื่องนี้จะแยกมาพูดต่อในปัญหาการครอบงำนโยบายพลังงานในโอกาสต่อไป เพราะที่สุดแล้วการตั้งคำถามในเรื่องปัญหาการพลังงานไทยก็หนีไม่พ้น ปตท.และกลุ่มขุนนางพลังงานที่กำกับนโยบาย โดยหลักการรัฐหรือข้าราชการควรจะกำกับเพื่อถ่วงดุล ตรวจสอบและกำหนดทิศทางเพื่อรักษาประโยชน์ชาติและประชาชน แต่ในทางปฏิบัติหลายเรื่องสะท้อนให้เห็นชัดเจนว่า ทั้งข้าราชการและปตท. กลายเป็นพวกเดียวกัน
   
       หมวกใบหนึ่งของปตท.คือเป็นรัฐวิสาหกิจภายใต้พรบ.ทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2542 ก่อนหน้าจะแปรรูป พนักงานปตท.จะได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์เป็นประจำเหมือนกับข้าราชการและ รัฐวิสาหกิจทั่วไป และเมื่อแปรรูปกลายเป็นบริษัทพนักงานก็ยังคงได้รับพระราชทานฯ เป็นประจำต่อเนื่องตามสิทธิ์เฉกเดียวกับข้าราชการที่ทำหน้าที่รับใช้ประเทศ ชาติ
   
       อำนาจหน้าที่ของความเป็นรัฐวิสาหกิจจึงเอื้อต่อการดำเนินกิจการคล่องตัว ได้รับการตอบสนองทางนโยบายต่างตั้งแต่เรื่องใหญ่ระดับ ผูกขาดท่อส่งก๊าซจนกลายเป็นผู้ผูกขาดตลาดก๊าซธรรมชาติครบวงจร แม้กระทั่งจะมีโครงวางท่อก๊าซปตท.ยังสามารถออกประกาศ ปตท.ได้ด้วยตัวเองลงตีพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษาว่าจะวางแนวท่อก๊าซผ่านเขตใด บ้าง ได้เปรียบชาวบ้านตั้งแต่เรื่องใหญ่เรื่อยมาจนถึงเรื่องเล็กน้อยในแทบทุกเรื่อง
   
       ท่านเชื่อหรือไม่ว่าปั๊มน้ำมันปตท. ทุกแห่งในประเทศได้รับยกเว้นภาษีป้าย ในขณะที่ปั๊มอื่นต้อง จ่ายภาษีดังกล่าวนี้ให้กับท้องถิ่นอย่างเท่าเทียม โดยปตท.อ้างว่าตนเป็นรัฐวิสาหกิจ เรื่องดังกล่าวนี้ อ.สมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์เคยตั้งกระทู้ถามในสภาผู้แทนราษฎรให้รัฐบาลตอบ เขาตอบมาดังนี้ว่า...
   
       “เดิมการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย (ปตท.) ได้รับการยกเว้นการเสียภาษีป้ายตามมาตรา 8(7)ตามพรบ.ภาษีป้าย 2510 ต่อมาเมื่อปตท.แปลงสภาพเป็นบริษัทมหาชนตามพรบ.ทุนรัฐวิสาหกิจ และมีการตรา พรฎ.กำหนดอาจสิทธิและประโยชน์ของบริษัท ปตท.จำกัด(มหาชน) 2544 โดย ให้บมจ.ปตท. มีอำนาจได้รับยกเว้น มีสิทธิพิเศษหรือได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย...ดังนั้นสิทธิและหน้าที่ของ การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยที่มีอยู่อย่างไรและไม่ว่าจะเกิดขึ้นตามกฎหมายใดก็จะโอนมาเป็นของ บมจ.ปตท”
   
       แปลไทยเป็นไทยง่ายว่า สิทธิประโยชน์เหนือชาวบ้านของรัฐวิสาหกิจ (ที่ถูกรังเกียจเดียดฉันท์ของลัทธิแข่งขันเสรี) ถูกผ่องถ่ายให้กับบริษัทมหาชนตามเดิม แม้กระทั่งสิทธิที่จะไม่เสียภาษีป้ายปั๊มน้ำมันก็ตาม
   
       อันที่จริงแล้วเอกชนรายย่อยเจ้าของกิจการปั๊มน้ำมันนั้นต่อให้สังกัด ปตท.เองก็ใช่ว่าจะได้เปรียบชาวบ้านเขาได้มากมายอะไรหรอกดังจะเห็นจากข่าว ปั๊มน้ำมันร้องโอดโอยปิดตัวเป็นแถวมาก่อนหน้า ถ้ายังจำกันได้ปั๊มน้ำมันรายย่อยเขาบอกว่าเขาได้ค่าการตลาดเฉลี่ยแค่ลิตรละ บาทเดียวซึ่งเขาอยู่ไม่ได้
   
       คำถามข้อแรก-กองทุนน้ำมันจากกระเป๋าคนไทยใช้อุ้มใคร ?
   
       อย่างที่ได้เรียนข้างต้นว่าการตั้งคำถามเรื่องปตท.จะต้องหมายรวมไป ถึงนโยบายรัฐและขุนนางพลังงานที่กำกับนโยบายเข้าไปด้วย เพราะทั้งสองส่วนมีความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงอย่างแยกไม่ออก
   
       กรณีกองทุนน้ำมันฯ ซึ่งเป็นเงินที่ประชาชนผู้ใช้รถต้องควักจ่ายทันทีที่ไปเติมน้ำมันเป็น ตัวอย่างที่ชัดเจนว่า นโยบายการพลังงานไทยที่เป็นอยู่ปัจจุบันเอาเปรียบประชาชน ไม่เพียงเท่านั้นทั้งปตท.และขุนนางพลังงานยังใจดำขนาดที่เอาเงินประชาชนส่วน นี้ไปอุ้มบริษัทเอกชนและบริษัทย่อยของปตท. ให้ได้กำไรเพิ่มขึ้นอีก
   
       เฉพาะปมปัญหานี้เรื่องเดียวมันก็ซับซ้อนอยู่พอสมควรเพราะต้องเข้าใจภาพรวมของวงจรก๊าซธรรมชาติและตลาดก๊าซ LPG ของไทยเสียก่อน
   
       อธิบายแบบภาษาชาวบ้านให้ง่ายขึ้นเราสามารถเปรียบก๊าซธรรมชาติที่เรา ขุดเจาะได้เปรียบเสมือนต้นสักต้นใหญ่ ซึ่งแม้จะไม่แปรรูปก็สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้แต่มันไม่คุ้มกับการที่ตัดลง มา เราจึงต้องแปรรูปไม้สักส่วนที่ดีที่สุดคือลำต้นที่ตรง ส่วนที่เป็นเปลือก เป็นกิ่ง เป็นโคน เป็นรากก็แยกออกมาจนถึงก้านเล็กก็สามารถรวบรวมไปเป็นเชื้อเพลิงได้
   
       ก๊าซธรรมชาติก็เช่นกัน หากเราต้องการใช้ประโยชน์กับสิ่งที่เราเจาะขึ้นมาได้ให้คุ้มค่าสูงสุดก็ต้องแยกก๊าซออกมาเป็นกลุ่มต่างที่ มีคุณค่าและราคาต่างกันไปเช่น มีเทน อีเทน โพรเพน บิวเทน เรื่อยมาถึง L.P.G.หรือก๊าซปิโตรเลียมเหลว และเป็น ก๊าซโซลีนธรรมชาติ หรือ NGL (Natural Gas Liquid) ส่วนย่อยยังเป็นจารบี หรือน้ำมันหล่อลื่นได้อีกต่างหาก
   
       ก๊าซธรรมชาติที่เราขุดเจาะจากทะเลไทยทุกวันนี้เข้าโรงแยกก๊าซแค่เพียงครึ่งเดียว คิดจากเลขกลมเรา ขุดวันละ 3 พันล้านลบ.ฟ. เข้าโรงแยกได้เพียง 1.7 พันล้านลบ.ฟ. ที่เหลืออีก 1.3 พันล้านลบ.ฟ. (เปรียบเหมือนต้นสักทั้งต้น) ถูกส่งเข้าโรงงานผลิตไฟฟ้าโดยตรง
   
       ปัจจุบันปตท.มีโรงแยกก๊าซ 5 หน่วย กำลังก่อสร้างหน่วยที่ 6 ที่มาบตาพุดซึ่งติดปัญหาการคัดค้านจากประชาชนแต่แท้จริงแล้ว ปตท.เองก็เคยมีท่าทีไม่อยากสร้างหน่วยที่ 6 ให้ทันการณ์มาก่อนหน้าบังเอิญที่ติดปัญหาเรื่องนี้อีก - เรื่องปัญหาหน่วยที่ 6 ต้องแยกมามองในอีกประเด็นหนึ่งก็เลยกลายเป็นขนมผสมน้ำยาไป
   
       ตัดมิติอื่นไม่ ก่อนหากเรามองในเชิงความคุ้มค่าของเจ้าของประเทศเป็นหลัก ถือว่าก๊าซที่ไม่ได้แยกแล้วส่งเข้าเผาเลยนี่มันไม่คุ้ม เปรียบเสมือนไม้สักทั้งต้นเข้าไปเผาฟืนนั่นแหละ สมมติว่าหากเราสามารถน้ำก๊าซที่ขุดเจาะได้ 3 พันล้านลบ.ฟ.มาเข้าโรงแยกก๊าซได้ทั้งหมด มีการคำนวณยืนยันแล้วว่า ผลผลิตก๊าซ LPG จะเพียงพอกับความต้องการใช้ในประเทศอย่างแน่นอน
   
       แต่ปัจจุบัน LPG ที่เราแยกออกมานั้นยังไม่เพียงพอ เราก็เลยต้องนำเข้ามาจากต่างประเทศโดยปตท.นี่แหละนำเข้าหลัก ปัญหาของเรื่องนี้อยู่ที่ปัจจุบันเรามีการคุมราคาขาย LPG ในประเทศให้ถูกกว่าตลาดโลก
   
       ปตท.เองในฐานะผู้นำเข้าแพง ต้องมาขายราคาต่ำเพราะถูกคุมราคาอยู่คงไม่สบายใจนัก รัฐก็เลยใช้วิธีนำเงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงที่เก็บจากประชาชนทั้งหลายไปชด เชย
   
       ฟังดูเป็นธรรมดีใช่ไหมครับ !!!
   
       เพราะในเมื่อประชาชนอยากได้ก๊าซหุงต้มราคาถูกกว่าตลาดโลก ก็สมควรนำเงินประชาชนที่ถูกหักไปจากการเติมน้ำมันมาชดเชย
   
       แต่แท้จริงเรื่องนี้ไม่ได้เป็นไปตามหลักความเป็นธรรมอย่างที่เราท่านคิด
   
       หลักฐานแรกเพื่อพิสูจน์เรื่องนี้ - มาจากกระทู้ถามของอ.สมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ ส.ส.ปชป.ลงวันที่ 16 มิถุนายน 2552 ขอให้รัฐบาลตอบคำถามเกี่ยวกับปตท.หลายประเด็น
   
       ประเด็นที่เกี่ยวกับเรื่องนี้ อ.สมเกียรติถามว่า “ตั้งแต่ปตท.แปรรูปเป็นบริษัทมหาชนได้ขายก๊าซปิโตรเลียมเหลว(LPG) ให้แก่ประเทศใดบ้าง เป็นปริมาณเท่าไหร่ และเป็นจำนวนเงินเท่าไหร่”
   
       นายวรรณรัตน์ ชาญนุกูล รมว.พลังงานได้ตอบคำถามนี้ลงในราชกิจจานุเบกษา ลงวันที่ 18 ธันวาคม 2552 ยอมรับโดยสรุปว่า ปตท.ได้ขาย LPG ให้กับประเทศต่างอย่างต่อเนื่องนับจากปี 2544 แรกมี สัดส่วนประมาณ 20% ของปริมาณการผลิตได้จากโรงแยกก๊าซในประเทศ แต่มาเมื่อปี 2550-2551 แม้จะมีการส่งขายไปต่างประเทศคือประเทศลาว กัมพูชา พม่า และมาเลเซีย แต่ก็เป็น LPG ที่นำเข้ามาจากต่างประเทศไม่ได้ใช้ก๊าซจากโรงแยกก๊าซในประเทศเหมือนปีก่อน หน้า
   
       ขอขีดเส้นใต้คำชี้แจงอธิบายว่า LPG ที่ส่งขายต่างประเทศเมื่อปี 2551-2552 เป็น LPG ที่นำเข้า “เนื่องจากภาวะขาดแคลนในประเทศ” และมีบางส่วนเพื่อขายส่งออก โดยLPGที่นำเข้าและส่งออกนั้นปตท.ไม่ได้ค่าชดเชย
   
       ในคำอธิบายนั้นยังมีความคลุมเครืออยู่บ้างในบางประเด็นที่ปตท.ควรตอบ คำถาม อ.สมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ต่อ นั่นคือคำถามว่า..การนำเข้าโดยมีเป้าหมายเพื่อส่งออกนั้นแรกทีเดียวนำเข้ามา โดยอ้างการขาดแคลนในประเทศ การขนส่งมาในล็อตเดียวรวมกัน (เพื่อลดต้นทุนการค้า) และใช้ข้ออ้างนั้นส่งออกไปยังตลาดเดิมที่เป็นคู่ค้าเดิมก่อนปี 2551 หรือไม่ ?
   
       ลองมาดูตัวเลขที่คนไทยผู้ใช้น้ำมันควรรู้กันสักตัวหนึ่ง ประกอบการทำความเข้าใจเพิ่มเติม
    



       การเอาเปรียบจากกองทุนน้ำมัน
       *เงินกองทุนน้ำมันของประชาชนไปอุ้มบริษัทของใคร ?

   
       จากตารางมีวงกลมสำคัญ 3 จุดที่คนใช้น้ำมันน่าจะรู้ว่าเงินของเราที่ออกจากกระเป๋าในนามของการเติม น้ำมันรถหรือซื้อก๊าซหุงต้มในครัว
   
       วงกลมแรก คือภาษีน้ำมัน ตั้งแต่ 7 บาทลงมาถึง LPG 2 บาทกว่า - นี่เป็นเม็ดเงินบำรุงหลวงโดยตรง
   
       วงกลมสุดท้าย ก็คือค่าการตลาด ที่เก็บลิตรละ 5.7 บาทลงมาถึง 2 บาทกว่า เงินส่วนนี้ปั๊มรายย่อยบอกได้แค่บาทหรือบาทกว่า คำถามตัวโตไป ยังบริษัทน้ำมันว่าส่วนต่างค่าการตลาดที่เหลือหายไปไหน เพราะในเมื่อปั๊มไม่ได้ก็เท่าบริษัทน้ำมันรับเงินหักจากประชาชนตรงจุดนี้ เข้ากระเป๋าเพิ่มเข้าอีกในนามของค่าการตลาด
   
       ส่วนที่น่าสนใจและต้องอธิบายเพิ่มคือวงกลมที่สอง-ว่าด้วยกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
   
       วงกลมที่สอง ที่เขียนว่า Oil fund จะต้องว่ากันยาวเพราะมีการซิกแซกเอาเงินของประชาชนไปอุ้มนายทุนและโรงงาน รวมถึงบริษัทผูกขาดที่อ้างชื่อรัฐวิสาหกิจนั่นก็คือ “กองทุนน้ำมัน” เมื่อก่อนกองทุนนี้เอาไว้พยุงราคาเวลาน้ำมันโลกแพงก็เอากองทุนนี้มาอุ้ม ประคองคนในสังคม แต่เดี๋ยวนี้ได้เปลี่ยนเป็น “กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง” สถานะของกองทุนนี้ ณ เดือนสิงหาคม 2553 อยู่ที่ประมาณ 26,900 ล้านบาทซึ่งควักใช้ในกิจกรรมที่เหมือนจะช่วยให้การพลังงานไทยมั่นคง เช่นอุดหนุนราคาก๊าซNGV หรือเปลี่ยนเครื่องแท็กซี่ แต่ก็มีอีกชนิดหนึ่งที่ดูยังไงก็เหมือนกับควักกระเป๋าคนไทยไปช่วยปตท.และโรง งานเอกชน นั่นก็คือชดเชยค่าก๊าซ LPG ที่นำเข้าจากต่างประเทศ
   
       ล่าสุดเว็บไซต์ปตท.ก็เพิ่งประกาศว่าเพิ่งลงนามนำเข้า LPG ล็อตล่าสุดจาก Itochu Corporation หนึ่งในผู้นำเข้า LPG ของประเทศญี่ปุ่น โดย ปตท. ซื้อ LPG จากบริษัท Itochu จำนวน 3 เที่ยวเรือ เที่ยวเรือละ 44,000 ตัน ภายในเดือนกันยายน 2553
   
       การนำเงินกองทุนน้ำมันที่คนไทยควักกระเป๋าจ่ายเพื่อหนุนการนำเข้า LPG จากต่างประเทศ (ที่แพงกว่าราคาขายในประเทศ) ดูเผินเหมือนแฟร์ดี แต่ในรายละเอียดไม่ใช่ !
   
       นั่นเพราะว่าสัดส่วนผู้ใช้ LPG ในประเทศไทยเป็นครัวเรือนและยานยนต์น้อยกว่ากลุ่มอุตสาหกรรมปิโตรเคมีหลาย เท่าตัว (ดูตารางประกอบ) ดังนั้นเงินที่เราเอาไปหนุนช่วยการนำเข้าที่ล้วนมาจากกระเป๋าผู้ใช้น้ำมัน ต้องแบ่งไปช่วยกลุ่มปิโตรเคมีและโรงงานอุตสาหกรรมซึ่งไม่ได้ออกเงินในกองทุน น้ำมันแม้แต่น้อย
   
       พูดภาษาชาวบ้านก็คือการยักยอกเงินกองทุนของประชาชนไปอุ้มบริษัทเอกชน และปตท. โดยการสมคบทางนโยบายกับกลุ่มขุนนางพลังงานนั่นเอง !
   
    



       กรณีภาษีที่เก็บเป็นกองทุนน้ำมัน สามารถอธิบายให้กระชับขึ้นอีกครั้งได้ว่า
   
       1.เงินกองทุนนี้มาจากประชาชน ขุนนางพลังงานร่วมกับปตท.ได้ใช้หนุนการนำเข้า LPG ที่ราคาแพงกว่าขายประเทศ แต่ประโยชน์จากราคาก๊าซถูกกลับตกอยู่ที่โรงงานอุตสาหกรรมและปิโตรเคมีที่ไม่ ได้ควักกระเป๋าภาษีดังกล่าว
   
       2.แต่แท้จริงแล้วประเทศไทยสามารถผลิต LPG ได้มากพอหากมีโรงแยกก๊าซเพิ่ม เพราะที่ผ่านมาโรงแยกก๊าซปตท.(ผูกขาด) ทั้ง 5 โรงมีกำลังการผลิตประมาณ 1,770 ล้านลูกบาศก์ฟุต/วัน ขณะที่ก๊าซธรรมชาติจากหลุมปัจจุบัน 3,146 ล้านลูกบาศก์ฟุต/วัน แต่ปตท.ยื้อเรื่องการสร้างหน่วยที่ 6 เอาไว้ พร้อมกันนั้นก็ผลักภาระการเป็นรัฐวิสาหกิจที่เห็นใจคนไทยด้วยการนำเข้าจากต่างประเทศให้คนไทยควักกระเป๋าจากเงินกองทุน
   
       3.การยื้อสร้างโรงแยกก๊าซทำให้ปตท.ยังมีกำไรสูงสุด ส่วนความรับผิดชอบที่ก๊าซ LPGขาด ก็มีเงินประชาชนมาชดเชยนำเข้า ปตท. ไม่ต้องเสียประโยชน์อะไรมากมาย
   
       4.พร้อมกันนั้นกลุ่มปิโตรเคมีและอุตสาหกรรมก็ได้ประโยชน์จากการนำเข้าราคาถูก ซึ่งก็รวมถึงกลุ่มปตท.เองด้วย
   
       5.ประเด็นเรื่องโรงแยกก๊าซหน่วยที่ 6 ซึ่งปัจจุบันชะงักงันจากกรณีคำสั่งศาลปกครองที่มาบตาพุด มีกำลังการผลิต 800 ล้านลูกบาศก์ฟุต/วัน กับโครงการโรงแยกก๊าซอีเทน กำลังการผลิต 1 ล้านตัน/ปี เป็นข้ออ้างให้ปตท. ไม่ต้องควักกระเป๋าลงทุนเพื่อผลิตก๊าซที่ขายแล้วไม่ได้กำไร (แต่ประชาชนเดือดร้อนจากต้องควักกระเป๋าเงินชดเชยไปตรึงค่าก๊าซเอาไว้) เรื่องนี้สามารถถกเถียงกันได้ยาวว่าเป็นเหตุสุดวิสัยที่ไม่สามารถสร้างได้ ทันแต่แท้จริงแล้ว ปตท. ได้แสดงเจตนาที่ชัดเจนเรื่องการลงทุนสร้างโรงแยกก๊าซออกมาทางสื่อมวลชน นี่เป็นหลักฐานประกอบว่าปตท. ใช้เงื่อนไขลอยตัวก๊าซไปผูกกับการลงทุนเพื่อจะได้กำไรเต็มที่อย่างที่ตัว ต้องการจริง
    



       เพราะหาก ปตท.ยังคงมีจิตวิญญาณของรัฐวิสาหกิจที่ไม่ได้คิดกำไรเป็นสรณะ ผู้บริหารปตท.จะต้องไม่ออกมาให้สัมภาษณ์แบบนี้
   
       สิ่งที่ประชาชนคนไทยอยากได้ยินที่สุดคือคำให้สัมภาษณ์ของผู้บริหาร ระดับสูงในแวดวงพลังงานโดยมีกระบวนทัศน์ใหม่ที่มองประชาชนคนไทยเป็นศูนย์ กลาง
   
       ผมขอฝันใหม่เปลี่ยนคำสัมภาษณ์นายประเสริฐในข่าวว่า “ปตท.จะเร่งสร้างโรงแยกก๊าซหน่วย 6และ 7 โดยเร็วเพราะก๊าซธรรมชาติที่เป็นสมบัติของชาติส่วนที่เหลือไม่ถูกนำมาใช้ ประโยชน์เต็มที่ เสมือนกับเอาต้นสักทั้งต้นไปเผาเป็นฟืน ควรจะแยกสิ่งที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจออกมาเสียก่อน การสร้างดังกล่าวจะทำให้คนไทยไม่ขาดแคลน LPG และไม่ต้องนำเข้าจากต่างชาติแม้ว่าการลงทุนนั้นจะยังไม่คุ้มค่าเวลานี้แต่ เนื่องจากปตท.กำไรปีนึงเป็นแสนล้านสามารถถัวเฉลี่ยต้นทุนกำไรได้ ทั้งนี้เพื่อประโยชน์สูงสุดของชาติ”
   
       ผมในนามพลเมืองไทยคนหนึ่งขอฝันใหม่จะได้ไหมว่า...ผู้บริหารปตท.และ ขุนนางพลังงานออกมาประกาศว่า กองทุนน้ำมันที่เก็บไปจะใช้เพื่อประโยชน์ของผู้บริโภคจริงไม่ซิกแซ็กเบียดบังไปอุ้มธุรกิจเอกชน
   
       ผมขอฝันใหม่ได้ไหมว่า..ผู้บริหารปตท.ประกาศว่า ระหว่างนี้ที่ประเทศไทยยังผลิต LPG ไม่เพียงพอ..หากจะนำเข้า LPG แต่ละล็อต จะแยกบัญชีและการขนส่งนำเข้าเพื่อใช้ในประเทศตามที่ขาดแคลนจริง ไม่เยี่ยวปนฝนนำเข้าล็อตเดียวกันลดต้นทุนการขนส่งให้ต่ำสุดเพื่อค้ากำไรส่ง ขายต่างประเทศในนามของการนำเข้าเพื่อแก้ปัญหาให้ประชาชน
   
       ขอแค่แฟร์กับผู้บริโภคให้เท่าเทียมกับผู้ถือหุ้น..แค่นี้จะได้ไหมครับ !


คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่ขึ้น
กระทู้ถามของนายสมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ ส.ส.สัดส่วน พรรคประชาธิปัตย์












ธุรกิจก๊าซธรรมชาติเป็นเสาหลักหนึ่งใน 4 เสาของปตท. และนับวันจะยิ่งกลายเป็นพระเอกเพราะปริมาณก๊าซที่พบเพิ่มและการขยายโครงข่าย ท่อที่เปรียบเสมือนไฮเวย์พลังงาน
    
       แม้นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ปตท.จะเติบโตมาจากสายน้ำมันแต่ก็เคยนั่งดูแลสายงานก๊าซธรรมชาติมาช่วง หนึ่งก่อนจะขึ้นเบอร์หนึ่ง ปตท. ดังนั้นเงื่อนปมและการขยับตัวของกิจกรรมสายก๊าซธรรมชาติแต่ละครั้งเขาย่อม มองเห็นอย่างเข้าใจว่าขยับแบบไหนจึงจะได้กำไร
    
       ธุรกิจก๊าซธรรมชาติจะทำให้ปตท.ยิ่งใหญ่สุดในวงการพลังงานของประเทศ ไทยอย่างแท้จริงเมื่อโครงข่ายท่อครอบคลุมประเทศไทยและต่อเชื่อมกับเพื่อน บ้านแล้วเสร็จ
    
       สำหรับโลกพลังงานยุคปัจจุบันระบบขนส่งทางท่อกำลังจะกลายเป็นพระเอก มองย้อนหลังไปเมื่อทศวรรษที่แล้วมีเอกสารวิเคราะห์ของ U.S. Energy Information Administration เรื่อง Natural Gas Pipeline Network: Changing & Growing (1998) ทำนายว่าว่าการอุปโภคพลังงานก๊าซธรรมชาติจะเติบโตขึ้นอย่างมั่นคงชัดเจนและ คาดว่าจะถึง 32 trillion ลบ.ฟ. (เติมเลขศูนย์เอาเองนะครับ) ภายในปี 2020 และนี่จะเป็นยุคของระบบการขนส่งทางท่อ … หมายถึงว่า คนในวงการพลังงานโลกมองเรื่องระบบท่อและมองเห็นอนาคตของก๊าซธรรมชาติตั้งแต่ 12ปีก่อนซึ่งขณะนั้นประเทศไทยเพิ่งจะประสบปัญหาวิกฤตต้มยำกุ้งมาใหม่
    
       เพียงไม่กี่ปีผ่านไปความสำคัญของระบบท่อขนส่งพลังงานยิ่งฉายให้เห็น อย่างชัดเจนว่าระบบท่อขนส่งก๊าซและน้ำมันกลายเป็นความสำคัญทางด้านความมั่น คงและภูมิรัฐศาสตร์ในระดับนานาชาติ ความขัดแย้งในเอเชียกลางและยูเรเซีย ที่มีอัฟกานิสถานเป็นศูนย์กลางแท้จริงก็มาจากท่อน้ำมันนี่แหละ
    
       ท่อน้ำมันและก๊าซยุคใหม่สามารถปรับเปลี่ยนภารกิจเพื่อการขนส่ง พลังงานแต่ละประเภทได้ ล็อตนี้เป็นน้ำมันดิบ ล็อตต่อไปเป็นก๊าซธรรมชาติ เหมือนกับเป็นรางรถไฟที่พร้อมรับขบวนตู้สินค้าแต่ละชนิด มีภาพยนตร์เจมส์บอนด์007ตอนหนึ่งที่นำคนขนส่งผ่านท่อก๊าซหลบหนีจากรัสเซียมา ยังยุโรป
    
       ความยิ่งใหญ่ของระบบท่อพลังงานก็คือจะมีการเชื่อมโยงโครงข่ายท่อเข้า ด้วยกัน เช่นเดียวกับระบบสายส่งไฟฟ้า ระบบท่อในอนาคตจะเชื่อมทอดยาวข้ามทวีปและข้ามมหาสมุทรเช่นเดียวกับระบบท่อ ที่อลาสก้า และ ไซบีเรียดำเนินการอยู่ ผู้ผลิตรายใดส่งสินค้าเข้าไปเท่าใด ใครนำออกปลายทางเท่าไหร่ มีระบบตรวจเช็คระหว่างกันของผู้ส่ง-ผู้รับและ regulator ในส่วนของอาเซียนก็เริ่มมีการเชื่อมโยงกันเรียกว่า Trans-Asian Gas Pipeline ที่ปัจจุบันมีความยาวประมาณ 3 พันก.ม. และในทางปฏิบัติสามารถจะเชื่อมไปถึงประเทศจีนได้เพราะจีนกำลังวางท่อจากอ่าว เมาะตะมะประเทศพม่าเข้าไปยังมณฑลหยุนหนัน
    
       Trans-Asian Gas Pipeline เป็นเรื่องยิ่งใหญ่มาก ทำให้กิจการพลังงานมันไม่ได้เป็นแค่เรื่องของธุรกิจ แต่กลายเป็นประเด็นความมั่นคง และอิทธิพลระหว่างมหาอำนาจ ยิ่งมีโครงข่ายท่อก๊าซมากขึ้นจุดยุทธศาสตร์ของการเชื่อมต่อ เช่น แลนด์บริดจ์จะยิ่งกลายเป็นจุดที่มหาอำนาจให้ความสนใจ
    
       ประเทศไทยเราก็กำลังจะเริ่มเจอประเด็นปัญหาระดับโลกที่มาจากตำแหน่งท่อก๊าซ ตัวอย่างเล็กที่ ไม่ควรมองข้ามคือการอาละวาดฟาดงวงฟาดงาของกลุ่มดูไบเวิลด์และพวก จากข่าวที่รัฐบาลประชาธิปัตย์อาจจะระงับแผนแลนด์บริดจ์สตูล(ปากบารา)-สงขลา ที่ดูไบเวิลด์ออกเงินศึกษาไว้ให้เรียบร้อย เพราะหลังจากนายอภิสิทธิ์และคณะไปเยือนปักกิ่งกลับมา ข่าววงในว่าประชาธิปัตย์อาจจะทิ้งแนวที่ดูไบเวิลด์ร่างไว้ให้ แล้วไปให้น้ำหนักกับท่าเรือทวายและโครงข่ายเชื่อมตอนบนแทน
    
       ดูไบเวิลด์ แห่งสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์นั้นชื่อเป็นตะวันออกกลางก็จริงแต่สำหรับวงการ พลังงานรู้กันดีว่ากลุ่มทุนกลุ่มนี้คิด-พูด-ทำด้วยภาษาและวิธีการเดียวกับ ตะวันตก โดยเฉพาะกลุ่มทุนน้ำมันเท็กซัส วงการพลังงานเชื่อกันว่าดูไบเวิลด์--บุช -แฮรอดส์(อัลฟาเยต) เกาะเกี่ยวเชื่อมโยงกัน (ซึ่งถ้าเป็นเช่นนั้นทักษิณก็คงเกี่ยวกับกลุ่มนี้ด้วย)
    
       ดูไบเวิลด์ร่างแผนจะวางท่อก๊าซผ่านทะเลอันดามันเชื่อมกับอ่าวไทย โดยเขาได้ขยับเข้ามาอย่างจริงจังตั้งแต่ยุครัฐบาลสมัคร สุนทรเวช
    
       นี่คือแผนการยึดหัวหาดยุทธศาสตร์ขนส่งพลังงานทางท่อในภูมิภาคก็ว่าได้ !!
    
        2540 !!?
    
       หน้าฉากของดูไบเวิลด์คือธุรกิจในเครือข่ายของชีคโมฮัมเหม็ด บิน ราชิด อัล มักตุม เจ้าผู้ครองรัฐดูไบซึ่งเราท่านก็ได้รู้กันแล้วว่าโครงการยักษ์ของเขาหลายตัว มีปัญหา แต่นั่นยังไม่เท่ากับประเด็นสายสัมพันธ์ และความสนใจของพวกเขา
    
       พวกเขาสนเรื่อง 1.สัมปทานขุดเจาะน้ำมันและก๊าซ 2.ท่อก๊าซแลนด์บริดจ์เชื่อมสองฝั่งทะเล 3.การบริหารท่าเรือซึ่งจะกุมระบบการขนส่งทางน้ำ
    
       ดูไบ เวิลด์ เข้ามาอย่างเป็นทางการเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2550 ในสมัยนายสันติ พร้อมพัฒน์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเขามีหนังสือเสนอให้ความช่วยเหลือแบบให้ เปล่าเพื่อศึกษาความเหมาะสมแนวทางการพัฒนาท่าเรือฝั่งทะเลอันดามันและสะพาน เศรษฐกิจเชื่อมโยงท่าเรือฝั่งอ่าวไทย โดยไม่มีข้อผูกพันใด
       ต่อจากขั้นตอนศึกษาดูไบเวิลด์มีข้อเสนอร่วมทุนกับรัฐบาลพัฒนาสะพาน เศรษฐกิจพร้อมท่าเรือน้ำลึกฝั่งอ่าวไทยและอันดามัน รวมถึงเครือข่ายเชื่อมโยงอื่นเช่น ถนน รถไฟ ท่อ เป็นต้น และจะให้รัฐบาลไทยถือหุ้นร้อยละ 50.1 โดยคิดจากมูลค่าที่ดินหรือมูลค่าภาษีที่จะลดหย่อนให้ตลอดอายุการใช้งาน
    
       ข้อเสนอของเขาง่ายมากคือรัฐลงทุนโดยไม่ต้องควักเงินแต่ ดูไบ เวิลด์ จะขอเป็นผู้บริหารท่าเรือและเขตปลอดภาษีระยะ 30 ปี และขยายต่อไปอีก 3 ครั้งรวม 120 ปี ต่อมากระทรวงคมนาคม ได้มอบหมายให้ สนข. ลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) กับดูไบเวิลด์ เมื่อ 22 พฤษภาคม 2551
    
       ข้อมูลประกอบที่สำคัญก่อนหน้านั้นเล็กน้อยรัฐบาลได้ให้สัมปทานขุด เจาะก๊าซและน้ำมันให้กับ “Pearl Oil” ซึ่งแท้จริงแปลงร่างเปลี่ยนชื่อมาจากบริษัท “Harrods Energy” หลายแปลงทั้งบนบกและในทะเลจนกลุ่ม Pearl Oil ได้กลายเป็นยักษ์ใหญ่หนึ่งในสามของบริษัทขุดเจาะในบ้านเราไปเรียบร้อย
    
       นี่คือการเคลื่อนไหวของทุนตะวันออกกลางที่ใกล้ชิดทุนพลังงานอเมริกัน ที่สุดในบ้านของเรา และทั้งหมดดำเนินการในยุครัฐบาลที่ใกล้ชิดกับพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
    
        . ?
    
       1. เพื่อจะตอกย้ำความสำคัญของกิจการพลังงานของประเทศไทยไม่ว่าจะโดยปริมาณและ จุดที่ตั้งทางภูมิรัฐศาสตร์รวมถึงความเป็นศูนย์กลางจนส่ง เพราะเมื่อมีการพยายามจะวิจารณ์ปตท.หรือนโยบายพลังงานขึ้นมาครั้งใดมักจะมี ผู้ออกมาสั่งสอนว่าประเทศไทยเป็นประเทศผู้นำเข้า มีขนาดเล็ก ปริมาณก็น้อยเมื่อเทียบกับยักษ์ใหญ่ (ก็ถูกของเขาพูดกี่ทีก็ถูกหากนำเราไปเทียบกับซาอุฯ) แล้วก็บอกต่อว่าปตท.ก็ต้องเดินตามรอยบริษัทน้ำมันอื่นทั้งเรื่องวิธีการ วิธีคิดและราคาเพื่อจะแข่งขันกับคู่แข่งให้ได้
    
       2. เพื่อชี้ว่าการพลังงานในยุคนี้แยกไม่ออกจากความมั่นคงของรัฐ ไม่สามารถจำกัดกรอบคิดว่ามันก็คือธุรกิจชนิดหนึ่งอีกต่อไป คำว่าการทำธุรกิจน้ำมันในตลาดแข่งขันเสรีจึงเป็นแค่คาถาสวยเอา ไว้อ้างเท่านั้นเพราะขนาดที่ยูโนแคลจะขายกิจการให้จีน สภาคองเกรสยังต้องเข้ามาแทรกแซงและให้เชฟรอนมาซื้อเอาไว้เลย ดังนั้นในเมื่อการพลังงานแยกไม่ออกจากมิติความมั่นคงของรัฐจึงต้องมีคำถาม ตัวโตว่า เมื่อปี 2544 นักการเมืองและขุนนางพลังงานวางแผนฮุบเอาระบบท่อซึ่งเป็นสมบัติสาธารณะและ เป็นสาธารณูปโภคพื้นฐานของประชาชนไปทำไม โชคดีที่มีคนไทยหัวใจรักชาติกลุ่มหนึ่งออกมาขัดขวางฟ้องร้องต่อศาลปกครองจน ศาลปกครองสูงสุดพิพากษาให้ปตท. และรัฐบาลแยกทรัพย์สินดังกล่าวออกมาให้เป็นของประชาชน
    
       ยึดท่อ-คือยึดอำนาจอุตสาหกรรมก๊าซธรรมชาติ
    
       การฮุบท่อก๊าซเป็นเรื่องที่ควรบันทึกเอาไว้ในประวัติศาสตร์การ พลังงานไทย เรื่องนี้ดูเหมือนจบแต่แท้จริงยังไม่จบ เพราะตราบใดที่ประเทศไทยยังขุดเจาะก๊าซธรรมชาติได้ และต้องใช้ท่อลำเลียงเข้ามาในขั้นตอนต่างจน กระทั่งถึงมือผู้บริโภคตราบนั้นเรา-ประชาชนคนไทยก็ยังต้องมีชะตากรรมผูกพัน กับปัญหาท่อก๊าซอยู่ต่อไป เพราะแค่การคิดอัตราค่าผ่านท่อขึ้นมาโดยไม่มีเหตุผลที่ดีรองรับเพียงไม่กี่ สตางค์ นั่นย่อมหมายถึงต้นทุนพลังงานที่ส่งผลไปถึงประชาชนต่อไปเป็นลูกโซ่
    
       การหาประโยชน์จากท่อก๊าซขอแยกเป็น 2 ส่วนเพื่อความสะดวกในการทำความเข้าใจ
    
       ประเด็นแรก - การใช้อำนาจทางการเมืองแยกท่อก๊าซและอำนาจมหาชนไปอยู่ในมือบริษัทที่ตนและ พวกกุมนโยบายได้ นั่นเหมือนกับการได้ยึดครองหัวใจการพลังงานยุคใหม่ในทศวรรษหน้า
    
       ประเด็นที่สอง - การใช้กลเม็ดทางบัญชี หาประโยชน์จากท่อก๊าซ และการเอาเปรียบประชาชนผู้เป็นเจ้าของท่อตัวจริง เรื่องนี้เป็นการใช้เทคนิคทางบัญชีของการเอารัดเอาเปรียบประชาชนที่ชัดเจน ที่สุดอีกตัวอย่างหนึ่ง เปรียบการเล่นกลท่อก๊าซว่าตอน สมมติท่อก๊าซเป็นบ้าน...ตอนปี 2544 ปตท.ซื้อบ้านจากประชาชนไปเขาตีราคาให้ถูกเข้าไว้ แต่เมื่อได้ไปแล้วก็เล่นกลประเมินราคาใหม่เพิ่มอีกเท่าตัว แล้วก็เก็บค่าเช่าบ้านหลังเดียวกันนั้นจากประชาชนแพง
    
       สำหรับประเด็นข้อโต้แย้งว่า เวลานี้ปตท.ได้โอนทรัพย์สินตามคำสั่งศาลครบถ้วนหรือยังนั้น ในที่นี้จะไม่ยังขอลงรายละเอียดเพราะเป็นข้อมูลซับซ้อนน่าจะแยกออกมานำเสนอ อีกตอนหนึ่ง ท่านที่สนใจขอให้ไปดูข้อมูลจากอนุกรรมาธิการคุ้มครองผู้บริโภค วุฒิสภาที่ศึกษาเรื่องนี้โดยตรง
    
       1.นักการเมืองร่วมกับขุนนางพลังงานยึดอำนาจมหาชนของรัฐ
    
       คำว่า “อำนาจมหาชนของรัฐ” ที่กล่าวในที่นี้เป็นความสำคัญที่ปรากฏอยู่ในคำพิพากษาศาลปกครอง ซึ่งเป็นเรื่องละเอียดอ่อนที่คนไทยเจ้าของประเทศควรจะรับรู้ว่า...ครั้ง หนึ่งเมื่อไม่นานมานี้ นักการเมืองและขุนนางพลังงานกลุ่มหนึ่งร่วมกันออกนโยบายที่มิชอบออกแบบให้ บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) กลายเป็นผู้ใช้อำนาจมหาชนของรัฐเหนือกิจกรรมที่เป็นหัวใจหลักการพลังงานของ ชาติ
    
       คำว่าอำนาจมหาชนของรัฐ ก็คือ อำนาจเวนคืนที่ดิน อำนาจประกาศเขตขนส่งปิโตรเลียมทางท่อ อำนาจในการรอนสิทธิ์เหนือที่ดินเอกชนคนสามัญ เพื่อดำเนินกิจกรรมของบริษัทมหาชน
    
       อำนาจพิเศษนี้สุ่มเสี่ยงและอันตรายมากหากไม่มีระบบกำกับถ่วงดุลที่ดี เพราะหากนักการเมืองเข้าไปมีอำนาจบริหาร และสามารถครอบงำข้าราชการที่เป็นขุนนางพลังงานซึ่งกำกับนโยบายพลังงาน จะสามารถเนรมิตกิจกรรมที่ตนต้องการส่วนแบ่งผลประโยชน์ได้อย่างง่ายดาย
    
       กิจการพลังงาน ไม่ใช่กิจการบริการสาธารณะหรือส่งเสริมเศรษฐกิจเพียงมิติใดมิติหนึ่ง หากแต่มันเต็มเปี่ยมไปด้วยมิติของความมั่นคงแห่งรัฐ และผลประโยชน์ชาติอยู่ภายใน การออกแบบให้แปลงทรัพย์สินของการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยเป็นหุ้นของกระทรวง การคลัง 100% ก่อนแล้วค่อนกระจายให้เอกชน โดยฮุบเอากิจการที่ได้มาจากการใช้อำนาจมหาชนของรัฐไม่ว่าจากการเวนคืน และสาธารณูปโภคพื้นฐานที่สมควรเป็นส่วนกลางไม่ตกเป็นของบริษัทมหาชนหนึ่งใด ก็คือการฉ้อฉลในทางนโยบาย
    
       ระหว่างปี 2544-2549 รวมเวลา 6 ปีเต็มที่ปตท.ฮุบเอากิจการที่เป็นสาธารณูปโภคที่ได้มาจากการใช้อำนาจมหาชน ของรัฐไปเป็นของตัวและหาประโยชน์
    
       จนกระทั่งมีเสียงเรียกร้องคัดค้านจากประชาชนต่อความแปรรูปที่ไม่ชอบธรรมดังกล่าวดังขึ้นเรื่อยโดย เฉพาะจากพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยที่ออกมาชุมนุมขับไล่พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรรอบแรก (2548-2549) และมีการยื่นฟ้องร้องต่อศาลปกครองเมื่อเดือนสิงหาคม 2549 โดยกลุ่มของนางรสนา โตสิตระกูลและมูลนิธิคุ้มครองผู้บริโภค จึงเกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น 2 เหตุการณ์
    
       1.คำพิพากษาศาลปกครองบ่งบอกชัดเจนว่า ปตท.ต้องส่งคืนทรัพย์สิน ท่อก๊าซดังกล่าวกลับมาเป็นของรัฐตามเดิม
    
       2.หลังรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 รัฐบาลพล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ตราพรบ.การประกอบกิจการพลังงาน 2550 เพื่อตั้งคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานขึ้นมาควบคุมการใช้อำนาจมหาชนของของ รัฐ ดึงอำนาจมหาชนของรัฐที่รัฐวิสาหกิจแบบ ปตท.เคยได้ไปมาไว้ที่คณะกรรมการชุดนี้
    
       อย่างไรก็ตามที่เป็นแค่ความคืบหน้าที่ดูเหมือนดี อย่างน้อยก็ดีกว่าช่วง 2544-2549 แต่ที่สุดแล้วกลไกกดดันทางสังคม และกลไกทางกฎหมายที่มีขึ้นเพื่อแก้ปัญหานักการเมืองร่วมกับขุนนางพลังงานหา ประโยชน์ยังเป็นแค่การทัดทาน เหนี่ยวรั้งได้บ้างไม่ได้บ้าง เพราะหลังจากนั้นไม่นาน ปตท.ร่วมกับขุนนางพลังงานก็ยังสามารถขึ้นราคาบริการค่าผ่านท่อก๊าซผลักภาระ การลงทุนให้ประชาชนอยู่ต่อไป
    
       2.กลเม็ดทางบัญชีสูบประโยชน์ประชาชน
    
       นักการเมืองและขุนนางพลังงานที่วางแผนแปรรูป ปตท.โดยฮุบเอาท่อก๊าซ 1.1 พันกิโลเมตรซึ่งมาจากภาษีคนไทย (บางคนอ้างว่าเป็นเงินกู้ตปท.มันก็รัฐบาลค้ำประกันและเอารายได้มาจากคน ไทยอยู่ดี) ไปเป็นทรัพย์สินบริษัทเอกชนไม่ว่าจะเป็นใครกี่คน...ทุกคนนั้นใจร้ายใจดำมาก ที่คิดวางแผนนี้ขึ้น
    
       ใจร้ายทุกขั้นตอนตั้งแต่ขั้นตอนตีราคา และใจดำอีกทบเท่าที่ขึ้นราคาค่าผ่านเพื่อเอากำไรไปลงทุนใหม่
    
       คนที่รู้เรื่องความใจดำอำมหิตของนักการเมืองและขุนนางพลังงานดีที่ สุดกลุ่มหนึ่งของประเทศคือ กลุ่มของคุณรสนา โตสิตระกูล ที่ออกหน้ารบกับปตท.มาก่อนใคร เป็นผู้เคลื่อนไหวฟ้องศาลปกครองเพื่อมีมติสั่งให้ปตท.คืนท่อก๊าซกลับมาเป็น ของรัฐ จนกระทั่งคุณรสนาดำรงตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภา ก็ยังศึกษาเพื่อเกาะติดเรื่องนี้ในคณะกรรมาธิการศึกษา ตรวจสอบการทุจริตและเสริมสร้างธรรมาภิบาล โดยคณะอนุกรรมาธิการเสริมสร้างธรรมาภิบาลได้ศึกษาปัญหาดังกล่าวอย่างเป็น ระบบ
    
       เริ่มต้นที่เมื่อปี 2544 “คณะกรรมการเตรียมแปรรูป ปตท. ที่ตั้งโดยนายวิเศษ จูภิบาล ตีราคาท่อก๊าซธรรมชาติทั้งในทะเลและบนบกที่มีอยู่เดิมก่อนปี 2544 ไว้ที่ 46,189.22 ล้านบาทปรากฏในหนังสือชี้ชวนการเสนอขายหลักทรัพย์ โดยคาดว่ามีอายุการใช้งาน 25ปี”
    
       ขออธิบายความเป็นภาษาชาวบ้านถึงการประเมินราคาครั้งนี้ว่าหมกเม็ด อย่างชัดเจนเพราะวิศวกรรมการติดตั้งท่อก๊าซทั่วโลกเขาไม่ประเมินอายุการใช้ งานต่ำสุดแค่ 25 ปีหรอก โดยเฉลี่ยต้อง 50 ปีขึ้นคนที่เขาคลุกคลีในวงการบอกว่าเผลอเหยียบ100 ปีด้วยซ้ำไปเพราะมันมีระบบมาตรฐานการบำรุงรักษาเป็นมาตรฐานโลก
    
        ?
    
       ท่อก๊าซซึ่งเป็นหัวใจหลักของธุรกิจก๊าซธรรมชาติประเทศไทยอย่างแท้ จริง เพราะไม่ว่าบริษัทขุดเจาะรายใดผลิตมาได้ก็ต้องขนส่งผ่านท่อชุดเดียวนี้ ต้องจ่ายค่าผ่านท่อให้ปตท. แล้วปตท.ก็เป็นเจ้าของโรงแยกก๊าซทุกโรงที่มีอยู่ในประเทศ ยิ่งประเทศไทยพบแหล่งก๊าซใหม่ที่แหล่งอาทิตย์หรือแหล่งอื่นใด จะต้องใช้ท่อชุดเดียวกันนี้ขนส่งเข้ามาบนบกเพื่อแยกขายต่อไปยังโรงไฟฟ้าหรือ โรงแยกต่อไป
    
       ปตท.กำไรอื้อจากการเล่นกลทางบัญชีครั้งนี้
    
       ยกตัวอย่างให้ชัดขึ้นเหมือนปตท.ซื้อท่อก๊าซจากประชาชนไป 4.6 หมื่นล้านบาทเมื่อปี 2544
    
       นับจากปี 2544-2550 ได้ค่าผ่านทางท่อก๊าซจากผู้ขุดเจาะต่างเฉลี่ยปีละ 2 หมื่นล้านบาท !!
    
        ?
    
       จนกระทั่งคุณรสนาและคณะมูลนิธิคุ้มครองผู้บริโภคยื่นฟ้องศาลปกครอง เมื่อ 31 สิงหาคม 2549 และศาลท่านตัดสินเมื่อ 14 ธันวาคม 2550 ดังที่ทราบว่าศาลท่านยกฟ้องกรณีให้ปตท.กลับมาเป็นรัฐวิสาหกิจดังเดิมแต่สั่ง ให้แยกท่อก๊าซและทรัพย์สินของรัฐออกมา
    
       ไม่ต้องสงสัยเลยว่าในระหว่างที่ต่อสู้กันในศาล ปตท.พยายามจะสู้ว่าถูกต้องแล้วที่ท่อก๊าซเข้ามาเป็นทรัพย์สินของบริษัทมหาชน หาใช่ทรัพย์สินของสาธารณะส่วนรวมไม่
    
       การทำมาหากินเรื่องท่อก๊าซเกิดขึ้นอย่างน่าเกลียดในระหว่างที่มีการ ฟ้องร้องพิจารณาในศาลปกครอง โดยระหว่างนั้นปตท.ได้จ้างบริษัทต่างประเทศ 2 บริษัทมาประเมินราคาและขยายอายุการใช้งานใหม่
    
       ตามคาด-ผลออกมาว่าอายุของท่อก๊าซขยายได้ถึง 50 ปี และมีมูลค่าทางเศรษฐศาสตร์ระหว่าง 105,000-120,000 ล้านบาท (จากเดิม 25ปี/4.6หมื่นล้านบ.)
    
       ประหลาดเกินกว่าจะประหลาด !! พอประเมินใหม่อายุท่อก๊าซกับมูลค่าท่อเพิ่มอีกเท่าตัวจากที่ซื้อมาจาก ประชาชน เอาสามัญสำนึกมาว่ากัน เหตุใดราคาและอายุครั้งแรกที่ซื้อจากประชาชน กับครั้งสองที่ต้องการทำกำไรทำไมมันห่างกันเป็นเท่าตัวแบบน่าเกลียด ผลจากการนี้ปตท.มีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นในทางบัญชีอีกก้อนใหญ่เพื่อโชว์ให้ผู้ ถือหุ้นเห็นว่าบริษัทเติบโตพรวด
    
       เหตุการณ์ที่เกิดในระหว่างนั้นอีกเหตุการณ์คือ ปตท.ได้ปรับปรุงเพิ่มเติมแผนขยายโครงข่ายท่อก๊าซฉบับ 3 (2544-54) ซึ่งจะคลุมไปถึงภาคกลาง-อีสานบางส่วน ซึ่งพอจะเข้าใจได้ว่า ท่อก๊าซคือหัวใจในอนาคตไม่ว่าใครมากุม ปตท.ก็ต้องคิดขยายโครงข่ายออกไป มูลค่าของแผนการนี้เป็นเงินลงทุนรวม 165,077 ล้านบาท แผนปรับปรุงเพิ่มเติมดังกล่าวได้รับอนุมัติเมื่อปี 2550 ซึ่งเป็นช่วงที่ปตท.กำลังเติบโตพรวดรายได้เฉียด 2 แสนล้านบาทแล้วในขณะนั้น
    
       การลงทุนเพิ่มดังกล่าวจึงเป็นข้ออ้างที่ดีของการขึ้นราคาค่าผ่านท่อ !
    
       ที่จริงแล้วเงินลงทุน 1.6 แสนล้านบาทไม่ได้เป็นเรื่องยากเลยสำหรับบริษัทแข็งแกร่งอย่างปตท. หากจะหาเงินจากทางอื่นมา ลงทุนขยายกิจการ แต่ปรากฏว่าในห้วงเวลาเดียวกันก็มีการพยายามจะขึ้นราคาค่าบริการส่งก๊าซ ธรรมชาติ (ภาษาชาวบ้านคือค่าผ่านท่อนั่นแหละ)
    
       จึงมีการเสนอหลักเกณฑ์และข้อกำหนดในการคำนวณอัตราค่าบริการส่งก๊าซ ธรรมชาติฉบับใหม่ให้คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) อนุมัติ นำไปสู่สำนักนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) จัดทำคู่มือการคำนวณราคาก๊าซธรรมชาติและค่าบริการส่งก๊าซธรรมชาติ ฉบับใหม่อนุมัติรวดเดียวนำมาบังคับใช้เมื่อ 1 มกราคม 2551
    
       หมายความว่า ปตท. ได้ไฟเขียวจากขบวนการขุนนางพลังงานให้เก็บค่าผ่านท่อ ซึ่งตัวเองได้กำไรอยู่เห็นเพิ่มขึ้นอีก คำนวณแล้วส่วนที่ได้กำไรทันที 2 พันล้านบาท (เดิมได้ 2 หมื่นล้าน ของใหม่ได้ 2.2 หมื่นล้าน/ปี)
    
       แล้วรายได้ที่ได้มาทั้งหลาย ปตท.ก็เอาไปขยายกิจการท่อก๊าซเฟสต่อไปซึ่งจะไม่ได้เป็นของประชาชนเหมือนท่อก๊าซชุดแรกที่ศาลสั่ง
    
       ปตท.ทำแบบนี้ก็คือ ปตท.ได้เงินและกำไรเพิ่ม แต่ขณะเดียวกันก็ผลักภาระต้นทุนพลังงานให้กับประชาชนในทันที ก๊าซที่ส่งไปยังโรงงานผลิตไฟฟ้าของกฟผ.มีต้นทุนค่าผ่านท่อเพิ่มขึ้น กฟผ.ก็คิดกลับมาในรูปค่าไฟฟ้า, บริษัทที่ขุดเจาะรายอื่นเสียค่าขนส่งเพิ่ม ก็ต้องบวกต่อให้กับผู้บริโภคในปลายทาง ฯลฯ
    
       เฉพาะเรื่องนี้ก็ใจดำจนแทบไม่สามารถบรรยายได้ !
    
       ปัญหาเรื่องท่อก๊าซเหมือนจะมีผลสรุป แต่แท้จริงยังไม่ใช่ผลสรุปที่ดีสำหรับประชาชนนัก
    
       เพราะต่อมาแม้ศาลท่านมีคำสั่งฯ ให้แยกทรัพย์สินออกมาเป็นของรัฐ และปตท.ก็ต้องแยกบัญชีท่อก๊าซที่ดินปลูกสร้างต่างออก มาในทางบัญชี แต่ก็ได้สิทธิการใช้ทรัพย์สินดังกล่าวเพราะความเป็นรัฐวิสาหกิจตามพรบ.ทุน รัฐวิสาหกิจ 2542 (อ่านรายละเอียดคำอธิบายการแบ่งทรัพย์สินจากกระทู้ถามตอบ ส.ส.สมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์)
    
       เพราะจนบัดนี้ต้นทุนการขนส่งทางท่อที่ปตท. กุมเอาไว้แต่เพียงผู้เดียวยังเป็นต้นทุนที่อ้างอิงเหตุผลว่าปตท.ต้องการราย ได้เพิ่มไปขยายการลงทุน ต้นทุนค่าผ่านท่อควรจะเป็นต้นทุนต่ำสุดโดยคำนึงถึงประชาชนเป็นสำคัญ
    
       เรื่องท่อก๊าซปตท. เหมือนจบแต่ที่สุดยังไม่จบหรอกจนกระทั่งเราจะได้พิสูจน์กันแท้จริงว่าต้นทุน ที่เหมาะสมโดยคำนึงถึงประชาชนเจ้าของประเทศอยู่ที่เท่าใดกันแน่
    
        ?
     


       . ?
    
       เพราะตอนตีราคาซื้อจากประชาชน 46,189.22 ล้านบาท แต่วันดีคืนดีก็จ้างฝรั่งมาประเมินใหม่มีมูลค่าเป็นแสนล้าน มีอายุใช้งานเพิ่มขึ้นเท่าตัว แต่พอจะต้องส่งคืนให้กลับมาให้รัฐมูลค่าดังกล่าวก็หล่นฮวบลงมาติดดิน
    
        . ?
    
       ขอให้ดูข่าวเก่าข่าวนี้ผู้บริหาร ปตท. กล่าวกับผู้สื่อข่าวว่ามูลค่าโครงข่ายท่อก๊าซนั้นเป็นแสนล้าน...แต่เหตุไฉน เมื่อส่งคืนรัฐตามคำสั่งศาลจึงมีมูลค่าไม่ตรงกับที่เคยกล่าวกับสื่อ
    
     
“ประเสริฐ” ยัวะโบรกฯ ประเมินหุ้น ปตท.เหลือแค่ 300 บาท ซัดท่อก๊าซไม่ใช่ท่อประปา

เรียบเรียงจาก : ผู้จัดการออนไลน์
ประจำวันที่ : 17 ธ.ค. 50

ผู้ บริหาร ปตท.ฉุนบทวิเคราะห์ประเมินหุ้น PTT หั่นราคาลงเหลือแค่ 300 บาท หลังการโอนสินทรัพย์และท่อก๊าซคืนให้แผ่นดิน ชี้ ราคาที่หายไป 70-80 บาท คงประเมินว่าท่อก๊าซเป็นท่อประปา ระบุ มูลค่าทางบัญชีสูงถึง 1 แสนล้าน คิดเป็น 10% ของสินทรัพย์รวม




นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์

วันนี้ (17 ธ.ค.) นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) หรือ PTT ออกมาเปิดเผยกับสื่อมวลชน หลังฝ่ายบริษัทหลักทรัพย์หลายแห่ง ได้ออกบทวิเคราะห์ประเมินราคาหุ้นของ PTT เหลือเพียง 300 บาท หลังมีการโอนสินทรัพย์ที่ดิน ท่อก๊าซ และท่อน้ำมัน กลับคืนให้เป็นสมบัติของชาติ

นายประเสริฐ ชี้แจงว่า ปัจจุบัน โครงข่ายท่อก๊าซและที่ดินของ ปตท.ตามมูลค่าตามบัญชีอยู่ที่ 100,000 ล้านบาท หรือคิดเป็น 10% ของมูลค่าสินทรัพย์ของ ปตท.ที่มีอยู่ประมาณ 8-9 แสนล้านบาท โดยเบื้องต้นยังไม่ได้พิจารณาว่าจะโอนท่อส่วนไหนให้กระทรวงการคลังบ้าง ซึ่งในมูลค่าดังกล่าวมีท่อบางส่วน ซึ่งเป็นท่อทางทะเลที่ไม่ต้องรอนสิทธิ

ส่วน กรณีที่มีนักวิเคราะห์คาดการณ์ว่า ภายหลังจาก ปตท.โอนท่อก๊าซให้คลังจะทำให้มูลค่าหุ้นลดลง 70-80 บาท โดยมูลค่าหุ้นที่นักวิเคราะห์ตีมูลค่าว่าจะหายไป 70-80 บาทนั้น เขาคงตีความว่า จะเอาท่อก๊าซของ ปตท.ไปเป็นท่อประปา คือ ปตท.เลิกธุรกิจท่อก๊าซไปแล้ว แต่จริงไม่ ใช่ ปตท.ยังทำธุรกิจท่อก๊าซต่อได้ เอาก๊าซมาส่งตามปกติ เพียงแต่มีภาระจ่ายค่าตอบแทนให้กับกระทรวงการคลังเท่านั้น นายประเสริฐ กล่าว

    
       หมายเหตุ- ท่านที่สนใจรายละเอียดเพิ่มเติมเรื่องท่อก๊าซสามารถดาวน์โหลดข้อมูลเรื่อง มูลค่าท่อก๊าซและปมปัญหาการคืนให้รัฐ ของอนุ กมธ.ธรรมาภิบาล วุฒิสภาได้ที่ www.gasthai.com/pdf/gas300909.pdf


เมื่อทศวรรษกว่าก่อนระหว่างที่กระแส “แปรรูปรัฐวิสาหกิจ” ไหลเข้ามาแรงพอ ๆ กับ “การเปิดเสรีการค้า” หากมีคนตั้งคำถาม หรือคัดค้านการเปิดเสรี หรือค้านการแปรรูปอาจจะถูกหาว่าเป็นพวกไม่ทันโลก ไม่ทันโลกาภิวัตน์ เป็นพวกตกยุค
     
       พนักงานรัฐวิสาหกิจที่ต่อต้านจะถูกมองอย่างง่ายดายว่าเห็นแก่ ประโยชน์ตัวเอง ไม่ยอมปรับตัว ไม่ยอมปรับปรุงตัวเองให้มีประสิทธิภาพ
     
       นั่นเพราะว่ากระแสหลักของโลกในระยะ 2 ทศวรรษว่านี้ยืนอยู่บนกรอบแนวคิดที่เรียกว่าฉันทามติวอชิงตัน (Washington Consensus) และปรัชญาเศรษฐศาสตร์ทุนเสรีนิยมใหม่ (Neo-Liberalism) ซึ่งเป็นหัวใจความคิดของการจัดระเบียบโลกใหม่ที่เริ่มเมื่อปลายทศวรรษ 70 ทั้งยังเป็นจุดเริ่มขององค์กรการค้าโลก และการเปิดการค้าทวิภาคีแบบ FTA ที่ประเทศไทยกำลังเดินหน้าทำอยู่
     
       ถ้ายังจำได้ลมหายใจของคนยุคนั้นจะหนีไม่พ้นจากคำว่า โลกาภิวัตน์ ค้าเสรี แปรรูปรัฐวิสาหกิจ ฯลฯ
     
       การแปรรูป ปตท. เมื่อปี 2544 เป็นผลพวงมาจากกรอบแนวคิดดังกล่าว แต่ที่ประหลาดยิ่งกว่าก็คือรัฐบาลทักษิณอ้างอิงปรัชญาเศรษฐศาสตร์ว่าด้วยการ แปรรูปรัฐวิสาหกิจและตลาดเสรีมาครอบงำ ปตท. ทั้ง ๆ ที่โดยที่เนื้อแท้แล้วการแปรรูปครั้งนี้ไม่ได้อยู่บนรากปรัชญาทาง เศรษฐศาสตร์ตัวใดเลยแม้แต่น้อย
     
       อ้างเสรีก็ไม่จริง - เพราะปตท.ใช้อำนาจมหาชนของรัฐ และใช้สิทธิพิเศษของรัฐวิสาหกิจเช่นเดิม
     
       อ้างว่าแปรรูปเอาเข้าตลาดหลักทรัพย์เพื่อระดมทุนแทนที่รัฐต้องควักก็ ไม่จริง - เพราะมีการพิสูจน์แล้วว่าเงินที่ได้มาเป็นส่วนน้อย เงินที่เสียไปให้คนนอกกลับเป็นก้อนใหญ่
     
       เรามาดูตัวเลขผลพวงของการแปรรูปแบบทักษิณกัน…คุณรสนา โตสิตระกูล ประธานคณะกรรมาธิการศึกษาตรวจสอบเรื่องการทุจริตและเสริมสร้างธรรมาภิบาล วุฒิสภา ศึกษาพบว่า การแปรรูปทำให้ ปตท.ได้เงินลงทุนจากผู้ถือหุ้นใหม่ที่เข้ามาซื้อหุ้นเพิ่มทุนแค่ 28,083 ล้านบาท (ปี 2544 จำนวน 24,250 ล้านบาท ปี 2549 จำนวน 1,405 ล้านบาท และปี 2550 จำนวน 2,427 ล้านบาท) แต่ผู้ถือหุ้นใหม่เหล่านี้ได้รับส่วนแบ่งกำไรระหว่างปี 2544 - 2550 มากถึง 216,384 ล้านบาท คิดเป็นอัตรากำไรสูงถึง 771% (ข่าวเอเอสทีวีผู้จัดการรายวัน15ก.ย.2552)
     
       ขออ้างเรื่องการแปรรูปเอาเข้าตลาดเพื่อระดมทุนจึงถูกกำไร 771% ที่แบ่งให้กับผู้ถือหุ้นเอกชนหักกลบลบหายไปสิ้น เหลือแต่เพียงคำถามตัวโต ๆ ว่าแปรรูปไปเพื่ออะไรกันแน่ !!!?
     
       จนกระทั่งบัดนี้คนปตท.หลายคนก็ยังคงท่องคาถาเดิม ๆ ว่าแปรรูปเพื่อเอาเงินลงทุนมาขยายกิจการ ไม่ต้องพึ่งพา ไม่ต้องให้ประชาชนแบกรับแต่ตัวเลขส่วนแบ่งผลประโยชน์ที่ปรากฏออกมามันแสดง ให้เห็นชัดเจนว่า ได้น่ะมีส่วนที่ได้ แต่ได้กลับไม่คุ้มเสีย ! ใครจะรับผิดชอบ
     
       คนที่ตั้งคำถามต่อแนวคิดการแปรรูปในยุคก่อนหน้ามีไม่น้อย แต่เสียงไม่ดัง เพราะกระแสโลกในห้วงเวลานั้นแรงกว่า
     
       นักเศรษฐศาสตร์ที่อยู่ตรงกันข้ามกับ Neo-Liberalism และฉันทามติวอชิงตันอย่าง ศ.พอล ครุกแมน หรือ ศ.โจเซฟ สติกลิทซ์ ที่เราคุ้นชื่อกันดีในยุคนี้พูดเท่าไหร่ต่อเท่าไหร่ถึงผลลบของการเปิดเสรี และการแปรรูปก็ไม่มีใครฟังเท่าที่ควร จนกระทั่งล่าสุดที่โลกเริ่มเปลี่ยนไป
     
       ช่วงวิกฤตเศรษฐกิจโลกที่เพิ่งผ่านไปก็มีผู้ออกมาชี้ว่าเจ้าระเบียบโลกใหม่-ฉันทามติวอชิงตันก็คือต้นตอของวิกฤตเศรษฐกิจครั้งนี้
     
       กลายเป็นว่าวันนี้โลกเงี่ยหูฟังแนวคิดของครุกแมน สติกลิทซ์ มากขึ้นๆ ซึ่งแน่นอนว่ามันมีผลกระทบโดยตรงกับแนวคิดกระแสหลักดั้งเดิมของการเปิดเสรี แบบ Neo-Liberalism
     
       โลกทุกวันนี้กำลังตั้งคำถามตัวโต ๆ กับการแปรรูปรัฐวิสาหกิจที่เราเคยเชื่อกันว่ามันคือหนทางแห่งความรุ่งเรือง ว่าที่แท้แล้วมันรุ่งเรืองหรือหายนะกันแน่ !!?
     
       นึกถึงเมื่อ 10 กว่าปีก่อนเมื่อครั้งวิกฤตต้มยำกุ้งปี 2539 ประเทศไทยยังเป็นสาวกที่ดีของฉันทามติวอชิงตันจึงก้มหน้าก้มตาแก้ปัญหาที่ เกิดขึ้นด้วยสูตรยาแรงของ IMF-ADB ตัดแบ่งประเทศให้เสือหิวตะวันตก ส่วนประเทศมาเลเซีย ไม่เดินตามแนวคิดครอบโลก เลือกใช้คำแนะนำของ ศ.พอล ครุกแมน นักเศรษฐศาสตร์ที่ยืนคนละฟากกับฉันทามติวอชิงตัน ที่สุดมาเลเซียก็ประคองตัวเองผ่านวิกฤตมาได้อย่างสวยงาม
     
       ถ้ายังจำได้ตอนนั้นคนที่เชื่อในแนวทางแบบกระแสหลักวิจารณ์ครุกแมนและ มาเลเซียอย่างรุนแรงจนกระทั่งเหตุการณ์เป็นตัวพิสูจน์ตัวมันเองว่าของเขาถูก เราต่างหากที่เป็นฝ่ายผิดเพราะไปเชื่อ IMF/ADB
     
       ศ.โจเซฟ สติกลิทซ์ เป็นผู้วิพากษ์แนวคิดการแปรรูปรัฐวิสาหกิจว่ามันคือการคดโกงที่ออกแบบมา เพื่อให้รัฐมนตรีในรัฐบาลกอบโกยผลประโยชน์ไปสูงสุด ดังนั้นการแปรรูปจึงไม่ใช่ผลประโยชน์ที่จะเกิดแก่รัฐ
       นักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบลคนนี้บอกว่าที่จะต้องห่วงมากที่สุดในการ แปรรูปรัฐวิสาหกิจก็คือการคอรัปชั่น การแปรรูปรัฐวิสาหกิจนั้นเลวร้ายยิ่งกว่าการโกงกินทีละเล็กทีละน้อยเพราะมัน คือการทุจริตขนาดใหญ่
     
       ศัพท์ที่สติกลิทช์ หยิบมาล้อ "Privatization" ก็คือ "Briberization"(การติดสินบน) ซึ่งคำ ๆ นี้กลายเป็นภาพด้านลบของการแปรรูปรัฐวิสาหกิจทั่วโลกไปแล้ว
     
       โลกเปลี่ยนไปแล้ว แต่สังคมไทยล่ะ..ยังศรัทธาและเชื่อมั่นต่อแนวทางแปรรูปรัฐวิสาหกิจตามก้นใครอยู่อีกหรือ ?
     
       ความคิดสำเร็จรูปของขุนนางพลังงาน
     
       ย้อนมาดูเมืองไทยของเราว่ามีอะไรเปลี่ยนไปเหมือนที่โลกเปลี่ยนบ้าง. สิ่งที่เห็นก็คือผู้ที่เกี่ยวข้องกับนโยบายแทบทุกระดับยังไม่ให้ความสนใจ หรือตั้งคำถามต่อผลลัพธ์ที่ได้จากการแปรรูปรัฐวิสาหกิจในช่วงที่ผ่านมาว่า ให้ผลลัพธ์ตามที่คาดหวังหรือไม่แค่ไหนอย่างไร ?
     
       สำหรับวงการพลังงาน-ดูเหมือนว่าแนวคิดหลักที่ครอบงำฝ่ายนโยบาย ฝ่ายการเมือง ข้าราชการและผู้เกี่ยวข้องเหมือนจะไม่เปลี่ยนแปลงไปจากที่เคยเป็นมา
     
       พอมีคนวิจารณ์ว่าทำไมประเทศไทยขุดก๊าซขุดน้ำมันได้เองแล้วราคาขายยัง แพงอยู่ ? ก็จะมีผู้ออกมาอธิบายความด้วยชุดคำแบบสูตรสำเร็จทำนองว่า
     
       1.ประเทศไทยยังต้องนำเข้าน้ำมันเป็นประเทศผู้บริโภคไม่ใช่ประเทศผู้ผลิต
     
       2.ไทยยังต้องอิงราคาขาย ณ โรงกลั่นสิงคโปร์เพราะเรานำเข้าน้ำมันมากลั่นและต้องส่งออกขายแข่งกับต่างประเทศ
     
       3.ไม่ควรลดราคาขายในประเทศเพราะเดี๋ยวประชาชนจะใช้เยอะ ไม่ประหยัดพลังงาน
     
       4.ประเทศไทยยังต้องพึ่งการเข้ามาลงทุนขุดเจาะจากบริษัทต่างประเทศ ยังต้องมีเงื่อนไขที่ดึงดูดการลงทุนมิฉะนั้นบริษัทต่างชาติจะไปลงทุนประเทศ เพื่อนบ้าน เราจะไม่มีรายได้ ดังนั้นอย่าคิดหวังจะให้ขอผลประโยชน์เพิ่มให้กับชุมชนหรือประชาชน
     
       5.เราเก็บรายได้ภาษีและค่าภาคหลวงเหมาะสมแล้ว เพราะที่ไหน ๆ ก็คิดแบบนี้ จะโหดเกินมาตรฐานไม่ได้เพราะเดี๋ยวจะไม่มีคนลงทุน
     
       6. และ ฯลฯ.......................
     
       ชุดความคิดที่เป็นกระแสหลักของวงการพลังงานไทยในทำนองนี้ปรากฏออกมา ให้เห็นในหลายรูปแบบเพื่อตอบโต้ผู้วิพากษ์วิจารณ์และเสียงเรียกร้องจากผู้ บริโภค
     
       ดังนั้นผู้บริโภคน้ำมันในประเทศไทย จึงต้องอยู่ใต้โครงสร้างตลาดน้ำมันที่พิลึกพิลั่น ประกาศกับโลกว่าเป็นตลาดเสรีแต่ไม่มีการแข่งขัน แล้วกำหนดราคาขายผูกกับราคาหน้าโรงกลั่นสิงคโปร์เพื่อจะได้บวกค่าใช้จ่าย จิปาถะเพิ่มเข้าไปขายให้กับผู้บริโภคคนไทยทั้ง ๆ ที่น้ำมันดิบบางส่วนก็มาจาก อ่าวไทยของเราเองไม่ต้องบวกค่าเดินทางขนส่งอะไรแต่บริษัทน้ำมันก็ยังบวกเข้า ไป
     
       ตัวชี้วัดตลาดไม่เสรี-ราคากดขี่คนไทย ?
     
       หากตลาดน้ำมันเสรีจริง จะต้องมีการแข่งขันระหว่างโรงกลั่น-บริษัทน้ำมันซึ่งจะส่งผลให้ราคาขายหน้า ปั๊มแตกต่างกัน แต่ข้อเท็จจริงก็คือ ราคาขายหน้าปั๊มไม่ต่างกัน ไม่ได้สู้กันเรื่องราคาจริง ทั้งนี้เป็นเหตุมาจากปตท. ถือหุ้นในโรงกลั่นใหญ่ 5 โรงจากจำนวน 7 โรงของประเทศไทย แม้ว่าปตท.จะอ้างว่ามีบางโรงที่ถือหุ้นไม่มากไม่ได้ครอบงำกิจการหรือผูกขาด กิจการ แต่ในทางปฏิบัติโรงกลั่นใหญ่ 5 โรงร่วมมือกันกำหนดราคาในประเทศไปแล้ว
     
       แท้จริงแล้วต้นทุนราคาน้ำมันที่โรงกลั่นในไทยผลิตได้ถูกกว่าราคา FOB สิงคโปร์ ผู้เกี่ยวข้องในวงการน้ำมันอ้างว่าเราต้องอิงราคาหน้าโรงกลั่นสิงคโปร์เพราะ เอาไว้อ้างอิงเพื่อการส่งออก นำเข้า และแข่งขันกับตลาดโลก
     
       ราคาต้นทุนน้ำมันที่โรงกลั่นในไทยผลิตได้มาจากวัตถุดิบ 2 ส่วน ๆ แรกต้องนำเข้าน้ำมันดิบจากต่างประเทศเข้ามาซึ่งมักจะอ้างอิงราคาน้ำมัยดิบดู ไบ อีกส่วนหนึ่งมาจากอ่าวไทยเอง กำลังการผลิตของ 7 โรงกลั่นในไทยล้นความต้องการภายในประเทศ ดังนั้นจึงต้องส่งออกน้ำมันสำเร็จรูปที่กลั่นแล้วออกไปต่างประเทศ และประเทศไทยก็ได้ค่ากลั่นเป็นกำไร
     
       ราคาน้ำมันที่ส่งไปขายต่างประเทศต้องอิงราคา FOB สิงคโปร์ ถามว่าเหตุใดคนไทยต้องมาแบกรับค่าใช้จ่ายจิปาถะที่ไม่ได้เกิดขึ้นจริง
     
      

     
       นั่นเพราะว่าน้ำมันดิบส่วนหนึ่งมาจากอ่าวไทยของเราเอง นำมาผลิตในโรงกลั่นประเทศไทยซึ่งเมื่อผลิตออกมาแล้วมีต้นทุนที่ถูกกว่า FOB สิงคโปร์อย่างแน่นอนเพราะน้ำมันบ้านเราเหลือต้องส่งออกไปขายต่างประเทศ การส่งออกไปขายต่างประเทศต้องทำราคาให้แข่งขันได้
     
       แต่การที่เราไปอิงราคาสิงคโปร์ดังกล่าวเป็นช่องทางให้บริษัทน้ำมัน บวกค่าใช้จ่ายจิปาถะเสมือนมีการขนส่งจริงจากสิงคโปร์มาไทย (ทั้งที่ข้อเท็จจริงไม่มีการขนส่ง) แล้วกลายเป็นราคาขายปลีกในไทย
       ราคาขายปลีกในไทยจึงเป็นราคาที่บวกเพิ่มจาก FOB สิงคโปร์ โดยโรงกลั่นและบริษัทน้ำมันได้กำไรจากส่วนต่างดังกล่าวในจำนวนมากกว่าที่ควร จะได้
     
       หากมีการแข่งขันระหว่างโรงกลั่นจริง น้ำมันขายปลีกอาจจะลดลงมา แต่ปรากฏว่าในเมื่อไม่มีการแข่งขันจริง ดังนั้นราคาน้ำมันที่ขายคนไทยจึงพิลึกพิลั่นในนามของตลาดเสรี
     
       จริงอยู่ที่เมื่อ 2 ทศวรรษก่อนประเทศไทยเป็นประเทศผู้บริโภคน้ำมันที่ไม่มีวัตถุดิบของตนเอง ในยุคนั้นเทคโนโลยีการขุดเจาะยังไม่ทันสมัยและบริษัทยักษ์ใหญ่ต่างมุ่งไปที่ แหล่งน้ำมันขนาดยักษ์ของโลก ทำให้เราต้องพึ่งพาการลงทุนและเทคโนโลยีต่างชาติ
     
       แต่โลกวันนี้มันเปลี่ยนไปมากมาย
     
       ประเทศไทยก็ยังคงยึดคำอธิบายแบบเดิม ๆ ว่าเรามีมาตรการที่เหมาะสมแล้วกับการเก็บภาษีน้ำมัน
     
       เมื่อมีผู้ยกตัวอย่างประเทศซ้ายจัดอย่างเวเนซูเอล่าที่ประธานาธิดีฮู โก้ ชาเวซต่อรองผลประโยชน์กับบริษัทน้ำมันใหม่ให้รัฐได้ประโยชน์เต็มเม็ดเต็ม หน่วยก็จะมีคนแก้ตัวให้แทนว่าเป็นกรณีเฉพาะแต่สำหรับเมืองไทยยังต้องแข่งขัน กับเพื่อนบ้าน ถ้าเก็บมากไปจะไม่มีคนมาลงทุนเขาจะไปลงทุนในประเทศเพื่อนบ้านหมด
     
       แท้จริงแล้วการแบ่งผลประโยชน์ขุดเจาะน้ำมันให้รัฐ 70-80% ไม่ใช่เป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้สำหรับโลกยุคใหม่ ข่าวเล็ก ๆ ชิ้นหนึ่งเมื่อ 4 เดือนก่อนรายงานว่า บริษัทเปโตรนาสของมาเลเซียเพื่อนบ้านเราเข้าไปลงทุนขุดเจาะน้ำมันในเวเนซู เอลา Petronas enters into major oil venture in Venezuela แต่ก็น่าแปลกที่ประเทศไทยยังคงมีคนท่องคาถาว่าจะต้องเก็บภาษีจากบริษัทต่าง ชาติให้เป็นมาตรฐานเดียวกับเพื่อนบ้านมิฉะนั้นจะไม่มีคนมาลงทุนอยู่ต่อไป เช่นเดิม
     
       หรือแม้แต่ประเทศอเมริกาเองก็เหมือนกัน รัฐคาลิฟอเนียเคลื่อนไหวขอขึ้นภาษีขุดจาะน้ำมันในส่วนของรัฐเมื่อปีที่แล้ว แม้กระทั่งวุฒิสมาชิกก็ยังเคลื่อนไหวเรื่องนี้กับเขาด้วย ซึ่งจะเป็นผลให้ภาษีน้ำมันของคาลิฟอร์เนีย สูงสุดในบรรดารัฐผู้ผลิตน้ำมัน แต่เขาก็ยังจะขึ้นโดยไม่เห็นจะกลัวว่าไม่มีนักลงทุนเข้าในรัฐของเขาต่อไป
     
       วงการน้ำมันโลกในศตวรรษใหม่ดูไปแล้วคล้าย ๆ กับวงจรชีวิตของฉันทามติวอชิงตันนั่นก็คือเป็นยุคขาลงและมีผู้รู้ทันกับแนว คิดกระแสหลักดั้งเดิมมากขึ้น ๆ เรื่อย ๆ เปโตรนาสของมาเลเซียเพื่อนบ้านเราเป็นบรรษัทน้ำมันของรัฐที่สามารถทำให้ราคา ขายปลีกในประเทศต่ำพอจะบริการประชาชนได้โดยไม่ติดข้อปัญหาว่า “ถ้าน้ำมันถูกคนจะไม่ประหยัด” และเชื่อไหมว่าวงการน้ำมันโลกยกให้เปรโตนาสกลายเป็น 1 ใน 7 กิจการน้ำมันในทศวรรษใหม่ที่จะขึ้นมาท้าทาย 7 ยักษ์โลกตะวันตกเดิม
     
       กิจการน้ำมันน้องใหม่มาแรงถูกขนานนามว่า “The new seven sisters” ที่กำลังถูกจับตามองว่า อาจสร้างการเปลี่ยนแปลงในขั้วอำนาจพลังงานโลกของศตวรรษนี้ เพราะนอกจากจะควบคุมการผลิตน้ำมันและก๊าซธรรมชาติไว้เกือบ 1 ใน 3 ของปริมาณทั่วโลกแล้ว ยังครอบครองแหล่งพลังงานทั้งที่สำรวจมากกว่า 1 ใน 3 ของแหล่งพลังงานทั่วโลก ประกอบด้วย ซาอุดี อะรัมโก ของซาอุดีอาระเบีย ,กาซปรอม ของรัสเซีย ,ซีเอ็นพีซี ของจีน ,เอ็นไอโอซี ของอิหร่าน ,พีดีวีเอสเอ ของเวเนซุเอลา ,เปโตรบราส ของบราซิล และเปโตรนาส ของมาเลเซีย
     
       บริษัทเหล่านี้กำลังจะเป็นหัวขบวนการเปลี่ยนแปลงชุดความคิดกระแสหลัก ที่ครอบงำวงจรพลังงานโลกอยู่ ... นี่เป็นความเปลี่ยนแปลงระดับโลกที่ใกล้ตัวคนไทยยิ่ง เพราะประเทศไทยอยู่ในตำแหน่งภูมิรัฐศาสตร์การพลังงานที่สำคัญจุดหนึ่งของ เอเชีย
     
       กิจการพลังงานเป็นส่วนหนึ่งของความมั่นคงและปัญหารัฐศาสตร์ชาติ แทบทุกประเทศในโลกไม่ว่าชาติมหาอำนาจหรือด้อยพัฒนาต่างถือว่ากิจการพลังงาน คือกิจกรรมที่เกี่ยวกับการปกป้องผลประโยชน์ชาติและประชาชน คำถามตัวโตย้อนกลับมาถามคนไทยว่า กิจการด้านพลังงานของไทยนั้นเป็นไปตามสิ่งที่ว่าหรือเพื่อประโยชน์ของคน กลุ่มใดกันแน่
     
       *การแปรรูปปตท. เมื่อปี 2544 เป็นไปเพื่อผลประโยชน์ชาติและประชาชนหรือผลประโยชน์ใคร ?
     
       *ผลประโยชน์ที่ประเทศชาติได้จากกิจการขุดเจาะน้ำมันสมน้ำสมเนื้อและ สมกับการเปลี่ยนแปลงแนวคิดเรื่องการพลังงานของโลกแล้วหรือยัง ?
     
       *การควบคุมการขุดเจาะและผลิตพลังงานมีช่องโหว่ รูรั่ว หรือเหมาะสมดีแล้วอย่างไร เรื่องนี้คนท้องถิ่นจังหวัดสงขลาซึ่งเป็นพื้นที่แรก ๆ ที่รู้จักแท่นขุดเจาะในอ่าวไทยทราบกันดีว่า แท่นขุดเจาะบางแห่งนำน้ำมันลงเรือขนส่งโดยไม่มีหลักประกันใดเลยว่าน้ำมันดิบ ดังกล่าวเดินทางไปยังจุดหมายปลายทางใด เป็นการเดินทางโดยถูกต้องหรือลักลอบไม่จ่ายภาษีและค่าภาคหลวงหรือไม่อย่างไร ? แม้กระทั่งพนักงานคนไทยเองก็ยังไม่เคยล่วงรู้เรื่องราวเหล่านี้เลย ขณะที่หน่วยงานควบคุมอย่างเช่น ตำรวจน้ำ ทหารเรือ มีส่วนในการควบคุมดูแลเรื่องเหล่านี้มากน้อยเพียงไร ?
     
       *การเปิดให้สัมปทาน การต่ออายุสัญญาสัมปทาน มีความผิดปกติหรือไม่อย่างไร ? ระบบการเปิดเผยข้อมูลต่อสาธารณะทันการณ์หรือไม่ ? จริงหรือไม่ที่ขุนนางพลังงานยุครัฐบาลพล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ปล่อยผีบริษัทขุดเจาะน้ำมันล็อตใหญ่และต่ออายุสัญญาสัมปทานแบบผิดปกติ
     
       *ระบบการตรวจสอบของรัฐบาลไทยมีประสิทธิภาพเพียงใดเพื่อพิสูจน์ทราบ ว่า บริษัทเอกชนที่เข้ามาทำมาหากินในแปลงสัมปทานของไทยเป็นกิจการบังหน้าของ ทุนกลุ่มใด หรือประเทศใด หรือมองแค่เพียงขอให้จดทะเบียนถูกต้องก็เข้ามาทำมาหากินได้ โดยไม่ได้มองมิติด้านความมั่นคงมาประกอบการพิจารณา
     
       *นโยบายของบริษัทน้ำมัน ไม่ว่าปตท. หรือบริษัทต่างชาติที่มีต่อสังคมและท้องถิ่น การตอบแทนต่อท้องถิ่นเพียงพอเหมาะสมแล้วหรือยัง ?
     
       *นโยบายพลังงานที่ยังเอาเปรียบประชาชน และผู้บริโภค ให้ประโยชน์บริษัทเอกชนและพวกพ้องจะต้องได้รับการแก้ไขเช่นไร โดยใคร?
     
       *ที่สุดแล้วก็มาถึงคำถามต่อนโยบายการพลังงานของประเทศว่ายืนอยู่บนผล ประโยชน์ของชาติและประชาชนแล้วจริงหรือ ? จะทำให้การพลังงานเป็นหัวหอกของความจำเริญงอกงามโชติช่วงชัชวาลดั่งที่คน รุ่นก่อนวาดฝันแล้วได้จริงหรือไม่ ?
     
       คำถามเหล่านี้เป็นเรื่องสาธารณะที่ประชาชนคนไทยทุกคนสามารถตั้งขึ้น และควรจะมีช่องทางในการมีส่วนต่อกิจการที่ใกล้ตัวที่สุดอีกอย่างหนึ่ง
     
       กิจการด้านพลังงานเป็นเรื่องผลประโยชน์โดยรวมของชาติ เป็นเรื่องความมั่นคงและการช่วงชิงระดับโลก เป็นผลประโยชน์ที่ตีเป็นตัวเงินมหาศาล เป็นกิจกรรมที่ยืนอยู่บนทรัพยากรส่วนรวมของคนในชาติ และเป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประชาชนแต่ละคนโดยตรง
     
       เรื่องเหล่านี้เป็นเรื่องที่ประชาชนคนทั่วไปควรรับรู้ วิจารณ์ เสนอแนะ แสดงความเห็นได้ใช่หรือไม่ ?
     
       ถ้าใครคิดว่าไม่ใช่...ขอให้กลับไปคิดใหม่ !!!!
รีโมท ซื้อ รีโมท จากผู้ค้าส่งโดยตรง ที่มีหน้าร้านจริง ที่ บ้านหม้อ และ คลองถม ราคาถูกกว่าใคร ปลอดภัย มีรับประกัน

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

บทความย้อนหลัง