บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันจันทร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2554

ถึงคราว"ธาตุแท้"เป็นที่ประจักษ์



นี่ ก็เข้าเทศกาล "กินเจ" กันแล้ว นอกจากงดเว้นการกินเนื้อสัตว์ รวมทั้ง เลือด-หนัง-เอ็น-กระดูก-ไส้เล็ก-ไส้ใหญ่-ปอด-ตับ-ม้าม-หัวใจ-เซ่งจี้ ทั้งหลาย-ทั้งปวงแล้ว ผมว่าถ้าจะให้เจบริสุทธิ์จริงๆ ละก็ ควรงดการลบหลู่สัตว์บางชนิดด้วยการเอาชื่อไปเปรียบกับมนุษย์ "ผู้ทรามสุด" ด้วย!

    คือเจตนาของการกินเจ นอกจากหวังสุขภาพกาย-สุขภาพใจแล้ว อีกอย่างที่สำคัญคือ หวังละเว้นการเบียดเบียนชีวิตสรรพสัตว์ ทีนี้ ผมลองมาคิดในมุมกลับเชิงตรรกะ ใครเรียกเรา...ขอโทษ..เป็นเหี้ย..ไอ้ตะกวด..เป็นควาย..เป็นแรด..เป็น หมา..ร้อยละ ๙๙.๙๙

    จะไม่พอใจ ถึงขึ้นโกรธ และโกรธมาก...นี่มองแบบเอาใจเราไปใส่ใจเขา!

    และเมื่อมองแบบเอาใจเขามาใส่ใจเรา สัตว์แต่ละชนิดก็ย่อมมีวงศ์-มีสกุลแห่งสัตว์ แต่เมื่อมนุษย์ผลักไสบุคคลที่มีการกระทำอันไม่เป็นที่รักของคนทั่วไปให้ไป อยู่ร่วมวงศ์กับเขา เช่น วงศ์เหี้ย เป็นต้น

    ก็แน่นอนละ...สัตว์ที่เป็นเจ้าของสกุลวงศ์นั้นๆ ย่อมไม่พอใจ ถึงขั้นโกรธ และโกรธมากเช่นกัน เพียงแต่มนุษย์อย่างเราๆ ท่านๆ ไม่ค่อยเข้าใจภาษาสัตว์ ก็เลยจับสังเกต "ความรังเกียจมนุษย์เลว" จากสัตว์ไม่ได้เท่านั้นเอง!

    เมื่อทราบดังนี้ เพื่อความบริสุทธิ์ของการ "ล้างใจ" จากการกินเจ เมื่องดกินเนื้อสัตว์แล้ว ก็ควรต้องงดเหยียบย่ำสัตว์ด้วยการเอาไปเปรียบกับคน "อันไม่เป็นที่รัก" ทุกประเภทด้วย

    อันนี้ผมไม่ได้พูดเล่นนะ เพราะตั้งแต่มีการนำสัตว์ชนิดหนึ่งไปเปรียบกับมนุษย์อันไม่เป็นที่รักบาง คน-บางพวกบ่อยเข้า ปรากฏว่า "ความซวย" เกิดกับวงศ์พันธุ์ของสัตว์ชนิดนั้นอย่างจัง ตัวอย่างที่เห็น เมื่อไม่กี่สัปดาห์มานี้ มีคนเสนอให้ทำ "ฟาร์มเลี้ยงเหี้ย"

    เพื่อ "ถลกหนัง" ส่งนอก!

    ฉะนั้น ใครก็อย่าข้ามไปผสมพันธุ์ ไปกอด ไปก้มวันทากันชนิดหัวถึงเป้าให้เกิดทัศนะอุจาดบ่อยนัก ไม่ใช่อะไรหรอก...อาถรรพณ์มันจะเกิดกับวงศ์เหี้ยเขา นำวิบัติสู่เผ่าพันธุ์เขาหนักขึ้น จากที่แค่พูดกัน ตอนนี้ทำท่า "จับเหี้ยถลกหนังขาย" จะเป็นจริง-เป็นจังกันแล้ว

     ในเทศกาลเจนี้ ถ้าต้องการล้างใจให้พ้นจาก โลภ โกรธ หลง อิจฉา พยาบาท อาฆาตละก็ การงดโกรธ งดเกลียด งดอาฆาต พยาบาทคนที่เราไม่ชอบ ด้วยการไม่ด่าเขาเป็นสัตว์โน่น-สัตว์นี่ ตรงนี้จะเป็นการ "ล้างใจ" ให้สะอาดได้มากกว่า-ดีกว่าการ กินผัก กินหญ้า

    ซึ่งได้แค่ล้างท้อง!?

    ผมก็ได้แค่พูดเท่านั้น แต่ทำไม่ได้หรอกครับ ใจยังหิงสา พยาบาท รัก ชอบ โกรธ เกลียด คนนั้น-คนนี้อยู่ ยังละเว้นการเบียนสัตว์ด้วยการเอามนุษย์อันไม่เป็นที่รักมาเปรียบไม่ได้ เพราะอย่างนั้น ปีนี้เลยกินเจแบบไม่ประจำ ใครเอาอะไรให้กิน

    กินเรียบ!

    ห่วงแต่พี่น้องหลายๆ จังหวัดที่จมน้ำ และติดอยู่ตามเกาะแก่งตรงนั้น-ตรงนี้มากมายเป็นพัน-เป็นหมื่นคนขณะนี้ ไม่มีทั้งเจ ทั้งไม่เจจะยังชีพ ผมก็เข้าใจอยู่ คนที่ใจเผื่อแผ่ต่อเพื่อนมนุษย์ผู้ทุกข์ยากมีมาก ช่วยกันบริจาคข้าวของทองเงินมากมาย แต่มันติดอยู่ตรงว่า

    จะนำไปสู่ปาก-สู่ท้องพี่น้องที่ "ติดเกาะ" ซ้ำไม่รู้อยู่กันตรงไหนบ้างได้อย่างไร คือน้ำมันท่วม คนไปช่วยก็ไปได้-ช่วยได้ เฉพาะที่ไปถึง ส่วนที่ไปไม่ได้ ไปไม่ถึง และไม่รู้ติดน้ำอยู่ตรงไหนกันบ้าง แล้วเราจะทำอย่างไรกัน จะทำไม่รู้-ไม่ชี้ ปล่อยให้เขาอดตายอย่างนั้นหรือ?

    นี่...ตรงนี้ ต้องช่วยกันคิดไวๆ!

    ผมก็ได้ยินนายกฯ ยิ่งลักษณ์พูดประจำถึงคำว่า "บูรณาการ" แต่ผมไม่เห็น และไม่ทราบจริงๆ ว่า รูปธรรมของแผนบูรณาการเพื่อการช่วยเหลือที่มีประสิทธิภาพ และได้ผลเกิดขึ้นบ้างหรือยัง?


    ผมประเมินว่า น้ำท่วมรอบนี้ยังไม่จบ และต้อง "แช่ขัง" ชาวบ้านในหลายจังหวัด หลายหมู่บ้าน หลายตำบล หลายอำเภออีกนานเป็นเดือน

    คุณยิ่งลักษณ์ หยุดเคร่งคิดกับการผลิตนโยบายประชานิยมไว้ซักพักก่อนดีมั้ย แล้วลองไปคิดประชานิยมในแนว "กินกะได-ทากะได" เพื่อการยาไส้-ยากระเพาะ แก้ปัญหาเฉพาะหน้านี้ก่อน

    ตั้ง "คลังสรรพาหาร" เป็นศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือขึ้นในแต่ละจังหวัดดีมั้ย?

    คือจัดระบบช่วยเหลือให้มีแบบแผนในแต่ละพื้นที่ จะได้ไม่สับสน และทำกันแบบสะเปะสะปะ ข้าวปลาอาหาร อุปกรณ์สิ่งของช่วยเหลืออะไร ส่วนกลาง-รวบแล้วก็ลำเลียงไปเก็บไว้ตามคลังสรรพาหารแต่ละจังหวัด ผู้บริหาร-จัดการอยู่ในแต่ละศูนย์

    สมัยนี้การสื่อสารทันสมัย นายกฯ มีทั้งดาวเทียม ทั้งโทรศัพท์สื่อสาร จะเอากี่จีล่ะ มีทั้งนั้น จีสตริงก็ยังมี เครื่องบินก็มีเยอะแยะ ขึ้นบินสำรวจว่าชาวบ้านติดเกาะกันอยู่ที่ไหนบ้าง เรือแพลำละกี่สตางค์กะมัน หมดไปกับ ส.ส.นั่งเรือบินเยี่ยมทักษิณ ไปเบิ่งเมืองนอกในชื่อดูงาน ปีละเป็นร้อย-เป็นพันล้าน

    เผด็จการเพื่อชาติไปเลยยิ่งลักษณ์!

    โยกงบนั่งเรือบิน ส.ส.มาซื้อเรือพาย เรืออีแปะ เรือหางยาว เช้าขึ้นมาแต่ละศูนย์ในแต่ละจังหวัด ก็เบิกข้าวปลาอาหารใส่เรือ แยกย้ายกันตระเวนไปแจกจ่ายตามจุดที่เครื่องบินและเครื่องสื่อสารแจ้งเป้า หมายให้ทราบ กระจายกันออกไปค้นหาให้ทั่วๆ

    คนเดือดร้อนริมถนนน่ะปล่อยเขาเถอะ คนช่วยมีเยอะแล้ว ไปช่วยคนติดเกาะดีกว่า ผมดูโทรทัศน์ นักข่าวเขายังล่องเรือดั้นด้นค้นพบ และช่วยเหลือไปตั้งมากมาย แล้วทำไมกับการช่วยเหลือระบบรัฐจึงไปไม่ถึง ค้นหาชาวบ้านติดเกาะไม่พบ?

    ใส่ความ "จริงใจ" ลงในหน้าที่อีกซักนิดเถอะน่า แล้วเติม "การบริหาร-จัดการ" ลงไปในระบบความช่วยเหลือในแต่ละพื้นที่ ไม่ใช่ต่างคน-ต่างทำ หรือหมู่บ้านไหน ตำบลไหนมีพวก ก็ไปขอ-ไปลากความช่วยเหลือจากจังหวัด จาก อบต.มาได้

    หรือตำบลนี้-บางนี้ "ฐานเสียงกู" ก็ลงปูเต็มพื้นที่ ที่ผ่านๆ มามักเป็นแบบนี้ แต่คราวนี้ท่วมหนักและท่วมนาน จะทำเป็นเอาหูไปนา-เอาตาไปไร่ หรือปล่อยให้ช่วยแต่พวกกู ส่วนพวกมึง-ช่างมึง ไม่ได้นะครับ ชาวบ้านจมน้ำตายก็พอว่า แต่อย่าให้เกิดเป็นข่าวพาดหัว-พาดจอเชียวว่า

    ชาวบ้าน "อดตาย" เพราะไร้การช่วยเหลือ!

    ทีงานแก้บนอย่าง คอป.ไม่เห็นจำเป็นเร่งด่วนอะไร กลับกระเหี้ยนกระหือรือ เพิ่มทั้งงบ-ทั้งคน จนเห็นพิลึก จะให้ คอป.คู่ขนานกับ คอ.นธ.ของนายอุกฤษ มงคลนาวิน รวมถึงนิติราษฎร์งั้นหรือ?

    คงไม่ใช่ "แยกกันเดิน-รวมกันตี" กระมัง คอป.นี่ แต่เดิมเข้าใจว่าซักปี-สองปีคงจบ แต่ตอนนี้นายคณิตบอกว่า อาจต้องมากกว่า ๒ ปี ไปเอาฝรั่งมังค่า คนบอกบ้าน-นอกเมือง มาตั้งเป็นทีมที่ปรึกษา รวมทั้งนายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย ตั้ง ๖ คน

    เนี่ย..ถ้า คอป.ทำด้วยเป้าหมายเดิม ไม่รับออเดอร์เพิ่มขยายจากรัฐบาล คงไม่ต้องเอาคนนอกชาติมายุ่งกับเรื่องในชาติกระมัง แน่นอนละ ในเมื่อเพิ่มเวลา-เพิ่มคน มันก็ต้องเพิ่มเงิน

    มันจำเป็นไหมที่ต้อง "ตัดเส้นทางประเทศไทย" ขึ้นใหม่อีกสาย เป็นบายพาส "เปิดประตูบ้าน-ประตูเมือง" ให้คนนอกชาติเข้ามาในลักษณะมีอำนาจชี้นำบังคับใช้ "อำนาจในระบบ" ของบ้านเมือง?

    เจตนาเพื่ออะไร หวังโปรเรื่องนี้ให้มันดังระดับอินเตอร์อย่างที่ทักษิณชอบทำ อย่างที่จ้างนายอัมสเตอร์ดัมทำใช่มั้ย? 

    แต่ผมคิดว่า นี่คงไม่ใช่การพยายามแยกร่องให้อำนาจนอกชาติ "เป็นลิ่ม" แทรก และหวังใช้ผู้เชี่ยวชาญฝรั่งเป็น "แบรนด์อินเตอร์" รับประกันผลสอบ คอป.ใช่มั้ยทักษิณ เอ๊ย...ยิ่งลักษณ์?

    นับวัน "เรื่องภายในของเรา" จะไปดึงให้คนนอกชาติเข้ามาวุ่นวายหนักขึ้น ทั้งเรื่องชายแดน ทั้งเรื่องปราสาทพระวิหาร ทั้งเรื่อง ๔.๖ ตร.กม. แล้วนี่...เรื่องเผาบ้าน-เผาเมืองแล้วได้ดี ก็มีการดึงต่างชาติเข้ามาเป็น "อำนาจที่ ๒" ในบ้าน-ในเมืองอีก!

     "นายคณิต ณ นคร" ท่านเป็นอดีตอธิบดีกรมอัยการ เป็น ๑ ในคณะผู้ร่วมก่อตั้งไทยรักไทยกับทักษิณ รัฐบาลอภิสิทธิ์ตั้งเป็นประธานคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อ การปรองดองแห่งชาติ หรือ คอป.

    ที่ผ่านมาก็เรื่อยๆ เรียงๆ เห็นมีข่าวบ่นว่า "รัฐบาลที่แล้วไม่ค่อยร่วมมือ" แต่รัฐบาลยิ่งลักษณ์นี่คงได้รับความร่วมมือดี จึงเห็นคึกคัก กระตือรือร้นขนาดไปเอาฝรั่งต่างชาติมาเป็นแบรนด์

    อ้าว...คุยเรื่องน้ำ ดันมาเข้าเรื่องเนื้อ ประเทศไทย "ใกล้ยก ๕" เข้าไปทุกทีแล้ว โปรดสังเกต...ใครที่เราไม่รู้ธาตุแท้แต่แรกว่าเป็นแร่ตะกั่วหรือแร่ทอง ตอนนี้เผยธาตุแท้กันชัดแล้วทีละคน-สองคน "วัวใคร-เข้าคอกใคร" นั่นแหละ

    แล้วท่านล่ะ...คอกไหน?

เปลว สีเงิน

ผีทักษิณ นิติทาส กับผีอีเม้ย



สัปดาห์นี้ กลุ่มนิติราษฎร์แถลงอีกครั้ง พร้อมกองเชียร์เสื้อแดงเช่นเคย

ครั้งนี้ มีการใช้วาทะดุเด็ดเผ็ดมันไม่แพ้ยามที่นักโต้วาทีแกนนำเสื้อแดง ขึ้นเวทีปราศรัยปลุกระดม

ถ้าฟังเอามันส์ เอาความสะใจ ฟังโดยไม่ตั้งสติ ก็คงจะมีใครเผลอใจคิดกันไปบ้างว่า นักวิชาการไม่กี่คนในกลุ่มนิติราษฎร์นี้ ช่างเป็นนักวิชาการผู้มีใจรักในความเป็นธรรม กล้าหาญชาญสมร มีสติปัญญาเฉียบแหลมยิ่งกว่าใครในปฐพี ฯลฯ

แหม... ยิ่งดู ยิ่งหล่อ

ส่วนบรรดาคนอีกมากมายที่นักวิชาการกลุ่มนี้กล่าวถึงอย่างสาดเสียเทเสียนั้น ทำไมมันถึงได้โง่ และมีความคิดต่ำทราม ไร้ความเป็นธรรมมากถึงขนาดนี้นะ

เฮอะ... ยิ่งคิด ก็ยิ่งแค้น... (แค้นแทนทักษิณ)

ยกตัวอย่าง ความบางตอน (เอาเฉพาะอันที่เล่นตีสำนวนแบบคนปากเก่งก่อน)

ท่านผู้สูงส่งทางปัญญากล่าวว่า "...บรรดาสื่อ นักวิชาการ อย่าความจำสั้นเกินไป คุณไม่ใช่ปลาทอง ก่อนจะวิจารณ์คนอื่นช่วยพิจารณาการกระทำของตัวเองก่อน ข้อเสนอของเรามีคนมาถกเถียงในเนื้อหาน้อยมาก เพราะอะไร เพราะข้อเสนอของเรา มันบีบพวกท่านโดยอัตโนมัติ เพราะถ้าท่านยืนยันว่า ไม่เห็นด้วย ก็อาจจะบีบให้คิดไป โดยปริยายว่าท่านสนับสนุนรัฐประหาร บังเอิญว่ายุคนี้คนที่จะยืดอกรับว่าชอบรัฐประหารก็ไม่กล้าพูด จึงมาเถียงไม่ได้ จึงมาแฉลบออกทางว่าเรารับงานใครมา คุณไม่กล้าพูดตรงๆ ว่าคุณชอบการรัฐประหารที่บังเอิญไปฆ่าไปทำลายคนคนหนึ่ง..."

โถๆๆๆ พ่อเจ้าประคุณรุนช่อง ทำไมเล่นพูดเองเออเองเสร็จสรรพขนาดนั้นเล่า

นี่ทำอย่างกับสอบสวนเอง ทำสำนวนเอง สั่งฟ้องเอง ไต่สวนเอง พิพากษาเอง แล้วแถมจะไปทำหน้าที่ราชทัณฑ์ด้วยตนเองต่างหากเลยนะเนี่ย

มันจะไม่มากไปหน่อยรึ

ไอ้ความคิดประเภทว่า "ใครไม่เห็นด้วยกับกู แสดงว่าเอาด้วยกับรัฐประหาร"

แบบนี้ เอาไว้ยัดใส่หัวสมองของ "ทารกทางวิชาการ" กันเองเถิด

จะเตือนเอาบุญนะนิติราษฎร์... ประเทศนี้มีนักกฎหมายที่มีความรู้ลุ่มลึก ทั้ง ทางโลกและทางธรรม ยิ่งกว่าพวกคุณมากมายนัก ทำคุณประโยชน์แก่ประเทศนี้มาก็มากมายกว่าพวกคุณมากมาย เขาจริงใจกับบ้านเมืองไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าคุณ (ทุ่มเทและเสียสละกว่าพวกคุณด้วย) ในบรรดาคนเหล่านั้น ส่วนใหญ่เขาก็ไม่เห็นด้วยกับรัฐประหาร แต่หลายคน เขาก็ไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอของพวกคุณ

ที่คุณป้ายสี ประณามไปเสร็จสรรพว่า ไม่มีคนเถียงในเนื้อหาสาระแห่งข้อเสนอของตัวเอง ทำทีว่าข้อเสนอของข้าแน่ที่สุดในปฐพี ไม่มีใครเถียงได้เลย แล้วดูหมิ่นเจตนาคนทั้งบ้านทั้งเมืองทำนองว่าเถียงกูไม่ได้เพราะชอบรัฐ ประหารใช่ไหม...

ถามหน่อยเถอะ นอกจากนั่งกินเงินเดือนอยู่บนหอคอยงาช้างแล้ว พวกคุณเรียนมารยาทสังคมเบื้องต้นบ้างไหม?

เข้าประเด็นข้อชี้แจงของนิติราษฎร์

1) คณะนิติราษฎร์ยืนยันว่า "ข้อเสนอเรื่องการลบล้างผลพวงของรัฐประหาร 19 กันยายน 2554 ไม่ใช่เป็นการนิรโทษกรรม หรือการอภัยโทษ หรือการล้างมลทินแก่บุคคลที่ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิด และไม่ใช่เป็นการลบล้างการกระทำทั้งหลายทั้งปวงของผู้ถูกกล่าวหาว่ากระทำ ความผิด ดังนั้น หากจะเริ่มดำเนินคดีกับบุคคลดังกล่าวใหม่ก็สามารถกระทำไปตามกระบวนการทาง กฎหมายปกติได้ จึงไม่ควรมีบุคคลใดไปกล่าวอ้างอีกต่อไปว่าคณะนิติราษฎร์เสนอให้ "ล้างผิด" ให้แก่นักการเมือง ที่ถูกกล่าวหาและถูกพิพากษาจากกระบวนการที่ริเริ่ม และสัมพันธ์กับรัฐประหาร 19 กันยายน 2549"

ถามว่า มันจะไม่ใช่การล้างผิดไปได้อย่างไร ก็ในตอนนี้ ศาลฎีกาฯ พิพากษาถึงที่สุดไปแล้วว่า ทักษิณ ชินวัตร มีความผิดในคดีที่ดินรัชดาฯ และคดีร่ำรวยผิดปกติ ได้ทรัพย์สินมาโดยมิชอบ อาศัยอำนาจรัฐเอื้อประโยชน์แก่ตนเอง ศาลจึงสั่งให้ยึดทรัพย์อันได้มา โดยมิชอบ 46,000 ล้านบาท ตกเป็นของแผ่นดิน

สถานะวันนี้ คือ "ทักษิณผิด"

ผิดแล้ว! ต้องเข้าคุกแล้ว!

ถ้าจะให้เริ่มนำคดีทั้งหมดเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมใหม่ มันก็ต้องกลับไป เริ่มต้นใหม่ตรงที่ "ทักษิณยังไม่ผิด" ใช่ไหม

ถามสั้นๆ... ถ้าทำตามแนวทางของนิติราษฎร์ มันก็หนีไม่พ้นที่จะต้องคืนเงิน 46,000 ล้านบาท ให้แก่ทักษิณ ชินวัตร ใช่หรือไม่?

แล้วอย่างนี้ มันจะไม่ใช่ "ล้างผิด" ไปได้อย่างไร

นี่แค่เรื่องง่ายๆ คิดได้โดยสามัญสำนึก ก็เลยนึกไม่ถึง คนสอนกฎหมายมหาวิทยาลัยจะหันมาเล่นสำนวน ตีฝีปาก ทำราวกับนักโต้วาทีบนเวทีเสื้อแดงที่มุ่งจะเอาชนะ ทางวาทกรรมอย่างเดียว!

2) คำชี้แจงข้อต่อๆ มาของนิติราษฎร์ มันก็เครือๆ เดียวกัน

ส่วนที่อ้างว่า เลือกล้มล้างเฉพาะรัฐประหาร 19 ก.ย. 2549 เพราะ "ผลพวงของรัฐประหาร 19 ก.ย. 2549 ยังคงดำรงอยู่ และเป็นต้นตอของความขัดแย้ง ทางการเมือง ซึ่งฝังรากลึกอยู่ในสังคมไทยในขณะนี้"

ถามว่า ผลพวงของรัฐประหารครั้งอื่นๆ ที่ยังดำรงอยู่ ไม่มีเลยหรือ?

ประกาศคณะปฏิวัติตั้งกี่อัน ที่ยังมีผลใช้บังคับอยู่

สัมปทานดาวเทียมที่เป็นฐานะสร้างความร่ำรวยให้ทักษิณ ชินวัตร อันได้ มาจากคณะรัฐประหาร รสช. นั่นก็ยังผลความร่ำรวยต่อยอดมาจนถึงปัจจุบัน นำทุนสัมปทานมายึดอำนาจการเมืองผ่านการซื้อตัวผู้แทน ซื้อพรรคเล็ก ซื้อสื่อ ซื้อนักวิชาการ ฯลฯ ล้วนมีผลพวงสืบเนื่องมาทั้งนั้น จะตัดตอนได้อย่างไร?

ถามหน่อยเถิด... ความขัดแย้งที่ยังฝังรากลึกอยู่จนวันนี้ มันเพิ่งมีเมื่อรัฐประหาร 19 ก.ย.2549 จริงหรือ?

สภาพการเมืองที่บิดเบือนรัฐธรรมนูญ หรือที่นักวิชาการชายคาเสื้อแดงในปัจจุบัน เคยตีแผ่ถึงขั้นบอกว่า รัฐธรรมนูญ 2540 ถูกนักการเมืองระบอบทักษิณฆาตกรรมทำลายลงจนเหลือแต่เปลือกนอก เพื่อสูบเลือดสูบเนื้อ แสวงหาผลประโยชน์ส่วนตัว มีมาตั้งแต่ก่อนวันที่รัฐบาลทักษิณจะถูกรัฐประหารเสียอีก และมันเป็นสาเหตุอันหนึ่งที่ทำให้ผู้คนออกมาขับไล่ระบอบทักษิณ

ไม่เชื่อไปถกกับนายคณิน บุญสุวรรณ (สมัยที่เขียนหนังสือ "รัฐธรรมนูญตายแล้ว")

นายคณินคนโน้นถึงขนาดให้สัมภาษณ์ไว้ด้วยว่า "ถ้าจะโทษใครสักคนระหว่างรัฐธรรมนูญ คณะทหารผู้ก่อการปฏิวัติกับนักการเมืองที่ถูกปฏิวัติแล้ว ควรจะโทษนักการเมืองที่ถูกปฏิวัติถึงจะถูกที่ได้ทำลายความศักดิ์สิทธิ์และ ความแข็งแรงของรัฐธรรมนูญ จนอ่อนปวกเปียกและเปราะบาง ป้องกันตัวเองไม่ได้ ตราบใดที่ยังปฏิวัติรัฐประหารอยู่ก็แสดงว่าบ้านเมืองยังไม่มี เสถียรภาพ การที่บ้านเมือง ไม่มีเสถียรภาพ ไม่ได้เป็นเพราะรัฐธรรมนูญไม่ดี แต่เป็นเพราะนักการเมืองไม่ดี เห็นแก่ตัว และเอาแต่ได้ ตราบใดที่นักการเมืองยังเป็นอย่างนี้ ต่อให้เขียนรัฐธรรมนูญ ดีกว่ารัฐธรรมนูญปี'40 อีก 10 เท่าก็ช่วยอะไรไม่ได้"

ข้อเท็จจริงสำคัญเหล่านี้ นิติราษฎร์ไม่เคยสำเหนียกเลยจริงๆ หรือ?

3) สุดท้าย... เห็นนิติราษฎร์พูดถึง "ผีทักษิณ" อ้างทำนองว่าเป็นการปลุกภาพหลอกเรื่อง "ทักษิณ" ขึ้นมาลวงประชาชนในสังคม

ถามคำเดียว... นิติราษฎร์มองไม่เห็นพฤติกรรมฉ้อฉลอำนาจของทักษิณในระหว่างที่เขามีอำนาจรัฐ ตลอดจนพฤติกรรมของทักษิณในการทวงคืนผลประโยชน์ส่วนตัว แอบแฝงเข้ามาในการปลุกระดมเคลื่อนไหวของคนเสื้อแดงบ้างเลยหรือ?

แม้แต่ประเด็น "ข้อเท็จจริงแห่งพฤติการณ์การเอื้อประโยชน์แก่ทักษิณ" ซึ่งปรากฏชัดแจ้งอยู่ในคำพิพากษาของศาลฎีกาฯ คดีร่ำรวยผิดปกติ ก็ไม่ สำเหนียกเข้าสมองของนิติราษฎร์บ้างเลยหรือ?

ขอยืนยันไว้ตรงนี้ว่า "ทักษิณยังไม่ตาย" ยังไม่เป็นผี และยังเคลื่อนไหวแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตนโดยอิงอาศัยอำนาจรัฐอยู่ในปัจจุบัน

แล้วถ้านิติราษฎร์อยากจะไปดูผี... ก็อยากให้ดู "ผีอีเม้ย" ในละคร "รอยไหม" ช่อง 3

อ้อ...ผีอีเม้ยน่ะ มันเป็นทาสรับใช้คนเป็นนายจนสุดลิ่มทิ่มประตูนะ

ตายไปแล้วก็ยังรับใช้เขาต่อ!

เอามาบอกให้ฟังเพื่อเตือนกันไว้ แค่นั้นล่ะ!

สารส้ม

'นพดล'นิยามการทูตแบบ'แม้วๆ'

“นพดล” นิยามการทูตแบบ “แม้วๆ” 4 จุดคลิ๊ก “สหายตลอดกาล” : สัมภาษณ์พิเศษโดย ไทยพับลิก้า
ภาพความสัมพันธ์ระหว่างไทย-กัมพูชา พลิกจาก “หลังมือ” เป็น “หน้ามือ” หลัง “รัฐบาลโคลนนิ่ง” เข้าบริหารราชการแผ่นดิน

จาก “บาดหมาง” เปลี่ยนเป็น “ชื่นมื่น”

จากเคย “เปิดวิวาทะ” ข้ามวันข้ามคืน กลายเป็น “หยอดคำหวาน” ข้ามพรหมแดน

15 กันยายน “ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร” นายกรัฐมนตรี เดินทางเยือนประเทศกัมพูชา เพื่อแนะนำตัวในโอกาสเข้ารับตำแหน่งใหม่ โดยสื่อต่างประเทศรายงานว่าบรรยากาศอบอวลไปด้วยความอบอุ่น

17 กันยายน สมเด็จฯฮุน เซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา เปิด “พระราชวังสันติภาพ” อันเป็นทำเนียบนายกรัฐมนตรีกัมพูชา กลางกรุงพนมเปญ ต้อนรับ “สหายตลอดกาล” นาม “พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร” อดีตนายกรัฐมนตรี

24 กันยายน “ทีมเรดพีซ” ประกอบด้วยส.ส. พรรคเพื่อไทย (พท.) และแกนนำคนเสื้อแดง จัดแข่งขันฟุตบอลนัดกระชับมิตรกับส.ส. กัมพูชา

ในวันที่เสียงปืนสงบ มีเสียงทักจากบางคน-บางฝ่าย-บางพวกว่า “ใคร” เป็นคนสั่ง “ลั่นไก” จนเกิดสงครามบนพื้นที่สีเทา-พื้นที่ 4.6 ตารางกิโลเมตรในช่วงปลายปี 2553 – ต้นปี 2554 ภายใต้ความมุ่งหมายแปร “สนามรบ” เป็น “สนามการเมือง”?

จึงได้เวลาที่ “นพดล ปัทมะ” อดีตรมว. ต่างประเทศ และที่ปรึกษาด้านกฎหมายพ.ต.ท. ทักษิณ ที่เพิ่งได้เหรียญอิสริยายศแคปดิ การบริหารด้านมนุษยชน จากมือ “ผู้นำกัมพูชา” มาหมาดๆ จะออกมาอรรถาธิบายการกู้วิกฤตชาติด้วยการทูตแบบ “ทักษิณ”


ไทยพับลิก้า : ช่วยนิยามคำว่า “การทูตแบบทักษิณ” ว่าหมายถึงอะไร

ไม่ได้มีอะไรแตกต่างจากการทูตทั่วไป คือความสัมพันธ์ทางบุคคลมันต้องมีอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นการทูตต่างประเทศ หรือการทูตแบบท่านทักษิณ เช่น ระหว่างมาร์กาเร็ต แธตเชอร์ (นายกรัฐมนตรีอังกฤษคนที่ 49 ) กับโรนัลด์ เรแกน (ประธานาธิบดีสหรัฐฯ คนที่ 40 ) ระหว่าง เฮโรลด์ แมคมิลแลน (นายกรัฐมนตรีอังกฤษคนที่ 44 ) กับจอห์น เอฟ เคนเนดี้ (ประธานาธิบดีสหรัฐฯ คนที่ 35 ) หรือระหว่างวินสตัน เชอร์ชิลล์ (นายกรัฐมนตรีอังกฤษคนที่ 41 ) กับ แฟรงกลิน ดี. รูสเวลต์ (ประธานาธิบดี คนที่ 32 ) มันเป็นความสัมพันธ์ส่วนตัวที่พัฒนาเป็นความสัมพันธ์ระหว่างอังกฤษกับสหรัฐฯ ในยุคต่างๆ ความสัมพันธ์ส่วนตัวถือว่ามีความสำคัญ เพราะช่วยให้การเจรจา การสร้างความสัมพันธ์ ทำได้ดีขึ้น อยู่ที่ว่าคุณจะเอาความสัมพันธ์ไปทำอะไร เอาไปสร้างความมั่งคั่งส่วนครอบครัว ส่วนตัวหรือเปล่า หรือคุณทำเพื่อประเทศ

อย่างที่มีคนพยายามบอกว่าท่านอดีตนายกฯ ทักษิณไปได้สัมปทานน้ำมันและแก๊ส เกี้ยเซี้ยกับสมเด็จฯ ฮุน เซน (นายกรัฐมนตรีกัมพูชา) อย่างนี้ ผมเคยเสนอให้รางวัล 20 ล้านบาทแก่คนที่มีหลักฐานว่าพ.ต.ท. ทักษิณได้สัญญาสัมปทานน้ำมันและแก๊ส พร้อมยกสัมปทานให้ด้วย ก็ไม่มี คือเขาพยายามดิสเครดิตว่ามีผลประโยชน์ทับซ้อน แต่จริงๆ มันไม่มี


ไทยพับลิก้า : เรื่องผลประโยชน์ทับซ้อนกลายเป็นข้อกล่าวหาติดตัวพ.ต.ท. ทักษิณ พอขยับทำอะไรที ก็ถูกตั้งคำถามว่ามีอะไรแอบแฝงหรือเปล่า

เขาพยายามพูดซ้ำๆ จนเรื่องเท็จกลายเป็นเรื่องน่าเชื่อ แล้วพอเสนอยกสัมปทานให้ ยกเงินให้ด้วย 20 ล้านบาท ทำไมไม่เห็นพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) เอาหลักฐานออกมาแสดงได้ ฝ่ายโจมตีก็โจมตีไป ผมมีหน้าที่ก็ชี้แจงไป ก่อนเลือกตั้งคุณอภิสิทธิ์ (เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี และหัวหน้าปชป.) เขียนในเฟซบุ๊คว่าจะเลือกพรรคที่ปกป้องดินแดน หรือเลือกพรรคที่แน่นแฟ้นกับฮุน เซน และบอกให้เลือกเด็ดขาดไปเลย ประชาชนก็ตอบสนองคุณอภิสิทธิ์โดยเลือกพท. เด็ดขาด ผมว่าประชาธิปไตยต้องให้ประชาชนตัดสิน


ไทยพับลิก้า : สามารถเคลมได้ว่า 15.7 ล้านเสียงที่โหวตให้พท. ตัดสินแล้วว่าต้องการพรรคที่แน่นแฟ้นกับสมเด็จฯ ฮุน เซน

คือ… อันนั้นเป็นสมมุติฐานของคุณอภิสิทธิ์ เรายอมรับว่าเรามีความสัมพันธ์ที่ดี แต่ถามว่าความสัมพันธ์ที่ดี เราเอาไปหาประโยชน์ใส่ตัวหรือไม่ มันไม่มี


ไทยพับลิก้า : คุณนพดลเขียนในเฟซบุ๊คเมื่อวันที่ 13 กันยายนว่า “สงสัยทหารไทย-กัมพูชาต้องใช้น้ำมันมาชโลมปืน เพราะจะไม่มีกระสุนออกจากปากกระบอกปืน…” เป็นเพราะได้สัญญาณพิเศษจากกัมพูชาหรือไม่ เพราะเป็นวันเดียวกับที่สมเด็จฯ ฮุน เซน ยกย่องพ.ต.ท. ทักษิณเป็นมิตรแท้

เปล่าฮะ ผมกำลังจะบอกว่าต่อไปจะไม่มีการยิงกันตามแนวชายแดน จะมีสันติภาพ สนามรบจะเปลี่ยนเป็นสนามการค้า พี่น้องจะไปมาหาสู่กัน เราอยากสร้างสันติภาพมากกว่าทำให้เกิดความตึงเครียด เราอยากทำให้แตกต่างจากคุณอภิสิทธิ์โดยสิ้นเชิง อย่าเข้าใจว่าต้องมีสงคราม ถึงจะแปลว่าปกป้องดินแดน อย่าเข้าใจว่าต้องทะเลาะกัน จึงจะถือเป็นการรักษาผลประโยชน์ของชาติ


ไทยพับลิก้า : ทุกครั้งที่ไทยต้องประกาศรบ หรือพักรบกับกัมพูชา พ.ต.ท. ทักษิณมีบทบาทมากน้อยแค่ไหน

(ตอบสวนทันควัน) ไม่มีเลย ไม่เกี่ยวข้องเลย พ.ต.ท. ทักษิณไปสั่งสมเด็จฯ ฮุน เซน ให้รบกับไทยไม่ได้ และไม่ทำ ไม่มีวันที่จะทำเด็ดขาด แต่คุณไปสร้างความหวาดระแวง ไปเลือกเอาคนไปด่าพ่อล่อแม่เขามาเป็น รมว.ต่างประเทศ ก็คาดหมายได้อยู่แล้วว่าความสัมพันธ์มันจะไม่ราบเรียบ ขณะเดียวกัน ปากคุณบอกจะยกเลิกเอ็มโอยู (บันทึกความร่วมมือไทย-กัมพูชา) ปี 2544 แต่ก็ส่งคุณสุเทพ (เทือกสุบรรณ อดีตรองนายกรัฐมนตรี) ไปเจรจากับเขาเรื่องน้ำมัน


ไทยพับลิก้า : การที่ภาพความสัมพันธ์ไทย-กัมพูชาดีขึ้นอย่างฉับพลันหลังเปลี่ยนรัฐบาล ทำให้ปชป. ตั้งข้อสังเกตว่าสงครามที่เกิดขึ้นในอดีต มีเงาพ.ต.ท. ทักษิณอยู่ข้างหลังหรือเปล่า

ไม่มี ถ้าใครก็ตามไปบอกให้เขมรรบกับไทยเพื่อผลประโยชน์ของตัวเอง เลวที่สุด (พูดสีหน้าเรียบเฉย) พ.ต.ท. ทักษิณไม่ใช่คนเช่นนั้น ไม่เคยคิดจะทำ และไม่ได้ทำเด็ดขาด คุณบริหารประเทศในช่วงนั้น คุณสร้างความไม่ไว้วางใจเอง คุณส่งทหารเข้าไป และมีการยิงกัน มันเป็นความตึงเครียดที่เกิดจากการบริหารประเทศของคุณ อย่ามาโยนความผิดให้พ.ต.ท. ทักษิณ คนดีชอบแก้ไข…


ไทยพับลิก้า : ยืนยันว่าพ.ต.ท. ทักษิณไม่เคยแปรสนามการค้าเป็นสนามรบ หรือใช้สนามรบเป็นสนามการเมืองของตัวเอง

ไม่มี ไม่ได้ทำเด็ดขาด เพราะคนเป็นอดีตนายกฯ ที่รักประเทศไทย มีนโยบายช่วยคนยากจน ไม่มีวันจะคิดอะไรชั่วๆ อย่างนั้น และการต่อสู้ของพวกเรา ก็สู้โดยให้ประชาชนเลือก
 
ไทยพับลิก้า : ช่วยอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างพ.ต.ท. ทักษิณกับสมเด็จฯ ฮุน เซน ว่า อะไรทำให้ผู้นำกัมพูชากล้าประกาศให้โลกรู้ว่าพ.ต.ท. ทักษิณคือมิตรแท้ มิตรรัก

ความจริงพ.ต.ท. ทักษิณเป็นมิตรรักของผู้นำหลายประเทศ เช่น รัสเซีย ส่วนกับสมเด็จฯ ฮุน เซน อาจเป็นเพราะ 1. ทำงานร่วมกันมา 5 ปี ในช่วงที่เป็นนายกฯ ความสัมพันธ์ก็ยาวนาน และ 2. เขาเห็นใจที่พ.ต.ท. ทักษิณถูกกระทำ เพราะสมเด็จฯ ฮุน เซน ก็มาจากการเลือกตั้ง ไม่ใช่ปฏิวัติมา เขาก็เห็นอกเห็นใจ ก็น่าจะเป็นเรื่องที่พัฒนาความสัมพันธ์กันมา ไม่ได้มีเรื่องผลประโยชน์อะไรเล้ย (เสียงสูง) คนชอบไปมอง


ไทย พับลิก้า : สมเด็จฯ ฮุน เซนเป็นนายกฯ กัมพูชามายาวนาน ผ่านการร่วมงานกับผู้นำหลายคน แต่ไม่เคยยกย่องผู้นำชาติไหนเป็นเพื่อนรัก เพื่อนแท้ เพื่อนตาย

แต่นายกฯ ไทยที่อยู่ยาวมีไม่กี่ท่าน มีพล.อ. เปรม (ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ) อยู่ 8 ปี แต่ผมไม่แน่ใจว่าสมัยนั้นสมเด็จฯ ฮุน เซน เป็นนายกฯ หรือยังนะ ส่วนระยะหลังๆ ก็มีนายกฯ ทักษิณที่อยู่ยาว 5 ปี ทำงานร่วมกัน ปีๆ หนึ่งต้องเจอกันไม่รู้กี่ครั้ง และบางทีมันชอบพอกัน


ไทยพับลิก้า : อะไรคือจุดคลิกระหว่าง พ.ต.ท. ทักษิณกับสมเด็จฯฮุน เซน

ผม คิดว่าอาจจะเป็นสไตล์ส่วนตัวด้วย และอาจจะเป็นเคมิสทรี สารเคมีในร่างกายตรงกัน มันต้องมีบางสิ่งตรงกัน คือ 1. ทั้ง 2 คนมาจากการเลือกตั้งเหมือนกัน 2.ทุ่มเททำงานให้ประชาชนเหมือนกัน 3.มีภาวะผู้นำสูงเหมือนกัน และ 4. ต่างคนต่างมาจากพื้นฐานรากหญ้า และกลางล่าง ไม่ใช่ตัวแทนของชนชั้นสูง เพราะพรรคซีซีพี (พรรคประชาชนกัมพูชา) ของสมเด็จฯ ฮุน เซน กับพรรคพลังประชาชนก็คล้ายๆ กัน


ไทยพับลิก้า : การที่ พ.ต.ท. ทักษิณมีเพื่อนเป็นผู้นำและนักธุรกิจหลายประเทศ จะถือว่าเป็นทูตของรัฐบาลไทยได้หรือไม่

คือ… ไปเรียกว่าทูตอาจจะไม่ตรงนัก เพราะท่านขอเป็นแค่คนไทยคนหนึ่ง ที่ช่วยอะไรประเทศไทยได้ก็ช่วย แต่ไม่ประสงค์จะเป็นทูต หรือเป็นอะไร แม้จะไม่มีตำแหน่งอย่างเป็นทางการ แต่ก็ช่วยในฐานะที่เป็นคนไทยคนหนึ่งเกี่ยวกับโอกาสด้านการค้าและการลงทุน ต่างๆ


ไทยพับลิก้า : เวลาผู้แทนรัฐบาล หรือนักธุรกิจต่างชาติมาเจรจากับ พ.ต.ท. ทักษิณ เขารู้สึกหรือไม่ว่ามีผลต่อรัฐบาล

เอ่อ… อยู่ที่ว่าเจรจาเรื่องอะไร หากมาเจรจางานที่ควรได้จากรัฐบาลผ่าน พ.ต.ท. ทักษิณ อาจจะไม่เหมาะ เช่น จะมาประมูลรถไฟฟ้าใต้ดินแล้วให้ท่านช่วยคุย อย่างนี้อาจจะไม่เหมาะ แต่ถ้าจะไปทำธุรกิจกับ พ.ต.ท. ทักษิณที่แอฟริกา เกี่ยวกับเรื่องเหมือง มันก็ไม่น่าจะเกี่ยวกับรัฐบาล ดังนั้นต้องดูเป็นเรื่องๆ ไป


ไทยพับลิก้า : ไม่เหมาะ แต่ถือเป็นผู้มีอิทธิพลเหนือการตัดสินใจของรัฐบาลหรือไม่

ไม่ เหมาะ และไม่ควรทำไง อะไรที่เป็นเรื่องของรัฐบาล ก็ควรเป็นเรื่องที่รัฐบาล หรือหน่วยงานของรัฐจะไปคุยกับทางผู้รับเหมาโดยตรง ท่านไม่ได้ไปเกี่ยวข้อง


ไทยพับลิก้า : ยืนยันว่า พ.ต.ท. ทักษิณไม่ได้เล่นบททูตรัฐบาลน้องสาว ทั้งในทางลับและทางแจ้ง

เอ่อ… ไม่มี สาเหตุที่ไม่มี เพราะว่าท่านไม่จำเป็นต้องไปกินคอมมิชชั่นอะไรแล้ว เงินทองแม้ถูกยึดไป 4.6 หมื่นล้านบาท ก็ยังพอมี เดี๋ยวอีกหน่อย การลงทุนในแอฟริกาจะมีมูลค่าเยอะ ดังนั้นความมั่งคั่งท่านจะไปทำที่อื่น สังเกตดูสิ ไม่ค่อยมีลงทุนในประเทศเพื่อนบ้านเราเลย


ไทยพับลิ ก้า : ปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างไทย-เพื่อนบ้านในช่วงที่ผ่านมา ส่วนหนึ่งเป็นเพราะมีการนำนโยบายด้านการต่างประเทศไปผูกติดกับตัว พ.ต.ท.ทักษิณมากเกินไปหรือเปล่า

รมว. ต่างประเทศไม่ใช่รัฐมนตรีที่สำคัญที่สุดของรัฐบาล ไม่เหมือนสหรัฐฯ หรืออังกฤษที่รมว. ต่างประเทศเขาสำคัญแทบจะลำดับ 1 หรือ 2 แต่ประเทศเรา ถ้าฟื้นฟูความสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อนบ้าน รวมถึงประชาคมอาเซียนให้ได้เร็วที่สุด มีหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ใหญ่ๆ เท่านี้ก็ประสบความสำเร็จแล้ว แต่ปัญหาใหญ่ในช่วง 2 – 3 ปีที่ผ่านมา การต่างประเทศ โดยเฉพาะเรื่องไทย-กัมพูชาถูกนำมาทิ่มแทงกันอย่างมากในทางการเมือง เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ว่าใครผิดใครถูก และประชาชนสนับสนุนฝ่ายไหน


ไทย พับลิก้า : จริงๆ แล้วเป็นเรื่องถูกหรือผิด ที่รัฐบาลปชป. มีนโยบายไล่ล่าพ.ต.ท. ทักษิณ พอเปลี่ยนมาเป็นรัฐบาลพท. ก็ชัดเจนว่าต้องเยียวยา อำนวยความสะดวกให้ ถึงขั้นอาจคืนหนังสือเดินทางทางการทูต (พาสปอร์ตแดง) ให้

ฝ่ายปชป. ก็ชัดเจนว่าไล่ล่าจริง แต่ไม่ประสบความสำเร็จ ขนาดไล่ล่าเต็มที่แล้ว ก็ไม่สามารถทำอะไรได้ ไม่สามารถจับได้ พอเปลี่ยนรัฐบาล เราไม่เห็นต้องไปอำนวยความสะดวกอะไรเลย รัฐบาลนี้ทำตามกฎหมายคือ ถ้าตำรวจ หรืออัยการมีหน้าที่ตาม ก็ตามไปสิ ดำเนินการตามกฎหมาย ถ้ารัฐบาลไปขัดขวางจะถูกมองว่าละเว้นปฏิบัติหน้าที่ ต้องทำให้ประชาชนเห็นว่าเราไม่ขัดขวาง ยกตัวอย่างง่ายๆ พ.ต.ท. ทักษิณไปกัมพูชาเนี่ย คุณต้องขอส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดน ใช้เวลาเป็นเดือนนะกว่าจะตัดสิน แม้ขอตัวไป แล้วกัมพูชาบอกว่าเรื่องนี้เป็นคดีการเมืองที่จะไม่ส่งตัว ดังนั้นแม้คุณขอไป ก็ขึ้นอยู่กับประเทศที่พ.ต.ท. ทักษิณอยู่ด้วยว่าเขาจะส่งตัวให้ไหม


ไทยพับลิก้า : แต่มุมมองของพท. กับปชป. เรื่องสถานะของ พ.ต.ท. ทักษิณแตกต่างกันมาก โดยคนพท. ที่รู้ถิ่นพำนักของ พ.ต.ท.ทักษิณ คงไม่มีใครทำเรื่องขอส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดน มีแต่แห่กันไปสวัสดีในฐานะเจ้านายและผู้ใหญ่ที่เคารพ


ที่อยู่พ.ต.ท. ทักษิณก็รู้ทั้งปชป. และพท.

ไทยพับลิก้า : ช่วยอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างพ.ต.ท. ทักษิณกับสมเด็จฯ ฮุน เซน ว่า อะไรทำให้ผู้นำกัมพูชากล้าประกาศให้โลกรู้ว่าพ.ต.ท. ทักษิณคือมิตรแท้ มิตรรัก

ความจริงพ.ต.ท. ทักษิณเป็นมิตรรักของผู้นำหลายประเทศ เช่น รัสเซีย ส่วนกับสมเด็จฯ ฮุน เซน อาจเป็นเพราะ 1. ทำงานร่วมกันมา 5 ปี ในช่วงที่เป็นนายกฯ ความสัมพันธ์ก็ยาวนาน และ 2. เขาเห็นใจที่พ.ต.ท. ทักษิณถูกกระทำ เพราะสมเด็จฯ ฮุน เซน ก็มาจากการเลือกตั้ง ไม่ใช่ปฏิวัติมา เขาก็เห็นอกเห็นใจ ก็น่าจะเป็นเรื่องที่พัฒนาความสัมพันธ์กันมา ไม่ได้มีเรื่องผลประโยชน์อะไรเล้ย (เสียงสูง) คนชอบไปมอง


ไทย พับลิก้า : สมเด็จฯ ฮุน เซนเป็นนายกฯ กัมพูชามายาวนาน ผ่านการร่วมงานกับผู้นำหลายคน แต่ไม่เคยยกย่องผู้นำชาติไหนเป็นเพื่อนรัก เพื่อนแท้ เพื่อนตาย

แต่นายกฯ ไทยที่อยู่ยาวมีไม่กี่ท่าน มีพล.อ. เปรม (ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ) อยู่ 8 ปี แต่ผมไม่แน่ใจว่าสมัยนั้นสมเด็จฯ ฮุน เซน เป็นนายกฯ หรือยังนะ ส่วนระยะหลังๆ ก็มีนายกฯ ทักษิณที่อยู่ยาว 5 ปี ทำงานร่วมกัน ปีๆ หนึ่งต้องเจอกันไม่รู้กี่ครั้ง และบางทีมันชอบพอกัน


ไทยพับลิก้า : อะไรคือจุดคลิกระหว่าง พ.ต.ท. ทักษิณกับสมเด็จฯฮุน เซน

ผม คิดว่าอาจจะเป็นสไตล์ส่วนตัวด้วย และอาจจะเป็นเคมิสทรี สารเคมีในร่างกายตรงกัน มันต้องมีบางสิ่งตรงกัน คือ 1. ทั้ง 2 คนมาจากการเลือกตั้งเหมือนกัน 2.ทุ่มเททำงานให้ประชาชนเหมือนกัน 3.มีภาวะผู้นำสูงเหมือนกัน และ 4. ต่างคนต่างมาจากพื้นฐานรากหญ้า และกลางล่าง ไม่ใช่ตัวแทนของชนชั้นสูง เพราะพรรคซีซีพี (พรรคประชาชนกัมพูชา) ของสมเด็จฯ ฮุน เซน กับพรรคพลังประชาชนก็คล้ายๆ กัน


ไทยพับลิก้า : การที่ พ.ต.ท. ทักษิณมีเพื่อนเป็นผู้นำและนักธุรกิจหลายประเทศ จะถือว่าเป็นทูตของรัฐบาลไทยได้หรือไม่

คือ… ไปเรียกว่าทูตอาจจะไม่ตรงนัก เพราะท่านขอเป็นแค่คนไทยคนหนึ่ง ที่ช่วยอะไรประเทศไทยได้ก็ช่วย แต่ไม่ประสงค์จะเป็นทูต หรือเป็นอะไร แม้จะไม่มีตำแหน่งอย่างเป็นทางการ แต่ก็ช่วยในฐานะที่เป็นคนไทยคนหนึ่งเกี่ยวกับโอกาสด้านการค้าและการลงทุน ต่างๆ


ไทยพับลิก้า : เวลาผู้แทนรัฐบาล หรือนักธุรกิจต่างชาติมาเจรจากับ พ.ต.ท. ทักษิณ เขารู้สึกหรือไม่ว่ามีผลต่อรัฐบาล

เอ่อ… อยู่ที่ว่าเจรจาเรื่องอะไร หากมาเจรจางานที่ควรได้จากรัฐบาลผ่าน พ.ต.ท. ทักษิณ อาจจะไม่เหมาะ เช่น จะมาประมูลรถไฟฟ้าใต้ดินแล้วให้ท่านช่วยคุย อย่างนี้อาจจะไม่เหมาะ แต่ถ้าจะไปทำธุรกิจกับ พ.ต.ท. ทักษิณที่แอฟริกา เกี่ยวกับเรื่องเหมือง มันก็ไม่น่าจะเกี่ยวกับรัฐบาล ดังนั้นต้องดูเป็นเรื่องๆ ไป


ไทยพับลิก้า : ไม่เหมาะ แต่ถือเป็นผู้มีอิทธิพลเหนือการตัดสินใจของรัฐบาลหรือไม่

ไม่ เหมาะ และไม่ควรทำไง อะไรที่เป็นเรื่องของรัฐบาล ก็ควรเป็นเรื่องที่รัฐบาล หรือหน่วยงานของรัฐจะไปคุยกับทางผู้รับเหมาโดยตรง ท่านไม่ได้ไปเกี่ยวข้อง


ไทยพับลิก้า : ยืนยันว่า พ.ต.ท. ทักษิณไม่ได้เล่นบททูตรัฐบาลน้องสาว ทั้งในทางลับและทางแจ้ง

เอ่อ… ไม่มี สาเหตุที่ไม่มี เพราะว่าท่านไม่จำเป็นต้องไปกินคอมมิชชั่นอะไรแล้ว เงินทองแม้ถูกยึดไป 4.6 หมื่นล้านบาท ก็ยังพอมี เดี๋ยวอีกหน่อย การลงทุนในแอฟริกาจะมีมูลค่าเยอะ ดังนั้นความมั่งคั่งท่านจะไปทำที่อื่น สังเกตดูสิ ไม่ค่อยมีลงทุนในประเทศเพื่อนบ้านเราเลย


ไทยพับลิ ก้า : ปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างไทย-เพื่อนบ้านในช่วงที่ผ่านมา ส่วนหนึ่งเป็นเพราะมีการนำนโยบายด้านการต่างประเทศไปผูกติดกับตัว พ.ต.ท.ทักษิณมากเกินไปหรือเปล่า

รมว. ต่างประเทศไม่ใช่รัฐมนตรีที่สำคัญที่สุดของรัฐบาล ไม่เหมือนสหรัฐฯ หรืออังกฤษที่รมว. ต่างประเทศเขาสำคัญแทบจะลำดับ 1 หรือ 2 แต่ประเทศเรา ถ้าฟื้นฟูความสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อนบ้าน รวมถึงประชาคมอาเซียนให้ได้เร็วที่สุด มีหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ใหญ่ๆ เท่านี้ก็ประสบความสำเร็จแล้ว แต่ปัญหาใหญ่ในช่วง 2 – 3 ปีที่ผ่านมา การต่างประเทศ โดยเฉพาะเรื่องไทย-กัมพูชาถูกนำมาทิ่มแทงกันอย่างมากในทางการเมือง เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ว่าใครผิดใครถูก และประชาชนสนับสนุนฝ่ายไหน


ไทย พับลิก้า : จริงๆ แล้วเป็นเรื่องถูกหรือผิด ที่รัฐบาลปชป. มีนโยบายไล่ล่าพ.ต.ท. ทักษิณ พอเปลี่ยนมาเป็นรัฐบาลพท. ก็ชัดเจนว่าต้องเยียวยา อำนวยความสะดวกให้ ถึงขั้นอาจคืนหนังสือเดินทางทางการทูต (พาสปอร์ตแดง) ให้

ฝ่ายปชป. ก็ชัดเจนว่าไล่ล่าจริง แต่ไม่ประสบความสำเร็จ ขนาดไล่ล่าเต็มที่แล้ว ก็ไม่สามารถทำอะไรได้ ไม่สามารถจับได้ พอเปลี่ยนรัฐบาล เราไม่เห็นต้องไปอำนวยความสะดวกอะไรเลย รัฐบาลนี้ทำตามกฎหมายคือ ถ้าตำรวจ หรืออัยการมีหน้าที่ตาม ก็ตามไปสิ ดำเนินการตามกฎหมาย ถ้ารัฐบาลไปขัดขวางจะถูกมองว่าละเว้นปฏิบัติหน้าที่ ต้องทำให้ประชาชนเห็นว่าเราไม่ขัดขวาง ยกตัวอย่างง่ายๆ พ.ต.ท. ทักษิณไปกัมพูชาเนี่ย คุณต้องขอส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดน ใช้เวลาเป็นเดือนนะกว่าจะตัดสิน แม้ขอตัวไป แล้วกัมพูชาบอกว่าเรื่องนี้เป็นคดีการเมืองที่จะไม่ส่งตัว ดังนั้นแม้คุณขอไป ก็ขึ้นอยู่กับประเทศที่พ.ต.ท. ทักษิณอยู่ด้วยว่าเขาจะส่งตัวให้ไหม


ไทยพับลิก้า : แต่มุมมองของพท. กับปชป. เรื่องสถานะของ พ.ต.ท. ทักษิณแตกต่างกันมาก โดยคนพท. ที่รู้ถิ่นพำนักของ พ.ต.ท.ทักษิณ คงไม่มีใครทำเรื่องขอส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดน มีแต่แห่กันไปสวัสดีในฐานะเจ้านายและผู้ใหญ่ที่เคารพ

ที่อยู่พ.ต.ท. ทักษิณก็รู้ทั้งปชป. และพท.


ไทยพับลิก้า : แต่ถ้าพูดถึงความตั้งใจในการเอาตัวกลับมาดำเนินคดีในไทย

ก็ ยูเออี (ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์) เขาก็ไม่มีสนธิสัญญาส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดนนี่ ขนาดคนเป็นคู่แข่ง หายใจเข้าหายใจออกอยากจะกำจัด พ.ต.ท.ทักษิณยังทำไม่สำเร็จเลย แล้วรัฐบาลนี้จะทำสำเร็จไหมล่ะ


ไทยพับลิก้า : ซึ่งหายใจเข้าหายใจออกเป็นพ.ต.ท. ทักษิณเหมือนกัน แต่เป็นแบบเทิดทูน

ผม ยกตัวอย่าง ขนาดคนที่เป็นฝ่ายไล่ล่ายังทำไม่สำเร็จเลย แล้วเรา… คือ… มันจะห้ามความรู้สึก ความรัก ความผูกพัน ก็ไม่ได้ มันเป็นสิทธิของเรา ส่วนหน่วยงานรัฐบาลทำไปเถอะ ต้องดำเนินการตามกฎหมาย


ไทยพับลิก้า : ทุกวันนี้ พ.ต.ท. ทักษิณใช้พาสปอร์ตมอนเตเนโกรในการเดินทางไปไหนมาไหนเป็นหลัก

ใช่ครับ ส่วนนิการากัวไม่ใช้ แต่มีอยู่


ไทย พับลิก้า : สามารถกล่าวได้หรือไม่ว่าประเทศที่อนุญาตให้ พ.ต.ท. ทักษิณเดินทางเข้า-ออกอย่างเปิดเผย มองว่าคดีของพ.ต.ท. ทักษิณเป็นคดีการเมือง

หลายประเทศเขาก็คิดอย่างนั้น เพราะมันเกิดขึ้นหลังการยึดอำนาจ โดยเฉพาะคดีที่ดินรัชดา เพราะมันขัดหลักนิติธรรม เขาเรียกว่านิติธรรมต้นน้ำ ที่เอาคนเป็นปฏิปักษ์มาสืบสวนสอบสวน


ไทยพับลิก้า : พอระบุได้หรือไม่ว่าใน 176 ประเทศทั่วโลก มีกี่ประเทศที่คิดว่าคดีพ.ต.ท. ทักษิณเป็นคดีการเมือง

โอ้ย! อันนี้ผมไม่สามารถตอบได้ เพราะบางประเทศก็ไม่ได้เดินทางไป


ไทย พับลิก้า : การที่ พ.ต.ท. ทักษิณยังมีเรตติ้งสูงในหมู่คนรากหญ้า และกลับมามีอำนาจรัฐอีกครั้งหลังการเลือกตั้ง ทำให้มือที่มองไม่เห็น ยังพยายามเคลื่อนไหวให้เกิดการเปลี่ยนแปลงนอกระบบอยู่หรือไม่

เป็น ความหวังที่เขายังทำอยู่ ใช่ เขายังไม่ลด ละ เลิก แม้จะช่วงเข้าพรรษาก็ตาม คือพยายามขจัด พ.ต.ท. ทักษิณทุกวิถีทาง แต่วันนี้โลกมันเปลี่ยนไปแล้ว ผมคิดว่าฝ่าย พ.ต.ท. ทักษิณและคนเสื้อแดงก็รู้ มันรู้กำลังซึ่งกันและกัน คิดทันกัน ดังนั้นการเตรียมการรับมือ เรารู้อยู่ แต่เราจะไม่ทำให้ประเทศชาติและประชาชนเสียหาย


ไทยพับลิก้า : เป็นไปได้หรือไม่ที่ 2 ฝ่ายจะเปิดเจรจากัน เพราะความขัดแย้งทางการเมืองทั่วโลก จบได้ด้วยการเจรจา

ผม ว่าก็เป็นไปได้ ความจริงควรจะคุยกันว่าเราแฮปปี้ (มีความสุข) อยู่ตรงไหน ความคาดหมายของแต่ละฝ่ายเป็นอย่างไร เราชอบไม่ชอบอะไร การคุยกันเป็นสิ่งที่ดี ผมอยากเห็นนะ ผมไม่ชอบถือปืนอยู่ตลอดเวลา ผมก็อยากมอบช่อดอกไม้ซึ่งกันและกันบ้าง ถ้ามอบดอกไม้ให้กันไม่ได้ อย่างน้อยก็ทำตามกฎกติกาที่มีอยู่ ผมว่าอย่างนี้น่าจะเป็นไปได้มากกว่าไปเกี้ยเซี้ยกัน หรือมารักกัน มาจูบปากกัน ขอว่าแค่เดินผ่านกันแล้วไม่เหยียบเท้ากันก็พอ


ไทย พับลิก้า : พ.ต.ท. ทักษิณเคยยอมรับว่าความผิดพลาดของชีวิต เกิดจากไปเหยียบเท้าคนระหว่างทางเข้าโดยไม่รู้ตัว ดังนั้นจุดพอใจของอำมาตย์ กับ พ.ต.ท. ทักษิณอยู่ตรงไหน ถึงจะทำให้การเจรจาเกิดขึ้นได้

เอาว่า เรามาดูว่าในช่วง 5 – 6 ปีที่ผ่านมา มันเกิดอะไรขึ้น เราจะเยียวยา คืนความเป็นธรรมให้แต่ละฝ่ายอย่างไร ในอนาคตเราจะอยู่กันอย่างไร บทบาทของทหารจะเป็นอย่างไร รัฐบาลพลเรือนอยู่อย่างไร บทบาทของตุลาการในคดีความต่างๆ จะเป็นอย่างไร การตัดสินคดีที่ค้านสายตาประชาชน มันไม่ควรมีต่อไป เรื่องสถาบัน การจาบจ้วงก็ต้องยุติ ผมว่าต้องดูรวมทุกอย่าง


ไทยพับลิก้า : แสดงว่าหากจะมีวงเจรจาเกิดขึ้น ควรมีตัวแทนจากฝ่ายทหาร รัฐบาล ตุลาการ และผู้แทนสถาบัน

เปล่าๆ ผมไม่สามารถให้ความเห็นว่าการเจรจาจะประกอบด้วยใครบ้าง เพราะสถาบันต้องยกไว้เหนือหัว เหนือการเมือง ส่วนคนอื่นๆ จะเป็นใครบ้าง ต้องเป็นแบบนอกรอบน่ะ ไม่ใช่คณะกรรมการปรองดอง แต่เป็นการคุยนอกรอบ สานเสวนา แลกเปลี่ยนความเห็นกัน มันก็จะพอรู้ว่ามือที่มองไม่เห็นเป็นใคร


ไทย พับลิก้า : ท้ายที่สุดหาก พ.ต.ท. ทักษิณ ซึ่งเปรียบเสมือนทูตรัฐบาล ไปเจรจากับคนได้ทั่วโลก แต่ไม่สามารถเจรจากับคนในประเทศเพื่อยุติความขัดแย้งได้ภายในรัฐบาล “ยิ่งลักษณ์” อันนี้สะท้อนอะไร

คงไม่สะท้อนอะไร เราคงไม่ไปทำอะไรที่ข่มขู่ใคร เราได้แต่ขอความเห็นใจว่าทำเพื่อประชาชน ปรองดองเร็วที่สุด บ้านเมืองนิ่งที่สุด มันก็ดีที่สุด แต่ถ้าเจรจาไม่สำเร็จ คงไม่สามารถเอาต่างประเทศมากดดันได้หรอก ประเทศอื่นเขาไม่มาแทรกแซงกิจการประเทศอื่นหรอก วันนี้รัฐบาลมีหน้าที่บริหารประเทศ ก็บริหารให้ดีที่สุด ถ้าทำได้ตามที่พูดไว้ โอกาสชนะการเลือกตั้งครั้งหน้าก็สูง เพราะเราอยู่ในที่นั่งคนขับ ปชป. อยู่ที่นั่งผู้โดยสาร ดังนั้นโอกาสที่เราจะเลี้ยวรถไปซ้ายไปขวาตามนโยบายที่เราทำเนี่ย มันได้เปรียบอยู่แล้ว แต่ถ้าเราทำไม่ดี เราก็จะมีชะตากรรมเดียวกับปชป. ประชาชนก็จะไม่สนับสนุน


ไทยพับลิก้า : แล้วถ้าผู้โดยสารเอาปืนมาจี้หัวคนขับล่ะ

(อมยิ้ม) ก็หวังว่าจะไม่มีคนเอาปืนมาจี้ อยู่ที่เราน่ะ ถ้าเราเป็นคนขับที่จิบเบียร์ไปด้วย เมาจนจะพาผู้โดยสารตกถนน หรือโกงเงินผู้โดยสาร เราอาจสร้างเงื่อนไขเสียเอง แต่เราจะไม่ทำ ถ้าเราขับรถบนถนนอย่างปลอดภัย แล้วมีคนเอาปืนมาจี้หัวคนขับ ไอ้คนที่เอาปืนมาจี้หัวคนขับ ก็ระวังผู้โดยสารคนอื่นแล้วกัน


ไทยพับลิก้า : เท่าที่ดูโชว์เฟอร์หญิงจะขับได้ดีหรือไม่

ก็ต้องขับให้ดีนะ ผู้โดยสารจะได้แฮปปี้


ไทยพับลิก้า : แค่ 49 วันได้ใบขับขี่แล้ว จะขับรถแข็งหรือเปล่า(ยิ้ม กว้าง) เราพูดแทนตัวเองไม่ได้ ต้องให้เวลาเป็นเครื่องพิสูจน์ 49 วันแค่ช่วงเลือกตั้ง แต่การทำงานต้องใช้เวลานานกว่านั้น แต่ผมคิดว่านายกฯ ทำได้ เพราะมีประสบการณ์บริหารองค์กรขนาดใหญ่ และเป็นคนพูดจานุ่มนวล น่าจะไปได้ แต่เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์


มุมเหมือน“แมนเดล่า”มุมต่าง“ลี กวน ยู”

ไทยพับลิก้า : แค่ 49 วันได้ใบขับขี่แล้ว จะขับรถแข็งหรือเปล่า(ยิ้ม กว้าง) เราพูดแทนตัวเองไม่ได้ ต้องให้เวลาเป็นเครื่องพิสูจน์ 49 วันแค่ช่วงเลือกตั้ง แต่การทำงานต้องใช้เวลานานกว่านั้น แต่ผมคิดว่านายกฯ ทำได้ เพราะมีประสบการณ์บริหารองค์กรขนาดใหญ่ และเป็นคนพูดจานุ่มนวล น่าจะไปได้ แต่เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์




มุมเหมือน“แมนเดล่า”มุมต่าง“ลี กวน ยู”


หลังพลัดหล่นจากอำนาจกลางมหานครนิวยอร์ค ประเทศสหรัฐฯ เนื่องจากถูก “ปฏิวัติข้ามประเทศ” เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549

“พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร” นายกรัฐมนตรีคนที่ 23 ของไทย ก็ระหกระเหเร่ร่อนอยู่ต่างแดน ย้ายถิ่นพำนักหลายแห่ง นั่งเครื่องบินเจ็ทส่วนตัวเดินทางไปพบปะผู้คนทั่วโลก

ส่วนหนึ่งเพื่อแสวงหาช่องทางธุรกิจ

ขณะที่อีกส่วนหนึ่งเพื่อดิ้นหาช่องทางต่อสู้ทางการเมือง

แม้มีโอกาสผ่าน-พบ “ผู้นำ” หลายประเทศ แต่ “นพดล ปัทมะ” ที่ปรึกษาด้านกฎหมายพ.ต.ท. ทักษิณ ยืนยันว่า “ผู้นำพเนจร” ไม่เคยคิดอยากเป็น-อยากเหมือนผู้นำชาติไหน

“พ.ต.ท. ทักษิณไม่ได้อยากเป็นอะไร ท่านก็เป็นนายกฯ ไม่ได้คิดอยากเป็นประธานาธิบดี อย่างที่ท่านไปเยี่ยมเนลสัน แมนเดลา (ประธานาธิบดีแอฟริกาใต้คนแรก) เพราะอยากดูเรื่องการต่อสู้ทางการเมือง แต่บางคนไปมองว่าท่านอยากเป็นประธานาธิบดี นั่นก็เกินเหตุ ท่านเพียงแต่ชื่นชมในแง่การต่อสู้เพื่อให้ได้รับเสรีภาพและความเป็นธรรม และชอบที่เอากีฬารักบี้มาเชื่อมระหว่างคนขาวและคนดำ ทำให้เกิดความปรองดอง นี่เป็นความชื่นชม แต่ไม่ใช่อยากเป็นประธานาธิบดี เพราะท่านจงรักภักดีต่อสถาบัน”

หากไม่นับความต่างในเรื่องรูปแบบการปกครองของ 2 ประเทศ หลายคนมองว่า “พ.ต.ท. ทักษิณ” มีส่วนคล้ายคลึง “แมนเดล่า” บุคคลที่ถือเป็น “สัญลักษณ์แห่งแอฟริกาใต้-ผู้นำที่ประชาชนรักมากที่สุด”

“นพดล” เป็นหนึ่งในบุคคลที่เห็นว่า “ผู้นำทั้ง 2 คน” มีส่วนคล้ายกันในแง่การเป็นขวัญใจชาวรากหญ้าเหมือนกัน และถูกกระทำทางการเมืองเหมือนกัน

ส่วน “นายใหญ่” จัดเป็น “สัญลักษณ์ทางการเมืองของไทย” หรือไม่ เขางดออกความเห็น โดยปล่อยให้เป็นเรื่องที่ “คนนอก” จะมอง

ทว่าใน “ความเหมือน” มี “ความต่าง” เพราะปัจจุบัน “อดีตผู้นำแอฟริกาใต้” วัย 93 ปีใช้ชีวิตอย่างอิสระภายในบ้านเกิด แต่ “อดีตผู้นำไทย” วัย 62 ปี ยังรอนแรมอยู่ต่างแดน

“แมนเดล่า กับพ.ต.ท. ทักษิณอายุห่างกันเกือบ 30 ปี เราก็ไม่รู้ว่าอีก 30 ปี พ.ต.ท. ทักษิณจะอยู่ที่ไหนบ้าง แต่ ณ อายุ 62 ปี แมนเดลายังอยู่ในคุก ยังไม่มีเครื่องบินส่วนตัวบินไปโน่นไปนี่” ที่ปรึกษาด้านกฎหมายพ.ต.ท. ทักษิณกล่าว


แม้จะรู้ว่าลึกๆ ในใจ “นาย” ต้องการกลับบ้านเกิดมากแค่ไหน

ในวัน-เวลาที่ “โอกาส” ของ “พ.ต.ท. ทักษิณ” ยังมาไม่ถึง หลายเสียงแนะให้อดีตนายกฯ-อดีตหัวหน้าพรรคไทยรักไทย ยุติการเคลื่อนไหว “หน้าฉาก” แล้วปรับบทบาทไปสู่การเป็นที่ปรึกษา “หลังฉาก” เหมือนที่ “ลี กวน ยู” อดีตนายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ ทำ

ทว่า “นพดล” กลับเห็นแย้ง

“ต้องยอมรับว่าพ.ต.ท. ทักษิณไม่ได้มีตำแหน่งอะไรนะ แต่อดีตผู้นำสิงคโปร์ยังไปมีตำแหน่งรัฐมนตรีอาวุโสของครม. ของลูกชาย ยังทำการเมืองแบบเดย์ ทู เดย์ อยู่ และเทียบกันไม่ได้ในแง่ว่าลี กวน ยู อยู่มา 31 ปี ส่วนพ.ต.ท. ทักษิณอยู่มา 5 ปี ตอนนี้ถามว่าพ.ต.ท. ทักษิณหยุดไหม ท่านถือว่าท่านยังถูกกระทำอยู่ คนที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม ก็ต้องต่อสู้แสวงหาความเป็นธรรม ซึ่งการที่ประชาชนสนับสนุนพรรคเพื่อไทย (พท.) คงเป็นน้ำทิพย์ชโลมใจพ.ต.ท. ทักษิณไม่น้อย”

“การเมืองเรื่องนี้ ต้องมองในบริบทที่ว่า ลี กวน ยูไม่เคยถูกยึดอำนาจ ไม่เคยถูกยึดทรัพย์ ไม่เคยถูกปฏิปักษ์สอบสวนคดี ไม่มีถึงขนาดไปยุบพรรคของนายกฯ ลี กวน ยู ไม่ถึงขนาดต้องหย่ากับมาดามกวา กว๊อก ชู ภริยา อะไรต่างๆ ดังนั้นผมว่าบริบทมันต่างกันเยอะ”

ส่วนบริบทหนึ่งที่อดีตนายกฯ ไทย-สิงคโปร์เหมือนกัน หนีไม่พ้น การครองเสียงข้างมากในสภา จนถูกครหาว่าเป็น “เผด็จการรัฐสภา”

แต่ “ลี กวน ยู” ผ่านช่วงนั้นมาได้ และก้าวลงจากตำแหน่งอย่างสง่างาม

ขณะที่ “พ.ต.ท. ทักษิณ” ไม่อาจสลัดข้อหาดังกล่าวให้หลุดจากตัว จนนำไปสู่การรัฐประหารในที่สุด

“ถ้าประเทศเราเป็นปกติ เหมือนประเทศที่พัฒนาแล้ว ให้ประชาชนตัดสินความเป็นไปของประเทศ พ.ต.ท. ทักษิณคงไม่ต้องเจอวิบากกรรมเช่นนี้ แต่ในเมื่อมันมีกลุ่มมือที่มองไม่เห็นต้องการกำจัดพ.ต.ท. ทักษิณทุกวิถีทาง ตั้งแต่เอาชีวิต ยึดอำนาจ ยุบพรรคเขา ยึดทรัพย์เขา เรื่องนี้จึงไม่ปกติ”

ถ้าปล่อยให้การเมืองเป็นไปตามครรลอง พ.ต.ท. ทักษิณอาจมีโอกาสเป็น “รัฐบุรุษอาวุโส” เหมือนลี กวน ยู ?

“ถ้ามองย้อนไป มันก็พูดลำบากนะ การยึดอำนาจมันผ่านมา 5-6 ปีแล้ว ทางที่ดีคือทุกฝ่ายควรตระหนักว่าปล่อยให้เรื่องนี้เป็นเรื่องของประชาชน ประชาธิปไตยคือโดยประชาชน เพื่อประชาชน ของประชาชน อย่าคิดว่าตัวเองรู้ดีกว่าคนอื่น พวกอำมาตย์ทั้งหลาย พวกผู้มีอำนาจบางคน ผมว่าให้ประชาชนเขาตัดสินเองบ้าง อย่าคิดว่าตัวเองต้องชี้นำความเป็นไปของบ้านเมือง”

“หมดเวลาแล้วกับแนวคิดที่ว่าพ.ต.ท. ทักษิณเป็นภัยที่ต้องขจัด”

คือขู่คำทิ้งท้ายจาก “ลูกน้องคนสนิท” ของ “ผู้นำพเนจร”!!!



คม ชัด ลึก


'ยิ่งลักษณ์' 1 เดือนเหมือน 1 ปี เชื่อ!พูดแล้วทำ แต่ 'ยังไม่มั่นใจ'


คิดใหม่ วันอาทิตย์
อดิศักดิ์ ลิมปรุงพัฒนกิจ

โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

ครบรอบหนึ่งเดือนหลังรัฐบาลแถลงนโยบายเริ่มนับหนึ่งทำงานเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม เวลาผ่านไปไวเหมือนเล่นโกหก

    ทำเอาหน้าใสๆ กว่าวัยจริง 44 ปีของ "นายกรัฐมนตรีหญิงของเรา" เริ่มออกแววมองเห็นริ้วรอยขอบตาช้ำๆ ออกจะหมองๆ ลงไปด้วยเวลาอันรวดเร็ว 

     อันเกิดจาก "ทักษิณคิดไว-ยิ่งลักษณ์ทำแต่ยังไม่ได้ดั่งใจ" ตามประสา "มือใหม่" หัดขับเพิ่งเข้าสู่วงการการเมืองมาได้ไม่กี่เดือน แต่คุณน้องกลับต้องมาแบกรับปัญหาหนักอึ้งรุมล้อมยิ่งกว่าสมัยคุณพี่ทักษิณเป็นนายกรัฐมนตรีรอบแรกปี 2544 ที่ได้ลิ้มลองตำแหน่งรัฐมนตรีมา 2-3 รอบ จนจิตวิญญาณความเป็นเสนาบดีเข้าสิง หลังศาลรัฐธรรมนูญลงมติเสียงข้างมาก 7-6 ให้คดีซุกหุ้นไม่ผิดถือเป็นแค่ "บกพร่องโดยสุจริต"  ถือเป็นการปล่อยเสือออกจากกรม ทำให้คุณพี่ทักษิณพุ่งทะยานดั่ง พยัคฆ์ติดปีก-อัศวินติดจรวดเทอร์โบ ทำงานเป็นบ้าเป็นหลัง

     แต่อาการคุณน้อง "นายกรัฐมนตรีหญิงของเรา" ในยามนี้ เพิ่งผ่านมาได้ 1 เดือน น่าจะยังเสมือนอยู่ในช่วงทดลองงานเสียมากกว่าจะเป็นดังนารีขี่ม้าขาววิ่งฉิวด้วยเครือข่าย 3 G ความเร็วสูงสุด 42 เม็ก ตามที่ใครต่อใครคาดหวังไว้สูงส่ง น่าจะเป็นเพราะ "ตุ้มถ่วง" จากพวกกระเหี้ยนกระหือรืออยากจะแก้แค้นไม่อยากแก้ไขเยอะแยะตาแปะไก่กว่าสมัยคุณพี่ทักษิณเอามากๆ  

    ทำเอา "นายกรัฐมนตรีหญิงของเรา" ตอบคำถามคุณป้าคุณน้องนักข่าวที่ส่วนใหญ่มีสภาพไม่ต่างจาก "หมาล่าข่าวล่าเนื้อ" ได้แค่ "ไม่ใช่นโยบายของรัฐบาลนะคะ" เป็นประโยคฮิตติดชาร์จเดือนแรก

    ผมได้ยินแล้วก็อดจะออกอาการสงสารไม่ได้จริงๆ  ยิ่งได้เห็นอาการปิดปากกลั้นหัวเราะไม่อยู่หลังประสบความสำเร็จมุดหลบหลีกนักข่าวทำเนียบรัฐบาลเข้าไปอยู่ในลิฟต์ได้อย่างรวดเร็ว

    จึงยังไม่อยากจะวิพากษ์วิจารณ์ให้เสียกำลังใจ  แต่เมื่อเวลาผ่านไปได้หนึ่งเดือนเต็มก็จะขอลองไล่เรียงจุดแข็งจุดอ่อนของแต่ละนโยบายที่กลับอยู่ในสภาพ "ถั่งโถม" โหมแรงไฟออกมาอย่างไม่บันยะบันยัง ด้วยหวังว่า "นายกรัฐมนตรีหญิงของเรา" ยังอยู่ในภาวะ "น้ำไม่เต็มแก้ว" พร้อมจะ "รับฟัง" แล้วยัง "ได้ยิน" สาระจริงๆ แล้ว ลองนำไปพิจารณาปรับปรุงจุดอ่อน

     เมื่อเทียบการบริหารประเทศในเดือนแรกของ "นายกรัฐมนตรีหญิงของเรา" กับ "อดีตนายกรัฐมนตรีของเรา" คุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ แล้ว จะเห็นได้ชัดว่าคนละสไตล์จริงๆ

     พูดตรงๆ ว่า ถ้าคุณอภิสิทธิ์กล้าตัดสินใจทำได้ "เร็ว-แรง" เพียงแค่ครึ่งเดียวของคุณยิ่งลักษณ์ ก็จะทำให้ผู้คนไม่ออกอาการหงุดหงิด จนส่งผลทำให้นโยบายต่อๆ มาของคุณอภิสิทธิ์กลายเป็น Personal Brand แบบคิดเยอะทำช้าเกินไป  ไม่ทันความใจร้อนของผู้คนที่อยู่ในภาวะหมดความอดทนต่อนักการเมือง  แล้วคุณอภิสิทธิ์ก็ยังพยายามอธิบายด้วยประโยคซ้ำๆ มากเกินไป  โดยไร้ "วรรคทอง" ไม่เลือกจับประเด็นให้ชัดว่านโยบายพวกนั้นทำไปเพื่ออะไร แล้วเจาะกลุ่มเป้าหมาย Segmentation ไหน 

     แม้ว่าคุณอภิสิทธิ์จะมีวาทศิลป์สื่อสารเรื่องราวได้เก่งกว่าคุณยิ่งลักษณ์หลายเท่า  แต่น่าเสียดายว่า "สาร" ที่ออกไปขาดการเน้นย้ำประเด็นหลักๆ ด้วยภาษาการตลาด  จนทำให้ชาวบ้านไม่ประทับลงไปในใจจนกลายเป็น "จดจำ" แล้วเชื่อมั่นศรัทธาในแบรนด์ประชาธิปัตย์ที่เป็น Corporate Brand ที่ออกจะคร่ำครึไม่เคย Re-Brand จริงๆ แล้ว ยังไปคู่กับแบรนด์คุณอภิสิทธิ์ที่ยังเป็น Personal Brand แบบกลางเก่ากลางใหม่ทำให้การทำงานไม่ส่งเสริมกันเลย

    แต่คุณยิ่งลักษณ์ก็ยังมีข้ออ่อนในเรื่องการพูดจา "สื่อสาร" กับสังคม  เพื่อทำความเข้าใจในนโยบายหลักๆ ที่เข้าใจได้ว่าจะต้องเร่งปล่อยออกไปในช่วง 1 เดือน เพื่อลบล้างคำปรามาสในความอ่อนด้อยประสบการณ์ของคุณยิ่งลักษณ์ และยังอาจจะเป็นความพยายามกลบเกลื่อนนโยบายร้อนๆ ทางการเมือง  เช่น  การโยกย้ายข้าราชการระดับสูงที่ไม่ใช่พวกตัวเอง  การทดสอบกระแสช่วยทักษิณกลับบ้านให้ได้ภายในปีนี้ ฯลฯ

    การเร่ง "ปล่อยของ" เป็นระยะๆ แบบราย 3 วันและรายสัปดาห์ของ "นโยบายหลักๆ ของ "นายกรัฐมนตรีของเรา" คล้ายๆ กับกลยุทธ์การทดสอบออกแบบ "สินค้า" เพื่อลองรสนิยมของผู้บริโภค  แล้วนำกลับมาวิจัยแก้ไขให้ถูกใจผู้บริโภคมากขึ้นก่อนจะออกขายจริง

    วิธีการออกจะแตกต่างจากสมัยคุณพี่ทักษิณยุคแรกที่ "น้ำยังเต็มถ้วย"  จึงเริ่มต้นจาก Work Shop ในเชิงนโยบายกับข้าราชการและทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องว่ามีความเห็นอย่างไร  แล้วค่อยปล่อยของออกมาสู่ตลาดจริงๆ ที่มักได้รับเสียงสนับสนุนมากกว่าเสียงค้าน  ด้วยว่าคุณพี่ทักษิณมีอาชีพเก่าเป็นเซลส์แมนในสายเลือด ทำให้การสื่อสารกับสังคมได้เข้าใจแม้ว่าจะมีข้อห่วงใยมากมายแต่มักฝ่าด่านไปได้

     แต่คุณน้องยิ่งลักษณ์แม้ว่าจะได้รับการบ่มเพาะ "โคลนนิง" วิธีการทำงานของคุณพี่ชายมาตั้งแต่เริ่มทำงานครั้งแรกในบริษัทครอบครัวชินวัตร จนตำแหน่งสุดท้ายก็ยังวนเวียนในบริษัทในครอบครัว แต่การที่คุณน้องไม่ได้เคยบุกเบิกธุรกิจด้วยตัวเองสักอย่าง

     คุณน้องจึงยังไม่ใช่ "เซลส์แมน" ที่มี "จิตวิญญาณแบบเถ้าแก่" สิงสถิตแนบแน่นมุ่งมั่นทะเยอทะยานอยากจะเป็นเศรษฐี อยากจะมีหน้ามีตาในสังคมอยากจะมุ่งเข้าสู่ถนนการเมืองที่มีทั้งอำนาจและบารมีเหมือนกับคุณพี่ทักษิณ  จึงทำให้คุณน้องยิ่งลักษณ์ยังทำงานแบบ "นักบริหารมืออาชีพ" เป็นมนุษย์เงินเดือนแม้ว่าจะทำงานหนักมากกว่าสมัยทำงานบริษัท แต่หาได้เกิดอาการทะเยอทะยานอยากจะพิสูจน์ตัวเองว่าเป็น "นายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของประเทศไทย" ที่มีความสามารถไม่แพ้นายกรัฐมนตรีชาย

    การสื่อสารในเชิงนโยบายกับสังคมถือเป็นจุดอ่อนมากๆ ของ "นายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของเรา" หากยังไม่รับการแก้ไขอย่างจริงจังภายใน 2-3 เดือนข้างหน้าจะทำให้ระยะเวลา "น้ำผึ้งพระจันทร์" หดสั้นจุดจู๋แม้จะได้คะแนนมากว่า 15 ล้านคะแนน จนทำให้ไม่ทันจะหาวิธีซิกแซกแก้ไขกฎหมายร่างรัฐธรรมนูญใหม่ เพื่อหาทางช่วยฟอกผิดคุณพี่ทักษิณให้ผ่านพ้นวิบากกรรมกลับเข้ามาในประเทศไทยได้อย่างผู้คนปกติธรรมดาเสียที

    นโยบายลดส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันเพื่อลดค่าครองชีพประชาชน : รัฐมนตรีพลังงาน "พิชัย  นริพทะพันธุ์"
    เกือบเสียรังวัดไปกับการตัดสินทุบโต๊ะลดเงินส่งเข้ากองทุนเบนซิน-ดีเซลแต่ไม่ใส่ใจแก๊สโซฮอล์ คงจะด้วยความเก๋าทางการเมืองพอตัวหลังจากจากทำธุรกิจอัญมณีที่มีเหลี่ยมแพรวพราวจนร่ำรวยเป็นนายทุนพรรค ทำให้คุณพี่พิชัยสามารถกลับลำแก้ทางเสียงโจมตีได้ภายใน 2-3 วัน 

     ด้วยการเอี้ยวตัวหลบหมัดน็อคจากพวกแก๊สโซฮอล์ เสนอภาพใหญ่กว่าว่าแท้จริงแล้ว ต้องการจะปรับปรุงกลไกภาษาและการส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันฯ ให้สอดคล้องกับสถานการณ์พลังงานของประเทศที่มีการบิดเบือนราคาและต้นทุนกันมาก แล้วยังได้รับเสียหนุนว่ารัฐบาลควรลดหรือเลิกอุดหนุนการใช้ก๊าซหุงต้ม เพื่อไม่ให้มีการบิดเบือนราคาอีกต่อไป

     นโยบายค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาทต่อวัน : รัฐมนตรีแรงงาน "เผดิมชัย สะสมทรัพย์" ที่เพิ่งพ้นจากคำสั่งศาลให้เป็นบุคคลล้มละลายเมื่อเดือนพฤษภาคม 2554

      ออกจะน่าห่วงกว่าเพื่อน  เพราะอาการหงุดหงิดโกรธหัวฟัดหัวเหวี่ยงท้าตีท้าต่อยกับคำถามเซ้าซี้ของนักข่าวเรื่อง "ค่าจ้างหรือค่าแรงขั้นต่ำ"  

    แล้วยังพยายามบังคับให้กลุ่มแรงงานเชื่อว่าจะทำให้ได้ 300 บาทต่อวันทั่วประเทศในระยะเวลาหนึ่งแต่ขอนำร่องเริ่มจาก 7 จังหวัดก่อน  แต่ด้วยอาการ "น้ำเต็มแก้ว" ของคุณน้าเผดิมชัยที่ไม่ค่อยจะยอมลดราวาศอกกับเสียงทวงถามท้วงติงน่าจะทำให้นโยบายนี้ยังไม่ถือว่าผ่านปลอดโปร่ง  เพียงแต่ยังรอวันปะทุจากกระแส "การเมืองในกลุ่มแรงงาน" ที่บทจะไม่ฟังใครก็มักเกิดขึ้นบ่อยๆ จับตาดูกันให้ดีๆ ก็แล้วกัน

   นโยบายเงินเดือนปริญญาตรีข้าราชการเริ่มต้น 15,000 บาท :
    พอจะกล้อมแกล้มเลี่ยงไปใช้เป็นการปรับเพิ่มค่าครองชีพ ให้กลายเป็น "รายได้รวมของข้าราชการ" ที่จบปริญญาตรีมากกว่า 15,000 บาท ก็ถือได้ว่าสอบผ่านไปอีกข้อ แม้จะเกือบตกเพราะไม่ได้เป็นไปตามป้ายโฆษณาหาเสียง "เงินเดือนปริญญาตรีข้าราชการ 15,000 บาท" 

     แต่เอาเถอะข้าราชการระดับปริญญาตรีกว่า 4-5 แสนคนได้มีเงินใน "กระเป๋า" มากขึ้นตามนั้นก็เป็นอันใช้ได้แล้ว  รอแต่เพียงว่าพวกจบปริญญาโท-ปริญญาเอกที่เงินเดือนสตาร์ทยังต่ำเตี้ยสูงกว่า 15,000 บาทไปไม่เท่าไร หลังจากถูกเงินเดือนพวกจบปริญญาตรีจี้ก้นมากๆ อาจจะร้องออกมาดังๆ ขอเงินเดือนเพิ่ม ก็ค่อยไปว่ากันก็ไม่เสียหาย แต่เสียเงินงบประมาณแน่ๆ

     นโยบายรถยนต์คันแรกกับนโยบายบ้านหลังแรก  : รัฐมนตรีช่วยว่าการ "บุญทรง เตริยาภิรมย์" น่าจะอยู่ในอาการน่าห่วงมากๆ อีกคน  

     แม้โดยประสบการณ์ชั่วโมงบินของคุณน้าบุญทรงเคยไปถึงประธานสภาอุตสาหกรรมเชียงใหม่ และยังเป็นดีลเลอร์ใหญ่ของเบนซ์ธนบุรีประจำเชียงใหม่ในนามบริษัทเบนซ์ช้างเผือกกับเจ้าของโรงเลื่อยจักรไทยพนา ที่เกี่ยวๆ โดยอ้อมกับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์  แต่เหตุไฉนจึงออกมาเสียรังวัดพอประมาณกับนโยบายคืนภาษีรถยนต์คันแรก ที่เร่งออกประกาศด้วยรายละเอียดยิบๆ แต่กลับถูกท้วงติงจากคนในวงการเช่าซื้อรถ   จนต้องกลับมาแก้ไขกันอีกรอบ ลดเงื่อนไขลงเยอะ และยังยอมเพิ่มขนาดซีซีให้ครอบคลุมมากขึ้น

     ส่วนนโยบายบ้านหลังแรกยิ่งออกทะเลไปไกล ประกาศออกมาโดยไม่ได้เคยถามไม่ได้เคยประชุมกับผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ว่ามาตรการลดหย่อนภาษีแบบนี้ จะได้ผลกระตุ้นกำลังซื้อได้แค่ไหน แล้วยิ่งมาโดน "จับผิด" เรื่องโฆษณาของบ้านบริษัทเอสซีแอสเสทที่ "นายกรัฐมนตรีหญิงของเรา" เคยบริหารมาก่อน

     แต่ว่ากันด้วยใจเป็นธรรมไม่อคติกันเกินไป ออกจะมองโลกแง่ร้ายเกินไปว่านโยบายนี้ทำเพื่อธุรกิจบ้านจัดสรรของเอสซี แต่ความจริงแล้วนโยบายนี้กลับไม่ได้ช่วยกระตุ้นให้ผู้ซื้อบ้านหลังแรกตัดสินใจเลย เมื่อเทียบกับนโยบายบ้านหลังแรกของรัฐบาลที่แล้วที่ให้ดอกเบี้ย 0% ผ่านธนาคารอาคารสงเคราะห์ ที่มีคนแห่ไปรอบัตรคิว

    หนึ่งเดือนแรกของ "นายกรัฐมนตรีหญิงของเรา" ยังไม่สรุปว่า "สอบตก" แต่ยังต้องผ่านการติวเข้มอีกมากมาย แต่ขอเถอะคุณพี่ทักษิณอย่าประเจิดประเจ้อติวเข้มรัฐมนตรีของพรรคเพื่อไทยที่มีคุณน้องยิ่งลักษณ์  ผ่าน Skype มาทุกเช้าวันจันทร์ก่อนเริ่มต้นทำงานบริหารบ้านเมืองเลย ปล่อยให้คุณน้องทำงานตามความสามารถของตัวเองบ้าง คุณพี่ทักษิณควรจะเป็นที่ปรึกษาที่ตามปกติแล้วหากเจ้าตัวไม่ขอคำปรึกษา ก็ไม่ควรจะเสนอหน้ามาเอง

     อย่าพูดเยอะเกิน อย่าทำอะไรตามอำเภอใจ และที่สำคัญ ยังมองเห็นคุณน้องยิ่งลักษณ์เป็นแค่คุณหนูน้องสาวคนสุดท้องที่เพิ่งเรียนจบปริญญาตรีหรือโท เริ่มต้นทำงาน ตอนนี้เธอเป็น "นายกรัฐมนตรีหญิงคนแรก" แล้ว คำนึงถึงศักดิ์ศรีของนายกรัฐมนตรีของประเทศไทย และเกรงใจประชาชนไทยบ้าง หากทำอย่างนี้ไปเรื่อยๆ จะทำให้ต่างประเทศมองว่าคุณน้องยิ่งลักษณ์เป็น "นายกรัฐมนตรีตัวปลอม" เสียมากกว่า
 

หมากตัวนี้ชื่อ "นิติราษฎร์" !

ยัง คงยืนยันไม่ได้ "ความเข้าใจ" จะมีเกิดขึ้น หรือ "อุณหภูมิ" ทางการเมืองจะลดระดับลง หลังจากที่คณะนิติราษฎร์ได้ออกมาแถลงการณ์ยืนยันข้อเสนอที่ให้มีการลบล้าง ความผิด การกระทำตั้งแต่หลังวันที่ 19 ก.ย.2549 หลังเหตุการณ์ยึดอำนาจจากรัฐบาลของอดีตนายกฯทักษิณ ชินวัตร ว่าไม่ได้เป็นการ "ล้างมลทิน" ให้แก่พ.ต.ท.ทักษิณ หลังจากที่มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์รุมกระหน่ำ ถล่มคณาจารย์จากกลุ่มนิติราษฎร์เสียจนอ่วมอรทัย !!
     เพราะไม่ว่าการเปิดแถลงข่าวของ คณะนิติราษฎร์ ที่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์วานนี้ (25 ก.ย.) พร้อมด้วยแถลงการณ์ แจงยิบทุกรายละเอียดด้วยกันทั้งสิ้น 7 ประการเพื่อยืนยัน "เจตนารมณ์" ของตนเองว่าไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องหรือทำหน้าที่เป็น "เครื่องมือ" เพื่อ "ฟอกความผิด" ก็ตาม
     แต่ดูเหมือนว่า การเคลื่อนไหวของ คณะนิติราษฎร์ ได้ทำให้เกิด "คำถาม" ติดตามมามากมายหลายประการ และที่สำคัญยังทำให้เกิดปม "ค้างใจ"
     ว่าที่จริงแล้ว "เป้าหมาย" ในการเคลื่อนไหว เสนอความคิดที่เต็มไปด้วยความล่อแหลม ไม่เพียงแต่เรื่องที่ต้องการให้ลบล้างความผิด หลังการกระทำ 19 ก.ย.2549 เท่านั้น

     หากแต่ว่ากันว่าสิ่งที่ทำให้กลายเป็น "ชนวนร้อน" และ "ช่องโหว่" ที่ทำให้คณะนิติราษฎร์ ถูกถล่มมากที่สุดคือการไปแตะ ม.112 ว่าด้วยการให้แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา ที่เกี่ยวข้องกับการหมิ่นสถาบัน
     ที่สุดแล้ว  ทุกปมประเด็นที่ถูกขมวดเอาไว้ในข้อสุดท้ายของคณาจารย์กลุ่มดังกล่าว จะประกาศชัดเจนว่า "ข้อเสนอ" นั้นตั้งอยู่บนพื้นฐานของการไม่ยอมรับรัฐประหาร

     ทว่า "ผลพวง" ที่เกิดขึ้นตามมาหลังการออกมา "เปิดหน้าเล่น" ของคณาจารย์กลุ่มดังกล่าว ยังคงดิ้นไม่หลุดจากข้อครหาว่าเพื่อเอื้อและ "เปิดช่อง" ให้กับพ.ต.ท.ทักษิณ และเครือข่ายอำนาจไปโดยปริยาย
     เพราะไม่ว่า "เจตนารมย์" ที่แท้จริงของคณะนิติราษฎร์ จะมี "วาระ" ซ่อนเร้น อย่างไรหรือไม่ แต่มีความชัดเจนว่าเสียง " ตอบรับ" ที่ดังมาจากฟากฝั่งพรรคเพื่อไทย และคนในรัฐบาลดูจะไม่อาจ "ต้านทาน" ต่อเสียงวิพากษ์วิจารณ์และการโจมตีอย่างหนักจากฝั่งพรรคประชาธิปัตย์ อย่างสิ้นเชิง
     อย่างไรก็ดี แม้ล่าสุดจังหวะการเคลื่อนไหวของคณะนิติราษฎร์ มีอันต้องเป็นฝ่าย "ถอยร่น" จนเสียรูปขบวนก็ตาม
     ทว่าหากโฟกัสให้ดีย่อมจะพบได้ว่า ฝ่ายที่กำลัง "เก็บเกี่ยว" ประโยชน์ หลังการปะทะกันทางความคิดระหว่าง คณะนิติราษฎร์ พรรคประชาธิปัตย์และโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อล่าสุดมี "เสียงคำราม" จากผบ.ทบ. พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา แล้ว

     จะพบว่าท่ามกลางฝุ่นที่ตบลอบอวลนั้น คงมีแต่พรรคเพื่อไทย -คนเสื้อแดงและ พ.ต.ท.ทักษิณ เท่านั้นที่พอจะประเมินได้ว่า จากนี้ต่อไปควรจะเดินเกมอย่างไร ?
     โดยเฉพาะคนที่ต้องการ "กลับบ้าน" และที่สำคัญที่สุด เขายังต้องการกลับมาในฐานะ "ผู้ชนะ" อย่างเบ็ดเสร็จด้วยแล้ว พ.ต.ท.ทักษิณ ย่อม "อ่านเกมออก" ว่า "แรงต้าน" ที่ซุกซ่อนอยู่นั้น มีพลังมากน้อยแค่ไหน ?
     และไม่ว่าการออกมาเคลื่อนไหวของคณะนิติราษฎร์ใน ครั้งนี้ จะเป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์อย่างใดก็ตาม แต่นาทีนี้พวกเขาย่อมยากที่จะปฏิเสธว่าในสายตาของคนนอกและฝ่ายตรงข้าม ไปจนถึงกลุ่มคนที่ประกาศตัว "ไม่เอาระบอบทักษิณ"
     ย่อมมองว่าพวกเขาไม่ต่างไปจาก "เครื่องมือ" หนึ่งในเครือข่ายในมือของอดีตนายกฯทักษิณ ที่ออกมาเคลื่อนเพื่อ "หยั่งเชิง" วัดกระแสเท่านั้น
     ส่วน "ผลลัพท์" ที่เกิดขึ้นหลังการปะทะกันในทางความคิดและ "ข้อวิพากษ์" ต่างๆ ที่ได้ถูกจุดประเด็นขึ้นโดย คณะนิติราษฎร์ จะถูกนำไปขยายผล ทางใดทางหนึ่งในช็อตต่อไป ย่อมเป็นเรื่องที่ต้องมีการออกมารับลูกต่อของฝ่ายเครือข่ายอำนาจเก่ากันต่อไป
     โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องไม่ลืมว่า แม้การถอยร่น ด้วยการออกมาแถลงการณ์ปฏิเสธถึงความเชื่อมโยงระหว่างคณะนิติราษฎร์กับ "ประโยชน์"ที่พ.ต.ท.ทักษิณ จะได้รับหากมีการลบล้างความผิดหลังเหตุการณ์ 19 ก.ย.2549 มีอันต้องจำใจถูก "ชะลอ" จังหวะการเดินหน้าต่อไปก็ตาม
     แต่ทว่า "แผล" ที่กำลังจะนำไปขยายต่อในคราวต่อไปนั้น คือการพุ่งตรงไปยังการเปิดฉากโจมตี "อำนาจตุลาการ" รอบใหม่แทนหรือไม่ 
     เพราะ ผลพวงหลังเหตุการณ์ รัฐประหาร 19 กันยา 2549 นั้นบรรดาระบอบทักษิณ ต่างเชื่ออย่างฝังใจว่าเพราะมีอำนาจและบทบาทของตุลาการ จึงทำให้พวกเขาต้องกลายเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ซ้ำแล้วซ้ำเล่า พรรคการเมืองมีอันต้องถูกยุบ สมาชิกพรรคแถวหน้าที่เป็นเสมือน "หัวแรงหลัก" กลับถูกจองจำเอาไว้ในบ้านเลขที่ 111-109
     บทบาทของคณะนิติราษฎร์ นับจากนี้ต่อไป จะออกมาเคลื่อนไหวเมื่อใด และจะมีขึ้นอีกหรือไม่ก็ตาม ย่อมไม่ใช่ประเด็นที่สำคัญอีกต่อไป เพราะว่ากันว่าปฏิบัติการเขย่าอำนาจตุลาการและ "กลุ่มอำนาจนอกระบบ" ได้ถูก "จุดพลุ"ขึ้นแล้ว
     ที่เหลือเพียงแต่อาศัยการ "สานต่อ" จากฝั่งพรรคเพื่อไทย และคนเสื้อแดงเท่านั้นเอง !!
                                                                                                                                            ทีมข่าวคิดลึก. สยามรัฐ
 

“ปิโตรธิปไตย” ของอเมริกากับเบื้องหลังการล่าขุมทรัพย์พลังงานในอ่าวไทย

 
       สหรัฐ อเมริกาเป็นประเทศที่มียุทธศาสตร์ทางพลังงานอย่างชัดเจนในการที่จะไปบุกและ สัมปทานพลังงานใต้ผิวดินและท้องทะเลในชาติอื่นเพื่อเร่งสูบทรัพยากรธรรมชาติ ของชาติอื่นให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ จึงได้ทุ่มสรรพกำลังแทบทุกด้านทั้งในด้านทางการทหาร และการแทรกแซงการเมืองในชาติอื่นมาโดยตลอด
       เราจึงไม่แปลกใจเลยสำหรับสงครามบุกอัฟกานิสถาน ทั้งๆที่เบื้องลึกก่อนหน้านี้ในปี 2540ผู้นำกลุ่มตาลีบันได้ เคยบินมายังเมืองฮูสตัน มลรัฐเทคซัส สหรัฐอเมริกา โดยนายจอร์จ ดับเบิลยู บุช (ผู้ว่าการมลรัฐเทคซัสในขณะนั้น) ให้การต้อนรับเพื่อให้เข้าพบเจรจากับ บริษัท ยูโนแคล เพื่อก่อสร้างท่อส่งก๊าซจากเตอร์กเมนิสถาน ผ่านอัฟกานิสถาน ไปสู่ปากีสถาน และมหาสมุทรอินเดีย  
       นอก จากนั้น ยังได้มีการลงนามอีกข้อตกลงหนึ่งซึ่งเป็นการขุดเจาะแหล่งก๊าซธรรมชาติในทะเล แคสเปียน ก็คือ นายดิก เชนีย์ แห่งบริษัทฮารีเบอร์ตัน ในขณะนั้น (ซึ่งก็คือรองประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกาในเวลาต่อมา)
       สงคราม ที่สหรัฐอเมริกาบุกโจมตีอัฟกานิสถานเมื่อปี 2554 ซึ่งมีประธานาธิบดีและรองประธานาธิบดีที่เคยทำงานอยู่ในบริษัทพลังงานใน สหรัฐอเมริกา จึงจบด้วยการโค่นล้มรัฐบาลตาลีบัน พร้อมการวางกำลังและฐานทัพในประเทศใกล้เคียงเพื่อคุ้มครองท่อส่งพลังงานจาก ทะเลแคสเปียน
       เดา เรื่องนี้ได้เหมือนนวนิยายสุดท้ายอัฟกานิสถานก็ได้ประธานาธิบดีคนแรก คือ นายฮามิด คาร์ไซย์ ซึ่งเคยเป็นลูกจ้างบริษัท ยูโนแคลในฐานะที่ปรึกษาของบริษัทน้ำมันของสหรัฐอเมริกา !!
       ไม่ต้องพูดถึงข้อสงสัยของ นายจอร์จ ดับเบิลยู บุช และ จอร์จ บุชผู้พ่อซึ่งมีสายสัมพันธ์กับตระกูล บินลาดินอย่าง ลึกซึ้ง โดยนายจอร์จ ดับเบิลยู บุช ยังเคยเป็นกรรมการในบริษัทของครอบครัวบินลาดินที่สหรัฐอเมริกา จนแม้กระทั่งวันก่อวินาศกรรม วันที่ 11 กันยายน 2554 สหรัฐอเมริกายังจัดเครื่องบินบริการพิเศษขนส่งให้กับครอบครัวบินลาดิน 24 คน ออกนอกสหรัฐอเมริกา ทั้งๆที่สนามบินสหรัฐอเมริกาปิดตัวลงและห้ามใช้การทั้งหมด
       ที่ อินโดนีเซีย ก็เช่นกัน เมื่อปีพ.ศ. 2518 สหรัฐอเมริกาโดยประธานาธิบดี เจอรัลด์ ฟอร์ด สนับสนุนประธานาธิบดีอินโดนีเซีย ซูฮาร์โต เข้ายึดติมอร์ตะวันออก ด้วยความโหดเหี้ยม ตาต่อตาฟันต่อฟัน จนมีชาวติมอร์ล้มตายไปประมาณ 230,000 คน
       หลัง จากนั้น สหรัฐอเมริกาก็เข้าไปตักตวงผลประโยชน์ทางธุรกิจพลังงานทั้งในอินโดนีเซีย และต่อมาในเขตติมอร์ตะวันออกโดยร่วมมือกับประธานาธิบดี ซูฮาร์โตอย่างแนบแน่น
       อเมริกา ก็ตักตวงประโยชน์มาเรื่อยในทะเลอินโดนีเซีย จนกระทั่งเกิดเหตุที่ ออสเตรเลีย ทวงหาความเป็นธรรมในเรื่องกฎหมายระหว่างประเทศ เพื่อหวังจะแบ่งผลประโยชน์น้ำมันดิบในทะเลบริเวณติมอร์ เมื่อปี 2532
       จาก นั้นสหรัฐอเมริกาเจ้าเดิมก็หนุนหลังให้แยกติมอร์ตะวันออกเป็นอิสระ และให้องค์การสหประชาชาติเข้ามาดูแลติมอร์ หลังจากนั้นกลุ่มทุนพลังงานของสหรัฐอเมริกาและออสเตรเลียก็หักหลัง อินโดนีเซียเข้าทำประโยชน์น่านน้ำติมอร์อย่างเต็มที่แทน และในท้ายที่สุดสหรัฐอเมริกาและออสเตรเลียก็จับมือกันทำมาหากินด้านพลังงาน ในทะเลของติมอร์ตะวันออกจนถึงทุกวันนี้
       สาย สัมพันธ์เรื่องผลประโยชน์ทางพลังงานกับอำนาจทางการเมืองระหว่างประเทศของ สหรัฐอเมริกาถือว่าแนบแน่นเป็นเนื้อเดียวกัน สำหรับอเมริกาจึงไม่มีมิตรแท้ และไม่มีศัตรูถาวรนอกจาก ผลประโยชน์อย่างเดียวเท่านั้น
       ประเทศไทยก็เช่นเดียวกัน พ.ศ. 2505 ยูโนแคล สัญชาติอเมริกัน ที่เดิมชื่อว่าบริษัท Union Oil Company of California ได้ รับสิทธิ์สำรวจ-ขุดเจาะในภาคอีสาน ถือเป็นเอกชนรายแรก แม้ต่อมา ยูโนแคลประสบปัญหาทางการเงิน ทางบริษัทของจีนพยายามเข้ามาลงทุนซื้อกิจการของยูโนแคล แต่ในที่สุดสหรัฐอเมริกา ก็ไม่ยินยอมจึงให้ เชฟรอน บริษัสัญชาติเดียวกันเข้าซื้อกิจการแทน
       เชฟ รอน เป็นบริษัทที่เข้ามารับช่วงต่อจากบริษัทยูโนแคล จากการศึกษาจากข้อมูลของทางราชการ พบว่า ในปี 2550 บริษัทเชฟรอนถือส่วนแบ่งการผลิตน้ำมันดิบ 66% และก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยถึง 68% ของที่มีการผลิตทั้งหมดในประเทศไทยตามลำดับ ทั้งๆที่ประเทศไทยได้ค่าภาคหลวง 12.5% ซึ่งถือว่าต่ำที่สุดในภูมิภาคนี้
     และ กรณีล่าสุดเส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาที่ขีดขึ้นมาเมื่อปี พ.ศ. 2515 โดยไม่มีกฎหมายระหว่างประเทศรองรับประชิดเกาะกูด เป็นการรุกล้ำทะเลอาณาเขตรอบเกาะกูด 12 ไมล์ทะเลนั้น พล.ร.อ.ถนอม เจริญลาภ อดีตเจ้ากรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือ ได้เปิดเผยข้อมูลอันเป็นประโยชน์ว่า นาย พลลอนนอน ได้แจ้งว่าเส้นเขตไหล่ทวีปที่กัมพูชาประกาศเป็นไปตามการเสนอของเจ้าหน้าที่ ที่เกี่ยวข้องและบริษัทเอกชนที่เสนอขอรับสัมปทานแสวงประโยชน์จากปิโตรเลียม ในเขตไหล่ทวีปกัมพูชา ลอนนอนไม่มีความมุ่งประสงค์ใดๆ เกี่ยวกับเกาะกูดของไทยทั้งสิ้น และพร้อมจะมีการปรับปรุงดังกล่าว
       ไม่น่าเชื่อว่าประเทศไทยยังจะไปยอมรับ ใน MOU 2544 เส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาที่ลากขึ้นมาในปี พ.ศ. 2515 ในการพิจารณาการจัดสรรผลประโยชน์ทางพลังงานในอ่าวไทยว่าเป็นเส้นที่กำหนด พื้นที่ทับซ้อนทางทะเลร่วมไปกับเส้นเขตไหล่ทวีปของไทย พ.ศ. 2516 ซึ่งลากขึ้นโดยอาศัยหลักวิชาการและกฎหมายระหว่างประเทศในการแบ่งครึ่งมุมและ เส้นมัธยะใช้แบ่งระยะทางเท่ากันระหว่างไทย-กัมพูชา
       ด้วย เหตุนี้ประเทศไทยจึงจะมีดูเรื่องแปลกๆอยู่เสมอที่หาสาเหตุไม่ได้ เช่น มีการขบวนการหน่วยสืบราชการลับ ซีไอเอ ของสหรัฐอเมริกาฝังตัวอยู่ภาคใต้ในหลายรูปแบบซึ่งมาพร้อมกับการสร้าง สถานการณ์ความไม่สงบอย่างต่อเนื่องที่ภาคใต้ เพื่ออ้างเรื่องการแยกดินแดนโดยมีแหล่งพลังงานในทะเลอ่าวไทยและทะเล ไทย-มาเลเซีย เป็นเดิมพัน หรือแม้กระทั่งมีขบวนการร่วมก่อความไม่สงบจากต่างชาติมาผสมโรงเลือกข้างทาง การเมืองที่จะเอื้อผลประโยชน์ทางพลังงานให้กับชาติเหล่านั้น
        ในขณะที่ประเทศไทยแม้ผ่านมาหลายรัฐบาลก็ไม่มีรัฐบาลไหนที่คิดจะยกเลิก พื้นที่อ้างสิทธิ์ทับซ้อนเกินความเป็นจริงใน MOU 2544 ให้เป็นรูปธรรมได้เลย!?
        กัมพูชา เสียอีกกลับเรียกพวกจากนานาชาติมากกว่าเพราะด้านหนึ่งเจรจาผลประโยชน์ส่วน ตัวกับนายฮุน เซน คนเดียวจบและง่าย อีกทั้งกัมพูชาขุดน้ำมันและพลังงานในอ่าวไทยช้ากว่าประเทศไทย และไม่ยอมให้มีชาติใดชาติหนึ่งผูกขาดเป็นส่วนใหญ่ จึงเรียกความสนใจจากนานาชาติต่างๆเข้ามาสัมปทานเพื่อสร้างพวกและอำนาจต่อรอง ในเวทีการเมืองระหว่างประเทศได้มากกว่าประเทศไทย ในขณะที่ประเทศไทยที่ผ่านมา คิดสั้นเพราะ มัวแต่เห็นประโยชน์เฉพาะหน้าเร่งสัมปทานและเร่งขุดโดยผลประโยชน์ส่วนใหญ่กับ ตกอยู่กับบริษัทสัญชาติอเมริกา (ซึ่งคิดแต่ผลประโยชน์เป็นตัวตั้ง) เมื่อพื้นที่ส่วนใหญ่ได้ถูกสัมปทานไปเป็นจำนวนมากแล้ว จึงขาดความน่าสนใจและขาดความสมดุลในการสร้างอำนาจต่อรองในเวทีการเมือง ระหว่างประเทศ
      ประเทศ ไทยเป็นประเทศที่มีแร่ธาตุและพลังงานอันมหาศาล เราเคยสูญเสียดีบุก และแทนทาลั่มในราคาเศษดิน และถูกสูบพลังงานใต้ผิวดินออกไปให้ต่างชาติในราคาถูกๆ โดยที่ประชาชนคนไทยในประเทศไม่ได้อะไรเลย นอกจากจะเสียค่าใช้จ่ายทางพลังงานในการดำรงชีวิตในราคาแพงให้กับบริษัท พลังงานได้รับประโยชน์สูงสุด และนักการเมืองก็สามารถทุจริตคอร์รัปชั่นอย่างมหาศาล
     ประเทศไทยจึงยังไม่รวยมั่งคั่งกันจริงๆ สักที !!!?
………………………………………………………………………………………………………….
ขอขอบคุณปานเทพ พัวพงษ์พันธ์

ทักษิณ- ฮุนเซน – สุลต่านบรูไน 3 พี่น้อง รหัสลับ “ทักษิณ”



สนานจิตต์ บางสพาน
ไม่ใช่ “ความลับ” สำหรับ ขุมทรัพย์ใต้ทะเลอ่าวไทย ทั้งก๊าซและน้ำมัน ในน่านน้ำที่ติดกันระหว่างเขมรกับไทย… ซึ่งว่ากันว่า ในพื้นที่ฝั่งไทยที่เชื่อมติดกับเขมรในทะเล ปริมาณของก๊าซและน้ำมันมี ปริมาณมากกว่าพื้นที่ในทะเลด้านฝั่งของเขมร..
แต่ไม่ว่าจะมากจะน้อยในพื้นที่ใคร เนื่องจากมันเป็นพื้นที่ต่อเนื่องและอยู่ใต้ทะเล “ผลประโยชน์”ทั้งหมดจึงต้องเป็น “สลากกินแบ่ง” ไม่มีประเทศใดประเทศหนึ่งสามารถ “กินรวบ”อยู่ประเทศเดียวได้
การบินไปเขมรของทักษิณและการพยายามออกข่าวของเขมร ว่าด้วยการเจรจา “ลับ”นอกรอบระหว่าง สุเทพ เทือกสุบรรณกับเขมรในกรณีนี้ ชัดเจนว่าเป็นการ “กำหนด”กันไว้ล่วงหน้าแน่นอน ทั้งฝ่ายเขมรและทักษิณ…
แน่ นอน เรื่องนี้เป็นผลประโยชน์ที่เกี่ยวข้องกับ ตัวละครสำคัญฝ่ายอเมริกันอย่าง บริษัทด้านพลังงานน้ำมันและก๊าซ โดยเฉพาะการขุดเจาะอย่าง “เชฟรอน” ซึ่งมีการเอ่ยพาดพิงถึงขึ้นมาด้วย..
เรื่องจึงไม่ใช่แค่ผลประโยชน์ “ส่วนตัว”ของ ทักษิณ กับ ฮุนเซน..
สำหรับ เชฟรอน …ก่อนหน้านี้ เชฟรอนเคยถูกศาลของประเทศแห่งหนึ่งในอเมริกาใต้ ตัดสินให้จ่ายค่าชดใช้เป็นเงินจำนวนเป็นพันล้าน ด้วยข้อหา “การ ขุดเจาะน้ำมัน”ของเชรอนและการเข้าไปดำเนินธุรกิจด้าน “พลังงาน”ทำให้ “สภาพแวดล้อม”ของประเทศดังกล่าว เสื่อมโทรมและเสีย… ถ้า สนจ.จำไม่ผิด น่าจะเป็น เอควาดอร์
และ เชฟรอน ประกาศย้ำในโฆษณาที่ออกอากาศทาง วิทยุกรมประชาภาคภาษาอังกฤษอยู่ตลอดว่า เชฟรอน เข้ามาดำเนินธุรกิจในประเทศไทยมานานกว่าครึ่งศตวรรษ ที่สำคัญ เชฟรอนพยามยามเข้าไปมีบทบาท ในการด้านการให้เงินทุนสนับสนุน โครงการในพระราชดำริ….
เมื่อ ทักษิณ เอ่ยถึง “สามพี่น้อง” ระหว่าง ทักษิณ ฮุนเซน สุลต่านบูรไน ในระหว่างที่เข้าไปบรรยายให้นักธุรกิจในเขมรฟัง คำถามที่ตามมาก็คือ ทักษิณ พยายามจะบอก “อะไร “ กับ “ใคร”
อย่าลืมว่า บรูไนฯ เป็นประเทศที่มี ระบอบ “พระมหากษัตริย์” ปกครองเหมือนประเทศไทย การเอาชื่อ กษัตริย์บรูไนมา “อ้าง” ย่อมต้องได้รับการ ยินยอม อนุญาต จากประมุขแห่งบูรไน…
คำ ถามถัดมาก็คือ กษัตริย์บูรไน ฯ ทรงเข้ามา เกี่ยวข้องและมีความสัมพันธ์กับ ทักษิณและฮุนเซน ในลักษณะไหนและอย่างไร จนทักษิณ กล้าที่จะให้สัมภาษณ์สื่อว่า คนทั้งสองกับตน “เป็นพี่น้องกัน”..
มองในมุมของ อดีตนักโทษ อดีตผู้นำทางการเมืองพลัดถิ่น ที่มีปัญหาว่าด้วย ความจงรักภักดีต่อสถาบัน ทำไมเขาถึงกล้าที่จะกล่าวอ้างว่า เขาเป็น “พี่น้อง”กับกษัตริย์ แม้จะเป็น กษัตริย์ของประเทศเพื่อนบ้านก็ตาม
สัญญาณนี้บอกอะไรกับ คนไทย ประเทศไทย รัฐบาลไทยภายใต้การบ่งการของเขา หรือ บอกอะไรกับ อำมาตย์ และฝั่งที่ “ไม่เอาทักษิณ”
นี่ย่อมไม่ใช่เรื่องธรรมดาที่จะมองข้ามไปได้ง่าย ๆ…
และน่าจะมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองไทย ไม่ว่าจะออกหน้าไหน ตั้งแต่ รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ไปไม่รอด ปรับครม.หลังเดือน พฤกษา เมื่อกลุ่ม นักการเมือง 111 คนที่โดนโทษแบน เป็นอิสระ
หรือ ไม่หากจะมี “อุบัติเหตุทางการเมือง”เกิดขึ้น อันจะนำไปสู่ภาวะ โกลาหลอลหม่านและการฆ่ากันเองระหว่าง ฝ่ายเอาทักษิณ และไม่เอาทักษิณ.
ที่ แน่ ๆไม่มีแถลงการณ์ใด ๆออกจาก สำนักพระราชวังของกษัตริย์บรูไน หรือมีการให้สัมภาษณ์ของกษัตริย์บูรไนด้วยพระองค์เองต่อคำเอ่ยอ้างของ ทักษิณ..
นี่ คืออีกอาการของ ความใจเร็วด่วนใด และ “ล้ำหน้า”รัฐบาลของน้องสาว และยิ่งจะทำให้ อายุของรัฐบาล เพื่อไทยภายใต้การนำของยิ่งลักษณ์ อายุสั้นเร็วขึ้น
ทั้งหมดนี้ ..ต้องรอดูกันว่า จะพากันรอดไปถึงเดือนพฤษภาคมหรือไม่.
รีโมท ซื้อ รีโมท จากผู้ค้าส่งโดยตรง ที่มีหน้าร้านจริง ที่ บ้านหม้อ และ คลองถม ราคาถูกกว่าใคร ปลอดภัย มีรับประกัน

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

บทความย้อนหลัง