บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันอาทิตย์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2554

"สัมผัสความดีของพระองค์ท่านเจ้าฟ้าหญิงจุฬาภรณ์ กับรายการ วู๊ดดี้เกิดมาคุย


MusicPlaylistView Profile
Create a playlist at MixPod.com



ขยายดูภาพ คลิ๊ก VIDEO มุมบนซ้ายครับ

เอกสารลับ ยุทธการกระชับวงล้อม 14-19 พ.ค.53 "มาร์ค"สั่งกระชับวงล้อมเพื่อ"ยุติ"ไม่ใช่"เจรจา"

มติชนออนไลน์

บทความชิ้นนี้ตีพิมพ์ใน วารสารเสนาธิปัตย์ กรมยุทธศึกษาทหารบก ปีที่ 59 ฉบับที่ 3 กันยายน-ธันวาคม 2553  เป็นบทความที่เขียนขึ้นเพื่อประกอบการจัดทำ”เอกสารแนวทางในการปฏิบัติทาง ทหาร: กรณีศึกษาการแก้ไขปัญหาความไม่สงบในเมือง” จากความริเริ่มของพล.ท.สิงห์ศึก  สิงห์ไพร เพื่อกำหนดบทบาทของกองทัพบกในการแก้ปัญหาการก่อความไม่สงบในเมืองรูปแบบใหม่

ผู้เขียนใช้นามแฝงว่า”หัวหน้าควง”เป็นจปร.32 (เหล่าทหารราบ) เป็นนายทหารปฏิบัติการประจำกรมยุทธศึกษาทหารบก

เนื้อหาในบทความนี้เป็นมุมมองของนายทหารที่ปฏิบัติการณ์สลายการชุมนุมของ”คนเสื้อแดง”ในเดือนเมษายน-พฤษภาคม 2553  ที่สรุปบทเรียนจาก”ความสำเร็จ”ในการกระชับวงล้อมพื้นที่ราชประสงค์

มีเนื้อหาหลายช่วงตอนที่น่าสนใจ เช่น

1.ใน ขณะที่”สุเทพ เทือกสุบรรณ”รองนายกรัฐมนตรี ปราศรัยบนเวทีราชประสงค์ยืนยันว่านายอภิสิทธิ์  เวชชาชีวะ ไม่ได้ร่วมสั่งการในการสลายการชุมนุม โดยนายสุเทพประกาศว่าเขาเป็นคนสั่งการเอง

“ผมเรียนกับพี่น้องครับ นายกฯ อภิสิทธิ์ ไม่ได้ร่วมสั่งการใด ๆทั้งสิ้น ผมเป็นผู้อำนวยการ ศอฉ. ผมเป็นคนสั่งการทุกอย่าง แล้วผมรับผิดชอบ เขากล่าวหาว่า ทำให้คนตาย ผมไปมอบตัวแล้ว ผมเรียนกับพี่น้องครับ ผมพร้อมที่จะสู้คดีพิสูจน์ความถูก ความต้อง ผมไม่หนีไปต่างประเทศเหมือนทักษิณ”

แต่ในบทความชิ้นนี้ ระบุชัดว่า”นายกรัฐมนตรีได้สั่งการในที่ประชุม ศอฉ. ในวันที่ 12 พฤษภาคม ให้ฝ่ายทหารเริ่มต้นปฏิบัติการตามแผนยุทธการที่วางไว้”



นอกจากนั้นยังระบุด้วยว่านโยบายรัฐบาลชัดเจนมาตลอดที่จะใช้มาตรการทางทหารกดดันม็อบกลุ่มนปช. ความชัดเจนก็คือนโยบายกระชับวงล้อมเพื่อ"ยุติการชุมนุม"ไม่ใช้การกระชับวงล้อมเพื่อ"เปิดการเจรจา"


และนั่นอาจเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ข้อเสนอเป็นตัวกลางในการเจรจาของ"วุฒิสมาชิก"ในคืนวันที่18 พฤษภาคมถูกปฏิเสธ


ยุทธการกระชับวงล้อมแบ่งเป็น 3 ช่วง คือ 1. ช่วง 14 พฤษภาคม 2.ช่วง 15-18 พฤษภาคม และ  3 ช่วงวันที่ 19 พฤษภาคม ตั้งแต่เวลา 03.00 จนกระทั่งแกนนำประกาศยุติการชุมนุม 13.20 น.

2.”หัวหน้าควง”สรุปว่า เหตุผลหนึ่งที่ประสบชัยชนะในการกระชับวงล้อมมาจากการถอนตัวของนายวีระมุสิก พงศ์ ประธานกลุ่มนปช. และการเสียชีวิตของพล.ต.ขัตติยะ สวัสดิผล หรือ เสธ.แดง  เพราะทำให้นปช.ไม่มีหัวในระดับยุทธศาสตร์ทางการเมืองและไม่มีหัวเสธ.ระดับ ยุทธศาสตร์ทางทหารในการวางแผนตั้งรับ

ก่อนหน้านี้นายสุเทพ ปราศรัยว่าเขาสงสัยว่าพวกของนายจตุพร พรหมพันธุ์ เป็นฝ่ายยิงเสธ.แดง


3.เอกสารชุดนี้บอกชัดเจนถึงแผนยุทธการทั้งหมด และหน่วยทหารที่ใช้ในครั้งนี้  มีการยอมรับในเอกสารถึงการใช้”หน่วยสไนเปอร์” เป็นหน่วยแรกในการเข้าสลาย  โดยยึดพื้นที่สูงคืออาคารเคี่ยนหงวน และอาคารบางกอกเคเบิ้ล

และมี หลายช่วงตอนที่พุดถึง”หน่วยสไนเปอร์” ที่ระดมพลแม่นปืนเท่าที่มีอยู่ในกองทัพบกเข้าประจำพื้นที่ เพื่อต่อต้านการซุ่มยิงของกลุ่มนปช.ทั้งบนอาคารสูงและพื้นที่สูงข่ม

4.มี การพูดถึงการสั่งการให้ใช้”กระสุนจริง”และระบุว่า”แผนยุทธการครั้งนี้เป็น การวางแผนการปฏิบัติรบเต็มรูปแบบ เหมือนการทำสงครามรบในเมือง  ใช้กำลังขนาดใหญ่ถึง 3 กองพล”และ”ยิ่งมีการสั่งการให้ใช้กระสุนจริงกับกลุ่มผู้ก่อการร้ายผู้ถือ อาวุธและเพื่อป้องกันตัวเองได้ ทำให้ทหารที่สูญเสียความเชื่อมั่นจากเหตุการณ์ 10 เมษายน มีจิตใจรุกรบมากขึ้น”

และ”ปรับการยิงกระสุนยางจากปืนลูกซองเป็นการใช้กระสุนจริงจากอาวุธประจำกาย”

5.จาก หน่วยข่าวศอฉ.เชื่อว่ามีผู้ก่อการร้ายที่แอบแฝงในกลุ่มนปช.เป็นกองกำลังติด อาวุธประมาณ 500 คน มีอาวุธซุ่มยิง อาวุธสงคราม เช่น M 79  M16  AK 47 และ Travo-21

6.ในส่วนของ”ข้อเสนอแนะทางยุทธวิธี” มีข้อหนึ่งที่ระบุว่า “ผู้บังคับบัญชาหน่วยระดับยุทธวิธีควรปฏิบัติภายใต้การรักษาชีวิตของประชาชน ผู้บริสุทธ์เป็นที่สำคัญที่สุด และต้องควบคุมการลั่นไกกระสุนจริงโดยมีสติ และมีเจตนารมณ์  อย่าให้กำลังพลปฏิบัติด้วยความโมโห หรือการแก้แค้นเป็นอันขาด”

และ”ควรมีการศึกษาค้นหาตัวแบบที่เหมาะ สมในการกำหนดพื้นที่ที่ใช้กระสุนจริง เพราะปัจจุบันยังไม่ทราบว่ามีประเทศใด ในระดับนานาชาติที่ได้นำมาปฏิบัติในการสลายการชุมนุมที่ได้รับการยอมรับ”



และนี่คือรายละเอียดของบทความชิ้นนี้โดย"มติชนออนไลนื"แบ่งเนื้อหาดังกล่าวเป็น2 ตอน

.......................................................................
บทเรียนยุทธการกระชับวงล้อม  พื้นที่ราชประสงค์ 14-19 พฤษภาคม พ.ศ. 2553  ( ตอน 1 )


ความสำเร็จทางยุทธศาสตร์การกระชับวงล้อมพื้นที่ราชประสงค์ครั้งนี้ สืบเนื่องมาจาก ความสำเร็จทางยุทธศาสตร์ทางการเมือง ตั้งแต่ระดับนโยบาย คือคณะรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง กระทรวง ทบวง กรม หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึงความมีเอกภาพของรัฐบาลกับ

กองทัพ



กล่าวนำ

สืบ เนื่องจากสถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อ ต้านเผด็จการแห่งชาติแดงทั้งแผ่นดิน (นปช.) กับรัฐบาล โดยกลุ่ม นปช.ได้มีการชุมนุมเกินขอบเขตของกฎหมายอย่างต่อเนื่อง มาตั้งแต่ 12 มีนาคม จนถึง 18 พฤษภาคม 2553 และกลุ่ม นปช.ได้เคลื่อนย้ายมวลชนมาปักหลักตั้งเวทีปราศรัยถาวรที่บริเวณพื้นที่สี่ แยกราชประสงค์สร้างความเดือดร้อนต่อประชาชนในกรุงเทพฯส่งผลกระทบต่อ เสถียรภาพทางการเมืองของรัฐบาล และได้สร้างผลเสียหายต่อเศรษฐกิจของประเทศอย่างร้ายแรงอย่างที่ไม่เคยปรากฏ มาก่อน


รัฐบาลนายอภิสิทธิ์เวชชาชีวะ ได้จัดตั้งศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือ ศอฉ.เพื่อการแก้ไขปัญหาการชุมนุมของกลุ่ม นปช.   ตามพระราชบัญญัติการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 โดยมีกองทัพบกเป็นกลไกหลักในการแก้ไขปัญหา และกองทัพบกได้นำ  กำลังพลเข้าแก้ไขปัญหาในเหตุการณ์สำคัญ ๆ 3 เหตุการณ์ คือ เหตุการณ์ 10 เมษายน พื้นที่สี่แยกคอกวัว เหตุการณ์การรักษาพื้นที่สีลม เหตุการณ์

สลายการเคลื่อนไหวกลุ่ม นปช. พื้นที่อนุสรณ์สถาน ดอนเมือง

บท ความฉบับนี้เขียนขึ้นเพื่อประกอบการจัดทำ "เอกสารแนวทางในการปฏิบัติทางทหาร : กรณีศึกษาการแก้ไขปัญหาความไม่สงบในเมือง" ตามดำริของเจ้ากรมยุทธศึกษาทหารบก พล.ท.สิงห์ศึก สิงห์ไพร เพื่อกำหนดบทบาทของกองทัพบกในการแก้ปัญหาการก่อความไม่สงบใน

เมืองรูปแบบใหม่

เมื่อรัฐบาลมีนโยบายที่ชัดเจนในการกระชับวงล้อมพื้นที่ชุมนุมราชประสงค์ศอฉ. ผ่านการสั่งการมายังกองทัพบกก็ได้จัดกำลังเปิด



ยุทธการกระชับวงล้อม โดยแบ่งการปฏิบัติออกเป็น 3 ห้วงเวลา กล่าวคือ ห้วงแรก เป็นการกระชับวงล้อมขั้นต้น ในวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2553   ห้วงที่ 2 เป็นการถอยร่นเพื่อสถาปนาแนวตั้งรับเร่งด่วนในวันที่ 15-18 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 และห้วงสุดท้ายการกระทบวงล้อมขั้นสุดท้ายในวันที่ 19  พฤษภาคม ตั้งแต่เวลา 03.00 น. จนกระทั่งแกนนำประกาศยุติการชุมนุมบนเวทีราชประสงค์ เมื่อเวลา 13.20 น.

 บทความนี้จะได้นำเสนอบทเรียนแบบความสำเร็จของยุทธการกระชับวงล้อมพื้นที่ราชประสงค์ในระดับยุทธ์ศาสตร์ยุทธการ และยุทธวิธี

พร้อมด้วยข้อเสนอแนะต่อรัฐบาล ศอฉ. กองทัพบก และหน่วยปฏิบัติระดับยุทธวิธีเพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติต่อไป

ความสำเร็จทางยุทธศาสตร์ : การกระชับวงล้อมพื้นที่ราชประสงค์

การ แถลงผ่านโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจ เมื่อเวลา 22.00 น. วันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 ของ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี   ภายหลังทหารประสบความสำเร็จในการปฏิบัติการ "ยุทธการกระชับวงล้อม" ในเวลา 10 ชั่วโมงก่อนหน้านั้น

นายกรัฐมนตรีได้กล่าวถึงความพอใจผลงานยุติม็อบว่า "...เป้าหมายของ ศอฉ.เพื่อกระทบวงล้อม เพื่อให้เกิดการยุติการชุมนุมโดยเร็วที่สุด



เรายึดหลักสากล ทำให้เกิดความพอใจ..." คำพูดไม่กี่คำของนายกรัฐมนตรีภายใต้สถานการณ์วิกฤตครั้งนี้ ทำให้ทหารและกองทัพที่เป็นหมัดสุดท้าย  ซึ่งเป็นกลไกบังคับใช้กฎหมายของรัฐบาลที่มีอยู่รู้สึกมั่นใจและเชื่อมั่นถึง ยุทธศาสตร์ทางการเมืองของยุทธการครั้งนี้

ความสำเร็จในยุทธศาสตร์ทางทหารยุทธการกระชับวงล้อม เมื่อ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 เป็นผลจากความชัดเจนทางการเมืองสำคัญ   ได้แก่

1.นโยบาย รัฐบาลชัดเจนมาตลอดที่จะใช้มาตรการทางทหารกดดันม็อบกลุ่ม นปช. ความชัดเจนก็คือนโยบายกระชับวงล้อม เพื่อการยุติ  การชุมนุมไม่ใช้การกระชับวงล้อมเพื่อเปิดการเจรจา ดังนั้นถ้าการเดินทางยุทธศาสตร์ทหารนั้น ถ้าเป้าหมายทางการเมือง (Political will) ชัดเจน การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ทางการทหารก็ไม่ยากและเมื่อนายกรัฐมนตรีได้สั่งการ ในที่ประชุม ศอฉ.ในวันที่ 12 พฤษภาคม ให้ฝ่ายทหารเริ่มต้นปฏิบัติการตามแผนยุทธการที่ได้วางไว้

2.สำหรับ สัญญาณทางการเมืองที่ส่งไปยังสังคมได้ส่งผลของจิตวิทยาระดับยุทธศาสตร์คือ การใช้ภาษาคำว่า "การกระชับวงล้อม" ไม่ใช่ "การสลายม็อบ" คือ "การปราบม็อบ" หรือ "การปิดล้อม" จากภาษาที่สื่อดังกล่าวสังคมรับได้ และรู้สึกผ่อนคลาย ทั้งคาดหวังว่าเหตุการณ์จะสงบโดยเร็ว และอาจมีการสูญเสียชีวิตประชาชนบ้าง แต่ไม่มากมายเหมือนเช่นในอดีต

3.มาตรการตัดน้ำ ตัดไฟ ตัดโทรศัพท์ ตัดระบบการส่งกำลังบำรุง และการตัดการเติมคนเสื้อแดงเข้าไปในราชประสงค์เป็นมาตรการระดับยุทธศาสตร์ ที่รัฐบาลภายใต้การอำนวยการของ ศอฉ.ได้สร้างแรงกดดันให้ม็อบราชประสงค์ ถูกบีบกระชับวงล้อมทั้งทางกายภาพและทางจิตใจ อย่างไรก็ตามมาตรการนี้ได้ส่งผลข้างเคียงต่อชุมนุมผู้อาศัยโดยรอบพื้นที่การ ชุมนุม ถ้าปล่อยไว้นาน อาจส่งผลทำให้เกิดกระแสตีกลับ มาขับไล่รัฐบาลได้

4.ความ มีเอกภาพของรัฐบาลกับกองทัพ แม้ว่าจะมีกระแสข่าวความไม่ลงรอยกันบ้างในการแก้ปัญหาเนื่องจากการใช้กำลัง ทหารขอคืนพื้นที่ เพราะบทเรียนวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2553 บริเวณสี่แยกคอกวัวจะตามมาหลอกหลอนผู้นำกองทัพอยู่เสมอ ๆ แต่เมื่อได้ประเมินทางยุทธศาสตร์เพื่อมีความคุ้มค่าและมองเห็นความสำเร็จรับ บาลกับกองทัพก็หันมาร่วมมือกันเปิดยุทธการครั้งนี้อย่างมั่นใจรวมไปถึงความ ร่วมมือของทุกกองกำลัง

ของทุกเหล่าทัพ ก็เป็นการแสดงถึงความมีเอกภาพ

5.ปัจจัยเวลาใน กรอบการปฏิบัติงานก็เป็นเรื่องสำคัญเนื่องจากความล้มเหลวในการรุกเข้าขอคืน พื้นที่ใน14 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 ทำให้หน่วยทหารทั้งในส่วนพื้นที่ถนนพระราม 4 บ่อนไก่ และถนนราชปรารภ (สามแยกดินแดง) ต้องตรึงกำลังให้อยู่กับที่ หรือแทบจะเรียกได้ว่าถอยร่นออกมาจากระยะยิงของสไนเปอร์จากการ์ด นปช. แต่เมื่อรัฐบาลเข้าใจว่าต้องให้เสรีในการปฏิบัติเรื่องเวลา รัฐบาลจึงมีมติผ่าน ครม. ประกาศให้พื้นที่ กรุงเทพมหานคร หยุดราชการเป็น 2 ช่วง คือ ช่วง 17-18 พฤษภาคม และ 19-21 พฤาภาคม ทำให้ทหารไม่มีแรงกดดันเรื่องเวลาเหมือนเช่นเหตุการณ์  10 เมษายนที่ผ่านมา

6.ประสิทธิภาพ ของการทำงานปฏิบัติการข่าวสาร (Information Operations) ได้ผลทางยุทธศาสตร์ ทั้งในส่วนของกรมประชาสัมพันธ์ ผ่านโทรทัศน์ NBT และการแถลงข่าวของ ศอฉ.โดยโฆษกของ ศอฉ. สามารถตอบโต้กลุ่ม นปช.และตอบข้อสงสัยของสังคม ผู้ชุมนุม ผู้ได้รับการ เดือดร้อนรอบพื้นที่ชุมนุม ประชาชนในส่วนที่เหลือของประเทศ ยกเว้นพื้นที่ภาคอีสานและภาคเหนือที่มีมวลชนเป็นสีแดงเข้มก็ไม่ได้ผล รวมทั้งการสื่อสารกับนานาชาติในระดับโลก ก็ถือว่าได้ผลระดับหนึ่ง ผ่านทางรองเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ในฐานะโฆษกรัฐบาล และกระทรวงการต่าง

ประเทศ

7.การปรากฏตัวทางยุทธศาสตร์ ศอฉ. ได้ใช้ประโยชน์จากการที่สามารถควบคุมสื่อสารโทรทัศน์ในเวลาแถลงข่าวของผู้นำ ทหารในการ แก้ปัญหา ไม่ว่าจะเป็นรองเสนาธิการทหารบก ผช.เสธ.ฝยก. แม่ทัพภาคที่ 1 และ ผบ.พลหน่วยปฏิบัติ ทำให้กำลังพลมีความเชื่อมั่น การปฏิบัติการยุทธการกระชับวงล้อม มีการวางกำลังทางทหารและมีผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้นรับผิดชอบอย่างชัดเจน สังคมและประชาชนก็มั่นใจว่า น่าจะมีความสำเร็จสูง

8.การชี้แจงทำ ความเข้าใจของการใช้อาวุธ ตามหลักสากล มีกฎการใช้กำลัง การยิงกระสุนจริง การใช้หน่วยสไนเปอร์ ก็ถือว่ากระทำได้อย่างทันท่วงที เพื่อตอบโต้กับภาพข่าวทั้งในและต่างประเทศ เพราะถ้าไม่มีการแก้ข่าวทุกวัน ข่าวความห่วงใยเหล่านี้ได้ไต่ระดับเลขาธิการสหประชาชาติ เลขาธิการอาเซียน ซึ่งทำให้เกิดความยุ่งยากของปัญหามากยิ่งขึ้น จนกระทั่งรัฐบาลไม่สามารถรับมือกับต่างประเทศได้

9.การควบคุมการ ติดต่อสื่อสารทุกระบบ ก็ถือว่าเป็นงานระดับยุทธศาสตร์ที่สำคัย เมื่อกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสั่งปิดเว็บไซต์ เฟซบุ๊ค และทวิสเตอร์ของเครือข่ายอดีตนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ทำให้ช่องทางสื่อสารถูกตัดขาดลง

10.การทำงานที่สอดคล้องกันระหว่าง มาตรการตัดน้ำตัดไฟ กับมาตรการของกรมสอบสวนคดีพิเศษ ในเรื่องการประกาศงดทำธุรกรรมทางการเงินของผู้ต้องสงสัยที่ต่อท่อน้ำเลี้ยง ให้กับกลุ่ม นปช. คือการตัดแหล่งทุนสำคัญของการเคลื่อนไหวลงได้ระดับหนึ่ง

11.การ นำคดีการชุมนุมของกลุ่มเสื้อแดงกับคดีการก่อการร้ายมาเป็นคดีของกรมสอบสวน คดีพิเศษเป็นผลให้การทำคดีมีความรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ทำให้เกิดความเข้มข้นในการสืบสวนสอบสวน ตามกระบวนยุติธรรมและมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมากถึง 11 หน่วยงาน มาช่วยกันทำคดีการก่อการร้าย ก็ถือว่าเป็นการสร้างความเข้มข้นของการบังคับใช้กฎหมายอย่างมาก

12.จุด อ่อนทางยุทธศาสตร์ของกลุ่ม นปช.ที่กลายเป็นจุดแข็งของรัฐบาล คือ การถอนตัวของนายวีระ มุสิกพงศ์ ประธานกลุ่ม นปช. และการเสียชีวิตของ พล.ต.ขัตติยะ สวัสดิผล หรือ เสธ.แดง ผู้มีความเชี่ยวชาญทางทหารที่มีส่วนดูแลและวางแผนการรักษาความปลอดภัยของ การ์ด นปช. ถือว่าเป็นสัญญาณแห่งความพ่ายแพ้ทางยุทธศาสตร์ เพราะกลุ่ม นปช.ไม่มีหัวในระดับยุทธศาสตร์ทางการเมือง คือ นายวีระ มุสิกพงศ์ และไม่มีหัวเสธ.ระดับยุทธศาสตร์ทางทหารในการวางแผนตั้งรัฐ ในกรณีที่ทหารจะเข้าสลายม็อบ นปช.


สรุปได้ว่า ความสำเร็จทางยุทธการกระชับวงล้อมพื้นที่ราชประสงค์ครั้งนี้ สืบเนื่องมาจาก ความสำเร็จทางยุทธศาสตร์ทางการเมือง ตั้งแต่ระดับนโยบาย คือ คณะรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง กระทรวง ทบวง กรม หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ความมีเอกภาพของรัฐบาลกับกองทัพ การที่ทหารสามารถกำหนดยุทธศาสตร์ทางทหารที่ชัดเจนได้ก็เนื่องจากการเมืองของ รัฐบาลที่ชัดเจน และที่สำคัญดังที่ซุนวูกล่าวไว้ว่า "ชัยชนะย่อมเกิดจากฝ่ายตรงข้ามหรือข้าศึกตกอยู่ในสถานการณ์พ่ายแพ้เอง"นั่น คือสภาพการแตกแยกทางความคิดของกลุ่มแกนนำหลัก และการสูญเสียมือวางแผนระดับเสนาธิการ ทำให้สถานการณ์ของกลุ่ม นปช.เริ่มเพลี่ยงพล้ำทางยุทธศาสตร์มาตามลำดับ



แผนยุทธการและหน่วยรับผิดชอบการกระชับวงล้อมพื้นที่ราชประสงค์

 แผนยุทธการสลายม็อบราชประสงค์ถูกกำหนดดีเดย์ไว้ตั้งแต่ตี3 ครึ่งวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 หน่วยแรกที่เข้าปฏิบัติการคือ หน่วยสไนเปอร์ เพื่อยึดพื้นที่สูงข่มของตึกบนถนนวิทยุ (อาคารเคี่ยนหงวน) และสะพานแยกสารสิน(อาคารบางกอกเคเบิล)โดยที่อาคารสูงบนถนนวิทยุถูกยึดได้ก่อนตี 5 ครึ่ง ส่วนตึกสูงด้านถนนสารสินยังเข้าไม่ได้


หลังจากนั้นทหารจาก พล.ม.2 รอ.ได้แยกกำลังรุกเข้าไป 3 ทิศทาง ตามเส้นทางถนนวิทยุ ถนนสีล้ม และถนนสุรวงศ์ มีการเคลื่อนรถหุ้มเกราะปฏิบัติพร้อมทหารเดินเท้าอาวุธเต็มอัตราศึกเป็นรูป ขบวนการรบที่คุ้นตาสำหรับการปฏิบัติการของยานยนต์รบกับหน่วยของการยุทธรบใน เมือง


แต่กว่าที่ภาพรถหุ้มเกาะจะค่อยๆ บดทับและพังทลายป้อมค่ายป้องกันของ นปช. ที่ศาลาแดงได้นั้น ได้มีการวางแผนปรับแผนส่วนหน้ามาแล้วเป็นเดือนโดยใช้บทเรียน 10 เมษายน เป็นสมมติฐาน ดังนั้นแผนยุทธการครั้งนี้จึงมีการวางแผนอย่างรัดกุมและตั้งอยู่บนสถานการณ์ ที่เป็นไปได้มากที่สุด และจะเห็นได้ว่ายุทธการครั้งนี้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ทางการทหารและ ยุทธศาสตร์ทางการเมืองที่กล่าวมาแล้วข้างต้น



ขั้นการปฏิบัติยุทธการกระชับวงล้อม

 จากการประมวลภาพการแถลงข่าวของศอฉ. และภาพข่าวของสื่อมวลชน แผนยุทธการน่าจะประกอบด้วยขั้นการปฏิบัติ 4 ขั้นตอน ได้แก่


1.ขั้นการกระชับวงล้อมขั้นต้น เพื่อทดสอบกำลังเข้าควบคุมพื้นที่ขั้นต้น ใช้เวลา 1 วัน (14 พฤษภาคม)


2.ขั้นการวางกำลังตรึงพื้นที่รอบนอก เพื่อป้องกันการเติมคนของกลุ่ม นปช. อาจเรียกได้ว่าเป็นการกลับหลังหันรบ 180 องศา มาตั้งรับใย 3 พื้นที่หลัก ได้แก่ บ่อนไก่ ถนนราชปรารภ และสามย่าน ขั้นนี้ต้องใช้ความอดทนอย่างสูวสุด ควบคุมสถานการณ์ให้นิ่งให้ได้ รอฟังคำสั่งต่อไปใช้เวลา 4 วัน (15-18 พฤษภาคม)



3. ขั้นการสลายม้อบภายหลังจากปฏิบัติการในขั้นที่ 2 ที่ต้องใช้เวลา 4 วัน เพื่อเช็คข่าวการวางกำลังและอาวุธสงครามในพื้นที่สวนลุมพินี การวางกำลังหลังแนวด่านตรวจ นปช.โดยรอบพื้นที่ราชประสงค์ การเช็คที่ดั้งจุดใช้อาวุธ M 79  การตรวจสอบกองกำลังกลุ่มอ่กการร้ายจำนวน 500 คนว่าวางกำลังพื้นที่ใด เมื่อทุกหน่วยเข้าที่พร้อม การปฏิบัติการก็เริ่มต้นในเช้าตรู่วันที่ 19 พฤษภาคม โดยให้เสร็จสิ้นภารกิจภายใน 1,800 ของวันเดียวกัน

 4. ขั้นการกระชับวงล้อมขั้นสุดท้าย เพื่อตรวจสอบค้นหาหลักฐาน อาวุธสงครามและสิ่งผิดกฎหมาย เริ่มปฏิบัติการในวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ.2553 สาเหตุที่ไม่สามารถทำได้ในวันบุกสลายการชุมนุมในขั้นที่ตอนที่ 3 เพราะกลุ่ม นปช.ได้วางเต้นท์และที่พักเป็นจำนวนมาก และตั้งแต่บ่ายของวันที่ 19 พฤษภาคม มวลชนเสื้อแดงได้ก่อการจลาจลในพื้นที่ราชประสงคืและทั่วกรุงเทพฯ



หน่วยรับผิดชอบวางกำลังยุทธการกระชัยวงล้อม


เป็นการปฏิบัติการร่วม3 เหล่าท้พคือ กองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศ โดยกำลังหลักที่ใช้ปฏิบัติการเป็นกำลังของกองทัพบก จำนวน 3 กองพล ได้แก่


กองพลที่ 1 รักษาพระองค์ (พล.ร.1รอ.) ใช้กำลัง 3 กรม หลักคือ ร.1 รอ. ร.11 รอ.และ ร.31 รอ.ให้ ร.1 รอ กับ ร.11 รอ. วางกำลังพื้นที่ดินแปลง พญาไทราชปรารภ ร.31 รอ.เป็นหน่วยเคลื่อนที่เร็ว พร้อมปฏิบัติการพิเศษ  กองพลทหารม้าที่ 2 รักษาพระองค์ (พล.ม.2 รอ.) มีหน้าที่ดูแลพื้นที่ถนนวิทยุ บ่อนไก่ ศาลาแดง ลุมพินี สามย่านกองพลทหารราบที่ 9 (พล.ร.9) มีหน้าที่ดูแลพื้นที่อโศก เพลินจิต ชิดลม


นอกจากนี้ยังมีกองกำลังพร้อมสนับสนุน คือ พล.ร.2 รอ.กำลังของหน่วยอากาศโยธิน (อย.) ของกองทัพอากาศสแตนด์บายพร้อมออกปฏิบัติหน้าที่ 24 ชั่วโมง และมีหน่วยปฏิบัติการทางอากาศพร้อมขึ้นบินเหนือพื้นที่ราชประสงค์ ขณะที่กองทัพเรือรับภารกิตจพิเศาอารักขาสถานที่สำคัญ โดยเฉพาะบริเวณโรงพยาบาลศิริราชง


ทั้งนี้ การปฏิบัติภารกิจของกองทัพจะมีสัญญาณบอกฝ่าย เป็นสัญลักษณ์แถบสี ติดหัวไหล่ แขนขวา โดยจะมีการเปลี่ยนสีทุกวัน แต่เมื่อการปฏิบัติภารกิจเต็มขั้นในวันที่ 19 พฤษภาคม กำลังทุกหน่วยจะใช้แถบสีชมพูเป็นสัญลักษณ์บอกฝ่าย ติดไว้บริเวณหลังหมวกเหล็กทุกนาย




ความสำเร็จทางยุทธการ : การกระชับวงล้อมพื้นที่ราชประสงค์


1.แผนยุทธการมีพื้นฐานและสอดรับกับความสำเร็จทางยุทธศาสตร์ทางทหารและนโยบายของรัฐบาล


2.แผนยุทธการมีการวางแผนเป็นขั้นตอนรัดกุมมีเสรีในการปฏิบัติตามกรอบเวลามีการวางแผนและปฏิบัติโดยปราศจากแรงกดดันด้วยเวลา


3.การปฏิบัติการข่าวสารนับว่าเป็นผลในระดับยุทธการ ทั้งในส่วนการสร้างขวัญและกำลังใจของฝ่ายปฏิบัติการ และลดขวัญกำลังใจของกองกำลังไม่ทราบฝ่าย


4.ความสำเร็จของการปฏิบัติงานด้านการข่าวในพื้นที่กลุ่ม นปช.ทำให้สามารถใช้หน่วยได้ตรงกับขีดความสามารถและถูกต้องเหมาะสมกับภารกิจ ยกตัวอย่าง การใช้หน่วยสไนเปอร์ของทุกกรม โดยเฉพาะกับพื้นที่ตึกสูงตามเส้นทางถนนวิทยุและสายสารสิน


5.ความสำเร็จในการจู่โจม แม้ว่าแผนยุทธการครั้งนี้ไม่สามารถจู่โจมด้วยเวลาได้ ก็มีการแก้เกมด้วยการจู่โจมด้วยความเร็วโดยการส่งล่วงหน้าเข้ารักษาความ ปลอดภัยบนพื้นที่อาคารสูง การเข้ายึดพื้นที่สวนลุมพินีเป็นส่วนใหญ่ได้ก่อนสว่าง และการรุกเข้าพร้อมกัน 3 ทิศทาง


6.การปฏิบัติตามแผนยุทธการ กระทำด้วยการรุกคืบด้วยความระมัดระวังของแต่ละพื้นที่โดยการประเมินศักยภาพ ของกำลังการ์ดนปช.ให้สูงกว่าเมื่อครั้ง10 เมษายน เพื่อให้มีระบบป้องกันตัวทหารที่มากขึ้น ดังนั้นการปฏิบัติการทางทหารที่ใช้กำลังทหารประมาณ 2 หมื่นนาย มีการสูญเสียทหาร 1 นาย กับบาดเจ็บจำนวนหนึ่ง ก็ถือว่าเป็นความสูญเสียที่ยอมรับได้


7.กองกำลังการ์ด นปช.มีการตั้งรับแบบกองโจรวางกำลังเต็มพื้นที่ ขาดผู้เชี่ยวชาญการวางกำลังตั้งรับและร่นถอยแบบทหารที่แท้จริง เนื่องจากการเสียชีวิตของ พล.ต.ขัตติยะ สวัสดิผล ทำให้จุดศูนย์ดุลของ นปช.กลายมาเป็นจุดแข็งของการปฏิบัติของกองทัพ


8.แผนยุทธการเป็นการวางแผนการปฏิบัติรบเต็มรูปแบบเสมือนการทำสงครามรบใน เมือง ใช้กำลังขนาดใหญ่ถึง 3 กองพล วางแผนเข้าปฏิบัติการ ซึ่งมีอำนาจกำลังรบเปรียบเทียบสูงกว่ามาก ยิ่งมีการสั่งการให้ใช้กระสุนจริงกับกลุ่มกลุ่มก่อการร้ายผู้ถืออาวุธ และเพื่อป้องกันตัวเองได้ ทำให้ทหารที่เคยสูญเสียความเชื่อมั่นจากเหตุการณ์ 10 เมษายน ก็มีจิตใจรุกรบมากขึ้น


9.แผนยุทธการในการรุกผ่านฝ่ายเดียวกันจากถนนสาทร ถนนสีลม ถนนสุรวงศ์ และถนนวิทยุ ทำให้กองกำลังทหารสามารถรักษาโมเมนตัมในการปฏิบัติการได้อย่างตอ่เนื่อง และสามารถพิทักษ์ป้องกันพื้นที่ส่วนหลัง (พื้นที่สีลม) ได้อย่างปลอดภัย


10.ความมีเอกภาพในการปฏิบัติ จากการสั่งการของแม่ทัพภาคที่ 1 กับกองกำลัง 3 กองพลให้ปฏิบัติการได้ถูกจังหวะการรุกและการหยุดหน่วย เพื่อผลการรุกของหน่วยอื่นหรือรอเวลาสำหรับการปฏิบัติชั้นสุดท้าย ยกตัวอย่างหน่วยรุกแตกหัก ได้แก่ พล ม.2 รอ.จากทิศทางสีลมมุ่งสู่สี่แยกศาลาแดง ส่วนที่ 2 กองพลที่เหลือคือ พล.ร.9 รับผิดชอบพื้นที่แยกอโศก เพลินจิต ชิดลม และ พล.1 รอ.รับผิดชอบพื้นที่ดินแดง พญาไท ราชปรารภ กำลังส่วนนี้ต้องตรึงกำลัง ปิดเส้นทางหลบหนี ขณะเดียวกันก็เปิดพื้นที่ให้ผู้ชุมนุม นปช.ได้ทยอยออกจากพื้นที่ราชประสงค์ผ่านถนนพระราม 1 ไปแยกปทุมวัน หรือเข้าไปในวัดปทุมวนาราม



ความสำเร็จทางยุทธวิธี : การกระชับวงล้อมพื้นที่ราชประสงค์


ยุทธการกระชับวงล้อมเมื่อ 19 พฤษภาคม พ.ศ.2553 เป็นการปฏิบัติทางทหารเต็มรูปแบบ จึงเห็นได้ว่าภารกิจชัดเจน คือการกระชับวงล้อมด้วยกระสุนจริง จากกำลังหน่วยรบหลักของเหล่าทหารราบ เหล่าทหารม้า และหน่วยส่งกำลังทางอากาศ อย่างเช่น ร.31 รอ.ในภารกิจปฏิบัติการพิเศษ อาจเรียกได้ว่าเป็นการรบในเมืองที่ใช้อาวุธยุทธโธปกรณ์ทางทหารเต็มอัตราศึก ทั้งกำลัง อาวุธประจำกายที่ทันสมัย ชุดสไนปอร์ หน่วยยานเกราะ ซึ่งการปรับกำลังและการเปลี่ยนแปลงทางยุทธวิธีที่สำคัญครั้งนี้ก็เป็นผล สะท้อนจากบทเรียนเมื่อ 10 เมษายน พ.ศ.2553 นั่นเอง


การปฏิบัติการทางยุทธวิธีที่ใช้เวลาทำงาน 9 ชั่วโมง (เวลา 03.30-13.30) ถือว่าเป็นบทเรียนที่สำคัญยิ่งทางยุทธวิธีของการรบในเมือง ที่สมควรได้มีการบันทึกไว้เป็นประวัติศาสตร์หน้าหนึ่งของการรบในเมือง ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้


1.การปฏิบัติการทางยุทธวิธีสอดรับกับแผนยุทธการกระชับวงล้อมของศอฉ.ใน ระดับยุทธการและนโยบายของรัฐบาลที่กล่าวมาข้างต้น เมื่อการเมืองชัดเจนผู้บังคับบัญชาชั้นสูงของกองทัพชัดเจน ผู้บังคับหน่วยชัดเจนนำมาซึ่งแผนยุทธการและแผนปฏิบัติระดับยุทธวิธีก็มอง เห็นทิศทางที่จะนำไปสู่ความสำเร็จ




2.ปรับยุทธวิธีการปราบจลาจลเป็นยุทธวิธีการรบในเมือง เพื่อการปราบปรามกองกำลังติดอาวุธ หรือผู้ก่อการร้ายที่แอบแฝงในกลุ่ม นปช.ด้วยฐานข่าวของ ศอฉ.ว่ามีกองกำลังติดอาวุธประมาณ 500 คน มีอาวุธปืนซุ่มยิง อาวุธสงคราม เช่น M 79 M 16 AK 47 และ Travo-21


3.ปรับการยิงกระสุนยางจากปืนลูกซองเป็นการใช้กระสุนจริงจากอาวุธประจำกาย ทำให้ต้องมีการสร้างวินัยอย่างเข้มงวด ตามกฎการใช้กำลัง จากเบาไปหาหนัก ตามหลักสากลมีการยิงให้กรวยกระสุนตกต่ำกว่าหัวเข่า การยิงเมื่อเห็นเป้าหมายหรือบุคคลถืออาวุธ เป็นการยิงเพื่อป้องกันตัวเอง การยิงขู่จะยิงเมื่อม็อบเคลื่อนที่เข้ามาแล้วสั่งให้หยุด ก็ไม่ยอมหยุด




4.การจัดระยะห่างระหว่างการวางกำลังของหน่วยทหารกับแนวตั้งรับของม็อบใน ระยะยิงหวังผลปืนM16 ประมาณ 400 หลา ซึ่งต้องมีกำลังพลเข้าเวรตรวจดูความเคลื่อนไหวกลุ่ม นปช.ทั้งกลางวันและกลางคืนตลอดเวลา


5.การปรับการวางกำลังและการเคลื่อนที่ภายใต้อาคารและทางเดินเท้าไม่มีการ จัดรูปขบวนยืนแถวหน้ากระดานเป็นแผงกลางถนน เพื่อเตรียมตัวผลักดันกับฝูงชนในภารกิจปราบจลาจล เพื่อป้องกันการซุ่มยิงจากด้านหลังผุ้ชุมนุม




6.การดัดแปลงที่วางกำลังเป็นการตั้งรับแบบเร่งด่วนเคลื่อนที่ไปข้างหน้า หรือถอยร่นด้วยกำบังกระสอบทรายสูงระดับครึ่งเข่า เมื่อต้องนอนราบหรือสูงระดับศรีษะเมื่อต้องการยืนปฏิบัติการ และมีการวางแนวทหารตั้งรับเป็นชั้นๆ ตามเส้นทางเคลื่อนที่เข้าหาม็อบ มิใช่เป็นการวางแนวเป็นปึกแผ่นเพียงชั้นเดียว ซึ่งถ้าม็อบมีจำนวนมากกว่า ก็สามารถล้อมทหารและเข้าถึงตัวแย่งปืนได้ง่าย


7.ใช้ลักษณะผู้นำหน่วยขนาดเล็กสูงมาก เพราะต้องอดทน ใจเย็น รอเวลา ทนต่อการยั่วยุ การรับควันไฟกลิ่นยางรถยนต์ที่เหม็นรุนแรงตลอดทั้งวันทั้งคืน


8.การใช้ส่วนสไนเปอร์คุ้มครองการเคลื่อนที่ในการรุกไปข้างหน้าและการ ป้องกันให้หน่วยเมื่อเคลื่อนที่ไปข้างหน้า หรือเมื่อกองกำลังหยุดนิ่งอยู่กับที่เป็นเวลาข้ามวันข้ามคืน อีกทั้งต้องรับภารกิจอารักขาผู้บังคับบัญชาระดับสูงอีกด้วย


9.การวางกำลังตามแนวทางเดินเท้าสามารถวางกำลังได้ ยิ่งกระจายกำลังออกไปให้ได้มากก็ยิ่งตกเป็นเป้าหมายคุ้มค่าน้อยลง และไม่ตกเป็นเป้าหมายคุ้มค่าน้อยลง และไม่ตกเป็นเป้าหมายขนาดใหญ่ให้กับกระสุน M 79 ของกำลังก่อการร้าย


10.พัฒนารูปแบบการวางจุดตรวจการณ์ข้างหน้า (Out Post) โดยใช้สะพานลอยข้ามถนนมีการปิดฉากม่านดำเสริมด้วยบังเกอร์และกระสอบทราบ ทำให้ลดการตรวจการณ์ของการ์ด นปช.และเสริมการป้องกันได้อีกทางหนึ่ง ทั้งสามารถปกปิดการถ่ายรูปจากสื่อมวลชน


11.การปรับกำลังและระดมพลแม่นปืนเท่าที่มีอยู่ของกองทัพบกเข้าประจำ พื้นที่เพื่อต่อต้านการซุ่มยิงของกลุ่ม นปช.ทั้งบนอาคารสูงและพื้นที่สูงข่ม


12.การกำหนดพื้นที่อันตรายเป็นฉนวนกั้นกลางระหว่างแนวระยะยิงหวังผลของ หน่วยทหารกับแนวตั้งรับของกลุ่มนปช.เป็นยุทธวิธีประการหนึ่ง โดยมีการประกาศเขตการยิงด้วยกระสุนจริง (Live  Firing Zone)




13.การกำหนดเขตห้ามบิน เป็นแผนยุทธการที่สนับสนุนงานยุทธวิธี ทำให้มั่นใจว่าการรบเหนือน่านฟ้าพื้นที่ราชประสงค์ ฝ่ายเราสามารถครองความได้เปรียบทางอาศัยอยู่


14.ยุทธวิธียอมเสียพื้นที่ แล้วถอยกลับมาตั้งรับในพื้นที่ที่ปลอดภัยกว่า ห่างจากระยะยิงของพลซุ่มยิงกลุ่ม นปช.เห็นได้จากความล้มเหลวในการกระชับวงล้อมในพื้นที่ 14 พฤษภาคม ถือว่าเป็นยุทธวิธีที่ชาญฉลาด ด้วยการไม่บุกตะลุยเข้าสู่คิลลิ่งโซน (Killing Zone)




15.การถอนกำลัง หรือการวางกำลังกระจายตัวมากขึ้นภายหลังค่ำมืด ก็ถือว่าเป็นยุทธวิธีหนึ่งที่ประสบความสำเร็จในการไม่ตกเข้าไปในกับดักที่ เป็นเป้าหมายคุ้มค่า


16.การใช้หน่วยรถหุ้มเกราะเมื่อจำเป็นและต้องการผลแตกหักในการสลายการ ชุมนุมเท่านั้น จึงทำให้ไม่ปรากฏการเคลื่อนไหวของยานเกราะก่อนวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ.2553




17.การใข้รถหุ้มเกราะกับพลรบเคลื่อนที่ตามกันนั้นเป็นยุทธวิธีหนึ่งที่ ได้แปรเปลี่ยนไปเพื่อเป็นการข่มขวัญการ์ด นปช.เพราะลดการสูญเสียพลรบ จากอาวุธ M79 จรวด RPG หรือระเบิดเคโมร์ตามแนวตั้งรับ นปช.




18.การสนธิกำลังอย่างลงตัวของชุดรบที่ประกอบด้วยชุดสไนเปอร์ ขบวนรถหุ้มเกราะพลรบหลังรถหุ้มเกราะขุดผจญเพลิง ขุดกู้ระเบิด (EOD) เป็นที่ประสบความสำเร็จที่น่าสนใจ




19.การกำหนดระยะเวลาการปฏิบัติการที่ส่งผลให้มีเสรีในการปฏิบัติทาง ยุทธวิธีเช่น การเริ่มปฏิบัติในตอนเช้าตรู่ ทำให้มีเวลามากพอสำหรับกำลังในการรุกเข้าเคลียร์พื้นที่ แต่การรบในเวลากลางคืนทำให้การมองเห็นจำกัด อาจตกเป็นเป้าหมายของกองกำลังก่อการร้ายที่แอบแฝง และที่สำคัญไม่มียิงฝ่ายเดียวกันหรือยิงประชาชนผู้บริสุทธิ์




20.การใช้หน่วย ปจว.ทางยุทธวิธี เพื่อทำความเข้าใจก่อนการบุกสลายการชุมนุมถือว่าเป็นหลักสากลประการหนึ่ง


21.การใช้หน่วยในพื้นที่วางกำลังส่วนล่างหน้าไว้แล้วตั้งแต่วันที่ 14 พฤษภาคม เพื่อตรึงกำลังป้องกันมิให้มวลชนคนเสื้อแดงยกกำลังเข้าช่วยที่ราชประสงค์ ต่อจากนั้นจึงใช้กำลังหลักเข้าสลายกลุ่มชุมนุม


22.การยอมถอนตัวของกำลังทหารออกจากพื้นที่ราชประสงค์ภายหลังถูกโจมตีด้วย M79 ในช่วงตอนเย็นตรงพื้นที่แยกสารสิน ถอยกลับไปยังพื้นที่ปลอดภัยถนนสีลมถือว่าเป็นการตัดสินใจในระดับยุทธวิธีที่ ถูกต้อง เพื่อลดการสูญเสียโดยไม่จำเป็น


23.มีการซักซ้อมแผนและซักซ้อมการปฏิบัติทั้งหมดทั้งในพื้นที่ตั้งหน่วย และที่ร.11 รอ. เป็นการสร้างหลักประกันความมั่นใจสู่ความสำเร็จ และเป็นการลดเกณฑ์เสี่ยงได้อีกทางหนึ่ง





 สืบเนื่องจากสถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ แดงทั้งแผ่นดิน (นปช.) กับรัฐบาลโดย กลุ่ม นปช.ชุมนุมเกินขอบเขตของกฎหมายอย่างต่อเนื่อง มาตั้งแต่ 12 มีนาคม จนถึง 18 พฤษภาคม 2553 และกลุ่ม นปช.เคลื่อนย้ายมวลชนมาปักหลักตั้งเวทีปราศรัยถาวรที่บริเวณพื้นที่สี่แยกราชประสงค์สร้างความเดือดร้อนต่อประชาชนในกรุงเทพฯ ส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพทางการเมืองของรัฐบาล และได้สร้างผลเสียหายต่อเศรษฐกิจของประเทศอย่างร้ายแรงอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน

รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ จัดตั้งศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือ ศอฉ.เพื่อการแก้ไขปัญหาการชุมนุมของกลุ่ม นปช. ตามพระราชบัญญัติการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 โดยมีกองทัพบกเป็นกลไกหลักในการแก้ไขปัญหา และกองทัพบกได้นำกำลังพลเข้าแก้ไขปัญหาในเหตุการณ์สำคัญๆ 3 เหตุการณ์ คือ เหตุการณ์ 10 เมษายน พื้นที่สี่แยกคอกวัว เหตุการณ์การรักษาพื้นที่สีลม เหตุการณ์สลายการเคลื่อนไหวกลุ่ม นปช. พื้นที่อนุสรณ์สถาน ดอนเมือง

บทความฉบับนี้เขียนขึ้นเพื่อประกอบการจัดทำ "เอกสารแนวทางในการปฏิบัติ ทางทหาร : กรณีศึกษาการแก้ไขปัญหาความไม่สงบในเมือง" ตามดำริของเจ้ากรมยุทธศึกษาทหารบก พล.ท.สิงห์ศึก สิงห์ไพร เพื่อกำหนดบทบาทของกองทัพบกในการแก้ปัญหาการก่อความไม่สงบในเมืองรูปแบบใหม่

เมื่อรัฐบาลมีนโยบายที่ชัดเจนในการกระชับวงล้อมพื้นที่ชุมนุมราชประสงค์ ศอฉ. ผ่านการสั่งการมายังกองทัพบกก็ได้จัดกำลังเปิดยุทธการกระชับวงล้อม โดยแบ่ง การปฏิบัติออกเป็น 3 ห้วงเวลา กล่าวคือ ห้วงแรก เป็นการกระชับวงล้อมขั้นต้น ในวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ.2553 ห้วงที่ 2 เป็นการถอยร่นเพื่อสถาปนาแนวตั้งรับเร่งด่วนในวันที่ 15-18 พฤษภาคม พ.ศ.2553 และห้วงสุดท้ายการกระทบวงล้อมขั้นสุดท้ายในวันที่ 19 พฤษภาคม ตั้งแต่เวลา 03.00 น. จนกระทั่งแกนนำประกาศยุติการชุมนุมบนเวทีราชประสงค์ เมื่อเวลา 13.20 น.

บทความนี้นำเสนอบทเรียนแบบความสำเร็จของยุทธการกระชับวงล้อมพื้นที่ราชประสงค์ในระดับยุทธศาสตร์ ยุทธการ และยุทธวิธี พร้อมด้วยข้อเสนอแนะต่อรัฐบาล ศอฉ. กองทัพบก และหน่วยปฏิบัติระดับยุทธวิธีเพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติต่อไป



ความสำเร็จทางยุทธศาสตร์

การแถลงผ่านโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจ เมื่อเวลา 22.00 น. วันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ.2553 ของ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ภายหลังทหารประสบความสำเร็จในการปฏิบัติการ "ยุทธการกระชับวงล้อม" ในเวลา 10 ชั่วโมงก่อนหน้านั้น

นายกรัฐมนตรีได้กล่าวถึงความพอใจผลงานยุติม็อบว่า "...เป้าหมายของ ศอฉ.เพื่อกระทบวงล้อม เพื่อให้เกิดการยุติการชุมนุมโดยเร็วที่สุด เรายึดหลักสากล ทำให้เกิดความพอใจ..." คำพูดไม่กี่คำของนายกรัฐมนตรีภายใต้สถานการณ์วิกฤตครั้งนี้ ทำให้ทหารและกองทัพที่เป็นหมัดสุดท้ายซึ่งเป็นกลไกบังคับใช้กฎหมายของรัฐบาลที่มีอยู่รู้สึกมั่นใจและเชื่อมั่นถึงยุทธศาสตร์ทางการเมืองของยุทธการครั้งนี้

ความสำเร็จในยุทธศาสตร์ทางทหาร ยุทธการกระชับวงล้อม เมื่อ 19 พฤษภาคม พ.ศ.2553 เป็นผลจากความชัดเจนทางการเมืองสำคัญ อาทิ

1.นโยบายรัฐบาลชัดเจนมาตลอดที่จะใช้มาตรการทางทหารกดดันม็อบกลุ่ม นปช. ความชัดเจนก็คือนโยบายกระชับวงล้อม เพื่อการยุติการชุมนุมไม่ใช้การกระชับวงล้อมเพื่อเปิดการเจรจา ดังนั้น ถ้าการเดินทางยุทธศาสตร์ทหารนั้น ถ้าเป้าหมายทางการเมือง (Political will) ชัดเจน การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ทางการทหารก็ไม่ยาก และเมื่อนายกรัฐมนตรีได้สั่งการในที่ประชุม ศอฉ.ในวันที่ 12 พฤษภาคม ให้ฝ่ายทหารเริ่มต้นปฏิบัติการตามแผนยุทธการที่ได้วางไว้

2.สำหรับสัญญาณทางการเมืองที่ส่งไปยังสังคมได้ส่งผลของจิตวิทยาระดับยุทธศาสตร์คือ การใช้ภาษาคำว่า "การกระชับวงล้อม" ไม่ใช้ "การสลายม็อบ" คือ "การปราบม็อบ" หรือ "การปิดล้อม" จากภาษาที่สื่อดังกล่าวสังคมรับได้ และรู้สึกผ่อนคลาย

3.การควบคุมการติดต่อสื่อสารทุกระบบ ก็ถือว่าเป็นงานระดับยุทธศาสตร์ที่สำคัญ เมื่อกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสั่งปิดเว็บไซต์ เฟซบุ๊ก และทวิสเตอร์ของเครือข่ายอดีตนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ทำให้ช่องทางสื่อสารถูกตัดขาดลง

สรุปได้ว่า ความสำเร็จทางยุทธการกระชับวงล้อมพื้นที่ราชประสงค์ครั้งนี้ สืบเนื่องมาจากความสำเร็จทางยุทธศาสตร์ทางการเมือง ตั้งแต่ระดับนโยบาย คือ คณะรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง กระทรวง ทบวง กรม หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ความมีเอกภาพของรัฐบาลกับกองทัพ การที่ทหารสามารถกำหนดยุทธศาสตร์ทางทหารที่ชัดเจนได้ก็เนื่องจากการเมืองของรัฐบาลที่ชัดเจน และที่สำคัญดังที่ชุนจูกล่าวไว้ว่า "ชัยชนะย่อมเกิดจากฝ่ายตรงข้ามหรือข้าศึกตกอยู่ในสถานการณ์พ่ายแพ้เอง"

นั่นคือสภาพการแตกแยกทางความคิดของกลุ่มแกนนำหลัก และการสูญเสียมือวางแผนระดับเสนาธิการ ทำให้สถานการณ์ของกลุ่ม นปช.เริ่มเพลี่ยงพล้ำทางยุทธศาสตร์มาตามลำดับ



แผนยุทธการ

แผนยุทธการสลายม็อบราชประสงค์ถูกกำหนดดีเดย์ไว้ตั้งแต่ตี 3 ครึ่ง วันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ.2553 หน่วยแรกที่เข้าปฏิบัติการคือ หน่วยสไนเปอร์ เพื่อยึดพื้นที่สูงข่มของตึกบนถนนวิทยุ (อาคารเคี่ยนหงวน) โดยที่อาคารสูงบนถนนวิทยุ ถูกยึดได้ก่อนตี 5 ครึ่ง ส่วนตึกสูงด้านถนนสารสินยังเข้าไม่ได้

หลังจากนั้นทหารจาก พล.ม.2 รอ.ได้แยกกำลังรุกเข้าไป 3 ทิศทาง ตามเส้นทาง ถนนวิทยุ ถนนสีลม และถนนสุรวงศ์ มีการเคลื่อนรถหุ้มเกราะปฏิบัติพร้อมทหารเดินเท้าอาวุธเต็มอัตราศึกเป็นรูปขบวนการรบที่คุ้นตาสำหรับการปฏิบัติการของยานยนต์รบกับหน่วยของการยุทธ์รบในเมือง

แต่กว่าที่ภาพรถหุ้มเกาะจะค่อยๆ บดทับและพังทลายป้อมค่ายป้องกันของ นปช. ที่ศาลาแดงได้นั้น ได้วางแผนปรับแผนส่วนหน้ามาแล้วเป็นเดือนโดยใช้บทเรียน 10 เมษายน เป็นสมมติฐาน ดังนั้นแผนยุทธการครั้งนี้จึงมีการวางแผนอย่างรัดกุมและตั้งอยู่บนสถานการณ์ที่เป็นไปได้มากที่สุด และจะเห็นได้ว่ายุทธการครั้งนี้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ทางการทหารและยุทธศาสตร์ทางการเมืองที่กล่าวมาแล้วข้างต้น



เหล่าทัพ'กระชับวงล้อม'

เป็นการปฏิบัติการร่วม 3 เหล่าทัพคือ กองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศ โดยกำลังหลักที่ใช้ปฏิบัติการเป็นกำลังของกองทัพบก จำนวน 3 กองพล ได้แก่

กองพลที่ 1 รักษาพระองค์ (พล.ร.1 รอ.) ใช้กำลัง 3 กรม หลักคือ ร.1 รอ. ร.11 รอ.และ ร.31 รอ.ให้ ร.1 รอ. กับ ร.11 รอ. วางกำลังพื้นที่ดินแปลง พญาไทราชปรารภ ร.31 รอ.เป็นหน่วยเคลื่อนที่เร็ว พร้อมปฏิบัติการพิเศษ

กองพลทหารม้าที่ 2 รักษาพระองค์ (พล.ม.2 รอ.) มีหน้าที่ดูแลพื้นที่ถนนวิทยุ บ่อนไก่ ศาลาแดง ลุมพินี สามย่าน

กองพลทหารราบที่ 9 (พล.ร.9) มีหน้าที่ดูแลพื้นที่อโศก เพลินจิต ชิดลม

นอกจากนี้ยังมีกองกำลังพร้อมสนับสนุน คือ พล.ร.2 รอ.กำลังของหน่วยอากาศโยธิน (อย.) ของกองทัพอากาศสแตนด์บายพร้อมออกปฏิบัติหน้าที่ 24 ชั่วโมง และมีหน่วยปฏิบัติการทางอากาศพร้อมขึ้นบินเหนือพื้นที่ราชประสงค์ ขณะที่กองทัพเรือรับภารกิจพิเศษอารักขาสถานที่สำคัญ โดยเฉพาะบริเวณโรงพยาบาลศิริราช

ทั้งนี้ การปฏิบัติภารกิจของกองทัพจะมีสัญญาณบอกฝ่าย เป็นสัญลักษณ์แถบสี ติดหัวไหล่ แขนขวา โดยจะมีการเปลี่ยนสีทุกวัน แต่เมื่อการปฏิบัติภารกิจเต็มขั้นในวันที่ 19 พฤษภาคม กำลังทุกหน่วยจะใช้แถบสีชมพูเป็นสัญลักษณ์บอกฝ่าย ติดไว้บริเวณหลังหมวกเหล็กทุกนาย



ความสำเร็จทางยุทธการ

1.แผนยุทธการมีพื้นฐานและสอดรับกับความสำเร็จทางยุทธศาสตร์ทางทหารและนโยบายของรัฐบาล

2.แผนยุทธการมีการวางแผนเป็นขั้นตอน รัดกุมมีเสรีในการปฏิบัติตามกรอบเวลามีการวางแผนและปฏิบัติโดยปราศจากแรงกดดันด้วยเวลา

3.การปฏิบัติการข่าวสาร นับว่าเป็นผลในระดับยุทธการ ทั้งในส่วนการสร้างขวัญและกำลังใจของฝ่ายปฏิบัติการ และลดขวัญกำลังใจของกองกำลังไม่ทราบฝ่าย

4.ความสำเร็จของการปฏิบัติงานด้านการข่าวในพื้นที่ กลุ่ม นปช.ทำให้สามารถใช้หน่วยได้ตรงกับขีดความสามารถและถูกต้องเหมาะสมกับภารกิจ ยกตัวอย่าง การใช้หน่วยสไนเปอร์ของทุกกรม โดยเฉพาะกับพื้นที่ตึกสูงตามเส้นทางถนนวิทยุและสายสารสิน

5.ความสำเร็จในการจู่โจม แม้ว่าแผนยุทธการครั้งนี้ไม่สามารถจู่โจมด้วยเวลาได้ ก็มีการแก้เกมด้วยการจู่โจมด้วยความเร็วโดยการส่งล่วงหน้าเข้ารักษาความปลอดภัยบนพื้นที่อาคารสูง การเข้ายึดพื้นที่สวนลุมพินีเป็นส่วนใหญ่ได้ก่อนสว่าง และการรุกเข้าพร้อมกัน 3 ทิศทาง

6.การปฏิบัติตามแผนยุทธการ กระทำด้วยการรุกคืบด้วยความระมัดระวังของแต่ละพื้นที่โดยการประเมินศักยภาพของกำลังการ์ด นปช.ให้สูงกว่าเมื่อครั้ง 10 เมษายน เพื่อให้มีระบบป้องกันตัวทหารที่มากขึ้น ดังนั้นการปฏิบัติการทางทหารที่ใช้กำลังทหารประมาณ 2 หมื่นนาย มีการสูญเสียทหาร 1 นาย กับบาดเจ็บจำนวนหนึ่ง ก็ถือว่าเป็นความสูญเสียที่ยอมรับได้

7.กองกำลังการ์ด นปช.มีการตั้งรับแบบกองโจรวางกำลังเต็มพื้นที่ ขาดผู้เชี่ยวชาญการวางกำลังตั้งรับและร่นถอยแบบทหารที่แท้จริง เนื่องจากการเสียชีวิตของ พล.ต.ขัตติยะ สวัสดิผล ทำให้จุดศูนย์ดุลของ นปช.กลายมาเป็นจุดแข็งของการปฏิบัติของกองทัพ

8.แผนยุทธการเป็นการวางแผนการปฏิบัติรบเต็มรูปแบบ เสมือนการทำสงคราม รบในเมือง ใช้กำลังขนาดใหญ่ถึง 3 กองพล วางแผนเข้าปฏิบัติการ ซึ่งมีอำนาจ กำลังรบเปรียบเทียบสูงกว่ามาก ยิ่งมีการสั่งการให้ใช้กระสุนจริงกับกลุ่มก่อการร้ายผู้ถืออาวุธ และเพื่อป้องกันตัวเองได้ ทำให้ทหารที่เคยสูญเสียความเชื่อมั่นจากเหตุการณ์ 10 เมษายน ก็มีจิตใจรุกรบมากขึ้น

9.แผนยุทธการในการรุกผ่านฝ่ายเดียวกันจากถนนสาทร ถนนสีลม ถนนสุรวงศ์ และถนนวิทยุ ทำให้กองกำลังทหารสามารถรักษาโมเมนตัมในการปฏิบัติการได้อย่างต่อเนื่อง และสามารถพิทักษ์ป้องกันพื้นที่ส่วนหลัง (พื้นที่สีลม) ได้อย่างปลอดภัย

10.ความมีเอกภาพในการปฏิบัติ จากการสั่งการของแม่ทัพภาคที่ 1 กับกองกำลัง 3 กองพล ให้ปฏิบัติการได้ถูกจังหวะการรุกและการหยุดหน่วย เพื่อผลการรุกของหน่วยอื่นหรือรอเวลาสำหรับการปฏิบัติชั้นสุดท้าย

ยกตัวอย่างหน่วยรุกแตกหัก ได้แก่ พล ม.2 รอ.จากทิศทางสีลมมุ่งสู่สี่แยกศาลาแดง ส่วนที่ 2 กองพลที่เหลือคือ พล.ร.9 รับผิดชอบพื้นที่แยกอโศก เพลินจิต ชิดลม และ พล.1 รอ.รับผิดชอบพื้นที่ดินแดง พญาไท ราชปรารภ กำลังส่วนนี้ต้องตรึงกำลังปิดเส้นทางหลบหนี ขณะเดียวกันก็เปิดพื้นที่ให้ผู้ชุมนุม นปช.ได้ทยอยออกจากพื้นที่ราชประสงค์ผ่านถนนพระราม 1 ไปแยกปทุมวัน หรือเข้าไปในวัดปทุมวนาราม



ความสำเร็จทางยุทธวิธี

ยุทธการกระชับวงล้อมเมื่อ 19 พฤษภาคม พ.ศ.2553 เป็นการปฏิบัติทางทหารเต็มรูปแบบ จึงเห็นได้ว่าภารกิจชัดเจน คือการกระชับวงล้อมด้วยกระสุนจริง จากกำลังหน่วยรบหลักของเหล่าทหารราบ เหล่าทหารม้า และหน่วยส่งกำลังทางอากาศ อย่างเช่น ร.31 รอ.ในภารกิจปฏิบัติการพิเศษ อาจเรียกได้ว่าเป็นการรบในเมืองที่ใช้อาวุธยุทโธปกรณ์ทางทหารเต็มอัตราศึก ทั้งกำลัง อาวุธประจำกายที่ทันสมัย ชุดสไนเปอร์ หน่วยยานเกราะ การปรับกำลังและการเปลี่ยนแปลงทางยุทธวิธีที่สำคัญครั้งนี้ก็เป็นผลสะท้อนจากบทเรียนเมื่อ 10 เมษายน พ.ศ. 2553 นั่นเอง

การปฏิบัติการทางยุทธวิธีที่ใช้เวลาทำงาน 9 ชั่วโมง (เวลา 03.30-13.30 น.) ถือว่าเป็นบทเรียนที่สำคัญยิ่งทางยุทธวิธีของการรบในเมือง ที่สมควรบันทึกไว้เป็นประวัติศาสตร์หน้าหนึ่งของการรบในเมือง อาทิ

-การปฏิบัติการทางยุทธวิธีสอดรับกับแผนยุทธการกระชับวงล้อมของ ศอฉ.ในระดับยุทธการและนโยบายของรัฐบาลที่กล่าวมาข้างต้น เมื่อการเมืองชัดเจน ผู้บังคับบัญชาชั้นสูงของกองทัพชัดเจน ผู้บังคับหน่วยชัดเจนนำมาซึ่งแผนยุทธการ และแผนปฏิบัติระดับยุทธวิธีก็มองเห็นทิศทางที่จะนำไปสู่ความสำเร็จ

-ปรับยุทธวิธีการปราบจลาจล เป็นยุทธวิธีการรบในเมือง เพื่อการปราบปรามกองกำลังติดอาวุธ หรือผู้ก่อการร้ายที่แอบแฝงในกลุ่ม นปช.ด้วยฐานข่าวของ ศอฉ.ว่ามีกองกำลังติดอาวุธประมาณ 500 คน มีอาวุธปืนซุ่มยิง อาวุธสงคราม เช่น M 79 M 16 AK 47 และ Travo-21

-ปรับการยิงกระสุนยางจากปืนลูกซองเป็นการใช้กระสุนจริงจากอาวุธประจำกาย ทำให้ต้องสร้างวินัยอย่างเข้มงวด ตามกฎการใช้กำลัง จากเบาไปหาหนัก ตามหลักสากลมีการยิงให้กรวยกระสุนตกต่ำกว่าหัวเข่า การยิงเมื่อเห็นเป้าหมายหรือบุคคลถืออาวุธ เป็นการยิงเพื่อป้องกันตัวเอง การยิงขู่จะยิงเมื่อม็อบเคลื่อนที่เข้ามาแล้วสั่งให้หยุดก็ไม่ยอมหยุด

การใช้ส่วนสไนเปอร์คุ้มครองการเคลื่อนที่ในการรุกไปข้างหน้า และการป้องกันให้หน่วยเมื่อเคลื่อนที่ไปข้างหน้า หรือเมื่อกองกำลังหยุดนิ่งอยู่กับที่เป็นเวลาข้ามวันข้ามคืน อีกทั้งต้องรับภารกิจอารักขาผู้บังคับบัญชาระดับสูงอีกด้วย

-การกำหนดพื้นที่อันตรายเป็นฉนวนกั้นกลางระหว่างแนวระยะยิงหวังผลของหน่วยทหารกับแนวตั้งรับของกลุ่ม นปช.เป็นยุทธวิธีประการหนึ่ง โดยมีการประกาศเขตการยิงด้วยกระสุนจริง (Live Firing Zone)

-การใช้หน่วยรถหุ้มเกราะเมื่อจำเป็น และต้องการผลแตกหักในการสลายการชุมนุมเท่านั้น จึงทำให้ไม่ปรากฏการเคลื่อนไหวของยานเกราะก่อนวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ.2553

-การสนธิกำลังอย่างลงตัวของชุดรบที่ประกอบด้วยชุดสไนเปอร์ ขบวนรถหุ้มเกราะพลรบหลังรถหุ้มเกราะขุดผจญเพลิง ขุดกู้ระเบิด (EOD) เป็นที่ประสบความสำเร็จที่น่าสนใจ

-การซักซ้อมแผนและซักซ้อมการปฏิบัติทั้งหมดทั้งในพื้นที่ตั้งหน่วยและที่ ร.11 รอ. เป็นการสร้างหลักประกันความมั่นใจสู่ความสำเร็จ และเป็นการลดเกณฑ์เสี่ยงได้อีกทางหนึ่ง



ข้อเสนอแนะทางยุทธวิธี

-ผู้บังคับหน่วยระดับยุทธวิธี ควรมีวินัยและความอดทนสูงเยี่ยม และพร้อมปฏิบัติงานเกินกรอบเวลาที่กำหนด อย่างน้อยต้องเตรียมการ เตรียมใจ เตรียมผู้ใต้บังคับบัญชาอย่างน้อย 7 วัน (กรณี 3 วันนั้นน้อยเกินไป) ถ้ามีการต่อต้านอย่างหนัก เช่น กรณีชุมนุมบ่อนไก่)

-ผู้บังคับหน่วยระดับยุทธวิธีควรมั่นใจ เชื่อมั่นที่รองรับด้วยเหตุผลว่า ภารกิจทางยุทธวิธีนั้นสอดรับกับแผนยุทธการ และแผนยุทธศาสตร์ของ ศอฉ. และรัฐบาล

-ผู้บังคับหน่วยระดับยุทธวิธีควรมีการรักษาความลับในการปฏิบัติการ ทั้งก่อนและหลังการปฏิบัติการ เพื่อมิให้เป็นพยานหลักฐานทางกฎหมายกับกลุ่มการเมืองฝ่ายตรงข้ามกับรัฐบาลหยิบยกไปเปิดเผยต่อสื่อมวลชน

-ผู้บังคับบัญชาหน่วยระดับยุทธวิธีควรปฏิบัติภายใต้การรักษาชีวิตของประชาชน ผู้บริสุทธิ์เป็นที่สำคัญที่สุด และต้องควบคุมการลั่นไกกระสุนจริงโดยมีสติ และมีเจตนารมณ์ อย่าให้กำลังพลปฏิบัติด้วยความโมโห หรือการแก้แค้นเป็นอันขาด

-ผู้ใต้บังคับบัญชาที่ถืออาวุธ ควรถืออาวุธและใช้อาวุธในรูปแบบการฝึกที่ปลอดภัยที่สุด ควรระลึกเสมอว่า การลั่นไกหนึ่งนัด อาจจะทำให้รัฐบาลล่มได้

-ควรศึกษาจัดทำบทเรียนการปฏิบัติ ในกรณี 10 เมษายน พื้นที่แยกคอกวัว กรณี 28 เมษายน พื้นที่อนุสรณ์สถาน กรณี 13 พฤษภาคม การลอบยิง เสธ.แดง และกรณียุทธการกระชับวงล้อม เพื่อจัดทำเป็นคู่มือหรือแนวทางปฏิบัติสำหรับการปฏิบัติระดับยุทธวิธีของกองทัพบก

-ควรมีการศึกษาค้นหาตัวแบบที่เหมาะสมในการกำหนดพื้นที่ที่ใช้กระสุนจริง เพราะปัจจุบันยังไม่ทราบว่ามีประเทศใดในระดับนานาชาติที่ได้นำมาปฏิบัติในการสลายการชุมนุมที่ได้รับการยอมรับ



สรุป

บทเรียนยุทธการกระชับวงล้อมพื้นที่ราชประสงค์ แม้ว่าในระดับยุทธศาสตร์ ยุทธการ และยุทธวิธีจะได้บทสรุปออกมาในเชิงประสบความสำเร็จเสียเป็นส่วนใหญ่ ในระดับรัฐบาล ศอฉ. กองทัพบก และหน่วยปฏิบัติ ผลสำเร็จครั้งนี้สร้างความโล่งใจให้กับสังคมไทยได้ไม่กี่นาที แต่ภายหลังผลการประกาศยุติการชุมนุมของแกนนำ สถานการณ์ที่กำลังลดดีกรีความรุนแรงลง กลับกลายเป็นการปะทุขึ้นของยุทธการเผาบ้านเผาเมือง ก่อการจลาจลจากความโกรธแค้น ผิดหวังของมวลชนคนเสื้อแดงแดงทั้งแผ่นดิน แต่เป็นการแดงด้วยเปลวเพลิง ทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด

นั่นคือ บทเรียนสงครามจลาจลเผาบ้านเผาเมืองที่ยังไม่ได้เขียน แต่ได้สร้างความหายนะให้กับประเทศนี้ไปเรียบร้อยแล้ว สมกับหนังสือพิมพ์ใหญ่ฉบับหนึ่ง พาดหัวข่าวในวันรุ่งขึ้นวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ.2553 ว่า "ประเทศพินาศ"



เบื้องหลังนามแฝงใครคือ "หัวหน้าควง"?

หัวหน้าควง จปร.32 (เหล่าทหารราบ) เข้ารับการศึกษาในหลักสูตรหลักประจำโรงเรียนเสนาธิการทหารบก ชุดที่ 72 นอกจากนี้ยังได้ศึกษาหลักสูตรต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ เช่น รัฐศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช - รัฐศาสตร์มหาบัณฑิต (ระหว่างประเทศและการทูต) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

-ผ่านการอบรมหลักสูตรพลร่ม ที่ฟอร์ต เบนนิ่ง รัฐจอร์เจีย สหรัฐฯ, อบรมภาษาอังกฤษขั้นสูงที่ออสเตรเลียและที่สหรัฐอเมริกา

-เคยดำรงตำแหน่งสำคัญต่างๆ เช่น - ผบ.ร้อย บก.รพศ.1 พัน 2 - อจ.หก.รร.สธ.ทบ.สบส. - ผช.อจ.อก.รร.สธ.ทบ.สบส. (ส่วนวิชาจำลองยุทธ)

- อนุกรรมาธิการและเลขานุการคณะอนุกรรมาธิการติดตามสถานการณ์ความไม่สงบจังหวัดชายแดนภาคใต้ ในคณะกรรมาธิการทหาร วุฒิสภา พ.ศ.2551 (25 มิ.ย.-25 ม.ค. 2552)

- อนุกรรมาธิการและเลขานุการคณะอนุกรรมาธิการศึกษาติดตามการบริหารจัดการงบประมาณในการเสริมสร้างสันติสุขในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ในคณะกรรมาธิการการทหาร วุฒิสภา พ.ศ.2552 (26 ม.ค.2552 - 6 มี.ค.2553)

- คณะทำงานศึกษายุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาชายแดนภาคใต้ รอง ปล.กห.(4) กระทรวงกลาโหม (26 ต.ค.2552 - 30 ก.ย.2553) ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง นายทหารปฏิบัติการ ประจำกรมยุทธศึกษาทหารบก


   

เพื่อไทยและเสื้อแดง พร้อมใจกันออกมาว่าไม่เห็นด้วยกับการลาออกมรดกโลก!!

ไทยอีนิวส์ ขอด่าซ้ำว่า ให้การเมืองอยู่ในมือพวกนักการเมืองอีโก้สูง อวดเก่ง ถือดี ดีแต่พูด ดีแต่โพสต์ เอาความดีใส่ตน ความชั่วใส่คนอื่น เอาตัวตนเป็นที่ตั้ง เล่นการเมืองแบบเด็กเกเร ก็นำพาประเทศล้มละลาย เครดิตตกต่ำให้โลกตะลึงกันเช่นนี้แล

นพดล ติงสุวิทย์... ลาออกมรดกโลกทำไทยเสียโอกาสขึ้นทะเบียนโบราณสถานอัดรัฐบาลหมดท่ามีเพื่อนในเวทีโลกน้อย  นายนพดล ปัทมะ ทนายความพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้เผยแพร่ข้อความผ่านเฟซบุ๊คส่วนตัว Noppadon Pattama เมื่อเวลา 08.11 น. ในหัวข้อ "สุวิทย์ ทำอะไรลงไปที่ปารีส" ระบุว่า  "เมื่อปีที่แล้ว 2553 สุวิทย์(สุวิทย์ คุณกิตติ หัวหน้าทีมเจรจามรดกโลก) คุยนักคุยหนาว่า เลื่อนวาระแผนบริหารและจัดการปราสาทพระวิหาร มาปี 54 ผมพูดในตอนนั้นว่า อยากให้ รัฐบาล ปชป.(พรรคประชาธิปัตย์) อยู่ถึงการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกในปีนี้ และเป็นไปตามคาด คุณสุวิทย์ไม่สามารถเลื่อนวาระการพิจารณาแผนบริหารพื้นที่รอบปราสาทออกไปได้อีก เพราะรัฐบาลนี้ไม่สามารถลอบบี้ประเทศอื่นที่เป็นกรรมการมรดกโลกให้ช่วยประเทศไทยได้ เพราะคุณมีเพื่อนน้อยในเวทีโลก"  "การลาออกจากภาคีมรดกโลกจะสร้างความเสียหายให้ประเทศไทยอย่างมาก เพราะเราจะไม่สามารถนำโบราณสถาน และอุทยานแห่งชาติไปขึ้นทะเบียนมรดกโลกได้ การลาออกเป็นการปิ้งปลาประชดแมว นอกจากนั้น เรายังสามารถปกป้องสิทธิในเขตแดนโดยวิธีอื่นๆได้ มากกว่าการลาออกจากภาคีมรดกโลก"นายนพดล ระบุ

น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร    "เป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน ซึ่งควรมีการหารือ และเจรจากับผู้ที่เชี่ยวชาญและผู้เกี่ยวข้องให้ละเอียดรอบคอบ โดยคำนึงถึงทรัพย์สมบัติและจุดยืนของประเทศเป็นหลัก"       



ปลอดประสพ อ้างการถอนตัวออกจากภาคีมรดกโลกต้องขอความเห็นชอบจากสภาก่อน เหตุเกี่ยวพันกับดินแดน และบูรณภาพของประเทศ แถมให้รอรัฐบาลชุดใหม่พิจารณา  เลอะหนักบอกแม้จะลาออกจากภาคี กก.มรดกโลกก็ประชุมต่อได้ และยังตัดสินใจอะไรได้ง่ายและสะดวกขึ้น ทำให้ไทยเสียหาย

ทบทวน - ขั้นตอนและวิธีการเลือกตั้ง

โซตัส : เมล็ดพันธุ์อุดมการณ์อำนาจนิยมที่ตกค้างในสังคมไทย

โดย วันรัก สุวรรณวัฒนา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์


"พวกคุณ ท้าทายอำนาจ ประธานเชียร์"

"ทำลายเจตนารมณ์ ของพวกผมที่ สืบทอดมาเป็นรุ่น

พวกคุณไม่ ภูมิใจในสถาบัน ใช่ไหมครับ จึงทำอย่างนี้ ไปเรียนที่อื่น ก็ยังทันนะครับ"

"ถ่ายรูปบันทึกหน้าตาให้ผมหน่อย จะได้ ออกนอกระบบ แบบเบาๆ เหมือน Singular"

"มิน่าล่ะครับ รุ่นน้อง มันถึงไม่ฟัง รุ่นพี่"

"Staff ทุกคนมี ความจิตอาสา"

เหล่า นี้คือประโยคที่ถูกเปล่งออกมาจากปากของนิสิต "รุ่นพี่" ซึ่งเป็นประธานเชียร์ในงานรับน้องใหม่ของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม เพื่อประณามนิสิตกลุ่มหนึ่งซึ่งไม่เห็นด้วยกับวัฒนธรรม "ห้องเชียร์" และได้พยายามขึ้นเวทีแสดงป้ายประท้วงและขออ่านแถลงการณ์ที่พวกตนเตรียมมา จนถูกกลุ่มผู้จัดงานโห่ไล่ให้ออกไปจากสถานที่จัดงาน (ดูวิดีโอที่นี่ http://www.youtube.com/watch?v=hVpM9lKr378&feature=player_embedded)

วิดีโอ นี้ได้รับการเผยแพร่ในเว็บไซต์ Youtube และกลายเป็นประเด็นถกเถียงกันอย่างกว้างขวางในสังคมออนไลน์และเว็บบอร์ ดต่างๆ ในอินเตอร์เน็ต ล่าสุด เว็บไซต์ประชาไทได้ลงสัมภาษณ์หนึ่งในสมาชิกกลุ่มนิสิตที่ดำเนินกิจกรรมคัด ค้านห้องเชียร์ และมติชนออนไลน์ได้เผยแพร่ "จดหมายเปิดผนึกถึงประชาคมมหาวิทยาลัยมหาสารคามและสังคมไทย เรียกร้องปฏิรูประบบรับน้อง/ห้องเชียร์" ซึ่งมีอาจารย์ นิสิตนักศึกษา นักเคลื่อนไหวทางสังคม ตลอดจนประชาชนทั่วไปร่วมลงชื่อมากกว่า 200 คน และยังคงมีผู้ทยอยลงชื่อสนับสนุนจดหมายนี้อย่างต่อเนื่องใน Event ซึ่งถูกสร้างขึ้นในเครือข่ายสังคมออนไลน์ Facebook

จากระบอบการปกครองแบบเจ้าอาณานิคม สู่เผด็จการห้องเชียร์ : เส้นทางประวัติศาสตร์ของ "อุดมการณ์โซตัส"ระบบ โซตัส (SOTUS) ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในหลายสถาบันการศึกษาในปัจจุบันนั้น สันนิษฐานว่าเริ่มต้นขึ้นจากการนำระบบอาวุโสของโรงเรียนกินนอนในประเทศ อังกฤษ (Fagging system) เข้ามาใช้ในโรงเรียนมหาดเล็กตั้งแต่ประมาณทศวรรษ 2440 ซึ่งเป็นระบบที่มีการแต่งตั้งดรุณาณัติ (Fag-master หรือ Prefect) จากนักเรียนอาวุโสผู้เรียนดีและประพฤติดี เพื่อทำหน้าที่ช่วยครูในการอบรมสั่งสอนและดูแลคณะนักเรียน โรงเรียนมหาดเล็กซึ่งพัฒนามาจากโรงเรียนสำหรับฝึกหัดวิชาข้าราชการฝ่าย พลเรือนนี้เป็นส่วนหนึ่งของพระบรมราโชบายปฏิรูประบบบริหารราชการแผ่นดินของ รัชกาลที่ 5 โดยมีวัตถุประสงค์แรกเริ่มเพื่อผลิตข้าราชการสำหรับกิจการปกครองท้องถิ่น

ใน แง่นี้ อาจกล่าวได้ว่า โรงเรียนมหาดเล็กคือกลไกสำคัญในการทำให้โครงสร้างการรวมศูนย์อำนาจเพื่อ "ปกครอง" และ "ควบคุม" เมืองขึ้นแข็งแกร่งขึ้น ในช่วงเวลาที่สยามยังไม่ได้เป็นรัฐชาติเฉกเช่นที่เรารู้จักกันทุกวันนี้
ครั้น ต่อมา เมื่อได้รับการสถาปนาเป็นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก็ได้สานต่อระบบอาวุโส ผนวกกับแนวคิดเรื่องระเบียบ ประเพณี สามัคคีและน้ำใจ จนคำว่า โซตัส (SOTUS) กลายเป็นคำขวัญทั้ง 5 ของนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและเป็นปณิธานในการอบรมสั่งสอนของผู้บริหาร อย่างไรก็ตาม ในช่วงเวลานี้ ไม่ปรากฏการใช้ความรุนแรงใดๆ

ดังนั้น จะเห็นได้ว่าระบบโซตัสในระยะแรกมีลักษณะของความเป็น "อุดมคติ" คือเป็นจินตนาการร่วมของมาตรฐานทางจริยธรรมที่ข้าราชการพลเรือน (ซึ่งต้องออกไป "ปกครอง" ท้องถิ่นแดนไกลอันป่าเถื่อนล้าหลังในนามของราชการไทย) ต้องไปให้ถึง ซึ่งสอดรับเป็นอย่างดีกับบริบททางการเมืองของการผนวกรวมชาติและการสร้าง มาตรฐานเดียวให้กับคุณค่าต่างๆ ซึ่งจำเป็นต้องเป็นมาตรฐานของ "ส่วนกลาง" เท่านั้น

ต่อ มา ระบบโซตัสในรูปแบบที่เข้มข้นขึ้น ซึ่งหมายถึงการผนวกรวมกิจกรรมการว้ากและการลงทัณฑ์เข้าเป็นส่วนหนึ่งนั้น ประเทศไทยรับมาในช่วงสงครามเย็นหรือประมาณทศวรรษ 2480 โดยได้มีการส่งนักศึกษาไปเรียนระดับปริญญาตรีในสหรัฐอเมริกา (โดยเฉพาะมหาวิทยาลัยโอเรกอนและมหาวิทยาลัยคอร์แนล) และในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์แห่งชาติ ณ เมืองลอสแบนยอส ประเทศฟิลิปปินส์ ซึ่งในขณะนั้น ฟิลิปปินส์ถูกยึดครองโดยอเมริกามาเกือบครึ่งศตวรรษก่อนหน้า "ผู้ปกครอง" ได้ถ่ายทอดรูปแบบเทคโนโลยีและรูปแบบการเรียนการสอนให้กับ "ผู้ถูกปกครอง" จึงทำให้ แนวคิดและระบบการศึกษาในมหาวิทยาลัยนี้เป็นไปในแบบอเมริกัน

เมื่อ จบกลับมา นักศึกษาของไทยก็ได้นำเอาระบบการว้าก (การกดดันทางจิตวิทยา) และการลงโทษ (การทรมานทางร่างกาย) มาใช้กับมหาวิทยาลัยไทย โดยเริ่มจากโรงเรียนเตรียมวิทยาลัยเกษตรศาสตร์แม่โจ้ เชียงใหม่ ซึ่งผลิตนักเรียนเพื่อเข้าเป็นนิสิตของวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพฯ ซึ่งต่อมาได้รับการสถาปนาเป็นมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

เป็นไป ได้ว่าในช่วงเวลานี้ มหาวิทยาลัยหลายแห่งได้นำคำว่า "โซตัส" ซึ่งเป็นคำขวัญของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมาปรับใช้เรียกระบบการรับน้อง "นำเข้า" รูปแบบใหม่นี้
จากมุมมองทางประวัติศาสตร์นี้ ระบบ โซตัส ถือเป็น "ประดิษฐกรรมทางวัฒนธรรม" ซึ่งถือกำเนิดขึ้นจากการหยิบยืม "องค์ความรู้" และ "เทคโนโลยี" สมัยใหม่มาจากมหาอำนาจจักรวรรดินิยมทั้งอังกฤษและอเมริกัน แม้จะต่างกรรมต่างวาระ แต่ก็อิงอยู่บนฐานกรอบคิดเดียวกัน กล่าวคือ กรอบคิดแบบเจ้าผู้ปกครองอาณานิคม ซึ่งมีรูปแบบที่เข้มข้นรุนแรงเพื่อกำราบ "เมืองขึ้น" ให้สยบยอม โดยในทางเนื้อหานั้น การเข้าไปรุกรานและควบคุม จำต้องนำรูปแบบการปกครองแบบทหารเข้ามาใช้ โดยผ่านกลไกของระบบการศึกษาของพลเรือน

นอกจากนี้ หากพิจารณาบริบททางการเมืองของไทยในยุคที่โซตัสลงหลักปักฐานอย่างจริงจังในมหาวิทยาลัยไทยนั้น เรากำลังอยู่ในยุค "รัฐนิยม" ที่มาพร้อมกับการปลูกฝังลัทธิชาตินิยมให้แก่เยาวชนและราษฎรไทย จึงไม่น่าแปลกใจเลยหากแนวคิดและรูปแบบของการปกครองนี้จะถูกหยิบมาใช้ใน สถาบันการศึกษาชั้นนำ โดยมีจุดประสงค์เชิงอุดมการณ์ เพื่อสร้างราษฎรที่มีคุณภาพ (ตามอุดมคติของรัฐ) เพื่อเป็นกำลังสำคัญในการสร้างชาติ เพราะในลัทธิชาตินิยม ไม่มีพื้นที่ให้กับความเป็นปัจเจกและความเป็นพลเมืองที่มีสิทธิเสรีภาพเป็น ของตน จะมีก็เพียงแต่สำหรับราษฎรที่เชื่อฟังและปฏิบัติตามหน้าที่ของตน (ตามที่รัฐบอก) อย่างเชื่องๆ

ต่อมาในทศวรรษ 2510 เมื่อกระแสสำนึกประชาธิปไตยถูกปลุกให้ตื่นขึ้นอีกครั้งเพื่อต่อต้านอำนาจ เผด็จการทหารโดยเฉพาะในหมู่นิสิตนักศึกษา ประเพณีและวิถีปฏิบัติจารีตนิยมหลายอย่างได้ถูกตั้งคำถามในฐานะฟันเฟือง สำคัญทางวัฒนธรรม ซึ่งผู้นำเผด็จการและเครือข่ายอุปถัมภ์นำมาใช้ครอบงำความคิดในระดับจิตใต้ สำนึกของประชาชนอย่างแนบเนียน

ระบบโซตัส ภายใต้ชื่อเรียกว่า "การรับน้อง" และ "ห้องประชุมเชียร์" จึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องถูกตั้งคำถามในฐานะหัวขบวนแห่งกระบวนการปลูก ฝังกล่อมเกลาปัญญาชนคนหนุ่มสาวให้อยู่ในสภาพเกียจคร้านทางปัญญาและสภาพชินชา ทางการเมือง
ในยุคนี้ เรามีตัวอย่างมากมายของ "คนรุ่นใหม่" ซึ่งออกมาเรียกร้องให้มีการเปิดประเด็นถกเถียงเรื่อง "วัฒนธรรมการรับน้อง" ดังกรณีของกลุ่มวลัญชทัศน์แห่งมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งได้ส่งตัวแทนชิงตำแหน่งประธานชมรมเชียร์ โดยมีนโยบายสำคัญคือการ เปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมการเชียร์ ซึ่งก็ได้รับชัยชนะ และสิ่งแรกที่ทำคือการแจกบทกวี "ฉันจึงมาหาความหมาย" ของ วิทยากร เชียงกูล ให้แก่นักศึกษาใหม่ในห้องเชียร์

แต่ หลังจากความพ่ายแพ้ของขบวนการนักศึกษาหลัง 2519 ระบบโซตัสก็ได้ถูกนำกลับมาใช้อีกครั้ง คู่ขนานไปกับการกลับมาของการเมืองแบบจารีต ที่มีฐานมาจากระบบอุปถัมภ์และเครือข่ายความสัมพันธ์ของชนชั้นปกครอง การใช้อำนาจปกครองทางการเมืองและวัฒนธรรมถูกทำให้ซับซ้อนและนุ่มนวลขึ้นด้วย เครื่องมือใหม่ที่ชนชั้นนำไทยรับมาจากระบอบจักรวรรดินิยมใหม่ในยุคหลัง สงครามเย็น ภายใต้โฉมหน้าของทุนนิยมโลกาภิวัตน์ ซึ่งใช้กลไกระบบตลาดในการเบี่ยงเบนความสนใจของผู้คนในสังคมจากการกดขี่และ จากปัญหาที่แท้จริงได้อย่างเหนือชั้นยิ่งกว่าระบบใดๆ ในประวัติศาสตร์

การ ตั้งคำถามกับสิ่งที่ไม่ถูกต้อง (แม้จะมีมาช้านานก็ตาม) จึงถูกทำให้เลือนหายไปจากสังคมไทย เฉกเช่นจิตสำนึกทางสังคมที่เจือจางไปจากคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของบัณฑิต รั้วมหาวิทยาลัย
หากพิจารณาภาพรวมทางประวัติศาสตร์การเดินทางของระบบโซตัสเพื่อฝังรากในวัฒนธรรมไทยนั้น จะเห็นได้ว่าจาก "อุดมคติทางจริยธรรม" ในยุคแรกเริ่มพัฒนาสยามประเทศ ระบบโซตัสได้อวตารมาเป็น "อุดมการณ์โซตัส" อันเข้มแข็งและแข็งทื่อในยุครัฐนิยมและยุคเผด็จการทหารในตอนปลายพุทธศตวรษ ที่ 25 และตอนต้นพุทธศตวรรรษที่ 26 และได้สร้างความเข้มแข็งให้กับตนเองอีกครั้งหลังความพ่ายแพ้ของขบวนการนัก ศึกษาหัวก้าวหน้า

และก็เป็นรูปแบบ "เผด็จการห้องเชียร์" เดียวกันนี้เองที่ยังคงสืบต่อมาจนปัจจุบัน


การว้าก การลงทัณฑ์และห้องเชียร์ : ฤๅเยาวชนไทยจะไร้ซึ่งจินตนาการ?
ใน แต่ละปี ตลอดช่วงเดือนแรกคาบเกี่ยวถึงเดือนที่สองของการเปิดภาคการศึกษา การประชุมเชียร์หรือห้องเชียร์ได้กลายมาเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่นิสิตนัก ศึกษาแรกเข้าหรือ "น้องใหม่" ต้องถูกบังคับหรือกึ่งบังคับให้เข้า "ซ้อมเชียร์" โดยรุ่นพี่ที่ยังเป็นนิสิตนักศึกษาในรั้วมหาวิทยาลัยหรือที่จบไปแล้วจะ ประชุมวางแผนซักซ้อมกิจกรรมตั้งแต่ก่อนเปิดภาคเรียน โดยกิจกรรมหลักประกอบด้วย การว้ากที่มาพร้อมกับการลงทัณฑ์

"การว้าก" คือ การสร้างบรรยากาศของความกดดันและความหวาดกลัวทางจิตวิทยา ด้วยกระบวนการทำให้เกิด "ความรู้สึกผิด" (emotional guilt) ผ่านการใช้ชุดคำแบบแผนสำเร็จรูปชุดหนึ่งซ้ำไปมา โดยกลุ่มคนซึ่งสถาปนาตนเองเป็น "รุ่นพี่" บนฐานข้ออ้างเรื่องความอาวุโส (Seniority อักษรตัวแรกของชื่อย่อ SOTUS) เป็นผู้บังคับใช้คำสั่งและการลงโทษทรมานทางร่างกายซ้ำไปมา ในฐานะเครื่องมือละลายพฤติกรรม

ทั้งหมดทั้งมวลมีเป้าหมายสูงสุด เพื่อสร้างกลุ่มรุ่นน้องที่เชื่อฟังอย่างมีระเบียบวินัย (Order จึงถูกใช้ในสองความหมาย คือคำสั่งและระเบียบวินัย) มีความเป็นหนึ่งเดียว (Unity) และมีความรักเทิดทูนและภูมิใจในสถาบันของตน (Spirit) ทั้งหมดนี้ เรียกกันทั่วไปว่า กระบวนการสืบทอดส่งต่อ "ประเพณีรับน้องใหม่" (Tradition)

หาก พิจารณาคำพูดของนักศึกษาผู้นำเชียร์ที่ยกมาในตอนต้นของบทความตอนที่หนึ่งและ เชื่อมโยงเหตุการณ์นี้เข้ากับวันที่บนปฏิทิน (5 มิถุนายน พ.ศ.2554) เราจะเห็นความลักลั่นระหว่างบริบทของยุคสมัยกับชุดคำพูดซึ่งสะท้อนชุดความ คิดของอุดมการณ์โซตัสได้เป็นอย่างดี

กล่าวคือ ในยุคซึ่งฉันทามติของสังคมไทยเรียกร้องความเท่าเทียม ประชาธิปไตย สิทธิเสรีภาพทางความคิดและการแสดงออก อุดมการณ์โซตัสกลับผลิตซ้ำวิธีคิดและวิถีปฏิบัติของยุคเผด็จการ อันมีหัวใจสำคัญอยู่ที่การสร้างความซาบซึ้งกับจารีตนิยมอย่างปราศจากการถก เถียงด้วยเหตุด้วยผล และการผูกขาดการตีความรูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างปัจเจกกับสถาบัน (ในที่นี้ คือสถาบันการศึกษาและสถาบันอาวุโส) ให้มีลักษณะแข็งทื่อไร้พลวัต โดยโจมตีกลุ่มคนที่เห็นต่างว่าเป็นพวกบ่อนทำลาย "เจตนารมณ์" และ "ประเพณีอันเก่าแก่"

หรือเป็นพวก "ร้อนวิชาสิทธิมนุษยชน" หรือ "ทำลายชื่อเสียงสถาบัน" (ดังตัวอย่างบทสัมภาษณ์อันน่าเศร้าสลดใจของอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาสารคาม และความคิดเห็นของกลุ่มสนับสนุนกิจกรรมประชุมเชียร์ของมหาวิทยาลัย มหาสารคาม)

วิวาทะว่าด้วยระบบโซตัสจึงไม่ได้หยุดอยู่เพียงแค่การตั้ง คำถามกับรูปแบบและวิธีการของประเพณีการรับน้องภายในรั้วมหาวิทยาลัยเท่านั้น (กล่าวคือ เราจะใช้วิธีการอย่างไรก็ได้ แม้ว่าจะล้าหลังหรือขัดแย้งกับยุคสมัยเพียงใด เพื่อให้ได้มาซึ่งจุดมุ่งหมายอัน "ดี" หรือ? ซึ่งในที่นี้ ยังไม่ได้ตั้งคำถามกับ "เจตนาดี" นี้ ว่าแท้จริงมาจากมุมมองของใคร เพื่อใครกันแน่และ "ดี" จริงหรือ)

แต่หมายรวมถึงการเชื่อม โยงระบบโซตัสเข้ากับบริบทภายนอกรั้วมหาวิทยาลัย เข้ากับสภาพความเป็นจริงของสังคมไทยในปัจจุบันที่รากเหง้าของปัญหาทางการ เมือง สังคมและวัฒนธรรมมาจากการไม่ยอมรับและไม่เคารพในความคิดเห็นที่แตกต่างหลาก หลายและจากการดำรงอยู่ของระบบอุปถัมภ์และระบบพวกพ้องอันนำมาซึ่งการเลือก ปฏิบัติและความอยุติธรรมทั้งหลายในสังคม
ในแง่นี้ พื้นที่ปิดของห้องเชียร์จึงกลายมาเป็นพื้นที่จำลองของปฏิบัติการใช้อำนาจที่ ไร้ความชอบธรรมใดๆ เป็นพื้นที่ฝึกความชาชินให้สยบยอมต่อ "ความเป็นธรรมชาติ" (ภายใต้ชื่อเรียกอันศักดิ์สิทธิ์ว่า "ประเพณี") ของโครงสร้างเดิมทางสังคม ซึ่งถูกประกอบสร้างและสถาปนาขึ้นจากอำนาจภายนอก จนนำไปสู่การสมยอมให้ถูกหลอมรวมเป็นส่วนหนึ่งของระบบต่อไป และยังเป็นพื้นที่ของการส่งทอด "วัฒนธรรมเหยียด" ผู้อื่น

จึงไม่น่า แปลกใจเลย หากแท้จริงแล้ว ชนชั้นกลางมีการศึกษาทั้งหลายจะเป็นผู้ชื่นชอบในระบอบเจ้าขุนมูลนายและดูถูก ผู้อื่นที่ไม่มีการศึกษาเท่าเทียมตน เพราะคนเหล่านี้ได้รับประโยชน์จากระบบอุปถัมภ์ที่สถาปนาผ่านระบอบการศึกษา จึงต้องพยายามปกปักรักษาอุดมการณ์โซตัสนี้ไว้เพื่อรักษาสถานภาพความเหลื่อม ล้ำที่เป็นอยู่ในสังคมให้คงทนถาวรสืบไป

ภายในพื้นที่ปิดของห้อง เชียร์และรั้วมหาวิทยาลัย นักศึกษาทั้งรุ่นพี่รุ่นน้องได้กระทำการ "สืบทอด" พิธีกรรมปิดหูปิดตาและปิดจินตนาการของคนหนุ่มสาวในนามของ "อัตลักษณ์" อันคับแคบของการเป็นนักศึกษาของสถาบันใดสถาบันหนึ่งอย่างเดียว

การ ปฏิเสธที่จะตั้งคำถามหรือเปิดเวทีเสวนาถกเถียงถึงความชอบธรรมของการมีอยู่ ของระบบโซตัส ในท่ามกลางสังคมไทยยุคเปลี่ยนผ่านทางการเมืองที่โครงสร้างทางสังคมการเมือง แบบจารีตนิยมสั่นคลอนอย่างถึงราก เป็นเสมือนการเลือกขีดเส้นวงกลมล้อมรอบตนเองเพื่อปิดตายศักยภาพของความเป็น ปัญญาชนที่ควรจะมีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อสังคมและเลือกการกดทับปิดกั้นพลัง สร้างสรรค์แห่งวัยรุ่นด้วยการสร้างความเป็นอื่นให้กับตนเองและให้กับคนอื่น ที่ไม่ใช่พวกตน

นับเป็นสิ่งที่น่าเสียดาย หากพวกเขาไม่สามารถมองเห็นความเป็นไปได้อื่นๆ ของรูปแบบการต้อนรับ "เพื่อนใหม่" ที่สามารถเชื่อมโยงกับชุมนุมโดยรอบมหาวิทยาลัยเพื่อเรียนรู้จากของจริง ปัญหาจริงและคนจริง

ฤๅพวกเขามองไม่เห็นว่ามหาวิทยาลัยไม่ใช่ พื้นที่ปิด แต่เป็นพื้นที่เปิดสู่ความท้าทายของการเข้าไปปฏิสัมพันธ์กับสภาพความเป็น จริงของสังคมภายนอกซึ่งพวกเขาเป็นส่วนหนึ่งอย่างไม่สามารถแยกออกจากกันได้
ใน ท่ามกลางเสียงเรียกร้องของสังคมเพื่อการปฏิรูปทางการเมือง การตั้งคำถามกับระบอบคุณค่าอันเป็นฐานเชื่อมโยงและจัดระเบียบความสัมพันธ์ ของผู้คนในสังคมเป็นสิ่งที่พึงกระทำร่วมกัน ประเพณีการรับน้องของสถาบันอุดมศึกษาไทยนี้เป็น "พื้นที่สีเทา" ซึ่งไม่มีที่ทางชัดเจนในภูมิทัศน์ของระบบการศึกษาไทย

สวนทางกับยุทธศาตร์การพัฒนาการศึกษา

สวนทางกับปณิธานของการผลิตบัณฑิตที่มุ่งเน้นให้นิสิตนักศึกษามีทักษะทางปัญญา

สวนทางกับสปิริตของการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัยที่ควรอยู่บนฐานของวัฒนธรรมการวิพากษ์

ท้ายที่สุด ประเพณีนี้เป็นปฏิปักษ์ต่อปรัชญาพื้นฐานของระบอบประชาธิปไตยอย่างไม่สามารถประนีประนอมได้

เพราะ ระบบโซตัสเป็นกลไกหลักของการครอบงำเชิงวัฒนธรรมและเป็นเมล็ดพันธุ์ของ "อุดมการณ์อำนาจนิยม" ที่ตกค้างอยู่ในระดับจิตใต้สำนึกและความคิดความอ่านของผู้คนอย่างแยบยลและ แยบคาย อันเป็นต้นตอสำคัญของปัญหาการเมืองที่นำไปสู่การสังหารหมู่เมื่อพฤษภาคม 2553

ปาฐกถา...ศ.นพ.เกษม วัฒนชัย องคมนตรี “จริยธรรมสื่อมวลชน”


“ทัศนคติของสื่อมวลชนเป็นเรื่องสำคัญมาก การบิดเบือน หรือเสนอไม่ครบ
เป็นเหมือนเป็นการทำให้ผู้บริโภค บริโภคอาหารไม่เต็มจาน ได้เพียงครึ่งจาน หรืออาจมียาพิษในอาหาร”


วันที่ 25 มิถุนายน ศาสตราจารย์นายแพทย์เกษม วัฒนชัย องคมนตรี ปาฐกถาพิเศษหัวข้อเรื่อง “จริยธรรมสื่อมวลชน” ในงานมหกรรม “คนสร้างข่าว จริยธรรมสร้างคน ” เนื่องในโอกาสครบรอบ 14  ปี สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ ณ ศูนย์การค้าสยามพารากอน
ศ.นพ.นายแพทย์เกษม กล่าวถึงอิทธิพลของสื่อมวลชน หรือสื่อสารมวลชนต่อประชาชนในยุคนี้ มีรูปแบบการเสนอมากมาย ไม่ว่าจะเป็นสื่อสิ่งพิมพ์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งสื่อผสม โดยมีผลงานวิจัยที่ชัดเจนว่า เด็กสมัยใหม่ ได้รับความรู้และเกิดปัญญาความคิด โดยการบริโภคข่าว เนื้อหาสาระความรู้ผ่านสื่อมาก ขณะเดียวกันสิ่งที่ได้รับจากโรงเรียนมีบ้าง และสิ่งที่ได้รับจากพ่อแม่ก็นับวันมีน้อยลงไป
“พ่อแม่สมัยนี้อย่าว่าแต่สอนเรื่องคุณธรรม ความดี ความงาม เพราะแทบไม่ได้สอนความรู้ให้กับลูกหลานเท่าใดนัก ฉะนั้น เด็กและเยาวชนจะประมวลความคิดของตัวเองจากสิ่งที่เสพได้จากสื่อมวลชน
สำหรับผู้ใหญ่ก็ได้รับข่าวสารผ่านสื่อมวลชน ทั้งวันทั้งคืน ดังนั้น อิทธิพลของสื่อสารมวลชนต่อมนุษย์ในโลกสมัยใหม่จึงมีมาก เมื่อสำคัญมากขนาดนั้น ถ้าไม่มีกฎ หรือกรอบจริยธรรมคอยประคับประคอง ความสัมพันธ์อาจจะไปในทางสร้างสรรค์หรือทำลายก็ได้ ถ้าต้องการได้ประโยชน์จากการใช้สื่อมวลชน โดยไม่มีจริยธรรมเป็นตัวบังคับก็สามารถทำได้ และใช้กันอยู่แล้ว เช่น ในยามเกิดสงครามระหว่างประเทศ หรือเกิดความขัดแย้งระหว่างกลุ่มผลประโยชน์ 2 กลุ่ม ก็จะใช้สื่อเพื่อให้ไปถึงเป้าหมายของฝ่ายตน
อิทธิพลของสื่อสารมวลชนต่อวิธีคิดของเด็กและ ผู้ใหญ่มีมากมาย ฉะนั้น ก็มีทั้งคนที่ตั้งใจให้ข้อมูลข่าวสารเป็นจริง ตั้งใจให้หลอกลวง หรือไม่ได้ตั้งใจลวงแต่ไม่ได้ตรวจสอบ เมื่อนำไปสร้างกรอบความคิดให้ประชาชน ก็จะได้กรอบที่บิดๆ เบี้ยวๆ จึงอยากแนะนำว่า ข้อมูลข่าวสารที่แม่นยำ เป็นจริง จะต้องมีกระบวนการที่ได้มา ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญมาก
ทั้งนี้ ถ้าเป็นนักข่าว แล้วได้ข้อมูลที่เชื่อถือไมได้ จะต้องมีกลไกที่ทำให้แหล่งข่าว หรือข่าวที่ได้มานั้น เชื่อถือได้ หรือแม่นยำ ส่วนแหล่งข่าวที่เชื่อถือไม่ได้ควรมีการตีราคา หรือให้น้ำหนักกับแหล่งข่าวนั้น ไม่อย่างนั้นจะต้องคอยมากรองข่าวอยู่ตลอดเวลา ส่วนแหล่งข่าวที่ตั้งใจจะให้ข้อมูลเท็จ ก็เป็นหน้าที่ของสื่อสารมวลชนที่จะต้องปฏิเสธแหล่งข่าวเหล่านี้
คำว่า “ข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์” ต้อง ยึดเอาประโยชน์ของส่วนรวมเป็นหลัก เคยมีประโยคของพระพุทธเจ้าที่สั่งสอนลูกศิษย์ คือ พหุชนหิตาย กับ พหุชนสุขาย ที่หมายถึง ประโยชน์ของมหาชนและเพื่อความสุขของมหาชน
“ผมคิดว่า อาชีพสื่อมวลชน เป็นอาชีพที่ยกย่องกันมาแต่โบราณแล้วว่า เป็นอาชีพศักดินาที่ 5 เพราะทุกคนเห็นความสำคัญมาตั้งแต่ไหนแล้ว หากถามว่าอาชีพนี้ทำเพื่ออะไร ให้ยึดตามหลักคำสอนพระพุทธเจ้า ให้ยึดว่าเวลาไปเผยแพร่พุทธธรรมต้องทำเพื่อประโยชน์สาธารณะ ความสุขของสาธารณะ เป็นทั้งประโยชน์และความสุขของมวลชน แม้คำว่าข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ จะมีการฝักฝ่าย แต่ถ้าสื่อมวลชนจับหลักว่า จะเอาประโยชน์ของส่วนรวมและของมหาชนเป็นหลัก ก็จะมีจุดหมาย
สำหรับ “ข้อมูลข่าวสารวงใน” หรือ ข่าวสารที่น่าเชื่อถือได้ ผู้ที่มีอาชีพสื่อสารมวลชนต้องตัดสินว่าวงในจริงหรือไม่ เชื่อถือได้หรือไม่ มีความรอบด้านพอหรือไม่ที่จะนำมาเป็นข่าวสารเพื่อออกสู่ประชาชน คล้ายๆ กับคำว่า “ข่าวสารที่เป็นความลับ”
“ในยุคดิจิตอลข่าวสารเป็นความลับลำบากขึ้น เพราะช่องทางและเทคโนโลยีมีมาก ซึ่งจะทำให้เกิดมาตรฐานของการประกอบอาชีพของสื่อมวลชนใหม่ขึ้นมา ทำให้การจัดมาตรฐานและระเบียบของอาชีพนี้อาจจะต้องพิจารณากันใหม่”
ผู้ที่มีหน้าที่ผลิตข่าว แล้วส่งให้มวลชนบริโภคมักจะคิดว่าหน้าที่จบแค่นั้น แท้ที่จริงแล้ว ข่าวที่ผลิตขึ้นมาและเผยแพร่ผ่านสื่อมวลชน มีผู้บริโภคหลายกลุ่มไม่ว่าจะเป็นเด็ก ผู้ใหญ่ คนที่มีระดับการศึกษา ผู้สูงอายุ หรือประเทศเพื่อนบ้าน สื่อมวลชนจึงเป็นผู้ที่มีลูกค้าเยอะมาก แต่เมื่อบริโภคแล้วเกิดคำถามว่า ข่าวที่รับรู้มาเชื่อหรือไม่ เชื่อมากหรือน้อย และเมื่อเชื่อแล้วเกิดปฏิกิริยาอย่างไร หรือเมื่อไม่เชื่อแล้วเกิดปฏิกิริยาอย่างไร
“ปฏิกิริยาที่ว่าเป็นเชิงบวกหรือลบ เชิงสร้างสรรค์หรือทำลาย ตรงนี้จึงจะกลับไปสู่เป้าหมายของสื่อมวลชนว่าสุดท้ายแล้ว จะสร้างประโยชน์ และสร้างความสุขให้กับมหาชนหรือไม่ อาชีพสื่อมวลชนมีกรอบในการทำงาน เพื่อประโยชน์และความสุขต่อมหาชน อยู่ 3 อย่าง ได้แก่ ระดับความรู้ความเข้าใจของสื่อมวลชนต่อข่าว ทัศนคติบวกหรือลบต่อสื่อมวลชน และกรอบจริยธรรมของสื่อมวลชน
หากพูดถึงระดับความรู้ความเข้าใจของสื่อมวลชน ต่อข่าว ผมเห็นใจสื่อมวลชน เพราะปัจจุบันทำงานยากขึ้น มีเรื่องซับซ้อนมาก การที่นิสิต นักศึกษาเรียนวิชาสื่อสารมวลชน 4 ปี แล้วจะให้เขาเข้าใจประเด็นต่างๆ ซึ่งสลับซับซ้อน ย่อมเป็นไปไม่ได้ หลักและทักษะกว้างๆ พอจะเป็นไปได้ แต่จะให้ลงลึกไปเป็นผู้สื่อข่าวแต่ละด้านคงไม่ได้ ต้องมีประสบการณ์ เรียนรู้จากรุ่นพี่ จากแหล่งอื่นๆ และต้องใช้เวลา ซึ่งผมเข้าใจว่าสภาการณ์หนังสือพิมพ์คงจะตระหนักดี ในการปรับเรื่องความรู้ ให้รับรู้และทันต่อโลก ต่อเหตุการณ์
ในสื่อหลักทุกวันนี้ บางเนื้อข่าว ผู้ที่เป็นผู้ประกาศข่าวบางท่านก็หลงไปเป็นผู้วิจารณ์ข่าวเอง แล้วก็วิจารณ์ผิด ผมคิดว่าความรู้ความเข้าใจในประเด็นข่าว และความหลงบทบาทตัวเองเป็นสิ่งที่อันตรายมาก ผมไม่คิดว่าเป็นการอคติมากมาย แต่เป็นความไม่เข้าใจในประเด็น ดังนั้น เมื่อความสัมพันธ์ของสื่อมวลชนกับผู้บริโภคมีมากมาย และส่วนใหญ่ผู้บริโภคจะเชื่อสื่อ หากทั้งพื้นฐานของคนที่ทำอาชีพนี้มีไม่พอแล้วยังเข้าใจผิดอีก ประชาชนก็ยิ่งเข้าใจผิดไปใหญ่ ผมจึงขอฝากผู้หลัก ผู้ใหญ่ไว้ว่าการอัพเดตความรู้ของอาชีพต้องทำตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นศาล แพทย์และทุกอาชีพ
“ถ้ามีหน้าที่ประกาศข่าว อ่านข่าว แล้วจะวิจารณ์ข่าวด้วย ต้องมั่นใจก่อนว่ารู้จริง มิฉะนั้นจะไม่ใช่ข่าวสารที่ถูกต้องและเป็นประโยชน์”
ทัศนคติของผู้ประกอบอาชีพสื่อมวลชน ทั้งในทางบวก และทางลบ ย่อมเกิดผลที่ต่างกัน
ยกตัวอย่าง ทัศนคติทางลบของผู้ประกอบอาชีพสื่อมวลชน เคยมีนักข่าวอาวุโสท่านหนึ่งพูดกับผมว่า ความขัดแย้งคือข่าว ผมคิดว่าหากคิดอย่างนี้ เป็นเรื่องที่โบราณไปแล้ว เป็นทัศนคติทางลบมากกว่า เพราะเป้าหมายของสื่อสารมวลชน คือ เพื่อประโยชน์สุขของมวลชน ฉะนั้น ทัศนคติ ของสื่อมวลชนจึงเป็นเรื่องสำคัญมาก การบิดเบือน หรือเสนอไม่ครบ ก็เป็นสิ่งที่สื่อมวลชนไม่ควรทำ เหมือนเป็นการทำให้ผู้บริโภค บริโภคอาหารไม่เต็มจาน ได้เพียงครึ่งจาน หรืออาจมียาพิษในอาหาร เมื่อเป็นเช่นนั้น หากมีทัศนคติบวกก็จะเป็นประโยชน์มหาศาล แต่ถ้าทัศนคติลบก็จะสร้างความแตกแยกมาก
จริยธรรมของสื่อมวลชน ในนิยามของผม คือข้อบัญญัติที่ฆราวาสกำหนดขึ้นเอง เพื่อเป็นแนวปฏิบัติ ทั้งนี้ คิดว่า “ข้อบัญญัติของสำนักผู้ตรวจการแผ่นดิน 9 ข้อ” น่าจะดีสำหรับคนทั่วไป เป็นจริยธรรมสำหรับคนไทย 9 ประการ ได้แก่
1.ยึดมั่นในคุณธรรมและจริยธรรม
2.มีจิตสำนึกที่ดี ซื่อสัตย์สุจริตและรับผิดชอบ
3.ยึดถือประโยชน์ของประเทศชาติเหนือกว่าประโยชน์ส่วนตน และไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน
4.ยืนหยัดทำในสิ่งที่ถูกต้อง เป็นธรรมและถูกกฎหมาย
5.ให้บริการแก่ประชาชนด้วยความรวดเร็ว มีอัธยาศัยและไม่เลือกปฏิบัติ
6.ให้ข้อมูลข่าวสารแก่ประชาชนอย่างครบถ้วน ถูกต้องและไม่บิดเบือนข้อเท็จจริง
7.มุ่งผลรับฤทธิ์ของงาน รักษามาตรฐาน มีคุณภาพ โปร่งใสและตรวจสอบได้
8.ยึดมั่นในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
9.ยึดมั่นในหลักจรรยาวิชาชีพขององค์กร
ถ้าประเทศเรายึดมั่นในความถูกต้องเที่ยงธรรม หมายความว่า บางทีต้องเสียประโยชน์ เพื่อยึดมั่นในความถูกต้องเที่ยงธรรม ขายเสียงก็ไม่ได้ ขายตัวก็ไม่ได้ หรือต้องต่อสู้ เพื่อให้ได้มาซึ่งความถูกต้องเที่ยงธรรมก็ต้องทำ เรื่องเหล่านี้เป็นอุดมการณ์ที่ค่อนข้างสูง

6 พรรคการเมือง ลงนามสัญญาประชาคม ร่วม 40 องค์กรประชาชน


เป็นเรื่องยินดีที่รวมตัวกันของภาคประชาชน 40 องค์กร โดยมี 6 พรรคการเมืองส่งตัวแทนร่วมรับฟังปัญหาและข้อเสนอ และร่วมลงสัญญาประชาคม การจัดทำวาระประเทศแล้วแจ้งหรือให้นักการเมืองมาร่วมรับทราบเป็นสิ่งที่ภาค ประชาชนควรทำอย่างยิ่ง

องค์กรเครือข่ายภาคประชาชน ร่วมกันจัดโครงการรณรงค์เลือกตั้ง 2554 “เวทีสัญญาประชาคม ประชาชนพบพรรคการเมือง” ณ ห้องประชุมอาคารนันทนาการ มหาวิทยาลัยรังสิต เผยสภาพปัญหาพร้อมร่วมเสนอนโยบายต่อพรรคการเมือง โดยมีเครือข่ายภาคประชาชนกรณีปัญหาต่างๆ เข้าร่วมกว่า 3,000 คน
กิจกรรม ในช่วงเช้าเป็นการอภิปรายเรื่องการวิพากษ์นโยบายพรรคการเมือง กับการแก้ไขปัญหาของประชาชน จากนั้นในช่วงบ่าย มีการเปิดเวทีให้ภาคประชาชนนำเสนอนโยบายต่อพรรคการเมือง แบ่งเป็น 10 ประเด็นคือ เรื่องภาพรวมข้อเสนอนโยบายภาคประชาชน ปัญหาที่ดิน ที่อยู่อาศัย ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ปัญหาของผู้ใช้แรงงานและผู้ประกันตน ปัญหาภาคการเกษตร ความมั่นคงด้านอาหาร ปัญหาหนี้สินเกษตรกรและหนี้สินประชาชน ปัญหาจากผู้ได้รับผลกระทบจากโครงการพัฒนาของรัฐและทุน ข้อเสนอเรื่องสถานะบุคคลและสัญชาติ ข้อเสนอจากเครือข่ายผู้พิการ รวมถึงข้อเสนอด้านรัฐสวัสดิการและสาธารณสุข และสุดท้ายเป็นข้อเสนอเชิงนโยบายปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม

นอกจากนี้ภายในงานยังมีการปราศรัยเกี่ยวกับนโยบายภาค ประชาชนโดยตัวแทน พรรคการเมือง ได้แก่ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์, นายปลอดประสพ สุรัสวดี รองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย, นางศุภาธินันท์ (สะอิ้ง) ไถวสินธุ์ ผู้สมัคร ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคภูมิใจไทย, นายสมบัติ เบญจศิริมงคล ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคการเมืองใหม่, พล.ต.วีระศักดิ์ นาทะสิริ ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคมาตุภูมิ และนายสนธิญา สวัสดี ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคชาติไทยพัฒนา

จากนั้นตัวแทนพรรคการเมืองทั้ง 6 พรรค ได้ร่วมลงนามลงนามสัญญาประชาคมระหว่างพรรคการเมืองกับตัวแทนภาคประชาชน ว่าด้วยการสนับสนุนแนวทางและข้อเสนอในการปฏิรูปโครงสร้างอำนาจ และแก้ปัญหาความยากจน

ปิดท้ายกิจกรรมในครั้งนี้ โดยเครือข่ายประชาชนร่วมอ่านคำประกาศเจตนารมณ์ต่อการเลือกตั้ง 2554 ซึ่งระบุเนื้อหาดังนี้

คำประกาศเจตนารมณ์ เครือข่ายประชาชน 40 องค์กรต่อการเลือกตั้ง 2554

พวกเราในนามเครือข่ายประชาชน 40 องค์กร ซึ่งได้ร่วมกันจัดโครงการรณรงค์เลือกตั้ง 2554 “เวทีสัญญาประชาคมพบพรรคการเมือง” เพื่อนำเสนอปัญหาข้อเรียกร้องของประชาชนต่อพรรคการเมืองตามวิถีของระบอบ ประชาธิปไตย เพื่อตรวจสอบว่านโยบายของพรรคการเมืองเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาปากท้องของ ประชาชนหรือไม่ อย่างไร และรณรงค์ข้อเสนอเกี่ยวกับการปฏิรูปประเทศให้พรรคการเมืองนำไปปฏิบัติและ สร้างกลไกเชื่อมประสานเครือข่ายองค์กรภาคประชาชน ในการหนุนเสริมให้เกิดการแก้ไขปัญหาประชาชนและผลักดันให้เกิดการปฏิรูป ประเทศที่สร้างความเป็นธรรมและเท่าเทียมทางสังคม ในวันนี้ ณ ห้องประชุมนันทนาการ ม.รังสิต เราขอแถลงการณ์ท่าทีและข้อเรียกร้องต่อกรณีดังกล่าวดังนี้

1.เราเห็นว่าการเลือก ตั้ง 3 กรกฎาคม 2554 นั้น ปัญหาของประเทศ ความเดือดร้อนของประชาชน ผู้ได้รับผลกระทบจากนโยบายของรัฐทั้งหลาย คือสิ่งที่พรรคการเมืองทั้งหมดและรัฐบาลใหม่ที่จะมาหลังจากการเลือกตั้ง จะต้องเผชิญกับความทุกข์ยากของแผ่นดิน และเป็นหน้าที่ในการหาทางออก เพื่อการแก้ไขปัญหาร่วมกับประชาชนอย่างมิอาจหลีกเลี่ยงได้ บทเรียน 79 ปี ของเปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นระบอบประชาธิปไตยที่ผ่านมา ย่อมประจักษ์ชัดแล้ว การเลือกตั้งที่ผ่านมาไม่ได้ดำเนินการไปสู่ความมุ่งมาดปรารถนาของคณะราษฎร อันจะนำพามาซึ่งคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของคนทั้งแผ่นดินอย่างแท้จริง

2.เราขอยืนยันว่า ความเหลื่อมล้ำทางโครงสร้างและความไม่ธรรมทางสังคมย่อมแก้ไขได้ หากพรรคการเมืองที่ได้รับฉันทานุมัติให้เข้ามาใช้อำนาจรัฐการปกครอง ยอมรับและเข้าใจในปัญหา มีนโยบายที่จะเอาปัญหาของประชาชนเป็นตัวตั้ง ปรับโครงสร้างกฎหมายนโยบายให้สอดคล้อง ด้วยการกระจายทรัพยากร สิทธิ โอกาสและรายได้ ภายใต้หลักการเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ การมีส่วนร่วมของประชาชน เพื่อให้ชุมชนมีอำนาจในการจัดการในทุกระดับ อันจะนำมาซึ่งการพึ่งตนเองได้ในที่สุด

3.เราเห็นว่า “เวทีสัญญาประชาคมประชาชนพบพรรคการเมือง” ในวันนี้ จะนำมาซึ่งความร่วมมือระหว่างพรรคการเมือง ผู้ได้รับการเลือกตั้งจากประชาชน กับพวกเราเครือข่ายประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากการพัฒนาที่ผ่านมา เพื่อร่วมกันหาทางออกในการแก้ไขปัญหาประเทศ ปฏิรูปโครงสร้างทั้งระดับนโยบายและรูปธรรมรายกรณี อันจะนำมาซึ่งความเป็นธรรมและคุณภาพชีวิตที่ดีของคนในประเทศ

ท้ายที่สุด เราเห็นว่าการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของคนจน อันเป็นความทุกข์ของแผ่นดิน และภารกิจการปฏิรูปประเทศ เพื่อลดความเหลื่อมล้ำและสร้างความเป็นธรรม ความเท่าเทียมทางสังคมนั้นจะสำเร็จบรรลุเป้าหมายของระบอบประชาธิปไตยของ ประชาชน เพื่อประชาชน โดยประชาชน ได้นั้น ก็ด้วยความสามัคคีเป็นหนึ่งเดียวของพวกเราที่จักต้องร่วมกันต่อสู้จนกว่าชัย ชนะจักเป็นของเราในที่สุด ด้วยจิตสมานฉันท์และเชื่อมั่นใน

ระบอบประชาธิปไตย ประชาชนต้องกำหนดอนาคตตนเอง
ประกาศเครือข่ายองค์กรประชาชน 40 องค์กร
ประกาศ ณ ห้องประชุมนันทนาการ มหาวิทยาลัยรังสิต
วันศุกร์ที่ 24 มิถุนายน 2554

ร่วมประกาศเจตนารมณ์โดย

เครือข่ายองค์กรประชาชน 40 องค์กร 1.คณะกรรมการสมัชชาปฏิรูป (คสป.) 2.สำนักงานปฏิรูป (สปร.) 3.คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) 4.สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) 5.เครือข่ายศูนย์ประสานงานแรงงานนอกระบบ 6.สภาเครือข่ายองค์กรเกษตรกรแห่งประเทศไทย (สคปท.) 7.ขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (Pmove) 8.เครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทย (คปท.) 9.เครือข่ายสลัม 4 ภาค 10.ชมรมปฏิรูปสิทธิลูกหนี้ (ปสล.) 11.เครือข่ายชุมชนเพื่อการปฏิรูปสังคมและการเมือง (คป.สม.) 12.สมัชชาคนจน (สคจ.) กรณีปัญหาเขื่อนปากมูล จังหวัดอุบลราชธานี 13.เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก 14.เครือข่ายกลุ่มสิทธิผู้ป่วยแม่เมาะ จังหวัดลำปาง 15.กลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม อุดรธานี 16.กลุ่มผู้เดือดร้อนจากโครงการสวนป่าพิบูล จังหวัดอุบลราชธานี 17.ชมรมพิทักษ์สิทธิผู้ประกัน 18.เครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทยภาคเหนือ( คปท.เหนือ) 19. สหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือ (สกน.) 20. เครือข่ายปฏิรูปที่ดินภาคอีสาน (คปอ.) 21.ศูนย์ประสานงานเครือข่ายประชาชน 22.ศูนย์ปฏิบัติการร่วมเพื่อแก้ไขปัญหาประชาชนบนพื้นที่สูง (ศปส.) 23.เครือข่ายประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากโรงไฟฟ้าชีวมวล 24.เครือข่ายประชาชนภาคตะวันออก 25.กลุ่มรักษ์ท้องถิ่นบ่อนอก-หินกรูด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 26. เครือข่ายคนไทพลัดถิ่น 27.สภาองค์กรชุมชน 28.เครือข่ายลุ่มน้ำภาคเหนือ 29.สภาผู้พิการทุกประเภทแห่งประเทศไทย 30.กลุ่มเพื่อนประชาชน (FOP.) 31.กลุ่มปฏิบัติงานท้องถิ่น (Local Act) 32.กลุ่มปฏิบัติงานคนจนเมือง 33.มูลนิธิเพื่อการพัฒนาแรงงานและอาชีพ 34.มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค 35.สหพันธ์องค์กรผู้บริโภค 36.มูลนิธิพัฒนาที่อยู่อาศัย (มพศ.) 37.คณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย (ครป.) 38.ฝ่ายพัฒนาสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต
39.มูลนิธิชุมชนไท 40. คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน (กป.อพช.)
ประมวลภาพ: เครือข่ายปฎิรูปที่ดินแห่งประเทศไทย
กิจกรรมของภาคประชาชนในตอนเช้า ณ หมุนประชาธิปไตย 2475 เพื่อรำลึกถึงการเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อวันที่ 24 มิ.ย.2475
ตัวแทนภาคประชาชนขึ้นเวทีพบตัวแทนพรรคการเมือง

นางศุภาธินันท์ (สะอิ้ง) ไถวสินธุ์ ผู้สมัคร ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคภูมิใจไทยพูดคุยกับชาวบ้านปากมูน

บรรยากาศด้านล่างเวที

นักศึกษามหาวิทยาลัยรังสิตชูป้ายร่วมแสดงความคิดเห็น


ตัวแทนพรรคการเมืองร่วมลงชื่อสัญญาประชาคม
อ่านคำประกาศเจตนารมณ์เครือข่ายประชาชน 40 องค์กรต่อการเลือกตั้ง 2554
สัญญาประชาคม ลงนามโดยตัวแทนพรรคการเมือง 6 พรรค

ประมวลภาพ : พธม.เฮลั่น ! หลังไทยถอนตัวภาคีมรดกโลก



โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 26 มิถุนายน 2554 04:11 น.

พธม.เฮลั่น! หลังไทยถอนตัวจากภาคีมรดกโลก ซึ่งถือว่าข้อเรียกร้องที่ยาวนานสำเร็จแล้ว 1 ข้อจาก 3 ข้อ "เทพมนตรี" ชู "สุวิทย์" เป็นฮีโร่ในการทำหน้าที่ครั้งนี้ ชวนพี่น้องประชาชนไปต้อนรับการกลับไทยจันทร์นี้ (27 มิ.ย.) เวลา 06.00 น. ที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
      
       

      
       วานนี้ (25 มิ.ย.) เมื่อเวลาประมาณ 23.24 น. นายนายสุวิทย์ คุณกิตติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) ในฐานะหัวหน้าคณะเจรจามรดกโลกไทย ได้ตัดสินใจนำประเทศไทยลาออกจากภาคีมรดกโลก หลังคณะกรรมการมรดกโลกไม่ทำตามคำเรียกร้องเลื่อนพิจารณาแผนบริหารจัดการโดย รอบประสาทเขาพระวิหารเลื่อนออกไปตามที่ไทยขอ
      
       ซึ่งหลังจากผู้ร่วมชุมนุมที่สะพานมัฆวานรังสรรค์ได้รับทราบถึงข่าวดี นี้ ก็ถึงกับแสดงอาการดีใจอย่างถึงที่สุด โดยบางคนก็เฮลั่น บางคนก็ซาบซึ้งจนกระทั่งน้ำตาไหล เนื่องจากข้อเรียกร้องอันยาวนานของพันธมิตรฯ 3 ข้อนั้น (1.ถอนตัวออกจากคณะกรรมการมรดกโลก 2.ยกเลิกเอ็มโอยู 2543 และ 3.ผลักดันชาวกัมพูชาออกไปจากแผ่นดินไทย) ได้สำเร็จแล้ว 1 ข้อ
      
       และวันนี้ (26 มิ.ย.) เมื่อเวลา 03. 54 น. อาจารย์เทพมนตรี ลิมปพยอม ตัวแทนคณะกรรมการป้องกันราชอาณาจักรไทย ที่ได้ร่วมเดินทางไปสังเกตการณ์การประชุมคณะกรรมการมรดกโลกครั้งนี้ ก็ได้เผยแพร่ข้อความทางเฟซบุ๊ก (Thepmontri Limpaphayom) เพื่อเชิญชวนพี่น้องประชาชนไปต้อนรับการกลับไทยของ นายสุวิทย์ คุณกิตติ เพื่อตอบแทนการปฏิบัติหน้าที่ในครั้งนี้
      
       "คุณสุวิทย์ คุณกิตติจะกลับถึงประเทศไทยเช้าวันจันทร์นี้เวลา 06.00 น. อยากเชิญชวนพ่อแม่พี่น้องไปร่วมเป็นกำลังใจให้คุณสุวิทย์ ในฐานะเป็น "ฮีโร่" รักษาดินแดนและปกป้องอธิปไตยของคนไทยและรักษาแผ่นดินของพระบาทสมเด็จพระเจ้า อยู่หัว ไปพร้อมกันนะครับเพื่อเป็นขวัญกำลังใจให้กับคุณสุวิทย์ ที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ" อาจารย์เทพมนตรี ระบุ
      
       

      
       



     
     
     
     
     
     
     
รีโมท ซื้อ รีโมท จากผู้ค้าส่งโดยตรง ที่มีหน้าร้านจริง ที่ บ้านหม้อ และ คลองถม ราคาถูกกว่าใคร ปลอดภัย มีรับประกัน

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

บทความย้อนหลัง