ASTV Manager online
เพื่อไทย เตรียมโยกย้ายข้าราชการทุกกระทรวง เน้น ‘คลัง’ ขับเคลื่อนนโยบาย ปิดจุดอ่อน “ดีแต่โม้” หวังเศรษฐกิจดีพยุง “ยิ่งลักษณ์” ส่วนมหาดไทยปรับย้ายได้สารพัดนึก วงในตำรวจ ชี้ “แม้ว” สุดยอดนักกลยุทธ์ซื้อใจลูกน้อง ผลักดันระบบ ‘อุปถัมภ์’เติบโต ด้าน ปชป.ยอมรับ ขรก.เทใจให้ทักษิณ จับตาเกมรื้อกฎหมายขย่มบิ๊กสีเขียว หวังจัดตั้งบิ๊กทหารคุมกำลังสมใจ...
เพียงระยะเวลาไม่ถึง 2 เดือนหลังการเข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการของ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี การแต่งตั้งโยกย้ายบรรดาข้าราชการการเมืองและข้าราชการประจำเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและค่อนข้างรวดเร็วทั้งในกระทรวงการคลัง กระทรวงยุติธรรม กระทรวงกลาโหมและกระทรวงมหาดไทย
และเมื่อเข้าใกล้สิ้นเดือนกันยายน อันถือว่าเป็นวันสิ้นสุดอายุราชการในหลายกระทรวง โดยเฉพาะในระดับซี 10-11 หรือในส่วนของกระทรวงกลาโหม และกระทรวงมหาดไทย ที่ถือว่าเป็นการจัดระเบียบหน่วยความมั่นคง ทั้งในกองทัพ และท้องถิ่นทั่วประเทศ เพื่อกระชับอำนาจให้เข้าที่เข้าทางให้เหมาะสมกับที่ข้าราชการจะต้องเป็นเครื่องมือสำคัญของรัฐบาลในการบริหารประเทศต่อไป
รื้อ “คลัง” เน้นทำนโยบาย
หน่วยงานสำคัญที่นับตั้งแต่เริ่มเข้าสู่ฐานะรัฐบาล กระทรวงที่มีการปรับเปลี่ยนไม่น้อย และเป็นกระทรวงแรกที่มีการปรับเปลี่ยนขนานใหญ่ เพื่อรองรับนโยบายประชานิยมของรัฐบาล คือกระทรวงการคลังที่ถือว่าเป็นหน่วยงานแรกๆ ที่มีการปรับเปลี่ยนอย่างชัดเจน ทั้งในส่วนของข้าราชการพลเรือน อาทิ สมชาย พูลสวัสดิ์ รองปลัดกระทรวงไปดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมศุลกากร เบญจา หลุยเจริญ รองปลัดกระทรวงไปดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมสรรพสามิต
รวมถึงการดัน นริศ ชัยสูตร ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ไปดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมธนารักษ์ รวมถึงการส่ง สมชัย สัจจพงษ์ ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ ไปดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง และโยกประสงค์ พูนธเนศ อธิบดีกรมศุลกากร ไปดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ
ตลอดจน พงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ อธิบดีกรมสรรพสามิต ไปดำรงตำแหน่งรองปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง รวมไปถึงในส่วนของข้าราชการการเมืองก็มีเข้ามาเป็นจำนวนไม่น้อย อาทิ สุรพร ดนัยตั้งตระกูล ที่ปรึกษา รมช.คลัง จิรเดช วรเพียรกุล ที่ปรึกษา บุญทรง เตริยาภิรมย์ รมช.คลัง ภิญโญ ตั๊นวิเศษ ที่ปรึกษาวิรุฬ เตชะไพบูลย์ รมช.คลัง เป็นต้น
เหตุผลสำคัญในการโยกย้ายข้าราชการในกระทรวงการคลังเป็นวาระแรก ก็คือ การค้ำยันรัฐบาลยิ่งลักษณ์ให้สามารถยืนระยะต่อไปได้ เนื่องจากนโยบายด้านเศรษฐกิจที่ถือว่าเป็นจุดขายของพรรคเพื่อไทยตามที่ได้ประกาศไปแล้วถูกโจมตีอย่างหนักจาก ข้อหา “ดีแต่โม้” จึงจำเป็นต้องถูกปิดจุดอ่อนด้วยการผลักดันนโยบายต่างๆออกมาอย่างรวดเร็วที่สุด ซึ่งการมีข้าราชการในสายกระทรวงการคลังทำหน้าที่ขับเคลื่อนจึงเป็นการวางหมากไว้เพื่อการนี้โดยเฉพาะ จึงไม่แปลกที่จะเห็นว่า นโยบายคืนภาษีรถยนต์คันแรกจะถูกผลักดันออกมาอย่างรวดเร็ว รวมไปถึงนโยบายบ้านหลังแรกยกเว้นภาษี 10% ที่ออกตามมาติดๆ และล่าสุดกับการซื้อใจข้าราชการกับการเตรียมขึ้นเงินเดือนข้าราชการวุฒิปริญญาตรี 15,000 บาทในต้นปี 2555 ที่จะถึงนี้
“ข้าราชการในกระทรวงการคลังจำเป็นต้องมีการปรับเพื่อรองรับการทำนโยบาย ทำให้ นโยบายของรัฐถูกผลักดันออกมาอย่างต่อเนื่อง เพราะจุดแข็งด้านเศรษฐกิจจะต้องเดินหน้าให้ได้” สงวน พงษ์มณี ส.ส.ลำพูน พรรคเพื่อไทยระบุ
ยุคเนวินยี้หนัก
ปรับ มท.เข้าทางเพื่อไทย
นอกเหนือจาก การขยับเคลื่อนนโยบายด้านเศรษฐกิจแล้ว สงวนยอมรับว่า ในการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมาผู้ว่าราชการจังหวัด ถือเป็นเครื่องมือทางการเมืองที่ถูกใช้ในการกดดันอย่างหนัก จึงไม่แปลกที่ในช่วงของการหาเสียงเลือกตั้ง ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี จะประกาศพร้อมสั่งย้ายผู้ว่าราชการจังหวัดในบางพื้นที่ทันทีหากชนะการเลือกตั้ง ซึ่งในวันนี้ก็เริ่มปรากฏแล้วโดยมี ยงยุทธ วิชัยดิษฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรับผิดชอบ
ด้วยประสบการณ์ของยงยุทธที่เคยเป็นข้าราชการประจำในระดับปลัดกระทรวงมาก่อนในอดีตทำให้มีสายสัมพันธ์ที่ค่อนข้างดี ประกอบกับที่ลูกน้องต่างก็ทยอยเติบโตขึ้นมาเรื่อยๆ จึงถือว่าเป็นมือไม้ที่สำคัญ และเมื่อมีอำนาจทางการเมืองจึงนำไปสู่การปรับย้ายเพื่อให้ได้คนที่ไว้ใจได้มากที่สุด
ดังนั้น การปรับย้ายในกระทรวงมหาดไทยในครั้งนี้ถือว่าเป็นการปรับในจำนวนที่ไม่น้อย แต่ก็ไม่มีกระแสต้าน หรือเสียงค้านมากนัก ส่วนหนึ่งมาจากความเข้าใจในวัฒนธรรมของข้าราชการกระทรวงมหาดไทยโดยเฉพาะในหลักอาวุโส แต่ที่สำคัญก็คือ ตราบาปที่พรรคภูมิใจไทยฝากไว้กับวงการข้าราชการกระทรวงมหาดไทย ทั้งข้อครหาในการซื้อขายตำแหน่งตั้งแต่ระดับอำเภอ ผู้ว่าราชการจังหวัด ไปจนถึงระดับอธิบดีกรมและปลัดกระทรวง ซึ่งเป็นที่อื้อฉาวอย่างยิ่งในยุคของ ชวรัตน์ ชาญวีรกูล ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และจุดสำคัญก็คือ การที่มี ศักดิ์สยาม ชิดชอบ ประธานคณะทำงานรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยทำหน้าที่ดูแลเรื่องการแต่งตั้งโยกย้ายในกระทรวงในอดีตที่ได้สร้างความไม่พอใจต่อข้าราชการในกระทรวงมหาดไทยอย่างมาก
“ฤดูนี้จะมีผู้ที่จะเกษียณหลายคน และหลายส่วนที่ถูกแต่งตั้งข้ามหัวมา คุณยงยุทธจะปรับเปลี่ยนแต่งตั้งตามระบบอาวุโสซึ่งสามารถทำได้ง่าย และอย่างน้อยก็เป็นที่ยอมรับของข้าราชการส่วนใหญ่ เพราะในอดีตมีปัญหาในการแต่งตั้งอย่างมาก รวมถึงผู้ที่รับใช้บางคนในอดีตอย่างสุดลิ่มก็ต้องปรับบทบาทให้เหมาะสมจึงจะทำงานด้วยกันได้” สงวนระบุ
ด้วยเหตุนี้ วิเชียร ชวลิต จึงกลายเป็นอดีตปลัดกระทรวงมหาดไทย และถูกเด้งเข้ากรุไปช่วยราชการประจำสำนักนายกรัฐมนตรี โดยมีพระนาย สุวรรณรัฐ รองปลัดกระทรวงมหาดไทย ที่ถือว่าอาวุโสสูงสุด ขึ้นเป็นรักษาการปลัดกระทรวงมหาดไทยทันที หรือแม้แต่ในระดับรองลงมาที่อีกชื่อหนึ่งก็มีความอาวุโสใกล้เคียงกันก็คือ สุกิจ เจริญรัตนกุล ผู้ตรวจราชการกระทรวงมหาดไทย ซึ่งมีสายสัมพันธ์ใกล้ชิดกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ด้วยเหตุผลของความอื้อฉาวในอดีตและการยึดโยงกับหลักอาวุโสอยู่ด้วยจึงทำให้การจัดระเบียบของรัฐบาลได้ง่ายโดยปริยาย
ดังนั้น เมื่อคุมกระทรวงมหาดไทยได้ก็ส่งผลโดยตรงต่อการดูแลในระดับพื้นที่โดยตรงต่อการเลือกตั้ง ทั้งนี้ข้าราชการระดับสูงของกระทรวงมหาดไทยที่จะเกษียณอายุราชการในปีนี้ประกอบด้วย ผู้ตรวจราชการ 6 ตำแหน่ง ผู้ว่าราชการจังหวัด 12 ตำแหน่ง และรองผู้ว่าฯ อีก 23 ตำแหน่ง การแต่งตั้งโยกย้ายในสายของข้าราชการกระทรวงมหาดไทยจึงค่อนข้างเปิดกว้าง และการยึดกุมความได้เปรียบในข้าราชการสายมหาดไทยของรัฐบาลยิ่งลักษณ์จึงดูเหมือนเข้าทางและสร้างความได้เปรียบกับรัฐบาลยิ่งลักษณ์อย่างมาก
เชื่อดัน “ทวี” ขึ้นปลัดกระทรวง
แต่ผู้ที่สังคมต้องจับตาก็คือ การที่ พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รองปลัดกระทรวงยุติธรรมถูกปรับโยกข้ามห้วยมารับตำแหน่งผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการองค์การบริหารส่วนจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ที่ขยับขึ้นชั้นข้าราชการระดับ ซี 11 เทียบชั้นปลัดกระทรวง มีอิสระและคุมเม็ดเงินงบประมาณหลักหมื่นล้านบาท
“หากพิจารณาในงานสายปราบปราบหรือความมั่นคง คุณทวีเป็นนายตำรวจอยู่ที่จ.กาญจนบุรีอยู่ช่วงหนึ่งที่รับราชการใหม่ๆ แล้วก็มาเติบโตในสายงานยุติธรรมโดยตลอด ซึ่งยังคงเป็นคำถามว่าจะสามารถแก้ปัญหาในภาคใต้ได้หรือไม่ เนื่องจากค่อนข้างยากและซับซ้อน และอาจไม่มีความเชี่ยวชาญมากพอ” แหล่งข่าวในแวดวงตำรวจระบุ
การปรับย้ายข้ามห้วยครั้งนี้ จึงถือว่าเป็นการโยกย้ายที่ พ.ต.อ.ทวี ได้รับประโยชน์อย่างสูงหลังจากที่ถูกแขวนไว้ในช่วงรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ ความพยายามในการผลักดัน พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง ขึ้นรั้งตำแหน่ง ผู้อำนวยการ ศอ.บต.ในครั้งนี้จึงเท่ากับว่า เป็นการปูทางและวางหมากยาวซึ่งเมื่อ พ.ต.อ.ทวี ขึ้นชั้นซี 11 แม้จะยังมิได้รั้งตำแหน่งปลัดกระทรวง แต่การย้ายข้ามฟากนี้เส้นทางสามารถทอดยาวไปได้ทั้งใน 2 สายของปลัดกระทรวงมหาดไทย หรือจะย้ายกลับไปยังกระทรวงยุติธรรมก็มีความเป็นไปได้ทั้งสิ้น
“เวลานี้ข้าราชการสายกระทรวงยุติธรรม ตำรวจหรือแม้แต่มหาดไทยถือว่าอยู่ในกรอบที่คุณทักษิณสามารถจัดวางได้ และถนนทุกสายจะมุ่งไปที่ตระกูลชินวัตรหากหวังที่จะเติบโตทางการเมือง”
หวังรื้อกฎจัดระเบียบกองทัพ
โดยในเวลานี้การจัดระเบียบข้าราชการในกระทรวงต่างๆ จึงดูเหมือนจะเป็นการชี้นกเป็นไม้ ชี้ไม้เป็นนก คือสามารถจัดการได้อย่างง่ายดาย ทว่าก็ยังคงมีความพยายามที่จัดการค่อนข้างยาก ก็คือ การแต่งตั้งโกยย้ายข้าราชการทหาร โดยเฉพาะกับสภากลาโหมกับการแต่งตั้งนายทหารระดับคุมกำลังเพื่อเป็นการจัดระเบียบของกองทัพซึ่งก็ไม่อาจทำได้
จนถึงขนาดที่ พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ต้องยื่นเรื่องให้คณะกรรมการกฤษฎีกาตีความข้อกฎหมายตามพระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม พ.ศ. 2551 ซึ่งเกี่ยวข้องกับอำนาจของรัฐมนตรีว่ามีขอบเขตในการแต่งตั้งตำแหน่งต่างๆ ซึ่งแสดงให้เห็นชัดว่า แม้แต่ระดับรัฐมนตรีก็เป็นการยากที่จะเข้ามาล้วงลูกในการจัดทำโผแต่ตั้งนายทหาร หรือพูดง่ายๆ ว่าทำได้เพียงเป็นทางผ่านของการจัดการโผทำนั้น
“ทหารก็ถือว่าเป็นข้าราชการ ซึ่งรัฐมนตรีควรจะปรับได้ หากเทียบกับกระทรวงอื่นที่ปรับได้ทั้งระดับซี 10-11 กระทรวงกลาโหมที่มีความแตกต่างก็ควรที่จะมีการปรับแก้ระเบียบเพื่อให้เหมือนกับหน่วยราชการอื่นๆ” สงวนกล่าว
ปัจจุบันจึงมีแนวคิดว่า อาจจะมีการปรับแก้ พ.ร.บ.ดังกล่าว เพื่อนำไปสู่การแต่งตั้งโยกย้ายนายทหารภายในกระทรวงได้โดยตรง จาก รมว.กลาโหม เนื่องจากมองว่านายทหารระดับสูงนั้นก็คือ ข้าราชการเช่นกัน รวมไปถึงการปรับเปลี่ยนระเบียบในการแต่งตั้งข้าราชการการเมืองทันทีเมื่อมีรัฐบาลชุดใหม่ โดยเทียบเคียงกับรัฐบาลอเมริกาซึ่งเมื่อสิ้นสุดการเลือกตั้งแล้วมีประธานาธิบดีคนใหม่ก็จะมีการปรับเปลี่ยนโยกย้ายข้าราชการทันทีเพื่อที่จะเดินหน้าทำงานร่วมกันได้ ดังนั้น จึงมีแนวคิดในการปรับแก้หรือรื้อกฎหมายในเรื่องดังกล่าว
ดันอุตฯ ทหารบีบบิ๊กสีเขียว
ขณะที่อีกส่วนหนึ่งที่ถือว่าค่อนข้างสำคัญก็คือ การเตรียมแผนพัฒนาอุตสาหกรรมการทหารซึ่ง หมายรวมไปถึงการผลิตยุทธปัจจัยต่างๆ ในเชิงพาณิชย์ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องบินรบ ยานยนต์ อาวุธปืน กระสุน เป็นต้น ซึ่งในส่วนของพรรคเพื่อไทยมีความต้องการที่จะผลักดันในเรื่องดังกล่าว หากสามารถพัฒนาระบบอุตสาหกรรมทางการทหารได้ กองทัพจะสามารถมีรายได้ในการผลิตอาวุธได้เหมือนกับประเทศอื่นๆ
แต่อีกมุมหนึ่งต้องมองว่า หากรัฐบาลมีการผลักดันการพัฒนาระบบอุตสาหกรรมทางการทหารขึ้นมาเป็นผลสำเร็จ ก็ถือว่าจะเป็นการปิดกั้นระบบนายหน้าค้าอาวุธ หรือค่าคอมมิชชันในการจัดซื้อยุทธปัจจัย ซึ่งถือว่าเป็นวงเงินไม่น้อยในแต่ละปีเนื่องจากบรรดาบิ๊กในกองทัพย่อมมีความเกี่ยวพันในเรื่องดังกล่าวไม่น้อย ซึ่งถือว่าเป็นจุดที่ค่อนข้างอ่อนไหวอย่างยิ่ง เนื่องจากระบบเครือข่ายๆ ต่างอยู่ในมือของผู้มีอำนาจในกองทัพมาช้านาน
“หากพัฒนาระบบอุตสาหกรรมทหารได้จะถือว่าปิดเส้นทางการค่าคอมมิชชันในการซื้อขายอาวุธของผู้มีอำนาจในกองทัพทันที ซึ่งยังคงมองว่ามีความเป็นไปได้ที่จะพัฒนาอุตสาหกรรมทางการทหารต่อไป” สงวน ระบุ
โดยแนวทางดังกล่าวถือเป็นจุดที่อ่อนไหวอย่างยิ่ง เนื่องจากทหารจะถูกบีบและอาจนำไปสู่แรงกดดันและภาวะตึงเครียดระหว่างทหารและรัฐบาลอย่างหนัก
แม้ว ซื้อใจลูกน้องเก่ง
ประเด็นดังกล่าวยังไม่รวมถึงบุคคลทั่วไปที่มิได้อยู่ในสายข้าราชการ หรือบุคคลทั่วไป ที่ยินดีพร้อมที่จะรับใช้และได้ดิบได้ดีในยุคของ พ.ต.ท.ทักษิณ ซึ่งต้องติดตามดูไปยังแกนนำคนเสื้อแดงที่ได้รับการยกระดับชีวิตจนเรียกได้ว่าหลังผ่านศึกสงครามและการต่อสู้ทางการเมืองมาด้วยกันจึงย่อมได้รับการปูนบำเหน็จอย่างงาม ทั้งกรณีของ จตุพร พรหมพันธุ์ ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ตลอดจน นพ.เหวง โตจิราการ ที่มีตำแหน่งเป็น ส.ส.ไปแล้ว
หรือในรายของอารี ไกรนรา อดีตหัวหน้าการ์ด นปช.เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ที่มี ยศวริศ ชูกล่อม หรือ “เจ๋ง ดอกจิก” ได้รับตำแหน่งผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย เรียกได้ว่าโตตามกันมาอย่างไม่ผิดเพี้ยน
“เจ๋ง ดอกจิก นี่เคยเป็นลูกน้องของผม แต่ตอนนี้เป็นที่ผู้ช่วยเลขารัฐมนตรีไปแล้ว ซึ่งก็ต้องยอมรับว่าคุณทักษิณบริหารคนเก่งใช้คนเป็น และฉลาดที่จะซื้อใจคนจนทำให้มีคนจำนวนไม่น้อยพร้อมที่จะร่วมงานเพื่อแลกกับทรัพย์สินเงินทองและชื่อเสียง ซึ่งพรรคประชาธิปัตย์ยังคงสู้ไม่ได้ในเรื่องนี้ ซื้อใจคนไม่เก่งเท่าคุณทักษิณ” แหล่งข่าวแวดวงตำรวจระบุ
และจากนี้ไป หากจะพิจารณาบุคคลที่ “ยอมหัก ไม่ยอมงอ” ก็จะถูกส่งไปยังตำแหน่งในองค์กรที่ถือว่าไม่อยู่ในสายหลักนั่นเอง เช่น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก ผู้ตรวจราชการแผ่นดิน ซึ่งโดยธรรมชาติที่ต้องยอมรับว่าระบบอุปถัมภ์ในสังคมไทยยังคงเติบโต และพ.ต.ท.ทักษิณเป็นคนที่ใช้วิธีการดังกล่าวได้อย่างเชี่ยวชาญ จึงไม่แปลกที่บรรดาข้าราชการตั้งแต่ระดับล่างไปจนถึงระดับสูงจะตบเท้าเข้าหาขั้วอำนาจที่ถือโดยกลุ่มตระกูลชินวัตร
“ท่าทีของ ก.ตร.กรณีการแต่งตั้ง ผบ.ตร.ในขณะนี้กับ ก.ตร.ในยุคของรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์นั้นแตกต่างกันอย่างชัดเจน ซึ่งข้าราชการควรเป็นกลางทางการเมืองและมีศักดิ์ศรีมากกว่านี้” บุญยอด สุขถิ่นไทย ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อพรรคประชาธิปัตย์ กล่าว
ขณะนี้จึงมองว่าในระบบการเมืองที่เป็นอยู่นี้ หรือรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ยังคงจะสามารถอยู่ในตำแหน่งได้ยาว หรืออยู่ได้เรื่อยหากยังไม่มีปมทางการเมืองที่อ่อนไหวมากนัก เนื่องจากท่าทีของข้าราชการค่อนข้างที่จะไหลไปตามการเมือง ซึ่งรัฐบาลยิ่งลักษณ์ก็มีความเป็นไปได้ที่อาจอยู่ยาวได้ถึง 4 ปี เพียงแต่จุดที่น่ากังวลก็คือความเป็น กลางทางการเมืองของข้าราชการที่ลดน้อยไปอาจจะทำให้เกิดปัญหาในอนาคตได้
ดังนั้น ในยุคนี้ไม่ว่าบรรดาข้าราชการ หรือบุคคลทั่วไปที่ต้องการเติบโต จะวิ่งเข้าสู่ศูนย์กลางอำนาจ และพร้อมที่จะรับใช้การเมือง ซึ่งเป็นการส่งเสริมหรือยืนยังได้ว่า “ระบบอุปถัมภ์” จะอยู่คู่กับสังคมไทยไปตลอดกาล พร้อมๆ กับอำนาจการเมืองยังคงมีอิทธิพลสูงจนบีบให้ข้าราชการประจำต้องยอมตกเป็นเครื่องมือและต้องเผชิญความเสี่ยงต่อไปเพื่อแลกกับอนาคต...
วันพฤหัสบดีที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2554
เปิดรายงานกรรมการสิทธิ์ฯ ชะตากรรมชาวบ้านแหง! ใต้อุ้งมือนักการเมือง
ผลการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน โดยคณะอนุกรรมการสิทธิชุมชนและฐานทรัพยากร ปี 51 กรณีคัดค้านการเปิดกิจการเหมืองแร่ลิกไนต์ในลำปาง เผยพบมีการกระทำที่เอื้อประโยชน์ต่อพวกพ้อง
รัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร แถลงนโยบายของรัฐบาลอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2554 ที่ผ่านมา หนึ่งในนโยบายรัฐบาล “ปู 1” แถลงคือ การเร่งรัดสำรวจและแสวงหาแหล่งแร่สำคัญ เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจ และพัฒนาอุตสาหกรรมต่อยอดเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม โดยให้ความสำคัญกับการกำกับดูแลผลกระทบสิ่งแวดล้อมและชุมชน ซึ่งถูกบรรจุอยู่ในนโยบายปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ ในส่วนของภาคอุตสาหกรรม
ในขณะที่หน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรงในการทำเหมืองแร่ อย่างกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ (กพร.) ได้เปิดแผนยุทธศาสตร์กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ ประจำปีงบประมาณ 2554-2557 พร้อมทั้ง มอบรางวัล “เหมืองแร่สีเขียว” ให้กับผู้ประกอบการที่เข้าข่ายตามหลักเกณฑ์ของกระทรวงอุตสาหกรรม กว่า 42 เจ้าของธุรกิจแร่
ทั้งแผนยุทธศาสตร์ และโครงการเหมืองแร่สีเขียว ที่ชูขึ้นเป็นแผนโฆษณาประชาสัมพันธ์ แบบ “ฉบับปิดตาข้างเดียว” แทบไม่เอ่ยถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นกับชาวบ้านในพื้นที่มีเกือบ 50 พื้นที่ทั่วประเทศ แต่ตรงกันข้ามกลับถูกยกเป็นประเด็นนำเสนอในแผนพัฒนาดังกล่าว ที่ระบุว่า เป็นปัจจัยที่เป็น “อุปสรรค” ต่อการดำเนินงาน เพราะมองว่า “บทบาทขององค์กรพัฒนาเอกชน ในการคัดค้านการพัฒนาอุตสาหกรรมแร่และอุตสาหกรรมพื้นฐาน ส่งผลกระทบต่อบทบาทของกรมในการบริหารจัดการแร่ภายในประเทศ”
ใน “สายตา” ของรัฐ จึงไม่มีพื้นที่ไว้สำหรับชาวบ้าน ไม่ได้ยินเสียงร้องของผลกระทบที่เกิดขึ้นกับคนที่อยู่ในแต่ละพื้นที่ในการทำเหมืองแร่ ตั้งแต่การติดกระดุมเม็ดแรก อย่างการเริ่มต้นขอประทานบัตร ที่สร้างความขัดแย้งของคนในชุมชน ความเดือดร้อนจากผลกระทบที่อยู่ระหว่างการประกอบกิจการเหมืองแร่ หรือ หลังจากเลิกกิจการแล้วทิ้ง “ซาก” อุตสาหกรรมอันตราย เอาไว้ให้ชาวบ้านในพื้นที่ได้ดูต่างหน้า
ทรัพยากรแร่ ที่ควรจะเป็นของ “ประชาชน” ทุกคน กลับถูกใช้วาทกรรมว่าเป็นของ “รัฐ” ที่พร้อมจะเสนอให้นักธุรกิจการเมือง และนายทุนข้ามชาติได้ตลอดเวลา
เปิดผลสอบ อนุกรรมการสิทธิมนุษยชนฯ
มีรายงานว่า คณะอนุกรรมการสิทธิชุมชนและฐานทรัพยากร ได้เสนอผลการตรวจสอบ การละเมิดสิทธิมนุษยชน กรณีคัดค้าน การเปิดกิจการเหมืองแร่ลิกไนต์ ต.บ้านแหง อ.งาว จ.ลำปาง ภายหลังจากมีการร้องเรียนต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ตามคำร้องที่ 533/2551 ลงวันที่ 3 พฤศจิกายน 2551 ที่ระบุว่ากลุ่มนายทุนได้เข้ามากว้านซื้อที่ดินทำกินของชาวบ้าน บริเวณหมู่ที่ 1 และหมู่ที่ 7 ต.บ้านแหง อ.งาว จ.ลำปาง จำนวนกว่า 1,000 ไร่
โดยกลุ่มนายทุนได้เสนอซื้อในราคาที่ถูกโดยอ้างว่าที่ดินทำกินดังกล่าวส่วนใหญ่เป็นที่จับจองทำกินไม่มีเอกสารสิทธิใดๆ หากไม่ขายให้ก็จะถูกข่มขู่ จึงจำใจต้องขายไป ทั้งๆ ที่พื้นที่ทำกินดังกล่าวได้ใช้ทำกินมาหลายชั่วอายุคนแล้ว
ทั้งนี้ จากการตรวจสอบของอนุกรรมการฯ ดังกล่าว พบว่า มีการกระทำที่เอื้อประโยชน์ต่อพวกพ้องในกรณีการอนุญาตให้สัมปทานสำรวจและทำเหมืองแร่ถ่านหินบ้านแหงเหนือ ของบริษัท เขียวเหลือง จำกัด โดยมีลำดับเหตุการณ์สำคัญ ตามข้อมูลในรายงานดังกล่าว คือ
2 มิถุนายน 2551 กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (รมต.อนงค์วรรณ เทพสุทิน) ทำหนังสือถึงเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีให้พิจารณายกเลิกมติคณะรัฐมนตรี เกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาแหล่งถ่านหิน 4 ฉบับ คือ เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2531 วันที่ 5 มิถุนายน 2533 วันที่ 10 มีนาคม 2535 และวันที่ 25 กันยายน 2544 โดยยังคงสงวนพื้นที่แหล่งถ่านหินแอ่งเวียงแหง จ.เชียงใหม่ และแอ่งสะบ้าย้อย จ.สงขลา ให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยพัฒนาเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าต่อไป
เพื่อกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจะได้ดำเนินการประกาศยกเลิกเขตสำหรับดำเนินการสำรวจ การทดลอง การศึกษาหรือการวิจัยเกี่ยวกับแร่ถ่านหิน (ลิกไนต์) ตามความในมาตรา 6 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ.2510 และจะได้นำพื้นที่แหล่งถ่านหินในเขตสำหรับดำเนินการสำรวจ การทดลอง การศึกษาหรือการวิจัยเกี่ยวกับแร่ 8 พื้นที่ คือ แหล่งถ่านหินแอ่งเคียนซา จ.สุราษฎร์ธานี แอ่งสินปุน จ.นครศรีธรรมราช แอ่งเชียงม่วน จ.พะเยา แอ่งงาว แอ่งวังเหนือ แอ่งแจ้ห่ม-เมืองปาน แอ่งแม่ทะ และแอ่งเสริมงาม จ.ลำปาง ไปเปิดประมูลให้ภาคเอกชนเข้ามาลงทุนสำรวจและทำเหมืองแร่ถ่านหินมาใช้ประโยชน์เป็นพลังงานทดแทน เพื่อช่วยแก้ปัญหาวิกฤติพลังงานของประเทศ ต่อไป
10 มิถุนายน 2551 บริษัท เขียวเหลือง จำกัด ได้ทำการจดทะเบียน ประเภทบริษัทจำกัด ด้วยทุนจดทะเบียน 30 ล้านบาท วัตถุประสงค์ตามที่ได้จดทะเบียนไว้คือประกอบกิจการป่าไม้ การทำไม้ ปลูกสวนป่า ซึ่งประธานบริษัท คือ นายเรืองศักดิ์ งามสมภาค อดีตอธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม และเป็นผู้เคยถูกเสนอชื่อให้เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุขแทนนายมานิต นพอมรบดี ที่ลาออกจากตำแหน่งไปเมื่อวันที่ 10 มกราคม 2553 ที่ผ่านมา
ปัจจุบัน นายเรืองศักดิ์เป็นรองเลขาธิการพรรคภูมิใจไทยคนที่หนึ่ง ซึ่งเป็นคนใกล้ชิดกับอดีตนักการเมืองที่เป็นสามีของนางอนงค์วรรณ เทพสุทิน รมต.ทส.ที่ออกประกาศกระทรวงฯ “ปลดล็อค” มาตรา 6 ทวิ ตามพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ.2510 เพื่อนำแหล่งแร่ถ่านหิน 8 พื้นที่ ไปเปิดประมูลให้เอกชน
17 มิถุนายน 2551 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบให้ยกเลิกมติคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาแหล่งถ่านหินรวม 4 มติ คือมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2531 (เรื่องมติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ ครั้งที่ 3/2531 ครั้งที่ 11) วันที่ 5 มิถุนายน 2533 (เรื่อง ผลการสำรวจถ่านหินแอ่งงาว แจ้ห่ม-เมืองปาน เชียงม่วนและเสริมงาม) วันที่ 10 มีนาคม 2535 (เรื่อง การพัฒนาถ่านหินแอ่งเวียงแหง) และวันที่ 25 กันยายน 2544 [เรื่อง มติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ ครั้งที่ 4/2544 (ครั้งที่ 85)] โดยยังคงสงวนพื้นที่แหล่งแร่ถ่านหินแอ่งเวียงแหง จ.เชียงใหม่ และแอ่งสะบ้าย้อย จ.สงขลา ให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยพัฒนาเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าต่อไป
เพื่อกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจะได้ดำเนินการประกาศยกเลิกเขตสำหรับดำเนินการสำรวจ การทดลอง การศึกษาหรือการวิจัยเกี่ยวกับแร่ถ่านหิน (ลิกไนต์) ตามความในมาตรา 6 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510 และที่แก้ไขเพิ่มเติมต่อไป และจะได้นำพื้นที่แหล่งถ่านหินในเขตสำหรับดำเนินการสำรวจ การทดลอง การศึกษาหรือการวิจัยเกี่ยวกับแร่ 8 พื้นที่ คือ แหล่งถ่านหินแอ่งเคียนซา จ.สุราษฎร์ธานี แอ่งสินปุน จ.นครศรีธรรมราช แอ่งเชียงม่วน จ.พะเยา แอ่งงาว แอ่งวังเหนือ แอ่งแจ้ห่ม-เมืองปาน แอ่งแม่ทะ และแอ่งเสริมงาม จ.ลำปาง ไปเปิดประมูลให้ภาคเอกชนเข้ามาลงทุนสำรวจและทำเหมืองแร่ถ่านหินมาใช้ประโยชน์เป็นพลังงานทดแทนเพื่อช่วยแก้ปัญหาวิกฤติพลังงานของประเทศ ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอต่อไป
20 มิถุนายน 2551 กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (รมต.อนงค์วรรณ เทพสุทิน) ออกประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง ยกเลิกเขตสำหรับดำเนินการสำรวจ การทดลอง การศึกษา หรือการวิจัยเกี่ยวกับแร่ ตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับลงวันที่ 25 พฤศจิกายน 2531 เนื่องด้วยบัดนี้ทางราชการได้ดำเนินการสำรวจแร่ในพื้นที่ดังกล่าวบางส่วนเสร็จสิ้นแล้ว จึงไม่มีความจำเป็นต้องใช้พื้นที่ดังกล่าวเพื่อการสำรวจ การทดลอง การศึกษา หรือการวิจัยเกี่ยวกับแร่อีกต่อไป
จึงประกาศให้ยกเลิกเขตสำหรับดำเนินการสำรวจ การทดลอง การศึกษา หรือการวิจัยเกี่ยวกับแร่ในท้องที่ต่างๆ ตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับลงวันที่ 25 พฤศจิกายน 2531 ดังต่อไปนี้
1) เขตท้องที่ อ.ทุ่งช้าง อ.เชียงกลาง อ.ปัว อ.ท่าวังผา และ อ.เมืองน่าน จ.น่าน เนื้อที่ 673 ตารางกิโลเมตร
2) เขตท้องที่ อ.เชียงคำ และ อ.ปง จ.พะเยา เนื้อที่ 529 ตารางกิโลเมตร
3) เขตท้องที่ อ.ปง และ อ.เชียงม่วน จ.พะเยา และ อ.สอง จ.แพร่ เนื้อที่ 182 ตารางกิโลเมตร
4) เขตท้องที่ อ.งาว เนื้อที่ 195 ตารางกิโลเมตร
5) เขตท้องที่ อ.วังเหนือ และ อ.แจ้ห่ม เนื้อที่ 332 ตารางกิโลเมตร
6) เขตท้องที่ กิ่ง อ.เมืองปาน อ.แจ้ห่ม และ อ.เมืองลำปาง เนื้อที่ 500 ตารางกิโลเมตร
7) เขตท้องที่ อ.เมืองลำปาง อ.แม่ทะ และ อ.เกาะคา เนื้อที่ 783 ตารางกิโลเมตร
8) เขตท้องที่ อ.ห้างฉัตร อ.เกาะคา และ อ.เสริมงาม เนื้อที่ 205 ตารางกิโลเมตร
24 มิถุนายน 2551 หนังสือสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ด่วนที่สุด ที่ 0505/9287 ลงวันที่ 24 มิถุนายน 2551 แจ้งว่าคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2551 ตามที่ รมต.ทส. เสนอ
ทั้งนี้ในรายงานดังกล่าว ได้ตั้งข้อสังเกตที่สำคัญว่า คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2551 แต่หนังสือจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีด่วนที่สุด ที่ 0505/9287 แจ้งมายังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2551 จึงมีข้อสงสัยว่า รมต.ทส. ได้ทำการประกาศกระทรวงฯ เรื่องยกเลิกเขตสำหรับดำเนินการสำรวจ การทดลอง การศึกษา หรือการวิจัยเกี่ยวกับแร่ ตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2551 ก่อนที่หนังสือจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีจะมาถึง รมต.ทส.ได้อย่างไร
คณะอนุกรรมการสิทธิชุมชนฯ มีความเห็นว่าการเร่งรีบออกประกาศกระทรวงฯ ดังกล่าว ของ รมต.ทส. ก่อนหนังสือจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีจะมาถึงเป็นการกระทำที่เอื้อประโยชน์ให้กับพวกพ้อง
12 ความท้าทายด้านความมั่นคงในทศวรรษใหม่ที่ไทยต้องเผชิญ
โดย : เรือรบ เมืองมั่น ruarob@hotmail.com
ในห้วงเวลา 10 ปีนับจากนี้ ไทยต้องเผชิญกับความท้าทายในประเด็นเก่าและใหม่ ที่ต้องอาศัยกระบวนคิดใหม่ที่กล้าหาญ
และการปฏิบัติที่ได้รับการสืบสานอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ล้ำต่อการเปลี่ยนแปลงที่อาจจะนำประเทศชาติไปสู่ความวุ่นวาย หากปราศจากการจัดการที่เหมาะควรเพียงพอ ประเด็นที่จะกล่าวถึงนี้เป็นตัวอย่างประเด็นที่สำคัญที่ไทยต้องเผชิญอย่างแน่นอน
ประเด็นแรก ที่ท้าทายจิตสำนึกของชนในชาติมากที่สุด คือ ประเด็นที่เกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ แม้ว่าจะเป็นประเด็นที่คนรุ่นเก่าไม่ต้องการให้มีข้อถกแถลง เนื่องจากธรรมเนียมจารีตถูกระบุไว้อย่างไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ในรัฐธรรมนูญ แต่คนรุ่นใหม่ที่ไม่มีความผูกพันทางใจกับระบอบ ผู้ที่มีแนวความคิดสมัยใหม่หรือผู้นิยมสาธารณรัฐ กำลัง ทวีจำนวนทั้งประมาณและคุณภาพทั้งบนดินและใต้ดินขึ้นทุกวันในสังคม คำถามมากมายถูกตั้งขึ้นอย่างท้าทายและต้องอาศัยความรู้ความเข้าใจอย่างมากในการอธิบายในเชิงวิทยาศาสตร์หรือสื่อสารให้เหมาะสมถูกกันกับผู้รับสาร จึงเป็นความท้าทายที่ผู้ทำงานเพื่อรักษาระบอบจะต้องใช้วิธีการที่เป็นเหตุเป็นผลในการปรับแก้โลกทัศน์ของคนเหล่านี้ มากกว่าใช้อำนาจ ซึ่งอย่างหลังจะนำไปสู่การท้าทายที่หนักหน่วงยิ่งขึ้น
ประเด็นที่สอง คือ การรักษาความมั่นคงแบบมีส่วนร่วมทั้งสังคม ขณะที่คนรุ่นก่อนมีแนวคิดแบ่งแยกส่วนราชการในการรักษาความมั่นคงภารกิจต่างๆ แต่ภัยคุกคามที่หลากหลายได้นำให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมมือแก้ไขปัญหากันมากขึ้น เพียงแต่ผู้เป็นเจ้าภาพอาจไม่ชัดเจน อีกทั้งการควบคุมบังคับบัญชาในหลายกรณีเป็นที่ถกเถียง ความมั่นคงยุคใหม่ต้องอยู่ภายใต้การจัดการแบบบูรณาการที่ตัดประเด็นอคติระหว่างองค์กรออกไป ในที่นี้รวมถึงในกองทัพที่จะต้องถูกควบคุมโดยพลเรือนได้มากขึ้น ในอนาคตประเด็นจุดยืนความสัมพันธ์ระหว่างทหารและพลเรือน (Civil-Military Relations) จะเป็นเรื่องใหญ่ที่ต้องมีการเปลี่ยนแปลงหน้าที่และท่าทีของคนในเครื่องแบบ ถ้าไม่ใช่ยอมปรับเปลี่ยนจากภายในกองทัพก่อน ก็ต้องโดนบังคับให้จากภายนอก
หลังจากเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติจำนวนมากในรอบไม่กี่ปีมานี้ ประเด็นการรักษาสภาพแวดล้อม เป็นประเด็นที่มิใช่เรื่องไกลตัวประชาชน เพราะมีโอกาสเกิดขึ้นได้กับทุกคนและส่งผลถึงความน่าเชื่อถือขององค์กรผู้แก้ไขปัญหา การเอาชนะประเด็นดังกล่าวเป็นเรื่องที่ไม่เพียงแต่จะต้องร่วมมือกันทุกภาคส่วน แต่จะต้องต่อรองเกี่ยวข้องกับองค์กรและหน่วยงานระหว่างประเทศที่ยังคงยึดถือผลประโยชน์เฉพาะชาติหรือส่วนของตน อีกทั้งการตื่นตัวของประชาชนจะทำให้เกิดข้อจำกัดในการดำเนินการด้านอื่นๆ รวมทั้งความมั่นคง ที่อาจกระทบต่อสภาวะแวดล้อมด้วย
ประเด็นภัยคุกคามตามแบบยังคงเป็นประเด็นที่ไม่ล้าสมัย แม้ว่าสงครามขนาดใหญ่จะเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ยากในปัจจุบัน แต่การชิงความได้เปรียบเหนือสถานการณ์ขัดแย้งใดๆ ที่เกิดขึ้นยังต้องอาศัยกำลังทหารในการสร้างดุลอำนาจเพื่อต่อรอง ดังนั้น จึงมีความจำเป็นจะต้องจัดให้มีกำลังทหารที่เหมาะสมไว้ดำเนินการในเชิงยุทธศาสตร์ อย่างไรก็ตาม ในอนาคตความท้าทายในการเรียกร้องให้ใช้งบประมาณด้านอื่นที่จำเป็นตรงต่อสังคมมากกว่าการทหารจะต้องมีมากขึ้น จึงเป็นความท้าทายของนักยุทธศาสตร์ทหารที่จะต้องจัดทำยุทธศาสตร์ที่ได้ดุลยภาพ ยืนอยู่ทั้งบนความเป็นจริง (Pragmatic) และทั้งรักษาโอกาสของการจัดหาอาวุธในอนาคต
ประเด็นภัยคุกคามจากการก่อการร้ายเป็นเรื่องที่น่ากลัวอยู่เสมอ โดยภัยคุกคามที่ใช้อาวุธและกำลังขนาดเล็กปฏิบัติการเฉพาะกิจทั้งเป็นเครือข่ายและไม่เป็นเครือข่ายยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยไม่จำกัดเฉพาะผู้มีแนวคิดคลั่งศาสนาเท่านั้น แต่ในอนาคตความหลากหลายของผู้ก่อการร้ายจะมีมากขึ้นและเกี่ยวโยงกับกลุ่มต่างๆ ซับซ้อนขึ้น เกี่ยวโยงกับอาชีพแบบข้ามสายงานมากขึ้น ในที่นี้ การแยกออกระหว่างกลุ่มก่อการร้ายกับกลุ่มอาชญากรรมหรือบุคคลโรคจิตแบบ Anders Breivik นั้นจะเป็นไปได้ยาก และจะก่อให้เกิดประเด็นว่าองค์กรใดควรเป็นเจ้าภาพในการรับมือกับปัญหาเฉพาะกรณี
ประเด็นที่หกที่จะขอปิดท้ายภาคแรก ก็คือ เรื่องของอธิปไตยตามเจตจำนงของชนกลุ่มน้อย แม้ว่าในรอบหลายปีหลัง การแยกตัวออกไปเป็นประเทศใหม่อย่างติมอร์หรือโคโซโวนั้นลดลงไป แต่ชนกลุ่มน้อยหลายประเทศมีพื้นที่เจรจามากขึ้น และหลายชาติก็ยอมให้ชนกลุ่มน้อยได้สิทธิ Autonomy มากขึ้นด้วย บางที่เช่น Nanavut หรือ Wallachia ก็ได้เพื่อผลประโยชน์การพัฒนาเศรษฐกิจ บางที่ในอินโดนีเซียหรือฟิลิปปินส์ก็เพื่อแก้ปัญหาความมั่นคงโดยเฉพาะ การรั้งใจคนท้องถิ่นให้ยังผูกพันบ้างกับเป็นรัฐบาลกลางนั้นใช้วิธีปราบปรามน้อยลง เพราะเป็นเรื่องสิ้นเปลืองและอาจไม่ได้ผลในระยะยาว ในไทยคงต้องถกกันอย่างหนักในโมเดลที่จะต้องเกิดขึ้น ตลอดจนการแก้เกมของกลุ่มเรียกร้องแยกดินแดนสายพิราบในต่างแดนด้วย
มนุษย์กำลังเคลื่อนไหวเชื่อมโยงกันอย่างรวดเร็วขึ้น ก่อให้เกิดความซับซ้อนแปรเปลี่ยนอย่างมากมาย พลิ้วอยู่ในบริบทของวันนี้และอนาคต
โลกในอีก 10 ปีข้างหน้าอาจมีทั้งสิ่งที่ไทยกำลังประสบอย่างต่อเนื่อง ไม่เคยพานพบมาก่อน หรือฟื้นกลับมาในรูปโฉมใหม่ ความท้าทายด้านความมั่นคงของไทยก็เป็นเช่นที่ว่านี้ เดือนที่แล้วกล่าวถึง 6 ความท้าทายที่ต้องอาศัยกระบวนคิดใหม่ในการรับมืออย่างเหมาะควร และให้ล้ำต่อการเปลี่ยนแปลงที่กำลังจะมาถึง นั่นคือ ประเด็นท้าทายด้านสถาบันกษัตริย์ การรักษาความมั่นคงแบบมีส่วนร่วมทั้งสังคม การรักษาสภาพแวดล้อม ภัยคุกคามตามแบบ ภัยก่อการร้าย และอธิปไตยตามเจตจำนงของชนกลุ่มน้อย ในบทจบนี้จะกล่าวถึงอีก 6 ประเด็นที่สำคัญไม่แพ้กัน
ประเด็นผลประโยชน์ทางทะเลจะกลายเป็นปัญหาใหญ่กว่าทางบก เพราะเทคโนโลยีที่เป็นไปได้และปรารถนาที่ไม่สิ้นสุด สนองการพัฒนาที่เพิ่มขึ้นของแต่ละประเทศ ส่งผลเรียกร้องให้มีการแสวงประโยชน์จากการใช้ทะเลเพื่อการส่งกำลังบำรุงและแสวงหาทรัพยากรมากขึ้น ขีดความสามารถและกฎหมายสากลได้เอื้อประโยชน์ให้มีการเรียกร้องในสิทธิ ซึ่งอาจทับซ้อนหรือขัดกับผลประโยชน์ของประเทศอื่น ในอนาคตไทยต้องเผชิญกับปัญหาทะเลในหลายเรื่อง โดยเฉพาะการใช้ทะเลทับซ้อนกับประเทศเพื่อนบ้าน และความไม่ปลอดภัยในน่านน้ำสากลที่เรือไทยต้องผ่าน ตลอดจนการอาจเกี่ยวข้องกับความขัดแย้งทางทะเลอื่น ในฐานะสมาชิกชาติอาเซียนด้วย
ประเด็นความมั่นคงทางเศรษฐกิจยังคงเป็นเรื่องที่กระทบและตระหนักรู้ในทุกคนอยู่เสมอ ความยากจนหรือความรู้สึกว่ายากจนเป็นตัวปรับเร่งปฏิกิริยาที่จะกระทำการใดๆ ด้านลบที่กระทบต่อสังคม นอกเหนือจากความเกี่ยวพันกับปัจจัยภายนอกประเทศที่แนบแน่นขึ้นแล้ว ในอนาคตจะเห็นภาพของการพัฒนาที่ไม่เท่าเทียมกันทั้งระหว่างชนชั้นภายในประเทศมากขึ้น และจะนำไปสู่การเรียกร้องความเท่าเทียมกันทางเศรษฐกิจที่หนักหน่วงรุนแรงขึ้นในทุกระดับ ปัญหานี้จะลามเข้าสู่ความมั่นคงด้านอื่น เช่น รายได้หรือขวัญกำลังใจของผู้ทำหน้าที่รักษาความมั่นคงนี้
ประเด็นการตามไม่ทันเทคโนโลยีนั้นเกิดขึ้นได้ในยุคที่อะไรก็ไวก็ทันสมัยไปเสียทั้งนั้น
เทคโนโลยีขนาดเล็กที่สามารถใช้ในชีวิตประจำวันและการดำเนินอาชีพนั้นเหมือนปีศาจที่สามารถควบคุมได้ถ้าเข้าใจมัน แต่ถ้าไม่เข้าใจหรือควบคุมมันไม่ได้ก็จะสร้างความยากลำบาก ในอนาคตนอกจากจะมีอาชญากรรมที่เกิดขึ้นโดยการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ที่ยากต่อการตามรอยหรือเอาผิดทางกฎหมายได้แล้ว เทคโนโลยียังสร้างความแตกต่างในคุณค่าระหว่างผู้มีกับไม่มีอย่างประมาณค่าไม่ได้ ดังนั้น ไม่เพียงแต่ไทยจะต้องตามติดเทคโนโลยีให้ทัน แต่ต้องสามารถชิงเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์เทคโนโลยีนั้นเหนือชาติอื่น และสามารถกระจายเทคโนโลยีให้ทุกภาคส่วนในชาติมีและเข้าใจอย่างทั่วถึงกัน
โลกยังไม่เป็นโลกไร้พรมแดนเสียทีเดียว ความรู้สึกเรื่องอธิปไตยและรัฐชาติยังน่าจะสืบ ต่ออีกหลายทศวรรษ แต่ขณะเดียวกัน การซ้อนทับของการเคลื่อนไหวในลักษณะข้ามชาติหรือเหนือชาติจะมีมากขึ้น และมีผลทั้งทางกฎหมายและจริยธรรมในการบีบบังคับรัฐให้ปฏิบัติตาม "สากล" ซึ่งยังอยู่ควบคุมโดยชาติมหาอำนาจ ประเด็นการแทรกแซงจากต่างประเทศไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่รัฐไทยซึ่งปฏิบัติตามกระแสสากลมาเป็นเวลานานแล้วจะต้องเผชิญกับปัญหาดังกล่าวมากขึ้น และจะต้องหาจุดดุลยภาพระหว่างผลประโยชน์ชาติกับผลประโยชน์ของชาติมหาอำนาจที่ขัดแย้งกัน
การตื่นตัวของความเข้าใจสภาพแวดล้อมทางสังคมอย่างต่างทิศทางกันของหลากหลาย
กลุ่มในสังคมเปิดโอกาสให้แต่ละกลุ่มผลประโยชน์เรียกร้องต่อรัฐ ให้สนองตอบต่อสิทธิและความต้องการของตน แน่นอนว่า รัฐไม่สามารถตอบสนองได้ทุกกรณีและประเด็นความขัดแย้งระหว่างกลุ่มผลประโยชน์ภายในประเทศอาจนำไปสู่การขัดแย้งอย่างรุนแรงอย่างกรณีแดง-เหลืองที่ไม่รู้ว่าจะจบอย่างไร การแก้ปัญหาความขัดแย้งของกลุ่มผลประโยชน์ภายในประเทศจะต้องไม่อาศัยวิธีแบบเก่า เช่น ปราบปรามหรือละเลย แต่ต้องอาศัยการทำความเข้าใจให้ลึกซึ้งในแต่ละปัญหา ใช้การเจรจากับผู้เกี่ยวข้องทั้งโดยตรงและโดยอ้อม และอาศัยเงื่อนไขเวลาที่เหมาะสม เป็นต้น
ใช่ว่าไทยต้องคอยรับมือแต่ความเสี่ยงเสมอไป โอกาสก็เป็นสิ่งที่แสวงหาได้ เช่น ประเด็นการแสวงหาผลประโยชน์ข้ามพรมแดนแบบพหุภาคี ที่ยุโรปตะวันตกพรมแดนประเทศระหว่างเพื่อนบ้านแทบจะเลือนหายไปแล้ว ถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เราจะปรากฏช้ากว่าเขา แต่ทุกวันนี้ แต่ละฝ่ายก็เห็นความสำคัญของความมั่นคงชายแดนร่วมมากขึ้นทุกที สามเหลี่ยมมรกตกำลังพัฒนา โอกาสของความเชื่อมโยงอาเซียนทั้งทางบกตอนบนและทางทะเลตอนล่างกำลังเป็นเรื่องที่ทุกฝ่ายพูดถึง เช่นเดียวกับความวิตกในปัญหาร่วมข้ามพรมแดนแบบการสร้างเขื่อนในจีนแล้วทำให้น้ำโขงในประเทศตอนล่างเหือดแห้ง ความสัมพันธ์ระหว่างท้องถิ่นกับท้องถิ่น โดยเกี่ยวข้องกับศูนย์กลางอำนาจรัฐน้อยกว่าเกี่ยวข้องกับรัฐอื่นนี้อาจนำมาซึ่งรูปแบบการบริหารหรือปกครองแบบใหม่ก็เป็นได้
ในห้วงเวลา 10 ปีนับจากนี้ ไทยต้องเผชิญกับความท้าทายในประเด็นเก่าและใหม่ ที่ต้องอาศัยกระบวนคิดใหม่ที่กล้าหาญ
และการปฏิบัติที่ได้รับการสืบสานอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ล้ำต่อการเปลี่ยนแปลงที่อาจจะนำประเทศชาติไปสู่ความวุ่นวาย หากปราศจากการจัดการที่เหมาะควรเพียงพอ ประเด็นที่จะกล่าวถึงนี้เป็นตัวอย่างประเด็นที่สำคัญที่ไทยต้องเผชิญอย่างแน่นอน
ประเด็นแรก ที่ท้าทายจิตสำนึกของชนในชาติมากที่สุด คือ ประเด็นที่เกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ แม้ว่าจะเป็นประเด็นที่คนรุ่นเก่าไม่ต้องการให้มีข้อถกแถลง เนื่องจากธรรมเนียมจารีตถูกระบุไว้อย่างไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ในรัฐธรรมนูญ แต่คนรุ่นใหม่ที่ไม่มีความผูกพันทางใจกับระบอบ ผู้ที่มีแนวความคิดสมัยใหม่หรือผู้นิยมสาธารณรัฐ กำลัง ทวีจำนวนทั้งประมาณและคุณภาพทั้งบนดินและใต้ดินขึ้นทุกวันในสังคม คำถามมากมายถูกตั้งขึ้นอย่างท้าทายและต้องอาศัยความรู้ความเข้าใจอย่างมากในการอธิบายในเชิงวิทยาศาสตร์หรือสื่อสารให้เหมาะสมถูกกันกับผู้รับสาร จึงเป็นความท้าทายที่ผู้ทำงานเพื่อรักษาระบอบจะต้องใช้วิธีการที่เป็นเหตุเป็นผลในการปรับแก้โลกทัศน์ของคนเหล่านี้ มากกว่าใช้อำนาจ ซึ่งอย่างหลังจะนำไปสู่การท้าทายที่หนักหน่วงยิ่งขึ้น
ประเด็นที่สอง คือ การรักษาความมั่นคงแบบมีส่วนร่วมทั้งสังคม ขณะที่คนรุ่นก่อนมีแนวคิดแบ่งแยกส่วนราชการในการรักษาความมั่นคงภารกิจต่างๆ แต่ภัยคุกคามที่หลากหลายได้นำให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมมือแก้ไขปัญหากันมากขึ้น เพียงแต่ผู้เป็นเจ้าภาพอาจไม่ชัดเจน อีกทั้งการควบคุมบังคับบัญชาในหลายกรณีเป็นที่ถกเถียง ความมั่นคงยุคใหม่ต้องอยู่ภายใต้การจัดการแบบบูรณาการที่ตัดประเด็นอคติระหว่างองค์กรออกไป ในที่นี้รวมถึงในกองทัพที่จะต้องถูกควบคุมโดยพลเรือนได้มากขึ้น ในอนาคตประเด็นจุดยืนความสัมพันธ์ระหว่างทหารและพลเรือน (Civil-Military Relations) จะเป็นเรื่องใหญ่ที่ต้องมีการเปลี่ยนแปลงหน้าที่และท่าทีของคนในเครื่องแบบ ถ้าไม่ใช่ยอมปรับเปลี่ยนจากภายในกองทัพก่อน ก็ต้องโดนบังคับให้จากภายนอก
หลังจากเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติจำนวนมากในรอบไม่กี่ปีมานี้ ประเด็นการรักษาสภาพแวดล้อม เป็นประเด็นที่มิใช่เรื่องไกลตัวประชาชน เพราะมีโอกาสเกิดขึ้นได้กับทุกคนและส่งผลถึงความน่าเชื่อถือขององค์กรผู้แก้ไขปัญหา การเอาชนะประเด็นดังกล่าวเป็นเรื่องที่ไม่เพียงแต่จะต้องร่วมมือกันทุกภาคส่วน แต่จะต้องต่อรองเกี่ยวข้องกับองค์กรและหน่วยงานระหว่างประเทศที่ยังคงยึดถือผลประโยชน์เฉพาะชาติหรือส่วนของตน อีกทั้งการตื่นตัวของประชาชนจะทำให้เกิดข้อจำกัดในการดำเนินการด้านอื่นๆ รวมทั้งความมั่นคง ที่อาจกระทบต่อสภาวะแวดล้อมด้วย
ประเด็นภัยคุกคามตามแบบยังคงเป็นประเด็นที่ไม่ล้าสมัย แม้ว่าสงครามขนาดใหญ่จะเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ยากในปัจจุบัน แต่การชิงความได้เปรียบเหนือสถานการณ์ขัดแย้งใดๆ ที่เกิดขึ้นยังต้องอาศัยกำลังทหารในการสร้างดุลอำนาจเพื่อต่อรอง ดังนั้น จึงมีความจำเป็นจะต้องจัดให้มีกำลังทหารที่เหมาะสมไว้ดำเนินการในเชิงยุทธศาสตร์ อย่างไรก็ตาม ในอนาคตความท้าทายในการเรียกร้องให้ใช้งบประมาณด้านอื่นที่จำเป็นตรงต่อสังคมมากกว่าการทหารจะต้องมีมากขึ้น จึงเป็นความท้าทายของนักยุทธศาสตร์ทหารที่จะต้องจัดทำยุทธศาสตร์ที่ได้ดุลยภาพ ยืนอยู่ทั้งบนความเป็นจริง (Pragmatic) และทั้งรักษาโอกาสของการจัดหาอาวุธในอนาคต
ประเด็นภัยคุกคามจากการก่อการร้ายเป็นเรื่องที่น่ากลัวอยู่เสมอ โดยภัยคุกคามที่ใช้อาวุธและกำลังขนาดเล็กปฏิบัติการเฉพาะกิจทั้งเป็นเครือข่ายและไม่เป็นเครือข่ายยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยไม่จำกัดเฉพาะผู้มีแนวคิดคลั่งศาสนาเท่านั้น แต่ในอนาคตความหลากหลายของผู้ก่อการร้ายจะมีมากขึ้นและเกี่ยวโยงกับกลุ่มต่างๆ ซับซ้อนขึ้น เกี่ยวโยงกับอาชีพแบบข้ามสายงานมากขึ้น ในที่นี้ การแยกออกระหว่างกลุ่มก่อการร้ายกับกลุ่มอาชญากรรมหรือบุคคลโรคจิตแบบ Anders Breivik นั้นจะเป็นไปได้ยาก และจะก่อให้เกิดประเด็นว่าองค์กรใดควรเป็นเจ้าภาพในการรับมือกับปัญหาเฉพาะกรณี
ประเด็นที่หกที่จะขอปิดท้ายภาคแรก ก็คือ เรื่องของอธิปไตยตามเจตจำนงของชนกลุ่มน้อย แม้ว่าในรอบหลายปีหลัง การแยกตัวออกไปเป็นประเทศใหม่อย่างติมอร์หรือโคโซโวนั้นลดลงไป แต่ชนกลุ่มน้อยหลายประเทศมีพื้นที่เจรจามากขึ้น และหลายชาติก็ยอมให้ชนกลุ่มน้อยได้สิทธิ Autonomy มากขึ้นด้วย บางที่เช่น Nanavut หรือ Wallachia ก็ได้เพื่อผลประโยชน์การพัฒนาเศรษฐกิจ บางที่ในอินโดนีเซียหรือฟิลิปปินส์ก็เพื่อแก้ปัญหาความมั่นคงโดยเฉพาะ การรั้งใจคนท้องถิ่นให้ยังผูกพันบ้างกับเป็นรัฐบาลกลางนั้นใช้วิธีปราบปรามน้อยลง เพราะเป็นเรื่องสิ้นเปลืองและอาจไม่ได้ผลในระยะยาว ในไทยคงต้องถกกันอย่างหนักในโมเดลที่จะต้องเกิดขึ้น ตลอดจนการแก้เกมของกลุ่มเรียกร้องแยกดินแดนสายพิราบในต่างแดนด้วย
มนุษย์กำลังเคลื่อนไหวเชื่อมโยงกันอย่างรวดเร็วขึ้น ก่อให้เกิดความซับซ้อนแปรเปลี่ยนอย่างมากมาย พลิ้วอยู่ในบริบทของวันนี้และอนาคต
โลกในอีก 10 ปีข้างหน้าอาจมีทั้งสิ่งที่ไทยกำลังประสบอย่างต่อเนื่อง ไม่เคยพานพบมาก่อน หรือฟื้นกลับมาในรูปโฉมใหม่ ความท้าทายด้านความมั่นคงของไทยก็เป็นเช่นที่ว่านี้ เดือนที่แล้วกล่าวถึง 6 ความท้าทายที่ต้องอาศัยกระบวนคิดใหม่ในการรับมืออย่างเหมาะควร และให้ล้ำต่อการเปลี่ยนแปลงที่กำลังจะมาถึง นั่นคือ ประเด็นท้าทายด้านสถาบันกษัตริย์ การรักษาความมั่นคงแบบมีส่วนร่วมทั้งสังคม การรักษาสภาพแวดล้อม ภัยคุกคามตามแบบ ภัยก่อการร้าย และอธิปไตยตามเจตจำนงของชนกลุ่มน้อย ในบทจบนี้จะกล่าวถึงอีก 6 ประเด็นที่สำคัญไม่แพ้กัน
ประเด็นผลประโยชน์ทางทะเลจะกลายเป็นปัญหาใหญ่กว่าทางบก เพราะเทคโนโลยีที่เป็นไปได้และปรารถนาที่ไม่สิ้นสุด สนองการพัฒนาที่เพิ่มขึ้นของแต่ละประเทศ ส่งผลเรียกร้องให้มีการแสวงประโยชน์จากการใช้ทะเลเพื่อการส่งกำลังบำรุงและแสวงหาทรัพยากรมากขึ้น ขีดความสามารถและกฎหมายสากลได้เอื้อประโยชน์ให้มีการเรียกร้องในสิทธิ ซึ่งอาจทับซ้อนหรือขัดกับผลประโยชน์ของประเทศอื่น ในอนาคตไทยต้องเผชิญกับปัญหาทะเลในหลายเรื่อง โดยเฉพาะการใช้ทะเลทับซ้อนกับประเทศเพื่อนบ้าน และความไม่ปลอดภัยในน่านน้ำสากลที่เรือไทยต้องผ่าน ตลอดจนการอาจเกี่ยวข้องกับความขัดแย้งทางทะเลอื่น ในฐานะสมาชิกชาติอาเซียนด้วย
ประเด็นความมั่นคงทางเศรษฐกิจยังคงเป็นเรื่องที่กระทบและตระหนักรู้ในทุกคนอยู่เสมอ ความยากจนหรือความรู้สึกว่ายากจนเป็นตัวปรับเร่งปฏิกิริยาที่จะกระทำการใดๆ ด้านลบที่กระทบต่อสังคม นอกเหนือจากความเกี่ยวพันกับปัจจัยภายนอกประเทศที่แนบแน่นขึ้นแล้ว ในอนาคตจะเห็นภาพของการพัฒนาที่ไม่เท่าเทียมกันทั้งระหว่างชนชั้นภายในประเทศมากขึ้น และจะนำไปสู่การเรียกร้องความเท่าเทียมกันทางเศรษฐกิจที่หนักหน่วงรุนแรงขึ้นในทุกระดับ ปัญหานี้จะลามเข้าสู่ความมั่นคงด้านอื่น เช่น รายได้หรือขวัญกำลังใจของผู้ทำหน้าที่รักษาความมั่นคงนี้
ประเด็นการตามไม่ทันเทคโนโลยีนั้นเกิดขึ้นได้ในยุคที่อะไรก็ไวก็ทันสมัยไปเสียทั้งนั้น
เทคโนโลยีขนาดเล็กที่สามารถใช้ในชีวิตประจำวันและการดำเนินอาชีพนั้นเหมือนปีศาจที่สามารถควบคุมได้ถ้าเข้าใจมัน แต่ถ้าไม่เข้าใจหรือควบคุมมันไม่ได้ก็จะสร้างความยากลำบาก ในอนาคตนอกจากจะมีอาชญากรรมที่เกิดขึ้นโดยการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ที่ยากต่อการตามรอยหรือเอาผิดทางกฎหมายได้แล้ว เทคโนโลยียังสร้างความแตกต่างในคุณค่าระหว่างผู้มีกับไม่มีอย่างประมาณค่าไม่ได้ ดังนั้น ไม่เพียงแต่ไทยจะต้องตามติดเทคโนโลยีให้ทัน แต่ต้องสามารถชิงเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์เทคโนโลยีนั้นเหนือชาติอื่น และสามารถกระจายเทคโนโลยีให้ทุกภาคส่วนในชาติมีและเข้าใจอย่างทั่วถึงกัน
โลกยังไม่เป็นโลกไร้พรมแดนเสียทีเดียว ความรู้สึกเรื่องอธิปไตยและรัฐชาติยังน่าจะสืบ ต่ออีกหลายทศวรรษ แต่ขณะเดียวกัน การซ้อนทับของการเคลื่อนไหวในลักษณะข้ามชาติหรือเหนือชาติจะมีมากขึ้น และมีผลทั้งทางกฎหมายและจริยธรรมในการบีบบังคับรัฐให้ปฏิบัติตาม "สากล" ซึ่งยังอยู่ควบคุมโดยชาติมหาอำนาจ ประเด็นการแทรกแซงจากต่างประเทศไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่รัฐไทยซึ่งปฏิบัติตามกระแสสากลมาเป็นเวลานานแล้วจะต้องเผชิญกับปัญหาดังกล่าวมากขึ้น และจะต้องหาจุดดุลยภาพระหว่างผลประโยชน์ชาติกับผลประโยชน์ของชาติมหาอำนาจที่ขัดแย้งกัน
การตื่นตัวของความเข้าใจสภาพแวดล้อมทางสังคมอย่างต่างทิศทางกันของหลากหลาย
กลุ่มในสังคมเปิดโอกาสให้แต่ละกลุ่มผลประโยชน์เรียกร้องต่อรัฐ ให้สนองตอบต่อสิทธิและความต้องการของตน แน่นอนว่า รัฐไม่สามารถตอบสนองได้ทุกกรณีและประเด็นความขัดแย้งระหว่างกลุ่มผลประโยชน์ภายในประเทศอาจนำไปสู่การขัดแย้งอย่างรุนแรงอย่างกรณีแดง-เหลืองที่ไม่รู้ว่าจะจบอย่างไร การแก้ปัญหาความขัดแย้งของกลุ่มผลประโยชน์ภายในประเทศจะต้องไม่อาศัยวิธีแบบเก่า เช่น ปราบปรามหรือละเลย แต่ต้องอาศัยการทำความเข้าใจให้ลึกซึ้งในแต่ละปัญหา ใช้การเจรจากับผู้เกี่ยวข้องทั้งโดยตรงและโดยอ้อม และอาศัยเงื่อนไขเวลาที่เหมาะสม เป็นต้น
ใช่ว่าไทยต้องคอยรับมือแต่ความเสี่ยงเสมอไป โอกาสก็เป็นสิ่งที่แสวงหาได้ เช่น ประเด็นการแสวงหาผลประโยชน์ข้ามพรมแดนแบบพหุภาคี ที่ยุโรปตะวันตกพรมแดนประเทศระหว่างเพื่อนบ้านแทบจะเลือนหายไปแล้ว ถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เราจะปรากฏช้ากว่าเขา แต่ทุกวันนี้ แต่ละฝ่ายก็เห็นความสำคัญของความมั่นคงชายแดนร่วมมากขึ้นทุกที สามเหลี่ยมมรกตกำลังพัฒนา โอกาสของความเชื่อมโยงอาเซียนทั้งทางบกตอนบนและทางทะเลตอนล่างกำลังเป็นเรื่องที่ทุกฝ่ายพูดถึง เช่นเดียวกับความวิตกในปัญหาร่วมข้ามพรมแดนแบบการสร้างเขื่อนในจีนแล้วทำให้น้ำโขงในประเทศตอนล่างเหือดแห้ง ความสัมพันธ์ระหว่างท้องถิ่นกับท้องถิ่น โดยเกี่ยวข้องกับศูนย์กลางอำนาจรัฐน้อยกว่าเกี่ยวข้องกับรัฐอื่นนี้อาจนำมาซึ่งรูปแบบการบริหารหรือปกครองแบบใหม่ก็เป็นได้
ผ่าขบวนการค้าไม้พะยูงจากป่าอนุรักษ์ขุมทรัพย์ 2 หมื่นล้าน
TCIJ
ศูนย์ข้อมูลและข่าวสืบสวนเพื่อสิทธิพลเมือง
วิกฤตไม้พะยูงในป่าอนุรักษ์
เผยขบวนการค้าไม้เถื่อนลักลอบตัดส่งจีนสูญเสียปีละ 2 หมื่นล้านบาท
ราคาพุ่งลูกบาศก์เมตรละ 80,000-100,000 บาท
ด้านกรมอุทยานหวั่นหมดป่าเตรียมผลักดันขึ้นบัญชีไซเตสปี 2556
แต่กระนั้นปัญหาการลักลอบตัดไม้ก็ยังคงเกิดขึ้นอย่างรุนแรงและต่อเนื่อง โดยเฉพาะการลักลอบตัดไม้พะยูง ซึ่งตามกฎหมายถือว่ามีความผิด แต่โทษจากการลักลอบตัดไม้เหล่านี้ก็ยังไม่ใช่โทษหนัก เพียงแค่ปรับ 10,000 บาทหรือจำคุก 2-5 ปี แล้วแต่ความผิด จึงทำให้ชาวบ้านและพ่อค้าไม้กล้าเสี่ยงเข้ามาทำผิดกันมาก จนทำให้ผืนป่าพะยูงสุดท้ายของเอเชียตะวันออกซึ่งเหลืออยู่เฉพาะในแถบเทือก เขาภูพานและพนมดงรักเข้าสู่ขั้นวิกฤติ
หากไม่นับรวมเทือกเขาพนมดงรักทางอีสานใต้ เฉพาะเขตพื้นที่อีสานเหนือซึ่งประกอบด้วยเขตอุทยานแห่งชาติภูพาน อุทยานแห่งชาติภูผายล เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวง เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูสีฐาน ซึ่งผืนป่าดังกล่าวครอบคลุมพื้นที่หลายจังหวัด ทั้งสกลนคร กาฬสินธุ์ นครพนม เลยและมหาสารคาม พบว่าป่าพะยูงซึ่งมีรวมกันมากว่า 30-40เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ทั้งหมดถูกลักลอบตัดในช่วง 4-5ปีที่ผ่านมามาถึง 20 เปอร์เซ็นต์
ศักดิ์ดา วิเชียรศิลป์ผู้อำนวยการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 10 (อุดรธานี) กล่าว ว่า นับตั้งแต่มีการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกที่ประเทศจีนในปี 2551ทางการจีนมีความต้องการไม้พะยูงเพื่อนำไปซ่อมแซมพระราชวังต้องห้ามเป็น จำนวนมาก และหลังจากนั้นเป็นต้นมาในพื้นที่ป่าของประเทศไทยก็มีปัญหาการลักลอบตัดไม้ พะยูงสูงมาก เนื่องจากประเทศในแถบเพื่อนบ้านไม่ว่าจะเป็น ลาว กัมพูชาหรือพม่าไม่มีไม้พะยูงอีกแล้ว โดยขณะนี้ไม้พะยูงที่ถูกลักลอบตัดจากป่าอนุรักษ์ในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมามีมูลค่าความสูญเสียมากกว่าปีละ 20,000 ล้านบาท
“มีข่าวว่าปีนี้มีออเดอร์จากจีนต้องการนำเข้าไม้พะยูงสูงถึง 140 ล้านตัน เราจึงต้องระวังกันอย่างเต็มที่ อย่างไรก็ตามแม้อุทยานต่างๆจะจัดชุดเฉพาะกิจลาดตระเวนในพื้นที่ และตั้งจุดตรวจตามด่านสำคัญๆแต่ก็ยังมีการลักลอบขนไม้ออกแทบทุกวัน”ศักดิ์ดา กล่าว
และย้ำว่า สาเหตุสำคัญที่ทำให้ไม่สามารถปราบปรามขบวนการลักลอบทำไม้และค้าไม้พะยูงใน เขตพื้นที่ป่าอนุรักษ์ได้อย่างเด็ดขาดเนื่องจากเจ้าหน้าที่ส่วนหนึ่งรู้เห็น เป็นใจกับกลุ่มผู้ลักลอบตัดไม้ บางครั้งพยายามจะหามาตรการป้องกัน เช่น จัดชุดเฉพาะกิจตามจับแต่กลายเป็นว่าข้อมูลรั่ว จนทำให้ต้องยกเลิกไปโดยปริยายแต่ต้องหันมาใช้วิธีการหารือกันวงในเฉพาะเจ้า หน้าที่ที่ไว้ใจได้จริงๆเพราะไม่เช่นนั้น จะกลายเป็นส่งมอบชั้นความลับให้โดยไม่รู้ตัว
วิมล อึ้งพรหมบันฑิตหัวหน้าอุทยานแห่งชาติภูผายล เล่าว่า ปัจจุบันมีนายทุนนอกพื้นที่ไปจ้างชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้านรอบๆอุทยานฯ ให้เข้ามาลักลอบตัดไม้ในพื้นที่ โดยได้รับค่าจ้างตัดและค่าจ้างขนไม้ออกจากป่าในราคาแพง โดยได้รับค่าจ้างขนออกจากป่าท่อนละ 5,000-6,000บาท
อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ข้อมูลของกรมป่าไม้ระบุว่า ไม้พะยูงมีราคาสูงจากเดิมราคารับซื้อจากประเทศจีนอยู่ที่ลูกบาศก์เมตรละ 40,000 บาท แต่ปัจจุบันราคารับซื้ออยู่ที่ลูกบาศก์เมตรละ 80,000-100,000 บาท
อนุ คำวงศ์ษาพนักงานลาดตระเวนอุทยาน แห่งชาติภูผายล กล่าวว่า การลักลอบค้าไม้พะยูงจะมีวิธีการไม่แตกต่างจากขบวนการค้ายาบ้า โดยมีการตัดตอนผู้ที่ร่วมกลุ่มขบวนการเป็นทอดๆโดยเจ้าหน้าที่ไม่สามารถตรวจ พบพบความเชื่อมโยงได้ ซึ่งส่วนใหญ่ชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้านรอบอุทยานจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับ การลักลอบไม้และเป็นผู้ค้าไม้รายย่อยเสียเอง โดยผู้หญิงจะทำหน้าที่เข้าไป “ชี้เป้า”หรือ “ชี้พิกัด วัดรอบ”ว่ามีไม้พะยูงอยู่บริเวณใดบ้าง และจะได้รับค่าตอบราคาต้นละ 500-10,000 บาท ตามขนาด เมื่อ “แจ้งพิกัด”แล้วจะมี “มือเลื่อย”เข้ามารับหน้าที่ต่อ
ปัจจุบันพื้นที่ที่มีการทำไม้พะยูงมากที่สุดอยู่ที่ ต.บ้านแก้ง ต.ก้านเหลือง ต.คำพี้ อ.นาแก จ.นครพนม เขตติดต่อกับอุทยานแห่งชาติภูผายล ที่บ้านนาผือ หมู่ 8บ้านจอมศรี หมู่ 2หมู่ 3บ้านโพนตูม บ้านจำปาศรี บ้านจำปาทอง บ้านคำพี้ บ้านดงขวาง และบ้านโพนงาม
ประสิทธิ์ ดวงศรีจันทร์พนักงานที่พิทักษ์ป่าอุทยานแห่ง ชาติภูผายลประจำจุดตรวจบ้านแก้งกะอาม ให้ข้อมูลว่า ในบางพื้นที่พบว่า ชาวบ้านจะเข้าป่าหาไม้พะยูงเป็นกลุ่ม กลุ่มละประมาณ 10-15คน เดินป่าเพื่อกระจายกันออกหาไม้พะยูงทั้งที่ยังยืนต้นอยู่หรือที่ล้มแล้ว โดยทำเครื่องหมายไว้ ในกรณีที่นำเลื่อยยนต์ไปด้วย ก็จะแปรรูปกันตรงจุดที่พบทันที
ยศ(นามสมมุติ) ชาวอำเภอบุ่งคล้า ผู้ต้องหารับจ้างขนไม้รับสารภาพหลังจากถูกเจ้าหน้าตำรวจ สภ.เต่างอย จ.สกลนครซึ่งตั้งจุดตรวจค้นบ้านกวนบุ่กนว่า เขาได้รับการติดต่อจากนายหน้าว่าจ้างให้ไปส่งไม้พะยูงที่ชายแดนไทยฝั่ง จ.กาฬสินธุ์ โดยให้ขนไม้จำนวน 9 ท่อนและให้ค่าจ้างท่อนละ 1,000 บาท รวมทั้งหมดเป็นเงิน 9,000 บาท โดยผู้ว่าจ้างอ้างว่าเคลียร์เส้นทางไว้แล้ว
“ผมวิ่งรถไปรับไม้ในหมู่บ้านแห่งหนึ่ง พอขนไม้เสร็จก็โทรแจ้งรถนำ เพราะรถนำจำทำหน้าที่เคลียร์ตามด่านต่างๆ แต่ไปไม่รอด เพราะถูกจับได้เสียก่อน”ยศให้ข้อมูล
ส่วนแสวง (นามสมมุติ) ผู้มากับรถปิกอัพเลขทะเบียน จ.ชลบุรีนำและทำหน้าที่เคลียร์ตามด่าน ชี้แจงหลังถูกจับว่า เขาไม่ใช่พ่อค้าไม้แต่ถูกว่าจ้างจาก “ออร์เดอร์”ให้มาช่วยรับไม้อีกทอดหนึ่ง โดยเขาถือเงินอยู่จำนวนกว่า 100,000 บาท
“ผมตกลงซื้อไม้ 9 ท่อนในราคา 60,000 บาท ส่วนอีก 20,000 บาทก็จะจ่ายให้กับนายหน้าที่ทำหน้าที่ติดต่อหารถกระบะขนไม้ ส่วนที่เหลืออีก 20,000 บาท จะใช้เพื่อเคลียร์ตามด่านต่างๆที่ผ่านมาผมเคยเคลียร์ได้ ถ้าเป็นเจ้าหน้าที่ที่รู้จักก็จ่ายด่านละ 4,000-5,000 บาท ถ้าด่านไหนยากๆหน่อยก็ 7,000 บาท ครั้งนี้ไม่คิดว่าเจ้าหน้าที่จะซ้อนแผนต้องเสียเงินเพิ่มเป็น 30,000 บาท”แสวงกล่าว
อย่างไรก็ตาม แม้จะมีการจับกุมผู้ลักลอบนำไม้ออกจากผืนป่าอนุรักษ์ได้แทบทุกวัน แต่เจ้าหน้าที่ก็ยอมรับว่าบรรดาผู้ที่รับจ้างเป็นมือขนนั้นใช้เล่ห์กลสารพัด วิธีเพื่อตบตาเจ้าหน้าที่ในกรณีที่ไม่สามารถใช้เงินเคลียร์เส้นทางที่จุด ตรวจ
เจ้าหน้าที่ประจำจุดตรวจบ้านส่านแว้ เล่าให้ฟังว่าง รถปิกอัพยังคงเป็นพาหนะชั้นนำในการใช้ขนส่งไม้พะยูง แต่รถรับจ้างเหล่านี้และผู้ว่าจ้างมักนำรถไปดัดแปลง เช่น การเจาะกระบะแล้วเอาถังน้ำมันวางไว้ด้านล่างเพื่อให้สามารถบรรจุไม้ขนาดหน้า 4 แผ่นเหลี่ยมให้ได้จำนวนมาก ใช้รถตู้ขนโดยถอดเบาะออกทั้งหมด ใช้รถห้องเย็นติดสติกเกอร์ยี่ห้อขนม ใช้รถบัสที่มีลักษณะเป็นรถห้องเย็น รถขนไอศกรีม หรือรถบรรทุกสินค้าชนิดอื่น แต่วางไม้ไว้ข้างใต้ หรือแม้แต่รถขายกับข้าว รถที่ใช้วิ่งขายของในตลาดนัด
“รถพวกนี้ไม่ว่าจะติดสติกเกอร์อำพรางยังไงแต่เราก็รู้ เพราะเขาจะเสริมแหนบอีกชั้นหนึ่งเพื่อเตรียมรับน้ำหนัก คนพวกนี้ไม่กลัวเพราะถ้าขนไม้ผ่านด่านไปได้ เขาจะได้ค่าจ้างเที่ยวละ 20,000 บาท”เจ้าหน้าที่คนเดิมกล่าว
เขาให้ข้อมูลว่า จากการจับกุมพบว่าไม้ที่ลักลอบนำออกจากอุทยานฯภูผายล จะสามารถนำออกไปได้ 3 เส้นทาง คือ เข้าไปที่ จ.สกลนคร-หนองคาย –บุ่งคล้า-จ.บึงกาฬ หรือจาก จ.กาฬสินธุ์-วิ่งอ้อมกลับมาที่ จ.หนองคาย และจากสกลนคร เข้าไปที่ จ.มุกดาหาร-วิ่งอ้อมกลับมาที่ ต.ท่าอุเทน จ.นครพนม
ฃขณะที่แหล่งข่าวจากกองกำลังสุรศักดิ์มนตรี ให้ข้อมูลว่า เมื่อไม้พะยูงถูกขนข้ามโขงมาถึงฝั่งลาวแล้วก็จะมีกรรมวิธีในการนำสวมเข้า โควตาเป็นไม้ลาว จากนั้นบรรทุกใส่ตู้คอนเทนเนอร์ส่งไปยังประเทศจีน ผ่านเส้นทางหมายเลข 12 ในลาวเข้าไปยัง”ด่านจาลอ”ของประเทศเวียดนามทางตอนกลางของประเทศผ่าน”เมือง วิง”แล้วมุ่งหน้าขึ้นทางเหนือสู่ชายแดนจีนที่เมืองหนานหนิง และบางส่วนก็แยกเส้นทางเข้าไปที่มณฑลเสฉวนของประเทศจีน
แหล่งข่าวยังระบุอีกว่า การลักลอบทำไม้พะยูงใหญ่มีการทำเป็นขบวนการใหญ่มาก มีนักการเมืองระดับชาติและระดับท้องถิ่นเข้าไปเกี่ยวข้อง โดยเฉพาะ 3 จังหวัดรอยต่อ สกลนคร นครพนม มุกดาหาร นอกจากนี้ยังมีนักธุรกิจ ซึ่งเป็นเสี่ยชื่อดังในจ.นครพนมเป็นนายหน้ารายใหญ่ติดต่อกับทางจีนโดยตรง
สำหรับแนวทางการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้านั้น สุนันต์ อรุณนพรัตน์ อดีตอธิบดีกรมอุทยานพรรณพืชและสัตว์ป่า เคยให้สัมภาษณ์ก่อนจะถูกย้ายเข้ากรุผู้ตรวจฯว่า กรมอุทยานฯ จะพยายามแก้ไขปัญหาดังกล่าวด้วยการขึ้นทะเบียนไม้พะยูงไว้บัญชีอนุสัญญาว่า ด้วยการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้จะสูญพันธุ์ (ไซเตส) เพื่อป้องกันไม่ให้มีการเคลื่อนย้ายและการค้าระหว่างประเทศ โดยกรมอุทยานฯจะผลักดันเรื่องนี้ให้ได้ในการประชุมไซเตส ครั้งที่ 16ที่ประเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพในปี 2556โดยในระหว่างนี้ได้ให้เร่งสำรวจและศึกษาวิจัยความสำคัญของไม้พะยูงเพื่อ ให้นานาชาติเห็นถึงความสำคัญ
และการที่เจ้าหน้าที่ตำรวจและเจ้าหน้าที่อุทยานฯสามารถจับ กุมผู้ค้าไม้รายใหญ่และรายย่อยได้เกือบทุกวัน คงพอจะเป็นคำตอบที่ชี้ให้เห็นอนาคตของไม้พะยูงในผืนป่าสุดท้ายของเอเชียได้ เป็นอย่างดี
แม้วผวากลุ่มอำนาจเก่า ยังจ้องขย่มล้ม'รัฐบาลปู' สไกป์สั่งงาน'รมต.พท' 'เร่งทำที่หาเสียง-ใช้งบฯ'
“แม้ว” สไกป์จากมาเลเซีย สั่งงานรมต.พท. ระหว่าง “ปู” นั่งหัวโต๊ะเป็นประธานการประชุม ย้ำให้ทำงานประสานกันเป็นทีม ทำงานตามนโยบายหาเสียงเพื่อประชาชนที่ให้โอกาสเข้ามา วอนให้รอบคอบการใช้งบฯ ที่สำคัญต้องระวังกลุ่มอำนาจเก่าที่พร้อมขย่มรัฐทุกเมื่อ
วันที่ 21 ก.ย.2554 รายงานข่าวจากแกนนำพรรคเพื่อไทย(พท.) แจ้งว่า ในระหว่างที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมรัฐมนตรีพรรคเพื่อไทยนั้น ปรากฏว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ซึ่งพำนักอยู่ที่ประเทศมาเลเซีย ได้ใช้โปรแกรมสไกป์มาร่วมประชุมด้วยตั้งแต่ต้นจนจบเป็นเวลานานกว่า 2 ชั่วโมง ซึ่งรัฐมนตรีที่เข้าร่วมประชุมสามารถสนทนาถามตอบกับพ.ต.ท.ทักษิณได้ ทั้งนี้พ.ต.ท.ทักษิณได้เริ่มต้นด้วยการให้กำลังใจรัฐมนตรีพรรคเพื่อไทยทุกคน และขอให้รัฐมนตรีทำงานเต็มที่เพื่อพี่น้องประชาชน โดยเฉพาะตอนนี้ที่ประเทศเกิดภัยพิบัติเรื่องน้ำท่วม ซึ่งเป็นภาพสะท้อนให้เห็นว่าที่ผ่านมาเมื่อเกิดปัญหาขึ้นแล้ว ก็ไม่ได้รับการแก้ไข เมื่อเราเข้ามารับหน้าที่ก็อยู่ในสถานการณ์ที่ต้องตั้งรับอย่างเดียวเพราะมี ข้อจำกัดหลายอย่าง โดยเฉพาะเรื่องงบประมาณ จึงต้องเร่งออกนโยบายมาช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ ซึ่งนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจที่เราได้ออกไปแล้วจะพอช่วยได้ ทั้งสร้างเศรษฐกิจและการฟื้นฟูเศรษฐกิจ หรืออย่างนโยบาย เอสเอ็มอี กองทุนหมู่บ้าน ขอให้พี่น้องประชาชนเป็นผู้มีส่วนดำเนินการเอง อย่าให้เกิดปัญหาเหมือนรัฐบาลที่แล้ว ที่ไปชี้นำและซื้อสินค้าให้ประชาชนเอง แต่เราต้องให้ประชาชนไปทำประชาคมหาวิธีการของเขาเอง เพราะจะทำให้เกิดการฟื้นฟูเศรษฐกิจ การใช้ทรัพยากรในท้องถิ่น การสร้างงานในท้องถิ่นได้อีกทางหนึ่ง
พ.ต.ท.ทักษิณ ยังกล่าวกับรัฐมนตรีอีกว่า สำหรับโครงการที่เป็นโครงสร้างพื้นฐาน หรือโครงการเมกกะโปรเจค ขอให้ดำเนินการอย่างรอบคอบ ต้องระมัดระวังเรื่องการใช้งบ ให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด โครงการใหญ่ๆ ต้องรอบคอบ ต้องระมัดระวังให้มาก ซึ่งวิธีการที่ดีที่สุดคือตั้งกรรมการขึ้นมาทำการศึกษาก่อนแล้วค่อยดำเนิน การ
“วันนี้จะทำอะไรก็แล้วแต่ขอให้นึกถึงประชาชนเป็นที่ตั้ง เพราะเขาให้โอกาสเรามาแล้ว และตอนนี้ก็มีการดำเนินการของกลุ่มอำนาจเก่าที่พร้อมเขย่ารัฐบาล ดังนั้นขอให้ดำเนินนโยบายตามที่ได้พูดกับประชาชนไว้ ใครจะทำอะไรก็ให้หนักแน่นไม่ต้องกลัว เอาประชาชนเป็นที่ตั้ง ตอนนี้ผมเห็นว่าเราทำงานตามนโยบายที่ได้ประกาศไว้ดีแล้ว ทั้งนี้ใครที่มีประสบการณ์ทำงานสำเร็จมาแล้ว ก็น่าจะเป็นประโยชน์ น่าจะตั้งบุคลากรเหล่านี้มาเป็นที่ปรึกษา"พ.ต.ท.ทักษิณกล่าวย้ำ
พ.ต.ท. ทักษิณ ยังได้ขอให้ประสานการทำงานกันเป็นทีม เพราะบางนโยบายต้องทำงานเกี่ยวข้องกันหลายหน่วยงาน เช่น ในเรื่องเทปเลต ก็ขอให้กระทรวงศึกษาธิการ กับกระทรวงไอซีที ประสานงานกันให้ดี ส่วนนโยบายบัตรเครดิตเกษตรกรนั้นนั้น ให้ศึกษาเรื่องระบบให้ดีก่อน จากนั้นค่อยไปดูเรื่องคน และกระบวนการจัดการ เช่นเดียวกับโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้า ก็ขอให้ไปหาสถานที่สำหรับสร้างบ้านเอื้ออาทรในจุดที่ใกล้กับสถานี เพื่อทำให้เป็นชุมชนใหม่ เป็นต้น
นอกจากนี้ พ.ต.ท.ทักษิณ ยังได้แสดงความเป็นห่วงเป็นพิเศษ ในเรื่องของปัญหายาเสพติด อาชญากรรม และปัญหาภาคใต้มาก เพราะจะสร้างผลกระทบต่อความมั่นคงมากที่สุดตอนนี้ โดยได้จี้รัฐมนตรีที่รับผิดชอบให้เร่งทำงาน เช่น ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา รมว.กลาโหม เป็นต้น ส่วนเรื่องค่าแรง 300 บาท ก็ขอให้นายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ รมว.แรงงาน เร่งดำเนินการ ให้เริ่มได้ในเดือน ม.ค.ปี 55
รายงานข่าวแจ้งว่า ทั้งนี้ตลอดเวลาของการพูดคุยกับรัฐมนตรีผ่านโปรแกรมสไกป์นั้น พ.ต.ท.ทักษิณจะให้คำแนะนำในเรื่องต่างๆ โดยเฉพาะโครงการที่เป็นนโยบายที่พรรคเพื่อไทยได้หาเสียงไว้ในฐานะที่เป็นคน ต้นคิดโดยตรง ขณะที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ที่นั่งหัวโต๊ะเป็นประธานการประชุม ได้กล่าวเสริมในบางช่วง ทั้งนี้รายงานข่าวแจ้งว่า จากนี้ไปพ.ต.ท.ทักษิณ จะพยายามหาเวลาสไกป์มาร่วมประชุมกับนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีพรรคเพื่อไทยทุก ครั้ง
ทุจริตเชิงนโยบาย เกมล่าขุมทรัพย์ “ทองคำสีดำ”
นายตะเกียง
แม้ว่า
ทักษณ ชินวัตร จะเหิรฟ้าด้วยเครื่องบินส่วนตัวออกจากกัมพูชา
เป็นที่เรียบร้อยแล้ว เพื่อเดินสายบรรยานโยบายด้านเศรษฐกิจ โดยมีคิวต่อ
ที่มาเลเชีย และ ฮ่องกง เพื่อแสดงศักภาพถึงความเป็นผู้นำอีกครั้ง
แต่
ยังมีประเด็นการต่อสู้ที่แหลมคม ระหว่างพรรคเพื่อไทย กับ พรรคประชาธิปัตย์
ว่าผลประโยชน์จะตกอยู่ในกระเป๋าใคร ในการเจรจาธุรกิจพลังงานกับกัมพูชา
กับขุมทรัพย์ทองคำสีดำ
ถึงขนาดพรรคเพื่อไทยเดิมรุกให้มีการตรวจสอบ อดีตรองนายกฯ สุเทพ เทือกสุบรรณ กับปฏิณณาแกงเรียง หลังจาก นายกฯฮุน เซน ออกมาเปิดเผยการเจรจาลับกับอดีตรัฐบาลประชาธิปัตย์ ที่เข้าข่ายผิดมาตรา 190 หรือไม่
แต่วันนี้สถาการณ์เปลี่ยนไป เมื่อเพื่อไทยกลับเข้ากุมอำนาจรัฐ นายกฯ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เดินทางเยือนกัมพูชา ในวันที่ 15 กันยายน ตามด้วย ทักษิณ ชินวัตร ที่เข้ากัมพูชาในวันที่ 17 กันยายน ทิ้งห่างกันเพียง 2 วัน
หลังจากเดินทางกลับ นายกฯยิ่งลักษณ์ ยังได้เปิดทำเนียบต้อนรับผู้บริหาร Chevron บริษัทพลังงานยักษ์ ใหญ่จากสหรัฐอเมริกา ทันที
Chevron ตั้งบริษัทร่วมทุนกับ กลุ่ม Mitsui จากญี่ปุ่น และกลุ่ม GS Caltex จากเกาหลีใต้ เพื่อสำรวจหาแหล่งน้ำมัน และแก๊สธรรมชาติในเขตน่านน้ำของกัมพูชาตั้งแต่ปี 2545
ไม่รู้ว่าบังเอิญ หรือ ตั้งใจ ที่ ทักษิณ ในฐานะที่ปรึกษาเศรษฐกิจของรัฐบาลกัมพูชา แต่อีกสถานะคือ พี่ชายของนายกฯยิ่งลักษณ์ ที่ไม่สามารถแยกขาดจากกันได้ชัดเจน
จึงเกิดข้อสงสัยว่า การเข้าไปทำธุรกิจน้ำมันภายใต้การเจรจาของ ทักษิณ จะเป็นบริษัท ปตท.ที่กระทรวงพลังงานถือหุ้นหลักหรือไม่ หรือ ว่าเป็นบริษัทพลังงานอื่นที่ ทักษิณ อาจ
จะเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับการเจรจรา หรือ บริษัทใกล้ชิด
ที่ให้นอมินิแอบถือหุ้นแทน และไปจดทะเบียน ที่ดูไบ บรูไน สิงค์โปร์ หรือ
มอนเตเนโกร
เพราะวันนี้ ทักษิณ เป็น
ผู้ที่รู้ข้อมูล ทั้งฝ่ายไทยและกัมพูชา ในฐานะผู้นำการเจรจา ตัวจริง
เสียงจริง นายกฯ ยิ่งลักษณ์ เปรียบเหมือนหมากที่ต้องเดินไปตามเกม
เพราะขนาดพื้นที่ทับซ้อน 4.6 ตารางกิโลเมตร ยังตอบไม่เคลียร์ว่าเป็นของไทยหรือไม่
แม้ว่าในการเดินทางเยือนกัมพูชา ของนายกฯยิ่งลักษณ์ จะมีข้อมูลบางส่วน ที่กระทรวงพลังงาน มอบให้ไปเจรจา แต่ยังไม่อาจขับเคลื่อนได้ในช่วงนี้ เพราะยังมีมาตรา 190 เรื่องสนธิสัญญาระหว่างประเทศค้ำคอ ก่อนเปิดช่องให้กับธุรกิจพลังงาน เข้าไปร่วมลงทุน
แน่
นอนนับจากนี้ รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ย่อมหาทางทำทุกอย่างให้ ถูกต้องตามกฎหมาย
และเร่งทำให้เสร็จสิ้น เพื่อให้ไทยบรรลุ ข้อตกลงระหว่างไทย-กัมพูชา
ให้เสร็จในรัฐบาลนี้
จึงน่าสนใจว่า การอาศัยช่องทางขอกฎหมาย และเสียงข้างมากในสภา อาจจะเอื้อประโยชน์ให้กับบริษัทพลังงานบางบริษัท หรือไม่ หรือเข้าข่ายการทุจริตเชิงนโยบาย และผลประโยชน์ทับซ้อน ที่อาจกลับมาเกิดขึ้นอีกครั้งในรัฐบาลชุดนี้
เพราะ
เป็นงานถนัดของรัฐบาลเพื่อไทย นับตั้งแต่อดีต ไม่ว่าจะเป็นการออก
พรก.ยกเว้นการเก็บภาษีกิจการโทรคมนาคม เอื้อให้กลุ่มชินคอรป์
ก่อนที่จะขายหุ่นให้กลุ่มเทมาเซค จนนำไปสู่การยึดทรัพย์ ข้อหาร่ำรวยผิดปกติ
และทุจิรตต่อหน้าที่
คดีปล่อยกู้ พม่า 4 พันล้านให้รัฐบาลเผด็จการทหารพ่า เอื้อ บริษัทในเครือ ชินคอรป์ ที่มีครอบครัว ทักษิณ ชินวัตร เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่
จึง
ไม่ต้องแปลกใจ ที่กัมพูชา เลือกข้างพรรคเพื่อไทยตั้งแต่เป็นฝ่ายค้าน
เพื่อรอจังหวะให้กลับมามีอำนาจรัฐอีกครั้ง เพื่อเจรจาแบ่งขุมทรัพย์
จึงไม่ต้องไปหาคำตอบว่า ขุมทรัพย์ทองคำสีดำ ในพื้นที่ทับซ้อนไทย-กัมพูชา ผลประโยชน์ทั้งหมดจะไปตกอยู่ในมือของใคร?
—————//—————–
ขอขอบคุณ…นายตะเกียง จาก ok nation
ปฎิวัติ-คอรัปชั่น แด่นิติแดงแห่งมธ.
บทนำไทยโพสต์
19 กันยายนกันที พูดถึงปฏิวัติกันที และปีนี้ที่ดูจะมีความพิเศษ ตรงที่คณาจารย์เสื้อแดง แห่งนิติศาสตร์ธรรมศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ ประกอบด้วย นายวรเจตน์ ภาคีรัตน์, นางจันทจิรา เอี่ยมมยุรา, นายฐาปนันท์ นิพิฏฐกุล, นายธีระ สุธีวรางกูร, น.ส.สาวตรี สุขศรี, นายปิยบุตร แสงกนกกุล และนายปูนเทพ ศิรินุพงศ์ ออกแถลงการณ์คณะนิติราษฎร์ ข้อเสนอแนะ 4 ประเด็น
สรุป
โดยรวมได้ว่า รัฐประหาร 19 ก.ย.49 เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย
ทำลายนิติรัฐ-ประชาธิปไตย
และยังเป็นต้นเหตุของปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน
จึงเสนอให้มีการลบล้างผลพวงของรัฐประหาร
ถือว่าไม่เคยเกิดขึ้นและไม่เคยมีผลในทางกฎหมาย
รวมทั้งประกาศให้คำวินิจฉัยของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญและศาลรัฐธรรมนูญ
รวมถึงคำพิพากษาของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาฯ ที่เป็นผลต่อเนื่องจากรัฐประหาร
โดยเฉพาะที่เกิดจากคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่
รัฐ (คตส.) ถือว่าไม่เคยเกิดขึ้น และไม่เคยมีผลในทางกฎหมาย
นัก
วิชาการกลุ่มนี้ตบท้ายได้น่ารักน่าชังว่า
การทำแบบนี้อาจจะโดนกล่าวหาว่าจะช่วยนักการเมืองฝ่ายรัฐบาลที่โดนล้มล้างไป
และโดนทำลายจากคำพิพากษาของศาล
รวมทั้งอาจโดนกล่าวหาว่าเข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งทางการเมือง
หากใครเข้าใจแบบนั้นไม่ถูกต้อง แม้ศาลจะเป็นกลาง
แต่คดีมันมาจากผลพวงการรัฐประหารคือ คตส.
ซึ่งเป็นปรปักษ์กับอีกฝ่ายที่โดนล้มอำนาจนั้น
จะรับผลพวงจากการรัฐประหารได้เช่นใด
ยินดี
กับคณะนิติศาสตร์ธรรมศาสตร์ ที่มีนักวิชาการ นักกฎหมาย
ที่เปี่ยมไปด้วยความรู้ ความสามารถ ที่หาตัวจับได้ยาก
นับแต่คณะนี้เปิดขึ้นมารับใช้นักศึกษา ประชาชน
สิ่งที่อยากเรียกร้องกลับไปยังบรรดาคณาจารย์คืออย่าหยุดเพียงแค่นี้
ให้เดินหน้าแสดงเจตจำนงค์ต่อไปให้ถึงที่สุด
ประวัติ
ศาสตร์การเมืองไทย ปฏิวัติรัฐประหารมาแล้วถึง 12 ครั้ง
หากนับคณะราษฎร์ยึดอำนาจจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเข้าไปด้วยก็
เป็น 13 ครั้ง ก็ต้องเรียกร้องด้วย เพราะ
แต่ละครั้งล้วนมีผลกระทบกับประเทศมากมายมหาศาล
หากการทำรัฐประหารเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ.2476 ของ พระยามโนปกรณ์นิติธาดา
เป็นโมฆะ ประเทศไทยคงเจริญรุ่งเรือง
มีประชาธิปไตยไม่ด้อยไปกว่าประเทศอังกฤษแน่นอน
ถ้า
คิดว่าเป็นข้อเสนอแนะที่กำปั้นทุบดินเกินไป
ก็ตัดเอาเมื่อครั้งคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.)
ยึดอำนาจจากรัฐบาล พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2534 ก็ได้
เพราะหากลบล้างประวัติศาสตร์มิให้ผลพวงของการยึดอำนาจโดย รสช.
มีผลมาถึงปัจจุบัน ประเทศไทยจะเจริญรุ่งเรืองไม่ด้อยไปกว่าสิงคโปร์
เกาหลีใต้ เราจะเป็นนิกส์ หรือหนึ่งในห้าเสือเอเชียแน่นอน
ถ้า
ถอยไปได้จริง การคอรัปชั่นในประเทศไทยคงเบาลงไปเยอะ
เพราะวันที่พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เดิมกุมเป้าเข้าหา พล.อ.สุนทร คงสมพงษ์
ประธาน
รส
ช. ขอยิงดาวเทียมไทยคมด้วยวิธีพิเศษ ก็จะถูกลบล้างไปด้วย
หมายถึงความร่ำรวยของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ก็จะลดลงไปมหาศาล
เขาก็อาจไม่เข้ามาเล่นการเมือง ถึงเล่นก็ไม่อาจควบรวมพรรคการเมือง
ต้อนนักการเมืองเข้าพรรคไทยรักไทยได้ เพราะเงินไม่ถึง การรัฐประหาร 19
กันยายน 2549 ก็คงไม่เกิด
นักวิชาการกลุ่มนี้คงคิดว่าคนอื่นเป็นควาย วันๆ ไม่สนใจเรื่องอื่นนอกจากเล็มหญ้าในท้องนา หรืออย่างไร ถึง
ได้ตัดตอนเหตุการณ์เอาแค่ 19 กันยายน 2549 จริงอยู่
การปฏิวัติรัฐประหารนั้นคือความอัปยศ และชั่วร้าย
แต่การคอรัปชั่นก็ชั่วช้าไม่ต่างกัน ถ้าคิดกันให้สะเด็ดน้ำ
นักวิชาการกลุ่มนี้น่าจะเสนอแนวทางได้ดีกว่านี้ อย่าง
น้อยๆ
คงไม่เสนอให้ลบล้างความชั่วช้าของการคอรัปชั่นที่ระบอบทักษิณกัดกินประเทศ
ไทยเพียงด้านเดียว ดังนั้นไม่ต้องหมายเหตุในแถลงการณ์
เกรงถูกมองว่าเข้าข้างระบอบทักษิณ เพราะท่านแก้ผ้าหมดไม่เหลือหลอ
มองเห็นกระทั่งขี้กลาก.
ครม. เห็นชอบข้อเสนอ คอป. ชะลอคดีการเมือง-ปล่อยตัว-เยียวยาจำเลย
ที่ ประชุมคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบข้อเสนอของ คณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.) ชุดของนายคณิต ณ นคร จำนวน 7 ข้อ โดยมีใจความสำคัญคือ
- ตรวจ สอบข้อหาและการดำเนินคดีทางการเมือง ที่เกิดจากความผิดตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉิน 2548, คดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ มาตรา 112 และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ 2550 ว่าตั้งข้อหารุนแรงเกินสมควรหรือไม่ และให้ปล่อยตัวจำเลยชั่วคราว หรือบางกรณีให้ขอความร่วมมือให้อัยการชะลอการดำเนินคดี เพื่อรอข้อมูลให้ครบถ้วน
- ใช้มาตรการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบเป็น มาตรการพิเศษ ที่ไม่ใช่หลักการทั่วไปในกรณีผู้ประสบภัยพิบัติ และกำหนดคณะกรรมการเฉพาะกิจด้านการเยียวยา
- เร่งรัดการประกันสิทธิขั้นพื้นฐานของผู้ชุมนุมที่ถูกกักขังในเรือนจำ และจ่ายค่าทดแทนต่อจำเลยที่ศาลยกฟ้อง
- ปรับ ปรุงแนวทางการสั่งคดีของอัยการในคดีที่เกี่ยวข้องกับสถาบันพระมหากษัตริย์ ให้ใช้หลัก Opportunity Principle ที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล โดยถือประโยชน์สูงสุดในการป้องป้องพระเกียรติยศเป็นสำคัญ
วันนี้ (20 ก.ย. 2554) นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีแถลงข่าวภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ที่ประชุมเห็นชอบตามข้อเสนอของคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อ การปรองดองแห่งชาติ (คอป.) ต่อนโยบายสร้างความปรองดองสมานฉันท์ของคนในชาติและฟื้นฟูประชาธิปไตย
โดย ให้รัฐบาลปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมเพื่อสร้างบรรยากาศปรองดองในชาติ ยึดหลักนิติธรรม เคารพกฎหมาย ยึดถือผลประโยชน์ของประเทศชาติเป็นหลัก และให้เร่งตรวจสอบข้อเท็จจริง ให้ความชัดเจนเกี่ยวกับการแจ้งข้อกล่าวหาในการดำเนินคดีอาญา และคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพเพื่อให้เกิดกระบวนการในการสืบสวนสอบสวนอย่าง ยุติธรรมเป็นไปตามหลักนิติธรรม ทั้งนี้ให้ดูภาพรวมทั้งหมดตั้งแต่ก่อนและหลังปฏิวัติ สำหรับเรื่องคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพเป็นคดีที่มีความละเอียดอ่อนให้ดำเนิน ทุกวิถีทาง เพื่อเป็นการปกป้อง เทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์
สำหรับ ข้อ เสนอเรื่องชดเชย เยียวยา ฟื้นฟูผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความรุนแรงทางการเมืองนั้น นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า เป็นแนวปฏิบัติแบบกว้าง ๆ โดยตั้งกรอบระยะเวลาในการดำเนินการดูแล เยียวยา ฟื้นฟู และขอให้รัฐบาลเร่งดำเนินการอย่างจริงจัง ปฏิบัติต่อผู้ต้องหาหรือจำเลยให้เป็นไปตามหลักนิติธรรม โดยให้มีการปล่อยตัวชั่วคราวตามสิทธิขั้นพื้นฐานของผู้ต้องหาและจำเลยตาม ลักษณะและสิทธิ์ของนักโทษ
ซึ่งในที่ประชุมได้แต่งตั้งคณะกรรมการประสาน และติดตามผลการดำเนินงานข้อเสนอของ คอป. เพื่อแสดงให้เห็นว่ารัฐบาลมีเจตนา และมีความจริงใจที่จะทำงานร่วมกับ คอป. เพื่อให้เกิดความปรองดองเกิดขึ้นโดยเร็ว โดยแต่งตั้งนายยงยุทธ วิชัยดิษฐ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเป็นประธานกรรมการ
ข้อมูลจาก รัฐบาลไทย
รายละเอียดจากสรุปการประชุมคณะรัฐมนตรี ประจำวันที่ 20 กันยายน 2554
เรื่อง ข้อเสนอแนะของคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่ง ชาติ (คอป) ต่อ นโยบายสร้างความปรองดองสมานฉันท์ของคนในชาติและฟื้นฟูประชาธิปไตย
คณะ รัฐมนตรีเห็นชอบข้อเสนอแนะของคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อ การปรองดองแห่งชาติ (คอป) ต่อนโยบายสร้างความปรองดองสมานฉันท์ของคนในชาติและฟื้นฟูประชาธิปไตย ตามที่นายคณิต ณ นคร ในฐานะประธานกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป) เสนอ รวม 7 ประการ ดังนี้
ประการแรก
คอป. เห็นว่า ในระหว่างที่สังคมไทยยังมีความขัดแย้งอยู่ รัฐบาลต้องดำเนินการมาตรการเพื่อลดความขัดแย้ง โดยตรวจสอบว่าเจ้าพนักงานที่อยู่ในความรับผิดชอบของฝ่ายบริหารปฏิบัติตาม กฎหมายอย่างเคร่งครัด ให้ประชาชนที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมสามารถเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้ ให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชนและผู้ต้องขังที่ต้องการความช่วยเหลือ ตรวจสอบและผลักดันให้ผู้ที่ต้องรับผิดชอบต่อเหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้น ทุกฝ่ายรวมทั้งฝ่ายเจ้าหน้าที่ของรัฐเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมเพื่อได้รับ การพิจารณาวินิจฉัยอย่างเท่าเทียมกัน
ประการที่สอง
คอ ป. ขอเรียกร้องให้ผู้ที่เกี่ยวข้องในความขัดแย้งทุกฝ่ายใช้ความระมัดระวังอย่าง ยิ่งยวดในการกระทำใดๆ ซึ่งอาจเป็นการกระทบกระเทือนถึงบรรยากาศในการปรองดอง โดยเฉพาะรัฐบาลต้องมีความระมัดระวังเป็นพิเศษที่จะไม่ดำเนินใดๆ ที่กระตุ้นให้เกิดความขัดแย้งมากยิ่งขึ้น
ประการที่สาม
คอ ป. เห็นว่า การดำเนินคดีอาญาในคดีความผิดตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุก เฉิน พ.ศ. 2548 ความผิดฐานมั่วสุมกันตั้งแต่สิบคนขึ้นไปตามมาตรา 215 แห่งประมวลกฎหมายอาญา และคดีที่เกี่ยวเนื่องซึ่งเป็นช่วงเหตุการณ์ความรุนแรงทางการเมืองทั้งหลาย ทั้งก่อนและหลังการรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 รวมทั้งคดีที่เกี่ยวเนื่องกับการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพตามมาตรา 112 แห่งประมวลกฎหมายอาญา และพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 ล้วนเป็นเรื่องที่มีลักษณะเกี่ยวเนื่องกับความขัดแย้งทางการเมือง รัฐบาลสมควรดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวกับการดำเนินคดีในความผิดดังกล่าว ดังนี้
1. เร่งรัดตรวจสอบให้ชัดเจนว่า การแจ้งข้อหาและการดำเนินคดีกับผู้ถูกกล่าวหาและจำเลยสอดคล้องกับพฤติการณ์ แห่งการกระทำหรือไม่ และทบทวนว่า มีการตั้งข้อหาที่รุนแรงเกินสมควร หรือดำเนินคดีที่พยานหลักฐานอ่อนไม่เพียงพอต่อการพิสูจน์ความผิดหรือไม่
2. ดำเนินการอย่างจริงจังเพื่อให้มีการปล่อยชั่วคราวอันเป็นสิทธิพื้นฐานของผู้ ต้องหาและจำเลย โดยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น พนักงานสอบสวน พนักงานอัยการ ยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อให้ข้อมูลเกี่ยวกับผู้ต้องหาและจำเลยว่า มีเหตุที่จะหลบหนี เหตุที่จะทำลายพยานหลักฐาน หรือเหตุที่จะเป็นอันตรายต่อสังคมหากได้รับการปล่อยชั่วคราวหรือไม่ หากไม่มีสาเหตุดังกล่าวให้ยืนยันหลักกฎหมายในการคุ้มครองสิทธิพื้นฐานว่าผู้ ต้องหาหรือจำเลยมีสิทธิได้รับการปล่อยชั่วคราว และในการปล่อยชั่วคราวนั้น แม้ตามมาตรา 110 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา จะไม่เรียกร้องหลักประกันก็ตาม และในกรณีที่ศาลอนุญาตให้มีการปล่อยชั่วคราวแต่กำหนดให้มีหลักประกันด้วย นั้น ก็ชอบแล้วที่รัฐบาลจะจัดหาหลักประกันดังกล่าวให้แก่ผู้ต้องหาและจำเลยทุกคน ที่ไม่สามารถจัดหาหลักประกันได้ตามทางปฏิบัติที่ผ่านมา
3. เนื่องจากผู้ต้องหาและจำเลยมิใช่เป็นผู้ร้ายหรืออาชญากรดังเช่นในคดีอาญาตาม ปกติ แต่เป็นผู้ที่ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดอันมีมูลเหตุเพื่อให้บรรลุ
4. เป้าหมายในทางการเมือง หากผู้ต้องหาและจำเลยนั้นไม่ได้รับการการปล่อยชั่วคราว รัฐบาลสมควรจัดหาสถานที่ในการควบคุมที่เหมาะสมที่มิใช่เรือนจำปกติ
5. เนื่องจากคดีอาญาเหล่านี้เป็นเรื่องสืบเนื่องมาจากความขัดแย้งทางการเมือง ที่ดำเนินอยู่ในช่วงเวลาหลายปีที่ผ่านมา ด้วยเหตุนี้ ในระหว่างที่มีการศึกษาถึงแนวทางในการนำมาตรการต่างๆ ที่เหมาะสมกับสถานการณ์ความขัดแย้งในประเทศไทยมาใช้ สมควรขอความร่วมมือให้อัยการชะลอการดำเนินคดีอาญาเหล่านี้ไว้ โดยยังไม่พิจารณานำคดีขึ้นสู้ศาล โดยรอให้มีข้อมูลที่ครบถ้วนในทุกๆ ด้าน ให้อัยการมีข้อมูลที่ครบถ้วนสมบูรณ์ในการประเมินความเหมาะสมทางด้านประโยชน์ สาธารณะ รวมทั้งมาตรการทางอาญาที่เหมาะสมก่อนสั่งคดี
ประการที่สี่
คอ ป. เห็นว่า การชดเชยเยียวยาและฟื้นฟูผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความรุนแรงทุกฝ่าย เป็นเงื่อนไขสำคัญในการสร้างความปรองดองในชาติ ทั้งนี้ ควรดำเนินการอย่างน้อยตามแนวทาง ดังนี้
1. เนื่องจากการเยียวยาในกรณีนี้แตกต่างจากการเยียวยาในกรณีปกติ การเยียวยาในกรณีนี้จึงไม่อาจใช้หลักการและมาตรการตามปกติดังเช่นที่รัฐใช้ กับผู้ประสบภัยพิบัติ หรือหลักการในการจ่ายค่าตอบแทนผู้เสียหาย ค่าทดแทน และค่าใช้จ่ายในคดีอาญา ฯลฯ แต่จะต้องใช้มาตรการพิเศษที่ไม่ติดยึดอยู่กับสิทธิที่มีอยู่ตามกรอบของ กฎหมายและแนวปฏิบัติของหน่วยงานและองค์กร ที่ดำเนินการในกรณีปกติ
2. รัฐบาลควรเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบทุกฝ่ายอย่างเร่งด่วนและต่อเนื่อง โดยกลุ่มเป้าหมายในการเยียวยาไม่ควรจำกัดเฉพาะผู้ที่ได้รับผลกระทบจาก เหตุการณ์ในช่วงเดือนเมษายน พฤษภาคม 2553 เท่านั้น แต่ควรครอบคลุมถึงบุคคลที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความรุนแรง ที่สืบเนื่องมาจากความขัดแย้งทางการเมืองในช่วงตั้งแต่ก่อนการรัฐประหาร เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 เป็นต้นมา
3. รัฐบาลควรกำหนดกรอบในการเยียวยาให้กว้างขวาง สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงของเหตุการณ์ และครอบคลุมถึงความสูญเสียในลักษณะต่าง ๆ ทั้งทางร่างกายและจิตใจ โดยให้ครอบคลุมถึงความสูญเสียในทางเศรษฐกิจและโอกาสของผู้ที่ได้รับผลกระทบ
4. รัฐบาลควรจัดตั้งคณะกรรมการเฉพาะกิจเพื่อทำหน้าที่ในการให้การเยียวยาผู้ที่ ได้รับผลกระทบทุกฝ่ายอย่างจริงจัง โดยจัดให้มีองค์กรเฉพาะกิจที่มีประสิทธิภาพ เพื่อเป็นศูนย์กลางในการประสานงานความช่วยเหลือด้านงบประมาณในการเยียวยา อย่างเป็นระบบ ทั่วถึง และต่อเนื่อง
ประการที่ห้า
คอ ป. เห็นว่า การเยียวยากลุ่มผู้ที่ถูกดำเนินคดีโดยไม่เป็นธรรมก็เป็นกลุ่มเป้าหมายสำคัญ ที่เป็นเงื่อนไขในการสร้างความปรองดองในชาติ จึงเห็นควรดำเนินการเยียวยากลุ่มผู้ที่ถูกดำเนินคดี โดยไม่เป็นธรรมเนื่องจากการชุมนุม ดังนี้
1. ควรเร่งรัดการประกันสิทธิขั้นพื้นฐานในกระบวนการยุติธรรมของผู้เข้าร่วม ชุมนุมและ ผู้ที่เกี่ยวข้องที่ถูกควบคุมอยู่ในเรือนจำทั่วประเทศ โดยตรวจสอบว่าไม่มีการตั้งข้อกล่าวหาที่รุนแรงเกินสมควร
2. จ่ายค่าทดแทนแก่จำเลยที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ยกฟ้องแล้ว โดยไม่ต้องพิจารณาว่าศาลได้มีคำพิพากษาว่าจำเลยเป็นผู้บริสุทธิ์หรือไม่
3. สำหรับจำเลยที่ศาลมีคำพิพากษาลงโทษถึงที่สุดแล้ว หรือไม่ให้ประกันตัว ควรให้ ความช่วยเหลือแก่ครอบครัวของจำเลยเหล่านั้นในด้านมนุษยธรรม และหากพ้นโทษแล้ว รัฐบาลควรมีมาตรการ ให้ความช่วยเหลือแนะนำในการประกอบอาชีพ เพื่อลดความคับแค้น และฟื้นฟูให้สามารถกลับเข้าสู่สังคมได้ตามปกติ
ประการที่หก
คอ ป. มีความกังวลต่อสถานการณ์เกี่ยวกับการดำเนินคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพตาม มาตรา 112 แห่งประมวลกฎหมายอาญา และตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 คอป. เห็นควรให้มีการดำเนินการ ดังนี้
1. ในสถานการณ์ที่ละเอียดอ่อนเช่นนี้ คอป. เห็นว่ารัฐบาลต้องดำเนินการการทุกวิถีทาง โดยคำนึงถึงเป้าหมายสุดท้าย คือการปกป้องเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ โดยควรดำเนินการอย่างเด็ดขาดและเคร่งครัดต่อผู้ที่จาบจ้วงล่วงละเมิดที่มี เจตนาร้ายต่อสถาบันพระมหากษัตริย์อันเป็นที่เคารพสักการะและหวงแหนของปวงชน ชาวไทย แต่ไม่ควรนำเอามาตรการในทางอาญามาใช้มากจนเกินสมควรโดยขาดทิศทางและไม่คำนึง ถึงความละเอียดอ่อนของคดี อันอาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ตามมาทั้งจากภายในประเทศและ จากต่างประเทศ
2. ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในความขัดแย้งต้องดำเนินการทุกวิถีทางเพื่อเทิดทูน สถาบันพระมหากษัตริย์ให้อยู่เหนือความขัดแย้งในทางการเมือง และต้องยุติการกล่าวอ้างถึงสถาบันพระมหากษัตริย์ เพื่อประโยชน์ในทางการเมือง ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม
3. รัฐบาลต้องดำเนินการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับ คดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพมีความเป็นเอกภาพและดำเนินงานร่วมกันอย่างบูรณาการ
4. ในการดำเนินคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ อัยการซึ่งเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการใช้ดุลพินิจว่าจะดำเนินคดีหรือไม่ ควรให้ความสำคัญกับแนวทางการสั่งคดีโดยใช้ดุลพินิจ (Opportunity Principle) ซึ่งเป็นอำนาจของอัยการอันเป็นสากล ในกรณีนี้ ประเด็นที่อัยการต้องพิจารณาคือแนวทางใดระหว่างการสั่งฟ้องคดีหรือการสั่ง ไม่ฟ้องคดี จะเป็นผลประโยชน์สูงสุดในการปกป้องและถวายพระเกียรติยศที่เหมาะสมแด่สถาบัน พระมหากษัตริย์เป็นสำคัญ
5. รัฐบาลควรดำเนินการเพื่อให้ผู้ต้องหาและจำเลยในคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพได้รับการปล่อยชั่วคราว
6. รัฐบาลควรพิจารณาทบทวนการดำเนินคดีที่นำเอาประเด็นเรื่องกฎหมายหมิ่นพระบรม เดชานุภาพมาขยายผลในช่วงเวลาที่เกิดความขัดแย้งทางการเมือง ทั้งนี้ ในการดำเนินคดีต่อไปจะต้องมีการพิจารณาโดยมีพยานหลักฐานในการพิสูจน์ความผิด ที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมเฉพาะบุคคลที่ชัดเจน ที่สอดคล้องกับหลักนิติธรรม
ประการที่เจ็ด
คอ ป. ขอเรียกร้องให้ทุกฝ่ายตระหนักว่าปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นได้สั่งสมจนทำ ให้เกิดความแตกแยกที่ร้าวลึกในสังคมไทยจนเกินกว่าหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งจะ แก้ปัญหาได้ ผู้ที่เกี่ยวข้องในความขัดแย้งทุกฝ่าย ทั้งภาครัฐ ภาคประชาสังคม ภาคธุรกิจและสื่อมวลชน รวมทั้งประชาชนทุกคนจึงล้วนมีบทบาทสำคัญในการนำพาประเทศชาติไปสู่การปรองดอง ด้วยกันทั้งสิ้น รัฐบาลจึงควรส่งเสริมให้มีการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเพื่อให้ทุกฝ่ายในสังคมไทย ได้เข้าใจถึงสาเหตุของปัญหาความขัดแย้งซึ่งเป็นปรากฏการณ์ของทุกสังคมในห้วง เวลาของการเปลี่ยนผ่านที่สำคัญ ในการนี้รัฐบาลควรสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้และการมีส่วนร่วมแลกเปลี่ยนความ คิดเห็นเพื่อความเข้าใจร่วมกันของสังคมในการก้าวข้ามความขัดแย้ง ในสื่อต่าง ๆ อย่างเต็มที่ การทำความเข้าใจถึงรากเหง้าของปัญหาและการแสวงหาทางออกจากความขัดแย้งร่วม กันของสังคมไทยอย่างถูกวิธีเป็นการสร้างองค์ความรู้ที่สำคัญที่จะนำพาสังคม ไทยไปสู่สังคมประชาธิปไตยที่มีความเข้มแข็งอย่างยั่งยืนสืบไป
ทั้ง นี้ ให้รองนายกรัฐมนตรี (นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ) ดูแลเรื่องเยียวยาในส่วนที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์กรณีกรือเซะและสถานการณ์ ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้เพิ่มเติมด้วย
พระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และพระราชประวัติย่อ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ
พระบรมราชินีนาท
หากษัตริย์ชาติใดเปรียบมาเทียบมิได้
หนึ่งในใจปวงประชาพาเลื่อมใส
คู่บารมีปกป้องของชาติไทย
จะหาไหนมาเปรียบเทียมหล้าเอย.
...หยาดกวี...
เสด็จฯ กลับไปศึกษาต่อ ณ มหาวิทยาลัยโลซานน์
ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
ฉายเมื่อ พ.ศ.๒๔๗๒
ฉายเมื่อ พ.ศ.๒๔๗๓
ฉายเมื่อ พ.ศ.๒๔๘๒
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ
พระบรมราชินีนาถ เมื่อครั้งเสด็จเยือนนครรัฐวาติกัน ทรงเฝ้าฯ
สมเด็จสันตะปาปาจอห์นที่ ๒๓
เมื่อ พ.ศ.๒๕๐๓
พระราชปฏิสันถารกับจุฬาราชมนตรี และประธานคณะกรรมการ
อิสลามประจำจังหวัดนราธิวาส พ.ศ.๒๕๑๓
ทรงเวียนเทียนรอบพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
เนื่องในวันวิสาขบูชา พ.ศ.๒๕๐๔
เสด็จเยือนชุมชนมุสลิม จ.เพชรบุรี พ.ศ.๒๕๔๐
พระราชพิธีราชาภิเษกสมรส
ณ ตำหนักสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี
พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าในวังสระปทุม วันที่ ๒๘ เมษายน พ.ศ.๒๔๙๓
ทรงหมั้นกับ ม.ร.ว.สิริกิติ์ กิติยากร พ.ศ.๒๔๙๒
ทรงสถาปนาสมเด็จพระราชินีสิริกิติ์
ขึ้นเป็นสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี
เมื่อวันที่ ๕ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๙๓
วันราชาภิเษกสมรส ๒๘ เมษายน พ.ศ.๒๔๙๓
ประทับเหนือพระที่นั่งภัทรบิฐ ทรงหลั่งทักษิโณทก
ตั้งพระราชสัตยาธิษฐาน จะครองพระราชอาณาจักรโดยทศพิธราชธรรม
เมื่อวันที่ ๕ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๙๓
สมเด็จพระสังฆราชเจ้าถวายน้ำพระพุทธมนต์
ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พ.ศ.๒๔๙๓
พระราชครูวามเทพมุนีทูลเกล้าฯ ถวายน้ำเทพมนต์ ด้วยมหาสังข์
เมื่อ พ.ศ.๒๔๙๓
ประทับเหนือพระที่นั่งพุดตานกาญจนสิงหาสน์ พ.ศ.๒๔๙๓
ประทับพระที่นั่งราชยานพุดตานทอง เสด็จฯไปยัง
วัดพระศรีรัตนศาสดาราม พ.ศ.๒๔๙๓
ขณะทรงพระผนวช ทรงรับเครื่องบริขารจากสมเด็จพระนางเจ้าฯ
พระบรมราชินี เมื่อ พ.ศ.๒๔๙๙
ทรงพระผนวช ณ พระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม พ.ศ.๒๔๙๙
พระสมณฉายาในพระบวรพุทธศาสนาว่า " ภูมิพโล "
เสด็จฯ ออกทรงรับบิณฑบาตจากประชาชน
ทรงร่วมในขบวนแห่ทิคเกอร์ เทป ซึ่งเป็นพิธีการต้อนรับแขกเมือง
ของเทศบาลนครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา พ.ศ.๒๕๐๓
ประทับรถยนต์เดมเลอร์รุ่นโบราณ
เมื่อครั้งเสด็จฯเยือนเยอรมนี พ.ศ.๒๕๐๓
เสด็จฯ เยือนสหภาพพม่า พ.ศ.๒๕๐๓
เสด็จฯ เยือนประเทศนิวซีแลนด์
ฉายพระรูปร่วมกับผู้สำเร็จราชการและภริยา พ.ศ.๒๕๐๕
เสด็จพระราชดำเนินเยือนสหราชอาณาจักร พ.ศ.๒๕๐๓
ฉายพระรูปร่วมกับสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ ๒
และดยุคแห่งเอดินบะระ พ.ศ.๒๕๐๓
เสด็จฯ เยือนอังกฤษ พ.ศ.๒๕๐๓
ประทับรถม้าพระที่นั่งร่วมกับสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ ๒
ไปยังพระราชวังบักกิ้งแฮม พ.ศ.๒๕๐๓
เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฎรชาวไทยภูเขา จ.เชียงใหม่
ในเส้นทางไม่มียานพาหนะใดไปถึง พ.ศ.๒๕๑๒
ระหว่างทางเสด็จฯพื้นที่บ้านบูโต๊ะ จ.นราธิวาส
ทรงพระราชปฏิสันถารกับชาวบ้านที่มาเฝ้าฯ
พ.ศ.๒๕๒๔
เสด็จฯเยี่ยมราษฎรบ้านบางปู ต.สามร้อยยอด จ.ประจวบคีรีขันธ์
พ.ศ.๒๕๐๙
พระราชทานสิ่งของแก่นักเรียนโรงเรียนราชประชานุเคราะห์
เสด็จพระราชดำเนินเป็นการส่วนพระองค์ ไปทรงเยี่ยมและประทับ
ในบ้านชาวไทยภูเขา จ.เชียงใหม่ พ.ศ.๒๕๑๒
เสด็จฯเยี่ยมราษฎร จ.ยะลา พ.ศ.๒๕๑๘
เสด็จฯเยี่ยมราษฎรภาคเหนือ
เสด็จฯไปพื้นที่บ้านอูยิ จ.นราธิวาส พ.ศ.๒๕๒๘
ประทับเรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณรัชกาลที่ ๙
เสด็จฯไปในการพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายผ้าพระกฐิน
ณ วัดอรุณราชวราราม เมื่อวันที่ ๗ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๓๙
พระราชพิธีบวงสรวงสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราชเจ้า
ในพระราชพิธีสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ ๒๐๐ ปี
เมื่อ พ.ศ.๒๕๒๕
ประทับเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ ในกระบวนพยุหยาตราชลมารค
เมื่อ พ.ศ.๒๕๒๕
เสด็จฯ ถวายผ้าพระกฐิน โดยกระบวนพยุหยาตราชลมารค
ณ วัดอรุณราชวราราม พ.ศ.๒๕๔๒
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ
พร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์ ทรงฉายพระรูปร่วมกับ
พระประมุข และพระราชวงศ์จาก ๒๕ ประเทศ ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม
เนื่องในพระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี
เมื่อวันที่ ๑๒ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๔๙
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
เสด็จออกมหาสมาคมรับการถวายพระพรชัยมงคล
ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม เนื่องในพระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติ
ครบ ๖๐ ปี เมื่อ วันที่ ๙ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๔๙
พสกนิกรของพระองค์ ปลื้มปีติ น้ำตาไหลนองหน้า หยดลงสู่พื้นดิน
ด้วยรักอันบริสุทธิ์ที่มีต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ประดุจดังพ่อแห่งแผ่นดิน
เพราะพระองค์ให้
ทุกอย่าง
ไม่ผิดแน่ ถ้าอาตมาจักกล่าวคำว่า
"พระองค์ทรงโบกพระหัตถ์ให้พรแก่ลูกๆของพระองค์ ให้อยู่เย็นเป็นสุข"
พระประมุข และพระราชวงศ์จาก ๒๕ ประเทศร่วมถวายพระพรชัยมงคล
ภาพบริเวณศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี
น้อมนำพระบรมฉายาลักษณ์ มาลงไว้เพื่อเป็นมงคล
และเพื่อการศึกษาพระราชประวัติ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)
รีโมท
ซื้อ รีโมท จากผู้ค้าส่งโดยตรง ที่มีหน้าร้านจริง ที่ บ้านหม้อ และ คลองถม ราคาถูกกว่าใคร ปลอดภัย มีรับประกัน
คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค
บทความย้อนหลัง
-
►
2012
(274)
- ► กุมภาพันธ์ (51)
-
▼
2011
(1241)
-
▼
กันยายน
(189)
-
▼
22 ก.ย.
(9)
- “แม้ว” สั่งโยกย้าย ขรก.ทุกกระทรวงดั่งใจ ชี้ผู้สวาม...
- เปิดรายงานกรรมการสิทธิ์ฯ ชะตากรรมชาวบ้านแหง! ใต้อุ...
- 12 ความท้าทายด้านความมั่นคงในทศวรรษใหม่ที่ไทยต้องเ...
- ผ่าขบวนการค้าไม้พะยูงจากป่าอนุรักษ์ขุมทรัพย์ 2 หมื...
- แม้วผวากลุ่มอำนาจเก่า ยังจ้องขย่มล้ม'รัฐบาลปู' สไก...
- ทุจริตเชิงนโยบาย เกมล่าขุมทรัพย์ “ทองคำสีดำ”
- ปฎิวัติ-คอรัปชั่น แด่นิติแดงแห่งมธ.
- ครม. เห็นชอบข้อเสนอ คอป. ชะลอคดีการเมือง-ปล่อยตัว-...
- พระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และพระ...
-
▼
22 ก.ย.
(9)
-
▼
กันยายน
(189)