บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันพฤหัสบดีที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2554

★ เปิดเบื้องหลัง กิตติรัตน์ หัก ธีระชัย เบรก นโยบายการเงิน ปี 55 !!?


ปรีชา จาสมุทร
28 ธ.ค. 2554, 9:25 more »
"กิตติรัตน์-สศช."ค้านคลังเปลี่ยนนโยบายการเงิน ใช้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปแทนเงินเฟ้อพื้นฐานกำหนดนโยบายปี"55 ห่วงนักลงทุนสับสน ราคาสินค้าพุ่ง

แหล่งข่าวจากที่ประชุมครม.เปิดเผยว่า การประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.)วานนี้(27 ธ.ค.) นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้รายงานให้ที่ประชุมรับทราบถึงข้อตกลงร่วมกันระหว่างคณะกรรมการนโยบายการเงินและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังในการกำหนดเป้าหมายของนโยบายการเงินประจำปี 2555 ไว้ที่อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยรายปีที่ 3.0% โดยสามารถบวกลบเพิ่มเติมได้อีก 1.5% ซึ่งเป็นการเปลี่ยนจากเป้าหมายเดิมที่กำหนดไว้ที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเฉลี่ยรายไตรมาสระหว่าง 0.5-3.0%ต่อปี

นายธีระชัยให้เหตุผลว่าการเปลี่ยนนโยบายการเงินของธปท.ใหม่ จากเดิมที่จะใช้เงินเฟ้อพื้นฐานมากำหนดเป้าหมายการดำเนินนโยบายการเงิน เป็นให้ใช้เงินเฟ้อทั่วไปในการกำหนดเป้าหมายการดำเนินนโยบายการเงินนั้น จะช่วยสะท้อนค่าครองชีพของประชาชนได้ดีขึ้น เนื่องจากในระยะหลังอัตราการขยายตัวของราคาในหมวดพลังงานและอาหารสดแตกต่างจากอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานมาก และอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเป็นดัชนีที่ครัวเรือนและธุรกิจใช้อ้างอิงในชีวิตประจำวัน จึงเอื้อต่อการสื่อสาร ง่ายต่อความเข้าใจ และสามารถยึดเหนี่ยวคาดการณ์เงินเฟ้อได้ดีกว่าอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน

ขณะที่การกำหนดระยะเวลาของเป้าหมายให้ยาวขึ้นจากรายไตรมาสเป็นรายปีจะสามารถสื่อสารถึงการมองไปข้างหน้ามากขึ้น และจะช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นของนโยบายการเงินในการรองรับปัจจัยที่ไม่คาดฝันต่างๆ ง่ายต่อการสื่อสาร และสอดคล้องกับระยะเวลาส่งผ่านนโยบายการเงินที่ 4-8 ไตรมาส รวมถึงการทบทวนเป้าหมายเงินเฟ้อที่ทำเป็นประจำทุกปีด้วย

นอกจากนี้ การกำหนดค่ากลางที่ชัดเจนจะเหมาะสมกว่าในการยึดเหนี่ยวการคาดการณ์เงินเฟ้อ เมื่อเทียบกับการกำหนดเป็นช่วงเป้าหมายที่มีเฉพาะขอบบนและขอบล่าง รวมทั้งการอนุญาตให้อัตราเงินเฟ้อสามารถเบี่ยงเบนไปจากค่ากลางเป็นการรักษาความยืดหยุ่นของการดำเนินนโยบายการเงิน โดยค่ากลางและค่าความเบี่ยงเบนที่กำหนดขึ้นสามารถพิจารณาให้มีความสอดคล้องกับประเทศคู่แข่ง เพื่อป้องกันการสูญเสียความสามารถในการแข่งขัน และมีความเหมาะสมกับพื้นฐานเศรษฐกิจไทยในระยะปานกลางถึงระยะยาว นอกจากนี้ระดับอัตราเงินเฟ้อนี้ยังเป็นระดับเป้าหมายของนโยบายการเงินในปีที่ผ่านมา

อย่างไรก็ตาม นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ระบุว่า ข้อเสนอดังกล่าวเป็นแนวคิดที่ดี แต่ไม่ควรนำมาใช้ทันทีในปี 2555 เพราะจะทำให้นักลงทุนทั้งในและต่างประเทศปรับตัวไม่ทันและเกิดความสับสนเกี่ยวกับการดำเนินนโยบาย รวมทั้งอาจจะส่งผลกระทบให้ราคาสินค้าที่มีผลต่อค้าครองชีพของประชาชนสูงขึ้น หากจะทบทวนนโยบายดังกล่าวก็ควรหารือกับผู้ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้านก่อน

นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี จึงได้สอบถามความเห็นนายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศช.)ว่ามีความเห็นอย่างไร ซึ่งนายยอาคมเห็นว่าควรเลื่อนการนำเป้าหมายเงินเฟ้อทั่วไปมาใช้ในการดำเนินนโยบายการเงินในปี 2555 ออกไปก่อน แต่นายธีระชัยยืนยันว่ากระทรวงการคลังได้หารือร่วมกับผู้ว่าการธปท.ในฐานะประธานคณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.)แล้ว นางสาวยิ่งลักษณ์จึงตัดบทว่าขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปหารือกันก่อนว่าการดำเนินการดังกล่าวจะมีผลกระทบต่อราคาสินค้าและค่าครองชีพอย่างไร!!!!!

ที่มา.กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
////////////////////////////////////////////////////////

“พระบรมราโชวาท” ๓๖ ข้อของในหลวง (แบบย่อ)ที่คนไทยควรคิดคำนึงถึง…


 



๑. ขอบคุณ  ข้าวทุกเม็ด  น้ำทุกหยด   อาหารทุกจาน   อย่างจริงใจ 

๒. อย่าสวดมนต์  เพื่อขอสิ่งใด  นอกจาก “ปัญญา” และ “ความกล้าหาญ”
 
๓. จงใช้  จุดแข็ง  แต่อย่าเอาชนะ  จุดอ่อน 

๔. อ่านหนังสือ “ธรรมะ” ปีละเล่ม 

๕. ปฏิบัติต่อคนอื่น  เช่นเดียว  กับที่ต้องการให้ผู้อื่นปฏิบัติต่อเรา 

๖. พูดคำว่า “ขอบคุณ” ให้มากๆ 

๗. รักษา “ความลับ” ให้เป็น
 
๘. ประเมินคุณค่าของ   การให้ “อภัย” ให้สูง 

๙. ฟังให้มาก  แล้วจะได้คู่สนทนาที่ดี 

๑๐. ยอมรับความผิดพลาดของตัวเอง  หากมีใครตำนิ  และ  รู้แก่ใจว่า เป็นจริง 

๑๑. หากล้มลง  จงอย่ากลัว  กับการ  ลุกขึ้นใหม่ 

๑๒. เมื่อเผชิญหน้ากับงานหนัก ให้คิดเสมอว่า  เป็นไปไม่ได้ที่จะล้มเหลว 

๑๓. อย่าถกเถียง  ธุรกิจ  ภายในลิฟท์ 

๑๔. ใช้บัตรเครดิต  เพื่อความสะดวก  อย่าใช้เพื่อก่อหนี้สิน 

๑๕. อย่าหยิ่ง  ที่จะกล่าวคำว่า “ขอโทษ” 

๑๖. อย่าอาย  หากจะบอกใครว่า “ไม่รู้” 

๑๗. ระยะทาง  นับพันกิโลเมตร   แน่นอน  มันไม่ราบรื่นตลอดเส้นทาง 

๑๘. ไม่มีใครเกิดมา   แล้ววิ่งได้   จึงควรทำสิ่งต่างๆ  อย่างค่อยเป็นค่อยไป 

๑๙. การประหยัด  เป็นบ่อเกิดแห่งความร่ำรวย  เป็นหนทางแห่งความไม่ประมาท 

๒๐. คนไม่  รักเงิน  คือ คนไม่รักชีวิต  ไม่รักอนาคต 

๒๑. ยามทะเลาะกัน  ผู้ที่เงียบก่อน  คือ  ผู้ที่มีการอบรมสั่งสอนที่ดี 

๒๒. ชีวิตนี้  ฉันไม่เคยได้ทำงานเลยสักวัน  ทุกวันเป็นวันที่สนุกหมด 

 
๒๓. ”เพื่อนใหม่” คือ ของขวัญที่ให้กับตัวเอง  ส่วน”เพื่อนเก่า” คือ อัญมณีที่  นับวันจะเพิ่มค่า 

๒๔. เป็นหน้าที่ของเรา   ที่จะพูดให้คนอื่นเข้าใจ   ไม่ใช่หน้าที่ของคนอื่น   ที่จะทำความเข้าใจในสิ่งที่เราพูด 

๒๕. เหรียญเดียว  มีสองหน้า  “ความสำเร็จ”  กับ  “ล้มเหลว” 

๒๖. อย่าตามใจตัวเอง  เรื่องยุ่งๆ ที่เกิดขึ้น   ล้วนตามใจตนเองทั้งสิ้น 

๒๗. ฟันร่วงเพราะมันแข็ง    ส่วนลิ้นยังอยู่เพราะมันอ่อน 

๒๘. อย่าดึงต้นกล้า  ให้โตไวๆ  (อย่าใจร้อน)
 
๒๙. ระลึกถึงความตาย   วันละ 3 ครั้ง  ชีวิตจะมีสุข  มีอภัย  มีให้
 
๓๐. ถ้าติดกระดุมเม็ดแรก  ผิด   เม็ดต่อๆไป   ก็จะผิดหมด 

๓๑. ทุกชิ้นงาน   จะต้องกำหนด   วันเวลาแล้วเสร็จ 

๓๒. จงเป็นน้ำครึ่งแก้ว   ตลอดชีวิต   เพื่อเรียนรู้เพิ่มเติม  ได้ตลอด 

๓๓. ดาวและเดือน    ที่อยู่สูง   อยากได้ต้องปีน  “บันไดสูง” 

๓๔. มนุษย์ทุกคน   มีชิ้นงานมากมายในชีวิต   จงทำชิ้นงานที่สำคัญที่สุด   ก่อนเสมอ 

๓๕. หนังสือ เป็นศูนย์รวมปัญญาของโลก จงอ่านหนังสือเดือนละเล่ม 

๓๖. ระเบียบวินัย คือ คุณสมบัติที่สำคัญในการดำเนินชีวิต


 
ขอขอบคุณ ข้อมูลจากสมาคมไทยแห่งรัฐวอชิงตัน


ขอบคุณ สำนักข่าวเจ้าพระยา


บันทึกเหตุการณ์ “คอร์รัปชั่น” ปี' 54



. เขียนโดย isranews หมวด isranews,



ในรอบปี 2554  ถือเป็นปีที่มีข่าวเด่น ประเด็นร้อน และเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการทุจริตคอร์รัปชั่นเกิดขึ้นมากมาย    "ศูนย์ข่าวสารนโยบายสาธารณะ" สรุปมาให้เห็นเด่นๆ ตลอดทั้งปี ดังนี้
 "โจรปล้นบ้านปลัดสุพจน์"
ดังเป็นพลุแตก เพราะน้ำยังไม่ลดตอผุดเสียแล้ว แซงหน้าหลายๆ ข่าว จองขึ้นหน้า 1 หนังสือพิมพ์หลายวันติด กลายเป็นซีรี่ย์เรื่องยาว โดยเมื่อค่ำวันที่ 12 พฤศจิกายน 2554 คนร้ายเข้าปล้นบ้านนายสุพจน์ ทรัพย์ล้อม ปลัดกระทรวงคมนาคม  ขณะเจ้าตัวไปร่วมงานแต่งงานลูกสาว
ที่คดีนี้มาแปลกแหวกแนว ก็คือ ผู้ต้องหาให้การกับตำรวจ เงินของกลางที่ปล้นมากว่า 18 ล้านบาทนั้น ได้จากบ้านปลัดสุพจน์ แต่เจ้าของบ้านแจ้งความ เงินหายแค่ 5 บ้านบาท จำนวนเงินจึงต่างกันถึง 13 ล้านบาท
และเป็นที่มาของการตั้งคณะกรรมการสอบวินัย กรณีถูกกล่าวหาร่ำรวยผิดปกติ จากนั้นคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) รับลูกสืบจากสายรัดเงิน และชี้ชัดว่า เชื่อมโยงกับอภิมหาโปรเจกต์ ในกระทรวงคมนาคม

ป.ป.ช.ฟัน “วัฒนา อัศวเหม” ทุจริตโครงการบ่อบำบัดน้ำเสียคลองด่าน

คดีนี้ ป.ป.ช. ชี้มูลความผิด “วัฒนา อัศวเหม” คดีทุจริตคลองด่าน เมื่อวันที่  8  ธันวาคม 2554 โดยให้มาชี้แจงภายใน 15 วัน ซึ่งเจ้าตัว เผ่นไปอยู่ต่างประเทศ ตั้งแต่ปี 2551 แล้ว  ขณะ ที่ในส่วนของนายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ไม่มีความผิดในคดีทุจริต เนื่องจากไม่ได้อยู่ในขณะที่มีการประชุมคณะรัฐมนตรี

ป.ป.ช. เชือด ‘จุฑามาศ ศิริวรรณ’ รับสินบนข้ามชาติ
วันที่ 23 สิงหาคม 2554 นายอภินันทน์  อิศรางกูร ณ อยุธยา  เลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. แถลงผลการประชุมคณะกรรมการ ป.ป.ช. ชี้มูลความผิดทางอาญาแก่ นางจุฑามาศ ศิริวรรณ อดีตผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย หรือ ททท. ที่เรียก รับเงินจากนายเจอรัลด์ และนางแพทริเซีย กรีน สามีภรรยา ชาวอเมริกัน  เพื่อให้ได้สิทธิ์การจัดเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติกรุงเทพฯเมื่อปี 2550 และสัญญาว่าจ้างอื่น ๆ  รวมมูลค่ากว่า 10 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยมีมีมติให้ส่งรายงาน เอกสาร และความเห็นไปยังอัยการสูงสุด  เพื่อดำเนินคดีอาญาในศาล ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542  มาตรา 97
นับได้ว่า เป็นอีกคดีตัวอย่างการรับสินบนข้ามชาติของข้าราชการไทย ที่ถูกเปิดโปงโดยสื่อต่างชาติ จนดังกระหึ่มไปทั่วโลก

  
ภาคเอกชน จับมือประกาศ “ไม่จ่ายใต้โต๊ะ”
วันที่ 1 มิถุนายน  2554 สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ร่วมกับภาคีเครือข่ายป้องกันและปราบปรามทุจริตคอร์รัปชั่น รวม 23 องค์กร จัดสัมมนา เรื่อง “ต่อต้านคอร์รัปชั่น จุดเปลี่ยนประเทศไทย” ณ ห้องแอทธินี คริสตัล ฮอลล์ ชั้น 3 โรงแรม พลาซ่า แอทธินี รอยัล เมอร์ริเดียน ถ.วิทยุ กรุงเทพฯ โดยมีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ประธานในพิธีเปิดงาน  จากนั้นระดมพลขึ้นเวทีประกาศแนวทางแก้ไขปัญหาคอร์รัปชั่น ในส่วนของภาคธุรกิจ ปฏิเสธการ “จ่ายเงินใต้โต๊ะ” 
คำประกาศนี้ สร้างความสั่นสะเทือนไปทั้งวงการ โดยเฉพาะกับตัวเลขที่มีการเปิดเผยออกมา  "ผู้ประกอบการเกือบ80%ที่ทำธุรกิจกับภาครัฐ ต้องจ่ายเงินเพื่อให้ได้งาน และพบว่า 1 ใน 3 ต้องจ่ายเงินมากกว่า 25% หรือคิดเป็นเม็ดเงินสูงถึงปีละกว่า 200,000 ล้านบาท"  ทั้งๆ ที่เงินเหล่านี้ สมควรนำมาพัฒนาประเทศ

นายกฯ ยิ่งลักษณ์ แถลงนโยบาย ย้ำ “คอร์รัปชั่น” เป็นเรื่องเร่งด่วน
วันที่ 23 สิงหาคม 2554 ที่รัฐสภา เริ่มต้นรัฐบาล นายกฯ ยิ่งลักษณ์  ได้ แถลงนโยบายต่อที่ประชุมรัฐสภา 1 ใน 16 นโยบายเร่งด่วน มีเรื่อง “การป้องกันและปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชั่นในภาครัฐอย่างจริง จัง” ถูกจัดบรรจุไว้ด้วย 
ผ่านไป 4 เดือน ก็เริ่มมีข่าวคราวถุงยังชีพฉาว  พบความผิดปกติโครงการรับจำนำข้าว ขณะที่ภาคเอกชน ก็เฝ้าติดตามดูงบฯ ฟื้นฟูประเทศหลังน้ำท่วม  ดังนั้น นโยบายนี้จะสอบได้หรือสอบตก ก็ขึ้นอยู่ในทางปฏิบัติ รัฐบาลทำได้จริงหรือไม่ ?..

 
สิ้น “ดุสิต นนทะนาคร” ผู้ก่อร่างเส้นทางถางคอร์รัปชั่น
วันที่ 6 กันยายน 2554 นายดุสิต นนทะนาคร ประธานสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ได้เสียชีวิตลงอย่างสงบด้วยวัย 64 ปี หลังจากเข้ารักษาอาการป่วยด้วยโรคมะเร็งในเม็ดเลือดขาว (ลูคีเมีย) ที่โรงพยาบาลกรุงเทพ
เขาได้รับการยอมรับว่า เป็นผู้รณรงค์ต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นอย่างจริงจัง โดยได้เป็น ประธานและผู้ร่วมก่อตั้ง ภาคีเครือข่ายต่อต้านคอร์รัปชั่น (ภตค.) ร่วมกับภาคีเครือข่ายกว่า 30 องค์กร ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคการเมือง ภาคประชาชน เดินหน้าหลากหลายกิจกรรม เพื่อต่อต้านคอร์รัปชั่น  

ภาพประวัติศาสตร์ “ยิ่งลักษณ์-อภิสิทธิ์” เดินรณรงค์ต้านคอร์รัปชั่น
ภาพที่ไม่ค่อยได้เห็นกันบ่อยๆ วันที่ 25 กันยายน 2554 ภาคีเครือข่ายต่อต้านคอร์รัปชั่น (ภตค.) จัดกิจกรรมเดินรณรงค์ “รวมพลังต่อต้านคอร์รัปชั่น” ณ สวนลุมพินี โดยมีการเชิญ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีเปิดงาน และนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้าน และหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ร่วมเดินรณรงค์ และนำกล่าวคำปฏิญาณต่อต้านคอร์รัปชั่น  



อาวุธใหม่ ป.ป.ช.ปราบทุจริตจี้หน่วยงานรัฐ เปิดเผยข้อมูล
ปี 2554 นับเป็นปีที่ ป.ป.ช. ประกาศใช้ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2554 ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 19 เมษายน 2554 โดยมุ่งเน้นส่งเสริมการป้องกันการทุจริต โดยเฉพาะทุจริตจัดซื้อจัดจ้าง มีการกำหนดว่า จากนี้หน่วยงานรัฐที่จะดำเนินการเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างต้องดำเนินการ ด้วยความโปร่งใส เปิดเผยราคากลางผ่านเว็บไซต์ ให้ประชาชนตรวจสอบได้ และรัฐต้องแสดงบัญชีรายรับ-จ่ายในแต่ละโครงการ ให้สามารถตรวจสอบเส้นทางของงบประมาณและภาษีต่างๆ ได้
เรื่องนี้ดันมีข่าวเล็ดรอดออกมา มีรัฐมนตรีบางคนคัดค้าน แถมอัด ป.ป.ช.ลุแก่อำนาจ ก็ว่ากันไป....

จำคุก 20 ปี “เกริกเกียรติ” โกงบีบีซี ปรับ 1.1 พันล้าน
วันที่ 7 ธันวาคม 2554 ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืนจำคุก 20 ปี ปรับเงิน 1.1 พันล้าน “เกริกเกียรติ ชาลีจันทร์” อดีต กก.ผจก.ใหญ่บีบีซี กับพวก ทำสัญญาแลกเปลี่ยนพันธบัตร กับไฟแนนซ์ต่างประเทศ ทำให้แบงก์บีบีซีเสียหายกว่า 1.2 พันล้าน ขณะที่เจ้าตัวเดินทางมาฟังคำพิพากษาในสภาพอิดโรยจากพิษโรคมะเร็ง
คดีเกิดตั้งแต่ปี 2538 รอถึง 16 ปี  จึงได้มีคำตัดสินของศาลอุทธรณ์

4 เดือนรัฐบาล ยิ่งลักษณ์ วังวน ทักษิณคิด-เพื่อไทยทำ



4 เดือนรัฐบาล ยิ่งลักษณ์ วังวน ทักษิณคิด-เพื่อไทยทำ


ดิฉันจะมุ่งมั่นสร้างสุข สลายทุกข์ ให้แก่พี่น้องประชาชนอย่างสุดกำลังความสามารถ
โดย...ทีมข่าวการเมือง
“ดิฉันจะมุ่งมั่นสร้างสุข สลายทุกข์ ให้แก่พี่น้องประชาชนอย่างสุดกำลังความสามารถ ดิฉันจะไม่ทำเพื่อคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง แต่จะทำเพื่อประเทศชาติและคนไทยทุกคน”
คำแถลงอย่างเป็นทางการอันเป็นสัญญาประชาคมจาก ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เมื่อครั้งรับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 8 ส.ค. ท่ามกลางข้อสงสัยและคลางแคลงของสังคมเวลานั้นว่า รัฐบาลพรรคเพื่อไทย (พท.) ถูกจับตาว่าจะดำเนินนโยบายรัฐบาลเพื่อ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี หรือไม่
ปัจจัยประการสำคัญที่ทำให้ยิ่งลักษณ์ถูกปรามาสว่าทำเพื่อคนคนเดียว ตั้งแต่ยังไม่รับตำแหน่ง เพราะท่าทีของ พ.ต.ท.ทักษิณ มักจะประกาศต่อสาธารณชนเสมือนหนึ่งเป็นผู้มีบารมีเหนือ พท. เช่น สโลแกน “ทักษิณคิด เพื่อไทยทำ” “ยิ่งลักษณ์คือโคลนนิง” จึงนำมาสู่การจับตาค่อนข้างมาก และไม่ว่ารัฐบาลจะขยับไปทางไหนก็มักจะกลายเป็นประเด็นเสมอ
ต่อให้ถูกจับจ้องเพียงใด แต่ก็ไม่สามารถทำอะไรได้ เพราะตลอดอายุรัฐบาล 4 เดือนที่ผ่านมาได้ปรากฏมาตรการต่างๆ ที่เอื้อประโยชน์ให้กับ พ.ต.ท.ทักษิณ และครอบครัว แบบไม่สนเสียงนกเสียงกา
ประเดิมของขวัญชิ้นแรกที่ครอบครัวชินวัตรได้รับจากรัฐบาล เดือน ก.ย. “พานทองแท้พินทองทา” หลานรักของยิ่งลักษณ์ รับความเอื้ออาทรแบบคนกันเอง ภายหลังกรมสรรพากรตัดสินใจไม่ยื่นเรื่องอุทธรณ์ศาลภาษีในการเก็บภาษีหุ้นชิน คอร์ป 1.2 หมื่นล้านบาท โดยอ้างว่าศาลฎีกาตัดสินว่าหลานรักทั้งสองคนไม่ใช่เจ้าของหุ้นตัวจริง เท่ากับว่าไม่มีภาระภาษีต้องชำระให้กับประเทศ แต่จนถึงวันนี้กรมสรรพากรก็ยังไม่มีทีท่าว่าจะเรียกเก็บภาษีจาก พ.ต.ท.ทักษิณ ในฐานะเจ้าของหุ้นตัวจริงแต่อย่างใด
ในเดือนเดียวกันนั้นเอง อัยการสูงสุดมีความเห็นไม่ยื่นฎีกาต่อศาลฎีกาให้พิจารณาคดีการเลี่ยงภาษี หุ้นบริษัท ชินวัตร คอมพิวเตอร์ แอนด์ คอมมิวนิเคชั่นส์ หลังศาลอุทธรณ์ยกฟ้อง คุณหญิงพจมาน ณ ป้อมเพชร และรอลงอาญา บรรณพจน์ ดามาพงศ์
กรณีนี้ ได้เกิดข้อถกเถียงในหมู่แวดวงวิชาการด้านกฎหมายอย่างมากว่าเป็นการสมควรหรือ ไม่เพราะมีการจุดกระแสขึ้นมา คดีลักษณะนี้ควรยื่นให้ศาลฎีกาวินิจฉัยให้เป็นบรรทัดฐานในอนาคตต่อไป แทนการปล่อยให้เกิดการคลุมเครืออย่างที่เป็นอยู่
พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์ พี่ชายคุณหญิงพจมาน เป็นอีกคนที่ได้รับของขวัญจากรัฐบาลยิ่งลักษณ์ในช่วงเดือน ก.ย.เช่นกัน ด้วยตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ การได้ตำแหน่งมาของ พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ต้องแลกกับแรงเสียดทานและข้อครหาเป็นอย่างมาก เพราะรัฐบาลได้บีบ พล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี ให้ออกจากตำแหน่ง โดยโยกไปเป็นเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ แทน ถวิล เปลี่ยนศรี
การขึ้นสู่ตำแหน่งสูงสุดในชีวิตราชการตำรวจของ พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ไม่ได้เป็นเรื่องเหนือความคาดหมายเท่าไหร่นัก เพราะจดๆ จ้องๆ กับตำแหน่งนี้มาแล้วหลายรัฐบาล ทว่าติดตรงที่มีความเกี่ยวดองกับครอบครัวชินวัตร ทำให้ถูกดองมาตลอดในช่วงที่ พท.สูญเสียอำนาจ
อย่างไรก็ตาม มีบางมาตรการที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ได้รับประโยชน์แบบตรงๆ เนื้อๆ อย่างการคืนหนังสือเดินทางให้กับ พ.ต.ท.ทักษิณ โดยสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รมว.ต่างประเทศ เรื่องนี้ถือว่าเป็นความข้องใจของสังคม เพราะการคืนหนังสือเดินทางดำเนินการในช่วงเดือน ต.ค. ซึ่งเป็นจังหวะที่ประเทศไทยเผชิญกับวิกฤตอุทกภัย น้ำตาคนไทยค่อนประเทศต้องเสียไปโดยมีมหันตภัยน้ำท่วมเป็นสาเหตุ แต่รัฐบาลกลับฉวยโอกาสนี้ทำเพื่อ พ.ต.ท.ทักษิณ
“ได้ใช้ดุลพินิจในฐานะ รมว.ต่างประเทศ ยกเลิกคำสั่งยกเลิกหนังสือเดินทางของ พ.ต.ท.ทักษิณ เป็นไปตามการดำเนินการของรัฐบาลชุดที่แล้ว ตั้งแต่วันที่ 12 เม.ย. 2552 ซึ่งอาศัยระเบียบของกระทรวงการต่างประเทศ ว่าด้วยการออกหนังสือเดินทางข้อ 23 (7) ที่เจ้าหน้าที่สามารถยกเลิกหรือเรียกคืนบุคคลใดที่เห็นว่าอาจก่อให้เกิดความ เสียหายต่อประเทศไทยและต่างประเทศได้ ทั้งนี้จากการพิจารณาเห็นว่าการอยู่ต่างประเทศของ พ.ต.ท.ทักษิณ ต่อไปไม่ได้ทำความเสียหายทั้งในและต่างประเทศ จึงขอให้ยกเลิกคำสั่งเรื่องนี้ที่ออกโดยนโยบายของรัฐบาลชุดที่แล้ว”
คำชี้แจงของ รมว.ต่างประเทศ ยืนยันถึงความถูกต้องในการใช้อำนาจ แต่จะถูกต้องชอบธรรมหรือไม่ อีกไม่นานคงได้รับคำตอบจากคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.)
ถึงเรื่องดังกล่าวจะดำเนินการได้เป็นผลสำเร็จแบบไม่มีกระแสต่อต้านมากนัก แต่ก็มีบางเรื่องที่คิดแล้วแต่ทำไม่สำเร็จเช่นกันในช่วงเดือน พ.ย.ที่ผ่านมา คือ พระราชกฤษฎีกา (พ.ร.ฎ.) ขอพระราชทานอภัยโทษ ด้วยตัดเงื่อนไขบางประการออกไป เพื่อให้ พ.ต.ท.ทักษิณ เข้ารับการขอพระราชทานอภัยโทษเนื่องในโอกาสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เจริญพระชนมพรรษา 84 พรรษา
เวลานั้น รัฐบาลเองไม่คาดคิดว่าจะเกิดกระแสต่อต้านรุนแรงถึงขั้นมีการจัดเครือข่ายคัด ค้านการนิรโทษกรรม พ.ต.ท.ทักษิณ อย่างเป็นเรื่องเป็นราว สร้างความหวั่นวิตกให้กับรัฐบาลมาก เพราะเกรงว่ากลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยซึ่งกำลังอ่อนแรงเพราะแพ้ ภัยตัวเองจะกลับมาแข็งแรงเหมือนในอดีต ในที่สุด พ.ต.ท.ทักษิณ ต้องออกแถลงการณ์ไม่ขอรับการอภัยโทษ เพื่อรักษาความมั่นคงของรัฐบาลเอาไว้
แม้ว่ารัฐบาลจะถอยไม่เป็นท่ากับการออก พ.ร.ฎ. แต่ก็มีความพยายามครั้งใหม่ใน พท.เพื่อปลดล็อกให้กับ พ.ต.ท.ทักษิณ เช่นกัน วิธีการดังกล่าวคือ การแก้ไขรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550
การแก้ไขกฎหมายสูงสุดของประเทศ ถือว่าเป็นงานใหญ่ชิ้นสำคัญของ พท.ที่ต้องทำให้สำเร็จ เนื่องจากจะเป็นกุญแจไปสู่แสงสว่างปลายอุโมงค์และปูทางคืนอำนาจให้กับ พ.ต.ท.ทักษิณ โดย พท.กำหนดบันไดก้าวเดินไว้คร่าวๆ ว่าจะใช้ข้อเสนอของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการสร้างความ ปรองดองแห่งชาติ ที่มี พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน หัวหน้าพรรคมาตุภูมิ เป็นประธาน เพื่อเป็นข้ออ้างความชอบธรรมของการกำหนดประเด็นในการแก้ไขทั้งหมด
เป้าหมายสำคัญเพื่อให้เกิดกระบวนการคืนความชอบธรรมทางการเมืองให้กับ พ.ต.ท.ทักษิณ รวมทั้งการล้างบางมรดกของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) โดยเฉพาะบรรดาองค์การอิสระที่ถูกตั้งขึ้นมาตามประกาศของคณะปฏิวัติ เช่น ป.ป.ช. หรือแม้แต่การแก้ไขรัฐธรรมนูญลดบทบาทฝ่ายตุลาการต่อการเลือกบุคคลเข้ามาดำรง ตำแหน่งในองค์การอิสระตามรัฐธรรมนูญ
ทั้งหมดนี้เห็นได้ชัดว่า ตลอด 4 เดือน รัฐบาลติดอยู่ในวังวนกับการคิดช่วยเหลือ “ทักษิณ” ซึ่งทำให้การเมืองยังร้อนแรงต่อไปจนถึงปีหน้า 



โพสต์ทูเดย์

ไม่ปล่อยไหลเฟซบุ๊คเจ๊ปู 'ฝ่ายค้าน-ส.ว.'เกาะติด! เปิดตัว'ยู้'คนโพสต์หมิ่นฯ 'ไม่ใช่ทีมออแกไนเซอร์'


กรณี “เฟซบุ๊ค” ของ “น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร” นายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 3 ธ.ค.2554 เวลา 10.15 น. ได้แพร่ข้อความว่า “5 ธันวา รวมพลังคนไทย รวมหัวใจถวายพระพรชัยมงคล” แต่ภาพประกอบกับลงพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล (รัชกาลที่ 8) ซึ่งก่อให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์อย่างมาก
จนที่สุด “บัณฑูร สุภัควณิช” เลขาธิการนายกรัฐมนตรี ออกมาระบุว่า ความผิดพลาดที่เกิดขึ้น เพราะทีมงานที่คอยดูแลเฟซบุ๊คนายกฯเป็นคนทำ นายกฯไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ โดยทีมงานดังกล่าวไม่ใช่คนของพรรคเพื่อไทย แต่เป็นออร์แกไนเซอร์ที่จ้างมาอีกทีหนึ่ง
ขณะที่ “ยิ่งลักษณ์” ก็ระบุว่า ได้ทำหนังสือกราบบังคมทูลเพื่อขอพระราชทานอภัยโทษแล้ว...แต่ “ความเคลื่อนไหว” ในการ “นำตัวบุคคลที่ดำเนินการเรื่องนี้” กลับเงียบหายไป ผิดกับกรณีทวิตเตอร์นายกฯที่โดนแฮ็กข้อมูล ที่เจ้าหน้าที่รัฐและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง...ต่างกระตือรือร้นในการตามตัว “คนทำ” มาเอาผิดได้อย่างรวดเร็ว
ล่าสุด “ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง” รองนายกรัฐมนตรี เป็นผู้ให้ข้อมูลผ่านคณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาติดตามการบังคับใช้กฎหมายและมาตรการเกี่ยวกับการพิทักษ์สถาบันพระมหากษัตริย์ วุฒิสภา...เองว่า “คนที่โพสต์ชื่อ ‘ยู้’ เป็นเด็กที่ตามน.ส.ยิ่งลักษณ์มาจากบริษัท จนตามมาทำงานที่พรรค แล้วก็มาอยู่ที่ทำเนียบรัฐบาล โดยโพสต์ด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ เพราะไม่รู้ว่า พระบรมฉายาลักษณ์รัชกาลที่ 8 กับพระบรมฉายาลักษณ์รัชกาลที่ 9 แตกต่างกันอย่างไร”
โดยประเด็นที่สำคัญก็คือ ในช่วงท้าย...ร.ต.อ.เฉลิมเป็นคนหลุดปากออกมาเองว่า “น้องยู้...ยังอยู่หน้าห้องของน.ส.ยิ่งลักษณ์อยู่”
ความเคลือบแคลงใจดังกล่าว...ก่อให้เกิดความสับสนอย่างยิ่งว่า ตกลงแล้ว ผู้ที่เป็นคนโพสต์คือ ทีมงานออแกไนเซอร์ที่จ้างมาตามคำกล่าวอ้าง หรือเป็นทีมงานส่วนตัวของนายกฯกันแน่...และโดยเฉพาะกับประเด็นว่า “น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร” จะรับผิดชอบต่อเหตุการณ์ดังกล่าวอย่างไร และจะดำเนินการเอาผิด “คนโพสต์” อย่างไร...
เพื่อให้ได้ความคืบหน้าต่อเรื่องนี้ “ไทยอินไซเดอร์” ขอนำไปสนทนากับบุคคล 2 ท่านจากพรรคฝ่ายค้านและจากวุฒิสภา
คนแรก...น.ส.รังสิมา รอดรัศมี ส.ส.สมุทรสงคราม พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะพรรคฝ่ายค้านที่จะเดินหน้าเกาะติดเรื่องนี้
คนที่สอง...นายสมชาย แสวงการ ส.ว.สรรหา ในฐานะรองประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาติดตามการบังคับใช้กฎหมายและมาตรการเกี่ยวกับการพิทักษ์สถาบันพระมหากษัตริย์ วุฒิสภา...ที่เกาะติดเรื่องนี้อย่างต่อเนื่อง
ข้อสงสัยที่แทบจะไม่ต่างกันของทั้งคู่คือ “ความผิดพลาดหนี้...ทำกันเป็นขบวนการหรือไม่” นี่คือโจทย์ที่ถูกตั้งขึ้น...เพื่อรอคอยค้นหา “คำตอบ”...โปรดติดตาม
................................
“รังสิมา รอดรัศมี” ส.ส.สมุทรสงคราม พรรคประชาธิปัตย์
Q : กรณีที่มีคนโทรศัพท์มาร้องเรียนเกี่ยวกับบุคคลใกล้ชิดนายกรัฐมนตรี (น.ส.ยิ่ง ลักษณ์ ชินวัตร) ที่เป็นคนโพสต์ภาพพระบรมฉายาลักษณ์ ในเฟซบุ๊คส่วนตัวที่มีข้อผิดพลาด ข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร
A : มีคนโทรศัพท์มาบอกว่า กรณีที่มีคนในรัฐบาลออกมาบอกว่าคนที่ชื่อ “ยู้” (ทีมงานนายกฯที่เป็นคนโพสต์ ภาพ) ออกไปแล้ว แต่จริงๆแล้วคนที่ชื่อ “ยู้” นี้ก็ยังอยู่ที่ทำเนียบฯ ยังไม่ได้ไล่ เพราะฉะนั้นเนี่ย มันไม่มีความผิดอะไรเลยหรือ เขาก็มาถามเรา
Q : เมื่อมีการร้องเรียนมายังคุณรังสิมาแล้ว พรรคประชาธิปัตย์จะมีการดำเนินการเรื่องนี้อย่างไรต่อไป
A : คือยังไม่ได้เข้าประชุม เพราะเขาเพิ่งโทรมา แล้ววันอังคารหน้า (27 ธ.ค.) จะมีการประชุมพรรค พี่ก็จะไปคุยเรื่องนี้ที่เขาร้องเรียนมาที่เรา อาทิตย์ที่ผ่านมา เรายังไม่ได้ข้อมูลตัวนี้ เราก็เลยว่า เดี๋ยวจะเอาเข้าหารือในที่ประชุมพรรค ว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อ
Q : เหตุใดจึงมีการโทรศัพท์มาหาคุณรังสิมา
A : คือเขาติดต่อหลายๆคน แต่ทีนี้หลายคนมันติดต่อไม่ได้ และเขาเห็นว่าเราเป็นคนตรงไปตรงมา ร้องเรียนอะไรแล้วมันไม่เสียหาย หมายถึง...มันไม่หายไป เราก็จะดำเนินการให้ แต่ว่าเรื่องนี้มันเป็นเรื่องสถาบัน เพราะฉะนั้นเราต้องไปหารือในพรรคก่อน
Q : ส่วนตัวคิดว่าเรื่องนี้น่าจะเอาผิดได้อย่างไรบ้าง
A : ที่จริง...น่าจะเอาผิดได้นะ เพราะว่ามันเป็นสื่อทางอิเล็กทรอนิกส์ อีกอย่างหนึ่ง...จากการที่มีการคุยกับพี่ “เขา” แจ้งไปหลายหน่วยราชการ ทั้งรัฐมนตรี ใครต่อใครให้ดำเนินการ ก็ไม่มีใครดำเนินการ “เขา” ก็เลยต้องโทรไปหาท่านนายกฯเองให้ดำเนินการ มันก็ไปลิงค์กับวัดทางขอนแก่น ที่เอารูปรัชกาลที่ 8 ขึ้น คือมันสื่อถึงอะไร...มันเป็นเจตนาหรือเปล่า “เขา” ก็เลยเกิดความสงสัยว่ามันทำเป็นขบวนการ มันไม่ใช่ว่าผิดพลาด คนที่เป็นนายกรัฐมนตรีถ้าเมื่อจะโพสต์อะไรแล้วมันต้องรับผิดชอบ จะมาอ้างว่าทีมงานทำแล้วตัวเองไม่รู้เนี่ยมันไม่ได้ แล้วมันผิดพลาดบ่อยๆอย่างนี้ทำยังไง ผิดทุกวัน ขอพระราชทานอภัยโทษทุกวันมันถูกมั๊ย มันไม่ได้ไง
Q : การเสนอต่อที่ประชุมพรรคจะเสนอในแง่มุมใด

รังสิมา รอดรัศมี
A : ก็ประเด็นว่ามีคนร้องเรียนมาว่าการโพสต์ภาพผิด แล้วมีการชี้แจงว่าได้ไล่ออก ไล่ออกอย่างเดียวมันไม่พอ แต่จริงๆแล้วไม่ได้ไล่ออกยังทำงานเหมือนเดิม แต่ว่ามันต้องดำเนินคดีด้วย เพราะมันมีความผิด มันมีกฎหมายทางด้านอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งต้องไปปรึกษานักกฎหมายของพรรคว่า พรรคมีความคิดเห็นอย่างไร เพราะเรื่องนี้จะทำอะไรต้องประสานทางพรรคก่อน

“ต้องไปถามว่าตามกฎหมายสามารถดำเนินการได้หรือไม่ ถ้าดำเนินการได้จะดำเนินการได้อย่างไร ต้องให้พรรคตอบเราด้วย เพราะมีคนโทรมาเยอะ”
Q : การที่มีคนส่งเรื่องนี้ เพราะไว้ใจคุณรังสิมาให้ดำเนินการ เพราะเป็นคนไม่ทิ้งเรื่อง เชื่อมั่นว่าจะสามารถดำเนินการได้มากน้อยเพียงใด
A : พี่นี่ให้ความสำคัญกับคนที่ร้องเรียนแทบทุกเรื่อง ก็ต้องไปสืบดูว่า เรื่องที่ร้องเรียน “จริงหรือไม่จริง” แต่อันนี้มันเป็นเรื่องจริง เพราะเขาขอพระราชทานอภัยโทษ เพราะมีคนมาชี้แจงตอนประชุมกรรมาธิการงบประมาณฯ พี่ก็ถามเรื่องนี้ในที่ประชุม เพราะฉะนั้นเมื่อเป็นอย่างนี้จริง เขาร้องเรียนมาว่าการให้ข้อมูลอันเป็นเท็จ แล้วอีกอย่างคือที่บอกว่า “ไล่ออกแล้ว” แต่ไม่ได้ไล่ออกเนี่ย ก็ยังทำงานเหมือนเดิม ถ้าเกิดเป็นแบบนี้บ่อยๆ ผิดพลาดบ่อยๆ เขาจะดำเนินการอย่างไร พรรคเราจะดำเนินการในประเด็นนี้อย่างไรบ้าง
Q : ในที่ประชุมกรรมาธิการงบฯมีการสอบถามถึงประเด็นนี้และมีการชี้แจงอย่างไร
A : พี่ถามว่ามีมั๊ยในกรณีที่ไปทำผิดแล้วไปขอพระราชทานอภัยโทษ แล้วท่านไม่เคยอภัยโทษมีมั๊ย...ส่วนใหญ่ก็จะอภัยโทษหมด พี่ก็บอกว่าถ้าอภัยโทษแล้วคนที่มันทำผิดซ้ำๆ มันไม่สำนึก มันก็ขออภัยโทษอย่างนี้ ทางหน่วยงานเขามีการป้องกันแก้ไขอย่างไร
Q : ถ้าอ้างว่าเป็นทีมงาน จ้าง “ออร์กาไนเซอร์” มาทำงานให้ นายกฯไม่ได้ทำเอง เราสามารถเอาผิดตัวนายกฯได้หรือไม่
A : ประเด็นนี้เป็นประเด็นทางกฎหมายไง พี่ต้องไปถามนักกฎหมายก่อนว่า ในกรณีนี้เขาเป็นผู้ว่าจ้างออร์กาไนฯไปทำผิดเนี่ย คนว่าจ้างต้องรับผิดชอบมั๊ย ถ้าคนว่าจ้างไม่ผิด แล้วคนที่ไปรับจ้างมันผิดมั๊ย ถ้าไม่ผิดมันก็ทำผิดอย่างนี้บ่อยๆ ถูกมั๊ย มันก็จะได้ใจ ต่อไปมันจะโพสต์อะไรก็ได้ แล้วก็ไปขอพระราชทานอภัยโทษ อย่างนี้ก็ขอกันทั้งปี ถ้ามันจงใจ
Q : คนระดับนายกฯถ้าทำผิดบ่อย มันก็ไม่ดี
A : ก็นี่ไง การเป็นนายกฯแล้วทำอะไรผิดแล้วผิดซ้ำๆ ผิดบ่อยๆ แล้วโดยเฉพาะเกี่ยวข้องกับสถาบัน พี่ว่ามันน่าจะมีความรับผิดชอบตัวเอง ว่าสมควรที่จะอยู่หรือไม่อยู่ เป็นได้มั๊ยนายกฯเรื่องแค่นี้ยังบริหารจัดการไม่ได้เนี่ย แล้วมันเป็นเรื่องเกี่ยวกับสถาบันด้วย มันเป็นเรื่องละเอียดอ่อน
Q : ส่วนตัวในฐานะเป็นผู้หญิง การเป็นผู้หญิงย่อมจะต้องละเอียดอ่อนอยู่แล้วหรือไม่
A : ปกติ “ผู้หญิง” ต้องละเอียดอ่อนกว่า “ผู้ชาย” ด้วยซ้ำไป แต่มันอยู่ที่คนอีกแหล่ะ ผู้หญิงบางคนก็แย่ก็มี...เยอะแยะไปที่ไม่ใส่ใจอะไรเลย ไม่ได้ดูอะไรเลย เพราะมันไม่มีสมอง คือบางคนสักแต่ว่าเป็นผู้หญิง แต่ความละเอียดอ่อนไม่มี ความรอบคอบไม่มี ผู้หญิงต้องละเอียดรอบคอบ อดทน ซื่อสัตย์ แต่บางคนมันไม่มี ไม่มีสิ่งเหล่านี้เลย มีแต่ร่างกายเป็นผู้หญิง แต่อย่างอื่นไม่เป็นเลยก็เยอะแยะไป
……………………………
“สมชาย แสวงการ” ส.ว.สรรหา และรองประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาติดตามการบังคับใช้กฎหมายและมาตรการเกี่ยวกับการพิทักษ์สถาบันพระมหากษัตริย์ วุฒิสภา
Q : ในส่วนของคณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาติดตามการบังคับใช้กฎหมายและมาตรการเกี่ยวกับการพิทักษ์สถาบันพระมหากษัตริย์ วุฒิสภา จะดำเนินการเรื่องนี้ต่อไปอย่างไร
A : เริ่มต้น...เราพบข่าวจากหนังสือพิมพ์ ก็เห็นว่าเรื่องกระทบกระเทือนร้ายแรง ถึงแม้นายกฯจะทำหนังสือขอพระราช ทานอภัยโทษแล้ว กรรมาธิการฯก็หยิบยกเรื่องนี้ขึ้นพิจารณา เพราะเห็นจากข่าวที่นายกฯออกมาให้ สัมภาษณ์ว่าเป็นทีมงานออร์กาไนซ์ทำ และได้ยกเลิกการจ้างไปแล้ว แต่เราก็คิดว่า เรื่องนี้จะปล่อยเฉยไปไม่ได้ เพราะว่าเป็นความผิดพลาดที่ควรจะสอบต่อว่าใครเป็นผู้กระทำ และทำด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ หรือมีเจตนาอย่างหนึ่งอย่างใด เรื่องนี้เลยมีการเชิญน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ในฐานะเจ้าของเฟซบุ๊ค ไม่ได้เชิญในฐานะนายกฯ เชิญในฐานะตัวบุคคล ซึ่งบังเอิญมีตำแหน่งเป็นนายกฯด้วย
ทีนี้คุณเฉลิม (อยู่บำรุง) แกเป็นรองนายกฯ แกก็รับมอบจากนายกฯ โดยบอกว่านายกฯมีภารกิจสำคัญเดินทางไปต่างจังหวัดที่เชียงใหม่ ขอมาชี้แจงแทนในฐานะผู้มีหน้าที่เป็นประธานตรวจสอบเรื่องการกระทำความผิด เกี่ยวกับเว็บไซต์หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ที่นายกฯแต่งตั้ง กรรมาธิการก็พิจารณาแล้วว่าเราเชิญนายกฯ น.ส.ยิ่งลักษณ์เป็นการส่วนตัว แต่เมื่อคุณเฉลิมรับมอบอำนาจมาชี้แจงด้วยความอาจจะไม่เข้าใจว่า “เราเชิญเป็นการส่วนตัว” ก็มีตำแหน่งเป็นประธานคณะกรรมการตรวจสอบเว็บไซต์ฯก็ได้เชิญมาด้วยเพื่อจะได้ฝากเรื่องไป โดยก่อนหน้าที่คุณเฉลิมจะมาถึง ก็มีคณะบุคคล นำโดย “บวร ยสินทร” (อดีตกรรมการสโมสรนิสิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมายื่นหนังสือในช่วงเช้าวันเดียวกัน ขอให้มีการดำเนินการสอบเรื่องนี้ กรรมาธิการก็รับเรื่อง โดยมีการลงเลขรับเรียบร้อย ก็ถือเป็นการเข้าเรื่องร้องเรียนของกรรมาธิการ เป็นการดำเนินการตามกระบวนการ
“คุณเฉลิมได้ชี้แจงว่า แกได้สอบถามจากเจ้าหน้าที่คนดังกล่าว ว่ามีการทำอย่างไร เขาบอกว่าเด็กคนนั้นเป็นผู้ติดตามนายกฯมาจากบริษัท และเคยมาอยู่ที่พรรค แล้วตอนนี้นายกฯไม่ได้ให้ทำงานแล้ว ให้ออกไปแล้ว อันนี้ทราบแต่เพียงชื่อเล่น ยังไม่รู้ว่าชื่อจริงคือใคร ก็บอกว่าเรื่องนายกฯได้ทำหนังสือขอพระราชทานอภัยโทษไปแล้ว ส่งผ่านท่านราชเลขาฯ แล้วท่านราชเลขาฯก็ได้ตอบกลับไปแล้วว่า ได้นำความขึ้นกราบบังคมทูลแล้ว เรื่องก็เพียงแค่นี้ที่ท่านเฉลิมชี้แจง ซึ่งก็ถือว่าเป็นการให้ข้อมูลกับคณะกรรมาธิการ อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการก็ต้องพิจารณาสอบถามไปยังคุณยิ่งลักษณ์โดยตรงว่า เป็นเช่นนั้นจริงหรือเปล่า และเราประสงค์จะเชิญผู้ที่ถูกพาดพิงก็เป็นคนสนิทของน.ส.ยิ่งลักษณ์ผู้นั้น ซึ่งขณะนี้เราทราบชื่อเล่นแล้ว แต่คงไม่ขอเปิดเผย แล้วก็จะเชิญท่านนั้นมาให้การกับคณะกรรมาธิการฯต่อไป”
Q : ตัวคุณยิ่งลักษณ์และคนสนิทคนนั้น มีความจำเป็นที่จะต้องมาชี้แจงกับคณะกรรมาธิการฯด้วย
A : จำเป็น...เนื่องจากเรื่องนี้คงจะปล่อยผ่านไปเฉยๆไม่ได้ เพราะ 1.มีผู้ร้อง 2.มีเหตุการณ์ประจวบเหมาะกันโดยบังเอิญหรือไม่ อันนี้ต้องสอบต่อเพราะว่ามีข่าวเรื่องการนำรูปพระบรมฉายาลักษณ์รัชกาลที่ 8 ไปโพสต์ตามเว็บต่างๆ แล้วก็เหมือนกับจะพร้อมๆกันกับกรณีการโพสต์ภาพดังกล่าว ซึ่งต้องเรียนตรงๆว่าเวลาจะถวายพระพรพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน คุณสามารถ Search ในเว็บหาได้เป็นพันเป็นหมื่นรูป และหาง่ายมาก การไปหาพระบรมฉายาลักษณ์รัชกาลที่ 7 ซึ่งเป็นวันที่พระราชทานพระราชหัตถเลขารัฐธรรมนูญให้กับนายปรีดี พนมยงค์ ไม่ใช่ภาพที่หาง่าย มันก็เลยทำให้อยากจะรู้ว่าผู้ที่อ้างว่านำมาโพสต์เพราะความตั้งใจดีว่าเป็นภาพที่ไม่เหมือนใครด้วยความเข้าใจผิดเนี่ย มันจริงหรือเปล่า หรือมันเป็นการทำร่วมขบวนการซึ่งทำพร้อมๆกัน เรามาพบเอกสารบางอย่างในเว็บไซต์บางแห่งมีการเคลื่อนไหวในเรื่องดังกล่าวใน ระยะเวลาต่อเนื่องกัน...ใกล้เคียงกัน
Q : มีข่าวว่าคุณเฉลิมให้การกับคณะกรรมาธิการค่อนข้างสับสนเอง โดยเฉพาะกรณีของตัวบุคคลที่เป็นคนโพสต์รูป ที่ตอนแรกบอกว่าไล่ออกไปแล้ว แต่ตอนหลังก็บอกว่ายังทำงานอยู่ในทำเนียบฯ ข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร

สมชาย แสวงการ
A : คุณเฉลิมก็บอกว่า ครั้งแรกก็บอกว่า “ให้ออกไปแล้ว นายกฯให้ออกไปแล้ว” ก็เหมือนที่นายกฯให้สัมภาษณ์ว่าเลิกจ้างไปแล้ว เป็นบริษัทออร์กาไนซ์ เป็นทีมงานออร์กาไนซ์และให้ออกไปแล้ว แต่ว่าฟังจากคุณเฉลิมเป็นตัวบุคคล ไม่ใช่เป็นบริษัท แล้วเป็นคนติดตามท่านนายกฯ เราก็มีข้อมูลที่ไม่แน่ใจว่าตกลงยังอยู่กับท่านนายกฯหรืออกไปแล้ว
Q : มีการระบุว่า จะมีการส่งหลักฐานให้คณะกรรมาธิการฯเพื่อพิสูจน์ถึงตัวบุคคลคนนี้ ว่ายังทำงานกับนายกฯจริงในทำเนียบฯ เช่นบัตรประจำตัวที่ทางทำเนียบฯออกให้ ทางกรรมาธิการได้รับหรือยัง
A : ยังไม่ได้รับ เพราะถ้ามี...กรรมาธิการก็จะรับไว้พิจารณา ก็ต้องดูให้ความเป็นธรรมด้วยว่าเป็นคนๆเดียวกันหรือเปล่า เพราะกรรมาธิการก็ทราบแต่ว่าชื่อเล่น เป็นผู้หญิง
Q : เหตุใดการดำเนินการเอาผิดทางกฎหมายเรื่องนี้ จึงไม่คืบหน้าทั้งที่เป็นคนใกล้ชิดนายกฯเอง ต่างจากกรณีการจับกุมมือป่วนทวิตเตอร์นายกฯก่อนหน้านี้ ซึ่งสามารถติดตามจับกุมได้อย่างรวดเร็ว
A : ก็สังคมคงตั้งข้อสังเกตได้ครับ ตอนนั้นรัฐมนตรีไอซีทีก็แถลงโดยเร็วว่า มีเด็กสถาปัตย์ จุฬาฯคนนั้นที่แฮ็กฯเข้าไปในข้อมูลของนายกฯ ก็ภายในวัน 2 วันก็เรียบร้อย อันนี้ก็เป็นข้อสังเกตครับ เพราะว่าเป็นคนของท่านนายกฯเอง โดยที่คุณบอกว่าเป็นคนติดตามนายกฯตั้งแต่อยู่ที่บริษัท แล้วติดตามมาที่พรรคการเมือง แล้วก็ติดตามมาที่ทำเนียบฯ ก็ขัดแย้งกับข้อมูลที่บอกว่าเป็นออร์กาไนซ์แล้วถูกปลดไปแล้ว อันนี้ท่านนายกฯต้องเป็นคนชี้แจง อีกทั้งหน้าเว็บไซต์มันถูกเผยแพร่อยู่นานถึงประมาณ 10 กว่าชั่วโมง แล้วก็มีคนทักแล้ว เหตุไฉนยังไม่เอาออกตั้งแต่ตอนต้น ซึ่งก็รู้ว่าผิด อันนี้เป็นคำถามที่กรรมาธิการสงสัยอยู่
Q : กรรมาธิการฯจะติดตามตัวบุคคลคนนี้มาสอบและพิสูจน์ยากหรือไม่
A : ไม่ยากครับ ก็คงถามจากคุณยิ่งลักษณ์ เพราะว่าชื่อที่คุณเฉลิมให้การไว้ ก็เป็นชื่อเล่น และถูกระบุว่าเป็นคนของคนยิ่งลักษณ์ ทำงานอยู่ที่ทำเนียบฯ
Q : ตามกฎหมายถ้ามีการขอพระราชทานอภัยโทษแล้ว สามารถดำเนินการเอาตามกฎหมายได้หรือไม่
A : คงไม่ได้หมายความว่า จะเอาผิดใครนะครับ เราคงต้องการรู้ข้อเท็จจริงว่า ตกลงมีเจตนาอะไร ผู้กระทำ กระทำการแทนในเฟซบุ๊คของนายกฯ ซึ่งได้ขอพระราชทานอภัยโทษไปแล้ว...อันนี้รับได้ หมายถึงนายกฯไม่ได้มีความผิดอะไร แต่ว่าผู้กระทำกระทำการแทนโดยสุจริต หรือมีเจตนาแอบแฝง อันนี้กรรมาธิการก็อยากทราบ และถ้าเกิดเขามีเจตนาสุจริต ก็จะได้พูดคุยทำความเข้าใจกัน
Q : กรรมาธิการฯยังไม่ถึงขั้นระบุความผิดตามพ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ มาตรา 14 มาตรา 16
A : คงไม่...ตอนนี้อยู่ในชั้นหาข้อมูลครับ
Q : ตามข้อมูลที่ได้มาถึงขั้นระบุว่า เป็นการกระทำที่ส่อเจตนาชัดเจนหรือไม่
A : ผมยังพูดถึงเรื่องเจตนาไม่ได้ เพราะว่าที่รองนายกฯเฉลิมมาให้การกับกรรมาธิการฯว่าได้พูดคุยแล้ว เขาบอกเขาไม่มีเจตนา อันนี้ก็ต้องมาดู
Q : จะใช้เวลานานหรือไม่ในการติดตามเรื่องนี้
A : สัปดาห์นี้คงพูดคุยว่าได้เชิญตัวนายกฯไปถึงไหน ตอบมาอย่างไร และจะสามารถส่งบุคคลดังกล่าวมาให้การกรรมาธิการได้หรือไม่ เมื่อใด ก็คงใช้เวลาสักระยะหนึ่ง
Q : การที่คุณเฉลิมและคุณยิ่งลักษณ์ไม่มีการดำเนินการอะไรกับคนใกล้ชิด สามารถเอาผิดตามาตรา 157 ฐานละเว้นปฏิบัติหน้าที่ได้หรือไม่
A : ก็คงต้องดูก่อนครับว่า “เขาผิดหรือเปล่า” ตอนนี้เรายังอยู่ในสมมติฐานที่อยากจะรู้ข้อมูลจากเขาว่าการทำมีเจตนาหรือขาดเจตนา
“เรื่องนี้คงต้องตาม ซึ่งต้องให้เวลากรรมาธิการฯด้วย ซึ่งสังคมเห็นแล้วว่ามีเรื่องนี้เกิดขึ้น ซึ่งได้ขอพระราชทานอภัยโทษไปแล้ว ที่กรรมาธิการรับเรื่องจากพี่น้องประชาชนมาก็คงต้องติดตามเพื่อตอบให้ได้ว่า เรื่องนี้ถ้าไม่มีเจตนาก็ต้องมีคำตอบ หรือมีเจตนาแล้วไปเกี่ยวพันกับขบวนการ เรื่องนี้ต้องมีคนรับผิด”
Q : ขบวนการที่พูดถึงเกี่ยวข้องกับการเมืองหรือไม่
A : ยังไม่ระบุ เพียงแต่ว่ามีข้อมูลเห็นความเคลื่อนไหว แต่ว่าจะเชื่อมโยงกันหรือไม่ อันนี้ยังต้องดู
Q : กรรมาธิการฯได้รับข้อมูลการเชื่อมโยงไปถึงการดำเนินการติดตั้งพระบรมฉายาลักษณ์ที่วัดแห่งหนึ่งในจ.ขอนแก่นหรือไม่
A : ก็เห็นจากข่าวหนังสือพิมพ์ ซึ่งทางวัดกับนายอำเภอเขาชี้แจงว่าไม่มีเจตนา แต่เป็นข้อสงสัยว่ารูปพระบรมฉายาลักษณ์รัชกาลปัจจุบัน ก็ไม่น่าจะหายาก ทำไมต้องหยิบยืมกัน ถึงวันนี้ได้นำมาคืนแล้วหรือยัง
Q : สงสัยว่ามีความเกี่ยวโยงถึงกันหรือไม่
A : ก็มีการพูดถึงกันในข่าว เพราะว่าในภาพข่าว และฟังข้อมูลการชี้แจงก็ยังเป็นประเด็นที่บางคณะกรรมาธิการก็พูดถึง แต่ว่าก็ต้องติดตามต่อ
Q : มีการพูดถึงขั้นว่าที่กรรมาธิการฯเข้ามาทำเรื่องนี้ต้องการล้มนายกฯยิ่งลักษณ์ จะชี้แจงอย่างไร
A : เรื่องนี้คงล้มนายกฯไม่ได้มั้งครับ และเราไม่ต้องไปทำเรื่องการล้มนายกฯหรอกครับ ท่านทำอะไรท่านก็รับผิดชอบเองอยู่แล้ว มันก็เป็นเรื่องของฝ่ายค้านกับรัฐบาล คงไม่เกี่ยวกับวุฒิสภา เราเองมีหน้าที่สอบสวนหรือพิจารณาตามที่กฎหมายให้อำนาจเรา แล้วเราเห็นว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องที่มีการกระทำที่หมิ่นเหม่และเป็นความผิดพลาด เราไม่อยากให้เกิดขึ้นในฐานะกรรมาธิการมีหน้าที่ติดตามศึกษาติดตามการบังคับ ใช้กฎหมายเกี่ยวกับการพิทักษ์สถาบันพระมหากษัตริย์ เราก็มีหน้าที่ดู ถ้าเป็นเรื่องอื่นเราก็ไม่ไปเกี่ยว


รีโมท ซื้อ รีโมท จากผู้ค้าส่งโดยตรง ที่มีหน้าร้านจริง ที่ บ้านหม้อ และ คลองถม ราคาถูกกว่าใคร ปลอดภัย มีรับประกัน

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

บทความย้อนหลัง