ข่าวสดรายวัน นปช.จี้รัฐบาล ร่วมภาคีศาลโลก เมียเหยื่อ สไนเปอร์ ขอเยียวยา
นปช.เร่งรัฐสรุปเยียวยา เมื่อ เวลา 13.00 น. วันที่ 5 ต.ค. ที่อิมพีเรียล ลาดพร้าว นางธิดา โตจิราการ รักษาการประธานนปช. แถลงว่า ขอเรียกร้องรัฐบาล และคณะกรรมการเยียวยาที่มีนายยงยุทธ วิชัยดิษฐ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน เร่งทำงานให้เร็วที่สุด เพราะประชาชนแบกรับปัญหาต่างๆ มาปีเศษแล้วยังไม่ได้รับการช่วยเหลือ ขอให้ชัดเจนว่ารัฐบาลจะเยียวยาครอบครัวผู้เสียชีวิตเท่าใด อย่างเหตุการณ์พฤษภาฯ 35 มีการเยียวยาผู้เสียชีวิตรายละ 6 ล้านบาท ส่วนข้อเสนอ 10 ล้านบาทของนายจตุพร พรหมพันธุ์ ก็เป็นเพียงการเสนอขั้นต้น รายละเอียดรัฐบาลก็ต้องพิจารณาถึงความเหมาะสมอีกครั้ง รวมถึงเร่งทำความจริงให้ปรากฏเพื่อพัฒนาไปสู่ความปรองดอง จี้ลงสัตยาบันศาลอาญาโลก นาง ธิดากล่าวต่อว่า นอกจากนี้นานาประเทศกำลังจับตามองประเทศไทยในเรื่องสิทธิมนุษยชน โดยได้เสนอข้อเรียกร้องให้รัฐบาลไทยเร่งให้สัตยาบันสัญญากรุงโรม ว่าด้วยศาลอาญาระหว่าง ประเทศ ซึ่งเป็นศาลอาญาระหว่างประเทศถาวรแห่งแรกและแห่งเดียวของโลก ที่มุ่งจัดการคดีที่มีลักษณะอาชญากรสงคราม อาชญากรต่อมนุษย ชาติและการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ซึ่งในอดีตที่ผ่านมาการที่ประเทศไทยไม่สามารถส่งคดีความเพื่อไปดำเนินคดีใน ศาลอาญาระหว่างประเทศได้ เนื่อง จากยังไม่ลงสัตยาบันกับศาลอาญาระหว่างประเทศ จึงอยากให้รัฐบาลเร่งพิจารณา หากขั้นตอนนี้ผ่านแล้วสิ่งที่นายโรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม ทนายคนเสื้อแดงได้ยื่นเรื่องต่อศาลอาญาระหว่างประเทศ ก็สามารถจะดำเนินคดีกับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการสังหารประชาชน เมื่อเดือนเม.ย.และพ.ค.53 ได้ ซึ่งคนเสื้อแดงสนับสนุนให้รัฐบาลลงสัตยาบัน เพราะเป็นช่องทางที่ทำให้การฆ่าคนมือเปล่าไม่เกิดขึ้นอีก บี้ไม่รับรายงานกสม. นาง ธิดากล่าวว่า คนเสื้อแดงยังขอเรียกร้องให้รัฐบาลชี้แจงสถานการณ์สิทธิมนุษยชนแห่งประเทศ ไทย เกี่ยวกับรายงานของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ว่าเป็นรายงานที่ไม่จริง เพราะมีความเท็จเกินครึ่ง โดยเฉพาะการปราบปรามประชาชน เนื่องจากขณะนี้ประเทศต่างๆ ไม่เชื่อความเป็นกลางของกสม. ไม่เชื่อคอป. และมีคำถามจากหลายประเทศ อาทิ สาธารณรัฐเช็ก สหราชอาณาจักร นอร์เวย์ เดนมาร์ก และเนเธอร์แลนด์ เกี่ยวกับเหตุการณ์ทางการเมืองที่เกิดขึ้นในไทย หวั่นคุกคามพยานคดี 13 ศพ นาง ธิดากล่าวถึงความคืบหน้าในการดำเนินคดี 13 ศพ ที่เกิดจากเจ้าหน้าที่รัฐ ว่า ขอให้พยานที่จะเข้าให้การอย่าไปให้การกับตำรวจตามลำพัง ขอให้เข้ามาติดต่อกับศูนย์ของ นปช.ก่อน เพื่อจะได้จัดทนายความให้ความปรึกษา เพื่อให้สำนวนรัดกุม และไม่ถูกคุกคาม ในการสอบสวนพยาน กต.แจงลงสัตยาบันต้องผ่านสภา ด้าน นายธานี ทองภักดี อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ ให้สัมภาษณ์ชี้แจงเกี่ยวกับเสียงเรียกร้องของกลุ่มคนเสื้อแดงว่า ปัจจุบันถือว่าไทยยังไม่ได้เป็นภาคีสมาชิกของธรรมนูญดังกล่าว แม้จะได้ลงนามไปแล้วเมื่อ 2 ต.ค.2543 แต่ยังไม่ได้ให้สัตยาบัน โดยทางกระทรวงการต่างประเทศกำลังอยู่ในระหว่างการศึกษารายละเอียดทางข้อ กฎหมาย คาดว่าหากแล้วเสร็จจะต้องเสนอต่อทางรัฐบาล เพื่อเข้าที่ประชุมครม. และหากมีข้อกฎหมายที่ต้องแก้ไข หรือตราขึ้นใหม่เพื่อรองรับ ก็จำเป็นต้องผ่านรัฐสภา เปิดใจเมียช่างไฟเสื้อแดง วัน เดียวกัน ผู้สื่อข่าวสัมภาษณ์นางสุดารัตน์ ทองผุย ภรรยานายบุญธรรม ทองผุย คนเสื้อแดงที่เสียชีวิตจากเหตุการณ์ชุมนุมทางการเมือง เมื่อวันที่ 10 เม.ย.53 บริเวณสี่แยกคอกวัว โดยนางสุดารัตน์กล่าวว่า นายบุญธรรมมีอาชีพทำงานก่อสร้างเป็นช่างไฟ โดยมีลูกด้วยกัน 2 คน คือ น้องแพรว ลูกสาวคนโต อายุ 16 ปี กับน้องบิ๊ก ลูกชายคนเล็ก อายุ 9 ขวบ ทุกเย็นหลังเลิกงานนายบุญธรรมจะไปร่วมชุมนุมร่วมกับคนเสื้อแดง เพราะเห็นว่าการเมืองในช่วงนั้นไม่ถูกต้อง ประกอบกับเขาเป็นคนรักความยุติธรรม โดยสามีจะนั่งรถเมล์ไปชุมนุมร่วมกับเพื่อนที่ทำงาน ซึ่งช่วงนั้นสามีจะโทรศัพท์คุยกับตนที่อยู่ชัยภูมิตลอด ตนก็พยายามถามไถ่ว่าที่ชุมนุมอันตรายหรือไม่ เขาก็ยังบอกว่าไม่อันตราย สนุกดีด้วยซ้ำ แถมช่วงนั้นเขายังมารับน้องบิ๊กลูกชายมาอยู่ที่กทม. แล้วก็พาไปที่ชุมนุมด้วย ลูกร่ำไห้-เคว้งพ่อตาย นาง สุดารัตน์กล่าวว่า วันเกิดเหตุในวันที่ 10 เม.ย. 53 น้องบิ๊กเล่าให้ฟังว่าพ่อดูข่าวโทรทัศน์ ทราบว่า ทหารจะเข้าสลายการชุมนุม จึงรีบแต่งตัวออกจากบ้าน ลูกชายก็พยายามห้ามว่าอย่าไป แต่เขาก็ไม่ฟัง โดยก่อนไปได้เอาน้องบิ๊กไปฝากไว้ที่แคมป์ก่อสร้าง เพื่อไปเวทีที่สี่แยกราชประสงค์ตอนประมาณทุ่มกว่า พอมีข่าวว่าที่เวทีผ่านฟ้าฯ ขอกำลังเสริม เขาก็กระโดดขึ้นรถไปสมทบกับเพื่อนๆ จากนั้นก็หายไปทั้งคืน ตนก็ไม่รู้เรื่อง เพราะเขาไม่ได้โทร.บอก กลัวว่าเราจะเป็นห่วง น้องบิ๊กสะดุ้งตื่นมาตอนกลางคืนไม่เจอพ่อ ก็หลับต่อ จนรุ่งเช้า เพื่อนของพี่เขามาบอกน้องบิ๊กตอนเช้าว่าพ่อตายแล้ว โดยถูกสไนเปอร์ยิงเข้าที่หน้าผาก น้องบิ๊กก็ทำอะไรไม่ถูก ได้แต่ไปแอบร้องไห้ เพราะไม่รู้จะติดต่อตนยังไง เนื่องจากเบอร์โทรศัพท์อยู่ในเครื่องพ่อหมด จนกระทั่งวันที่ 12 เม.ย. ครูของน้องบิ๊กที่ชัยภูมิดูข่าวได้ยินว่า มีคนนามสกุล "ทองผุย" จึงรีบโทรศัพท์มาบอก เมื่อรู้ข่าวเราก็ช็อกแล้วรีบลงมาที่กทม.ทันที อยากรู้ใครฆ่าสามี "เมื่อ ดิฉันมาถึงกทม.ก็เดินทางไปรับศพนายบุญธรรมที่โรงพยาบาลศิริราช เพื่อเอาไปบำเพ็ญกุศล แต่มีตำรวจมาบอกว่าต้องจ่ายค่าโลงกับค่ารถ 8 พันบาท ฉันเองก็ไม่มีเงิน เพราะรีบเดินทางเข้ามาที่กรุงเทพฯ จึงไปขอความช่วยเหลือจากศูนย์นปช. เขาก็ให้เงินมาจำนวนหนึ่ง แต่บอกว่าขอเก็บศพไว้ก่อน เพราะยังไม่ได้พิสูจน์ ตอนนั้นก็คิดว่าดีเหมือนกัน จะได้รู้ชัดเจนว่าคนใจร้ายใจดำที่ทำกับสามีฉัน เขามาชุมนุมโดยไม่มีอาวุธ แต่กลับถูกยิงจนตาย โดยศพเก็บไว้ที่ผ่านฟ้า พอถูกสลายม็อบศพก็ถูกนำมาไว้ที่วัดหัวลำโพง ฉันกับลูกก็ต้องอาศัยนอนอยู่ใต้รถไฟฟ้าบริเวณแยกราชประสงค์ เพราะไม่มีที่ไป และหลังจากนี้จะเผาศพสามีในวันที่ 16 ต.ค. ที่วัดบำเพ็ญเหนือ มีนบุรี" นางสุดารัตน์กล่าว ชีวิตลำบากขาดที่พึ่ง นางสุดา รัตน์กล่าวว่า หลังจากที่สามีเสียชีวิต ครอบครัวลำบากมาก เพราะตนไม่มีอาชีพอื่น นอกจากทำนา ตอนนี้ก็ปลูกข้าวรอเก็บเกี่ยว ไม่มีรายได้จากทางอื่น จะไปรับจ้างอะไรก็ไม่มีคนจ้าง ต้องกินอยู่อย่างประหยัด เพราะเงินที่ได้รับช่วยเหลือมาจากสำนักพระราชวัง มูลนิธินปช. และบ้านราชวิถี ก็ต้องนำมาใช้จ่ายค่าเล่าเรียนของลูกทั้ง 2 คน และค่ากินอยู่ในบ้าน อีกทั้งแม่ของตนก็ป่วยเป็นโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทต้องไปหาหมอบ่อย ครั้ง ซึ่งมีค่าใช้จ่ายทุกครั้ง หากเป็นเมื่อก่อนตอนที่นายบุญธรรมมีชีวิตอยู่จะเป็นเสาหลักที่หาเงินส่งให้ ครอบครัว จี้รัฐเยียวยาครอบครัว "ความเป็นอยู่ต่าง จากเดิมมาก ลูกชายจะรักพ่อมากที่สุด พอขาดพ่อไปก็เหมือนขาดหลาย อย่าง จากที่เคยร่าเริงก็เป็นเด็กไม่ร่าเริง เขาคิดถึงพ่อเขาและจะพูดถึงบ่อยมาก ตอนนี้ก็ลำบากมาก ทั้งค่าอยู่ค่ากิน ลูกชายก็เป็นวัยกำลังใช้เงิน แล้วไหนจะต้องดูแลแม่ที่ป่วยอีก" นางสุดารัตน์กล่าว นางสุดารัตน์ กล่าวต่อว่า ตอนนี้อยากให้รัฐบาลช่วยเหลือเรื่องค่าใช้จ่ายในครอบครัว ตนอยากมีร้านขายของเพื่อที่จะมีรายได้มาเลี้ยงลูก บางทีลูกขอเงินก็ไม่อยากดุ เพราะเขาก็เสียพ่อไปแล้ว ขณะที่เรื่องของคดีความตนได้ไปยื่นเรื่องถึง ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกฯ ให้เร่งติดตามคดี และหาคนทำผิดมาลงโทษให้ได้ "มาร์ค"จับตาปคอป.ชี้นำ เวลา 11.30 น. ที่พรรคประชาธิปัตย์ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และผู้นำฝ่ายค้าน ให้สัมภาษณ์ถึงรัฐบาลแต่งตั้งคณะกรรมการประสานงานและติดตามผลงานการดำเนิน งานตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงแห่งชาติ (ปคอป.) ว่า ไม่ใช่เรื่องแปลก ต้องจับตาดูว่าคณะกรรมการจะแปลงเจตนารมณ์ของคอป. หรือไม่ เพราะในรายละเอียดการแต่งตั้ง ปคอป. นั้นมีอำนาจชี้นำการปฏิบัติ ดังนั้นจะติดตามตรวจสอบว่าข้อเสนอต่างๆ และการตีความข้อเสนอของคอป.จะเป็นไปตามเจตนารมณ์หรือไม่ "ยงยุทธ"โต้ทำตามแนวคอป. นาย ยงยุทธ วิชัยดิษฐ รองนายกฯ และรมว.มหาดไทย ในฐานะประธาน ปคอป. กล่าวถึงกรอบการทำงานว่า จะรอมติของ คอป.อีกส่วนหนึ่ง แล้วจะนำมาใช้ในทางปฏิบัติ โดยยังไม่เพิ่มความเห็นเรื่องอะไร เพราะจะกลายเป็นเงื่อนไขว่าเราคิดเอง ดังนั้นจะเอาเฉพาะจากมติของ คอป.ซึ่งถือเป็นคณะกรรมการที่รัฐบาลชุดที่แล้วตั้งมาทำเท่านั้น อยากทำเรื่องนี้ให้เร็ว โดยเอามติคอป.มาย่อยให้เกิดผล และอาจตั้งอนุกรรมการขึ้นมาติดตาม บิ๊กตู่ฉุนแดงค้านย้ายทหาร ที่ กองการบินกรมการขนส่งทหารบก (ขส.ทบ.) พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ. ให้สัมภาษณ์ก่อนเดินทางไปประเทศมาเลเซีย ถึงกรณีคนเสื้อแดงมาชุมนุมเผาโลงศพ เพื่อคัดค้านการแต่งตั้งโยกย้ายนายทหารว่า กลุ่มดังกล่าวเกี่ยวข้องอะไรตรงไหนหรือเปล่า เขาอยู่ในกระบวนการกรรมการกลั่นกรองหรือไม่ อยู่ในขบวนการคัดสรรคัดเลือกตามพ.ร.บ.กลาโหมหรือไม่ ก็อย่าละเมิดคนอื่นให้มากก็แล้วกัน อย่าให้เดือดร้อน มธ.สัมมนา"จารุพงษ์-น้องเกด" เวลา 16.30 น. วันเดียวกัน ที่หอประชุมใหญ่ ม.ธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ องค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมกับโครง การกำแพงประวัติศาสตร์ : ธรรมศาสตร์กับการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย เครือข่ายเดือนตุลา และคณะกรรมการญาติวีรชน 6 ตุลา จัดเสวนา "จากพ่อจารุพงษ์ถึงแม่น้องเกด" เนื่องในวาระครบรอบ 35 ปี 6 ตุลา 2519 มีนายจินดา ทองสินธุ์ บิดานายจารุพงษ์ ทองสินธุ์ นักศึกษาธรรมศาสตร์ที่ถูกฆ่าตายในเหตุการณ์ 6 ตุลา 2519 และ นางพะเยาว์ อัคฮาด มารดา น.ส.กมนเกด อัคฮาด พยาบาลอาสาที่ถูกยิงในวัดปทุมวนาราม ในเหตุการณ์สลายชุมนุม 53 ร่วมเสวนา แม่เกดรับไม่ได้ทหารได้ดี นาง พะเยาว์กล่าวว่า เหตุการณ์ในอดีตและปัจจุบันแทบเหมือนกันตรงที่ประชาชนออกมาเรียกร้องแล้วถูก ฆ่าโดยเจ้าหน้าที่ แตกต่างเพียงเหตุการณ์ในปัจจุบันล้ำลึกมากขึ้น สิ่งที่ไม่เปลี่ยนเลยคือระบอบเผด็จการที่ยังอยู่ หลังเลือกตั้งเราดีใจว่ามีรัฐบาลใหม่แล้ว แต่เมื่อโผทหารออกมา เรารู้สึกเหมือนถูกปฏิวัติอีกรอบ เพราะทหารที่มีส่วนเกี่ยวข้องในเหตุการณ์เดือน พ.ค.ได้รับยศ ได้เลื่อนตำแหน่ง เหมือนได้รับนิรโทษกรรม ขณะที่นักศึกษาต้องติดคุก หรือหนีเข้าป่า เหตุการณ์นี้ก็เช่นกัน แกนนำเสื้อแดงและประชาชนติดคุกไปแล้ว แต่ทหารยังไม่ได้รับการลงโทษ ทั้งยังได้บำเหน็จบำนาญอีก พ่อจารุพงษ์ขออย่าฆ่ากันอีก ด้าน นายจินดากล่าวว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับลูกชายเมื่อ 6 ตุลา 2519 กระทบจิตใจคนในครอบครัวมาก กรณีของแม่น้องเกดยังดีที่พบศพลูกทันที ขณะที่ตนนั้นมีความหวังลมๆ แล้งๆ ว่าลูกยังมีชีวิตอยู่ เพิ่งรู้ว่าเสียชีวิตแล้วเมื่อสิบกว่าปีมานี้ และไม่มีโอกาสแม้จะนำเถ้ากระดูกลูกไปบำเพ็ญกุศล เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อปี 2519 และ 2553 เหมือนกัน เพียงแต่ระยะเวลาต่างกัน เหตุการณ์ของตนเกิดมา 35 ปีแล้ว พอที่จะทำใจได้ แต่ที่เกิดขึ้นเมื่อปี"53 เพิ่งผ่านพ้นไปอาจจะยังทำใจไม่ได้ และขอเรียกร้องให้สังคมช่วยกันประคับประคอง อย่าให้มีเหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นอีก ให้เป็นวาระสุดท้ายจริงๆ เสียที "35 ปีผ่านมา เราไม่เคยได้รับการเยียวยาเลย แม้เราไม่ได้ต้องการเอาค่าสูญเสียมาทำทุนอะไร แต่เพื่อจิตใจของพวกเราที่ถูกกระทำก็ควรจะได้รับการเยียวยาหรือช่วยเหลือ บ้าง วันที่ 6 ตุลา เวียนมาถึงทุกครั้ง ผมไม่เคยเรียกร้องค่าทำศพเลย ยกให้สังคมเป็นผู้วินิจฉัย เมื่อผ่านไปแล้วขอให้ผ่านไป ต่อไปอย่าให้เกิดเรื่องอย่างนี้อีก แม้เราไม่สามารถให้อภัยกันได้ เราก็ต้องข่มใจ เพื่ออนุชนรุ่นหลังอย่าได้ฆ่ากันอีก" นายจินดากล่าว |
วันพฤหัสบดีที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2554
นปช.จี้รัฐบาล ร่วมภาคีศาลโลก
จาตุรนต์. บนทางเพื่อไทย ข้อเสนอที่เป็นไปไม่ได้ ทำให้ ทักษิณ. หายไปจากโลกนี้ !!?
สัมภาษณ์พิเศษ
ชื่อ "จาตุรนต์ ฉายแสง" ไม่ใช่ลูกน้อง ไม่ใช่กุนซือส่วนตัวของ "ทักษิณ ชินวัตร"
แต่ยามพรรคไทยรักไทย-พลังประชาชน-เพื่อไทย มีภัยเขาร่วมต้าน มีทุกข์ร่วมทุกข์ มีสุข-ชนะเลือกตั้ง เขาร่วมวง
ทุกวาระ ทุกโต๊ะประชุม ชื่อเขามักวางไว้ที่หัวโต๊ะ ตั้งแต่แผนหาเสียงจนถึงร่างนโยบายรัฐบาล
ระหว่างบรรทัดในข้อเสนอของคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.) มีความคิดของเขาแทรกอยู่
ยุทธศาสตร์ "ปรองดอง" และแก้ไขความขัดแย้งในสังคม เขาก็มีส่วนร่วมเป็นมันสมอง
จาตุรนต์. คนเดือนตุลา ที่ชีพจรยังเต้นอยู่ในทุกจังหวะก้าว จังหวะคิดของรัฐบาลเพื่อไทย
- คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี 66/23 กับข้อเสนอคอป.เหมือนหรือต่างกันอย่างไร
คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี 66/23 เป็นการเสนอในขั้นตอนที่ความขัดแย้งความคิดทางการเมืองใกล้จบ การต่อสู้ทางกระบวนการก็เบาลงเนื่องจากประเทศสังคมนิยมล่มสลาย แนวทางที่พรรคคอมมิวนิสต์ใช้อยู่ไม่สอดคล้องกับสังคมไทย คำสั่ง 66/23 จึงออกมาเพื่อจะเปิดทางให้คนที่มีความคิดความเห็นที่แตกต่างทางการเมืองกลับมาใช้ชีวิตในอยู่ร่วมในสังคมได้อย่างคนปกติทั่วไป
- ไม่เหมือนในวันนี้ที่ความขัดแย้งกำลังอลหม่าน
การต่อสู้ทางความคิดและทางการเมืองมีผลทำให้เกิดการแบ่งฝักแบ่งฝ่าย ยังคงดำรงอยู่ แล้วยังไม่ก้าวข้ามไปสู่ที่จุดเหนือกว่าหรือด้อยกว่ากันอย่างชัดเจน จึงยังไม่อยู่ในขั้นตอนปิดเกม ฉะนั้น คอป.จึงยังต้องใช้แนวทางค้นหาความจริงเยียวยาให้ความเป็นธรรม ลดความห้ำหั่นกันทางการกระทำต่อกัน
- จึงมีแนวทางการออกแบบความยุติธรรมชˆวงเปลี่ยนผ่าน
เป็นการแก้ปัญหาความขัดแย้งที่รุนแรงในสังคม ที่เห็นว่าเมื่อสังคมอยู่ในขั้นวิกฤตจะต้องพยายามหาทางออกเพื่อไปสู่การคลี่คลายความขัดแย้ง เพื่อให้คนในสังคมอยู่ร่วมกันได้และไม่เป็นศัตรูต่อกันก็ต้องมีกติกาที่ดี แต่จะทำให้เกิดความยุติธรรมแบบเถรตรงไม่ได้ เพราะถ้าใช้กระบวนการยุติธรรมอย่างเถรตรงไปเลยจะยิ่งทำให้สังคมอยู่ร่วมกันไม่ได้
- ถ้าใช้กระบวนการแบบเถรตรงก็จะทำให้เกิดความปรองดองยาก จึงต้องมีคณะกรรมการองค์กรอิสระว่าด้วยหลักนิติธรรมแห่งชาติ (คอ.นธ.)
คณะที่คุณอุกฤษ (มงคลนาวิน เป็นประธาน) จะเสนอความเห็นต่อรัฐบาล และคงจะเปิดเผยความเห็นต่อสาธารณชนโดยเน้นเรื่องความสอดคล้องกับหลักนิติธรรม เพราะความไม่สอดคล้องกับหลักนิติธรรมในสังคมไทยระยะ 5-8 ปีมานี้ ทำให้วิกฤตของสังคมรุนแรงขึ้น เช่น ระบบกระบวนการยุติธรรมและฝ่ายตุลาการ แต่ข้อเสนอ คอป.มันเป็นขั้นที่ยังชักเย่อกันอยู่
- ท่าทีจากฝ่ายรัฐบาลน่าจะราบรื่น จะมีฝ่ายใดที่มาชักเย่อข้อเสนอนี้
รัฐบาลสนับสนุนเต็มที่ ยังมีแรงสนับสนุนมาจากต่างประเทศ แต่รัฐบาลต้องยอมรับตรงเนื้อหาที่เสนอ ถ้าไมˆคิดวิเคราะห์ให้ดี โอกาสที่จะมีแรงต้านมีอยู่ โดยเฉพาะประเด็นมาตรา 112 ที่สรุปเป็นภาษาง่าย ๆ ว่า "เราจะช่วยกันปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ให้ดีที่สุดได้อย่างไร" ซึ่งทำให้พวกที่จะต่อต้านอย่างน้อยก็จะฉุกคิดว่า คอป.ไม่ได้ตั้งโจทย์ในทางที่สร้างความเสียหายหรือเสื่อมเสียต่อสถาบันพระมหากษัตริย์
แต่เขากำลังบอกว่า การไปใช้ข้อหาเกี่ยวกับกรณีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพไปเป็นประโยชน์กันทางการเมือง ไปทำลายกันทางการเมือง ไม่เป็นประโยชน์ต่อสถาบัน
- คณะกรรมการ คอ.นธ.ทำไมต้องมีคุณอุกฤษเป็นประธาน
ก็ไม่ทราบ...คนในรัฐบาลทาบทามกันมา เพราะคุณอุกฤษก็เคยแสดงความเห็นคัดค้านกับการรัฐประหาร ก็มีความเหมาะสมอยู่ ถ้าไม่รับมาทำหน้าที่นี้ก็ผิดหวัง แล้วที่เขามาทำก็ไม่มีอะไรมากไปกว่าที่เสนอต่อรัฐบาลและสังคม ก็ไม่เห็นว่าเป็นเรื่องน่ากลัวอะไร
คนในรัฐบาลกวาดสายตาไปพบว่าคุณอุกฤษเหมาะ ไม่อย่างนั้นจะเอาใคร เอาอาจารย์วรเจตน์ (ภาคีรัตน์ แกนนำกลุ่มคณะนิติราษฎร์) เหรอ แต่อาจารย์วรเจตน์ก็จะเจอแรงต้านมาก แต่ที่อาจารย์วรเจตน์ไปทำในกลุ่มนิติราษฎร์มันก็ดีไปอีกแบบ ทำให้มีพลังเพิ่มขึ้นดีกว่านำอาจารย์วรเจตน์มาทำทุกอย่าง
- แยกกันเดินคนละขา เพื่อขับเคลื่อนหลายขา น่าจะดีกว่า
ก็นั่นนะสิ
- ข้อสนอคอป.รัฐบาลอภสิทธิ์เคยบอกว่า ไม่มีอำนาจ "สั่ง" บางหน่วยงาน รัฐบาลยิ่งลักษณ์จะซ้ำรอยเดิมหรือไม่
รัฐบาลที่แล้วที่พูดว่าทำไม่ได้บางเรื่องก็พูดเกินจริง คือมีบางเรื่องที่ทำได้แต่อ้างว่าทำไม่ได้ พอมาถึงรัฐบาลใหม่นี้ก็ไม่สามารถทำอะไรที่เกินกว่าที่ตัวเองจะทำได้ ผมเชื่อว่ามีหลายกรณีที่สามารถทำได้ เช่น การที่กรมคุ้มครองสิทธิเสรีภาพจะเสนอความเห็นไปยังอัยการก็ยังสามารถทำได้ การจะช่วย ผู้ต้องหาทั้งหลายประกันตัวได้ ฝ่ายบริหารโดยกระทรวงยุติธรรมน่าจะสั่งกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) รัฐบาลสั่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติว่า ถ้าไม่มีเหตุจำเป็นยิ่งยวดอย่าไปคัดค้านการประกันตัว รวมทั้งช่วยไปแถลงต่อศาลด้วย
- ดังนั้น สิ่งแรกที่รัฐบาลต้องทำคือปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมทั้งระบบ
นโยบายรัฐบาลที่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญ ก็สามารถใช้ปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมได้โดยผ่านการผลักดันจากกระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพราะรัฐธรรมนูญจะเป็นตัวกำหนดโครงสร้างกระบวนการยุติธรรมได้ตั้งแต่ต้นพอสมควรจนถึงมีนัยสำคัญ
- หากรัฐบาลไปแตะโครงสร้างของกองทัพ โครงสร้างศาลผ่านกระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ความเสี่ยงที่จะเกิดวิกฤตจะเกิดขึ้นได้หรือไม่
รัฐบาลจะทำได้ก็เฉพาะส่วนที่อยู่ในความรับผิดชอบของฝ่ายบริหาร เช่น ตำรวจ ดีเอสไอ กระทรวงยุติธรรม รวมถึงหน่วยงานในกระทรวงยุติธรรมทั้งหลาย พอมาถึงอัยการก็จะทำอะไรเขาไม่ค่อยได้แล้ว ศาลยิ่งไม่ได้ใหญ่
ส่วนการแก้ไขรัฐธรรมนูญโดยใช้สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) และการลงประชามติ รัฐบาลจะไม่ได้เป็นผู้กำหนดเนื้อหาสาระของรัฐธรรมนูญเองเลย ถ้าจะมีการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมก็ควรเสนอต่อ ส.ส.ร. จึงไม่ใช่เป็นช่องทางที่น่าเกรงว่ารัฐบาลนี้จะไปรื้อระบบยุติธรรมอะไรได้มากมาย
ถ้าจะไปปรับเรื่องของกองทัพ ต้องพูดถึงเรื่องกฎหมายโครงสร้างกองทัพ ปรับระบบในการแต่งตั้งโยกย้าย เชื่อว่าในระยะต่อไปหากยังไม่มีการปรับระบบอะไรที่เกี่ยวกับกองทัพเลยไม่น่าจะถูกต้อง เพราะรัฐบาลประชาธิปไตยจะต้องเข้าไปจัดกติกาให้สามารถแต่งตั้งผู้นำเหล่าทัพได้ ไม่ใช่ให้ผู้นำเหล่าทัพตัดสินใจกันเองอย่างที่เป็นอยู่ เพราะมันขัดต่อหลักประชาธิปไตย รวมถึงสามารถเปลี่ยนตัวผู้บัญชาการเหล่าทัพได้
การทำเช่นนี้อาจจะเกิดปัญหาก็ได้ หรืออาจจะลดปัญหาก็ได้ แต่ถ้าไม่เข้าไปแก้ไข ยิ่งปล่อยไว้ยิ่งเป็นปัญหา แต่ปัญหาจะปะทุหนักหน่วงรุนแรงมากขึ้นหรือไม่เมื่อไร ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมทางการเมือง ความสัมพันธ์ระหว่างสองฝ่าย ตัวบุคคลที่จะมีอำนาจบทบาทอยู่ในแต่ละส่วนของรัฐบาลและกองทัพ แต่ที่สำคัญคือระบบที่ผิด
- ช่วงที่ผ่านมากองทัพมีบทบาทเหลื่อมกับการเมือง
ก็มามีบทบาทอีกครั้งหลังจากรัฐประหาร 2549 พอมาถึงขั้นนี้ผู้นำกองทัพที่มีบทบาทในการรัฐประหารได้มีบทบาทมาอย่างต่อเนื่องในสังคม ทั้งในระบบ ทั้งนอกระบบ จึงเป็นปัญหาต่อความเป็นประชาธิปไตย ฉะนั้นจึงต้อง หาทางแก้ ถ้าไม่แก้ต่อไปผู้นำกองทัพก็จะมายึดอำนาจอีก เข้ามาแทรกแซงการเมืองอย่างรุนแรง
++++++++++++++++++++++++++
ข้อเสนอที่เป็นไปไม่ได้ ทำให้ "ทักษิณ" หายไปจากโลกนี้
จาตุรนต์-เป็นคนการเมืองลำดับแรก ๆ ที่เคยเสนอวาระ "ก้าวข้ามทักษิณ"
เมื่อสถานการณ์พลิกผัน เพื่อไทยกลายเป็นฝ่ายกุมอำนาจ สามารถเสนอวาระและญัติบริหารประเทศแบบพลิกฟ้า คว่ำแผ่นดิน
ทุกข‰อเสนอ ทุกวาระประเทศไทย มีคำถามถึง "ผล" บรรทัดสุดท้ายที่ "ทักษิณ" จะได้ร่วมเสพ
เมื่อชื่อ "ทักษิณ" ยังตามหลอนฝ่ายตรงข้ามเพื่อไทย และกลุ่มอำนาจเก่า
จาตุรนต์-ตอบคำถาม "คือ...ทางหนึ่งที่จะแก้ปัญหานี้ได้ แต่ไม่มีทางที่เกิดขึ้นได้เลย คือการทำให้คุณทักษิณหายไปจากสารบบของประเทศไทยและในโลกนี้"
"หมายความว่ารัฐบาลกำลังทำเพื่อคุณทักษิณไม่ได้อีกแล้ว แต่สิ่งนี้จะไม่เกิดขึ้น เพราะคุณทักษิณยังอยู่ อยู่ในโลกซึ่งมีคนรับรู้ มีคนยอมรับมากพอสมควร และยังมีบทบาทที่เกี่ยวข้องกับสังคมไทยอยู่มากด้วย เพราะฉะนั้น สภาพการดำรงอยู่ของคุณทักษิณจึงเป็นสภาพความเป็นจริงที่ยังเป็นอยู่อย่างนี้"
ข้อเสนอของสาธารณะ ทั้งนักวิชาการ-องค์กรอิสระ ทั้งเรื่องปรองดอง แก้รัฐธรรมนูญ ล้างผลการรัฐประหาร ล้วนมีชื่อ "ทักษิณ" แนบท้าย "จาตุรนต์" บอกว่า เป็นเรื่องที่ผู้เสนอต้องชี้แจง และต้องทำใจว่าไม่มีทางเลี่ยงที่จะถูกมองว่าเกี่ยวข้องกับ "ทักษิณ"
"การจะผลักดันแก้ไขปัญหาของ บ้านเมืองทั้งในเรื่องความไม่เป็นประชาธิปไตย ความไม่สอดคล้องกับหลักนิติธรรม ความขัดแย้งที่รุนแรง มีข้อเสนอดีๆ เกิดขึ้นอยู่เป็นระยะ จะทำอย่างไรไม่ให้ถูกดิสเครดิตไปด้วยข้อกล่าวหาว่าทำเพื่อคนคนเดียวชื่อทักษิณ เป็นเรื่องที่ผู้เสนอต้องชี้แจง และอธิบายว่าข้อเสนอของตนนั้นมีเหตุมีผลอย่างไร มีประโยชน์ต่อประเทศชาติและประชาชนส่วนใหญ่อย่างไร"
"ต้องเข้าใจด้วยว่า ไม่มีวิธีใดที่จะหลีกเลี่ยงการถูกมองว่าเกี่ยวข้องกับ คุณทักษิณ เพราะในความเป็นจริงปัญหาความไม่เป็นประชาธิปไตยของประเทศไม่สอดคล้องกับหลักนิติธรรม ความขัดแย้งและวิกฤตของประเทศเกี่ยวข้องกับคุณทักษิณแทบทั้งสิ้น เนื่องจากคุณทักษิณเป็นฝ่ายถูกกระทำ"
"เพราะคุณทักษิณเป็นนายกรัฐมนตรีที่มาจากการเลือกตั้งแล้วถูกถอดออกไปจากการรัฐประหาร ถ้าเราพูดเรื่องความไม่สอดคล้องกับหลักนิติธรรม เช่น การใช้ประกาศคณะปฏิรูป ที่ออกโดยคณะรัฐประหารมายุบพรรคการเมือง และเพิกถอนสิทธิพรรคการเมืองโดยใช้กฎหมายย้อนหลัง มันล้วนแต่ขัดหลักนิติธรรมทั้งนั้น"
"คุณทักษิณก็คือหัวหน้าพรรคไทยรักไทย และเป็นผู้ที่ถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง 5 ปี เพราะฉะนั้นไม่มีวิธีที่จะเข้ามาแก้ปัญหา หรือการแก้วิกฤตของประเทศโดยไม่เกี่ยวข้องกับคุณทักษิณ เพราะคุณทักษิณคือเหยื่อคนที่หนึ่ง"
จาตุรนต์-มองชื่อ "ทักษิณ" เป็นทั้งวิกฤตและโอกาสของรัฐบาล "ยิ่งลักษณ์"
"ความคิดผม ยังเห็นว่าเป็นประโยชน์และเป็นโอกาสมากกว่า และถ้าจัดการดี ๆ ก็จะเป็นประโยชน์และเป็นโอกาสมากขึ้น แทนที่จะเป็นปัญหาก็จะเป็นน้อยลง จะคิดว่าไม่ให้รัฐบาล ยิ่งลักษณ์เกี่ยวข้องกับคุณทักษิณ หรือจะบอกว่าคุณทักษิณไม่ต้องมาเกี่ยวข้องกับรัฐบาลยิ่งลักษณ์เลยมันเป็นไปไม่ได้"
"เพราะตั้งแต่ตอนหาเสียงเลือกตั้งพรรคเพื่อไทยก็บอกแล้วว่าทักษิณคิด เพื่อไทยทำ ถือว่าคุณทักษิณคือบุคลากรที่เป็นประโยชน์ต่อพรรค และเป็นประโยชน์มากพอที่จะนำเอาความคิดและประสบการณ์ของคุณทักษิณมาแก้ปัญหาประเทศชาติ ซึ่งไม่ใช่ความคิดที่แปลกประหลาดอะไร"
"เท่าที่ดูคุณทักษิณก็ยังมีบทบาทในการช่วยคิดแนะนำรัฐมนตรีต่าง ๆ อยู่พอสมควร ถ้าหากว่ารัฐบาลนี้อาศัยคุณทักษิณอย่างเหมาะสม"
ข้อเสนอของฝ่ายค้านที่เคยท้าทายว่า ทำไม "ทักษิณ" ไม่กลับมาสู้คดี "จาตุรนต์" บอกว่าคำถามนี้เขาตอบแทน "ทักษิณ" ไม่ได้
"ผมคิดว่ามันเป็นเรื่องการมองความชอบธรรมในการดำเนินคดีกับคุณทักษิณที่ต่างกัน"
"คนที่เห็นว่ากระบวนการดำเนินคดีไปโดยชอบอยู่แล้วก็จะเรียกหาให้คุณทักษิณมาติดคุก แล้วสู้คดีแล้วก็ตั้งคำถามว่าทำไมไม่ทำอย่างนั้น แต่คนที่มองว่ากระบวนการดำเนินคดีกับคุณทักษิณนั้นขัดกับหลักนิติธรรม เขาก็จะไม่เห็นด้วยว่าทำไมคุณทักษิณต้องมาติดคุก ซึ่งการคิดแบบนี้ก็มีเหตุผลเหมือนกัน"
ประวัติศาสตร์ที่เคยบันทึกว่า "ไม่เคยมีอดีตนายกรัฐมนตรีคนไหนต้องติดคุก" สำหรับ "ทักษิณ" มีบริบท ที่ต่างไป "จาตุรนต์" คิดนานก่อนจะสรุปว่า...
"ในอดีตอาจไม่มีการตั้งหน้าตั้งตาประหัตประหารกันเท่านี้ หรือไม่ก็มีการประหัตประหารเหมือนกัน แต่ก็ไม่ได้ใช้กระบวนการที่เรียกว่าตุลาการภิวัตน ์อย่างมีประสิทธิภาพเท่ากับครั้งนี้"
ที่มา:ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
////////////////////////////////////////////////////////////////////////////
ชื่อ "จาตุรนต์ ฉายแสง" ไม่ใช่ลูกน้อง ไม่ใช่กุนซือส่วนตัวของ "ทักษิณ ชินวัตร"
แต่ยามพรรคไทยรักไทย-พลังประชาชน-เพื่อไทย มีภัยเขาร่วมต้าน มีทุกข์ร่วมทุกข์ มีสุข-ชนะเลือกตั้ง เขาร่วมวง
ทุกวาระ ทุกโต๊ะประชุม ชื่อเขามักวางไว้ที่หัวโต๊ะ ตั้งแต่แผนหาเสียงจนถึงร่างนโยบายรัฐบาล
ระหว่างบรรทัดในข้อเสนอของคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.) มีความคิดของเขาแทรกอยู่
ยุทธศาสตร์ "ปรองดอง" และแก้ไขความขัดแย้งในสังคม เขาก็มีส่วนร่วมเป็นมันสมอง
จาตุรนต์. คนเดือนตุลา ที่ชีพจรยังเต้นอยู่ในทุกจังหวะก้าว จังหวะคิดของรัฐบาลเพื่อไทย
- คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี 66/23 กับข้อเสนอคอป.เหมือนหรือต่างกันอย่างไร
คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี 66/23 เป็นการเสนอในขั้นตอนที่ความขัดแย้งความคิดทางการเมืองใกล้จบ การต่อสู้ทางกระบวนการก็เบาลงเนื่องจากประเทศสังคมนิยมล่มสลาย แนวทางที่พรรคคอมมิวนิสต์ใช้อยู่ไม่สอดคล้องกับสังคมไทย คำสั่ง 66/23 จึงออกมาเพื่อจะเปิดทางให้คนที่มีความคิดความเห็นที่แตกต่างทางการเมืองกลับมาใช้ชีวิตในอยู่ร่วมในสังคมได้อย่างคนปกติทั่วไป
- ไม่เหมือนในวันนี้ที่ความขัดแย้งกำลังอลหม่าน
การต่อสู้ทางความคิดและทางการเมืองมีผลทำให้เกิดการแบ่งฝักแบ่งฝ่าย ยังคงดำรงอยู่ แล้วยังไม่ก้าวข้ามไปสู่ที่จุดเหนือกว่าหรือด้อยกว่ากันอย่างชัดเจน จึงยังไม่อยู่ในขั้นตอนปิดเกม ฉะนั้น คอป.จึงยังต้องใช้แนวทางค้นหาความจริงเยียวยาให้ความเป็นธรรม ลดความห้ำหั่นกันทางการกระทำต่อกัน
- จึงมีแนวทางการออกแบบความยุติธรรมชˆวงเปลี่ยนผ่าน
เป็นการแก้ปัญหาความขัดแย้งที่รุนแรงในสังคม ที่เห็นว่าเมื่อสังคมอยู่ในขั้นวิกฤตจะต้องพยายามหาทางออกเพื่อไปสู่การคลี่คลายความขัดแย้ง เพื่อให้คนในสังคมอยู่ร่วมกันได้และไม่เป็นศัตรูต่อกันก็ต้องมีกติกาที่ดี แต่จะทำให้เกิดความยุติธรรมแบบเถรตรงไม่ได้ เพราะถ้าใช้กระบวนการยุติธรรมอย่างเถรตรงไปเลยจะยิ่งทำให้สังคมอยู่ร่วมกันไม่ได้
- ถ้าใช้กระบวนการแบบเถรตรงก็จะทำให้เกิดความปรองดองยาก จึงต้องมีคณะกรรมการองค์กรอิสระว่าด้วยหลักนิติธรรมแห่งชาติ (คอ.นธ.)
คณะที่คุณอุกฤษ (มงคลนาวิน เป็นประธาน) จะเสนอความเห็นต่อรัฐบาล และคงจะเปิดเผยความเห็นต่อสาธารณชนโดยเน้นเรื่องความสอดคล้องกับหลักนิติธรรม เพราะความไม่สอดคล้องกับหลักนิติธรรมในสังคมไทยระยะ 5-8 ปีมานี้ ทำให้วิกฤตของสังคมรุนแรงขึ้น เช่น ระบบกระบวนการยุติธรรมและฝ่ายตุลาการ แต่ข้อเสนอ คอป.มันเป็นขั้นที่ยังชักเย่อกันอยู่
- ท่าทีจากฝ่ายรัฐบาลน่าจะราบรื่น จะมีฝ่ายใดที่มาชักเย่อข้อเสนอนี้
รัฐบาลสนับสนุนเต็มที่ ยังมีแรงสนับสนุนมาจากต่างประเทศ แต่รัฐบาลต้องยอมรับตรงเนื้อหาที่เสนอ ถ้าไมˆคิดวิเคราะห์ให้ดี โอกาสที่จะมีแรงต้านมีอยู่ โดยเฉพาะประเด็นมาตรา 112 ที่สรุปเป็นภาษาง่าย ๆ ว่า "เราจะช่วยกันปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ให้ดีที่สุดได้อย่างไร" ซึ่งทำให้พวกที่จะต่อต้านอย่างน้อยก็จะฉุกคิดว่า คอป.ไม่ได้ตั้งโจทย์ในทางที่สร้างความเสียหายหรือเสื่อมเสียต่อสถาบันพระมหากษัตริย์
แต่เขากำลังบอกว่า การไปใช้ข้อหาเกี่ยวกับกรณีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพไปเป็นประโยชน์กันทางการเมือง ไปทำลายกันทางการเมือง ไม่เป็นประโยชน์ต่อสถาบัน
- คณะกรรมการ คอ.นธ.ทำไมต้องมีคุณอุกฤษเป็นประธาน
ก็ไม่ทราบ...คนในรัฐบาลทาบทามกันมา เพราะคุณอุกฤษก็เคยแสดงความเห็นคัดค้านกับการรัฐประหาร ก็มีความเหมาะสมอยู่ ถ้าไม่รับมาทำหน้าที่นี้ก็ผิดหวัง แล้วที่เขามาทำก็ไม่มีอะไรมากไปกว่าที่เสนอต่อรัฐบาลและสังคม ก็ไม่เห็นว่าเป็นเรื่องน่ากลัวอะไร
คนในรัฐบาลกวาดสายตาไปพบว่าคุณอุกฤษเหมาะ ไม่อย่างนั้นจะเอาใคร เอาอาจารย์วรเจตน์ (ภาคีรัตน์ แกนนำกลุ่มคณะนิติราษฎร์) เหรอ แต่อาจารย์วรเจตน์ก็จะเจอแรงต้านมาก แต่ที่อาจารย์วรเจตน์ไปทำในกลุ่มนิติราษฎร์มันก็ดีไปอีกแบบ ทำให้มีพลังเพิ่มขึ้นดีกว่านำอาจารย์วรเจตน์มาทำทุกอย่าง
- แยกกันเดินคนละขา เพื่อขับเคลื่อนหลายขา น่าจะดีกว่า
ก็นั่นนะสิ
- ข้อสนอคอป.รัฐบาลอภสิทธิ์เคยบอกว่า ไม่มีอำนาจ "สั่ง" บางหน่วยงาน รัฐบาลยิ่งลักษณ์จะซ้ำรอยเดิมหรือไม่
รัฐบาลที่แล้วที่พูดว่าทำไม่ได้บางเรื่องก็พูดเกินจริง คือมีบางเรื่องที่ทำได้แต่อ้างว่าทำไม่ได้ พอมาถึงรัฐบาลใหม่นี้ก็ไม่สามารถทำอะไรที่เกินกว่าที่ตัวเองจะทำได้ ผมเชื่อว่ามีหลายกรณีที่สามารถทำได้ เช่น การที่กรมคุ้มครองสิทธิเสรีภาพจะเสนอความเห็นไปยังอัยการก็ยังสามารถทำได้ การจะช่วย ผู้ต้องหาทั้งหลายประกันตัวได้ ฝ่ายบริหารโดยกระทรวงยุติธรรมน่าจะสั่งกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) รัฐบาลสั่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติว่า ถ้าไม่มีเหตุจำเป็นยิ่งยวดอย่าไปคัดค้านการประกันตัว รวมทั้งช่วยไปแถลงต่อศาลด้วย
- ดังนั้น สิ่งแรกที่รัฐบาลต้องทำคือปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมทั้งระบบ
นโยบายรัฐบาลที่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญ ก็สามารถใช้ปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมได้โดยผ่านการผลักดันจากกระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพราะรัฐธรรมนูญจะเป็นตัวกำหนดโครงสร้างกระบวนการยุติธรรมได้ตั้งแต่ต้นพอสมควรจนถึงมีนัยสำคัญ
- หากรัฐบาลไปแตะโครงสร้างของกองทัพ โครงสร้างศาลผ่านกระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ความเสี่ยงที่จะเกิดวิกฤตจะเกิดขึ้นได้หรือไม่
รัฐบาลจะทำได้ก็เฉพาะส่วนที่อยู่ในความรับผิดชอบของฝ่ายบริหาร เช่น ตำรวจ ดีเอสไอ กระทรวงยุติธรรม รวมถึงหน่วยงานในกระทรวงยุติธรรมทั้งหลาย พอมาถึงอัยการก็จะทำอะไรเขาไม่ค่อยได้แล้ว ศาลยิ่งไม่ได้ใหญ่
ส่วนการแก้ไขรัฐธรรมนูญโดยใช้สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) และการลงประชามติ รัฐบาลจะไม่ได้เป็นผู้กำหนดเนื้อหาสาระของรัฐธรรมนูญเองเลย ถ้าจะมีการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมก็ควรเสนอต่อ ส.ส.ร. จึงไม่ใช่เป็นช่องทางที่น่าเกรงว่ารัฐบาลนี้จะไปรื้อระบบยุติธรรมอะไรได้มากมาย
ถ้าจะไปปรับเรื่องของกองทัพ ต้องพูดถึงเรื่องกฎหมายโครงสร้างกองทัพ ปรับระบบในการแต่งตั้งโยกย้าย เชื่อว่าในระยะต่อไปหากยังไม่มีการปรับระบบอะไรที่เกี่ยวกับกองทัพเลยไม่น่าจะถูกต้อง เพราะรัฐบาลประชาธิปไตยจะต้องเข้าไปจัดกติกาให้สามารถแต่งตั้งผู้นำเหล่าทัพได้ ไม่ใช่ให้ผู้นำเหล่าทัพตัดสินใจกันเองอย่างที่เป็นอยู่ เพราะมันขัดต่อหลักประชาธิปไตย รวมถึงสามารถเปลี่ยนตัวผู้บัญชาการเหล่าทัพได้
การทำเช่นนี้อาจจะเกิดปัญหาก็ได้ หรืออาจจะลดปัญหาก็ได้ แต่ถ้าไม่เข้าไปแก้ไข ยิ่งปล่อยไว้ยิ่งเป็นปัญหา แต่ปัญหาจะปะทุหนักหน่วงรุนแรงมากขึ้นหรือไม่เมื่อไร ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมทางการเมือง ความสัมพันธ์ระหว่างสองฝ่าย ตัวบุคคลที่จะมีอำนาจบทบาทอยู่ในแต่ละส่วนของรัฐบาลและกองทัพ แต่ที่สำคัญคือระบบที่ผิด
- ช่วงที่ผ่านมากองทัพมีบทบาทเหลื่อมกับการเมือง
ก็มามีบทบาทอีกครั้งหลังจากรัฐประหาร 2549 พอมาถึงขั้นนี้ผู้นำกองทัพที่มีบทบาทในการรัฐประหารได้มีบทบาทมาอย่างต่อเนื่องในสังคม ทั้งในระบบ ทั้งนอกระบบ จึงเป็นปัญหาต่อความเป็นประชาธิปไตย ฉะนั้นจึงต้อง หาทางแก้ ถ้าไม่แก้ต่อไปผู้นำกองทัพก็จะมายึดอำนาจอีก เข้ามาแทรกแซงการเมืองอย่างรุนแรง
++++++++++++++++++++++++++
ข้อเสนอที่เป็นไปไม่ได้ ทำให้ "ทักษิณ" หายไปจากโลกนี้
จาตุรนต์-เป็นคนการเมืองลำดับแรก ๆ ที่เคยเสนอวาระ "ก้าวข้ามทักษิณ"
เมื่อสถานการณ์พลิกผัน เพื่อไทยกลายเป็นฝ่ายกุมอำนาจ สามารถเสนอวาระและญัติบริหารประเทศแบบพลิกฟ้า คว่ำแผ่นดิน
ทุกข‰อเสนอ ทุกวาระประเทศไทย มีคำถามถึง "ผล" บรรทัดสุดท้ายที่ "ทักษิณ" จะได้ร่วมเสพ
เมื่อชื่อ "ทักษิณ" ยังตามหลอนฝ่ายตรงข้ามเพื่อไทย และกลุ่มอำนาจเก่า
จาตุรนต์-ตอบคำถาม "คือ...ทางหนึ่งที่จะแก้ปัญหานี้ได้ แต่ไม่มีทางที่เกิดขึ้นได้เลย คือการทำให้คุณทักษิณหายไปจากสารบบของประเทศไทยและในโลกนี้"
"หมายความว่ารัฐบาลกำลังทำเพื่อคุณทักษิณไม่ได้อีกแล้ว แต่สิ่งนี้จะไม่เกิดขึ้น เพราะคุณทักษิณยังอยู่ อยู่ในโลกซึ่งมีคนรับรู้ มีคนยอมรับมากพอสมควร และยังมีบทบาทที่เกี่ยวข้องกับสังคมไทยอยู่มากด้วย เพราะฉะนั้น สภาพการดำรงอยู่ของคุณทักษิณจึงเป็นสภาพความเป็นจริงที่ยังเป็นอยู่อย่างนี้"
ข้อเสนอของสาธารณะ ทั้งนักวิชาการ-องค์กรอิสระ ทั้งเรื่องปรองดอง แก้รัฐธรรมนูญ ล้างผลการรัฐประหาร ล้วนมีชื่อ "ทักษิณ" แนบท้าย "จาตุรนต์" บอกว่า เป็นเรื่องที่ผู้เสนอต้องชี้แจง และต้องทำใจว่าไม่มีทางเลี่ยงที่จะถูกมองว่าเกี่ยวข้องกับ "ทักษิณ"
"การจะผลักดันแก้ไขปัญหาของ บ้านเมืองทั้งในเรื่องความไม่เป็นประชาธิปไตย ความไม่สอดคล้องกับหลักนิติธรรม ความขัดแย้งที่รุนแรง มีข้อเสนอดีๆ เกิดขึ้นอยู่เป็นระยะ จะทำอย่างไรไม่ให้ถูกดิสเครดิตไปด้วยข้อกล่าวหาว่าทำเพื่อคนคนเดียวชื่อทักษิณ เป็นเรื่องที่ผู้เสนอต้องชี้แจง และอธิบายว่าข้อเสนอของตนนั้นมีเหตุมีผลอย่างไร มีประโยชน์ต่อประเทศชาติและประชาชนส่วนใหญ่อย่างไร"
"ต้องเข้าใจด้วยว่า ไม่มีวิธีใดที่จะหลีกเลี่ยงการถูกมองว่าเกี่ยวข้องกับ คุณทักษิณ เพราะในความเป็นจริงปัญหาความไม่เป็นประชาธิปไตยของประเทศไม่สอดคล้องกับหลักนิติธรรม ความขัดแย้งและวิกฤตของประเทศเกี่ยวข้องกับคุณทักษิณแทบทั้งสิ้น เนื่องจากคุณทักษิณเป็นฝ่ายถูกกระทำ"
"เพราะคุณทักษิณเป็นนายกรัฐมนตรีที่มาจากการเลือกตั้งแล้วถูกถอดออกไปจากการรัฐประหาร ถ้าเราพูดเรื่องความไม่สอดคล้องกับหลักนิติธรรม เช่น การใช้ประกาศคณะปฏิรูป ที่ออกโดยคณะรัฐประหารมายุบพรรคการเมือง และเพิกถอนสิทธิพรรคการเมืองโดยใช้กฎหมายย้อนหลัง มันล้วนแต่ขัดหลักนิติธรรมทั้งนั้น"
"คุณทักษิณก็คือหัวหน้าพรรคไทยรักไทย และเป็นผู้ที่ถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง 5 ปี เพราะฉะนั้นไม่มีวิธีที่จะเข้ามาแก้ปัญหา หรือการแก้วิกฤตของประเทศโดยไม่เกี่ยวข้องกับคุณทักษิณ เพราะคุณทักษิณคือเหยื่อคนที่หนึ่ง"
จาตุรนต์-มองชื่อ "ทักษิณ" เป็นทั้งวิกฤตและโอกาสของรัฐบาล "ยิ่งลักษณ์"
"ความคิดผม ยังเห็นว่าเป็นประโยชน์และเป็นโอกาสมากกว่า และถ้าจัดการดี ๆ ก็จะเป็นประโยชน์และเป็นโอกาสมากขึ้น แทนที่จะเป็นปัญหาก็จะเป็นน้อยลง จะคิดว่าไม่ให้รัฐบาล ยิ่งลักษณ์เกี่ยวข้องกับคุณทักษิณ หรือจะบอกว่าคุณทักษิณไม่ต้องมาเกี่ยวข้องกับรัฐบาลยิ่งลักษณ์เลยมันเป็นไปไม่ได้"
"เพราะตั้งแต่ตอนหาเสียงเลือกตั้งพรรคเพื่อไทยก็บอกแล้วว่าทักษิณคิด เพื่อไทยทำ ถือว่าคุณทักษิณคือบุคลากรที่เป็นประโยชน์ต่อพรรค และเป็นประโยชน์มากพอที่จะนำเอาความคิดและประสบการณ์ของคุณทักษิณมาแก้ปัญหาประเทศชาติ ซึ่งไม่ใช่ความคิดที่แปลกประหลาดอะไร"
"เท่าที่ดูคุณทักษิณก็ยังมีบทบาทในการช่วยคิดแนะนำรัฐมนตรีต่าง ๆ อยู่พอสมควร ถ้าหากว่ารัฐบาลนี้อาศัยคุณทักษิณอย่างเหมาะสม"
ข้อเสนอของฝ่ายค้านที่เคยท้าทายว่า ทำไม "ทักษิณ" ไม่กลับมาสู้คดี "จาตุรนต์" บอกว่าคำถามนี้เขาตอบแทน "ทักษิณ" ไม่ได้
"ผมคิดว่ามันเป็นเรื่องการมองความชอบธรรมในการดำเนินคดีกับคุณทักษิณที่ต่างกัน"
"คนที่เห็นว่ากระบวนการดำเนินคดีไปโดยชอบอยู่แล้วก็จะเรียกหาให้คุณทักษิณมาติดคุก แล้วสู้คดีแล้วก็ตั้งคำถามว่าทำไมไม่ทำอย่างนั้น แต่คนที่มองว่ากระบวนการดำเนินคดีกับคุณทักษิณนั้นขัดกับหลักนิติธรรม เขาก็จะไม่เห็นด้วยว่าทำไมคุณทักษิณต้องมาติดคุก ซึ่งการคิดแบบนี้ก็มีเหตุผลเหมือนกัน"
ประวัติศาสตร์ที่เคยบันทึกว่า "ไม่เคยมีอดีตนายกรัฐมนตรีคนไหนต้องติดคุก" สำหรับ "ทักษิณ" มีบริบท ที่ต่างไป "จาตุรนต์" คิดนานก่อนจะสรุปว่า...
"ในอดีตอาจไม่มีการตั้งหน้าตั้งตาประหัตประหารกันเท่านี้ หรือไม่ก็มีการประหัตประหารเหมือนกัน แต่ก็ไม่ได้ใช้กระบวนการที่เรียกว่าตุลาการภิวัตน ์อย่างมีประสิทธิภาพเท่ากับครั้งนี้"
ที่มา:ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
////////////////////////////////////////////////////////////////////////////
ไฟเขียวนักการเมืองใหญ่ ฮุบเหมืองแร่โปแตชด่านขุนทด เมืองโคราช
เอ็นจีโอซัดจ้องเขมือบผลประโยชน์เกลือมหาศาลมากกว่าแร่คุณภาพต่ำ นักวิชาการเตือน ผุดเหมืองแร่ชัยภูมิ เตรียมรับมือคนอีสานฮือต้าน เหตุเห็นผลกระทบสิ่งแวดล้อมชัด
วันนี้ (5 ต.ค.54) รายงานข่าวจากกระทรวงอุตสาหกรรมแจ้งว่า ได้มีการออกใบอนุญาตอาชญาบัตรสำรวจแร่โปแตช ให้กับ บจก.ไทยคาลิ จำนวน 4 แปลง ในพื้นที่ อ.ด่านขุนทด จ.นครราชสีมา โดยมีเนื้อที่ 4 หมื่นไร่ ใน ต.หนองบัวตะเกียด ต.หนองไทร ต.โนนเมืองพัฒนา ต.หนองไทร โดยอาชญาบัตรสำรวจมีอายุ 5 ปี คืออยู่ในช่วงเดือนสิงหาคม 2553 - สิงหาคม 2558
นอกจากนี้รายงานข่าวยังระบุอีกว่า บจก.ไทยคาลิ ยังดำเนินการคำขออาชญาบัตรพิเศษ ในพื้นที่ อ.บำเหน็จณรงค์ จ.ชัยภูมิ อีก 7 แปลง โดยเป็นพื้นที่ใกล้เคียงกับการอาชญาบัตรในพื้นที่ อ.ด่านขุนทด ที่ได้รับอนุญาตไปแล้ว ทั้งนี้ ขั้นตอนการขออนุญาตอาชญาบัตรพิเศษสำรวจแร่ ที่ อ.บำเหน็จณรงค์ ปัจจุบันอยู่ระหว่างการพิจารณาของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ให้พิจารณาเปิดพื้นที่ตามมาตรา 6 ทวิ ตามพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ.2510 ที่บัญญัติว่า ภายในพื้นที่ใดๆ ที่กำหนดให้เป็นเขตสำหรับดำเนินการสำรวจ การทดลอง การศึกษา หรือการวิจัยเกี่ยวกับแร่ ตามมาตรา 6ทวิ ผู้ใดยื่นคำขออาชญาบัตร (อาชญาบัตรสำรวจแร่ อาชญาบัตรผูกขาดสำรวจแร่ หรือ อาชญาบัตรพิเศษ) ประทานบัตรชั่วคราว หรือประทานบัตรไม่ได้ เว้นแต่ในกรณีที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เห็นสมควรให้ยื่นคำขอได้เป็นกรณีพิเศษโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า บจก.ไทยคาลิ จำกัด มีทุนจดทะเบียน 10,000,000.00 บาท (สิบล้านบาทถ้วน) กรรมการบริษัทมี 2 คน คือ นายวุฒิชัย สงวนวงศ์ชัย นางอินทิรา สงวนศ์ชัย บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น เป็นคนไทย 6 คน จำนวน 99,000 หุ้น ต่างด้าว 1 คน เป็นนักธุรกิจชาวออสเตรเลีย ถือหุ้น 1,000 หุ้น
ทั้งนี้ นายวุฒิชัย สงวนวงศ์ชัย เป็นอดีต ส.ส.ชัยภูมิ กลุ่มลำตะคอง และอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ระหว่างปี 2542-2544 แต่ถูกสิทธิ์ทางการเมืองบ้านเลขที่ 111 สมัยอยู่พรรคไทยรักไทย หลังจากนั้นได้ย้ายมาอยู่พรรคประชาธิปัตย์ จนถึงปัจจุบัน นอกจากนั้นนายวุฒิชัย ยังถือเป็นบุคคลที่มีบทบาทสำคัญในการชักนำ นายชาญชัย รวยรุ่งเรือง หรือ เหยียนปิน ให้เข้ามาถือหุ้นในโครงการเหมืองแร่โปแตชบำเหน็จณรงค์ จ.ชัยภูมิ และมีส่วนสำคัญในการผลักดันแก้ไขกฎหมายแร่ พ.ศ.2545 เพื่อสนับสนุนให้มีโครงการเหมืองแร่โปแตชบำเหน็จณรงค์เกิดขึ้น
ด้านนายสุวิทย์ กุหลาบวงษ์ ที่ปรึกษากลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอุดรธานี ตั้งข้อสังเกตว่า การที่ บจก.ไทยคาลิ มีทุนจดทะเบียนแค่สิบล้านบาท ส่วนตัวมองว่าเป็นการจดจองพื้นที่เอาไว้ก่อน เพราะหากจะลงทุนทำเหมืองโปแตชจริง จะต้องใช้เงินลงทุนเป็นพันๆ ล้านบาท คิดว่าหลังจากเสร็จสิ้นกระบวนการสำรวจแล้ว ไม่มีทางที่จะทำเอง นอกจากจะขายต่อในลักษณะนายหน้ามากกว่า เพราะคุณภาพแร่โปแตชด่านขุนทดที่เป็นพื้นที่ใกล้เคียงกับพื้นที่บำเหน็จณรงค์ เป็นแร่โปแตชชนิดคัลร์นัลไลท์ ที่มีเปอร์เซ็นต์โปแตชต่ำ การลงทุนย่อมไม่คุ้ม แต่สิ่งสำคัญที่ต้องการมากกว่าคือผลประโยชน์เกลือที่มีมูลค่า
“ขบวนการต่างๆ ที่ผ่านมา ชาวบ้านรับรู้ข้อมูล และการมีส่วนร่วมน้อยมากในพื้นที่ รัฐบาล กระทรวงอุตสาหกรรมไม่ได้ให้ข้อมูลด้านผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมที่แท้จริงกับชาวบ้าน ให้แต่ข้อมูลด้านเดียวคือเรื่องผลประโยชน์ ซึ่งมันเป็นเรื่องนามธรรมมาก” นายสุวิทย์ กล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ก่อนหน้านี้ ศ.ดร.ปริญญา นุตาลัย ได้เขียนเอกสารการประเมินสิ่งแวดล้อมเชิงยุทธศาสตร์ของเกลือโปแตชในภาคอีสาน โดยในช่วงหนึ่งของบทความดังกล่าวระบุประเด็นที่น่าสนใจว่า ขณะนี้มีบริษัทที่ได้รับประทานบัตร และได้รับ /ขออาชญาบัตรพิเศษสำรวจแร่โปแตชแล้ว 7 บริษัทใน 6 จังหวัด รวมพื้นที่ทั้งหมด 654,145 ไร่ บริษัทที่จะทำให้ปัญหายุ่งยากมากขึ้นไปอีก คือ บริษัทที่ได้รับประทานบัตรแล้ว ถ้าเกิดปัญหาผลกระทบจากการขุดหรือแต่งแร่ขึ้น ไม่ว่าในด้านใดก็ตามในพื้นที่ จ.ชัยภูมิ จะทำให้โครงการทั้งหมดอีก 5 จังหวัดต้องหยุดลงทันที เพราะจะเกิดเครือข่ายประชาชนลุกฮือขึ้นต่อต้านในภาคอีสานทันที
รายงานโดย: ศูนย์สื่อชุมชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (ศสธ.)
ภาพเหมืองแร่จาก: http://www.pinonlines.com/?q=node/44
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)
รีโมท
ซื้อ รีโมท จากผู้ค้าส่งโดยตรง ที่มีหน้าร้านจริง ที่ บ้านหม้อ และ คลองถม ราคาถูกกว่าใคร ปลอดภัย มีรับประกัน