วันพุธที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2554
เอแบคโพลล์ชี้ความสุขมวลรวมด้านการเมือง-เศรษฐกิจต่ำลง-ความจงรักภักดีต่อสถาบันพุ่งสูงสุด
ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการศูนย์เครือข่ายวิชาการเพื่อสังเกตการณ์และวิจัยความสุขชุมชน มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิจัยเชิงสำรวจ เรื่อง รายงานดัชนีความสุขมวลรวมหรือ Gross Domestic Happiness (GDH)
ใน ช่วงโค้งแรกของรัฐบาล ภายใต้การนำของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี จำนวน 26 ตัวชี้วัด แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มได้แก่ ด้านสังคม ด้านเศรษฐกิจ และด้านการเมือง พบว่า
จากค่าอ้างอิงความสุขอยู่ที่ระดับ 100 จุด ผลการศึกษาด้านสังคมปรากฏว่า
ประชาชนมีความสุขที่ได้เห็นประชาชน แสดงความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์มากที่สุดอยู่ที่ระดับ 162.7 จุด
รองลงมาคือ ความสุขต่อบรรยากาศความสัมพันธ์ ของคนในครอบครัวช่วง 30 วันที่ผ่านมาอยู่ที่ 135.0 จุด
นอก จากนี้ มีความสุขต่อสุขภาพทางใจ 117.6 จุด มีความสุขต่อหน้าที่การงาน อาชีพที่ทำอยู่ 111.4 จุด มีความสุขต่อการให้บริการด้านการรักษาพยาบาลในชุมชน 110.7 จุด มีความสุขต่อคุณภาพด้านการศึกษาของบุตรหลาน 110.5 จุด
มีความสุขต่อสุขภาพทางกาย 108.8 จุด และมีความสุขต่อบรรยากาศความสัมพันธ์ของคนในชุมชนช่วง 30 วันที่ผ่านมาอยู่ที่ระดับ 107.7 จุด
ขณะ เดียวกัน ประชาชนไม่มีความสุขต่อสภาพถนนหนทาง ไฟฟ้า น้ำดื่มน้ำใช้ในชุมชนเพราะได้ค่าที่ 94.9 จุด ต่ำกว่าค่าอ้างอิงความสุขที่ระดับ 100 จุด ทั้งนี้ ยังไม่มีความสุขต่อวัฒนธรรมประเพณีไทยที่ถูกละเลยกันไป 86.8 จุด ไม่มีความสุขต่อภาพลักษณ์ของประเทศไทย คนไทย เด็กไทย 86.7 จุด
ส่วน ด้านความเป็นธรรมในสังคม ผลการศึกษาพบว่า ประชาชนยังไม่มีความสุขเพราะมีค่าความสุขต่ำกว่ามาตรฐานคือได้เพียง 78.8 ถือว่าน้อยที่สุดในตัวชี้วัดด้านสังคมของคนไทย แต่ค่าความสุขโดยภาพรวมด้านสังคมได้คะแนน 109.30 จุด สูงกว่าค่ามาตรฐาน
ถือ ว่า คนไทยมีความสุขด้านสังคมเพราะ ตัวชี้วัดเกี่ยวกับความจงรักภักดีของคนในชาติ ความสุขต่อครอบครัว สุขภาพทางใจ และอาชีพการทำงาน ถือเป็นปัจจัยบวกที่สำคัญ ต่อความสุขมมวลรวมด้านสังคมของประชาชนภายในประเทศไทย
แต่ที่น่าเป็น ห่วงคือ ผลการศึกษาพบว่า ประชาชนไม่มีความสุขต่อทุกตัวชี้วัดด้านเศรษฐกิจ ได้แก่ เรื่อง รายได้ส่วนตัวเปรียบเทียบกับช่วงเวลารัฐบาล นายอภิสิทธิ์ หรือจะเป็นเรื่องรายได้ครัวเรือน และการใช้จ่ายต่างๆ ในชีวิตประจำวัน การร้องเรียกสิทธิของผู้บริโภคจากกลุ่มนายทุนผู้ประกอบธุรกิจ และสภาวะเศรษฐกิจของประเทศ
โดยได้ค่าความสุขต่ำกว่ามาตรฐาน ได้แก่ 93.1จุด 83.2 จุด 75.6 จุด 74.7 จุด และ 61.3 จุด ตามลำดับ โดยค่าความสุขมวลรวมด้านเศรษฐกิจก็ต่ำกว่าค่ามาตรฐานเช่นกันคือได้ 77.58 หมายความว่า ประชาชนยังไม่มีความสุขต่อตัวชี้วัดด้านเศรษฐกิจ
มากกว่า นั้น ผลการศึกษายังพบว่า ประชาชนไม่มีความสุขต่อทุกตัวชี้วัดด้านการเมืองเช่นกัน ได้แก่ ไม่มีความสุขต่อนโยบายของรัฐบาลชุดปัจจุบัน เปรียบเทียบกับรัฐบาลยุคนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้เพียง 92.5 จุด ถือว่าต่ำกว่าค่ามาตรฐาน
นอกจากนี้ ประชาชนยังไม่มีความสุขต่อ การทำงานของรัฐบาลในการป้องกันแก้ไขปัญหาภัยพิบัติต่างๆ ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา 91.2 จุด ไม่มีความสุขต่อการทำงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ในการดูแลความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินในช่วง 30 วันที่ผ่านมา 90.8 จุด
ไม่ มีความสุขต่อการทำงานของรัฐบาลโดยภาพรวมช่วงนี้ 90.0 จุด ไม่มีความสุขต่อการพบเห็นการทำงานของเจ้าหน้าที่รัฐในช่วง 30 วันที่ผ่านมา 89.6 จุด ไม่มีความสุขต่อการทำงานของนักการเมืองฝ่ายค้าน 87.2 จุด
ไม่ มีความสุขต่อนักการเมืองระดับท้องถิ่นในชุมชน 80.4 จุด ไม่มีความสุขต่อคุณภาพนักการเมืองระดับชาติในช่วง 30 วันที่ผ่านมา 71.1 จุด และไม่มีความสุขต่อสถานการณ์การเมืองโดยภาพรวมในช่วง 30 วันที่ผ่านมา 68.2 จุด ตามลำดับ
โดยค่าความสุขมวลรวมด้านการเมืองก็ต่ำกว่า ค่ามาตรฐานเช่นกันคือได้ 84.56 หมายความว่า ประชาชนยังไม่มีความสุขต่อตัวชี้วัดด้านการเมือง
เมื่อพิจารณาโดยรวม ของแต่ละด้านพบว่า ประชาชนไม่มีความสุขมวลรวมด้านการเมือง 84.56 จุด ไม่มีความสุขมวลรวมด้านเศรษฐกิจ 77.58 จุด แต่มีความสุขมวลรวมด้านสังคม 109.30 จุด
อย่างไรก็ตาม เมื่อวิเคราะห์ตัวชี้วัดความสุขทั้ง 26 ตัวชี้วัดพบว่า ประชาชนมีความสุขเพียง 8 ตัวชี้วัดเท่านั้น ในขณะที่ประชาชนไม่มีความสุขต่อ 18 ตัวชี้วัดที่เหลือ
และค่าความ สุขมวลรวมของประชาชนภายในประเทศทุกด้าน รวมกันไม่มีความสุขอยู่ที่ระดับ 90.48 ซึ่งต่ำกว่าค่าความสุขมาตรฐานในการศึกษาครั้งนี้
ขอขอบคุณ มติชนออนไลน์
วิพากษ์โครงสร้างการรวมศูนย์ และข้อเสนอต่อการกระจายอำนาจให้จังหวัดจัดการตนเอง
เรื่องนี้ ไม่มีความรู้เลยครับ พี่ๆ อ่านแล้ว คิดอย่างไร คอมเม้น แนะนำกันด้วยนะครับ ขอบคุณครับ
ครม.มติตั้ง “อุกฤษ” เป็นประธาน กก.อิสระว่าด้วยหลักนิติธรรมแห่งชาติ รื้อศาล-องค์กรอิสระ อ้างเพื่อให้เกิดความเป็นธรรม สร้างเชื่อมั่นการลงทุน
นางฐิติมา ฉายแสง โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผลการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า
ที่ประชุม ครม.มีมติเห็นชอบให้แต่งตั้ง ศ.ดร.อุกฤษ มงคลนาวิน เป็นประธานกรรมการอิสระว่าด้วยหลักนิติธรรมแห่งชาติ โดยอาศัยอำนาจตามความในข้อ 4 วรรค 1 แห่งระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยหลักนิติธรรมแห่งชาติ 2554 เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ของรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล รวมทั้งองค์กรตามรัฐธรรมนูญ และหน่วยงานของรัฐ เป็นไปตามหลักนิติธรรมอย่างแท้จริง
โดยมุ่งหมายให้เกิดความเป็นธรรม ความชอบธรรม และความเสมอภาคของบุคคลในสังคม เพื่อให้บุคคลมีสิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาค ตลอดจนได้รับความยุติธรรมจากระบบกฎหมายภายใต้รัฐธรรมนูญ โดยไม่มีการเลือกปฏิบัติ ที่เกิดจากอคติต่าง ๆ ของผู้ที่มีอำนาจบังคับใช้กฎหมาย รวมทั้งยังเป็นการสร้างความเชื่อมั่นการลงทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศ
กรุงเทพธุรกิจ
0000000
รัฐบาลกำลังจะเหลิงอำนาจเข้าไปควบคุมทั้ง นิติบัญญัติ และ ตุลาการเชียวหรือ?
แค่ตามตัวนักโทษที่ศาลพิพากษามารับโทษให้ได้ นั่นคือการรักษาหลักนิติธรรม นิติรัฐแล้ว
ถ้าไม่เคารพคำพิพากษาของศาล ก็ไม่ควรมายุ่งเกี่ยวอะไรกับประเทศนี้
ไม่เคยได้ยินว่า ฝ่ายบริหารสามารถควบคุมดูแลการทำงานของ อำนาจตุลาการ และ นิติบัญญัติ
ทั้งสามอำนาจต่างมีอิสระแก่กัน มิใช่อำนาจใดเหนืออำนาจใด
นี่มันจะใกล้ๆ เผด็จการไปทุกทีแล้วนะ
ถ้าอำนาจบริหารไปแตะองค์กรอิสระ แตะศาลเมื่อไหร่ ก็อย่าหวังว่าจะอยู่กันอย่างเป็นสุข
อย่าคิดว่ามีเสียงมากในสภาแล้วจะทำอะไรตามใจตัวเองได้นะ สิบอกไห่
แคน ไทเมือง
00000000000
บทความย้อนหลัง ( พลพรรคเสื้อแดงอ้างอิงมากที่สุด)
ควันหลงคดียุบพรรค "อุกฤษ"วิพากษ์"คำวินิจฉัยสวนเลน"
8 มิถุนายน พ.ศ. 2550 21:48:00
คอลัมน์ บนความเคลื่อนไหว
กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : คำวินิจฉัยของตุลาการรัฐธรรมนูญที่ให้ยุบพรรคการเมือง 4 พรรค รวมทั้งพรรคไทยรักไทยนั้น ยังคงมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ตามมาอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะคำสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งกรรมการบริหารพรรคการเมืองที่ถูกยุบทุกคน โดยอาศัยบทบัญญัติตามประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (ประกาศ คปค.) ฉบับที่ 27 ข้อ 3 ซึ่งเป็นประกาศที่ออกมาภายหลังการกระทำความผิดของพรรคการเมืองที่ตกเป็นผู้ถูกร้อง
ล่าสุด ศ.ดร.อุกฤษ มงคลนาวิน อดีตประธานรัฐสภา และอดีตประธานคณะกรรมการตุลาการรัฐธรรมนูญหลายสมัย ออกมาวิพากษ์คำวินิจฉัยของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ "รุ่นน้อง" อย่างเผ็ดร้อน พร้อมเหตุผลประกอบที่น่าสนใจไม่น้อย
ศ.ดร.อุกฤษ เริ่มต้นที่องคาพยพของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ ซึ่งแตกต่างจากในอดีตอย่างสิ้นเชิง และนั่นคือปมเหตุแรกที่ทำให้เกิดปัญหา
"จริงๆ แล้วบทบัญญัติเกี่ยวกับคณะตุลาการรัฐธรรมนูญมีอยู่ในรัฐธรรมนูญเกือบทุกฉบับของประเทศไทย แต่สมัยก่อนองค์ประกอบของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญจะมีประธานรัฐสภาเป็นประธาน และมีกรรมการประกอบด้วยประธานศาลฎีกา เจ้ากรมอัยการ เจ้ากรมพระธรรมนูญ และผู้ทรงคุณวุฒิอีกจำนวนหนึ่ง โดยไม่ได้มีอำนาจมากมายเท่าปัจจุบัน ประเด็นที่จะขึ้นสู่คณะตุลาการรัฐธรรมนูญส่วนใหญ่จะเป็นปัญหาข้อกฎหมาย และตรวจสอบการแสดงบัญชีทรัพย์สินของนักการเมืองภายหลังการเลือกตั้งเท่านั้น"
ศ.ดร.อุกฤษ อธิบายว่า การที่องค์ประกอบของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญในอดีตมาจากผู้ทรงคุณวุฒิจากหลากหลายสาขา มีประสบการณ์สูง และเป็นผู้หลักผู้ใหญ่ในบ้านเมือง เมื่อวินิจฉัยกรณีใดออกมาจึงเป็นที่ยอมรับ เพราะไม่ได้มองประเด็นไปในทิศทางเดียวกันหมด ซึ่งผิดจากตุลาการรัฐธรรมนูญชุดปัจจุบันที่มีเฉพาะตัวแทนจากฝ่ายตุลาการ
"ศาลก็เปรียบเสมือนพระ เชี่ยวชาญด้านพระธรรมวินัย จึงย่อมไม่มีความรอบรู้ลึกซึ้งเกี่ยวกับความเป็นไปในเรื่องการเมือง ที่สำคัญคดีการเมืองต่างจากการพิพากษาอรรถคดีซึ่งเป็นหน้าที่หลักของศาล เพราะคดีทั่วๆ ไปจะพิจารณาไปตามข้อกฎหมาย แต่คดีการเมืองมีมิติที่ต้องพิจารณามากกว่านั้น และสุ่มเสี่ยงอย่างมากที่จะถูกวิพาษ์วิจารณ์ เพราะมีทั้งคนถูกใจและไม่ถูกใจ"
ประเด็นที่ดูจะคาใจอดีตประธานคณะตุลาการรัฐธรรมนูญผู้นี้มากที่สุด ก็คือการที่ตุลาการรัฐธรรมนูญชุดปัจจุบันวินิจฉัยให้การกระทำผิดของบุคคล เป็นการกระทำความผิดของพรรค และยังลงโทษคณะกรรมการบริหารพรรคทุกคนโดยใช้หลัก "สันนิษฐานว่ารู้เห็นกับการกระทำความผิด"
"จริงๆ แล้วถ้าผู้บริหารพรรคการเมืองคนใดกระทำผิด ต้องถือเป็นการกระทำของบุคคลนั้น เหมือนกรณีบริษัท ถ้ากรรมการบริษัทคนไหนโกง ก็ต้องเอาผิดเป็นรายบุคคล ไม่ใช่ไปยุบบริษัท หรือลงโทษกรรมการบริษัททุกคน เพราะหากกรรมการคนไหนพิสูจน์ได้ว่าตัวเองไม่เกี่ยวข้องหรือไม่ได้มีส่วนรู้เห็น ก็ไม่ต้องรับผิด นี่คือหลักการตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ยึดถือกันมาตลอด" ศ.ดร.อุกฤษ ระบุ และว่า
"การพิจารณากรณีที่เกี่ยวข้องกับการเมืองการปกครอง ต้องมองไกล และต้องตีความอย่างเคร่งครัดโดยยึดหลักนิติธรรมที่เรากำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญแทบทุกฉบับ นั่นก็คือต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ที่ถูกกล่าวหาคือผู้บริสุทธิ์ แต่คำวินิจฉัยของตุลาการรัฐธรรมนูญกลับไปสันนิษฐานว่ากรรมการบริหารพรรคทุกคนต้องรู้เห็นกับการกระทำความผิด ซึ่งผมคิดว่าเป็นการพิจารณาที่สวนทางกับหลักนิติธรรม ทุกอย่างจะถูกจารึกไว้ในประวัติศาสตร์ให้ลูกหลานและนักเรียนกฎหมายได้ศึกษากันต่อไป"
ศ.ดร.อุกฤษ ยังย้ำถึงหลักการในระบอบประชาธิปไตย ที่ต้องตีความเรื่องการแบ่งแยกอำนาจอธิปไตยอย่างเคร่งครัด คืออำนาจนิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการ เปรียบเสมือนถนน 3 เลนที่ให้รถ 3 คันวิ่ง ซึ่งรถแต่ละคันต้องไม่วิ่งข้ามเลน
"ฝ่ายนิติบัญญัติกับฝ่ายบริหารเกี่ยวพันกันโดยความเห็นชอบจากเสียงของประชาชนเป็นสำคัญ ฉะนั้นไม่ว่าจะทำถูกหรือผิด ในระบบประชาธิปไตยผู้ที่จะตัดสินลงโทษ ยกย่อง หรือชมเชย คือประชาชน เราจะไปดูถูกประชาชนว่าไม่มีความรู้ และเรามีความรู้มากกว่าจึงไม่ฟังเสียงประชาชนไม่ได้ ยิ่งถ้าฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดแสดงบทบาทก้าวข้ามเส้นแบ่งที่เหมาะสมระหว่าง 3 อำนาจอธิปไตย ก็เท่ากับฝ่ายนั้นกำลังวิ่งนอกเลน"
"บ้านเมืองเราปกครองในระบอบประชาธิปไตย หัวใจสำคัญของประชาธิปไตยคือการเลือกตั้งและพรรคการเมือง ถ้าเรามุ่งกำจัดพรรคการเมืองกับนักการเมือง แล้วหวังว่าจะได้พรรคใหม่ ได้คนรุ่นใหม่ที่มีอุดมการณ์ ผมบอกได้เลยว่าไม่มีทาง เพราะการเมืองก็คือการเมือง นักการเมืองก็คือนักการเมือง หากหวังว่าจะได้นักการเมืองในอุดมคติ คงต้องรออีกนาน ฉะนั้นวันนี้เราต้องใช้นักการเมืองเท่าที่มีอยู่ไปก่อน แล้วเร่งให้การศึกษาประชาชนเพื่อให้เข้าใจการปกครองระบอบประชาธิปไตยอย่างแท้จริง จึงจะแก้ปัญหาได้ แต่ที่ผ่านมาเราแทบไม่เคยทำในเรื่องเหล่านี้กันเลย"
คำวินิจฉัยของตุลาการรัฐธรรมนูญที่ให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของนักการเมืองนับร้อยคนเป็นเวลา 5 ปี เมื่อผนวกเข้ากับกระบวนการยกร่างรัฐธรรมนูญที่มีเจตนากีดกันและตีกรอบนักการเมืองอย่างเห็นได้ชัด ทำให้ ศ.ดร.อุกฤษ มองอย่างเป็นห่วงว่า สังคมการเมืองไทยในปัจจุบันกำลังดูถูกพลังของนักการเมืองมากเกินไป จนอาจนำไปสู่ความรุนแรงครั้งใหม่ได้
"นักการเมืองที่เป็นผู้แทนราษฎรได้ อาจจะไม่ใช่คนมีคุณธรรมมากมายนัก เพราะในสนามเลือกตั้งมีการแข่งขันกันสูง แต่พวกเขาก็ไม่ใช่คนเลว เดี๋ยวนี้เรากลับมองผู้แทนราษฎรเป็นคนเลว ทั้งๆ ที่ผู้แทนราษฎเป็นผู้ที่สัมผัสประชาชนมากที่สุด และรู้เรื่องบ้านเมืองดีที่สุด แต่เรากลับไปสกัดเขาออกไป เปรียบเหมือนผู้แทนเป็นปลาอยู่ในน้ำ รู้หมดว่าในน้ำมีอะไร แต่คนที่นั่งบนตลิ่งบอกว่าปลาพวกนี้ใช้ไม่ได้ ให้เอาออกไป แล้วกำหนดกฎเกณฑ์ใหม่ ผมอยากเตือนว่าอย่าไปดูถูกผู้แทนราษฎร"
"ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เป็นรัฐธรรมนูญที่ร่างโดยคนไม่มีความรู้เรื่องการเมือง ส่วนใหญ่ไม่เคยนั่งในสภา และไม่เคยผ่านการเลือกตั้ง จึงมีแนวโน้มที่จะนำไปสู่ความขัดแย้งอย่างสูง กลายเป็นการแก้ปัญหาแบบลิงแก้แห ใช้คนไม่รู้จริงมาแก้ปัญหาบ้านเมือง ไม่รู้จริงแล้วยังไม่ศึกษาประวัติศาสตร์ และขาดประสบการณ์ ที่สำคัญคือมีอคติกับนักการเมือง เมื่อเป็นอย่างนี้คงหาความสามัคคีไม่ได้ ผมอยากบอกว่าถึงวันนี้ระวังม็อบจะจุดติดขึ้นมา เพราะราดน้ำมันลงไปเรียบร้อยแล้ว"
"ผมก็ได้แต่ภาวนาว่า อย่าให้เกิดความรุนแรงที่กระทบถึงประชาชนและบ้านเมืองอีกเลย" เป็นคำเตือนส่งท้ายของบุรุษผู้คร่ำหวอดการเมืองไทยที่ชื่อ อุกฤษ มงคลนาวิน!
กรุงเทพธุรกิจ
ตะลึง!!! 300 นักการเมืองรวยขึ้น 4 พันล้าน ปชป.พรึ่บ!
เปิด
ชื่อ 300 นักการเมืองรวยขึ้นหลังพ้นตำแหน่ง ส.ส.กว่า 4 พันล้าน ตุนอื้อ
หุ้น ที่ดิน เงินฝาก ปชป.ท็อป 10 คุณหญิงกัลยาลิ่ว 422 ล้าน -ส.ส.กรุงเทพฯ
เจ้าของน้ำมันพืชเงินฝากเมียงอก 143.3 ล้าน บ้านเมีย“ประชา”โผล่ 40 ล้าน ศูนย์ข้อมูลและข่าวสืบสวนเพื่อสิทธิพลเมือง รายงาน ว่า ภายหลังจากคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ได้เปิดเผยบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) กรณีพ้นตำแหน่งเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2554(ยุบสภา) จากการตรวจสอบพบว่ามี ส.ส.ประมาณ 317 คนมีทรัพย์สินเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นจากตอนรับตำแหน่งวันที่ 22 มกราคม 2551 รวมมูลค่าทรัพย์สินเพิ่มขึ้นประมาณ 4.3 พันล้าน ในจำนวน 265 คนมีทรัพย์สินเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นมากกว่า 1 ล้านบาท เมื่อจำแนกรายละเอียดพบว่า ส.ส.ที่มีทรัพย์สินเปลี่ยนแปลงเพิ่มมากกว่า 100 ล้านบาท จำนวน 7 คน , มากกว่า 50 ล้านบาท แต่ไม่ถึง 100 ล้านบาท จำนวน 10 คน , มากกว่า 10 ล้านบาท แต่ไม่ถึง 50 ล้านบาท จำนวน 54 คน , มากกว่า 5 ล้านบาท แต่ไม่ถึง 10 ล้านบาท จำนวน 61 คน ที่เหลือเปลี่ยนแปลงต่ำกว่า 5 บ้านบาท นักการเมืองที่มีทรัพย์สินเพิ่มมากที่สุดคือ คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช เพิ่มจากตอนรับตำแหน่ง จำนวน 422,155,214.03บาท นายวิลาศ จันทร์พิทักษ์ จำนวน 302,935,294 บาท นางสาวเฉลิมลักษณ์ เก็บทรัพย์ 301,651,393.64 บาท นางผุสดี ตามไท 259,458,050.74 บาท นายเจริญ คันธวงศ์ 141,615,616.27 บาท นายอรรถวิชช์ สุวรรณภักดี 135,118,884.35 บาท นายชาญชัย อิสระเสนารักษ์ 116,981,845.57 บาท ทั้งหมดสังกัดพรรคประชาธิปัตย์ ทั้งนี้ ทรัพย์สินของคุณหญิงกัลยาที่เพิ่มขึ้นส่วนใหญ่มาจาก “เงินลงทุน” ของนายโชติ คู่สมรส จากเดิม มี458,414,980 บาท เพิ่มเป็น 778,310,771 บาท (เพิ่ม 319,895,791 บาท) ขณะที่คุณหญิงกัลยามีเงินลงทุนเพิ่มจาก 24,756,471 บาทเป็น 38,207,903 บาท (เพิ่ม 13,451,432 บาท) นายวิลาศ จันทรพิทักษ์ ทรัพย์สินที่เปลี่ยน แปลงเพิ่มขึ้นส่วนมากเป็นเงินฝากและเงินลงทุนของนางรัตนาภรรยา ในรายการเงินฝากภรรยานายวิลาศจากเดิมมี 310,990,370 บาท เพิ่มเป็น 454,301,247 บาท (เพิ่มขึ้น 143,310,877 บาท) รายการเงินลงทุนจากเดิม 177,170,500 บาท เพิ่มเป็น 336,223,551 บาท ( เพิ่มขึ้น 159,053,051 บาท) เป็นเจ้าของโรงงานน้ำมันพืช นางสาวเฉลิมลักษณ์ เก็บทรัพย์ ทรัพย์สินที่เปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นส่วนมากเป็นที่ดินจาก 14 แปลงมูลค่า 114,900,000 บาท เพิ่มเป็น 15 แปลง มูลค่า 411,900,000 บาท นางผุสดี ตามไท ทรัพย์สินที่เปลี่ยนแปลง เพิ่มขึ้นส่วนมากเป็นที่ดินของนายบดินทร์ คู่สมรส จากเดิม 19 แปลงมูลค่า 116,768,260 บาท เหลือ 15 แปลง แต่มูลค่าเพิ่มเป็น 389,104,260 บาท นายเจริญ คันธวงศ์ จากเดิมไม่ได้แจ้งรายการ ทรัพย์สินของนางเพ็ญธิราคู่สมรส ตอนพ้นตำแหน่งแจ้งว่าคู่สมรสมีทรัพย์สิน 139,384,724 บาท (เดิมไม่ได้แจ้งรายการทรัพย์สินของคู่สมรส) นายอรรถวิช สุวรรณภักดี จากเดิมโสด ตอนพ้นตำแหน่งแจ้งว่าสมรสกับ นางพิณ สุวรรณภักดี (เจ้าของบริษัท โคลัมเบีย โครม (ประเทศไทย) จำกัด มีทรัพย์สิน137,571,309 บาท ทรัพย์สินของนายชาญชัย อิสระเสนารักษ์ เปลี่ยนแปลงจากหนี้สิน จำนวน 155.3 ล้านบาทหายไปและมี “เงินให้กู้ยืม”เพิ่มขึ้น 40 ล้านบาท นางอานิก อัมระนันทน์ ทรัพย์สินเปลี่ยน แปลงเพิ่มขึ้นส่วนมากเป็นเงินลงทุน จาก 10,589,146 บาท เป็น 81,101,082 บาท นายปิยะสวัสดิ์ คู่สมรสเงินลงทุนจาก 67,371,673 บาท เป็น 97,823,8834 บาท นายสรวุฒิ เนื่องจำนงค์ ทรัพย์สินที่เปลี่ยนแปลงเพิ่มมาจากแจ้งว่ามีคู่สมรส (เดิมโสด) คือนางธิศา เนื่องจำนงค์ จำนวน 73,208,952 บาท นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ ทรัพย์สินเปลี่ยนแปลง เพิ่มขึ้นส่วนมากเป็นเงินลงทุน 254,742,370 บาท เป็น 332,688,530 บาท นางทยา คู่สมรส เงินฝาก จาก 158,462,107 บาท ลดลงเป็น 46,824,738 บาท แต่ “เงินให้กู้ยืม “จากไม่มี เป็นมี 115,249,060 บาท นายประชา ประสพดี ทรัพย์สินเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นส่วนมากจากทรัพย์สินนางนันทวรรณ ประสพดี คู่สมรส จากเดิม 153,943,834 บาท เพิ่มเป็น 203,425,194 บาท ในจำนวนนี้แจ้งว่ามีบ้านราคา 40,740,000 บาท นายอารยะ ชุมดวง ส.ส.สุโขทัย ทรัพย์สินเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นส่วนมากมาจากรายการที่ดิน จาก 20,610,000 บาท เป็น 106,428,670 บาท
นักการเมืองทรัพย์สินเพิ่ม
-คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช ประชาธิปัตย์ เพิ่ม 422,155,214.03 บาท -นายวิลาศ จันทร์พิทักษ์ ประชาธิปัตย์ เพิ่ม 302,935,294.0 บาท -นางสาวเฉลิมลักษณ์ เก็บทรัพย์ ประชาธิปัตย์ เพิ่ม 301,651,393.64 บาท -นางผุสดี ตามไท ประชาธิปัตย์ เพิ่ม 259,458,050.74 บาท -นายเจริญ คันธวงศ์ ประชาธิปัตย์ เพิ่ม 141,615,616.27 บาท -นายอรรถวิชช์ สุวรรณภักดี ประชาธิปัตย์ เพิ่ม 135,118,884.35 บาท -นายชาญชัย อิสระเสนารักษ์ ประชาธิปัตย์ เพิ่ม 116,981,845.57 บาท -นางอานิก อัมระนันทน์ ประชาธิปัตย์ เพิ่ม 98,700,686.5 บาท -นายสรวุฒิ เนื่องจำนงค์ ประชาธิปัตย์ เพิ่ม 87,629,446.81 บาท -นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ ประชาธิปัตย์ เพิ่ม 83,837,878.98 บาท -นายประชา ประสพดี เพื่อไทย เพิ่ม 83,659,720.62 บาท -นายอารยะ ชุมดวง มัชฌิมาธิปไตย เพิ่ม 69,933,571.83 บาท -หม่อมหลวงอภิมงคล โสณกุล ประชาธิปัตย์ เพิ่ม 60,530,698.24 บาท -พลตำรวจตรีวีระ อนันตกูล ประชาธิปัตย์ เพิ่ม 55,681,194.97 บาท -นางชนากานต์ ยืนยง ประชาราช เพิ่ม 54,684,278.28 บาท -นายไพโรจน์ ตันบรรจง พลังประชาชน เพิ่ม 51,689,395.79 บาท -นายชุมพล กาญจนะ ประชาธิปัตย์ เพิ่ม 50,212,323.41 บาท -นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ เพื่อไทย เพิ่ม 46,783,568.44 บาท -นายสุรพงษ์ อึ้งอัมพรวิไล ชาติไทย เพิ่ม 44,078,042.81 บาท -นายมนต์ชัย วิวัฒน์ธนาฒย์ พลังประชาชน เพิ่ม 42,109,333.31 บาท -นายประเสริฐ ชัยกิจเด่นนภาลัย เพื่อไทย เพิ่ม 39,880,884.66 บาท -นายสมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ ประชาธิปัตย์ เพิ่ม 38,373,202.29 บาท -นางสาววิสาระดี เตชะธีราวัฒน์ เพื่อไทย เพิ่ม 37,215,497.08 บาท -นายกัมพล สุภาแพ่ง ประชาธิปัตย์ เพิ่ม 33,521,812.91 บาท -นายอัศวิน วิภูศิริ ชาติไทย เพิ่ม 32,664,109 บาท -นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ ประชาธิปัตย์ เพิ่ม 32,354,384.19 บาท -นายสุวัฒน์ วรรณศิริกุล พลังประชาชน เพิ่ม 31,364,224.35 บาท -นายสมควร โอบอ้อม ประชาธิปัตย์ เพิ่ม 30,178,420.73 บาท -นายสุชาติ ตันติวณิชชานนท์ เพื่อแผ่นดิน เพิ่ม 28,806,654.58 บาท -นายธเนศ เครือรัตน์ เพื่อไทย เพิ่ม 28,550,751.36 บาท -นางสาวตรีนุช เทียนทอง ประชาราช เพิ่ม 26,563,985.09 บาท -นายวินัย เสนเนียม ประชาธิปัตย์ เพิ่ม 26,412,695.89 บาท -นายไกรศักดิ์ ชุณหะวัณ ประชาธิปัตย์ เพิ่ม 25,967,450.62 บาท -นายบุญจง วงศ์ไตรรัตน์ พลังประชาชน เพิ่ม 24,998,698.21 บาท -นายรังสิกร ทิมาตฤกะ พลังประชาชน เพิ่ม 23,746,751.13 บาท -นายอดิศักดิ์ โภคกุลกานนท์ พลังประชาชน เพิ่ม 23,475,398.92 บาท -นายอนุสรณ์ ปั้นทอง พลังประชาชน เพิ่ม 22,842,232.39 บาท -นางสาวณิรักานต์ ศรีลาภ ประชาธิปัตย์ เพิ่ม 22,231,736.02 บาท -นายไชยยศ จิรเมธากร เพื่อแผ่นดิน เพิ่ม 21,220,998.15 บาท -พันตำรวจโทสุรทิน พิมานเมฆินทร์ พลังประชาชน เพิ่ม 20,078,515.94 บาท -นายกฤษดาภรณ์ เสียมภักดี เพื่อไทย เพิ่ม 19,643,246.44 บาท -นายวิฑูรย์ นามบุตร ประชาธิปัตย์ เพิ่ม 18,317,132.76 บาท -นายไตรรงค์ สุวรรณคีรี ประชาธิปัตย์ เพิ่ม 16,740,766.93 บาท -นายอัสนี เชิดชัย พลังประชาชน เพิ่ม 16,471,663.19 บาท -นางลินดา เชิดชัย พลังประชาชน เพิ่ม 16,471,663.19 บาท -นายชวลิต วิชยสุทธิ์ เพื่อไทย เพิ่ม 16,284,039.42 บาท -นายพีรพันธุ์ พาลุสุข เพื่อไทย เพิ่ม 15,393,268.34 บาท -นายแพทย์ประสงค์ บูรณ์พงศ์ พลังประชาชน เพิ่ม 15,002,029.47 บาท -นายรณฤทธิชัย คานเขต เพื่อแผ่นดิน เพิ่ม 14,964,283.2 บาท -นายชุมพล จุลใส ประชาธิปัตย์ เพิ่ม 14,870,746.22 บาท -นายพรศักดิ์ เจริญประเสริฐ เพื่อไทย เพิ่ม 14,755,551.49 บาท -นายพฤฒิชัย วิริยะโรจน์ เพื่อไทย เพิ่ม 14,693,294.66 บาท -นายนัจมุดดีน อูมา พลังประชาชน เพิ่ม 14,474,019.16 บาท -นายจักริน พัฒน์ดำรงจิตร เพื่อไทย เพิ่ม 14,158,421.89 บาท -นายนพคุณ รัฐผไท เพื่อไทย เพิ่ม 12,990,960.61 บาท -นายวัชรพงศ์ คูวิจิตรสุวรรณ ประชาธิปัตย์ เพิ่ม 12,927,130 บาท -นายเรวัต อารีรอบ ประชาธิปัตย์ เพิ่ม 12,205,259.3 บาท -นายสุชาติ ลายน้ำเงิน พลังประชาชน เพิ่ม 12,181,208.42 บาท -นายนิทัศน์ ศรีนนท์ พลังประชาชน เพิ่ม 12,119,996.22 บาท -นายมานะ โลหะวณิชย์ เพื่อไทย เพิ่ม 11,838,730.45 บาท -นายธนิตพล ไชยนันทน์ ประชาธิปัตย์ เพิ่ม 11,827,784.57 บาท -นายสุทัศน์ เงินหมื่น ประชาธิปัตย์ เพิ่ม 11,731,602.74 บาท -ร้อยตรีหญิงระนองรักษ์ สุวรรณฉวี เพื่อแผ่นดิน เพิ่ม 11,301,788.1 บาท -นายพ้อง ชีวานันท์ พลังประชาชน เพิ่ม 11,158,260.3 บาท -นายการุณ โหสกุล เพื่อไทย เพิ่ม 11,151,851.86 บาท -นายประนอม โพธิ์คำ เพื่อแผ่นดิน เพิ่ม 10,730,535.54 บาท -นายฐานิสร์ เทียนทอง ประชาราช เพิ่ม 10,669,050.03 บาท -นายวิชาญ มีนชัยนันท์ เพื่อไทย เพิ่ม 10,469,083.35 บาท -นายเกียรติกร พากเพียรศิลป์ มัชฌิมาธิปไตย เพิ่ม 10,407,486.14 บาท -นายสุรเชษฐ์ มาศดิตถ์ ประชาธิปัตย์ เพิ่ม 10,287,465.7 บาท -นายอัฏฐพล โพธิพิพิธ ประชาธิปัตย์ เพิ่ม 10,265,129.35 บาท |
เมื่อไทยถูก "ฮุน เซน" ใช้สร้างฉาก
ไทยโพสต์
ทุกข์เพราะ "ท่วมหนัก" พอทนได้ แต่ทุกข์เพราะ "ท่วมนาน" นี่ซีครับ มันสุดแสนจะเหลือทนจริงๆ ผมหมายถึงสภาพน้ำจากฝนที่ตกหนักและตกนาน จาก ปิง-วัง-ยม-น่าน ปีนี้ แล้วทะลักรวมเป็นสายเจ้าพระยา เป็นน้ำป่า-น้ำเมือง บ่าไหล เอิบอาบซาบซ่าไปทั่วไทย ทั้งเหนือ-อีสาน-ใต้-ออก-ตก และกลาง
คงไม่ใช้น้ำ "ล้างประเทศ"
น่าจะเป็นน้ำ "วัดใจ" ใครบางพวก-บางคนมากกว่า?
คือ สภาพตอนนี้สรุปว่า พี่น้องประชาชน "ทุกภาค" ตกอยู่ในสภาพเดียวกัน-หัวอกเดียวกันหมด เห็นรัฐบาลเขาออกข่าว เปิดศูนย์รับบริจาคขึ้นที่ "ทำเนียบรัฐบาล" เพื่อเอาไปช่วยเหลือผู้ประสบภัย ก็ไม่รู้มีใครไปบริจาคหรือเปล่า
เพราะ นอกจาก "ขาใหญ่" ในเครือเจือจุนทุนการเมืองด้วยกันแล้ว ในภาคประชาชนทั่วไป เท่าที่สังเกต รับรู้-รับทราบแล้ว แผ่ใจเมตตาแล้ว ดูจะถืออุเบกขากันเป็นส่วนใหญ่
ผิดกับตอน "ช่วยสัตว์โลกตกทุกข์ได้ยาก" ที่นครพนม ไม่ทันต้องรอให้ใครเป็นตัวตั้ง-ตัวตี
ไปบริจาคกันเอง...
พรึ่บเดียว ๑๐-๒๐ ล้าน อาหารเม็ดงี้...กองเป็นภูเขาเลากา!
เหตุ ที่ชาวบ้านซึมๆ เฉยๆ ไม่ค่อยกระตือรือร้นช่วยเหลือกันเหมือนทุกครั้งที่ผ่านมา ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะ ต่างมั่นใจรัฐบาลนี้ว่า มีความพร้อมสารพัด บวกกับทุกครั้ง-ทุกคำ นายกฯ ยิ่งลักษณ์จะพูดว่า
"ขอทำงานช่วยเหลือปาก-ท้องพ่อแม่พี่น้องก่อน"!
ชาวบ้านก็เลยทั้งเบา-ทั้งอุ่นใจ คงไม่พล่อยแต่ปาก รัฐบาลเองก็พูดประจำว่า "คนส่วนใหญ่" ของประเทศเลือกเขามา
ดัง นั้น เมื่อได้ดีแล้ว จะไปนั่งมีสุข เสวยเงินเดือนเฉียดแสน หรือแสนกว่า กันอยู่ตามทำเนียบฯ-ตามกระทรวง โดยไม่ห่วง ไม่มาช่วยเหลือเจือจานคนส่วนใหญ่ของประเทศที่ประสบภัย แบบใจถึงใจ ได้อย่างไรกัน?
วันก่อนยังเห็นนายกฯ ยิ่งลักษณ์นั่งเรือตรวจการณ์อยู่แถวๆ อยุธยา...หวานซะ และวานซืนก็เห็นไปเยี่ยมชาวบ้านที่น้ำปาด อุตรดิตถ์ ท่านายกฯ สวมบู๊ตเดินขอนไม้ นางแบบบนแคตวอล์กยังต้องอาย...แอ่นระแน้ น่ารั้กกก...น่ารัก!
อีกส่วนหนึ่ง อาจเป็นเพราะคนไทยมีนิสัยให้เกียรติ "ผู้ใหญ่ก่อน" ถ้าผู้ใหญ่ไม่เจิม หรือไม่ตัดริบบิ้น ผู้น้อยทั้งหลายได้แต่นั่งน้ำลายสอ ใครขืนขยับ เผลอๆ เจอข้อหาสังคม...ไอ้นี่...ข้ามหน้า-ข้ามตา
โทษหนักกว่า "ข้อหากบฏ" เป็นร้อยเท่า!
ดัง นั้น เหตุที่ระดับรัฐบาลประกาศเป็นเจ้าภาพ เปิดรับบริจาคช่วยเหลือผู้ประสบภัย แต่ชาวบ้านไม่ (ค่อย) ไป ไม่ใช่เพราะรังเกียจ ไม่ต้องการทำบุญร่วมรัฐบาล-ทอดสะพานร่วมลำคลองหรอก แต่เพราะรอ "ผู้ใหญ่" นำร่องน่ะ
รอ "ผู้ใหญ่" อย่างทักษิณ ที่มีเงิน ๕-๖ แสนล้าน ติดอันดับที่ ๑๖ มหาเศรษฐีของประเทศ ที่เคยใช้คำว่า "พี่น้องประชาชนของผม"
ไหน...ควักประเดิมซัก ๑,๐๐๐ ล้านบาทซิ!
ผู้ใหญ่คนต่อไป ที่เคยได้ใบบุญจากระบบรัฐเอื้อมากมาย คุณหญิงพจมาน นายบรรณพจน์ ซักคนละ ๕๐๐ ล้านซิ!
ผู้ใหญ่รุ่นเยาว์อย่าง โอ๊ค-เอม-อุ๊งอิ๊ง ไหนๆ สรรพากรก็ไม่อุทธรณ์แล้ว ปัดเศษบริจาคซักคนละ ๑๐๐ ล้านซิ!
แล้ว ครม.ทั้งชุด เริ่มจากท่านนายกฯ แต่นายกฯ ต้องมากกว่าเขา นายพิชัย นริพทะพันธุ์ นายสันติ พร้อมพัฒน์ นายวิรุฬ เตชะไพบูลย์ กลุ่มนี้ ควักอะไรก็ควักได้ ควักมาช่วย "ประชาชนของผม" ที่ทำให้ได้เป็นรัฐมนตรี มันจะซักเท่าไหร่เทียว
นายกฯ ยิ่งลักษณ์ ๕๐๐ ล้าน
นายพิชัย นายสันติ นายวิรุฬ ก็ต้อง ๓๐๐ ล้านเป็นอย่างต่ำ!
เนี่ย...ไม่ ถึง ๑๐ คน วนๆ รอบตัวรัฐบาล แค่ขนหน้าแข้งคนละครึ่งเส้น ก็ได้ประเดิมกองทุนช่วยเหลือผู้ประสบภัยแล้ว ไม่ต่ำกว่า ๒,๐๐๐-๓,๐๐๐ ล้าน
แค่ นี้...ปิดศูนย์รับบริจาคที่ทำเนียบฯ (รักษาฟอร์ม) ได้เลย ไม่ต้องไปรบกวนชาวบ้านเขา ตอนนี้แต่ละคนก็จมทุกข์ในรูปแบบต่างๆ กันถ้วนหน้าอยู่แล้ว เอาเลือดกับนายกฯ ปูก็พอ อย่าไป "เอาเลือดกะปู" แบบแคะหัวตะปูจากชาวบ้านเลย
อ้อ...แล้วช่วยเอาน้ำสาดใต้ถุนพรรคทีเถอะ!
อย่าให้ไอ้หน้าขาวมันเห่าทุเรศจนเกินเหตุอย่างวันก่อนว่า "งบช่วยน้ำท่วมเหลือนิดเดียว รัฐบาลที่แล้วผลาญหมด"
คน ฟังน่ะ แม้เกลียดรัฐบาลที่แล้ว แต่เมื่อได้ฟังคำพูดแบบนี้ ความเกลียดย้ายที่มารัฐบาลนี้ทันที เพราะมันเป็นตรรกะเถื่อนสถุล คนฟังไม่รับมุกด้วย ส่อถึงโมหาคติทางการเมือง และจิตทรามชัดๆ!
แต่ถ้า "ผู้ใหญ่" ของคณะรัฐบาลดังที่กล่าวมาไม่บริจาค ก็ไม่เป็นไร เพราะเงินของประชาชนเองที่รัฐบาลเก็บเขามาในรูปภาษีต่างๆ มันมีอยู่ในรูป "งบประมาณแผ่นดิน" อยู่แล้ว รัฐบาลลงทุนแค่ "ความเอาใจใส่" ด้วยจิตสำนึก จัดสรรให้ถูกที่-ถูกกาล อย่าไปกองอยู่แต่หมู่บ้านหัวคะแนนก็แล้วกัน
ช่วงนี้ไม่จำเป็นต้องรีบตะลอนๆ ไปโชว์ตัวในฐานะ "นายกฯ น้องใหม่" ตามประเทศต่างๆ หรอก...หนูเอ๊ย!
งาน อะไรมันจะ "ใหญ่กว่า-สำคัญกว่า" ของคนการเมืองเท่างาน "ช่วยประชาชน" ในบ้านเมืองของตัวเองยามวิกฤติไม่มีแล้ว แต่เท่าที่สังเกต ทีมการเมืองของท่านดูจะจัดลำดับความสำคัญ "งานเร่งด่วน" ที่รัฐบาลต้องทำออกมาอย่างนี้นะ
- ตระเวนโชว์ตัว "นายกฯ น้องใหม่" ตามประเทศต่างๆ
- เร่งฎีกาเถื่อน ขอพระราชทานอภัยโทษให้ทักษิณ
- เร่งแก้รัฐธรรมนูญ นิรโทษกรรมให้ทักษิณ
- เร่งย้ายข้าราชการ โดยเฉพาะ ผบ.ตร. เอาเก้าอี้ให้พี่เมียทักษิณ
- เร่งจัดเก้าอี้ปูนบำเหน็จผู้ต้องหา นปช.ให้เข้ามาเป็นข้าราชการ
- เร่งตั้ง "หมู่บ้านแดง" รองรับเงินกองทุนในรูปแบบต่างๆ
- เร่งเอาเงินจากบัญชีแบงก์ชาติไปตั้ง "กองทุนมั่งคั่ง"
- เร่งล้มท่าเรือทวาย "ปลุกผีแลนด์บริดจ์" ที่ร่วมแผนกับดูไบ
- เร่งตกลงเรื่องแหล่งพลังงานในอ่าวไทยกับเขมร
- เร่งทำแผนบริหาร ๔ ปี ใช้เงิน ๑๕ ล้านล้าน ตามนโยบาย ๘ ด้าน
นี่...เอา เท่าที่ผมนึกได้นะ และขณะที่ชาวบ้านหลายๆ จังหวัดกระจองอแง ทั้งน้ำท่วม ไม่มีที่อยู่-ที่กิน ทั้งน้ำป่าหลากถล่มพังหมดหมู่บ้าน คนเจ็บ-ตาย หายไปอีกไม่รู้เท่าไหร่ แต่เรื่องที่รัฐบาลกระตือรือร้น "รีบทำ" ขณะนี้ คือ
ส.ส.นปช.เพื่อไทย ฟิตซ้อมฟุตบอลกันขยันขันแข็ง เตรียมยกคณะข้ามประเทศ ไปเตะกับเขมรในวันที่ ๒๔ กันยา ที่จะถึงนี้!
แต่...อ้อ... ก่อนถึง ๒๔ กันยา วานซืนนายกฯ ไปบรูไน เมื่อวานไปอินโดฯ วันปะรืน ที่ ๑๕ กันยา จะบินไปเขมร ไปโชว์ตัว "นายกฯ น้องใหม่" แห่งอาเซียนกับนายกฯ ฮุน เซน
ระวังนะ...การจัดลำดับความสำคัญงานแบบนี้ ตาชั่งมันจะบอกว่า "ปัญหาชาวบ้าน-ช่างหัวชาวบ้าน" ปัญหาทักษิณตะหากคือปัญหาแผ่นดินที่ต้องรีบแก้เพื่อทักษิณ แล้วสุดท้าย ประชาชนทั้งหลายจะพร้อมใจกันตะโกน
"ทักษิณ...ตัวหนักแผ่นดิน"!?
อีกอ ย่าง ตารางงานรัฐบาล นปช. ระหว่างวันที่ ๑๕-๒๔ ก.ย. ลองพินิจกันซิครับว่ามัน "บีบหัวใจ" สาธุชนคนทั่วไปหรือไม่ สำนักข่าวซินหัวรายงานถึงคำพูดฮุน เซน วานนี้ (๑๒ ก.ย.) ว่า
ทักษิณจะ เดินทางเยือนเขมรในวันที่ ๑๖ ก.ย.นี้ และพักอยู่จนถึงวันที่ ๒๔ ก.ย. เพื่อร่วมประชุม "อนาคตเศรษฐกิจสมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้" ซึ่งจัดโดยราชสมาคมเขมร ฮุน เซน ย้ำด้วยนะว่า
"ทักษิณไม่ได้มาเพื่อเจรจาเรื่องน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ"!
เป็น ฮุน เซน ดีๆ ไม่ชอบ กลับชอบเป็นตุ๊กแก แล้วยังบอกต่ออีกว่า แผนเยือนเขมรของทักษิณ กำหนดขึ้นก่อนแผนเยือนเขมรอย่างเป็นทางการในวันที่ ๑๕ ก.ย. ของนายกฯ ยิ่งลักษณ์ แล้วก็ยังไม่วายย้ำอีกว่า
"ทักษิณไม่มี หน้าที่เจรจาทำความตกลงเรื่องน้ำมันและก๊าซ รวมถึงประเด็นอื่นๆ กับเขมร เพราะเป็นหน้าที่ของรัฐบาลไทย จนถึงขณะนี้การเจรจาว่าด้วยน้ำมันและก๊าซระหว่างไทยกับเขมร ยังไม่เคยถึงขั้นบรรลุข้อตกลงใดๆ"
ทักษิณจะบรรยายหัวข้อเศรษฐกิจเอเชีย ที่พระราชวังสันติภาพ ในวันที่ ๑๗ ก.ย.ด้วย จากนั้น ฮุน เซน จะจัดพิธีต้อนรับชนิดเป็นทางการที่พระราชวังสันติภาพ และหารือเรื่องการพัฒนาเศรษฐกิจ ส่วนวันที่ ๑๘ ก.ย. ฮุน เซน-ทักษิณ จะตีกอล์ฟด้วยกัน
และ ๒๔ กันยา คณะพรรค นปช.เพื่อไทยในนาม "สมาชิกรัฐสภาและเจ้าหน้าที่ระดับสูงไทย" จะเตะฟุตบอลกับ "สมาชิกรัฐสภาและเจ้าหน้าที่ระดับสูงเขมร"
ครับ...พฤติกรรมตามกาลเวลา อยู่เหนือคำปฏิเสธที่ว่า "ไม่พบกัน" เพราะทั้งขณะยิ่งลักษณ์อยู่ในพนมเปญ ทั้งขณะคณะพรรค ส.ส.นปช.เพื่อไทยอยู่ในพนมเปญ
ทักษิณอยู่ที่นั่นตลอด!
ในโลกนี้ไม่มีอะไรบังเอิญขนาดนั้นหรอก ผมอยากจะบอกว่า
ยิ่ง ลักษณ์-ผู้นำบริหาร ส.ส.เพื่อไทย-คนอำนาจนิติบัญญัติ ไปพบกับนักโทษที่กฎหมายต้องการตัว ไปเป็นเบี้ยให้ฮุน เซน ใช้เป็น "หมากเขมร" เดินแต้มบุกในกระดาน "หมากการเมืองระหว่างประเทศ" ชิงตารุกกับบ้านเมืองไทยของตัวเอง
เช่นนี้ "ศักดิ์ศรีคน" คือพวกท่าน...ก็ขอทำใจ แต่ "ศักดิ์ศรีประเทศ" ที่ถูกพวกท่านและทักษิณทำไป
อัปยศ "ทั้งชาติ" ครับ.
ฮุน เซน หวังค่าต๋งเพิ่มจากบ่อนกาสิโน
โดย ทรงฤทธิ์ โพนเงิน | ||
| ||
|
เปิดรายละเอียด ! เงื่อนไข-สเป็ก รถยนต์คันแรก
มาแล้ว ! เงื่อนไข-สเป็ก รถยนต์คันแรก หลังครม. มีมติเห็นชอบแล้ว เริ่ม 16 ก.ย.54 ถึงวันที่ 31 ธ.ค.55
นาย
บุญทรง เตริยาภิรมย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า
ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.)
วันนี้มีมติเห็นชอบมาตรการภาษีสนับสนุนการมีรถยนต์คันแรก
กรมสรรพสามิตจะคืนเงินภาษีให้สำหรับรถคันละไม่เกิน 1 ล้านบาท ขนาดไม่เกิน
1,500 ซีซี โดยจะคืนเงินให้ 1 ปีนับตั้งแต่วันที่ซื้อ
และต้องถือกรรมสิทธิต่อเนื่อง 5 ปี ซึ่งสามารถขอคืนภาษีได้จากฐานคำนวนภาษี
ทั้งนี้ ให้เริ่มต้นตั้งแต่ 16 กันยายน 2554 เป็นต้นไป สิ้นสุด 31 ธันวาคม
2555
นพ.วรรณ
รัตน์ ชาญนุกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
คาดว่าจะมียอดจำหน่ายรถยนต์ที่ใช้สิทธิในมาตรการคืนภาษีรถยนต์คันแรกประมาณ 5
แสนคัน เน้นรถประหยัดพลังงาน (อีโคคาร์) รถยนต์นั่งขนาดไม่เกิน 1,500 ซีซี
และรถปิคอัพที่มีราคาไม่เกิน 1 ล้านบาท
ทั้ง
นี้ รัฐบาลได้ตั้งงบประมาณสำหรับการชดเชยภาษีสรรพสามิตดังกล่าวไว้ที่
30,000 ล้านบาท และมั่นใจว่าจะไม่เป็นภาระงบประมาณ
เพราะมาตรการนี้จะช่วยกระตุ้นยอดขายรถยนต์ในประเทศเพิ่มขึ้น
ซึ่งรัฐบาลจะได้ประโยชน์จากการเก็บภาษีรถยนต์เพิ่มขึ้นด้วย
ซึ่งมาตรการดังกล่าวมีเงื่อนไขว่าผู้ซื้อรถยนต์คันแรกต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า
21 ปีบริบูรณ์ และจะต้องไม่มีการโอนรถภายใน 5 ปี
นอก
จากนี้ ยังคาดว่าค่ายรถยนต์ต่างๆ น่าจะได้ประโยชน์จากโครงการนี้กันทั่วหน้า
โดยเฉพาะรถยนต์ขนาดเล็ก โดยการคืนภาษีจะคิดจากอัตราเปอร์เซ็นต์ของราคาซื้อ
ซึ่งรถยนต์แต่ละยี่ห้อจะได้รับเงินคืนภาษีไม่เท่ากัน
ซึ่งจะได้รับเงินคืนหลังจากซื้อรถไปแล้ว 1 ปี โดยอาจคืนในรูปเช็คเงินสด
ซึ่งยอดขายที่จะได้รับประโยชน์จากนโยบายนี้ คงขึ้นอยู่กับรสนิยมผู้ซื้อ
กำลังทรัพย์ การแข่งขันแคมเปญ โปรโมชั่น ลดแลกแจกแถม และบริการหลังการขาย
สำหรับมาตรการภาษีรถยนต์คันแรกที่กระทรวงการคลังเสนอ มีรายละเอียดของการดำเนินการต่างๆ ดังนี้
หลักเกณฑ์การคืนเงินสำหรับรถยนต์คันแรก
1.เป็นรถยนต์คันแรกของผู้ซื้อที่ซื้อตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.2554 จนถึงวันที่ 31 ธ.ค.2555
2.เป็นรถยนต์ราคาขายปลีกไม่เกิน 1 ล้านบาทต่อคัน
3.เป็นรถยนต์นั่ง ขนาดความจุกระบอกสูบไม่เกิน 1,500 ลูกบาศก์เซนติเมตร/รถกระบะ (Pick up)/รถยนต์นั่งกึ่งบรรทุก (Double Cab)
4.เป็นรถยนต์ที่ผลิตขึ้นในประเทศ ไม่รวมถึงรถยนต์ที่ประกอบจากชิ้นส่วนนำเข้าใช้แล้วจากต่างประเทศ (รถยนต์จดประกอบ)
5.คืนเงินเท่ากับค่าภาษีตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 1 แสนบาทต่อคัน
6.ผู้ซื้อต้องมีอายุ 21 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป
7.ผู้ซื้อต้องครอบครองรถยนต์ไม่น้อยกว่า 5 ปี
8.การคืนเงินจะคืนเมื่อครอบครองรถยนต์ 1 ปี ไปแล้ว (เริ่มจ่ายคืนให้ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.2555 เป็นต้นไป)
แนวทางการดำเนินงาน
1.ผู้
ซื้อรถยนต์ดังกล่าวตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2554 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2555
ต้องยื่นคำขอคืนเงินกับกรมสรรพสามิตหรือสำนักงานสรรพสามิตพื้นที่
พร้อมเอกสารหลักฐาน ดังนี้
-หนังสือยินยอมสละสิทธิ์การโอนภายใน 5 ปี
-สำเนาบัตรประชาชนและทะเบียนบ้านของผู้ซื้อ
-สำเนาหนังสือสัญญาเช่าซื้อ (ในกรณีเช่าซื้อ)
2.กรม
สรรพสามิตหรือสำนักงานสรรพสามิตพื้นที่มีหนังสือถึงกรมการขนส่งทาง
บกหรือสำนักงานขนส่งจังหวัด เพื่อขอตรวจสอบการครอบครองรถยนต์คันแรก
และแจ้งการสละสิทธิ์การโอนภายใน 5 ปีของผู้ซื้อ
3.กรมการขนส่งทางบกหรือสำนักงานขนส่งจังหวัดตรวจสอบและบันทึก “ห้ามโอนภายใน 5 ปี” ลงในคอมพิวเตอร์และในสมุดคู่มือการจดทะเบียน
4.กรมการขนส่งทางบกหรือสำนักงานขนส่งจังหวัดส่งหนังสือรับรองการครอบครอง รถยนต์คันแรก และสำเนาคู่มือการจดทะเบียนที่บันทึก “ห้ามโอนภายใน 5 ปี” ให้กรมสรรพสามิตหรือสำนักงานสรรพสามิตพื้นที่
5.กรม
สรรพสามิตหรือสำนักงานสรรพสามิตพื้นที่ตรวจสอบเอกสารหลักฐานต่างๆ
และสั่งจ่ายเช็คให้แก่ผู้ซื้อตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2555 เป็นต้นไป
กระทรวง
การคลังเสนอ ครม.อนุมัติและจัดสรรงบประมาณในปีงบประมาณ 2555 จำนวน 100
ล้านบาทเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการ
และเสนออนุมัติจัดสรรงบประมาณในปีงบประมาณ 2556 จำนวน 3 หมื่นล้านบาท
เพื่อคืนเงินสำหรับรถยนต์คันแรกเท่ากับค่าภาษีตามที่จ่ายจริง
แต่ไม่เกินคันละ 1 แสนบาท
กระทรวง
การคลังเสนอให้ครม.อนุมัติในหลักการให้หัวหน้าส่วนราชการกรมสรรพสามิต
(อธิบดีกรมสรรพสามิต)
หรือผู้ที่อธิบดีมอบหมายมีอำนาจอนุมัติให้คืนเงินสำหรับรถยนต์คันแรกให้กับ
ผู้ซื้อ และเสนอครม.มอบหมายให้กรมการขนส่งทางบก
กระทรวงคมนาคมให้ความร่วมมือกับกรมสรรพสามิตในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการแสดง
หลักฐานการครอบครองรถยนต์คันแรก การบันทึกข้อมูลห้ามจำหน่ายโอนรถยนต์ภายใน 5
ปี ตามมาตรการดังกล่าวของรัฐบาลต่อไป
พลิกแฟ้มมติครม.13 ก.ย.แต่งตั้งโยกย้ายล็อตใหญ่"ขรก.ประจำ-การเมือง"
มติชน
การประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2554 ณ ห้องประชุมคณะรัฐมนตรี ชั้น 2 สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ทำเนียบรัฐบาล นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี โดยมีวาระการแต่งตั้งข้าราชการการเมืองและข้าราชการประจำ จำนวนมาก
จากนั้นนางฐิติมา ฉายแสง โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี พร้อมด้วย นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด นางสาวอนุตตมา อมรวิวัฒน์ และนายชลิตรัตน์ จันทรุเบกษา รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แถลงข่าวดังนี้
1. แต่งตั้งผู้แทนรัฐบาลสำหรับการนำเสนอรายงานทบทวนสถานการณ์สิทธิมนุษยชนของ ประเทศไทยภายใต้กลไก Universal Periodic Review (UPR) ของคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ คณะรัฐมนตรีเห็นชอบและรับทราบตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอดังนี้
1.เห็นชอบแต่งตั้งให้นายสีหศักดิ์ พวงเกตุแก้ว เอกอัครราชทูต ผู้แทนถาวรไทยประจำสหประชาชาติ นครเจนีวา เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยในการนำเสนอรายงาน Universal Periodic Review (UPR) ในฐานะผู้แทนพิเศษของรัฐบาลไทย
2. รับทราบเกี่ยวกับการเตรียมการนำเสนอรายงานทั้งในส่วนของถ้อยแถลง การจัดทำคำชี้แจง ท่าทีเบื้องต้นต่อข้อเสนอแนะ และการพิจารณาคำมั่นโดยสมัครใจ โดยการเตรียมการดังกล่าวจะใช้บริบททางการเมืองและนโยบายของรัฐบาลชุด ปัจจุบันเป็นพื้นฐานสำคัญในการดำเนินการ โดยมีคณะกรรมการกำกับดูแลการจัดทำรายงานประเทศภายใต้กลไก UPR กลั่นกรอง และนำเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศให้ความเห็นชอบเพื่อคณะผู้แทน ไทยดำเนินการต่อไป
2. แต่งตั้งข้าราชการ (กระทรวงมหาดไทย)
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอแต่งตั้งนายสมคิด ใจยิ้ม ผู้อำนวยการสำนักการสอบสวนและนิติการ กรมการปกครอง ให้ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย (นิติกรทรงคุณวุฒิ) สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย ตั้งแต่วันที่ 8 มีนาคม 2554 ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นต้นไป และให้ข้าราชการดังกล่าวพ้นจากตำแหน่งที่ปรึกษาด้านกฎหมาย (นิติกรทรงคุณวุฒิ) สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงมหาดไทย ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2554 เนื่องจากครบเกษียณอายุราชการต่อไป
3. แต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (กระทรวงสาธารณสุข)
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอแต่งตั้งข้าราชการพลเรือน สามัญ สังกัดกระทรวงสาธารณสุข ให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิจำนวน 2 ราย ตั้งแต่วันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ดังนี้
1. นางจรุงศรี โกสินทรเสนีย์ ทันตแพทย์ เชี่ยวชาญ ด้านทันตกรรม กลุ่มงานทันตกรรม กลุ่มภารกิจวิชาการ โรงพยาบาลราชวิถี กรมการแพทย์ ดำรงตำแหน่ง ทันตแพทย์ทรงคุณวุฒิ ด้านทันตกรรม กลุ่มงานทันตกรรม กลุ่มภารกิจวิชาการ โรงพยาบาลราชวิถี กรมการแพทย์ ตั้งแต่วันที่ 12 มกราคม 2554
2. นางสาวดารณี หมู่ขจรพันธ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านมาตรฐานผลิตภัณฑ์ด้านสาธารณสุข (นักวิชาการอาหารและยาเชี่ยวชาญ) สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ดำรงตำแหน่ง ผู้ทรงคุณวุฒิด้านมาตรฐานผลิตภัณฑ์ด้านสาธารณสุข (นักวิชาการอาหารและยาทรงคุณวุฒิ) สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ตั้งแต่วันที่ 4 เมษายน 2554
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นต้นไป และให้ข้าราชการทั้ง 2 รายดังกล่าวพ้นจากตำแหน่ง ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2554 เนื่องจากครบเกษียณอายุราชการต่อไป
4. แต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งนักการข่าว ระดับทรงคุณวุฒิ
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่สำนักข่าวกรองแห่งชาติเสนอแต่งตั้งข้าราชการ พลเรือนสามัญ สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี ให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ จำนวน 2 ราย ตั้งแต่วันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ดังนี้
1. นายกัมพุช วุฒิวงศ์ ผู้อำนวยการสำนัก 1 สำนักข่าวกรองแห่งชาติ ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาด้านการพัฒนาระบบงานการข่าว (นักการข่าวทรงคุณวุฒิ) กลุ่มงานที่ปรึกษา สำนักข่าวกรองแห่งชาติ ตั้งแต่วันที่ 12 พฤศจิกายน 2553
2. นายสุรพล แสงหัตถวัฒนา ผู้อำนวยการสำนัก 11 สำนักข่าวกรองแห่งชาติ ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาด้านการต่อต้านการก่อการร้ายและอาชญากรรมข้ามชาติ (นักการข่าวทรงคุณวุฒิ) กลุ่มงานที่ปรึกษา สำนักข่าวกรองแห่งชาติ ตั้งแต่วันที่ 15 ธันวาคม 2553
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นต้นไป
5. แต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (กระทรวงการคลัง)
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงการคลังเสนอแต่งตั้งข้าราชการพลเรือน สามัญ สังกัดกระทรวงการคลัง ให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 ราย ตั้งแต่วันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ดังนี้
1. นายนิพิฐ อริยวงศ์ รองอธิบดีกรมธนารักษ์ ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาด้านพัฒนาการประเมินราคาอสังหาริมทรัพย์ (นักวิเคราะห์นโยบายและแผนทรงคุณวุฒิ) กรมธนารักษ์ ตั้งแต่วันที่ 4 เมษายน 2554
2. นางสาวจารุวรรณ จันทิมาพงษ์ รองอธิบดีกรมธนารักษ์ ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาด้านการบริหารเหรียญกษาปณ์และทรัพย์สินมีค่า (นักวิเคราะห์นโยบายและแผนทรงคุณวุฒิ) กรมธนารักษ์ ตั้งแต่วันที่ 4 เมษายน 2554
3. นายวัฒนา เชาวสกู รองอธิบดีกรมธนารักษ์ ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาด้านพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ (นักวิเคราะห์นโยบายและแผนทรงคุณวุฒิ) กรมธนารักษ์ ตั้งแต่วันที่ 20 เมษายน 2554
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นต้นไป และให้ข้าราชการลำดับที่ 2. พ้นจากตำแหน่งที่ปรึกษาด้านการบริหารเหรียญกษาปณ์และทรัพย์สินมีค่า (นักวิเคราะห์นโยบายและแผนทรงคุณวุฒิ) กรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2554 เนื่องจากครบเกษียณอายุราชการต่อไป
6. แต่งตั้งคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎร
คณะรัฐมนตรีรับทราบคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 158/2554 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการประสานงาน สภาผู้แทนราษฎร
เพื่อให้การดำเนินการในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับสภาผู้แทนราษฎรและรัฐสภา เป็นไปอย่างมีระเบียบแบบแผนตามระบบรัฐสภา ตลอดจนการประสานงานกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกรัฐสภา และพรรคการเมือง ในปัญหาต่าง ๆ ในด้านนิติบัญญัติให้ดำเนินการไปอย่างราบรื่น ซึ่งจะเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการสนับสนุนการดำเนินการของคณะรัฐมนตรีในการ เสนอร่างกฎหมาย และดำเนินการอื่นที่เกี่ยวข้องกับงานด้านนิติบัญญัติ และส่งผลให้การบริหารราชการแผ่นดินเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเรียบร้อย จึงสมควรแต่งตั้งคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรจากผู้ทรงคุณวุฒิที่มี ความรู้ ความสามารถ และความเชี่ยวชาญเหมาะสม เพื่อทำหน้าที่ประสานงานระหว่างคณะรัฐมนตรีกับสภาผู้แทนราษฎรและรัฐสภา ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ดังกล่าว
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 265 วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา 11 (6) และ (9) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ประกอบกับมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2554 จึงแต่งตั้งคณะกรรมการในการบริหารราชการแผ่นดินขึ้นคณะหนึ่ง เรียกว่า คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎร (ปสส.) โดยมีองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
1. องค์ประกอบ
1.1 ที่ปรึกษา/กรรมการ ประกอบด้วย นายวิทยา บุรณศิริ นายสุรวิทย์ คนสมบูรณ์
1.2 คณะกรรมการ ประกอบด้วย นายอุดมเดช รัตนเสถียร ประธานกรรมการ นายไพจิต ศรีวรขาน รองประธานกรรมการ คนที่ 1 นายพีรพันธุ์ พาลุสุข รองประธานกรรมการ คนที่ 2 นายนพคุณ รัฐผไท รองประธานกรรมการ คนที่ 3 พลตำรวจโท วิโรจน์ เปาอินทร์ รองประธานกรรมการ คนที่ 4 นายวิรัช รัตนเศรษฐ รองประธานกรรมการ คนที่ 5 นายพิษณุ หัตถสงเคราะห์ รองประธานกรรมการ คนที่ 6 นายชยุต ภุมมะกาญจนะ รองประธานกรรมการ คนที่ 7 นายสันต์ศักย์ จรูญ งามพิเชษฐ์ รองประธานกรรมการ คนที่ 8
กรรมการประกอบด้วย นายกมล บันไดเพชร นายก่อเกียรติ สิริยะเสถียร นายก่อแก้ว พิกุลทอง นายเกียรติ์อุดม เมนะสวัสดิ์ นายโกศล ปัทมะ นายจิรวัฒน์ ศิริพานิชย์ นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ นางชมภู จันทาทอง นายชวลิต วิชยสุทธิ์ นายชาญชัย ประเสริฐสุวรรณ นายไตรรงค์ ติธรรม นายธนิก มาสีพิทักษ์ นางนันทนา ทิมสุวรรณ นายนิทัศน์ ศรีนนท์ นายนิยม เวชกามา นายนิรมิต สุจารี นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล นายประสิทธิ์ ชัยวิรัตนะ นายประเสริฐ จันทรรวงทอง นายปริญญา ฤกษ์หร่าย นางปานหทัย เสรีรักษ์ นางสาวปาริชาติ ชาลีเครือ นางเปล่งมณี เร่งสมบูรณ์สุข นายพรชัย ศรีสุริยันโยธิน นางสาวพรพิมล ธรรมสาร นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ นายพลพีร์ สุวรรณฉวี นางพัชรินทร์ มั่นปาน นายพันธุ์ศักดิ์ เกตุวัตถา นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน นายพินิจ จันทร์สมบูรณ์ นายภราดร ปริศนานันทกุล นางสาวภูวนิดา คุนผลิน นายยุทธพล อังกินันทน์ นางสาวละออง ติยะไพรัช นายวรสิทธิ์ กัลป์ตินันท์ นางวราภรณ์ ตั้งภากรณ์ นายวัชรพล โตมรศักดิ์ นางวันเพ็ญ พร้อมพัฒน์ นายวินัย ภัทรประสิทธิ์ นายวีระวัฒน์ โอสถานุเคราะห์ นายสมชัย อัศวชัยโสภณ นายสัญชัย วงษ์สุนทรนายสัมภาษณ์ อัตถาวงศ์ นายสุนัย จุลพงศธร นายสุรชาติ ชาญประดิษฐ์ นางอนุรักษ์ บุญศล นางอนุสรา ยังตรง นายอภิรัต ศิรินาวิน นายอรรถพล วงษ์ประยูร และนายอิทธิรัตน์ จันทรสุรินทร์ โดยมีนายชลน่าน ศรีแก้ว เป็นกรรมการและเลขานุการ ร้อยโท ปรีชาพล พงษ์พานิช และนางสาวธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์ เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
1.3 ผู้แทนจากส่วนราชการ ประกอบด้วย 1) ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา 2) ผู้แทนสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี 3) ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีฝ่ายข้าราชการประจำด้านประสานกิจการภายในประเทศ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี เป็นกรรมการ
1.4 ฝ่ายเลขานุการ ประกอบด้วย 1) ผู้อำนวยการสำนักประสานงานการเมือง สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี 2) ผู้อำนวยการกลุ่มประสานงานการเมือง 1 สำนักประสานงานการเมือง สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
3) เจ้าหน้าที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีที่ได้รับมอบหมาย จำนวน 2 คน เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ 4) นางสาวทัศนีย์ สุวรรณเมฆ เป็นผู้ช่วยเลขานุการ
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2554 เป็นต้นไป
7. แต่งตั้งผู้ที่จะดำรงตำแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (กระทรวงยุติธรรม)
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอแต่งตั้ง พันตำรวจเอก สีหนาท ประยูรรัตน์ รองเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ให้ดำรงตำแหน่ง เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน และสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีจะได้แจ้งสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาเพื่อ พิจารณาให้ความเห็นชอบก่อนที่จะขอให้สำนักราชเลขาธิการนำความกราบบังคม ทูลพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งต่อไป
8. แต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงยุติธรรม)
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอแต่งตั้งข้าราชการพลเรือน สามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง กระทรวงยุติธรรม จำนวน 7 ราย ดังนี้
1. นายชาติชาย สุทธิกลม อธิบดี (บริหารสูง) กรมราชทัณฑ์ กระทรวงยุติธรรม ให้ดำรงตำแหน่งรองปลัดกระทรวง (บริหารสูง) สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงยุติธรรม
2. นางสุวณา สุวรรณจูฑะ อธิบดี (บริหารสูง) กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม ให้ดำรงตำแหน่งรองปลัดกระทรวง (บริหารสูง) สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงยุติธรรม
3. นายพิทยา จินาวัฒน์ รองปลัดกระทรวง (บริหารสูง) สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงยุติธรรม ให้ดำรงตำแหน่งอธิบดี (บริหารสูง) กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม
4. นางสุรีย์ประภา ตรัยเวช เลขาธิการ (บริหารสูง) สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด กระทรวงยุติธรรม ให้ดำรงตำแหน่งรองปลัดกระทรวง (บริหารสูง) สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงยุติธรรม
5. พันตำรวจเอก สุชาติ วงศ์อนันต์ชัย ผู้ตรวจราชการกระทรวง (บริหารสูง) สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ให้ดำรงตำแหน่งอธิบดี (บริหารสูง) กรมราชทัณฑ์ กระทรวงยุติธรรม
6. พันตำรวจเอก ดุษฎี อารยวุฒิ ผู้ตรวจราชการกระทรวง (บริหารสูง) สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงยุติธรรม ให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการ (บริหารสูง) สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ กระทรวงยุติธรรม
7. นายอำพล วงศ์ศิริ เลขาธิการ (บริหารสูง) สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ กระทรวงยุติธรรม ให้ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง (บริหารสูง) สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงยุติธรรม
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นต้นไป
9. แต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหาร ระดับสูง (กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา)
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาเสนอแต่งตั้งข้า ราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูงจำนวน 1 ตำแหน่ง คือ นายสุวัตร สิทธิหล่อ อธิบดี (นักบริหารระดับสูง) สังกัดกรมพลศึกษา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ให้ดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวง (นักบริหารระดับสูง) กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นต้นไป
10. แต่งตั้งประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ และกรรมการอื่น ในคณะกรรมการองค์การคลังสินค้า
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอแต่งตั้งประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ และกรรมการอื่นอีกไม่เกิน 5 คน รวม 7 คน ตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การคลังสินค้า พ.ศ. 2498 มาตรา 15 ดังนี้ 1. นายสุรศักดิ์ ศรีประภา ประธานกรรมการ 2. ศาสตราจารย์ พลตำรวจตรี ดร. พิศาล มุขแจ้ง รองประธานกรรมการ 3. รองศาสตราจารย์ พันเอก นพ. เกรียงชัย ประสงค์สุกาญจน์ กรรมการ
4. นายประสิทธิ์ บัวรักษ์ กรรมการ 5. ดร. อเนก เพิ่มวงศ์เสนีย์ กรรมการ 6. นายณัฐศิลป์ จงสงวน กรรมการ 7. ดร. พิชัย สนแจ้ง กรรมการ (หมายเลข 5.-7. คัดเลือกจากบัญชีรายชื่อตามประกาศกระทรวงการคลัง) โดยให้เริ่มวาระการดำรงตำแหน่งตั้งแต่วันที่ 13 กันยายน 2554 เป็นต้นไป ยกเว้นกรณี นายประสิทธิ์ บัวรักษ์ ให้เริ่มวาระการดำรงตำแหน่งตั้งแต่วันที่คณะกรรมการอัยการอนุมัติเป็นต้นไป
11. แต่งตั้งข้าราชการการเมือง (สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี)
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอแต่งตั้งบุคคล ให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการการเมือง ตำแหน่งประจำสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี จำนวน 4 ราย ดังนี้ 1. นางสาวช่อเพชร พึ่งพานทอง 2. นายวิสิทธิ์ ใสกระจ่าง 3. นางเรือนแก้ว ศรีหาคิม 4. นายดวงฤทธิ์ เบ็ญจาธิกุล ชัยรุ่งเรือง
12. แต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงเกษตรและสหกรณ์)
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอแต่งตั้ง นางสาวสุพัตรา ธนเสนีวัฒน์ รองปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ให้ดำรงตำแหน่ง ปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2554 เพื่อทดแทนผู้เกษียณอายุราชการ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นต้นไป
13. แต่งตั้งข้าราชการการเมือง (กระทรวงสาธารณสุข) คณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเสนอแต่งตั้งข้าราชการการเมือง จำนวน 4 ราย ดังนี้
1. นายพสิษฐ์ ศักดาณรงค์ (ปอย)ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
2. นายปิยะ อังกินันทน์ (แป๋ง) ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข
3. นายธวัชชัย สุทธิบงกช ดำรงตำแหน่งเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
4. นายเกรียงไกร กิตติธเนศวร ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 13 กันยายน 2554 เป็นต้นไป
14. ต่อเวลาการดำรงตำแหน่งและปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งของเลขาธิการ กปร.
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบ
1. การต่อเวลาการดำรงตำแหน่งและการปฏิบัติหน้าที่ของ นายเฉลิมเกียรติ แสนวิเศษ เลขาธิการคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ซึ่งจะดำรงตำแหน่งติดต่อกันครบ 4 ปี ในวันที่ 30 กันยายน 2554 ออกไปอีก 1 ปีจนถึงวันที่ 30 กันยายน 2555 ตามที่สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราช ดำริเสนอ 2. การขอทบทวนมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 13 มกราคม 2541 จากเดิมที่กำหนดให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีส่งเรื่องให้ ก.พ. กลั่นกรองให้ข้อมูลและเสนอความเห็นเพื่อประกอบการพิจารณาของคณะรัฐมนตรีก่อน นำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณา เป็นให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีตรวจสอบข้อมูลและประวัติการดำรงตำแหน่ง ร่วมกับสำนักงาน ก.พ. ก่อนนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณา ตามมติ ก.พ. ครั้งที่ 10/2554 เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2554 ตามที่สำนักงาน ก.พ. เสนอ
15. แต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ
(สำนักนายกรัฐมนตรี)
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่สำนักข่าวกรองแห่งชาติเสนอแต่งตั้ง นายฉัตรพงศ์ ฉัตราคม ที่ปรึกษาด้านการดำเนินงานข่าวกรองในต่างประเทศ (นักการข่าวทรงคุณวุฒิ) กลุ่มงานที่ปรึกษา สำนักข่าวกรองแห่งชาติ ให้ดำรงตำแหน่ง รองผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ สำนักข่าวกรองแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2554 เพื่อทดแทนผู้เกษียณอายุราชการ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นต้นไป
16. ขออนุมัติแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ (กระทรวงคมนาคม)
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรง ตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูงที่จะว่างลง ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2554 เนื่องจากผู้ครองตำแหน่งเกษียณอายุราชการ เพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่างลง ดังรายนามต่อไปนี้
1. นายวรเดช หาญประเสริฐ ผู้ตรวจราชการกระทรวง โอนย้ายไปดำรงตำแหน่ง อธิบดี กรมการบินพลเรือน
2. นายสมชัย ศิริวัฒนโชค ผู้ตรวจราชการกระทรวง โอนย้ายไปดำรงตำแหน่ง อธิบดี กรมการขนส่งทางบก
3. นายสมชาย จันทร์รอด อธิบดีกรมการบินพลเรือน โอนย้ายไปดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวง
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นต้นไป
17. แต่งตั้งข้าราชการการเมือง (กระทรวงคมนาคม)
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอแต่งตั้ง นายมานะ คงวุฒิปัญญา เป็นข้าราชการการเมืองตำแหน่งที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม (นายกิตติศักดิ์ หัตถสงเคราะห์) ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 13 กันยายน 2554 เป็นต้นไป
18. แต่งตั้งข้าราชการการเมือง (กระทรวงการต่างประเทศ)
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเสนอแต่งตั้ง นายพิเชษฐ์ หวังเทพอนุเคราะห์ เป็นข้าราชการการเมือง ตำแหน่งที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 13 กันยายน 2554 เป็นต้นไป
19. แต่งตั้งกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอแต่งตั้งบุคคลเป็นกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี จำนวน 2 ราย ดังนี้ 1. นายสมเกียรติ ศรลัมพ์ 2. นายเอนก หุตังคบดี โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่นายกรัฐมนตรีลงนามในประกาศแต่งตั้งและมอบหมายให้ เป็นผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงใดกระทรวงหนึ่งเป็นต้นไป เพื่อให้ผู้ได้รับแต่งตั้งลาออกจากตำแหน่งอื่น ๆ ที่เป็นลักษณะต้องห้ามได้ดำเนินการให้เรียบร้อย
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)
รีโมท
ซื้อ รีโมท จากผู้ค้าส่งโดยตรง ที่มีหน้าร้านจริง ที่ บ้านหม้อ และ คลองถม ราคาถูกกว่าใคร ปลอดภัย มีรับประกัน
คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค
บทความย้อนหลัง
-
►
2012
(274)
- ► กุมภาพันธ์ (51)
-
▼
2011
(1241)
-
▼
กันยายน
(189)
-
▼
14 ก.ย.
(13)
- เอแบคโพลล์ชี้ความสุขมวลรวมด้านการเมือง-เศรษฐกิจต่ำ...
- วิพากษ์โครงสร้างการรวมศูนย์ และข้อเสนอต่อการกระจาย...
- ครม.มติตั้ง “อุกฤษ” เป็นประธาน กก.อิสระว่าด้วยหลัก...
- ตะลึง!!! 300 นักการเมืองรวยขึ้น 4 พันล้าน ปชป.พรึ่บ!
- เมื่อไทยถูก "ฮุน เซน" ใช้สร้างฉาก
- ฮุน เซน หวังค่าต๋งเพิ่มจากบ่อนกาสิโน
- เปิดรายละเอียด ! เงื่อนไข-สเป็ก รถยนต์คันแรก
- พลิกแฟ้มมติครม.13 ก.ย.แต่งตั้งโยกย้ายล็อตใหญ่"ขรก....
- อายชาวโลกเขาไหมนี่ ?
- ลางบอกความพินาศ
- วิทยุชุมชนรวมพลต้านกสทช.
- ศาลปกครองแถลงคดี ตร.สลาย "ม็อบท่อก๊าซ" ยุคทักษิณ เ...
- ครม.อนุมัติและจัดสรรงบประมาณในปีงบฯ 2556 จำนวน 30,...
-
▼
14 ก.ย.
(13)
-
▼
กันยายน
(189)