วันเสาร์ที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2554
วิจารณ์ กมธ ยุค พท. เสื้อแดง
คอลัมน์ รายงานพิเศษ นสพ.ข่าวสด
ในที่สุดเก้าอี้ประธานกรรมาธิการ (กมธ.) ทั้ง 35 คณะ ในสภาผู้แทนราษฎร ได้รับการวางตัวเรียบร้อยแล้ว ตามโควตาของแต่ละพรรคที่จัดสรรกัน
เหลือเพียงรอให้กมธ.แต่ละชุดนัดประชุม เพื่อให้ขั้นตอนการเลือกประธานถูกต้องตามระเบียบ คาดว่าเรื่องจะจบได้ภายในสัปดาห์หน้า
ระหว่างนี้มีเสียงวิจารณ์ถึงภาพรวมของ กมธ. ทั้งในส่วนของพรรคเพื่อไทยที่ยึดกมธ.ในคณะด้านความมั่นคง กฎหมาย และสิทธิมนุษยชน ภายใต้การคุมทีมของส.ส.เสื้อแดง
โดยเฉพาะชื่อ การุณ โหสกุล ที่จะมานั่งเป็นประธานกมธ.ความมั่นคงแห่งรัฐ เรียกเสียงฮือฮาจากสังคมไม่น้อย
ขณะที่พรรคร่วมรัฐบาลเอง ก็ล็อกเก้าอี้ในคณะที่เกี่ยวข้องรัฐมนตรีของตัวเอง
ผู้คลุกคลีในแวดวงการเมือง มองเรื่องนี้อย่างไร
สุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย
ส.ว.สรรหา
เป็นปกติของรูปแบบการเมืองไทย การแบ่งสัดส่วนกมธ.ประจำสภาผู้แทนฯชุดนี้ แต่ละพรรคย่อมจัดสรรแบ่งผลประโยชน์ไว้ลงตัวแล้วว่าจะให้ใครมานั่งเป็นประธาน
แต่มันไม่ตอบโจทย์ที่ กมธ. ได้ตีกรอบอำนาจหน้าที่เพื่อตรวจสอบรัฐบาล ทั้งที่ควรจะช่วยคานอำนาจฝ่ายบริหารไว้ เพราะกมธ. ที่สำคัญๆ รัฐบาลก็ได้ไปควบคุม พรรคฝ่ายค้านเองก็เช่นกัน มีการควบกมธ.ที่ตัวเองคุมกระทรวงนั้นๆ อยู่
แต่สิ่งที่จะตอบโจทย์ คือผู้ที่มาดำรงตำแหน่งแต่ละประธาน ต้องมีความรู้ ความสามารถ มีประสบการณ์โดยตรงจริง หรือจะเลือกจากเกณฑ์อาวุโสก็แล้วแต่ ขอแค่ทำงานได้ทันที ไม่ใช่มาเริ่มต้นกันใหม่
การตรวจสอบรัฐบาลของ กมธ. ต่อจากนี้ไป หากเปรียบเทียบกับอดีตจะแตกต่างกันมาก ก่อนหน้านี้ยังมีอำนาจไม่เท่าปัจจุบัน เนื่องจากมีพ.ร.บ.คำสั่งเรียกของคณะกรรมาธิการของสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2554 ให้อำนาจการตรวจสอบมากขึ้น
อีกทั้งยังมีการร่างระเบียบกฎหมายลูกฉบับนี้ขึ้นมาแล้ว ว่าด้วยขั้นตอนและหลักเกณฑ์ในการส่งหนังสือและคำสั่งเรียกของคณะกรรมาธิการของสภาผู้แทนราษฎร
ซึ่งผู้ที่ฝ่าฝืนก็มีโทษทางอาญาด้วย
สิ่งเหล่านี้จึงต้องวางแผนในหลักการให้ดี ผู้มาทำหน้าที่ต้องคำนึงหลักความเป็นธรรม ทำเพื่อผลประโยชน์ของประเทศชาติ ไม่ใช่ทำเพื่อผลประโยชน์ตัวเอง
ผมไม่อยากเจาะจงในแง่รายบุคคลว่าใครเป็นอย่างไร แต่คนที่เคยมีความประพฤติโลดโผนมากๆ ขอแค่ให้ทำงานเพื่อสังคม เมื่อมาทำหน้าที่แล้วต้องกล้าตรวจสอบพวกพ้อง ห้ามละเว้นกันเอง และต้องมีมาตรฐานเดียว
อย่างไรก็ตาม ในความดีของกมธ.ชุดนี้ยังมีแสดงให้เห็นอยู่ถึงการถ่วงดุลอำนาจซึ่งกันและกัน โดยเฉพาะที่พรรคประชาธิปัตย์คุมกมธ.ตำรวจ และพรรคเพื่อไทยตรวจสอบในนามกมธ.ทหาร ซึ่งยังพอรับกันได้
นอกเหนือจากนี้ เราต้องให้โอกาสประธานทั้ง 35 คณะ พิสูจน์ผลงานก่อน จากนั้นฝ่ายตรงข้ามกันก็คงตรวจสอบกันเอง แต่ถ้าไม่ไหวก็ส่งมาให้วุฒิสภาช่วยเหลือ
ศุภชัย ใจสมุทร
โฆษกพรรคภูมิใจไทย
ประธานกมธ.ต้องเป็นผู้อาวุโสทั้งวัยวุฒิและคุณวุฒิ มีความรู้ มีประสบการณ์ รวมทั้งต้องเป็นผู้มีบารมีและได้รับความเคารพนับถือ
ถือเป็นการให้เกียรติกับกรรมาธิการในชุดนั้นๆ รวมทั้งข้าราชการชั้นผู้ใหญ่จากทุกกระทรวง ทบวง กรม ที่ต้องถูกเรียกมาชี้แจงในเรื่องต่างๆ ด้วย
หากเป็นบุคคลที่ไม่มีคุณสมบัติข้างต้น ถามว่าเป็นการให้เกียรติสภา และบุคคลที่เกี่ยวข้องกับกรรมาธิการชุดนั้นๆ หรือไม่
ยิ่งมีแขกต่างประเทศมาเยือน หรือประธานต้องนำคณะไปเยี่ยมสภาต่างประเทศ หากประธานมีคุณสมบัติไม่ครบถ้วนอาจดูไม่สง่างาม
ผมไม่ติดใจว่ากลุ่มเสื้อแดงจะนั่งอยู่ในกรรมาธิการชุดใด เพราะเป็นส.ส.เหมือนกัน แต่ติดใจตัวประธานกมธ.เท่านั้น
กมธ.มีหน้าที่ตรวจสอบถ่วงดุลฝ่ายบริหารให้เกิดประโยชน์กับประชาชน แต่ถ้าใช้วิธีพวกมากลากไป แทนที่จะเป็นฝ่ายตรวจสอบ กลับทำหน้าที่เป็นกับดักช่วยเหลือฝ่ายบริหารเสียเอง
ประชาชนจะไม่ได้รับประโยชน์ใดๆ ทั้งสิ้น
สมศักดิ์ ปริศนานันทกุล
อดีตรองประธานสภาผู้แทนราษฎร
กมธ.ทุกคณะไม่ได้สำคัญเฉพาะตัวประธาน แต่มีความสำคัญทั้งองค์คณะ ทุกคนล้วนมีบทบาทต่อความรับผิดชอบความทุกข์ของประชาชนที่ส่งผ่านมายังกมธ.แต่ละชุด
ไม่อยากให้มองที่ตัวบุคคล แต่ให้มององค์คณะที่ประกอบไปด้วยฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้าน ซึ่งช่วยถ่วงดุลการทำงานได้อยู่แล้ว ไม่ว่ากมธ.เสียงข้างมาก หรือกมธ.เสียงข้างน้อย ทุกเสียงย่อมมีความหมาย หากทำงานตรงไปตรงมา
บางครั้งกมธ.พิจารณาแนวทางหนึ่ง แต่สังคมไม่เห็นด้วยก็จะลงโทษการทำงานของบุคคลนั้นเอง
หากยึดตัวบุคคลว่าเป็นคนที่มีบาดแผล มีปัญหา จะแคลงใจกันเปล่าๆ แต่หากมองว่าการทำงานของกมธ.เป็นการทำหน้าที่ของฝ่ายนิติบัญญัติ เชื่อว่าทุกฝ่ายจะเคารพการทำงาน
กรณีมีชื่อ นายการุณ เป็นประธานกมธ.ความมั่นคงแห่งรัฐ ไม่เป็นปัญหาสังคม หากเรายึดที่ตัวบุคคล จะนึกถึงแต่การเข้ามาแก้แค้น
ขอย้ำว่าประธานไม่ได้มีบทบาทสำคัญ เพียงแค่ทำหน้าที่ดำเนินการประชุม สรุปการประชุม ไม่สามารถชักนำหรือเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริงจากการตรวจสอบได้
จิตติพจน์ วิริยะโรจน์
ส.ว.ศรีสะเกษ
การแบ่งสัดส่วนกมธ.ชุดนี้ เหมือนการจำลองสภาใหญ่ให้อยู่ในรูปของ กมธ. ที่ต้องผลัดกันถูกตรวจสอบ
จึงไม่ใช่เรื่องน่าเครียดอะไร หากต้องมีการโต้ตอบของ 2 ฝ่าย เมื่อถึงเวลาเชิญผู้ที่เกี่ยวข้องเข้าชี้แจงในชั้นสืบสวนสอบสวนเพื่อตรวจสอบปัญหา
คิดแง่ดี จะทำให้กระบวนการแสวงหาความเป็นจริงมีความเข้มข้นมากขึ้น
เราต้องแยกแยะให้เข้าใจใน 3 มิติก่อนว่า ด้านอำนาจหน้าที่ฝ่ายตุลาการ คนที่เป็นศัตรูกันจะมาเป็นผู้พิพากษาไม่ได้ แม้แต่ใน ชั้นตำรวจ
ส่วนฝ่ายบริหารก็ห้ามเช่นกันเพราะเป็นผู้มีส่วนได้เสียโดยตรงกับคู่กรณี จะมาใช้อำนาจปกครองในการตรวจสอบอีกฝ่ายไม่ได้
แต่อำนาจนิติบัญญัติ ในรัฐสภากลับออกแบบให้คู่ปรับสามารถตรวจสอบกันเองได้ และที่เขายอมกันก็เพราะถือว่าเป็นเพียงการแสดงความคิดเห็นเท่านั้น สามารถมีสิทธิ์ชี้แจงแสดงหลักฐานได้อยู่
ดังนั้น เรื่องความยากลำบากในการตรวจสอบของ กมธ. จึงไม่น่ามีปัญหา มีความกังวลน้อยกว่าที่ต้องเป็น รมว.กลาโหม รมว.ต่างประเทศ หรือรมว.ยุติธรรม ฯลฯ มาตรวจสอบกันเอง
แต่สิ่งที่ผมเป็นห่วง คือขั้นตอนการลงมติเรื่องต่างๆ ของกมธ. ที่จะต้องลงมติตัดสินโดยใช้ความรอบคอบ และควรพิจารณาตัวเองด้วยว่า เหมาะสมที่จะร่วมลงมติหรือไม่
รู้ๆ กันอยู่ว่ามีบุคคลในบางคณะกรรมาธิการ อาจมีส่วนเกี่ยวข้องหรือมีผลกระทบโดยตรงกับปัญหานั้นๆ อยู่ เรื่องนี้อยู่ในความสนใจของสาธารณชนเป็นอย่างมาก
จึงอยากเรียกร้องให้กมธ.สามัญประจำสภาผู้แทนราษฎร ต้องมีความโปร่งใส ให้โอกาสความเท่าเทียมแก่ทุกคนได้ชี้แจงแสดงข้อมูลหลักฐาน
ฉะนั้น เรื่องที่ว่าใครจะคุมด้านใด ไม่ใช่ปัญหามากนัก ในฐานะการทำหน้าที่ฝ่ายนิติบัญญัติจะไม่หนักใจเรื่องส่วนได้เสีย เพราะต้องการให้แสดงบทบาทข้อเท็จจริงกันอย่างเต็มที่อยู่แล้ว
ส่วนกรณีที่พรรคฝ่ายค้านอาจได้คุมกมธ. รองจากพรรครัฐบาล ก็ใช่ว่าจะไม่ดี คนเราต้องดีอย่างเสียอย่าง อย่างน้อยก็ยังได้คุมกมธ.ที่พรรคเป็นรัฐมนตรีกระทรวงนั้นๆอยู่
สำหรับนายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรครักประเทศไทย บางคนอาจมองว่าจะไปแย่งซีนประธานกมธ.ตำรวจ ผมกลับมองว่า ตำแหน่งรองประธานถือเป็นตำแหน่งที่มีเกียรติจริง แต่ก็ไม่ได้มีบทบาทมากมาย
รอเวลาอีกสัก 1-3 เดือน ให้ประธานกมธ. 35 คณะได้แสดงฝีมือก่อน เมื่อนั้นจึงค่อยมา วิพากษ์กันต่อ
วิจารณ์แซดรมต.ตีนแดง ลง'พื้นที่'ทำตัวไม่ติดดิน! นอนค้างคืนอยู่ที่โรงแรม ปล่อย'ปชช.'ทุกข์น้ำท่วม
Thaiinsider
"นายกฯ" ยอมรับลพบุรียังอ่วม เตรียมประสานกองทัพส่งฮ.แจกถุงยังชีพพื้นที่ห่างไกล มั่นใจกทม.รับมือได้ ยินดีให้ภาคเอกชนร่วมช่วยเหลือผู้เดือดร้อน ขรก.-สื่อวิจารณ์รมต.ลงพื้นที่เยียวยาผู้ประสบภัยน้ำท่วมตามคำสั่ง “นายกฯปู” แต่นอนค้างสบายในโรงแรม
วันที่ 30 ก.ย.2554 เวลา 15.40 น. ที่ทำเนียบรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงการเตรียมการป้องกันน้ำที่จะท่วมกทม.ว่า ได้ย้ำกับทางผู้ว่าฯ กทม.ไปแล้ว ซึ่งท่านก็ให้ความมั่นใจ เพราะกทม.มีการวางพื้นฐานในเรื่องของเขื่อนมารองรับอยู่แล้ว แต่ที่สำคัญเราก็ต้องมาดูแลบริเวณปริมลฑลด้วย เช่น จ.นนทบุรี สมุทรปราการ ฉะเชิงเทรา ซึ่งตนได้ย้ำกับผู้ว่าฯในจังหวัดเหล่านั้นไปแล้ว เบื้องต้นเชื่อว่าน่าจะรองรับสถานการณ์ได้ อย่างไรก็ตามตนได้สั่งการให้กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) และศูนย์สนับสนุนการอำนวยการและการบริหารสถานการณ์อุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม (ศอส.) ติดตามและประเมินสถานการณ์ร่วมกันอย่างใกล้ชิด ส่วนสถานประกอบการหรือพื้นที่อุตสาหกรรมที่อยู่ติดกับแม่น้ำเจ้าพระยานั้น ตนก็ได้ย้ำไปแล้วว่าให้มีเจ้าหน้าที่ลงไปตรวจพื้นที่เพิ่มเติมว่าปริมาณน้ำ ที่จะเข้ามาและเขื่อนที่จะรองรับเป็นไปอย่างที่คาดคิดหรือไม่ รวมทั้งประเมินระยะเวลาการเตือนภัยว่าเพียงพอกับการอพยพประชาชนหรือไม่ ซึ่งวันนี้ตนได้สั่งการให้มีการปรับปรุงระบบเตือนภัยใหม่ให้สามารถใช้งบ ประมาณในการป้องกันได้ จากเดิมที่ต้องให้มีน้ำท่วมก่อนถึงจะประกาศเป็นเขตเตือนภัย
เมื่อ ถามว่า การสั่งให้รัฐมนตรีลงพื้นที่ค้างคืนกับชาวบ้านเพียงแค่คืนเดียวจะได้ผลหรือ น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวว่า ความจริงทางผู้ว่าฯได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาให้กับประชาชนที่ประสบอุทกภัยอยู่ แล้ว เพียงแต่ให้รัฐมนตรีลงไปประเมินสถานการณ์ร่วมกับผู้ว่าฯ เท่านั้น ขณะเดียวกันก็จะไปหารือกับกระทรวงที่เกี่ยวข้องว่าจะสามารถช่วยเหลือเพิ่ม เติมกับทางจังหวัดได้อย่างไรบ้าง รวมทั้งไปให้กำลังใจกับประชาชน ส่วนการช่วยเหลือของภาครัฐที่ยังไปไม่ถึงประชาชนที่เดือดร้อน โดยเฉพาะในอำเภอที่ห่างไกล ของ จ.ลพบุรีนั้น ตนจะสั่งการเพิ่มเติมไปอีกครั้ง แต่ตอนนี้ขอประเมินผลการทำงานก่อน โดยพื้นที่ห่างไกลที่รถเข้าไปไม่ถึง ก็อาจจะใช้เฮลิคอปเตอร์ของกองทัพมาช่วยส่งเสบียงอาหาร ซึ่งจะมีการคุยในรายละเอียดกันต่อไป
เมื่อถามว่า ใน 12 จังหวัดที่วิกฤติ มีจังหวัดไหนบ้างที่แนวโน้มสถานการณ์เบาบางลง นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ยอมรับว่าบางจังหวัดยังหนักอยู่ เช่น ลพบุรี อย่างไรก็ตามตนยังไม่อยากบอกว่าจังหวัดไหนเบาบาง เพราะบางครั้งพายุและปริมาณน้ำฝนที่เข้ามาก็คาดเดาได้ยาก แต่บางจังหวัด เช่น จ.เชียงใหม่ก็ทุเลาลงบ้างแล้ว
เมื่อถามว่า ได้ประเมินการทำงานที่ผ่านมาหรือไม่ว่าทำไมถึงยังไม่สามารถลดระดับน้ำได้เลย แม้จังหวัดเดียว น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวว่า ถ้าสื่อมวลชนและประชาชนได้ติดตามข่าวสาร ก็จะเห็นว่าภาวะน้ำและพายุต่างๆ เข้ามาเป็นระลอกต่อเนื่องกันมา 3-4 เดือนแล้ว เลยทำให้ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำหรือเขื่อนเต็ม ซึ่งปัญหาใหญ่ที่สุด เพราะทำให้การระบายน้ำเป็นไปได้ยากลำบาก ประกอบกับเรายังไม่ระบบการบูรณาการแก้ปัญหาน้ำ ส่วนใหญ่เราจะใช้วิธีแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ซึ่งตนก็จะเร่งรัดคณะกรรมการที่จะตั้งขึ้นใหม่ในเรื่องการบูรณาการน้ำที่ เป็นแผนในระยะกลางและถาวรรีบทำงาน และจะเชิญผู้ที่มีความรู้เรื่องน้ำทั้งหมดมาหารือร่วมกัน เพื่อแก้ปัญหาของประเทศ
น.ส.ยิ่งลักษณ์ ปฏิเสธที่จะตอบคำถามเรื่องที่พรรคเพื่อไทยเสนอให้ตั้งคณะกรรมการตรวจสอบกรณี มีผู้นำท้องถิ่นหักค่าหัวคิวเงินเยียวยาน้ำท่วมจากประชาชน โดยกล่าวว่า คงต้องมีการตรวจสอบ ส่วนที่มีข้อเสนอให้ดึงภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาน้ำท่วม เนื่องจากกลไกรัฐบาลอาจช่วยเหลือไม่เพียงพอนั้น ก็ยินดีอยู่แล้ว แต่วันนี้เราต้องมาวิเคราะห์ปัญหาจริงๆก่อน เพื่อให้เข้าใจปัญหาตรงกัน
ขรก.-สื่อวิจารณ์รมต. ลงพื้นที่เยียวยาน้ำท่วม แต่นอนค้างสบายในโรงแรม
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการเดินทางลงพื้นที่แบบค้างคืนเพื่อเยี่ยมเยียนผู้ประสบภัยน้ำท่วมของ บรรดารัฐมนตรีทั้ง 14 คน ใน 12 จังหวัดตามที่น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี มอบหมายนั้น ปรากฏว่าได้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์ถึงความไม่เหมาะสมในบรรดาข้าราชการและ สื่อมวลชนว่า รัฐมนตรีส่วนใหญ่นั้นเลือกที่จะพักค้างคืนในโรงแรม ซึ่งไม่ตรงกับจุดมุ่งหมายของนายกรัฐมนตรีที่ต้องการให้ลงไปเกาะติดพื้นที่ เพื่อรับฟังปัญหาของชาวบ้าน เช่น พล.ต.อ.ชัจจ์ กุลดิลก รมช.คมนาคม ที่ได้รับมอบหมายให้ไป จ.สิงห์บุรี ก็พักค้างคืนที่โรงแรมโกลเด้นท์ ดราก้อน อ.เมืองสิงห์บุรี นพ.สุรวิทย์ คนสมบูรณ์ รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี พักค้างคืนที่โรงแรมโฆษิตฮิลล์ อ.เมือง จ.เพชรบูรณ์ นายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ รมว.แรงงาน พักค้างคืนที่โรงแรมชัยนาทธานี น.ส.กฤษณา สีหลักษณ์ รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี พักค้างคืนที่โรงแรมอ่างทอง เป็นต้น
“ปู”เจอกองเชียร์ตะโกน-มอบพวงมาลัยให้กำลังใจ จนท.รพ.จุฬาฯฝากเงินไปช่วยน้ำท่วม
เวลา 17.00 น. น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้เดินทางไปเข้าเฝ้าฯ ถวายเครื่องราชสักการะแด่สมเด็จพระสังฆราช เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันประสูติของสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ที่ตึกวชิรญาณสามัคคีพยาบาล ชั้น 6 โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
ภายหลังการเข้าเฝ้าฯเสร็จสิ้น ปรากฏว่าได้มีประชาชนประมาณ 30 คน ยืนอยู่ที่ชั้นล่างของตึกดังกล่าว เพื่อรอส่งน.ส.ยิ่งลักษณ์ เดินทางกลับ โดยกลุ่มคนดังกล่าวมีการชูป้าย“ยิ่งลักษณ์ ยิ่งชอบ” และได้มอบพวงมาลัย พร้อมกับตะโกนให้กำลังใจว่า“สู้ๆ อย่าท้อ” และมีหญิงสูงอายุคนหนึ่งกล่าวกับน.ส.ยิ่งลักษณ์ เป็นภาษาอังกฤษว่า “Fighting lady No.1 in Thailand” นอกจากนี้ได้มีเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลฯคนหนึ่งนำเงินใส่ซองโดยไม่บอกจำนวน ฝากให้นายกรัฐมนตรีนำไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม
"นายกฯ" ยอมรับลพบุรียังอ่วม เตรียมประสานกองทัพส่งฮ.แจกถุงยังชีพพื้นที่ห่างไกล มั่นใจกทม.รับมือได้ ยินดีให้ภาคเอกชนร่วมช่วยเหลือผู้เดือดร้อน ขรก.-สื่อวิจารณ์รมต.ลงพื้นที่เยียวยาผู้ประสบภัยน้ำท่วมตามคำสั่ง “นายกฯปู” แต่นอนค้างสบายในโรงแรม
วันที่ 30 ก.ย.2554 เวลา 15.40 น. ที่ทำเนียบรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงการเตรียมการป้องกันน้ำที่จะท่วมกทม.ว่า ได้ย้ำกับทางผู้ว่าฯ กทม.ไปแล้ว ซึ่งท่านก็ให้ความมั่นใจ เพราะกทม.มีการวางพื้นฐานในเรื่องของเขื่อนมารองรับอยู่แล้ว แต่ที่สำคัญเราก็ต้องมาดูแลบริเวณปริมลฑลด้วย เช่น จ.นนทบุรี สมุทรปราการ ฉะเชิงเทรา ซึ่งตนได้ย้ำกับผู้ว่าฯในจังหวัดเหล่านั้นไปแล้ว เบื้องต้นเชื่อว่าน่าจะรองรับสถานการณ์ได้ อย่างไรก็ตามตนได้สั่งการให้กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) และศูนย์สนับสนุนการอำนวยการและการบริหารสถานการณ์อุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม (ศอส.) ติดตามและประเมินสถานการณ์ร่วมกันอย่างใกล้ชิด ส่วนสถานประกอบการหรือพื้นที่อุตสาหกรรมที่อยู่ติดกับแม่น้ำเจ้าพระยานั้น ตนก็ได้ย้ำไปแล้วว่าให้มีเจ้าหน้าที่ลงไปตรวจพื้นที่เพิ่มเติมว่าปริมาณน้ำ ที่จะเข้ามาและเขื่อนที่จะรองรับเป็นไปอย่างที่คาดคิดหรือไม่ รวมทั้งประเมินระยะเวลาการเตือนภัยว่าเพียงพอกับการอพยพประชาชนหรือไม่ ซึ่งวันนี้ตนได้สั่งการให้มีการปรับปรุงระบบเตือนภัยใหม่ให้สามารถใช้งบ ประมาณในการป้องกันได้ จากเดิมที่ต้องให้มีน้ำท่วมก่อนถึงจะประกาศเป็นเขตเตือนภัย
เมื่อ ถามว่า การสั่งให้รัฐมนตรีลงพื้นที่ค้างคืนกับชาวบ้านเพียงแค่คืนเดียวจะได้ผลหรือ น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวว่า ความจริงทางผู้ว่าฯได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาให้กับประชาชนที่ประสบอุทกภัยอยู่ แล้ว เพียงแต่ให้รัฐมนตรีลงไปประเมินสถานการณ์ร่วมกับผู้ว่าฯ เท่านั้น ขณะเดียวกันก็จะไปหารือกับกระทรวงที่เกี่ยวข้องว่าจะสามารถช่วยเหลือเพิ่ม เติมกับทางจังหวัดได้อย่างไรบ้าง รวมทั้งไปให้กำลังใจกับประชาชน ส่วนการช่วยเหลือของภาครัฐที่ยังไปไม่ถึงประชาชนที่เดือดร้อน โดยเฉพาะในอำเภอที่ห่างไกล ของ จ.ลพบุรีนั้น ตนจะสั่งการเพิ่มเติมไปอีกครั้ง แต่ตอนนี้ขอประเมินผลการทำงานก่อน โดยพื้นที่ห่างไกลที่รถเข้าไปไม่ถึง ก็อาจจะใช้เฮลิคอปเตอร์ของกองทัพมาช่วยส่งเสบียงอาหาร ซึ่งจะมีการคุยในรายละเอียดกันต่อไป
เมื่อถามว่า ใน 12 จังหวัดที่วิกฤติ มีจังหวัดไหนบ้างที่แนวโน้มสถานการณ์เบาบางลง นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ยอมรับว่าบางจังหวัดยังหนักอยู่ เช่น ลพบุรี อย่างไรก็ตามตนยังไม่อยากบอกว่าจังหวัดไหนเบาบาง เพราะบางครั้งพายุและปริมาณน้ำฝนที่เข้ามาก็คาดเดาได้ยาก แต่บางจังหวัด เช่น จ.เชียงใหม่ก็ทุเลาลงบ้างแล้ว
เมื่อถามว่า ได้ประเมินการทำงานที่ผ่านมาหรือไม่ว่าทำไมถึงยังไม่สามารถลดระดับน้ำได้เลย แม้จังหวัดเดียว น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวว่า ถ้าสื่อมวลชนและประชาชนได้ติดตามข่าวสาร ก็จะเห็นว่าภาวะน้ำและพายุต่างๆ เข้ามาเป็นระลอกต่อเนื่องกันมา 3-4 เดือนแล้ว เลยทำให้ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำหรือเขื่อนเต็ม ซึ่งปัญหาใหญ่ที่สุด เพราะทำให้การระบายน้ำเป็นไปได้ยากลำบาก ประกอบกับเรายังไม่ระบบการบูรณาการแก้ปัญหาน้ำ ส่วนใหญ่เราจะใช้วิธีแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ซึ่งตนก็จะเร่งรัดคณะกรรมการที่จะตั้งขึ้นใหม่ในเรื่องการบูรณาการน้ำที่ เป็นแผนในระยะกลางและถาวรรีบทำงาน และจะเชิญผู้ที่มีความรู้เรื่องน้ำทั้งหมดมาหารือร่วมกัน เพื่อแก้ปัญหาของประเทศ
น.ส.ยิ่งลักษณ์ ปฏิเสธที่จะตอบคำถามเรื่องที่พรรคเพื่อไทยเสนอให้ตั้งคณะกรรมการตรวจสอบกรณี มีผู้นำท้องถิ่นหักค่าหัวคิวเงินเยียวยาน้ำท่วมจากประชาชน โดยกล่าวว่า คงต้องมีการตรวจสอบ ส่วนที่มีข้อเสนอให้ดึงภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาน้ำท่วม เนื่องจากกลไกรัฐบาลอาจช่วยเหลือไม่เพียงพอนั้น ก็ยินดีอยู่แล้ว แต่วันนี้เราต้องมาวิเคราะห์ปัญหาจริงๆก่อน เพื่อให้เข้าใจปัญหาตรงกัน
ขรก.-สื่อวิจารณ์รมต. ลงพื้นที่เยียวยาน้ำท่วม แต่นอนค้างสบายในโรงแรม
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการเดินทางลงพื้นที่แบบค้างคืนเพื่อเยี่ยมเยียนผู้ประสบภัยน้ำท่วมของ บรรดารัฐมนตรีทั้ง 14 คน ใน 12 จังหวัดตามที่น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี มอบหมายนั้น ปรากฏว่าได้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์ถึงความไม่เหมาะสมในบรรดาข้าราชการและ สื่อมวลชนว่า รัฐมนตรีส่วนใหญ่นั้นเลือกที่จะพักค้างคืนในโรงแรม ซึ่งไม่ตรงกับจุดมุ่งหมายของนายกรัฐมนตรีที่ต้องการให้ลงไปเกาะติดพื้นที่ เพื่อรับฟังปัญหาของชาวบ้าน เช่น พล.ต.อ.ชัจจ์ กุลดิลก รมช.คมนาคม ที่ได้รับมอบหมายให้ไป จ.สิงห์บุรี ก็พักค้างคืนที่โรงแรมโกลเด้นท์ ดราก้อน อ.เมืองสิงห์บุรี นพ.สุรวิทย์ คนสมบูรณ์ รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี พักค้างคืนที่โรงแรมโฆษิตฮิลล์ อ.เมือง จ.เพชรบูรณ์ นายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ รมว.แรงงาน พักค้างคืนที่โรงแรมชัยนาทธานี น.ส.กฤษณา สีหลักษณ์ รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี พักค้างคืนที่โรงแรมอ่างทอง เป็นต้น
“ปู”เจอกองเชียร์ตะโกน-มอบพวงมาลัยให้กำลังใจ จนท.รพ.จุฬาฯฝากเงินไปช่วยน้ำท่วม
เวลา 17.00 น. น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้เดินทางไปเข้าเฝ้าฯ ถวายเครื่องราชสักการะแด่สมเด็จพระสังฆราช เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันประสูติของสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ที่ตึกวชิรญาณสามัคคีพยาบาล ชั้น 6 โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
ภายหลังการเข้าเฝ้าฯเสร็จสิ้น ปรากฏว่าได้มีประชาชนประมาณ 30 คน ยืนอยู่ที่ชั้นล่างของตึกดังกล่าว เพื่อรอส่งน.ส.ยิ่งลักษณ์ เดินทางกลับ โดยกลุ่มคนดังกล่าวมีการชูป้าย“ยิ่งลักษณ์ ยิ่งชอบ” และได้มอบพวงมาลัย พร้อมกับตะโกนให้กำลังใจว่า“สู้ๆ อย่าท้อ” และมีหญิงสูงอายุคนหนึ่งกล่าวกับน.ส.ยิ่งลักษณ์ เป็นภาษาอังกฤษว่า “Fighting lady No.1 in Thailand” นอกจากนี้ได้มีเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลฯคนหนึ่งนำเงินใส่ซองโดยไม่บอกจำนวน ฝากให้นายกรัฐมนตรีนำไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม
โปรดเกล้าฯตั้งนายทหาร เสถียรผงาดปลัดกลาโหม ธนะศักดิ์คู่แข่งนั่งผบ.สส. 'ดาว์พงษ์'คั่ว'รองผบ.ทบ.'
Thaiinside
มี พระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯแต่งตั้ง 584 นายทหารแล้ว "พล.อ.เสถียร" นั่งปลัดกลาโหม ตามคาด "พล.อ.ธนะศักดิ์" นั่งผบ.สส. "พล.อ.ดาว์พงษ์" คั่วเก้าอี้รองผบ.ทบ. "พล.ร.อ.สุรศักดิ์" ผงาดนั่งผบ.ทร.
วันที่ 30 ก.ย.2554 สำนักนายกรัฐมนตรีประกาศว่า มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้นายทหารรับราชการสนองพระเดชพระคุณ จำนวน 584 นาย ประกาศ ณ วันที่ 30 กันยายน มีนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ โดยการแต่งตั้งโยกย้ายครั้งนี้ มีรายชื่อที่น่าสนใจ เช่น พล.อ.เสถียร เพิ่มทองอินทร์ (ตท.11) ประธานคณะที่ปรึกษากองบัญชาการกองทัพไทย เป็นปลัดกระทรวงกลาโหม พล.อ.ภุชงค์ รัตนวรรณ (ตท.10) ผบ.สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ เป็นจเรทหารทั่วไป
กองบัญชาการกองทัพไทย พล.อ.ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร (ตท.12) เสนาธิการทหาร เป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุด พล.ท.สกนธ์ สัจจานิตย์ (ตท.12) เป็นรองผู้บัญชาการทหารสูงสุด พล.ร.อ.ยุทธนา ฟักผลงาม (ตท.12) ที่ปรึกษาพิเศษกองทัพเรือ เป็นรองผู้บัญชาการทหารสูงสุด พล.อ.อ.บุญยฤทธิ์ เกิดสุข (ตท.11) ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารอากาศ เป็นรองผู้บัญชาการทหารสูงสุด พล.ร.อ.วรพงษ์ สง่าเนตร (ตท.12) รองเสนาธิการทหาร เป็นเสนาธิการทหาร
กองทัพบก พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุบรรณ (ตท.12) เสนาธิการทหารบก เป็นรองผู้บัญชาการทหารบก พล.อ.ทนงศักดิ์ อภิรักษ์โยธิน (ตท.11) ที่ปรึกษากองทัพบก เป็นผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก พล.อ.โปฎก บุนนาค (ตท.12) ผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ เป็นผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก พล.ท.ศิริชัย ดิษฐกุล (ตท.13) รองเสนาธิการทหารบก เป็นเสนาธิการทหารบก พล.ต.ศุภรัตน์ พัฒนาวิสุทธิ์ (ตท.12) รองผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ เป็นผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ
กองทัพเรือ พล.ร.อ.สุรศักดิ์ หรุ่นเริงรมย์ (ตท.13) ที่ปรึกษากองทัพเรือ เป็นผู้บัญชาการทหารเรือ พล.ร.อ.ดำรงศักดิ์ ห้าวเจริญ ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ เป็นเสนาธิการทหารเรือ พล.ร.อ.วีรพล กิจสมบัติ หัวหน้าคณะนายทหารฝ่ายเสนาธิการประจำผู้บังคับบัญชา เป็นรองผู้บัญชาการทหารเรือ พล.ร.อ.อมรเทพ ณ บางช้าง ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ เป็นผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารเรือ พล.ร.ท.ฆนัท ทองพูล ผบ.กองทัพเรือภาค 1 เป็น ผบ.กองเรือยุทธการ พล.ร.ท.พลวัฒน์ สิโรดม รองเสนาธิการทหารเรือ เป็นที่ปรึกษาพิเศษกองทัพเรือ
กองทัพอากาศ พล.อ.อ.ศรีเชาวน์ จันทร์เรือง (ตท.12) ผู้ช่วยผู้บัญชาการกองทัพอากาศ เป็นรองผู้บัญชาการกองทัพอากาศ พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง (ตท.13) เสนาธิการกองทัพอากาศ เป็นผู้ช่วยผู้บัญชาการกองทัพอากาศ พล.อ.อ.วินัย เปล่งวิทยา (ตท.12) ผบ.การปฏิบัติการทางอากาศ เป็นผู้ช่วยผู้บัญชาการกองทัพอากาศ พล.อ.ท.เพิ่มเกียรติ ลวณะมาลย์ รองเสนาธิการกองทัพอากาศ เป็นเสนาธิการทหารอากาศ
มี พระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯแต่งตั้ง 584 นายทหารแล้ว "พล.อ.เสถียร" นั่งปลัดกลาโหม ตามคาด "พล.อ.ธนะศักดิ์" นั่งผบ.สส. "พล.อ.ดาว์พงษ์" คั่วเก้าอี้รองผบ.ทบ. "พล.ร.อ.สุรศักดิ์" ผงาดนั่งผบ.ทร.
วันที่ 30 ก.ย.2554 สำนักนายกรัฐมนตรีประกาศว่า มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้นายทหารรับราชการสนองพระเดชพระคุณ จำนวน 584 นาย ประกาศ ณ วันที่ 30 กันยายน มีนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ โดยการแต่งตั้งโยกย้ายครั้งนี้ มีรายชื่อที่น่าสนใจ เช่น พล.อ.เสถียร เพิ่มทองอินทร์ (ตท.11) ประธานคณะที่ปรึกษากองบัญชาการกองทัพไทย เป็นปลัดกระทรวงกลาโหม พล.อ.ภุชงค์ รัตนวรรณ (ตท.10) ผบ.สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ เป็นจเรทหารทั่วไป
กองบัญชาการกองทัพไทย พล.อ.ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร (ตท.12) เสนาธิการทหาร เป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุด พล.ท.สกนธ์ สัจจานิตย์ (ตท.12) เป็นรองผู้บัญชาการทหารสูงสุด พล.ร.อ.ยุทธนา ฟักผลงาม (ตท.12) ที่ปรึกษาพิเศษกองทัพเรือ เป็นรองผู้บัญชาการทหารสูงสุด พล.อ.อ.บุญยฤทธิ์ เกิดสุข (ตท.11) ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารอากาศ เป็นรองผู้บัญชาการทหารสูงสุด พล.ร.อ.วรพงษ์ สง่าเนตร (ตท.12) รองเสนาธิการทหาร เป็นเสนาธิการทหาร
กองทัพบก พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุบรรณ (ตท.12) เสนาธิการทหารบก เป็นรองผู้บัญชาการทหารบก พล.อ.ทนงศักดิ์ อภิรักษ์โยธิน (ตท.11) ที่ปรึกษากองทัพบก เป็นผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก พล.อ.โปฎก บุนนาค (ตท.12) ผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ เป็นผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก พล.ท.ศิริชัย ดิษฐกุล (ตท.13) รองเสนาธิการทหารบก เป็นเสนาธิการทหารบก พล.ต.ศุภรัตน์ พัฒนาวิสุทธิ์ (ตท.12) รองผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ เป็นผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ
กองทัพเรือ พล.ร.อ.สุรศักดิ์ หรุ่นเริงรมย์ (ตท.13) ที่ปรึกษากองทัพเรือ เป็นผู้บัญชาการทหารเรือ พล.ร.อ.ดำรงศักดิ์ ห้าวเจริญ ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ เป็นเสนาธิการทหารเรือ พล.ร.อ.วีรพล กิจสมบัติ หัวหน้าคณะนายทหารฝ่ายเสนาธิการประจำผู้บังคับบัญชา เป็นรองผู้บัญชาการทหารเรือ พล.ร.อ.อมรเทพ ณ บางช้าง ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ เป็นผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารเรือ พล.ร.ท.ฆนัท ทองพูล ผบ.กองทัพเรือภาค 1 เป็น ผบ.กองเรือยุทธการ พล.ร.ท.พลวัฒน์ สิโรดม รองเสนาธิการทหารเรือ เป็นที่ปรึกษาพิเศษกองทัพเรือ
กองทัพอากาศ พล.อ.อ.ศรีเชาวน์ จันทร์เรือง (ตท.12) ผู้ช่วยผู้บัญชาการกองทัพอากาศ เป็นรองผู้บัญชาการกองทัพอากาศ พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง (ตท.13) เสนาธิการกองทัพอากาศ เป็นผู้ช่วยผู้บัญชาการกองทัพอากาศ พล.อ.อ.วินัย เปล่งวิทยา (ตท.12) ผบ.การปฏิบัติการทางอากาศ เป็นผู้ช่วยผู้บัญชาการกองทัพอากาศ พล.อ.ท.เพิ่มเกียรติ ลวณะมาลย์ รองเสนาธิการกองทัพอากาศ เป็นเสนาธิการทหารอากาศ
ขุมทรัพย์!แก๊สในอ่าวไทย-แลนด์บริดจ์ภาคใต้ ฝันของ'พิชัย'รมว.พลังงาน
ทีมข่าว "ไทยรัฐออนไลน์" ได้รับเกียรติจาก นายพิชัย นริพทะพันธุ์ รมว.พลังงาน เดินทางมาที่กองบรรณาธิการฯ ถ.วิภาวดีรังสิต ให้สัมภาษณ์แบบเปิดใจ กรณีผลประโยชน์ทับซ้อนแก๊สธรรมชาติและน้ำมันในพื้นที่อ่าวไทยระหว่าง ไทย-กัมพูชา ความชัดเจนด้านนโยบายพลังงานทดแทนของไทยในอนาคต รวมไปถึงการผลักดันโครงการแลนด์บริดจ์ เชื่อมระหว่างฝั่งอันดามันและฝั่งอ่าวไทย โครงการถมทะเลปากอ่าว ฯลฯ ซึ่งประชาชนในสังคมต่างตั้งข้อสังสัยกับการทำงานของรัฐบาล "ยิ่งลักษณ์" ที่ผ่านมา
- กรณีที่มีนักวิชาการเคยออกมากล่าวว่า แก๊สในอ่าวไทยนั้นมีคุณภาพดี เกินกว่าที่จะขุดขึ้นมาเผาเพื่อนำมาใช้เป็นพลังงานตามครัวเรือนเท่านั้น ไม่เหมือนแก๊สฝั่งพม่าที่มีคุณภาพต่ำกว่าจริงหรือไม่ แล้วไทยมีแนวคิดนำแก๊สในอ่าวไทยไปใช้ประโยชน์อย่างอื่นที่ดีกว่าหรือไม่?
นาย พิชัย นริพทะพันธุ์ รมว.พลังงาน กล่าวว่า บ้านเรามีโรงแยกแก๊สอยู่แล้ว ถ้าขุดขึ้นมาได้ก็ต้องนำมาแยกก่อน ที่เหลือแล้วจึงจะนำไปเผาทำแก๊สใช้ในครัวเรือน ความจริงแก๊ส ถ้าเทียบกับพลังงานอย่างอื่น มันมีค่ามากกว่า เช่น แก๊สที่เหลือ เอาไปเติม เเอลพีจี เชื้อเพลิงในรถยนต์ มีประโยชน์มากกว่า แต่ต้องยอมรับ ถ้าไปตั้งโรงถ่านหิน ต้นทุนถูกกว่า หรือจะเป็นโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ก็ไม่ต้องพูดถึง เพราะตอนนี้คงทำไม่ได้แล้ว เพราะประชาชนจะต่อต้านเนื่องจากเสี่ยงสร้างมลพิษ แต่สร้างโรงไฟฟ้าแก๊สน่าจะดีกว่า เพราะเราขุดได้เอง และยังสามารถนำไปขอคาร์บอนเครดิตได้
"หากถามว่า แก๊สที่ขุดขึ้นมาจากอ่าวไทยจะเอาไปทำประโยชน์อย่างอื่นได้ดีกว่าไหม? ก็คงต้องตอบว่า ดีกว่า แต่ปัจจุบันเราไม่มีทางเลือก เพราะเราใช้แก๊สผลิตกระแสไฟฟ้าในประเทศถึง 70% แล้วทิศทางการใช้พลังงานในอนาคตของโลกมุ่งไปตามใช้แก๊สเยอะ เพราะตอนไปร่วมประชุม รมว.พลังงานโลกนั้น ประเทศยักษ์ใหญ่อย่างสหรัฐอเมริกา มาชี้เลยว่า ผลิตไฟฟ้าต้องใช้แก๊สมากขึ้น ในอนาคตนะ เพราะอเมริกาน่าจะขุดแก๊สในอนาคตจากบริษัทเอกชนของอเมริกาได้เยอะขึ้น เชื่อว่าภายใน 2-3 ปี น่าจะเริ่มส่งออกแก๊สได้ อเมริกาจึงเริ่มมาล็อบบี้ประเทศอื่นให้ใช้แก๊สมากขึ้น เพื่อให้ตลาดใหญ่และสามารถขายแก๊สได้ดีขึ้น ทิศทางเป็นอย่างนั้น"
"ยืน ยัน รัฐบาลปัจจุบันมีความชัดเจนในเรื่องแผนพลังงานทดแทนของประเทศไทย รับรองว่า ไม่มีนโยบายที่สับสน จริงๆ แล้วคือ รัฐบาลส่งเสริมอย่างแน่นอน ในอีกไม่นานนับจากนี้ รัฐบาลจะออกแผนแม่บทด้านพลังงานของประเทศ แต่ขออุบไว้ก่อน ตอนนี้ประชาชนอาจงงๆ และรู้สึกสับสนเรื่องนโยบายด้านพลังงานของรัฐบาลทั้งที่เป็นนโยบายระยะสั้น รวมไปถึงนโยบายระยะยาว แต่ขอย้ำว่า รัฐบาลเตรียมออกแผนแม่บทด้านพลังงานของประเทศชาติ ขอเวลาอีกซักหน่อย อีกไม่นานเกินรอ รวมทั้งอย่าเพิ่งไปฟัง พรรคปชป. พูดเยอะ ไม่อย่างนั้นเราจะชนะการเลือกตั้งเยอะอย่างนี้หรือ" รมว.พลังงานกล่าว…
นาย พิชัย ยังระบุอีกว่า การประกาศยกเลิกการเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมัน ทำให้ทราบถึงปัญหาว่า ประเทศไทยที่ผ่านมาใช้เงินกองทุนน้ำมันผิดวัตถุประสงค์ คือ นำไปชดเชย ราคา LPG NGV ซึ่งมันไม่ใช่แล้ว หลักคิดทั่วไป การเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันทั่วโลก เพราะต้องการให้เกิดการประหยัดพลังงาน และนำเงินที่ได้มาสร้าง ซ่อมถนนหนทาง คือ เมื่อคุณใช้รถมากก็ต้องจ่ายมาก แต่คนขับรถใช้พลังงาน LPG (แท๊กซี่,รถบริการสาธารณะ) นอกจากไม่จ่ายภาษีแล้ว ยังให้คนอื่นเอาเงินมาช่วยอุดหนุนอีก ด้วยเหตุผลนี้ แนวโน้มของรัฐบาลและประเทศไทยจึงต้องปล่อยลอยตัว LPG อีกเหตุผลหนึ่ง
"ถ้า คุณไปดูราคาแก๊ส LPG ในต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นเวียดนาม ราคาอยู่ที่ 46 บาท กัมพูชา 46 บาท ลาว 46บาท พม่า 35 บาท ขนาดมาเลเซียซึ่งผู้ผลิตเอง ยังขายที่ราคา 20 บาท เมื่อภาพเป็นอย่างนี้ หากต่อไปมีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ซึ่งจะเปิดเสรีทางการค้า ท่องเที่ยว ประชาคม คงมาแย่งซื้อแก๊ส LPG ของประเทศไทยหมด เพราะมีราคาถูกกว่าประเทศอื่น เมื่อดูภาพอย่างนี้แล้ว แม้ไม่อยากให้ลอยตัว ถึงเวลานั้นก็ต้องลอย เพราะจะไปอุดหนุนให้คนอื่นๆ ในประชาคมอาเซียนไม่ไหวแน่ ซึ่งปัจจุบันประเทศเพื่อนบ้านรอบข้างตามแนวชายแดน ก็มีการใช้กองทัพมดมาขนไปอยู่แล้ว ซึ่งยอมรับว่า ค่าครองชีพของประชาชนจะสูงขึ้นในอนาคต ดังนั้นต้นทุนการผลิตแก๊สในภาคครัวเรือนของประเทศไทยในอนาคตจะต้องขึ้นอย่าง แน่นอน จะไม่ให้ขึ้นมามาก แต่ก็ต้องขึ้นราคาบ้างเพื่อให้เกิดความเหมาะสม ยอมรับว่ามีการคิดกันไว้แล้ว หมายถึง ราคาที่จะมีการทยอยประกาศปรับขึ้น สำหรับราคาแก๊ส LPG หลังประกาศลอยตัว แต่ยังไม่สามารถเปิดเผยกำหนดเวลาได้" รมว.พลังงาน กล่าว…
- หากรัฐจะกลับมาเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันอีกครั้ง จะเริ่มเก็บที่อัตราไหน และเมื่อไร?
นาย พิชัยกล่าวว่า รัฐบาลนี้มีแนวคิดกลับมาเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันในอัตราที่ลดลงอยู่แล้ว พูดตรงๆ เรื่องพลังงานทดแทน รัฐบาลอาจยกเลิกเบนซิน 95 หรือ 91 เลยก็ได้ เหลือแต่โซฮอล์ แนวความคิดมีอยู่แล้ว ขออนุญาตไปหารือกับท่านนายกฯ ยิ่งลักษณ์ก่อน ถ้าเห็นด้วยก็เดินเลย สำหรับประเทศไทยมีความเสถียรเรื่องพืชพลังงานอยู่แล้ว เพราะปัจจุบันเราผลิตเกินเยอะมาก ส่วนตัวมั่นใจว่า จะไม่มีกรณีพืชพลังงานขาดแคลนเกิดขึ้นในประเทศไทย ต่อไปเราก็จะกลายเป็นศูนย์กลางปลูกพืชพลังงานทดแทนของอาเซียนอยู่แล้ว ตอนที่ไปประชุม รมว.พลังงานที่บรูไน ที่ประชุมมีการหารือเรื่องส่งต่อพลังงานด้านไฟฟ้ากับแก๊ส ประเทศไทยเราเป็นจุดศูนย์กลางของภูมิภาค เป็นเหมือนหัวใจหมูอยู่ตรงกลาง นับเป็นโอกาสที่ดี ถึงแม้ไทยจะมีปัญหาความรุนแรงใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ก็ตาม เพราะคงไม่ต้องทำท่อส่งแก๊ส หรือนำมันผ่านตรงนั้น
-แล้วจะทำอย่างไรกับคนขับรถแท็็กซี่ ที่ถือเป็นฐานเสียงสำคัญของพรรคเพื่อไทย
รม ว.พลังงาน ยอมรับว่า รถแท็กซี่เราจะเปลี่ยนเป็น NGV ให้หมดในอนาคต เพราะตอนนี้ก็มีการใช้ NGVอยู่แล้วกว่า 50,000คัน เราก็จะเปลี่ยนให้หมด แล้วออกบัตรเครดิตก๊าซพลังงาน โดยบัตรแต่ละใบจะมีวงเงินให้สามารถนำไปเติมแก๊ส NGV อาจคนละ 2,000 บาทต่อเดือน (กำลังคิดกรอบวงเงินอยู่) ในราคาถูกกว่าท้องตลาด เพื่อช่วยเหลือคนขับรถ หากรายได้ไม่เพียงพอในแต่ละเดือน ทั้งนี้ไม่กลัวเรื่องหนี้เสีย เพราะวงเงินที่จะให้ มันไม่ได้เยอะ แล้วมีเงื่อนไขถ้าคนขับรถแท็กซี่ใช้วงเงินเติมแก๊สในบัตรเต็มแล้วไม่ได้เติม เงินใหม่ รัฐก็จะตัดสิทธิ์ฯ นั้นทันที แบบเดียวกับบัตรทางด่วนอีซีการ์ด รัฐจะให้บัตรเครดิตแก๊สพลังงานเป็นแบบคนต่อคนเท่านั้น ไม่ให้เป็นแบบคัน เพราะต้องการช่วยเหลือคนขับรถแท็กซี่โดยตรง ไม่ใช่อู่รถ ทั้งนี้ตั้งเป้าว่า จะสามารถดำเนินการให้ประชาชนได้เห็นก่อนปีใหม่ที่จะถึงนี้อย่างแน่นอน ส่วนจักรยานยนต์รับจ้าง รัฐบาลกำลังดูแนวคิดในการช่วยเหลืออยู่ว่าจะออกมาในรูปแบบไหน
รม ว.พลังงาน ยังกล่าวถึงวิธีการช่วยเหลือประชาชน หากมีการประกาศขึ้นราคาแก๊สหุงต้มในอนาคตว่า มีแนวคิดจะใช้เป็นแจกคูปองตามครัวเรือน อาจกำหนดว่า บ้าน 1 หลังจะใช้แก๊สเดือนละกี่ถัง แล้วรัฐบาลก็จะแจกคูปองไป หากบ้านหลังไหนใช้เกินกว่าที่กำหนด ก็ต้องรับภาระค่าใช้จ่ายนั้นไปเอง เป็นต้น อันนี้ยังเป็นแนวความคิดอยู่ ซึ่งก็ได้สั่งให้ทีมงานไปคิดแล้วจึงเสนอมา
-ในชีวิตนี้มีความฝันอะไรที่อยากทำหรือไม่ ในเมื่อมีโอกาสเข้ามาเป็นรมว. พลังงาน ?
นาย พิชัยกล่าวว่า ในชีวิตของการเข้ามาเป็นรัฐมนตรีพลังงานของประเทศ ขอทำงานเพื่อชาติ 2 เรื่อง 1. เรื่องไทย-กัมพูชา 2. คือเรื่องโครงการแลนด์บริดจ์ในชีวิตนี้ หากทำ 2 เรื่องนี้ได้ ประเทศไทยก็จะเจริญแล้ว เราจะรู้สึกแม้เลิกเล่นการเมืองไปแล้ว ก็ยังรู้ว่า เราได้ทำอะไรเพื่อประเทศไทยบ้าง เรื่องแลนด์บริดจ์นี้เชื่อว่าไทยแทบไม่เสียงบประมาณเลย เพราะมีคนอยากร่วมทุนฯ ด้วยเป็นจำนวนมาก อยู่ที่ว่า เราจะให้ใครร่วมทุนฯ บ้างเท่านั้น ส่วนปัญหาที่ประชาชนในพื้นที่ไม่เข้าใจโครงการสร้างแลนด์บริดจ์ ทำให้ที่ผ่านมาดำเนินการไม่ได้นั้น พูดตรงๆ เรื่องนี้ มันก็มีการเมืองท้องถิ่น การเมืองระดับประเทศ ปชป. เจ้าของพื้นที่ก็ไม่อยากให้เราทำได้ง่ายๆ หรือแม้แต่ประเทศเพื่อนบ้านหลายๆ ประเทศ ก็ไม่อยากให้ดำเนินโครงการ เพราะทำให้ประเทศอื่นเสียผลประโยชน์มหาศาล แต่ทั้งหมดประชาชนในพื่้นที่จะเป็นผู้ตัดสินใจว่า จะทำหรือไม่ ผมมีหน้าที่เสิร์ฟให้ประชาชน แต่ถ้าเค้าบอกว่า ไม่เอาหรอก ผมก็ไม่ทำ
"ที่ กลัวกันว่า นักการเมืองมาเร่งทำเพราะมีผลประโยชน์ทับซ้อนใช่ไหม ผมยอมรับกับทีมข่าว"ไทยรัฐออนไลน์"ตรงนี้เลยว่า"มีผลประโยชน์ เพราะผมมีลูก ทำแล้วประเทศเจริญ ลูกหลานก็เจริญ ถ้าประชาชนจำชื่อผมได้ ลูกหลานผมก็จะเป็นที่เชิดหน้าชูตา ถามว่ามีผลประโยชน์ทับซ้อนไหม บอกว่าไม่มีมันก็ไม่ใช่ อย่างเรื่องแก๊สธรรมชาติและน้ำมันในอ่าวไทย ทำไปแล้ว ลูกหลานผมก็ได้ประโยชน์ได้ใช้ไปอีก 50 ปี ถ้าไม่ทำ อีกประมาณไม่เกิน 10 ปี แก๊สก็หมดไป ประชาชนก็จะต้องเดือดร้อน ดังนั้นจึงถือเป็นผลประโยชน์ทับซ้อน ที่ผมจะได้ แต่ไม่ใช่เรื่องผลประโยชน์อย่างนั้น ยืนยันว่าทำไปแล้ว ซักบาทซักสลึงหนึ่งผมก็ไม่ได้ ถ้าทำได้ถือเป็นความสุขของชีวิตแล้ว" รมว.พลังงาน กล่าว...
นายพิชัย ยังกล่าวต่ออีกว่า สำหรับโครงการแลนด์บริดจ์(ท่อเชื่อมส่งพลังงาน)ระหว่างฝั่งอันดามันและฝั่ง อ่าวไทย มีหลายจุดที่รัฐบาลกำลังพิจารณาจะสร้าง ยอมรับเล็งพื้นที่ "ปากบารา"จ.สตูล เอาไว้ เพราะมีความเหมาะสม เพื่อเป็นเส้นทางที่ตรงและใกล้ที่สุด ซึ่งยอมรับว่ายังมีปัญหา ชุมชนในพื้นที่ไม่ต้องการให้มีการก่อสร้างอุตสาหกรรม ซึ่งเราเองก็ต้องลงไปทำความเข้าใจกับประชาชนในพื้นที่ให้ได้ ว่า ถ้ายอมให้สร้างแล้ว พวกเขาจะได้ประโยชน์อะไรที่คุ้มค่าบ้าง ดังนั้นสื่อมวลชนต้องช่วยกันเสนอข่าวสารข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริง ให้ประชาชนได้เข้าใจให้มากขึ้น และโครงการนี้ต้องบอกว่า คงจะไม่เกิดกรณีที่มีความกลัวกันว่าจะยิ่งเป็นการส่งเสริมให้เกิดการแยกดิน แดน เพราะพื้นดินยังเชื่อมต่อกันอยู่ ฝังท่อส่งน้ำมันผ่านในพื้นที่ มีทั้งอุตสาหกรรมโรงกลั่น ไม่เหมือนการขุดคอคอดกระ ทั้งนี้ รมว.พลังงาน ระบุ หากเป็นผู้ควบคุมการก่อสร้างโครงการแลนด์บริดเอง สามารถตรวจสอบได้ตลอดเวลา ไม่มีการทุจริตโกงกินอย่างแน่นอน
- ระหว่างโครงการขุดพลังงานในอ่าวไทย กับโครงการแลนด์บริดจ์ภาคใต้ อยากให้อันไหนเกิดก่อนกัน?
นาย พิชัย กล่าวว่า ความจริงอยากเห็นทั้ง 2 อย่าง อย่างก๊าชในอ่าวไทยนั้น ไทยก็อยากทำ กัมพูชาก็อยาก ยืนยันรัฐบาลนี้เปิดเผยตรงไปตรงมาให้คนเค้ารู้ ไม่เหมือนบางคนไปทะเลาะเค้า แล้วก็แอบไปเจรจาจุกจิก เหมือนคนประเทศเราโง่ ต้องมาแอบมาซ่อน แล้วกัมพูชาจะเชื่อเราได้อย่างไร ขนาดคนของตัวเองยังถูกหลอกเลย ผมอยากเห็นความก้าวหน้าทั้ง 2 โครงการในรัฐบาลนี้ อีกเรื่องที่คนไม่รู้กันว่าแม้ตกลงกันวันนี้ได้ ไม่ใช่ได้เลย กว่าจะได้แก๊สมาอีก 8-10 ปี เพราะฉะนั้นผมทำเนี่ย เพื่อลูกหลานจริงๆนะ เพราะถ้าถึงเวลา เกิดขุดแก๊สขึ้นมาไม่ทัน ใครรับผิดชอบ
"ส่วนเรื่องที่มากล่าวหากันทางการเมืองอย่างโน้น อย่างนี้ เรื่องใครได้ประโยชน์นั้น ให้โครงการมันเกิดมาก่อน แล้วถ้ามีหลักฐานใครทำผิด ก็จับเต็มที่เลย ดีกว่าสุดท้ายก็ไม่ทำอะไร ถ้าทำ อย่างน้อยก็เป็นหลักประกันเรื่องเราจะมีพลังงานใช้ในอนาคต มันก็ดีกว่า ขุดขึ้นมามองมุมไหน ไทยก็ได้ประโยชน์ เรามีโรงแยกแก๊ส 6 โรง มีอุตสาหกรรม ปิโตรเคมีคอล มูลค่าเป็นแสนล้าน ขณะที่กัมพูชายังไม่มีเลยแม้แต่โรงเดียว แล้วถ้าต่อไปในอนาคต กัมพูชาจะสร้างโรงแยกแก๊ส เราก็เข้าไปร่วมลงทุนได้ถ้าเขาอนุญาต แต่ทั้งนี้ยืนยันว่า ยังไม่ได้มีการหารือระหว่าง 2 ประเทศ เรื่องการลงทุนแต่อย่างใด ส่วนตัวอยากให้ประชาชนทุกคนได้ได้คิด หากไม่มีการขุดแก๊สขึ้นมาเพื่อใช้ประโยชน์ทั้งกับประเทศไทย และกัมพูชา ในอนาคตจะรับกันได้หรือไม่ หากต้องจ่ายค่าไฟฟ้าเพิ่มขึ้นจากปัจจุบันอีก 1 เท่า ถามว่า คุณจะยอมจ่ายกันหรือไม่ ต้องยอมรับความจริงกันก่อน ดังนั้นจึงต้องหาทางเจรจากัน
ขณะที่หากนำข้อมูลปริมาณการเก็บ น้ำมันสำรองทั่วโลกบางส่วนมาเปรียบเทียบ ก็จะทราบได้ว่า ไทยมีการสำรองพลังงานในระดับที่ถือว่าต่ำมาก เพราะมีสำรองไว้เพียงแค่ 18 วันเท่านั้น ขณะที่ประเทศอื่นมีปริมาณน้ำมันสำรองมากกว่าหลายเท่า ดังนั้น หากเกิดเหตุฉุกเฉิน อาทิ สงคราม หรือวิกฤตการณ์ขาดแคลนพลังงานขึ้น ประเทศไทยจะเป็นอย่างไร ส่วนตัวก็ไม่อยากคิด นายพิชัย กล่าว…
***ข้อมูลการเก็บน้ำมันสำรองของกลุ่มประเทศสมาชิก IEA***
- แล้วนโยบายรถคันแรกของรัฐบาลที่ออกมา ถือเป็นการขัดนโยบายประหยัดพลังงานของประเทศหรือไม่
นาย พิชัย กล่าวว่า ความจริงเป็นการเข้าใจผิดนะ เพราะนโยบายรถยนต์คันแรกของรัฐบาลก็ถือเป็นการประหยัดพลังงาน เพราะรถรุ่นใหม่ประหยัดพลังงานกว่ารถรุ่นเก่า กรอบคิดนโยบายรถคันใหม่ อยู่บนพื้นฐานประชาชนทุกคนอยากได้รถยนต์ อย่าไปบอกว่า โอ๊ย รถยนต์มีเยอะแล้ว ออกมามากๆ รถก็ติด ไม่มีถนนจะวิ่ง คนส่วนใหญ่ที่ไม่มีรถก็อยากได้รถอยู่แล้ว ดังนั้นอย่าเอาตัวเองเป็นกรอบไปปิดกั้น มันไม่ใช่ ส่วนที่มีข้อทักท้วงว่า ควรจะจัดการกับรถเก่าที่ใช้งานมา 10-20 ปีอย่างไร เพราะเป็นรถที่ไม่ประหยัดพลังงาน และสร้างมลพิษ ก็จะขอกลับไปดูว่า ต้องทำอย่างไร
ขณะที่มีการระบุว่า ทำไมรัฐบาลไม่ส่งเสริมรถอีโก้คาร์นั้น เรากำลังดูแผนที่จะส่งเสริมอยู่ แล้วที่ยังไม่ส่งเสริมตั้งแต่แรก รมว.พลังงานอ้างว่า เพราะเกรงว่าดูเหมือนจะไปช่วยผู้ผลิตรถยนต์ประเภทนี้อย่างเดียว ซึ่งไม่น่าจะถูกต้อง แล้วการส่งเสริมให้คนมีรถยนต์ง่ายขึ้น รัฐก็เห็นว่าสอดคล้องกับการที่ไทยจะเป็นศูนย์กลางส่งออกรถยนต์ในภูมิภาคอา เซียน แล้วทำให้เกิดธุรกิจต่อเนื่องอีกมาก อย่าเพิ่งไปคิดเฉพาะกรุงเทพฯ อย่างเดียว คนต่างจังหวัดก็อยากซื้อ
"ต้องออกตัวก่อนว่า กระทรวงพลังงาน ความจริงไม่เกี่ยวข้องกับนโยบายรถยนต์คันแรก เพราะเป็นเรื่องของกระทรวงการคลัง สำหรับกรณีที่คลังออกมายอมรับว่า เตรียมจะพิจารณากรอบเงื่อนไข โครงการรถยนต์คันแรกเพิ่มโดยเฉพาะ ให้ครอบคลุมไปถึง รถยนต์ที่นำเข้าจากต่างประเทศนั้น อันนี้ที่เคยพูดคุยกันมาก่อนในพรรคเพื่อไทย ไม่มีการส่งเสริมเรื่องนี้ ยอมรับอาจต้องมีการหารือกับกระทรวงการคลังกันอีกรอบ เพราะตอนนี้ งานในกระทรวงพลังงานเองก็ยุ่งมาก แต่ยืนยันได้ว่า ตอนที่ช่วยคิดนโยบายให้พรรคเพื่อไทยนั้น ไม่มีกรอบคิดในเรื่องนโยบายดังกล่าว รวมไปถึงกรณีขยายซีซี รถยนต์ จากไม่เกิน 1,500 ซีซี เป็น ไม่เกิน 1,600 ซีซี ด้วย" รมว.พลังงาน กล่าว...
เรื่องบอร์ดในกระทรวงพลังงานตอนนี้ มีสัญญาณการเปลี่ยนแปลง?
นาย พิชัยกล่าวว่า ยังไม่มีสัญญาณการลาออกในตอนนี้ แต่ต่อไปยอมรับว่า ก็คงมีการลาออกของบอร์ดในกระทรวงพลังงาน เชื่อว่า คณะกรรมการแต่ละคนมีความรู้ ความสามารถเหมาะสมและทราบประเพณีดีอยู่แล้ว และก็เป็นกรอบแนวคิดธรรมดาๆเมื่อมีการเปลี่ยนรัฐบาลใหม่ก็ต้องมีวุฒิภาวะ มีมารยาทเพียงพอและเชื่อว่าคงไม่ไปดื้อ จนทำให้เสียชื่อตัวเอง อย่างใน ปตท.เองก็มีผู้มีความเหมาะสมหลายท่าน ที่จะมาทำหน้าที่เป็นกรรมการผู้จัดการใหญ่ แทนนายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ ที่เกษียณอายุไป อย่างนายณอคุณ เป็นต้น แต่ก็มีกระแสท้วงติงมาว่า มีตำแหน่งอยู่ในราชการแล้ว ยังจะมามีตำแหน่งในบริษัท ปตท.อีก จะมีความเหมาะสมหรือไม่ เราก็รับมาพิจารณาดูเช่นกัน
- ถมทะเล ถึงตอนนี้ส่วนตัวคิดเห็นอย่างไร?
นาย พิชัย กล่าวว่า สนับสนุนอยากให้เกิดขึ้น เพราะอยากให้มองว่า ตอนนี้ กทม. น้ำเริ่มท่วมหนักแล้ว ขณะที่วันใดวันหนึ่ง กทม.คงจมน้ำ ทั้งนี้ วิธีการแก้ปัญหา อย่างที่ 1 คือ ต้องคิดสร้างเขื่อนก่อน แล้วเขื่อนนี้ถ้าจะสร้างมา ต้องใช้งบประมาณเท่าไหน นับแสนล้าน แล้วถ้าจะทำ จะหาเงินมาสร้างเขื่อนได้อย่างไร ดังนั้น พท. จึงมีแนวความคิดให้ถมทะเล เพื่อที่จะได้นำพื้นที่ดินที่ได้ใหม่มาสร้างเมืองเพื่อหารายได้สร้างเขื่อน กันน้ำท่วมในอนาคต ไม่เช่นนั้น จะหาเงินมาจากที่ไหน การถมทะเลนี้เพื่อเป้าหมายนำรายได้ไปสร้างเขื่อนป้องกันน้ำท่วมกทม. ทั้งยังสามารถนำพื้นที่ประมาณ 2 แสนไร่ไปสร้างเมื่องใหม่ เป็นเมืองธุรกิจเพื่อพัฒนาประเทศได้ ทั้งนี้ยอมรับว่า การถมทะเลทำให้ประเทศชาติสูญเสียทรัพยากรมหาศาล แต่หากไม่สร้างแล้วเกิดน้ำท่วมใหญ่ หรืออนาคต กทม.จมน้ำอย่างที่กลัวกัน มันก็ไม่เหลืออะไรอยู่ดี ส่วนที่คิดแล้วจะทำได้หรือไม่ ก็ยังดีกว่าไม่ได้คิด เพราะถ้าไม่คิดก็คงไม่มีการลงมือทำ
รม ว.พลังงาน ยังขอยืนยันความในใจกับทีมข่าว"ไทยรัฐออนไลน์" กรณีสังคมอาจเกิดข้อสงสัยทุจริตคอรัปชันด้วยว่า หากรัฐบาล พท. พยายามเร่งเจรจาผลประโยชน์ทางทะเลในอ่าวไทย ระหว่าง 2 ประเทศในขณะนี้ ว่า ขนาดยังไม่มีอะไร ยังถูกตั้งข้อสงสัยถึงขนาดนี้ หากจับได้มีการทุจริตจริงจะโดนขนาดไหน คนละแบบกับรัฐบาลที่ผ่านมา เพราะเราต้องทำดีอย่างเดียว ทั้งนี้แต่ก็ถือเป็นวาระที่ดี อย่างนี้โอกาส ทิศทางประเทศไทยจะเจริญต่อไปในอนาคต เพราะใครจะคิดโกงไม่ได้ เนื่องจากมีการตรวจสอบจากสังคมอย่างเข้มข้น..
คนกลัวคุก
ปกติคนทั่วไปมักกลัวความสูง แต่นักปีนภูผาชัน นักกายกรรมไต่ลวด และผู้ทำความสะอาดตึกร้อยชั้น หากลัวความสูงไม่
ปกติมนุษย์ทุกคนล้วนกลัวตาย แต่นักรบผู้เกรียงไกรกลับเห็นความตายเป็นเรื่องขี้ผง และผู้เฒ่าที่ผ่านโลกจนชุ่มโชกก็เห็นความตายเป็นของล้อเล่น ไม่กลัว ไม่ตกใจและไม่หนี
ปกติคนส่วนใหญ่ "กลัวติดคุก" ไม่มีใครอยากเป็น "นักโทษชาย" หรือยอมเป็น "ผู้ต้องขังหญิง" ง่าย ๆ มีเพียงบุคคลสองประเภทเท่านั้นที่ไม่กลัวคุก ได้แก่ "อาชญากรติดสันดาน" และ "นักการเมืองผู้ยึดมั่น"
ผู้ที่เป็นอาชญากรติดสันดานนั้นไม่ต้องพูดถึง ถ้ากลัวติดคุกกลัวตะรางก็หมดอาชีพแน่
สำหรับนักการเมืองผู้ยึดมั่น ปกติก็ไม่มีใครอยากติดคุก แต่เพราะยึดมั่น "เป้าหมายมีไว้พุ่งชน" การไปสู่จุดหมายจึงมีโอกาสที่จะทำให้ตนเองติดคุกติดตะรางได้
ไม่ต้องดูอื่นไกล เสธ.เมรัยของเราก็เคยติดคุกมาแล้ว คนดังระดับโลกอย่างฮิตเลอร์ก็ต้องติดคุกมาก่อน
อีหรอบเดียวกับคานธี คาสโตร และอองซาน ซูจี ล้วนแต่เคยผ่านคุก
ล่าสุดแกนนำคนเสื้อแดงทั้งหลายต่างก็ได้เกียรติบัตร "มนุษย์ผ่านคุก" ไปตาม ๆ กัน เช่น เสี่ยตุ๊ดตู่ เสี่ยเต้น เสี่ยเหวง เสี่ยเจ๋ง ดอกจิก และเสี่ยขวัญชัย ไพรพนา เป็นต้น
จนทุกคนสมควรได้รับเหรียญ "นักการเมืองคนกล้าที่ไม่กลัวคุก" ประดับหน้าอก
แต่น่าประหลาดอย่างที่สุด แรมโบ้กีร ผู้เป็นฮาร์ดคอร์ที่เล่นบทบู๊ล้างผลาญได้มันกว่าใคร กลับกลายเป็นนักการเมืองที่ "กลัวติดคุก" เป็นที่สุด
การที่แรมโบ้กีร้เป็น "คนกลัวคุก" นั้น ผมไม่ได้กล่าวลอย ๆ หรือยกเมฆทั้งก้อนเหมือนเฮ้งเจีย แต่นำมาบอกกล่าวโดยอาศัยคำพูดของท่านผู้ช่วยเลขานุการ รมว. มหาดไทย ท่านยศวริศ ชูกล่อม หรือท่านเจ๋ง ดอกจิก มาอ้างอิงไว้ดังนี้
"สาเหตุที่อริสมันต์หนี เพราะเป็นคนกลัวคุก ถ้าแน่ใจว่าจะได้รับการประกันตัวแน่นอน ก็คงจะมามอบตัว"
จินตนาการไม่ออกจริง ๆ ว่า แรมโบ้กีร็กลายเป็น "คนกลัวคุก" เพราะอะไร ถ้าจะให้เดา ก็คงจะต้องเดาว่า เสี่ยกี้รูปหล่อกว่าใคร จึงทำให้แรมโบ้กีร์ไม่กล้าอยู่ในคุก เพราะอาจ "ใจไม่ด้านพอ" ที่จะต้องไปปฎิเสธพวกเสือใบในคุกนั่นเอง
กมลศักดิ์ ตั้งธรรมนิยม
ด้วยประจักษ์เป็นจริงทุกสิ่งอัน"
การ
ขอกู้ ๑๐,๐๐๐ ล้านบาทแรก "โปะกองทุนน้ำมัน" นี่คือตัวอย่างสะท้อนว่า
รัฐบาลนี้เป็น "นักบริหารมืออาชีพ" หรือ "นักฉ้อฉลทางนโยบาย" เป็นอาชีพ
เพราะถ้าเป็นนักบริหารมืออาชีพ สิ่งนี้ คือ สิ่งเห็น-สิ่งเป็นอยู่
จะไม่เกิด เพราะก่อนทำ "เขาต้องมีแผน" และแผนนั้น
ถึงเลว-ก็จะไม่ถึงขั้นเกิด "ผลลบ" สะท้อนกลับเป็นลูกโซ่เช่นนี้! ดูที่รัฐบาลยิ่งลักษณ์ "ทำแก้บน" ตอนหาเสียงสิ ทุกนโยบายเกิดปัญหานุงนัง ชนิดว่า ประกาศมาตรการไปวัน รุ่งขึ้น...เอ้า...ไม่ใช่ เอาใหม่อีกวัน แล้วก็ยังไม่จบ ชุลมุน-ชุลเก หาความลงตัวทางปฏิบัติไม่ได้ ทั้งน่าสมเพชและน่าทุเรศ "หมาไล่งับหางตัวเอง" ยังไงก็ยังงั้น! ทั้งเรื่องรถคันแรก ยี่เกร้องยังมีบทลง แต่นี่รัฐบาล งานนโยบายผลาญรายได้ประเทศ ๓๐,๐๐๐ ล้านบาท กระทรวงคลังทำเป็นลิงปอกกล้วยให้นายกฯ ยิ่งลักษณ์นั่งดูทุกอังคาร ก็ยังไม่รู้ต้องใช้กล้วยอีกกี่ใบ? ยังเรื่องบ้านหลังแรกอีก คิดแผนไว้เห่าหาเสียง-ใครมันก็เห่าได้ แต่เวลาต้องทำตามเห่าจริงๆ เห่าซับซ้อน-ซ้ำซากไม่เป็นภาษาหมา และมันต้องผลาญรายได้ที่รัฐไม่ควรเสียไปอีกกี่หมื่นล้านเพื่อ "เซ่นนโยบายหาเสียง" ไพร่ๆ พรรค์นี้ ผมขี้เกียจจำ? นี่ยังแค่ระดับหมื่นล้าน อีกไม่กี่วัน นโยบาย "รับจำนำข้าว" เริ่ม คอยดูเหอะ พ่อเจ้าประคุณรุนช่อง วิบัติ ๓ เด้ง เด้งแรก-งบประมาณ เด้งสอง-ตลาดนอก และเด้งสาม ปัญหาตลาดใน รวมทั้งการทุจริตในโครงการทั้งรัฐ-ทั้งราษฎร์ ผมไม่กลัวขนข้าวเขมร-ข้าวลาว มาเอา ๑๕,๐๐๐ บาท แต่กลัว "ข้าวเทวดาปลูก" บนฟ้า-บนสวรรค์นั่นซี มันเป็นข้าวทิพย์ มองไม่เห็นเม็ด บรรทุกเกวียนแก้วล่องลอยมาในอากาศ มองไม่เห็นอีกเหมือนกัน แต่คนรัฐบาล คนกระทรวงพาณิชย์ คนพ่อค้า-โรงสีในโครงการ ซึ่งเป็นชนชั้นเทวดา...เขาเห็น แล้วเขาก็รับจำนำ "ข้าวเทวดาปลูก" ลองข้าวเทวดา มันก็ต้องราคาเกวียนละ ๒ หมื่นขึ้นไป รวยกันวายตะไล ไม่ใช่รวยเงินทิพย์ที่มองไม่เห็นด้วยตานะ แต่รวยจากเงินภาษีในรูป "เงินงบประมาณแผ่นดิน" นั่นแหละ! ก็น้ำท่วมขนาดนี้ จะหาข้าว "ชาวนาปลูก" บนพื้นดินจากที่ไหนมาจำนำรัฐบาลล่ะ ที่มี...มันคือข้าวของพ่อค้า-โรงสีที่รับซื้อจากชาวนาถูกๆ เก็บไว้ในยุ้งฉางก่อนหน้านี้แล้วทั้งนั้น ดังนั้น ๒-๓ แสนล้านที่จะต้องถูก "ผลาญออกไป ถ้าตกถึงมือชาวนาจริงๆ ผมจะซื้อม้าขาวจริงๆ ให้ยิ่งลักษณ์ขี่เลย และม้าดำอีกซักตัวให้นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง ผู้บริหารโครงการขี่ประคองหลัง พวกท่านเอวังน่ะ ผมไม่ห่วง ห่วงแต่ชาวนาจะเอวัง เพราะประเทศไทยนั้น ถ้าชาวนาเอวัง หมายถึง...ประเทศ เอวัง! ยังเรื่องเงินเดือนข้าราชการ-ลูกจ้างรัฐ ต่างๆ นานา ปริญญาตรีปรับเป็น ๑๕,๐๐๐ บาท ค่าแรงขั้นต่ำ ๓๐๐/วัน นี่ก็ต้องใช้งบอีกกี่หมื่นล้านต่อเดือน-ต่อปี เสียเงินแล้วปัญหาจบมันก็ดี แล้วดู "รัฐบาลนักบริหารมืออาชีพ" เขาทำซี ข้าราชการระดับ ๗ ระดับ ๘ ทำงานกันมากว่า ๑๐ ปีขึ้นไป เงินเดือนเพิ่งโผล่หัวพ้นขอบ ๑๕,๐๐๐ บาทไม่กี่พันเอง แต่จู่ๆ เด็กเข้าใหม่วันนี้ สตาร์ทปุ๊บ ๑๕,๐๐๐ บาท ซึ่งก็ไม่ว่ากัน คนได้เงินนั้นดี แต่จะทำยังไงล่ะ เด็กใหม่เงินเดือนไปเกยคนเก่าน่ะ? เอ้า...ก็ต้อง "ลิงแก้แห" ขยับขยายกันไปตั้งแต่ภารโรงยันปลัดกระทรวง ตรงนี้อีกกี่หมื่น-กี่แสนล้านนิ รันดร์กาลล่ะ? พูดก็จะว่าเอาแต่ตำหนิรัฐบาล ก็ความจริงเป็นเช่นนั้น รัฐบาลไม่มีนโยบายหาเงินเข้ารัฐซักบาท แต่ผลาญเงินรัฐไปสนองนโยบายประชานิยมที่ตัวเองหาเสียงไว้โครมๆ "ภูเขาหนี้" จะเสียดยอด "ภูเขาทอง" นะน้องปูจ๋า! อ้อ...จะว่าไม่หาเงินเข้ารัฐซะทีเดียวก็ไม่เชิง ก็มี...อย่างพล่านไปงุบงิบเขมร จะขุดพลังงานในพื้นที่ทับซ้อนอ่าวไทยนั่นไง แล้วอย่างที่นายพิชัย ทริพทะพันธุ์ สานสัญญาเดิมทักษิณกับดูไบ ทุบทิ้งโครงการท่าเรือทวาย ไปรื้อฟื้นโครงการแลนด์บริดจ์ ทำคลังน้ำมันภาคใต้ และสดๆ ร้อนๆ เสนอตั้งบ่อนกาสิโนขึ้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ นั่นล่ะ...นโยบายหาเงินสร้างประเทศของรัฐบาลนี้!? สรุปแล้ว...ตั้งแต่เป็นรัฐบาลมา "สร้างอะไร" เข้ารัฐบ้าง นอกจาก "สร้างปัญหา" และสร้างอาณาจักรแดง ตั้งหน้า-ตั้งตาฟอกทักษิณเหมือนฟอกหนังสัตว์ ขนคนเสื้อแดงเข้ามา "สกัดจุดประเทศ" กระจายยึดอำนาจระบบรัฐ มือขวาล้วงเงินรัฐไปแจกจ่ายชาวบ้านว่านี่คือ...เงินนโยบายรัฐบาลทักษิณสั่ง ส่วนมือซ้ายเซ็นกู้หนี้-ยืมสินในนามรัฐ สะสมไว้ให้ชาวบ้านทั้งที่เลือกเพื่อไทยและไม่ได้เลือกเพื่อไทย แบกหนี้ "จ่ายแทน" กันไปหัวโต! วานนี้ (๒๙ ก.ย.) อีก ๑๐,๐๐๐ ล้านบาท นายพิชัยขอกู้โปะกองทุนน้ำมัน! ถามว่า มันเป็นหนี้ที่ควรจะเป็นหนี้มั้ย ถ้าไม่ใช้นโยบาย "ฉ้อฉลเชิงนโยบาย" บวกกับการบริหารแบบมือเด็กปั๊ม ไม่ใช่มือระดับรัฐมนตรีพลังงาน? ไปยกเลิกเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันจากเบนซิน คิดมักม่าย-ทำมักง่าย แค่...กูมีอำนาจก็สักแต่ว่า...สั่งการลงไปเลย ครับ...ทั่น ไอ้สั่งแบบสักแต่ว่าสั่งนี่แหละ โครงสร้างพลังงาน และโครงสร้างประเทศ...มันจะพัง ก็น้ำมันเรามีหลายประเภท ราคาลดหลั่นกันไปจากผสมผสานนโยบาย+ภาษี+กองทุน ออกมาเป็นราคาจูงใจในความเหลื่อมต่างแบบลูกโซ่ระหว่างเบนซิน-แก๊สโซฮอล์ และน้ำมันตระกูล E ต่างๆ จู่ๆ ก็ทำโก้ เลิกเก็บจากเบนซินเข้ากองทุนโด่ๆ ซะงั้น เลิกเก็บมันก็ดี แต่อย่างที่บอก ราคาแต่ละชนิดเกิดจากการผสมผสานนโยบายแบบลูกโซ่ และต้องไม่ลืม ที่เก็บจากเบนซินนั้น ไม่ได้เอาไปแจกหัวคะแนน หากแต่เอาไปอุดหนุนราคาแอลพีจีและเอ็นจีวี ที่ ปตท.แบกต้นทุนหลังเดาะอยู่ทุกวันนี้ เลิกเก็บเงินอุดหนุน แต่ดันไม่ปล่อยราคาแอลพีจี และเอ็นจีวีที่หนุนไว้ ให้เป็นไปตามราคาแท้จริง มันจึงเกิดอาการ "ผิดสำแดง" รัฐบาลกลัวประชาไม่นิยม จึงอุ้มสม LPG และ NGV ด้วยการเอาเงินไปหนุน เมื่อเงินหมด-เงินไม่มี แล้วทำไง? ง่ายๆ กู้ "หมกหนี้" ไว้เป็นมรดกชาติยังไงล่ะครับ...ทั่น! แบบนี้ กระเป๋ารถเมล์หรือเด็กปั๊มก็เป็นรัฐมนตรีรัฐบาลยิ่งลักษณ์ได้ เห็นบอกว่าต้องอุ้ม LPG ภาคครัวเรือน-ขนส่ง ๑๘.๑๓ บาท/กก. และภาคยานยนต์ NGV ๘.๕๐ บาท/กก.ต่อไปอีก หลังมาตรการอุ้มหมดลงในเดือนนี้ นี่ก็คือการฉ้อฉลเชิงนโยบาย หนี้เกิดจาก "แก้บน" หาเสียง! ผมควรต้องจบ แต่จบไม่ได้ ถ้าไม่นำจดหมายนี้ลง เรียน คุณเปลวที่นับถือ คุณเปลวเขียนเรื่องอัยการอยู่สองวัน ผมเห็นด้วย ๑๐๐% บทบาทหน้าที่ของอัยการไทยสับสนและผิดเพี้ยนไปจากบทบาทหน้าที่ที่ควรจะเป็น มากเหลือเกิน องค์กรอัยการเป็นหน่วยงานทางบริหารธรรมดา ไม่ควรจะนำไปบรรจุไว้ในรัฐธรรมนูญเลย ทำให้อัยการหลายคนสำคัญตนเองผิด ว่าเป็นองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ อัยการห่วงว่าศักดิ์ศรีของตนจะไม่ทัดเทียมศาล จึงพยายามใช้บารมีของนักกฎหมายแก้กฎหมายให้องค์กรและฐานะของตนอยู่ในระนาบ เดียวกับศาล หรือผู้พิพากษาให้ได้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเงินเดือน การเป็นอัยการอาวุโสหลังเกษียณอายุ ล่าสุด มีการแก้กฎหมายให้อัยการผู้ช่วยที่ได้รับการบรรจุใหม่ต้องเข้าเฝ้าฯ ถวายสัตย์ปฏิญาณเหมือนกับผู้ช่วยผู้พิพากษา คงจะลืมนึกไปว่า กรอบการดำรงตนและกรอบของจริยธรรมของผู้พิพากษากับอัยการนั้นต่างกันมาก เอา กันง่ายๆ ผู้พิพากษาท่านมาคลุกคลีตีโมงกับข้าราชการสังกัดอื่นในจังหวัดได้ไหม ผู้ พิพากษามาเป็นกรรมการรัฐวิสาหกิจได้ไหม เป็นที่ปรึกษาให้ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองเหมือนกับที่อัยการหลายยุคหลาย สมัยทำอยู่ได้ไหม? คำตอบคือไม่ได้ แล้วจะให้มีศักดิ์ศรีและค่าตอบแทนเท่าเทียมกันได้อย่างไร เชื่อผมเถอะ ยิ่งมีการถวายสัตย์ฯ ก็ยิ่งมีการตระบัดสัตย์ เป็นแค่อัยการจังหวัด อำนาจก็ล้นฟ้าแล้วครับ อำนาจสั่งฟ้องหรือไม่ฟ้องคดีอาญาของอัยการจังหวัดเป็นอำนาจที่เด็ดขาดและมี พลานุภาพมากกว่าคำพิพากษาของศาลทุกศาลนะครับ ศาลท่านฟังความสองฝ่าย ท่านกลั่นกรองข้อเท็จจริงข้อกฎหมายด้วยองค์คณะก่อนตัดสิน ศาลต้นตัดสินแล้วยังอุทธรณ์ ฎีกาได้ อัยการฟังความฝ่ายเดียว (เป็นส่วนมาก) สามารถสั่งฟ้องหรือไม่ฟ้องได้เลย โดยปราศจากกลไกกลั่นกรอง (นอกจากความเห็นแย้งของตำรวจและคำชี้ขาดของอัยการ สูงสุดกรณีที่มีความเห็นแย้งดังกล่าว) โชคยังดีสำหรับผู้เสียหายเอกชนในประเทศไทย ที่ยังฟ้องคดีอาญาได้ด้วยตนเองโดยไม่ต้องพึ่งอัยการ กรณี อสส.ตัดสินใจไม่ฎีกาคดีเลี่ยงภาษีของคุณหญิงพจมานและคุณบรรณพจน์นั้น มีมาตรา 22 ของ พ.ร.บ.องค์กรอัยการฯ พ.ศ.2553 ระบุว่า คำสั่ง (ไม่ฎีกา) ของ อสส.ถือเป็นที่สุด และดุลยพินิจของท่าน ถ้าหากได้แสดงเหตุผลประกอบไว้แล้ว ย่อมได้รับความคุ้มครองทางกฎหมาย ใครก็เอาผิดท่านไม่ได้ครับ นอกจากจะยื่นถอดถอนตามวิถีทางตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งยากมาก เพราะต้องใช้เสียง ส.ส.หนึ่งในสี่ ใช้กระบวนการสอบสวนของ ป.ป.ช.แล้วถึงจะมาให้วุฒิสภาลงมติถอดถอน สำหรับ....ปัจจุบัน ท่านเป็นคนทำอะไรห่ามๆ อยู่ไม่น้อย แต่ส่วนมาก "ดีแต่โม้" สังเกตจากการให้สัมภาษณ์ตั้งแต่คดีส่งผู้ร้ายข้ามแดนรายคุณปิ่น จักกะพาก มาจนถึงคดียึดเครื่องบินที่เยอรมัน ไม่สำเร็จสักราย จะมาสำเร็จเป็นชิ้นเป็นอันก็เรื่องการไม่ฎีกาคดีภาษีที่ว่านี่แหละครับ ท่านมีแบ็กดีครับ สมาชิกไทยโพสต์ จบครับ ไม่อยากบอกจดหมายนี้ของใคร บอกไปแล้วจะ...หนาว. เปลว สีเงิน เรียบเรียงจาก http://www.thaipost.net |
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)
รีโมท
ซื้อ รีโมท จากผู้ค้าส่งโดยตรง ที่มีหน้าร้านจริง ที่ บ้านหม้อ และ คลองถม ราคาถูกกว่าใคร ปลอดภัย มีรับประกัน