บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันอังคารที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ขายฝัน นโยบาย ผลประโยชน์ แตกแยก วุ่นวาย หลงลืม

by หนุ่ม_แสงหิ่งห้อย ,
บ้านเมืองเราปัจุบัน ความเป็นอยู่และสภาพแวดล้อมที่ต่างกับเมื่อก่อน มากนั้น เกิดจากความเจริญทางวัตถุที่หลงลืมวัฒนธรรมของตัวเองไปจนเกือบหมด คนผ่านรุ่นผ่านวันผ่านปี ยิ่งนานไปวันข้างหน้า มองไม่เห็นว่าแต่ละที่จะเป็นอย่างไร เอาแค่เมืองเราประเทศเรานะครับ เด็กรุ่นต่อๆไปกับผู้ใหญ่ที่ห่างหายไปทีละรุ่น นั้นเปรียบได้เสมือนสิ่งที่เข้ามาทดแทนสิ่งที่หายไป ยิ่งนานเท่าไหร่ ผมว่า วัฒนธรรม ก็ยิ่งน่าเป็นห่วงมากขึ้น ความวุ่นวายแก่งแย่งชิ่งอำนาจ เพื่อประโยชน์ส่วนตนนั้น มีมากขึ้นทุกวัน สิ่งที่เกิดขึ้นกับประเทศอย่างที่เห็นเด่นชัดคือความแตกแยกแบ่งพรรคแบ่งพวก หลายฝักหลายฝ่ายนั้น ผลกระทบเหล่านี้ ย่อมไม่ใช่มีแค่คนรุ่นนี้แน่นอน เพราะอะไร เพราะแค่ผลประโยชน์ เพราะการเมืองเน่าๆ  การเมือง ราชการและเกือบทุกหน่วยงานที่ไม่แข็งแรง เหมือนเช่นกับการที่ทำงานไปวันๆ ประชาชนก็มีส่วนร่วมกับการทำลายระบบเหล่านี้ ทุกคนหวังแค่ผลประโยชน์ส่วนตัวเกือบทั้งสิ้น บางครั้งเราเองบอกว่า ไม่ชอบการทุจริตการเอารัดเอาเปรียบ แต่บางครั้งเราเองก็สนับสนุนมันเช่นกัน เช่นการติดต่อราชการหรือแม้เราจะไปตรวจรักษาที่โรงพยาบาล การจองคิวการให้สินบน ให้คนรู้จักในหน่วยงานนั้นๆช่วยเป็นเส้นเป็นสายเพื่อตอบสนองความสะดวกของเรา เอง การเมืองภาครัฐและหน่วยงานราชการก็เช่นกัน ส่วนใหญ่ล้วนแล้วเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนเกือบทั้งสิ้น หากบอกว่าไม่ใช่ ใครตอบผมได้ไหมครับว่ามีใครบ้างไม่ขี้เกียจเวลาต้องไปติดต่อกับหน่วย งานราชการเพราะไปแต่ละครั้งต้องไปรอนาน การรอนานหากเกิดจากเจ้าที่ยุ่งมากๆคงไม่เป็นไร แต่ที่รอเกือบทุกครั้งเพราะเห็นแต่เจ้าที่นั่งคุยกันเดินไปเดินมา กว่าจะเรียกแต่ละคิวได้รอแล้วรออีก แถมบางครั้งเจอแบบพูดจาไม่ดีอีก
ภาค รัฐเช่นการเลือกตั้งที่ผ่านมา ทุกพรรคการเมืองล้วนแล้วแต่มี นโยบายขายฝันมีแต่ลดแหลกแจกยังมีแถมอีก นโยบายไหนที่เกิดขึ้นจริงในอดีดก็มีผลกระทบตามมา ยกตัวอย่าง ที่ผ่านมา 30 บาท รักษาทุกโรค ดีจริงในแง่ไม่ต้องกลัวเรื่องค่าใช่จ่ายเวลาเข้าโรงพยาบาล แต่ผลกระทบละใครเคยคิดบ้าง หมอไม่มี หมอลาออก การให้บริการล่าช้า ประชาชนบางส่วนที่พอมีเงินจ่ายก็เข้าหาคลีนิคกันหมด อันนี้ก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ หมอเก่งๆเริ่มลาออกหันไปเปิดคลีนิคแบบเต็มเวลากันเกือบหมดโรงพยาบาล เทศบาล อบต. อบจ.หรืออีกๆ หลายที่ก็มีแต่คนรู้จักญาติพี่น้องพรรคพวกถึงจะสามารถเข้าไปทำงานได้ โรงเรียนเรียน เรียนฟรีกันจน ครูจะไม่มีสอน สาเหตุเหล่านี้ ภาครัฐเคยเปิดใจหันมาเหลียวแลหรือไม่ครับ การเมืองไม่ว่าท้องถิ่นหรือไม่ท้องถิ่นก็พอกัน กินงบประมาณหาผลประโยชน์ สาเหตุที่เป็นข่าวแต่ละครั้งก็เพราะขัดผลประโยนช์กันเอง ถึงเวลาออกมาพูดใส่ความกัน ก็ฟ้องกันไปฟ้องกันมา จนศาลทุกศาลรับเรื่องกันวุ่นวายไปหมด เดี่ยวคนนั้นฟ้องหมิ่นคนนี้เดี่ยวคนนี้ฟ้องหมิ่นคนนั้น ว้าวุ่นวุ่นวาย ถ้าหากต่างคนต่างทำหน้าที่ ที่ดีกัน คงไม่มีการฟ้องร้องกันให้ศาลต้องปวดหัวใช่หรือไม่ครับ
มุม มองของผม ผมว่าคนสมัยก่อน เน้นความยำเกรงนับถือซึ่งกันและกัน มีความเกรงใจมากกว่าการที่มานั่งเกรงเงินอย่างเช่นปัจุบัน ข้าวแลกแกง ปลากระป๋องแลกมาม่า แต่เดี่ยวนี้ทุกอย่างต้องแลกด้วยเงิน คนในประเทศชาวนาจนยังไงก็ยังเป็นอย่างนั้นทั้งที่แต่ละปีส่งออกข้าวตั้งไม่ รู้เท่าไหร่ต่อเท่าไหร่ แต่เราเองกลับต้องกินข้าวที่มีราคาแพง สนับสนุนการท่องเที่ยวแต่กลับเปิดเสรีให้ต่างชาติเข้ามาทำธุรกิจให้คนใน ประเทศหากินยากขึ้น เพราะเงินทุนสู้ต่างชาติไม่ได้ ที่ดินมีราคาแพง สุดท้าย คนไทยก็ต้องเป็นลูกน้องของฝรั่ง เพราะภาครัฐบริหารประเทศไม่จริงใจไม่เห็นแก่คนในประเทศของตัวเอง มัวแต่จะแก้กฏหมายเพื่อพวกพ้องเพื่อตัวเอง ผลเลือกตั้งยังไม่รับรองออกมาวิ่งรอกกันหาตำแหน่งกันวุ่น อนิจจาอนิจจังความโลภ

จะแก้ให้ได้จริงๆ มาตรา 112


คำประกาศ 359 นักเขียน :สิทธิ เสรีภาพ จักต้องไม่ถูกละเมิด การแสดงความคิดเห็นทางการเมืองจักต้องไม่ถูกขู่เข็ญ ด้วยข้อกล่าวหาไม่จงรักภักดี

เรา – นักเขียนจำนวน 359 คน ผู้มีรายนามต่อท้ายคำประกาศนี้ มีความเห็นว่า ขณะนี้ สิทธิ เสรีภาพตามหลักการภายใต้ระบอบประชาธิปไตยในสังคมไทย กำลังตกอยู่ในภาวการณ์สุ่มเสี่ยง และกำลังดำเนินไปสู่สภาวะบอบบาง และอ่อนแอ

อันเนื่องมาจาก มีบุคคลและกลุ่มบุคคลหลายฝ่าย นำกฎหมายอาญามาตรา 112 มาใช้เป็นเครื่องมือทางการเมือง ในการข่มขู่ คุกคาม หมิ่นประมาท อาฆาตมาดร้ายผู้อื่นโดยย่ามใจ และคึกคะนอง

ตลอดจนมีการใช้กฎหมายดังกล่าวยกอ้างสร้างความชอบธรรมในการฟ้องร้อง ดำเนินคดี คุมขังและริดรอนอิสรภาพของประชาชนจำนวนมากอย่างอยุติธรรม ทั้งนี้ โดยมีสาเหตุมาจากเรื่องทางการเมืองเป็นส่วนใหญ่

สิ่งที่เกิดขึ้นนี้ นอกจากจะเป็นการคุกคามและสั่นคลอนเสรีภาพในการแสดงออกและแสดงความคิดเห็น แล้ว ยังละเมิดหลักการว่าด้วยสิทธิ ความเสมอภาค สิทธิมนุษยชน ความเป็นนิติรัฐ และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ซึ่งรังแต่จะนำพาสังคมถดถอยสู่ความป่าเถื่อน ล้าหลัง

ด้วยตระหนักว่า เสรีภาพย่อมเป็นสิ่งซึ่งสัมพันธ์และไม่อาจแยกขาดจากกัน ความงอกงามของพลังสร้างสรรค์ ย่อมได้รับการเกื้อกูลจากเสรีภาพเป็นพื้นฐาน ในฐานะนักเขียน เสรีภาพในการแสดงออกและแสดงความคิดเห็นเกี่ยวพันกับความสามารถในการสร้าง สรรค์งานเขียนโดยตรง

การคิดและการแสดงความคิด เป็นสองสิ่งที่ไม่อาจแยกขาดจากกัน หากไร้ซึ่งการแสดงออกทางความคิดอย่างเสรีแล้ว ย่อมยากยิ่งที่ความคิดใหม่จะงอกเงยขึ้นมาได้

ผู้ที่ไม่เข้าใจว่าการริดรอนเสรีภาพในเรื่องหนึ่งย่อมกระทบกระเทือนเสรีภาพ ในอีกเรื่องหนึ่งอย่างหลีกไม่พ้น คือผู้ที่ไม่เข้าใจในเรื่องเสรีภาพ และมองไม่เห็นห่วงโซ่แห่งภูมิปัญญาที่เกี่ยวร้อยกันไว้

เมื่อเสรีภาพในการแสดงออกและแสดงความคิดเห็นถูกริดรอน ผลกระทบไม่เพียงเกิดกับนักเขียน เพราะเมื่อความคิดใหม่ ๆ ถูกทำให้เฉื่อยชาและลังเลที่จะแสดงออก ภูมิปัญญาของสังคมย่อมอ่อนแอ เสื่อมถอย และสังคมย่อมไม่อาจดำรงอยู่อย่างมั่นคงได้ในโลกสมัยใหม่ ซึ่งต้องอาศัยสติปัญญาเป็นกำลังสำคัญ

เราขอเรียกร้องต่อสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร์ซึ่งได้รับการเลือกตั้งจากประชาชน ในฐานะฝ่ายนิติบัญญัติ ให้เป็นผู้นำในการแก้ไขกฎหมาย

เราขอเรียกร้องความกล้าหาญที่จะแสดงสำนึกอันถูกต้องจากนักการเมือง นักวิชาการ สื่อมวลชน และปัญญาชนทุกภาคส่วน สังคมไทยมีความจำเป็นต้องตระหนักว่า การปิดกั้นการแสดงความคิดเห็นและการข่มขู่ คุกคาม กดปราบ หมิ่นประมาท อาฆาตมาดร้าย เหยียดหยามผู้อื่น

ไม่ว่าจะเป็นการกระทำโดยเจ้าหน้าที่รัฐ ประชาชนด้วยกันเอง หรือสื่อมวลชนที่มืดบอด คือภัยสังคมที่ต้องเร่งแก้ไข และสมควรเป็นวาระสำคัญแห่งชาติที่แท้จริง หากต้องการสถาปนาความมั่นคงในการอยู่ร่วมกัน

หากความล่มจมของสังคมจะเกิดขึ้น ย่อมไม่ใช่มาจากความไม่ปรองดอง ความไม่สามัคคี ความล่มจมไม่ได้เกิดจากคนในสังคมมีความคิดเห็นทางการเมืองแตกต่างกัน หากแต่เกิดขึ้นด้วยเหตุของการไม่เคารพสิทธิ เสรีภาพภายใต้ระบอบการปกครอง ปราศจากซึ่งความอดทนอดกลั้นในการรับรู้รับฟังความคิดเห็นที่แตกต่าง ไร้ความสามารถในการเรียนรู้และแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ถือความคิดของตนเป็นใหญ่ เหนือหลักสิทธิ เสรีภาพ หลักกฎหมาย หรือแม้แต่หลักรัฐธรรมนูญ

ความเร่งด่วนในการเยียวยาสังคมควรจะเป็นการสถาปนาความเป็นธรรม ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับเรื่องสิทธิ เสรีภาพ ความเสมอภาค เพื่อเป็นหลักในการเรียนรู้การอยู่ร่วมและแลกเปลี่ยนซึ่งความคิดเห็นที่แตก ต่าง เพื่อเพิ่มความสามารถในการอยู่ร่วมกันของคนในสังคม ภายใต้การปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ

เรานักเขียน 359 คนผู้มีรายนามท้ายคำประกาศนี้ ขอเรียกร้องให้มีการทบทวน ปรับปรุง แก้ไขกฎหมายอาญามาตรา 112 ด้วยความปรารถนาดีอย่างแท้จริง เพื่อความงอกงามของประชาธิปไตย เพื่อความมั่นคงของสถาบันกษัตริย์ และเพื่ออนาคตของประเทศชาติ ต้องยุติการใช้ข้อกล่าวหาไม่จงรักภักดีหรือหมิ่นพระบรมเดชานุภาพเป็นเครื่อง มือทางการเมือง

ด้วยศักดิ์ศรีของความเป็นนักเขียน เราขอประกาศว่า เราจักไม่ยอมจำนนต่อการกดขี่ คุกคาม ปราบปราม ข่มขู่ หรือการแสดงความอาฆาตมาดร้ายใด ๆ ไม่ว่าจะโดยบุคคล หรือกลุ่มบุคคลใด

ด้วยเกียรติภูมิของความเป็นพลเมืองไทย ภายใต้ระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ เราจักไม่สยบยอมให้กับการอ้างใช้สถาบันกษัตริย์เพื่อวางอำนาจ แสดงความดูหมิ่น หรือเพียงเพื่อปลดปล่อยจิตใจกักขฬะ ไม่ว่าจะโดยเจ้าหน้าที่รัฐ ประชาชนด้วยกัน หรือสื่อมวลชนที่มืดบอด

การอ้างสถาบันเพื่อแสดงความมุ่งร้ายผู้อื่น ใช้อำนาจกดข่มผู้อื่น ภายใต้หน้ากากของความจงรักภักดี และข้อกล่าวหากระด้างกระเดื่องต่อแผ่นดิน จักต้องไม่ได้รับความยำเกรงอีกต่อไป

ประกาศ ณ วันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2554


บินหลา สันกาลาคีรี

ปราบดา หยุ่น

ดวงฤทัย เอสะนาชาตัง

ซะการีย์ยา อมตยา

กิตติพล สรัคคานนท์

วรพจน์ พันธุ์พงศ์

วาด รวี

กฤช เหลือลมัย

สุเจน กรรพฤทธิ์

กวีอราสุ


(10)


ธีรภัทร เจริญสุข

พรสุข เกิดสว่าง

สานุ อร่ามเอกวนิช

สรายุทธ์ ธรรมโชโต

นงลักษณ์ หงส์วิเศษชัย

เฉลิมพันธุ์ หวันชิตนาย

เดือนวาด พิมวนา

ประกาย ปรัชญา

นพดล ปรางค์ทอง

นพรุจ หิญชีระนันทน์ (แสงศรัทธา ณ ปลายฟ้า)


(20)


กิตติกา บุญมาไชย

ภาณุ มณีวัฒนกุล

วิจักขณ์ พานิช

เกียรติศักดิ์ ประทานัง (ปั้นคำ)

สฤณี อาชวานันทกุล

ชญานิน เตียงพิทยากร

ทองธัช เทพารักษ์

“ผาดไหม”

อธิฌลา (อันธิฌา ทัศคร)

ดาราณี ทองศิริ


(30)


นิติพงศ์ สำราญคง

ศรัทธา แสงทอน

สหรัฐ พัฒนกิจวรกุล

วรรณสิงห์ ประเสริฐกุล

ปราย พันแสง

คณพล วงศ์วิเศษไพบูลย์

บุญชิต ฟักมี

สิทธา วรรณสวาท

นิศากร แก่นมีผล

อาทิชา ตันธนวิกรัย


(40)


ฉันทลักษณ์ รักษาอยู่ (มน. มีนา)

การะเกตุ ศรีปริญญาศิลป์ (การะเกต์ ศรีปริญญาศิลป์)

วรัญญู อินทรกำแหง

พิชญา โชนะโต

พีระ ส่องคืนอธรรม

วรวุฒิ สัจจะปรเมษฐ

พิเชฐ แสงทอง

คำ ผกา

โคจร สมุทรโชติ

ภู่มณี ศิริพรไพบูลย์


(50)


วิชัย ดวงมาลา

แก้วตา ธัมอิน

พิรุณ อนุสุริยา

พณ ลานวรัญ

ธิติ มีแต้ม

ธาริต โตทอง

ภูมิภัทร์ สงวนแก้ว

ณัฐชา วิวัฒน์ศิริกุล

มหรรณพ โฉมเฉลา

รวิวาร โฉมเฉลา


(60)


ปิยะพันธ์ เลิศคุณากร

นฤพนธ์ สุดสวาท

ณภัค เสรีรักษ์

ธนะ วงษ์มณี

อนุพงษ์ เทพวรินทร์

จรูญพร ปรปักษ์ประลัย

ระยิบ เผ่ามโน

อรุณรุ่ง สัตย์สวี

รางชาง มโนมัย

ภู กระดาษ


(70)


มัคคุเทศก์ทางวิญญาณ

รน บารนี

ธีร์ อันมัย

วิวัฒน์ เลิศฯ (วิวัฒน์ เลิศวิวัฒน์วงศา)

มูหัมหมัดฮาริส กาเหย็ม

พรพิมล ลิ่มเจริญ

ก่องแก้ว กวีวรรณ

กตัญญู สว่างศรี

หรินทร์ สุขวัจน์

สมหวัง ดังพ่อตั้งจิต


(80)


คาล รีอัล

กฤชวัชร์ เตชะวณิย์

ชานันท์ ยอดหงส์

นราวุธ ไชยชมภู

จรัส โฆษณานันท์

อนันต์ เกษตรสินสมบัติ

วิวัฒน์ จ่างตระกูล

โอปอล์ ประภาวดี

วีรพงษ์ สุนทรฉัตราวัฒน์

ภัทรภร วาดกลิ่นหอม


(90)


ภัควดี วีระภาสพงษ์

สุทธิดา มนทิรารักษ์

อำพล ฐาปนพันธ์นิติกุล (รินทร์ – บินนาน)

อาทิตย์ ศรีจันทร์

สิรนันท์ ห่อหุ้ม

ทินกร หุตางกูร

อธิคม คุณาวุฒิ

กรรณิการ์ กิจติเวชกุล

กันต์ธร อักษรนำ

อโนชา ปัทมดิลก


(100)


วิสัย เร็วเรียบ

รชา พรมภวังค์

กุดจี่ พรชัย แสนยะมูล

ชัชชล อัจนากิตติ

อติภพ ภัทรเดชไพศาล

วิทวัส จันทร์ก้อน

นิวัต พุทธประสาท

เรืองเดช จันทรคีรี

วิภาส ศรีทอง

เด็ดเดี่ยว เหล่าสินชัย


(110)


ไกรวุฒิ จุลพงศธร

ธเรศ นวลศิริ

นครินทร์ วนกิจไพบูลย์

วัชรัสม์ บัวชุ่ม

เมดินา อดุลยรัตน์

ตรีมีซีย์ ยามา

คันฉัตร รังสีกาญจนส่อง

แอลสิทธิ์ เวอร์การา

เวียง-วชิระ บัวสนธ์

ธนรรถวร จตุรงควาณิช


(120)


วรชัย เพชรคุ้ม

อุทิศ เหมะมูล

จันทร์เคียว ปริยา รัตนโยธา

วุฐิศานติ์ จันทร์วิบูล

จักรพันธุ์ ขวัญมงคล

รัชตะ อารยะ

รุ่งฤทธิ์ เพ็ชรรัตน์

แพร จารุ

ณขจร จันทวงศ์ (อังตวน)

มงคล โรจนวิสุทธิกุล


(130)


นพพล โสภารัตนาไพศาล

วาสุเทพ เกตุเพ็ชร์

รัชดา อุษณกร

วรวิช ทรัพย์ทวีแสง

สมศรี ตรังคสันต์

อรวรรณ ตรังคสันต์

ภาณุ ตรัยเวช

รุเธียร (วรุตม์ พงศ์พิพัฒน์)

ภู เชียงดาว

ประชา แม่จัน


(140)


เนติวิทย์ โชติภัทร์ไพศาล

ณัฐวัจน์ สุจริต

สรณรัชฎ์ กาญจนะวณิชย์

อารีรัตน์ โก

หริศ ทัดมาลัย

ปรีดีโดม พัฒนชูเกียรติ

เนตรนภิส วรศิริ

ฉัตรนคร องคสิงห์

เบญจมาส วินิจจะกูล

จู พเนจร


(150)


ปราโมทย์ แสนสวาสดิ์

ณรรธราวุธ เมืองสุข

A.L. Nawaf (นาวัฟ มะมิง)

ชลธิดา พระเมเด

Travis Bickle

สุดแดน วิสุทธิลักษณ์

ไมเคิ้ล เลียไฮ

สังคม ศรีมหันต์

กานต์ ณ กานท์

สมอล์ล บัณฑิต อานียา


(160)


กิ่งกาญจน์ ศรีปริญญาศิลป์ (วาดวลี)

คำสิงห์ ศรีนอก

วัฒน์ วรรลยางกูร

ทองขาว ทวีปรังษีนุกูล

Homo erectus

เพียงคำ ประดับความ

ชัยพร อินทุวิศาลกุล

ชัชวาลย์ โคตรสงคราม

วีราภรณ์ ประสพรัตนสุข

จเด็จ กำจรเดช


(170)


พินิจ นิลรัตน์

อังกฤษ อัจฉริยโสภณ

lily CU (หลิ่มหลี)

สหรัฐ ศราภัยวานิช

มาโนช พรหมสิงห์

สุจิตต์ วงษ์เทศ

สุภาวดี สรัคคานนท์

ปฐวี วิรานุวัตร

ฮวงซีเนี้ย

เทพวุธ บัวทุม


(180)


ณรงค์ศักดิ์ นิลเขต

วรเทพ อรรคบุตร

ปิยะวิทย์ เทพอำนวยสกุล

ภาคิน นิมมานนรวงศ์

วริษฐ์ บูรณปัทมะ

วรุจ ประสพดี

พัชระ นิรันด์กาล

ริยานันท์

กฤตพจน พงศ์ถิรประสิทธิ์

ขวัญพร เจริญยิ่ง


(190)


ศิริวร แก้วกาญจน์

ประพัทธ์ จิวรังสรรค์

มาลัย 'อิสรา

อาณัติ แสนโทน

อะตอม

รอมแพง อริยมาศ

mm

From Hell

เรืองรอง รุ่งรัศมี

โมน สวัสดิ์ศรี


(200)


วรรณา สวัสดิ์ศรี (ศรีดาวเรือง)

สุชาติ สวัสดิ์ศรี (สิงห์สนามหลวง)

นาโก๊ะลี

อุรุดา โควินท์

จักรกลจินตนาการ

ธันย์ชนก นาควิโรจน์

กิ่งฟ้า เสนีวงศ์ ณ อยุธยา (ควันบุหรี่)

วรารัตน์ กระแสร์

อัจฉริยะ ใยสูง

วิชิดา ภูมิสวัสดิ์


(210)


ณัฐพงศ์ ไชยวานิชย์ผล

น้ำเพชร เชื้อชม

ชัยปภัส ไวรักษ์

ขวัญชาย ดำรงค์ขวัญ

รุจ ธนรักษ์

ณัฏฐา มหัทธนา

ชมพร ไชยล้อม

ปิยนารถ ธรรมวัฒนะ

เด็ด จงมั่นคง

ปิยกุล ภูศรี


(220)


วรธาร พึ่งแก้ว

จิรัฏฐ์ ประเสริฐทรัพย์

นฤมล สารากรบริรักษ์

อรรถกฤษณ์ มหาเกตุ

ธัช ธาดา

ธนภัทร วชิรเมธี

เบญญภา อิ่มพร

สุจิตรา อุ่นเอมใจ

สนานจิตต์ บางสพาน

กัญญา มีบำรุง


(230)


ลัดดา สงกระสินธ์

รมิดา ตาฬวัฒน์

สมิทธิ ธนานิธิโชติ

วจีหน้ากาก

สิรินทร์ เรืองวัฒนไพศาล

ไพสิฐ พันธฺุพฤกษชาติ

พิมพ์สิริ เพชรน้ำรอบ

ปาลิดา ประการะโพธิ์

มนต์สวรรค์ จินดาแสง

วิษณุ อินเหมย


(240)


วรวดี วงศ์สง่า

อัญชลี อุชชิน

ชาญชนะ หอมทรัพย์

สุขุมพจน์ คำสุขุม

เป็ดสววรรค์

ธวัชชัย พัฒนาภรณ์

กานต์ เกรันพงษ์

ภาวิดา ลีภาพันธ์

แสงดาว ศรัทธามั่น

มาลานชา


(250)


เมธี

วรชัย เพชรคุ้ม

ธัญลักษณ์ บุญสัมฤทธิ์

สองขา

ธิติบดี รุ่งธีรวัฒนานนท์

ศันสนีย์ ทรงเกียรติธนา

ยุวดี วัชรางกูร

รุ่งโรจน์ "อริน" วรรณศูทร (วัฒนา สุขวัจน์)

ปุณณดา สายยศ

กำพล วงศ์กุหมัด


(260)


ภาคภูมิ ลมูลพันธ์

จุรี พิพัฒนรังคะ

มาร์ค พี ภูแสง

เอกกมล เอมระดี

ไพฑูรย์ พรหมวิจิตร

อัคนี มูลเมฆ

มีสเตอร์สะหวอยแมน

จักรพันธุ์ กังวาฬ

นางสาวรัตติกาล แซ่ฮ่อ

รจนา ลาร์เช่น


(270)


พิฐ บางพระ

พีรพล บางพระ

จำลอง ฝั่งชลจิตร

กิตติ จินศิริวานิชย์

อมิธา อัมระนันทน์

วินัย ชาติอนันต์

เฉลิมพล ปทะวานิช

วชิรา

อโลชา เวียงพงศ์

ศุภกร อาชว์สุนทร


(280)


ศิลาแลง

สุภาพรรณ สุตาคำ

พิชาน วรพันวาล

อนันต์ พุธซ้อน

ภาณุ บุญพิพัฒนาพงศ์

อนุชา วรรณาสุนทรไชย

ธันยนันท์ อ่อยอารีย์

เอกวิทย์ เตระดิษฐ์

Fan Faravel

อนุรักษ์ เม่นหรุ่ม


(290)


วีรยุทธ์ ธานี

ศิริโชค เลิศยะโส

มังกร

Paint the Sky

หมอกเหนือ(รพินทร์ วัฒนะ)

อัตถากร บำรุง

ขัณฑ คีรีมาศ

ธวัช ดำสอาด

สฤษดิ์ ผาอาจ

อ้าย เว่ย เหว่ย


(300)


นัฏฐกร ปาระชัย

ชนวีร์ คำมงคล

อาชญาสิตุส เดอ ซารามาแครส

กัมปนาท หัสดีวิเศษ

สมชาย จิว

วีระยศ สำราญสุขทิวาเวทย์

อนุราต ซิงห์ ดินด์ซา

นาถรพี วงศ์แสงจันทร์

กฤษฯ จินตนาการ

Thaiart


(310)


เกรียงไกร หัวบุญศาล

ทวีศักดิ์ พึงลำภู

ปิยบุตร หล่อไกรเลิศ

ดอกหญ้า บนทางดิน

พิชญา ศุภวานิช

ศุภชัย เกศการุณกุล

ชีวิน กาญจนสกุล

ทิพากร บุญอ่ำ

วิชิต หอยิ่งสวัสดิ์

อานันท์ นาคคง


(320)


ธวัชชัย ไชยวงค์สาย

จุฑามาศ อินต๊ะยา

วิทยากร โสวัตร

อุเทน ชาติภิญโญ

สมพร พงษ์พันธ์

วิชาธร วาสนาทิพย์

บุญส่ง สามารถ

สุธาสินี พานิชชานนท์

อัญชลี อนันตวัฒน์

ประมวล มณีโรจน์


(330)


อภิรดี จูฑะศร (เอื้อง ยิปโซ)

บดินทร์ จิรนันทศักดิ์

กนวิชญ์ เสนีวงศ์ ณ อยุธยา

พีระวัจน์ เดือนฉาย

ธเนศร์ เสนีวงศ์ ณ อยุธยา

ธันวา

ฐิตา

เพ็ญศิริ จันทร์ประทีปฉาย

สุทธิภา สัมฤทธิ์ประสงค์

ลิสนารี วิชิตสรสาตร หรือ


(340)


’รัตน์ คำพร

ปภากร สิรสุนทร

สาธิต รักษาศรี

ณัฐพล สวัสดี

รตา สุวรรณทอง

วิชญ ศิริพงศ์เกษม

โรสนี แกสมาน

ธีรวัฒน์ ทัศนภิรมย์

แตออ

เอกวัฒน์ เสน่ห์พูด


(350)


ศูนย์

เอกราช ลิ่วธนมงคล

ฐิติพัฒน์ ชัยพงศ์พิพัฒน์

วายูน เหลืองรัตนะแสง

ก้อง ฤทธิ์ดี

สุวิมล คะแนนสิน

ธันย์ ฤทธิพันธ์

ยุธิษฐิระ สิงห์ศิริพร

พิสิษฐ์ ว่องสิริสุขสกุล


(359)

เก้าอี้รัฐมนตรีกลาโหม-ค่ายกลทักษิณ


พล เอกประวิตร วงษ์สุวรรณ มีชื่ออยู่ในโผรัฐมนตรีว่าการกลาโหม หลังจากมีรายงานว่า เขาเป็น 1 ใน 3 ฝ่ายที่เปิดเจรจาข้อตกลงแบ่งสรรอำนาจในไทย( อ่านรายละเอียด) ขณะที่มวลชนเสื้อแดงจำนวนมากเตือนว่า หากทักษิณยินยอมเช่นนั้น จะถูกถือว่าเป็นผู้ทรยศต่อมวลชนผู้เอาเลือดเนื้อชีวิตเข้าแลกกับประชาธิปไตย และพร้อมจะขาดกันกับทักษิณและเครือข่าย

โดย หรี่ฟุน
12 กรกฎาคม 2554

นับเวลาถอยหลังแล้วน่ะครับที่ประชาชนชาวไทยกำลังจะมีรัฐบาลชุดใหม่ ที่มีนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของประเทศ เข้ามาบริหารราชการแผ่นดิน พร้อมด้วยคณะรัฐมนตรีที่ขณะนี้กำลังเป็นข่าวครึกโครม สับสนวุ่นวายตามสไตล์การเมืองแบบไทยๆ โดยเฉพาะตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
มี รายงานข่าวจากมติชน เสนอว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ได้ยืนยันว่า จะไม่เข้ามายุ่งเกี่ยวหรือเลือกบุคคลใกล้ชิดเข้ามาเป็นรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงกลาโหม ในคณะรัฐมนตรี (ครม.)"ยิ่งลักษณ์ 1" รวมทั้ง พท.ก็จะไม่ยุ่งเกี่ยวในตำแหน่งนี้เช่นกัน ปล่อยโควตาตำแหน่งนี้เป็นของคนนอก โดยให้กองทัพเป็นผู้พิจารณาหารือกันเอง เพื่อหาบุคคลที่เหมาะสมและเป็นที่ต้องการของกองทัพมาดำรงตำแหน่งดังกล่าว โดยที่ พ.ต.ท.ทักษิณหรือ พท.จะไม่มีการขัดขวางทั้งสิ้น เสนอใครมา พท.ก็จะแต่งตั้งบุคคลนั้น

แต่มีข้อแม้สำคัญ หากเกิดปัญหาใดขึ้นกับกองทัพ เช่น ปัญหาความมั่นคงตามแนวชายแดน การทุจริตคอร์รัปชั่น ผิดวินัยข้าราชการ รัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมกับกองทัพต้องรับผิดชอบ

หากข่าวดังกล่าวเป็นจริง และอดีตนายกฯทักษิณฯพูดจริง ก็ต้องถือว่า ไม่เสียแรงที่อดีตนายกทักษิณฯที่ระหกระเหินไปอยู่ต่างประเทศ ได้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ ไม่ว่าประโยชน์ทางการเมืองที่สามารถผลิกผันให้พรรคเพื่อไทย กลับขึ้นมาผงาดในการเป็นรัฐบาล รวมถึงการสร้างนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของประเทศไทย ที่เป็นน้องสาวสุดที่รัก ได้อย่างอัศจรรย์

คำยืนยันของอดีตนายกทักษิณฯ ถึงการที่จะไม่เข้ามายุ่งเกี่ยวหรือเลือกบุคคลใกล้ชิดเข้ามาเป็นรัฐมนตรีว่า การกระทรวงกลาโหม ในคณะรัฐมนตรี (ครม.)"ยิ่งลักษณ์ 1" รวมทั้ง พท.ก็จะไม่ยุ่งเกี่ยวในตำแหน่งนี้ โดยให้กองทัพเป็นผู้พิจารณาหารือกันเอง เพื่อหาบุคคลที่เหมาะสมและเป็นที่ต้องการของกองทัพมาดำรงตำแหน่ง ถือเป็นการทำลายค่ายกลทางทหารที่ชาญฉลาดและลึกซึ้ง เกมนี้อดีตนายกทักษิณฯอ่านขาด

ความไม่เป็นเอกภาพภายในกองทัพไทย โดยเฉพาะกองทัพบกที่มีการแบ่งขั้วอำนาจที่ชัดเจน ระหว่างค่ายวงศ์เทวัญ และ ค่าย บูรพาพยัคฆ์ ประเด็นที่หนึ่ง

ประเด็นที่สอง ความเหลื่อมล้ำของงบประมาณในสามเหล่าทัพ กองทัพบกได้สองกองพลเกิดขึ้นใหม่ ได้รถถัง และอีกสารพัดยุทโธปกรณ์ที่ใช้ได้บ้างใช้ไม่ได้บ้าง กองทัพอากาศ ได้ฝูงบินขับไล่ กริฟฟิน แต่ กองทัพเรือ กลับไม่ได้เรือดำน้ำ

ปัญหาทั้งสองประเด็นดังกล่าว จึงเป็นที่มาของการตัดสินใจของอดีตนายกทักษิณฯ ที่จะให้กองทัพเป็นผู้พิจารณาหารือกันเอง เพื่อหาบุคคลที่เหมาะสมและเป็นที่ต้องการของกองทัพมาดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่า การกระทรวงกลาโหม

แต่อะไรไม่ว่า กลยุทธสุดท้าย ที่ผมเชื่อว่า บรรดาทหารหาญทั้ง 3 เหล่าทัพ หัวใจคงจะร่วงมาอยู่ที่ตาตุ่มแน่ๆ กลยุทธดังกล่าวที่อดีตนายกทักษิณฯวางไว้ ก็คือ ข้อแม้สำคัญ

“แต่มีข้อแม้สำคัญ หากเกิดปัญหาใดขึ้นกับกองทัพ เช่น ปัญหาความมั่นคงตามแนวชายแดน การทุจริตคอร์รัปชั่น ผิดวินัยข้าราชการ รัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมกับกองทัพต้องรับผิดชอบ”

ข้อแม้ นี้ล่ะครับ ที่จะบีบหัวใจของเหล่าบรรดาทหารหาญทั้ง 3 เหล่าทัพ รวมไปถึงมือที่มองไม่เห็นที่คอยบงการชักใยอยู่เบื้องหลัง ที่นับแต่นี้ต่อไป กระทรวงกลาโหม

-ไม่ว่าจะแต่งตั้งใครเป็น ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ผู้บัญชาการเหล่าทัพ
-ไม่ว่ากองทัพใด จะผลาญงบประมาณ ทุจริตคอรัปชั่น
-ไม่ว่าจะเอารถถังออกมาปฎิวัติรัฐประหาร

รัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมกับกองทัพต้องรับผิดชอบ หรือถ้าคิดว่ายังมีอำนาจทำได้ ผมขอแนะนำ 2 ทางตันให้พวกคุณ คือ 1.พลังมวลชน 2.ประชาคมโลก

สรุป นี่ล่ะครับ คือ “พิษทักษิณ” ของจริงเสียงจริง ที่เจ้าหนูมาร์ค พรรคประชาธิปัตย์ รวมถึงบุคคล กลุ่มบุคคลบ้าๆบอๆปัญญาอ่อน ต่างกลัวนักกลัวหนา ที่ทักษิณจะกลับมาประเทศไทย .......

ตรวจ ‘5 นโยบายประชานิยม’ จัดเต็มสุดโดนใจ รัฐบาลยิ่งลักษณ์ทำได้-ทำไม่ได้



โดย ASTVผู้จัดการรายวัน 11 กรกฎาคม 2554 18:49 น.


คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่ขึ้น



เป็นธรรมดาวิสัยเสียแล้ว สำหรับการหาเสียงทุกครั้งของพรรคการเมืองที่ถูกก่อตั้งโดยเครือข่ายของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ที่มักจะเน้นการหาเสียงด้วยนโยบายการตลาดที่เป็นรูปธรรมและจับต้องได้มากที่ สุด ไม่ว่าจะเป็นโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค, พักหนี้เกษตรกร, กองทุนหมู่บ้านๆ ละล้านบาท มาใช้ ตั้งแต่การเลือกตั้งครั้งแรกวันที่ 6 มกราคม 2544 โดยหวังว่าประชาชนจะสามารถซึมซับและจดจำนโยบายเหล่านี้ได้ง่าย
      
       ซึ่งสุดท้ายก็เป็นตามที่คาดจริงๆ เพราะพรรคไทยรักไทยในขณะนั้นสามารถกวาดที่นั่งได้ถล่มทลาย ได้รับคะแนนเสียงเบ็ดเสร็จถึง 256 คน (ก่อนจะถูกวิกฤตใบแดง-ใบเหลืองสอยจนเหลือ 248 คน)
      
       จากความสำเร็จในครั้งนี้ ทำให้พรรคในเครือข่ายของทักษิณนับจากนั้น ไม่ว่าจะเป็นพลังประชาชน และเพื่อไทย ต่างก็เจริญรอยตามพรรคต้นแบบทุกกระเบียดนิ้ว โดยเฉพาะพรรคเพื่อไทยที่มีเดิมพันใหญ่ถึงขั้นที่ชูน้องสาวของ พ.ต.ท.ทักษิณ คือ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งจัดเต็มนโยบายเหล่านี้มากกว่ายุคพี่ชายหลายเท่าตัวนัก และสามารถกวาดคะแนนจำนวน ส.ส.ไปมากถึง 265 คนเลยทีเดียว
      
       แต่อย่างว่าความฝันกับความจริงมักจะสวนทางกันอยู่เสมอ และที่แน่กว่านั้นก็คือ นโยบายพวกนี้ไม่ใช่อยากจะทำก็ทำได้เลย แต่ต้องอาศัยทั้งความพร้อมและงบประมาณมหาศาล เพราะฉะนั้นครั้งนี้ในฐานะที่รัฐบาลพรรคเพื่อไทยจะเข้ามาบริหารประเทศในอีก ไม่กี่วันข้างหน้า ก็เลยขอหยิบยกเอา 5 นโยบายเด่นๆ ที่โดนใจชาวบ้าน มาพูดคุยกันสักหน่อยว่าดี-ไม่ดียังไง และมีโอกาสมากน้อยที่จะเป็นไปได้แค่ไหน
      
       1. ปรับค่าแรงขั้นต่ำเป็นวันละ 300 บาท-เงินเดือนปริญญาตรีเดือนละ 15,000 บาท
      
       เรื่องของเงินๆ ทองๆ ถือเป็นปัจจัยสำคัญในชีวิตผู้คน ภาพหนึ่งที่คนเห็นจนชินตาก็คือ ทุกวันที่ 1 พฤษภาคม ซึ่งเป็นวันแรงงานแห่งชาติ ก็มักจะมีแรงงานออกมายื่นข้อเรียกร้องแก่รัฐบาลให้เพิ่มค่าจ้างรายวันให้ที ซึ่งกว่าจะเพิ่มได้ก็ยากเย็นแสนเข็ญต้องเรียกร้องแล้วเรียกร้องอีกถึงจะได้ สักครั้ง เช่นเดียวกับคนที่เรียนจบปริญญา อัตราเงินเดือนพื้นฐานที่ทำงานก็อยู่ที่ 9,500 บาทเท่านั้นเอง ซึ่งนับว่าไม่สอดคล้องกับสภาพความเป็นในปัจจุบันสุดๆ ยิ่งหากใช้ชีวิตอยู่ในเมืองกรุงที่นับวันข้าวของจะแพงเอาๆ เรื่องเงินเก็บหรือความฝันจะสร้างวิมานก็เตรียมพับไปได้ทันที
      
       เพราะฉะนั้นทันทีที่พรรคเพื่อไทยประกาศนโยบายปรับค่าแรงขั้นต่ำเป็น วันละ 300 บาทและเงินเดือนปริญญาตรีเดือนละ 15,000 บาท เป็นสัญญาประชาคม จึงเรียกว่าโดนใจมหาชนทันที รศ.ดร.วรวิทย์ เจริญเลิศ อาจารย์ ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มองนโยบายนี้ว่า มีความเสี่ยงสูงมากที่บรรดานายจ้างเอกชนจะเลือกวิธีไม่จ้างคนเพิ่ม เพราะแม้การขึ้นค่าแรงขั้นต่ำนั้นจะเป็นที่เรื่องที่ทำได้ แต่ก็ไม่ใช่เรื่องที่ทำได้ง่ายๆ เช่นกัน เนื่องจากเอาเข้าจริงบริษัทก็ต้องแบกรับภาระมหาศาลเอาไว้ และเรื่องพวกนี้หลายๆ รัฐบาลก็เคยคิดไว้แต่ยังจะไม่มีใครทำได้ ฉะนั้นทางที่ดีรัฐบาลควรจะต้องวางแผนระยะยาวรองรับเอาไว้ ทั้งเรื่องเงินเดือนและคุณภาพไปพร้อมๆ กัน จะมองเรื่องหนึ่งเรื่องใดแยกส่วนไปไม่ได้ เนื่องจากค่าแรงที่ดีก็ควรจะสัมพันธ์กับฝีมือและความสามารถที่สูงนั่นเอง
      
       “การขึ้นต้องขึ้นอย่างมีเหตุผล อย่ามองเป็นส่วนๆ ต้องดูว่าการขึ้นค่าแรงนั้นจะเป็นยุทธศาสตร์นำพาประเทศไปยังจุดใด แต่จะทำได้จริงหรือไม่ก็ต้องมีขั้นตอนและใช้เวลาในการปรับ ต้องมองในระยะยาวว่าถ้าเริ่มจากจุดนี้แล้วจะไปต่อยังจุดไหนต่อไป ตอนนี้ไทยเข้าสู่ยุคที่ขาดแคลนแรงงาน เพราะอัตราการเกิดลดลง คนที่เข้ามาแทนที่ก็จะเป็นแรงงานจากประเทศเพื่อนบ้านเป็นหลัก มีถึง 2-3 ล้านคน ดังนั้น เวลานี้เป็นโอกาสที่จะปรับมาตรฐานของแรงงานไทยขึ้นไปให้กลายเป็นแรงงานที่มี ฝีมือ และได้ค่าแรงที่สูงขึ้น”
      
       อย่างไรก็ดี ทางว่าที่รัฐบาลเองก็ไม่ได้นิ่งนอนใจกับปัญหาที่เกิดขึ้น โดยมีแผนจะผลักดันให้เสร็จภายในวันที่ 1 มกราคม 2555 โดยเฉพาะเงินข้าราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจจะปรับขึ้น 15,000 บาทแน่นอน โดยเบิก งบประมาณมาเพิ่มอีก 10,000 ล้านบาท เช่นเดียวกับค่าจ้างอัตราขั้นต่ำ 300 บาท รัฐบาลจะใช้วิธีการลดภาษีนิติบุคคลจาก 30 เปอร์เซ็นต์เป็น 23 เปอร์เซ็นต์ โดยบริษัทก็จะนำส่วนลดตรงนี้ไปจ่ายเป็นค่าแรงที่เพิ่มขึ้นมา ขณะที่เงินเดือนระดับปริญญาตรีในภาคเอกชนนั้นไม่มีการพูดถึงแต่อย่างใด
      
       2. เลิกกองทุนน้ำมัน-ประกาศลดราคาทันที 7.50 บาท
      
       ต้องยอมรับว่า น้ำมันกลายเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดของคนที่ใช้รถทั้งหลาย นโยบายการยกเลิกกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง เพื่อที่น้ำมันเบนซิน 95 จะลดลง 7.50 บาทต่อลิตร เบนซิน 91 จะลดลง 6.78 บาทต่อลิตร และดีเซล จะลดลง 2.20 บาทต่อลิตรจะสร้างความตื่นตาตื่นใจให้ผู้คนไม่น้อย
      
       ดูอย่าง ชวลิต สงวนพร เจ้าของกิจการรถเช่า ที่ออกมายกมือสนับสนุนเต็มที่ แต่ก็อดเป็นห่วงไม่ได้ว่าของอย่างอื่น เช่น ก๊าซหุงต้ม (หรือก๊าซแอลพีจีที่แท็กซี่ในปัจจุบันชอบใช้) ก็อาจจะปรับตัวสูงขึ้นเป็นเท่าตัว เพราะฉะนั้น เรื่องนี้จึงถือว่ามีได้มีเสีย ซึ่งรัฐบาลคงต้องนำกลับมาคิดว่าจะคุ้มหรือไม่
      
       ที่สำคัญว่า แม้ปัจจุบันการมีกองทุนน้ำมันจะทำให้ราคาน้ำมันสูงขึ้น เพราะเงินส่วนหนึ่งจะต้องหักเข้ากองทุนฯ แต่ถ้ามองในอีกมุมหนึ่งก็ต้องยอมรับว่า นี่เปรียบเสมือนเกราะกำบังไว้รับแรงกระแทกจากราคาน้ำมันอันผันผวนในตลาดโลก ให้แก่ไทยได้เป็นอย่างดีเช่นกัน โดย รศ.ดร.พรายพล คุ้มทรัพย์ อาจารย์ ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ชี้ว่า หากยกเลิกกองทุนน้ำมัน ไทยก็ต้องเผชิญกับความจริงของราคาน้ำมันที่ปรับตัวพุ่งทะยานในตลาดโลก โดยไม่ มีอะไรมารองรับหรือแบ่งเบาได้อีก รวมทั้งราคาพลังงานทดแทนอย่างเช่น แอลพีจี หรือ เอ็นจีวี ก็จะสูงขึ้นเพราะไม่ได้รับทุนส่งเสริมจากกองทุนฯ ดังที่เคยมีมาตลอด
      
       “ถ้าไม่มีกองทุนฯ เลย ราคาขายปลีกก็จะขึ้นลงเหมือนราคาในตลาดโลก เพราะมันไม่มีตัวอะไรที่จะมารองรับ และตอนนี้เงินกองทุนฯ ก็หนุนราคาของแก๊สโซฮอล์ ก๊าซหุงต้ม หรือก๊าซธรรมชาติที่ใช้ในรถยนต์เพื่อที่จะทำให้ราคาขายปลีกของผลิตภัณฑ์ เหล่านี้ต่ำ ซึงถ้าไม่มีการอุดหนุน ราคาพวกนี้ก็จะสูงขึ้น ทำให้ประเทศไทยต้องใช้น้ำมันที่นำเข้ามาก ต้องอาศัยจมูกคนอื่นหายใจมากขึ้น ซึ่งขัดกับหลักการที่เราตั้งไว้ว่าจะใช้พลังงานที่ผลิตภายในประเทศให้มาก ขึ้น”
      
       อย่างไรก็ตาม ว่าที่นายกฯ เองก็ออกมาปฏิเสธนโยบายการยกเลิกกองทุนน้ำมันเป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยชี้แจงว่า จะเพียงแค่การไม่ส่งเงินเข้ากองทุนฯ ชั่วคราวเท่านั้นและรอดูสถานการณ์ต่อไปว่าจะเป็นเช่นใดต่อ
      
       3. บัตรเครดิตชาวนา
      
       เป็นที่เข้าใจกันถ้วนหน้าว่าเกษตรกร ถือเป็นฐานเสียงหลักของพรรคเพื่อไทยมาตั้งแต่ยุคไทยรักไทย เห็นได้จากนโยบายที่มุ่งไปที่ชาวรากหญ้าโดยเฉพาะ ไม่ว่าจะเป็นกองทุนหมู่บ้าน พักหนี้เกษตรกร และสำหรับการเลือกตั้งครั้งนี้ก็เช่นกัน ที่พรรคเพื่อไทยงัดโครงการใหม่มานำเสนอในชื่อ 'บัตรเครดิตชาวนา' เพื่อนำไปใช้สำหรับซื้อวัสดุอุปกรณ์ ปุ๋ย ยาฆ่าแมลง และเพื่อที่เกษตรกรจะได้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนปลอดดอกเบี้ย หรือดอกเบี้ยต่ำได้อีกทางหนึ่งด้วย
      
       ซึ่งทันทีที่มีนโยบายนี้ออกมาก็ได้รับเสียงตอบรับอย่างล้นหลามจากกลุ่มเป้าหมายอย่าง สุภาพ อุดธิยา เกษตรกร ผู้ปลูกข้าวจังหวัดน่าน กล่าวว่าหากได้ใช้บัตรเครดิตก็จะรู้สึกดีใจ เพราะปัจจุบันนี้ตนก็ยังต้องไปกู้ตามกองทุนหมู่บ้านหรือตามธนาคารเพื่อการ เกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) อยู่ แต่ถ้าจำเป็นใช้เงินเร่งด่วนก็กู้นอกระบบ เพราะฉะนั้นหากมีบัตรนี้ก็ไม่ต้องไปแย่งกันกู้เงินตามที่ต่างๆ แถมข้อเสนอเรื่องไม่มีดอกเบี้ยด้วยก็จะช่วยทำให้ได้กำไรจากการทำการเกษตร เพิ่มสูงขึ้น
      
       แต่ทว่าที่ผ่านมา นโยบายนี้กลับถูกสบประมาทอยู่ตลอดเวลาว่า น่าจะเป็นเรื่องเพ้อฝันมากกว่า โดย ผศ.ดร.เจษฎา มิ่งฉาย อาจารย์ ประจำคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ ที่อธิบายว่า ปกติแล้วกลุ่มเกษตรกรนั้นเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง เนื่องจากไม่มีหลักประกันที่ชัดเจน เพราะฉะนั้นคงเป็นไปไม่ได้ที่ธนาคารพาณิชย์โดยปกติจะปล่อยกู้ในอัตราดอเบี้ยที่ต่ำ ทางที่เป็นได้ก็ต้องให้ ธ.ก.ส.เป็นผู้ดำเนินการ
      
       “บัตรเครดิตกับกองทุนหมู่บ้านไม่ ค่อยต่างกัน เพราะมันขึ้นอยู่กับวินัยการใช้เงินของเกษตรกร คนที่จะวิ่งหาบัตรตัวนี้คือกลุ่มคนที่ไม่มีวินัยในการใช้เงินมาก เพื่อเขาจะเอาแหล่งหนึ่งไปจ่ายอีกแหล่งหนึ่งหมุนเวียนกันไป เพราะฉะนั้น การมีบัตรเครดิตมันก็ไม่ได้ยืนยันแน่นอนว่าเมื่อมีบัตรแล้วไม่ไปกู้นอกระบบ”
      
       ขณะที่ ประสิทธิ์ บุญเฉย นายกสมาคมชาวนาไทย ให้ความเห็นว่า สุดท้ายแล้วประโยชน์บัตรเครดิตคงจะให้ได้เฉพาะเรื่องวัสดุการเกษตรเท่านั้น เพราะการที่บอกว่าผู้ที่ใช้บัตรนี้ได้นั้น จะไม่ต้องเป็นหนี้ หรือไปกู้ยืมหมุนเวียน ก็ไม่มีหลักประกันใดๆ ที่บอกว่าหลังจากใช้ไปแล้ว เรื่องแบบนี้จะไม่เกิดขึ้นทีหลัง
      
       “เกษตรกรอาจไปตกลงกับเจ้าของร้าน บัตรเครดิตว่า เอาของมาเท่านี้ นอกนั้นเอามาเป็นตัวเงิน แล้วจะให้ทางร้านเป็นเปอร์เซ็นต์ นี่ก็เป็นปัญหาอีกอันหนึ่ง เพราะเราไม่มีวินัยทางการใช้เงินแต่เราอยากจะใช้เงิน ถ้าเกิดรูปการณ์อย่างนี้ขึ้นจะได้ผลกับเกษตรกรไหม เงินคล่องขึ้นแต่ดูจะเป็นหนี้เป็นสิน เกษตรกรบางคนนั้นมีความเข้าใจพร้อมทำตรงนี้หรือยัง เรากลัวว่ามันจะเป็นหนี้เพิ่มพอกพูนขึ้นคือใช้เงินเพลิน แล้วจะทำให้เป็นหนี้ต่อไป”
      
       อย่างไรก็ตาม แม้เรื่องนี้ดูน่าจะทำได้ลำบาก แต่ทีมเศรษฐกิจของพรรคเพื่อไทยก็ยังคงยืนยันว่าทำได้ ซึ่งสุดท้ายจะเป็นไปตามที่คาดหวังหรือไม่นั้น ก็คงต้องติดตามกันต่อไป
      
       4. แจกแท็บเล็ตให้เด็กนักเรียน
      
       กลายเป็นนโยบายการศึกษาที่โดดเด้งโดนสุดๆ โดยเฉพาะ วัยทีนที่อยู่ในโลกไอที เมื่อพรรคเพื่อไทยประกาศประกาศแนวคิด ‘One table PC per Child’ หรือการแจกแท็บเล็ต พีซี ให้แก่นักเรียนระดับชั้น ป.1
      
       แน่นอน เมื่อออกตัวแรงมาขนาดนี้ แถมเห็นผลชัดๆ กว่าเรียนฟรี 15 ปีแบบเห็นๆ จึงไม่แปลกที่เด็กๆ จึงพากันยิ้มกริ่มรอรับของขวัญวันเปิดเทอมกันถ้วนหน้า อย่าง ด.ช.ปรัญชัย ประเสริฐปั้น นัก เรียนชั้น ม. 2 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง ที่บอกว่า โครงการนี้น่าจะเป็นประโยชน์มาก เพราะช่วยทำให้การทำงานเป็นไปได้อย่างสะดวกรวดเร็ว เนื่องจากแท็บเล็ตสามารถใช้สืบค้นข้อมูลก็ได้ พัฒนาศักยภาพทางด้านเทคโนโลยีก็ได้ และยังทำให้เด็กๆ หันมาให้ความสนใจกับการเรียนมากขึ้นอีกด้วย
      
       แต่อย่างว่า เมื่อมีมุมดีก็ต้องมีมุมไม่ดีตามมา เพราะของแบบนี้มันมี 2 คม อย่างความเห็นของ จรัญ เสนาวงศ์ อดีตผู้อำนวยการโรงเรียนเมืองสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด ที่สะท้อนความเป็นห่วงว่า เด็กบางคนอาจนำไปเล่นเกม หรือนำไปใช้ในทางที่ผิด ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ทางด้านการศึกษาเท่าที่ควร เพราะต้องยอมรับว่า เด็ก ป.1 นั้นถือว่า ยังเยาว์วัยเกินกว่าจะใช้ของพวกนี้ แถมบางคนก็ยังไม่มีศักยภาพพอที่จะอ่านออกเขียนได้ ดังนั้นโอกาสที่จะดูแลอุปกรณ์อิเล็กทรอกนิกส์ชิ้นนี้ให้อยู่รอดปลอดภัยก็ถือ เป็นเรื่องลำบาก
      
       เช่นเดียว รศ.ดร.สมพงษ์ จิตระดับ อาจารย์ประจำคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่มองว่า เรื่องวุฒิภาวะนั้นสำคัญที่สุด และหากรัฐบาลจะทำจริงก็น่าจะไตร่ตรองดูว่าควรจะเริ่มแจกให้แก่เด็กในช่วง ชั้นไหนจึงจะเหมาะสม ไม่เพียงแค่นั้น เรื่องนี้ยังสัมพันธ์กับผู้ปกครอง และครูว่ามีความพร้อมและรับทราบเกี่ยวกับเทคโนโลยีตรงนี้แค่ไหน เพราะปัจจุบันยังไม่มีโครงการมารองรับเลยแม้แต่น้อย ฉะนั้นหากแจกไปเฉยๆ โดยที่ไม่รู้ว่าจะทำอย่างไรต่อ ก็เท่ากับสูญเปล่านั่นเอง
      
       “การนำแท็บเล็ตมาใช้ในวงการศึกษา ของบ้านเรา อาจจะยังไม่มีความเหมาะสมมากนัก หากพิจารณาจากหลายภาคส่วนที่ออกมาแสดงความเห็นถึงความเป็นไปได้ หากมีการนำมาใช้ แต่ตอนนี้ปัญหาที่ทางรัฐบาลควรเร่งดำเนินการแก้ไข เกี่ยวกับการศึกษา เห็นจะเป็นเรื่องการส่งเสริมให้เด็กไทยอ่านออกเขียนได้มากกว่า”
      
       อย่างไรก็ดี ตอนนี้ก็ดูเหมือนว่าจะไม่มีใครฉุดแนวคิดนี้อยู่แล้ว เพราะว่าที่รัฐบาลได้ประกาศความพร้อมไว้เรียบร้อยว่า เด็ก ป.1 จำนวน 800,000 คนจะได้รับแท็บเล็ตเป็นของขวัญวันเปิดเทอมในเดือนพฤษภาคม 2555 นี้แน่นอน
      
       5. ถมทะเลสร้างเขื่อนกันน้ำท่วม
      
       แค่ได้ยินครั้งแรก หลายคนก็อาจจะรู้สึกตื่นตาตื่นใจกับนโยบายแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในเขตกรุงเทพมหา นคร ไม่ว่าจะเป็นการสร้างเขื่อนขนาดใหญ่และถมทะเลที่บริเวณปากอ่าวไทย ลงในทะเลกว่า 10 เมตร ยาว 30 เมตร และไกลจากฝั่ง 10 กิโลเมตร เป็นระยะทาง 30 กิโลเมตร ตั้งแต่จังหวัดสมุทรสาครเรื่อยมาจนถึงจังหวัดสมุทรปราการซึ่งจะเริ่มถมแนว ชายฝั่งเขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานครเป็นที่แรก ทั้งนี้จะได้พื้นที่ใหม่กว่า 1.8 ล้านไร่
      
       แต่เมื่อพิจารณาข้อเท็จจริงจาก รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยภัยธรรมชาติ มหาวิทยาลัยรังสิต กลับพบว่าการถมทะเลไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาน้ำท่วมกรุงเทพฯ
      
       “สาเหตุที่น้ำท่วมกรุงเทพฯ มีอยู่ 3 สาเหตุหลัก หนึ่งฝนตกหนักทำให้น้ำเหนือปริมาณมากล้นหลามที่ผ่านลงมาที่กรุงเทพฯ เฉลี่ยเป็น 80 เปอร์เซ็นต์ สาเหตุที่สองคือเกิดจากแผ่นดินทรุด ปีหนึ่งเราก็จะทรุด 2-3 เซนติเมตรต่อปี และสุดท้ายเรื่องของระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น ซึ่งมันสูงประมาณ 3 มิลลิเมตรต่อปี ตรงนี้คือประเด็นระยะยาว เพราะฉะนั้นการถมทะเลกับการป้องกันน้ำท่วมมันไม่ได้เกี่ยวข้องกันเลย อย่างน้ำเหนือมาก็ไม่เห็นจะช่วยอะไรได้ มันไม่มีประโยชน์ ในทางหลักการแล้วมันควรจะต้องหาที่ให้น้ำอยู่ ไม่ใช่ไปถมแย่งที่น้ำ อีกอย่างการป้องกันน้ำท่วมไม่จำเป็นต้องถมทะเล คือทำแค่คันดินก็พอ”
      
       ที่สำคัญ พื้นที่ตรงนี้ยังถือเป็นป่าชายเลนที่สมบูรณ์หนึ่งเดียวที่เหลืออยู่ใน กรุงเทพฯ เป็นอาหารของคนกรุงเทพฯ และภาคกลาง เพราะฉะนั้น ถ้าถมทะเลเมื่อไหร่ ป่าชายเลนตายทันที และจะสร้างผลกระทบอย่างใหญ่หลวงให้แก่คนที่ประกอบอาชีพบริเวณตรงนั้นอย่าง แน่นอน
      
       “ถ้าถมออกไปถึง 10 กิโลเมตร ชาวบ้านก็เดือดร้อนนะ เขาเลี้ยงหอยในทะเลกันทั้งนั้น จะหาหอยกันตามชายฝั่งก็ไม่ได้แล้ว คอกหอยแครง ก่ำหอยแมลงภู่ (ไม้ปักใช้เลี้ยงหอย) ก็จะมีผลกระทบมาก ยิ่งถมความยาวขนาดนี้มันก็ลงน้ำลึกไปแล้ว จะให้ไปทำมาหากินตรงนั้นมันก็ไม่ได้” สอน พึ่งสาย ประธานชุมชนแสนตอ เขตบางขุนเทียน ในฐานะผู้ประกอบอาชีพเพาะหอยแครงหอยแมลงภู่บริเวณชายฝั่งให้ความเห็น
      
       เพราะฉะนั้น หากให้ตั้งข้อสังเกต รศ.ดร.เสรีก็เชื่อว่า วัตถุประสงค์ของการถมทะเลนี้ คงไม่ใช่เรื่องที่พรรคเพื่อไทยหาเสียงเอาไว้ แต่จะเป็นการนำพื้นที่ไปใช้ประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจมากกว่า
      
       อย่างไรก็ตาม นโยบายตรงนี้ก็ยังไม่มีความชัดเจนว่าจะเกิดขึ้นเมื่อไหร่ หรือจะทำอย่างไร มีเพียงแต่การวางแผนไว้คร่าวๆ ว่าจะใช้เงินจากงบประมาณและงบผูกพันเพียงเท่านั้น
       >>>>>>>>>>
       ……….
       เรื่อง : ทีมข่าว CLICK
       ภาพ : ทีมภาพ CLICK

ศึกใน ปชป. ตอกย้ำความพ่ายแพ้


บาด แผลจากความพ่ายแพ้ การเลือกตั้งทั่วไป ยังไม่ทันได้จางหาย ศึกภายในพรรคประชาธิปัตย์ ก็เริ่มก่อหวอดขึ้น จาการแย่งชิงเก้าอี้หัวหน้าพรรค และเลขาธิการพรรค หลังจาก อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ แสดงสปริตลาออกเมื่อนำทัพพ่ายแพ้ เป็นเหตุให้คณะกรรมการบริหารพรรคต้องพ้นสภาพตามไปด้วย จนกลายเป็นศึกแย่งชิงอำนาจภายใน
สภาพ ภายในประชาธิปัตย์ยามนี้นอกจากจะโยนความผิดกันไปมา จากความผิดพลาดของคณะทำงานด้านยุทธศาสต์และนโยบายพรรค ด้วยน้ำมือของคุณชายชุนละเอียด กับ แกงด์ไอติม ที่ผูกขาดเพียงฝ่ายเดียว  จน เป็นต้นเหตุให้ประชาธิปัตย์บางปีกต้องการล้างบางให้หมด และพยายามสร้างเงื่อนไขมัดคอไม่ให้ อภิสิทธิ์ กับ สุเทพ เทือกสุบรรณ เข้ามานั่งกุมบังเหียนภายในพรรคอีก โดยยกกรณีของ บัญญัติ บรรทัดฐาน อดีตหัวหน้าพรรค ที่เคยลาออกจากเก้าอี้หลังนำทัพพ่ายแพ้ มาเทียบเคียงเพื่อตีกันไม่หวนคืนเก้าอี้   
เกมจึงมีคนคิดการณ์ใหญ่ในฟากของ แกงค์ 40 ส.ส. ที่ถูก สุเทพ บอนไซมานาน หลังจากประชาธิปัตย์  มีโอกาสเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล  จนทำให้ หัวหน้า แกงค์ 40 ส.ส. ต้องออกมาเคลื่อนไหว เพื่อหวังยึดเก้าอี้เลขาธิการรพรรค โดยหวังยืมมือของ บัญญัติ ก่อหวอดสร้างคลื่นใต้นำภายในพรรค โดยเสี้ยม ให้ลงสู้ศึกชิงเก้าอี้หัวหน้าพรรค เพื่อขายพ่วงเก้าอี้เลขาธิการพรรค เดินเกมซ้ำรอบในยุคของพล.ต.สนั่น ขจรประศาสตร์ ที่ดันเสี่ยอ๊อด ประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ ขึ้นเป็นแม่บ้าน แต่เกมนี้ดูเหมือนว่า บัญญัติ จะไม่เล่นด้วย
วันนี้จึงได้เห็น แกงค์ไอติม ออกมาเคลื่อนไหว หาทางแก้เกมกลับด้วยความพยายามดันให้ นิพนธ์ พร้อมพันธ์ พี่เมียของสุเทพ  ขึ้น เป็นเลขาธิการพรรคแทน แต่ปรากฏว่า พี่เมีย ตอบปฏิเสธ เพราะต้องการทำงานอยู่เบื้องหลังเงียบๆ ไม่ให้ตกเป็นเป้า ซึ่งเป็นงานที่เขาถนัดที่สุด จึงเปิดโอกาสให้ แกงค์ 40 ส.ส.เคลื่อนไหวเข้าเสียเก้าอี้เลขาธิการพรรค
จึงทำให้ แกงค์พี่เมีย-น้องเขย  ต้องหาทางออกด้วยการเสนอเชื่อ อภิสิทธิ์ กลับเข้ามานั่งเก้าอี้หัวหน้าพรรค และให้ สุเทพ เป็นแม่บ้านพรรค  โดยยอมกลืนน้ำลายตัวเอง ดีกว่ายอมกระอักเลือด ให้มีการเปลี่ยนถ่ายอำนาจภายใน  เพราะเมื่อเทียบขุมกำลังภายในประชาธิปัตย์แล้ว แกงค์พี่เมีย-น้องเขย มีมากกว่า แกงค์ 40 ส.ส. จึงมีโอกาสสูงที่จะโหวตให้ อภิสิทธิ์ กับ สุเทพ กลับเข้าตำแหน่งอีกครั้ง ด้วยความหวังรอคนที่มีดีกรีระดับอินเตอร์ เข้ามาฟื้นความเชื่อมั่นของพรรค
เกมนี้จึงเป็นการดับฝัน แกงด์ 40 ส.ส. ทั้งๆ ที่รู้ดีว่า บารมีไม่ถึง และไม่มีขุมกำลังในมือมากพอ จนทำให้ผู้หลัก ผู้ใหญ่ในพรรค ต้องออกมาห้ามปราม เพราะคนมีบารมีอย่างนายหัวชวน หลีกภัย ที่ปั้น อภิสิทธิ์ มากลับมือ คงไม่ยอมให้พรรคอ่อนแอ ในยาที่คู่ต่อสู้ฟื้นกลับมามีอำนาจอีกครั้ง  
วันนี้จึงได้เห็นคนในประชาธิปัตย์ ต้องออกมาฟาดฟันกันเอง เพื่อแย่งชิงอำนาจภายใน  โดย ลืมไปว่า ศึกเบื้องหน้าที่ต้องต่อสู้คือระบอบทักษิณ ที่กลับมาฟื้นคืนชีพอีกครั้ง โดยเฉพาะในยามที่รัฐบาลครองเสียงข้างมากได้แบบเบ็ดเสร็จ 300 เสียง งานนี้จึงเข้าทำนอง ศึกนอกยังทันไม่สงบ แต่ต้องมารบกันเอง ซึ่งอาจะส่งผลให้ประชาธิปัตย์ ต้อกตกเป็นฝ่ายอีกยาวนาน.
-------------//--------------
รีโมท ซื้อ รีโมท จากผู้ค้าส่งโดยตรง ที่มีหน้าร้านจริง ที่ บ้านหม้อ และ คลองถม ราคาถูกกว่าใคร ปลอดภัย มีรับประกัน

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

บทความย้อนหลัง