บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันเสาร์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2554

คู่มือรับสถานการณ์น้ำท่วม

จาก กรุงเทพธุรกิจ




อ่านคู่มือรับสถานการณ์น้ำท่วม..ทั้งเตรียมพร้อมก่อนและหลังเกิด และโรคที่พึงระวัง รวมถึงแหล่งบริจาคและที่ติดต่อฉุกเฉิน

เหตุการณ์ อุทกภัยที่เกิดขึ้นในรอบหลายปีที่ผ่านมาได้ได้สร้างความเสียหายแก่ชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนและหน่วยงานในพื้นที่น้ำท่วม โดยทางรัฐและหน่วยงานที่มีหน้าที่ความรับผิดชอบต้องกรทำการป้องกันและฟื้นฟู ระบบสาธารณูปโภคที่สำคัญก่อน อาจไม่สามารถให้ความช่วยเหลือแก่ประชาชนได้อย่างทันที ดังนั้นประชาชนจึงควรมีความพร้อมในการเตรียมรับสถานการ์น้ำท่วมเพื่อป้องกัน และบรรเทาภัยที่จะเกิดขึ้นได้

การเตรียมการก่อนน้ำท่วม
การป้องกันตัวเองและความสียหายจากน้ำท่วม ควรมีการเตรียมการไว้ล่วงหน้า เพราะหากรอให้มีการเตือนภัยเวลามักไม่เพียงพอ รู้จักกับภัยน้ำท่วมของคุณ สอบถามหน่วยงานที่มีการจัดการด้านน้ำท่วม ด้วยคำถามดังต่อไปนี้
- ภายในละแวกใกล้เคียงในรอบหลายปี เคยเกิดน้ำท่วมสูงที่สุดเท่าไร
- เราสามารถคาดคะเนความเร็วน้ำหรือโคลนได้หรือไม่
- เราจะได้การเตือนภัยล่วงหน้าก่อนที่น้ำจะมาถึงเป็นเวลาเท่าไหร่
- เราจะได้รับการเตือนภัยอย่างไร
- ถนนเส้นใดบ้าง ในละแวกนี้ที่จะถูกน้ำท่วมหรือจะมีสิ่งกีดขวาง

การรับมือสำหรับน้ำท่วมครั้งต่อไป
1. คาดคะเนความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับทรัพย์สินของคุณเมื่อเกิดน้ำท่วม
2. ทำความคุ้นเคยกับระบบการเตือนภัยของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและขี้นตอนการอพยพ
3. เรียนรู้เส้นทางการเดินทางที่ปลอดภัยที่สุด จากบ้านไปยังที่สูงหรือพื้นที่ปลอดภัย
4. เตรียมเครื่องมือรับวิทยุแบบพกพา อุปกรณ์ทำอาหารฉุกเฉินแหล่งอาหารและไฟฉาย รวมทั้งแบตเตอร์รี่สำรอง
5. ผู้คนที่อาศัยในพื้นที่เสี่ยงต่อภัยน้ำท่วม ควรจะเตรียมวัสดุ เช่น กระสอบทราย แผ่นพลาสติก ไม้แผ่น ตะปู กาวซิลิโคน เพื่อใช้ป้องกันบ้านเรือน และควรทราบแหล่งวัตถุที่จะนำมาใช้
6. นำรถยนต์และพาหนะไปเก็บไว้ในพื้นที่ซึ่งน้ำไม่ท่วมถึง
7. ปรึกษาและทำข้อตกลงกับบริษัทประกันภัย เกี่ยวกับการประกันความเสียหาย
8. บันทึกหมายเลขโทรศัพท์สำหรับเหตุการณ์ฉุกเฉินและเก็บไว้ตามที่จำง่าย
9. รวบรวมของใช้จำเป็นและเสบียงอาหารที่ต้องการใช้ ถายหลังน้ำท่วมไว้ในที่ปลอดภัยและสูงกว่าระดับที่คาดว่าน้ำจะท่วมถึง
10. ทำบันทึกรายการทรัพย์สินมีค่างทั้งหมด ถ่ายรูปหรือวีดีโอเก็บไว้เป็นหลักฐาน
11. เก็บ บันทึกรายการทรัพย์สิน เอกสารสำคัญและของมีค่าอื่นๆ ในสถานที่ปลอดภัยห่างจากบ้านหรือห่างไกลจากที่น้ำท่วมถึง เช่น ตู้เซฟที่ธนาคาร หรือไปรษณีย์
12. ทำแผนการรับมือน้ำท่วม และถ่ายเอกสารเก็บไว้เป็นหลักฐานที่สังเกตุได้ง่าย และติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันน้ำท่วมที่เหมาะสมกับบ้านของคุณ


ถ้าคุณคือพ่อแม่
- ทำการซักซ้อมและให้ข้อมูลแก่บุตรหลานของคุณ ขณะเกิดน้ำท่วม เช่น ไม่สัมผัสเครื่องใช้ไฟฟ้า ปลั๊กไฟ หลีกเลี่ยงการเล่นน้ำและอยู่ใกล้เส้นทางน้ำ
- ต้องการทราบหมายเลขโทรศัพท์ฉุกเฉินของหน่วยงานท้องถิ่น
- ต้องการทราบแผนฉุกเฉินสำหรับ โรงเรียนที่บุตรหลานเรียนอยู่
- เตรีมแผนการอพยพสำหรับครอบครัวของคุณ
- จัดเตรียมกระสอบทราย เพื่อกันน้ำไม่ให้เข้าสู่บ้านเรือน
- ต้องมั่นใจว่าเด็กๆ ได้รับทราบแผนการรับสถานการณ์น้ำท่วมของครอบครัวและของโรงเรียน


การทำแผนรับมือน้ำท่วม
การจัดทำแผนรับมือน้ำท่วม จะช่วยให้คุณนึกถึงสิ่งต่างๆ ที่จะต้องทำหลังได้รับการเตือนภัยเดินสำรวจทั่วทั้งบ้านด้วยคำแนะนำที่กล่าว มา พร้อมทั้งจดบันทึกด้วยว่าจะจัดการคำแนะนำอย่างไร ในช่วงเวลาที่ทุกๆ คนเร่งรีบและตื่นเต้นเนื่องจากภัยคุกคาม สิ่งที่สำคัญที่จะลืมไม่ได้ก็คือ หมายเลขโทรศัพท์ต่างๆ ที่สำคัญไว้ในแผนด้วย


ถ้าคุณมีเวลาเล็กน้อยหลังการเตือนภัย :
สิ่งที่ต้องทำและมีในแผน
- สัญญาเตือนภัยฉุกเฉิน และสถานีวิทยุ หรือสถานีโทรทัศน์ที่รายงานสถานการณ์
- รายชื่อสถานที่ 2 แห่งที่สมาชิกในครอบครัวสามารถพบกันได้หลังจากพลัดหลงโดยสถานที่แรกให้อยู่ ใกล้บริเวณบ้านและอีกสถานที่อยู่นอกพื้นที่ที่น้ำท่วมถึง

ระดับการเตือนภัยน้ำท่วม
ลักษณะการเตือนภัยมี 4 ประเภท คือ
1. การเฝ้าระวังน้ำท่วม : มีความเป็นไปได้ที่จะเกิดน้ำท่วมและอยู่ในระหว่างสังเกตุการณ์
2. การเตือนภัยน้ำท่วม : เตือนภัยจะเกิดน้ำท่วม
3. การเตือนภัยน้ำท่วมรุนแรง : เกิดน้ำท่วมอย่างรุนแรง
4. ภาวะปกติ : เหตุการณ์กลับสู่ภาวะปกติหรือเป็นพื้นที่ไม่ได้รับผลกระทบจากภาวะน้ำท่วม
สิ่งที่คุณควรทำ : หลังจากได้รับการเตือนภัยจากหน่วยงานด้านเตือนภัยน้ำท่วม
1. ติดตามการประกาศเตือนภัยจากสถานีวิทยุท้องถิ่น โทรทัศน์หรือรถแจ้งข่าว
2. ถ้ามีการเตือนภัยน้ำท่วมฉับพลันและคุณอยู่ในพื้นที่หุบเขาให้ปฎิบัติดังนี้
- ปีนขึ้นที่สูงให้เร็วสุดเท่าที่จะทำได้
- อย่าพยายานำสัมภาระติดตัวไปมากเกินไป ให้คิดว่าชีวิตสำคัญที่สุด
- อย่าพยายามวิ่งหรือขับรถผ่านบริเสณน้ำหลาก
3. ดำเนินการตามแผนรับมือน้ำท่วมที่ได้วางแผนไว้แล้ว
4. ถ้ามีการเตือนภัยการเฝ้าระวังน้ำท่วมจะยังมีเวลาในการเตรียมแผนรับมือน้ำท่วม
5. ถ้ามีการเตือนภัยน้ำท่วมและคุณอยู่ในพื้นที่น้ำท่วมถึง
ควรปฎิบัติดังนี้
- ปิดอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและแก๊ซถ้าจำป็น
- อุดปิดช่องน้ำทิ้งอ่างล่างจาน
- พื้นที่ห้องน้ำและสุขภัณฑ์ที่น้ำสามารถไหลเข้าบ้าน
- อ่านวิธีการที่ทำให้ปลอดภัยจากเหตุการณ์น้ำท่วมเมื่ออยู่นอกบ้าน
- ล็อคประตูบ้านและอพยพขึ้นที่สูง
- ถ้าไม่มีที่ปลอดภัยบนที่สูง ให้ฟังข้อมูลจากวิทยุหรือโทรทัศน์เกี่ยวกับสถานที่หลบภัยของหน่วยงาน
6. หากบ้านพักอาศัยของคุณไม่ได้อยู่ในที่น้ำท่วมถึง
- อ่านวิธีการที่ทำให้ความปลอดภัยเมื่ออยู่ในบ้าน
7. หากบ้านพักอาศัยของคุณไม่ได้อยู่ในที่น้ำท่วมถึงแต่อาจมีน้ำท่วมในห้องใต้ดิน
- ปิดอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าในห้องใต้ดิน
- ปิดแก็ซหากคาดว่าน้ำจะท่วมเตาแก็ซ
- เคลื่อนย้ายสิ่งของมีค่าขึ้นข้างบน
- ห้ามอยู่ในห้องใต้ดิน เมื่อมีน้ำท่วมถีงบ้าน

น้ำท่วมฉับพลัน
คือ น้ำท่วมที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วมากในบริเวณที่ลุ่มต่ำ ในแม่น้ำ ลำธารหรือร่องน้ำที่เกิดจากฝนที่ตกหนักมากติดต่อกันหรือจากพายุฝนที่เกิดซ้ำที่หลายครั้ง น้ำป่าอาจเกิดจากที่สิ่งปลูกสร้างโดยมนุษย์ เช่น เขื่อนหรือฝายพังทลาย
- ถ้าได้ยินการเตือนภัยน้ำท่วมฉับพลันให้วิ่งไปบนที่สูงทันที
- ออกจารถและที่อยู่ คิดอย่างเดียวว่าต้องหนี
- อย่าพยายามขับรถหรือวิ่งย้อนกลับไปทางที่ถูกน้ำท่วม


ปลอดภัยไว้ก่อนเมื่ออยู่นอกบ้าน
- ห้ามเดินตามเส้นทางที่น้ำไหล
มีผู้คนจำนวนมากเสียชีวิตจากจมน้ำตายในขณะที่น้ำกำลังมาความสูงของน้ำแค่ 15 ซม. ก็ทำให้เสียหลักล้มได้ ดังนั้นถ้ามีความจำเป็นต้องเดินผ่านที่น้ำไหลให้ลองนำไม้จุ่มเพื่อวัดระดับ น้ำก่อนทุกครั้ง

- ห้ามขับรถในพื้นที่ที่กำลังโดนน้ำท่วม
การ ขับรถในพื้นที่ที่น้ำท่วมมีความเสียงสูงมากที่จะจมน้ำ หากเห็นป้ายเตือนตามเส้นทางต่างๆ ห้ามขับรถเข้าไปเพราะอาจมีอันตรายข้างหน้า น้ำสูง 50 ซม. พัดรถยนต์จักรยสานยนต์ให้ลอยได้

- ห้ามเข้าใกล้อุปกรณ์ไฟฟ้าและสาย :
กระแส ไฟฟ้าสามารถวิ่งผ่านได้ เมื่อเกิดน้ำท่วมแต่ละครั้งจะมีผู้เสียชีวิต เนื่องจากไฟดูดมากกว่าสาเหตุอื่นๆ เมื่อเห็นสายไฟหรืออุปกรณ์ไฟฟ้าชำรุดเสียหายกรุณาแจ้ง 191 หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

หลังน้ำท่วม

3 ขั้นตอนที่คุณควรทำในวันแรก ๆ หลังจากเหตุการณ์น้ำท่วม
ขั้นตอนที่ 1 : เอาใจใส่ตัวเอง
หลังผ่านเหตุการณ์น้ำท่วม คุณและครอบครัวอาจเกิดความซึมเศร้า และต้องใช้เวลากลับสู่ภาวะปกติอย่าลืมว่าเหตุการณ์น้ำท่วมนั้นอาคารบ้าน เรือน ได้รับความเสียหาย คุณต้องดูแลตัวเองและครอบครัว พร้อมกับการบูรณะบ้านให้กลับบ้านเหมือนเดิม อุปสรรคที่สำคัญคือ ความเครียด รวมทั้งปัญหาอื่น เช่น นอนหลับยาก ฝันร้ายและปัญหาทางกาย โรคภัยไข้เจ็บ ซึ่งคุณและครอบครัวควรปฏิบัติตามคำแนะนำดังนี้
1. ให้เวลากับครอบครัวเพราะความอบอุ่นในครอบครัวอาจช่วยเยี่ยวยารักษาได้ดี
2. พูดคุยปัญหากลับเพื่อนและครอบครัว ร่วมแบ่งปันความกังวลจะช่วยให้ได้ระบายและผ่อนคลายความเครียด
3. ผักผ่อนและกินอาหารที่เป็นประโยชน์ เพราะมีปัญหาทั้งความเครียดและทางกายเพิ่มขึ้นเมื่อร่างกายอ่อนแอ
4. จัดรำดับสิ่งที่จำเป็นต้องทำตามลำดับก่อนหลังและค่อย ๆ ทำ
5. ขอความช่วยเหลือจากจิตแพทย์เมื่อเกิดอาการซึมเศร้าจนที่จะรับมือได้
6. ดูแลเด็กๆให้ดี และโปรดเข้าใจเด็กมีความตื่นกลัวไม่แพ้กัน และอย่าตำหนิเด็กที่มีพฤติกรรมแลก ๆ หลังจากน้ำท่วม เช่น ฉี่รดที่นอน ดูดนิ้วโป้งหรืเกาะคุณอยู่ตลอดเวลา จำไว้ว่าเด็กพึ่งผ่านเหตุการณ์ที่รุนแรงในชีวิต
7. ระวังเรื่องสุขอนามัย เมื่ออยู่ในพื้นที่เคยน้ำท่วม

ขั้นตอนที่ 2 การจัดการดูแลบ้านของคุณ
ที่ผ่านมามีผู้คนจำนวนมากเสียชีวิตเนื่องจากน้ำท่วมส่วนใหญ่เกิดจากถูกไฟดูด หรืออุบัติเหตุที่เกิดขึ้นจากน้ำลดสิ่งแรกที่ต้องทำเมื่อกลับบ้านคือ การตรวจสอบความปลอดภัย ก่อนเข้าบูรณะและอยู่อาศัย โดยมีขั้นตอนดังนี้
1.ปรับจูนคลื่นวิทยุโทรทัศน์ ฟังรายงานสถานการณ์
2.ติดต่อบริษัทประกันภัย เพื่อตรวจสอบความเสียหาย และซ่อมแซมทรัพย์สินต่าง ๆ
3.เดินตรวจตารอบ ๆ บ้าน และเซ็คสายไฟฟ้า สายถังแก็สโดยถ้าหากเกิดแก็สรั่วจะสามารถรู้ได้จากกลิ่นแก็สให้ระวังและรีบ โทรแจ้งร้านที่เป็นตัวแทนจำหน่าย
4.ตรวจสอบความเสียหายของโครงสร้าง ตัวบ้าน ระเบียง หลังคา ให้แน่ใจว่าโครงสร้างทุกอย่างปลอดภัย
5.ตัดระบบไฟฟ้าที่จ่ายเข้าบ้าน
6.ปิดวาล์วแก็สให้สนิทหากได้กลิ่นแก็สรั่วก่อไม่ควรเข้าใกล้บริเวณนั้น
7.เข้าไปในบ้านอย่างระมัดระวัง แลพอย่าใช้วัสดุที่ทำให้เกิดประกายไฟ
8.ถ่ายรูปความเสียหาย เพื่อเรียกร้องค่าชดเชยจากประกัน (ถ้ามี)
9.เก็บกู้สิ่งของที่มีค่า และห่อหุ้มรูปภาพหรือเอกสารสำคัญ
10.เก็บกวาดทำความสะอาดบ้าน เปิดหน้าต่างและประตู เพื่อระบายอากาศ และตรวจสอบความมั่นคงของโครงสร้างพื้นฐานของสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ
11.ซ่อมแซมโครงสร้างที่เสียหาย
12.เก็บกวาดกิ่งไม้หรือสิ่งปฏิกูลในบ้าน
13.ตรวจ หารอยแตกหรือรั่วของท่อน้ำถ้าพบให้ปิดวาฃ์วตรงมิเตอร์น้ำ และไม่ควรดื่มและประกอบอาหารด้วยน้ำจากก๊อกน้ำ จนกว่าจะรู้ว่าสะอาดและปลอดภัย
14 ระบายน้ำออกจากห้องใต้ดินอย่างช้า ๆ เนื่องจากแรงดันน้ำภายนอกอาจจะมากจนทำให้เกิดรอยแตกของผนังหรืพื้นห้องใต้ดิน
15.กำจัดตะกอนที่มาจากน้ำเนื่องจากเซื้อโรคส่วนมากมักจะมาจากตะกอน

โรคที่มากับน้ำท่วม
โรคน้ำกัดเท้าและผื่นคัน
เกิด ขึ้นได้ก็เพราะผิวหนังเท้าของเรา โดยเฉพาะที่ง่ามเท้าเกิดเปียกชื้นและสกปรก เวลาที่เท้าสกปรก สิ่งสกปรกจะเป็นอาหารอย่างหนึ่งที่ทำให้เชื้อราหรือเชื้อโรคเจริญเติบโตได้ ดี เท้าที่แช่น้ำหรือเปียกชื้นอยู่ตลอดเวลา จะทำให้ผิวหนังที่เท้าอ่อนส่วนผิว ๆของหนังจะเปื่อยและหลุดออก เศษผิวหนังที่เปื่อยนี้จะทำให้เชื้อโรคที่ปลิวไปปลิวมาเกาะติดได้ง่าย และผิวที่เปื่อยก็เป็นอาหารของเชื้อราได้ดี เชื้อราจึงไปอาศัยทำให้เกิดแผลเล็กๆขึ้นตามซอกนิ้วเท้าเกิดเป็นโรคน้ำกัด เท้าขึ้น
โรคน้ำกัดเท้า มักพบว่ามีอาการคันและอักเสบตามซอกนิ้วเท้า (หรือนิ้วมือ) และถ้ามีเชื้อแบคทีเรียเข้าแทรกซ้อนด้วย ก็จะทำให้อักเสบเป็นหนอง และเจ็บปวดจนเดินลำบากได้

ไข้หวัด
ไข้หวัดเป็นการติดเชื้อของจมูก และคอ บางครั้งเรียก upper respiratory tract infection URI เกิดจากเชื้อไวรัสซึ่งรวมเรียกว่า Coryza viruses ประกอบด้วย Rhino-viruses เป็นสำคัญ เชื้อชนิดอื่นๆมี Adenoviruses, Respiratory syncytial virus เมื่อเชื้อเข้าสู่จมูก และคอจะทำให้เยื่อจมูกบวม และแดง มีการหลังของเมือกออกมาแม้ว่าจะเป็นโรคที่หายเองใน 1 สัปดาห์แต่เป็นโรคที่นำผู้ป่วยไปพบแพทย์มากที่สุดโดยเฉลี่ยเด็กจะเป็นไข้ หวัด 6-12 ครั้งต่อปี ผู้ใหญ่จะเป็น 2-4 ครั้ง ผู้หญิงเป็นบ่อยกว่าผู้ชายเนื่องจากใกล้ชิดกับเด็ก คนสูงอายุอาจจะเป็นปีละครั้ง


โรคเครียดวิตกกังวล
ความเครียดเป็นระบบเตือนภัยของร่างกายให้เตรียมพร้อมที่กระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง การมีความเครียดน้อยเกินไปและมากเกินไปไม่เป็นผลดีต่อสุขภาพ ส่วนใหญ่เข้าใจว่าความเครียดเป็นสิ่งไม่ดีมันก่อให้เกิดอาการปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ หัวใจเต้นเร็ว แน่นท้อง มือเท้าเย็น แต่ความเครียดก็มีส่วนดีเช่น ความตื่นเต้นความท้าทายและความสนุก สรุปแล้วความเครียดคือสิ่งที่มาทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงชีวิตซึ่งมี่ทั้ง ผลดีและผลเสีย

โรคตาแดง
โรคตาแดงเป็นโรคตาที่พบได้บ่อย เป็นการอักเสบของเยื่อบุตา(conjuntiva)ที่คลุมหนังตาบนและล่างรวมเยื่อบุตา ที่คลุมตาขาว โรคตาแดงอาจจะเป็นแบบเฉียบพลัน หรือแบบเรื้อรัง สาเหตุอาจจะเกิดจากเชื้อแบคทีเรีบ ไวรัส Chlamydia trachomatis ภูมิแพ้ หรือสัมผัสสารที่เป็นพิษต่อตา สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียและเชื้อไวรัส มักจะติดต่อทางมือ ผ้าเช็ดหน้าหรือผ้าเช็ดตัวโดยมากใช้เวลาหาย 2 สัปดาห์ ตาแดงจากโรคภูมิแพ้มักจะเป็นตาแดงเรื้อรัง มีการอักเสบของหนังตา ตาแห้ง การใช้contact lens หรือน้ำยาล้างตาก็เป็นสาเหตุของตาแดงเรื้อรัง

โรคอุจาจระร่วง
โรคอุจจาระร่วง หมายถึง ภาวะที่มีการถ่ายอุจจาระเหลว จำนวน 3 ครั้งต่อกันหรือมากกว่า หรือถ่ายเป็นน้ำมากกว่า 1 ครั้ง ใน 1 วัน หรือถ่ายเป็นมูกหรือปนเลือดอย่างน้อย 1 ครั้ง สาเหตุเกิดจากการติดเชื้อในลำไส้จากเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส โปรโตซัว ปรสิตและหนอนพยาธิ สถานีอนามัย โรงพยาบาลชุมชนในประเทศไทยมักจะหาสาเหตุของเชื้อโรคที่ก่อให้เกิดอาการ อุจจาระร่วงไม่ได้ ก็จะให้การวินิจฉัยจากอาการ อาการแสดงและลักษณะอุจจาระได้แก่ บิด (Dysentery) อาหารเป็นพิษ (Food poisoning) ไข้ทัยฟอยด์ (Typhoid fever) เป็นต้น ในกรณีที่มีอาการของโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลันไม่ใช่โรคดังกล่าวข้างต้น และอาการไม่เกิน 14 วัน ก็จะรายงานเป็นโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน (Acute diarrhea)


แหล่งให้ความช่วยเหลือน้ำท่วม

 กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
- เว็บไซต์ disaster.go.th
- สายด่วนนิรภัย หมายเลขโทรศัพท์ 1784
- ขบวนช่วยเหลือน้ำท่วมออกเรื่อย ๆ ขอรับบริจาคเน้นไปที่ น้ำ, ยาแก้ไข้, เสื้อ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์ 02-241-7450-6 แผนที่คลิกที่นี่
6. กรุงเทพมหานคร
- สามารถไปบริจาคสิ่งของได้ที่ ศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย อาคารศาลาว่าการกทม.1 (เสาชิงช้า), ศาลาว่าการกทม.2(ดินแดง) และที่สำนักงานเขตทุกแห่งทั่วกรุงเทพฯ 50 แห่ง สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์ 02-354-6858
7. สภากาชาดไทย
- สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์ 02-251-7853-6 , 02-251-7614-5 ต่อ 1603
- สามารถบริจาคเงินไปได้ที่ ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาสภากาชาดไทย บัญชีออมทรัพย์ ชื่อบัญชี “สภากาชาดไทยช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย” เลขที่บัญชี 045-3-04190-6 แล้วแฟ็กซ์ใบนำฝากพร้อมเขียนชื่อและที่อยู่มาที่ สำนักงานการคลัง สภากาชาดไทย ถึงหัวหน้าฝ่ายการเงิน หมายเลขโทรสาร 02-250-0120 สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์ 02-256-4066-8
- สามารถไปบริจาคสิ่งของได้ที่ สำนักงานบรรเทาทุกข์และประชานามัยพิทักษ์ สภากาชาดไทย 1871 ถนนอังรีดูนังต์ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 หากมาจากถนนพระราม 4 ให้เลี้ยวตรงแยกอังรีดูนังต์ เมื่อเข้าสู่ถนนอังรีดูนังต์ให้ชิดซ้ายทันที เนื่องจากอยู่ต้นๆถนน (ทางด้านพระราม 4) สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 02-251-7853-6 ต่อ 1603 หรือ 1102 หากเป็นวันหยุดราชการ ต่อ 1302 , 02-251-7614-5 หมายเลขโทรสาร 02-252-7976
- สามารถลงทะเบียนร่วมเป็นอาสาสมัครช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมได้ที่ http://www.rtrc.in.th/ หรือ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์ 02-251-7853-6 , 02-251-7614-5 ต่อ 1603 มาช่วยแพ็คชุดธารน้ำใจ หรือช่วยขนพวกข้าวสารอาหารแห้งขึ้นรถบรรทุก แต่มีเงื่อนไขอยู่ว่า ต้องการผู้ที่มีสุขภาพแข็งแรง และสามารถยกของหนักได้ (เพราะงานค่อนข้างหนัก และต้องยกของหนัก) เป็นผู้ชายก็จะดีมาก หากเราต้องการกำลังพล จะโทรศัพท์ไปติดต่อว่าจะสะดวกมาในวันที่เราแพ็คของหรือไม่ เป็นราย ๆ ไป

คู่กัดขั้วทักษิณดักคอพท. นักการเมืองเลว-ก็มีปว

คู่กัดขั้วทักษิณดักคอพท. นักการเมืองเลว-ก็มีปว. รบ.ปูหวังกองทัพอ่อนแอ แต่'ทหาร'ไม่ขอเป็นทาส
ความ พยายามของแกนนำคนเสื้อแดง และคนในพรรคเพื่อไทย โดยเฉพาะนายทหารตท.10 ซึ่งเป็นเพื่อนร่วมรุ่นของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ที่เสนอให้แก้ไข “พ.ร.บ.จัดระเบียบกระทรวงกลาโหม” เพื่อต้องการให้ “ฝ่ายการเมือง” เข้าไปมีอำนาจในการโยกย้าย-แต่งตั้ง “กำลังพลในกองทัพ” ได้ หลังจากที่ “พ.ร.บ.กลาโหมฯ” ดังกล่าว ออกขึ้นมาในสมัยรัฐบาลพล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ถึงขนาดมีบางคนตราหน้าว่า เป็น “กฎหมายจับยัด” ที่เป็นมรดกของการรัฐประหาร
มีการให้เหตุผลว่า “กฎหมายฉบับนี้” ไม่เปิดโอกาสให้ “ฝ่ายการเมือง” เข้าไปมีบทบาทในการแต่งตั้ง-โยกย้ายนายทหารประจำปี โดยเฉพาะตำแหน่งสำคัญๆ เพราะทุกอย่างขึ้นอยู่กับ “ผู้นำแต่ละกองทัพ” จะเสนอขึ้นมา และหากมีความเห็นไม่ลงรอยกัน ก็ต้องโหวตกันใน “คณะกรรมการสภากลาโหม” ที่มี 7 ตำแหน่งคือ รมว.กลาโหม-รมช.กลาโหม-ปลัดกระทรวงกลาโหม-ผู้บัญชาการทหารสูงสุด (ผบ.สส.)-ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.)-ผู้บัญชาการทหารเรือ (ผบ.ทร.)-ผู้บัญชาการทหารอากาศ (ผบ.ทอ.)
ซึ่งหากมองแล้ว “ฝ่ายการเมือง” จะเป็นฝ่ายเพลี่ยงพล้ำ เพราะเวลานี้มีเพียง 1 เสียงที่เห็นชัดๆ ขณะที่ “รมช.กลาโหม” ในรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ก็ไม่มี
คนในพรรคเพื่อไทย...ถึงกับปะทุอารมณ์ว่า สาเหตุที่จำเป็นต้องเสนอแก้ ไขร่างพ.ร.บ.จัดระเบียบกระทรวงกลาโหม” เพราะทุกวันนี้ “รมว.กลาโหม” เปรียบเสมือน “ตรายาง” ที่กองทัพเสนอมาอย่างไร ก็ต้องว่ากันไปอย่างนั้น
เพื่อให้ได้ความกระจ่าง ถึงที่มา-ที่ไปของการออกพ.ร.บ.กลาโหมฯดังกล่าว “ไทยอินไซเดอร์” ขอนำไปสนทนาแบบ “จัดเต็ม-จัดหนัก” กับ “พล.อ.สมเจตน์ บุญถนอม” ส.ว.สรรหา ซึ่งในช่วงที่มีการออกกฎหมายฉบับดังกล่าว “เขา” มีตำแหน่งเป็นถึง “หัวหน้าสำนักงานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ” (คมช.) และ “สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ” (สนช.) ทั้งยังเป็น 1 ในสมาชิกที่มีการยกร่างเนื้อหาของกฎหมายฉบับนี้
เพื่อจะได้ “ความจริง” เป้าหมายและวัตถุประสงค์ที่แท้จริงในการออกกฎหมายฉบับนี้...คืออะไร และผ่านมาถึงทุกวันนี้ “ได้ผล...หรือไม่”
เชื่อแน่ว่า “คำตอบ” ที่ออกจากปากของ “พล.อ.สมเจตน์” คงทำให้ “ใครหลายคน...กระอักได้”...เพราะ “เขา” ได้ชื่อว่า เป็น 1 ใน “คู่กัดตลอดกาล” ของ “ระบอบทักษิณ”...
โดยเฉพาะประโยคเด็ดที่ว่า "รัฐบาลทั่วทุกประเทศในโลก เขาต้องการให้กองทัพเข้มแข็งทั้งนั้น มีแต่รัฐบาลไทยนี่แหละที่ต้องการให้กองทัพอ่อนแอ"...ยืนยัน...ทหารไม่พร้อมใจเป็นข้าทาสนักการเมืองที่เลว และ "การปฏิวัติจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อนักการเมืองเลวเท่านั้นแหล่ะ"...โปรดติดตาม!!!
Q :  ในฐานะอดีตนายทหารและอดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) ซึ่งเคยร่วมร่างพ.ร.บ.จัดระเบียบกระทรวงกลาโหม มีความคิดเห็นอย่างไร เกี่ยวกับกรณีที่พรรคเพื่อไทยต้องการแก้ไขกฎหมายฉบับนี้
A : พ.ร.บ.ฉบับนี้ร่างขึ้นมา เพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในอดีต ปัญหา ในอดีตคือ “นักการเมือง”...รมว.กลาโหมและนายกรัฐมนตรีเข้ามาแทรกแซงการแต่งตั้งนายทหาร แทรกแซงกองทัพในช่วงนั้น ซึ่งเห็นได้ชัดเจนคือการนำญาติและเพื่อนร่วมรุ่นเข้ามาอยู่ในกอง ทัพ เป็นมูลเหตุซึ่งเรามองดูว่า การที่นักการเมืองเข้ามาแทรกแซงนี้ มันเป็นอย่าง ไร เรา ก็ย้อนกลับไปดูว่าองค์กรไหนที่นักการเมืองเข้าไปแทรกแซงแล้ว องค์กรนั้นเป็นองค์กรที่ดี สามารถปฏิบัติภารกิจรับใช้ประชาชน หรือภารกิจที่รับมอบหมายได้บ้าง...“ไม่มีเลย” องค์กรที่นักการเมืองเข้าไปแทรกแซงนั้น ก็ล้วนแต่มารับใช้นักการเมืองทั้งสิ้น แล้วนักการเมืองก็มีความมุ่งหมายอยู่ 2 ประการเท่านั้น ก็คือ การกระทำเพื่อผลประโยชน์ส่วนตน และเพื่อชนะการเลือกตั้งครั้งหน้า เมื่อเป็นอย่างนี้ปล่อยให้นักการเมืองเข้ามาแทรกแซงกองทัพ แน่นอนกองทัพก็จะเป็น “กองทัพของนักการเมือง” มิใช่ “กองทัพของประเทศชาติของประชาชน” ด้วยเหตุนี้เอง...จึงได้มี “พระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม 2551” ขึ้นมาเพื่อป้องกันการแทรกแซงของนักการเมือง
อีกประเด็นที่จะสังเกตได้ว่า “สถาบันทหาร” นั้น “กองทัพ” นั้น จะมีความแตกต่างจากหน่วยงานราชการอื่นๆ หน่วยงานราชการอื่นในการแต่งตั้งโยกย้าย จะต้องผ่านมติครม. แต่ของทหารจะไม่ผ่านมติครม. จะผ่านรมว.กลาโหม-นายกรัฐมนตรี แล้วก็นำขึ้นกราบบังคมทูลฯเลย ก็มีความแตกต่างกัน เพราะฉะนั้นในการที่จะเข้ามาแทรกแซงนั้น ต้องตอบคำถามให้ได้ว่า ที่ต้องการเข้ามาแก้นั้น “แก้ด้วยเหตุผลอะไร?” “พ.ร.บ .นี้มันไม่ดีอย่างไร?” “แก้เพื่อต้องการที่จะเข้ามามีอำนาจแต่งตั้งโยกย้ายอย่างนั้นหรือ?” “ถ้าแต่งตั้งโยกย้ายแล้วจะทำให้กองทัพเป็นกองทัพของประเทศชาติประชาชนได้ อย่างไร?”
“อย่างสำนักงานตำรวจแห่งชาติเป็นตัวอย่างที่เห็นได้อย่างชัดเจน ว่าการที่นักการเมืองเข้าไปแทรกแซงแล้ว สำนักงานตำรวจแห่งชาติจะมาดูแลทุกข์สุขของประชาชนได้หรือเปล่า ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติยังเอาตัวเองไม่รอด จะต้องถูกเตะกระเด็นออกไป แล้วก็ให้ญาติของผู้มีอำนาจ ผู้มีบารมี เข้ามาดำรงตำแหน่งแทน ถ้ากองทัพเป็นอย่างนี้ก็มองดูแล้วกันว่า กองทัพเนี่ยจะสามารถไปรักษาอธิปไตย ความมั่นคงของชาติได้หรือไม่ ผมคิดว่า...ไม่ได้เด็ดขาด”
Q : เป็นการปกป้องสถาบันกองทัพ มากกว่าผลประโยชน์ของทหารกันเอง...ใช่หรือไม่
A : ไม่ใช่ครับ ไม่ได้ปกป้องสถาบันกองทัพ เราปกป้องไม่ให้นักการเมืองที่ไม่ดี โดยสรุปง่ายๆว่า “เราไม่เคยไว้วางใจนักการเมือง” เพราะ นักการเมืองประเทศไทยไปดูสิว่า ที่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม เห็นแก่ประโยชน์ประเทศชาติ...หามาให้ได้สิว่า มีมากน้อยขนาดไหน อยากให้ไปดูว่าองค์กรไหนของประเทศไทยที่นักการเมืองสามารถเข้าไปแทรกแซงการ แต่งตั้งโยกย้ายแล้วเป็นองค์กรที่สามารถรับใช้ประชาชนได้เป็นอย่างดี ถ้ามี...ถ้าเป็นลักษณะนั้นได้ นักการเมืองเป็นนักการเมืองที่ดี ผมคิดว่ามันก็แทรกแซงได้ แต่ว่าตราบใดก็ตาม ที่ประเทศไทยเรายังมีนักการเมืองในลักษณะนี้ ผมไม่มีความไว้วางใจ ในความรู้สึกของผมไม่มีความไว้วางใจว่า เราจะเอากองทัพของเราไปฝากไว้กับ บุคคลต่างๆเหล่านี้ได้ Q : ที่ผ่านมา ปรากฏแน่ชัดแล้วใช่หรือไม่ว่า องค์กรไหนที่นักการเมืองสามารถเข้าไปแต่งตั้งโยกย้ายคนขององค์กรนั้นได้ องค์กรเหล่านั้นจะไม่สามารถทำประโยชน์ให้กับประชาชนได้อย่างเต็มที่
A : ถูกต้องครับ ก็ลองดูว่ามีองค์กรไหนละ ลองยกตัวอย่างให้ผมดูสิว่าเป็นองค์กรที่จะทำลักษณะ...ปฏิบัติภารกิจของเขา ได้ แล้วมาปกป้องผลประโยชน์ของประชาชนได้...มีมั๊ย...มีมั๊ยครับ
Q : การอ้างว่าฝ่ายการเมืองหรือรัฐบาล จำเป็นต้องมีคนที่ไว้วางใจได้เข้าไปทำงาน เพื่อขับเคลื่อนกองทัพให้เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาล เป็นเหตุผลที่รับฟังได้หรือไม่
A : ไม่เป็นเหตุผล กองทัพพร้อมที่จะปฏิบัติตามนโยบายของรัฐบาล รัฐบาลไม่จำเป็น...รัฐบาลมอบนโยบายมา มอบนโยบายมาให้กองทัพ ว่าจะต้องให้ปฏิบัติอย่างไร ถ้าเป็นนโยบายที่ถูกต้องชอบธรรม กองทัพต้องปฏิบัติ ถ้ากองทัพไม่ปฏิบัติ ก็ถือว่ากองทัพขัดนโยบายของรัฐบาล อันนั้นก็เป็นความชอบธรรมของรัฐบาลที่จะดำเนินการกับกองทัพได้ ไม่จำเป็นที่จะต้องเอาบุคคลของตัวเองลงไปหรอกครับ ถ้าอย่างนั้นทุกครั้งมันก็เกิดปัญหาอย่างนี้...มันถึงเกิดขึ้นว่า เวลาเปลี่ยนแปลงศูนย์อำนาจทีหนึ่ง ก็โยกย้ายคนของตัวเข้าไปอีก ทุกครั้งจะเป็นเหมือนกันหมด ข้าราชการนั้นพร้อมที่จะปฏิบัติตามนโยบายรัฐบาลอยู่แล้ว แต่ถ้าข้าราชการคนไหนไม่ปฏิบัติตามนโยบาย คุณก็มีสิทธิ์ที่จะเข้าไปเปลี่ยนแปลง แต่นี่ไม่ใช่...มันก็เกิดการเปลี่ยนแปลงทุกครั้งเมื่อตัวเองเข้ามาเป็น รัฐบาล ก็เอาคนของตัวเองเข้ามา ก็เกิดปัญหาอย่างนี้ ทำให้ข้าราชการเหล่านั้นไปวิ่งเต้นนักการเมือง ไปรับใช้นักการเมือง ไม่รับใช้ประชาชน ก็อยากถามว่า เมื่อเป็นอย่างนั้นแล้วอยากให้กองทัพวิ่งเข้าไปรับใช้นักการ เมืองใช่มั๊ย ถ้าสามารถแต่งตั้งคนของตัวเองมาดำรงตำแหน่งในกองทัพได้ แน่นอนผู้บัญชาการเหล่าทัพก็จะเอากองทัพไปรับใช้นักการเมืองคนนั้นแหล่ะครับ
Q : มีการยกเหตุผลในช่วงการประชุมของสนช. ที่องค์ประชุมไม่ครบ แล้วมาพิจารณาร่างกฎหมายฉบับต่างๆ ซึ่งอาจขัดรัฐธรรมนูญ พ.ร.บ.จัดระเบียบกระทรวงกลาโหมเป็นกฎหมายอีกหนึ่งฉบับหรือไม่ ที่เกิดปัญหาดังกล่าวขึ้นในช่วงนั้น
A : ผมไม่แน่ใจ ผมไม่แน่ใจว่า...ว่าการลงมติตอนนั้นเป็นอย่างไร แต่ถ้าเป็นลักษณะอย่างนี้ ต้องกลับไปดูกฎหมายทั้งหมด กฎหมายทั้งหมดตั้งแต่มีการร่างกฎหมายมาตั้งแต่ 2475 ถ้าไม่ครบองค์ประชุมต้องยกเลิกหมด ต้องไปทำอย่างนั้นหมด เพราะฉะนั้นอย่าเอาประเด็นตรงนี้มาเปลี่ยนแปลงในสิ่งที่ท่านจะต้องการ
Q : ส่วนตัวมองว่าการที่ฝ่ายการเมืองต้องการเข้ามามีบทบาทแต่งตั้งโยกย้ายในกอง ทัพ เพียงเพื่อหวังผลประโยชน์ให้กับตัวเองหรือต้องการสร้างประโยชน์ให้กับกองทัพ จริงๆ
A : “เป็นคำตอบอยู่ใน คำถามแล้ว” ว่าขณะนี้เขาไม่สามารถเข้ามาแทรกแซงกองทัพได้ เพราะฉะนั้นก็เลยอยากออกกฎหมายเพื่อมาแทรกแซงกองทัพ ก็ต้องตอบคำถามให้ได้ว่า กฎหมายฉบับนี้ไม่ดีอย่างไร ทำไมต้องการเข้ามาแทรกแซง แทรกแซงแล้วจะดีอย่างไร ต้องตอบคำถามให้ได้ แล้วอย่างที่ผมยกตัวอย่าง ว่าองค์กรไหนที่นักการเมืองเข้าไปแทรกแซงแล้วเป็นองค์กรที่เรามีความภาคภูมิ ใจว่าเขาจะรับใช้ประชาชนได้...มีมั๊ย ลองยกตัวอย่างมาให้ดู
Q : เป็นไปได้หรือไม่ว่า พรรคการเมือง-รัฐบาลกำลังกลัวว่าจะเกิดการปฏิวัติ-รัฐประหารง่ายขึ้นเหมือน ในอดีตหรือไม่ ถ้าไม่สามารถโยกย้าย สั่งการคนในกองทัพได้
A : การปฏิวัติจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อนักการเมืองเลวเท่านั้นแหล่ะ นักการเมืองเลว คอรัปชั่น ไม่ทำเพื่อผลประโยชน์ประเทศชาติ รัฐบาล ไม่ต้องกลัวการปฏิวัติหรอก เกราะคุ้มกันการปฏิวัติที่ดีที่สุดก็คือ การได้ช่วยดูแลทุกข์สุขของประชาชน อย่าสร้างปัญหา อย่าคอรัปชั่น อย่าทำอะไรเพื่อบุคคลใดบุคคลหนึ่ง เป็นเกราะป้องกันดีกว่าการปฏิวัติ ไม่ต้องกลัวหรอกครับ ลองไปดูว่า “คนดีไม่เคยกลัวตำรวจ” มีแต่คนเลว ผู้ร้าย คนที่คิดไม่ดีเท่านั้น เป็นคนที่กลัวตำรวจ เพราะฉะนั้นรัฐบาลกลัวกองทัพ รัฐบาลไม่ดีเหรอ ใช่มั๊ย...รัฐบาลพยายามคิดสิ่งที่ไม่ถูกต้อง ไม่ดีหรือ ถึงมากลัวกองทัพ Q : ถ้ารัฐบาลมองกองทัพเป็นอุปสรรคในการทำงาน จะเกิดปัญหาในการทำงานในอนาคตมากน้อยเพียงใด
A : อุปสรรคอะไร?
Q : อย่างเช่นการที่รัฐบาลมองว่าไม่สามารถเชื่อใจกองทัพได้ หรือไม่สามารถสั่งการคนในกองทัพได้
A : ก็ลองสั่งดู สั่งให้กองทัพไปช่วยเหลือประชาชนที่ประสบอุทกภัย กองทัพไปหรือเปล่าครับ ถ้ากองทัพบอกกองทัพไม่ไป ไม่ใช่หน้าที่ นั่นแหละกองทัพขัดนโยบายรัฐบาลที่ให้ช่วยเหลือประชาชน แล้วจะกลัวทำไม
Q : มีเสียงวิจารณ์ว่าการแต่งตั้งโยกย้าย ยังเป็นการแต่งตั้งคนในก๊กในเหล่าของตนเอง อย่างฝ่ายบูรพาพยัคฆ์ที่ยังได้รับตำแหน่งที่สำคัญในกองทัพ
A : “ทหาร” จำเป็นที่จะต้องแต่งตั้งคนที่ตัวเองไว้วางใจ คนที่มีความเชื่อมั่นว่า จะมาเป็นผู้นำได้ นักการเมืองมารู้จักทหารดีเท่าทหารหรือ? นักการเมืองถ้ารู้จักทหาร...ก็รู้จักแต่ทหารประจบสอพลอ ทหารที่ประสบสอพลอ...ไม่ได้เป็นทหารอาชีพ เป็นแต่บุคคลที่มีอาชีพทหารเท่านั้น เพราะฉะนั้นนักการเมืองไม่รู้จักทหารดี ไม่จำเป็นว่าเป็นใครก็แล้วแต่ มันเป็นความรับผิดชอบของผู้บังคับบัญชา ถ้าเขาแต่งตั้งผู้ใดไปแล้วผู้นั้นไปทำสิ่งที่ไม่ถูกต้อง เขาจะต้องมีการดำเนินการไปตามขั้นตอน ถ้าไม่ดำเนินการผู้ที่แต่งตั้งนั้นต้องรับผิดชอบ
Q : ทหารในกองทัพรู้ถึงกฎเกณฑ์ กลไกภายในที่จะทำให้กองทัพดำรงดำรงอยู่ได้ และอยู่รอดต่อไป จึงไม่ต้องการให้นักการเมืองเข้ามามีอำนาจแทรกแซงจนทำให้กลไกที่มีมาพังลงไป
A : ก็...ผมถามว่าต้องการเข้ามาแทรกแซงเพื่ออะไร คุณเข้ามาแทรกแซงเพื่อให้กองทัพเป็นกองทัพที่ดีขึ้น หรือต้องการเข้ามาแทรกแซงให้กองทัพอ่อนแอ รัฐบาลทั่วทุกประเทศในโลกเขาต้องการให้กองทัพเข้มแข็งทั้งนั้น มีแต่รัฐบาลไทยนี่แหละที่ต้องการให้กองทัพอ่อนแอ เพื่อที่จะ...เพราะความกลัว ผมบอกแล้วว่าคนเลวเท่านั้นแหละที่กลัวตำรวจ คนดีไม่เคยมีใครกลัวตำรวจหรอกครับ
Q : คนเลวก็ต้องกลัวกองทัพใช่หรือไม่
A : ไม่ใช่...ถ้าเป็นรัฐบาลที่ดี ไม่ต้องกลัวกองทัพ ถ้าเป็นรัฐบาลที่ดี ทำเพื่อผลประโยชน์ประเทศชาติ เพื่อส่วนรวม ไม่คอรัปชั่น ไม่ทำเพื่อบุคคลใดบุคคลหนึ่ง ไม่ต้องกลัวกองทัพ
Q : มีคนออกมาอ้างว่า รัฐบาลนี้มาจากเสียงส่วนใหญ่ของประชาชน ย่อมมีสิทธิ์ที่จะสั่งการองค์กรอย่างกองทัพได้
A : เป็นการ “สั่งการที่ถูก” หรือ “สั่งการที่ผิด” ล่ะ เขาไม่ได้มอบอำนาจให้คุณมาสั่งการที่ผิด เขามอบอำนาจให้คุณมาบริหารประเทศเพื่อประโยชน์ส่วนรวม ไม่ได้มอบอำนาจให้คุณมาบริหารประเทศเพื่อบุคคลใดบุคคลหนึ่ง ไม่ได้มอบอำนาจให้คุณมาคอรัปชั่น ไม่ได้มอบอำนาจให้คุณมาโกงกิน เขามอบอำนาจให้คุณมาบริหารประเทศชาติให้มีความเจริญก้าวหน้า ให้ประชาชนอยู่ดีกินดี
Q : ตั้งแต่ใช้กฎหมายฉบับนี้มาประสบผลสำเร็จมากน้อยเพียงใด
A : ก็..กองทัพยังสามารถเป็นกองทัพของประเทศชาติประชาชนได้ กองทัพไม่ได้เป็นกองทัพของนักการเมือง ก็ยังไม่เห็นมีนักการเมืองคนไหนสามารถเอาญาติของตัวเองเข้ามาดำรงตำแหน่ง สำคัญในกองทัพได้ หรือมาดำรงตำแหน่งได้ก็เป็นตำแหน่งซึ่งไม่สำคัญ ซึ่งก็ธรรมดา ก็ยอมรับได้ แต่ว่าจะมาดำรงตำแหน่งสำคัญๆเช่นในอดีต สมัยปี             2544-2549       นั้น ทำไม่ได้ ช่วงนั้นเป็นช่วงก่อนที่พ.ร.บ.ฉบับนี้จะออก
Q : ปี             2544-2549       ซึ่งเป็นยุครัฐบาลพ.ต.ท.ทักษิณ มีการแทรกแซงกองทัพมาก ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ต้องออกพ.ร.บ.ฉบับนี้
A : ก็ออกไปดูสิ ใครละเอาใครมาเป็น คุณต้องไปดูประวัติ ว่าใครมาเป็น...จากไหนมาเป็น มันมีความเป็นมาอย่างไร ขึ้นมาได้อย่างไร และมีความสามารถขนาดไหน ก็อยากฝากให้ไปดู ผมไม่อยากระบุไปถึงตัวบุคคล
Q : ถ้าฝ่ายการเมืองต้องการแก้ไขจริง ด้วยการขับเคลื่อนวิถีทางในสภาฯ โดยอาศัยเสียงข้างมาก คิดว่าจะสามารถทำได้ราบรื่นหรือไม่
A : “เสียงข้างมาก” ถ้าไม่ถูกต้องก็พังได้....ข้างมากถ้าทำในสิ่งไม่ถูกต้องก็พังได้ ตอบคำถามผมมา 2 คำถาม 1.แทรกแซงเพื่ออะไร 2.องค์กรไหนบ้างที่นักการเมืองแทรกแซงแล้วเป็นองค์กรที่ดี ถ้าตอบคำถามได้ ประชาชนหรือทุกคนมีความพึงพอใจ แล้วแทรกแซงแล้วทำให้กองทัพเข้มแข็ง เป็นกองทัพของประเทศชาติประชาชน...ก็แก้ไขได้ แต่ถ้าตอบคำถามเหล่านี้ ว่าแทรกแซงแล้วกองทัพอ่อนแอ ทำให้กองทัพเป็นกองทัพของนักการเมือง ถ้านักการเมืองไป ต้องไปรับไปส่ง ไม่ต้องมาทำหน้าที่ ไม่ต้องฝึก ไม่ต้องมาป้องกันประเทศ เหมือนอย่างเช่นข้าราชการอื่นๆ ที่จะต้องคอยเฝ้าสนามบิน คอยรับคอยส่งอะไรอย่างนี้ ถ้าหากว่าสามารถเข้ามาแทรกแซง สามารถเข้ามาบริหารจัดการแล้วทำให้กองทัพเข้มแข็งเหมือนประเทศอื่นๆ เหมือนนานาอารยะประเทศที่เขาเจริญแล้ว ไม่มีใครว่าหรอกครับ Q : อย่างทหารเองสามารถออกกฎหมายปกป้องตัวเองจากนักการเมืองได้ ข้าราชการหน่วยงานอื่นจำเป็นหรือไม่ที่ต้องดำเนินการแบบทหารบ้าง
A : ก็ขึ้นอยู่กับหน่วยงานนั้น ว่าหน่วยงานนั้นยินยอมพร้อมใจเป็นข้าทาสนักการเมืองหรือเปล่า แต่ทหารไม่พร้อมใจเป็นข้าทาสนักการเมืองที่เลว
Q : อย่างโผทหารที่ออกมาล่าสุดถือว่าเป็นผลสำเร็จที่ได้จากพ.ร.บ.ฉบับนี้หรือไม่
A : ผมคิดว่าก็โอเคนะ ก็รับได้ ผมก็รับได้ มันก็มีบ้าง...ธรรมดา ผมว่ามีบ้าง...ธรรมดา โดยระบบของคนไทย ซึ่งในตำแหน่งที่ไม่สำคัญก็รับได้ ผมก็ไม่ใช่ว่าจะต้องเป๊ะอะไรไปหมดทุกอย่างนะ มันเป็นสิ่งที่ยอมรับได้และไม่เสียในภาพรวมของกองทัพ ก็เป็นสิ่งที่ยอมรับได้ครับ
Q : เท่าที่ดู ไม่น่าจะมีการล้วงลูกจากฝ่ายการเมือง
A : เท่าที่ปรากฏในตัวบุคคล ก็ไม่ได้ข่าวตรงนั้น เพียงแต่เห็นว่ามีปัญหาความขัดแย้งกันอยู่บางประการเท่านั้นเอง
Q : บทบาทของรัฐบาลยิ่งลักษณ์กับกองทัพเป็นอย่างไร
A : ผมว่าไม่มีปัญหาหรอกครับ ก็...รัฐบาลดูแลประชาชนไปเถอะ ตอนนี้ประชาชนกำลังเดือดร้อน ไปช่วยเหลือดูแลแก้ปัญหาให้กับประชาชน อย่าต้องมาห่วงกับเรื่องการปฏิวัติรัฐประหารเลย ไม่ต้องมาห่วงหรอกครับ ไม่จำเป็นต้องไปสร้างข่าวปฏิวัติหรืออะไรเพื่อปกปิดเป้าหมายที่แท้จริงของ ตัวเอง ไม่ต้องไปสร้างข่าวหรอก เอาเวลาทั้งหมดที่จะแก้พ.ร.บ. ที่จทำอะไรทั้งหมดไปดูแลช่วยเหลือความทุกข์ยากให้กับประชาชนเถอะครับ

ประสบการณ์จากกรณี ปตท. แปรรูป...ประชาชนได้อะไร?


ประสบการณ์จากกรณี ปตท. แปรรูป...ประชาชนได้อะไร?
กลุ่มพลังไท/กลุ่มศึกษาพลังงานทางเลือกเพื่ออนาคต -
โครงสร้างธุรกิจของบริษัท ปตท.
ธุรกิจ ของบริษัท ปตท. แบ่งออกเป็น 3 ธุรกิจหลัก คือ 1. ธุรกิจน้ำมัน 2. ธุรกิจก๊าซธรรมชาติ และ 3. ธุรกิจปิโตรเคมีและการกลั่น โดยรายได้ส่วนใหญ่ของปตท. มาจากธุรกิจน้ำมัน แต่ส่วนที่เป็นกำไรหลักจริงๆ นั้น มาจากธุรกิจก๊าซธรรมชาติ ในปี 2547 ปตท.มีรายได้จากการขายรวมทั้งสิ้น 644,673 ล้านบาท ซึ่งในจำนวนนี้แบ่งเป็นรายได้จากน้ำมัน 66% จากก๊าซธรรมชาติ 30% และอีก 4% จากปิโตรเคมี แต่หากดูที่กำไรก่อนหักภาษี (EBITDA) ซึ่งมีตัวเลขสูงถึง 79,264 ล้านบาทในปี 2547 จะเห็นว่า กำไรที่ได้นี้ เกินกว่า 90% มาจากส่วนของธุรกิจก๊าซธรรมชาติ
บริษัท ปตท.เป็นผู้ผูกขาดรายเดียวของประเทศในการดำเนินการธุรกิจท่อส่งก๊าซธรรมชาติ นั่นหมายความว่า ปตท.เป็นผู้ผูกขาดในการจัดหาก๊าซธรรมชาติจากแหล่งผลิตเพื่อจำหน่ายต่อให้แก่ ผู้ใช้ก๊าซกลุ่มต่างๆ คือ กฟผ. โรงไฟฟ้า IPP และ SPP และภาคอุตสาหกรรม นอกจากนี้ในส่วนของธุรกิจต้นน้ำ คือการขุดเจาะก๊าซ บริษัท ปตท. ก็มีบริษัทลูกคือ ปตท.สผ. เป็นผู้ประกอบการสำรวจและขุดเจาะก๊าซปิโตรเลียม โดยปัจจุบัน ปตท.สผ. เป็นผู้มีปริมาณสำรองก๊าซธรรมชาติมากที่สุดในประเทศไทย

ก๊าซธรรมชาติประมาณ 77% ของทั้งหมดจะถูกนำไปใช้ในการผลิตไฟฟ้า (โดยโรงไฟฟ้าของ กฟผ. 36% โรงไฟฟ้า IPP 26% และ SPP 15%) ที่ เหลือเป็นการใช้ในภาคอุตสาหกรรม โรงแยกก๊าซและปิโตรเคมี เพราะฉะนั้นรายได้หลักของ ปตท.ในธุรกิจก๊าซธรรมชาติจึงมาจากภาคการผลิตไฟฟ้านั่นเอง โดยโครงสร้างราคาก๊าซที่ ปตท. ได้รับ จะประกอบด้วย

ราคาขาย = ราคาเฉลี่ยก๊าซที่ปากหลุม + Supply Margin + ค่าผ่านท่อ 19.4 บาท/ล้านบีทียู

ค่า ผ่านท่อดังกล่าว คำนวณจากฐานอัตราผลตอบแทนการลงทุนในการวางท่อส่งก๊าซ = 18% ซึ่งถือว่าสูงมาก ทำให้ ปตท.มีรายได้มหาศาลจากการจำหน่ายก๊าซเพื่อผลิตไฟฟ้าทั้งประเทศ หากเทียบจากเงินค่าไฟฟ้าที่ผู้บริโภคจ่ายแต่ละ 100 บาท จะไปตกอยู่กับ ปตท.ถึง 42.90 บาท ในขณะที่ กฟผ.ได้รับเพียง 27.10 บาท แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อมีการขึ้นค่าไฟฟ้าแต่ละครั้ง (ซึ่งส่วนใหญ่จะมาจากก๊าซขึ้นราคา) กฟผ.มักตกเป็นเป้าหลักที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์จากผู้บริโภค ในขณะที่ผู้ขูดรีดที่แท้จริง คือ ปตท.ไม่เคยถูกวิจารณ์เลย (หาก คำนึงถึงว่า ก๊าซธรรมชาติเป็นสาธารณูปโภคพื้นฐานที่รัฐพึงบริการแก่ประชาชน รัฐก็ควรทบทวนโครงสร้างราคาก๊าซโดยลดค่าผ่านท่อให้อยู่ในอัตราที่เหมาะสม โดยให้ ปตท.มีกำไรตามสมควร ไม่ใช่กำไรมากโดยผู้บริโภคเป็นผู้รับภาระอย่างไม่เป็นธรรม ดังเช่นที่เป็นอยู่)
ห่วงโซ่การผูกขาดในระบบไฟฟ้า (ค่าไฟฟ้าที่ผู้บริโภคจ่ายไปที่ไหนบ้าง)
บทเรียนจากการแปรรูป ปตท. 
ปตท.เป็น รัฐวิสาหกิจแห่งแรกที่แปรรูปโดยใช้ พรบ.ทุนรัฐวิสาหกิจ ซึ่งเป็นกฎหมายที่ให้อำนาจแก่ฝ่ายบริหารที่จะล้มเลิก พรบ.จัดตั้งรัฐวิสาหกิจได้โดยไม่ต้องผ่านรัฐสภา บริษัท ปตท.นำหุ้นเข้ากระจายในตลาดหลักทรัพย์เมื่อเดือนตุลาคม 2544 ซึ่งหุ้นของ ปตท.ถูกจองหมดภายในเวลาเพียง 1 นาทีเศษๆ จากราคา IPO ที่ 35 บาท/หุ้น เมื่อเดือนตุลาคม 2544 ปัจจุบันราคาหุ้น ปตท.พุ่งสูงขึ้นถึง 208 บาท/หุ้น หรือ 6 เท่าของราคา IPO

แม้ปัจจุบัน ปตท.จะมีสถานะเป็นบริษัท แต่ในการแปรรูป ปตท.นั้น ได้มีการโอนสิทธิประโยชน์ในฐานะรัฐวิสาหกิจและอำนาจรัฐบางอย่างให้แก่ ปตท.ด้วย ที่สำคัญได้แก่ สิทธิในการผูกขาดกิจการท่อส่งก๊าซธรรมชาติ สิทธิในการเวนคืน และสิทธิในการยกเว้นภาษีต่างๆ เป็นต้น ดังจะเห็นได้ว่า ปัจจุบัน ปตท.ก็ยังคงเป็นผู้ผูกขาดแต่เพียงผู้เดียวในการจัดหาก๊าซธรรมชาติในประเทศ ไทย และการลงทุนในโครงการต่างๆ ของ ปตท.ยังได้รับการประกันผลตอบแทนการลงทุนจากมติ ครม. ด้วยอัตรา IRROE ที่ 16% ซึ่งเป็นอัตราที่สูงมาก ยิ่งเมื่อพิจารณาในแง่ที่ว่า ปตท.เป็นผู้ผูกขาดรายเดียวในการจัดหาก๊าซธรรมชาติ ซึ่งแทบจะปราศจากความเสี่ยงในการลงทุน

สิ่งที่เห็นได้ชัดเจนหลังการ แปรรูป ปตท. ก็คือ วัตถุประสงค์ขององค์กรที่เปลี่ยนแปลงไป จากการเป็นรัฐวิสาหกิจที่ดำเนินการสาธารณูปโภคเพื่อประชาชน กลายเป็นบริษัทจำกัด (มหาชน) ที่ดำเนินธุรกิจเพื่อผลประโยชน์สูงสุดของผู้ถือหุ้นเป็นสำคัญ ในขณะที่เป้าหมายในเรื่องการเพิ่มประสิทธิภาพสู่มาตรฐานสากล ความโปร่งใส และการเพิ่มการแข่งขันการให้บริการแก่ประชาชน ซึ่งเป็นวัตถุประสงค์ในการแปรรูปกลับไม่เกิดขึ้นตามที่มีการกล่าวอ้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องการแข่งขันให้บริการประชาชน ซึ่งก่อนการแปรรูป ปตท. เมื่อปี 2544 ได้มีการให้คำมั่นสัญญาที่จะดำเนินการเมื่อมีการนำหุ้น ปตท.เข้าตลาดหลักทรัพย์แล้ว คือ

1. จะมีการแยกธุรกิจท่อส่งก๊าซออกจากธุรกิจส่วนอื่นภายใน 1 ปี เพื่อเปิดทางให้มีการแข่งขัน ลดการผูกขาดการจัดหาก๊าซ
2. จะมีการจัดตั้งองค์กรกำกับดูแลอิสระ สาขาก๊าซธรรมชาติและไฟฟ้า เพื่อคุ้มครองผู้บริโภค
3. จะประกันผลตอบแทนการลงทุนขยายท่อก๊าซของ ปตท. (IRROE) = 16%

แต่ ปรากฏว่า สามปีให้หลังการแปรรูป กลับไม่มีการแยกธุรกิจท่อส่งก๊าซออกจากบริษัท ปตท. และเปิดให้มีการแข่งขันในธุรกิจการจัดหาก๊าซ ไม่มีการจัดตั้งองค์กรกำกับดูแลอิสระ บริษัท ปตท.ยังคงเป็นผู้ผูกขาดในธุรกิจท่อส่งก๊าซเช่นเดิม สิ่งที่รัฐบาลกระทำตามสัญญามีเพียงประการเดียวคือ การประกันผลตอบแทนการลงทุนของ ปตท. ในอัตรา 16%

ในเดือนธันวาคม 2546 รัฐบาลได้อนุมัติโครงการท่อส่งก๊าซเส้นที่ 3 ของ ปตท. ซึ่งมีมูลค่าถึง 100,000 ล้านบาท โดยประกันผลตอบแทนการลงทุนในโครงการ (IRROE) = 16% (มติ ครม. 9 ธค.46) แม้จะมีข้อวิจารณ์ว่า แผนการลงทุนครั้งนี้ไม่คุ้มค่าการลงทุน (นาย ณอคุณ สิทธิพงศ์ รองปลัดกระทรวงพลังงาน ได้ชี้แจงในงานประชาพิจารณ์การแปรรูป กฟผ. ที่วุฒิสภาว่า แผนลงทุนท่อก๊าซเส้นที่3 ไม่คุ้มค่าการลงทุนด้วยตัวของมันเอง)
เพื่อ ให้ได้ผลตอบแทนตามที่กำหนดดังกล่าว ท่อก๊าซเส้นที่ 3 จะต้องเก็บค่าผ่านท่อที่อัตรา 23.5 บาท/ล้านบีทียู ซึ่งจะต้องนำไปเกลี่ยราคากับท่อส่งก๊าซเส้นที่ 1 และ 2 ที่ค่าผ่านท่อมีราคาอยู่ที่ 19.4 บาท/ล้านบีทียู เพื่อให้ราคาเป็นที่ยอมรับได้ ซึ่งเป็นการเพิ่มภาระแก่ผู้บริโภคเพื่อให้ผู้ถือหุ้นบริษัท ปตท. ได้รับผลตอบแทน 16% ตามที่รัฐบาลประกันไว้

ไม่เพียงเท่านั้น ปตท. ได้ขอขยายแผนและงบการลงทุนจากเดิม 100,000 ล้านบาท เป็น 150,000 ล้านบาท โดยอ้างว่า ความต้องการใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นตามแผน PDP 2004 และราคาวัสดุก่อสร้างสูงขึ้น ซึ่งจะเห็นได้ว่า การลงทุนของ ปตท. ไม่จำเป็นต้องพิจารณาในเรื่องประสิทธิภาพของการลงทุนแต่อย่างใด เนื่องจากยิ่งใช้งบลงทุนสูงขึ้นเท่าใด ผลตอบแทนการลงทุนก็มากขึ้นเป็นเงาตามตัว เนื่องจากรัฐบาลได้ประกันผลตอบแทนไว้ให้แล้วถึง 16% นั่นเอง ดังนั้น จึงไม่น่าแปลกใจที่ปรากฏว่า หลังจากมติ ครม.เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2546 ราคาหุ้นบริษัท ปตท.ได้พุ่งจาก 109 บาท/หุ้น เป็น 208 บาท/หุ้น หรือเพิ่มขึ้นถึง 68% ในชั่วเวลาเพียงเดือนเดียว
นอกจากผู้ถือหุ้น บริษัท ปตท. ที่ได้รับประโยชน์เป็นกอบเป็นกำจากการแปรรูป ปตท. แล้ว พนักงานบริษัท ปตท. เป็นอีกส่วนหนึ่งที่ได้ประโยชน์อย่างเต็มที่ ดังจะเห็นได้ว่า ค่าจ้างพนักงาน ปตท. ในปี 2543 ที่ได้รับเฉลี่ย 817,000 บาท/คน/ปี เพิ่มขึ้นเป็นเฉลี่ย 1,142,000 บาท/คน/ปี ในปี 2546 หรือเพิ่มขึ้นถึง 40% ในระยะเวลาเพียง 3 ปี
ตัวอย่างผลกระทบที่เกิดขึ้น
น้ำมัน ก่อน การแปรรูป ปตท.เคยมีบทบาทหลักในการตรึงราคาน้ำมันในภาวะที่ราคาในตลาดโลกสูง ซึ่งเป็นการทำเพื่อผลประโยชน์ของประเทศ ไม่ใช่คิดถึงผลประโยชน์ของ ปตท.เป็นตัวตั้ง แต่หลังจากแปรรูป ปตท.แล้ว เมื่อรัฐบาลมีนโยบายตรึงราคาน้ำมัน รัฐต้องใช้กองทุนน้ำมันในการตรึงราคาน้ำมัน ซึ่งขณะนี้ (มีนาคม 2548) ปรากฏ ว่ากองทุนน้ำมันมีหนี้สะสมจากการตรึงราคาน้ำมันถึง 7 หมื่นล้านบาทแล้ว ในขณะที่การบริโภคน้ำมันไม่ได้ลดลงตามกลไกราคาที่แท้จริง หนี้สินก้อนมหึมานี้จะกลายเป็นภาระของผู้บริโภคในอนาคต เพราะเมื่อราคาน้ำมันในตลาดโลกลดลง รัฐบาลก็จะไม่สามารถลดราคาน้ำมันในประเทศได้ เนื่องจากต้องหาเงินไปชดเชยกองทุนน้ำมัน โดยสรุปแล้ว ผู้ที่ได้ประโยชน์สูงสุดจากการตรึงราคาน้ำมันก็คือ ปตท. ในฐานะผู้ขายน้ำมัน

ก๊าซหุงต้ม ก่อน การแปรรูปรัฐบาลใช้นโยบายตรึงราคาก๊าซหุงต้มเพื่อให้ประชาชนสามารถใช้ก๊าซใน ราคาถูก แต่ในปี 2544 ซึ่งมีการแปรรูป ปตท. รัฐบาลได้ประกาศราคาก๊าซหุงต้มลอยตัว ทำให้ราคาสูงขึ้นเป็นลำดับ จากราคาถังละ 160 บาท ปัจจุบันราคาถังละเกิน 300 บาทแล้ว ก๊าซหุงต้มถือเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนชั้นล่าง และส่วนหนึ่งใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับรถแท็กซี่ แต่ก๊าซหุงต้มถือเป็นผลิตภัณฑ์มูลค่าสูง และ ปตท.กำลังหาช่องทางที่จะจำหน่ายเป็นสินค้าส่งออก ซึ่งในอนาคตผู้บริโภคอาจได้รับผลกระทบเพิ่มขึ้นอีก

อีกตัวอย่างหนึ่ง ที่ชี้ให้เห็นว่า ปัจจุบันธุรกิจของปตท. มีเป้าหมายหลักอยู่ที่กำไรสูงสุดโดยการผลักภาระให้ประชาชนก็คือ เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2547 ที่ผ่านมา ปตท.ได้ลดการส่งก๊าซธรรมชาติจากอ่าวไทยให้แก่ กฟผ.ปริมาณ 100 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน เพื่อนำก๊าซจำนวนดังกล่าวไปให้แก่ภาคอุตสาหกรรมเอกชน ซึ่งได้ราคาสูงกว่า กฟผ. ทำให้ กฟผ. ต้องใช้น้ำมันเตาในการผลิตไฟฟ้าแทนเป็นเวลา 10 เดือน โดยต้นทุนเชื้อเพลิงที่เพิ่มขึ้น 1,500 ล้านบาททำให้ผู้บริโภคต้องรับภาระค่าเอฟทีเพิ่มขึ้น 1.50 - 2 สตางค์ต่อหน่วย (นสพ.กรุงเทพธุรกิจ, 22 พ.ย.47) เหตุการณ์ เช่นนี้อาจจะไม่เกิดขึ้นหากรัฐบาลได้ทำตามสัญญาที่ให้ไว้ก่อนแปรรูป โดยการเปิดให้มีการแข่งขันในธุรกิจจัดหาก๊าซ และมีการจัดตั้งองค์กรอิสระขึ้นมากำกับดูแลกิจการก๊าซธรรมชาติ
หากเปรียบเทียบฐานะทางการเงินของ ปตท. กับ กฟผ. (ปี 2546) จะเห็นว่า สัดส่วนเงินกู้/สินทรัพย์ ของ ปตท.และ กฟผ. เท่ากัน ในขณะที่อัตราผลตอบแทนของ ปตท. สูงกว่า กฟผ. เป็นอย่างมาก (โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปี 2547 ปตท.มีกำไรสุทธิสูงถึง 62,666 ล้านบาท หรือสูงขึ้นจากปี 2546 ถึง 66.8%) โดยผลกำไรหลักๆ นั้น ได้จากการขูดรีดขายก๊าซให้แก่ กฟผ. และ กฟผ.ผลักภาระไว้ในค่าไฟฟ้าของผู้บริโภคอีกต่อหนึ่ง
กำไรมหาศาลของ ปตท. ตกอยู่ที่ใคร ?
ปัจจุบัน หุ้นของ ปตท.และบริษัทในเครือมีมูลค่ารวมมากถึง 21.7% ของ Market Cap เฉพาะส่วนของ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) มีกระทรวงการคลังเป็นผู้ถือหุ้นอยู่ 52.48% และมีเอกชนรายใหญ่จำนวน 13 รายถือหุ้นรวม 25.14% ส่วนผู้ถือหุ้นรายย่อยที่มีจำนวนกว่า 36,000 รายนั้นมีหุ้นรวมกันเพียง 22.38% (ข้อมูล ณ วันที่ 3 กันยายน 2547)
ผลประโยชน์ทางการเมืองเข้าแทรกซ้อน 
จาก ข้อมูลรายชื่อผู้บริหาร ปตท.และรายชื่อคณะกรรมการ ปตท.เป็นที่น่าสังเกตว่าผู้ที่มาดำรงตำแหน่งระดับสูงของ ปตท.นั้นบุคคลส่วนใหญ่จะเป็นข้าราชการ และเป็นผู้ที่เกี่ยวข้องกับบุคคลในรัฐบาล โดยเฉพาะตระกูลชินวัตร เช่น คณะกรรมการ ปตท.นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ปลัดกระทรวงยุติธรรม ซึ่งเป็นน้อยเขยของ นายกทักษิณ ชินวัตร และนายโอฬาร ไชยประวัติ ซึ่งเป็นกรรมการบริษัทชินคอร์ป และนายกสภามหาวิทยาลัยชินวัตร นอก จากนี้ในรายชื่อผู้บริหาร ปตท. มีชื่อนายทรงวุฒิ ชินวัตร และซึ่งดำรงตำแหน่งรองกรรมการผู้จัดการใหญ่บริหารองค์กร โดยเพิ่งเข้ามาดำรงตำแหน่งในปี 2547 ก่อนหน้านี้ไม่มีชื่ออยู่ จากรายชื่อเหล่านี้แสดงให้เห็นว่า มีอิทธิพลทางการเมืองมาแทรกซึมอยู่
สถานะ “รัฐวิสาหกิจ” ของ ปตท. ไม่ใช่หลักประกันสำหรับประชาชน 
ข้ออ้างที่ว่า ปตท.ยังเป็นรัฐวิสาหกิจ เนื่องจากคำว่า ”รัฐวิสาหกิจ” นิยาม ไว้เพียงว่ารัฐจะต้องถือหุ้นในบริษัท อย่างต่ำ 50% ณ ปัจจุบัน ปตท. มีหุ้นส่วนเป็นของเอกชนถึง 48% ซึ่งที่เหลือเป็นของรัฐบาลเพียงแค่อีก 52% เท่านั้น และเจ้าหน้าที่ของกระทรวงพลังงานที่เป็นตัวแทนของกระทรวงในการดูแลผล ประโยชน์ในเรื่องพลังงาน และปากท้องของผู้ใช้พลังงาน คือ นายเชิดพงษ์ สิริวิชช์ ปลัด กระทรวงพลังงาน ซึ่งดำรงตำแหน่งประธานกรรมการ ปตท. และนายเมตตา บันเทิงสุข ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและพลังงาน ซึ่งเป็นหนึ่งในคณะกรรมการ ปตท. ที่มีหน้าที่ในการปกป้องผลประโยชน์ของส่วนรวม แต่ในการกระทำของ นายเชิดพงษ์ และนายเมตตา นั้นได้มีความขัดแย้งกับหน้าที่ของกรรมการฝ่ายรัฐบาล และได้เอื้อประโยชน์ให้กับบริษัทมากกว่าให้ประเทศชาติ เห็น ได้จากในการเข้าร่วมประชุมคณะกรรมการ ปตท. เทียบกับการเข้าร่วมประชุมคณะอนุกรรมการ Ft นายเชิดพงษ์ได้เข้าร่วมประชุมเป็นอัตรา 100% ต่อ 67% และโดยเฉพาะอย่างยิ่งนายเชิดพงษ์ได้เป็นประธานคณะอนุกรรมการ Ft และนายเมตตาเป็นรองประธานคณะอนุกรรมการ Ft ในปลายปี 2546 ส่วนในกรณีของนายเมตตาเป็นอัตรา 90% ต่อ 83% ซึ่งในแต่ละครั้งของการประชุม ปตท. คณะกรรมการจะได้เงินจากการประชุมครั้งละไม่ต่ำกว่า 100,000 บาท/คน ซึ่งมากกว่าเมื่อเทียบกับเงินเดือนของข้าราชการ จึงไม่แปลกเลยที่ เจ้าหน้าที่ของรัฐทำหน้าที่ดูแลผลประโยชน์ของรัฐได้เข้มข้นกว่าดูแลผล ประโยชน์ของประชาชน
สรุป: ใครได้อะไรจากการแปรรูป ปตท.
จาก ที่กล่าวมาทั้งหมดนั้น ถ้าถามว่าใครได้อะไรบ้างจากการแปรรูปครั้งนี้ ประชาชน นักลงทุน และประเทศชาติโดยรวมได้ประโยชน์เท่าใด คุ้มค่ากับการแปรรูปรูป ปตท. หรือไม่

ประชาชน จ่ายค่าไฟแพงขึ้น ก๊าซหุงต้มก็แพงขึ้น และมีหนี้กองโต (จากการชดเชยน้ำมัน) เฉลี่ยคนละอีกเกือบ 1,200 บาท (60 ล้านคน)

นักลงทุน นัก ลงทุนได้รับประโยชน์จากราคาหุ้นที่พุ่งทะยานอย่างสวยงาม แต่น่าเสียดายที่ประชาชนส่วนใหญ่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับตลาดหุ้นเลย ซึ่งคิดเป็นจำนวนไม่ถึง 5% ของประชาชนทั้งหมดของประเทศ และคนเล่นหุ้นที่ได้ประโยชน์อย่างเต็มไม้เต็มมือจริงๆ ที่มักมีความเกี่ยวข้องกับการเมืองก็มีไม่ถึงหลักร้อยซึ่งได้กำไรมหาศาลจาก การแปรรูปครั้งนี้

ประเทศ กำไรของ ปตท. นับแต่มีการแปรรูป จำนวน 190,284 ล้านบาทที่ควรตกเป็นขอ รัฐทั้งหมด กลับต้องแบ่งไปให้เอกชนกึ่งหนึ่ง โดยผลประโยชน์เข้ากระเป๋าเอกชน รวมแล้วกว่า 251,000 ล้านบาท อยู่ในรูปของ
1) เงินปันผลที่จ่ายให้นักลงทุนเอกชนจำนวนกว่า 17,000 ล้านบาท และ
2) ราคาหุ้นที่เพิ่มขึ้น (จาก 35 เป็น 208 บาท/หุ้น ณ 3/3/48) คิดเป็นมูลค่าประมาณ 234,000 ล้านบาท
สรุปแล้ว บทเรียนจากกรณี ปตท. คือ การแปรรูป คือ การปล้นเงียบ และปล้นอย่างถูกกฎหมาย สง่างาม
แล้วเราควรจะปล่อยให้ กฟผ. เจริญรอยตาม ปตท.?

***************************************************************
นำเสนอในงานสัมมนา วิเคราะห์ความเสี่ยงการแปรรูป กฟผ.
วันที่ 30 มีนาคม 2548

ยัง มีอยู่ในรูปของ power point ซึ่งระบุข้อมูลตัวเลขที่ชัดเจนและชื่อบุคคลสำคัญที่เกี่ยวข้องและอาจมีส่วน ได้ส่วนเสียไว้ด้วย แต่เนื่องจากไฟล์มีขนาดใหญ่ จึงยังไม่ได้ส่งมา
หากท่านใดต้องการ สามารถติดต่อกลับมาได้ทางอีเมลนี้ 


กลุ่มพลังไท
กลุ่มศึกษาพลังงานทางเลือกเพื่ออนาคต

aeps@ksc.th.com
รีโมท ซื้อ รีโมท จากผู้ค้าส่งโดยตรง ที่มีหน้าร้านจริง ที่ บ้านหม้อ และ คลองถม ราคาถูกกว่าใคร ปลอดภัย มีรับประกัน

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

บทความย้อนหลัง