บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันจันทร์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2554

'ในหลวง'ให้ผู้พิพากษา 'รักษาคำปฏิญาณ'ที่ให้! ทำหน้าที่อย่างยุติธรรม










'

ในหลวง'ให้ผู้พิพากษา 'รักษาคำปฏิญาณ'ที่ให้! ทำหน้าที่อย่างยุติธรรม 'เป็นกลาง'ลดค.ขัดแย้ง

"ในหลวง"พระ ราชทานพระบรมราชานุญาตให้ ผู้พิพากษาประจำศาล สำนักงานศาลยุติธรรม เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ถวายสัตย์ปฏิญาณก่อนเข้ารับตำแหน่งหน้าที่ โดยให้ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความเป็นกลาง เพื่อความยุติธรรม ลดความขัดแย้งภายในชาติ

วันที่ 20 มิ.ย.2554 เวลา 17.24 น. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ นายสบโชค สุขารมณ์ ประธานศาลฎีกา นำผู้พิพากษาประจำศาล สำนักงานศาลยุติธรรม เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ถวายสัตย์ปฏิญาณก่อนเข้ารับตำแหน่งหน้าที่โอกาสนี้ นายวิรัช ชินวินิจกุล เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม นายไพโรจน์ นวานุช ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลอุทธรณ์ ประจำสำนักงานประธานศาลฎีกา นายวรวุฒิ ทวาทศิน เลขาธิการประจำประธานศาลฎีกา และนายสราวุธ เบญจกุล รองเลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม ร่วมเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทด้วยโอกาสนี้ พระราชทานพระบรมราโชวาท เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติหน้าที่ เพื่อประเทศชาติ และประชาชน ใจความว่า

"คำปฏิญาณผู้พิพากษาเป็น ปฏิญาณที่สำคัญมาก อย่างที่ท่านได้เปล่งวาจา  ศาลทำหน้าที่เพื่อความยุติธรรมเพื่อความสงบสุขของประเทศ ถ้าท่านปฏิบัติดีก็ทำให้ประเทศชาติมีความสงบได้ เพราะคนก็ต้องมีความขัดแย้งกัน ท่านต้องเป็นกลางในทุกกรณี ทั้งในขณะท่านอยู่ในโรงศาลและนอกโรงศาล ดังนั้นขอให้ท่านได้รักษาคำปฏิญาณที่ท่านได้เปล่งด้วยความเข้มแข็งนี้ รักษาเอาไว้ทุกเมื่อ และถือว่าเป็นหน้าที่ในชีวิต ขอให้ท่านได้ปฏิบัติงานด้วยความสามารถ มีความเข้มแข็งและเป็นความดีของท่านจะเป็นความสงบของประเทศชาติ ขอให้ท่านได้ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความเข้มแข็ง และสามารถปฏิบัติตาม ขอให้ท่านมีความสำเร็จมีความสุขในงานการเพื่อประโยชน์สุขของประเทศชาติ"

ต่อ จากนั้น พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี นำ พล.อ.อ.ชลิต พุกผาสุข องคมนตรี เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ถวายสัตย์ปฏิญาณก่อนเข้ารับตำแหน่งหน้าที่




รอยเตอร์สชี้"เพื่อไทย"อาจต้องตกลงกับกองทัพ ยกเลิกแผนนิรโทษกรรมให้ทักษิณ"หากอยากเป็นรบ.





สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานบทวิเคราะห์ข่าว ชื่อเรื่องว่า"กองทัพไทยเลือกข้างขณะที่การเลือกตั้งที่สร้างความแตกแยกใกล้ เข้ามา"ระบุว่า หลังจากกองทัพไทยได้ขจัดพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ในเหตุการณ์ปฎิวัติเลือดเมื่อเดือนก.ย.2549 มีความเป็นไปได้ว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ตัวเก็งในการเลือกตั้งครั้งนี้มีเหตุผลที่จะต้องกลัวว่า กองทัพจะเล่นงานเธอ โดยขณะนี้น.ส.ยิ่งลักษณ์ กำลังมีคะแนนนิยมนำ ที่จะกลายเป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่ หลังการเลือกตั้งในวันที่ 3 ก.ค.โดยกองทัพได้ปัดท่าทีวางตัวเป็นกลางแล้ว และตั้งใจจะล้มอำนาจเธอ แต่ยังไม่รู้ว่าจะนานเพียงใดเท่านั้น

รอยเตอร์สระบุว่า หาก"ยิ่งลักษณ์"มีชัยเหนือนาย"อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ"การรัฐประหารก็จะเป็นทางเลือกหนึ่งของกองทัพ แม้ว่าสิ่งนี้ไม่น่าจะเกิดขึ้นเพราะจะทำให้กลุ่มคนเสื้อแดงเรือนหมื่นออกมา ชุมนมบนท้องถนนซ้ำรอยกับเหตุการณ์ปฎิวัติครั้งที่แล้ว ขณะที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่และนักการทูตชี้ว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์อาจต้องทำข้อตกลงกับกองทัพเพื่อให้พรรคเพื่อไทยของเธอได้เป็น รัฐบาล และป้องกันการจลาจลบนท้องถนนครั้งใหม่ โดยในช่วงใกล้ห้วงเลือกตั้ง รอยเตอร์สระบุว่า กองทัพได้พยายามทำลายความได้เปรียบของเธอและล้มแผนนิรโทษกรรมที่จะเปิดทาง ให้พ.ต.ท.ทักษิณ ได้เดินทางกลับประเทศ

รายงานระบุว่า พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ซึ่งเป็นกลไกหนึ่งของของการปฎิวัติโค่นล้มอำนาจพ.ต.ท.ทักษิณ ได้ออกแถลงการณ์ด้วยใบหน้าตึงเครียด ทางสถานีโทรทัศน์ 2 ช่อง ได้เน้นว่ากองทัพจะไม่แทรกแซงการเลือกตั้ง โดยสารของเขาก็มีผลกระทบด้านตรงข้าม ด้วยการกล่าวคำพูดว่า หากเรายอมให้ผลการเลือกตั้งเป็นเหมือนที่ผ่านมา เราจะไม่ได้อะไรใหม่และก็จะไม่ได้เห็นอะไรดีขึ้น

รอยเตอร์สอ้างคำกล่าวของรศ. ดร. วรเจตน์ ภาคีรัตน์ จากภาควิชากฎหมายมหาชน คณะนิติศาสตร์ ว่า ภาพลักษณ์ของทั่วไปของกองทัพไม่ได้ส่งเสริมประชาธิปไตยของเมืองไทย และการออกมาแสดงทัศนะในช่วงใกล้เลือกตั้งเช่นนี้อาจมีผลลบ

นอกจากนี้ นักวิเคราะห์อีกรายยังระบุว่า มีความเสี่ยงสูงสำหรับกองทัพที่จะต้องเผชิญกับภัยที่จะเกิดขึ้น หากน.ส.ยิ่งลักษณ์ ได้เป็นนายกฯ ในสภาพได้รับอิทธิพลจากพ.ต.ท.ทักษิณ โดยพ.ต.ท.ทักษิณ อาจต้องการปรับโยกย้ายกองทัพเพื่อเป็นการแก้แค้นบุคคลที่รัฐประหารยึดอำนาจ เขา "การรัฐประหารเป็นเหตุการณ์ที่เลวร้ายที่สุด แต่มันก็ไม่อาจถูกตัดประเด็นทิ้งไปได้หากพ.ต.ท.ทักษิณ คืนสู่อำนาจ

รอยเตอร์สระบุว่า ที่ผ่านมา น.ส.ยิ่งลักษณ์ต้องการบรรลุการสมานฉันท์หากได้เป็นนายกรัฐมนตรี และประกาศว่าจะไม่แทรกแซงกองทัพ แต่ไม่ใช่ทุกคนที่เชื่อเช่นนั้น เพราะความไม่เชื่อใจพ.ต.ท.ทักษิณ ยังหยั่งรากลึก และการรับประกันของน.ส.ยิ่งลักษณ์ ก็ไม่น่าจะเพียงพอ

ด้านนักวิเคราะห์ที่ใกล้ชิดกับกองทัพที่ปฎิเสธจะเปิดเผยชื่อรายหนึ่งบอก ว่า รัฐประหารเป็นทางเลือกที่พลเอกประยุทธ์ไม่ต้องการจะทำ เพราะจะทำให้กลุ่มเสื้อแดงออกมาต่อต้าน แต่มันก็เป็นไปได้หากเขารู้ว่าพรรคเพื่อไทยมีแผนที่จะกำจัดเขา

ด้านแหล่งข่าวที่ใกล้ชิดกับพรรคเพื่อไทยและกองทัพว่า สถานการณ์ดังกล่าวอาจจะหลีกเลี่ยงได้ โดยหากพ.ต.ท.ทักษิณ และนายพลกองทัพได้หารือกันเกี่ยวกับการจัดตั้งรัฐบาลของพรรคเพื่อไทย และพ.ต.ท.ทักษิณ จะต้องรับประกันจะไม่มีการกำจัดเหล่านายพลระดับสูงในกองทัพ นอกจากนี้ แหล่งข่าวดังกล่าวระบุด้วยว่า เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ได้กล่าวกับรอยเตอร์สว่า เขารู้เรื่องกองทัพถูกติดต่อจากพรรคเพื่อไทยโดยมีความพยายามที่จะทำข้อตกลง กัน ส่วนพ.ต.ท.ทักษิณ ปฎิเสธที่จะให้รายละเอียดเรื่องนี้ แต่ยอมรับว่า ชะตาการคืนสู่เมืองไทยของเขาขึ้นอยู่กับการเจรจากับกองทัพ

ด้านนายแอนโธนี่ เดวิส นักวิเคราะห์ด้านความมั่นคงแห่ง"IHS-Jane′s เผยว่า ข้อตกลงดังกล่าวแทบเป็นเรื่องหลีกเลี่ยงไม่ได้ ถ้าพรรคเพื่อไทยชนะอย่างขาดลอย แต่ในทางกลับกัน พรรคเพื่อไทย อาจต้องยกเลิกแผนนิรโทษกรรมให้พ.ต.ท.ทักษิณ รวมทั้งต้องแต่งตั้งรัฐมนตรีกลาโหมที่เป็นบุคคลที่ใกล้ชิดกับกองทัพ และรับประกันว่า พรรคจะไม่ยุ่งเกี่ยวกับกิจการของกองทัพ



www.matichon.co.th/news

Ohhh!!*"ณัฐวุฒิ"ขุดหลุมฝังตัวเองแล้ว**ที่หน้าลาน"สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ"!!!!

เหตุเกิด ณ วงเวียนใหญ่
มีการ"สาบาน"ต่อพระบรมรูปพระเจ้าตากสินมหาราช..
v
v
ณัฐวุฒิ ใสเกื้อ
ผู้สมัคร ส.ส. ระบบบัญชีรายชื่อ (ปาร์ตี้ลิสต์) พรรคเพื่อไทย
และ เป็นแกนนำเสื้อแดงคนสำคัญในปัจจุบัน
 
จากสำนักข่าวเนชั่น
 




สาบาน...Ohhh!!ใครจะคิด...
ว่า วันหนึ่งแกนนำแดง(ที่มักคิดว่าตนเองฉลาด)
ที่กำลังหาเสียงให้เจ้าของพรรค
จะกล้าดึงเรื่องที่เป็นจุดอ่อนที่สุดออกมาพูด
คำปราศรัยบนเวทีราชประสงค์ที่แกนนำกรอกหูชาวบ้าน
ขอบคุณ www.youtube  (Ya-Kan-Yung 1)
ณัฐวุฒิ คู่กับ อริสมันต์ พงษ์เรื่องรอง ซึ่งปัจจุบันหลบหนีหมายจับ
( ภาพจากไทยรัฐ )
หรือ อาจเป็นเพราะนัฐวุดกำลังได้ใจกับ"การโกหก"
จนบางครั้งตนเองก็เลยหลงเชื่อในคำโกหกนั้นของตัวเองไปด้วย
v
v
การสาบานเช่นนี้
และ
การดูถูกความทรงจำของคนไทยเช่นนี้
เป็นการขุดหลุมฝังตัวเองแท้ๆ..
v
(ขอบคุณ การ์ตูนส์จากแนวหน้า)

จะว่าไปแล้ว
ความรับผิดชอบของผู้นำคือสิ่งสำคัญ
คนเหล่านี้ ..เป็นถึง"ผู้นำ" การประท้วง
แต่ ไม่รับผิดชอบใดๆต่อสิ่งที่เกิดขึ้นแม้แต่น้อย
**โยนทุกอย่างให้ผู้ตาม..
กลายเป็น....
 คนเสื้อแดง มาเอง เผาเอง ตายเอง ตัวเองไม่เกี่ยว
แล้วอย่างนี้ ..คนเหล่านี้จะมาเป็นคณะผู้นำประเทศได้อย่างไร
???
?
?
.
ระวังนะ"เต้น"..สิ่งศักดิ์สิทธิ์น่ะมีจริง!!
BG"ยากันยุง"

โฉมหน้ารัฐบาล-การเมืองไทยหลังเลือกตั้ง 3 ก.ค.



  • เขียนโดย ธวานันทภัทร ตั๋นไชยวงค์

นักรัฐศาสตร์ จุฬาฯ  ยันชอบ-ไม่ชอบ การเลือกตั้งคือทางออก ให้ประชาธิปไตยทำหน้าที่ได้  ขณะที่ดร.ณรงค์  หมดความคาดหวัง ได้อะไรจากการเลือกตั้ง  ยันเลือกพรรคไหนเข้าไปก็ต้องจับมือกับอำนาจทุนอยู่ดี..
วันที่ 18 มิถุนายน มูลนิธิพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย และเครือข่ายองค์กรแรงงาน ญาติอดีตผู้นำแรงงานผู้วายชนม์ ร่วมจัดงาน รำลึก 20ปี ทนง โพธิ์อ่าน อดีตวุฒิสมาชิกสายแรงงานและผู้นำแรงงาน ที่หายตัวไปอย่างลึกลับ เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2534 หลังจากออกมาคัดค้านการยุบเลิกสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ และต่อต้านการรัฐประหารของ รสช. โดยมีการจัดพิธีทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้กับ นายทนง พร้อมด้วยอดีตผู้นำแรงงานที่เสียชีวิต ณ ห้องประชุมมูลนิธิ 14 ตุลาฯ สี่แยกคอกวัว ถ.ราชดำเนิน
ศาสตราภิชานแล  ดิลกวิทยรัตน์  คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  ปาฐกถานำ “20 ปีการหายสาบสูญของทนง โพธิ์อ่าน  กับภาพสะท้อนอำนาจเถื่อนของรัฐต่อผู้ใช้แรงงาน” ตอนหนึ่งว่า ระยะเวลา 20 ปีที่ผ่านมา เรื่องราวการหายไปของนายทนง เริ่มจะเลือนหายไปจากสังคม ขณะเดียวกันก็สะท้อนให้เห็นว่า แม้บ้านเมืองจะดูดีขึ้น ทั้งในเรื่องการเมือง เรื่องสิทธิมนุษยชน รัฐธรรมนูญ มีองค์กรยุติธรรมมากขึ้น หรือการมีหน่วยงานของกระบวนการยุติธรรมเพิ่มขึ้น แต่เป็นการเพิ่มขึ้นในเชิงปริมาณ โดยไม่มีหลักประกันในสิทธิและเสรีภาพว่า สิ่งที่เกิดขึ้นกับทนงจะไม่เกิดขึ้นอีก ขณะที่ปัจจุบันขบวนการแรงงานในทางการเมืองก็ยังไร้ซึ่งอำนาจการต่อรอง มีสาเหตุมาจากการขาดความเป็นอันหนึ่งเดียวกันของผู้ใช้แรงงานเอง
"ก่อนการหายตัวไปของทนง เขาได้ลั่นวาจาว่าหากคณะรสช. ยกเลิกค่าจ้างขั้นต่ำ จะนำแรงงานมาประท้วงให้เต็มสนามหลวง  แล้วก็กลายเป็นเรื่อง เวลานี้ค่าจ้างขั้นต่ำเป็นประเด็นหาเสียงสำหรับการเลือกตั้งที่จะมาถึง ดูเหมือนคนจะลืมไปแล้วว่าผู้ที่พยายามปกป้องให้การจ่ายค่าจ้างขั้นต่ำดำรง อยู่ได้หายไปและไม่มีใครพูดถึง"
จากนั้นดร.นฤมล ทับจุมพล คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวถึง “โฉมหน้ารัฐบาลและการเมืองไทยหลังเลือกตั้ง3กรกฎาคม” ว่า ในสายตาในประเทศอื่น การเลือกตั้งไทยมีความรุนแรงมาก ซึ่งไม่ใช่เรื่องแปลก แต่อยู่ที่ว่า แรงแบบไหน การเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นทำให้ประชาธิปไตยไทยกลับมาอยู่ในร่องรอยหรือไม่ และขบวนการแรงงานอยู่ตรงไหน และทำอะไร ได้อย่างไรตรงนี้ คือ ประเด็น
“การเลือกตั้งครั้งนี้ จะสะท้อนอะไรหลายอย่างที่อยู่ใต้พรมมานาน แต่ใครที่คิดว่า การเลือกตั้งจะแก้ปัญหาทุกอย่างได้ ก็ไม่เสมอไป  เพราะส่วนตัวไม่ได้คิดว่า ประชาธิปไตยเท่ากับการเลือกตั้ง ทั้งนี้ทั้งนั้น จะชอบหรือไม่ชอบก็ตาม การเลือกตั้งคือทางออกความขัดแย้งโดยไม่ใช้ทหารหรือกำลัง และทำให้ประชาธิปไตยทำหน้าที่ได้ แทนที่จะสู้บนถนนอย่างเดียว”
ด้านรศ.ดร.ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ และกรรมการสมัชชาปฏิรูป กล่าวว่า โครงสร้างแห่งอำนาจของสังคมไทยเปลี่ยนไปแล้วในการขับเคี่ยวเพื่อครองอำนาจ รัฐ ไม่มีใครกล้าพูดถึงโครงสร้างอำนาจ ถ้าเราต้องเปลี่ยนหรือปฏิรูป สิ่งที่ต้องทำคือการปรับความสัมพันธ์เชิงอำนาจ ถ้าไม่มี ก็แปลว่า นายจ้างผู้กุมทุนก็อยู่เหนือคนงานตลอดไป พ่อค้ามีอำนาจเหนือชาวนา ชายก็ได้เปรียบหญิง มหาอำนาจเหนือประเทศเล็ก รัฐเหนือประชาชน
“ เมื่อไม่มีพรรคใดพูดเรื่องนี้ จึงไม่คาดหวังอะไรจากการเลือกตั้ง  เลือกไปพรรคไหนเข้ามาก็ต้องอาศัยอำนาจทุนทั้งหมด ถ้าเราไม่เข้าใจทุน เราก็ทำอะไรไม่ได้ ฉะนั้น หลังการเลือกตั้งจึงคิดว่า ทิศทางใหญ่ของการขับเคลื่อนไม่มีอะไรเปลี่ยน ความขัดแย้งหลักๆ ก็ต้องขับเคลื่อนกันต่อไป”
ดร.ณรงค์ กล่าวด้วยว่า  ถ้าวันนี้ยังมีพลังไม่พอ ต้องสะสมพลังไว้แก้ไขปัญหาต่อไปในภายภาคหน้า ขึ้นอยู่กับทุกคนและกับผู้ใช้แรงงาน ที่จะคอยนั่งบนพูลดูหมากัดกัน ถ้าเลือกหมา (นักการเมือง) ไม่ดีแล้วค่อยเอาค้อนตีหมา ส่วนการเลือกตั้งอย่างไรจึงจะเหมาะสม  เลือกกลุ่มเคลื่อนไหวทางการเมือง กลุ่มยุทธศาสตร์ หรือจะเลือกพรรคเล็ก เขกหัวพรรคใหญ่  ก็แล้วแต่ดุลยพินิจ
ขณะที่นายก่อเขตต์ จันทเลิศลักษณ์ บรรณาธิการรายการข่าว สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส กล่าว ว่า ในหลายๆ สถานการณ์ที่ผ่านมาการเลือกตั้งจะเป็นทางออกสุดท้าย แต่ขณะนี้เริ่มไม่แน่ใจแล้วว่า เป็นจุดจบของปัญหาหรือไม่ เป็นทางออกหรือทางแก้ปัญหาได้จริงหรือไม่
การรัฐประหาร เป็นเหมือนยาสเตียรอยด์ ให้ตอนแรกก็ดีขึ้น แต่ถ้ากินมากๆก็จะมีผลข้างเคียง แต่ที่ผ่านมากินแล้วแม้มีผลข้างเคียงก็รักษาโรคไม่ได้ การปฏิวัติที่ว่า แก้ปัญหาได้ คงไม่ใช่แล้ว อีกทางหากใครได้เสียงข้างมาก จัดตั้งรัฐบาลไปก็จบ แต่เชื่อว่าก็ยังมีการเผชิญหน้ากันอย่างไม่รู้จบ หรือมีการเลือกตั้งมาแล้ว สถานการณ์อาจจะแย่กว่าเดิม” นายก่อเขตต์  กล่าว และว่า  เป็นเรื่องที่แปลกมากที่หลายฝ่ายเห็นตรงกัน เช่น นักธุรกิจขาดความมั่นใจว่าการเลือกตั้งแล้วเรื่องจะจบ แม้มีความพยายามที่จะถอดสลักความขัดแย้ง แต่ก็ถูกปฏิเสธจากคู่ขัดแย้ง กลายเป็นว่า นอกจากไม่มีความจริงใจแล้ว ยังเพิ่มระดับความขัดแย้งขึ้นไปอีก
ช่วงโค้งสุดท้ายก่อนการเลือกตั้ง นายก่อเขตต์ กล่าวว่า การเมืองแบ่งเป็น 2 ขั้วขัดแย้ง  มองไม่เห็นความปรองดอง เห็นแต่ความตีบตัน แต่ก็ไม่ได้แปลว่า ไม่มีทางออก หากเรายังไม่ยอมจำนน ประเทศมีภารกิจที่ต้องแก้ปัญหาเฉพาะหน้าเพื่อให้ผ่านพ้นไป ก้าวข้ามไปแล้ว ซึ่งต้องค่อยๆคลี่ที่ละจุดทีละปัญหา

กกต. ระบุบัตรเหลือง ไม่สามารถใช้สิทธิ์เลือกตั้งได้


กกต. ระบุบัตรเหลือง ไม่สามารถใช้สิทธิ์เลือกตั้งได้



 
เลือกตั้ง




 
กทม. ขยายเวลาทำบัตรประชาชน  (ไอเอ็นเอ็น)

         กทม. ขยายเวลาทำบัตรประชาชน พร้อมเปิดบริการในวันหยุด แนะประชาชน รีบเปลี่ยนบัตรเหลือง หลัง กกต. ระบุ ไม่สามารถใช้สิทธิ์เลือกตั้งได้
         นายเจริญรัตน์ ชูติกาญจน์ ปลัดกรุงเทพมหานคร เปิดเผยถึงการเตรียมพร้อมเลือกตั้ง ว่า ขอให้ประชาชนที่ถือบัตรเหลือง ไปติดต่อขอรับบัตรประชาชนได้ ตามเขตที่ทำบัตรเหลืองไว้ เนื่องจาก จากการสอบถามไปยังคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ยืนยันว่า ประชาชนที่ถือบัตรเหลือง จะไม่สามารถไปลงคะแนนเลือกตั้งได้ ต้องมีบัตรประชาชนตามปกติก่อน 
         ทั้ง นี้  กทม. จึงได้สั่งการให้ทุกสำนักงานเขต เร่งจัดการออกบัตรประชาชน โดยในเวลาราชการ ทุกสำนักงานเขต จะเปิดทำการตั้งแต่เวลา 08.00 - 18.00 น. และยังเปิดให้บริการทำบัตรประชาชนในวันหยุดด้วย โดยจะเปิดในเวลา 08.00 - 16.00น เพื่ออำนวยความสะดวกให้ประชาชน
         ทั้งนี้ ในการออกไปเลือกตั้งวันที่ 3 กรกฎาคมนั้น หากพบว่า ประชาชนที่ออกมาใช้สิทธิ์ เดินทางถึงหน่วยเลือกตั้งในเวลา 15.00 น. ก็สามารถใช้สิทธิ์ลงคะแนนเลือกตั้งได้ แต่หาก มาถึงหน่วยเลือกตั้งเลยเวลา 15.00 น. ก็จะไม่สามารถใช้สิทธิ์ได้

         อย่างไรก็ตาม ปลัด กทม. ยังขอให้ประชาชนที่ถือบัตรเหลือง ไปดำเนินการขอบัตรประชาชน เพื่อนำมาใช้สิทธิ์ลงคะแนนเลือกตั้งในครั้งนี้ เพื่ออนาคตของประเทศไทยต่อไป 

กลไก "โหวตโน" ฉบับสมบูรณ์

โดยดร.ไก่ Tanond เมื่อ 5 มิถุนายน 2011 เวลา 10:43 น.
เพื่อเป็นการชี้ชัดให้เห็นว่า โหวตโน เป็นกลไกที่เป็นสากล มีใช้กันอย่าง
แพร่หลายในต่างประเทศ และยังชอบด้วยกฎหมายแห่งราชอาณาจักรไทย
จึงจำเป็นที่จะต้องนำเสนอทุกองคาพยพของโหวตโน ให้เห็นภาพรวมดังนี้-

ความสำคัญ และความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบต่างๆของโหวตโน

1.ทุกองค์ประกอบของโหวตโน มีอยู่ในส่วนของโครงสร้างทางการเมือง

1.1โหวตโน คือ การแสดงสิทธิผ่านการเลือกตั้ง input(3)โดยประชาชาน
ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง[12] รณรงค์ขับเคลื่อนมาอยู่ที่กลุ่มกดดัน[8] เพื่อปฏิเสธ
และไม่ยอมรับวิธีการเข้าสู่อำนาจของพรรคและนักการเมือง ให้เข้าสู่ระบบ
การเมือง ตามกล่องที่[3 - 4] ของโครงสร้างส่วนบน

1.2โดยจะมีคะแนนเสียงของข้อ1.1เป็นตัวชี้วัด "ความชอบธรรมทางการเมือง"

>>>>>>>>>[1.สถาบันพระมหากษัตริย์]<<<<<<<<<
                                  [2. รัฐธรรมนูญ ]

                                โครงสร้างส่วนบน

input >>>  [3.บริหาร] [4.นิติบัญญัติ] [5.ตุลาการ] >>> out put
(1)ข้อเรียกร้อง           [6.ข้าราชการส่วนกลาง]         (1) นโยบาย
(2)ข้อสนับสนุน                        |                             (2) พรบ /พรก/พรฏ
(3)การเลือกตั้ง       [7.ทหาร]   |                             (3) คำพิพากษา
                                               |                             (4) กฏกระทรวง/กรม
                              โครงสร้างส่วนกลาง

           [8.กลุ่มกดดัน] [9.กลุ่มผลประโยชน์] [10.สื่อมวลชน]
                   [11.องคืกรปกครอง / ข้าราชการส่วนภูมิภาค]
                                               |
                                               |
                                   [12.ประชาชน]
               [13.องค์กรปกครอง / ข้าราชการส่วนท้องถิ่น]

                            โครงสร้างสร้างส่วนล่าง

2.โหวตโน ตามความในรัฐธรรมนูญ มาตรา๓.
2.1 อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นประมุข ทรงใช้อำนาจนั้นทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้
- อำนาจที่ฝ่ายการเมืองคืนให้แก่ประชาชน จึงขึ้นกลับไปอยู่ที่พระมหากษัตริย์ในฐานะเป็นประมุขแห่งรัฐ เพื่อทรงใช้อำนาจนี้ผ่าน โครงสร้างส่วนบนกล่องที่[3 - 5]ที่เป็นไปแบบ"ในระบบ" และในบางเหตุการณ์ที่เกิดการเข้าสู่อำนาจของทหาร แบบ"นอกระบบ" จากการรัฐประหาร คณะผู้ก่อการฯเองที่ผ่านมาทุกครั้ง ก็ได้ยึดถือรูปแบบของอำนาจ 3 ฝ่ายตามโครงสร้างส่วนบนนี้ (ไม่นับรวมเมื่อพ.ศ.2475) เช่นนี้แล้วเป้าหมายของ "การปฏิเสธเพื่อปฏิรูปการเมือง"ของเสียงโหวตโนนั้น จะอยู่ภายใต้บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญว่าด้วย อำนาจ 3 ฝ่ายนี้เช่นเดียวกัน

3.โหวตโน เพื่อเรียกหา ความชอบธรรมทางการเมือง
3.1ความ ชอบธรรมทางการเมือง หมายถึง ความชอบธรรมที่เกี่ยวพันกับความสามารถของระบบที่จะก่อให้เกิด และรักษาไว้ซึ่งความเชื่อที่ว่า การคงอยู่ของสถาบันในระบบเป็นความพึงพอใจสูงสุดของสังคม หรือ อีกนัยหนึ่งก็คือ ไม่ว่าในระบบการเมืองใดก็ตาม ที่สามารถสร้างประสิทธิภาพสูงสุดให้กับสังคมและประชาชน ระบบการเมืองนั้นก็ย่อมมีความชอบธรรมทางการเมืองทั้งสิ้น
โดยไม่ว่าจะ เป็นระบบการปกครองแบบกษัตริย์ เผด็จการ คอมมิวนิสต์ หรือ ประชาธิปไตย ปัจจัยสำคัญในการคงอยู่ของความชอบธรรมทางการเมือง จึงมาจากการยอมรับในตัวระบอบการปกครองนั้นๆของประชาชน ซึ่งมีรากฐานมาจากประสิทธิภาพในการดำเนินงานและทำหน้าที่ของกลไกภายในตัว ระบบเอง

3.2 หากผลของโหวตโน มีเกินกึ่งหนึ่ง ของผู้มาใช้สิทธิ์เลือกตั้งไม่ว่าจะในแบบแบ่งเขต หรือ บัญชีรายชื่อ ประชาชนผู้ใช้สิทธิโหวตโนจะสามารถใช้สิทธิ์จากผลที่ได้นี้ ให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง ดำเนินการตามความในพรบ.เลือกตั้งพ.ศ.2550 มาตรา๘๘.หรือ

3.3ปฏิเสธผลลัพธ์จากการเลือกตั้ง ตามความหมายของความชอบธรรมทางการเมืองนี้ได้ แบบในระบบ ยื่นดำเนินการตามพระราชประเพณี ด้วยการยื่นถวายฎีกา ถึงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อทรงใช้พระราชอำนาจ พระราชวินิจฉัยตามแต่ที่พระองค์ท่านจะทรงเห็นสมควร ตามความในรัฐธรรมนูญ มาตรา๗

4. พระราชอำนาจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (ในส่วนที่เกี่ยวข้อง) ประกอบด้วย -
4.1สิทธิของพระองค์ท่านที่จะได้รับการปรึกษาหารือ The right to be consulted
4.2สิทธิของพระองค์ท่านที่จะได้รับการสนับสนุนส่งเสริม The right to be encourage และ
4.3สิทธิของพระองค์ท่านที่จะได้รับการแจ้งเตือน The right to be warn.

5.โหวตโน ตามความในรัฐธรรมนูญ มาตรา๗.
5.1ใน เมื่อไม่มีบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้บังคับแก่กรณีใด ให้วินิจฉัยกรณีนั้นไปตามประเพณีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหา กษัตริย์ทรงเป็นประมุข
5.2 ที่ผ่านๆมา เมื่อเกิดปฏิวัติ รัฐประหารเพื่อยึดอำนาจจากฝ่ายการเมือง คณะผู้ยึดอำนาจจึงเป็นองค์รัฐาธิปัตย์แทนฝ่ายการเมือง และจัดตั้งรัฐบาลเอง ในรูปแบบของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ที่มีอำนาจ 3 ฝ่าย กล่อง[3 - 5]ไว้คงเดิม ซึ่งที่ผ่านมา ถือได้ว่ามีความชอบธรรมทางการเมืองเพราะส่วนใหญ่ที่ผ่านมา ปราศจากการต่อต้านที่นำพาไปสู่ความรุนแรงทางการเมือง(ยกเว้นในปี2516 และ2535) อีกทั้งยังมีคำพิพากษาของศาลฎีกาเมื่อพ.ศ.2490 ที่มีต่อการยึดอำนาจในช่วงนั้น ก็ได้ตัดสินให้ไม่มีความผิด เนื่องเำพราะมีความชอบธรรมทางการเมือง ที่ประชาชนยอมรับต่อการบริหารประเทศของรัฐบาลชุดนั้น
5.3 หัวใจสำคัญในส่วนนี้ ก็คือ การระมัดระวังมิให้มีการกระทำใดๆ อยู่นอกเหนืออำนาจ 3 ฝ่ายตามความในมาตรา๓ หรือ ที่จะก้าวล่วงต่อพระราชอำนาจ(ข้อ4.ข้างต้น) ของพระองค์ท่าน

6.ผลลัพธ์ของโหวตโน กับ "ความชอบธรรมทางการเมือง"
6.1ใน เมื่อคณะผู้ก่อการยึดอำนาจ จัดตั้งรัฐบาลภายใต้สภานิติบัญญัติ ที่ประกอบด้วยอำนาจ 3 ฝ่ายนี้ได้ การจะมีจะเกิดขึ้นของ รัฐบาลโดยภาคประชาชน ก็น่าที่จะอยู่ในวิสัย อยู่ภายใต้บริบทของหลักเกณฑ์ต่างๆ ที่ไม่แตกต่างกัน ใน"รูปแบบ"ของสภานิติบัญญัติฯเพื่อเปิดโอกาสเป็นการชั่วคราวให้ภาคประชาชน ได้เข้ามาปรับเปลี่ยน แก้ไขในทุกองคาพยพทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม เพื่อให้เป็น ให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชนอย่างแท้จริง  ก่อนที่จะคืนอำนาจ และกลับเข้าสู่ระบบตัวแทนดังเดิม

7.บทสรุป -
7.1ความไม่ชอบธรรมทางการเมือง ของฝ่ายการเมือง สะท้อนให้เห็นได้จากคะแนนโหวตโน ที่เกินกึ่งหนึ่งของผู้มาใช้สิทธิ์เลือกตั้ง
7.2 ความชอบธรรมทางการเมืองนั้น สะท้อนให้เห็นได้จากเหตุผลที่อ้างอิงจากโครงสร้างทางการเมือง ตัวบทกฎหมาย และตามความในรัฐธรรมนูญ มาตรา๓ มาตรา๗ มาตรา ๖๙ และตามความในพระราชบัญญัติเลือกตั้งฯ พ.ศ.๒๕๕๐ มาตรา๖๗ ๘๒ ๘๔ และ๘๘
7.3การ โหวตโนจึงมีที่มาที่เป็นสากล จากประเทศต้นแบบประชาธิปไตยที่เปิดโอกาสให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ได้ใช้สิทธิที่จะไม่เลือก ที่จะต่อต้าน มาเป็นเวลานานมากแล้ว ส่วนในประเทศได้บรรจุให้ชอบด้วยกฎหมายเมื่อ พ.ศ.2530
7.4โหวตโน จึงเป็นกลไก เป็นองค์ประกอบส่วนหนึ่งของระบบการเลือกตั้ง ระบบตัวแทน ของระบอบประชาธิปไตย

8.Vote No Process กระบวนการโหวตโน
โหวตโน > สิทธิตาม พรบ.เลือกตั้ง ม.๖๗ > กลไกตามรัฐธรรมนูญ ม.๖๙ > การเลือกตั้ง > ไม่ประสงค์
< หากคะแนนเกินกึ่งหนึ่ง < หากคะแนนไม่ถึงกึ่งหนึ่ง (ปฏิรูปแบบค่อยเป็นค่อยไป)  << ลงคะแนน<<<
> พระราชวินิจฉัย ตามม.๗ > (ภาคประชาชนปฏิรูปประเทศชั่วคราว > แก้ปัญหา / จัดวาง 3 เสาหลักใหม่)

9.พรบ.เลือกตั้ง พ.ศ.2550 ที่เกี่ยวข้องกับการโหวตโน
มาตรา ๖๗
การ ลงคะแนนเลือกตั้ง ให้ทำเครื่องหมายกากบาทลงในช่องทำเครื่องหมาย ของหมายเลขผู้สมัคร หรือพรรคการเมืองในบัตรเลือกตั้ง และในกรณีที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งไม่ประสงค์ จะลงคะแนนเลือกตั้ง ให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งทำเครื่องหมายกากบาทในช่องทำเครื่องหมายไม่ประสงค์ลง คะแนนเลือกตั้งในบัตรเลือกตั้ง

มาตรา ๘๒
ให้มีการนับจำนวนบัตรเลือกตั้งที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งทำเครื่องหมายไม่ประสงค์ จะลงคะแนนเลือกตั้ง และให้ประกาศจำนวนบัตรดังกล่าวด้วย

มาตรา ๘๔
เมื่อการนับคะแนน ณ ที่เลือกตั้งเสร็จสิ้นแล้ว ให้คณะกรรมการประจำหน่วย
เลือก ตั้งประกาศผลการนับคะแนนของหน่วยเลือกตั้งนั้น จำนวนบัตรเลือกตั้งที่มีอยู่ทั้งหมด จำนวนบัตรเลือกตั้งที่ใช้ และจำนวนบัตรเลือกตั้งที่เหลือจากการลงคะแนนเลือกตั้ง ทั้งนี้ ให้กระทำโดยเปิดเผย และรายงานผลการนับคะแนนต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้งโดยเร็ว
เมื่อ คณะกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งดำเนินการประกาศผลการนับคะแนนเลือกตั้งแล้ว ให้คณะกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งเก็บเอกสารและสิ่งของต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ใส่ในหีบบัตรเลือกตั้ง แต่ละประเภทการเลือกตั้ง
(๑) บัตรเลือกตั้งที่นับเป็นคะแนนแล้ว บัตรที่มีการทำเครื่องหมายลงในช่องไม่ประสงค์
จะลงคะแนนเลือกตั้ง และบัตรเสีย โดยแยกแต่ละประเภทบรรจุในถุงวัสดุใส
(๒) แบบกรอกคะแนนที่ได้ใช้ในการกรอกคะแนนทั้งหมด
(๓) รายงานผลการนับคะแนน
(๔) ประกาศผลการนับคะแนน

มาตรา ๘๘
ใน เขตเลือกตั้งใด ถ้าในวันเลือกตั้งมีผู้สมัครแบบแบ่งเขตเลือกตั้งเท่ากับหรือ น้อยกว่าจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่จะพึงมีในเขตเลือกตั้งนั้น ผู้สมัครจะได้รับเลือกตั้งต่อเมื่อได้รับคะแนนเลือกตั้งไม่น้อยกว่าร้อยละ ยี่สิบของจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งนั้น และมากกว่าจำนวนบัตรเลือกตั้งที่ไม่ประสงค์จะลงคะแนนเลือกตั้ง ในกรณีที่ผู้สมัครผู้ใดได้รับคะแนนเลือกตั้งน้อยกว่าร้อยละยี่สิบของจำนวน ผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งนั้น หรือไม่มากกว่าจำนวนบัตรเลือกตั้งที่ไม่ประสงค์จะลงคะแนน ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศให้มีการเลือกตั้งใหม่ โดยให้รับสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งใหม่ เฉพาะ ตำแหน่งที่ได้รับคะแนนน้อยกว่าร้อยละยี่สิบของจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง หรือ ไม่มากกว่าจำนวนบัตรเลือกตั้งที่ไม่ประสงค์ลงคะแนนเลือกตั้ง และให้นำความในมาตรา ๙ มาใช้บังคับในการเลือกตั้งใหม่ตามวรรคหนึ่ง

ถ้า มีจำนวนผู้สมัครเท่ากับหรือ น้อยกว่าจำนวนตำแหน่งที่ต้องเลือกตั้งใหม่ ให้นำความในวรรคหนึ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลม และถ้ามีผู้สมัครผู้ใดได้คะแนน เลือกตั้งน้อยกว่าร้อยละยี่สิบของจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเลือกตั้ง นั้นอีกหรือ ได้ไม่มากกว่าจำนวนบัตรเลือกตั้งที่ไม่ประสงค์จะลงคะแนนเลือกตั้ง ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศให้มีการเลือกตั้งใหม่ โดยดำเนินการตามวรรคหนึ่งอีกครั้งหนึ่ง

จัดทำโดย : ศูนย์ปฏิบัติการณ์การเมืองภาคประชาชน บนFACEBOOK / 14.05.54
ประมาณ 10ล้านกว่าคน เรียกเพื่อนๆมากันเยอะๆนะครับ

ผลทางนิตินัย ของบัตรเลือกตั้งกาโหวตโน


เลขานุการศาล ฎีกานักการเมือง ชี้ ส.ส.เขต ไม่เพียงได้คะแนนมากสุด ต้องไม่น้อยร้อยละ20 ของผู้มีสิทธิในเขตด้วย และยังต้องมากกว่าบัตรโหวตโน ด้วย


 

ผู้ คนส่วนใหญ่ยังเข้าใจว่าการเลือกตั้ง ส.ส. ที่ผู้สมัครรับเลือกตั้งต้องได้รับคะแนนเลือกตั้งไม่น้อยกว่าร้อยละยี่สิบ ของจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเลือกตั้ง จะเกิดขึ้นได้เฉพาะกรณีที่มีผู้สมัครรับเลือกตั้งเพียงคนเดียวในเขตเลือก ตั้งนั้นเท่านั้น มิฉะนั้น กกต.จะต้องจัดให้มีการเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งนั้นใหม่
สังคมไทยมีประสบการณ์จากการเลือกตั้ง เมื่อวันที่ 21 เมษายน 2549 ซึ่งหลายเขตเลือกตั้งมีผู้สมัครของพรรคไทยรักไทยเพียงพรรคเดียว เพราะพรรคประชาธิปัติย์ พรรคชาติไทย และพรรคมหาชน ได้บอยคอตการเลือกตั้ง จนนำไปสู่ปรากฏการณ์พรรคใหญ่จ้างพรรคเล็ก และถูกคณะตุลาการรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้ยุบพรรคไทยรักไทย เพราะถือว่าเป็นการกระทำเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการ ซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ ตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2540 มาตรา 66 (1) และเป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐหรือขัดต่อกฎหมายหรือขัดต่อความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดีของประชาชนตามมาตรา 66 (3) (คำวินิจฉัยคณะตุลาการรัฐธรรมนูญที่ 3 - 5/2550)
แท้จริงแล้ว แม้ในเขตเลือกตั้งใดมีผู้สมัครมากกว่าหนึ่งคน ผู้สมัครจะเป็นผู้ได้รับการเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งนั้น ไม่เพียงแต่จะต้องเป็นผู้ได้รับคะแนนเลือกตั้งมากที่สุด ยังจะต้องได้รับคะแนนเลือกตั้งไม่น้อยกว่าร้อยละยี่สิบของจำนวนผู้มีสิทธิ เลือกตั้งในเขตเลือกตั้งนั้น และมากกว่าจำนวนบัตรเลือกตั้งที่ไม่ประสงค์จะลงคะแนนเลือกตั้งอีกด้วย
ทั้งนี้ เป็นไปตามบทบัญญัติของ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. และการได้มาซึ่ง ส.ว. พ.ศ. 2550 มาตรา 89 ประกอบมาตรา 88 ซึ่งบัญญัติไว้  ดังนี้
มาตรา 89  ภายใต้บังคับมาตรา 88 ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งให้ผู้สมัครซึ่งได้ รับคะแนนเลือกตั้งมากที่สุดในเขตเลือกตั้งนั้นเป็นผู้ได้รับการเลือกตั้ง ในกรณีที่มีผู้ได้รับคะแนนเลือกตั้งมากที่สุดเท่ากันหลายคน ให้ใช้วิธีการจับสลากซึ่งต้องกระทำต่อหน้าคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำเขต เลือกตั้งตามวิธีการที่คณะกรรมการการเลือกตั้งกำหนด
มาตรา 88  ในเขตเลือกตั้งใด ถ้าในวันเลือกตั้งมีผู้สมัครแบบแบ่งเขตเลือกตั้งคนเดียวผู้สมัครจะได้รับ เลือกตั้งต่อเมื่อได้รับคะแนนเลือกตั้งไม่น้อยกว่าร้อยละยี่สิบของจำนวนผู้ มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งนั้น และมากกว่าจำนวนบัตรเลือกตั้งที่ไม่ประสงค์จะลงคะแนนเลือกตั้ง
ในกรณีที่ ผู้สมัครได้รับคะแนนเลือกตั้งน้อยกว่าร้อยละยี่สิบของจำนวนผู้มีสิทธิเลือก ตั้งในเขตเลือกตั้งนั้นหรือไม่มากกว่าจำนวนบัตรเลือกตั้งที่ไม่ประสงค์จะลง คะแนน ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศให้มีการเลือกตั้งใหม่ในเขตเลือกตั้งนั้น โดยให้รับสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งใหม่ และให้นำความในมาตรา 9 มาใช้บังคับ
ในการเลือกตั้งใหม่ตามวรรคสอง ถ้ามีผู้สมัครคนเดียวให้นำความในวรรคหนึ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลม และถ้าผู้สมัครได้คะแนนเลือกตั้งน้อยกว่าร้อยละยี่สิบของจำนวนผู้มีสิทธิ เลือกตั้งในเขตเลือกตั้งนั้นอีกหรือได้ไม่มากกว่าจำนวนบัตรเลือกตั้งที่ไม่ ประสงค์จะลงคะแนนเลือกตั้ง ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศให้มีการเลือกตั้งใหม่ โดยให้ดำเนินการตามวรรคสองอีกครั้งหนึ่ง
ในการเลือกตั้งใหม่ตามวรรคสาม ถ้ามีผู้สมัครคนเดียวให้ผู้สมัครซึ่งได้คะแนนเลือกตั้งเป็นผู้ได้รับเลือก ตั้ง โดยให้คณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศผลการเลือกตั้งให้ผู้ได้รับเลือกตั้งภาย ในระยะเวลาตาม มาตรา 8
ในกรณีที่มีการจัดให้มีการเลือกตั้ง ใหม่ตามวรรคสาม หากปรากฏว่าไม่มีผู้สมัครให้คณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศให้มีการเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเพิ่มเติม เพื่อให้ได้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและให้นำความในวรรคสอง และ วรรคสาม และความในส่วนที่ 5 ผู้สมัคร และการสมัครรับเลือกตั้ง 2. การสมัครรับเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งมาใช้บังคับโดยอนุโลม
จากบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว จะเห็นได้ว่า มาตรา 89 บัญญัติให้อยู่ภายใต้บังคับของมาตรา 88 ซึ่งเป็นเทคนิกการร่างกฎหมายที่ต้องการให้มาตรา 89 นำหลักการตามมาตรา 88 มาใช้บังคับด้วยโดยไม่ระบุซ้ำลงไปในมาตรา 89 อีก จึงหมายความว่า ในเขตเลือกตั้งที่มีผู้สมัครหลายคน ผู้สมัครที่จะถือว่าเป็นผู้ได้รับการเลือกตั้ง จะต้องผ่านองค์ประกอบของกฎหมายทั้งมาตรามาตรา 88 และมาตรา 89 กล่าวคือ
1.ได้รับคะแนนเลือกตั้งไม่น้อยกว่าร้อยละยี่สิบของจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขต
เลือกตั้งนั้น
2.ได้รับคะแนนเลือกตั้งมากกว่าจำนวนบัตรเลือกตั้งที่ไม่ประสงค์จะลงคะแนนเลือกตั้ง และ
3.ได้รับคะแนนเลือกตั้งมากที่สุดในเขตเลือกตั้งนั้น
ทั้งนี้ เนื่องจากหลักการพื้นฐานของระบอบประชาธิปไตย คือการถือเสียงข้างมากของ
ประชาชน ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง  และเกณฑ์มาตรฐานเสียงข้างมากขั้นต่ำตามพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการ เลือกตั้ง ส.ส.และการได้มาซึ่ง ส.ว. พ.ศ.2550 ก็คือไม่น้อยกว่าร้อยละยี่สิบของจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเลือกตั้ง นั้น และมากกว่าจำนวนบัตรเลือกตั้งที่ไม่ประสงค์จะลงคะแนนเลือกตั้ง
ดังนั้น จำนวนบัตรเลือกตั้งที่ไม่ประสงค์จะลงคะแนนเลือกตั้ง (VOTE NO) จึงมีผลทางนิตินัยตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว และหากในเขตเลือกตั้งใดมีจำนวนบัตรเลือกตั้งที่ไม่ประสงค์จะลงคะแนนเลือก ตั้งมากกว่าคะแนนเลือกตั้งของผู้สมัครซึ่งได้รับคะแนนเลือกตั้งมากที่สุดใน เขตเลือกตั้งนั้น ผู้สมัครผู้นั้นก็ไม่ถือว่าเป็นผู้ได้รับการเลือกตั้ง ซึ่งคณะกรรมการการเลือกตั้งต้องประกาศให้มีการเลือกตั้งใหม่ในเขตเลือกตั้ง นั้น โดยให้รับสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งใหม่ ตามมาตรา 88 วรรคสองถึงวรรคห้า
การที่ มาตรา 61 ของกฎหมายเลือกตั้งดังกล่าวบัญญัติไว้ให้บัตรเลือกตั้งมีช่องทำเครื่องหมาย ว่าไม่ประสงค์จะลงคะแนนเลือกตั้งด้วยนั้น ก็เพื่อเป็นหลักประกันแก่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่จะสงวนสิทธิ์ไม่เลือกผู้ใด ในกรณีที่เห็นว่าไม่มีพรรคการเมืองหรือผู้สมัครรับเลือกตั้งรายใดมี คุณสมบัติดีเพียงพอที่จะได้รับเลือกให้เป็นส.ส.
ยิ่งถ้าบรรดาพรรคการเมืองและนักการ เมืองที่มีอยู่และลงสมัครรับเลือกตั้งในปัจจุบันได้พยายามสื่อสารกับสังคม ว่าขอให้เลือกพรรคหรือผู้สมัครที่เลวน้อยที่สุด
กรณีมีการรณรงค์ไปใช้สิทธิเลือกตั้งโดย กาบัตรเลือกตั้งในช่องไม่ประสงค์จะลงคะแนน (VOTE NO) ด้วยเหตุผลว่าระบบที่เป็นอยู่ในปัจจุบันไม่สามารถสร้างพรรคการเมืองและ นักการเมืองที่ดีได้ ด้วยวาทะที่ว่า "อย่าปล่อยสัตว์เข้าสภา" และ "มีแต่พรรคการเมืองเผาบ้านเผาเมืองจาบจ้วงล้มเจ้า พรรคการเมืองปล่อยคนเผาบ้านเผาเมืองขายชาติหลอกเจ้า และพรรคการเมืองโกงชาติกินเมืองโหนเจ้า" จึงสามารถกระทำได้โดยชอบ และมีผลต่อการเลือกตั้งตามกฎหมายดังกล่าว
หากมีจำนวนบัตรเลือกตั้งที่ไม่ประสงค์ จะลงคะแนนเลือกตั้ง (VOTE NO) มากกว่าคะแนนของผู้สมัครซึ่งได้รับคะแนนเลือกตั้งมากที่สุดจำนวนมากๆ หรือแม้แต่คะแนนของจำนวนบัตรเลือกตั้งที่ไม่ประสงค์จะลงคะแนนเลือกตั้ง (VOTE NO) รวมกับคะแนนของผู้สมัครซึ่งได้รับคะแนนในลำดับรองๆลงไป  มากกว่าคะแนนของผู้สมัครซึ่งได้รับคะแนนเลือกตั้งมากที่สุด ก็อาจทำให้การเลือกตั้งครั้งนั้นเป็นโมฆะได้  เพราะผู้สมัครซึ่งได้รับคะแนนเลือกตั้งมากที่สุดย่อมไม่ใช่ตัวแทนของประชาชน เสียงข้างมากไปในตัว และน่าจะต้องถือว่าขัดต่อหลักการพื้นฐานของการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอัน มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข  ที่ต้องยอมรับเสียข้างมาก แต่มีหลักประกันสำหรับเสียงข้างน้อย เมื่อเทียบกับการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 2 เมษายน 2549 ที่กกต.เพียงแต่จัดการเลือกตั้งโดยหันคูหากลับด้านทำให้ศาลรัฐธรรมนูญ วินิจฉัยว่า การเลือกตั้งที่จัดคูหาให้ผู้เลือกตั้งหันหน้าเข้าคูหาและหันหลังให้กรรมการ ประจำหน่วยเลือกตั้งและประชาชน ไม่เป็นการลงคะแนนโดยลับ (รัฐธรรมนูญฯ มาตรา 93 วรรคสอง) เป็นเหตุให้การเลือกตั้งครั้งนั้นเป็นโมฆะ 
(คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 9/2549) แล้ว การเลือกตั้งกรณีนี้อาจจะต้องถือว่านั้นเป็นโมฆะยิ่งกว่าบรรทัดฐานที่ศาลรัฐ ธรรมนูญเคยวินิฉัยไว้ดังกล่าวเสียอีก  ทั้งหากพรรคการเมืองใดยังฝืนส่งคนไม่ดีที่ประชาชนปฏิเสธลงสมัครรับเลือกตั้ง อีก อาจถึงขั้นถือได้ว่าเป็นการกระทำเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศ โดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ จนนำไปสู่การถูกยุบพรรคการเมืองนั้นก็เป็นได้ (รัฐธรรมนูญฯ มาตรา 68)
ท้ายที่สุดนี้ ขอยืนยันอีกครั้งหนึ่งว่าบัตรเลือกตั้งที่ไม่ประสงค์จะลงคะแนนเลือกตั้ง (VOTE NO) มีผลทางนิตินัยตามกฎหมายดังที่ได้อธิบายไว้ข้างต้นอย่างแน่นนอน
อนุรักษ์  สง่าอารีย์กูล
เลขานุการแผนกคดีอาญาของ
ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองในศาลฎีกา


กรุงเทพธุรกิจ
รีโมท ซื้อ รีโมท จากผู้ค้าส่งโดยตรง ที่มีหน้าร้านจริง ที่ บ้านหม้อ และ คลองถม ราคาถูกกว่าใคร ปลอดภัย มีรับประกัน

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

บทความย้อนหลัง