บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันพฤหัสบดีที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2554

หึ่ง!แม้ว-ฮุนเซนแบ่งเค้กพลังงาน

"ปู" ยอมรับพี่ชายเดินทางเข้าเขมร เจรจา "เรื่องส่วนตัว"  ขณะที่ข่าวสะพัดหารือ "ฮุน เซน" แบ่งเค้กธุรกิจพลังงานในอ่าวไทย ในช่วงเวลาเดียวกับ "ยุทธศักดิ์" ควง "ประยุทธ์" ประชุมจีบีซีคุยเรื่องเขตแดนทางบก "ทักษิณ" เผยธาตุแท้ บอกเองไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องอย่างเป็นทางการกับรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ยันให้คำแนะนำแก่รัฐบาลเมื่อจำเป็น   วางบทบาทตัวเองเป็นผู้รักษาระยะห่างกับรัฐบาลไทยและกองทัพ
 หลังมีข่าว แพร่สะพัดว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นักโทษหนีคุกในคดีคอรัปชั่น พี่ชาย น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี จะเดินทางเข้ากัมพูชาในวันที่ 19-21 สิงหาคม โดยมีกำหนดการพานักธุรกิจเข้าพบสมเด็จฮุน เซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา เจรจาพัฒนาแหล่งปิโตรเลียมในพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลไทย-กัมพูชา บริเวณอ่าวไทย ในรูปแบบรัฐต่อรัฐ ก่อนเดินทางไปญี่ปุ่นวันที่ 22-28 สิงหาคมนั้น รัฐบาลไทยออกมายอมรับว่าเป็นเรื่องจริง
 "เป็นการเดินทางมา เจรจาเรื่องส่วนตัว" นายกรัฐมนตรีไทยซึ่งเป็นน้องสาวนักโทษชายรายนี้กล่าว แต่เธอยังปฏิเสธว่า พ.ต.ท.ทักษิณไม่ได้เดินทางไปในนามรัฐบาล "คงไปเรื่องส่วนตัว"
 ก่อนหน้านี้ วิกิลีกส์ เว็บไซต์จอมแฉ เปิดเผยข้อมูลลับที่ได้มาจากสถานทูตสหรัฐอเมริกา ลงวันที่ 15 พฤษภาคม 2007 จากการเดินทางเยือนกรุงพนมเปญ ของสภาธุรกิจสหรัฐ–อาเซียน โดยเป็นข้อมูลในระหว่างการหารือกับเจ้าหน้าที่ระดับสูงจากบริษัท ConocoPhillips บริษัทข้ามชาติที่ทำธุรกิจด้านพลังงานเชื้อเพลิงที่ใหญ่อันดับ 3 ในสหรัฐอเมริกา “เพื่อแก้ปัญหาข้อพิพาทกับประเทศไทยเกี่ยวกับพื้นที่ทับซ้อนในอ่าวไทย” และทาง ConocoPhillips ได้รับสัมปทานในพื้นที่ดังกล่าว เป็นระยะเวลาเกือบ 10 ปี
 ทั้งนี้ นายกาว กิมฮูร์น ผู้ช่วยรัฐมนตรีกัมพูชา กล่าวกับเจ้าหน้าที่ของ ConocoPhillips ว่า รัฐบาลไทยและกัมพูชาเข้าใกล้ข้อตกลงร่วมกันเกี่ยวกับพื้นที่ทับซ้อนทางทะเล ในอ่าวไทยแล้ว โดยทั้ง 2 ฝ่ายวางระบบข้อตกลงร่วมกันสำหรับการแบ่งสรรรายได้ ดังนี้ แบ่งรายได้ 80%ให้กับประเทศไทย และ 20% ให้ประเทศกัมพูชา ในแนวระดับที่ใกล้กับประเทศไทยมากที่สุด, 50–50% ในระดับกลาง และ 20% ให้กับประเทศไทย ซึ่งส่วนที่เหลือเป็นของประเทศกัมพูชา ในแนวระดับใกล้กับประเทศกัมพูชามากที่สุด แต่รัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณถูกยึดอำนาจไปเสียก่อนที่จะบรรลุข้อตกลง
 ต่อมา เมื่อปี 2009 เมื่อ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ได้รับการแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษาทางเศรษฐกิจให้กับประเทศกัมพูชา หลังคณะรัฐมนตรีของไทยพยายามเคลื่อนไหวเพื่อยกเลิกบันทึกความเข้าใจที่ทำไว้ กับกัมพูชาเมื่อปี 2001 ส่วนข้อมูลเมื่อเดือนธันวาคม ปี 2009 ครั้งที่ พ.ต.ท.ทักษิณเดินทางเยือนกรุงพนมเปญ โดยนักสังเกตการณ์ส่วนใหญ่นั้นเชื่อว่า พ.ต.ท.ทักษิณและสมเด็จฮุน เซน อาจมีการทำข้อตกลงเพื่อผลประโยชน์ส่วนตัวบางอย่างร่วมกัน
"ยุทธศักดิ์" มึน
 ด้าน พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม  ซึ่งจะเดินทางไปกัมพูชาในห้วงเวลาดังกล่าวพร้อมกับ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบกเช่นกัน ออกมาปฏิเสธว่าไม่ทราบเรื่อง ต้องไปถามนายกฯ
 "ถามท่านนายกฯ ดีกว่า เพราะผมไม่เกี่ยวข้องกับทางนี้ และส่วนที่ผมจะเดินทางไปกัมพูชาในวันศุกร์นี้ คือจะเดินทางไปพร้อมกับ ผบ.ทบ. เพื่อดูเรื่องพื้นที่ของกองทัพภาคที่ 2 ในเขตประเทศไทยเท่านั้น"
 ซัก ว่าเรื่องผลประโยชน์ทางทะเลเป็นเรื่องที่รัฐบาลต่อรัฐบาลต้องเจรจากันใช่ หรือไม่ รมว.กลาโหมตอบว่า คงคุยหลังจากนี้ แต่ขณะนี้ไม่ทราบ เพราะเป็นเรื่องของกระทรวงอื่น อีกทั้งยังเป็นเรื่องของผลประโยชน์ ตนดูในเรื่องของความมั่นคง ปัญหาชายแดน แต่ในเรื่องของเศรษฐกิจที่จะไปเจรจากัน ขออนุญาตไม่ตอบ เราจะไม่ทำให้เสียเปรียบในเรื่องอาณาเขตทางทะเล แต่ในเรื่องผลประโยชน์ระหว่างชาติจะเป็นเรื่องของกระทรวงอื่นที่ดูแลใน เรื่องเศรษฐกิจ
 ถามว่า เป็นหน้าที่ของรัฐมนตรีที่ต้องรับผิดชอบร่วมกันใช่หรือไม่ พล.อ.ยุทธศักดิ์ตอบว่า ต้องนำเรื่องเข้ามาใน ครม.ในภายหลัง ซึ่งขณะนี้เป็นเรื่องของแต่ละกระทรวงต้องดูแลไปก่อน ส่วนเรื่องของการแบ่งอาณาเขตที่ชัดเจน เมื่อถึงเวลาค่อยว่ากัน ซึ่งเราจะเริ่มคุยกันเรื่องอาณาเขตระหว่างไทย-กัมพูชากันตั้งแต่อาทิตย์หน้า เป็นต้นไป และตนจะตอบจดหมาย พล.อ.เตีย บัณห์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมกัมพูชา ที่เขียนมาถึงเป็นฉบับที่ 2
 เมื่อถามว่า หาก พ.ต.ท.ทักษิณเดินทางไปยังกัมพูชาจริง จะมีผลดี-ผลเสียอย่างไรระหว่างการเจรจาระหว่างรัฐบาล รมว.กลาโหม ปฏิเสธว่า ไม่เกี่ยว เพราะไม่ได้เกี่ยวข้องกับท่าน ตนไปทำงานตามหน้าที่ในส่วนที่รับผิดชอบ และ พ.ต.ท.ทักษิณไม่ได้แจ้งอะไรให้ทราบ และที่ตนจะเดินทางไปเพราะเขาเป็นเจ้าภาพในการประชุมจีบีซีเท่านั้น
 พ.อ.ธนา ธิป สว่างแสง โฆษกกระทรวงกลาโหม แถลงว่า หนังสือเชิญของ พล.อ.เตีย บัณห์ ที่ส่งมาจำนวน 2 ฉบับ โดยฉบับแรกแสดงความยินดีตามที่มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ พล.อ.ยุทธศักดิ์    ดำรงตำแหน่ง รมว.กลาโหม ส่วนฉบับที่ 2 เป็นหนังสือเชิญให้กองเลขานุการคณะกรรมการฝ่ายไทยร่วมหารือเพื่อจัดการ ประชุมคณะกรรมการชายแดนทั่วไป ไทย–กัมพูชา ครั้งที่ 8 และเรียนเชิญรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมเป็นประธานการประชุมร่วมกัน รวมทั้งเรียนเชิญให้เดินทางเยือนกัมพูชาอย่างเป็นทางการ ซึ่งขณะนี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมได้ให้จัดทำหนังสือตอบรับคำเชิญดัง กล่าว
"ปึ้ง" ยังโกหก
 นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รมว.กระทรวงการต่างประเทศ แถลงข่าวอ้างว่า ไม่ทราบเรื่องการเดินทางของ พ.ต.ท.ทักษิณที่จะไปกัมพูชา มีแต่ได้ยินจากเพื่อน ส.ส.พูดกัน ทั้งนี้ยังไม่ได้มีการตรวจสอบ ส่วนกรณีที่ญี่ปุ่นระบุว่ารัฐบาลไทยเป็นคนร้องขอให้ออกวีซ่าให้ พ.ต.ท.ทักษิณนั้นจริง ตนได้แถลงไปแล้ว
 “ที่ร้องขอนั้น ไม่ได้เป็นการร้องขอ เพราะ พ.ต.ท.ทักษิณขอจากที่ไหนไม่ทราบ อย่างไรก็ตามเท่าที่ทูตญี่ปุ่นแจ้งให้ทราบนั้น การเดินทางไปของ พ.ต.ท.ทักษิณ ต้องการจะไปดูเรื่องสึนามิ ทั้งนี้ การขอวีซ่าเข้าประเทศใดนั้นเป็นสิ่งที่ผมไม่มีความสามารถไปให้ประเทศนั้นๆ ออกวีซ่าได้ ส่วนเรื่องพาสปอร์ตแดง ยืนยันว่าไม่มีการพูดคุยกันในเรื่องนี้ และไม่ต้องห่วง ยืนยันว่าจะทำทุกอย่างตามขั้นตอนกฎหมาย และรัฐบาลก็ไม่มีนโยบายในเรื่องดังกล่าว” นายสุรพงษ์กล่าว
 เมื่อถามว่า พ.ต.ท.ทักษิณมีส่วนเกี่ยวข้องในการคัดเลือกท่านเข้าสู่ตำแหน่งรัฐมนตรีว่า การกระทรวงการต่างประเทศหรือไม่ และด้วยสาเหตุอะไรจึงถูกคัดเลือกขึ้นมา นายสุรพงษ์กล่าวว่า เป็นการคัดเลือกกันของนายกรัฐมนตรีและกรรมการบริหารพรรค ซึ่งตนเคยทำการค้า และรัฐบาลพรรคเพื่อไทยนั้นเน้นนโยบายด้านการค้า ซึ่งจะเป็นมิติใหม่ของกระทรวงการต่างประเทศ โดยเราจะมุ่งเน้นการค้า ยอมรับว่างานที่ได้รับมอบหมายมานั้นหนัก แต่ตนไม่หนักใจ รวมทั้งตนเป็นรัฐมนตรีที่แย่ที่สุดในประเทศไทย ก็คงไม่มีอะไรแย่กว่านี้แล้ว แต่ตนจะทำให้ดีที่สุดเพื่อพิสูจน์ตัวเอง
 ถามว่า จะมีการประสานงานไปยังญี่ปุ่นเพื่อออกหมายจับ พ.ต.ท.ทักษิณหรือไม่  รมว.การต่างประเทศตอบคำถามนี้ว่า "ผมคงไปสั่งทางญี่ปุ่นไม่ได้" อย่างไรก็ตาม หากเรื่องนี้ทำได้ รัฐบาลชุดที่แล้วก็คงทำสำเร็จแล้ว รวมทั้งก็คงให้สถานทูตรายงานที่อยู่ของ พ.ต.ท.ทักษิณ ไปแล้ว ซึ่งตนก็ไม่รู้ขั้นตอนในการดำเนินการทางกฎหมายว่าต้องดำเนินการอย่างไรบ้าง หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีกี่หน่วยงาน อย่างไรก็ตามหากดำเนินงานได้ง่าย นายกษิต ภิรมย์ อดีต รมว.การต่างประเทศคงทำได้แล้ว
 ขณะที่ นายนพดล ปัทมะ ที่ปรึกษากฎหมาย พ.ต.ท.ทักษิณ  กล่าวว่า ยังไม่มีการยืนยันกำหนดเดินทางมายังประเทศกัมพูชา ถ้าเดินทางมาและตนทราบข่าวจะแถลงให้ทราบ อย่างไรก็ตามหาก พ.ต.ท.ทักษิณจะเดินทางมาจริง ก็คงจะมาพบกับสมเด็จฮุน เซน พูดคุยเรื่องส่วนตัวในฐานะเพื่อนฝูงที่รู้จักกัน คงไม่มีเรื่องธุรกิจหรือมีผลประโยชน์ทับซ้อนอะไร ขอให้มั่นใจว่า พ.ต.ท.ทักษิณจะไม่ทำอะไรให้เกิดความเสียหายต่อประเทศแน่นอน
  "ถ้าเดิน ทางมากัมพูชาจริง ก็คิดว่าท่านจะมีส่วนช่วยฟื้นฟูความสัมพันธ์ระหว่างทั้ง 2 ประเทศให้กลับมาดีเหมือนเดิม ประชาชนสามารถเดินทางไปมาหาสู่กันเหมือนเมื่อก่อน ท่านจะเดินทางไปไหน ที่ญี่ปุ่น หรือประเทศใดก็ตาม ขอให้ทุกคนสบายใจได้ว่าประเทศไทยจะไม่เสียหาย แต่จะเป็นการสร้างโอกาสให้ประเทศไทยประสานความสัมพันธ์กับประเทศอื่นๆ ให้ดีขึ้น ซึ่งท่านจะช่วยในฐานะที่เป็นคนไทยคนหนึ่ง ไม่ใช่พี่ชายนายกฯ หรือเป็นทูตการค้าใดๆ” นายนพดลระบุ
"แม้ว" คุมรัฐบาล-กองทัพ
 เมื่อ วันอังคาร พ.ต.ท.ทักษิณให้สัมภาษณ์สำนักข่าวเกียวโดเกี่ยวกับจุดประสงค์ในการเดินทาง เยือนญี่ปุ่นของตนในวันจันทร์สัปดาห์หน้าว่า ตั้งใจจะไปเยือนพื้นที่ประสบภัยสึนามิเพื่อดูว่าจะสามารถสร้างความร่วมมือ หรือให้การช่วยเหลืออย่างไรได้บ้าง คิดว่าประเทศไทยอาจมีบทบาทได้ในบางเรื่อง เช่น อำนวยความสะดวกให้บริษัทญี่ปุ่นที่ได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหวและคลื่นสึนา มิย้ายการประกอบการมายังประเทศไทย หรือออกวีซ่าระยะยาวให้ผู้รอดชีวิตชาวญี่ปุ่นมาพำนักรักษาตัวในประเทศไทย หลังจากไปเยือนพื้นที่ภัยพิบัติแล้ว ตนจะเสนอให้รัฐบาลไทยพิจารณาการสร้างความร่วมมือกับรัฐบาลญี่ปุ่น
 พ.ต.ท. ทักษิณยังกล่าวด้วยว่า ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องอย่างเป็นทางการกับรัฐบาลของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ บทบาทผู้นำขึ้นกับนายกรัฐมนตรี ตนจะให้คำแนะนำแก่รัฐบาลเมื่อจำเป็น ไม่ได้ให้คำแนะนำทุกวัน นอกจากนี้ตนจะรักษาระยะห่างกับรัฐบาลไทยและกองทัพ หวังที่จะเห็นความปรองดองในประเทศไทย
 ด้านนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ให้สัมภาษณ์กรณีที่โฆษกรัฐบาลญี่ปุ่นระบุว่าการขอวีซ่าให้ พ.ต.ท.ทักษิณเข้าประเทศญี่ปุ่นได้นั้นทำในนามรัฐบาลไทยว่า คำว่ารัฐบาลต้องดูว่าใครเป็นตัวแทน และถ้าตรวจสอบแล้วพบว่ามีการกระทำความผิดก็ต้องดำเนินการตามกฎหมาย ซึ่งเรื่องนี้ได้มอบหมายให้นายนิพิฏฐ์และคณะทำงานฝ่ายกฎหมายพรรคประชา ธิปัตย์ติดตามอยู่ ทั้งนี้ การไปยื่นกล่าวโทษนั้นมีหลายช่องทาง ส่วนจะนำไปสู่การถอดถอนรัฐมนตรีด้วยหรือไม่นั้นฝ่ายกฎหมายจะเป็นผู้ชี้แจง
 กรณี ที่ พ.ต.ท.ทักษิณจะเดินทางไปประเทศกัมพูชาเพื่อไปเจรจาธุรกิจน้ำมันนั้น นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า พ.ต.ท.ทักษิณไปเจรจาธุรกิจตัวเอง แต่เรายืนยันว่ารัฐบาลมีหน้าที่ในการปกป้องผลประโยชน์สูงสุดของตัวเอง การเจรจากับกัมพูชาไม่ว่าจะเป็นปัญหาทั้งทางบกและทางทะเลต้องดูภาพรวม และไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน อยากให้รัฐบาลได้ตระหนักถึงเรื่องนี้ เพราะที่ผ่านมาถูกครหามาตลอดว่าผลประโยชน์ทางทะเลไปเกี่ยวพันกับผลประโยชน์ ทางธุรกิจของคนที่เกี่ยวข้องกับรัฐบาล ดังนั้นรัฐบาลยิ่งต้องแสดงความชัดเจนว่าการเจรจาในทุกเรื่องเป็นไปเพื่อ ประโยชน์ของประเทศโดยส่วนรวม
 "คุณทักษิณจะเป็นภาพตัวแทนรัฐบาลหรือไม่ นั้น ผมไม่ทราบ แต่อาจจะเป็นเรื่องการเตรียมทำธุรกิจ แต่รัฐบาลขณะนี้กำลังพูดเรื่องถอนทหาร ส่วนเรื่องทางทะเลอาจมีการหยิบขึ้นมาพูดบ้าง แต่ก็ต้องเป็นมติครม. ส่วนจะมีการจบปัญหาทางบกด้วยการเอาผลประโยชน์ทางทะเลไปแลกหรือไม่นั้น ผมคิดว่าไม่ควรเป็นเช่นนั้น รัฐบาลควรปกป้องประโยชน์ประเทศ และใช้เรื่องความต้องการทางทะเลของกัมพูชาให้เป็นประโยชน์กับไทย"
 ถาม ว่าการวางตัวของ พ.ต.ท.ทักษิณครั้งนี้ ดูมีบทบาทเหนือรัฐบาล นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า เป็นการประชาสัมพันธ์ตัวเขา ส่วนจะคาดหวังว่าทำเพื่อประเทศชาติได้แค่ไหน รัฐบาลก็ต้องติดตาม ตรวจสอบ ส่วนที่ พ.ต.ท.ทักษิณไปบอกกับสื่อญี่ปุ่นว่ามีส่วนในการตั้ง ครม. ก็เป็นเรื่องที่รู้กันแต่ต้น และเป็นการแสดงอำนาจของตัวเอง ซึ่งจะส่งผลต่อภาวะผู้นำของนายกฯ หรือนั้น ก็เป็นที่เข้าใจของประชาชนอยู่แล้วว่าพ.ต.ท.ทักษิณจะมีบทบาทแบบนี้ แต่ก็อยากจะย้ำว่าคนที่รับผิดชอบต้องเป็นคนตัดสินใจทุกเรื่อง
 ขณะที่นาย ถาวร เสนเนียม ส.ส.สงขลา พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า กรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ได้มอบหมายให้นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ ส.ส.พัทลุง และนายวิรัตน์ กัลยาศิริ ส.ส.สงขลา ในฐานะทีมกฎหมายพรรคประชาธิปัตย์ ไปพิจารณาในรายละเอียดเพื่อดำเนินการร้องทุกข์ผู้เกี่ยวข้องจากกรณีที่มีการ ดำเนินการร้องขอวีซ่าให้ พ.ต.ท.ทักษิณเข้าประเทศญี่ปุ่น เพราะการกระทำดังกล่าวถือว่าเข้าข่ายละเว้นการปฏิบัติตามกฎหมายของบุคคลที่ เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งมีหน้าที่ทำตามที่กระบวนการยุติธรรมต้องการ อีกทั้งเป็นผู้รู้ที่อยู่ที่ชัดเจน แต่ยังมาสนับสนุนให้ พ.ต.ท.ทักษิณให้ได้รับการช่วยเหลือ
 วันเดียวกันนี้ นพ.ตุลย์ สิทธิสมวงศ์ ผู้ประสานงานกลุ่มเสื้อหลากสี แจ้งว่า จะนัดรวมกลุ่มในวันที่ 18 สิงหาคม เวลา 09.30 น.ที่สถานทูตญี่ปุ่น เพื่อยื่นหนังสือคัดค้านกรณีออกวีซ่าให้ พ.ต.ท.ทักษิณเข้าประเทศ.

รีโมท ซื้อ รีโมท จากผู้ค้าส่งโดยตรง ที่มีหน้าร้านจริง ที่ บ้านหม้อ และ คลองถม ราคาถูกกว่าใคร ปลอดภัย มีรับประกัน

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

บทความย้อนหลัง