ผ่ากลเกมกระชับอำนาจจากรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
พี่ชาย ถึง รัฐบาล ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
น้องสาวกับการใช้เครือข่ายผองเพื่อนตำรวจเป็นมือไม้ในการขับเคลื่อนกลยุทธ์
สนองนโยบายการบริหาร-การเมืองกำจัดคู่แข่งท่ามกลางข้อครหา”รัฐตำรวจ”รี
เทิร์น
คงไม่เป็นที่แปลกใจนักหากรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของประเทศไทย เฟื่องฟูเรืองอำนาจท่ามกลาง “รัฐตำรวจ” คอยเป็นเสมือนมือ-เท้า ขับเคลื่อนนโยบาย “เพื่อแม้ว” ให้เดินหน้าได้ เพราะนับตั้งแต่ขึ้นสู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรี น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นารี ขี่ม้าขาวในมโนคติของประชาชนชาวรากหญ้าที่หวังเลือกมาเป็น “โคลนนิ่งทักษิณ” ตามสโลแกน “ทักษิณคิด เพื่อไทยทำ” ก็เห็นได้ชัดเจนจากการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการแบบล้างบาง กำจัดเสี้ยนหนามตำอกที่ถอดรูปมาชนิดที่เรียกว่า “เป๊ะ” เหมือนเช่นในสมัยรัฐบาลพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เคยเป็นมา
หากวิเคราะห์ เชิงเปรียบเทียบหน้าตา “รัฐตำรวจ” ต่างยุคระหว่างสองพี่น้องตระกูลชินวัตร จะเห็นได้ว่า ในสมัยพ.ต.ท.ทักษิณ แต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการและเชิดชูรัฐตำรวจให้เรืองอำนาจมาแล้ว ดังนี้
รายชื่อคณะรัฐมนตรีพ.ต.ท.ทักษิณ 1 ที่ได้รับการโปรดเกล้าฯ วันที่ 17 ก.พ.44ได้มีการแต่งตั้ง ร.ต.อ.ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์เป็น รมว.มหาดไทย และในวันที่ 14 มิ.ย.44 พ.ต.ท.ทักษิณ ได้รับการโปรดเกล้าฯ เป็นรมว.ศึกษาธิการอีกตำแหน่งหนึ่ง หลังจาก นายเกษม วัฒนชัย จากนั้นไม่นาน วันที่ 9 ต.ค.ปีเดียวกันนั้น พ.ต.ท.ทักษิณ ขอลาออกจากตำแหน่งรมว.ศึกษาฯ และมีโปรดเกล้าฯแต่งตั้ง นายสุวิทย์ คุณกิตติ ดำรงตำแหน่งรมว.ศึกษาฯ
ต่อมาในวันที่ 3 ต.ค.45 มีการปรับครม.พ.ต.ท.ทักษิณ ให้ร.ต.อ. ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ เป็นรมว.ยุติธรรม และปรับครม.อีกครั้งในวันที่ 8 ก.พ.46 ให้ร.ต.อ. ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณพ้นจากความเป็นรัฐมนตรีมาดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี จากนั้นมีการปรับครม.ในวันที่ 8 พ.ย.46 พ.ต.ท.ทักษิณ ให้ พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก พ้นจากตำแหน่งรมช.สาธารณสุข โดยให้ พล.ต.อ. จำลอง เอี่ยมแจ้งพันธ์ ดำรงตำแหน่งดังกล่าวแทน พล.ต.อ.ประชา ไม่นานนักในวันที่ 10 มี.ค.47 พ.ต.ท.ทักษิณ ก็ปรับครม.อีกครั้ง โดยให้พล.ต.อ.จำลอง พ้นจากความเป็นรัฐมนตรี
หมายเหตุ *** รัฐบาลซึ่งมี พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี ได้เข้าบริหารราชการแผ่นดินถึงวันที่สมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ เริ่มต้นจากวันที่ 6 ม.ค. 44 ถึงวันที่ 5 ม.ค.48 และสิ้นสุดลงในวันที่ 6 ม.ค.48 ทำให้สภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลงด้วย (ครบ 4 ปี) และคณะรัฐมนตรีทั้งคณะต้องพ้นจากตำแหน่ง
รัฐบาลพ.ต.ท.ทักษิณ 2 วันที่ 11 มี.ค.48 มีการแต่งครั้งครม.โดยมีนายตำรวจดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีดังนี้ พล.ต.อ. ชิดชัย วรรณสถิต เป็นรองนายกรัฐมนตรี และรมว.มหาดไทยต่อมาวันที่ 2 ส.ค.48 ให้พล.ต.อ. ชิดชัย พ้นจากความเป็นรัฐมนตรี ให้ดำรงตำแหน่งรองนายกฯ และรมว.ยุติธรรมจนครม.สิ้นสุดลงในวันที่ 19 ก.ย.49 เนื่องจากเหตุรัฐประหารโดยพล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน เป็นหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรง เป็นประมุข (คปค.) ยึดอำนาจการปกครองของรัฐบาล พล.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ซึ่งอยู่ระหว่างการประชุมสหประชาชาติที่นครนิวยอร์ก
ในสมัยที่ยุคพ.ต.ท.ทักษิณ เรืองอำนาจ นั้นได้มีคำสั่งให้พล.ต.อ.สันต์ ศรุตานนท์ ผบ.ตร. ช่วยราชการที่สำนักนายกรัฐมนตรี พร้อมตั้ง พล.ต.อ.สุนทร ซ้ายขวัญ รอง ผบ.ตร. รักษาราชการแทน ทว่า พล.ต.อ.สันต์ ไม่ยอมลาออกจากตำแหน่ง จนเกษียณอายุในตำแหน่ง ผบ.ตร.เมื่อวันที่ 30 ก.ย.47 โดยไม่ได้บริหารงานสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
ขณะเดียวกันนั้นได้มีการแต่งตั้งพล.ต.อ.โกวิท วัฒนะ เข้ารับตำแหน่งต่อจากพล.ต.อ.สันต์ ในวันที่ 1 ต.ค.47 โดยดำรงตำแหน่งเรื่อยมาจนกระทั่งพ.ต.ท.ทักษิณ ถูกยึดอำนาจจากการรัฐประหาร กระทั่งรัฐบาลคมช. พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น มีคำสั่งให้พ.ต.อ.โกวิท ช่วยราชการสำนักนายกรัฐมนตรีจนเกษียณอายุราชการในเดือนก.ย. 50
ประเด็นที่น่าสนใจคือการสถาปนารัฐตำรวจในยุคที่พ.ต.ท.ทักษิณ เรืองอำนาจ ขยายวงกว้างมากขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งมีการยึดอำนาจก่อรัฐประหาร มีการโยกย้ายล้างบางขั้วอำนาจเก่าในฝั่งของ
พ.ต.ท.ทักษิณแบบไม่ให้เหลือซาก จึงทำให้เห็นได้ถึงปริมาณในการขยายอาณาจักร “รัฐตำรวจ” ที่มีสูงนับสิบคน อาทิ
1. พล.ต.อ.จุมพล มั่นหมาย อดีตผู้อำนวยการสำนักงานข่าวกรองแห่งชาติ (นักบริหาร 11) เพื่อนร่วมรุ่น นักเรียนนายร้อยตำรวจ(นรต. 26) ของพ.ต.ท.ทักษิณ ที่โดนคำสั่งคปค. ที่ 11/2549 ลงวันที่ 21 ก.ย. 2549 ให้ไปปฏิบัติราชการช่วยราชการสำนักนายกรัฐมนตรี ต่อมากลับเข้าปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งที่ปรึกษา(สบ.10) เทียบเท่าตำแหน่งรองผบ.ตร.ในวันที่ 16 ม.ค.50 ซึ่งการแต่งตั้งครั้งนี้ถูกหลายฝ่ายมองว่าเป็นการลดระดับนักบริหารระดับ 11 มาดำรงตำแหน่งนักบริหารระดับ 10 ซึ่งก่อนหน้าพล.ต.อ.จุมพล มียศ “พล.ต.ท.” หรือระดับ “ผู้บัญชาการ” ซึ่งพ.ต.ท.ทักษิณ ผลักดันยศให้เป็นกรณีพิเศษทำให้ก้าวกระโดดชั้นยศเป็น “พล.ต.อ.” ทำให้ถูกมองว่าเป็นการข้ามหัวระบบอาวุโสในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
2. พล.ต.ต.พีรพันธ์ เปรมภูติอดีตปลัดสำนักปลัดนายก รัฐมนตรี ที่โดนคำสั่งคปค.ที่ 11/2549 ลงวันที่ 21 ก.ย. 2549 ให้มาปฏิบัติราชการสำนักนายกรัฐมนตรีในตำแหน่งปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี(สปน.) ซึ่งก่อนหน้ายอมโอนย้ายจาก สตช. รับตำแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน(ป.ป.ง.) โดดเด่นในการตรวจสอบธุรกรรมท่างการเงินองฝ่ายตรงข้ามรัฐบาลพ.ต.ท.ทักษิณทั้ง เอ็นจีโอ กลุ่มคนรู้ทักทักษิณ และสื่อมวลชนบางรายนั้น พร้อมกับตรวจสอบสัญญาและการดำเนินงานของ สปน. เพื่อช่วยให้ “ไอทีวี” ไม่ต้องจ่ายค่าปรับตามที่ศาลปกครองมีคำสั่ง แต่ท้ายที่สุดก็ไม่สำเร็จ
3. พล.ต.ท.ชลอ ชูวงษ์อดีตผู้ช่วยผบ.ตร. ที่โดนคำสั่งคปค.ที่ 11/2549 ลงวันที่ 21 ก.ย. 2549 ให้มาปฏิบัติราชการสำนักนายกรัฐมนตรี นายตำรวจผู้นี้เป็นเพื่อนร่วมรุ่น นรต. 26 ของพ.ต.ท.ทักษิณ(จะเกษียณอายุราชการในปีนี้) ซึ่งพ.ต.ท.ทักษิณให้ความเชื่อถือ โดยผลงานที่ผ่านมาพล.ต.ท.ชลอ เป็นหัวหน้าพนักงานสอบสวนในคดีที่เกี่ยวข้องกับพันธมิตรประชาชนเพื่อ ประชาธิปไตย โดยเข้ามาดูแลคดีที่นายสนธิ ลิ้มทองกุล อดีตแกนนำพันธมิตรฯ ถูกลอบฆ่า
4. พล.ต.ท.กฤษณะ ผลอนันต์อดีตเลขาธิการคณะกรรมการ ป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.) ที่ก่อนจะโอนย้ายออกจากสตช. ขณะดำรงตำแหน่งผู้ช่วยผบ.ตร. ซึ่ง พล.ต.ท.กฤษณะ เป็นนายตำรวจรุ่นน้องพ.ต.ท.ทักษิณ รุ่น นรต. 27 ซึ่งเป็นคนสนิท พล.ต.อ.ชิดชัย วรรณสถิตย์ อดีตรองนายกรัฐมนตรี และที่ผ่านมาเก็บข้อมูลสำคัญไว้เป็นจำนวนมากที่เกี่ยวข้องกับ “ยาเสพติด”
อย่างไรก็ตามหลังจากการปฏิวัติบทบาทของรัฐตำรวจก็ถูกลดลง การลดบทบาทและลดอำนาจที่เคยรุ่งเรืองสมัยพ.ต.ท.ทักษิณ เป็นนายกฯ ก็เพิ่มมากขึ้น อาทิเช่น
1. พล.ต.ท.ฉลอง สนใจอดีตผบช.ภ.7 และเพื่อนร่วมรุ่น นรต.26 รุ่นเดียวกับพ.ต.ท.ทักษิณ ถูกย้ายเป็น ผบช.สง.ผบ.ตร. ซึ่งพล.ต.ท.ฉลอง ได้รับมอบหมายให้ดูแลพื้นที่ภาคตะวันตก ในสมัยรัฐบาลพ.ต.ท.ทักษิณ ซึ่งคอยกำกับดูแลในพื้นที่ที่เป็นแหล่งส่องสุมมือปืนมากที่สุดในประเทศ
2. พล.ต.ท.สถาพร ดวงแก้วอดีตผบช.ภ.4 คุมพื้นที่ภาคอีสาน เพื่อนร่วมรุ่นนรต. 26 ของพ.ต.ท.ทักษิณ ที่โดนส่งเข้ากรุเป็น ผบช.ศ. นายตำรวจผู้นี้มีผลงานโดดเด่นในกรณีที่ พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยออกมาขับไล่พ.ต.ท.ทักษิณ เคยขึ้นเวทีปราศรัยของพันธมิตรฯและขึ้นไปข่มขู่นายอวยชัย วะทา แกนนำคัดค้านการถ่ายโอนครู
3. พล.ต.ท.ถาวร จันทร์ยิ้มอดีตผบช.ส. และเพื่อนร่วมรุ่น นรต.26 รุ่นเดียวกับพ.ต.ท.ทักษิณ ประสบชะตากรรมเช่นเดียวกับเพื่อนร่วมรุ่นพ.ต.ท.ทักษิณ เหมือนเช่นคนอื่นๆ ถูกย้ายไปดำรงตำแหน่ง ผบช.ประจำ สง.ผบ.ตร. ก่อนหน้าถูกโยกย้ายมาจากตำแหน่ง รองผบช.ตชด. และโดยย้ายมาดำรงตำแหน่ง “ผบช.ส.” เพื่อดูแลงานด้านการข่าวสมัยพ.ต.ท.ทักษิณ เรืองอำนาจ โดยสร้างผลงานจากการขึ้นบัญชีดำ นายสนธิ ลิ้มทองสกุล และน.ส.สโรชา พรอุดมศักดิ์ พร้อมแกนนำผู้รักชาติรวม 73 คน นอกจากนี้ยังมีการขึ้นบัญชีดำ คุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกา อดีตผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน(สตง.)ที่เคยออกมาเคลื่อนไหวขับไล่พ .ต.ท.ทักษิณ
4. พล.ต.ท.สุวัฒน์ ธำรงศรีสกุลอดีตผบช.สตม. และเพื่อนร่วมรุ่น นรต.26 รุ่นเดียวกับพ.ต.ท.ทักษิณ ที่ถูกส่งให้ไปดูแลงานด้านการตรวจคนเข้าเมือง ซึ่งเป็นฐานอำนาจที่คอยรับบัญชา โดยเฉพาะการเคลื่อนไหวของกลุ่มบุคคลต่างๆ ที่จะเข้า-ออกประเทศ โดยเฉพาะกับกลุ่มคนที่อยู่ฝ่ายตรงข้ามพ.ต.ท.ทักษิณ ปัจจุบันถูกเด้งเข้ากรุเป็น ผบช.ประจำ สง.ผบ.ตร.
5. พล.ต.ท.ศิริชัย มีนะกนิษฐเพื่อนร่วมรุ่นนรต. 26 รุ่นเดียวกับพ.ต.ท.ทักษิณ อดีตรองผบช.ภ.8 ถูกย้ายราชการเข้าประจำ “ผบช.ประจำ สง.ผบ.ตร.”
6. พล.ต.ต.สุรสิทธิ์ สังขพงศ์อดีตผอ.สำนักงานสลากกิน แบ่งรัฐบาล (กองสลากฯ) และอดีตผบก.ป. เพื่อนร่วมรุ่นนรต. 26 เพื่อนร่วมรุ่นที่ได้รับความไว้วางใจให้มาดูแลควบคุมกองสลากดูแลเงินหวยบน ดิน จนทำให้คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) ได้ฟ้องร้อง นอกจากนี้พล.ต.ต.สุรสิทธิ์ ได้เข้าบุกจับ พล.ต.ต.ขัตติยะ สวัสดิผล” หรือ “เสธ.แดง” ที่โรงแรมดิ เอมเมอรัล ย่านห้วยขวางในช่วงที่มีคดีความกับ พล.ต.อ.สันต์ ศรุตานนท์ อดีตผบ.ตร.
7. พล.ต.ต.วินัย ทองสองอดีตผบก.ป. จบจาก นรต.รุ่นที่ 32 มีศักดิ์เป็นหลานเขยของพ.ต.ท.ทักษิณ สายบ้านจันทร์ส่องหล้าได้รับผิดชอบเก้าอี้สำคัญ จนถูกสื่อเรียกกันว่า “ผบ.ตร.น้อย” เนื่องจากมีอำนาจในการจับกุมทั่วราชอาณาจักร หลังรัฐประหารถูกย้ายมาเป็น ผบก.สถาบันส่งเสริมงานสอบสวน
8. พล.ต.ต.สุชาติ กาญจนวิเศษอดีตผบก.ปศท. เพื่อนร่วมรุ่นนรต. 26 รุ่นเดียวกับพ.ต.ท.ทักษิณ ซึ่งมีบทบาทอย่างสูงในการปราบปรามอาชญากรรมทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยีในยุค พ.ต.ท.ทักษิณ หลังรัฐประหารถูกโยกย้ายมาเป็นรองผบช.ประจำ สง.ผบ.ตร.
9. พล.ต.ต.โกสินทร์ หินเธาว์อดีตผบก.น.5 นรต.รุ่น 28 และอดีตผบก.ป. โด่งดังจากการพลิกแฟ้มคดีนายห้างทอง ธรรมวัฒนะ อดีตส.ส.กทม.ขึ้นมาปัดฝุ่นใหม่ และการจับมือกับนายยงยุทธ ติยะไพรัช บุกค้นบ้าน 2 ตา-ยาย ตระกูล “ศตะกูรมะ” ที่อยุธยา จนมีการบุกยิงถล่มบ้านอย่างหนัก โดยอ้างว่า เป็นแหล่งผลิตยาเสพติด แต่สุดท้ายก็ไม่สามารถหาหลักฐานเอาผิดได้ และทำให้บ้านดังกล่าวเสียหายอย่างหนัก ถึงขนาด “ตู้เย็น” ในบ้านมีรอยกระสุน จนเป็นที่มาของฉายาของนายยงยุทธว่า “ยุทธตู้เย็น” ทั้งนี้พล.ต.ต.โกสินทร์ ยังอดีต ผบก.น.7 รับผิดชอบพื้นที่บ้านจันทร์ส่องหล้ามาก่อนทำให้มีความสนิทสนมกับคุณหญิง พจมาน จนได้รับการเลื่อนขั้นและบำเหน็จจากการแต่งตั้งโยกย้าย หลังเหตุรัฐประหารถูกย้ายไปดำรงตำแหน่ง”ผบก.วก.รร.นรต.”
10. พล.ต.ต.วราวุธ พุกประยูรอดีตผบก.ภ.จ.พระนครศรี อยุธยา เพื่อนร่วมรุ่นนรต.26 ของพ.ต.ท.ทักษิณ ที่โดนย้ายไปเป็น ผบก.รฟ. ก่อนโดนเด้งเข้ากรุเป็น “ผบก.ประจำสง.ผบ.ตร.”
11. พล.ต.ต.อรรถกฤษ ธารีฉัตรอดีตผบก.ส.3 ที่เคยเป็นหัวหน้าชุดรักษาความปลอดภัยให้พ.ต.ท.ทักษิณ ในสมัยเป็นนายกรัฐมนตรี นายตำรวจผู้นี้เป็นคนที่อยู่กับพ.ต.ท.ทักษิณในช่วงที่ถูกรัฐประหาร ขณะเดินทางไปสหรัฐอเมริกา ก่อนลี้ภัยที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ หลังจากเดินทางกลับประเทศ ถูกโยกย้ายไปดำรงตำแหน่ง ผบก.ประจำสง.ผบ.ตร.
หลังจากพ้นรัฐบาลพ.ต.ท.ทักษิณ ระบบ “รัฐตำรวจ” ก็ถูกลดบทบาทความสำคัญลงจนกระทั่งการได้รับชัยชนะอีกครั้งของพรรคเพื่อไทย โดยมีน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร น้องสาวแท้ๆของพ.ต.ท.ทักษิณ ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของประเทศไทย การฟื้น “รัฐตำรวจ”ก็ดูเหมือนจะกลับมาอีกครั้ง !
"รัฐตำรวจ" รีเทิร์น จาก "ทักษิณ" ถึง "ยิ่งลักษณ์"
โคลนนิ่งยุทธศาสตร์ บู๊-บุ๋น ดึงผองเพื่อนสีกากี
ร่วมสังฆกรรมนโยบายรัฐ-สนองกลุ่มการเมือง
ในรัฐบาลของน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของประเทศไทย ผู้ซึ่งเป็นน้องสาวแท้ๆของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี แน่นอนว่า การดำเนินงานทั้งด้านกิจการภายในกองทัพและสำนักงานตำรวจแห่งชาติ จำเป็นต้องมีคนช่วยเหลือดูแล เพื่อให้การบริหารราชการแผ่นดินไม่สะดุดหยุดลงเพียงเพราะขาด “คีย์แมน”สำคัญ
พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี
หนึ่งเดียวในการสถาปนารัฐตำรวจให้เฟื่องฟูคงหนีไม่พ้น “ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง” อดีตนายตำรวจผู้คลุกคลีตีโมงกับระบบทักษิณ มาอย่างยาวนาน ด้วยความจงรักภักดีที่มีต่อพ.ต.ท.ทักษิณ ทำให้ ร.ต.อ.เฉลิม ได้รับตำแหน่งสำคัญในรัฐบาลชุดนี้ ในตำแหน่ง “รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง” ผู้กำกับดูแลสำนักงานตำรวจแห่งชาติและกระทรวงยุติธรรมรวมไปถึง นโยบายการปราบปรามยาเสพติด โดย ร.ต.อ.เฉลิม เป็นประธานก.ตร.โดยตำแหน่ง ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกฯ
- ร.ต.อ.เฉลิม อยูบํารุง รองนายกรัฐมนตรี ประธาน
- พล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี ผบ.ตร. (ขณะนั้น)กรรมการ
- นายนนทิกร กาญจนะจิตรา เลขาธิการ ก.พ. กรรมการ
- พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์ รอง ผบ.ตร.(กศ) กรรมการ
- พล.ต.อ.ปานศิริ ประภาวัต รอง ผบ.ตร.(ปป 1) กรรมการ
- พล.ต.อ.ชลอ ชูวงษ์ รอง ผบ.ตร.(บร 1) กรรมการ
- พล.ต.อ.วัชรพล ประสารราชกิจ รอง ผบ.ตร.(ปป 2) กรรมการ
- พล.ต.อ.วุฒิ พัวเวส รอง ผบ.ตร.(มค 1) กรรมการ
- พล.ต.อ.ภาณุพงศ์ สิงหรา ณ อยุธยา รอง ผบ.ตร.(ปป 3) กรรมการ
- พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว รอง ผบ.ตร.(ปป 4) กรรมการ
- พล.ต.อ.สถาพร หลาวทอง จตช. กรรมการ
จุดเริ่มต้นในการล้างบางขั้วอำนาจเก่าสมัยรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์และพรรค ภูมิใจไทย ทำให้ร.ต.อ.เฉลิม สั่งให้ พล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี ผบ.ตร. เข้าตรวจสอบ ภายหลังที่นายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ สส.บัญชีรายชื่อ พรรครักประเทศไทย ออกมาแฉกลางสภาว่ามีบ่อนกลางกรุง ทำให้ พล.ต.อ.วิเชียร ต้องลาออกจากตำแหน่งผบ.ตร. และเข้ารับตำแหน่งเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ(สมช.) แทนนายถวิล เปลี่ยนสี ที่ถูกคำสั่งให้ไปปฏิบัติราชการประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เพื่อเป็นการเปิดทางให้ พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์ ดำรงตำแหน่งผบ.ตร. ก่อนเกษียณราชการในปี 2555
นายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรครักประเทศไทย
พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ รองผบ.ตร. เป็นพี่ชายของคุณหญิงพจมาน ณ ป้อมเพชร อดีตภริยาพ.ต.ท.ทักษิณ เดิมทีถูกคำสั่งคปค.ที่ 11/2549 ลงวันที่ 21 ก.ย. 2549 ให้มาปฏิบัติราชการสำนักนายกรัฐมนตรี และถูกดองแช่เข็งในตำแหน่งรองผบ.ตร.เป็นต้นมาจนกระทั่งในสมัยรัฐบาลพรรค เพื่อไทยกลับมาเรืองอำนาจอีกครั้ง หากย้อนดูเส้นทางชีวิตราชการของ พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ จะพบว่า ก้าวหน้าทางราชการอย่างรวดเร็วโดยเฉพาะในปี 2545 ได้รับตำแหน่งผู้ช่วยผบ.ตร. และต่อมาเพียงปีกว่า ขึ้นเป็นรองผบ.ตร. จ่อคิวดำรงตำแหน่งสูงสุดของสตช.
พล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี อดีตผบ.ตร.
เป็นที่แน่นอนว่าย่อมมีการล้างบางนายตำรวจที่ไม่ใช่พรรค-ไม่ใช่พวกออกจาก สารระบบอย่างแน่นอน โดยเฉพาะคนสนิทของนักการเมืองฝ่ายตรงข้ามกับพ.ต.ท.ทักษิณ อาทิ พล.ต.ท.จักรทิพย์ ชัยจินดา ผบช.น. คนสนิทนายสุเทพ เทือกสุบรรณ อดีตรองนายกฯ และนายเนวิน ชิดชอบ แกนนำพรรคภูมิใจไทย ที่จะก้าวสู่ตำแหน่งผช.ผบ.ตร. รวมไปถึงตำแหน่ง ผบช.ภ.1 ที่พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง อาจจะหลุดมือให้กับพล.ต.ต.คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง
ขณะที่ตำแหน่ง ผบช.ภ.2 พล.ต.ท.ไถง ปราศจากศัตรู สามีของนางศิริวรรณ ปราศจากศัตรู ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ ที่จะเลื่อนขึ้นเป็นผช.ผบ.ตร. ก็คงต้องยอมเสียเก้าอี้ดังกล่าวไป นอกจากนี้ตำแหน่งผบช.ภ.5 และ 7 ที่มีคนสนิทของนายสนธิ ลิ้มทองกุล ดำรงตำแหน่งดังกล่าวก็คงจะหลุดมือไปด้วย
ทั้งนี้แน่นอนแล้วว่า พล.ต.ชัยยะ คนสนิทของนายยงยุทธ ติยะไพรัช ที่เคยโด่งดังจากปฏิบัติการยุทธตู้เย็น จะกลับมาผงาดอีกครั้ง ซึ่งลักษณะการแบ่งสรรเก้าอี้ในสำนักงานตำรวจแห่งชาติแบ่งได้ดังนี้
- แบ่งสรรให้กลุ่มอาวุโส 33% ไป 4 เก้าอี้
- คัดเลือกตามความเหมาะสมอีก 7 เก้าอี้
- มีการล๊อกเก้าอี้ไว้สำหรับโควตาเรียบร้อยแล้ว 5 เก้าอี้
ส่วนที่น่าจับตาเป็นพิเศษคือ พล.ต.ต.ภาณุ เกิดลาภผล รอง ผบช.น. อาวุโสอันดับ 1 ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เนื่องจากได้รับการติดยศนายพลครั้งแรกในสมัยพ.ต.ท.ทักษิณ และถูกวางมือให้อยู่ในสายบุ๋นที่พ.ต.ท.ทักษิณ ไว้วางใจ จึงเป็นอีกคนที่คาดว่าจะได้รับตำแหน่งสำคัญในสตช.
นอกจากกระบวนการแต่งตั้งโยกย้ายที่น่าจับตาของสำนักงานตำรวจแห่งชาติแล้ว อีกหนึ่งกระทรวงที่ได้รับความสนใจในสังคมขณะนี้คือ กระทรวงยุติธรรม หนึ่งในกุญแจสำคัญที่หลายฝ่ายมองว่าเป็นหนทางในการนำพ.ต.ท.ทักษิณ กลับบ้านได้ จากมติครม.เมื่อวันที่ 13 ก.ย.54 ที่ผ่านมามีการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการในกระทรวงยุติธรรม ล๊อตใหญ่ โดยผู้เสนอวาระเข้าสู่การประชุมครม. คือ พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก รมว.ยุติธรรม โดยครม.มีมติดังนี้
การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงยุติธรรม)
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ ให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง กระทรวงยุติธรรม จำนวน 7 ราย ดังนี้
1. นายชาติชาย สุทธิกลม อธิบดี (บริหารสูง) กรมราชทัณฑ์ กระทรวงยุติธรรม ให้ดำรงตำแหน่งรองปลัดกระทรวง (บริหารสูง) สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงยุติธรรม
2. นางสุวณา สุวรรณจูฑะ อธิบดี (บริหารสูง) กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม ให้ดำรงตำแหน่งรองปลัดกระทรวง (บริหารสูง) สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงยุติธรรม
3. นายพิทยา จินาวัฒน์ รองปลัดกระทรวง (บริหารสูง) สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงยุติธรรม ให้ดำรงตำแหน่งอธิบดี (บริหารสูง) กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม
4.นางสุรีย์ประภา ตรัยเวช เลขาธิการ (บริหารสูง) สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด(ป.ป.ส.) กระทรวงยุติธรรม ให้ดำรงตำแหน่งรองปลัดกระทรวง (บริหารสูง) สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงยุติธรรม
5.พ.ต.อ. สุชาติ วงศ์อนันต์ชัย ผู้ตรวจราชการกระทรวง (บริหารสูง) สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ให้ดำรงตำแหน่งอธิบดี (บริหารสูง) กรมราชทัณฑ์ กระทรวงยุติธรรม
6.พ.ต.อ.ดุษฎี อารยวุฒิ ผู้ตรวจราชการกระทรวง (บริหารสูง) สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงยุติธรรม ให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการ (บริหารสูง) สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.)กระทรวงยุติธรรม
7.นายอำพล วงศ์ศิริ เลขาธิการ (บริหารสูง) สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ กระทรวงยุติธรรม ให้ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง (บริหารสูง) สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงยุติธรรม
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นต้นไป
ทันทีที่มติครม.ออกมา ทำให้ประเด็นดังกล่าวถูกจับจ้องมากในสังคมคือ การโยกย้ายนายชาติชาย สุทธิกลม อธิบดีกรมราชทัณฑ์ไปเป็นรองปลัดกระทรวงยุติธรรม และให้ พ.ต.อ. สุชาติ วงศ์อนันต์ชัย ผู้ตรวจราชการกระทรวงไอซีทีมาดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมราชทัณฑ์นั้น
เป็นที่รู้กันว่า พ.ต.อ.สุชาติ เป็นรุ่นน้องนรต.รุ่น 37 ของพ.ต.ท.ทักษิณ และเป็นเพื่อนร่วมรุ่นกับพ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รองปลัดกระทรวงยุติธรรมซึ่งเคยดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ โดยมีพ.ต.อ.สุชาติเป็นรองอธิบดีในขณะนั้น หลังพ.ต.ท.ทักษิณ ถูกยึดอำนาจ ขณะที่พ.ต.อ.สุชาติ ถูกย้ายไปประจำสำนักกิจการยุติธรรม ขณะที่พ.ต.อ.ทวี ถูกย้ายไปดำรงตำแหน่งรองปลัดกระทรวงยุติธรรม สมัยรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ซึ่งพ.ต.อ.สุชาติ ได้ขอย้ายไปเป็นผู้ตรวจราชการกระทรวงไอซีที โดยมีกระแสข่าวว่า พ.ต.อ.สุชาติ เข้าไปเกี่ยวข้องกับแกนนำคนเสื้อแดง และมีส่วนในคดีฟ้องยุบพรรคประชาธิปัตย์ คดีไซฟอนเงิน โดยการให้ปากคำต่อตุลาการศาลรัฐธรรมนูญในฐานะรองอธิบดีดีเอสไอ(ขณะนั้น)
ทั้งนี้ มีการตั้งข้อสังเกตว่าการให้พ.ต.อ.สุชาติ ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมราชทัณฑ์ครั้งนี้ เป็นการมอบหมายหน้าที่รับผิดชอบในการทำความเห็นประกอบฎีกาขอพระราช ทานอภัยโทษให้กับพ.ต.ท.ทักษิณ โดยเฉพาะ อย่างไรก็ตามเส้นทางราชการของพ.ต.อ.สุชาติเป็นที่น่าจับตาอย่างยิ่ง เนื่องจากเป็นอดีตนายเวรของพล.ต.อ.สมบัติ อมรวิวัฒน์ อดีตอธิบดีดีเอสไอ น้องชายนายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ อดีตรมว.ยุติธรรมสมัยรัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช-นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์
น่าจับตาอย่างยิ่งเมื่อ พ.ต.อ.สุชาติ ได้ขอลาออกมาเป็นข้าราชการพลเรือนโดยได้รับแต่งตั้งเป็นผู้บัญชาการสำนักงาน คดีอาญาพิเศษ อีกทั้งยังมีความสนิทสนมกับ ร.ต.อ.เฉลิม เป็นอย่างมาก โดยคอยให้ความช่วยเหลือด้านข้อมูลในการอภิปรายไม่ไว้วางใจกรณีพรรคประชา ธิปัตย์ไซฟอนเงิน รวมไปถึงผลงานในการทำคดีพิเศษเกี่ยวกับพรรคประชาธิปัตย์หลายต่อหลายคดี เช่น คดีเงินบริจาคของบริษัททีพีไอ ซึ่งต่อมาขยายผลสู่คดียุบพรรคประชาธิปัตย์ (ศาลได้ตัดสินไม่ยุบพรรคประชาธิปัตย์) , คดีทุจริตจัดซื้อเรือและรถดับเพลิงของกทม.จนนำไปสู่การชี้มูลความผิดของนาย อภิรักษ์ โกษะโยธิน ,รื้อฟื้นคดีอุ้มฆ่านักธุรกิจชาวซาอุฯ จนอัยการมีคำสั่งฟ้องพล.ต.ท.สมคิด บุญถนอม อดีตผบช.ภ.5
นี่เป็นเพียงการเริ่มต้นของรัฐบาลน.ส.ยิ่งลักษณ์ เท่านั้นภายหลังจากได้รับการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง และแถลงนโยบายต่อรัฐบาล ที่ได้ดำเนินการสร้างอาณาจักรแห่ง “รัฐตำรวจ” ให้เรืองอำนาจเฉกเช่นในอดีตที่เคยมีมา และดูเหมือนว่า นโยบายเร่งด่วนที่ได้แถลงต่อรัฐสภานั้นไม่มีนโยบายเหล่านี้เลยแม้แต่น้อย แต่การดำเนินการในเรื่องดังกล่าวนี้เป็นแจ่มชัดแล้วว่า “ทักษิณคิด เพื่อไทยทำ” เป็นเรื่องจริง ทำจริง !แจ่มแจ้งแดงแจ๋ที่สุด!
ศูนย์ข้อมูลและข่าวสืบสวนเพื่อสิทธิพลเมือง