บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันอังคารที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2554

โฉมหน้าศักดินาใหม่

123_1
ศักดินา อำนาจแห่งการครอบครองที่นา ระบบการแบ่งชนชั้นฐานันดรศักดิ์ในสมัยโบราณ ปัจจุบัน “ศักดินา” สิ้นไปในเชิงรูปธรรม เหลือเพียงให้เราตีความกันว่าแท้จริงแล้วประเทศไทยเรานี้ยังมี “ศักดินา” หลงเหลือหรือไม่ และอยู่ในรูปแบบใด?

ในสมัยโบราณ “ที่ดิน” คือสิ่งสำคัญที่สุด ในประเทศจีนเมื่อสองพันปีก่อนการรบของบรรดากษัตริย์(อ๋อง)ในแต่ละแคว้นล้วนมีเหตุจูงใจจาก “ที่ดิน” ทั้งสิ้น รัฐฉินของจิ๋นซีฮ่องเต้ก่อนที่ก้าวขึ้นเป็นมหาอำนาจก็ได้เกิดการเปลี่ยน เเปลงครั้งใหญ่ เรียกว่าการปฏิรูปของซางยาง หลักๆคือการปฏิรูปที่ดินให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่รัฐ แต่ทว่าเมื่อมีที่ดินแต่ไม่มีคนการปฏิรูปนี้จึงส่งผลไปถึงการทหารด้วย สงครามแย่งทรัพยากรมนุษย์เพื่อมาทำให้ทีดินที่ว่างเปล่าเกิดประโยชน์จึง บังเกิดขึ้น!

ในสมัย โบราณดินแดนที่เป็น ประเทศไทยปัจจุบัน แต่ก่อนเป็นประเทศเล็กๆที่เป็นอิสระต่อกันหลายประเทศ และแน่นอนว่าคงจะมีลักษณะเดียวกันกับประเทศจีนโบราณที่ต้องการ “ที่ดิน” และ “คน” เพื่อ เป็นกำลังผลิตทรัพยากรบำรุงประเทศต่อไป ดังนั้นระบบการเกณฑ์แรงงาน ระบบทาส จึงมีการพัฒนาการเต็มรูปแบบในระบบศักดินา การสังกัดมูลนายเพื่อทำงานด้านเกษตรกรรม หรือการส่งส่วย อากร ล้วนเป็นสิ่งที่ “ไพร่ฟ้า” ต้องพึงกระทำ

จิตร  ภูมิศักดิ์ ผู้เขียนหนังสือ “โฉมหน้าศักดินาไทย” ได้พยายามอธิบายถึงความโหดร้ายของระบบศักดินา การเปรียบเทียบกับอารยะประเทศ รวมไปทั่งการนำเอาเอกสาร ถ้อยบันทึกในพงศาวดาร ตราพระอัยการต่างๆยกมาเป็นข้อมูลอ้างถึงในหนังสือ ซึ่งปัจจุบันติด ๑ ใน ๑๐๐ หนังสือดีที่คนไทยควรอ่านไปเรียบร้อยแล้ว

มุมมองของ จิตร  ภูมิศักดิ์ และการพยายามอธิบาย “ความหมาย” ของคำต่างๆในหนังสือเล่มนี้นับได้ว่าเปิดหูเปิดตาได้มาก ด้วยความรู้ด้านอักษรศาสตร์ ประวัติศาสตร์ และรัฐศาสตร์ของ จิตร  ภูมิศักดิ์ ทำให้หนังสือเล่มนี้กลายเป็นผลงานที่ “คนรุ่นใหม่” ที่สนใจในประวัติศาสตร์พึงอ่านและทำความเข้าใจให้ถ่องแท้ และต้องเข้าใจว่าแท้จริงแล้วศักดินาไทยที่ จิตร  ภูมิศักดิ์ พยายามอธิบายนั้นอยู่บนพื้นฐานของแนวคิดของมาร์กซิสต์

หลักการของมาร์กซิสต์คือ “ประวัติศาสตร์ของสังคมทั้งหมดที่ผ่านมา ล้วนแต่ประวัติศาสตร์ของการต่อสู้ระหว่างชนชั้น” หากพูดกันตรงๆคือการต่อสู้ระหว่าง “ไพร่ ขุนนาง เจ้า” ความไม่เท่าเทียมใน “ศักดิ์” และ “สิทธิ” บังเกิดให้เกิดปัญหาเรื้อรัง การปฏิวัติ รัฐประหาร การแย่งชิงอำนาจ และผลที่ตามมาคือฐานันดรที่ต่ำที่สุดอย่าง “ไพร่-ชาวนา” ต้องรับกรรมจากการกระทำของคนที่ฐานันดรสูงกว่า

ในหนังสือเล่มนี้ส่วนที่ชอบที่สุดคือ “อักษรศาสตร์” จิตร  ภูมิศักดิ์ อธิบายความหมายของคำหลายๆคำซึ่งผมไม่รู้มาก่อนและคำหลายๆคำที่เรารู้จักกัน ดีนี้เช่นคำว่า พระราชอาณาจักร , กษัตริย์ มีความหมายที่ลึกซี้งถึงที่มาเลยทีเดียว รองลงมาที่ชื่นชอบคือ “ประวัติศาสตร์” จิตร  ภูมิศักดิ์ อธิบายประวัติศาสตร์ผ่านแนวคิดของมาร์กซิสต์ นั่นย่อมทำให้เกิดแนวคิดที่เปลี่ยนไปจากหนังสือทั่วไปที่เราเคยอ่าน การวิพากษ์วิจารณ์สถาบันกษัตริย์โบราณ ขุนนาง และชนชั้นศักดินาในมุมมองอาจจะไม่เคยได้อ่านที่ไหนมาก่อน

ส่วนตัว ผมเองแม้ว่าความรู้ด้านอักษรศาสตร์ ประวัติศาสตร์ รัฐศาสตร์ยังน้อย แต่ก็ใช่ว่าจะคล้อยตามที่ผู้เขียนอย่าง จิตร  ภูมิศักดิ์ ได้พยายามโน้มน้าวไปซะทุกเรื่องไม่ เพราะส่วนตัวเองก็ยังคงม “ความเชื่อ” ของตนเองที่ว่า “จะไม่เอาสภาพในปัจจุบัน ไปตัดสินอดีตกาล” แม้ ว่าภาพรวมของแนวคิดมาร์กซิสต์จะสามารถครอบคลุมทุกปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคม ศักดินาก็ตาม แต่ทว่านั่นก็หาได้ใช่อย่างที่เป็นไปในอดีตเสียทั้งหมด

เพราะจิตใจมนุษย์ปัจจุบัน “อ่อนโยน” มากขึ้น

ผมยังคง มีความเชื่อที่ว่าในอดีตนั้น วิทยาศาสตร์ไม่พัฒนา ศาสนายังคงเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจคนหมู่มาก หากผมจะบอกว่ายิ่งในอดีตเมื่อสองพันปีก่อนในประเทศจีน ศาสนายังไม่เข้าถึงครอบคลุม มีเพียงลัทธิการปกครองที่ศึกษากันเพราะชนชั้นสูง ดังนั้นในความคิดของประชาชน “กษัตริย์” คือเทพเจ้า และกษัตริย์เองก็ยังคงคิดว่า “ฆ่าคนไม่ผิด” ดังนั้นจึงไม่แปลกที่ว่าทำไมในอดีตกษัตริย์จึงมีอำนาจที่มากมายที่จะทำอะไรก็ได้ เพราะกษัตริย์ไม่ได้มองว่า “คน” คือ “คน” ซึ่งนั่นคือความเป็นจริงในยุคนั้น

แต่หากไม่ “บริหาร” ให้ดีอำนาจนั้นก็จะกลับไปทิ่มแทงกษัตริย์ได้เช่นกัน

รวมทั้ง ในดินแดนที่เรียกว่าประเทศไทยในปัจจุบัน สมัยโบราณประเทศอย่างสุโขทัย เชียงใหม่ อยุธยา ย่อมมีกษัตริย์ และแน่นอนว่าความคิดในแนวทาง “เทพเจ้า” ก็ยังคงเป็นเช่นนั้น ประชาชนคือคนของเทพเจ้า พระองค์ตรัสสั่งอะไรลงมาประชาชนต้องทำตาม ขัดขืนคือตาย นี่คือความเป็นจริงในโลกอดีต แต่ทว่าเมื่อมีการศึกษามากขึ้น วันเวลาผ่านไปมากขึ้นกษัตริย์เปลี่ยนแปลงจาก “เทพ” เป็น “ผู้รักษาธรรมของแผ่นดิน” กษัตริย์คือผู้ที่ต้องสร้างสมดุลให้กับทุกชนชั้นอย่างเท่าเทียม แต่ทว่าในปัจจุบันก็ยังผู้พยายามทำให้เกิดการ “แตกแยก” เพียงอ้างคำว่า “ศักดินา” “ฐานันดร” มากล่าวอ้างให้เกิดความไม่พอใจในหมู่ประชาชน

พุทธ ศักราช ๒๔๗๕ คณะปฏิวัติยึดเอาพระราชอำนาจจากกษัตริย์ ส่งผลให้เกิดความเปลียนแปลงทางโครงสร้างอย่างมหาศาล สมุดไทยบนพานแว่นฟ้าที่มีสถานะสูงส่งกว่ากษัตริย์จะเข้ามาทำหน้าที่ “บริหารอำนาจ” แทน กษัตริย์ อันอำนาจที่คณะทหารกลุ่มนั้นได้มา กษัตริย์ผู้เสียสละทรงตั้งพระทัยอย่างยิ่งที่จะให้อำนาจของพระองค์นั้นอยู่ กับประชาชนทั้งมวลหาใช่กลุ่มบุคคลใดบุคคลหนึ่ง แต่ทว่าไม่เคยมี “นักการเมือง” หน้าไหนเลยในแผ่นดินที่จะเคยจดจำสิ่งที่กษัตริย์ผู้เสียสละได้ทรงตั้งพระทัย ไว้ ประเทศชาติถึงได้ง่อนแง่น สมุดไทยบนพานแว่นฟ้าก็เป็นเพียง “ฉากหน้า” ที่ให้พวกสันดานต่ำช้าหากินกับ “อำนาจ” ที่พวกเขายึดมาจากกษัตริย์เมื่อเกือบแปดสิบปีก่อน

นักการเมืองคือกลุ่ม “ศักดินาใหม่” อย่างแท้จริง แม้จะไม่มีที่นาที่เป็นรูปธรรม แตชั้นวรรณะของคนเหล่านี้นั้นสูงส่งกว่าผู้ใดในประเทศ ยโสโอหัง เล่นการเมืองสกปรก คดโกง โยงใยกับระบบราชการสร้างอำนาจ สร้างบารมีเพื่อกอบโกยสมบัติชาติ คนเหล่านี้ถือตนว่ามีศักดินาสูงส่ง เห็นประชาชนเป็นเครื่องมือใช้ต่อรองอำนาจรัฐ ดังเช่นที่ จิตร  ภูมิศักดิ์ ได้พยายามอธิบายว่าแต่เดิมนั้นชนชั้นที่สูงกว่า(ศักดินา)ชาวนามักจะใช้คำ ขวัญเพื่อ “หลอกลวง” ชาวนาว่า “กษัตริย์มิตั้งอยู่ในทศพิธราชธรรม ให้พวกเรา(ชาวนา)ช่วยสนับสนุนผู้มีบุญองค์ใหม่” ชาวนาต่างหลงเชื่อคำโอ้อวดนี้ จึงเกิดเป็นสงครามดังที่ปรากฎในพงศาวดารต่างๆนานา

ซึ่งไม่ต่างไปจากสถานการณ์ในปัจจุบัน

ศักดินา ใหม่อย่างพวกนักการเมืองที่พยายามหลอกใช้ประชาชนเพื่อสร้างอำนาจรัฐให้ตนเอง ยังคงใช้วิธีการเดิมๆดังเช่นในอดีต ไม่รู้ว่าเพราะประชาชน “โง่” หรือประชาชน “ไม่ศึกษา” ประวัติศาสตร์ถึงได้ซ้ำรอยเดิม ซ้ำแล้วซ้ำเล่า
เกือบแปดสิบปีแล้วที่ “ศักดินาใหม่” อย่างพวกนักการเมืองได้เกาะกินทำให้โครงสร้างของประเทศง่อนแง่น เสื่อมโทรม “ศักดินานักการเมือง” คือสิ่งที่นักการเมืองไม่รู้ตัวว่าพวกเขาได้สร้างมันขึ้นมา การได้มาซึ่งอำนาจที่คนกลุ่มนี้ “กระหาย” และ “กระสัน” โดยง่ายยิ่งทำให้คนกลุ่มนี้ได้ใจ การพลัดเปลี่ยนหมุนเวียนขึ้นมาเสวยอำนาจจึงบังเกิดขึ้นใน “ตระกูล” เพียงไม่กี่ตระกูล จนกลายเป็น “อาชีพ” ที่ทำได้เฉพาะเท่านั้น ประชาชนตาดำๆที่มีความคิดดี แต่ไร้ทุน ไร้บารมี ไร้ความน่าเชื่อถือทางสังคม จึงไม่มีโอกาสที่จะได้เป็น “ผู้แทนราษฎร”

และ ที่น่าเกลียดที่ สุดคือคำว่า “เล่น” การเมือง ผมสงสัยเสียเหลือเกินว่า “การเมืองไทย” นี้เป็นเพียงเรื่องเล่นๆของพวกศักดินาใหม่นี้หรืออย่างไรกัน??

และก็เป็นกลุ่มการเมืองอีกตามเคยที่พยายามดึงเอา “สถาบันพระมหากษัตริย์” มาใช้เพื่อหวังประโยชน์ทางการเมือง กลุ่มการเมืองกลุ่มแรกใช้เพื่อเป็น “เกราะ” ป้องกันตนเองจากภัยที่รายรอบตัว และอาศัย(ภาพ)ความจงรักภักดีเป็นฐานก้าวขึ้นสู่อำนาจ ส่วนอีกกลุ่มก็ใช้คำว่า “สถาบันพระมหากษัตริย์” ในทางที่เสื่อมเสีย พยายามใส่ร้ายให้คำว่า “กษัตริย์” เป็นคำที่แสดงถึงความ “ไม่เท่าเทียม” และ “ความกดขี่” ทางสังคม

หากจะเปรียบเทียบสภาพในปัจจุบันนี้ “นักการเมือง” เปรียบเสมือน “เสี้ยน” ในรองเท้าของประชาชน เพราะอำนาจแท้จริงในสมุดไทยบนพานแว่นฟ้านั้นเป็นของประชาชน แต่ทว่า “เสี้ยน” อย่างพวกนักการเมืองที่ตำเท้าประชาชนอยู่นี้กำลังทำให้ประชาชนเดินลำบาก จะเอาออกก็ยากเสียกระไร เจ้าเสี้ยนที่ตำเท้านี้กลับฝังลึกเข้าไปในเท้า หากไม่เอาออกก็เดินไม่สบาย หากจะเอาออกก็คงต้องผ่าตัด เจ็บตัวไปอีกนาน

ระบบการเมืองได้ฝังรากลึกเข้าไปสู่ระบบที่ใหญ่ที่สุดอย่าง “ระบบราชการ” เพื่อความก้าวหน้าทางราชการของข้าราชการบางคนจึงต้องกระตนเยี่ยง “ทาส” ของเจ้าศักดินา รับใช้ระบบศักดินานักการเมืองเพื่อความรุ่งเรืองในหน้าที่การงาน หากใครก็ตามที่ไม่สนองงานนักการเมืองนอกจากจะไม่รุ่งเรืองแล้วอาจจะมีภัย เข้าสู่ชีวิตก็เป็นได้

ดังนั้นจะเห็นได้ว่าเมื่อการเมืองเปลี่ยนระบบราชการก็จะเปลี่ยนแปลงตามไปด้วยเสมอๆ ด้วยสารพัดข้ออ้างของพวกนักการเมือง

จิตร  ภูมิศักดิ์ เขียนไว้ในหนังสือ “โฉมหน้าศักดินาไทย” ว่าชนชั้นศักดินาสูงมักจะคอยเสี้ยมให้ประชาชนทะเลาะเบาะแว้ง กดขี่ทาส โอ้อวดศักดานุภาพและอีกสารพัด แม้ว่าที่จิตร  ภูมิศักดิ์ เขียนนั้นต้องการจะสื่อไปถึงชนชั้นกษัตริย์ก็ตามที แต่ทว่าในยุคเกินกึ่งพุทธกาลมา ๕๓ ปีชนชั้นศักดินาใหม่อย่างพวกนักการเมืองหน้าหนาก็ยังคงใช้วิธีการแบบที่ จิตร  ภูมิศักดิ์ กล่าวไว้คือยุยง กดขี่ โอ้อวด และแสดงศักดาสมกับที่เป็น “ศักดินาใหม่” อย่างแท้จริง

แต่ ก็ใช่ว่านักการเมืองจะเลว ๑๐๐% ซะทีเดียวส่วนดีก็มี เพียงแต่น้อยไปหน่อย น้ำสะอาดเพียงน้อยนิดในวงล้อมน้ำเน่าย่อมไม่มีทางที่จะฟื้นคืนลำคลองให้ใส ได้โดยง่าย ความพยายามที่จะปฏิรูปประเทศไทยของรัฐบาล ก็เท่ากับว่ากำลังจะท้าทายอำนาจศักดินาใหม่ ความพยายามที่จะไปขัดเอาผลประโยชน์ชาติกลับคืนมานั้นตราบใดที่ยังมี “พวกมัน” เป็นหนามในยอดอกอยู่ หากไม่สิ้นความมานะต่อให้ต้องใช้เวลานับสิบปีก็ถือว่าคุ้มค่ากับการลงทุนครั้งมโหฬาร

สังคม ไทยยังคงไว้ซึ่งระบบชน ชั้นที่ไม่ได้อยู่ในรูปธรรม ทุกชนชั้นอยู่ร่วมกันได้โดยสันติ หากเมื่อทุกคนรู้จักหน้าที่อันพึงกระทำ ไม่เบียดเบียนรังแก หรือคดโกงแย่งผลประโยชน์ ความแตกแยกของบ้านเมืองคงไม่ได้เกิดจนเป็นอย่างทุกวันนี้หรอก

คน ไทยเป็นคน “คิดเก่ง” แต่ “ทำไม่เก่ง” ความรู้จุกอกแต่ทำอะไรไม่ได้ ตราบใดที่ประชาชนยังงมงายและมัวเมาตามพวก “ศักดินาใหม่” อย่างไม่ลืมหูลืมตา เขาพูดอะไรก็เชื่อ เขาโปรยเงินเท่าไหร่ก็รับ เมื่อนั้นประเทศไทยก็คงจะย่ำแย่และสิ้นสภาพอย่างแน่นอน!!!!



ไทยเตรียม Big Bag การเงินการทอง เตรียมรับภัยพิบัติจากยุโรปหรือยัง?

กาแฟดำ
     ผมติดตามการ ประชุมวิกฤติหนี้ ของประเทศในยูโรโซน 17 ประเทศ
    และอีก 10 ประเทศยุโรปที่ไม่ใช้เงินสกุลยูโรในช่วงปลายที่ผ่านมาอย่างใจจดใจจ่อ เพราะมีความหวั่น ๆ ว่าเงินสกุล ยูโร อาจจะมีอันต้อง ล่มสลาย เพราะ เอาไม่อยู่
     แม้ จะตกลงกันได้ว่าทั้งหมด (ยกเว้นอังกฤษไม่เอาด้วย) ว่าจะรับรองกฎกติกาชุดใหม่ที่มีบทลงโทษสำหรับประเทศที่ไม่ทำตามเพดานที่ กำหนดสำหรับการสร้างหนี้ แต่ก็ยังไม่ได้แปลว่าจะแก้วิกฤติได้ทั้งหมด
    นายกฯ อังกฤษเดวิด คาเมรอน บอกว่า ที่ไม่ยอมลงนามร่วมด้วย เพราะเงื่อนไขใหม่ไม่เป็นประโยชน์ต่ออังกฤษ
 หนึ่งในมาตรการที่ดูเหมือนจะส่งสัญญาณทางบวกที่ตกลงกันได้หลังจากประชุมมาราธอน คือ การเพิ่มเงินกองทุนสู้วิกฤติอีก 200,000 ล้านยูโร ซึ่งต้องถือว่าเป็นการ อัดฉีด ครั้งใหญ่
เพราะถ้าคราวนี้ เอาไม่อยู่ ก็จะพังกันเป็นแถบเหมือนกัน
    ข่าวบอกว่า การประชุมที่มีผู้นำเยอรมัน และฝรั่งเป็นเป็น หัวหอก สำคัญ ที่กรุงบรัสเซลส์นั้น ต้องสุมหัวถกกันข้ามวันข้ามคืนกันทีเดียว เพราะความเห็นว่าใครจะต้องลงมือทำอะไร ใครจะหาเงินเท่าไร และใครต้องอุ้มใครนั้น ไม่ใช่เรื่องที่จะตกลงกันได้ง่าย ๆ
     ต้องไม่ลืมว่า ประเทศที่อยู่ใน ยูโรโซน มี 17 ประเทศ แต่ที่เป็นยุโรปและอยู่นอกยูโรโซนนั้นมีอีก 10 ประเทศ ที่ชะตากรรมเหมือนจะผูกกันแนบแน่น หากเศรษฐกิจใครเจ๊งขึ้นมาเพราะหนี้สินหนักหน่วง, ก็กลัวกันว่าจะเกิดอาการระบาดลามปามไปหมด
     แต่ครั้นจะตกลงกันว่าต้องช่วยกัน ลงขัน เพื่อจะอุ้มประเทศที่กำลังเผชิญวิกฤติ, ก็ ต้องตอบคำถามผู้เสียภาษีของประเทศที่ต้องออกสตางค์ว่าจะเอาเงินของเขาไปช่วย อีกประเทศหนึ่งที่รัฐบาลบริหารเละเทะจนบ้านเมืองเสียหายมากมายได้อย่างไร
    เยอรมันถูกมองว่าจะต้องเป็นผู้เข้ามาอุ้ม, แต่นายกฯ แองเกลา แมร์เคิล ก็หวั่นว่าหากเธอตัดสินใจเช่นนั้น, เธอจะถูกประชาชนเยอรมันขับออกจากตำแหน่งเพราะเอาเงินภาษีของชาวบ้านไปช่วยคนอื่น และไม่มีอะไรรับรองได้ว่าช่วยแล้วจะรอด หรือรอดแล้ว, ประเทศนั้นๆ จะปรับเนื้อปรับตัวให้มีวินัยในนโยบายการเงินการบริหารหรือไม่
     สามเสือ ของสหภาพยุโรป…เยอรมัน ฝรั่งเศส และ อังกฤษ (นายกฯ แมร์เคิล, ประธานาธิบดีนิโกลาส์ ซาร์โกซี, นายกฯ เดวิด คาเมรอน) ปิดประตูคุยกันก่อนการประชุมเต็มรูปแบบกับสมาชิกอื่นๆ แล้ว…ก็ไม่ได้ทำให้บรรลุข้อตกลงอะไรใหม่ เพราะต่างคนต่างก็ต้องปกป้องผลประโยชน์ของตนเอง ไม่มีใครยอมเสียสละเพื่อใคร แม้จะกลัวว่าผลเสียหายจากประเทศที่เจ็บป่วยหนัก อย่าง กรีซ อิตาลี และอื่นๆ จะลามปามมาสร้างความเสียหายให้กับตนได้มากเพียงใดก็ตาม
    ถ้าถามบรรดา กูรู ของวงการวาณิชธนกิจระดับโลก อย่าง JP Morgan, Nomura International, Morgan Stanley, UBS รวมไปถึงสำนักจัดอันดับความน่าเชื่อถือระดับโลก อย่าง Moody’s Investor Service, และ Standard & Poor ก็จะได้ยินเสียงเตือนเกือบจะเหมือนกันหมดว่า
     ความเสี่ยงของ ยูโรโซน ที่จะแตกสลาย กลายเป็นเรื่อง ตัวใครตัวมัน นั้น มีเปอร์เซ็นต์สูงขึ้นทุกที
    ร่าง ข้อเสนอที่ส่งไปให้ตัวแทนแต่ละประเทศได้พิจารณาก่อนการประชุมสุดยอดครั้งนี้ มีอยู่ประเด็นหนึ่งที่ให้ทุกประเทศกำหนดเพดานที่จะสร้างหนี้ได้ที่ 0.5% ของจีดีพีของตนเอง…ซึ่งถือว่าเป็นมาตรการ รัดเข็มขัด ที่ฉับพลันและรุนแรง เนื่องเพราะเพดานปัจจุบันอยู่ที่ 3%
    เยอรมัน กับฝรั่งเศสผลักดันให้มีกฎกติกาว่าด้วยวินัยทางการเงินการคลังที่เคร่งครัด กว่าเดิมและขอให้เขียนกำหนดเป็นลายกลักษณ์อักษรไว้ในกฎบัตรของสหภาพยุโรปเลย เพื่อป้องกันไม่ให้มีการ เบี้ยว เกิดขึ้น
    และยังขอให้คณะกรรมาธิการยุโรป (European Commission) มีอำนาจในการใช้มาตรการลงโทษประเทศที่ทำผิดกติกาด้วยการกู้เงินเกินเพดานที่กำหนดไว้
    ที่ผ่านมา แม้จะมีข้อตกลงหลวมๆ เรื่องนี้ แต่ก็ไม่มีมาตรการลงโทษประเทศไหนที่ฝ่าฝืนแต่อย่างไร
    อีก ข้อเสนอหนึ่งที่ส่งเข้าพิจารณาคือเงื่อนไขใหม่ที่บอกว่าการที่จะหาเงินมา ช่วยประเทศใดที่มีวิกฤติหนี้นั้นจะต้องไม่บังคับให้นักลงทุนเอกชนเข้า มารับผิดชอบร่วมแบกภาระด้วย…อย่างที่เกิดขึ้นในกรณีเข้าไปช่วยกรีซที่ผ่านมา
    เพราะว่าการบังคับให้เอกชนเข้ามาร่วมรับกรรมด้วยนั้น เป็นมาตรการที่ไม่ยุติธรรม และก่อให้เกิดความแตกตื่นไปทั่วโลกได้
    ประโยคชัดๆ ของนายกฯ หญิงเหล็กเยอรมันที่ดูจะตอกย้ำความรุนแรงของปัญหา คือ ที่เธอประกาศอย่างไม่เกรงใจใครว่า
 ยูโรได้สูญเสียความน่าเชื่อถือแล้ว เราจำเป็นต้องฟื้นฟูความเชื่อมั่นทันที
 และที่ประธานาธิบดีฝรั่งเศส สำทับว่า
 ไม่เคยมีครั้งใดที่ยุโรปมีความจำเป็นขนาดนี้ และไม่เคยมีครั้งใดที่ยุโรปตกอยู่ในสภาพอันตรายขนาดนี้…
     หากว่า ยูโร ล่มสลาย สหรัฐก็จะพลอยเสียหายหนัก แม้จีนที่ดูจะมีเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งที่สุดวันนี้ก็ยังยอมรับว่าน่าหวาดหวั่น
      แม้ ว่าผลการประชุมสุดยอดครั้งนี้จะดูเหมือนมีผลเป็นรูปธรรมมากกว่าเดิม แต่ก็ยังต้องพิสูจน์กันด้วยการลงมือทำจริงหรือไม่ แค่ไหน เรียกว่าประมาทกันไม่ได้เลยแม้แต่น้อย
    ประเทศเล็กๆ เปราะบางอย่างเราเตรียม Big Bag เศรษฐกิจหรือยัง? และแม้ว่าจะมี พนัง กั้นวิกฤติเศรษฐกิจ, ก็ต้องถามตัวเองอย่างจริงจังว่า เอาอยู่ไหม?”
รีโมท ซื้อ รีโมท จากผู้ค้าส่งโดยตรง ที่มีหน้าร้านจริง ที่ บ้านหม้อ และ คลองถม ราคาถูกกว่าใคร ปลอดภัย มีรับประกัน

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

บทความย้อนหลัง