บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันอังคารที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ประมวลภาพการประชุมสภาผู้แทนราษฎรวันแรก ที่อาคารรัฐสภา

โดย Hanoiii Reuters ขอบคุณภาพจาก MTHAI

ส.ส. พร้อมเพรียง
2 ส.ค. 54 Mthai News : ประมวลภาพการประชุมสภาผู้แทนราษฎร สมัยสามัญทั่วไปครั้งแรกที่อาคารรัฐสภาวันนี้ บรรยากาศโดยทั่วไปเป็นไปอย่างคึกคักบรรดาส.ส.ต่างตบเท้าเข้าประชุมกันเพียบ ซึ่งการประชุมครั้งนี้มีนายชัย ชิดชอบ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคภูมิใจไทย เป็นประธานฯ เนื่องจากมีอาวุโสสูงสุด
สำหรับบรรยากาศ โดยรวมก่อนระเบียบวาระประชุมนั้นประธานสภา ได้ให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรยืนถวายความอาลัยต่อการสิ้นพระชนม์ของสมเด็จพระ เจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี
จากนั้นจึงให้ สมาชิกได้ปฏิญาณตนในที่ประชุมก่อนเข้ารับหน้าที่ ตามมาตรา 123 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และเข้าสู่วาระการประชุมเลือกประธานสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ส.ส.ขอนแก่น พรรคเพื่อไทย ได้รับเลือกให้นั่งตำอหน่งดังกล่าวโดยไร้คู่แข่ง

ฟ้าหลังฝนสวยงามเสมอ แต่ขอทำความสะอาดพระองค์ท่านก่อน
ท่านนี้ชื่อไรน๊า อ๋อ พล.อ. ยุทธศักดิ์ ศศิประภา นี่เอง
นพ.เหวง โตจิราการ แกนนำเสื้อแดง

เทพไท เสนพงศ์ บทบาทเก่าที่เล่าใหม่กับฝ่ายค้าน

น้าชูวิทย์ ก็มานะ งานนี้จัดเต็มตั้งแต่วันแรกเลย

วิภูแถลง พัฒนภูมิไท อีกหนึ่งแกนนำเสื้อแดง

จิรายุ ห่วงทรัพย์

พล.อ. สนธิ บุญยรัตกลิน กับบทบาทใหม่ ส.ส. ในสภา

ร.ต.อ.เฉลิม "นี่ไงอดีตนายกฯ อภิสิทธิ์"
ทักทายตามประสาคนวงการเดียวกัน
คงไม่คุยเรื่องลูกกันนะครับ
ภาพแรกของการปรองดอง

พรรคประชาธิปัตย์ นำโดย สุเทพ เทือกสุบรรณ

ฝั่งพรรคเพื่อไทย นำโดย ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง

นายชัย ชิดชอบ ประธานสภาในวันนี้
ว่าที่ประธานสภาคนใหม่
ยังคึกคักอยู่
ใครเป็นใครก็ดูเอาเองนะ
ยังอยู่ที่ฝั่งเพื่อไทย
เพื่อไทย อีกละ
นี่แหละคนที่จะเป็นปากเสียงแทนเรา
เต็มจำนวน
ขอเห็นภาพแบบนี้ในการประชุมครั้งต่อไป (อย่าแอบไปแพลงกลิ้งกันนอกสภานะ)
ก่อนจะเลิกก็ยังคึกคัก
ทักทาย คุณสุเทพ-หมอวรงค์ ส.ส.จากพิษณุโลก
คุณสาทิตย์ วงศ์หนองเตย ประชาธิปัตย์
คุณเก่ง การุณ โหสกุล ร่วมวงสนทนากับภูมิใจไทย
คุณศุภชัย อยากบอกอะไรไหมครับ
เก่ง การุณ โหสกุล ร่วมยินดีกับ ชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์
บิ๊กบัง อีกมุมหนึ่งในสภา
นั่งข้างรักษ์สันติ ของ ร.ต.อ.ปุระชัย ด้วย

แล้วคนไทยคนหนึ่งก็ได้รู้ว่า นปช ต่อต้านอำมาตย์ เพื่อสิ่งนี้ ???

  by รินรู้ดี ,

เมื่อวานวันจันทร์ที่ 1 สิงหาคม 2554 คงเป็นวันที่คนกลุ่มหนึ่งที่มีความสุขที่สุด
มันน่าแปลกใจอยู่เหมือนกัน เราได้เรียนรู้เรื่องความสำเร็จว่า
"ความสำเร็จ เกิดด้วยความเพียรพยายามอย่างต่อเนื่อง"
"กรุงโรม ไม่ได้สร้างเสร็จภายในวันเดียว"
แต่ใช้ไม่ได้กับ คนกลุ่มนี้ ความสำเร็จที่เกิดขึ้นกับพวกเขาในวันนี้
เกิดจากความเพียรพยายาม........... เมื่อปีก่อน
มันเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ขอเรียกว่า ความสำเร็จแบบแ...กด่วน

กับข้ออ้างของความถูกต้อง บนหลักประชาธิปไตย
พวกเขาสร้างคำเพื่อแทนความเกลียดชังให้กับฝ่ายตรงข้ามว่า
"อำมาตย์" และ เขาแทนตัวเอง ว่า "ไพร่แดง"
และมันก็สำเร็จในกระแส ที่ปลุกระดม รุกเร้าให้กับผู้ที่คิดว่า ถูกเอารัดเอาเปรียบ
จากสังคม ใครที่สามารถหยิบยื่นอะไรให้เขาได้แม้จะเป็นหญ้าต้นเดียว
โดยคิดว่าผู้ที่ให้เขาได้ คือ ฮีโร่ หรือ เทพเจ้า
แต่เมื่อวานนี้ คนที่เรียกตัวเองว่า "ไพร่แดง" ทั้งหลาย ได้มาเหยียบย่ำ
สภาหินอ่อน หรือ หากเรียกให้ดีแล้ว มันคือ สภาอำมาตย์
ราศรีของอำมาตย์ มันจับอยู่บน ใบหน้าของไพร่เสียแล้ว อย่างนี้
ต้องคอยดูต่อไปว่า พวกเขาจะทำอย่างไร กับสิ่งที่พวกเขาใช้ความเกลียดชังนั้น
เป็นสะพานข้ามมายืนเป็นไพร่ใส่สูท ในสภาอันทรงเกียรติแห่งนี้
ขอถามคนเสื้อแดงที่อยู่นอกสภา พวกคุณคิดว่า
ตัวแทนของพวกคุณเขาจะคุย เรื่องอะไรกันเมื่อวานนี้
แต่ ขอเตือนอย่างหนึ่งว่า
"ห้ามคิดเข้าข้างตัวเองเด็ดขาด"
  ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาอ่านและแสดงความคิดเห็นเสมอ

ก๋วยเตี่ยวชามละ 70 แล้วข้าวแกงจะเท่าไร ??


ก๋วยเตี่ยวชามละ 70 แล้วข้าวแกงจะเท่าไร ??
by ณสยาม ,


   ใกล้ตัวใกล้ปากมากขึ้นทุกทีกับนโยบายค่าแรงวันละ 300 บาท หากจะพูดตรงๆ  "กรรมกรเฮ พ่อค้าอ๊วก " เพราะนโยบายนี้กระทบต่อกลุ่มนายทุนเห็นๆ แต่ว่าเมื่อขึ้นชื่อว่าเป็นนายทุนแล้ว ในเมื่อมีผู้บริหารอยู่ในมือมากมาย ทางหนีทีใล่เขาคงเตรียมใว้พร้อมหมดคงไม่ปล่อยให้บริษัท เจ็งบรรลัย ล้มละลายหรอก
   ก็ขึ้นอยู่แต่ละกิจการแต่ละมือบริหารว่าจะไปลดต้นทุนส่วนใหนเพื่อจะทดแทนต้น ทุนค่าแรงงานที่เพิ่มขึ้นมา หรือว่าจะไปเพิ่มรายได้ซึ่งแน่นอนต้องอยู่ในใจของนายทุนทั้งหลายที่ต้องการ ผลกำไรจากการประกอบการ
    การเพิ่มรายได้ของคนที่เห็นแก่ตัวคือการเพิ่มราคาขายโดยอ้างถึงต้นทุนขาย ที่เพิ่มขึ้น ซึ่งเขาอาจจะไปปรับลดต้นทุนอื่นชดเชยต้นทุนค่าแรงไปแล้ว ซึ่งในวิธีนี้อาจจะได้สองเด้ง และดูดีในสายตาของคนทั่วไป
    แต่หากว่ากิจการใดไม่สามารถที่จะไปลดต้นทุนอื่นได้เพื่อชดเชยค่าแรงที่เพิ่ม ขึ้นมาก็จะปรับราคาสินค้าขึ้นมาเพื่อชดเชย อาจจะเข้าทางทฤษฏีสองสูง ของเจ้าสัว ค่าแรงสูง ราคาสินค้าสูง คู่กันไป แต่หากจะมองให้ลึกลงไปจริงๆแล้ว ผู้ประกอบการจะเป็นผู้ได้ผลประโยชน์มากกว่าผู้ใช้แรงงาน
   แต่หากมามองในฐานะลูกจ้างการปรับค่าแรงขึ้น 300 บาท/วัน หากว่าสินค้าอื่นไม่ปรับตามถือว่าค่าครองชีพยังเท่าเดิมยอมจะมีเงินใช้มากขึ้นหรือว่าจะเหลือว่าเป็นเงินออมมากขึ้นเช่นกัน
   แต่ว่ามันไม่เป็นเช่นนั้นเพราะว่าในเมื่อค่าแรงขึ้นตามธรรมชาติของนายทุนก็ จะขึ้นราคาสินค้าควบคู่กันไปซึ่งส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่ให้สินค้าอื่นๆแห่ขึ้น ตามกันมาทั้งหมด ผลสุดท้ายหรือท้ายสุดผลกระทบก็มาสู่ตัวเราเอง จากค่าครองชีพเพิ่มสูงขึ้น
   จากข่าวการปรับค่าแรง 300 บาท/วัน จะส่งผลให้ต้นทุนค่าแรงเพิ่มขึ้น 40% และส่งผลให้ราคาอาหารปรับเพิ่มขึ้น 40% นั้นหมายความว่าก๋วยเตียวจากปกติชามละ 35-40 บาท อาจปรับเป็น 60-70 บาท
      หากก๋วยเตี่ยว ชาม 70 บาทจริง ข้าวแกง ปกติจานละ 35-40 บาทเหมือนกัน ก็คงจะเพิ่มขึ้นพอๆกับราคาก๋วยเตี่ยว คือต่อไป ข้าวแกงก็คงจะจานละ 70 บาท
     หากเป็นเช่นนี้จริง ท่านพอจะรับได้หรือไม่ ??
  คนที่มีรายได้สูงคงมีผลกระทบบ้างเล็กน้อยจากค่าครองชีพที่สูงขึ้นเพราะการใช้จ่ายก็จะสูงขึ้นตามตัวสินค้าที่ปรับขึ้น
   แต่ถ้าคนที่มีรายได้ต่ำจะได้รับผลกระทบมากที่สุด คิดง่ายๆหากท่านทานข้าววันละสามมื้อ หากมื้อละ 70 บาท จะตกวันละ 210บาทซึ่งหากรวมค่าน้ำไปด้วยจะประมาณ 231 บาท เทียบเท่ากับ 77% ของรายได้ต่อวัน คือ 300 บาท เพราะฉนั้นจะมีเงินเหลือแค่ 69 บาท/วัน เท่านั้นเอง
   นโยบายการปรับค่าแรงของรัฐบาลใหม่หากจริงใจจะทำและต้องการทำให้ดี ต้องการปรับเพื่อกรรมกรผู้ที่มีรายได้น้อยที่ไม่ถึง300บาทต่อวันจริงๆ
  สิ่งที่ต้องทำ รัฐบาลใหม่ต้องควบคุมราคาสินค้าให้ได้ ไม่ให้มีการปรับราคาให้สูงขึ้น
   หากรัฐบาลใหม่ทำได้ ก็หวังว่า ราคาก๋วยเตี่ยวและข้าวแกง ก็คงจะไม่ถึง 70 บาท นะครับ
  
      ขอบคุณภาพจากhttp://www.bloggang.com/mainblog.php?id=bless&month=12-04-2008&group=9&gblog=2

กรณีการเก็บค่าภาคหลวงจากการขุดเจาะน้ำมันของปิโตรเลียมไทย




 อ.ประสาท มีแต้ม

รัฐบาลไหน ๆ ก็แค่หุ่นเชิดในมือของบริษัทพลังงาน!

           ในขณะที่ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อการครองชีพของประชาชน  รัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ก็เข้าแทรกแซงราคาน้ำมันดีเซล (ซึ่งเชื่อว่ามีผลต่อราคาสินค้ามาก) ไม่ให้เกิน 30 บาทต่อลิตร
            วิธีการของรัฐบาลก็คือ เริ่มต้นด้วยการ (1) ลดการเก็บเงินเข้ากองทุนอนุรักษ์พลังงาน ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อการรณรงค์ประหยัดพลังงาน  (2) นำเงินกองทุนน้ำมันมาชดเชย และ (3) หากราคาน้ำมันดิบยังคงพุ่งสูงขึ้นอีกในปี 2554 รัฐบาลก็มีแนวคิดที่จะลดภาษีสรรพสามิตลงมา ทั้งนี้เพื่อไม่ให้ราคาน้ำมันดีเซลราคาเกิน 30 บาทต่อลิตร
            ณ วันที่ 29 ธันวาคม 2553 ราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลในเขตกรุงเทพมหานครอยู่ที่ลิตรละ  29.99 บาท ในจำนวนนี้เป็นค่าภาษีสรรพสามิต 5.31 บาท ค่ากองทุนอนุรักษ์พลังงาน 0.25 บาท  โดยที่ได้นำเงินกองทุนน้ำมันมาชดเชย 0.35 บาท
            ในวันนี้ราคาน้ำมันดิบอยู่ที่ประมาณ 91 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล แต่อย่าลืมว่าในปี 2551 มันเคยขึ้นไปสูงสุด 142  หรือสูงกว่าราคาวันนี้ไปถึง  56 %
            ผมมีคำถาม 2 ข้อที่อยากจะถามรัฐบาลหรือชวนผู้อ่านร่วมกันคิด
              ข้อแรก แล้วรัฐบาลจะเอาเงินภาษีที่ไหนมาบริหารประเทศ เพราะจากตัวเลขดังกล่าว ในแต่ละปีรัฐบาลมีรายได้จากภาษีน้ำมันดีเซลถึงประมาณ  5-6  หมื่นล้านบาท  ถ้าไม่เก็บส่วนนี้ จะเอาเงินที่ไหนมาทำถนน มาให้นักการเมืองโกง (ฮา)
            ข้อที่สอง ทำไมรัฐบาลไม่หันกลับไปดูบ้างว่า บริษัทน้ำมันได้คิดค่าการกลั่นและค่าการตลาดในอัตราเท่าใด เป็นธรรมกับผู้บริโภคหรือไม่ สูงหรือต่ำกว่าประเทศอื่น ๆ หรือไม่ เป็นต้น
แทนที่จะคิดแต่ในกรอบของข้อแรกอยู่ร่ำไป
            จากข้อมูลของกระทรวงพลังงาน (29 ธ.ค. 53) พบว่า  ค่าการกลั่น (หมายถึงราคาขายเฉลี่ยหน้าโรงกลั่นของผลิตภัณฑ์ทุกชนิดลบด้วยราคาน้ำมันดิบ) อยู่ที่ลิตรละ 1 บาท 12 สตางค์ต่อลิตร
            สำหรับค่าการตลาดเฉลี่ย (หมายถึงรายได้บริษัทขายส่งน้ำมันหน้าโรงกลั่นรวมกับรายได้ของปั๊มน้ำมัน โดยที่ค่าขนส่งน้ำมันเป็นภาระของผู้เติมน้ำมัน)  อยู่ลิตรละ  1 บาท 23 สตางค์ (เท่าที่ผมทราบเจ้าของปั๊มน้ำมันจะได้ในช่วง 50 ถึง 75 สตางค์)


ค่าภาคหลวง คล้ายการ เก็บภาษี ใช้กับน้ำมัน แร่ธาตุ ฯลฯ ผลประโยชน์ที่เก็บเข้ารัฐจา​กการขุดเจาะ ขายน้ำมันที่ควรเก็บมากกว่านี้ และควรเอามาใช้พัฒนาประเทศใ​ห้เกิดประโยชน์ต่อส่วนรวม(ป​ระชาชนทั้งประเทศ โดยเท่าเทียม)จริงๆ ไม่ใช่เอื้อประโยชน์ให้คนไม่กี่ตระกูล

ขอบคุณข้อมูลจากพี่ Dada Dew 



ค่าภาคหลวง คือค่าธรรมเนียม ซึ่งกฎหมายกำหนดให้ผู้ได้รั​บอนุญาตให้ทำการหาประโยชน์จ​ากทรัพยากรของชาติต้องชำระใ​ห้แก่รัฐ

http://www.uthailocal.go.t​h/dnm_file/govdoc_stj/323_​center.PDF
ลองดูที่เค้าให้การโอนเงินค​่าภาคหลวงปิโตรเลียมงวดที่1​/2554


 จากพี่ Amy Wong
รีโมท ซื้อ รีโมท จากผู้ค้าส่งโดยตรง ที่มีหน้าร้านจริง ที่ บ้านหม้อ และ คลองถม ราคาถูกกว่าใคร ปลอดภัย มีรับประกัน

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

บทความย้อนหลัง