ผ่าประเด็นร้อน
ไม่ น่าเชื่อว่ายังไม่ทันเริ่มงานบริหารบ้านเมืองอย่างเป็น เรื่องเป็นราว แต่กลับกลายเป็นว่ารัฐบาลพรรคเพื่อไทยที่ชนะการเลือกตั้งอย่างถล่มทลาย จนทำให้ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร มีแนวโน้มจะได้เป็นนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกในอีกไม่กี่วันข้างหน้า กำลังจะพบกับแรงต่อต้านอย่างขนานใหญ่จากนโยบายประชานิยมที่ก่อนหน้านี้เคย ถูกอกถูกใจของชาวบ้านรากหญ้าทั่วบ้านทั่วเมืองมาแล้ว
ถามว่ามันเกิดอะไรขึ้น ทำไมมันถึงได้พลิกกลับตาลปัตรแบบนี้!!
แม้ว่าล่าสุดทางคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) จะยังไม่รับรองผลการเลือกตั้งของเธอรวมไปถึงคนอื่นๆ ก็ตาม แต่เชื่อว่าในที่สุดแล้วคงจะต้องให้ผ่านไปก่อน ในวันพิจารณารอบสองวันที่ 19 กรกฎาคมนี้อย่างแน่นอน
อย่างไรก็ดี สิ่งที่ต้องแยกมาพิจารณาก็คือ ทำไมนโยบายประชานิยมเที่ยวนี้ จึงทำท่ามีปัญหา มีปรากฏการณ์ที่ส่อให้เห็นว่าจะแรงต่อต้านและเกิดผลกระทบในวงกว้างได้ขนาดนี้ ก็ ต้องบอกว่าเที่ยวนี้เป็นนโยบายประชานิยมที่ไปกระทบกับภาคเอกชนเป็นหลัก ซึ่งผิดไปจากคราวที่แล้วที่เกือบทั้งหมดเกี่ยวข้องกับภาครัฐ และการใช้งบประมาณจากนโยบายภาครัฐเท่านั้น และเกี่ยวข้องกับชาวบ้านระดับล่างโดยตรง
ยกตัวอย่างให้เห็นภาพก็คือ นโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรค โครงการพักหนี้เกษตรกร กองทุนหมู่บ้าน หวยบนดิน หรือต่อเนื่องมาจนถึงรัฐบาลนอมินี สมัคร-สมชาย ที่นำร่องในเรื่องโครงการรถไฟ-รถเมล์-ค่าน้ำ-ค่าไฟฟรี ล้วนแล้วแต่เกี่ยวข้องกับภาครัฐ สถาบันการเงินของรัฐ การใช้งบประมาณของรัฐ ทั้งสิ้น ซึ่งแน่นอนว่าต้องสร้างความพอใจให้กับชาวบ้านคนยากจนที่ด้อยโอกาส แม้ว่าในความเป็นจริงแล้วผลประโยชน์หรือเม็ดเงินในท้ายที่สุดจะตกอยู่กับ ธุรกิจในเครือของครอบครัวชินวัตร และกลุ่มทุนในพรรคไทยรักไทยในอดีตก็ตาม แต่ก็ถือว่าคนพวกนี้ชื่นมื่น มีความสุขกันทั่วหน้า
อีกทั้งหากพิจารณาในทางเศรษฐศาสตร์ในช่วงนั้นถือว่าเป็นยุคที่ผ่าน พ้นวิกฤตเศรษฐกิจ “ต้มยำกุ้ง” กำลังอยู่ในช่วงวงจร “ขาขึ้น” และยิ่งมาเจอกับมาตรการ “กระตุ้น” ด้วยนโยบายประชานิยมดังกล่าวก็เหมือนสองแรงบวก พุ่งกระฉูด ทักษิณ ชินวัตร ในยุคนั้นก็ต้องเป็น “ฮีโร่” ปฏิเสธความจริงข้อนี้ไม่ได้ และกลายเป็นยี่ห้อประกันความสุขของรากหญ้ามาจนถึงทุกวันนี้ แม้ว่าในข้อเท็จจริงแล้วภาพมันช่างตัดกันอย่างสิ้นเชิง เพราะเขาทำธุรกิจผูกขาด หากินกับสัมปทานของรัฐที่ผ่านการวิ่งเต้นการฝ่ายการเมืองมาตลอด ที่สำคัญต้นตอแห่งความผูกขาดดังกล่าวล้วนแล้วแต่เกิดขึ้นจากการวิ่งเข้า หากลุ่มเผด็จการทหารทั้งสิ้น แต่กลายเป็นว่าเขากลับถูกสร้างภาพให้เป็นนักประชาธิปไตยหน้าตาเฉย
วกกลับมาที่นโยบายประชานิยมรอบใหม่ ทำให้พรรคเพื่อไทยชนะการเลือกตั้งอย่างถล่มทลาย แต่เมื่อพิจารณาจากแนวโน้มแล้วเชื่อว่าจะไม่ราบรื่นเหมือนคราวที่แล้ว เนื่องจากคราวนี้มีผลกระทบต่อภาคเอกชนโดยตรง โดยเฉพาะกลุ่มทุนทุกระดับ
หากแยกออกมาพิจารณาเฉพาะ “บางรายการ” ก่อนต้องยอมรับว่า นโยบายปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาทต่อวันเท่ากันทั่วประเทศ ปรับเงินเดือนให้กับผู้จบปริญญาตรีสตาร์ทเริ่มต้น 15,000 บาท และ “ทำทันที” ก็ต้องยอมรับว่าโดนใจคนไทยส่วนใหญ่เป็นแน่ เพราะนี่คือรายได้ที่เพิ่มขึ้นมาถึง 20-40 เปอร์เซ็นต์ ฝันหวานว่า ต่อไปไม่จำเป็นต้องดั้นด้นเข้ามาทำงานในกรุงเทพฯก็ได้ อยู่เชียงราย หนองคาย นราธิวาส ก็มีรายได้เท่ากัน เป็นใครก็ต้องแฮปปี้
นั่นเป็นมุมของคนจนหาเช้ากินค่ำ และนักศึกษาทั้งจบใหม่และกำลังจะจบการศึกษาไม่ว่าถามใครก็ต้องชื่นชอบอยู่ แล้ว เห็นเป็นรูปธรรม จึงต้องเทใจให้เต็มร้อย
แต่ถ้าไปพิจารณาในมุมของภาคธุรกิจอุตสาหกรรม กลุ่มทุนต่างๆ ทั้งขนาดใหญ่ ขนาดกลางและขนาดเล็กนับแสนๆราย ที่จะต้องจ่ายค่าแรงวันละ 300 บาท รับรองว่าจะต้องเกิดแรงกระเพื่อมขนานใหญ่แน่ ซึ่งล่าสุดสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (สอท.) ก็ออกโรงคัดค้านอย่างชัดเจนเป็นกลุ่มแรก โดยให้เหตุผลว่า “รับไม่ได้” เพราะทำให้ภาคธุรกิจเจ๊งกันระนาว การลงทุนจากต่างประเทศจะต้องเบนเข็มไปประเทศอื่นแน่นอน
มองในภาพรวมที่กลุ่มทุนเหล่านี้จะต้องได้รับผลกระทบ ซึ่งในที่สุดแล้วผลร้ายก็จะตกกลับมาสู่ชาวบ้าน กรรมกรหาเช้ากินค่ำนั่นแหละ เพราะถูกเลิกจ้าง หรือธุรกิจเจ๊ง
อย่างไรก็ดี สิ่งที่ต้องพิจารณาลงไปให้ลึกลงไปกว่านั้นก็คือ ไม่ว่านโยบายปรับเพิ่มค่าแรง 300 บาทจะแปรเปลี่ยนเป็นการปรับให้เฉพาะกรุงเทพฯรวมถึงภูเก็ตก็ตาม แต่ก็ถือว่าสร้างผลกระทบตามมาในวงกว้างอยู่ดี ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการแห่เข้ามาหางานทำในกรุงเทพฯ คนต่างด้าวทะลักเข้ามา ค่าครองชีพ เงินเฟ้อที่สูงขึ้น ฯลฯ
ขณะเดียวกัน ในบรรดากลุ่มทุน นักธุรกิจ ผู้ประกอบการต่างๆ ที่ต้องได้รับผกระทบโดยตรง แม้ว่านาทีนี้ยังไม่มีรายละเอียดออกมาจากรัฐบาลใหม่ ทั้งในเรื่องมาตรการเยียวยาออกมา โดยอ้างว่ายังไม่มีการรับรองอย่างเป็นทางการก็ตาม แต่ก็ย่อมปฏิเสธไม่ได้อย่างแน่นอนว่า ในเบื้องต้นพวกเขาคัดค้านอย่างหัวชนฝา
ที่ น่าสนใจก็คือ ในบรรดากลุ่มเหล่านี้ย่อมต้องมีกลุ่ม “ทุนเสื้อแดง” ที่ให้การสนับสนุนรัฐบาล ทักษิณ และพรรคเพื่อไทยมาตลอด รวมไปถึงการชุมนุมที่ผ่านมาอีกด้วย แต่ในเมื่องานนี้มีผลกระทบต่อความอยู่รอดและต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้นอย่าง รวดเร็ว แม้ว่าที่ผ่านมาอาจจะหลงไหลเคลิบเคลื้มไปอย่างสุดลิ่ม แต่เมื่อตั้งสติได้รู้ว่าความเดือดร้อนกำลังมาเยือน มันก็ต้องออกโรงกันเต็มกำลัง และถึงได้บอกว่าประชานิยมรอบใหม่ส่อเค้าป่วน เพราะจะเดินหน้าก็ต้องสร้างศัตรูกับทุนทุกกลุ่ม แต่หากจะถอยหลังก็ต้องถูกด่าจากมวลชน คำว่า “ดีแต่พูด” ดีแต่โม้ จะย้อนเข้าตัว
ดังนั้น นี่คือศึกหนักที่รอรัฐบาลพรรคเพื่อไทย และ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อยู่ข้างหน้า เพราะเที่ยวนี้เป็นการเปิดศึกกับภาคธุรกิจทั้งประเทศ!!
ไม่ น่าเชื่อว่ายังไม่ทันเริ่มงานบริหารบ้านเมืองอย่างเป็น เรื่องเป็นราว แต่กลับกลายเป็นว่ารัฐบาลพรรคเพื่อไทยที่ชนะการเลือกตั้งอย่างถล่มทลาย จนทำให้ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร มีแนวโน้มจะได้เป็นนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกในอีกไม่กี่วันข้างหน้า กำลังจะพบกับแรงต่อต้านอย่างขนานใหญ่จากนโยบายประชานิยมที่ก่อนหน้านี้เคย ถูกอกถูกใจของชาวบ้านรากหญ้าทั่วบ้านทั่วเมืองมาแล้ว
ถามว่ามันเกิดอะไรขึ้น ทำไมมันถึงได้พลิกกลับตาลปัตรแบบนี้!!
แม้ว่าล่าสุดทางคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) จะยังไม่รับรองผลการเลือกตั้งของเธอรวมไปถึงคนอื่นๆ ก็ตาม แต่เชื่อว่าในที่สุดแล้วคงจะต้องให้ผ่านไปก่อน ในวันพิจารณารอบสองวันที่ 19 กรกฎาคมนี้อย่างแน่นอน
อย่างไรก็ดี สิ่งที่ต้องแยกมาพิจารณาก็คือ ทำไมนโยบายประชานิยมเที่ยวนี้ จึงทำท่ามีปัญหา มีปรากฏการณ์ที่ส่อให้เห็นว่าจะแรงต่อต้านและเกิดผลกระทบในวงกว้างได้ขนาดนี้ ก็ ต้องบอกว่าเที่ยวนี้เป็นนโยบายประชานิยมที่ไปกระทบกับภาคเอกชนเป็นหลัก ซึ่งผิดไปจากคราวที่แล้วที่เกือบทั้งหมดเกี่ยวข้องกับภาครัฐ และการใช้งบประมาณจากนโยบายภาครัฐเท่านั้น และเกี่ยวข้องกับชาวบ้านระดับล่างโดยตรง
ยกตัวอย่างให้เห็นภาพก็คือ นโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรค โครงการพักหนี้เกษตรกร กองทุนหมู่บ้าน หวยบนดิน หรือต่อเนื่องมาจนถึงรัฐบาลนอมินี สมัคร-สมชาย ที่นำร่องในเรื่องโครงการรถไฟ-รถเมล์-ค่าน้ำ-ค่าไฟฟรี ล้วนแล้วแต่เกี่ยวข้องกับภาครัฐ สถาบันการเงินของรัฐ การใช้งบประมาณของรัฐ ทั้งสิ้น ซึ่งแน่นอนว่าต้องสร้างความพอใจให้กับชาวบ้านคนยากจนที่ด้อยโอกาส แม้ว่าในความเป็นจริงแล้วผลประโยชน์หรือเม็ดเงินในท้ายที่สุดจะตกอยู่กับ ธุรกิจในเครือของครอบครัวชินวัตร และกลุ่มทุนในพรรคไทยรักไทยในอดีตก็ตาม แต่ก็ถือว่าคนพวกนี้ชื่นมื่น มีความสุขกันทั่วหน้า
อีกทั้งหากพิจารณาในทางเศรษฐศาสตร์ในช่วงนั้นถือว่าเป็นยุคที่ผ่าน พ้นวิกฤตเศรษฐกิจ “ต้มยำกุ้ง” กำลังอยู่ในช่วงวงจร “ขาขึ้น” และยิ่งมาเจอกับมาตรการ “กระตุ้น” ด้วยนโยบายประชานิยมดังกล่าวก็เหมือนสองแรงบวก พุ่งกระฉูด ทักษิณ ชินวัตร ในยุคนั้นก็ต้องเป็น “ฮีโร่” ปฏิเสธความจริงข้อนี้ไม่ได้ และกลายเป็นยี่ห้อประกันความสุขของรากหญ้ามาจนถึงทุกวันนี้ แม้ว่าในข้อเท็จจริงแล้วภาพมันช่างตัดกันอย่างสิ้นเชิง เพราะเขาทำธุรกิจผูกขาด หากินกับสัมปทานของรัฐที่ผ่านการวิ่งเต้นการฝ่ายการเมืองมาตลอด ที่สำคัญต้นตอแห่งความผูกขาดดังกล่าวล้วนแล้วแต่เกิดขึ้นจากการวิ่งเข้า หากลุ่มเผด็จการทหารทั้งสิ้น แต่กลายเป็นว่าเขากลับถูกสร้างภาพให้เป็นนักประชาธิปไตยหน้าตาเฉย
วกกลับมาที่นโยบายประชานิยมรอบใหม่ ทำให้พรรคเพื่อไทยชนะการเลือกตั้งอย่างถล่มทลาย แต่เมื่อพิจารณาจากแนวโน้มแล้วเชื่อว่าจะไม่ราบรื่นเหมือนคราวที่แล้ว เนื่องจากคราวนี้มีผลกระทบต่อภาคเอกชนโดยตรง โดยเฉพาะกลุ่มทุนทุกระดับ
หากแยกออกมาพิจารณาเฉพาะ “บางรายการ” ก่อนต้องยอมรับว่า นโยบายปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาทต่อวันเท่ากันทั่วประเทศ ปรับเงินเดือนให้กับผู้จบปริญญาตรีสตาร์ทเริ่มต้น 15,000 บาท และ “ทำทันที” ก็ต้องยอมรับว่าโดนใจคนไทยส่วนใหญ่เป็นแน่ เพราะนี่คือรายได้ที่เพิ่มขึ้นมาถึง 20-40 เปอร์เซ็นต์ ฝันหวานว่า ต่อไปไม่จำเป็นต้องดั้นด้นเข้ามาทำงานในกรุงเทพฯก็ได้ อยู่เชียงราย หนองคาย นราธิวาส ก็มีรายได้เท่ากัน เป็นใครก็ต้องแฮปปี้
นั่นเป็นมุมของคนจนหาเช้ากินค่ำ และนักศึกษาทั้งจบใหม่และกำลังจะจบการศึกษาไม่ว่าถามใครก็ต้องชื่นชอบอยู่ แล้ว เห็นเป็นรูปธรรม จึงต้องเทใจให้เต็มร้อย
แต่ถ้าไปพิจารณาในมุมของภาคธุรกิจอุตสาหกรรม กลุ่มทุนต่างๆ ทั้งขนาดใหญ่ ขนาดกลางและขนาดเล็กนับแสนๆราย ที่จะต้องจ่ายค่าแรงวันละ 300 บาท รับรองว่าจะต้องเกิดแรงกระเพื่อมขนานใหญ่แน่ ซึ่งล่าสุดสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (สอท.) ก็ออกโรงคัดค้านอย่างชัดเจนเป็นกลุ่มแรก โดยให้เหตุผลว่า “รับไม่ได้” เพราะทำให้ภาคธุรกิจเจ๊งกันระนาว การลงทุนจากต่างประเทศจะต้องเบนเข็มไปประเทศอื่นแน่นอน
มองในภาพรวมที่กลุ่มทุนเหล่านี้จะต้องได้รับผลกระทบ ซึ่งในที่สุดแล้วผลร้ายก็จะตกกลับมาสู่ชาวบ้าน กรรมกรหาเช้ากินค่ำนั่นแหละ เพราะถูกเลิกจ้าง หรือธุรกิจเจ๊ง
อย่างไรก็ดี สิ่งที่ต้องพิจารณาลงไปให้ลึกลงไปกว่านั้นก็คือ ไม่ว่านโยบายปรับเพิ่มค่าแรง 300 บาทจะแปรเปลี่ยนเป็นการปรับให้เฉพาะกรุงเทพฯรวมถึงภูเก็ตก็ตาม แต่ก็ถือว่าสร้างผลกระทบตามมาในวงกว้างอยู่ดี ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการแห่เข้ามาหางานทำในกรุงเทพฯ คนต่างด้าวทะลักเข้ามา ค่าครองชีพ เงินเฟ้อที่สูงขึ้น ฯลฯ
ขณะเดียวกัน ในบรรดากลุ่มทุน นักธุรกิจ ผู้ประกอบการต่างๆ ที่ต้องได้รับผกระทบโดยตรง แม้ว่านาทีนี้ยังไม่มีรายละเอียดออกมาจากรัฐบาลใหม่ ทั้งในเรื่องมาตรการเยียวยาออกมา โดยอ้างว่ายังไม่มีการรับรองอย่างเป็นทางการก็ตาม แต่ก็ย่อมปฏิเสธไม่ได้อย่างแน่นอนว่า ในเบื้องต้นพวกเขาคัดค้านอย่างหัวชนฝา
ที่ น่าสนใจก็คือ ในบรรดากลุ่มเหล่านี้ย่อมต้องมีกลุ่ม “ทุนเสื้อแดง” ที่ให้การสนับสนุนรัฐบาล ทักษิณ และพรรคเพื่อไทยมาตลอด รวมไปถึงการชุมนุมที่ผ่านมาอีกด้วย แต่ในเมื่องานนี้มีผลกระทบต่อความอยู่รอดและต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้นอย่าง รวดเร็ว แม้ว่าที่ผ่านมาอาจจะหลงไหลเคลิบเคลื้มไปอย่างสุดลิ่ม แต่เมื่อตั้งสติได้รู้ว่าความเดือดร้อนกำลังมาเยือน มันก็ต้องออกโรงกันเต็มกำลัง และถึงได้บอกว่าประชานิยมรอบใหม่ส่อเค้าป่วน เพราะจะเดินหน้าก็ต้องสร้างศัตรูกับทุนทุกกลุ่ม แต่หากจะถอยหลังก็ต้องถูกด่าจากมวลชน คำว่า “ดีแต่พูด” ดีแต่โม้ จะย้อนเข้าตัว
ดังนั้น นี่คือศึกหนักที่รอรัฐบาลพรรคเพื่อไทย และ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อยู่ข้างหน้า เพราะเที่ยวนี้เป็นการเปิดศึกกับภาคธุรกิจทั้งประเทศ!!