บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันจันทร์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

บริษัทบริวาร : ฐานอำนาจของผู้นำ


โดย สามารถ มังสัง

       “เสาเข็ม และก้อนอิฐที่วางซ้อนกันอย่างเป็นระเบียบ เป็นฐานรองรับให้ยอดเจดีย์ตั้งตระหง่านเป็นที่เคารพนับถือของเหล่าชนผู้ ศรัทธาเป็นเวลายาวนานได้ฉันใด บริษัทบริวารที่ดี ย่อมเป็นฐานกำลังค้ำจุนอำนาจให้ผู้นำอยู่ได้นานฉันนั้น” นี่คือแง่คิดที่ผู้เขียนคิดได้ เมื่อได้อ่านคำสอนของพระพุทธเจ้าที่ทรงแสดงไว้ในส่วนที่เกี่ยวกับบริษัท ซึ่งมีความหมายตรงกับคำในภาษาไทยว่าบริวารหรือลูกน้อง
      
        คำสอนที่ว่านี้มีที่มาปรากฏในพระไตรปิฎก เล่มที่ 20 ปริสวรรค อันเป็นวรรคหรือหมวดที่ 5 ความโดยย่อว่า
      
        บริษัท 2 อย่างคือ ตื้นอย่างหนึ่ง ลึกอย่างหนึ่ง ที่ชื่อว่าตื้นเพราะขาดคุณธรรม ที่ชื่อว่าลึกเพราะมีคุณธรรม บริษัท 2 อย่างคือที่ (แตก) เป็นพวก กับที่พร้อมเพรียงกัน บริษัท 2 อย่างคือที่มีคนเลิศ กับที่ไม่มีคนเลิศ ที่ไม่มีคนเลิศคือ ที่มักมาก ย่อหย่อน เห็นแก่นอน ทอดธุระในความสงัด ที่มีคนเลิศคือที่ตรงกันข้าม บริษัท 2 อย่างคือที่ไม่ประเสริฐกับที่ประเสริฐ ที่ไม่ประเสริฐเพราะไม่รู้อริยสัจ 4 ตามความเป็นจริง ที่ประเสริฐเพราะรู้อริยสัจ 4 ตามความเป็นจริง บริษัท 2 อย่างคือบริษัทขยะ กับบริษัทที่มีแก่นสาร บริษัทขยะคือที่ลำเอียงเพราะรัก เพราะชัง เพราะหลง เพราะกลัว ที่มีแก่นสารคือที่ไม่ลำเอียงเพราะรัก เป็นต้น
      
        บริษัท 2 อย่างคือที่แนะนำยาก กับที่แนะนำง่าย บริษัท 2 อย่างคือที่หนักในอามิส ไม่หนักในสัทธรรม กับที่หนักในสัทธรรม ไม่หนักในอามิส บริษัท 2 อย่างคือที่ไม่สม่ำเสมอ กับที่สม่ำเสมอ (กำหนดด้วยการกระทำที่ไม่ถูกธรรม ไม่ถูกวินัย และถูกธรรม ถูกวินัย) บริษัท 2 อย่างคือที่ไม่ประกอบด้วยธรรม กับที่ประกอบด้วยธรรม
      
        จากคำสอนดังกล่าวข้างต้น จะเห็นได้ว่าพระพุทธองค์ได้ทรงแบ่งบริษัทออกเป็น 2 ประเภท คือ ประเภทที่ไม่ดี และประเภทที่ดี รวม 18 ประเภทดังนี้
      
        ประเภทที่ไม่ดี 9 ประเภท คือ
      
        1. ที่ตื้น เพราะขาดคุณธรรม
      
        2. ที่ (แตก) เป็นพวก
      
        3. ที่ไม่มีคนเลิศ
      
        4. ที่ไม่ประเสริฐ
      
        5. ที่ (เป็นเหมือน) ขยะ
      
        6. ที่แนะนำยาก
      
        7. ที่หนักในอามิส ไม่หนักในธรรม
      
        8. ที่ไม่สม่ำเสมอ
      
        9. ที่ไม่ประกอบด้วยธรรม
      
        ประเภทที่ดีคือมีลักษณะตรงกันข้ามกับประเภทที่ไม่ดี 9 ประเภท คือ
      
        1. ที่ลึก เพราะมีคุณธรรม
      
        2. ที่พร้อมเพรียงกัน
      
        3. ที่มีคนเลิศ
      
        4. ที่ประเสริฐ
      
        5. ที่มีแก่นสาร
      
        6. ที่แนะนำง่าย
      
        7. ที่หนักในสัทธรรม ไม่หนักในอามิส
      
        8. ที่สม่ำเสมอ
      
        9. ที่ประกอบด้วยธรรม
      
        จากการแบ่งประเภททั้งในส่วนที่ไม่ดี และส่วนที่ดี จะเห็นได้ชัดเจนว่าพระพุทธองค์จะทรงเน้นบ่อเกิดแห่งพฤติกรรมครบทั้ง 3 คือ มโนกรรม วจีกรรม และกายกรรม และในแต่ละประเภททั้งในส่วนไม่ดี และส่วนดีเข้าใจได้ไม่ยาก จะมีอยู่บ้างบางข้อที่อาจทำให้ผู้ไม่คุ้นเคยกับพระธรรมคำสอนของพุทธศาสนาไม่ เข้าใจ ดังนั้นจะยกมาอธิบายขยายความเพิ่มเติมในส่วนที่เห็นว่าเป็นประโยชน์แก่ สาธุชนคนทั่วไปที่ฝักใฝ่อยากทำดี ดังนี้
      
        ข้อที่ว่าไม่ประเสริฐเพราะไม่รู้อริยสัจ 4 ตามความเป็นจริงในแง่ของโลกียชน ก็คือ ไม่รู้ว่าอะไรคือเหตุ อะไรคือผล และไม่รู้วิธีแก้ปัญหาให้ตรงกับเหตุ ทำให้สับสนวกวน และในที่สุดแก้ปัญหาไม่ได้
      
        ข้อที่ว่าหนักในอามิส ไม่หนักในสัทธรรม หมายถึงว่า เห็นแก่ได้โดยไม่คำนึงถึงความถูกต้อง และความเป็นธรรม
      
        ข้อที่ว่าบริษัทขยะ หมายถึงว่า ทำตนไม่เป็นประโยชน์ทั้งแก่ตนเอง และสังคมโดยรวม ตรงกันข้ามเป็นภาระให้คนอื่นต้องแบกรับภาระในการแก้ไขโดยการขจัดทิ้งเพื่อมิ ให้ก่อมลพิษแก่สังคมโดยรวม
      
        ข้อที่ว่าไม่สม่ำเสมอ หมายถึงว่า ไม่เที่ยงตรง ขึ้นๆ ลงๆ หรือพูดได้ว่าเป็นคนสองมาตรฐาน ไม่ยึดหลักการ ไม่ยึดความถูกต้อง แต่ยึดความถูกใจและผลประโยชน์ ความสะดวกสบายของตนเอง และพวกพ้องเป็นหลัก
      
        โดยนัยแห่งพุทธพจน์และคำอธิบายขยายความดังกล่าวแล้วข้างต้น พอจะอนุมานได้ว่า ถ้าผู้นำคนใดมีบริษัทบริวารส่วนใหญ่ หรือมิใช่ส่วนใหญ่แต่เป็นส่วนที่มีอิทธิพลครอบงำความคิดของผู้นำ เช่น ที่ปรึกษา หรือคนใกล้ชิด หรือที่เรียกว่า รอบข้าง เป็นประเภทที่ไม่ดี แน่นอนได้ว่าผู้นำคนนั้นจะอยู่ในอำนาจไม่ได้นาน เนื่องจากพฤติกรรมของบริวารกัดกร่อนศรัทธาของประชาชนที่เคยมีต่อผู้นำให้ เสื่อมถอยลง และผุพังในที่สุด ในทำนองเดียวกันกับยอดเจดีย์ที่ตั้งอยู่บนเสาเข็ม และก้อนอิฐที่ผุพัง ในที่สุดก็พังลงมา
      
        ในทางกลับกัน ถ้าผู้นำคนใดได้บริวารที่ดี โอกาสที่จะอยู่ในตำแหน่ง อยู่ในอำนาจ ย่อมยืนยาว ด้วยบริวารช่วยส่งเสริมให้ศรัทธาที่มีอยู่แล้วเพิ่มมากขึ้น
      
        แต่การที่ผู้นำจะมีบริษัทบริวารที่ไม่ดีหรือดีได้นั้น ส่วนหนึ่ง และถือได้ว่าเป็นส่วนสำคัญก็คือผู้นำจะต้องเป็นคนดีมีคุณธรรม และสม่ำเสมอในการวางตัวให้เป็นแบบอย่างของผู้ตามคือบริวาร
      
        อีกประการหนึ่ง ในการแสวงหาหรือสรรหาบริษัทบริวาร ผู้นำจะต้องมีกฎเกณฑ์และกติกาในการเลือก และไม่เลือกอย่างชัดเจนและเป็นรูปธรรมว่าต้องการคนประเภทใด และกฎเกณฑ์กติกาที่ว่านี้จะต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการใช้งาน และสอดคล้องกับเจตจำนงที่แท้จริงของผู้นำด้วย
      
        ดังนั้น ผู้นำคนใดมีบริวารไม่ดี แน่นอนว่าจะต้องมีเจตจำนงที่ซ่อนเร้นว่าต้องการทำอะไรบางอย่างที่ไม่ดี จึงมีความจำเป็นในการมีบริวารที่ไม่ดีไว้ทำงาน เพราะถ้าเป็นคนดีคงจะให้ทำสิ่งไม่ดีคงเป็นไปได้ยาก และนี่คือจุดของผู้นำ ในทางกลับกัน ถ้าผู้นำต้องการบริษัทบริวารที่เป็นคนดี แต่ผู้นำเองไม่เป็นแบบอย่างในทางดี ก็คงยากที่จะมีคนดีมาเป็นบริวาร
      
        ดังนั้นมิใช่เรื่องผิดปกติหรือแปลกประหลาดประการใดที่ได้เห็นผู้นำทางการ เมืองหลายคนมีบริษัทบริวารที่ไม่ดี ทั้งๆ ที่ปกติผู้นำคนที่ว่านี้เป็นคนดี
      
        ในข้อนี้ ผู้นำพรรคประชาธิปัตย์คือ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ น่าจะเป็นอุทาหรณ์ได้เป็นอย่างดีที่ต้องพ่ายแพ้ในการเลือกตั้ง อันเป็นที่มาจากความล้มเหลวในการควบคุมราคาสินค้า และภาพลักษณ์ในทางลบจากการที่ไม่สามารถใช้กฎเหล็ก 9 ข้อมาควบคุมการทำงานของพรรคร่วมรัฐบาล หรือแม้กระทั่งคนบางคนในพรรคประชาธิปัตย์เอง มิให้มีการแสวงหาผลประโยชน์อันเกิดจากการมีตำแหน่งหน้าที่ในทางมิชอบได้ อย่างเด็ดขาด รวมไปถึงความอ่อนแอในการใช้อำนาจทางปกครองจัดการกับปัญหาความรุนแรงที่เกิด ขึ้นในหลายภาคส่วนด้วย นี่คือสิ่งที่เกิดขึ้นแล้วกับผู้นำที่มีบริษัทบริวารส่วนหนึ่งไม่ดี ตามนัยแห่งคำสอนของพุทธศาสนา
      
        แต่คำสอนข้อนี้อาจทำให้เห็นผู้นำรัฐบาลคนใหม่ที่มาจากพรรคเพื่อไทยพบกับ ปัญหาเดียวกันนี้ได้เช่นกัน เพราะเท่าที่เห็นจากพฤติกรรมทั้งในส่วนขององค์กร และในส่วนของปัจเจกบุคคลแล้วเข้าข่ายประเภทบริษัทบริวารไม่ดีมีอยู่ไม่น้อย จึงอนุมานได้ว่าจะต้องก่อปัญหาแน่นอน ส่วนจะมากหรือน้อย มีผลในทางลบต่อผู้นำถึงขั้นต้องลงจากอำนาจก่อนครบเทอมหรือไม่ ขึ้นอยู่กับปัจจัยในเชิงตรรกะดังต่อไปนี้
      
        1. การปล่อยให้บริษัทบริวาร เช่น คนเสื้อแดงซึ่งคนส่วนใหญ่ไม่ยอมรับมีอำนาจชี้นำหรือไม่
      
        2. นโยบายที่ช่วยกันคิด ช่วยกันฝัน ทำได้หรือไม่ มากน้อยแค่ไหน


แนวทางการปฏิรูปประเทศ ด้วย TQM (อ.ปรีดา กุลชล ตอบคำถาม)

โดย Koon Rachapurk
                                           + ข้อมูลความรู้พิเศษที่ อาจารย์ปรีดา กุนชล ตอบคำถาม +
                                                                           *  *  *        
                   การบริหาร TQM ทำความเข้าใจไม่ยากเพราะมีหลักใหญ่เพียง 2 ประการ คือ
                   1. การบริหารระบบ(Work systems และ Work Processes)
                   2. การปรับปรุงระบบให้มีความสามารถแข่งขันซึ่งได้จากการชี้วัด/วิเคราะห์ (Measurement/Analysis หรือที่เรียกว่า KPI)โดยวัดที่ระบบตามข้อ 1....แค่นั้น ถ้าไม่มุ่งทางนี้ก็หลงทาง
                                                           - - - -
                                ------------------------------------------------------------
                                                            - - - -
                    ** การบริหารระบบ TQM มีการวางแผนไว้ล่วงหน้าและกำหนดวิธีทำ...เป็นการ"ล้อมคอกไว้ก่อนวัวหาย"    แต่การบริหารแบบ Bureaucracy ของรัฐบาลไทยปัจจุบันเป็นวิธี "วัวหายล้อมคอก"....
                    ** การวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฯตามวิธีสมัยใหม่นั้น ...จะต้องไม่เพียงแต่มุ่งวางแผนและให้มี Action Plan เช่นแผนพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจแห่งชาติฉบับที่ 11 เท่านั้น ...แต่ต้องเป็นการวางแผนล่วงหน้าที่ครบเครื่องทั้งระบบ คือ
                    1. วางแผนและวิธีปฏิบัติทุกเรื่องไว้ล่วงหน้า (Plan)
                    2. ทำขั้นตอนการปฏิบัติ ให้แผนสำเร็จ (Do) ไว้ล่วงหน้า
                    3. มีการตรวจประเมินผล(Check/KPI) เมื่อผลงานออกมาแต่ละงวด
                    4. ทำการปรับปรุงจากการตรวจประเมินตามข้อ 3. (Act for Improvement) อันเป็นการเพิ่มขีดความสามารถแข่งขันให้ประเทศชาติ ...สภาพัฒน์ฯ จะทำแผนล่วงหน้าตามกล่าวได้ต้องมี "ระบบงาน"(Work Systems)ที่ดีเยี่ยม และต้องมี"กระบวนการทำงาน"(Work Processes)ที่ดีเยี่ยมให้ครบถ้วนก่อน....ประเทศไทยคงต้องใช้เวลาพัฒนาอีกนาน ... ดังนั้น แผนฯ 11 จึงยังคงเป็นแผนที่ไม่มีคุณภาพเหมือน แผนฯ 1-10
                                 +++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
                                                                    - - - -   
                     ** สำหรับระบบโครงสร้างการเมือง กับ TQM  ก็เช่นกัน ...ต้องให้ทุกหน่วยงานวางแผนอย่างรอบคอบตามวิธีที่ยกตัวอย่างแผนของสภา พัฒน์ฯข้างต้น ซึ่งต้องมี Work Systems และ Work Processes ...การควบคุมก็ใช้วิธี Feedback ด้วยการใช้  วืธีตรวจสอบว่า มีการปฏิบัติตาม"ระบบงาน"(WS) และ "กระบวนการทำงาน"(WP)ได้ดีแค่ไหน...นี่คือวิธีการควบคุมที่มีของแถมติดตามมา ฟรีๆ คือการปรับปรุง(Continuous Improvement)ให้ด้วย
                                                             - - - -
                                     ****************************************************
                                                                           - - - -
                      สำหรับการบริหารงานของระบบราชการไทยแบบ Bureaucracy นั้น ...การควบคุมตามแผนกจะถูกควบคุมโดยหน่วยงานที่ใหญ่กว่าจนถึงระดับสูงสุด... เพราะโครงสร้างมีหลายลำดับชั้น ...แต่โครงสร้างของ TQM มีเพียงชั้นเดียว(Organization as a system) คือ คณะกรรมการสูงสุด(Leadership Council) หรือผู้แทนเช่น CEO บริหารโดยตรงไปถึงทุกหน่วยงานโดยไม่มีผู้บริหารระดับกลาง โดยมีหน่วยช่วยสนับสนุน (Facilitators)แทน ...TQM จึงคล่องตัว รวดเร็ว และผลงานดีกว่าเพราะมี Facilitators หลายหน่วยช่วย

                            ------------------------------------------------------------------------------------
                                                                  - - - -
                       กรณีที่ควรศึกษาคือการหลงทาง TQM ...ที่มีมากในเมืองไทย เช่น สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติที่เป็นผู้สอน TQM (MBNQA) ให้ ก.พ.ร. และ สมศ. และ สกอ. และมีการจัดสัมมนาเรื่องนี้ในราคาสูงหลายแห่ง ... อีกทั้งยังนำนายกรัฐมนตรี(ซึ่งปฏิรูปการเมืองหลงทาง)มาแจกรางวัล TQm ได้ ...จึงไม่รู้ตัวเองว่าหลงทาง...
                            ------------------------------------------------------------------------------------
                                                                      - - - -                 
                       ตอนนี้ถ้าไทยเริ่ม TQM ก็ยังไม่สาย เชื่อว่าอยู่ในระยะเริ่มต้นด้วย...หลายประเทศอยากเริ่ม แต่ติดขัดที่การออกแบบระบบ พากันงงเรื่องระบบ แม้กระทั่งประเทศอังกฤษพยายามปฏิรูปให้มีการบริหารระบบ ยังหยิบตัวอย่างระบบผิดมาให้เป็นระบบมาตรฐาน BS-5750 ตอนนี้ประเทศไทยก็ยังงงเรื่องรูปแบบระบบ ...ลองผิดลองถูกกันทุกองค์กร..."ถ้าขาดระบบ..ก็เริ่มบริหารระบบไม่ได้"... ตอนนี้ยังไม่มีองค์กรใดบริหาร TQM ที่ถูกต้อง...แม้กระทั่งองค์กรที่ได้รับรางวัลบริหาร TQM ดีเด่น เช่น TQA, TQC...และที่น่าตกใจคือ สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติที่ให้รางวัล TQA ก็ยังไม่สามารถเริ่มใช้การบริหาร TQM เพราะติดที่ระบบเช่นกัน
                                                                     - - - -
                           +++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
                                                                  - - - -
                           ความแตกต่างของระบบกับกฎ ...เปรียบเทียบให้เห็นเหมือนทีมฟุตบอล คือ กฎเอาไว้ให้นักเตะอยู่ในกรอบ และลงโทษนักเตะเวลานักเตะทำผิดซึ่งถ้าเราจับไม่ได้ไล่ไม่ทันก็รอดไป และนักเตะจะทำแบบใดก็ได้ ขอแค่อย่าผิดกฎ แต่ระบบ จะเป็นรูปแบบ แท็กติก ที่ใช้ควบคุมผู้เล่น ให้อยู่ในระบบ โดยระบบถูกวางโดยผู้จัดการทีม ( ผู้ออกแบบระบบ ) ซึ่งมีเป้าหมายคือ ลงแข่งขันให้ได้ชัยชนะ ระบบจะควบคุมให้นักเตะดำเนินตามแผนที่วางไว้นำไปสู่ชัยชนะ ระบบจึงสำคัญ เพราะต่อให้นักเตะในทีมเก่งขนาดไหน ถ้าไม่มีการวางแผนเพื่อเล่นเป็นทีม ก็ยากที่จะประสบความสำเร็จ หรือต่อให้นักเตะในทีมไม่เก่งแต่มีการวางแผนที่ดี ก็สำเร็จได้ไม่ยาก และ ถ้าผู้เล่นคนใด เล่นผิดระบบ ทีมก็ยังเดินต่อไปได้ เราก็แค่เปลี่ยนตัวผู้ที่พร้อมจะเล่นตามระบบลงไปแทนแค่นั้น ระบบจึงไม่นิ่ง เพราะเราก็ไม่รู้ว่าท่ีมที่เราเจอเล่นรูปแบบอย่างไร จึงต้องวางแผน นัดต่อนัดเพื่อให้ยืดหยุ่นตามสถานการณ์ที่เราเจอ
                                                                        - - - -
                            ******************************************************
                                                                         - - - -
                          เรื่องกฏและระบบ ขอยกตัวอย่างจากประสบการณ์ ...ด้านบริหารของรัฐบาลสหรัฐ(US.Federal Government) ซึ่งมีทั้งกฏ(Federal Regulation) และ ระบบ(Federal Manual) ซึ่งผู้ปฏิบัติงานภาครัฐของสหรัฐต้อปฏิบัติตามทั้งกฏและระบบ...โดยระบบเป็น วิธีการสร้างความสำเร็จให้การทำงาน(The system is the method by which you achieve results)...
                            ระบบของ TQM มี 2 ระบบคือ -
                            1.ระบบแสดงวิธีการทำงาน เรียกว่า Technical System เช่นWorkSystem/Documented  procedures           
                            2. ระบบสังคม Social System เช่น การทำงานเป็นทีม เหมือน ทีมฟุตบอล ซึ่งทีมต้องปฏิบัติตามกฏกติกาและระบบของสนามแข่งขัน และ ต้องรักษากฏและระบบของทีมของตนด้วย
                                                                   - - - -
                            ***************************************************                                                                                    ระบบที่เป็นหัวใจของ TQM คือระบบแสดงวิธีการทำงานหรือ "ระบบงาน"(Work Systems/Set of management practices/Documented procedures).โดยต้องมี"กระบวนการทำงาน"ด้วย (Work Processes)

                          ****************************************************
                                                                    - - - -
                         รัฐธรรมนูญปฏิรูปการเมืองไม่สมประกอบมีหลายสาเหตุ
                         1. ใช้คนผิดงาน..งานปฏิรูปเป็นการปฏิรูปการบริหาร และรัฐธรรมนูญเป็นเรื่องบริหารประเทศ แต่คณะกรรมาธิการยกร่างฯเกือบทั้งชุดเป็นนักกฏหมาย ยกเว้นประธาน กมธ.(นายอานันท์ ปันยารชุน)
                         2. ความแตกต่างของ"นักกฏหมาย"และ"นักบริหาร"...นักกฏหทายหากินกับ"ความยากของ กฏหมาย"โดยการตีความ ส่วน"นักบริหาร"หากินกับความง่ายของกฏเกณฑ์ต่างๆ โดยสร้าง"ระบบ"ให้การทำงานมีความชัดเจนเข้าใจง่ายโดยไม่ต้องตีความ
                         3. ความสำเร็จของการปฏิรูปการเมืองอยู่ที่การจัด"ระบบงาน" ซึ่งทำได้โดยทำกฏหมายประกอบรัฐธรรมนูญให้เป็นระบบงาน(Work System/Documented Procedures)
                         4. โลกปฏิรูปจากการบริหารสมัยเก่า (Bureaucracy) ไปสู่การบริหารระบบ TQM ซึ่งไม่มี ส.ส.ร.ท่านใดที่รู้เรื่องนี้
                                                                        - - - -
                          ++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
                                                                         - - - -
                          การบริหารทีมฟุตบอลเป็น The New Competency ที่สถานศึกษาชั้นสูงของไทยยังตามไม่ทัน ...เพราะการบริหารทีมฟุตบอลมี"โครงสร้าง"เป็นแนวราบ(Horizontal structure) คือมีการสั่งงานเพียงชั้นเดียว(Layer) แตกต่างจากการสั่งงานกันหลายชั้น(Multi-layered organization structure)ของราชการไทย(Hierarchy) ซึ่งรัฐบาลสหรัฐเขายกเลิกโครงสร้างหลายชั้นนี้ไปหมดแล้วหลังการออกกฏหมาย ปฏิรูปประเทศ Public Law 100-107,1987 (ดู google)
                                                                           - - - -
                            +++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
                                                                           - - - -
                            โครงสร้าง TQM นายกฯบริหารในนามของคณะกรรมการบริหาร(ครม.) โดยมีระบบ 3 ระบบ คือ
                            1.ระบบยุทธศาสตร์
                            2.ระบบปฏิบัติงาน และ
                            3.ระบบบริหารคน
                            ระบบทั้ง 3 นี่้นอกจากเป็นระบบแสดงวิธีปฏิบัติให้ง่ายต่อการทำงานแล้ว ยังใช้ระบบตัวนี้เป็นตัวทบทวนตรวจสอบการทำงานของนายกฯด้วย...จึงโกงได้ยาก มากหรือโกงไม่ได้เลยถ้าการออกแบบระบบดีจริง...นอกจากนี้ยังมีกระบวนการทำงาน Work Processes ช่วยตรวจสอบนายกฯอีกตัวหนึ่ง...ถึงเราเป็นนายกฯก็คงไม่เสี่ยงติดตะรางหรอก เมื่อมีการปฏิรูปการเมืองไปใช้การบริหารระบบ TQM
                                                                  - - - -
                             --------------------------------------------------------------------------------------------
                                                                  - - - -
                            เพราะบริหารด้วยระบบ ต้องบอกทุกอย่าง บอกเป้าหมาย บอกทุกขั้นตอนการทำงาน พร้อมทั้งเซ็นชื่อกำกับ หลักฐานชี้ชัดๆขนาดนี้ ถ้ายังกล้าก็ถือว่าแน่มาก ยิ่งถ้าเราไปแก้รัฐธรรมนูญให้คนทำผิดมีการลงโทษที่เด็ดขาด มีโทษหนักๆ ก็ไม่มีใครกล้าโกงแล้ว ต่างจากปัจจุบันชัดเจน เพราะหลักฐานเอกสารขั้นตอนการทำงานแทบจะไม่มีเปิดเผย อยากทำอะไรก็ทำไม่มีเป้าหมาย ไม่มีระยะเวลา แถมไม่มีการตรวจสอบ หรือกว่าจะถึงตัวคนผิด ก็โยนไปโยนมา จนแทบเอาผิดใครไม่ได้
                                                                  - - - -
                               --------------------------------------------------------------------------------------------
                                                                          - - - -
‎                            ระบบมีหน้าตาแบบไหน ? ระบบมีหน้าตาเหมือนระเบียบปฏิบัติงานทั่วไปโดยเขียนเป็นข้อๆ 1-2-3-4-..ฯลฯ..ให้เห็นว่างานสำเร็จได้อย่างไร ลักษณะพิเศษของระบบคือ
                            ข้อ 1 จะชี้ให้เห็นเป้าหมาย(Purpose/Aim) เพราะถ้าไม่มีเป้าหมายก็มิใช่ระบบ(Deming)
                            ข้อ 2 อาจบอก"นโยบาย" ของเรื่องนั้น
                            ข้อ3. อาจบอกขอบเขต(Scope) และที่สำคัญขาดไม่ได้คือต้องมีข้อที่แสดงขั้นตอนวิธีปฏิบัติ(Procedure). เป็นขั้นๆชี้ให้เห็นงานสำเร็จได้อย่างไร...การเขียนต้องกระทัดรัด สั้น และเข้าใจง่าย

                                 ******************************************************




                                                                                - - - -
                               *การปรับปรุงคุณภาพ(Quality Improvement) คืออะไร
                               การปรับปรุงคุณภาพให้ทำเป็นระบบได้แก่จัดให้มี “ระบบงาน” (Work Systems)ที่เป็นระบบแสดงความมุ่งหมาย(Purpose)และขั้นตอนวิธีปฏิบัติ(Procedures)ในการปรับปรุงคุณภาพให้ผู้ปฏิบัติงานได้ใช้เป็นคู่มือ....คู่มือที่จำเป็นของการปรับปรุงคุณภาพอีกอย่างหนึ่งที่ละเว้นมิได้ คือ คู่มือ “กระบวนการทำงาน” (Work Processes) ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญในรูปเอกสารที่บรรยายลักษณะการทำงานตั้งแต่จุดเริ่มต้น (Inputs) กระบวนการ(Process)เพิ่มมูลค่า จนออกมาเป็นผลผลิต (Outputs) การมีคู่มือกระบวนการทำงานช่วยให้ง่ายต่อการสำรวจค้นหาจุดอ่อนต่างๆในการปฏิบัติงานให้เห็นโอกาสในการปรับปรุง OFI. (Opportunity for Improvement)  เมื่อเห็นจุดอ่อนในกระบวนการทำงานแล้ว ก็ให้แก้ไขที่จุดอ่อนให้เป็นจุดแข็งด้วย วิธีการฝึกอบรมเพื่อกำจัดจุดอ่อน...ด้วยวิธีนี้นี่แหละ คือ การสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันให้องค์กรของท่าน...เมื่อรัฐบาลส่งเสริม ให้มีการปรับปรุงคุณภาพด้วยวิธีข้างต้นอย่างกว้างขวางทั้งภาครัฐและภาคเอกชน นั่น คือ การสร้างความสามารถแข่งขันให้ทั้งประเทศ หากมีการเอาจริงเอาจังพัฒนาในเรื่องนี้ ย่อมส่งผลให้ประเทศไทยมีความสามารถแข่งขันสูงเหนือกว่าชาติอื่นในภูมิภาคอา เซียน และในระดับสากล.

                                  ----------------------------------------------------------------------------------
                                         (+ ความเห็นส่วนตัวของของ Koon Rachapurk +) 
                                                                   *  *  *
                                  *** สัจจะธรรมกล่าวว่า ...ของทุกสิ่งอย่างล้วนมีทั้งคุณและโทษ สิ่งใดมีคุณน้อยก็มีโทษน้อย สิ่งใดมีคุณอนันต์ก็มีโทษมหันต์...และของดีราคาถูก ของคุณภาพสูงแต่ทำได้ง่ายคงหาลำบาก......
                                 ความยากมันมีหลายอย่างหลายขั้นตอน เช่นยากในการสร้าง..ยากในการใช้....ยากที่ปัจจัยภายใน ภายนอกที่เกี่ยวข้อง ... ยากที่บุคคลากรในระบบโดยเฉพาะผู้บริหารระดับสูงล้วนแต่เป็นคนไม่ดีในแง่มี ความโลภสูงคอยหาโอกาสโกงกินตามค่านิยมของสังคม ดังนั้น TQM แบบไทยๆ ...จึงคิดว่าอาจมีองค์กรภาคประชาชนเป็นตัวช่วยในระยะเริ่มต้น) ...พูดแล้วเหมือนตีตนไปก่อนไข้..หรือมองแต่แง่ลบ.....*...แต่ก็เชื่อว่าระบบ งาน กระบวนการทำงาน ระบบติดตาม ประเมินผล ตรวจสอบ ที่มีประสิทธิภาพและบทลงโทษที่รุนแรงในTQM จะช่วยประเทศไทยได้มากโดยอาจต้องมีเวลาให้ใช้ระยะแรกสำหรับการปรับแก้ สัก2-3ปี เพื่อการจัดทำ รธน. ที่สมบูรณ์

นายกตัวจริง





ก่อนหน้านี้ไม่มีใครรู้ว่าทักกี้อยู่ไหน เลือกตั้งจบนี้ทั้งโทรหา/บินไปหากันได้ยิกๆ อย่างกะเพื่อนสนิท
รีโมท ซื้อ รีโมท จากผู้ค้าส่งโดยตรง ที่มีหน้าร้านจริง ที่ บ้านหม้อ และ คลองถม ราคาถูกกว่าใคร ปลอดภัย มีรับประกัน

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

บทความย้อนหลัง