วันพุธที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2554
แถลงการณ์ทนายความ-นักกฏหมายค้าน "แถลงการณ์สภาทนายความ"
แถลงการณ์กลุ่มทนายความและนักกฎหมายเพื่อสิทธิมนุษยชน
เรื่อง คัดค้านแถลงการณ์สภาทนายความฉบับที่ 2/2554
อ้างถึง แถลงการณ์สภาทนายความฉบับที่ 2/2554 ลว. 27 กันยายน 2554
ตามที่สภาทนายความได้ออกแถลงการณ์ฉบับที่ 2/2554 ขอแสดงความคิดเห็นต่อข้อเสนอของกลุ่มนิติราษฎร์ ความละเอียดปรากฏตามที่อ้างถึงนั้น
กลุ่มทนายความและนักกฎหมายดังปรากฏรายนามท้ายแถลงการณ์นี้ ซึ่งเป็นสมาชิกสภาทนายความ ตามพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. 2548 และนักกฎหมายที่ทำงานด้านการส่งเสริมสิทธิมนุษยชนและประชาธิปไตยมีความวิตก กังวลต่อสาระสำคัญของแถลงการณ์ดังกล่าว ที่อาจนำความเสื่อมเสียต่อเกียรติภูมิของทนายความโดยรวม โดยเหตุที่สภาทนายความมี 2 สถานภาพทางสังคมกล่าวคือ สภาทนายความเป็นสถาบันวิชาชีพที่ออกใบอนุญาตให้แก่ผู้ที่จะเป็นทนายความ ซึ่งทนายความถือเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการยุติธรรมในการดำเนินการเพื่อส่ง เสริมหลักนิติธรรม (Rule of Law) ร่วมค้นหาความจริงกับอัยการและผู้พิพากษาต่อการกระทำของผู้ต้องหาหรือจำเลย ในคดีอาญาเพื่อนำตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษตามกฎหมาย และยังมีหน้าที่ “ผดุงไว้ซึ่งเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพ และปฏิบัติตน ตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติทนายความ” อีกสถานภาพหนึ่ง สภาทนายความพึงเป็นสถาบันของสังคมในการส่งเสริมการปกครองในระบอบประชาธิปไตย สภาทนายความเป็นแถวหน้าของผู้เรียกร้องการปกครองระบอบประชาธิปไตย ต่อต้านอำนาจนิยมและผลักดันให้มีกฎหมายที่ส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน สภาทนายความจึงเป็นสถาบันของผู้ประกอบวิชาชีพทนายความและเสาหลักหนึ่งใน สังคมประชาธิปไตย สภาทนายความจึงต้องปฏิบัติหน้าที่ให้เหมาะสมแก่เกียรติภูมิของสมาชิกและ ประชาชนในสังคมประชาธิปไตย สภาทนายความต้องยึดมั่นในหลักการสำคัญของหลักนิติธรรม หลักสิทธิมนุษยชน และร่วมกันจรรโลงไว้ซึ่งหลักการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันนานาอารยประเทศยึดถือด้วย แต่จากแถลงการณ์ของสภาทนายความ ตามที่อ้างถึง กลุ่มทนายความฯ ขอแสดงความคิดเห็น ดังนี้
ข้อ 1 แถลงการณ์ของสภาทนายความ ข้อ 1 กล่าวว่า “สภาทนายความไม่เห็นด้วยกับการรัฐประหารที่ล้มล้างรัฐบาลที่ใช้อำนาจบริหาร โดยชอบธรรม ....สำหรับการรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 ...สภาทนายความไม่เห็นด้วยกับรัฐบาลที่ใช้อำนาจบริหารในขณะนั้นได้ใช้อำนาจ เงินครอบงำพรรคการเมืองอื่น จนสามารถรวบรวมเป็นพรรคการเมืองที่มีอำนาจเด็ดขาดในรัฐสภา ใช้อำนาจบริหาร และอำนาจเงินครอบงำสื่อสารมวลชน และองค์กรอิสระ จนทำให้การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐไม่บรรลุผลตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย และมีการทุจริต ประพฤติมิชอบ เพื่อหาประโยชน์แก่ตนเอง และพวกพ้อง จนกระทั่งเป็นเหตุให้มีการรัฐประหาร”
กลุ่มทนายความและนักกฎหมายเพื่อสิทธิมนุษยชน มีความเห็นว่า “การรัฐประหารทุกครั้งถือเป็นการทำลายหลักนิติธรรมและทำลายกลไกของระบอบ ประชาธิปไตย” ที่ทุกฝ่ายในสังคมต้องออกมาประณามการกระทำที่ไร้เกียรติ ไร้สติ และมิอาจอ้างมูลอันชอบด้วยหลักการใดๆในสังคมรัฐเสรีประชาธิปไตยได้ และต้องถือว่า “การรัฐประหาร” ถือเป็นอาชญากรรมต่อประชาธิปไตยและความมั่นคงของรัฐ ตามนัยแห่งประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 113 ทั้ง ผู้ก่อการ ผู้ใช้ ผู้สนับสนุน ต้องรับผิดร่วมกันหรือแทนกันตามความหนักเบาแห่งการกระทำ โดยไม่มีข้อยกเว้น แต่ตามแถลงการณ์ดังกล่าวการที่สภาทนายความยอมรับการรัฐประหาร เมื่อ 19 กันยายน 2549 โดยอ้างว่า หากรัฐบาลฉ้อฉล ใช้อำนาจโดยมิชอบ ก็สามารถให้อำนาจนอกระบบล้มล้างรัฐธรรมนูญและรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งของ ประชาชนได้ ซึ่งเท่ากับสภาทนายความสนับสนุนอาชญากรรมต่อความมั่นคงของรัฐและระบอบ ประชาธิปไตย
ข้อเสนอของสภาทนายความ ในข้อนี้ กลุ่มทนายความและนักกฎหมายเพื่อสิทธิมนุษยชน มีความเห็นว่า เป็นการทำลายหลักนิติธรรม และระบอบประชาธิปไตย อันนำความเสื่อมเสียมาสู่เกียรติภูมิของสภาทนายความ
ข้อ 2 แถลงการณ์สภาทนายความที่เห็นว่า การแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สิน (คตส.) ได้ดำเนินการไปตามกระบวนการยุติธรรมปกติ คือ เมื่อ คตส. สอบสวนเสร็จแล้ว ต้องส่งแก่อัยการสูงสุด และนำไปสู่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ในที่สุด นั้น
กลุ่มทนายความและนักกฎหมายเพื่อสิทธิมนุษยชน เห็นว่า ที่มาของ คตส. มาจากการการแต่งตั้งของคณะรัฐประหาร หรือ คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) ในขณะนั้น คมช. ถือเป็นองค์กรของอาชญากร ที่ยึดอำนาจโดยมิชอบมาจากรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง คมช.จึงไม่มีอำนาจในการปกครองประเทศมาตั้งแต่ยึดอำนาจแล้ว ดังนั้น การแต่งตั้งบุคคลหรือคณะบุคคลให้ดำเนินการใด ตามอำนาจที่ได้มาโดยมิชอบ ย่อมไม่มีผลทางกฎหมาย เทียบเคียงได้กับภาษิตกฎหมายที่ว่า “ผลของต้นไม้พิษ (Fruit of the poisonous tree) ย่อมมีพิษ” การดำเนินการของ คตส. โดยมาจากต้นไม้ที่ไม่ชอบ คตส.ย่อมเป็นผลไม้ของต้นไม้ที่ไม่ชอบ จึงไม่มีอำนาจดำเนินการใดๆ ดังนั้น จึงไม่ต้องพิจารณาต่อไปว่า คตส. ได้ดำเนินกระบวนการตามกระบวนการยุติธรรมปกติ หรือไม่ เพราะมีที่มาโดยมิชอบ
ประการต่อมา นายกสภาทนายความ (นายสัก กอแสงเรือง) มิอาจอ้างเหตุผลข้อนี้มาอ้างความชอบธรรมในแถลงการณ์ของสภาทนายความได้ เพราะนายกสภาทนายความมีผลประโยชน์ทับซ้อน จากการได้รับการแต่งตั้งจากคมช. ให้เป็นหนึ่งในกรรมการ คตส. การปกป้องตนเองที่ทำหน้าที่ โดยมีที่มาจากการแต่งตั้งโดยมิชอบ อาจทำความเสื่อมเสียแก่เกียรติภูมิของทนายความโดยรวม และไม่เป็นแบบอย่างที่ดีแก่อนุชนทนายความรุ่นหลัง
ข้อ 3 สภาทนายความไม่เห็นด้วยกับการเสนอให้แก้ไข มาตรา 112 แห่งประมวลกฎหมายอาญา ว่าด้วยความผิดฐานหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ นั้น
กลุ่มทนายความและนักกฎหมายเพื่อสิทธิมนุษยชน เห็นว่า สภาทนายความจำเป็นต้องแสดงจุดยืนในการเคารพต่อหลักนิติธรรม เนื่องจากมีการใช้กฎหมายข้อหานี้ ทำลายผู้มีความคิดเห็นทางการเมืองที่แตกต่างจากตน และเป็นการให้อำนาจแก่ใครก็ได้ในการแจ้งความดำเนินคดีบุคคลอื่น โดยอาศัยกฎหมายข้อหานี้ การแก้ไขสาระสำคัญของกฎหมายอาญา มาตรา 112 ย่อมไม่เป็นการกระทบกระเทือนต่อประเพณีของชาติ หรือขัดแย้งต่อประวัติศาสตร์หรือขนบธรรมเนียมของประเทศ หรือเป็นการลดเกียรติยศของพระมหากษัตริย์แต่ประการใด ตรงกันข้าม การใช้กฎหมายมาตรา 112 ในปัจจุบัน กลับกลายเป็นการทำลายพระเกียรติ และทำให้สถานะของสถาบันพระมหากษัตริย์เสื่อมถอยลงอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน ในสังคม ขณะเดียวกัน การใช้กฎหมายอาญามาตรา 112 ย่อมนำมาซึ่งความขัดแย้งระหว่างประชาชนในสังคมไทย ซึ่งควรได้รับการพิจารณาอย่างจริงจัง
กลุ่มทนายความและนักกฎหมายเพื่อสิทธิมนุษยชน ขอแสดงความคิดเห็นดังกล่าว เพื่อแสดงจุดยืนว่า สังคมใดจะเป็นสังคมที่เจริญและสงบสุขได้นั้น สถาบันต่างๆในสังคมต้องยึดมั่นต่อ หลักนิติธรรม สิทธิมนุษยชน และเคารพต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตย โดยต้องร่วมกันแสดงความคิดเห็นคัดค้านอำนาจที่มิชอบ เช่น การรัฐประหาร ดังเหตุผลข้างต้น และขอเรียกร้องให้สภาทนายความ ในฐานะสถาบันหลักสถาบันหนึ่งของสังคม จงเป็นที่พึ่งแก่คนยากไร้ที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมตามกฎหมาย และเป็นสถาบันที่ธำรงไว้ซึ่ง หลักนิติธรรม สิทธิมนุษยชน และหลักประชาธิปไตย ตลอดไป
ณ วันที่ 28 กันยายน 2554
ลงชื่อ
นางสาวเยาวลักษ์ อนุพันธุ์ ทนายความ
นางสาวส.รัตนมณี พลกล้า ทนายความ
นายศราวุฒิ ประทุมราช นักกฎหมาย
นางสาวพูนสุข พูนุสขเจริญ ทนายความ
นายพนม บุตะเขียว ทนายความ
นางสาวภาวิณี ชุมศรี ทนายความ
นายอานนท์ นำภา ทนายความ
นางสาววราภรณ์ อุทัยรังษี ทนายความ
นายสนธยา โคตปัญญา นักกฎหมาย
นางสาวศิริกาญจน์ เจริญศิริ นักกฎหมาย
นายจุลศักดิ์ แก้วกาญจน์ นักกฎหมาย
นางสาวเกศรินทร์ เตียวสกุล นักกฎหมาย
[1] พระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. 2528 มาตรา 12 สิทธิและหน้าที่ของสมาชิกสภาทนายความ
(4) ผดุงไว้ซึ่งเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพและปฏิบัติตนตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้
Thaksin Renews Effort To Politick From Afar
By JAMES HOOKWAY
BANGKOK—Former Thai leader Thaksin Shinawatra is taking a more visible role in Thailand and across Asia, stirring renewed tensions between the country's powerful military and a new government led by the populist tycoon's sister.During the run-up to July's national elections, Mr. Thaksin, 64 years old, repeatedly said he would avoid intervening in political decisions if his sister, Yingluck Shinawatra, were elected prime minister. At most, he said, he would help guide Ms. Yingluck—who took office last month—on economic policy.
Political analysts said that was a carefully scripted strategy to tamp down tension between the Shinawatra clan's populist supporters and Thailand's powerful armed forces, which ousted Mr. Thaksin in a bloodless coup five years ago and still retain considerable power.
Mr. Thaksin recently has taken heavily publicized trips from his base in Dubai to Japan and Cambodia while his supporters push for a new amnesty law that would enable him to return to Thailand a free man. He has been living overseas to avoid imprisonment on a 2008 corruption conviction.
His sister's government is now exploring whether it should give him his passport back, arguing that Mr. Thaksin was convicted for political reasons; he currently travels on a passport issued by Montenegro.
Stock investors, meanwhile, are turning against Ms. Yingluck's plans to raise Thailand's minimum wage as the local stock market slumps amid a global downturn. The Federation of Thai Capital Market Associations Monday urged the government to defer the wage rises, set for January, that could nearly double the minimum wage in some places to 300 baht, or $9.60, a day.
Last week, Mr. Thaksin summoned cabinet ministers from the ruling Puea Thai, or For Thais, party to a lengthy videoconference, instructing them how to handle severe flooding in Thailand's rice-growing heartland, among other topics.
Ms. Yingluck, a 44-year-old former business executive, tried to play down Mr. Thaksin's lecture, saying he was just offering support. Neither Mr. Thaksin nor his legal representatives responded to requests to comment.
For many observers the implication is clear. "A couple of months ago, I'd say there were two prime ministers in Thailand—Ms. Yingluck and her brother," said Pavin Chachavalpongpun at the Institute of Southeast Asian Studies in Singapore. "Now there is one—Mr. Thaksin."
The question is how Thailand's conservative power brokers, particularly the army, will react to Mr. Thaksin's newfound assertiveness, and whether it will reignite the battle between populist politicians such as the Shinawatras and the country's conservative, royalist bureaucrats and army chiefs.
Thailand's top generals appear determined to prevent Mr. Thaksin or his sister from interfering with the military. People familiar with the situation say an annual army leadership shuffle this month will likely leave hawkish army chief Gen. Prayuth Chan-ocha at the helm and many of his key lieutenants in their jobs.
Paul Chambers, an expert on the Thai military and a lecturer at Payap University in northern Thailand, notes that after the 2006 coup, a military-appointed government introduced a new seven-member panel to decide on army appointments. Four members of this panel must be serving military officers, a safeguard that effectively vetoes any civilian influence over the shuffle.
Even if the government tries to remove Gen. Prayuth, it wouldn't be able to choose his successor—so he would likely stay as acting chief.
"The conservative forces have found a way of preventing Mr. Thaksin from controlling the military, even if they allow him and his followers to win election," Mr. Chambers said.
Besides looking for a way to help bring Mr. Thaksin back to Thailand through a possible amnesty, some lawmakers are pushing to amend laws introduced since the 2006 coup that reduce civilian control over the army. Analysts say this could further ratchet up tensions, as does a continuing wrestling match between the government and Gen. Prayuth for control of a powerful army-dominated security agency known as the Internal Security Operations Command.
"Mr. Thaksin wants to legitimize himself as a political leader, but the other side doesn't want to give ground either," said Somchai Phagapasvivat, a political-science professor at Bangkok's Thammasat University. "There's a looming conflict, and in the long run we don't know how it will play out."
Write to James Hookway at james.hookway@wsj.com
นิติราษฎร์ เบื้องลึกอยากให้มีรัฐประหาร พวกเขาคือ..
โดย ดร.ป. เพชรอริยะ
อ่านแถลงการณ์ของคณาจารย์ ม. ธรรมศาสตร์ ซึ่งนำโดย นายวรเจตน์ ภาคีรัตน์ก็รู้ว่าพวกเขารับรองการปกครองแบบเผด็จการรัฐธรรมนูญ ฉบับ 40 และต่อต้านรัฐประหาร แสดงว่าคณาจารย์กลุ่มนี้เป็นแนวร่วมทางตรงให้พรรคคอมมิวนิสต์นั่นเอง ทั้งนี้เพราะพรรคคอมมิวนิสต์ มันจะพยายามรักษาระบอบเผด็จการไว้ให้ยาวนานที่สุดและเมื่อประชาชนทนไม่ได้ทหารก็จะออกมาทำรัฐประหาร จากนั้นจึงนำมวลชนที่ไม่รู้เท่าทันออกมาต่อต้านคณะรัฐประหาร เพื่อโค่นกองทัพแห่งชาติ หากโค่นสำเร็จทุกอย่างก็อยู่ในกำมือของพรรคคอมฯ
คณาจารย์กลุ่มนายวรเจตน์ ภาคีรัตน์ จะต้องมีปัญญาจริงๆ อย่างง่ายๆ ตื้นๆ ว่า เผด็จการรัฐธรรมนูญระบบรัฐสภาย่อมเป็นเหตุของรัฐประหารหรือรัฐประหารเป็นผลจากการปกครองเผด็จการรัฐธรรมนูญ
หากคณาจารย์กลุ่มนี้ไม่เป็นแนวร่วมทางตรงให้กับพรรคคอมฯ ท่านทั้งหลายต้องต่อต้านระบอบเผด็จการรัฐธรรมนูญ อันเป็นอุปสรรคร้ายแรงของชาติมายาวนาน 79 ปี อันเป็นแนวคิดลัทธิรัฐธรรมนูญของคณะราษฎร ที่มีแนวคิดผิดพลาดอันใหญ่หลวง คือยกร่าง เขียนร่างรัฐธรรมนูญให้เป็นระบอบประชาธิปไตย ความเห็นผิดนี้เด่นชัดในรัฐธรรมนูญฉบับที่ 5 สมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม ซึ่งเป็นคณะราษฎรอีกปีกหนึ่ง ที่จู่ๆ ก็บัญญัติขึ้นในรัฐธรรมนูญมาตรา 2 ว่า ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตย ทั้งๆ ที่ไม่มีการสถาปนาหลักการปกครอง (ระบอบ) แบบประชาธิปไตยขึ้นเลยแม้แต่น้อย
คณาจารย์กลุ่มนายวรเจตน์ ก็เช่นกัน เป็นทายาทคณะราษฎรที่สืบทอดลัทธิรัฐธรรมนูญ มาจากรุ่นแรก 2475 ท่านทั้งหลายคงจะเห็นชัดว่า การปกครองแบบเผด็จการรัฐธรรมนูญระบบรัฐสภามาคู่กับการรัฐประหารสลับกันเป็นเหตุเป็นผล นี่คือความหลงผิดอย่างร้ายแรงที่เห็นการปกครองแบบเผด็จการรัฐธรรมนูญเป็นระบอบประชาธิปไตย
หากคณาจารย์กลุ่มนี้ไม่เป็นแนวร่วมให้กับพรรคคอมฯ ไม่อยากเห็นรัฐประหาร ก็ต้องเสนอหลักการปกครองแบบประชาธิปไตยออกมาซิ ปากร้องว่าต้องการประชาธิปไตย แต่ไม่เสนอหลักการปกครองแบบประชาธิปไตย มันเป็นแนวทางเดียวกับพวกลัทธิเผด็จการทั้งหลายที่ “ปิดหลักการ เปิดไม่ได้เพราะมีนัยแฝงอยู่ เช่น โค่นสถาบันหลักของชาติ เป็นต้น เปิดแต่วิธีการ เช่นที่ทำอยู่”
ท่านผู้อ่านที่รักทั้งหลาย รัฐธรรมนูญทุกฉบับ ไม่เคยมีหลักการปกครองประชาธิปไตยซึ่งก็คือไม่เคยมีระบอบประชาธิปไตยนั่นเอง มันมีแต่เพียงรูปแบบการปกครอง (ระบบรัฐสภา) และวิธีการปกครอง (รัฐธรรมนูญมาตราต่างๆ และการเลือกตั้งเท่านั้น แล้วโกหกว่าเป็นระบอบประชาธิปไตย แต่มันก็ช่วยกันหลอกประชาชนมายานานตั้ง 79-80 ปี
คณาจารย์กลุ่มนายวรเจตน์ ภาคีรัตน์ ขอถามว่า ระหว่างจุดมุ่งหมายกับวิธีการไปสู่จุดมุ่งหมาย อะไรต้องเกิดก่อนหรือมาก่อน คนมีสติดีก็ต้องตอบว่า จุดมุ่งหมายต้องมาก่อน นายวรเจตน์ กลับเห็นว่าวิธีการต้องเกิดก่อนและเถียงกันว่าวิธีการฝ่ายรัฐประหารเราไม่เอา เราชอบวิธีการรัฐธรรมนูญปี 40 มันก็เห็นผิดเหมือนกันทั้งคู่ คิดง่ายๆ “ดวงอาทิตย์ต้องมาก่อนดาวเคราะห์และเป็นศูนย์กลางของดาวเคราะห์ ฉันใด” “หลักการปกครองหรือระบอบโดยธรรมต้องมาก่อน และเป็นศูนย์กลางของรัฐธรรมนูญฉันนั้น”
พวกลัทธิรัฐธรรมนูญ (รวมทั้งคณาจารย์กลุ่มนายวรเจตน์ ภาคีรัตน์ มีความเห็นผิดอย่างร้ายแรง 6 ประการ ได้แก่
1) เข้าใจผิดในการจัดความสัมพันธ์ระหว่างระบอบกับรัฐธรรมนูญรัฐธรรมนูญของไทยเราทั้ง 18 ฉบับ ไม่เคยมีหลักการปกครองโดยธรรมหรือตัวที่บ่งชี้ให้รู้ว่าเป็นระบอบอะไรมีเพียงรูปการปกครองคือระบบรัฐสภา และวิธีการปกครอง ได้แก่ หมวด และมาตราต่างๆ
2) ความเข้าใจผิดว่าการยกร่างรัฐธรรมนูญคือการสร้างระบอบประชาธิปไตย ความถูกต้องคือรัฐธรรมนูญเป็นเพียงกฎหมายหน้าที่ของกฎหมาย คือ รักษาคุ้มครองและสะท้อนความเป็นระบอบนั้นๆ การเอากฎหมายไปสร้างระบอบร้อยครั้ง พันฉบับ นอกจากจะไม่ได้ระบอบที่แท้จริงแล้ว จะทำให้ล้มเหลวซ้ำซาก และเกิดวิกฤตชาติหายนะเรื่อยไป โดยไม่รู้จบสิ้น
3) เข้าใจผิดว่ารัฐธรรมนูญคือระบอบประชาธิปไตย “รัฐธรรมนูญไม่ใช่ระบอบประชาธิปไตย” ก่อนอื่นต้องสถาปนาระบอบหรือหลักการปกครองขึ้นมาก่อนโดยพระเจ้าแผ่นดิน จากนั้นจึงร่างรัฐธรรมนูญให้สอดคล้องกับหลักการปกครองจึงจะถูกต้อง และเป็นการแก้ไขเหตุวิกฤตชาติให้ตกไปได้
4) เข้าใจผิดว่ารูปการปกครอง (Form of Government) เป็นระบอบประชาธิปไตย คือเข้าใจผิดว่าระบบรัฐสภา (Parliamentary System) เป็นระบอบประชาธิปไตย อันที่จริงรูปการปกครองมีไว้เพื่อสัมพันธภาพขององค์กรแห่งอำนาจอธิปไตยระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร และฝ่ายตุลาการ จะถ่วงดุลอำนาจกันอย่างไร ซึ่งไม่เกี่ยวว่าจะเป็นระบอบอะไรก็ได้
5) เข้าใจผิดว่าการเลือกตั้งเป็นระบอบประชาธิปไตย การเลือกตั้งเป็นวิธีการอย่างหนึ่งเพื่อเข้าสู่อำนาจทางการเมืองซึ่งเป็นของกลาง หมายความว่าระบอบอะไรๆ เผด็จการ คอมมิวนิสต์ ก็นำไปใช้ได้ทั้งนั้น
6) เข้าใจผิดว่าประมุขแห่งชาติเป็นประมุขระบอบ พวกเขาชอบพูด-เขียนกันเหลือเกินว่า “ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข” นี่คือความเห็นผิดและเขียนผิด กลายเป็นทำลายพระบรมเดชานุภาพพระมหากษัตริย์ จะโดยรู้ตัวหรือไม่รู้ก็ตาม เป็นประมุขแห่งรัฐจึงจะถูกต้อง
หากคณาจารย์กลุ่มนี้ไม่เสนอหลักการปกครองโดยธรรม ก็แสดงให้เห็นว่านิติราษฎร์ เบื้องลึกอยากให้มีรัฐประหาร พวกเธอเป็นพวกลัทธิเผด็จการรัฐธรรมนูญฝ่ายซ้ายตรงข้ามพรรคประชาธิปัตย์ฝ่ายขวา และเป็นแนวร่วมทางตรงให้พรรคคอมมิวนิสต์กลุ่มโค่นเจ้า โดยรู้ตัวหรือไม่รู้ตัวก็ตาม
อ่านแถลงการณ์ของคณาจารย์ ม. ธรรมศาสตร์ ซึ่งนำโดย นายวรเจตน์ ภาคีรัตน์ก็รู้ว่าพวกเขารับรองการปกครองแบบเผด็จการรัฐธรรมนูญ ฉบับ 40 และต่อต้านรัฐประหาร แสดงว่าคณาจารย์กลุ่มนี้เป็นแนวร่วมทางตรงให้พรรคคอมมิวนิสต์นั่นเอง ทั้งนี้เพราะพรรคคอมมิวนิสต์ มันจะพยายามรักษาระบอบเผด็จการไว้ให้ยาวนานที่สุดและเมื่อประชาชนทนไม่ได้ทหารก็จะออกมาทำรัฐประหาร จากนั้นจึงนำมวลชนที่ไม่รู้เท่าทันออกมาต่อต้านคณะรัฐประหาร เพื่อโค่นกองทัพแห่งชาติ หากโค่นสำเร็จทุกอย่างก็อยู่ในกำมือของพรรคคอมฯ
คณาจารย์กลุ่มนายวรเจตน์ ภาคีรัตน์ จะต้องมีปัญญาจริงๆ อย่างง่ายๆ ตื้นๆ ว่า เผด็จการรัฐธรรมนูญระบบรัฐสภาย่อมเป็นเหตุของรัฐประหารหรือรัฐประหารเป็นผลจากการปกครองเผด็จการรัฐธรรมนูญ
หากคณาจารย์กลุ่มนี้ไม่เป็นแนวร่วมทางตรงให้กับพรรคคอมฯ ท่านทั้งหลายต้องต่อต้านระบอบเผด็จการรัฐธรรมนูญ อันเป็นอุปสรรคร้ายแรงของชาติมายาวนาน 79 ปี อันเป็นแนวคิดลัทธิรัฐธรรมนูญของคณะราษฎร ที่มีแนวคิดผิดพลาดอันใหญ่หลวง คือยกร่าง เขียนร่างรัฐธรรมนูญให้เป็นระบอบประชาธิปไตย ความเห็นผิดนี้เด่นชัดในรัฐธรรมนูญฉบับที่ 5 สมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม ซึ่งเป็นคณะราษฎรอีกปีกหนึ่ง ที่จู่ๆ ก็บัญญัติขึ้นในรัฐธรรมนูญมาตรา 2 ว่า ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตย ทั้งๆ ที่ไม่มีการสถาปนาหลักการปกครอง (ระบอบ) แบบประชาธิปไตยขึ้นเลยแม้แต่น้อย
คณาจารย์กลุ่มนายวรเจตน์ ก็เช่นกัน เป็นทายาทคณะราษฎรที่สืบทอดลัทธิรัฐธรรมนูญ มาจากรุ่นแรก 2475 ท่านทั้งหลายคงจะเห็นชัดว่า การปกครองแบบเผด็จการรัฐธรรมนูญระบบรัฐสภามาคู่กับการรัฐประหารสลับกันเป็นเหตุเป็นผล นี่คือความหลงผิดอย่างร้ายแรงที่เห็นการปกครองแบบเผด็จการรัฐธรรมนูญเป็นระบอบประชาธิปไตย
หากคณาจารย์กลุ่มนี้ไม่เป็นแนวร่วมให้กับพรรคคอมฯ ไม่อยากเห็นรัฐประหาร ก็ต้องเสนอหลักการปกครองแบบประชาธิปไตยออกมาซิ ปากร้องว่าต้องการประชาธิปไตย แต่ไม่เสนอหลักการปกครองแบบประชาธิปไตย มันเป็นแนวทางเดียวกับพวกลัทธิเผด็จการทั้งหลายที่ “ปิดหลักการ เปิดไม่ได้เพราะมีนัยแฝงอยู่ เช่น โค่นสถาบันหลักของชาติ เป็นต้น เปิดแต่วิธีการ เช่นที่ทำอยู่”
ท่านผู้อ่านที่รักทั้งหลาย รัฐธรรมนูญทุกฉบับ ไม่เคยมีหลักการปกครองประชาธิปไตยซึ่งก็คือไม่เคยมีระบอบประชาธิปไตยนั่นเอง มันมีแต่เพียงรูปแบบการปกครอง (ระบบรัฐสภา) และวิธีการปกครอง (รัฐธรรมนูญมาตราต่างๆ และการเลือกตั้งเท่านั้น แล้วโกหกว่าเป็นระบอบประชาธิปไตย แต่มันก็ช่วยกันหลอกประชาชนมายานานตั้ง 79-80 ปี
คณาจารย์กลุ่มนายวรเจตน์ ภาคีรัตน์ ขอถามว่า ระหว่างจุดมุ่งหมายกับวิธีการไปสู่จุดมุ่งหมาย อะไรต้องเกิดก่อนหรือมาก่อน คนมีสติดีก็ต้องตอบว่า จุดมุ่งหมายต้องมาก่อน นายวรเจตน์ กลับเห็นว่าวิธีการต้องเกิดก่อนและเถียงกันว่าวิธีการฝ่ายรัฐประหารเราไม่เอา เราชอบวิธีการรัฐธรรมนูญปี 40 มันก็เห็นผิดเหมือนกันทั้งคู่ คิดง่ายๆ “ดวงอาทิตย์ต้องมาก่อนดาวเคราะห์และเป็นศูนย์กลางของดาวเคราะห์ ฉันใด” “หลักการปกครองหรือระบอบโดยธรรมต้องมาก่อน และเป็นศูนย์กลางของรัฐธรรมนูญฉันนั้น”
พวกลัทธิรัฐธรรมนูญ (รวมทั้งคณาจารย์กลุ่มนายวรเจตน์ ภาคีรัตน์ มีความเห็นผิดอย่างร้ายแรง 6 ประการ ได้แก่
1) เข้าใจผิดในการจัดความสัมพันธ์ระหว่างระบอบกับรัฐธรรมนูญรัฐธรรมนูญของไทยเราทั้ง 18 ฉบับ ไม่เคยมีหลักการปกครองโดยธรรมหรือตัวที่บ่งชี้ให้รู้ว่าเป็นระบอบอะไรมีเพียงรูปการปกครองคือระบบรัฐสภา และวิธีการปกครอง ได้แก่ หมวด และมาตราต่างๆ
2) ความเข้าใจผิดว่าการยกร่างรัฐธรรมนูญคือการสร้างระบอบประชาธิปไตย ความถูกต้องคือรัฐธรรมนูญเป็นเพียงกฎหมายหน้าที่ของกฎหมาย คือ รักษาคุ้มครองและสะท้อนความเป็นระบอบนั้นๆ การเอากฎหมายไปสร้างระบอบร้อยครั้ง พันฉบับ นอกจากจะไม่ได้ระบอบที่แท้จริงแล้ว จะทำให้ล้มเหลวซ้ำซาก และเกิดวิกฤตชาติหายนะเรื่อยไป โดยไม่รู้จบสิ้น
3) เข้าใจผิดว่ารัฐธรรมนูญคือระบอบประชาธิปไตย “รัฐธรรมนูญไม่ใช่ระบอบประชาธิปไตย” ก่อนอื่นต้องสถาปนาระบอบหรือหลักการปกครองขึ้นมาก่อนโดยพระเจ้าแผ่นดิน จากนั้นจึงร่างรัฐธรรมนูญให้สอดคล้องกับหลักการปกครองจึงจะถูกต้อง และเป็นการแก้ไขเหตุวิกฤตชาติให้ตกไปได้
4) เข้าใจผิดว่ารูปการปกครอง (Form of Government) เป็นระบอบประชาธิปไตย คือเข้าใจผิดว่าระบบรัฐสภา (Parliamentary System) เป็นระบอบประชาธิปไตย อันที่จริงรูปการปกครองมีไว้เพื่อสัมพันธภาพขององค์กรแห่งอำนาจอธิปไตยระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร และฝ่ายตุลาการ จะถ่วงดุลอำนาจกันอย่างไร ซึ่งไม่เกี่ยวว่าจะเป็นระบอบอะไรก็ได้
5) เข้าใจผิดว่าการเลือกตั้งเป็นระบอบประชาธิปไตย การเลือกตั้งเป็นวิธีการอย่างหนึ่งเพื่อเข้าสู่อำนาจทางการเมืองซึ่งเป็นของกลาง หมายความว่าระบอบอะไรๆ เผด็จการ คอมมิวนิสต์ ก็นำไปใช้ได้ทั้งนั้น
6) เข้าใจผิดว่าประมุขแห่งชาติเป็นประมุขระบอบ พวกเขาชอบพูด-เขียนกันเหลือเกินว่า “ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข” นี่คือความเห็นผิดและเขียนผิด กลายเป็นทำลายพระบรมเดชานุภาพพระมหากษัตริย์ จะโดยรู้ตัวหรือไม่รู้ก็ตาม เป็นประมุขแห่งรัฐจึงจะถูกต้อง
หากคณาจารย์กลุ่มนี้ไม่เสนอหลักการปกครองโดยธรรม ก็แสดงให้เห็นว่านิติราษฎร์ เบื้องลึกอยากให้มีรัฐประหาร พวกเธอเป็นพวกลัทธิเผด็จการรัฐธรรมนูญฝ่ายซ้ายตรงข้ามพรรคประชาธิปัตย์ฝ่ายขวา และเป็นแนวร่วมทางตรงให้พรรคคอมมิวนิสต์กลุ่มโค่นเจ้า โดยรู้ตัวหรือไม่รู้ตัวก็ตาม
มาบตาพุดกับการยืนยัน(ร่าง)กฎหมายองค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อม
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับ 2550 ประกาศบังคับใช้ในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2550 อาจถือได้ว่าเป็นรัฐธรรมนูญฉบับที่ให้ความสำคัญกับ “สิทธิชุมชน” และ “สิทธิสิ่งแวดล้อม” ไว้เด่นชัดเป็นรูปธรรมที่สุด โดยเฉพาะในบทบัญญัติมาตรา 66 และ 67 ที่เจตนารมณ์ของกฎหมายในมาตราดังกล่าวสามารถบังคับใช้ได้ทันทีที่รัฐธรรมนูญ ประกาศบังคับใช้ในราชกิจจานุเบกษา
สิทธิดังกล่าวแม้จะไม่ใช่เรื่องใหม่เพราะใน
รัฐธรรมนูญ ฉบับ 2540 ก็ได้เคยบัญญัติไว้บางส่วนแล้วในมาตรา 46 และมาตรา 56
แต่ทว่าในฉบับปี 2540 มิได้สามารถนำมาบังคับใช้ได้ทันที
ต้องรอให้มีการออกกฎหมายลูกขึ้นมารองรับเจตนารมณ์ของกฎหมายดังกล่าวเสียก่อน
เพราะในตอนท้ายของกฎหมายกลับเขียนไว้ว่า “ทั้งนี้ตามที่กฎหมายบัญญัติ”
เพราะในภาษากฎหมายเป็นที่รู้กันว่า
ถ้ายังไม่มีกฎหมายลูกเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญมาตราดังกล่าวก็ไม่สามารถนำมา
บังคับใช้ได้
เรื่องดังกล่าวจึงเข้าล็อคของเหล่านักการ
เมือง
ผู้ประกอบการนายทุนและข้าราชการบางส่วนที่ไม่ต้องการให้รัฐธรรมนูญมาตราดัง
กล่าวมีผลบังคับใช้
ดังนั้นเราจึงเห็นเป็นรูปธรรมเด่นชัดว่าตลอดระยะเวลาเกือบ 9 ปี
ตั้งแต่วันที่รัฐธรรมนูญฉบับ 2540 ประกาศใช้ 11 ตุลาคม 2540
จนถึงวันที่รัฐธรรมนูญถูกยกเลิก 19 กันยายน 2549
การผลักดันให้มีกฎหมายลูกเพื่ออนุวัตรให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของมาตรา 46 และ
56 จึงไม่สามารถบังเกิดขึ้นได้
แต่หลังจากที่เรามีรัฐธรรมนูญฉบับปี 2550
ขึ้นมาและประกาศใช้เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2550 ความพยายามที่จะขัดขวาง
หรือต่อต้าน หรือไม่เห็นชอบให้มีการอนุวัตรกฎหมายลูกให้ออกมาบังคับใช้
ยังคงถูกต่อต้านตลอดเวลาจากพวกนักการเมือง ผู้ประกอบการนายทุน
และข้าราชการบางส่วนที่เกี่ยวข้อง แม้จะได้มีการเสนอ กระตุ้น ร้องเรียน
ต่าง ๆ นานาจากภาคประชาสังคมมากมายเพียงใดก็ตาม
จนในที่สุดระยะเวลาผ่านไปเกือบ 2
ปีความกระตือรือร้นที่จะผลักดันกฎหมายดังกล่าวให้นำเข้าสภาให้เห็นชอบแล้วนำ
ออกมาประกาศบังคับใช้ก็ไม่เป็นผล
ในที่สุดสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อนและชาวบ้านมาบตาพุด
เริ่มจับเล่ห์ฉลของเหล่านักการเมือง นายทุน และข้าราชการที่เกี่ยวข้องได้
จึงได้ใช้มาตรการทางกฎหมาย
ขึ้นมาใช้ทันทีโดยฟ้องหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง 8
หน่วยงานต่อศาลปกครองกลาง เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2552
ฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ ไม่ดำเนินการให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา
67 วรรคสอง
ต่อมาไม่นานวันที่ 29 กันยายน 2552
ศาลปกครองกลางได้มีคำสั่งให้การคุ้มครองชั่วคราวสิทธิชุมชนของชาวบ้านใน
พื้นที่มาบตาพุดและบ้านฉาง ตามคำฟ้องโดยสั่งให้หน่วยงานรัฐผู้ถูกฟ้อง 8
หน่วยงานได้สั่งให้ผู้ประกอบการนายทุนเจ้าของโครงการหรือกิจกรรมประเภท
รุนแรงจำนวน 76 โครงการระงับการดำเนินโครงการไว้เป็นการชั่วคราวก่อน
คำสั่งของศาลปกครองกลางดังกล่าว
เปรียบเสมือนฟ้าผ่าลงมากลางหัวใจของรัฐบาลและนักธุรกิจทุนอุตสาหกรรมทั้ง
หลาย เพราะไม่มีใครคาดคิดว่า พลังของสิทธิชุมชนจากชาวบ้านตัวเล็ก ๆ
จะสามารถทำให้เหล่าพวกยักษ์อุตสาหกรรมและหน่วยงานรัฐร้องโอดโอยไปได้
เพราะคงไม่มีใครคาดคิดอีกเช่นกันว่าผู้กุมอำนาจรัฐทั้งหลาย
จะพ่ายแพ้มรรควิธีตามกระบวนการของกฎหมายโดยภาคประชาสังคม
นักการเมือง นายทุน
และข้าราชการที่เกี่ยวข้องต่างออกมาเสนอหน้าเพื่อขอความเห็นใจและเร่งรีบ
ผลักดันให้มีกฎหรือระเบียบและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับรัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา
67 วรรคสอง แทบจะโดยทันที ไม่ว่าภาคประชาสังคม
ประชาชนจะเสนอแนะอะไรเป็นตอบรับเห็นดีเห็นงามไปหมด
จนในที่สุดเราก็ได้ระเบียบหรือแนวทางเกี่ยวกับการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผล
กระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพหรือ EHIA ได้ประเภทกิจการรุนแรง
และเราก็ได้ร่างกฎหมายองค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ พ.ศ.
ที่ผ่านกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและผู้มีส่วนได้เสียแล้วจากทุก
ภูมิภาคทั่วประเทศ
แต่เนื่องจากเกรงว่าภาคธุรกิจผู้ประกอบการจะ
เสียหายไปมากกว่านี้จึงได้ช่วยกันผ่อนปรนหรือยอมอ่อนข้อให้มีการจัดตั้ง
องค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพขึ้นมาเป็นการชั่วคราวก่อน
ในรูปแบบของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี
และคาดหวังว่าเมื่อร่างกฎหมายดังกล่าวผ่านความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี
ผ่านกฤษฎีกา ผ่านสภาผู้แทนราษฎร ผ่านวุฒิสภาแล้วจะมี
“องค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ”
ที่ถาวรอยู่ในรูปพระราชบัญญัติโดยเร็วต่อไปทันที
แต่เผอิญมีการยุบสภาไปเสียก่อน
ร่างกฎหมายดังกล่าวจึงต้องค้างพิจารณาไว้ที่รัฐสภา
จนกว่าจะมีสภาผู้แทนชุดใหม่ และมีคณะรัฐมนตรีชุดใหม่เข้ามาทำงานแล้ว
เพราะตามหลักรัฐธรรมนูญ มาตรา 153
เมื่อมีคณะรัฐมนตรีชุดใหม่หลังจากการเลือกตั้ง
หากมีกฎหมายใดที่ค้างการพิจารณาอยู่ในรัฐสภาจะต้องตกไป
เว้นแต่คณะรัฐมนตรีชุดใหม่จะได้ร้องขอกลับไปยังรัฐสภาภายใน 60
วันหลังจากมีการเรียกประชุมรัฐสภาครั้งแรก (1 สิงหา 54) กฎหมายต่าง ๆ
ที่ค้างรัฐสภาอยู่ก็จะสามารถเดินหน้าการพิจารณาต่อไปได้
เรื่องนี้สมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน
และผองเพื่อนได้ยื่นจดหมายถึงท่านายกรัฐมนตรีและท่านรัฐมนตรีกระทรวง
ทรัพยากรฯแล้ว 2 ครั้ง
เพื่อขอให้ท่านได้ยืนยันร่างกฎหมายดังกล่าวให้สภาฯได้พิจารณาดำเนินการต่อไป
เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายที่รัฐบาลได้แถลงต่อรัฐสภาเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม
54 ที่ระบุไว้ในนโยบาย ข้อที่ 5.3 เกี่ยวกับนโยบายที่ดิน
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ว่าจะดูแลรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมและเร่งรัดการควบคุมมลพิษ
โดยการปรับปรุงกฎหมายสิ่งแวดล้อม รวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการ
การประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม
การประเมินผลกระทบทางสุขภาพ
ปรับปรุงกองทุนสิ่งแวดล้อมเพื่อให้เอื้อต่อการเข้าถึงขององค์กรภาคประชาชน
และผลักดันกฎหมายว่าด้วยองค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อม
ปัจจุบันเท่าที่ทราบข่าวมาว่าฝ่ายการเมือง
โดยเฉพาะกลุ่มสายอดีตรัฐมนตรียิงตู้เย็นพรุน
ไม่ต้องการให้มีกฎหมายฉบับดังกล่าวเกิดขึ้น
ในขณะเดียวกันฝ่ายราชการประจำในกระทรวงที่เกี่ยวข้องก็เห็นพ้องด้วย
เพราะหากปล่อยให้มีองค์การอิสระฯถาวรขึ้นมา
อาจจะเป็นการสร้างองค์กรใหม่มาบดบังรัศมีหน่วยงานของตนนั่นเอง
เรื่องนี้ต้องติดตามดูกันต่อไป
ถ้ารัฐบาลปฏิเสธไม่ยอมยืนยันกฎหมายดังกล่าวให้รัฐสภาพิจารณาต่อไป
ก็จะเป็นหลักฐานที่สำคัญที่สมาคมฯจักต้องนำเสนอต่อศาลปกครอง
และศาลรัฐธรรมนูญในคดีที่สมาคมฟ้องร้องเกี่ยวพันอยู่กับประเด็นดังกล่าวใน
หลาย ๆ คดีต่อไป ซึ่งจะชี้ให้ศาลเห็นว่ารัฐบาลหลอกลวงประชาชนมาโดยตลอด
โดยเฉพาะคดีมาบตาพุดที่ยังรอการพิสูจน์ข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายในชั้นศาล
ปกครองสูงสุดอยู่ รวมทั้งการก้าวย่างสู่ศาลรัฐธรรมนูญ
และจะพิสูจน์เจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 66 และ 67 ในอีกหลายคดี
ซึ่งหากรัฐบาลเบี้ยวไม่ยืนยันร่างกฎหมายดังกล่าว
สมาคมฯจำต้องร่วมมือกับชาวบ้านทั่วประเทศ
จะช่วยกันฟ้องร้องรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแบบไม่ไว้หน้ากัน
หรือไม่ต้องเกรงใจกันอีกต่อไป อาทิ
คดีการก่อตั้งนิคมอุตสาหกรรมบ้านค่ายใน
จังหวัดระยอง คดีการไม่ยอมประกาศผังเมืองรวมในพื้นที่มาบตาพุด
และจังหวัดระยอง
คดีเรียกค่าเสียหายจากผลกระทบจากการแพร่กระจายมลพิษจากนิคมอุตสาหกรรมมาบตา
พุดและใกล้เคียง คดีล้มโรงไฟฟ้า IPP-SPP ทั่วประเทศ
คดีล้มโครงการย้ายโรงงานยาสูบไปที่อยุธยา คดีล้มโครงการรถไฟฟ้าทั้ง 10
สายใน กทม. คดีล้มมอเตอร์เวย์ทั่วประเทศ คดีล้มแลนด์บริดจ์ท่าเรือปากบารา
คดีล้มกองทุนน้ำมัน คดีล้มโครงการใช้ไฟฟ้าฟรี 90 หน่วย และอีกหลาย ๆ คดี
เรื่องนี้ไม่ใช่ขู่แต่เอาจริง ตราบใดที่รัฐบาลปฏิเสธไม่ยืนยันร่าง พรบ.องค์การอิสระฯเข้าสภาภายใน 29 ก.ย.นี้...ไม่เชื่อลองดูกัน...
โดย..นายศรีสุวรรณ จรรยานายกสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน
www.thaisgwa.co
"พนัส ทัศนียานนท์" อดีตคณบดีนิติศาสตร์ มธ.โต้ 15 คำถามของศ. ดร.สมคิด เลิศไพฑูรย์ ตั้งคำถามต่อนักวิชาการกลุ่มนิติราษฎร์
พนัส ทัศนียานนท์ อดีตคณบดี คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อดีต สสร.รัฐธรรมนูญ 2540 และสว. จากการเลือกตั้งสมัยแรก ตอบคำถาม 15 ประเด็นที่ ศ. ดร.สมคิด เลิศไพฑูรย์ ตั้งคำถามต่อนักวิชาการกลุ่มนิติราษฎร์ที่ออกมาเสนอให้ลบล้างผลพวงแห่งการรัฐประหาร 19 กันยายน2549
โดยเขาโพสต์ข้อความดังกล่าวลงในเฟซบุ๊กส่วนตัว ซึ่งประชาไทขออนุญาตนำเผยแพร่อีกครั้ง และเพื่อความสะดวกแก่ผู้อ่าน ประชาไทได้นำคำถามของ ดร.สมคิด เลิศไพฑูรย์ อธิการบดีคนปัจจุบันของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มาเรียบเรียงในลักษณะ ถาม-ตอบ ดังนี้
1เราสามารถยกเลิกกฎหมายที่ถูกยกเลิกไปแล้วได้หรือไม่ เช่นการยกเลิก รธน. 2549
ตอบ นิติราษฎร์ไม่ได้เสนอให้ยกเลิกรธน. 2549 แต่ให้ถือว่าการนิรโทษกรรมให้แก่ผู้ทำรัฐประหารตามมาตรา 37 ไม่เกิดผลตามกฎหมาย
2.ถ้าตำรวจจับคนร้ายที่ทำผิดจริงมาแต่ไม่ได้สอบสวนโดยละเอียด ต่อมาคนร้ายถูกฟ้องศาล มีการโต้แย้งว่ากระบวนการของตำรวจไม่ค่อยถูกต้อง แต่ศาลเห็นว่าไม่เป็นไร ศาลก็พิพากษาไป ตกลงคำพิพากษาของศาลใช้ได้หรือไม่
ตอบ ตามป.วิอาญา การสอบสวนที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ย่อมมีผลทำให้การฟ้องคดีของอัยการไม่ชอบด้วยกฎหมายด้วย ซึ่งโดยหลักการพิจารณาคดีก็ต้องถือว่าไม่ชอบทั้งหมด แต่ศาลไทยบอกไม่เป็นไร หากพิจารณาว่าจำเลยกระทำผิดจริง ก็ลงโทษจำเลยได้ ซึ่งก็เหมือนกับการยอมรับว่าการรัฐประหาร(การกระทำความผิดฐานกบฎ)เป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมายหากทำสำเร็จนั้นเอง
3.ถ้ามีคนเห็นว่ากระบวนการยุติธรรมในช่วง คมช.ไม่ถูกต้อง ก็ให้ดำเนินการใหม่ คนอีกกลุ่มเห็นว่าการตัดสินคดีซุกหุ้น ศาลตัดสินผิดโดยสิ้นเชิง คนกลุ่มหลังจะขอให้ยกเลิกรธน. 2540 ตั้งศาลรธน.ใหม่ แล้วพิพากษาคดีซุกหุ้นใหม่ จะได้หรือไม่
ตอบ ศาลรัฐธรรมนูญที่ตัดสินคดีซุกหุ้นของทักษิณ เกิดจากรธน. 2540 ที่มิได้มีที่มาจาการรัฐประหารเหมือน รธน.2550 หากมีหลักฐานพิสูจน์ได้ว่าศาลตัดสินผิดก็น่าจะมีการออกกฎหมายมาให้รื้อฟื้นคดีใหม่ได้ โดยไม่ต้องยก
เลิกรธน. 2540 ซึ่งมิได้เกิดขึ้นจากการกระทำผิดกฎหมายฐานกบฎ (การทำรัฐประหาร)
4.ประชาชนจะลงมติแก้รธน.ที่ถูกยกเลิกไปแล้วได้หรือไม่
ตอบ เป็นคำถามประเด็นเดียวกันกับคำถามที่ 1 คำตอบก็คือไม่ใช่การแก้รัฐธรรมนูญที่ถูกยกเลิกไปแล้ว แต่เป็นการยกเลิกเพิกถอนผลของการกระทำที่เกิดจากรัฐธรรมนูญที่เป็นผลพวงของการรัฐประหารที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
5.รธน.2550 ได้รับการลงประชามติโดยประชาชน ในทางกฎหมายเราจะพูดได้หรือไม่ว่า ประชาชนลงมติโดยไม่ถูกต้อง หรือรธน. 2550 ไม่ได้ผ่านความเห็นชอบของประชาชน?
ตอบ พูดได้ เพราะมีการหลอกลวงขู่เข็ญบังคับให้ประชาชนลงมติ จึงเป็นการลงประชามติที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
6.ตั้งโดยคมช. ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองก็ตั้งโดย คมช. ใช่หรือไม่
ตอบ คตส.ตั้งโดย คมช.แน่นอน ส่วนศาลฎีกาแผนกคดีอาญานักการเมืองก็เกิดจากรัฐธรรมนูญ 2550 ซึ่ง คมช.เป็นผู้ให้กำเนิดเช่นกัน ดังนั้น เมื่อการกระทำรัฐประหารของคมช.เป็นการกระทำที่ละเมิดบทบัญญัติมาตรา 63 แห่งรธน. 2540 และเป็นความผิดฐานกบฎตามป.อาญามาตรา 113 ทั้งคตส.และศาลฎีกาแผนกคดีอาญานักการเมืองจึงเป็นองค์กรที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายด้วยกันทั้งคู่
7.การดำเนินการตามแนวคิดของนิติราษฎร์ ไม่มีผลทางกฎหมายต่อนายกทักษิณเลยใช่หรือไม่
ตอบ ตามที่นิติราษฎร์แถลง มีผลโดยตรงแน่นอน คือต้องพิจารณาคดีใหม่โดยกระบวนการยุึติธรรม ที่ชอบด้ยหลักนิติธรรม ถ้ากระทำผิดจริงตามข้อกล่าวหาก็ต้องถูกลงโทษ
8.มาตรา 112 ขัดแย้งกับ รธน .จริงหรือ และขัดกับรธน. 2550 ที่จะถูกยกเลิกใช่หรือไม่
ตอบ ป.อาญา ม.112 เท่าที่มีการตีความและใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันมีผลขัดแย้งกับรัฐธรรมนูญแน่นอน เพราะเป็นการลิดรอนเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของประชาชนซึ้งเป็นสิทธิขั้นมูลฐานตามรธน.ของประชาชนโดยสิ้นเชิง แต่อาจไม่ขัดแย้งกับรธน.2550 เพราะเจตนารมณ์ของผู้ร่าง (สสร. 2550) ไม่ถือว่าขัดแย้งอยู่แล้ว
9.ประเทศทั้งหลายในโลกรวมทั้งเยอรมัน เขาไม่คุ้มครองประมุขของประเทศเป็นพิเศษแตกต่างไปจากประชาชนใช่หรือไม่
ตอบ ทุกประเทศมีกฎหมายคุ้มครองประมุขของประเทศ แต่ประเทศที่เป็นประชาธิปไตยอย่างเช่นเยอรมัน อังกฤษ อเมริกา เขาถือว่าเสรีภาพในการแสดงออกซึ่งความคิดเห็นของประชาชนเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในการปกครองระบอบประชาธิปไตยตามหลักนิติธรรม ประมุขของประเทศจึงอาจถูกวิพากษ์วิจารณ์ได้ หากมีการกระทำใด ๆที่มีผลต่อการเมืองการปกครองของประเทศไม่ว่าจะโดยตรงหรือโดยอ้อม
10.ถ้ามีคนไปโต้แย้งนิติราษฎร์ในที่สาธารณะเขาจะไม่ถูกขว้างปาและโห่ฮาเหมือนกับหมอตุลย์ใช่หรือไม่
ตอบ หากท่านคิดจะไปโต้แย้งกับนิติราษฎร์ ท่านอธิการก็จัดเวทีที่ธรรมศาสตร์สิครับ ผมเชื่อว่าไม่มีใครกล้าโห่ฮาท่านแน่นอน
11.ถ้าเรายกเลิกกฎหมายที่ถูกยกเลิกไปแล้วได้ เราจะล้มเลิกการกระทำทั้งหลายและลงโทษคณะรัฐประหารกี่ชุด สุจินดา ถนอม ประภาศ สฤษฏ์ จอมพล ป. อ.ปรีดี หรือจะลงโทษเฉพาะคณะรัฐประหารที่กระทำต่อนายกทักษิณ
ตอบ การประกาศให้ผลของการรัฐประหาร ไม่เป็นการนิรโทษกรรมให้แก่ผู้กระทำผิดฐานกบฎ โดยการแก้ไขรัฐธรรมนูญ และให้ประชาชนลงประชามติตามที่นิติราษฎร์เสนอ เป็นการยกเลิกการนิรโทษกรรมที่กำหนดไว้ใน รธน. 2550 ไม่ใช่ยกเลิกกฎหมายที่ยกเลิกไปแล้ว ส่วนที่ถามว่าทำไมไม่ยกเลิกผลของการกระทำรัฐประหารของสุจินดา ถนอม สฤษดิ์ จอมพล ป. ปรีดี แล้วเอาตัวคนเหล่านี้มาลงโทษฐานกบฎด้วย เห็นด้วยว่าสมควรทำในสิ่งที่ยังพอกระทำได้ เช่นการให้ความช่วยเหลือเยียวยาแก่ผู้ที่ได้รับผลร้ายจากการกระทำรัฐประหารเหล่านั้น (โดยเฉพาะผู้ที่ถูกลงโทษโดยไม่ผ่านการพิจารณาคดีตามกระบวนการยุติธรรม) แต่การนำตัวผู้กระทำรัฐประหารมาลงโทษคงกระทำไม่ได้แล้วเพราะผู้กระทำผิดส่วนใหญ่ตายไปแล้ว ที่ยังเหลืออยู่คดีก็ขาดอายุความหมดแล้ว
12.ความเห็นของนักกฎหมายที่เห็นไม่ตรงกับนิติราษฎร์แต่ดีกว่านิติราษฎร์ รัฐบาลนี้จะรับไปใช่หรือไม่
ตอบ ช่วยเสนอให้หน่อยว่าความเห็นของท่านที่ดีกว่าของนิติราษฎร์ คือ อย่างไร ถ้าดีกว่าจริงจะขอสนับสนุนเต็มที่เลย ในฐานะที่เป็นนักกฎหมายด้วยกัน
13.ศาลรธน. ช่วยนายกทักษิณคดีซุกหุ้นถือว่าใช้ได้ แต่ไม่ช่วยคดียึดทรัพย์ถือว่าใช้ไม่ได้ เป็นตุลาการภิวัตน์ใช่หรือไม่
ตอบ ตุลาการภิวัตน์ คือตุลาการที่ยอมตนเป็นเครื่องมือและอาวุธให้แก่ผู้มีอำนาจกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งได้ใช้เพื่อประหัตประหารและทำลายล้างศัตรูของตน ตุลาการศาลทั้งในคดีซุกหุ้นและคดียึดทรัพย์ทักษิณ จึงเป็นตุลาการภิวัฒน์ด้วยกันทั้งสิ้น เพียงแต่ว่าในคดีซุกหุ้นตุลาการภิวัตน์เป็นฝ่ายแพ้
14.บทบัญญัติว่าด้วยสิทธิเสรีภาพของประชาชนตามรธน. 2550 แย่กว่า รธน. 2540, 2475 ที่นิติราษฎร์จะนำมาใช้ใช่หรือไม่
ตอบ บทบัญญัติว่าด้วยสิทธิเสรีภาพตามรธน.2550 และฉบับอื่นทุกฉบับไม่มีความหมายอะไรเลย ไม่มีฉบับใดดีกว่ากัน เพราะตราบใดที่ตุลาการไทยยังยอมรับว่ารัฏฐาธิปัตย์คือผู้ที่ได้อำนาจอธิปไตยมาโดยรถถังและปืนและอำนาจอธิปไตยไม่ใช่อำนาจของประชาชน
15.คมช. เลว สสร.ที่มาจาก คมช.ก็เลว รธน.2550 ที่มาจาก สสร.ก็เลว แต่รัฐบาลที่มาจาก รธน. เลว เป็นรัฐบาลดีใช่หรือไม่สสร.ที่มาจากรัฐบาลชุดนี้ และที่ อ.วรเจตน์จะเข้าร่วม ก็เป็นสสร.ที่ดีใช่หรือไม่”
ตอบ ไม่ใช่เรื่องใครดีใครเลว แต่เป็นเรื่องของหลักการในทางนิติศาสตร์ ที่จะต้องมีการยืนยันว่าระหว่างอำนาจรัฐกับเสรีภาพของประชาชนและระหว่างระบอบเผด็จการกับระบอบประชาธิปไตย นักกฎหมายควรจะยืนอยู่ข้างใดมากกว่า
จากเว็บ go6
โดยเขาโพสต์ข้อความดังกล่าวลงในเฟซบุ๊กส่วนตัว ซึ่งประชาไทขออนุญาตนำเผยแพร่อีกครั้ง และเพื่อความสะดวกแก่ผู้อ่าน ประชาไทได้นำคำถามของ ดร.สมคิด เลิศไพฑูรย์ อธิการบดีคนปัจจุบันของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มาเรียบเรียงในลักษณะ ถาม-ตอบ ดังนี้
1เราสามารถยกเลิกกฎหมายที่ถูกยกเลิกไปแล้วได้หรือไม่ เช่นการยกเลิก รธน. 2549
ตอบ นิติราษฎร์ไม่ได้เสนอให้ยกเลิกรธน. 2549 แต่ให้ถือว่าการนิรโทษกรรมให้แก่ผู้ทำรัฐประหารตามมาตรา 37 ไม่เกิดผลตามกฎหมาย
2.ถ้าตำรวจจับคนร้ายที่ทำผิดจริงมาแต่ไม่ได้สอบสวนโดยละเอียด ต่อมาคนร้ายถูกฟ้องศาล มีการโต้แย้งว่ากระบวนการของตำรวจไม่ค่อยถูกต้อง แต่ศาลเห็นว่าไม่เป็นไร ศาลก็พิพากษาไป ตกลงคำพิพากษาของศาลใช้ได้หรือไม่
ตอบ ตามป.วิอาญา การสอบสวนที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ย่อมมีผลทำให้การฟ้องคดีของอัยการไม่ชอบด้วยกฎหมายด้วย ซึ่งโดยหลักการพิจารณาคดีก็ต้องถือว่าไม่ชอบทั้งหมด แต่ศาลไทยบอกไม่เป็นไร หากพิจารณาว่าจำเลยกระทำผิดจริง ก็ลงโทษจำเลยได้ ซึ่งก็เหมือนกับการยอมรับว่าการรัฐประหาร(การกระทำความผิดฐานกบฎ)เป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมายหากทำสำเร็จนั้นเอง
3.ถ้ามีคนเห็นว่ากระบวนการยุติธรรมในช่วง คมช.ไม่ถูกต้อง ก็ให้ดำเนินการใหม่ คนอีกกลุ่มเห็นว่าการตัดสินคดีซุกหุ้น ศาลตัดสินผิดโดยสิ้นเชิง คนกลุ่มหลังจะขอให้ยกเลิกรธน. 2540 ตั้งศาลรธน.ใหม่ แล้วพิพากษาคดีซุกหุ้นใหม่ จะได้หรือไม่
ตอบ ศาลรัฐธรรมนูญที่ตัดสินคดีซุกหุ้นของทักษิณ เกิดจากรธน. 2540 ที่มิได้มีที่มาจาการรัฐประหารเหมือน รธน.2550 หากมีหลักฐานพิสูจน์ได้ว่าศาลตัดสินผิดก็น่าจะมีการออกกฎหมายมาให้รื้อฟื้นคดีใหม่ได้ โดยไม่ต้องยก
เลิกรธน. 2540 ซึ่งมิได้เกิดขึ้นจากการกระทำผิดกฎหมายฐานกบฎ (การทำรัฐประหาร)
4.ประชาชนจะลงมติแก้รธน.ที่ถูกยกเลิกไปแล้วได้หรือไม่
ตอบ เป็นคำถามประเด็นเดียวกันกับคำถามที่ 1 คำตอบก็คือไม่ใช่การแก้รัฐธรรมนูญที่ถูกยกเลิกไปแล้ว แต่เป็นการยกเลิกเพิกถอนผลของการกระทำที่เกิดจากรัฐธรรมนูญที่เป็นผลพวงของการรัฐประหารที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
5.รธน.2550 ได้รับการลงประชามติโดยประชาชน ในทางกฎหมายเราจะพูดได้หรือไม่ว่า ประชาชนลงมติโดยไม่ถูกต้อง หรือรธน. 2550 ไม่ได้ผ่านความเห็นชอบของประชาชน?
ตอบ พูดได้ เพราะมีการหลอกลวงขู่เข็ญบังคับให้ประชาชนลงมติ จึงเป็นการลงประชามติที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
6.ตั้งโดยคมช. ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองก็ตั้งโดย คมช. ใช่หรือไม่
ตอบ คตส.ตั้งโดย คมช.แน่นอน ส่วนศาลฎีกาแผนกคดีอาญานักการเมืองก็เกิดจากรัฐธรรมนูญ 2550 ซึ่ง คมช.เป็นผู้ให้กำเนิดเช่นกัน ดังนั้น เมื่อการกระทำรัฐประหารของคมช.เป็นการกระทำที่ละเมิดบทบัญญัติมาตรา 63 แห่งรธน. 2540 และเป็นความผิดฐานกบฎตามป.อาญามาตรา 113 ทั้งคตส.และศาลฎีกาแผนกคดีอาญานักการเมืองจึงเป็นองค์กรที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายด้วยกันทั้งคู่
7.การดำเนินการตามแนวคิดของนิติราษฎร์ ไม่มีผลทางกฎหมายต่อนายกทักษิณเลยใช่หรือไม่
ตอบ ตามที่นิติราษฎร์แถลง มีผลโดยตรงแน่นอน คือต้องพิจารณาคดีใหม่โดยกระบวนการยุึติธรรม ที่ชอบด้ยหลักนิติธรรม ถ้ากระทำผิดจริงตามข้อกล่าวหาก็ต้องถูกลงโทษ
8.มาตรา 112 ขัดแย้งกับ รธน .จริงหรือ และขัดกับรธน. 2550 ที่จะถูกยกเลิกใช่หรือไม่
ตอบ ป.อาญา ม.112 เท่าที่มีการตีความและใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันมีผลขัดแย้งกับรัฐธรรมนูญแน่นอน เพราะเป็นการลิดรอนเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของประชาชนซึ้งเป็นสิทธิขั้นมูลฐานตามรธน.ของประชาชนโดยสิ้นเชิง แต่อาจไม่ขัดแย้งกับรธน.2550 เพราะเจตนารมณ์ของผู้ร่าง (สสร. 2550) ไม่ถือว่าขัดแย้งอยู่แล้ว
9.ประเทศทั้งหลายในโลกรวมทั้งเยอรมัน เขาไม่คุ้มครองประมุขของประเทศเป็นพิเศษแตกต่างไปจากประชาชนใช่หรือไม่
ตอบ ทุกประเทศมีกฎหมายคุ้มครองประมุขของประเทศ แต่ประเทศที่เป็นประชาธิปไตยอย่างเช่นเยอรมัน อังกฤษ อเมริกา เขาถือว่าเสรีภาพในการแสดงออกซึ่งความคิดเห็นของประชาชนเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในการปกครองระบอบประชาธิปไตยตามหลักนิติธรรม ประมุขของประเทศจึงอาจถูกวิพากษ์วิจารณ์ได้ หากมีการกระทำใด ๆที่มีผลต่อการเมืองการปกครองของประเทศไม่ว่าจะโดยตรงหรือโดยอ้อม
10.ถ้ามีคนไปโต้แย้งนิติราษฎร์ในที่สาธารณะเขาจะไม่ถูกขว้างปาและโห่ฮาเหมือนกับหมอตุลย์ใช่หรือไม่
ตอบ หากท่านคิดจะไปโต้แย้งกับนิติราษฎร์ ท่านอธิการก็จัดเวทีที่ธรรมศาสตร์สิครับ ผมเชื่อว่าไม่มีใครกล้าโห่ฮาท่านแน่นอน
11.ถ้าเรายกเลิกกฎหมายที่ถูกยกเลิกไปแล้วได้ เราจะล้มเลิกการกระทำทั้งหลายและลงโทษคณะรัฐประหารกี่ชุด สุจินดา ถนอม ประภาศ สฤษฏ์ จอมพล ป. อ.ปรีดี หรือจะลงโทษเฉพาะคณะรัฐประหารที่กระทำต่อนายกทักษิณ
ตอบ การประกาศให้ผลของการรัฐประหาร ไม่เป็นการนิรโทษกรรมให้แก่ผู้กระทำผิดฐานกบฎ โดยการแก้ไขรัฐธรรมนูญ และให้ประชาชนลงประชามติตามที่นิติราษฎร์เสนอ เป็นการยกเลิกการนิรโทษกรรมที่กำหนดไว้ใน รธน. 2550 ไม่ใช่ยกเลิกกฎหมายที่ยกเลิกไปแล้ว ส่วนที่ถามว่าทำไมไม่ยกเลิกผลของการกระทำรัฐประหารของสุจินดา ถนอม สฤษดิ์ จอมพล ป. ปรีดี แล้วเอาตัวคนเหล่านี้มาลงโทษฐานกบฎด้วย เห็นด้วยว่าสมควรทำในสิ่งที่ยังพอกระทำได้ เช่นการให้ความช่วยเหลือเยียวยาแก่ผู้ที่ได้รับผลร้ายจากการกระทำรัฐประหารเหล่านั้น (โดยเฉพาะผู้ที่ถูกลงโทษโดยไม่ผ่านการพิจารณาคดีตามกระบวนการยุติธรรม) แต่การนำตัวผู้กระทำรัฐประหารมาลงโทษคงกระทำไม่ได้แล้วเพราะผู้กระทำผิดส่วนใหญ่ตายไปแล้ว ที่ยังเหลืออยู่คดีก็ขาดอายุความหมดแล้ว
12.ความเห็นของนักกฎหมายที่เห็นไม่ตรงกับนิติราษฎร์แต่ดีกว่านิติราษฎร์ รัฐบาลนี้จะรับไปใช่หรือไม่
ตอบ ช่วยเสนอให้หน่อยว่าความเห็นของท่านที่ดีกว่าของนิติราษฎร์ คือ อย่างไร ถ้าดีกว่าจริงจะขอสนับสนุนเต็มที่เลย ในฐานะที่เป็นนักกฎหมายด้วยกัน
13.ศาลรธน. ช่วยนายกทักษิณคดีซุกหุ้นถือว่าใช้ได้ แต่ไม่ช่วยคดียึดทรัพย์ถือว่าใช้ไม่ได้ เป็นตุลาการภิวัตน์ใช่หรือไม่
ตอบ ตุลาการภิวัตน์ คือตุลาการที่ยอมตนเป็นเครื่องมือและอาวุธให้แก่ผู้มีอำนาจกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งได้ใช้เพื่อประหัตประหารและทำลายล้างศัตรูของตน ตุลาการศาลทั้งในคดีซุกหุ้นและคดียึดทรัพย์ทักษิณ จึงเป็นตุลาการภิวัฒน์ด้วยกันทั้งสิ้น เพียงแต่ว่าในคดีซุกหุ้นตุลาการภิวัตน์เป็นฝ่ายแพ้
14.บทบัญญัติว่าด้วยสิทธิเสรีภาพของประชาชนตามรธน. 2550 แย่กว่า รธน. 2540, 2475 ที่นิติราษฎร์จะนำมาใช้ใช่หรือไม่
ตอบ บทบัญญัติว่าด้วยสิทธิเสรีภาพตามรธน.2550 และฉบับอื่นทุกฉบับไม่มีความหมายอะไรเลย ไม่มีฉบับใดดีกว่ากัน เพราะตราบใดที่ตุลาการไทยยังยอมรับว่ารัฏฐาธิปัตย์คือผู้ที่ได้อำนาจอธิปไตยมาโดยรถถังและปืนและอำนาจอธิปไตยไม่ใช่อำนาจของประชาชน
15.คมช. เลว สสร.ที่มาจาก คมช.ก็เลว รธน.2550 ที่มาจาก สสร.ก็เลว แต่รัฐบาลที่มาจาก รธน. เลว เป็นรัฐบาลดีใช่หรือไม่สสร.ที่มาจากรัฐบาลชุดนี้ และที่ อ.วรเจตน์จะเข้าร่วม ก็เป็นสสร.ที่ดีใช่หรือไม่”
ตอบ ไม่ใช่เรื่องใครดีใครเลว แต่เป็นเรื่องของหลักการในทางนิติศาสตร์ ที่จะต้องมีการยืนยันว่าระหว่างอำนาจรัฐกับเสรีภาพของประชาชนและระหว่างระบอบเผด็จการกับระบอบประชาธิปไตย นักกฎหมายควรจะยืนอยู่ข้างใดมากกว่า
จากเว็บ go6
หยุดเลย อย่าโทรมา ขอร้อง หยุดเลย
หยุดเลย อย่าโทรมา ขอร้อง หยุดเลย .... เสียงจาก นายกฯ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ที่ส่งผ่านไปยังพี่ชาย (พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร)
ตามรายงานข่าววันนั้น พ.ต.ท.ทักษิณ เสมือนเป็นนายกฯ นั่งหัวโต๊ะ สั่งการอย่างออกนอกหน้า ให้ลูกทีมเร่งแก้ปัญหาเศรษฐกิจ ผลักดันนโยบายต่างๆ รวมไปถึงการแก้ปัญหาน้ำท่วม
โดยสำทับว่า ต้องไม่ทำแบบรัฐบาลที่ผ่านมาที่กำหนดเอาเอง แต่ให้สอบถามประชาชนในหมู่บ้านและในชุมชนนั้นๆ ว่าต้องการอะไร แถมบอกผ่านไปยังรัฐมนตรีแต่ละคนว่า ต้องเขียนโครงการมาก่อน ไม่ใช่ตั้งงบประมาณก่อน
ประเด็นเหล่านี้ ทำให้สังคมเคลือบแคลงพอสมควร ว่า พ.ต.ท.ทักษิณ สั่งการในฐานะอะไร ใช่นายกฯ ต่างแดนหรือไม่? หรือเป็นเพียงแค่ให้คำแนะนำ แต่ถ้าวิเคราะห์จากถ้อยคำที่ออกมา บทบาทน่าจะเป็นผู้สั่งการมากกว่าแนะนำ
สิ่งที่ปรากฏกลายเป็นเรื่องที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก ทำเอานายกฯ ยิ่งลักษณ์ แก้ต่างแทบไม่ทัน ....จน ถึงขั้นแจ้งผ่านรัฐมนตรีทำนองว่า ถ้ามันยุ่งยากนัก ใครอยากโทรหา ก็ตัวใครตัวมัน รัฐมนตรีทุกคนก็มีเบอร์โทรศัพท์สามารถโทรปรึกษาได้อยู่แล้ว ...กลัว!! เสียแล้ว...
หลังปล่อยให้พี่ชายสไกป์ ผ่านเข้ามาในวงประชุม นายกฯ ยิ่งลักษณ์ ก็เกือบเสียศูนย์ โดยไม่รู้ตัว ถึงขั้นบ่นกับคนใกล้ชิดว่า "ถ้าพี่โทรมาเป็นประเด็น ก็อย่าโทรเลย เรื่องน้ำท่วมก็ปวดหัวพออยู่แล้ว ใครอยากคุยอยากปรึกษาต่างคนต่างโทรไปก็แล้วกัน"
ทำเอาที่ประชุมพรรคเพื่อไทยเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา เป็นการประชุมเพื่อประเมินสถานการณ์การบริหารงานรอบ 1 เดือน พร้อมกับให้รัฐมนตรีของพรรค ชี้แจงการนำนโยบายไปปฏิบัติว่าติดขัดอย่างไร เพื่อแจ้งให้ ส.ส.ในพรรครับรู้รับทราบ
หากวิเคราะห์ลงลึกถึงรัฐมนตรีพรรคเพื่อไทย ที่ยกหูต่อสายตรงหาอดีตนายกฯ ทักษิณ อยู่เป็นประจำ นอกเหนือจากนายกฯ ยิ่งลักษณ์ เห็นทีจะมีอยู่ไม่กี่คน เพราะรัฐมนตรีพรรคเพื่อไทยที่เข้ามาท่ามกลางกระแส "นอมินี" หรือ "เด็กฝาก" มีอยู่หลายสายพอสมควร ทั้ง สายเครือญาติ สายพี่สะใภ้ พี่เขย พี่สาว พี่ชาย กลุ่มบ้านเลขที่ 111
ฉะนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย ที่รัฐมนตรีทุกคนจะโทรหา พ.ต.ท.ทักษิณ ได้อย่างที่คิดๆ กัน ถ้ายกหูโทรปรึกษาคนเดียวจบทั้งหมด ปัญหาคงไม่ยุ่งยากและวุ่นวายอย่างที่เห็นๆ
"กลุ่มสายตรง" ที่ยกหูถึง พ.ต.ท.ทักษิณ ได้ เห็นทีจะเป็น ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง พิชัย นริพทะพันธุ์ พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต พล.ต.ท.ชัจจ์ กุลดิลก เป็นต้น ขณะที่รัฐมนตรีหลายคน ไม่กล้าต่อสายตรง นอกจากคอยรับบัญชามากกว่า
อีกกลุ่มเป็น รัฐมนตรีสายตรงผ่านเครือญาติ กองบัญชาการกลุ่มนี้จะมีตั้งแต่ พี่เขย พี่สะใภ้ พี่สาว ของนายกฯ ส่วนบรรดารัฐมนตรีในคาถา ก็จะกระจายอยู่ในกระทรวงต่างๆ
กลุ่มถัดมาเป็น รัฐมนตรีสายตรงนายกฯ ยิ่งลักษณ์ ส่วนใหญ่จะเป็นรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ อย่าง กิตติรัตน์ ณ ระนอง พิชัย นริพทะพันธุ์ เป็นต้น
ดังนั้น เมื่อแบ่งกองบัญชาการอย่างนี้ ย่อมทำให้การบริหาร "ตะกุกตะกัก" เป็นธรรมดา เพราะอำนาจไม่ได้เบ็ดเสร็จอยู่ที่คนใดคนหนึ่ง แต่อำนาจกลับกระจายอยู่ตามเครือญาติ อย่างที่เห็นๆ
ตัวอย่างเห็นชัด นโยบายบ้านหลังแรก กับ รถยนต์คันแรก ที่มีรัฐมนตรีดูแลและควบคุม 2 คน ทั้งคู่มาจาก "นายใหญ่" คนละกลุ่ม ความจริงแล้ว ไม่ว่าจะมาจากสายไหน กลุ่มไหน ไม่สำคัญ แต่อยู่ที่ว่า เวลากำหนดนโยบายอะไรออกมา ควรให้ตกผลึกเสียก่อนที่จะออกมาป่าวประกาศให้สังคมรับรู้ มิฉะนั้น ก็จะเกิดความสับสนอย่างที่เห็นๆ
วันนี้ทั้งคนซื้อและคนขายสับสนวุ่นวายกับนโยบายรัฐ ชักเข้า ชักออก ไหนๆ ก็เป็นรัฐมนตรีกระทรวงการคลังด้วยกัน พรรคเดียวกัน แม้จะเป็นเด็กคนละ "นายใหญ่" แต่ก็ควรคุยกันให้มากกว่านี้ ประชาชนจะได้ไม่สับสนนะท่าน...
.ประชานิยมพาตาย
สกู๊ป : ปู...โปรดทราบ...ประชานิยมพาตาย นาย สบาย
Banks prepare for Greek default, want EU help
หลายธนาคารเตรียมพร้อมเบี้ยวหนี้, ต้องการให้อียูช่วย
เว็บไซต์ athensnews.gr ประเทศกรีซ พาดหัวข่าวนี้ออกมา เช้า 26 ก.ย.2011 ตรงเวลาบ้านเราบ่ายแก่ๆ จันทร์ 26 ก.ย.2554
ดังนั้น ก็เป็นการถูกต้องอย่างยิ่งที่นักเล่นหุ้นไทย พากันขายหุ้นทิ้งแบบเทกระจาด
ระหว่าง เวลาซื้อขาย วันจันทร์ 26 ก.ย.2554 ดัชนีลบหนักตั้งแต่เช้า กระทั่งภาคบ่าย ณ เวลา 14.37 น. ดัชนีลบ 90.15 จุด เท่ากับลบ 9.42% ดัชนีอยู่ที่ 867.86 จุด
หวิดจะต้องใช้เซอร์กิต เบรก อยู่แล้ว แต่อีท่าไหนไม่ทราบคอมฯ ตลาดหลักทรัพย์เกิดเดี้ยงขึ้นมาอย่างน่ารักน่าชัง นานราว 5 นาที และเมื่อเปิดซื้อขายต่อดัชนีก็กระเตื้องขึ้นเรื่อยๆ
ปิดตลาดลบ 54.10 เท่ากับลบ 5.65% ดัชนี 904.06 จุด
ที่เก่งสุดๆ คือ เว็บไวต์สำนัก “ผู้จัดการออนไลน์” พาดหัวข่าวออกมาว่า
สะพัดเม็ดเงินดูไบไหลเข้า ดันหุ้นยืนเหนือ 900 ตลท.แจงระบบป่วนช่วงหลุด 90 จุด
“ทักษิณ ชินวัตร” ตอนนี้อยู่ที่ฮ่องกง อ่านข่าวนี้ก็คงงงเหมือนกัน
ใครรึในดูไบที่สั่ง...?
ตลาด หุ้นไทยดิ่งหนักตั้งแต่สัปดาห์ที่แล้ว เป็นปัจจัยจากภายนอกล้วนๆ ซึ่งหากศึกษาข้อมูลให้ถ่องแท้ก็ต้องยอมรับว่า นักเล่นหุ้นไทยเก่งมาก เพราะภาวะเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา กับยุโรป มันจบแล้ว
รัฐมนตรี กระทรวงการคลังประเทศกรีซ ด้านหน้าไปกรุงวอชิงตัน ดี.ซี.สหรัฐ พบกับผู้นำไอเอ็มเอฟ, ผู้นำธนาคารโลก เพื่อขอกู้เงินงวด 2 มาจ่ายหนี้ที่ครบกำหนดในต้นตุลาคม 2011 จำนวน 340 billion euros
เมื่อ 21 มิ.ย.2011 ไอเอ็มเอฟรับปากจะช่วย €440 billion ($594 billion) แต่บีบคอให้รัฐบาลกรีซของนายกรัฐมนตรี George Papandreou ต้องทำโปรแกรมตัดรายจ่ายของรัฐบาลลงให้เป็นที่พอใจ ซึ่งโหดมาก เช่น หยุดจ่ายเงินบำนาญข้าราชการ และหนักที่สุดคือ
ต้องไล่ข้าราชการออก 30%
ประชาชนกรีซ ชุมนุมต่อต้านมาตรการรัดเข็มขัดของรัฐบาลติดต่อกันมา 3 ปีแล้ว สนามรบก็คือ Syntagma square หรือลานกว้างหน้าอาคารรัฐสภานั่นแหละ เกิดการปะทะกับตำรวจหนักๆ ก็หลายระลอก ใช้ไม้ไล่ตีตำรวจ ขว้างระเบิดขวดน้ำมันใส่ตำรวจ ซึ่งตำรวจก็โต้ด้วยการยิงแก๊สน้ำตาเข้าใส่
สัปดาห์ ที่แล้วพนักงานระบบขนส่งของรัฐบาล กับของเอกชน สามัคคีกันหยุดงานทั้งรถไฟบนดิน รถไฟใต้ดิน รถแท็กซี่ ทำให้กรุงเอเธนส์ เมืองหลวงวังเวง ผู้คนไปไหนมาไหนไม่ได้ 24 ชั่วโมง
และนัดกันว่าถ้ารัฐบาลไม่ฟังประชาชน เดือนตุลาฯ จะหยุดงานอีก
ประเทศ กรีซเวลานี้เครียดมาก เพราะนายทุนเจ้าของเงินบีบมาด้วยว่า จะต้องขายรัฐวิสาหกิจบางแห่งเพื่อเอาเงินมาคืน ก็เลยทำให้ “นักการเมือง” บางส่วนทนไม่ได้ วันจันทร์ 26 ก.ย.2011 มี ส.ส.พรรค Pasok party ซึ่งเป็นพรรครัฐบาลยื่นหนังสือลาออกจากการเป็น ส.ส.แล้ว
ขณะที่ธนาคารสารพัดแห่งในกรีซก็ออกคำแถลงว่า เตรียมพร้อมแล้วสำหรับการเบี้ยวหนี้
ก็ชัวร์แล้ว
กรีซจะเป็นประเทศหนี้เน่า
คณะ เจรจาที่กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ก็ได้ส่งข่าวกลับบ้านแล้วว่า การเจรจาล้มเหลวทุกอย่าง ไม่มีเจรจาอีกแล้ว และกำลังจะกลับเอเธนส์ ในขณะที่รัฐมนตรีสำนักนายกฯ นาย Ilias Mossialos ซึ่งเป็นโฆษกของรัฐบาล ก็ได้ออกคำแถลงทางวิทยุของรัฐบาล เมื่อวันจันทร์ 26 ก.ย.2011 ว่า
จะไม่มีมาตรการรัดเข็มขัดใดๆ ออกมาอีกแล้ว
Minister of State and government spokesman Ilias Mossialos on Monday reassured that there won’t be any more austerity measures, speaking to private radio station VIMA,
กรีซเบี้ยวหนี้ โลกก็สะท้านหนักอยู่แล้ว ถ้ามันลามไปอิตาลี, สเปน, โปรตุเกส ก็จะลามถึงสหรัฐ
ส่วนพี่ไทยก็ไม่รอดอยู่แล้ว
แบงก์ไทยกี่แห่ง แบงก์อะไรมั่ง ที่ซื้อพันธบัตรของรัฐบาลกรีซไว้เยอะๆ
หุ้นไทยจะลบหนักต่อไปอีกหลายวัน
ท่านนายกฯ ปู...เพื่อโปรดทราบ
การ ที่ประชาชนกรีซ กับนักการเมืองกรีซ เห็นตรงกันว่า เบี้ยวหนี้ดีกว่า ที่จะถูกพวกนายทุนการเงินข่มเหงอย่างที่กำลังทำอยู่ ยอมให้กรีซล้มลงไป แล้วค่อยๆ ฟื้นขึ้นมาใหม่น่าจะดีกว่านั้น นายกฯ ปูรู้มั้ยมันเกิดจากอะไร
เกิดจาก...นโยบายประชานิยม
รัฐบาลกรีซชุดปัจจุบันเป็นพรรคแนวสังคมนิยม ก็เลยต้องโอ๋ประชาชน กู้เงินมาบำเรอความสุขประชาชน เพื่อให้ได้คะแนนเสียงตอนเลือกตั้ง
ประชาชนกรีซ เสพประชานิยมอย่างเต็มพิกัดแล้ว มันก็เลยออกยาก
ยากเหมือนกับคนติดยาเสพติดนั่นแหละ
รัฐบาลออกมาตรการมาบังคับให้รัดเข็มขัดแลกกับเงินกู้ก้อนใหม่ ประชาชนก็ประท้วงกันเละ
ปูรีบคุยกับพี่ทักษิณซะ
โลกเวลานี้มันเป็นอย่างนี้ ดังนั้นประชานิยมที่พี่น้องตั้งใจไว้จะบำเรอคนไทย....ก็โปรดทบทวน
ยังไงเพื่อไทยก็ต้องทำประชานิยม เพราะโม้ไว้เยอะตอนหาเสียงเลือกตั้ง แต่ขอให้ทบทวน อย่ากู้มาบำเรอ
แต่ขอให้เลือกทำเฉพาะประชานิยมที่ทำให้ประชาชนไทยมีรายได้งอกเงยขึ้นมา
ขอบคุณที่พี่น้อง “ทักษิณกะปู” จะรับฟัง
นายสบาย
Banks prepare for Greek default, want EU help
หลายธนาคารเตรียมพร้อมเบี้ยวหนี้, ต้องการให้อียูช่วย
เว็บไซต์ athensnews.gr ประเทศกรีซ พาดหัวข่าวนี้ออกมา เช้า 26 ก.ย.2011 ตรงเวลาบ้านเราบ่ายแก่ๆ จันทร์ 26 ก.ย.2554
ดังนั้น ก็เป็นการถูกต้องอย่างยิ่งที่นักเล่นหุ้นไทย พากันขายหุ้นทิ้งแบบเทกระจาด
ระหว่าง เวลาซื้อขาย วันจันทร์ 26 ก.ย.2554 ดัชนีลบหนักตั้งแต่เช้า กระทั่งภาคบ่าย ณ เวลา 14.37 น. ดัชนีลบ 90.15 จุด เท่ากับลบ 9.42% ดัชนีอยู่ที่ 867.86 จุด
หวิดจะต้องใช้เซอร์กิต เบรก อยู่แล้ว แต่อีท่าไหนไม่ทราบคอมฯ ตลาดหลักทรัพย์เกิดเดี้ยงขึ้นมาอย่างน่ารักน่าชัง นานราว 5 นาที และเมื่อเปิดซื้อขายต่อดัชนีก็กระเตื้องขึ้นเรื่อยๆ
ปิดตลาดลบ 54.10 เท่ากับลบ 5.65% ดัชนี 904.06 จุด
ที่เก่งสุดๆ คือ เว็บไวต์สำนัก “ผู้จัดการออนไลน์” พาดหัวข่าวออกมาว่า
สะพัดเม็ดเงินดูไบไหลเข้า ดันหุ้นยืนเหนือ 900 ตลท.แจงระบบป่วนช่วงหลุด 90 จุด
“ทักษิณ ชินวัตร” ตอนนี้อยู่ที่ฮ่องกง อ่านข่าวนี้ก็คงงงเหมือนกัน
ใครรึในดูไบที่สั่ง...?
ตลาด หุ้นไทยดิ่งหนักตั้งแต่สัปดาห์ที่แล้ว เป็นปัจจัยจากภายนอกล้วนๆ ซึ่งหากศึกษาข้อมูลให้ถ่องแท้ก็ต้องยอมรับว่า นักเล่นหุ้นไทยเก่งมาก เพราะภาวะเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา กับยุโรป มันจบแล้ว
รัฐมนตรี กระทรวงการคลังประเทศกรีซ ด้านหน้าไปกรุงวอชิงตัน ดี.ซี.สหรัฐ พบกับผู้นำไอเอ็มเอฟ, ผู้นำธนาคารโลก เพื่อขอกู้เงินงวด 2 มาจ่ายหนี้ที่ครบกำหนดในต้นตุลาคม 2011 จำนวน 340 billion euros
เมื่อ 21 มิ.ย.2011 ไอเอ็มเอฟรับปากจะช่วย €440 billion ($594 billion) แต่บีบคอให้รัฐบาลกรีซของนายกรัฐมนตรี George Papandreou ต้องทำโปรแกรมตัดรายจ่ายของรัฐบาลลงให้เป็นที่พอใจ ซึ่งโหดมาก เช่น หยุดจ่ายเงินบำนาญข้าราชการ และหนักที่สุดคือ
ต้องไล่ข้าราชการออก 30%
ประชาชนกรีซ ชุมนุมต่อต้านมาตรการรัดเข็มขัดของรัฐบาลติดต่อกันมา 3 ปีแล้ว สนามรบก็คือ Syntagma square หรือลานกว้างหน้าอาคารรัฐสภานั่นแหละ เกิดการปะทะกับตำรวจหนักๆ ก็หลายระลอก ใช้ไม้ไล่ตีตำรวจ ขว้างระเบิดขวดน้ำมันใส่ตำรวจ ซึ่งตำรวจก็โต้ด้วยการยิงแก๊สน้ำตาเข้าใส่
สัปดาห์ ที่แล้วพนักงานระบบขนส่งของรัฐบาล กับของเอกชน สามัคคีกันหยุดงานทั้งรถไฟบนดิน รถไฟใต้ดิน รถแท็กซี่ ทำให้กรุงเอเธนส์ เมืองหลวงวังเวง ผู้คนไปไหนมาไหนไม่ได้ 24 ชั่วโมง
และนัดกันว่าถ้ารัฐบาลไม่ฟังประชาชน เดือนตุลาฯ จะหยุดงานอีก
ประเทศ กรีซเวลานี้เครียดมาก เพราะนายทุนเจ้าของเงินบีบมาด้วยว่า จะต้องขายรัฐวิสาหกิจบางแห่งเพื่อเอาเงินมาคืน ก็เลยทำให้ “นักการเมือง” บางส่วนทนไม่ได้ วันจันทร์ 26 ก.ย.2011 มี ส.ส.พรรค Pasok party ซึ่งเป็นพรรครัฐบาลยื่นหนังสือลาออกจากการเป็น ส.ส.แล้ว
ขณะที่ธนาคารสารพัดแห่งในกรีซก็ออกคำแถลงว่า เตรียมพร้อมแล้วสำหรับการเบี้ยวหนี้
ก็ชัวร์แล้ว
กรีซจะเป็นประเทศหนี้เน่า
คณะ เจรจาที่กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ก็ได้ส่งข่าวกลับบ้านแล้วว่า การเจรจาล้มเหลวทุกอย่าง ไม่มีเจรจาอีกแล้ว และกำลังจะกลับเอเธนส์ ในขณะที่รัฐมนตรีสำนักนายกฯ นาย Ilias Mossialos ซึ่งเป็นโฆษกของรัฐบาล ก็ได้ออกคำแถลงทางวิทยุของรัฐบาล เมื่อวันจันทร์ 26 ก.ย.2011 ว่า
จะไม่มีมาตรการรัดเข็มขัดใดๆ ออกมาอีกแล้ว
Minister of State and government spokesman Ilias Mossialos on Monday reassured that there won’t be any more austerity measures, speaking to private radio station VIMA,
กรีซเบี้ยวหนี้ โลกก็สะท้านหนักอยู่แล้ว ถ้ามันลามไปอิตาลี, สเปน, โปรตุเกส ก็จะลามถึงสหรัฐ
ส่วนพี่ไทยก็ไม่รอดอยู่แล้ว
แบงก์ไทยกี่แห่ง แบงก์อะไรมั่ง ที่ซื้อพันธบัตรของรัฐบาลกรีซไว้เยอะๆ
หุ้นไทยจะลบหนักต่อไปอีกหลายวัน
ท่านนายกฯ ปู...เพื่อโปรดทราบ
การ ที่ประชาชนกรีซ กับนักการเมืองกรีซ เห็นตรงกันว่า เบี้ยวหนี้ดีกว่า ที่จะถูกพวกนายทุนการเงินข่มเหงอย่างที่กำลังทำอยู่ ยอมให้กรีซล้มลงไป แล้วค่อยๆ ฟื้นขึ้นมาใหม่น่าจะดีกว่านั้น นายกฯ ปูรู้มั้ยมันเกิดจากอะไร
เกิดจาก...นโยบายประชานิยม
รัฐบาลกรีซชุดปัจจุบันเป็นพรรคแนวสังคมนิยม ก็เลยต้องโอ๋ประชาชน กู้เงินมาบำเรอความสุขประชาชน เพื่อให้ได้คะแนนเสียงตอนเลือกตั้ง
ประชาชนกรีซ เสพประชานิยมอย่างเต็มพิกัดแล้ว มันก็เลยออกยาก
ยากเหมือนกับคนติดยาเสพติดนั่นแหละ
รัฐบาลออกมาตรการมาบังคับให้รัดเข็มขัดแลกกับเงินกู้ก้อนใหม่ ประชาชนก็ประท้วงกันเละ
ปูรีบคุยกับพี่ทักษิณซะ
โลกเวลานี้มันเป็นอย่างนี้ ดังนั้นประชานิยมที่พี่น้องตั้งใจไว้จะบำเรอคนไทย....ก็โปรดทบทวน
ยังไงเพื่อไทยก็ต้องทำประชานิยม เพราะโม้ไว้เยอะตอนหาเสียงเลือกตั้ง แต่ขอให้ทบทวน อย่ากู้มาบำเรอ
แต่ขอให้เลือกทำเฉพาะประชานิยมที่ทำให้ประชาชนไทยมีรายได้งอกเงยขึ้นมา
ขอบคุณที่พี่น้อง “ทักษิณกะปู” จะรับฟัง
นายสบาย
รุมถล่มรัฐมึนตั้ง"ศบ.กช."ดับไฟใต้ จี้ลุยนโยบาย "เจรจาสันติภาพ"
ราช
ดำเนินเสวนาถกนโยบายดับไฟใต้ "ถาวร เสนเนียม" ถล่มรัฐบาลยิ่งลักษณ์ตั้ง
"ศบ.กช." ซ้ำซ้อน ตอบโจทย์ไม่ได้ ชูโครงสร้าง
ศอ.บต.บูรณาการทุกหน่วยงานอยู่แล้ว ศักยภาพยิ่งกว่า "เขตปกครองพิเศษ"
ขณะที่ "วิรุฬ ฟื้นแสน" แจงเหตุต้องปรับองค์กรใหม่เพราะ กอ.รมน.ไม่ยืดหยุ่น
ไร้เอกภาพในการประสานหน่วยในพื้นที่ ด้านเอ็นจีโอหนุนรัฐบาลเพื่อไทยลุย
"เจรจาสันติภาพ-กระจายอำนาจ"
อดีตบิ๊กหน่วยข่าวเตือนโอไอซีจ่อเปลี่ยนนโยบายหยิบปมไฟใต้เข้าที่ประชุมใหญ่
เวทีราชดำเนินเสวนาเรื่อง “นโยบายดับไฟใต้รัฐบาลยิ่งลักษณ์ กับแนวโน้มการพูดคุยสันติภาพ (Peace Talk)” ที่ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย เมื่อวันจันทร์ที่ 26 ก.ย.2554 ประเด็นที่ผู้ร่วมเสวนาวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างกว้างขวางคือการจัดตั้ง "ศูนย์บูรณาการแก้ไขปัญหาและพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้" หรือ ศบ.กช.ของรัฐบาล โดยอ้างเหตุผลเรื่องความเป็นเอกภาพและเบิกจ่ายงบประมาณ รวมทั้งเรียกร้องให้เร่งดำเนินการเรื่อง "เจรจาสันติภาพ" ให้เป็นรูปธรรมโดยเร็ว
นายถาวร เสนเนียม อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยในรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ มองว่า การจัดตั้ง ศบ.กช.ไม่มีความจำเป็น เพราะโครงสร้างศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ หรือ ศอ.บต.ซึ่งรัฐบาลชุดที่แล้วออกกฎหมายมารองรับ ก็บูรณาการการทำงานของข้าราชการจากทุกภาคส่วนอยู่แล้ว
"โครงสร้าง ศอ.บต.ที่เราทำเป็นการระดมข้าราชการจากทุกกระทรวงที่เกี่ยวข้องมาทำงานร่วม กันแบบบูรณาการ และดึงภาคประชาชนมาร่วมด้วย โดยให้นายกรัฐมนตรีซึ่งเป็น ผอ.รมน. (ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร) ก็นั่งเป็น ผอ.ศอ.บต. และเป็นประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์จังหวัดชายแดนภาคใต้ซึ่งมีรัฐมนตรี 19 คนเป็นกรรมการด้วย"
นายถาวร กล่าวต่อว่า โครงสร้างของ ศอ.บต.เรียกได้ว่าเป็น "เขตปกครองพิเศษ" ด้วยซ้ำ เพราะใช้วิธีการบริหารราชการไม่เหมือนกับอีก 70 กว่าจังหวัดทั่วประเทศ มีการเปิดพื้นที่ให้ประชาชนมีส่วนร่วมผ่านคณะกรรมการยุทธศาสตร์ฯ จังหวัดละ 1 คน และยังมีสภาที่ปรึกษาและการพัฒนาฯอีก 49 คนที่คัดเลือกจากประชาชนสาขาอาชีพต่างๆ และเลขาธิการยังมีอำนาจเสนอย้ายข้าราชการที่ไม่ดีออกจากพื้นที่ได้ ฉะนั้น ศอ.บต.จึงเปรียบเสมือน "ร้านน้ำชา" ซึ่งเป็นที่นิยมใน พื้นที่ คือมีปัญหาอะไรประชาชนก็พูดคุยกันได้ ขณะเดียวกันรัฐก็ดูแลประชาชนทุกด้าน ทั้งเรื่องการทำมาหากินและให้ความเป็นธรรม
"ทั้งหมดคือความเป็นเอกภาพ ผิดกับรัฐบาลชุดนี้ที่นายกรัฐมนตรีมอบงานด้านความมั่นคงให้ พล.ต.อ.โกวิท วัฒนะ รองนายกฯดูแล แต่ก็มอบงานตำรวจให้ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกฯอีกคนหนึ่งดูแล ส่วนงาน ศอ.บต.ก็มอบให้ คุณยงยุทธ วิชัยดิษฐ รองนายกฯและรมว.มหาดไทย ดูแล ซึ่งคุณยงยุทธยังมอบการประสานงานระหว่าง ศอ.บต.กับกระทรวงมหาดไทยไปให้ผู้รับผิดชอบอีกต่อหนึ่งด้วย จึงชัดเจนว่าไม่เป็นเอกภาพ แล้วยิ่งไปหาทางออกด้วยการตั้ง ศบ.กช. จนกลายเป็นความซ้ำซ้อน ตอบโจทย์ไม่ได้ ข้าราชการไม่รู้ว่าจะฟังใคร อิหลักอิเหลื่อกันไปหมด"
นายถาวร ยังเรียกร้องให้รัฐบาลแต่งตั้งรัฐมนตรีรับผิดชอบพื้นที่ชายแดนใต้เป็นการ เฉพาะเหมือนในรัฐบาลชุดที่ผ่านมา เพื่อความคล่องตัวในการบริหารและสร้างขวัญกำลังใจให้กับประชาชน รวมทั้งตำรวจ ทหาร
"สถานการณ์กำลังรุนแรงมากขึ้น แต่กลับไม่มีฝ่ายการเมืองลงไป ขอเตือนว่าการฟังบรีฟจากภาคราชการฝ่ายเดียวถือว่าอันตรายมาก ผมจึงขอเรียกร้องให้ตั้งรัฐมนตรีคนใดคนหนึ่งรับผิดชอบโดยตรง อย่าไปฟังข้ออ้างของรัฐมนตรีบางคนที่ไม่ยอมลงพื้นที่โดยให้เหตุผลว่าไม่อยาก ไปสร้างปัญหาให้เจ้าหน้าที่ต้องมารักษาความปลอดภัย เพราะการจะส่งเจ้าหน้าที่มาดูแลจำนวนเท่าไหร่ขึ้นอยู่กับฝ่ายการเมือง ที่สำคัญการลงพื้นที่จะทำให้ประชาชนและข้าราชการมีกำลังใจมากกว่าเดิม" อดีต รมช.มหาดไทย ระบุ และว่า สำหรับเรื่องการเจรจานั้นในรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ก็ทำ แต่นโยบายบางเรื่องควรเปิดเผยเมื่อถึงเวลา
พล.ต.อ.วิรุฬ ฟื้นแสน ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ ในฐานะผู้ร่วมจัดทำนโยบายแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ของพรรคเพื่อไทย กล่าวว่า ศอ.บต.เป็นโครงสร้างที่ดีก็จริง แต่เนื่องจากขณะนี้มี กอ.รมน. หรือกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ซึ่งออกกฎหมายรองรับในรัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ทำให้โครงสร้าง กอ.รมน.แข็งเกินไป ไม่มีความยืดหยุ่นอ่อนตัวเหมือนสมัยใช้แก้ไขปัญหาผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์
"โครงสร้างมันแข็งตัว กำหนดให้นายกฯเป็น ผอ.รมน. ให้ ผบ.ทบ.เป็นรอง ผอ.รมน. และให้เสธ.ทบ.เป็นเลขาธิการ กอ.รมน.เท่านั้น ทั้งๆ ที่จะให้ดีต้องยึดระบบ พตท. คือพลเรือน ตำรวจ ทหาร โครงสร้าง กอ.รมน.มีปัญหาจนรัฐบาลชุดที่แล้วต้องแยก ศอ.บต.ออกมา ที่สำคัญในระดับพื้นที่ แม้แม่ทัพภาคที่ 4 จะเป็นผู้คุมนโยบายตัวจริง แต่ความเป็นเอกภาพกลับไม่ชัดเจน โดยเฉพาะการทำงานร่วมกับเลขาธิการ ศอ.บต. นี่คือสาเหตุที่ทำให้รัฐบาลต้องตั้ง ศบ.กช."
พล.ต.อ.วิรุฬ กล่าวด้วยว่า ทิศทางการแก้ไขปัญหาภาคใต้ที่ถูกต้อง จะต้องให้บทบาทกระทรวงมหาดไทยในฐานะ "เจ้าบ้าน" คน เดิม แต่ระยะหลังกลับมีบทบาทน้อย ส่วนที่พูดกันว่าตั้งแต่รัฐบาลชุดนี้เข้ามาเกิดเหตุรุนแรงมากขึ้นนั้น จริงๆ แล้วเป็นสถานการณ์ต่อเนื่อง อย่าลืมว่าเลขาธิการ ศอ.บต.ยังเป็นคนเดิม และแม่ทัพภาคที่ 4 ก็ยังเป็นคนเดิม
สำหรับข้อเสนอเรื่องเจรจาสันติภาพนั้น พล.ต.อ.วิรุฬ กล่าวว่า เป็นเรื่องที่ต้องดำเนินการอย่างจริงจัง ไม่ว่าจะเป็นทางเปิดหรือทางปิดก็ต้องทำ
น.ส.รุ่งรวี เฉลิมศรีภิญโญรัช นักวิจัยจากอินเตอร์เนชันแนล ไครซิสกรุ๊ป องค์กรเอกชนที่ทำงานในพื้นที่ขัดแย้งทั่วโลก กล่าวว่า มองความเคลื่อนไหวของรัฐบาลในเรื่องการตั้ง ศบ.กช.ด้วยความเป็นห่วง เพราะผ่านมาเกือบ 8 ปีแล้วรัฐยังจัดทัพไม่เสร็จ ความเป็นเอกภาพยังเป็นปัญหาอยู่อีก
ส่วนประเด็นการเจรจานั้น แม้ว่าจะไม่มีการเปิดเผยอย่างเป็นทางการ แต่ก็ต้องยอมรับว่ามีความพยายามเจรจามาทุกยุคทุกสมัย เช่น สมัยรัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ก็มีการจัดตั้ง Task Force 960 รับผิดชอบการประสานงานร่วมกับมาเลเซีย และมีการพบปะตัวแทนขบวนการที่เชื่อว่ามีอิทธิพลในพื้นที่ที่ประเทศบาห์เรน ด้วย แต่หลังจากนั้นก็ไม่ได้วางระบบอะไรรองรับ ประกอบกับรัฐบาลมีอายุเพียง 1 ปีเศษ สิ่งที่ทำไว้จึงยุติไป
ต่อมาในรัฐบาล นายสมัคร สุนทรเวช มีความเคลื่อนไหวจากกลุ่มพูโลที่เสนอเรื่องหยุดยิง แต่ไม่ได้รับการตอบสนอง กระทั่งรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ก็มีการประกาศหยุดยิงฝ่ายเดียวของขบวนการปลดปล่อยมลายูปัตตานี หรือพีเอ็มแอลเอ็ม ในพื้นที่ 3 อำเภอ คือ อ.เจาะไอร้อง ยี่งอ และระแงะ เป็นเวลา 1 เดือน (10 มิ.ย.ถึง10 ก.ค.2553) เพื่อพิสูจน์ว่าพวกเขามีศักยภาพเพียงพอในการควบคุมสถานการณ์ได้ แต่สุดท้ายทางฝ่ายรัฐบาลก็บอกว่าสรุปไม่ได้ว่ามีความสามารถในการหยุดยิงจริง หรือไม่ ขณะที่กองทัพก็ปฏิเสธอย่างแข็งขันว่าไม่มีการเจรจา ทั้งยังบอกว่าเรื่องการหยุดยิงฝ่ายเดียวไม่เป็นความจริง
"นอกจากนั้นโอไอซี (องค์การการประชุมอิสลาม) ก็มีบทบาทจัดเวทีพูดคุยกับตัวแทนขบวนการอีก 2 ครั้ง เพื่อช่วยเหลือให้ฝ่ายขบวนการมีข้อเสนอทางการเมืองต่อรัฐไทยอย่างเป็นระบบ มากขึ้น ซึ่งความเคลื่อนไหวดังกล่าวได้ส่งแรงกระเพื่อมถึงรัฐบาลไทยเหมือนกันว่า พยายามทำเรื่องพูดคุยสันติภาพ (peace talk) อยู่ และต่อมา คุณถวิล เปลี่ยนศรี เลขาธิการ สมช. ก็ออกมาพูดว่ามีนโยบายให้พุดคุยกับผู้ที่เห็นต่างจากรัฐเพื่อแก้ไขปัญหา ซึ่งถือว่าเป็นจุดเปลี่ยนในระดับนโยบายที่สำคัญว่ารัฐไทยพร้อมพูดคุยกับผู้ ที่เห็นต่างแล้วจริงๆ"
น.ส.รุ่งรวี กล่าวด้วยว่า รัฐบาลพรรคเพื่อไทยมีโอกาสผลักดันประเด็นใหญ่ๆ เพื่อแก้ไขปัญหาภาคใต้ได้ เพราะชนะเลือกตั้งได้เสียงเกินกว่าครึ่งหนึ่งของสภาผู้แทนราษฎร ฉะนั้นจึงน่าจะทำเรื่องพูดคุยสันติภาพอย่างจริงจัง และเดินหน้ากระจายอำนาจที่เรียกกันว่า "ปกครองท้องถิ่นแบบพิเศษ" โดยศึกษารูปแบบให้ชัดเจนภายใต้ยุทธศาสตร์การเมืองนำการทหาร ไม่ใช่แค่ใช้การทหารหยุดเลือดเอาไว้เหมือนที่ผ่านมา
พล.ท.นันทเดช เมฆสวัสดิ์ อดีตผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการพิเศษ (ภาคใต้) ศูนย์รักษาความปลอดภัย (ศรภ.) กล่าวว่า หลายฝ่ายรวมทั้งภาครัฐยังเข้าใจปัญหาภาคใต้ผิดพลาด โดยเฉพาะที่เชื่อว่าขบวนการบีอาร์เอ็น โคออร์ดิเนต และพูโลอยู่เบื้องหลังสถานการณ์ในพื้นที่นั้น เป็นความเข้าใจผิดอย่างมาก ฉะนั้นหากเสนอให้เจรจากับกลุ่มเหล่านี้ ก็เท่ากับเจรจาผิดคน
พล.ท.นันทเดช มองว่า ปัญหาในพื้นที่ที่ขยายวงอย่างรวดเร็ว สืบเนื่องจากการดำเนินนโยบายที่ผิดของรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร โดยเฉพาะการประกาศสงครามกับยาเสพติด ตามด้วยการยุบ ศอ.บต. โดยในช่วงปราบยาเสพติด รัฐบาลมุ่งจัดการหัวคะแนนของพรรคประชาธิปัตย์ มีการอุ้มบุคคลหลายคน ทำให้ผู้มีอิทธิพลในท้องถิ่นต้องว่าจ้างและติดอาวุธให้กลุ่มวัยรุ่นเพื่อ เป็นกองกำลังป้องกันตนเอง ต่อมาเมื่อมีการยุบ ศอ.บต.ตามมาอีก และยังมีเหตุการณ์กรือเซะกับตากใบ จึงกลายเป็นตัวเร่งให้กลุ่มวัยรุ่นและชายฉกรรจ์พากันฝึกอาวุธและต่อต้านรัฐ
"ฉะนั้นเรื่องขบวนการบีอาร์เอ็น พูโล จึงเป็นเรื่องเก่าที่ฝ่ายความมั่นคงสร้างภาพขึ้นมาเพื่อให้สถานการณ์ดูน่า กลัว ด้วยเหตุนี้หากจะเจรจาจริงๆ ก็ต้องไปเจรจากับสมาชิก อบต. (สมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล) บางคนที่เป็นหัวหน้ากองกำลังติดอาวุธทั้งหลายให้ยอมยุติเหตุการณ์ ส่วนสมัยรัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ (ซึ่ง พล.ท.นันทเดช ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี) เราได้เจรจากับ นายสะแปอิง บาซอ (ผู้ที่ถูกออกหมายจับเป็นหัวหน้ากลุ่มก่อความไม่สงบ) ให้กลับประเทศ แต่ยังไม่ทันสำเร็จรัฐบาลก็หมดอายุเสียก่อน"
พล.ท.นันทเดช ยังให้ข้อมูลด้วยว่า การเมืองในโอไอซีกำลังเปลี่ยนแปลงไป หลังจากหลายประเทศที่เคยสนับสนุนไทยประสบปัญหาการเมืองภายใน อาทิ เยเมน ตูนีเซีย เป็นต้น เมื่อการเมืองภายในเปลี่ยนแปลง ก็อาจเปลี่ยนผู้แทนที่ไปทำหน้าที่ในโอไอซีด้วย ฉะนั้นโอกาสที่โอไอซีจะนำปัญหาในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทยเข้าสู่ที่ ประชุมอย่างเป็นทางการน่าจะเกิดขึ้น เพราะขณะนี้ก็กำลังเร่งรับรองปาเลสไตน์เป็นสมาชิกโอไอซีอยู่ ประกอบกับรัฐบาลมาเลเซียก็อ่อนกำลังลงมาก ฝ่ายค้านกำลังมีบทบาท ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อสถานการณ์ที่ชายแดนใต้ของไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้เช่น กัน
เหตุ ระเบิดที่รุนแรงมากที่สุดครั้งหนึ่งในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ อ.สุไหงโก-ลก จ.นราธิวาส เมื่อวันที่ 16 ก.ย.ที่ผ่านมา แม้จะสร้างความเสียหายอย่างยับเยิน ทั้งชีวิตผู้คน ทรัพย์สิน และภาพลักษณ์ด้านความปลอดภัย แต่ฝ่ายความมั่นคงในพื้นที่ก็มองเห็นช่องทางของการพลิกวิกฤติเป็นโอกาสด้วย เหมือนกัน
เพราะเป็นครั้งแรกที่พบหลักฐานชัดเจนที่สุดว่าเครือข่ายค้ายาเสพติดใน จังหวัดชายแดนภาคใต้ซึ่งใหญ่โตติดอันดับต้นๆ ของประเทศ มีความเชื่อมโยงกับกลุ่มก่อความไม่สงบที่อ้างอุดมการณ์แบ่งแยกดินแดน อย่างน้อยก็ในระดับปฏิบัติการ
แม้ที่ผ่านมาฝ่ายตำรวจจะพบความเชื่อมโยงในระดับ “ผู้มีอำนาจสั่งใช้กำลัง” ของ กลุ่มก่อความไม่สงบกับเครือข่ายค้ายาเสพติดว่าน่าจะเป็นคนๆ เดียวกัน และใช้กองกำลังติดอาวุธชุดเดียวกันในการก่อเหตุ (โดยมุ่งเป้าหมายต่างกัน) แต่ก็เป็นเรื่องของการวิเคราะห์โครงสร้างจากคำให้การของบรรดาผู้ก่อเหตุ รุนแรงและบรรดาผู้ค้ายาเสพติดระดับต่างๆ ที่ถูกจับกุมได้เท่านั้น
ทว่าครั้งนี้มีหลักฐานชัดเจนขึ้น โดยข้อมูลที่กล่าวอ้างโดยหน่วยข่าวความมั่นคงในพื้นที่ สรุปได้ดังนี้
1.เหตุระเบิดเกิดขึ้นทันควันหลังเจ้าหน้าที่นำกำลังเข้าตรวจค้นบ้านผู้มี อิทธิพลรายใหญ่ใน อ.สุไหงโก-ลก (จากการขยายผล ไม่ถึงกับบังเอิญ แต่ก็ไม่ใช่เป้าหมายโดยตรง) เพียง 1-2 วัน จึงเชื่อว่าเป็นการก่อเหตุเพื่อตอบโต้รัฐ
2.พบข้อมูลหมายจับผู้ก่อความไม่สงบในคอมพิวเตอร์ที่บ้านของผู้มีอิทธิพลรายดังกล่าว
3.พบคลิปวิดีโอโจมตีทหารอย่างโหดเหี้ยม 3 เหตุการณ์ในตัวของผู้ค้ายาเสพติดที่ถูกจับกุมได้ และยอมรับว่าเป็นเครือข่ายของผู้มีอิทธิพลที่ถูกค้นบ้าน (ควรตรวจสอบต่อว่าเป็นคลิปที่แพร่หลายในพื้นที่อยู่แล้วหรือไม่ เพื่อพิจารณาน้ำหนักของสมมติฐาน)
4.ผู้ต้องสงสัยเกือบ 10 รายซึ่งเป็นทีมวางระเบิดและปรากฏภาพในกล้องโทรทัศน์วงจรปิด หลายรายเป็นระดับปฏิบัติการของกลุ่มก่อความไม่สงบที่อ้างอุดมการณ์แบ่งแยก ดินแดน เคลื่อนไหวอยู่ในพื้นที่ อ.สุไหงปาดี และ อ.สุไหงโก-ลก จ.นราธิวาส
5.ผู้ต้องหาที่ทางการออกหมายจับไปแล้ว 1 ราย เพราะปรากฏภาพใบหน้าชัดเจน เป็นสมาชิกกลุ่มก่อความไม่สงบระดับปฏิบัติการ ฝ่ายความมั่นคงอ้างข้อมูลว่าเคยถูกจับกุมในประเทศเพื่อนบ้านในข้อหาครอบครอง วัตถุระเบิดเมื่อไม่นานมานี้ แต่กลับเดินทางเข้ามาก่อเหตุในพื้นที่ อ.สุไหงโก-ลก ได้อย่างง่ายดาย
ถ้าสมมติฐานของฝ่ายความมั่นคงเป็นความจริง ย่อมเป็นโอกาสที่รัฐบาลไทยสามารถ “รุกทางการเมือง” ในเรื่องใหญ่ๆ ได้หลายเรื่อง อาทิ
- ขยายผลความเชื่อมโยงระหว่างกลุ่มผู้ค้ายาเสพติดกับขบวนการที่อ้างอุดมการณ์ แบ่งแยกดินแดน เพราะยิ่งข้อสันนิษฐานนี้จริงมากเท่าไร รัฐก็สามารถลดทอนความน่าเชื่อถือของกลุ่มขบวนการได้มากขึ้นเท่านั้น โดยเฉพาะในเวทีโลกที่มีความพยายามของตัวแทนขบวนการไม่ว่าเก่าหรือใหม่ เคลื่อนไหวแสดงบทบาทอย่างต่อเนื่อง ทั้งองค์การการประชุมชาติอิสลาม (โอไอซี) หรือองค์การสหประชาชาติ (ยูเอ็น) เพราะหากขบวนการแบ่งแยกดินแดนได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มค้ายาเสพติด คงไม่มีองค์กรใดในโลกนี้ยอมรับได้
- กดดันประเทศเพื่อนบ้านให้ร่วมรับผิดชอบกับเหตุการณ์ร้ายที่เกิดขึ้น ซึ่งมีพลเมืองของประเทศเพื่อนบ้านเสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บจำนวนมาก อีกทั้งหนึ่งในคนร้ายยังอาจเป็นผู้ต้องหาคดีสำคัญที่ไม่น่าออกมาเพ่นพ่านได้ ฉะนั้นต้องยื่นเงื่อนไขให้ร่วมมือกับรัฐบาลไทยในการ "กระชับพื้นที่" กลุ่มผู้ก่อเหตุรุนแรง (ไม่ว่าจะอ้างอุดมการณ์แบ่งแยกดินแดนหรือไม่) ให้มากกว่านี้
- ขยายผลต่อเนื่องในพื้นที่ด้วยการพลิกประเด็นให้ตั้ง "เขตปกครองพิเศษทางวัฒนธรรม" สร้างโมเดลการปกครองที่ยึดโยงกับหลักศาสนา (ทั้งพุทธ มุสลิม คริสต์) คือสถาปนาพื้นที่ให้เป็นเขตปลอดอบายมุข ซึ่งน่าจะเป็นเมืองชายแดนเพียงไม่กี่แห่งในโลกที่ทำได้ และจะเป็นการปลดชนวนข้อเรียกร้องเรื่องปกครองท้องถิ่นแบบพิเศษไปด้วยในตัว หรืออย่างน้อยก็ฉวยโอกาสนี้จัด "โซนนิ่งสถานบริการและแหล่งอบายมุข" ให้เกิดขึ้นจริงในพื้นที่ ซึ่งจะได้รับแรงสนับสนุนจากพี่น้องประชาชนที่เคร่งศาสนาจำนวนมาก
นี่คือตัวอย่างของโอกาสที่รัฐไทยจะ "รุกทางการเมือง" ทั้งในและนอกประเทศได้ แต่เอาเข้าจริงรัฐบาลนำโดย น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กลับทำแค่เพียงเรียกประชุมฝ่ายความมั่นคงเมื่อวันที่ 22 ก.ย.ที่ผ่านมา (หลังเหตุการณ์บอมบ์โก-ลก 6 วัน) แล้วตั้ง “องค์กรพิเศษ” ที่ชื่อ "ศูนย์บูรณาการแก้ไขปัญหาและพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้" หรือ ศบ.กช.ขึ้น มาใหม่เพื่อแก้ไขปัญหาความไร้เอกภาพของหน่วยราชการด้วยกันเอง เรื่องนี้จึงกลายเป็นตลกร้าย เพราะคิดอีกมุมหนึ่งย่อมเป็นเรื่องน่าอับอายว่าทำงานกันมา 7-8 ปีแล้ว ยังต้องมานั่งแก้ปัญหาเรื่องเอกภาพการบังคับบัญชากันอีกหรือ แล้วที่ผ่านมาทำอะไรกันอยู่
อย่างไรก็ตาม หากชุดข้อมูลของฝ่ายความมั่นคงว่าด้วยความเชื่อมโยงระหว่างกลุ่มผู้ค้ายาเสพ ติดกับขบวนการที่อ้างอุดมการณ์แบ่งแยกดินแดนไม่เป็นความจริง ก็ยังมีข้อมูลอีกหลายชุดที่รัฐบาลสามารถหยิบมาใช้และเดินหน้าทำไปได้เลย (ซึ่งน่าจะดีกว่าการตั้ง ศบ.กช.) เช่น
- ชุดข้อมูลที่ว่าด้วยโครงสร้างกลุ่มก่อความไม่สงบซึ่งจัดทำโดย พล.ท.สำเร็จ ศรีหร่าย ผู้ อำนวยการศูนย์สันติสุขและทีมงาน อันเป็นข้อมูลที่ได้จากการซักถาม-พูดคุยกับแนวร่วมขบวนการหลายพันคน สรุปว่าจุดหักเหที่ทำให้เยาวชนในพื้นที่จำนวนมากเข้าร่วมขบวนการที่อ้าง อุดมการณ์แบ่งแยกดินแดน ก็คือการบิดเบือนประวัติศาสตร์และคำสอนทางศาสนา ตีความให้สามจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นดินแดน "ดารุลฮัรบี" ที่ทุกคนต้องต่อสู้หรือทำสงครามเพื่ออิสลาม ซึ่งถ้าคิดว่าทฤษฎีนี้มีน้ำหนัก ก็ต้องเร่งแก้ในมุมประวัติศาสตร์และศาสนากันไป
- ชุดข้อมูลเรื่องความไม่เป็นธรรม ซึ่งทีมงานของกระทรวงยุติธรรมจัดทำอยู่ โดยเฉพาะความไม่เป็นธรรมในแง่กฎหมายที่มีอยู่จริง ได้แก่ คดีครอบครัวและมรดก ซึ่งต้องพิจารณาตามหลักศาสนาอิสลาม ก็มีข้อเสนอเรื่องการเปิด "แผนกชารีอะฮ์" ในศาลยุติธรรม และเสริมศักยภาพของอิหม่ามในพื้นที่ขึ้นมาเป็น "อนุญาโตตุลาการ" เพื่อทำหน้าที่ชี้ขาดข้อพิพาทของมุสลิมโดยมีกฎหมายรองรับ ซึ่งเรื่องนี้เป็นประเด็นที่ ดร.กิตติพงษ์ กิตยารักษ์ ปลัดกระทรวงยุติธรรม มีข้อมูลอยู่ไม่น้อย
- ชุดข้อมูลเรื่องความอยุติธรรมรากหญ้า ทั้งผู้ต้องขังคดีความมั่นคง ปัญหาการใช้กฎหมายพิเศษ (กฎอัยการศึก / พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ) ปิดล้อม ตรวจค้น จับกุม การพิจารณาคดีที่ยืดเยื้อยาวนานโดยไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวหรือประกันตัว ซึ่ง พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รองปลัดกระทรวงยุติธรรม ว่าที่เลขาธิการ ศอ.บต.คนใหม่ ก็ทำมาอย่างต่อเนื่อง หรือจะย้อนไปปัดฝุ่นรายงานของ กอส. (คณะกรรมการอิสระเพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติ เมื่อปี 2549) เลยก็ยังได้
- ชุดข้อมูลเรื่องการเจรจา ซึ่งจะว่าไปก็ทำกันมาหลายรัฐบาล เพียงแต่ไม่ต่อเนื่อง ไม่เป็นระบบ ไร้ทิศทาง และไม่มียุทธศาสตร์ หนำซ้ำยังไม่ได้รับการยอมรับจากรัฐบาลและกองทัพ หากจะยกเครื่องกันในรัฐบาลชุดนี้ก็สามารถทำได้ และนับหนึ่งได้ทันที
- ชุดข้อมูลเรื่องการจัดรูปการปกครองท้องถิ่นแบบพิเศษ ซึ่งองค์กรภาคประชาสังคมและนักวิชาการบางกลุ่มในพื้นที่เคลื่อนไหวอยู่ โดยมีข้อเสนออย่างเป็นระบบ บางโมเดลถึงกับยกร่างกฎหมายเป็นตุ๊กตาเอาไว้แล้ว รัฐบาลสามารถต่อยอดหรือจะย้อนกลับไปจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นเองก็ย่อมได้ ขณะเดียวกันก็สามารถพลิกไปตั้ง "เขตปกครองพิเศษทางวัฒนธรรม" ได้ด้วยเหมือนกัน
เมื่อวันจันทร์ที่ 26 ก.ย. ศูนย์ข่าวอิศราเพิ่งจัดเวทีราชดำเนินเสวนาเรื่อง “นโยบายดับไฟใต้รัฐบาลยิ่งลักษณ์ กับแนวโน้มการพูดคุยสันติภาพ (Peace Talk)” ที่สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย คุณรุ่งรวี เฉลิมศรีภิญโญรัช นักวิจัยจากอินเตอร์เนชันแนล ไครซิสกรุ๊ป พูดเอาไว้อย่างน่าฟังว่า รัฐบาลชุดนี้ได้รับฉันทามติจากประชาชนด้วยเสียงข้างมากเกินครึ่งสภา จึงน่าจะผลักดันเรื่องใหญ่ๆ ที่จะเป็นจุดเปลี่ยนสำหรับการแก้ไขปัญหาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องการเจรจาและการปกครองท้องถิ่นแบบพิเศษ แต่รัฐบาลกลับไปตั้ง ศบ.กช.หลังจากทำหน้าที่มาแล้วถึง 1 เดือน สะท้อนความน่าเป็นห่วงว่ารัฐยังจัดทัพกันอยู่อีกหรือ...
เป็นตลกร้ายที่น่าเศร้าจริงๆ!
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
บรรยายภาพ : (จากซ้ายไปขวา) นายถาวร เสนเนียม พล.ต.อ.วิรุฬ ฟื้นแสน น.ส.รุ่งรวี เฉลิมศรีภิญโญรัช และ พล.ท.นันทเดช เมฆสวัสดิ์ บนเวทีราชดำเนินเสวนา ซึ่งจัดโดยสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ร่วมกับศูนย์ข่าวภาคใต้ สถาบันอิศรา
เวทีราชดำเนินเสวนาเรื่อง “นโยบายดับไฟใต้รัฐบาลยิ่งลักษณ์ กับแนวโน้มการพูดคุยสันติภาพ (Peace Talk)” ที่ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย เมื่อวันจันทร์ที่ 26 ก.ย.2554 ประเด็นที่ผู้ร่วมเสวนาวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างกว้างขวางคือการจัดตั้ง "ศูนย์บูรณาการแก้ไขปัญหาและพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้" หรือ ศบ.กช.ของรัฐบาล โดยอ้างเหตุผลเรื่องความเป็นเอกภาพและเบิกจ่ายงบประมาณ รวมทั้งเรียกร้องให้เร่งดำเนินการเรื่อง "เจรจาสันติภาพ" ให้เป็นรูปธรรมโดยเร็ว
นายถาวร เสนเนียม อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยในรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ มองว่า การจัดตั้ง ศบ.กช.ไม่มีความจำเป็น เพราะโครงสร้างศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ หรือ ศอ.บต.ซึ่งรัฐบาลชุดที่แล้วออกกฎหมายมารองรับ ก็บูรณาการการทำงานของข้าราชการจากทุกภาคส่วนอยู่แล้ว
"โครงสร้าง ศอ.บต.ที่เราทำเป็นการระดมข้าราชการจากทุกกระทรวงที่เกี่ยวข้องมาทำงานร่วม กันแบบบูรณาการ และดึงภาคประชาชนมาร่วมด้วย โดยให้นายกรัฐมนตรีซึ่งเป็น ผอ.รมน. (ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร) ก็นั่งเป็น ผอ.ศอ.บต. และเป็นประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์จังหวัดชายแดนภาคใต้ซึ่งมีรัฐมนตรี 19 คนเป็นกรรมการด้วย"
นายถาวร กล่าวต่อว่า โครงสร้างของ ศอ.บต.เรียกได้ว่าเป็น "เขตปกครองพิเศษ" ด้วยซ้ำ เพราะใช้วิธีการบริหารราชการไม่เหมือนกับอีก 70 กว่าจังหวัดทั่วประเทศ มีการเปิดพื้นที่ให้ประชาชนมีส่วนร่วมผ่านคณะกรรมการยุทธศาสตร์ฯ จังหวัดละ 1 คน และยังมีสภาที่ปรึกษาและการพัฒนาฯอีก 49 คนที่คัดเลือกจากประชาชนสาขาอาชีพต่างๆ และเลขาธิการยังมีอำนาจเสนอย้ายข้าราชการที่ไม่ดีออกจากพื้นที่ได้ ฉะนั้น ศอ.บต.จึงเปรียบเสมือน "ร้านน้ำชา" ซึ่งเป็นที่นิยมใน พื้นที่ คือมีปัญหาอะไรประชาชนก็พูดคุยกันได้ ขณะเดียวกันรัฐก็ดูแลประชาชนทุกด้าน ทั้งเรื่องการทำมาหากินและให้ความเป็นธรรม
"ทั้งหมดคือความเป็นเอกภาพ ผิดกับรัฐบาลชุดนี้ที่นายกรัฐมนตรีมอบงานด้านความมั่นคงให้ พล.ต.อ.โกวิท วัฒนะ รองนายกฯดูแล แต่ก็มอบงานตำรวจให้ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกฯอีกคนหนึ่งดูแล ส่วนงาน ศอ.บต.ก็มอบให้ คุณยงยุทธ วิชัยดิษฐ รองนายกฯและรมว.มหาดไทย ดูแล ซึ่งคุณยงยุทธยังมอบการประสานงานระหว่าง ศอ.บต.กับกระทรวงมหาดไทยไปให้ผู้รับผิดชอบอีกต่อหนึ่งด้วย จึงชัดเจนว่าไม่เป็นเอกภาพ แล้วยิ่งไปหาทางออกด้วยการตั้ง ศบ.กช. จนกลายเป็นความซ้ำซ้อน ตอบโจทย์ไม่ได้ ข้าราชการไม่รู้ว่าจะฟังใคร อิหลักอิเหลื่อกันไปหมด"
นายถาวร ยังเรียกร้องให้รัฐบาลแต่งตั้งรัฐมนตรีรับผิดชอบพื้นที่ชายแดนใต้เป็นการ เฉพาะเหมือนในรัฐบาลชุดที่ผ่านมา เพื่อความคล่องตัวในการบริหารและสร้างขวัญกำลังใจให้กับประชาชน รวมทั้งตำรวจ ทหาร
"สถานการณ์กำลังรุนแรงมากขึ้น แต่กลับไม่มีฝ่ายการเมืองลงไป ขอเตือนว่าการฟังบรีฟจากภาคราชการฝ่ายเดียวถือว่าอันตรายมาก ผมจึงขอเรียกร้องให้ตั้งรัฐมนตรีคนใดคนหนึ่งรับผิดชอบโดยตรง อย่าไปฟังข้ออ้างของรัฐมนตรีบางคนที่ไม่ยอมลงพื้นที่โดยให้เหตุผลว่าไม่อยาก ไปสร้างปัญหาให้เจ้าหน้าที่ต้องมารักษาความปลอดภัย เพราะการจะส่งเจ้าหน้าที่มาดูแลจำนวนเท่าไหร่ขึ้นอยู่กับฝ่ายการเมือง ที่สำคัญการลงพื้นที่จะทำให้ประชาชนและข้าราชการมีกำลังใจมากกว่าเดิม" อดีต รมช.มหาดไทย ระบุ และว่า สำหรับเรื่องการเจรจานั้นในรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ก็ทำ แต่นโยบายบางเรื่องควรเปิดเผยเมื่อถึงเวลา
พล.ต.อ.วิรุฬ ฟื้นแสน ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ ในฐานะผู้ร่วมจัดทำนโยบายแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ของพรรคเพื่อไทย กล่าวว่า ศอ.บต.เป็นโครงสร้างที่ดีก็จริง แต่เนื่องจากขณะนี้มี กอ.รมน. หรือกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ซึ่งออกกฎหมายรองรับในรัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ทำให้โครงสร้าง กอ.รมน.แข็งเกินไป ไม่มีความยืดหยุ่นอ่อนตัวเหมือนสมัยใช้แก้ไขปัญหาผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์
"โครงสร้างมันแข็งตัว กำหนดให้นายกฯเป็น ผอ.รมน. ให้ ผบ.ทบ.เป็นรอง ผอ.รมน. และให้เสธ.ทบ.เป็นเลขาธิการ กอ.รมน.เท่านั้น ทั้งๆ ที่จะให้ดีต้องยึดระบบ พตท. คือพลเรือน ตำรวจ ทหาร โครงสร้าง กอ.รมน.มีปัญหาจนรัฐบาลชุดที่แล้วต้องแยก ศอ.บต.ออกมา ที่สำคัญในระดับพื้นที่ แม้แม่ทัพภาคที่ 4 จะเป็นผู้คุมนโยบายตัวจริง แต่ความเป็นเอกภาพกลับไม่ชัดเจน โดยเฉพาะการทำงานร่วมกับเลขาธิการ ศอ.บต. นี่คือสาเหตุที่ทำให้รัฐบาลต้องตั้ง ศบ.กช."
พล.ต.อ.วิรุฬ กล่าวด้วยว่า ทิศทางการแก้ไขปัญหาภาคใต้ที่ถูกต้อง จะต้องให้บทบาทกระทรวงมหาดไทยในฐานะ "เจ้าบ้าน" คน เดิม แต่ระยะหลังกลับมีบทบาทน้อย ส่วนที่พูดกันว่าตั้งแต่รัฐบาลชุดนี้เข้ามาเกิดเหตุรุนแรงมากขึ้นนั้น จริงๆ แล้วเป็นสถานการณ์ต่อเนื่อง อย่าลืมว่าเลขาธิการ ศอ.บต.ยังเป็นคนเดิม และแม่ทัพภาคที่ 4 ก็ยังเป็นคนเดิม
สำหรับข้อเสนอเรื่องเจรจาสันติภาพนั้น พล.ต.อ.วิรุฬ กล่าวว่า เป็นเรื่องที่ต้องดำเนินการอย่างจริงจัง ไม่ว่าจะเป็นทางเปิดหรือทางปิดก็ต้องทำ
น.ส.รุ่งรวี เฉลิมศรีภิญโญรัช นักวิจัยจากอินเตอร์เนชันแนล ไครซิสกรุ๊ป องค์กรเอกชนที่ทำงานในพื้นที่ขัดแย้งทั่วโลก กล่าวว่า มองความเคลื่อนไหวของรัฐบาลในเรื่องการตั้ง ศบ.กช.ด้วยความเป็นห่วง เพราะผ่านมาเกือบ 8 ปีแล้วรัฐยังจัดทัพไม่เสร็จ ความเป็นเอกภาพยังเป็นปัญหาอยู่อีก
ส่วนประเด็นการเจรจานั้น แม้ว่าจะไม่มีการเปิดเผยอย่างเป็นทางการ แต่ก็ต้องยอมรับว่ามีความพยายามเจรจามาทุกยุคทุกสมัย เช่น สมัยรัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ก็มีการจัดตั้ง Task Force 960 รับผิดชอบการประสานงานร่วมกับมาเลเซีย และมีการพบปะตัวแทนขบวนการที่เชื่อว่ามีอิทธิพลในพื้นที่ที่ประเทศบาห์เรน ด้วย แต่หลังจากนั้นก็ไม่ได้วางระบบอะไรรองรับ ประกอบกับรัฐบาลมีอายุเพียง 1 ปีเศษ สิ่งที่ทำไว้จึงยุติไป
ต่อมาในรัฐบาล นายสมัคร สุนทรเวช มีความเคลื่อนไหวจากกลุ่มพูโลที่เสนอเรื่องหยุดยิง แต่ไม่ได้รับการตอบสนอง กระทั่งรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ก็มีการประกาศหยุดยิงฝ่ายเดียวของขบวนการปลดปล่อยมลายูปัตตานี หรือพีเอ็มแอลเอ็ม ในพื้นที่ 3 อำเภอ คือ อ.เจาะไอร้อง ยี่งอ และระแงะ เป็นเวลา 1 เดือน (10 มิ.ย.ถึง10 ก.ค.2553) เพื่อพิสูจน์ว่าพวกเขามีศักยภาพเพียงพอในการควบคุมสถานการณ์ได้ แต่สุดท้ายทางฝ่ายรัฐบาลก็บอกว่าสรุปไม่ได้ว่ามีความสามารถในการหยุดยิงจริง หรือไม่ ขณะที่กองทัพก็ปฏิเสธอย่างแข็งขันว่าไม่มีการเจรจา ทั้งยังบอกว่าเรื่องการหยุดยิงฝ่ายเดียวไม่เป็นความจริง
"นอกจากนั้นโอไอซี (องค์การการประชุมอิสลาม) ก็มีบทบาทจัดเวทีพูดคุยกับตัวแทนขบวนการอีก 2 ครั้ง เพื่อช่วยเหลือให้ฝ่ายขบวนการมีข้อเสนอทางการเมืองต่อรัฐไทยอย่างเป็นระบบ มากขึ้น ซึ่งความเคลื่อนไหวดังกล่าวได้ส่งแรงกระเพื่อมถึงรัฐบาลไทยเหมือนกันว่า พยายามทำเรื่องพูดคุยสันติภาพ (peace talk) อยู่ และต่อมา คุณถวิล เปลี่ยนศรี เลขาธิการ สมช. ก็ออกมาพูดว่ามีนโยบายให้พุดคุยกับผู้ที่เห็นต่างจากรัฐเพื่อแก้ไขปัญหา ซึ่งถือว่าเป็นจุดเปลี่ยนในระดับนโยบายที่สำคัญว่ารัฐไทยพร้อมพูดคุยกับผู้ ที่เห็นต่างแล้วจริงๆ"
น.ส.รุ่งรวี กล่าวด้วยว่า รัฐบาลพรรคเพื่อไทยมีโอกาสผลักดันประเด็นใหญ่ๆ เพื่อแก้ไขปัญหาภาคใต้ได้ เพราะชนะเลือกตั้งได้เสียงเกินกว่าครึ่งหนึ่งของสภาผู้แทนราษฎร ฉะนั้นจึงน่าจะทำเรื่องพูดคุยสันติภาพอย่างจริงจัง และเดินหน้ากระจายอำนาจที่เรียกกันว่า "ปกครองท้องถิ่นแบบพิเศษ" โดยศึกษารูปแบบให้ชัดเจนภายใต้ยุทธศาสตร์การเมืองนำการทหาร ไม่ใช่แค่ใช้การทหารหยุดเลือดเอาไว้เหมือนที่ผ่านมา
พล.ท.นันทเดช เมฆสวัสดิ์ อดีตผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการพิเศษ (ภาคใต้) ศูนย์รักษาความปลอดภัย (ศรภ.) กล่าวว่า หลายฝ่ายรวมทั้งภาครัฐยังเข้าใจปัญหาภาคใต้ผิดพลาด โดยเฉพาะที่เชื่อว่าขบวนการบีอาร์เอ็น โคออร์ดิเนต และพูโลอยู่เบื้องหลังสถานการณ์ในพื้นที่นั้น เป็นความเข้าใจผิดอย่างมาก ฉะนั้นหากเสนอให้เจรจากับกลุ่มเหล่านี้ ก็เท่ากับเจรจาผิดคน
พล.ท.นันทเดช มองว่า ปัญหาในพื้นที่ที่ขยายวงอย่างรวดเร็ว สืบเนื่องจากการดำเนินนโยบายที่ผิดของรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร โดยเฉพาะการประกาศสงครามกับยาเสพติด ตามด้วยการยุบ ศอ.บต. โดยในช่วงปราบยาเสพติด รัฐบาลมุ่งจัดการหัวคะแนนของพรรคประชาธิปัตย์ มีการอุ้มบุคคลหลายคน ทำให้ผู้มีอิทธิพลในท้องถิ่นต้องว่าจ้างและติดอาวุธให้กลุ่มวัยรุ่นเพื่อ เป็นกองกำลังป้องกันตนเอง ต่อมาเมื่อมีการยุบ ศอ.บต.ตามมาอีก และยังมีเหตุการณ์กรือเซะกับตากใบ จึงกลายเป็นตัวเร่งให้กลุ่มวัยรุ่นและชายฉกรรจ์พากันฝึกอาวุธและต่อต้านรัฐ
"ฉะนั้นเรื่องขบวนการบีอาร์เอ็น พูโล จึงเป็นเรื่องเก่าที่ฝ่ายความมั่นคงสร้างภาพขึ้นมาเพื่อให้สถานการณ์ดูน่า กลัว ด้วยเหตุนี้หากจะเจรจาจริงๆ ก็ต้องไปเจรจากับสมาชิก อบต. (สมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล) บางคนที่เป็นหัวหน้ากองกำลังติดอาวุธทั้งหลายให้ยอมยุติเหตุการณ์ ส่วนสมัยรัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ (ซึ่ง พล.ท.นันทเดช ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี) เราได้เจรจากับ นายสะแปอิง บาซอ (ผู้ที่ถูกออกหมายจับเป็นหัวหน้ากลุ่มก่อความไม่สงบ) ให้กลับประเทศ แต่ยังไม่ทันสำเร็จรัฐบาลก็หมดอายุเสียก่อน"
พล.ท.นันทเดช ยังให้ข้อมูลด้วยว่า การเมืองในโอไอซีกำลังเปลี่ยนแปลงไป หลังจากหลายประเทศที่เคยสนับสนุนไทยประสบปัญหาการเมืองภายใน อาทิ เยเมน ตูนีเซีย เป็นต้น เมื่อการเมืองภายในเปลี่ยนแปลง ก็อาจเปลี่ยนผู้แทนที่ไปทำหน้าที่ในโอไอซีด้วย ฉะนั้นโอกาสที่โอไอซีจะนำปัญหาในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทยเข้าสู่ที่ ประชุมอย่างเป็นทางการน่าจะเกิดขึ้น เพราะขณะนี้ก็กำลังเร่งรับรองปาเลสไตน์เป็นสมาชิกโอไอซีอยู่ ประกอบกับรัฐบาลมาเลเซียก็อ่อนกำลังลงมาก ฝ่ายค้านกำลังมีบทบาท ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อสถานการณ์ที่ชายแดนใต้ของไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้เช่น กัน
เหตุ ระเบิดที่รุนแรงมากที่สุดครั้งหนึ่งในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ อ.สุไหงโก-ลก จ.นราธิวาส เมื่อวันที่ 16 ก.ย.ที่ผ่านมา แม้จะสร้างความเสียหายอย่างยับเยิน ทั้งชีวิตผู้คน ทรัพย์สิน และภาพลักษณ์ด้านความปลอดภัย แต่ฝ่ายความมั่นคงในพื้นที่ก็มองเห็นช่องทางของการพลิกวิกฤติเป็นโอกาสด้วย เหมือนกัน
เพราะเป็นครั้งแรกที่พบหลักฐานชัดเจนที่สุดว่าเครือข่ายค้ายาเสพติดใน จังหวัดชายแดนภาคใต้ซึ่งใหญ่โตติดอันดับต้นๆ ของประเทศ มีความเชื่อมโยงกับกลุ่มก่อความไม่สงบที่อ้างอุดมการณ์แบ่งแยกดินแดน อย่างน้อยก็ในระดับปฏิบัติการ
แม้ที่ผ่านมาฝ่ายตำรวจจะพบความเชื่อมโยงในระดับ “ผู้มีอำนาจสั่งใช้กำลัง” ของ กลุ่มก่อความไม่สงบกับเครือข่ายค้ายาเสพติดว่าน่าจะเป็นคนๆ เดียวกัน และใช้กองกำลังติดอาวุธชุดเดียวกันในการก่อเหตุ (โดยมุ่งเป้าหมายต่างกัน) แต่ก็เป็นเรื่องของการวิเคราะห์โครงสร้างจากคำให้การของบรรดาผู้ก่อเหตุ รุนแรงและบรรดาผู้ค้ายาเสพติดระดับต่างๆ ที่ถูกจับกุมได้เท่านั้น
ทว่าครั้งนี้มีหลักฐานชัดเจนขึ้น โดยข้อมูลที่กล่าวอ้างโดยหน่วยข่าวความมั่นคงในพื้นที่ สรุปได้ดังนี้
1.เหตุระเบิดเกิดขึ้นทันควันหลังเจ้าหน้าที่นำกำลังเข้าตรวจค้นบ้านผู้มี อิทธิพลรายใหญ่ใน อ.สุไหงโก-ลก (จากการขยายผล ไม่ถึงกับบังเอิญ แต่ก็ไม่ใช่เป้าหมายโดยตรง) เพียง 1-2 วัน จึงเชื่อว่าเป็นการก่อเหตุเพื่อตอบโต้รัฐ
2.พบข้อมูลหมายจับผู้ก่อความไม่สงบในคอมพิวเตอร์ที่บ้านของผู้มีอิทธิพลรายดังกล่าว
3.พบคลิปวิดีโอโจมตีทหารอย่างโหดเหี้ยม 3 เหตุการณ์ในตัวของผู้ค้ายาเสพติดที่ถูกจับกุมได้ และยอมรับว่าเป็นเครือข่ายของผู้มีอิทธิพลที่ถูกค้นบ้าน (ควรตรวจสอบต่อว่าเป็นคลิปที่แพร่หลายในพื้นที่อยู่แล้วหรือไม่ เพื่อพิจารณาน้ำหนักของสมมติฐาน)
4.ผู้ต้องสงสัยเกือบ 10 รายซึ่งเป็นทีมวางระเบิดและปรากฏภาพในกล้องโทรทัศน์วงจรปิด หลายรายเป็นระดับปฏิบัติการของกลุ่มก่อความไม่สงบที่อ้างอุดมการณ์แบ่งแยก ดินแดน เคลื่อนไหวอยู่ในพื้นที่ อ.สุไหงปาดี และ อ.สุไหงโก-ลก จ.นราธิวาส
5.ผู้ต้องหาที่ทางการออกหมายจับไปแล้ว 1 ราย เพราะปรากฏภาพใบหน้าชัดเจน เป็นสมาชิกกลุ่มก่อความไม่สงบระดับปฏิบัติการ ฝ่ายความมั่นคงอ้างข้อมูลว่าเคยถูกจับกุมในประเทศเพื่อนบ้านในข้อหาครอบครอง วัตถุระเบิดเมื่อไม่นานมานี้ แต่กลับเดินทางเข้ามาก่อเหตุในพื้นที่ อ.สุไหงโก-ลก ได้อย่างง่ายดาย
ถ้าสมมติฐานของฝ่ายความมั่นคงเป็นความจริง ย่อมเป็นโอกาสที่รัฐบาลไทยสามารถ “รุกทางการเมือง” ในเรื่องใหญ่ๆ ได้หลายเรื่อง อาทิ
- ขยายผลความเชื่อมโยงระหว่างกลุ่มผู้ค้ายาเสพติดกับขบวนการที่อ้างอุดมการณ์ แบ่งแยกดินแดน เพราะยิ่งข้อสันนิษฐานนี้จริงมากเท่าไร รัฐก็สามารถลดทอนความน่าเชื่อถือของกลุ่มขบวนการได้มากขึ้นเท่านั้น โดยเฉพาะในเวทีโลกที่มีความพยายามของตัวแทนขบวนการไม่ว่าเก่าหรือใหม่ เคลื่อนไหวแสดงบทบาทอย่างต่อเนื่อง ทั้งองค์การการประชุมชาติอิสลาม (โอไอซี) หรือองค์การสหประชาชาติ (ยูเอ็น) เพราะหากขบวนการแบ่งแยกดินแดนได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มค้ายาเสพติด คงไม่มีองค์กรใดในโลกนี้ยอมรับได้
- กดดันประเทศเพื่อนบ้านให้ร่วมรับผิดชอบกับเหตุการณ์ร้ายที่เกิดขึ้น ซึ่งมีพลเมืองของประเทศเพื่อนบ้านเสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บจำนวนมาก อีกทั้งหนึ่งในคนร้ายยังอาจเป็นผู้ต้องหาคดีสำคัญที่ไม่น่าออกมาเพ่นพ่านได้ ฉะนั้นต้องยื่นเงื่อนไขให้ร่วมมือกับรัฐบาลไทยในการ "กระชับพื้นที่" กลุ่มผู้ก่อเหตุรุนแรง (ไม่ว่าจะอ้างอุดมการณ์แบ่งแยกดินแดนหรือไม่) ให้มากกว่านี้
- ขยายผลต่อเนื่องในพื้นที่ด้วยการพลิกประเด็นให้ตั้ง "เขตปกครองพิเศษทางวัฒนธรรม" สร้างโมเดลการปกครองที่ยึดโยงกับหลักศาสนา (ทั้งพุทธ มุสลิม คริสต์) คือสถาปนาพื้นที่ให้เป็นเขตปลอดอบายมุข ซึ่งน่าจะเป็นเมืองชายแดนเพียงไม่กี่แห่งในโลกที่ทำได้ และจะเป็นการปลดชนวนข้อเรียกร้องเรื่องปกครองท้องถิ่นแบบพิเศษไปด้วยในตัว หรืออย่างน้อยก็ฉวยโอกาสนี้จัด "โซนนิ่งสถานบริการและแหล่งอบายมุข" ให้เกิดขึ้นจริงในพื้นที่ ซึ่งจะได้รับแรงสนับสนุนจากพี่น้องประชาชนที่เคร่งศาสนาจำนวนมาก
นี่คือตัวอย่างของโอกาสที่รัฐไทยจะ "รุกทางการเมือง" ทั้งในและนอกประเทศได้ แต่เอาเข้าจริงรัฐบาลนำโดย น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กลับทำแค่เพียงเรียกประชุมฝ่ายความมั่นคงเมื่อวันที่ 22 ก.ย.ที่ผ่านมา (หลังเหตุการณ์บอมบ์โก-ลก 6 วัน) แล้วตั้ง “องค์กรพิเศษ” ที่ชื่อ "ศูนย์บูรณาการแก้ไขปัญหาและพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้" หรือ ศบ.กช.ขึ้น มาใหม่เพื่อแก้ไขปัญหาความไร้เอกภาพของหน่วยราชการด้วยกันเอง เรื่องนี้จึงกลายเป็นตลกร้าย เพราะคิดอีกมุมหนึ่งย่อมเป็นเรื่องน่าอับอายว่าทำงานกันมา 7-8 ปีแล้ว ยังต้องมานั่งแก้ปัญหาเรื่องเอกภาพการบังคับบัญชากันอีกหรือ แล้วที่ผ่านมาทำอะไรกันอยู่
อย่างไรก็ตาม หากชุดข้อมูลของฝ่ายความมั่นคงว่าด้วยความเชื่อมโยงระหว่างกลุ่มผู้ค้ายาเสพ ติดกับขบวนการที่อ้างอุดมการณ์แบ่งแยกดินแดนไม่เป็นความจริง ก็ยังมีข้อมูลอีกหลายชุดที่รัฐบาลสามารถหยิบมาใช้และเดินหน้าทำไปได้เลย (ซึ่งน่าจะดีกว่าการตั้ง ศบ.กช.) เช่น
- ชุดข้อมูลที่ว่าด้วยโครงสร้างกลุ่มก่อความไม่สงบซึ่งจัดทำโดย พล.ท.สำเร็จ ศรีหร่าย ผู้ อำนวยการศูนย์สันติสุขและทีมงาน อันเป็นข้อมูลที่ได้จากการซักถาม-พูดคุยกับแนวร่วมขบวนการหลายพันคน สรุปว่าจุดหักเหที่ทำให้เยาวชนในพื้นที่จำนวนมากเข้าร่วมขบวนการที่อ้าง อุดมการณ์แบ่งแยกดินแดน ก็คือการบิดเบือนประวัติศาสตร์และคำสอนทางศาสนา ตีความให้สามจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นดินแดน "ดารุลฮัรบี" ที่ทุกคนต้องต่อสู้หรือทำสงครามเพื่ออิสลาม ซึ่งถ้าคิดว่าทฤษฎีนี้มีน้ำหนัก ก็ต้องเร่งแก้ในมุมประวัติศาสตร์และศาสนากันไป
- ชุดข้อมูลเรื่องความไม่เป็นธรรม ซึ่งทีมงานของกระทรวงยุติธรรมจัดทำอยู่ โดยเฉพาะความไม่เป็นธรรมในแง่กฎหมายที่มีอยู่จริง ได้แก่ คดีครอบครัวและมรดก ซึ่งต้องพิจารณาตามหลักศาสนาอิสลาม ก็มีข้อเสนอเรื่องการเปิด "แผนกชารีอะฮ์" ในศาลยุติธรรม และเสริมศักยภาพของอิหม่ามในพื้นที่ขึ้นมาเป็น "อนุญาโตตุลาการ" เพื่อทำหน้าที่ชี้ขาดข้อพิพาทของมุสลิมโดยมีกฎหมายรองรับ ซึ่งเรื่องนี้เป็นประเด็นที่ ดร.กิตติพงษ์ กิตยารักษ์ ปลัดกระทรวงยุติธรรม มีข้อมูลอยู่ไม่น้อย
- ชุดข้อมูลเรื่องความอยุติธรรมรากหญ้า ทั้งผู้ต้องขังคดีความมั่นคง ปัญหาการใช้กฎหมายพิเศษ (กฎอัยการศึก / พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ) ปิดล้อม ตรวจค้น จับกุม การพิจารณาคดีที่ยืดเยื้อยาวนานโดยไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวหรือประกันตัว ซึ่ง พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รองปลัดกระทรวงยุติธรรม ว่าที่เลขาธิการ ศอ.บต.คนใหม่ ก็ทำมาอย่างต่อเนื่อง หรือจะย้อนไปปัดฝุ่นรายงานของ กอส. (คณะกรรมการอิสระเพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติ เมื่อปี 2549) เลยก็ยังได้
- ชุดข้อมูลเรื่องการเจรจา ซึ่งจะว่าไปก็ทำกันมาหลายรัฐบาล เพียงแต่ไม่ต่อเนื่อง ไม่เป็นระบบ ไร้ทิศทาง และไม่มียุทธศาสตร์ หนำซ้ำยังไม่ได้รับการยอมรับจากรัฐบาลและกองทัพ หากจะยกเครื่องกันในรัฐบาลชุดนี้ก็สามารถทำได้ และนับหนึ่งได้ทันที
- ชุดข้อมูลเรื่องการจัดรูปการปกครองท้องถิ่นแบบพิเศษ ซึ่งองค์กรภาคประชาสังคมและนักวิชาการบางกลุ่มในพื้นที่เคลื่อนไหวอยู่ โดยมีข้อเสนออย่างเป็นระบบ บางโมเดลถึงกับยกร่างกฎหมายเป็นตุ๊กตาเอาไว้แล้ว รัฐบาลสามารถต่อยอดหรือจะย้อนกลับไปจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นเองก็ย่อมได้ ขณะเดียวกันก็สามารถพลิกไปตั้ง "เขตปกครองพิเศษทางวัฒนธรรม" ได้ด้วยเหมือนกัน
เมื่อวันจันทร์ที่ 26 ก.ย. ศูนย์ข่าวอิศราเพิ่งจัดเวทีราชดำเนินเสวนาเรื่อง “นโยบายดับไฟใต้รัฐบาลยิ่งลักษณ์ กับแนวโน้มการพูดคุยสันติภาพ (Peace Talk)” ที่สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย คุณรุ่งรวี เฉลิมศรีภิญโญรัช นักวิจัยจากอินเตอร์เนชันแนล ไครซิสกรุ๊ป พูดเอาไว้อย่างน่าฟังว่า รัฐบาลชุดนี้ได้รับฉันทามติจากประชาชนด้วยเสียงข้างมากเกินครึ่งสภา จึงน่าจะผลักดันเรื่องใหญ่ๆ ที่จะเป็นจุดเปลี่ยนสำหรับการแก้ไขปัญหาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องการเจรจาและการปกครองท้องถิ่นแบบพิเศษ แต่รัฐบาลกลับไปตั้ง ศบ.กช.หลังจากทำหน้าที่มาแล้วถึง 1 เดือน สะท้อนความน่าเป็นห่วงว่ารัฐยังจัดทัพกันอยู่อีกหรือ...
เป็นตลกร้ายที่น่าเศร้าจริงๆ!
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
บรรยายภาพ : (จากซ้ายไปขวา) นายถาวร เสนเนียม พล.ต.อ.วิรุฬ ฟื้นแสน น.ส.รุ่งรวี เฉลิมศรีภิญโญรัช และ พล.ท.นันทเดช เมฆสวัสดิ์ บนเวทีราชดำเนินเสวนา ซึ่งจัดโดยสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ร่วมกับศูนย์ข่าวภาคใต้ สถาบันอิศรา
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)
รีโมท
ซื้อ รีโมท จากผู้ค้าส่งโดยตรง ที่มีหน้าร้านจริง ที่ บ้านหม้อ และ คลองถม ราคาถูกกว่าใคร ปลอดภัย มีรับประกัน
คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค
บทความย้อนหลัง
-
►
2012
(274)
- ► กุมภาพันธ์ (51)
-
▼
2011
(1241)
-
▼
กันยายน
(189)
-
▼
28 ก.ย.
(11)
- Here...in Cambodia
- แถลงการณ์ทนายความ-นักกฏหมายค้าน "แถลงการณ์สภาทนายค...
- Thaksin Renews Effort To Politick From Afar
- นิติราษฎร์ เบื้องลึกอยากให้มีรัฐประหาร พวกเขาคือ..
- มาบตาพุดกับการยืนยัน(ร่าง)กฎหมายองค์การอิสระด้านสิ...
- "พนัส ทัศนียานนท์" อดีตคณบดีนิติศาสตร์ มธ.โต้ 15 ค...
- หยุดเลย อย่าโทรมา ขอร้อง หยุดเลย
- ความสับสน(โดยสุจริต?)ของกรมสรรพากร กรณียุติคดีภาษี...
- .ประชานิยมพาตาย
- รุมถล่มรัฐมึนตั้ง"ศบ.กช."ดับไฟใต้ จี้ลุยนโยบาย "เจ...
- คลิปวีดีโอ ทักษิณคิด ประเทศไทยหายนะ
-
▼
28 ก.ย.
(11)
-
▼
กันยายน
(189)