บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันพฤหัสบดีที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2554

จุดเปลี่ยนสำคัญที่พ.ต.ท.ทักษิณผิดข้อตกลงเรื่องรมต.4 กระทรวงหลักและแนวทางปรองดอง

จุดเปลี่ยนสำคัญที่พ.ต.ท.ทักษิณผิดเงื่อนไขกับกลุ่มว่าที่รัฐมนตรีคนนอกสายอำมาตย์ เริ่มจากผิดข้อตกลงเรื่องรมต.4 กระทรวงหลักและแนวทางปรองดอง

ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ให้สัมภาษณ์ถึงความคืบหน้าเรื่องการจัดโผคณะรัฐมนตรี(ครม.)ครั้งหลังสุด เมื่อวันที่ 5 ส.ค.2554 ในวันที่เธอได้รับเสียงโหวตจากส.ส.ให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี คนที่ 28 ของประเทศไทย โดยระบุว่า จะพยายามอย่างเร็วที่สุด ไม่เกินภายในอาทิตย์นี้ จะชัดเจนขึ้น

ทว่าสถานการณ์จริง นายกฯยิ่งลักษณ์ ก็คงไม่รู้ว่าโผครม.ที่นายกฯดูไบ จัดทำอยู่นั้น จะเสร็จพร้อมเสิร์ฟให้เธอเมื่อไหร่

ในเมื่อวันนี้ เกิดการเปลี่ยนแปลงไปจากแผนเดิม ที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ผู้เป็นพี่ชายของเธอวางไว้ เนื่องจากแคนดิเดทรัฐมนตรีคนนอก ในกระทรวงหลักสำคัญ ที่เคยตกลงกันไว้ล่วงหน้า ได้ทะยอยขอถอนตัวออกไปหลายคน โดยเฉพาะกลุ่มที่โยงใยกับ "สายอำมาตย์"

เริ่มตั้งแต่หัวขบวนรายแรกที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ทาบทามเอาไว้ก่อนการเลือกตั้ง คือ "วิชิต สุรพงษ์ชัย" ซีอีโอแบงค์ไทยพาณิชย์ ได้ถอนตัวจากแคนดิเดท รมว.คลัง ตามมาด้วย "อิสระ ว่องกุศลกิจ" ประธานกลุ่มมิตรผล ตัวแทนกลุ่มทุน"บ้านปู" ก็ถอนตัวจากแคนดิเดท รมว.พาณิชย์ ตามมาติดๆ โดยทั้งสองราย ถึงกับแจกเอกสารแถลงข่าว เพื่อแสดงความชัดเจนว่า ไม่ร่วมสังฆกรรมในครม.ชุดใหม่นี้อย่างไม่แคร์

นายกฯดูไบ จึงมีความพยายามจะแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ด้วยการดึงคนใหม่เข้ามาเสียบแทน โดยเฉพาะปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา ได้มีการมอบซองรัฐมนตรีให้กับ "ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล" หรือหม่อมอุ๋ย อดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย เสียบแทน"วิชิต" ในตำแหน่ง รมว.คลังควบรองนายกรัฐมนตรี  แต่ยังไม่ทันข้ามวัน ปรากฎว่า "หม่อมอุ๋ย" ก็ได้ขอบาย...ถอยออกไปอีกราย

มิหนำซ้ำ เรื่องยังลุกลามไปถึงกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม(ทส.)ที่เคยวางตัว ชญานินทร์ เทพาคำ ลูกชายลูกชายของ พล.ท.อัศวิน และท่านผู้หญิงสุวรี เทพาคำ อดีตนางสนองพระโอษฐ์ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ซึ่งเคยเป็นอดีตเลขานุการ รมว.ทส.ขณะที่ "ยงยุทธ ติยะไพรัช" นั่งอยู่ และยงยุทธนี่เอง เป็นผู้ทาบทามเข้ามา ในที่สุด ชญานินทร์  ก็ได้ถอนตัวออกไปเงียบๆ อีกราย

ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเช่นนี้ เป็นเรื่องที่ "รู้กัน" ระหว่างกลุ่มบุคคลที่ถอนตัวออกไป เนื่องจากไม่ไว้วางใจท่าทีของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ที่บิดพลิ้วข้อตกลง ทั้งเรื่องตัวบุคคล แนวทางบริหารของรัฐบาล โดยเฉพาะแนวทางปรองดอง เนื่องจากสิ่งที่เคยพูดคุยกัน ไว้เริ่มไม่ชัดเจน

จุดเปลี่ยนสำคัญ ที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ทำผิดเงื่อนไขกับกลุ่มว่าที่รัฐมนตรีคนนอกสายอำมาตย์ ซึ่งเคยมีข้อตกลงกันไว้ตั้งแต่ต้น โดยเฉพาะขอมีส่วนเลือกทีมที่ทำงานร่วมกันได้ ใน 4 กระทรวงหลักสำคัญ ว่าจะมีชื่อใครเป็นรัฐมนตรีบ้าง ดังนี้

รมว.คลัง คือ วิชิต สุรพงษ์ชัย รมว.พาณิชย์ คือ อิสระ ว่องกุศลกิจ รมว.พลังงาน ได้วางตัวประเสริฐ บุญสัมพันธ์ ซีอีโอ ปตท.จำกัด มหาชน เอาไว้ และ รมว.การต่างประเทศ ได้วางตัว ปานปรีย์ พหิทธานุกร อดีตผู้แทนการค้าไทยและอดีตรองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย ซึ่งเป็นลูกชาย ปรีชา พหิทธานุกร อดีตเอกอัครราชทูตหลายประเทศ เอาไว้
 ทั้งนี้เพื่อให้ภาพลักษณ์ของ ครม.ใหม่เป็นที่ยอมรับของสังคม และมีภาพของความปรองดองในทุกระดับและทุกภาคส่วน

แต่เอาเข้าจริง ปรากฏว่า โผ ครม.ของ พ.ต.ท.ทักษิณ กลับไม่เป็นไปตามหลักการและแนวทางที่เคยพูดคุยกันไว้ จึงทำให้ "วิชิต"และ"อิสระ" ถอนตัวออกไป  โดยที่ 2 รายหลัง ทั้ง "ประเสริฐ" และ "ปานปรีย์" ก็ยังไม่ได้ถูกทาบทามให้เข้ามารับตำแหน่งตามที่วางเอาไว้

เมื่อสถานการณ์เป็นเช่นนี้ จึงทำให้โผครม.ที่คาดว่ามี "ดรีมทีม" ก็มีอันต้องล่มไป ทำให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ต้องพยายามเร่งหาคนนอกรายใหม่เข้ามาเสียบแทน ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะเมื่อคนนอกสืบเสาะข้อมูลรอบด้านมาได้ และพบว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ยังคงวางเครือข่ายคนใกล้ชิด เข้ามาอยู่ในครม.อย่างน่าสงสัยว่าจะมีวาระส่วนตัวมากกว่าส่วนรวม จึงทำให้แทบไม่ใครยอมเสี่ยงเข้ามา

ผลสุดท้ายเจ้าของพรรคเพื่อไทย ก็คงต้องใช้บริการคนในพรรค ซึ่งก็กำลังกลายเป็นเรื่อง "ป่วน" แย่งตำแหน่งกันอยู่ภายในพรรค ที่กำลังวิ่งขอตำแหน่งที่ว่างลง และยังไม่ลงตัว โดยต้องรื้อโผกันใหม่ ได้แก่ รมว.คลัง รมว.พาณิชย์ รมว.การต่างประเทศ รมว.คมนาคม รมว.ทรัพยากรธรรมชาติฯ เป็นต้น จนส่งผลให้กระทบกับตำแหน่งในกระทรวงอื่นๆ เป็นลูกโซ่ เมื่อมีการขยับตัวบุคคลเพื่อสลับตำแหน่งกัน

แต่การปรับขยับโผครม.รอบนี้ ว่ากันว่า พ.ต.ท.ทักษิณ จะไม่แจ้งให้ใครได้รับรู้ เพื่อป้องกันปัญหาทำนองเดียวกันนี้ขึ้นอีก จนกว่า ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร จะได้รับสนองพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ในวันนี้ (8ส.ค.2554)

คำสัญญาของ นายกฯหญิง ที่บอกว่า "ดิฉันจะตั้งใจอย่างเต็มที่ ขอให้ประชาชนให้เวลาดิฉันในการพิสูจน์และทำงาน สิ่งสำคัญเราคนเดียวคงไม่สามารถขับเคลื่อนได้ มันต้องมีทีมงานและทีมเวิร์คที่ร่วมมือกันกับทุกภาคส่วนช่วยกันผลักดันเรื่องที่จะเกิดประโยชน์กับประชาชน เชื่อว่าประชาชนจะให้โอกาสและเวลางานทุกอย่างแม้มีอุปสรรค ตราบใดที่มีความตั้งใจและพยายามเต็มที่ ดิฉันตั้งใจว่า ทุกอย่างจะรายงานให้ประชาชนทราบ" นั้น ...

 เชื่อว่า คงเป็นไปได้ยาก ตราบใดที่นายกฯของเรา ยังไม่มีอำนาจเหนือ นายกฯดูไบ อย่างแท้จริง

ขอบคุณ : http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics/analysis/20110808/403708/

**หมายเหตุ

เมื่อวานคงได้เห็นหน้าตาของ ครม.ใหม่ในรัฐบาลใหม่กันแล้ว เสียงบ่นเสียงรำพึง อึงมา " รมต.แต่ละตัวอัปลักษณ์ ขี้ริ้วขี่เหร่สิ้นดี อายุรัฐบาลคงสั้นเห็นๆ "

( ^__^ ) นายกสวย แต่รัฐมนตรีขี้เหร่ นปช.แดง ก็คงรับไม่ได้ ด้วยไม่ได้รับอย่างที่ยื่นข้อแม้ไปดูไบว่า ขอ 10 ตำแหน่ง..เงียบ ไม่ได้เลยสักตัว..เงินคงปลิวมาทับเลยยังไม่มีเสียงลอดออกมาจากปากสาวกแดง..

ขอประชาชนชาวไทย จับตาดูกันต่อไป

นิส.

ผบ.ตร.หน้าเครียดหลังเข้าพบนายกรัฐมนตรี


Pic_193310
ผบ.ตร. มีสีหน้าเคร่งเครียด หลังนำข้าราชการตำรวจเข้าแสดงความยินดีกับ นายกรัฐมนตรี ยันพร้อม ปฏิบัติตามนโยบายของรัฐบาล...
วัน ที่ 11ส.ค. ที่พรรคเพื่อไทย พล.ต.อ. วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ กล่าวภายหลังเดินทางเข้าพบมอบกระเช้าดอกไม้เพื่อแสดงความยินดี นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ณ.ที่ทำการพรรคเพื่อไทย นานประมาณ 15 นาที ด้วยสีหน้าเคร่งเครียด โดย พล.ต.อ.วิเชียร ระบุว่า ได้นำคณะตำรวจ มาแสดงความยินดีกับนางสาวยิ่งลักษณ์ และรายงานตัวเป็นข้าราชการตำรวจที่ดี โดยเลี่ยงที่จะตอบคำถามถึงกระแสข่าวการถูกโยกย้ายจากตำแหน่ง ผบ.ตร. แต่กล่าวเพียงสั้น ๆว่า พร้อมปฏิบัติตามนโยบายของรัฐบาล

ขณะที่ นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ อดีตนายกรัฐมนตรี ซึ่งเดินทางมาที่ทำการพรรคเพื่อไทย โดยอ้างว่า มารับประทานอาหารฟรีที่พรรค ให้สัมภาษณ์ถึงเสียงวิพากษ์วิจารณ์รายชื่อคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ว่า เป็นเรื่องปกติที่จะมีการวิจารณ์รายชื่อ ครม.แต่เมื่อประชาชนเลือก นายกรัฐมนตรี ก็ควรให้โอกาส นายกฯ ทำงานก่อน หากทำไม่ดี ครบวาระรัฐบาล 4 ปี ประชาชนก็จะไม่เลือกมาบริหารประเทศอย่างไรก็ดี ส่วนตัวเห็นว่า รายชื่อ ครม.ส่วนใหญ่เป็นคนมีความรู้ความสามารถต้องรอดูก่อนว่าทำงานอย่างไร ถ้าทำดีก็ชม แต่ถ้าทำไม่ดีก็ต้องตำหนิ และเห็นว่า  การบริหารประเทศ นางสาวยิ่งลักษณ์ คงไม่มีอุปสรรคเหมือนสมัยที่ตนเอง เป็นนายกรัฐมนตรี 

ขณะ ที่ก่อนหน้านี้ ที่ทำเนียบรัฐบาล  นายปลอดประสพ สุรัสวดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เปิดเผยว่า ที่ประชุม น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ยังไม่ได้แบ่งงานให้รัฐมนตรีแต่ละคน แต่ได้ขอให้ทุกฝ่ายทำงานด้วยความซื่อสัตย์ และเร่งลงพื้นที่ช่วยเหลือประชาชน ที่ได้รับความเดือดร้อนจากน้ำท่วม

ส่วน กรณีเสียงวิจารณ์หน้าตาคณะรัฐมนตรีชุดใหม่นั้น ขอเวลาและขอโอกาส ในการทำงาน 6 เดือน ซึ่งจะมีการประเมินผลงานโดยมั่นใจว่า 6 เดือน ของรัฐบาลชุดใหม่ จะทำงานได้ดีกว่า 2 ปี ของรัฐบาลที่นำโดยพรรคประชาธิปัตย์ ขณะที่เสียงวิจารณ์การตั้งลูกหลานนักการเมือง มาเป็นทายาททางการเมืองนั้นก็เป็นเรื่องปกติ ไม่ได้ผิดอะไร เพราะแต่ละคนก็เป็นคนที่ทำงานให้กับพรรคไม่ใช่เรื่องต่างตอบแทน

ด้าน นายอําพน กิตติอําพน เลขาธิการคณะรัฐมนตรี แถลงผลการประชุมคณะรัฐมนตรีครั้งแรกของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ 1 ว่า นางสาวยิ่งลักษณ์ นายกรัฐมนตรี ได้เน้นย้ำให้คณะรัฐมนตรีนำ พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มาปฏิบัติใช้พร้อมมอบหมายให้ สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี จัดพิมพ์ พระราชดำรัสแจกให้กับคณะรัฐมนตรีด้วย

"ที่ ประชุม ครม.ยังได้หารือถึงสถานการณ์อุทกภัยที่เกิดขึ้น จากพายุนกเตน โดย นายกรัฐมนตรี จะลงพื้นที่ของภาคเหนือตอนล่าง อย่างเช่น จ.สุโขทัย จ.แพร่ จ.อุตรดิตถ์ และ จ.นครสวรรค์ พร้อมมอบหมายให้รัฐมนตรีที่เป็น ส.ส. ในพื้นที่ ลงพื้นที่ดูแลประชาชน และรายงานมายัง ครม. อีกทั้ง ยังมอบหมายให้ กระทรวงมหาดไทย ดูแลปัญหาอุทกภัย และให้สำนักปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ตั้งศูนย์รับเรื่องร้องเรียน ฮอตไลน์ 1111 ร่วมจัดเป็นศูนย์รับบริจาคช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย พร้อมมอบหมายให้ กระทรวงการคลัง ปรับกฎเกณฑ์เพื่อกำหนดงบประมาณสำรองจ่ายช่วยเหลือและมอบหมายให้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ร่วมกับกระทรวงมหาดไทย สำรวจพื้นที่ ที่ได้รับความเสียหาย โดยเฉพาะพืชสวนทางการเกษตร อย่าง ข้าว ซึ่งจะใช้งบประมาณประจำปี 2554" นายอำพนกล่าว...

ไทยรัฐออนไลน์

สุดยอดขรก.ไม่มีเหนียม อธิบดีสรรพากรออกโรง! ไม่เก็บภาษีหุ้นจาก'แม้ว' เผยเป็นคนที่กรณ์ปั้นเอง














สุด ยอดขรก.เมืองไทย เมื่อ "ขั้วอำนาจรัฐ" เปลี่ยน ก็ต้องปรับตัว "อธิบดีสรรพากร" ออกโรงเอง ย้ำไม่เก็บภาษีหุ้นจาก "ทักษิณ" อ้างหน้าตาเฉย ในเมื่อศาลฯบอกเจ้าของหุ้นตัวจริงคือ "ทักษิณ" เมื่อขายในตลาดให้เทมาเส็ก ก็ไม่ต้องเสียภาษี เผย "สาธิต" เป็นคนที่ "กรณ์" ปั้นขึ้นมาเองกับมือ โดยกระโดดจากผอ.สำนักเศรษฐกิจการคลัง มาเป็น "อธิบดีสรรพากร"

วันที่ 11 ส.ค. 2554 นายสาธิต รังคสิริ อธิบดีกรมสรรพากร กล่าวว่า กรมสรรพากรจะไม่เก็บภาษีหุ้นจากพ.ต.ท.ทักษิณ ชิณวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี จำนวน 1.2 หมื่นล้านบาท เพราะอดีตนายกฯไม่มีภาระต้องเสียภาษีดังกล่าว

อธิบดี กรมสรรพากร กล่าวว่า หลังจากที่กรมฯไม่ยื่นอุทธรณ์เก็บภาษีหุ้นจากนายพานทองแท้ ชินวัตร และน.ส.พิณทองทา ชินวัตร จำนวน 1.2 หมื่นล้านบาท เพราะศาลฎีกาแผนกคดีอาญาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองวินิจฉัยการโอนซื้อขาย หุ้นระหว่างอดีตนายกฯกับบริษัท แอมเพิลริช อินเวสเมนต์ และลูกทั้ง 2 คน เป็นนิติกรรมอำพราง เจ้าของหุ้นตัวจริงเป็น พ.ต.ท.ทักษิณ ไม่ใช่ของลูก

จาก คำตัดสินของศาลดังกล่าว ทำให้พ.ต.ท.ทักษิณ เป็นเจ้าของหุ้นบริษัท ชินคอร์ปอเรชั่น มาตลอด และเมื่อนำหุ้นไปขายให้กองทุนเทมาเส็กในตลาดหลักทรัพย์ก็ไม่มีภาระต้องเสีย ภาษี เพราะไม่ได้เป็นการซื้อขายนอกตลาด

ย้อนตำนานใครเคยภูมิใจ “ยึดทรัพย์แม้ว” ส่งผลรัฐฯเก็บรายได้สูงกว่าเป้า 6.7 หมื่นล้านบาท

อย่าง ไรก็ตาม เป็นที่น่าสังเกตว่า เมื่อวันที่ 12 พ.ค.2553 นายสาธิต รังคสิริ ซึ่งในขณะนั้นดำรงตำแหน่ง "ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง" ออกมาระบุด้วยความพึงพอใจในผลงานว่า ในเดือนเม.ย. 2553 รัฐบาล จัดเก็บรายได้สุทธิ 1.59 แสนล้านบาท สูงกว่าเป้ากว่า 6.7 หมื่นล้านบาท โดยมีสาเหตุหลักจากการที่กระทรวงการคลังได้รับโอนเงินจากการยึดทรัพย์ของ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร และการบริโภคและการนำเข้าที่ยังขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ในช่วง 7 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2553 รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิสูงกว่าเป้า หมายแล้วกว่าสองแสนล้านบาท หรือร้อยละ 31.6

ในเดือนเม.ย. 2553 รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ 158,984 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 67,368 ล้านบาท หรือร้อยละ 73.5 โดยภาษีที่จัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการ 3 อันดับแรก ได้แก่ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีน้ำมัน และอากรขาเข้า ซึ่งมีสาเหตุสำคัญจากการบริโภคและการนำเข้าที่ขยายตัวอย่างต่อ เนื่อง นอกจากนี้ ในเดือนนี้กระทรวง การคลังได้รับโอนเงินจากการยึดทรัพย์ของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร จำนวน 49,016 ล้านบาท ส่งผลให้รายได้ส่วนราชการอื่นสูงกว่าประมาณการ ถึงร้อยละ 1,837.1

ต่อมาในยุครัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ ยุคที่นายกรณ์ จา ติกวณิช เป็นรมว.คลัง มีการปรับย้ายครั้งใหญ่ โดยดึงนายสาธิต รังคสิริ จากผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง มาดำรงตำแหน่ง "อธิบดีกรมสรรพากร" ที่เป็นกรมใหญ่ ซึ่งสร้างความฮือฮาให้กับสังคมในขณะนั้น และระหว่างที่ยังไม่ทราบผลการเลือกตั้ง ที่พรรคเพื่อไทยจะชนะ นายสาธิตก็ยังไม่มีท่าทีที่จะออกมาระบุว่า จะไม่เก็บภาษีคนในตระกูลชินวัตร แต่เมื่อการเมืองเปลี่ยน ความเห็นก็เปลี่ยนทันที

"ปชป." จ๋อย ดาหน้าโต้ "กรมสรรพากร" จี้ให้ตอบให้สังคมเข้าใจ

โดย ก่อนหน้านี้เมื่อวันจันทร์ที่ 8 ส.ค.ที่ผ่านมา นางจิตรมณี สุวรรณพูล รองอธิบดีกรมสรรพากร ในฐานะโฆษกกรมสรรพากร ได้ออกมาระบุว่า กระทรวงการคลังเห็นชอบตามที่กรมสรรพากรเสนอที่จะไม่อุทธรณ์การเก็บภาษีของ นายพานทองแท้ และน.ส.พินทองทาชินวัตร บุตรชายและบุตรสาวของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี คนละ 5,675 ล้านบาท รวม 1.1 หมื่นล้านบาท ในคดีโอนหุ้นบริษัท ชินคอร์ปฯ ผ่านทางบริษัท แอมเพิล ริช อินเวสเมนต์ ที่อยู่นอกตลาดหลักทรัพย์เพื่อเลี่ยงการเสียภาษี

ซึ่งในเวลาต่อมา ทำให้อดีตครม.ชุดเก่า ดาหน้าออกมาโต้กันใหญ่ เริ่มจากนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ต้องให้เขา (กรมสรรพากร) ชี้แจง ว่าถ้าเป็นเช่นนี้แล้วจะเรียกเก็บเงินส่วนนี้กับผู้อื่นหรือไม่ คงจะเป็นไปไม่ได้ ที่จะมีกรณีเงินที่พึงจะเสียภาษี แต่ไม่มีใครเสีย ในทางกลับกันที่จะมีคนเสียมากกว่า 1 คนก็คงจะเป็นไปไม่ได้ ดังนั้นก็ต้องตัดสินใจว่าจะให้ใครเสีย

ขณะที่นายกรณ์ จา ติกวณิช อดีตรมว.คลัง กล่าวว่า ตนได้ฝากกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องคือ เมื่อน.ส.พินทองธา และนายพานทองแท้ ไม่เกี่ยวกับทรัพย์ ดังนั้น จัดเก็บภาษีต้องตกอยู่ที่เจ้าของทรัพย์ตัวจริงคือพ.ต.ท.ทักษิณ และไม่ถือว่าขาดอายุความการจัดเก็บ เพราะภาระทางภาษีมีอายุถึง 10 ปี ซึ่งเป็นหน้าที่ของกรมสรรพากรดำเนินการ

เมื่อถามว่า พรรคเพื่อไทยมาเป็นรัฐบาลจะกล้าตามจัดเก็บหรือไม่ นายกรณ์ กล่าว ว่า อยากถามกลับว่าเขากล้าไม่จัดเก็บหรือไม่ เพราะถ้าไม่เก็บ จะเป็นการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 แต่ตนเชื่อมือกรมสรรพากรว่าถ้าเขาประเมินเป็นภาษีแล้วต้องเก็บแน่

ขณะ ที่นายสุเทพ เทือกสุบรรณ แกนนำพรรคประชาธิปัตย์ เปิดเผยว่า เป็นเรื่องที่พอคาดเดาได้ว่าสิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้น เพราะเป้าหมายของพ.ต.ท.ทักษิณเป็นเรื่องเดิม คือต้องการเอาทรัพย์สินคืน ส่วนจะทำได้หรือไม่คงต้องดูกันต่อไป

thaiinsider

"กรณ์" แจงผ่านเฟซบุ๊ค สรรพากรเว้นเก็บภาษี "โอ๊ค-เอม"

by ใหม่เมืองเอก

เรื่องการคืนภาษีโอ๊ค-เอม ที่ปรากฏเป็นข่าวอยู่เมื่อสองสามวันที่ผ่านมา ทำให้มีคำถามเกิดขึ้นมากมาย ผมขอเรียนอธิบายเป็นข้อๆไว้ในที่นี้ เพื่อเป็นการตอบข้อสงสัยต่างๆในแบบที่ง่ายต่อการเข้าใจนะครับ

1. การซื้อขายหุ้น ‘ชินคอร์ป’ ที่เป็นปัญหานั้นเนื่องมาจากการที่ผู้ขาย (บริษัท Ample Rich Investment Limited ซื่ง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรเป็นเจ้าของ) ได้ขายให้ผู้ซื้อ (โอ๊ค-เอม) ในราคาหุ้นละ 1 บาท สามวันก่อนที่จะมีการขายต่อให้เทมาเซคจากสิงคโปร์ โดยที่มูลค่าหุ้นจริงในตลาดขณะนั้น ราคาอยู่ที่ 49 บาท

2. กรมสรรพากรในชั้นแรกได้ยื่นฟ้องต่อศาลภาษีว่าโอ๊ค-เอม มีภาระภาษี โดยมิได้เกิดจากกรณีที่ขายให้เทมาเซค แต่เป็นรายได้ที่ได้จากการรับซื้อหุ้นมาจากการตกลงกัน “นอก” ตลาดหลักทรัพย์ ในราคา 1 บาทเมื่อเทียบกับราคาตลาดที่ 49 บาท ส่วนต่าง 48 บาท ตามกฎหมายนั้นถือเป็นรายได้

3. ต่อมาศาลฎีกาแผนกคดีอาญาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองมีคำพิพากษาว่า หุ้นดังกล่าวนั้นไม่ได้เป็นของโอ๊ค-เอม แต่เจ้าของตัวจริงคือ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรและให้ถือว่าเป็นการกระทำ "นิติกรรมอำพราง" (คำพิพากษาลงวันที่ 26 กพ. 2553)

4. เมื่อศาลพิพากษาว่า กรณีนี้ถือว่าเป็น "นิติกรรมอำพราง" ตัวผมในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังในขณะนั้นมีความเห็นขัดแย้งกับกรมสรรพากร โดยผมเห็นว่าเราควรจะตามไปเก็บภาษีจากเจ้าของบัญชีตัวจริงคือ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรในขณะที่เบื้องต้นกรมสรรพากร มีความเห็นว่า กรณีนี้ควรถือว่า เป็น "โมฆะ" ทั้งหมดเพราะศาลได้ชี้ชัดแล้วว่าเป็น "นิติกรรมอำพราง" ดังนั้นจึงไม่ควรไปตามเก็บภาษีจากใครอีก

5. สิ่งที่ผมบอกกับกรมสรรพากรคือ การขายหุ้นจาก Ample Rich กลับมาที่ พ.ต.ท.ทักษิณ (โดยมี โอ๊คเอมเป็นตัวแทน) นั้น เป็นการขายระหว่าง "บริษัท" กับ "ตัวบุคคล" ซึ่งถึงแม้ว่าบุคคลคนนั้นเป็นผู้ถือหุ้นบริษัท การซื้อขายก็ยังมีผลอยู่ดี และถ้าจะถือว่าความเกี่ยวข้องต่างๆกับ "นิติกรรมอำพราง" จะต้องเป็น "โมฆะ" ทั้งหมด “การซื้อขายหุ้นให้เทมาเซค” จากบัญชีนั้นก็จะต้องเป็น "โมฆะ" ไปด้วย แต่นี่การซื้อขายหุ้นดังกล่าวก็เป็นไปอย่างเสร็จสมบูรณ์ทุกประการ ผู้ซื้อได้หุ้น ผู้ขายได้เงิน และเป็นการซื้อขาย "นอกตลาดหลักทรัพย์" ซึ่งมีกฎระบุชัดเจนว่า จะต้องมีการจัดเก็บภาษี

6. ถ้ากรมสรรพากรจะไม่เรียกเก็บภาษีจากกรณีนี้ โดยอ้างว่าเป็น "นิติกรรมอำพราง" นั้น ก็จะต้องตอบคำถามด้วยว่า เหตุใดกรณีนี้จึงเป็น "โมฆะ" เฉพาะในส่วนของเรื่องการ "จัดเก็บภาษี" ในขณะที่ การ "ซื้อขายหุ้น"ให้เทมาเซคในกรณีนี้ ไม่ได้เป็น "โมฆะ" ไปด้วย

ในส่วนคำถามที่มีต่อตัวผมว่า ช่วงที่ผมดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้ดำเนินการอย่างไรในเรื่องนี้บ้าง ก็ขอเรียนว่า เมื่อความเห็นของผมและทางกรมสรรพากรไม่ตรงกัน กรมสรรพากรจึงต้องพิจารณาหาข้อเท็จจริงและคดีก็ยังอยู่ในอายุความ แต่ทางกรมสรรพากรก็ต้องระวังไม่ให้มีการถ่วงเวลาจนหมดอายุความ มิเช่นนั้นเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องอาจติดคุกติดตะรางกันได้

สำหรับผู้ที่เบื่อหน่ายกับเรื่องนี้ และอยากให้เลิกรากันไปเสียที ผมก็ต้องเรียนว่าเงินภาษีที่เราจะจัดเก็บได้จากกรณีนี้เป็นเงินจำนวนไม่น้อยเลยทีเดียว และข้อสำคัญคือ มันจะเป็นการไม่ยุติธรรมอย่างยิ่งสำหรับคนไทยทุกคนที่มีหน้าที่ต้องเสียภาษี เมื่อมองจากการทำงานที่ผ่านมาของกรมสรรพากรอันเป็นที่ขึ้นชื่อในการเก็บภาษีขนาดที่พูดกันว่า มีการไปนั่งเฝ้านับชามก๋วยเตี๋ยวเพื่อจะคำนวณภาษีที่จะจัดเก็บจากร้านนั้น แล้วนี่คือภาษีของประชาชนที่ควรจะจัดเก็บได้มูลค่าเป็น "หมื่นล้านบาท" กรมสรรพากรจะดำเนินการอย่างไรต่อไป ถ้างดเว้นการจัดเก็บภาษีในกรณีนี้ก็จะต้องมีคำถามอย่างแน่นอนว่าเหตุผลของกรมสรรพากรในการที่จะงดเว้นการจัดเก็บภาษีนั้นเป็นเหตุผลที่เหมาะสมและถูกต้องหรือไม่


-------------------------

ตัวอย่างบางความคิดเห็นที่น่าสนใจ ดังนี้

"ถ้าเก็บตามหน้าที่ ได้เงินเยอะเกินเป้า จะได้ไม่ต้องไปรีดไถ นั่งเฝ้านับชามให้เจ้าของร้​านเครียด ประสาทเสีย มันเกินไปจริงๆ รังแกได้แต่ประชาชนที่ไม่มี​อิทธิพล เกลียดจังกรมคันไถ"

" แล้วควรจะเป็นยังไงต่อไปครั​บ เช่น ต้องปล่อยให้คืน ไม่สามารถยับยั้งได้ หรือต้องฟ้องสรรพากรแล้วให้​คนพวกนั้นรับผิดชอบแทน หรือทำอะไรได้บ้างครับ สงสัยครับ เพราะดูเหมือนว่าจะหมดหนทาง​ขัดขวางเลยครับ อย่างนี้กระบวนการยุติธรรมก็ไร้ซึ่งความน่าเชื่อถือมาก​ขึ้นไปอีก ขัดกับกระแสรับสั่งของในหลว​งเลยครับ..... ปชป.มีนักกฎหมายเยอะมากไม่ส​ามารถจะทำให้ความผิดกลับเป็​นความผิดอย่างที่ควรจะเป็นไ​ด้เลยเหรอครับ....."

"อยากเรียนถามว่า ใครมีสิทธิที่จะฟ้องร้องเจ้​าหน้าที่กรมสรรพากรข้อหาละเ​ว้นการปฏิบัติหน้าที่ได้บ้า​ง ประชาชนทั่วไปอยากฟ้องแต่ไม่มีข้อมูลความรู้เพียงพอ มีใครเปนตัวแทนได้บ้างหรือร​่วมลงชื่อกันอย่างไร พึ่งสภาทนายความได้ไหม ไม่อยากร่วมมือกันโกงแบบหน้​าด้านๆ อย่างนี้"

"ถ้าเอาตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไปแล้วมีการขายหุ้นให้เท​มาเสกโดยไม่มีการอายัดหุ้น ต้องถือว่าเป็นการให้สัตยาบันแล้ว ดังนั้นสรุปว่าพานทองแท้ต้อ​งเสียภาษี ไม่เป็นนิติกรรมอำพราง"

"พรุ่งนี้ผมจะไปทำ "นิติกรรมอำพราง" บ้างจะได้ไม่ต้องเสียภาษี มิน่าเราจ่ายมาตลอด เพราะเราทำแต่นิติกรรม ปกตินี่เอง แนะนำให้คนไทยทุกคนทำเวอร์ชั่นอำพรางครับ tax free สรรพากรก็ไม่ต้องเหนื่อยด้ว​ย โมฆะทุกอย่าง..."

-------------------------


และคำถามที่น่าสนใจที่สุดคือ

"ผมไม่เห็นด้วยกับคุณกรณ์อย่​างยิ่งที่บอกว่า โดยผมเห็นว่าเราควรจะตามไป​เก็บภาษีจากเจ้าของบัญชีตัว​จริงคือ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร"


และคุณกรณ์ได้ตอบคำถามนี้อย่างน่าสนใจว่า

เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องที่เข้าใจยากครับ ก็ในเมื่อเจ้าของหุ้นตัวจริ​งคือทักษิณ แล้วทักษิณให้ลูกชายและลูกส​าวถือแทน ก็ควรต้องเก็บภาษีจากสองคนนี้แทน ไม่ใช่บอกว่าในเมื่อไม่ใช่เ​จ้าของหุ้นตัวจริงก็เลยเลี่​ยงภาษีได้ ให้ไปตามเก็บกับเจ้าของตัวจ​ริงๆ ทั้งๆ ที่เงินจำนวนมากของเจ้าของตัวจริงอยู่ที่ ๒ คนนี้

ลูกชายและลูกสาวของทักษิณได​้เงินจำนวนมากจากการขายหุ้น​ดังกล่าว แต่กลับบอกว่า ในเมื่อเป็นการถือแทน (นิติกรรมอำพราง) จึงไม่ต้องรับผิดชอบในการเส​ียภาษีจากเงินที่ตัวเองได้ อย่างนี้มันไม่ถูกต้อง

ถามว่า คนที่ถือหุ้นแทนสามารถทำนิติกรรม (โอนหรือขายหุ้นนั้น) อย่างถูกต้องตามกฏหมายหรือไ​ม่???

การที่สองคนนี้ถือหุ้นแทนทั​กษิณแล้วขายให้เทมาเส็กของรัฐบาลสิงคโปร์ได้อย่างถูกต้​องตามกฏหมาย ก็แสดงว่า สองคนนี้ที่ถือหุ้นแทนทักษิ​ณก็เป็นเจ้าของตัวจริงด้วยเ​หมือนกันจึงต้องเสียภาษีตาม​กฏหมาย (แม้จะถือแทนแต่ได้เงินจากก​ารขายหุ้นและสามารถใช้จ่ายเ​งินนั้นได้ถูกต้องตามกฏหมาย​ แล้วจะไม่ต้องเสียภาษีได้อย่างไร)

สรุปความว่า จะเรียกว่าเป็น "นิติกรรมอำพราง" หรือไม่ก็ตาม แต่เงินภาษีที่สองคนนี้เสีย​ก็ต้องถือเป็นเงินของทักษิณ​เหมือนกัน เพราะเห็นได้ชัดว่ามันกระเป๋าเดียวกัน


ไทยแลนด์พลาซ่า"" จะหยุดหรือจะไปต่อ

“โครงการ ไทยแลนด์ พลาซ่า จะช่วยให้ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในท้องถิ่นได้ขยายโอกาสในต่างประเทศมากขึ้น แต่ต้องมุ่งเป้าไปที่การจัดแสดงสินค้าในประเทศสมาชิกอาเซียนให้มากขึ้นกว่าเดิม” สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมกล่าว

โครงการนี้เกิดขึ้นในช่วงสมัยรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร ที่มีเป้าหมายเพื่อพัฒนาฝั่งตะวันตกของประเทศ แต่ผลลัพธ์ที่ได้ยังไม่ดีนัก เนื่องจากศูนย์การค้าแรกที่ตั้งในสหรัฐอเมริกามีต้นทุนในการดูแลที่แพงเกินไป

ไทยแลนด์ พลาซ่า ใช้งบประมาณโดยรวมอยู่ที่ 1 แสนล้านบาท เพื่อเพิ่มศักยภาพที่ช่วยสร้างช่องทางการตลาดใหม่ของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของไทยได้ และทำให้ตลาดโลกเข้าถึงประเทศสมาชิกอาเซียนได้มากขึ้น

ดร.ยุทธศักดิ์ สุภสร ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม “หุ้นส่วนของ SMEs ไทย จะสามารถสั่งซื้อสินค้าผ่านเอาท์เล็ทจากไทยแลนด์ พลาซ่า ในแต่ละประเทศได้มากขึ้น” ผู้แทนจำหน่ายทั้งหลายอาจตั้งคำถามต่อรัฐบาลใหม่ถึงเงื่อนไขในการลงทุนมากขึ้น สำหรับกองทุนในสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (Osmep) มีจำนวน 1.3 พันล้านบาท ที่สนับสนุน SMEs ไทยอยู่ หาก SMEs ไทยต้องการการร่วมทุนกับบริษัทขนาดใหญ่ อาจต้องปรับให้ระยะเวลาในการชำระเงินดีขึ้นและช่วยลดต้นทุนบ้าง



ดร.ยุทธศักดิ์ สุภสร กำลังสำคัญในการผลักดัน
ปัจจุบัน วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมสามารถกู้เงินจากธนาคารพาณิชย์ได้เพียง 30% และยังถูกเรียกเก็บดอกเบี้ยในอัตราที่สูงกว่าบริษัทขนาดใหญ่

โดยปกติแล้ว สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมจะใช้ทุนของตัวเองเพื่อลงทุนโดยตรงใน SMEs อย่างไรก็ตาม ทุนควรจะขยายครอบคลุมไปยังวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่ต้องการลงทุนกับบริษัทขนาดใหญ่ในลักษณะที่ไม่ใช่บริษัทขนาดเล็กเข้าไปควบรวมกับบริษัทขนาดใหญ่



ตัวอย่าง Thailand Plaza - ขอบคุณภาพจาก วิกิพีเดีย
ทางสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมมีเป้าหมายภายใต้แผน SME ฉบับที่ 3 ระหว่างปี 2012-16 เพื่อสนับสนุนให้เกิด SMEs เพิ่มขึ้นอย่างน้อย 250,000 แห่ง และสามารถสร้างเครือข่ายระหว่างกันได้ถึง 300 แห่ง

ดร.ยุทธศักดิ์ฯ “ควรมีการแก้ไขกฎหมายเพื่ออนุญาตให้ SMEs ได้กู้ยืม เพื่อทำให้ลิขสิทธิ์ตราสินค้า เข้มแข็งมากขึ้น ทั้งในเรื่องสินค้าคงคลัง หลักทรัพย์ประกัน หรือสัญญาค้ำประกันโดยบุคคล” ความเข้มแข็งของ SMEs อาจจะช่วยยกระดับความสามารถในการแข่งขันของเศรษฐกิจไทยได้

โดยรวมแล้วทั้งประเทศมีวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมจำนวน 2.9 ล้านราย มีการจ้างงานราว 10.5 ล้านคน หรือ 77.8% ของแรงงานทั้งหมด และสามารถสร้างผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ถึง 3.75 ล้านล้านบาท

คุณดุสิต นนทะนาคร ประธานสภาหอการค้าไทยกล่าว “หอการค้าและสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมอาจจะจัดงานสัมมนาในเรื่องประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนและ SMEs ของไทยเพื่อเตรียมความพร้อมในการเจาะตลาดภูมิภาคในระดับที่ใหญ่มากขึ้น”

ที่มาของ ไทยแลนด์ พลาซ่า

เดิมโครงการไทยแลนด์ พลาซ่า นั้น คณะรัฐมนตรีเห็นชอบให้จัดตั้งแห่งแรกที่ นิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา ในยุครัฐบาลทักษิณ ชินวัตร (ปี 2547) ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ เพื่อสร้างภาพลักษณ์สินค้าไทยและเพิ่มช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้าให้ขยายสู่ตลาดระดับบนมากขึ้น โดยเริ่มจากสหรัฐฯ อังกฤษ ฝรั่งเศส และญี่ปุ่น ทั้งนี้ คณะรัฐมนตรีได้มอบหมายให้ กระทรวงพาณิชย์ โดยกรมส่งเสริมการส่งออก เป็นผู้เช่าอาคาร เลขที่ 529 Fifth Avenue นครนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อจัดตั้งเป็น Thailand Plaza (ตัวย่อสามารถใช้ได้ทั้ง THP และ TPZ)

ต่อมารัฐบาลมีมติให้กระทรวงพาณิชย์เปลี่ยนแปลงสถานที่จัดตั้ง TPZ เนื่องจากไม่ยินยอมตกแต่งอาคารตามที่กระทรวงพาณิชย์ต้องการและไม่สามารถหาข้อยุติได้จึงต้องเปลี่ยนที่ตั้ง เป็นอาคารเลขที่ 505 Fifth Avenue ทำให้มีค่าเช่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจากเดิมร้อยละ 51

โดยจัดสรรพื้นที่ออกเป็นสองส่วน ส่วนแรกเป็นที่ตั้งของสำนักงานด้านเศรษฐกิจแบบบูรณาการของไทย ประกอบด้วยหน่วยราชการและรัฐวิสาหกิจ ได้แก่ สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ สำนักงานส่งเสริมการลงทุน สำนักงานส่งเสริมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และบริษัทการบินไทย จำกัด เป็นต้น พื้นที่รวมประมาณ 6,000 ตารางฟุต และพื้นที่ส่วนที่เหลือ 22,840 ตารางฟุต เป็นที่ตั้งของ Thailand Market Place (TMP) Modules ไม่น้อยกว่า 3 Modules และบริษัทเอกชนอื่นๆ ของไทย โดยหน่วยราชการ รัฐวิสาหกิจ และบริษัทเอกชน จะเป็นผู้เช่าพื้นที่จากกระทรวงพาณิชย์ โดยชำระค่าเช่า ค่าใช้จ่ายส่วนกลาง และค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องตามสัดส่วนของพื้นที่ โดยให้ดำเนินการตามข้อสังเกตของหน่วยงานนั้นๆ

มติชนฉบับวันที่ 6 ธันวาคม 2548 ระบุว่า ค่าใช้จ่ายเมื่อคิดจากระยะเวลาเช่า 10 ปี เป็นค่าเช่ารวม 1,230,992,000 บาท ค่าใช้จ่ายส่วนกลาง 136,214,731 บาท และค่าภาษีต่างๆ 73,934,224 บาท รวมเป็นงบประมาณเบื้องต้น 1,371,140,955 บาท

คงต้องจับตาดูกันต่อไปว่า รัฐบาลในยุคของคุณยิ่งลักษณ์ฯ จะให้ความสำคัญกับธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเพียงใด ไทยจะลุยตลาดโลกด้วยการผลักดันสินค้าอาเซียนได้แค่ไหน SMEs จะสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจไทยและช่วยขับเคลื่อนระดับเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศภาคีอาเซียนได้หรือไม่ นโยบายที่พี่ชายนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของประเทศที่เคยริเริ่มไว้ตั้งแต่ปี 2547 จะถูกนำมาสานต่อได้อย่างไร จะต้องใช้งบประมาณกับการพัฒนาโครงข่าย SMEs และขยายตลาดให้อาเซียนอีกสักเท่าไหร่ SIU จะติดตามความเคลื่อนไหวและนำมาเสนอต่อไป

Bangkok Post,  มูลนิธิประเมินค่าทรัพย์สินแห่งประเทศไทย  , สำนักนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน

ค่าแรง300บาทในมุมมองCEOโตโยต้าไทย

ค่าแรง300บาทในมุมมองCEOโตโยต้าไทย




ถ้คุณผู้อ่านเป็นแฟนประจำบล็อคนี้คงจะทราบดีว่า ผมเขียนเรื่องค่าแรง300บาทอยู่หลายครั้ง ทั้งในบล็อกนี้และในการตั้งกระทู้ที่บอร์ดสนุก

ประเด็นสำคัญที่สุดที่ผมชี้ให้เห็นในหลายๆบทความเกี่ยวกับค่าแรงขั้นต่ำ300บาทก็คือ

"ขึ้นค่าแรงไปก็ไม่มีประโยชน์ ถ้าค่าครองชีพและราคาสินค้าขึ้นไปสูงกว่า" ซึ่งมุมมองในเรื่องนี้ของผม ก็ตรงกับCEOโตโยต้ามอเตอร์ไทย เพราะCEOโตโยต้า ย้ำประเด็นนี้อยู่หลายครั้งในรายการเจาะข่าวเด่นว่า ค่าจ้างเพิ่มแต่ถ้าคุมราคาสินค้าไม่ได้ ก็ไม่มีประโยชน์



ในคลิปประเด็นสำคัญอีกอย่างก็คือ ceoโตโยต้าไทย บอกว่า SMEsไทยที่รับจ้างผลิตอะไหล่ให้โตโยต้า ถ้าราคาอะไหล่ไทยแพงกว่าอะไหล่ที่อินเดียและอินโดนีเซียผลิต โตโยต้าก็ต้องหันไปซื้ออะไหล่ของอินเดียหรืออินโดนีเซียแทน 

อีกทั้งบริษัทโตโยต้าญี่ปุ่น ก็เริ่มสนใจไปตั้งฐานการผลิตที่อินเดีย และอินโดนีเซียมากขึ้น ก็เพราะเหตุผลเรื่องค่าแรงที่ถูกกว่า

คุณผู้อ่านครับ เมื่อก่อนคนไทยก็ไม่ไว้ใจรถโตโยต้าที่ผลิตในเมืองไทย รถโตโยต้าในรุ่นเดียวกันที่นำเข้าจากญี่ปุ่นจะมีราคาสูงกว่า และคนไทยก็นิยมซื้อมากกว่า ด้วยเหตุผลว่า รถผลิตจากญี่ปุ่นคุณภาพดีกว่ารถที่ผลิตในเมืองไทย (เครื่องใช้ไฟฟ้าก็ทำนองเดียวกัน เมดอินเจแปนทนทานกว่า)

แต่ต่อมาโตโยต้าเลิกนำเข้ารถจากญี่ปุ่นเพราะช่องว่างของต้นทุนราคาเริ่มต่างกันมาก(เพราะค่าแรงญี่ปุ่นแพงกว่าไทยร่วม10เท่า) โต โยต้ามอเตอร์ไทยจึงเน้นขายเฉพาะรุ่นที่ผลิตในไทยเท่านั้น การพัฒนาฝีมือการประกอบรถโตโยต้าของคนไทยจึงพัฒนาขึ้น จนได้รับความเชื่อถือในปัจจุบันกว่า รถโตโยต้าที่ประกอบในประเทศอื่นๆ (รถ โตโยต้าที่ผลิตในญี่ปุ่น จึงมีแต่บริษัทอื่นๆนำเข้าแทน) (ตอนหลังมีเรื่องอาฟต้า โตโยต้าเริ่มนำเข้ารถที่ประกอบในฟิลิปปินส์ในบางรุ่น)

แต่คุณผู้อ่านครับ เรื่องฝีมือแรงงานทุกประเทศเขาก็พัฒนากันได้ทั้งนั้น ถ้าค่าแรงไทยแพงกว่าที่อื่นมากๆ ญี่ปุ่นเขาก็สนใจไปพัฒนาแรงงานในประเทศอื่นแทน

นั่นเพราะประเทศไทยไม่ใช่เจ้าของเทคโนโลยี แต่เป็นประเทศรับจ้างผลิต ถ้าคนไทยอยากได้ค่าแรงสูงๆแบบเกาหลีใต้และญี่ปุ่น ไทยต้องมีเทคโนโลยีไฮเทคของตัวเองเยอะๆ

-------------------------------------

เมื่อวานนี้ผมได้อ่านข่าว รัฐบาลญี่ปุ่นกำลังพยายามที่จะทำให้ค่าเงินเยนอ่อนลง ตามข่าวนี้ (คลิกเพื่ออ่านข่าว)

ญี่ปุ่นไม่อยากให้ค่าเงินเยนแข็ง เพราะต้องการส่งสินค้าออกให้มากขึ้นเพื่่อต้องการเงินมาฟื้นฟูประเทศ นับตั้งแต่เกิดสึนามิและวิกฤติโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ทำให้ทั่วโลกยังหวาดหวั่นกับภัยกัมตรังสีที่ปนเปื้อนในสินค้าญี่ปุ่นหลาย ชนิด ถ้าเงินเยนแข็ง สินค้าญี่ปุ่นยิ่งแพง การส่งออกญี่ปุ่นจะยิ่งแย่ลงครับ

แต่รัฐบาลปูแดง1 มีแนวคิดต้องการทำให้ค่าเงินบาทแข็งขึ้น อ้างว่าเพื่อทำให้สินค้่านำเข้าอย่างน้ำมันราคาถูกลง  โดยอ้างว่า จะทำให้ต้นทุนการผลิตและขนส่งที่เกียวข้องกับน้ำมัน จะถูกลง

คุณผู้อ่านครับ ที่ผ่านมาน้ำมันโลกถูกลง แต่คนไทยก็ยังซื้อน้ำมันแพง เมื่อไม่นานมานี้ปตท.แถลงผลประกอบการณ์ชื่นมื่นเพราะกำไรอื้อซ่าครับ นักการเมืองและมหาเศรษฐีไทยมีหุ้นในปตท.โดยใช้นอมินี่ต่างชาติถือหุ้นแทน ก็คงได้เงินปันผลมากขึ้น

ยิ่งคนไทยชอบนิยมฟุ้งเฟ้อเห่อของนอก มันไม่ใช่แค่น้ำมันถูกลง ของนอกอื่นๆก็ถูกลงด้วย จะช่วยกระตุ้นให้คนไทยอยากซื้อของนอกมากขึ้นรึเปล่า??

แต่ที่แน่ๆ สินค้าส่งออกของไทยย่อมแพงขึ้นตามค่าเงินบาทที่แข็งขึ้น

-------------------------

นโยบายขึ้นค่าแรงเพิ่มขึ้น ขึ้นเงินเดือนมากขึ้น ทำราคาสินค้าเกษตรให้แพงขึ้น ตามทฤษฎี2สูงของเสี่ยธนินท์ คุณผู้อ่านลองคิดแบบหลักเศรษฐศาสตร์แบบชาวบ้านๆว่า จะทำให้ราคาสินค้าจะแพงขึ้นหรือถูกลง??

วันก่อนคลิปเรื่องราคาหมู นายกสมาคมผู้เลี้ยงสุกร อ้างว่า เพราะต้นทุนอาหารสัตว์แพง เพราะวัตถุดิบเช่นข้าวโพดแพง ข้าวแพง  แล้วจะให้ราคาหมูถูกลงได้ยังไง??



ถ้าขึ้นค่าแรง แล้วคุมราคาสินค้าไม่ได้ ก็ไม่มีประโยชน์ เพราะ เท่ากับเราต้องใช้เงินมากขึ้นในการซื้อสินค้าในปริมาณเท่าเดิม แบบนี้เขาเรียกว่า เงินเฟ้อ ครับ

ถ้าสินค้าไทยแพง ก็ขายออกยากครับ

-----------------------

ทฤษฎี2สูงของเจ้าสัวธนินท์แห่งซีพี ตอนผมได้ฟังครั้งแรกในรายการจับเข่าคุยเมื่อสองสามปีก่อน ตอนแรกที่ฟัง ผมก็เชื่อเจ้าสัวซีพีนะครับ แต่พอรายการจับเข่าคุย ไปสัมภาษณ์เจ้าสัวปัญญา แห่งสหฟาร์ม ผมกลับเห็นด้วยกับเจ้าสัวปัญญามากกว่า!!

แนวคิดของเจ้าสัวปัญญา ตรงกันข้ามกับเจ้าสัวธนินท์แทบสิ้นเชิง

ซึ่งผมเห็นว่า เจ้าสัวปัญญาเจ้าของสหฟาร์ม แนะวิธีแก้ปัญหาความยากจนที่ยั่งยืน ยอดเยี่ยม ไม่เห็นแก่ตัว ไม่มีผลประโยชน์แอบแฝงเหมือนเจ้าสัวซีพี

ทฤษฎีของเจ้าสัวปัญญา เห็นใจคนจนแท้จริง และชี้ให้เห็นถึงข้อเสียของทฤษฎี2สูงของเจ้าสัวธนินท์ (ทฤษฎี2สูงคือขึ้นค่าแรง ขึ้นราคาสินค้าเกษตร)

เจ้าสัวปัญญา บอกว่า การทำให้ราคาสินค้าเกษตรแพง ไม่ใช่สิ่งที่ทำให้เกษตรกรอยู่รอด

ผมอยากเชิญคุณผู้อ่านไป ดูคลิปรายการจับเข่าคุย ที่สัมภาษณ์เจ้าสัวปัญญา เจ้าสัวปัญญาอธิบายถึงข้อเสียของทฤษฎี2สูงได้อย่างแจ่มชัดมากๆ พอผมฟังเจ้าสัวปัญญาจบ ผมเข้าใจเลยว่า ทฤษฎี2สูงคือทฤษฎีที่อันตรายสำหรับประเทศที่ไม่ได้เป็นเจ้าของเทคโนโลยีชั้นสูงจริงๆ

ไปดูได้ที่ http://www.sukhawadee.com/ClipDR.php (นโยบาย2สูงเริ่มในคลิปที่2)


-----------------------------

ผมฝากข้อคิดทิ้งท้ายบทความนี้ว่า

ถ้าขึ้นค่าแรงเป็น300บาท สินค้าไม่แพงขึ้น ประชาชนมีเงินเหลือ ประชาชนรวย!!

แต่ถ้าขึ้นค่าแรงเป็น300บาท สินค้าแพงมากกว่า ประชาชนไม่มีเงินเหลือ ประชาชนยิ่งจนหนักกว่าเดิม (อาจตกงาน)

วัดกึ๋นรัฐบาลไม่ได้วัดที่การทำให้ค่าแรงให้สูงขึ้น แต่วัดกันที่ทำอย่างไรประชาชนมีเงินเหลือมากขึ้น


---------------------------

ขออนุญาตแทรกตอบคำถามของคุณหทัยรัตน์ ที่ถามผ่านเฟซบุ้คทางด้านล่าง เกี่ยวกรณีชูวิทย์ป่วนสภาเมื่อวาน ในการประชุมโหวตเลือกนายกฯ

ผมเองคือคนที่เลือกชูวิทย์ ผมยืนยันว่า สิ่งใดถ้าชูวิทย์ทำดี ผมชื่นชม แต่ถ้าชูวิทย์ทำไม่ดี เราต้องตำหนิครับ กรณีชูวิทย์ป่วนสภาเมื่อวาน ผมอยากเชิญคุณผู้อ่านฟังคำชี้แจงของเขาแล้วกันว่า สมเหตุสมผลหรือไม่? ในเรื่องธรรมเนียมปฏิบัติการจัดตำแหน่งที่นั่งของสส.ในสภา



ให้คุณผู้อ่านอธิบายหน่อยว่า ไม่ถูกต้องอย่างไร (นอกเหนือจากเหตุผลเรื่องการไม่รู้จักกาละเทศะ)



สำหรับกรณีชูวิทย์ป่วนสภานั้น ผมรู้สึกเฉยๆครับเพราะผมมองว่าเขามีเหตุผลพอควร และเมื่อท่านประธานสภาเห็นว่าชูวิทย์ป่วนสภา ปธ.สภาก็ไล่ชูวิทย์ออกไปจากห้องประชุม ซึ่งผมก็มองว่าก็เหมาะสมดีแล้ว ถือว่าจบ. (ป่วนสภาจนถูกไล่ออกไปก็ถือว่าเขาได้รับการลงโทษแล้ว)

"รมต.ม้ามืด" จากเมืองลับแล "เจ๊แดง"จัดให้?


  by Nity ,
 

รมต.ที่มาคนสุดท้าย หลังจาก พ.อ.อภิวันท์ ถอนตัวไม่รับตำแหน่งรองนายกฯคือ กฤษณา สีหลักษณ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ จากเมืองลับแล


เมื่อ กฤษณา สีหลักษณ์ เป็น รมต.สำนักนายกฯ ทำให้โผเดิมที่มี นิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล เป็นตัวเต็งต้องหลุดไปจากโผ

"กฤษณา" เป็นทายาท "กลุ่มสีหราช" กลุ่มทุนใหญ่เมืองอุตรดิตถ์ ประกอบธุรกิจหลายอย่าง เช่น โรงแรมสีหราช โรงแรมฟรายเดย์ฯลฯ

"กฤษณา" เป็นลูกสาว "สุนันท์ สีหลักษณ์" อดีตนายกเทศมนตรีอุตรดิตถ์หลายสมัย และประธานหอการค้าฯ

นอกจากทำธุรกิจภาคบริการ "สุนันท์" ก็ได้รับอนุญาตการทำสัมปทานป่าไม้ ของอุตรดิตถ์ตั้งแต่ปี 2510 และทำโรงเลื่อยจักรแปรรูปไม้

 สัมปทานป่าหมดอายุ "สุนันท์" หันไปทำสวนป่าสัก เมื่อปี 29 เคยมีคนชวนให้สุนันท์ ลง ส.ส.แต่เขาปฏิเสธ ขอเล่นการเมืองท้องถิ่นดีกว่า

ปี 44 "กฤษณา" ลูกสาวสุนันท์ ลงสมัครเขต พรรคไทยรักไทย ได้เป็น ส.ส. และลงสมัครปี 48 ก็ชนะอีก ปี 50,54 จึงย้ายไปลง ส.ส.สัดส่วน

สมัยอยู่ไทยรักไทย "กฤษณา" สังกัดอยู่ในกลุ่มวังน้ำยม ของสมศักดิ์ เทพสุทิน เหมือนเพื่อน ส.ส.เมืองลับแล

ช่วงรัฐบาลทักษิณยุค 2 "กฤษณา" ไปเป็นโฆษกกระทรวง พม. สมัย "เจ้าพ่อช่อง3" ประชา มาลีนนท์ เป็น รมว.พม.

เมื่อการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา "เจ๊แดง เยาวภา" ได้เข้ามาช่วยทีมเพื่อไทยเมืองลับแลหาเสียงอย่างเข้มข้น

นปช.อุตรดิตถ์ เป็นกลุ่มคนเสื้อแดงที่เข้มแข็ง ภายใต้การนำของ "จเร นาคมูล" อดีตประธานสภาฯ นศ.มร. สังกัดพรรคสานแสงทอง

เมื่อวันก่อน "จเร" แกนนำแดงลับแล เพิ่งออกมาเตือนเพือไทย ให้แต่งตั้ง "พ.อ.อภิวันท์" เป็น รมว.ศึกษาฯ

คงเป็นเรืองบังเอิญ เมื่อ "อภิวันท์" ถอนตัว ก็มีชื่อ "กฤษณา" ก็เสียบแทนทันที แต่มันน่าจะทำให้ "แดงลับแล" พอใจ

จบตำนาน รมต.ม้ามืด ที่สมัยก่อนนักข่าวยังเขียนคำนำหน้าผิด บ้างก็นาย บ้างก็นาง แต่จริงๆคือ นางสาวกฤษณา สีหลักษณ์

ที่มา http://twitter.com/can_nw

เผยรายชื่อ ครม.ยิ่งลักษณ์ พร้อมประวัติ ครม ปู 1

ครม.ยิ่งลักษณ์

นายกฯ นำ ครม.ร่วมถ่ายภาพหน้าตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล


เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก พรรคชาติไทยพัฒนา, ศูนย์ข้อมูลการเมืองไทย, พรรคเพื่อไทย, ไทยโพสต์, สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์, กองทัพอากาศ

        เมื่อวันที่ 9 ส.ค. มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งครม.ใหม่ ประกาศแต่งตั้งรัฐมนตรี (พระปรมาภิไธย) ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า ตามที่ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี ตามประกาศลงวันที่ 5 สิงหาคม พุทธศักราช 2554 แล้วนั้น

       บัดนี้ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้เลือกสรรผู้ที่สมควรดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีเพื่อบริหารราชการแผ่นดินสืบไป แล้ว อาศัยอำนาจตามความในมาตรา171 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งรัฐมนตรี ดังต่อไปนี้




  ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี ด้านสังคม

       ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง อายุ 63 ปี จบปริญญาเอกด้านกฎหมาย จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง เคยดำรงตำแหน่งเป็น รมว.มหาดไทย ในรัฐบาลพลังประชาชน ก่อนที่จะมีบทบาทสำคัญในการชูนโยบาย "พาทักษิณกลับบ้าน"



        พล.ต.อ.โกวิท วัฒนะ รองนายกรัฐมนตรีความมั่นคง

       พล.ต.อ.โกวิท วัฒนะ อดีตตำรวจชายแดนที่รับใช้สมเด็จย่าฯ และได้นั่งในตำแหน่ง ผบ.ตร.ช่วงรัฐประหาร ได้เข้าร่วมกับคณะ คมช. ก่อนที่จะกลับมาเข้าร่วมกับพรรคเพื่อไทย


รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี



       นพ.สุรวิทย์ คนสมบูรณ์

       นพ.สุรวิทย์ คนสมบูรณ์ จบการศึกษาวิทยาศาสตร์บัณฑิต จาก ม.เชียงใหม่ เริ่มเล่นการเมืองเป็น ส.ส.ชัยภูมิตั้งแต่ปี พ.ศ.2535 และดำรงตำแหน่งเป็นรองเลขาธิการนายกฯ ฝ่ายการเมือง ส่วนปัจจุบันเป็นเลขานุการภาคอีสานพรรคเพื่อไทย



       น.ส.กฤษณา สีหลักษณ์

       น.ส.กฤษณา สีหลักษณ์ อดีตนักการเมืองและนักธุรกิจท้องถิ่นที่ จ.อุตรดิตถ์ เคยเข้าร่วมกิจกรรมกับกลุ่มวังบัวบาน


กระทรวงมหาดไทย



       นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย

       นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ เคยดำรงตำแหน่ง รมช.สาธารณสุข เข้ารับตำแหน่งเป็นหัวหน้าพรรคเพื่อไทย เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ.2551

          

       นายชูชาติ หาญสวัสดิ์  เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย

       นายชูชาติ หาญสวัสดิ์ เคยดำรงตำแหน่งเลขาธุการ รมว.ทบวงมหาวิทยาลัย, ผช.เลขานุการ รมว.กระทรวงสาธารณสุข และที่ปรึกษา รมว.มหาดไทย



       นายฐานิสร์ เทียนทอง เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
 
       นายฐานิสร์ เทียนทอง เป็นหลานของนายเสนาะ เทียนทอง ปัจจุบันเป็น ส.ส.สระแก้ว พรรคเพื่อไทย เคยได้รับตำแหน่งที่ปรึกษา รมว.มหาดไทย ที่ปรึกษารองนายกฯ และ รมว.ศึกษาธิการ


กระทรวงศึกษาธิการ



       นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

       นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล อายุ 52 ปี เคยดำรงตำแหน่งเป็น รมว.วัฒนธรรม และเป็นคนสนิทของ นางเยาวภา วงศ์สวัสดิ์ ภริยานายกฯ สมชาย



       นางบุญรื่น ศรีธเรศ  เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

       นางบุญรื่น ศรีธเรศ ภรรยาของนายสังข์ทอง ศรีธเรศ อดีต รมช.ศึกษาธิการ หลังสามีเสียชีวิต ได้เริ่มเล่นการเมืองพรรคไทยรักไทย มีฉายาว่า ป้ารื่น เพราะเป็น ส.ส.ที่อาวุโส และเป็นคนสนิทของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร



       นายสุรพงษ์ อึ้งอัมพรวิไล เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

        นายสุรพงษ์ อึ้งอัมพรวิไล อายุ 54 ปี จบปริญญาโท จาก ม.ธรรมศาสตร์ เคยเป็นสมาชิกสภา จ.ปทุมธานี 2 สมัย และเป็นนายก อบจ.ปทุมธานี เริ่มเข้าเล่นการเมืองเมื่อปี พ.ศ.2544


กระทรวงการคลัง



       นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง

      นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล จบปริญญาตรีเศรษฐศาสตร์ที่อังกฤษ เริ่มงานที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และเป็นรองผู้ว่าฯ ธปท. ก่อนเป็นเลขาธิการ ก.ล.ต. เมื่อปี พ.ศ.2546



       นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง

        นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ อายุ 51  ปี ลงเล่นการเมืองครั้งแรกในพรรคไทยรักไทยเมื่อปี พ.ศ.2544 และเป็นคนสนิทของนางเยาวภา วงศ์สวัสดิ์ ภริยาของนายกฯ สมชาย



       นายวิรุฬ เตชะไพบูลย์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง

       นายวิรุฬ เตชะไพบูลย์ เคยดำรงตำแหน่งวุฒิสมาชิก เป็นที่กล่าวขานกันว่าเป็นนายทุนทางการเมือง


กระทรวงกลาโหม



       พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม

        พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา จบการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยฯ ในปี พ.ศ.2504 สมัยราชการดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงกลาโหม และเมื่อเกษียณลงเล่นการเมืองพรรคไทยรักไทย


กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา



       นายชุมพล ศิลปอาชา รองนายกฯรัฐมนตรี และรัฐมนตรีการท่องเที่ยวและกีฬา

        นายชุมพล ศิลปอาชา จบการศึกษานิติศาสตร์ จาก ม.ธรรมศาสตร์ เคยเป็น ส.ส.สุพรรณบุรี มาหลายสมัย และเคยดำรงตำแหน่งเป็น รมว.ศึกษาธิการ อีกทั้งยังดำรงตำแหน่งเป็นหัวหน้าพรรคชาติไทย


กระทรวงคมนาคม

พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต

        พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม

       พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต จบการศึกษาจากโรงเรียนเตรียมทหารรุ่นที่ 10 เคยเป็นผู้ช่วยบัญชาการทหารอากาศ และเป็นคนที่ พ.ต.ท.ทักษิณ อยากให้เป็น ผบ.ทอ. แต่ไม่สำเร็จ



       พล.ต.ท.ชัจจ์ กุลดิลก  เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม

       อดีตดำรงตำแหน่งเป็นผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง และเคยเป็นรองเลขาธิการนายกฯ และที่ปรึกษาหนังสือพิมพ์มหาประชาชน ฉบับความจริงวันนี้



       นายกิตติศักดิ์ หัตถสงเคราะห์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม

         นายกิตติศักดิ์ หัตถสงเคราะห์ จบการศึกษาระดับปริญญาโท จาก ม.ธรรมศาสตร์ เป็น ส.ส. ครั้งแรกในปี พ.ศ.2522 จ.อุดรธานี และเป็น ส.ส.ต่อเนื่องถึง 12 สมัยที่ จ.หนองบัวลำภู


กระทรวงพาณิชย์


กิตติรัตน์ ณ ระนอง

       นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง เป็นรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์

       นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง เป็นผู้คร่ำหวอดในแวดวงการเงิน การลงทุน จนได้เป็นกรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ทั้งนี้ข่าววงในว่ากันว่าเป็นกุนซือที่ให้คำแนะนำแก่นายกรัฐมนตรี



       นายภูมิ สาระผล เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์

      นายภูมิ สาระผล อายุ 56 ปี เป็น ส.ส.ขอนแก่น มา 5 สมัย เคยดำรงตำแหน่งโฆษกประจำสำนักนายกฯ รมว.ต่างประเทศ, เลขานุการ รมว.ทบวงมหาวิทยาลัย



       นายศิริวัฒน์ ขจรประศาสน์  เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์

      นายศิริวัฒน์ ขจรประศาสน์ เป็นบุตรชายของ พล.ต.สนั่น ขจรประศาสตร์ จบปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต จากอเมริกา เริ่มเล่นการเมืองในปี พ.ศ.2544 เป็น ส.ส. พิจิตร สังกัดพรรคประชาธิปัตย์


กระทรวงเกษตรและสหกรณ์



       นายธีระ วงศ์สมุทร เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

        นายธีระ วงศ์สมุทร  เริ่มราชการในกระทรวงเกษตรฯ เคยเป็นอธิบดีกรมชลประทาน



       นายพรศักดิ์ เจริญประเสริฐ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

        นายพรศักดิ์ เจริญประเสริฐ เป็น ส.ส.หลายสมัยใน จ.ศรีสะเกษ ชาวบ้านเรียกกันว่า "เสี่ยลาว" และเคยดำรงตำแหน่งเลขานุการรัฐมนตรีประจำสำนักนายก


กระทรวงสาธารณสุข



       นายวิทยา บุรณศิริ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข

         นายวิทยา บุรณศิริ อายุ 51 ปี จบการศึกษาระดับปริญญาโท จาก ม.รามคำแหง เป็น ส.ส.พรรคไทยรักไทยในปี พ.ศ.2544 เคยดำรงตำแหน่งเป็นประธานวิปรัฐบาลในสมัยนายกฯ สมัคร สุนทรเวช


       นายต่อพงษ์ ไชยสาส์น เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข

         นายต่อพงษ์ ไชยสาส์น บุตรของนายประจวบ ไชยสาส์น อดีตหัวหน้าพรรคเสรีธรรม จบปริญญาตรีจากสหรัฐอเมริกา และเริ่มเล่นการเมืองเป็น ส.ส.อุดรธานี เมื่อปี พ.ศ.2544


กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์



       นายสันติ พร้อมพัฒน์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

        นายสันติ พร้อมพัฒน์ เป็นนักอสังหาริมทรัพย์รายใหญ่ เล่นการเมืองครั้งแรกเป็น ส.ส.เพชรบูรณ์ พรรคความหวังใหม่ หลังจากที่ยุบพรรคแล้วได้ทำงานกับพรรคไทยรักไทย และเป็นแกนนำ ส.ส.ภาคเหนือ


กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม



       นายปรีชา เร่งสมบูรณ์สุข เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

        นายปรีชา เร่งสมูบรณ์สุข อายุ 54 ปี จบปริญญาโทศิลปศาสตร์ ม.ราชภัฎเลย อดีตเป็น ส.ส.มาแล้วถึง 9 สมัย และเคยเป็น รมช.มหาดไทย ในรัฐบาลนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์


กระทรวงพลังงาน


นายพิชัย นริพทะพันธุ์

       นายพิชัย นริพทะพันธุ์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน

        นายพิชัย นริพทะพันธุ์ อดีตเป็นนักธุรกิจอสังหาริมทรัพย์อัญมณี และเคยรับตำแหน่งเป็น รมช.การคลัง ในสมัยรัฐบาลนายกฯ สมัคร สุนทรเวช   



        พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม

       พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก รับราชการในพื้นที่ภาคอีสานจนได้ฉายาว่าเป็น อินทรีอีสาน และเป็น ผบ.ตร. คนแรก ก่อนที่จะลาออกมารับตำแหน่ง รมว.แรงงาน


กระทรวงการต่างประเทศ



        นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ

        นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล จบปริญญาเอกจากสหรัฐอเมริกา ลงสมัคร ส.ส.เชียงใหม่ เมื่อปี พ.ศ.2539 ในพรรคประชาธิปัตย์


กระทรวงวัฒนธรรม


        นางสุกุมล คุณปลื้ม เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม

       นางสุกุมล คุณปลื้ม เป็นภรรยาของ นายสนธยา คุณปลื้ม อดีต ส.ส.ชลบุรี แกนนำพรรคพลังชล


กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี





        นายปลอดประสพ สุรัสวดี เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

         นายปลอดประสพ สุรัสวดี อดีตอธิบดีกรมประมงและปลัดกระทรวงทรัพย์ฯ เริ่มเล่นการเมืองสังกัดพรรคพลังประชาชน


กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร



        น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

          น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ เริ่มเล่นการเมืองเมื่อปี พ.ศ.2550 ในสังกัดพรรคพลังชล ระหว่างรับราชการเป็นผู้บังคับฝูงบินขับไล่เอฟ 16


กระทรวงอุตสาหกรรม



        นายวรรณรัตน์ ชาญนุกูล เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม

          นายวรรณรัตน์ ชาญนุกูล ในอดีตเคยดำรงตำแหน่งเป็น รมว.แรงงาน และ รมว.พลังงาน



        นายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน

        นายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ จบปริญญาตรีจากสหรัฐอเมริกา เป็นผู้กว้างขวางใน จ.นครปฐม เริ่มเล่นการเมืองเมื่อปี พ.ศ.2531 และเคยดำรงตำแหน่ง รมช.คมนาคม


           ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

           ประกาศ ณ วันที่ 9 ส.ค. พุทธศักราช 2554


ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร


           และเมื่อช่วงเย็นของวันที่ 10 สิงหาคม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี นำคณะรัฐมนตรีเข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท เพื่อทำพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณ เนื่องในโอกาสเข้ารับตำแหน่งใหม่ ณ ห้องประชุมสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ อาคารเฉลิมพระเกียรติ ร.พ.ศิริราช โดยทรงมีกระแสพระราชดำรัสแก่คณะรัฐมนตรี มีใจความว่า

           "ขอ แสดงความยินดีกับคณะรัฐมนตรีที่ได้ตั้งขึ้นมาใหม่และที่มากล่าวคำปฏิญาณว่า จะทำหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต เพื่อความเจริญมั่นคงของประเทศ ประเทศชาตินี้จะต้องมีผู้ที่ปกครอง ผู้ที่ทำหน้าที่สูงสุด เพื่อให้ทุกส่วนของการงานของประเทศดำเนินไปด้วยดี ขอให้ท่านได้ทำตามที่ได้กล่าวเพื่อที่จะให้งานของประเทศดำเนินไปด้วยดี และทั้งสามารถปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้กล่าว การทำงานของประเทศ สำคัญที่ผู้ใหญ่จะแสดงตัวอย่างให้กับทุกคนในประเทศ เพื่อที่จะให้งานต่าง ๆ ดำเนินไปด้วยดี ขอให้ท่านทำงานตามที่กล่าวปฏิญาณและสามารถทำตามความตั้งใจ ถ้าท่านได้แล้วท่านต้องมีความพอใจที่ได้ปฏิบัติ เพื่อประเทศชาติและความสำเร็จของท่านในทุกวันที่ท่านทำงานเป็นผลสำเร็จที่ดี สำหรับประเทศและทุกคนในประเทศ ที่ต่างคนต่างพยายามที่จะให้มีความสำเร็จในทุกสาขา ขอให้ท่านได้สามารถปฏิบัติด้วยความซื่อสัตย์สุจริตด้วยความมีผลสำเร็จ"

           "ในปัจจุบันนี้ในโลกนี้มีความวุ่นวายอย่างยิ่ง เมืองไทยเมืองนี้มีความวุ่นวายน้อย การรักษาความสงบสุข รักษาความสำเร็จที่ได้ทำมาแต่ปางก่อน ก็เชื่อมั่นว่าท่านมีความสำเร็จได้แล้ว ก็มีความพอใจก็ขอให้ทุกท่านทำงานด้วยความตั้งใจอย่างดีที่สุด เพื่อผลสำเร็จของบ้านเมืองและทุกสาขาและทุกด้าน ขอให้ท่านมีความพอใจในงานการและมีความสำเร็จในงานการ ทำให้ประเทศชาติเป็นที่อยู่ที่สบายในโลก ซึ่งในโลกนี้มีความวุ่นวายพอแล้ว ขอให้ในประเทศไทยมีความเรียบร้อย ขอให้ท่านประสบความสำเร็จในงานการที่ได้ทำไว้ ท่านจะควรจะมีความพอใจที่ได้ทำเพื่อประเทศชาติ เพื่อความสำเร็จของประเทศชาติ ขอให้ท่านประสบความสำเร็จในงานการและมีความพอใจในงานที่ตนทำอยู่เพื่อความ เจริญรุ่งเรืองของประเทศชาติ ขอให้ท่านมีความสำเร็จในงานการและความพอใจในกิจการทุกอย่าง"



[9 สิงหาคม] โผ ครม.ยิ่งลักษณ์ เปิดโผ คณะรัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์ มีใครบ้าง ไปดูกัน

        โผ คณะรัฐมนตรี หลังโปรดเกล้าฯนายกรัฐมนตรี ร.ต.อ.เฉลิม - พล.ต.อ.โกวิท นั่งรองนายกฯ ยงยุทธ รองนายกฯควบ รมว.มหาดไทย ด้าน พล.อ.ยุทธศักดิ์ คุม กลาโหม

          ความคืบหน้าในการจัดทำโผคณะรัฐมนตรีหลังมีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี ล่า สุดมีรายงานว่า ยังมีบางตำแหน่งที่มีปัญหาและจนถึงขณะนี้ยังมีการวิ่งเต้นเพื่อให้ได้มาซึ่ง ตำแหน่ง ขณะที่ตำแหน่งที่ชัดเจนแล้วคือ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี

          ส่วน รองนายกรัฐมนตรี ประกอบไปด้วย ร.ต.อ. เฉลิม อยู่บำรุง, พล.ต.อ.โกวิท วัฒนะ, นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ์ ที่จะนั่งควบในตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เช่นเดียวกับ นายชุมพล ศิลปอาชา ที่จะนั่งควบในตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา และนายธีระชัย วรนาทธนานุบาล ที่จะนั่งควบในตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง

            รองนายกรัฐมนตรี
          1. นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ
          2. ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง
          3. พล.ต.อ.โกวิท วัฒนะ
          4. พ.อ.อภิวันท์ วิริยะชัย
          5.นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง
          6.นายชุมพล ศิลปอาชา

            รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี          7.น.พ.สุรวิทย์ คนสมบูรณ์

            กระทรวงกลาโหม          8.พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา

            กระทรวงการคลัง          9.นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
          10.นายบุญทรง เตรยาภิรมย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
          11.นายวิรุฬ เตชะไพบูลย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง

            กระทรวงต่างประเทศ          12.นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล

            กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์          13.นายสันติ พร้อมพัฒน์

            กระทรวงเกษตรและสหกรณ์          14.นายธีระ วงศ์สมุทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
          15.นายพรศักดิ์ เจริญประเสริฐ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการเกษตรและสหกรณ์

            กระทรวงคมนาคม          16.พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
          17.พล.ต.ท.ชัชจ์ กุลดิลก รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคมนาคม
          18.นายกิตติศักดิ์ หัตถสงเคราะห์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคมนาคม

            กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม          19.นายปรีชา เร่งสมบูรณ์สุข

            กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร          20.น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ

            กระทรวงพลังงาน          21.นายพิชัย นริพทะพันธุ์

            กระทรวงพาณิชย์          นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง
          22.นายภูมิ สาระผล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์
          23.นายศิริวัฒน์ ขจรประศาสน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์

            กระทรวงมหาดไทย          นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ
          24.นายชูชาติ หาญสวัสดิ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
          25.นายฐานิสร์ เทียนทอง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย

            กระทรวงยุติธรรม          26.พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก

            กระทรวงแรงงาน          27.นายเผดิมชัย สะสมทรัพย์

            กระทรวงวัฒนธรรม          28.นางสุกุมล คุณปลื้ม

            กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี          29.นายปลอดประสพ สุรัสวดี

            กระทรวงศึกษาธิการ          30.นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
          31.นางบุญรื่น ศรีธเรศ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
          32.นายสุรพงษ์ อึ้งอัมพรวิไล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

            กระทรวงสาธารณสุข          33.นายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
          34.นายต่อพงษ์ ไชยสาส์น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข

            กระทรวงอุตสาหกรรม          35.น.พ.วรรณรัตน์ ชาญนุกูล

            กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา          นายชุมพล ศิลปอาชา



ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร


 [5 สิงหาคม] เปิดโผ ครม.ยิ่งลักษณ์ อย่างไม่เป็นทางการ

          กำลัง โดนจับตามองและเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์กันอย่างหนัก ถึงการจัดโผคณะรัฐมนตรี (ครม.) ภายใต้การนำทีมของ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ว่าที่นายกรัฐมนตรี หรือ ครม.ยิ่งลักษณ์ หลายคนสงสัยว่าจะเป็น ครม.พี่น้อง ครม.เสื้อแดง หรือ ครม.ทักษิณสั่งหรือเปล่า? พร้อม ๆ กับกระแสข่าวการเปิดศึกแย่งชิงเก้าอี้รัฐมนตรีกระทรวงต่าง ๆ กันอย่างสุดฤทธิ์ รวมถึงการทวงถามโควต้าที่พรรคของตนเองควรได้รับ

          งานนี้ทำให้ว่าที่นายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของประเทศไทย ต้องออกมาชี้แจงว่า ณ ขณะนี้ ครม.ยิ่งลักษณ์ เรียบร้อยไปแล้ว 50 เปอร์เซ็นต์ แต่ยังไม่นิ่ง คงต้องรอพิจารณาที่เหลืออีกครั้ง ซึ่งจะเสร็จเรียบร้อยเร็ว ๆ นี้ ยืนยันว่าเมื่อเข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมตรีอย่างเป็นทางการแล้ว จะสรุปให้เร็วที่สุด อย่างไรก็ตาม ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ย้ำชัดว่าเธอ และนายยงยุทธ วิชัยดิษฐ์ หัวหน้าพรรคเพื่อไทย เป็นผู้พิจารณาจัดโผ ครม.ร่วมกัน โดยที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ไม่มีส่วนเข้ามาเกี่ยวข้องแต่อย่างใด

          เพราะ ฉะนั้น วันนี้กระปุกดอทคอม จึงนำเอาโผ ครม.ยิ่งลักษณ์ ที่หลายสำนักข่าวคาดการณ์ไว้ โดยระบุว่า พรรคเพื่อไทยซึ่งเป็นแกนนำรัฐบาล จะได้โควตาทั้งหมด 30 ตำแหน่ง ส่วนพรรคร่วมรัฐบาลได้ 5 ตำแหน่ง ดังนี้...

          นายกรัฐมนตรี ได้แก่ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร

          รองนายกรัฐมนตรีด้านความมั่นคง ได้แก่ พล.ต.ท.ชัจช์ กุลดิลก

          รองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ ได้แก่ นายวีรพงษ์ รามางกูร หรือนายโอฬาร ไชยประวัติ

          รองนายกรัฐมนตรี ได้แก่ นายชุมพล ศิลปอาชา ,นายวิชิต สุรพงษ์ชัย

          รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้แก่ นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ (ควบตำแหน่งรองนายกฯ) หรือ พล.ต.ท.ชัจจ์ กุลดิลก หรือ พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์

          รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้แก่ นายจตุพร พรหมพันธุ์ หรือ นายปรีชา เร่งสมบูรณ์สุข หรือ นายชูชาติ หาญสวัสดิ์

          รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้แก่ พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา

          รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เดิมทีวางตัว ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง เอาไว้ แต่มีการโยกตำแหน่งกับเก้าอี้กระทรวงสาธารณสุข ทำให้พรรคเพื่อไทยน่าจะเลือก พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก มาคุมเก้าอี้นี้แทน

          รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้แก่ นายวิชิต สุรพงษ์ชัย อดีตประธานกรรมการบริหาร ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) แต่อีกกระแสข่าวรายงานว่า นายวิชิตได้ขอถอนตัวจากตำแหน่งนี้แล้ว

          รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ก่อน หน้านี้ สื่อหลายสำนักคาดการณ์กันว่า ตำแหน่งนี้น่าจะเป็นของนายวิรุฬ เตชะไพบูลย์ หรือ นายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ แต่โผล่าสุด เก้าอี้นี้น่าจะเป็นของนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง อดีตกรรมการและผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

          รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้แก่ นายศิริวัฒน์ ขจรประศาสน์

          รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้แก่ นายวิกรม คุ้มไพโรจน์ หรือ นายจุลพงษ์ โนนศรีไชย เอกอัครราชทูตไทยประจำนอร์เวย์ และเป็นเพื่อนร่วมรุ่น พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์ ที่คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

          รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงต่างประเทศ ได้แก่ นายต่อพงษ์ ไชยสานต์

          รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ได้แก่ นางอุไรวรรณ เทียนทอง หรือ นางบุญรื่น ศรีธเรศ

          รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข หลาย ฝ่ายคาดการณ์ว่าจะเป็นของนายวิชาญ มีนชัยนันท์ หรือ นายอุดมเดช รัตนเสถียร แต่ชื่อของ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง ที่ถูกโยกมาจากกระทรวงยุติธรรม สอดแทรกมาภายหลังกำลังเป็นที่จับตามองมากที่สุด

          รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้แก่ นพ.เหวง โตจิราการ

          รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้แก่ นายเสนาะ เทียนทอง หรือนายธีระ วงศ์สมุทร

          รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้แก่ นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์

          รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ก่อนหน้านี้มีการคาดการณ์ว่าจะเป็นนายสันติ พร้อมพัฒน์ หรือ นายประภัสร์ จงสงวน แต่ล่าสุดกลับมีชื่อของ พล.อ.อ.สุเมธ โพธิ์มณี เพื่อนร่วม ตท. 10 ของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เบียดมาแรงแซงโค้ง

          รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ได้แก่ นพ.วรรณรัตน์ ชาญนุกูล

          รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ได้แก่ น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ หรือ นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ

          รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ได้แก่ นายจารุพงษ์ เรืองสุวรรณ หรือนายปลอดประสพ สุรัสวดี

          รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ก่อนหน้านี้มีการคาดการณ์กันว่า จะเป็นของนายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล ส.ส.แพร่ แต่ล่าสุดมีกระแสข่าวว่า พ.อ.อภิวันท์ วิริยะชัย น่าจะได้เก้าอี้นี้ปลอบใจที่สละสิทธิ์ตำแหน่งประธานสภาผู้แทนราษฎร

          รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้แก่ นางบุญรื่น ศรีธเรศ (หากพลาดตำแหน่ง รมว.วัฒนธรรม)

          รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ได้แก่ นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์ หรือ นายชุมพล ศิลปอาชา (ควบรองนายกฯ)

          รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ได้แก่ นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์

          รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือ ไอทีซี ได้แก่ นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล หรือ นายพิชัย นริพทะพันธ์

          รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้แก่ นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ หรือ นายชญานินทร์ เทพาคำ

          รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ดูแลด้านสื่อ ได้แก่ นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ, นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์, นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล หรือ น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ

          โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว หรือ นางฐิติมา ฉายแสง

          เลขาธิการนายกรัฐมนตรี ได้แก่ นายบัณฑูร สุภัควณิช 

          ประธานสภาผู้แทนราษฎร ได้แก่ นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์, นายเจริญ จรรย์โกมล เป็นรองประธานสภาคนที่ 1 และ นายวิสุทธิ์ ไชยณรุณ เป็นรองประธานสภาคนที่ 2


          ทั้ง นี้ สำหรับรายชื่อ ครม.ยิ่งลักษณ์ คาดว่าจะมีการนำขึ้นทูลเกล้าฯ หลังมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งนายกรัฐมนตรีแล้ว ภายในวันที่ 8 สิงหาคมนี้ ซึ่งก็ต้องจับตาดูกันต่อไปว่า ในท้ายที่สุดแล้ว โฉมหน้า ครม.ปู 1 จะออกมาตรงใจหลาย ๆ คนหรือไม่



ครม. ยิ่งลักษณ์


[14 กรกฎาคม]สะพัด! โผ ครม.เฉลิม นั่งยุติธรรม-มิ่งขวัญ ไม่มีสักเก้าอี้

          สะพัด "หญิงอ้อ" โผล่ตึกชินฯ 3 จัดโผ ครม.ด้วย หึ่งดัน "เจ้าสัวโบนันซ่า" นั่ง มท.3-รมช.คลัง "เฉลิม" นั่งยุติธรรม แต่ "มิ่งขวัญ" ถูกรุมสกัดไม่มีสักเก้าอี้ "ทรงกิตติ" ปัดถูกทาบนั่งกลาโหม ยันไม่เล่นการเมือง

          เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม ที่ผ่านมา รายงานข่าวจากพรรคเพื่อไทยแจ้งความคืบหน้าในการคัดสรรผู้ดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีในรัฐบาล "ยิ่งลักษณ์ 1" ว่า วันที่ 11 กรกฎาคม ที่ผ่านมา คุณหญิงพจมาน ณ ป้อมเพชร อดีตภริยา พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ได้มีการหารือกับนายไพวงษ์ เตชะณรงค์ ประธานบริษัท โบนันซ่า กอล์ฟ แอนด์ คันทรี คลับ จำกัด ที่อาคารชินวัตร 3 เพื่อทาบทามและสอบถามความเห็นของ นายไพวงษ์ ว่าใครที่เหมาะสมจะดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีในกระทรวงใดบ้าง

          และต่อมาวันที่ 12 กรกฎาคม ได้มีการหารือกันอีกครั้งที่อาคารชินวัตร 3 โดยมีนายบรรณพจน์ ดามาพงศ์ พี่ชายคุณหญิงพจมาน และนายผดุง ลิ้มเจริญรัตน์ คนใกล้ชิด พ.ต.ท.ทักษิณ ร่วมวงสนทนาด้วย

          ทั้งนี้ เบื้องต้นมีรายงานว่า นาย ไพวงษ์มีรายชื่ออยู่ในโผผู้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีด้วย โดยอาจจะดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (มท.3) หรือรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ขณะที่ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคเพื่อไทยนั้น จะได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
          ส่วน นายสุชาติ ธาดาธำรงเวช ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย และนายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทยนั้น วงสนทนาไม่เห็นด้วยที่จะให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง หรือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ตามที่มีกระแสข่าวออกมาก่อนหน้านี้

          มีรายงานด้วยว่า สำหรับ โควตารัฐมนตรีในสัดส่วนของพรรคร่วมรัฐบาลนั้น ขณะนี้มีความคืบหน้าไปมาก โดยพรรคชาติไทยพัฒนานั้นจะได้ทั้งหมด 3 เก้าอี้ โดยเป็น 1 เก้าอี้รัฐมนตรีว่าการ และ 2 เก้าอี้รัฐมนตรีช่วยว่าการ แต่จะไม่ใช่เก้าอี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาอย่างแน่นอน เนื่องจากจะมอบเก้าอี้ดังกล่าวให้เป็นโควตาของพรรคพลังชล

          ขณะที่ พล.อ.ทรงกิตติ จักกาบาตร์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ให้สัมภาษณ์ก่อนออกเดินทางไปปฏิบัติภารกิจที่ประเทศติมอร์ถึงกระแสข่าวการ นั่งตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมว่า ไม่รู้เรื่อง และก่อนหน้านี้ก็ให้สัมภาษณ์ไปแล้วว่าจะไม่เล่นการเมือง เพราะเล่นการเมืองไม่เป็น อีกทั้ง พ.ต.ท.ทักษิณก็ไม่เคยมาทาบทามหรือพูดคุยกันตามที่เป็นข่าว

          "ไม่ มีใครเขามาสนใจผมหรอก ผมทำงานตามหน้าที่ของผม ไม่ต้องถามว่าสนในเรื่องการเมืองหรือไม่ เพราะทุกอย่างผมพูดไปหมดแล้วว่าผมยืนยันได้ว่าไม่มีใครมาพูดกับผมในเรื่อง นี้ การเมืองผมทำไม่เป็น เล่นไม่เป็น เราทำเป็นอย่างเดียวคือการเป็นทหาร และไม่ทราบสถานการณ์บ้านเมืองจะเป็นอย่างไรต่อไป โดยเฉพาะเรื่องการเมือง ปวดหัว ทั้งนี้คนไทย 66 ล้านคนผมไม่เป็นห่วง เพราะทุกคนมีสติปัญญา" พล.อ.ทรงกิตติ ระบุ 



ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร

น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ว่าที่นายกรัฐมนตรี
ถ่ายภาพกับแกนนำพรรคการเมือง ภายหลังแถลงการจัดตั้งรัฐบาลผสม 5 พรรค 299 เสียง


[5 กรกฎาคม] โผ ครม.ปู 1 ฝุ่นตลบ-ยังไม่ลงตัว หน้าเดิมโผล่พรึ่บ

          ครม.ชิน วัตรฝุ่นตลบหน้าเดิมโผล่พรึ่บ ทาบ "บิ๊กหมง" นั่ง รมว.กลาโหมเชื่อม "ป๋าเปรม" จับตา "ดร.เหลิม" ว่าการยุติธรรม มหาดไทยแย่งกันนัวแต่ "ประชา" เต็ง
          ขอ ให้ กกต.รับรองผลการเลือกตั้งอย่างเป็นทางการและมีการแต่งตั้งจากสภาฯ ก่อน รวมทั้งให้การหารือของแต่ละพรรคเป็นการภายในแล้วเสร็จก่อน สำหรับตำแหน่งรัฐมนตรีนั้น หลักการต้องเป็นผู้มีความรู้ ความสามารถในแต่ละกระทรวง โดยเราจะดูผลงานเป็นหลัก
          ผู้สื่อข่าวรายงานจากพรรคเพื่อไทยถึงการจัดตั้งรัฐบาล "ปู 1" ที่มี 5 พรรคร่วมรัฐบาล รวม 299 เสียง ว่า พรรคการเมืองที่ถูกติดต่อให้เข้าร่วมรัฐบาล และกลุ่มการเมืองภายในพรรคได้เคลื่อนไหวต่อรองเก้าอี้รัฐมนตรีกันอย่าง คึกคัก โดยแกนนำทั้งหมดพยายามติดต่อ น.ส.ยิ่งลักษณ์, นางเยาวภา วงศ์สวัสดิ์ ภรรยานายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ อดีตนายกฯ และ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ที่จะเป็นผู้เคาะโผรัฐมนตรีครั้งสุดท้าย โดยทั้ง 3 คน มีการติดต่อกันตลอดเวลา เพื่อสอบถามความเคลื่อนไหวของกลุ่มการเมืองต่าง ๆ ในเพื่อไทย เช่น กลุ่มอีสาน, กลุ่มเสื้อแดง, กลุ่ม นปช., กลุ่มทุน เพื่อไม่ให้การจัดโผ ครม.เกิดปัญหาภายในพรรคและกับพรรคร่วมรัฐบาล

  ประธานสภาผู้แทนราษฎร


          สำหรับตำแหน่งหลัก ๆ สำคัญที่น่าจับตานั้น ประกอบด้วย ประธานสภาผู้แทนราษฎร ปรากฏว่ากลุ่มต่าง ๆ พยายามผลักดันคนของตัวเองเข้ารับตำแหน่ง โดยมีกระแสข่าวว่า พ.ต.ท.ทักษิณวางตัว ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง ว่าที่ ส.ส.บัญชีรายชื่อเอาไว้ เนื่องจากเก๋าเกมทางการเมือง มีอาวุโสและสามารถรับมือพรรคประชาธิปัตย์ในที่ประชุมสภาฯ ได้ ขณะที่กลุ่มของ ร.ต.อ.เฉลิม ต้องการเป็นรัฐมนตรีมากกว่า แต่ต้องพบปัญหาที่กลุ่มต่าง ๆ ในภาคอีสานต่อต้านไม่ให้เข้ามาเป็น รมว.มหาดไทย ทำให้ต้องถูกวางตัวให้เป็น รมว.ยุติธรรม

          นอกจากนี้ ยังมีแคนดิเดตประธานสภาฯ อีกหลายคน ไม่ว่าจะเป็น พ.อ.อภิวันท์ วิริยะชัย ว่าที่ ส.ส.บัญชีรายชื่อ ในฐานะอดีตรองประธานสภาฯ ที่ได้กำลังภายในสนับสนุนจากคนเสื้อแดงและว่าที่ ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ของเพื่อไทย รวมถึง นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ว่าที่ ส.ส.ขอนแก่น ในฐานะอดีตรองประธานสภาฯ ที่ต้องการเข้ามานั่งตำแหน่งนี้ในโควตาภาคอีสาน ขณะที่ภาคกลางได้เคลื่อนไหวต้องการผลักดันนายวิทยา บุรณศิริ ว่าที่ ส.ส.พระนครศรีอยุธยา ทำให้ตำแหน่งประธานสภาฯ ยังไม่นิ่ง

  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย

          แกนนำของพรรคเห็นด้วยที่จะให้ พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก ว่าที่ส.ส.บัญชีรายชื่อ นั่งตำแหน่งดังกล่าวในโควตาภาคอีสาน เพราะ ส.ส.อีสานภายในพรรคให้การยอมรับ และมีภาพที่สานต่อกับขั้วอำนาจฝ่ายตรงข้ามได้ด้วย แต่มีข่าวว่าทางกลุ่มเทียนทองได้พยายามขอเก้าอี้รมว.มหาดไทย หรือ รมว.เกษตรฯ จาก พ.ต.ท.ทักษิณ โดยอ้างว่าทางกลุ่มตัดสินใจมาช่วย พ.ต.ท.ทักษิณในช่วงสถานการณ์สำคัญ และนายเสนาะก็มีความสำคัญกับพรรค

  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม

          หนึ่งในกระทรวงด้านความมั่นคง ได้มีการวางตัว พล.อ.อ.สุเมธ โพธิ์มณี รองหัวหน้าพรรคไว้ เพราะมีบทบาทในการวางระบบรักษาความปลอดภัยให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ตั้งแต่เริ่มเดินสายปราศรัยเวทีต่างๆ ทั่วประเทศ และยังมีบุคลิกปรองดอง ประสานงานกับบิ๊กกองทัพได้หลายสายด้วย ที่สำคัญยังเป็นเพื่อนร่วมรุ่น ตท.10 กับ พ.ต.ท.ทักษิณ ที่ช่วยงานทักษิณมานาน  รวมถึงมีสายสัมพันธ์ที่ดีกับ พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ เสนาธิการทหารบก

          ขณะเดียวกัน บุคคลภายนอกที่น่าจับตาว่าอาจได้รับการทาบทามให้มารับตำแหน่ง รมว.กลาโหม ก็มีหลายคน อาทิ พล.อ.มงคล อัมพรพิศิษฏ์ อดีต ผบ.ทหารสูงสุด ที่เคยมีข่าวก่อนหน้านี้ว่า พ.ต.ท.ทักษิณ เคยทาบทามให้เป็นหัวหน้าพรรคพลังประชาชน เพราะมีความสัมพันธ์อันดีกับ พ.ต.ท.ทักษิณ แต่พลเอกมงคลหรือบิ๊กหมง ปฏิเสธไป โดยที่ผ่านมารู้กันในพรรคเพื่อไทยว่า พล.อ.มงคลเคยไปพบ พ.ต.ท.ทักษิณที่ต่างประเทศ และรู้กันดีว่า พล.อ.มงคล เป็นหนึ่งในกลุ่มลูกป๋าของ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ

  มิ่งขวัญ จ่อนั่ง รมว.ต่างประเทศ
          ถูกจับตาอย่างมากสำหรับตำแหน่งนี้กับการจะเข้ามาฟื้นฟูความสัมพันธ์กับ ประเทศเพื่อนบ้านโดยเฉพาะกัมพูชา และต้องคอยประสานสถานทูตของไทยในประเทศต่าง ๆ เพื่อเบิกทางให้ พ.ต.ท.ทักษิณ กลับประเทศไทยนั้น ขณะนี้ยังหาตัวไม่ได้ แต่แหล่งข่าวระดับสูงในเพื่อไทยที่เป็นคนใกล้ชิด พ.ต.ท.ทักษิณระบุว่า กระแสข่าวว่า รมว.ต่างประเทศ อาจเป็น นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์ ว่าที่ส.ส.บัญชีรายชื่อ

          ในส่วนของนายยงยุทธ วิชัยดิษฐ หัวหน้าพรรค ล่าสุดเริ่มนิ่งที่ตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีอันดับ 1 ที่จะคุมความมั่นคง ดูแลสำนักงานตำรวจแห่งชาติ


          ส่วน ทางด้านกลุ่ม กทม.ของคุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ อดีตรองหัวหน้าพรรคไทยรักไทย ได้ผลักดัน น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ ว่าที่ ส.ส.กทม. เป็น รมว.การพัฒนาสังคมฯ หรือ รมว.สาธารณสุขแทนนายวิชาญ มีนชัยนันท์ ว่าที่ ส.ส.กทม. หรือเป็น รมต.ประจำสำนักนายกฯ ดูแลด้านสื่อ แต่ปรากฏว่าพ.ต.ท.ทักษิณได้วางตัวนายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล ว่าที่ ส.ส.บัญชีรายชื่อ และอดีตผู้บริหารไอทีวี เป็น รมต.ประจำสำนักนายกฯ ดูแลด้านสื่อ เพราะมีสายสัมพันธ์กับสื่อหลายสำนัก และผลักดันนายดนุพร ปุณณกันต์ หรือนายยุรนันท์ ภมรมนตรี อดีตผู้สมัคร ส.ส.บัญชีรายชื่อ ลำดับที่ 62 และ 63 ตามลำดับเป็นโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี

  กระทรวงทางเศรษฐกิจ


          มีการวางตัว นายโอฬาร ไชยประวัติ หัวหน้าทีมเศรษฐกิจพรรคเพื่อไทย เป็น รมว.การคลัง หรือนายศุภวุฒิ สายเชื้อ ผู้บริหารบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์เมอร์ริลลินช์ ภัทร จำกัด บุตรของนายเชาว์ สายเชื้อ อดีตประธานศาลรัฐธรรมนูญ ที่สนิทกับ พ.ต.ท.ทักษิณ มานานและเคยถูก พ.ต.ท.ทักษิณทาบทามให้เล่นการเมืองมาหลายครั้ง แต่นายศุภวุฒิ ปฏิเสธมาโดยตลอด หากนายศุภวุฒิได้เป็น รมว.การคลัง นายโอฬารจะขยับขึ้นเป็นรองนายกรัฐมนตรีดูแลด้านเศรษฐกิจ

          ใน ส่วน รมว.แรงงานนั้น ได้วางตัว นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ เลขาธิการพรรคเพื่อไทย และอดีตปลัดกระทรวงแรงงานไว้ ส่วนกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมนั้น ได้วางตัวนายปลอดประสพ สุรัสวดี รองหัวหน้าพรรค ในฐานะอดีตปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติฯ

          สำหรับนายสันติ พร้อมพัฒน์ ว่าที่ ส.ส.บัญชีรายชื่อ ถูกวางตัวให้เป็น รมว.คมนาคมนายสันติ พร้อมพัฒน์ ว่าที่ ส.ส.บัญชีรายชื่อ ถูกวางตัวให้เป็น รมว.คมนาคม และนายวัฒนา เมืองสุข ว่าที่ ส.ส.บัญชี รายชื่อ ถูกวางให้เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงใดกระทรวงหนึ่งระหว่าง รมว.พาณิชย์ หรือ รมว.อุตสาหกรรม นายคณวัฒน์ วศินสังวร ว่าที่ ส.ส.บัญชีรายชื่อ ถูกวางตัวให้เป็น รมว.ไอซีที หรือ รมช.ศึกษาฯ ขณะที่นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล ว่าที่ ส.ส.สัดส่วน เป็น รมว.ศึกษาฯ หรือ รมว.ไอซีที นายพิชัย นริพทะพันธุ์ อดีตผู้สมัคร ส.ส.บัญชีรายชื่อ ถูกวางตัวให้เป็น รมช.พาณิชย์ หรือ รมช.การคลัง

          ส่วนทางพรรคพลังชลได้เสนอขอตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการ 1 และรัฐมนตรีช่วยว่าการ 1 หากได้ตามที่เสนอทางพรรคพลังชลได้วางตัวนายวิทยา คุณปลื้ม นายก อบจ.ชลบุรี น้องชายนายสนธยา คุณปลื้ม เป็น รมว.การท่องเที่ยวฯ และนางสุกุมา คุณปลื้ม ภรรยานายสนธยา เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการ แต่เพื่อไทยยังไม่ชัดเจนอาจจะให้แค่หนึ่งรัฐมนตรีว่าการ

          ขณะที่พรรคพลังชลเองที่ได้ ส.ส.7 คน ได้ออกมาเปิดเผยกับสื่อมวลชนว่า สนใจเก้าอี้ รมว.การท่องเที่ยวและกีฬา โดยอ้างว่าเป็นงานที่ถนัด และแกนนำพรรคเองก็เคยดูแลงานกระทรวงการท่องเที่ยวฯ รวมถึงเป็นนโยบายของพรรคที่ใช้ตอนหาเสียง ในการส่งเสริมงานด้านการกีฬาและการท่องเที่ยว

          ในส่วนของพรรคชาติไทยพัฒนาที่ตอบรับแล้ว คือ เก้าอี้ รองนายกรัฐมนตรี, รมว.เกษตรฯ และ รมช.คมนาคม ขณะที่ พล.ต.สนั่น ได้แจ้งกับนายบรรหารว่า จะไม่ขอรับตำแหน่งรัฐมนตรีในรัฐบาลชุดนี้ แต่จะผลักดัน นายศิริวัฒน์ ขจรประศาสน์ บุตรชาย ให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีกระทรวงใดกระทรวงหนึ่งแทน

          นอกจากนี้ หากพรรคชาติไทยพัฒนาได้คุมกระทรวงเกษตรฯ ชื่อของ นายธีระ วงศ์สมุทร ยังจะคงเป็นแคนดิเดต ขณะที่มีความเป็นไปได้ว่า นายชุมพล ศิลปอาชา หัวหน้าพรรคชาติไทยพัฒนา อาจจะดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี

          อย่างไรก็ตาม ยังมีความพยายามของพรรคชาติไทยพัฒนา ที่จะต่อรองแลกตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีเป็น 2 รัฐมนตรีช่วยว่าการแทน โดยพรรคชาติไทยพัฒนาได้โควตาเป็น 1 รัฐมนตรีว่าการ กับ 3 รัฐมนตรีช่วยว่าการ
รีโมท ซื้อ รีโมท จากผู้ค้าส่งโดยตรง ที่มีหน้าร้านจริง ที่ บ้านหม้อ และ คลองถม ราคาถูกกว่าใคร ปลอดภัย มีรับประกัน

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

บทความย้อนหลัง