บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันศุกร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ทักษิณบอก " อยากปฏิวัติก็ปฏิบัติสิ "

Go6TV (วันที่ 31 สิงหาคม 2555) อดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร  ให้สำภาษณ์พิเศษในรายการ Hot Topic กับธีระ รัตนเสวี  โดยท่านอดีตนายกรัฐมนตรี ได้กล่าวถึงโครงการต่างๆ ของรัฐบาลตลอด ปี ว่ามีมุมมองอย่างไร คิดอย่างไร และหากมีรัฐประหารอีก จะทำอย่างไร  ดังรายละเอียดดังนี้

“๑ ปี ทักษิณคิด เพื่อไทยทำ”

โครงการจำนำข้าว
การจำนำข้าว  ชาวนาได้เต็ม  แต่การประกัน คือเอาเงินไปให้พ่อค้า  หากใครทุจริตฟ้องเลย ผิดให้ถึงที่สุด ชาวนาได้เงินเต็มที่ หมื่นห้าหรือน้อยกว่านิดหน่อย แต่ประกันจะได้แค่เจ็ดพัน แต่พ่อค้ารวย เราต้องคิดปรัชญาว่า อยากให้ไทยผลิตข้าวขายอันดับ๑ ไหม

วันนี้ ราคาข้าวกำลังแพง เพราะอินเดียวนาล่ม ราคาข้าว ๔๐๐เหรียญ แต่วันนี้ ๖๐๐  เราขายข้าวได้ลดลงแต่ได้ราคาแพงขึ้น  สมัยก่อนประกันข้าวนี้  ชาวนาจนแต่พ่อค้ารวย พ่อค้าจึงชอบ
วันนี้เรานิ่งเพราะเรารอขายในราคาดี วันนี้เราไม่ได้รังแกคนส่งออก แต่เราต้องการให้เกษตรกรได้ราคามากขึ้น ไม่ต้องการให้ได้ของถูก เราต้องการขายข้าวราคาแพง ให้เขาวิ่งมาหาเราเพื่อซื้อข้าวคุณภาพดีราคาแพง
เราต้องการยกระดับการเป็นอยู่ประชาชนทั้งประเทศ ไม่ใช่ยกแค่หัว แต่ชาวนาชาวไร่ เกษตรกร คนยากจนนั้นเป็นส่วนใหญ่ เราต้องยกพวกเขาให้ดีขึ้น พอคนยากจนเลี้ยงตนได้อยู่ได้ทั้งประเทศ ทั้งประเทศเราก็จะยกขึ้น อีกอย่าง การให้เขาสามารถเลี้ยงอาชีพเขา เป็นการรักษาอาชีพเกษตรกร เราต้องกำหนดราคา ทิศทางราคา เราเป็นผู้ส่งออกอันดับ ๑ แต่กลับกลายเป็นปล่อยให้ประเทศอื่นมาชี้ราคาได้อย่างไร

OTPC แทบเล็ต
แทบเล็ตนั้น  พ่อแม่อายุประมาณ ๓๐-๔๐ ปี ซึ่งวัยเด็กและพ่อแม่จะเป็นวัยที่สามารถใช้แทบเล็ตร่วมกัน  การใช้แทบเลตฟรีไวไฟ สามารถเรียนรู้ โลกทั้งใบ ได้ผ่านแทบเล็ต เด็กสามารถเข้าเนต เข้าโปรแกรมร่วมกับพ่อแม่เพื่อส่งเสริมความรุ้ให้กับเด็ก  แต่ปัญหาวันนี้กลายเป็นคนอายุมากกับคุณครูที่ปรับตัวตามเด็ก ตามโลกไม่ทันที่ออกมาคัดค้าน  วันนี้ หนังสือทั้งหมดบนโลก ถูกทำขึ้นในอินเตอร์เนตหมดแล้ว  เราต้องเข้าไปหาตำราเหล่านี้ หรือ สมัยนี้ครูเก่งๆ ต่างอัดคลิปตัวเองในเนต เราก็ต้องวิ่งเข้าไปหาครูในเนต เราจะรอให้เด็กโง่ไปก่อนไม่ได้ ครูต้องปรับตัวให้ฉลาดพร้อมกับเด็ก เราต้องเอาสิ่งดีๆ ฉลาดๆที่ดีในโลกนี้ มารวมให้กับเด็ก หากจะรอครูให้ฉลาด รอครูให้พร้อม มันคงเป็นไปไม่ได้  ต้องให้ครูและเด็กพัฒนาควบคู่  เราไม่ทันเทคโนโลยี แต่อย่าขัดขวางเด็กไม่ให้เข้าถึงเทคโนโลยี

บ้านหลังแรก รถคันแรก 
วันนี้ คนเราไม่ได้อยู่ได้ด้วยปัจจัยสี่   เราต้องมีมือถือ มีสารพัดสิ่งอำนวยความสะดวก บิลเกตเคยบอกว่า เราเกิดมาจนไม่มีความผิด แต่หากตายแล้วยังจนมันคือความผิด เป็นหน้าที่ของรัฐ มาช่วยเหลือประชาชนให้มีความกินอยุ่ที่ดีขึ้น   เราต้องให้โอกาสคนระดับล่าง ให้ได้รับการดูแล เพื่อให้เขาเลี้ยงตนได้ ฐานรากแข็งแรงแล้วประเทศจะเดินหน้าได้

OTOP โอท็อป
ปรัชญาของโอท็อปคือการต่อยอดโครงการศิลปาชีพในสมเด็จฯ ที่ได้ทำไว้ เอาคนเหล่านี้ที่มีฝีมืออยู่แล้วมาออกแบบ มาสร้างตลาด มาเสริมแหล่งทุน มาเป็นอาชีพเสริม จนกลายเป็นหลายๆครอบครัวงานเหล่านี้ปรับกลายเป็นอาชีพหลัก

การปรับคณะรัฐมนตรี
ท่านนายกฯ ท่านเป็นยุคใหม่ ผมเป็นยุคเก่า ผมพอบอกได้ว่าคนไหนประวัติเป็นอย่างไร ผมพอบอกได้  แล้วตัวนายกฯ ก็จะเป็นคนเลือกในการตัดสินใจสุดท้ายว่าจะเลือกใคร  ตอนแรกผมก็คาดหมายว่านายกฯทำงานได้ แต่ปรากฏว่าทำงานได้ดีกว่ามากกว่าที่คิด นายกฯ ทำงานบริหารองค์กรมาตั้งแต่เรียนจบ  วันนี้นายกฯ รู้จักคนมากขึ้น รู้จักกฎ กติกาการเมืองมากขึ้น วันนี้ นายกรัฐมนตรีมีภาวะผู้นำในตัว มีการมาปรึกษาอยู่บ้างเพราะในฐานะเป็นครอบครัวเดียวกัน เป็นปกติ แต่การบริหาร เป็นสิ่งที่นายกฯ มีอิสระของท่านเองที่ท่านทำได้ดีมากๆ 

บทบาทในสภาฯ
บทบาทของนายกฯนอกสภามีมาก ทั้งสังคม ต่างประเทศ สส.  ดังนั้นจึงไม่สามารถไปงานสภาได้ แต่ขณะเดียวกัน งานต่างๆ ได้ถูกแบ่งให้รองนายกฯ และรัฐมนตรีดูแล ได้ชัดเจน

พ.ร.บ.ปรองดอง
เป็นเรื่องของสภา  ผมทุกวันนี้ใช้เวลาเดินทางไปต่างประเทศ พบผู้นำประเทศ พบนักธุรกิจ แต่ผมไม่ใช่นักการเมืองวันนี้ ผมจึงพูดไม่ได้ แต่ก็เจอกันคุยกัน ทำไงที่จะเอาสินค้าเกษตร เอาสินค้าประเทศไปขายให้ทุกประเทศที่ไปพบ

สุขภาพ
ยังแข็งแรงดี เขาบอกผมเป็น “มะเร็ง” แต่ผมเป็น “มาเล็ง” คือ.. เอาอะไรมาเสริฟ ผมเล็งกินหมด ฮา
ประเทศทำงานยาก เพราะรัฐธรรมนูญที่ทำให้ทำงานยาก เพราะมันจ้องล้มทุกขั้นตอน  ส่วนราชการก็ซื้อขายตำแหน่ง แต่มันต้องใช้เวลาเปลี่ยน มันยาก... ยากมากนะสมัยนี้ทำงานได้ยากกว่าสมัยผมมาก  สมัยผมปี ๔๐ เป็น รธน.ที่รัฐบาลมีอำนาจ แต่รัฐธรรมนูญนี้ มีแต่กับระเบิดตลอดทาง หากบ้านเมืองเป็น ปชต.จริงๆ บ้านเมืองเราจะไปได้

๖ปี รัฐประหาร
มีคนบอกผมสมัยเป็นนายกฯ บอกผมว่า “ตราบใดที่สิบล้อยังกินยาบ้า ปฏิวัติก็ไม่พ้นจากประเทศไทย”  เค้ากำลังบอกผมว่า สิ่งบ้าๆ มันยังมีอยู่ในประเทศไทย ไม่คุ้ม  หากคิดจะปฏิวัติวันนี้  ไม่คุ้มกับ คนทำปฏิวัติ ไม่คุ้มกับคนสั่งปฏิวัติ ไม่คุ้มกับคนถูกปฏิวัติ และไม่คุ้มกับประชาชนเลย   หากอยากปฏิวัติก็ปฏิวัติสิ!

วันอาทิตย์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2555

วิกิลีกส์แฉอดีตทูตสหรัฐระบุทักษิณคือตัวการก่อจลาจลทั้งพัทยาและกรุงเทพฯเสนองดให้วีซ่า

เปิดเอกสารลับ”วิกิลีกส์”ตบหน้าความกะล่อนของสหรัฐแฉทูตอีริค จอห์นเคยเสนอให้เพิกถอนวีซ่าทักษิณ ชินวัตร เหตุก่ออาชญากรรมเลวทรามต่ำช้าทางศีลธรรมมีหมายจับ 2 ฉบับ ก่อจลาจลเรียกร้องปฏิวัติ-คอรัปชั่น ม็อบบุกสถานทูตสหรัฐแต่เจ้าหน้าที่ไม่รับหนังสือ

หลังจากประเทศสหรัฐอเมริกาอนุญาตให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีได้รับวีซ่าเดินทางเข้าสหรัฐ ทั้งที่เป็นผู้ต้องโทษคดีอาญาและผู้ต้องหาคดีก่อการร้ายของทางการไทย ล่าสุดได้มีการเผยแพร่เอกสารลับทางการทูตของสหรัฐซึ่งเว็บไซต์จอมแฉ “วิกิลีกส์” เคยนำออกเผยแพร่เมื่อปี 2011 เปิดโปงไว้ชัดเจนว่า สถานทูตสหรัฐในกรุงเทพฯโดยนายอีริค จี. จอห์น เอกอัครราชทูตสหรัฐสมัยนั้น เคยเสนอต่อกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐให้เพิกถอนวีซ่าเข้าสหรัฐของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ในเอกสารหมายเลข 09BANGKOK1132 ลงวันที่ 2009-05-07 (วันที่ 7 เดือนพฤษภาคม 2009)พร้อมเอกสารอ้างอิง 3 ฉบับ

เสนอเพิกถอนวีซ่าทักษิณ

ในบทย่อและข้อเสนอเชิงปฏิบัติระบุไว้ว่า ข้อเสนอแนะให้กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐเพิกถอนวีซ่าของอดีตนายกรัฐมนตรีไทยเพื่อความรอบคอบนั้น มีเหตุผลมาจากความเชื่อที่ว่าทักษิณอาจก่ออาชญากรรมที่เกี่ยวข้องกับความเลวทรามต่ำช้าทางศีลธรรมและรัฐบาลไทยได้ออกหมายจับทักษิณไว้ 2 ฉบับ ฉบับหนึ่งนั้นอ้างว่าเขากระตุ้นให้เกิดความไม่สงบและการกระทำผิดกฎหมายอันเกี่ยวพันกับการก่อจลาจล โดยพวกผู้สนับสนุนเขาที่พัทยาและกรุงเทพฯเมื่อกลางเดือนเมษายน (2552)


อีริค จี. จอห์น
“แม้ว่ากระทรวงจะดำเนินการตามข้อเสนอหรือไม่ คุณสมบัติของทักษิณขณะนี้ก็ไม่เข้าเกณฑ์การขอวีซ่าประเภท บี1/บี2 ของสหรัฐ เนื่องจากรัฐบาลไทยได้เพิกถอนหนังสือเดินทางไทยของทักษิณทุกฉบับแล้ว มิติทางการเมืองดังกล่าวจึงสมควรที่จะเพิกถอนวีซ่าเพื่อความรอบคอบ เนื่องจากรัฐบาลไทยได้ให้ความสำคัญกับการจำกัดความเคลื่อนไหวและพฤติการณ์ของทักษิณในต่างแดน (รวมถึงการส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดนแก่ไทย) เป็นลำดับแรกของการดำเนินกิจการระหว่างประเทศ”

กระทรวงต่างประเทศยึดพาสปอร์ต 2 เล่มของทักษิณ

ข้อมูลในเอกสารลับยังมีอีกว่า จากเอกสารอ้างอิงหมายจับและการถอนหนังสือเดินทางของรัฐบาลไทย แจ้งว่ากระทรวงการต่างประเทศไทยได้ยึดหนังสือเดินทาง 2 เล่มของทักษิณ และแจ้งด้วยว่า “ทักษิณไม่ได้ถือหนังสือเดินทางไทยมานับตั้งแต่วันที่ 12 เมษายน 2552″ จึงเชื่อว่าทักษิณขาดคุณสมบัติ

โทรเลขของทูตสหรัฐแจ้งต่ออีกว่าขณะนั้นทักษิณมีหนังสือเดินทางทูตของนิการากัว และสถานทูตประจำพอดกอรีซาแจ้งด้วยว่ารัฐบาลมอนเตเนโกรได้ยืนยันว่าทักษิณถือพาสปอร์ตของมอนเตรเนโกรและยังมีข่าวลือโคมลอยด้วยว่าทักษิณอาจมีพาสปอร์ตกัมพูชาและอีกหลายประเทศ

ซัดทักษิณปลุกปฏิวัติ

ในเอกสารอ้างอิงที่กล่าวถึงคำตัดสินคดีของทักษิณ รายงานว่าเดือนตุลาคม 2551 ทักษิรถูกตัดสินว่ามีความผิดในกฎหมายคอรัปชั่นของไทย ระหว่างการพิจารณาตัดสินนั้น ทักษิณอยู่ต่างประเทศและไม่ได้กลับเมืองไทย

เอกสารอ้างอิงยังระบุถึง”หมายจับ”ที่กระทรวงการต่างประเทศไทยส่งถึงสถานทูต อ้างว่าทักษิณไม่มามอบตัวเพื่อรับโทษจำคุก 2 ปีตามคำพิพากษาคดีข้างต้น

นอกจากนี้ยังมีเนื้อหาหมายจับฉบับที่ 2 ที่กล่าวหาว่าทักษิณกระตุ้นให้เกิดความไม่สงบ และการทำผิดกฎหมายจากการชุมนุมใช้ความรุนแรงที่พัทยาและกรุงเทพฯ กลางเดือนเมษายน

ทั้งนี้ จากเอกสารอ้างอิงฉบับแรกอ้างถึงคำกล่าวปราศรัยของทักษิณ ที่เรียกร้องให้มีการ”ปฏิวัติ” และเชื่อว่าถ้อยคำของทักษิณยั่วยุอารมณ์และสามารถถูกตีความเป็นการเรียกร้องให้ก่อพฤติกรรมไร้ขื่อแป

ตอนท้ายเอกสารลับทูตสหรัฐให้ความเห็นตอนท้านว่า”ยังไม่ตัดทิ้งความเป็นไปได้ในอนาคตที่ทักษิณจะกลับมามีอิทธิพลครอบงำรัฐบาลไทย เชื่อว่าการเพิกถอนซึ่งชอบด้วยหมายจับของไทย คงจะทำร้ายสัมพันธไมตรีไทย-สหรัฐอย่างร้ายแรงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ หากทักษิณหรือพันธมิตรของเขากลับคืนสู่อำนาจ”

วันเดียวกัน กลุ่มภาคีเครือข่ายประชาชนทนไม่ไหว พร้อมสมาชิกภาคีจำนวน 150 คน ได้เดินทางมาชุมนุมบริเวณหน้าสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกา ถนนวิทยุ โจมตีกรณีที่ประเทศสหรัฐอเมริกาออกวีซ่าให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เดินทางเข้าประเทศได้ อย่างไรก็ตาม สถานทูตสหรัฐไม่ยอมรับหนังสือ แต่กลับยื่นข้อเสนอให้ส่งเอกสารทางไปรษณีย์แทน ทั้งนี้ กลุ่มภาคีเครือข่ายฯ จะเดินทางไปชุมนุมที่สำนักงานองค์การสหประชาชาติ (ยูเอ็น) ในวันที่ 21 ส.ค.อีกครั้ง

เปิดกรุวิกิลีกส์: เมื่อ ‘ทูตสหรัฐ’ พบ ‘ยิ่งลักษณ์’ เมื่อเดือน พ.ย. 2552 .

http://www.siamintelligence.com/us-ambassador-met-yingluck-2009/


เอกสารใน “เคเบิล” ของสถานทูตสหรัฐประจำประเทศไทยที่หลุดออกมาผ่านวิกิลีกส์ ไม่เพียงแต่มีเนื้อหาจากอำนาจฝั่งอนุรักษ์นิยมเท่านั้น เพราะเอกอัครราชทูตของสหรัฐอเมริกาในช่วงนั้นทั้งสองคนคือ ราล์ฟ บอยซ์ (Ralph Boylce) และ อีริค จี จอห์น (Eric G. John) ก็พบปะกับบุคคลระดับแกนนำของพรรคไทยรักไทย พรรคพลังประชาชน และพรรคเพื่อไทยด้วย


Eric G. John และยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
ใน “เคเบิล” ที่เพิ่งถูกปล่อยออกมาชิ้นหนึ่ง ได้ระบุเนื้อหาของการพบปะกันระหว่าง อีริค จี จอห์น กับ น.ส. ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และนายนพดล ปัทมะ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศในรัฐบาลสมัคร สุนทรเวช ซึ่งการพบปะกันครั้งนี้เกิดขึ้นที่สถานทูตอเมริกา เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 ก่อนการชุมนุมที่ราชประสงค์ของกลุ่มคนเสื้อแดงประมาณ 3 เดือน

ข้อมูลจากอีริค จี จอห์น เขียนไว้ว่าเขาพบกับ “ผู้นำอย่างไม่เป็นทางการ” ของพรรคเพื่อไทย เพื่อแสดงความเป็นห่วงต่อแผนการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดงที่กำลังจะเกิดขึ้น (ในตอนนั้น) และกระตุ้นให้ยิ่งลักษณ์และนพดลส่งข้อความไปถึง พ.ต.ท. ทักษิณ ไม่ให้เดินสายความรุนแรงกับการชุมนุม

ตามข้อมูลของอีริค จี จอห์น ใน “เคเบิล” ชิ้นนี้ ยิ่งลักษณ์และนพดลได้แสดงความไม่พอใจเรื่อง “ดับเบิลสแตนดาร์ด” ที่คนเสื้อแดงและกลุ่มผู้สนับสนุน พ.ต.ท. ทักษิณ ถูกเลือกปฏิบัติ โดยยกตัวอย่างการยึดสนามบินสุวรรณภูมิ ที่คนเสื้อเหลืองไม่โดนข้อหาใดๆ แต่คนเสื้อแดงกลับโดนกดขี่โดย พรบ. ความมั่นคงภายใน

ยิ่งลักษณ์และนพดลพูดถึงประเด็นอื่นๆ ดังนี้

นพดลไม่คิดว่าการประท้วงของกลุ่มคนเสื้อแดง จะทำให้รัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะต้องยุบสภาได้ ทั้งสองคนมองว่าในระยะสั้นถึงระยะกลาง พรรคเพื่อไทยน่าจะยังเป็นฝ่ายค้านต่อไป
นพดลเกรงว่าฝ่ายรัฐบาลจะโจมตีกลุ่มคนเสื้อแดง และทำให้เกิดการเผชิญหน้าระหว่างทั้งสองฝ่าย นพดลระบุว่าฝ่ายรัฐบาลไม่เคยรู้สึกผิดในการใช้ความรุนแรงต่อฝ่ายทักษิณ โดยยกตัวอย่าง “กรณีคาร์บอมบ์” ให้ทูตฟัง
นพดลได้พูดถึงกระบวนการยุติธรรมของไทยที่มุ่งทำลายฝ่าย พ.ต.ท. ทักษิณ โดยยกตัวอย่าง “กรณีทำกับข้าว” ของนายสมัคร สุนทรเวช และบอกกับทูตว่าทักษิณเป็นผู้นำด้านประชาธิปไตย (champions of democracy) ของไทย ส่วนอภิสิทธิ์สนใจแต่รักษาอำนาจในตำแหน่งนายกเท่านั้น
ทั้งยิ่งลักษณ์และนพดล แสดงความสนใจเรื่องกระบวนการปรองดองโดยบุคคล/พรรคที่สาม แต่ไม่สามารถระบุตัวได้ว่าควรให้ใครทำหน้าที่นี้ นพดลบอกว่าโดยทั่วไป หน้าที่นี้ควรเป็นของประธานองคมนตรี แต่ในสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ทำให้ พล.อ.เปรม ไม่เหมาะสำหรับหน้าที่นี้
ยิ่งลักษณ์บอกว่าทักษิณไม่ได้ดื้อ (stubborn) และสนใจการเจรจา เขาเป็นนักธุรกิจโดยธรรมชาติ เขาแค่ต้องการให้ฝ่ายรัฐบาลเสนอเงื่อนไขที่เห็นตรงกันเท่านั้น
นพดลยกตัวอย่างทรัพย์สิน 7.4 หมื่นล้านที่โดนยึดไป โดยบอกว่า พ.ต.ท. ทักษิณ มีทรัพย์สิน 4.5 หมื่นล้านอยู่แล้วก่อนเล่นการเมือง
ทั้งยิ่งลักษณ์และนพดล บอกว่าการเดินทางไปเยือนกัมพูชาของ พ.ต.ท. ทักษิณ รวมถึงการที่ พ.ต.ท. ทักษิณให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์ The Times จะส่งผลเสียในระยะยาว
นพดลบอกว่าพรรคเพื่อไทยได้ยกเลิกแผนการดึงรัฐธรรมนูญ 40 กลับมาใช้ใหม่ และหันไปมุ่งสู่การเลือกตั้งเป็นหลัก แต่ก็บอกว่ารัฐธรรมนูญปี 40 ควรใช้เป็นฐานในการปฏิรูป ไม่ใช่รัฐธรรมนูญปี 50
อีริค จี จอห์น ได้ถามถึงโอกาสที่ พล.อ. ชวลิต ยงใจยุทธ จะเป็นนายกรัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์และนพดลได้ตอบตรงกันว่า พล.อ.ชวลิต เป็นตัวเลือกที่ไม่เหมาะสม เพราะอายุ 77 ปีแล้ว และไม่ได้มีบทบาทบริหารงานภายในพรรคเพื่อไทย เป็นเพียงนักยุทธศาสตร์ที่ช่วยมองภาพกว้างเท่านั้น
ยิ่งลักษณ์พูดถึง “ผู้นำ” ของพรรคเพื่อไทยว่ายังไม่แน่นอน และอาจมี “ใครสักคน” ที่ก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำพรรคในภายหลัง เอาชนะการเลือกตั้ง และเป็นนายกรัฐมนตรีคนถัดไปได้ ยิ่งลักษณ์บอกว่าคนผู้นี้ควรจะมีความสามารถทางเศรษฐกิจเป็นทุนเดิม
ในการพบกับ น.ส. ยิ่งลักษณ์ครั้งนี้ อีริค จี จอห์น ตั้งข้อสังเกตว่ายิ่งลักษณ์ดูมั่นใจมากขึ้น เธอพูดถึงแผนงานและยุทธศาสตร์ของพรรคเพื่อไทย และพึ่งตัวช่วยจากนายนพดลน้อยลง

จอห์น บอกว่ายิ่งลักษณ์ไม่ได้มีธรรมชาติของนักการเมืองเท่ากับ พ.ต.ท. ทักษิณ พี่ชาย แต่เธอก็ดูมีอนาคตที่ดีภายในพรรค ก่อนการพบปะจะสิ้นสุดลง เมื่อจอห์นจับมือกับยิ่งลักษณ์ นพดลได้พูดว่า “คุณเพิ่งจับมือกับว่าที่นายกรัฐมนตรีคนถัดไป”

เอกสารต้นฉบับจากเคเบิลหมายเลข 09BANGKOK3003








Protesters besiege Asian leaders’ summit in Thailand

http://www.guardian.co.uk/world/2009/apr/10/thailand-protest-asean-summit


Anti-government protesters in Thailand this morning broke through a police cordon to reach the venue for a summit of Asian leaders in the resort town of Pattaya.

About 2,000 red-shirted supporters of the former Thai prime minister Thaksin Shinawatra, who was deposed in a coup in 2006, confronted police and troops outside the luxury hotel where the summit is being held, demanding that the government of the current prime minister, Abhisit Vejjajiva, step down.

But tensions eased later after an official from the Association of Southeast Asian Nations (Asean) emerged from the hotel to accept a letter from the demonstrators.

Protest leader Arisman Pongreungrong said they had agreed to leave the site for now and to unblock roads leading to the summit venue. But he said the protesters would regroup in the town, a few miles away from the hotel, and discuss whether to return to the summit if their demands were not met.

The action in the town, 90 miles south-east of Bangkok, follows three days of huge protests in the capital. Mass protests began on Wednesday, with 100,000 people surrounding Abhisit's office at Government House in the capital.

Abhisit has been forced to declare today a public holiday, hoping it will be easier to control the demonstrations with fewer people in Bangkok.

In a televised address yesterday, Abhisit said he wanted to ease the inconvenience to the public caused by the protests, and make it easier to identify troublemakers. He added he would not give in to Thaksin's demands for him to step down.

Thaksin, a telecommunications billionaire, lives in self-imposed exile, but his absence has not healed the divisions between the royalist, military and business elite, who say he was corrupt, and the poor, who benefited from his populist policies.

Abhisit became prime minister in December, after a pro-Thaksin government was dismissed by the courts.



ขอบคุณ Apacnews


วันพฤหัสบดีที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2555

กำหนดการทักษิณอินL.A.กระหึ่มโลก12สิงหาคม

โดย RED U.S.A.
ภาพการ์ตูนประกอบ GAG LAS VEGAS

อดีตนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร กำหนดเดินทางเยือนนครลอส แองเจลีส ระหว่างวันที่ ๑๑ ถึง ๑๓ สิงหาคม ศกนี้ กลุ่มคนเสื้อแดงในอเมริกา “เร็ดยูเอสเอ” จัดการต้อนรับอย่างเอิกเกริก เพื่อแสดงว่าอดีตนายกฯ เป็น “บุคคลไทย บุคคลโลก” ตามถ้อยโศลก หรือ Theme ของงาน

กลุ่มคนไทยในนครลอส แองเจลีสที่เรียกตัวเองว่า Red U.S.A.-L.A.ประกาศจัดการต้อนรับอดีตนายกรัฐมนตรีอย่างเอิกเกริก หลังจากที่ได้มีการประชุมดำเนินการหลายครั้งจนกระทั่งสรุปเป็นที่สุดว่างานต้อนรับทักษิณนี้จะมีขึ้นที่ศูนย์การค้า Thailand Plaza บนถนนฮอลลีวู้ดในใจกลางย่าน Thai Town ของท้องที่ Hollywood นครลอส แองเจลีส

โดยใช้พื้นที่ทั้งในบริเวณอาคาร และลานจอดรถ เพื่อให้มีบริเวณกว้างขวางสำหรับผู้เข้าร่วมจำนวนมากได้ ในส่วนบริเวณลานจอดรถนั้นเปิดเป็นงานเฟสติวัล ตั้งเวทีขนาดใหญ่สำหรับการแสดงต่างๆ และจัดซุ้มบริการอาหาร และเครื่องดื่มฟรีแก่ผู้ไปร่วมงานทั้งสิ้นประมาณไม่เกิน ๕๐๐ คน ตามที่ระเบียบเทศบัญญัติอนุญาต

โดยแยกแยะเป็นซุ้มของชาวไทยในสหรัฐตามพื้นเพเดิมในประเทศไทย อาทิ จากภาคกลาง-ออก-ตก จากภาคเหนือ และจากภาคอีสานรวมทั้งซุ้มพยายาบาล และพักผ่อนสำหรับผู้สูงอายุ

กำหนดงานเริ่มตั้งแต่ ๑๗.๐๐ น. ของเย็นวันที่ ๑๒ สิงหาคม ด้วยการแสดงบนเวทีกลางแจ้งภายใต้การควบคุมของคุณเพ็ญพิมพ์ จิตรธร ประกอบด้วยวงดนตรีไทยแลนด์พลาซ่า และการแสดงฟ้อนพื้นบ้านไทยภาคต่างๆ

ขณะที่ผู้เข้าร่วมงานซึ่งทยอยกันเข้าตั้งแต่เวลา ๑๖.๐๐ น. สามารถเดินเต็ดเตร่พบปะสนทนาต่อกัน และเยี่ยมชมนิทรรศการของแต่ละซุ้มพร้อมทั้งรับอาหารไปรับประทาน

จนกระทั่งเวลาราว ๑๘.๐๐ น. พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร จะเดินทางถึงงาน หลังจากทักทายผู้เข้าร่วมงานแล้วอดีตนายกรัฐมนตรีจะเข้าสู่ภายในห้องโถงรับรองพิเศษที่บรรดาแขกรับเชิญพิเศษประมาณ ๒๐ กว่าคนรออยู่ แล้วจึงรับประทานอาหารร่วมกันกับพ.ต.ท.ทักษิณ

จนถึงเวลาราว ๑๙.๓๐ น. พ.ต.ท.ทักษิณ จะขึ้นสู่เวทีกลางแจ้งเพื่อเข้าสู่พิธีมอบกุญแจหมู่บ้านเสื้อแดง ต้อนรับอดีตนายกรัฐมนตรีสู่กรุงเทพมหานคร (Los Angeles) แห่งสหรัฐอเมริกา

จากนั้นนายเชาว์ ซื่อแท้ ประธานจัดงานขึ้นกล่าวต้อนรับในนามของกลุ่มคนไทยเสื้อแดงในลอส แองเจลีส พร้อมทั้งรายงานความเป็นมา และประวัติการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยของชาวไทยในมหานครแห่งนี้ รวมถึงกิจกรรมเพื่อเกื้อหนุนนักต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยในประเทศไทย

เสร็จแล้วจะมีการยื่นหนังสือทางการของคณะกรรมการจัดงานผ่านอดีตนายกฯ ทักษิณ ไปยังรัฐบาล และนายกรัฐมนตรี น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร วิงวอนให้ทางการไทยจัดตั้งกองทุนส่งเสริมชุมชนไทยในต่างแดนขึ้นในนครลอส แองเจลีสเป็นแห่งแรก สำหรับเป็นแม่แบบของการจัดตั้งกองทุนลักษณะเดียวกันนี้ตามเมืองใหญ่ๆ ในประเทศต่างๆ ที่มีคนไทยอยู่อาศัยหนาแน่น

ส่วนรูปแบบของกองทุนในรายละเอียดเป็นอย่างไรนั้นขอให้อดีตนายกฯ เป็นผู้กำหนดในลักษณะที่เรียกว่า “ทักษิณคิด ยิ่งลักษณ์ทำ” เมื่อ พ.ต.ท.ทักษิณกล่าวตอบแล้ว อดีตนายกฯ จะแสดงปาฐกถาหัวข้อ “สบายๆ กับทักษิณ ชินวัตร” อันเป็นวิสัยทัศน์ในการพัฒนาประเทศไทยให้โดดเด่นเป็นชาติที่ประสพความสำเร็จสูงระดับแนวหน้าในประชาคมโลก

และก่อนที่ พ.ต.ท.ทักษิณจะเดินทางกลับที่พักในเวลาประมาณ ๒๒.๐๐ น. อดีตนายกฯ อาจจะเข้าร่วมรื่นเริงกับผู้ไปร่วมงานตามแต่อัธยาศัย

ทั้งนี้นอกเหนือจากกลุ่มคนไทยหลากหลายอาชีพที่รักประชาธิปไตย และไม่เอาเผด็จการรูปแบบใดๆ ทั้งสิ้นจะเข้ามาร่วมมือเป็นกรรมการจัดงานโดยเลือกสรรให้นายเชาว์ ซื่อแท้ เจ้าของกิจการนวดไทยแผนโบราณ และสปา เป็นประธานจัดงานแล้ว ยังมีนักธุรกิจเด่นของชุมชนไทยในมหานครที่มีประชากรมากที่สุดในสหรัฐแห่งนี้เข้าร่วมประสานงานอีกหลายท่าน

วันศุกร์ที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2555

กองทุนตั้งตัว

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีสัญจรที่มหาวิทยาลัยราชภัฎสุรินทร์ จ.สุรินทร์ คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแนวทาง “กองทุนตั้งตัวได้” โดยอนุมัติงบ 5,000 ล้านบาทให้สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการดูแล

ตั้งคณะกรรมการ 2 ระดับ คือ คณะกรรมการนโยบาย (นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน) และ คณะกรรมการบริหาร
ตั้งสำนักงานกองทุน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษาฯ
กลุ่มเป้าหมายผู้ขอรับทุน คือ นักศึกษาระดับอุดมศึกษาและอาชีวศึกษา ทั้งที่ศึกษาอยู่หรือจบการศึกษาไม่เกิน 5 ปี
คัดเลือก บ่มเพาะ รวมระยะเวลาโครงการทั้งหมด 4 ปี
เงินทุนจากงบประมาณประจำปีรวม 40,000 ล้านบาท ตลอด 4 ปี
ปี 2556 – 5,000 ล้านบาท
ปี 2557 – 5,000 ล้านบาท
ปี 2558 – 10,000 ล้านบาท
ปี 2559 – 20,000 ล้านบาท

นางสาวศันสนีย์ นาคพงศ์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงข่าวการประชุม ครม.สัญจร
สาระสำคัญของ “กองทุนตั้งตัวได้” ตามที่ประชุมคณะรัฐมนตรี มีดังนี้ (ตัวเน้นโดย SIU)

1. เห็นชอบให้จัดตั้งทุนหมุนเวียนเป็นกองทุนตั้งตัวได้ภายใต้การกำกับดูแล ของกระทรวงศึกษาธิการ โดยสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา และหลักการการดำเนินการกองทุนตั้งตัวได้ตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอ

2. เห็นชอบให้ตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2556 วงเงิน 5,000 ล้านบาท เพื่อดำเนินการเกี่ยวกับกองทุนตั้งตัวได้ โดยให้กระทรวงศึกษาธิการดำเนินการขอปรับลดงบประมาณจากสำนักเลขาธิการนายก รัฐมนตรีมาตั้งไว้ที่กระทรวงศึกษาธิการ และให้กระทรวงศึกษาธิการจัดทำข้อเสนอเปลี่ยนแปลงการตั้งกองทุนฯ ให้อยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงศึกษาธิการต่อคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณา ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2556 ตามข้อสังเกตของสำนักงบประมาณ

3. งบประมาณที่ตั้งไว้ที่กองทุนส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม มอบหมายให้กระทรวงศึกษาธิการและสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาด ย่อมหารือแนวทางการบริหารจัดการเงินดังกล่าวตามข้อสังเกตของสำนักงบประมาณ และ

4. เห็นชอบในหลักการร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยกองทุนตั้งตัวได้ พ.ศ. …. และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้

สาระสำคัญของร่างระเบียบและร่างหลักการฯ

1. ร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วย กองทุนตั้งตัวได้ พ.ศ. ….

1.1 กำหนดให้จัดตั้ง “กองทุนตั้งตัวได้” ในกระทรวงศึกษาธิการ ประกอบด้วย เงินทุนประเดิมและเงินอุดหนุนที่รัฐบาลจัดสรรให้จากงบประมาณรายจ่ายประจำปี และเงินหรือทรัพย์สินที่ตกเป็นของกองทุนหรือที่กองทุนได้รับตามกฎหมายอื่น เป็นต้น และให้การใช้จ่ายเงินกองทุนเป็นไปเพื่อกิจการตามที่กำหนด (ร่างข้อ 5 ถึงร่างข้อ 7)

1.2 กำหนดให้มีคณะกรรมการนโยบายกองทุนตั้งตัวได้ ประกอบด้วย นายกรัฐมนตรีหรือผู้ที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย เป็นประธานกรรมการ กรรมการโดยตำแหน่ง และให้คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่ตามที่กำหนด (ร่างข้อ 8 ร่างข้อ 10 และร่างข้อ 20)

1.3 กำหนดให้มีคณะกรรมการบริหารกองทุนตั้งตัวได้ ประกอบด้วยประธานกรรมการที่คณะกรรมการแต่งตั้ง กรรมการโดยตำแหน่ง และผู้ทรงคุณวุฒิที่คณะกรรมการแต่งตั้งจากผู้มีคุณสมบัติตามที่กำหนด กำหนดอำนาจหน้าที่ วาระการดำรงตำแหน่งและการพ้นจากตำแหน่ง (ร่างข้อ11 ถึงร่างข้อ 16)

1.4 กำหนดให้มีสำนักงานกองทุนตั้งตัวได้ เป็นหน่วยงานภายในสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา โดยให้มีอำนาจหน้าที่ตามที่กำหนด (ร่างข้อ 17) (เดิมให้จัดตั้งเป็นหน่วยงานอิสระภายใต้การกำกับของรัฐมนตรีว่าการกระทรวง ศึกษาธิการ)

1.5 กำหนดให้คณะกรรมการ คณะกรรมการบริหารกองทุน ที่ปรึกษา คณะอนุกรรมการและคณะทำงาน ได้รับเบี้ยประชุมหรือค่าตอบแทน โดยเบิกจ่ายจากเงินของกองทุนตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด โดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง (ร่างข้อ 19)

1.6 กำหนดให้กองทุนสนับสนุนทางการเงินแก่นักศึกษาที่ประสงค์จะเป็นผู้ประกอบการ ภายใต้วัตถุประสงค์กองทุน และนโยบายของคณะกรรมการ และให้ขอบเขตการสนับสนุนทางการเงิน และหลักเกณฑ์และวิธีการขอรับและการพิจารณาการสนับสนุนทางการเงิน เป็นไปตามที่คณะกรรมการบริหารกองทุนกำหนดโดยต้องเป็นไปตามนโยบายของคณะ กรรมการ และกำหนดแนวทางการดำเนินการการสนับสนุนทางการเงินของคณะกรรมการบริหารกอง ทุน (ร่างข้อ 21 และร่างข้อ 22)

1.7 กำหนดให้การรับเงิน การจ่ายเงิน และการเก็บรักษาเงินของกองทุน ตลอดจนการนำส่งเงิน การบริหารกองทุนและการจัดหาผลประโยชน์ เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการตามที่กำหนด (ร่างข้อ 23 ถึงร่างข้อ 25)

1.8 กำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจัดทำบัญชีกองทุน การรายงานผลการตรวจสอบงบการเงิน และการจัดทำรายงานการเงินในภาพรวม (ร่างข้อ 26 ถึงร่างข้อ 28)

1.9 กำหนดบทเฉพาะกาลเกี่ยวกับการใช้จ่ายเพื่อขับเคลื่อนการดำเนินการของกองทุน (ร่างข้อ 29)

2. ร่างหลักการกองทุนตั้งตัวได้ ประกอบด้วย

2.1 วัตถุประสงค์ของกองทุน และเป้าหมายในเชิงปริมาณและคุณภาพ (ร่างหัวข้อ 2 และร่างหัวข้อ 3)

2.2 กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ นักศึกษาจากสถาบันอุดมศึกษาและอาชีวศึกษาที่ศึกษาอยู่ หรือสำเร็จการศึกษาแล้วไม่เกิน 5 ปีการศึกษา และสถาบันการศึกษาที่สนับสนุนการบ่มเพาะวิสาหกิจ หรือการให้การช่วยเหลือด้านการเงิน (ร่างหัวข้อ 4)

2.3 หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องในเชิงนโยบายและการประสานงานจำนวน 10 หน่วยงาน และทุนหมุนเวียนที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กองทุนส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และกองทุนเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (ร่างหัวข้อ 5)

2.4 ระยะเวลาเบื้องต้นในการดำเนินการ 4 ปี โดยจะเป็นการฝึกอบรม คัดเลือก และการบ่มเพาะในมหาวิทยาลัย ร่วมกับการวิจัยศึกษากรณีความสำเร็จร่วมกับการปล่อยสินเชื่อและทุนหมุนเวียน โดยอาจมีระยะเวลาปลอดดอกเบี้ย (ร่างหัวข้อ 6)

2.5 โครงสร้างการบริหารงานทุนหมุนเวียน ประกอบด้วย คณะกรรมการนโยบาย คณะกรรมการบริหารกองทุน คณะกรรมการพิจารณากองทุน (กองทุนร่วมทุน) และกรรมการบริหารความเสี่ยง (ร่างหัวข้อ 7)

2.6 แผนการดำเนินงาน และแนวทางวิธีดำเนินการ (ร่างหัวข้อ 8 และร่างหัวข้อ 9)

2.7 แหล่งเงินทุนของกองทุน ประกอบด้วย เงินทุนประเดิมและเงินอุดหนุนที่รัฐบาลจัดสรรให้จากงบประมาณรายจ่ายประจำปี และเงินหรือทรัพย์สินที่ตกเป็นของกองทุนหรือที่กองทุนได้รับตามกฎหมายอื่น เป็นต้น (ร่างหัวข้อ 10)

2.8 ประมาณการรายรับ ได้แก่ ทุนประเดิมจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2556 จำนวน 5,000 ล้านบาท เงินอุดหนุนจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2557 พ.ศ. 2558 และ พ.ศ. 2559 จำนวน 5,000 ล้านบาท 10,000 ล้านบาท และ 20,000 ล้านบาท ตามลำดับ

ประมาณการรายจ่าย ได้แก่ รายจ่ายสนับสนุนสถาบันการศึกษาที่เข้าร่วมโครงการสถาบันละไม่เกิน 1,000 ล้านบาทในการดำเนินการด้านการบ่มเพาะ การพิจารณาสนับสนุนการลงทุนและสินเชื่อ และค่าใช้จ่ายในการดำเนินการและบริหารกองทุน (ร่างหัวข้อ 11)

2.9 การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม การวิเคราะห์ความเป็นไปได้ทางเศรษฐกิจ สังคม และการเงิน และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ (ร่างหัวข้อ 13 ถึงร่างหัวข้อ 15)

ข้อมูลจาก เว็บไซต์รัฐบาลไทย



เปิดมติคณะรัฐมนตรี 30 ก.ค. 55 อนุมัติโครงสร้างพื้นฐานอีสานใต้หลายจังหวัด

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีสัญจร เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2555 ที่ จ.สุรินทร์ เห็นชอบข้อเสนอของคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจภูมิภาคอีสานใต้หลายโครงการ เช่น


ศึกษาความเป็นไปได้โครงการ “นครราชสีมา : เมืองศูนย์กลางเศรษฐกิจใหม่ในอนุภาค” และ เขตเศรษฐกิจพิเศษอุตสาหกรรมแปรรูปสินค้าเกษตรชายแดน ที่อำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์
โครงการก่อสร้างเส้นทางรถไฟทางคู่ จังหวัดนครราชสีมา – บุรีรัมย์ – สุรินทร์ – ศรีษะเกษ – อุบลราชธานี ให้แล้วเสร็จในปี 2562
โครงการยกระดับสนามบินอุบลราชธานี เพื่อรองรับการเป็นศูนย์กลางการบินในอินโดจีน
โครงการพัฒนาและขยายเส้นทางการจราจร ประกอบด้วย 10 โครงการ
โครงการอ่างเก็บน้ำและเขื่อนบริเวณลุ่มน้ำชีตอนบน จ.ชัยภูมิ
พัฒนาและยกระดับจุดผ่อนปรนตามชายแดนหลายจุด


เนื้อหาจากสรุปการประชุมคณะรัฐมนตรี

สาระสำคัญของผลการประชุมร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจในภูมิภาค ครั้งที่ 6/2555 ในวันอาทิตย์ที่ 29 กรกฎาคม 2555 เวลา 18.10 – 20.00 น. ณ โรงแรมทองธารินทร์ จังหวัดสุรินทร์ มีรายละเอียดข้อเสนอเพื่อพิจารณาของคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (สทท.) และสภาธุรกิจตลาดทุนไทย รวม 4 ด้าน 16 เรื่อง สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้

1. การส่งเสริมการค้าและการลงทุน (เสนอโดย กกร.)

1.1 ข้อเสนอ

ขอรับการสนับสนุนงบประมาณเพื่อดำเนินโครงการศึกษาวิจัยโครงการ “นครราชสีมา : เมืองศูนย์กลางเศรษฐกิจใหม่ในอนุภาค” จำนวน 20 ล้านบาท เพื่อกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาพื้นที่ในด้านการกระจายความเจริญ และฟื้นฟูบูรณะศูนย์กลางเดิม ยุทธศาสตร์กลุ่มเมือง ยุทธศาสตร์เมืองสร้างสรรค์ ยุทธศาสตร์การพัฒนาที่สมดุลยั่งยืน ยุทธศาสตร์เมืองและชนบทพอเพียง
ขอรับการสนับสนุนจากรัฐบาลด้านนโยบายและงบประมาณเพื่อศึกษาความเป็นไปได้โครงการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษอุตสาหกรรมแปรรูปสินค้าเกษตรชายแดน ที่อำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์ เพื่อรองรับการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การท่องเที่ยว และการลงทุนภาคอุตสาหกรรมที่จะเกิดขึ้นได้อย่างเสรีในอนาคต
1.2 มติที่ประชุม

มอบหมายกระทรวงมหาดไทย โดยกรมโยธาธิการและผังเมือง รับข้อเสนอโครงการศึกษาวิจัยโครงการ “นครราชสีมาเป็นเมืองศูนย์กลางเศรษฐกิจใหม่ในอนุภาค” ไปพิจารณาดำเนินการ โดยให้มีผู้แทนภาคเอกชนเข้าร่วมในคณะกรรมการกำกับการศึกษาโครงการฯ ด้วย
มอบหมายกระทรวงอุตสาหกรรม โดยการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยเป็นหน่วยงานหลัก ร่วมกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ศึกษาเป็นไปได้ของโครงการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษอุตสาหกรรมแปรรูปสินค้าเกษตรชายแดนที่อำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์
2. การพัฒนาโครงข่ายคมนาคมและระบบโลจิสติกส์ (เสนอโดย กกร.)

2.1 ข้อเสนอ

ขอรับการสนับสนุนการพัฒนาและขยายเส้นทางการจราจร ประกอบด้วย 10 โครงการ ได้แก่ (1) โครงการก่อสร้างขยายทางหลวงหมายเลข 304 สาย อำเภอกบินทร์บุรี-อำเภอปักธงชัย (2 ช่วง) (2) การเร่งรัดโครงการสร้างเส้นทางถนนเลี่ยงเมือง จังหวัดสุรินทร์ ระยะทาง 7.6 กิโลเมตร (3) โครงการขยายเส้นทางจราจรทางหลวงหมายเลข 205 (โนนไทย – หนองบัวโคก ระยะทาง 31 กิโลเมตร เป็น 4 ช่องจราจร (4) โครงการขยายทางหลวงหมายเลข 201 ช่วง อำเภอสีคิ้ว – อำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา – บ้านแปรง ตำบลหนองบัวโคก อำเภอจัตุรัส จังหวัดชัยภูมิ ระยะทาง 52 กิโลเมตร เป็น 4 ช่องจราจร (5) การเร่งรัดโครงการขยายทางหลวงหมายเลข 24 (อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ – อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี เป็น 4 ช่องจราจร ตลอดทั้งเส้น (6) โครงการขยายช่องทางจราจร ของจังหวัดสุรินทร์ จาก 2 ช่องจราจร เป็น 4 ช่องจราจร จำนวน 3 เส้นทาง เพื่ออำนวยความสะดวกการเชื่อมโยงระหว่างจังหวัด และกับประเทศเพื่อนบ้าน (กัมพูชา) (7) การขยายทางหลวงหมายเลข 226 (อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครราชสีมา – บ้านหนองกระทิง จังหวัดบุรีรัมย์) ช่วงกิโลเมตร 22+100 ถึงกิโลเมตร 78+700 (8) โครงการก่อสร้างวงแหวนรอบเมือง จังหวัดนครราชสีมา ตอน 2 (ด้านเหนือ) (9) โครงการพัฒนาเส้นทางคมนาคมแบบ 4 ช่องจราจร จาก อำเภอเสนางคนิคม ถึง อำเภอชานุมาน จังหวัดอำนาจเจริญ (ชายแดนสปป. ลาว) ระยะทาง 50 กิโลเมตร และ (10) โครงการปรับปรุงช่องการจราจร เส้นทางหมายเลข 2201 (บ้านนาเจริญ – บ้านละลม – บ้านแซร์ไปร์ อำเภอภูสิงห์ – ช่องสะงำ จังหวัดศรีสะเกษ (เพื่อเชื่อมโยงไปยังประเทศเพื่อนบ้าน)
โครงการก่อสร้างเส้นทางรถไฟทางคู่ จังหวัดนครราชสีมา – บุรีรัมย์ – สุรินทร์ – ศรีษะเกษ – อุบลราชธานี ให้แล้วเสร็จในปี 2562 เพื่อลดความหนาแน่น ประหยัดเวลา และลดค่าใช้จ่ายในการเดินทางของประชากรที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
โครงการยกระดับสนามบินอุบลราชธานี เพื่อรองรับการเป็นศูนย์กลางการบินในอินโดจีน และผลักดันให้มีเที่ยวบินและสายการบินต่างประเทศในอินโดจีนมาลงที่สนามบินอุบลราชธานี และบินไปยังเมืองสำคัญๆ ของกลุ่มอินโดจีนโดยตรง (ไม่ต้องผ่านสนามบินสุวรรณภูมิ) เพื่อส่งเสริมด้านการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยว และเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ในปี 2558
2.3 มติที่ประชุม

มอบหมายกระทรวงคมนาคม รับไปพิจารณาดำเนินการ ดังนี้

ศึกษาความเหมาะสมและจัดลำดับความสำคัญของการขยายเส้นทางและช่องจราจรในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง โดยให้ความสำคัญกับเส้นทางและช่องจราจรที่เชื่อมโยงระหว่างภาคและประเทศเพื่อนบ้านในการเสนอขอรับการจัดสรรงบประมาณประจำปีตามขั้นตอนต่อไป โดยคำนึงถึงข้อจำกัดด้านขีดความสามารถในการลงทุนของภาครัฐ สำหรับเส้นทางที่ไม่อยู่ในแผนงานการขยายแนวเส้นทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองของกรมทางหลวงให้ไปศึกษาในรายละเอียดพิจารณาศึกษาความเหมาะสมและจัดลำดับความสำคัญของเส้นทางการก่อสร้างถนนสายใหม่ในการเสนอขอรับการจัดสรรงบประมาณประจำปีตามขั้นตอน ทั้งนี้ การพิจารณาให้คำนึงผลกระทบด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมเป็นสำคัญ
พิจารณาความเป็นไปได้ในการเร่งรัดแผนการพัฒนารถไฟทางคู่ของการรถไฟแห่งประเทศไทย โดยคำนึงถึงข้อจำกัดด้านขีดความสามารถในการลงทุนของภาครัฐ และขั้นตอนที่เกี่ยวข้องกับการพิจารณาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมของโครงการควบคู่ไปด้วย
ศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาท่าอากาศยานอุบลราชธานีในเชิงพาณิชย์อย่างเต็มรูปแบบ เพื่อให้เป็นศูนย์กลางการบินในอินโดจีน โดยคำนึงถึงปริมาณความต้องการเดินทาง ความได้เปรียบในเชิงพื้นที่ รวมทั้งโอกาสและข้อจำกัดในการรองรับการเดินทางของผู้โดยสารที่เดินทางจากประเทศเพื่อนบ้านเพื่อมาใช้บริการที่ท่าอากาศยานดังกล่าว
3. การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ (เสนอโดย กกร.)

3.1 ข้อเสนอ

ขอรับการสนับสนุนก่อสร้างโครงการอ่างเก็บน้ำโป่งขุนเพชร บริเวณบ้านแก่งกระจวนตำบลโคกสะอาด อำเภอหนองบัวระเหว จังหวัดชัยภูมิ ให้แล้วเสร็จภายในปี 2557 เพื่อเป็นแหล่งน้ำให้กับการใช้น้ำตามลำน้ำชี โดยเฉพาะลำน้ำชีตอนบนตั้งแต่บริเวณท้ายน้ำของโครงการฯ ผ่านอำเภอบ้านเขว้า จังหวัดชัยภูมิ จนถึงอำเภอมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่น
ขอให้เร่งรัดการก่อสร้างโครงการพัฒนาลุ่มน้ำชีตอนบน เขื่อนชีบน และเขื่อนยางนาดี จังหวัดชัยภูมิ ให้แล้วเสร็จ เนื่องจากผ่านมติคณะรัฐมนตรี รวมทั้งการประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมเชิงยุทธศาสตร์ และการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพแล้ว โดยขอให้มีการพิจารณาทบทวนค่าเวนคืนที่ดินที่เหมาะสมแก่ราษฎรในพื้นที่
3.2 มติที่ประชุม

มอบหมายกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รับไปพิจารณา ดังนี้

เร่งรัดการก่อสร้างโครงการอ่างเก็บน้ำโป่งขุนเพชร จังหวัดชัยภูมิ ให้แล้วเสร็จภายในปี 2557 และนำเสนอคณะกรรมการบริหารจัดการน้ำและอุทกภัยต่อไป
ประสานกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในเรื่องการประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ เพื่อเร่งรัดการก่อสร้างโครงการพัฒนาลุ่มน้ำชีตอนบน เขื่อนชีบน และเขื่อนยางนาดี จังหวัดชัยภูมิ และนำเสนอคณะกรรมการบริหารจัดการน้ำและอุทกภัยต่อไป
ร่วมกับคณะกรรมการบริหารจัดการน้ำและอุทกภัย และกลุ่มจังหวัด พิจารณาการเชื่อมโยงพื้นที่ในการจัดหาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรและการอุปโภคบริโภคแบบบูรณาการในภาพรวมทั้งระบบ โดยคำนึงถึงความพร้อมของพื้นที่และการยอมรับของประชาชน ทั้งนี้ให้ขอความร่วมมือภาคเอกชนได้ร่วมสนับสนุนข้อมูลที่จำเป็นในพื้นที่ด้วย
4. การส่งเสริมการท่องเที่ยวและบริการ (เสนอโดย สทท.)

4.1 ข้อเสนอ

ขอให้สนับสนุนและส่งเสริมการดำเนินโครงการ “นำช้างคืนถิ่น” และ “คชอาณาจักร” โดยให้มีการจัดสรรงบประมาณอย่างต่อเนื่อง และเร่งรัดการขออนุญาตใช้พื้นที่ป่าเสื่อมโทรมดังกล่าวให้แก่โครงการฯ เพื่อให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญของประเทศ
ขอให้พัฒนาพื้นที่ป่าเสื่อมโทรมในเขตอำเภอวังน้ำเขียวให้เป็นสวนพฤกษศาสตร์เพื่อการเรียนรู้ภายใต้ความร่วมมือของภาครัฐและเอกชน โดยขอให้รัฐพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่ได้มาตรฐาน และให้เอกชนเข้าร่วมทุนในการปรับปรุงเป็นสวนพฤกษศาสตร์ขนาดใหญ่ที่จะกลายเป็นแหล่งเรียนรู้ในลักษณะเดียวกับพืชสวนโลกของจังหวัดเชียงใหม่แต่ปรับเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินการและบริหารจัดการในลักษณะร่วมทุน
ขอให้ส่งเสริมเส้นทางการท่องเที่ยวเชื่อมโยงอีสานใต้กับประเทศเพื่อนบ้าน โดยพิจารณาเร่งประชาสัมพันธ์เส้นทางการท่องเที่ยวที่ผู้ประกอบการได้จัดทำขึ้น รวมถึงขอให้แก้ไขปัญหาและอุปสรรคหลักของการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชื่อมโยงดังกล่าว ได้แก่ (1) ปรับปรุงเส้นทาง สายโชคชัย – เดชอุดม – แยกไปด่านช่องสะงำ ต้องผ่านหมู่บ้าน ระยะทาง 36 กิโลเมตร ให้สะดวกขึ้น และ (2) เร่งรัดการเจรจาข้อตกลงความร่วมมือในการส่งเสริมการท่องเที่ยวกับประเทศเพื่อนบ้านใน 2 ประเด็นหลัก คือ การอำนวยความสะดวกให้กับผู้ประกอบการไทยที่จะนำรถโดยสารปรับอากาศเข้าไปยังประเทศกัมพูชา และเวียดนาม ตามเส้นทางท่องเที่ยว และขอให้ผ่อนปรนค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายในการนำนักท่องเที่ยวเข้าประเทศ รวมถึงการให้ผู้ประกอบการไทยสามารถนำนักท่องเที่ยวเข้าประเทศได้ตรง ซึ่งปัจจุบันผู้ประกอบการลาวและกัมพูชาสามารถนำนักท่องเที่ยวเข้าไทยได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย รวมถึงไม่ต้องมีใบอนุญาตประกอบกิจการนำเที่ยวได้ด้วย
4.2 มติที่ประชุม

มอบหมายกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รับไปหารือกับรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล) เพื่อพิจารณาดำเนินการแก้ไขปัญหาช้างเร่ร่อน การอนุรักษ์ช้างและอาชีพควาญช้าง โดยบูรณาการดำเนินการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ภาคเอกชน มูลนิธิ และองค์กรการกุศล เพื่อให้การดูแลอนุรักษ์ช้างเป็นไปอย่างเป็นระบบและสามารถแก้ไขปัญหาช้างได้อย่างยั่งยืน
มอบหมายกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมร่วมกับกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา บูรณาการพัฒนาพื้นที่ป่าเสื่อมโทรมในเขตอำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา เพื่อใช้ประโยชน์จากพื้นที่โดยเน้นการพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ โดยไม่กระทบต่อพื้นที่ป่าสงวน
มอบหมายกระทรวงคมนาคมรับข้อเสนอของภาคเอกชนเรื่องการส่งเสริมเส้นทางท่องเที่ยวเชื่อมโยงอีสานใต้กับประเทศเพื่อนบ้าน ไปผนวกไว้ในแผนการเชื่อมโยงระบบคมนาคมและโลจิสติกส์ เพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี 2558 โดยพิจารณาใช้ประโยชน์จากความตกลงที่ไทยได้จัดทำร่วมกับกัมพูชา สปป. ลาว และเวียดนาม เพื่ออำนวยความสะดวกด้านการขนส่ง คมนาคม และการท่องเที่ยวระหว่างกัน
มอบหมายกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาร่วมกับสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยรับไปพิจารณาความเหมาะสมของค่าใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวจากประเทศไทยเดินทางไปประเทศเพื่อนบ้าน และการบังคับใช้ใบอนุญาตประกอบกิจการนำเที่ยวในประเทศสำหรับบริษัทนำเที่ยวจากประเทศเพื่อนบ้าน และให้นำเสนอผลการดำเนินการต่อรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล) พิจารณาตามขั้นตอนต่อไป
5. รายงานความคืบหน้าการดำเนินงานตามมติการประชุมร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจในภูมิภาค (กรอ.ภูมิภาค) (เสนอโดย เลขาธิการ สศช.)

5.1 ข้อเสนอ

เลขาธิการ สศช. รายงานที่ประชุมรับทราบความคืบหน้าการดำเนินงานตามมติ กรอ.ภูมิภาค ที่ได้มีการประชุมไปแล้ว 5 ครั้งที่ผ่านมา โดยภาคเอกชนได้มีการเสนอเรื่องที่มีผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ ได้แก่ การพัฒนาโครงข่ายคมนาคมและระบบโลจิสติกส์ การส่งเสริมการค้าและการลงทุน การส่งเสริมการท่องเที่ยวและบริการ การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ และการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ รวมทั้งหมด 79 ประเด็น มีหน่วยงานที่ได้รับมอบหมายตามมติ กรอ.ภูมิภาค ได้รายงานความคืบหน้าผลการดำเนินงานมาจำนวน 35 หน่วยงาน ซึ่งได้มีการดำเนินการไปแล้ว 71 ประเด็นจาก 79 ประเด็น ส่วนอีก 8 ประเด็นอยู่ระหว่างหน่วยงานที่รับผิดชอบจัดทำรายงาน 7 ประเด็น และหน่วยงานภาคเอกชนขอถอนเรื่อง 1 ประเด็น ซึ่งประเด็นที่ได้มีการดำเนินการแล้วเสร็จและเรื่องที่อยู่ระหว่างดำเนินการ สรุปตัวอย่างได้ ดังนี้

เรื่องที่ดำเนินการแล้วเสร็จ อาทิ การยกระดับจุดผ่อนปรนบ้านฮวก จังหวัดพะเยา เป็นจุดผ่านแดนถาวร กระทรวงมหาดไทยได้จัดตั้งคณะทำงานร่วมไทย – สปป.ลาว แล้ว (มติคณะรัฐมนตรีวันที่ 15 มกราคม 2555 ได้อนุมัติวงเงิน 110 ล้านบาท เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานบริเวณจุดผ่อนปรนบ้านฮวกแล้ว) การเปิดจุดผ่านแดนชั่วคราวที่บ้านพุน้ำร้อน จังหวัดกาญจนบุรี กระทรวงมหาดไทยได้ออกประกาศเปิดจุดฯ แล้ว เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2555 การศึกษาเพื่อปรับปรุงช่องทางจราจรเลียบแม่น้ำโขงเส้นทางหมายเลข 211 และ 212 กรมทางหลวงได้ศึกษาความเหมาะสมแล้ว ซึ่งกรมทางหลวงจะเร่งดำเนินการตามผลการศึกษาดังกล่าว และการเพิ่มทักษะภาษาต่างประเทศให้กับกลุ่มแรงงาน เพื่อรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน กระทรวงศึกษาธิการได้พัฒนาโรงเรียน 68 แห่ง ให้เป็นศูนย์อาเซียนศึกษา โดยจัดสอนภาษาอังกฤษและภาษาอาเซียน กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาร่วมกับกระทรวงแรงงาน และกระทรวงศึกษาธิการจัดทำหลักสูตรภาษาอังกฤษและภาษาอาเซียนในสาขาการโรงแรมและการท่องเที่ยว รวม 32 ตำแหน่ง
เรื่องที่อยู่ระหว่างดำเนินการ เช่น การเร่งรัดรถไฟทางคู่ กรุงเทพ – เชียงใหม่ กรุงเทพ – หนองคาย กรุงเทพ – ปาดังเบซาร์ กระทรวงคมนาคมอยู่ระหว่างดำเนินการ การจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน จังหวัดมุกดาหาร นครพนม และหนองคาย สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาอยู่ระหว่างการยกร่างกฎหมายเขตเศรษฐกิจฯ โครงการพัฒนาแหล่งน้ำตามแผนการแก้ไขปัญหาภัยแล้ง ปี 2558 พื้นที่ภาคตะวันออก กระทรวงเกษตรและสหกรณ์อยู่ระหว่างดำเนินการ และการเร่งรัดดำเนินการเรื่องแนวทาง/มาตรการส่งเสริมอุตสาหกรรมไม้ยางพารา กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอยู่ระหว่างนำเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมลงนามพิจารณาออกระเบียบภายใต้พระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 เป็นต้น
5.2 มติที่ประชุม

รับทราบรายงานความคืบหน้าการดำเนินงานตามมติการประชุมร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจในภูมิภาค (กรอ.ภูมิภาค) ตามที่เลขาธิการ สศช. เสนอ และมอบหมายให้ฝ่ายเลขานุการติดตามความคืบหน้าการดำเนินงานฯ มารายงานให้ทราบเป็นระยะ

6. เรื่องอื่นๆ ที่ภาคเอกชนเสนอเพิ่มเติม

(เสนอโดย กกร./สภาธุรกิจตลาดทุนไทย) รวม 6 เรื่อง ดังนี้

6.1 ผลการประชุม 3rd Asian Business Summit (ABS) (เสนอโดย กกร.)

ข้อเสนอ ขอให้พิจารณารับประเด็นข้อเสนอแนะจากการประชุม 3rd Asian Business Summit (ABS) ประกอบด้วย (1) การสนับสนุนการเจริญเติบโตในเอเชียอย่างยั่งยืน (2) การกระชับความร่วมมือภูมิภาคเอเชีย (3) การส่งเสริมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม (4) การส่งเสริมการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และนวัตกรรม (5) การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และ (6) การสร้างความเข้มแข็งในโซ่ห่วงอุปทานภายในภูมิภาคเอเชีย เพื่อนำไปใช้ประกอบการประชุมผู้นำในเวทีระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง เช่น APEC และ East Asia Summit เป็นต้น และขอรับทราบความก้าวหน้าของข้อเสนอแนะเหล่านั้นในโอกาสที่เหมาะสมต่อไป
มติที่ประชุม รับทราบตามที่ กกร. เสนอผลการประชุม 3rd Asian Business Summit (ABS) และมอบหมายกระทรวงการต่างประเทศรับไปพิจารณาดำเนินการต่อไป
6.2 การส่งเสริมการค้าชายแดน โดยการยกระดับจุดผ่อนปรนเป็นด่านถาวร (เสนอโดย กกร.)

ข้อเสนอ ขอให้พิจารณายกระดับ “จุดผ่อนปรนชั่วคราว” เป็น “ด่านถาวร” เพื่อส่งเสริมอำนวยความสะดวกการค้าชายแดน ระหว่างไทย – กัมพูชา/สปป. ลาว และรองรับการเคลื่อนย้ายของสินค้าและคนภายใต้กรอบประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558 ดังนี้ (1) “ช่องสายตะกู” ตำบลจันทบเพชร อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ – บ้านจุ๊บโกกี อำเภออัมปึล จังหวัดอุดรมีชัย ประเทศกัมพูชา ซึ่งปัจจุบันเปิดทุกวันศุกร์และเสาร์ เวลา 09.00 – 16.00 น. (2) “จุดผ่อนปรนบ้านยักษ์คุ” อำเภอชานุมาน จังหวัดอำนาจเจริญ – บ้านเหล่าหมากหูด เมืองไซพูทอง แขวงสะหวันนะเขต สปป.ลาว ซึ่งปัจจุบันเปิดทุกวันพุธและวันอาทิตย์ เวลา 06.00 – 18.00 น. และ (3) “จุดผ่อนปรนช่องตาอู” บ้านหนองแสง อำเภอบุณฑริก จังหวัดอุบลราชธานี – บ้านเหียง เมืองสุขุมา แขวงจำปาสัก สปป. ลาว
มติที่ประชุม รับทราบตามที่ กกร. เสนอ และมอบหมายกระทรวงการต่างประเทศร่วมกับกระทรวงมหาดไทยติดตามรายงานความก้าวหน้าการยกระดับจุดผ่านแดนให้คณะรัฐมนตรีรับทราบต่อไป
6.3 โครงการปรับปรุงพื้นที่ด่านชายแดนช่องจอม อำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์ (เสนอโดย กกร.)

ข้อเสนอ ขอรับการสนับสนุนงบประมาณเพื่อดำเนินโครงการปรับปรุงพื้นที่ด่านชายแดนช่องจอม อำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์ จำนวนเงิน ประมาณ 350 ล้านบาท เพื่อรองรับผู้ที่มาใช้งานที่มีจำนวนมากขึ้น ซึ่งปัจจุบันด่านชายแดนช่องจอมยังเป็นอาคารชั่วคราว ไม่สะดวกต่อการติดต่อประสานงานและการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ อีกทั้งยังรองรับนโยบายภาครัฐเกี่ยวกับการค้าเสรีอาเซียน รวมถึงการจัดเก็บข้อมูล เพื่อเป็นสถิติในการพัฒนาและส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศต่อไป
มติที่ประชุม รับทราบตามที่ กกร. เสนอ และมอบหมายกระทรวงการคลัง ร่วมกับกระทรวงมหาดไทย โดยจังหวัดสุรินทร์ รับไปพิจารณาในรายละเอียดของข้อเสนอต่อไป
6.4 การเร่งรัดจัดตั้งสถาบันพัฒนาผลิตภัณฑ์ยางและไม้ยางพารา (เสนอโดย กกร.)

ข้อเสนอ ขอให้กระทรวงการคลัง โดยสำนักงบประมาณจัดสรรงบประมาณตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมได้ตั้งขอไว้สำหรับการจัดตั้งและบริหารสถาบันพัฒนาผลิตภัณฑ์ยางและไม้ยางพารา เพื่อให้สามารถดำเนินงานอย่างเป็นรูปธรรม ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2554
มติที่ประชุม รับทราบตามที่ กกร. เสนอ และมอบหมายรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล) ร่วมกับกระทรวงอุตสาหกรรม ประสานสำนักงบประมาณ รับไปพิจารณาในรายละเอียดการขอรับการสนับสนุนงบประมาณดังกล่าว ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2554
6.5 ข้อเสนอโครงการจัดตั้ง Northeastern Food Valley จังหวัดนครราชสีมา (เสนอโดย กกร.)

ข้อเสนอ ขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากรัฐบาลในการดำเนินโครงการจัดตั้ง Northeastern Food Valley จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 947,400,000 บาท ระยะเวลาดำเนินการ 3 ปี (ภายในปีงบประมาณ 2556 – 2558)
มติที่ประชุม เห็นชอบในหลักการ โดยมอบหมายกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นหน่วยงานหลักในการจัดตั้งคณะทำงานเพื่อศึกษารายละเอียดโครงการ โดยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมเป็นคณะทำงาน อาทิ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สภาอุตสาหกรรม แห่งประเทศไทย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เป็นต้น เพื่อศึกษาความเหมาะสมในการกำหนดเขตพื้นที่ดำเนินการในภาพรวมทั้งประเทศ โดยคำนึงถึงการเพิ่มมูลค่าของผลิตผลการเกษตรด้วย
6.6 โครงการให้ความรู้ด้านการเงินแก่ประชาชนในพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง (เสนอโดย สภาธุรกิจตลาดทุนไทย)

ข้อเสนอ ผู้แทนสภาธุรกิจตลาดทุนไทย รายงานให้ที่ประชุมทราบว่า สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เล็งเห็นถึงความสำคัญที่ผู้ประกอบการในจังหวัดต่าง ๆ ควรได้รับการส่งเสริมให้มีความรู้ความเข้าใจประโยชน์ของตลาดทุน และสามารถใช้เครื่องมือที่มีในตลาดทุนได้อย่างเหมาะสม เพื่อช่วยให้ผู้ประกอบการมีทางเลือกของแหล่งเงินทุนที่จะใช้ในการขยายกิจการ และช่วยเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน สร้างธุรกิจให้เติบโตได้อย่างยั่งยืน และเตรียมความพร้อมที่จะรองรับการเปิดเสรีของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558 จึงมุ่งหวังให้จังหวัดต่างๆ มีความตื่นตัวเรื่องการลงทุน เสริมสร้างให้ผู้ประกอบการทั่วประเทศมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับตลาดทุน และหากสามารถนำหุ้นของบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ได้ นับเป็นการสร้างความภาคภูมิใจให้แก่จังหวัดได้อีกทางหนึ่ง
มติที่ประชุม รับทราบตามที่สภาธุรกิจตลาดทุนไทยเสนอ และมอบหมายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังพิจารณาให้การสนับสนุนการดำเนินงานตามที่เสนอ




inShare



โพสต์โดย …

วันพฤหัสบดีที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2555

พี่ทำชายแดนใต้ลุกเป็นไฟมาหลุดลอยยุคน้องสาว

ผ่าประเด็นร้อน

นับว่าน่าเศร้า น่าอัปยศจริงๆสำหรับการแก้ปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนใต้ของรัฐบาลพรรคเพื่อไทย ที่นำโดย นายกรัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ที่เวลานี้สถานการณ์ได้ขยายบานปลายลุกลามจนเอาไม่อยู่แล้ว เพราะความไม่เอาไหน ไม่เอาใจใส่ เพียงเพราะเป็นพื้นที่ที่ไม่ใช่ฐานเสียงหลักของตัวเอง เหมือนกับที่ ทักษิณ ชินวัตร ผู้เป็นพี่ชายเคยกล่าวเอาไว้ก่อนหน้านี้เมื่อครั้งมีอำนาจว่า “พื้นที่เลือกเราให้ดูแลพื้นที่นั้นก่อน”

แต่ในยุคปัจจุบันนอกจากไม่เหลียวแลแล้ว การมอบหมายคนที่รับผิดชอบก็ล้วนแล้วแต่ไร้ประสิทธิภาพ มีแต่เส้นสายแต่งตั้งคนของตัวเองแทบทั้งสิ้น แม้กระทั่งล่าสุดมีการตั้งศูนย์ปฏิบัติการดับไฟใต้ ที่มอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีแต่ละคนไปดูแลล้วนแล้วแต่สร้างความหดหู่ หรือฟังการให้สัมภาษณ์ของ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมสำหรับการแก้ปัญหาเผชิญแล้วยิ่งชวนหดหู่ เน้นแต่เรื่องเอามัน ไม่เข้าใจถึงความละเอียดอ่อนของพื้นที่ ยิ่งกลับสร้างความรุนแรงบานปลายมากขึ้นไปอีก

ก่อนจะว่ากันในรายละเอียดเหตุการณ์ข้างหน้าก็ต้องย้อนหลังให้เห็นถึงความรุนแรงที่เริ่มก่อตัวขึ้น ซึ่งก็ไม่มีทางเกินเลยหากระบุกันตรงๆว่าเกิดขึ้นในยุคที่ ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี ที่เริ่มนโยบายปราบปรามยาเสพติด ที่ใช้วิธีแบบ “ทำยอด” สร้างผลงาน และ “สันดาน” แบบ “รัฐตำรวจ” เน้นความสะใจฉาบฉวย

หากจะว่าไปแล้ววิธีการดังกล่าวหากไปใช้ในพื้นที่อื่นๆทั่วประเทศไทยรับรองว่า “ฉิบหาย” มาเยือนแน่ เพียงแต่ว่ายังไม่ปรากฏผลออกมาในทันที แต่สำหรับพื้นที่ชายแดนภาคใต้หากเมื่อใดก็ตามที่ทำแบบนี้ความหายนะก็จะยิ่งบังเกิดขึ้นเพิ่มขึ้นอีกหลายเท่า อย่างที่เห็นเป็นผลพวงที่กำลังมาถึง

ในยุค ทักษิณ จากนโยบายปราบปรามยาเสพติดที่เน้นทำยอด จนทำไปสู่การอุ้มฆ่า ฆ่าตัดตอน จนนำไปสู่เหตุการณ์ปล้นปืนในค่ายทหารกองพันพัฒนาที่ 4 เมื่อวันที่ 4 มกราคม 2547 ถัดมาก็เป็นเหตุการณ์ตากใบ และที่มัสยิดกรือเซะ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นล้วนต่อเนื่องและเชื่อมโยงกันทั้งสิ้น เป็นเหตุการณ์ที่สร้างความเคียดแค้นชิงชัง และเมื่อมีการปลุกระดมโดยใช้เงื่อนไขในพื้นที่ และประวัติศาสตร์ที่ละเอียดอ่อน มันก็ยิ่งฝังรากลึก ยากแก่การเยียวยาแก้ปัญหา

ต้องยอมรับว่าพื้นที่ชายแดนใต้เป็นพื้นที่พิเศษ และละเอียดอ่อน ไม่เหมือนพื้นที่อื่น เพราะมีความแตกต่างทางด้านความเชื่อ ประเพณีวัฒนธรรม มีทั้งเงื่อนปมทางประวัติศาสตร์ เป็นปัญหาเรื้อรัง ทำให้ล้าหลัง มีความยากจน สารพัดปัญหาที่หมักหมม จนยากแก่การแก้ปัญหา ดังนั้นคนที่ลงไปแก้ปัญหา หรือรับผิดชอบในพื้นที่ต้องมีความ “พิเศษ” มีความรอบรู้ มีความเก่งกาจ และเสียสละจริงๆเท่านั้น

ปัญหาของชายแดนใต้ที่ลุกลามบานปลายมีสาเหตุมาจากความไม่รู้และที่สำคัญมาจาก “นิสัยของตำรวจเลว” ของ ทักษิณ ที่เน้นการแก้ปัญหาแบบฉาบฉวยเอาหน้าด้วยความเคยชินด้วยการให้แข่งขันการสร้างผลงาน เช่น ต้องแก้ปัญหาภายใน 3-6 เดือน จนนำไปสู่การอุ้มฆ่า ฆ่าตัดตอน ปัญหาที่เคยคุกรุ่น ความแตกต่าง การข่มเหงรังแกจากเจ้าหน้าที่รัฐ ทุกอย่างก็เลยระเบิดขึ้นมา และคุมไม่อยู่

ที่ผ่านมาหากสังเกตให้ดีจะพบว่า การแต่งตั้งเจ้าหน้าที่มักมองในเรื่องของการเมือง การเป็นพวกใคร มากกว่าเน้นในเรื่องความรู้ความสามารถ หรือเข้าใจปัญหาในพื้นที่ มีการเปลี่ยนแปลงเจ้าหน้าที่ รวมทั้งมีการส่งเจ้าหน้าที่ที่ถูกลงโทษหรือมีพฤติกรรมไม่ดีลงไป ซึ่งยิ่งเป็นการซ้ำเติมเพิ่มปัญหามากขึ้นไปอีก

ปัญหาชายแดนใต้แม้จะยอมรับกันว่ามีความสุดหิน แต่ก็ใช่ว่าจะแก้ไขไม่ได้ แต่ที่สำคัญต้องแก้ไขทัศนคติของเจ้าหน้าที่ตั้งแต่ระดับบนจนถึงระดับล่าง อีกทั้งต้องแก้ไขในเรื่อง “เอกภาพ” การทำงานให้สอดคล้องกันให้ได้ทั้งฝ่ายทหาร ตำรวจ และพลเรือนฝ่ายปกครอง ซึ่งที่ผ่านมาต้องยอมรับความจริงว่า “เรื้อรัง” มานาน และไม่เคยแก้ไขอย่างจริงจัง หรือต่างคนต่างทำ บางครั้งมีการประเภท “ธุระไม่ใช่” มีการทำธุรกิจเถื่อน มีการกล่าวหาว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐนั่นแหละตัวการ หรือเลวร้ายไปกว่านั้นก็คือมีการ “เลี้ยงไข้” สร้างสถานการณ์เพื่อกินงบประมาณ เบี้ยเลี้ยง ของเจ้าหน้าที่ระดับสูงบางคน ซึ่งที่ผ่านมามีการนินทาให้ได้ยินเข้าหูตลอดเวลา สิ่งที่เกิดขึ้นล้วนเป็นการบั่นทอน ทำลายขวัญกำลังใจให้กับเจ้าหน้าที่อื่นๆที่ตั้งใจแก้ปัญหา และเสี่ยงชีวิตในพื้นที่

ล่าสุดนายกรัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้สั่งตั้งศูนย์ปฏิบัติการดับไฟใต้ขึ้นโดยมี 3 รองนายกฯเข้ามารับผิดชอบ เช่น พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา รับผิดชอบด้านกองทัพ ยงยุทธ วิชัยดิษฐ รับผิดชอบฝ่ายปกครอง และ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง ดูแลด้านตำรวจ หากมองเผินๆมันก็ดูขึงขังจริงจัง น่าจะได้ผลดี แต่ขอปรามาสล่วงหน้าว่าเหลวอีก เพราะมันซ้ำซ้อนรุ่มร่ามไม่สามารถปฏิบัติการได้จริง แทนที่จะไปเน้นกระชับโครงสร้างที่มีอยู่แล้วให้เดินหน้าอย่างมีประสิทธิภาพ อย่างเช่น กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน (กอ.รมน.) ที่มีนายกฯเป็นผู้อำนวยการ ซึ่งอาจมอบอำนาจให้รองนายกฯสักคนหนึ่งดูแลรับผิดชอบในพื้นที่โดยตรง เหมือนกับ มีทำเนียบฯส่วนหน้าในพื้นที่ คอยประสานงาน แก้ปัญหาระหว่างหน่วยงาน แต่ที่สำคัญต้องเน้นงานมวลชนควบคู่ไปกับการใช้กำลังรักษาความปลอดภัย

โดยเฉพาะยุทธศาสตร์พระราชทาน เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา ซึ่งที่ผ่านมามีแต่การท่องจำเท่านั้น ยังไม่ได้ปฏิบัติให้ได้ผลจริงจัง ไม่เช่นนั้นคงไม่เกิดเหตุร้ายรุนแรงถี่ยิบอย่างที่เห็นแน่นอน เพราะการที่คนร้ายเคลื่อนไหวก่อเหตุอย่างอุกอาจได้ในทุกพื้นที่นั่นก็แสดงให้เห็นว่าการข่าว ความร่วมมือและความไว้วางใจจากมวลชนในพื้นที่ “ล้มเหลว” อย่างสิ้นเชิง ยังไม่อาจ “เข้าใจและเข้าถึง” ได้อย่างที่ควรจะเป็น

ขณะเดียวกันหากกล่าวกันแบบตรงไปตรงมาก็ต้องบอกว่ารัฐบาลยิ่งลักษณ์ ล้มเหลวในการแก้ปัญหาชายแดนใต้อย่างสิ้นเชิง ทั้งที่หากจะว่าไปแล้วได้มีการเปลี่ยนแปลงเจ้าหน้าที่ที่เป็นคนใกล้ชิดไว้ใจได้ลงไปคุมทั้ง เลขาฯศอ.บต.ที่ชื่อ พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง และ ตำรวจ ทั้งที่เป็นผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติคนปัจจุบัน คือ พล.ต.อ.เพรียวพันธุ์ ดามาพงศ์ และว่าที่คนต่อไปคือ พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว หรือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต ผ่านมานับปีแล้วเป็นอย่างไรบ้าง อย่าว่าแต่ดีขึ้นเลยเอาแค่ประคองสถานการณ์ให้เหมือนเดิมก็ล้มเหลว แล้วแบบนี้จะให้ทำอย่างไร จะชมเชยไว้หน้าว่ามาถูกทางอย่างนั้นหรือ

นี่เป็นเรื่องอธิปไตย ความเป็นตายของชาวบ้าน มันก็ต้องมีคนรับผิดชอบ โดยเฉพาะรัฐบาลที่สร้างปัญหาให้ปะทุขึ้นมาจนลุกลาม เพราะหากบอกว่า ทักษิณ ชินวัตร ที่เป็นพี่ชายทำให้ชายแดนใต้ลุกเป็นไฟ และอาจจะต้องหลุดลอยไปในยุคของน้องสาวคือ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ก็เป็นได้ หากยังทำงานห่วยแตกกันแบบนี้ !!
รีโมท ซื้อ รีโมท จากผู้ค้าส่งโดยตรง ที่มีหน้าร้านจริง ที่ บ้านหม้อ และ คลองถม ราคาถูกกว่าใคร ปลอดภัย มีรับประกัน

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

บทความย้อนหลัง