บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันจันทร์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2554

เปิดหลักฐาน! ทักษิณจะติดคุกไม่กี่ชั่วโมง เพราะรัฐบาลประชาธิปัตย์วางรากฐานไว้ให้ !?

มาตรา 261 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมมีหน้าที่ถวายเรื่องต่อพระมหากษัตริย์พร้อมทั้งถวายความเห็นว่าควรพระราชทานอภัยโทษหรือไม่
       
        ในกรณีที่ไม่มีผู้ใดถวายเรื่องราว ถ้ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมเห็นเป็นการสมควร จะถวายคำแนะนำต่อพระมหากษัตริย์ขอให้พระราชทานอภัยโทษแก่ผู้ต้องคำพิพากษานั้นก็ได้”
       
        คำถามที่สำคัญและยังหาคำตอบในวันนี้ไม่ได้ว่าทำไมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมในสมัยรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ซึ่งมีหน้าที่โดยตรงจึงทิ้งปัญหานี้ไปกว่า 2 ปี โดยที่ไม่ดำเนินการวินิจฉัยและตัดสินให้เรื่องนี้เสร็จสิ้นไปในทางใดทางหนึ่ง กลับปล่อยให้ปัญหานี้คาราคาซังมาให้รัฐบาลพรรคเพื่อไทยมาสวมตอต่อได้ ซึ่งก็ต้องคาดเดาได้อยู่แล้วว่าถ้าปล่อยผ่านไปรัฐบาลพรรคเพื่อไทยก็จะต้องมาวินิจฉัยให้เป็นคุณประโยชน์ต่อนักโทษชายหนีคดีทักษิณ ชินวัตรอยู่แล้วโดยไม่ผิดความคาดหมายแต่ประการใด
       
       ซึ่งหากรัฐมนตรียุติธรรมรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ตีความและวินิจฉัยว่าขั้นตอนถูกต้องแต่หากถวายความเห็นเสียตั้งแต่ต้นอย่างที่เคยปฏิบัติกันมาตั้งแต่ในอดีตว่าไม่ควรพระราชทานอภัยโทษและถูกยกหนหนึ่งไปด้วยเหตุผลใดแล้ว ก็จะยื่นใหม่อีกไม่ได้จนกว่าจะพ้นไป 2 ปี ตามมาตรา 264
       
        อย่างไรก็ตาม ในความจริงแล้วแม้ไม่มีผู้ถวายฎีกาเลย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมก็มีอำนาจตามกฎหมายที่จะถวายคำแนะนำได้อยู่แล้ว เพียงแต่ว่าการช่วยเหลือคนที่หนีคดีความเพียงคนๆ เดียวเป็นกรณีพิเศษนั้น ขาดความชอบธรรมและอาจเข้าข่ายการกระทำความผิดฐานการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบก็ได้
       
        สำหรับคดีที่ดินรัชดาภิเษกโดยอ้างการตัดสินของศาลแพ่งที่ให้การทำสัญญาซื้อขายที่ดินรัชดาภิเษกระหว่างคุณหญิงพจมาน ชินวัตรกับกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินเป็นโมฆะว่าจะเป็นหลักฐานใหม่ให้รื้อฟื้นคดีนี้ใหม่ที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองนั้นก็ดูจะเลือนลาง และเป็นไปได้ยากในทางปฏิบัติ
       
        ดังนั้นการถวายฎีกาเพื่อช่วยๆคนๆเดียว และ การรื้อฟื้นคดีที่ดินรัชดาภิเษกจึงน่าจะเป็นเป้าหลอกมากกว่า
       
        สิ่งที่ทำให้นักโทษชายทักษิณ ชินวัตร มั่นใจตั้งแต่ก่อนการเลือกตั้งว่าจะกลับมาประเทศไทยในปลายปี 2554 เพื่อมางานของลูกสาวนั้น น่าจะอยู่ที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 261 ทวิ เสียมากกว่า ซึ่งบัญญัติเอาไว้ว่า:
       
        “มาตรา 261 ทวิ ในกรณีที่คณะรัฐมนตรีเห็นเป็นการสมควรจะถวายคำแนะนำต่อพระมหากษัตริย์ขอให้พระราชทานอภัยโทษแก่ผู้ต้องโทษก็ได้
       
        การพระราชทานอภัยโทษตามวรรคหนึ่ง ให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา”
       
        เป้าหมายที่แท้จริงก็คือ “พระราชกฤษฎีกา พระราชทานอภัยโทษ พ.ศ. 2554” ที่น่าจะเตรียมร่างเนื่องในวันมหามงคล 5 ธันวาคม พ.ศ. 2554 ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระชนมายุครบ 84 พรรษา โดยให้นักโทษหนีคดีทักษิณ ชินวัตร กลับมาติดคุกไม่นานแล้วได้รับการปล่อยตัวออกมา
       
       โดยคณะรัฐมนตรีพรรคเพื่อไทยเตรียมลอกทุกตัวอักษรที่รัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ได้ทำเอาไว้ในพระราชกฤษฎีกา พระราชทานอภัยโทษ พ.ศ. 2553 ซึ่งได้แก้ไขหลักการอันสำคัญเอาไว้อันเป็นประโยชน์กับนักโทษชายหนีคดีทักษิณ ชินวัตร ล่วงหน้าอยู่แล้ว ในมาตรา 6(2) ง
       
       จากเดิมปรากฏในการตราพระราชกฤษฎีกา พระราชทานอภัยโทษ ย้อนหลัง 4 ครั้ง ก่อนรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้แก่ วันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2542 เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 5 ธันวาคม 2542, วันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2547 เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ วันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2549 เนื่องในงานฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี และ วันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2550 เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 5 ธันวาคม พ.ศ. 2550
       
       ปรากฏว่ามีการการตราพระราชกฤษฎีกา พระราชทานอภัยโทษ 4 ครั้งก่อนรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ที่เกี่ยวข้องกับการพระราชทานอภัยโทษผู้ต้องโทษที่มีอายุไม่ต่ำกว่า 60 ปีนั้น ปรากฏในพระราชกฤษฎีกา พระราชทานอภัยโทษ พ.ศ. 2542 มาตรา 6 (2) (จ) และปรากฏในพระราชกฤษฎีกา พระราชทานอภัยโทษ อีก 3 ครั้ง พ.ศ. 2547, พ.ศ. 2549 และ พ.ศ. 2550 ในมาตรา มาตรา 6 (2) ง ซึ่งมีเนื้อหาและข้อความตรงกันว่า : นักโทษเด็ดขาดที่จะให้ได้รับพระราชทานอภัยโทษปล่อยตัวไปคือ
       
       “เป็นคนมีอายุไม่ต่ำกว่าหกสิบปีบริบูรณ์ในวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับตามที่ปรากฏในทะเบียนบ้านตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎรหรือทะเบียนรายตัวของเรือนจำในกรณีไม่มีชื่อยู่ในทะเบียนบ้าน และไม่ว่าในกรณีความผิดคดีเดียวหรือหลายคดี ต้องได้รับโทษจำคุกมาแล้วถึงวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับไม่น้อยกว่าห้าปี หรือไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ตามกำหนดโทษ
       
       แต่ปรากฏว่าในสมัยรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้มีมติคณะรัฐมนตรีถวายคำแนะนำเพื่อตราเป็นพระราชกฤษฎีกา พระราชทานอภัยโทษ พ.ศ. 2553 วันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 เนื่องในโอกาสพระราชพิธีบรมราชาภิเษกปีที่ 60 วันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 โดยมีการเขียนมาตรา 6 (2) ง ให้แตกต่างจากเดิมโดยกำหนดผู้ที่จะให้ได้รับพระราชทานอภัยโทษปล่อยตัวไปคือ
       
       “เป็นคนมีอายุไม่ต่ำกว่าหกสิบปีบริบูรณ์ในวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับตามที่ปรากฏในทะเบียนบ้านตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎรหรือทะเบียนรายตัวของเรือนจำในกรณีไม่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน และไม่ว่าในกรณีความผิดคดีเดียวหรือหลายคดี ต้องเหลือโทษจำคุกไม่เกินสามปีนับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ หรือเป็นคนมีอายุตั้งแต่เจ็ดสิบปีขึ้นไป”
       
       ดังนั้นผู้ที่มีอายุเกิน 60 ปี ที่ได้รับพระราชทานอภัยโทษตามพระราชกฤษฎีกานั้นได้ถูกแก้ไขในสมัยรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ จากเดิม “จะต้องได้รับโทษมาไม่น้อยกว่า 5 ปี หรือไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ตามกำหนดโทษ” เหลือเพียงแค่ “ต้องเหลือโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี”
       
       ด้วยเหตุนี้จึงไม่น่าแปลกใจที่ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี จึงเลือกที่จะแจกพระราชกฤษฎีกา พระราชทานอภัยโทษ พ.ศ. 2550 ให้แก่นักข่าว เมื่อวันที่ 6 กันยายน พ.ศ.2554 เพราะพระราชกฤษฎีกาฉบับดังกล่าวยังไม่ได้มีการแก้ไขมาตรา 6 (2) ง จึงเป็นการอำพรางให้นักข่าวและประชาชนหลงทาง เพราะเนื้อแท้แล้วประเด็นที่จะแก้ไขนั้นก็เพียงแค่ลอกตามพระราชกฤษฎีกา พระราชทานอภัยโทษ พ.ศ. 2553 ที่ถวายคำแนะนำโดยมติคณะรัฐมนตรีรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ทุกประการ
       
       จากเงื่อนไขดังกล่าว นักโทษชายหนีคดีทักษิณ ชินวัตร ซึ่งปัจจุบันมีอายุ 62 ปี และมีโทษจำคุกเหลือ 2 ปี จึงเข้าข่ายคุณสมบัตินี้ทันที ดังนั้นจึงต้องจับตาว่าพรรคเพื่อไทยจะดำเนินการต่อไปนี้หรือไม่ คือ
       
       1. รัฐบาลพรรคเพื่อไทยจะตราพระราชกฤษฎีกา “พระราชกฤษฎีกา พระราชทานอภัยโทษ พ.ศ. 2554” โดยลอกทุกข้อความในทุกมาตราจาก “พระราชกฤษฎีกา พระราชทานอภัยโทษ พ.ศ. 2553 ” โดยจะอ้างว่าดำเนินการตามที่พรรคประชาธิปัตย์ได้ดำเนินการเป็นบรรทัดฐานมาแล้ว และมีการพระราชทานอภัยโทษมาแล้วในปี 2553 โดยไม่ถือว่าเป็นการเลือกปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ
       
       เพราะถ้าเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ รัฐบาลประชาธิปัตย์ก็จะต้องเข้าข่ายปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบก่อน
       
       2. นักโทษชายหนีคดีทักษิณ ชินวัตร กลับมาประเทศไทยเพื่อให้เป็นผู้ต้องโทษก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ จึงไม่น่าแปลกใจที่รัฐบาลพรรคเพื่อไทยจึงเร่งรีบจะเปิดเรือนจำที่โรงเรียนพลตำรวจบางเขน โดยอ้างว่าเพื่อรองรับนักโทษที่ต้องโทษในคดีทางการเมืองเป็นกรณีพิเศษ
       
        ทั้งนี้พระราชกฤษฎีกา พระราชทานอภัยโทษทุกฉบับที่ผ่านมากำหนดไว้ในมาตรา 2 ว่า
       
        “ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป”
       
       ซึ่งปรกติในช่วงเวลาที่ผ่านมาการประกาศในราชกิจจานุเบกษาจะหลังจากวันที่นายกรัฐมนตรีรับสนองพระบรมราชโองการ 1 วัน และใช้บังคับวันถัดไปหลังจากนั้นอีก 1 วัน แปลว่านักโทษหนีอาญาแผ่นดินทักษิณ ชินวัตร จะสามารถกลับเข้ามารับโทษและรอรับการพระราชทานอภัยโทษที่กำลังจะมาถึงในอีกเวลาไม่นาน โดยจะรู้ตัวล่วงหน้าก่อนพระราชกฤษฎีกาจะมีผลบังคับใช้ถึง 2 วัน หรือ 48 ชั่วโมง ซึ่งการเข้ามาเพื่อให้มีคุณสมบัติที่จะได้รับพระราชทานอภัยโทษนั้น จะต้องอยู่ในเงื่อนไขตามที่กำหนดกันมาในพระราชกฤษฎีกา พระราชทานอภัยโทษ ในมาตรา 4 คือ
       
       มาตรา 4 ผู้ซึ่งจะได้รับพระราชทานอภัยโทษพระราชกฤษฎีกานี้ต้องมีตัวอยู่ในความควบคุมของทางราชการ หรือถูกกักขังไว้ในสถานที่หรืออาศัยที่ศาลหรือทางราชการกำหนดในวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับติดต่อกันไปจนถึงวันที่ศาลออกหมายสั่งปล่อยหรือลดโทษ หรือนายกรัฐมนตรีมีคำสั่งปล่อยหรือลดโทษตามที่บัญญัติไว้ในพระราชกฤษฎีกานี้ เว้นแต่ผู้ทำงานบริการสังคมหรือทำงานสาธารณประโยชน์แทนค่าปรับ
       
       จากข้อความในมาตรานี้ จึงมีความเป็นไปได้ว่าเมื่อถึงเวลาจริงก่อนเวลา 48 ชั่วโมงที่พระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษจะมีผลบังคับใช้ นักโทษชายทักษิณ ชินวัตร อาจกลับเข้ามาประเทศจำคุกในเรือนจำพิเศษ หรือ อาจจะแค่ถูกกักขังอยู่ที่ด่านตำรวจตรวจคนเข้าเมืองอยู่ไม่กี่ชั่วโมงก็ได้ ก่อนที่จะได้รับพระราชทานอภัยโทษและได้รับการปล่อยตัวพ่วงไปกับผู้ต้องโทษอีกกว่า 3 หมื่นคน
       
       ด้วยเหตุผลนี้นักโทษหนีอาญาแผ่นดิน ทักษิณ ชินวัตร จึงมั่นใจและคาดการณ์ล่วงหน้าว่าจะสามารถกลับประเทศไทยได้ในปลายปี 2554 นี้ และทันงานแต่งงานของลูกสาวตัวเอง เพราะรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ได้วางรากฐานเอาไว้อย่างเยี่ยมยอดให้รัฐบาลพรรคเพื่อไทยมาสวมตอต่อ คือ
       
       1. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมของรัฐบาลประชาธิปัตย์ ไม่วินิจฉัยเรื่องการถวายฎีกาคนเสื้อแดงให้เสร็จสิ้นในรัฐบาลตัวเองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 261
       
       2. รัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ตราพระราชกฤษฎีกา พระราชทานอภัยโทษ พ.ศ. 2553 ซึ่งได้วางรากฐานเป็นแบบอย่าง ทำให้รัฐบาลพรรคเพื่อไทยมีเหตุอ้างในการตราพระราชกฤษฎีกา พระราชทานอภัยโทษ พ.ศ. 2554 โดยแค่ลอกข้อความในทุกมาตราทั้งหมดต่อจากรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์เท่านั้น
       
        เพราะฉะนั้นหากมีพระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษ พ.ศ. 2554 และทำให้นักโทษหนีอาญาแผ่นดินทักษิณ ชินวัตร กลับมาได้โดยติดคุกหรือกักขังเพียงไม่กี่ชั่วโมงนั้น ก็ถือเป็นผลงานที่วางรากฐานเอาไว้โดยรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ทั้งสิ้น
       
        จากกรณีดังกล่าวข้างต้นที่รัฐบาลประชาธิปัตย์ทำงานให้พรรคเพื่อไทยสวมตอต่อเพื่อช่วยนักโทษชายหนีอาญาแผ่นดินทักษิณ ชินวัตร นั้น ย่อมทำให้เกิดความสงสัยว่า กรณีการที่ไม่ถอดยศทักษิณ ไม่แจ้งตำรวจสากลให้ตามจับทักษิณก่อนหน้านี้นั้น เป็นการสมรู้ร่วมคิดรู้เห็นเป็นใจกับทักษิณหรือไม่ !?
       
        นักการเมืองทั้งหลายจึงควรเลิกเล่นละครตบตาประชาชนได้แล้ว !?



ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์

ASTV manager online



เปิดเสรีอาเซียน เรื่องหนักอกเด็กจบใหม่





ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต

.....
ดูเหมือนความตื่นตัวในการเปิดเสรี อาเซียนในปี 2558 ของไทยยังอยู่ในวงแคบ ๆ โดยเฉพาะระบบการศึกษาที่ควรจะมีการเสริมวิชาด้านความรู้ เรื่องวัฒนธรรมของประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคให้เข้มข้นขึ้นกว่าเดิม อย่างที่รู้กันว่าเมื่อโลกของอาเซียนเริ่มเปิดเสรีการเคลื่อนย้ายแรงงานก็จะ ตามมา และ สิ่งที่ทุกคนเป็นห่วงคือ แรงงานในระดับหัวกะทิของไทยจะหลั่งไหลไปยังต่างประเทศโดยเฉพาะสิงคโปร์

โดยเฉพาะกลุ่มนักศึกษาที่จบใหม่ หรืออีก 4 ปีจะจบพร้อมกับการเปิดเสรีอาเซียนยิ่งต้องเสริมความแข็งแกร่งให้แก่เด็ก กลุ่มนี้ โดย อาจารย์บัญชา พระพล ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายกิจการทั่วไป มหาวิทยาลัยขอนแก่น ยอมรับว่า สิ่งหนึ่งที่เราจะหนีความจริงไม่ได้คือการยอมรับว่ามหาวิทยาลัยในประเทศไทย มีการปรับตัวเพื่อรับกับนโยบายเปิดเสรีอาเซียนช้ากว่าในหลายประเทศ

ที่ผ่านมาหน่วยงานเกี่ยวข้องกับการเปิดเสรีอาเซียนยังไม่ค่อยลงมาให้ความรู้ ในมหาวิทยาลัยเท่าที่ควร ซึ่งที่ผ่านมาหลายมหาวิทยาลัยพยายามกำหนดแนวทางพัฒนาของตนเองแบบต่างคนต่าง ทำ สิ่งที่ต้องยอมรับอีกอย่างคือมหาวิทยาลัยของรัฐค่อนข้างปรับตัวช้ากว่าเอกชน โดยที่ผ่านมาทางมหาวิทยาลัยพยายามส่งเสริมการเรียนด้านภาษาเพื่อเพิ่ม ศักยภาพให้กับนักเรียน เช่น มีการเรียนภาษาเพิ่มเติมหลังจากชั่วโมงเรียน

แต่สิ่งที่ยังขาดคือองค์ความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมของประเทศในอาเซียน เพราะถ้าเด็กได้ไปทำงานในต่างประเทศการปรับตัวให้เข้ากับวัฒนธรรมจึงเป็น เรื่องสำคัญ ดังนั้นการปูพื้นที่ให้รู้จักมากขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ย่อมเป็นผลดีต่อตัวเด็ก ด้วย ขณะที่อาจารย์เองก็พยายามเพิ่มพูนความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อให้เกิดการพัฒนาที่เป็นระบบ

ปีที่ผ่านมา มีนักศึกษาจบจากมหาวิทยาลัยได้งานกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ สาขาวิชาที่ได้งานมากคือ สาขาวิทยา ศาสตร์สุขภาพ รองลงมาคือสาขาสังคม ศาสตร์และศิลปศาสตร์ และด้วยความต้องการของตลาดแรงงานโดยเฉพาะภาคอีสานจึงทำให้หลายบริษัทเข้ามา ทำโครงการร่วมกับมหาวิทยาลัยในการรับสมัครเด็กที่กำลังจะจบหรือขึ้นชั้นปี ที่ 3 เพื่อคัดเลือกคนที่เหมาะสมในการเป็นพนักงานของบริษัท เพราะเมื่อจบแล้วจะมีงานทำทันทีโดยอนาคตจะมีการแข่งขันในการคัดเลือกเด็ก เพิ่มสูงขึ้นเมื่อไทยเข้าร่วมเปิดเสรีอาเซียน เนื่องจากเด็กที่เป็นระดับหัวกะทิมีสิทธิเลือกว่าจะเข้าทำงานกับบริษัทในไทย หรือจะออกไปทำงานในต่างประเทศ

สิ่งหนึ่งที่นักศึกษาควรเตรียมพร้อมนอกจากฝึกภาษาแล้ว ระหว่างเรียนควรทำผลการเรียนให้ออกมาดีเนื่องจากหลายบริษัทจะเลือกเราก็ต่อ เมื่อผลการเรียนดีจนเป็นที่น่าสนใจ ขณะเดียวกันการทำกิจกรรมก็เป็นเรื่องจำเป็น เพราะทางมหาวิทยาลัยมีการสำรวจบริษัทที่รับนักศึกษาเข้าทำงานพบว่ามีความ ชื่นชอบเด็กที่ทำกิจกรรมเพราะสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างดี

ด้านภาคเอกชนอย่าง ปริโสทัต ปุณณภุม รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ด้านบริหารทรัพยากรบุคคล บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ มองการเปิดเสรีอาเซียนว่า ปัญหาที่ตามมาคือการที่บริษัทในประเทศขาดแรงงานระดับหัวกะทิ เนื่องจากคนเหล่านั้นจะหันไปทำงานกับบริษัทต่างชาติ ดังนั้นภาคเอกชนเองต้องมีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างสวัสดิการและเงินเดือน โดยทางเครือฯ เตรียมปรับเปลี่ยนจากเดิมที่เปรียบเทียบเงินเดือนและสวัสดิการกับบริษัทอื่น ในประเทศ แต่ตอนนี้จะต้องมองเปรียบเทียบกับบริษัทอื่นในอาเซียนมากขึ้น

สำหรับตำแหน่งที่น่าจะขาดแคลนบุคลากรในอนาคตคือ บัญชี เนื่องจากคนที่เป็นระดับหัวกะทิมีแนวโน้มจะไปทำงานกับบริษัทในสิงคโปร์ด้วย ตัวเงินที่จูงใจและสวัสดิการ ซึ่งภาคเอกชนเองต้องปรับตัวอย่างมากเพื่อเพิ่มการแข่งขันให้ทันกับบริษัท ต่างชาติ ถือเป็นการยกระดับความสามารถของบุคลากรและองค์กรอีกทางหนึ่ง

“ด้านหัวกะทิอย่างคนที่จบวิศวะเป็นอีกปัญหาหนึ่งที่ต้องเร่งแก้ไข เช่นเดียวกับภาครัฐเองส่วนใหญ่จะมองในแง่ของการเพิ่มศักยภาพของคนไทยให้แข่ง ขันได้กับคนต่างชาติซึ่งเป็นเรื่องที่ดี และต้องเร่งส่งเสริมอย่างจริงจัง ขณะเดียวกันภาคเอกชนเองต้องเข้าไปร่วมกับมหาวิทยาลัยเพื่อเพิ่มศักยภาพให้ กับนักศึกษาที่จะเข้าไปในตลาดแรงงานด้วย”

ในส่วนของแรงงานที่ใช้กำลัง แรงงานต่างด้าวจะเข้ามามีบทบาทมากขึ้นเมื่อเปิดเสรีอาเซียน เนื่องจากคนไทยบางส่วนหันไปทำงานในต่างประเทศ ซึ่งภาครัฐเองต้องมีแผนรองรับกับแรงงานต่างด้าวให้มากขึ้น เช่นเดียวกับเอกชนจะเริ่มประสบกับปัญหาแรงงานต่างด้าวมีการเลือกงาน เนื่องจากเมื่อความต้องการแรงงานมากขึ้นนายจ้างจะมีการเพิ่มสวัสดิการเพื่อ จูงใจ ซึ่งแรงงานต่างด้าวก็จะเทกันไปทำในบริษัทเหล่านั้นมากขึ้น

แนวทางแก้ปัญหาอีกทางหนึ่งคือการเปิดโครงการ future career ที่บริษัทเข้าไปร่วมกับสถานศึกษาในการให้ความรู้เพื่อเตรียมความพร้อมเด็ก ก่อนเข้าไปทำงานและมีการคัดเลือกเด็กเข้ามาทำงานกับทางบริษัทผ่านโครงการนี้ เนื่องจากเด็กรุ่นใหม่ค่อนข้างได้รับการดูแลจากครอบครัวมากกว่าคนรุ่นก่อน ทำให้เด็กหลายคนยังไม่มีความเข้าใจในการทำงานจริง ซึ่งการเข้ามาให้ความรู้และคัดเลือกเด็กเข้ามาทำงานต้องมีการบอกเส้นทางที่ เขาจะต้องทำอย่างชัดเจน เพราะเด็กรุ่นนี้มีความต้องการที่ชัดเจน ขณะเดียวกันด้วยความที่ติดพ่อแม่มากเด็กจะให้ผู้ปกครองเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วย ในการตัดสินใจ ซึ่งการทำความเข้าใจกับผู้ปกครองก็เป็นอีกเรื่องที่เริ่มให้ความสำคัญเช่น กัน

บริษัทจะพยายามคัดเลือกเด็กที่เห็นว่าเหมาะสมกับองค์กรตั้งแต่ชั้นปีที่ 3 เพื่อพาเด็กไปเรียนรู้งานและฝึกงานจริง โดยช่วงปีที่ 3 หลายคณะจะมีการเลือกเรียนวิชาที่ลงลึกมากขึ้น เช่น เลือกว่าจะเรียนเรื่องสัตว์ใหญ่หรือสัตว์เล็ก ซึ่งการเข้ามาฝึกงานกับบริษัทจะทำให้เด็กเห็นการทำงานจริงมากขึ้น

“โครงการ future career จัดมาเป็นครั้งที่สอง ในปีนี้มีมหาวิทยาลัยที่ร่วมคือ ม.ขอนแก่น ม.สงขลานครินทร์ ม.เชียงใหม่ ซึ่งคาดว่าปีนี้จะได้เด็กจบใหม่เข้ามาร่วมงานในทุกสายงานกว่า 500–600 คน”

ถือเป็นความท้าทายอันใกล้ที่ต้องเร่งวางพื้นฐานอย่างเป็นระบบในระยะยาว.

“สำหรับตำแหน่งที่น่าจะขาดแคลนบุคลากรในอนาคตคือ บัญชี เนื่องจากคนที่เป็นระดับหัวกะทิมีแนวโน้มจะไปทำงานกับบริษัทในสิงคโปร์ด้วย ตัวเงินที่จูงใจและสวัสดิการ ซึ่งภาคเอกชนเองต้องปรับตัวอย่างมากเพื่อเพิ่มการแข่งขันให้ทันกับบริษัท ต่างชาติ ถือเป็นการยกระดับความสามารถของบุคลากรและองค์กรอีกทางหนึ่ง”

รู้จักอาเซียน

อาเซียน หรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ก่อตั้งขึ้นโดยปฏิญญากรุงเทพฯ ซึ่งได้ลงนามกันที่วังสราญรมย์ เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2510 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันดีต่อกันระหว่างประเทศใน ภูมิภาค ธำรงไว้ซึ่งสันติภาพ เสถียรภาพ และความมั่นคงทางการเมือง สร้างสรรค์ความเจริญทางด้านเศรษฐกิจ การพัฒนาทางสังคมและวัฒนธรรม การกินดีอยู่ดีบนพื้นฐานของความเสมอภาคและผลประโยชน์ร่วมกันของประเทศสมาชิก

เมื่อแรกก่อตั้งในปี 2510 อาเซียนมีสมาชิก 5 ประเทศ ได้แก่ ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์ ในเวลาต่อมา บรูไนดารุสซาลาม ได้เข้าเป็นสมาชิกลำดับที่ 6 เมื่อปี 2527 เวียดนาม เข้าเป็นสมาชิกลำดับที่ 7 ในปี 2538 ลาวและพม่า เข้าเป็นสมาชิกพร้อมกันเมื่อปี 2540 และกัมพูชาเข้าเป็นสมาชิกล่าสุดเมื่อปี 2542 ทำให้ในปัจจุบันอาเซียนมีสมาชิกรวมทั้งหมด 10 ประเทศ

สถานการณ์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้เปลี่ยนผ่านจากสภาวะแห่งความตึงเครียด และการเผชิญหน้าในยุคสงครามเย็น มาสู่ความมีเสถียรภาพ ความมั่นคงและความร่วมมืออย่างใกล้ชิดในปัจจุบัน ซึ่งทำให้อาเซียนกลายเป็นภูมิภาคที่มีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวด เร็ว และเป็นตัวอย่างของการรวมตัวของกลุ่มประเทศที่มีพลังต่อรองในเวทีการเมือง และเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ความก้าวหน้าของอาเซียนมีปัจจัยสำคัญจากความไว้ใจกันระหว่างรัฐสมาชิก อันก่อให้เกิดบรรยากาศที่สร้างสรรค์และเอื้อต่อการเพิ่มพูนความร่วมมือ ระหว่างกัน

(ข้อมูลจาก สมาคมอาเซียน ประเทศไทย http://www.aseanthailand.org/index.php )

โดย ทีมวาไรตี้ หนังสือพิมพ์เดลินิวส์

ไขปมประธานศาล ปค.สูงสุดส่งศาล รธน.ตีความ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน มีอำนาจหรือไม่?








โดย ประสงค์ เลิศรัตนวิสุทธิ์


ประด็นหนึ่งที่การร้องเรียนอดีตผู้บริหารศาลปกครองสูงสุดต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.)คือ อดีต ผู้บริหารศาลปกครองสูงสุดอ้างอำนาจตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 211 ในการส่งคำร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า มาตรา 16 แห่ง พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 ว่าขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญหรือ ไม่ โดย มาตรา 16 ระบุว่า ข้อกำหนด ประกาศ คำสั่ง หรือการกระทำตาม พ.ร.ก.ไม่อยู่ในบังคับของกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง และกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลปกครองฯ
ทั้งนี้ รัฐธรรมนูญ มาตรา 211 บัญญัติว่า ในการที่ศาลจะใช้บทบัญญัติแห่งกฎหมายบังคับแก่คดีใด  ถ้าศาลเห็นเองหรือคู่ความโต้แย้งพร้อมด้วยเหตุผลว่า บทบัญญัติแห่งกฎหมายนั้นต้องด้วยบทบัญญัติมาตรา 6 (ขัดต่อรัฐธรรมนูญ) และยังไม่มีคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในส่วนที่เกี่ยวกับบทบัญญัตินั้น ให้ศาลส่งความเห็นเช่นว่านั้นตามทางการเพื่อศาลรัฐธรรมนูญจะได้พิจารณา วินิจฉัย
จากบทบัญญัติดังกล่าว “ศาล” ตาม มาตรา 211 ย่อมหมายถึง “องค์คณะตุลาการหรือองค์คณะผู้พิพากษา“ที่พิจารณาพิพากษาคดีดังกล่าว มิได้หมายถึง ตัวหรือตำแหน่ง “หัวหน้าศาล”อธิบดีศาล”หรือ “ประธานศาล” ที่มิได้ร่วมหรือนั่งพิจารณาคดีแต่อย่างใด
ดังนั้น ถ้าองค์คณะผู้พิพากษา องค์คณะตุลาการ ผู้พิพากษาหรือตุลาการที่พิจารณาคดีมิได้มีคำสั่งให้ส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญ วินิจฉัยว่า บทบัญญัติแห่งกฎหมายใดขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญแล้ว หัวหน้าศาล  อธิบดีศาลหรือ ประธานศาล ย่อมไม่มีอำนาจในการส่งคำร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยโดยพลการ
ตามข้อกล่าวหาระบุว่า คดีดังกล่าวนายนิติธร ล้ำเหลือ ทนายความกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยยื่นฟ้องนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี(ในขณะนั้น)ต่อศาลปกครองสูงสุดขอให้เพิกถอนประกาศสถานการณ์ฉุก เฉินในเขต กทม.ลงวันที่ 2 กันยายน 2551
จากนั้นมีการจ่ายสำนวนให้แก่องค์คณะที่มีนายจรัญ หัตถกรรม เป็นหัวหน้าคณะและเป็นเจ้าของสำนวน ตุลาการอีก 4 คน ประกอบด้วย นายชาญชัย แสวงศักดิ์   นายเกษม คมสัตย์ธรรม นายวราวุธ ศิริยุทธ์วัฒนา และนายธงชัย ลำดับวงศ์
ปรากฏว่า องค์คณะมีมติด้วยเสียงข้างมากไม่รับคดีไว้พิจารณาเพราะ เห็นว่า มาตรา 16 บัญญัติไว้ชัดเจนว่า ประกาศ คำสั่งที่ออกตาม พ.ร.ก.ไม่อยู่ในบังคับของ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองฯ
แต่มี“มือดี”ส่งคำร้องในคดีดังกล่าวให้ศาลรัฐ ธรรมนูญวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 211 โดยแนบคำฟ้องของนายนิติธร ล้ำเหลือไปในคำร้องดังกล่าว แต่ไม่มีคำสั่งขององค์คณะตุลาการที่ระบุว่า ให้ส่งคำร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยแต่อย่างใด
พราะองค์คณะมีมติด้วยเสียงข้างมาก ไม่รับคดีการขอให้เพิกถอนประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินไว้พิจารณา คดีย่อมตกไป แต่ทำไมยังมี “มือดี”ส่งคำร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยได้อีก
จากการตรวจสอบเอกสารและขั้นตอนของศาลปกครองในการส่งคำร้องให้กับศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามมาตรา 211 พบว่า
หนึ่ง เลขาธิการสำนักงานศาลปกครองหรือผู้ปฏิบัติ หน้าที่เลขาธิการทำหนังสือถึงเลขาธิการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ อ้างถึงคำสั่งของศาลปกครองว่า ให้ส่งคำร้องในคดีให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย
สอง ในการส่งคำร้องดังกล่าวตามหนังสือนำของเลขาธิการสำนักงานศาลปกครอง ต้องมีเอกสารสำคัญแนบไปด้วยคือ 1.รายงานกระบวนพิจารณาคดีดังกล่าว 2.คำสั่งขององค์คณะตุลาการที่มีความเห็นให้ส่งเรื่องให้ศาลรัฐรรมนูญ วินิจฉัย
ในการตรวจสอบยังพบอีกว่า มีคำร้องที่ศาลปกครองสงสุดส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยในเรื่องบทบัญญัติตาม มาตรา 16 แห่ง พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 ในเวลาที่ไล่เลี่ยกัน 3 คำร้องซึ่งศาลรัฐธรรมนูญได้รวมพิจารณาเป็นคดีเดียวกันและมีคำสั่งให้จำหน่าย คดีได้แก่ เรื่องพิจารณาที่ 34/2551,47/2551 และ 63 /2551 ตามลำดับ
ทั้งนี้ จากการตรวจสอบคำร้องเรื่องพิจารณาที่ 34/2551ซึ่งเป็นกรณีที่มีการร้องเรียนว่า อดีตผู้บริหารศาลปกครองสูงสุดใช้อำนาจโดยมิชอบในการส่งคำร้องศาลรัฐธรรมนูญ วินิจฉัยพบว่า แตกต่างจากเรื่องพิจารณาอีก 2 คำร้องกล่าว คือ คำร้องที่มีการร้องเรียนต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. ผู้ที่ลงนามในหนังสือนำส่ง(ลงวันที่ 3 กันยายน 2551)คำร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยคือ “ศาสตราจารย์ ดร.อักขราทร จุฬารัตน” ประธานศาลปกครองสูงสุด(ในขณะนั้น)โดยหนังสือดังกล่าวส่งถึง(กราบเรียน)ประธานศาลรัฐธรรมนูญ
นอกจากนั้นในการส่งคำร้องดังกล่าว ไม่มีรายงานกระบวนการพิจารณาคดี และคำสั่งขององค์คณะตุลาการที่พิจารณาคดีดังกล่าว
อย่างไรก็ตามในหนังสือนำส่งคำร้องดังกล่าวที่ลงนามโดยศาสตรจารย์ ดร.อักขราทรมี ข้อความที่ระบุว่า “ศาลปกครองสูงสุดเห็นว่า ประกาศดังกล่าว(สถานการณ์ฉุกเฉินในเขตกรุงเทพมหานคร)เป็นการกระทำทางปกครอง ข้อพิพาทที่เกิดขึ้นจากการประกาศดังกล่าวจึงอยู่ในเขตอำนาจของศาลปกครองตาม รัฐธรรมนูญฯมาตรา 223 ประกอบกับมาตรา 9 แพ่ง พ.ร.บ. จัดตั้งศาลปกครองฯอำนาจในการพิจารณาพิพากษาข้อพิพาทจึงเป็นอำนาจของ องค์กรตุลาการตามหลักกฎหมายทั่วไปและหลักการแบ่งแยกอำนาจ การที่มาตรา 16 แห่ง พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินฯกำหนดไว้เช่นนั้น จึงเป็นการขัดกับหลักกฎหมายทั่วไปและจำกัดอำนาจการพิจารณาพิพากษาคดีของศาล ปกครองตามมาตรา 223 ของรัฐธรรมนูญ….บทบัญญัติของมาตรา 16ฯ จึงไม่ชอบและไม่มีผลบังคับตามมาตรา 6 ของรัฐธรรมนูญ…”
ขณะที่อีก 2 คำร้อง เป็นหนังสือนำส่งคำร้องลงนามโดยเลขาธิการสำนักงานศาลปกครอง “เรียน” เลขาธิการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ  มีเอกสารแนบคือรายงานกระบวนพิจารณาคดีและคำสั่งขององค์คณะตุลาการซึ่งเป็นไป ตามขั้นตอนการส่งคำร้องของศาลปกครองให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยมาตั้งแต่ต้นจน ถึงปัจจุบัน
คำถามคือ ทำไมคำร้องเรื่องพิจารณาที่ 34/2551 ศาสตราจารย์ ดร.อักขราทรต้องเป็นผู้ลงนามในหนังสือส่งคำร้องเอง ไม่ให้เลขาธิการสำนักงานศาลปกครองส่งไปตามขั้นตอนปกติ
นอกจากนั้น ไม่มีคำสั่งขององค์คณะตุลาการแนบไปด้วย(หายไปไหน?) มีเพียงคำฟ้องของนายนิติธร ล้ำเหลือแนบไปเท่านั้น
ประเด็นนี้ เมื่อได้รับคำร้องครั้งแรก ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญบางคนก็ตั้งข้อสงสัยเช่นเดียวกัน แต่เมื่อมีการประสานเป็นการภายในจากสำนักงานศาลปกครองว่า จะมีการส่งคำร้องในลักษณะเดียวกันมาให้ศาลรัฐรรมนูญวินิจฉัย จึงรอเรื่องไว้ และเมื่อมีการส่งคำร้องมาเพิ่มเติม จึงรวมการพิจารณาเป็นคราวเดียว ทำให้”ข้อสงสัย”ดังกล่าวไม่มีการหยิบยกขึ้นมาพิจารณา
แต่ที่น่าขำ(สมเพช?)กว่านั้นคือ เมื่อ คณะกรรมการ ป.ป.ช.ได้รับเรื่องร้องเรียนว่าอดีตผู้บริหารศาลปกครองสูงสุดใช้อำนาจ หน้าที่โดยมิชอบส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย  แทนที่จะแสวงหาข้อเท็จจริงเบื้องต้นให้ได้ครบถ้วน กลับมีการชงเรื่องให้คณะกรรมการ ป.ป.ช.ยุติเรื่อง
ทำให้สงสัยว่า ต้องการอุ้มกันน่าตาเฉยเลยหรือ?
(อ่าน จริยธรรม 3 ตุลาการคดีเปลี่ยนองค์คณะศาล ปค.สูงสุดภูมิคุ้มกันกระบวนการยุติธรรม)
ป.ป.ช.หงอศาลปกครองสูงสุด ดองคดีแทรกกระบวนการยุติธรรม?

เทศกาล “วิ่งฝุ่นตลบ”

เทศกาล “วิ่งฝุ่นตลบ”
นายปกครอง
หลังจากการเองลงตัวแล้ว คราวนี้เป็นเรื่องของวิถีชีวตของข้าราชการกันบ้าง ในช่วงเดือนกันยายนเป็นเทศกาลที่เรียกว่า “วิ่งฝุ่นตลบ”
ผล ประโยชน์ก้อนแรกของนักการเมืองที่จับจ้องกันนั้น จะมองข้ามไม่ได้เลยกับการกินหัวคิวการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการทุกหน่วย ทุกสังกัด ข้าราชการหลายคนก็ไม่มีอันทำงานเพราะต้องวิ่งเต้นเข้าหานักการเมืองเพื่อให้ เลื่อนตำแหน่งชั้นยศกันทุกรูปแบบ
ดัง นั้น ตั้งแต่นี้ไปข้าราชการหลายคน นอกจากการวิ่งฝุ่นตลบแล้ว เมื่อผ่านเดือนตุลาคมไป ก็ยังต้องอาศัยการปรับตัวให้เข้ากับงาน บางคนไม่มีความเหมาะสม มาด้วยเส้นสาย ทำงานล้มเหลว ไม่มีใครสนใจในเรื่องนี้ เพราะได้ตักตวงผลประโยชน์ไปก้อนโตแล้วนั่นเอง
ในช่วงเวลาเดียวกัน กลุ่มข้าราชการบางคนที่น้อยเนื้อต่ำใจ ก็ไม่คิดอยากจะทำงาน
ในขณะที่ข้าราชการอีกหลายคนเช่นกันก็ยังตั้งป้อมจะฟ้องร้องนักการเมืองด้วยความคิดที่ว่า ถูกกลั่นแกล้งจากเจ้านาย ทำงานแทบตายไม่ได้ดี
ใน เมื่อการทำงานของข้าราชการเป็นเช่นนี้ จึงทำให้ประชาชนคาดหวังอะไรได้ยากเช่นกัน โดยเฉพาะในกลุ่มงานของตำรวจ เวลานี้ก็พยายามวิ่งเต้นกัน 4 สายด้วยกัน
เริ่ม จากสายแรก สีกากีหลายคนแทบจะยกขบวนบินไปดูไบ บางคนก็ประสบความสำเร็จ คว้าชัยชนะได้รับการแต่งตั้งให้อยู่ในตำแหน่งสำคัญ เหตุที่เป็นเช่นนี้คงเกิดมาจากความสำเร็จของข้าราชการบางคน จึงต้องมีผู้เลียนแบบ พยายามใช้สูตรเดียวกัน
อีก สายหนึ่ง คงหนีไม่พ้นจันทร์ส่องหล้า หลายคนสามารถเข้าถึงก้นครัว บางคนยอมแม้กระทั่งล้างจาน จุดบุหรี่ ดีดไฟแช็ค เพื่อให้ได้มาซึ่งลาภยศนั่นเอง
อีกสายหนึ่ง หนีไม่พ้นคนใกล้ชิดของนายกฯหญิง ที่พอจะมีพลังอยู่บ้าง แบ่งสรรปันส่วนที่จะผลักดันคนของตัวเองขึ้นสู่ตำแหน่งได้
สายสุดท้าย เป็นเรื่องของกลุ่มเครือญาติในตระกูลผู้มีอำนาจฝากฝังให้เลื่อนตำหน่งได้
โดยสรุปในตอนนี้ หนีไม่พ้นข้าราชการวิ่งฝุ่นตลบ บรรยากาศต่อไป ต้องพบกับข้าราชการที่ผิดหวัง ทำงานแทบตายไม่ได้เลื่อนตำแหน่ง
บรรยากาศ ต่อไป คงต้องลุ้นกันว่าข้าราชการที่ได้รับการแต่งตั้ง จะมีความสามารถในการทำงานได้หรือไม่ ซึ่งเด้กเส้นนั้นต้องยอมรับอีกเช่นกันว่าคุณมบัติที่เหมาะสมมีน้อยเต็มทน วิ่งเต้นเพื่อให้ได้ตำแหน่งเท่านั้นเอง
บรรยากาศเช่นนี้จะเกิดขึ้นทุกปี อย่างน้อย 4 เดือน ไม่มีอันทำงาน ทำให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อนกันถ้วนหน้า
สุด ท้ายคงต้องวอนสิ่งศักดิ์สิทธื ช่วยดลบันดาลให้นักการเมืองเลิกเรียกรับผลประโยชน์จากกลุ่มข้าราชการกันได้ เสียที หลังจากนันคงต้องปลุกจิตสำนึกจากผู้กินภาษีประชาชน กระตุ้นให้ทำงาน เชื่อว่าประเทศชาติคงเจริญได้อีกมาก

ขุมทรัพย์ในมือ 11 กสทช.ผลประโยชน์แสนล้าน ใครได้ – ใครเสีย Read more: ขุมทรัพย์ในมือ 11 กสทช.ผลประโยชน์แสนล้าน ใครได้ - ใครเสีย

เมื่อวันที่ 5 กันยายน 2554 ประเทศไทยก็ได้คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ทั้ง 11 คน เป็นที่เรียบร้อย หลังจากที่รอคอยกันมาหลายปี แม้จะมีเสียงวิจารณ์ตามมาว่ากระบวนการสรรหาไม่โปร่งใส และผู้ที่ได้ตำแหน่งส่วนใหญ่เป็น “บิ๊กทหาร” (อ่านล้อมกรอบ ใครเป็นใครในกสทช.) ที่สำคัญผู้ที่ได้เกือบทั้งหมดเป็นไปตามโพยรายชื่อบล็อกโหวตที่มีการคาด การณ์กันไว้ก่อนหน้านี้

ขุมทรัพย์ในมือ 11 กสทช.ผลประโยชน์แสนล้าน ใครได้ - ใครเสีย
เหตุผลที่ทำให้เชื่อได้เช่นนั้นเป็นเพราะ กลุ่มทุน-นักธุรกิจ-เจ้าของกิจการสื่อ ตลอดจนผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคม ต่างต้องการส่งคนของตนเอง หรือพรรคพวกเข้าไปนั่งอยู่ใน กสทช. เพื่อหวังให้เป็นแขนขามาเอื้อประโยชน์ภายหลัง โดยเฉพาะผลประโยชน์เรื่องการออกใบอนุญาตใช้คลื่นความถี่เพื่อกิจการโทร คมนาคม และการออกใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่เพื่อกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ รวมทั้งคลื่นความถี่วิทยุโทรคมนาคมที่ถือเป็น “เค้กก้อนโต” ที่บรรดากลุ่มทุนต่างๆ รวมถึงหน่วยงานภาครัฐที่มีกิจการเหล่านี้ต่างต้องการรักษาสมบัติของตนเองเอา ไว้ รวมทั้งยังหวังจะขอ “มีเอี่ยว” ในส่วนอื่นๆด้วย
ไม่ว่าจะถูกจับจ้อง หรือถูกตั้งข้อสงสัยถึงที่มาที่ไปอย่างไร แต่เชื่อขนมกินได้เลยว่าทันทีที่ กสทช. ทั้ง 11 คนได้รับโปรดเกล้าสิ่งที่ต้องเร่งทำเป็นลำดับแรก และเชื่อว่าการพิจารณาคงใช้เวลาไม่นานก็สำเร็จลุล่วง ไม่แท้งเหมือนที่ผ่านมากก็คือ การเปิดประมูล 3 จี บนคลื่นความถี่ใหม่ 2.1 กิกะเฮิรตซ์ เพราะช่วยลดความเสี่ยงจากธุรกิจสัมปทานเดิมที่จะทยอยหมดอายุลง และเป็น 3 จี บนคลื่นความถี่ใหม่ที่มีประสิทธิภาพดีกว่า 3 จี บนความถี่เดิม (HSPA) ที่เปิดให้บริการอยู่ในปัจจุบัน ที่สำคัญผลตอบแทนที่ผู้ประกอบการจะต้องจ่ายก็ถูกลงกว่าสัมปทานเดิมด้วย เพียงแต่ต้องจ่ายค่าใบอนุญาตและลงทุนโครงข่ายเพิ่มเติม และหากในที่สุดการเปิดประมูล 3 จี เกิดขึ้นได้จริงก็จะทำให้มูลค่าจากธุรกิจ 3 จี ของเอไอเอส ดีแทค และทรู เพิ่มสูงขึ้นอย่างแน่นอน
เพราะเอาแค่ธุรกิจทั้งทางตรงและเกี่ยวเนื่องก็ปาเข้าไปหลายแสนบาทเข้าไปแล้ว
จึงไม่ใช่เรื่องแปลกหากผู้ประกอบการทั้ง 3 ค่ายใหญ่จะออกมาเร่งเครื่องกสทช. ให้จัดประมูล 3จีคลื่นความถี่ย่าน 2 กิกะเฮิรตซ์โดยเร็ว รวมถึงให้โอนย้ายคลื่นความถี่ที่อยู่ในระบบสัญญาสัมปทานเดิมกลับไปสู่การ บริหารของ กสทช. เมื่อผู้ประกอบการโทรศัพท์มือถือสิ้นสุดสัมปทานลง
อย่างไรก็ตาม กสทช.ไม่ได้มีหน้าที่แค่ตามที่ พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ กำหนดเท่านั้น เนื่องด้วยมีกฎหมายเกี่ยวข้องที่สำคัญอีกฉบับหนึ่งคือ พ.ร.บ.การประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ.2551 ซึ่งที่ผ่านมานับแต่กฎหมายดังกล่าวมีผลใช้บังคับมาเป็นเวลากว่า 3 ปีแล้วแต่ก็ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อโครงสร้างการประกอบกิจการกระจายเสียงและ กิจการโทรทัศน์ เนื่องจากในเวลาดังกล่าวยังไม่มีหน่วยงานกำกับดูแลอย่างสมบูรณ์
กระทั่ง พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ.2554 มีผลใช้บังคับและเมื่อมีการแต่งตั้ง กสทช. อำนาจหน้าที่ของ กสทช. จึงไม่ได้มีเพียงการจัดสรรคลื่นความถี่ การออกใบอนุญาตประกอบกิจการหรือการประมูลคลื่นความถี่ 3จี เท่านั้น แต่ กสทช.ต้องเข้ามามีบทบาทสำคัญต่อโครงสร้างกิจการกระจายเสียงและกิจการ โทรทัศน์ทั้งระบบ โดยเฉพาะหน่วยงานรัฐ ที่เป็นผู้ประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์จะต้องคืนคลื่นความถี่ และสัญญาสัมปทานที่มีอยู่เดิม ด้วยการยกเลิกสัมปทานวิทยุ โทรทัศน์ทั้งหมด ปลดล็อกคลื่นความถี่วิทยุ โทรทัศน์จากเจ้าของเดิม นำคลื่นความถี่วิทยุ โทรทัศน์มาออกประมูล และนำเงินเข้ากองทุนฯ โดยไม่ต้องส่งเข้าคลังหลวง กสทช.เป็นผู้มีอำนาจในการจัดสรรเงินจำนวนมหาศาลนี้ตามที่กฎหมายให้อำนาจไว้
สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ รองประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) กล่าวว่า การเปิดประมูลไลเซนส์ 3 จี เข้าใจว่าทั้งผู้ประกอบการเอกชน ประชาชน หรือภาครัฐต้องการให้เกิดโดยเร็ว เป็นเรื่องสำคัญลำดับต้นที่กสทช. ต้องจัดการ ส่วนการแก้ไขปัญหาภาควิทยุโทรทัศน์ ทีวีดาวเทียม และวิทยุชุมชนก็เป็นปัญหาที่ต้องแก้ไขเช่นเดียวกัน และถือเป็นความท้าทายของกสทช. ในการเรียกคืนคลื่นความถี่จากกองทัพ และหน่วยงานอื่นๆเพื่อเข้ามาจัดสรรให้แก่ผู้ประกอบการรายอื่นอย่างเท่าเทียม กัน
บางคนกล่าวว่าเหตุผลส่วนหนึ่งที่บรรดา “บิ๊กทหาร” พาเหรดเข้าเป็นกสทช. มากเป็นเพราะต้องการรักษาผลประโยชน์ของกองทัพไว้ เนื่องจากคลื่นความถี่วิทยุที่มีอยู่จำนวนหลายสิบคลื่นในปัจจุบันอยู่ภายใต้ การครอบครองของ อสมท. กองทัพ และกรมประชาสัมพันธ์ ซึ่งแม้ธุรกิจวิทยุจะไม่รุ่งเรืองเหมือนในช่วงหลายปีที่ผ่านมา แต่ก็เป็นธุรกิจที่มีรายได้จากโฆษณาไม่น้อย และมีอัตราการเติบโตของโฆษณาเป็นตัวเลข 2 หลัก จึงทำให้หลายค่ายพยายามกอดธุรกิจนี้ไว้จนแน่น
อย่างไรก็ตาม การเกิดขึ้นของ กสทช.ครั้งนี้ถือเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญมากของอุตสาหกรรมโทรคมนาคม วิทยุ และโทรทัศน์ ที่มีมูลค่านับแสนล้านบาท เนื่องจาก กสทช. มีบทบาทสำคัญด้านการกำกับดูแล จัดสรรคลื่นความถี่ และออกใบอนุญาตประกอบกิจการทั้ง 2 ส่วน คือ โทรคมนาคม และวิทยุโทรทัศน์ โดยคาดว่าในช่วงระหว่างปี 2555-2558 การลงทุนด้านสื่อวิทยุและโทรทัศน์จะอยู่ใน 2 กลุ่มคือ กลุ่มแรก ธุรกิจสื่อที่ไม่ใช้ย่านความถี่ที่ต้องมีการจัดสรรคือ ธุรกิจเคเบิลทีวี และทีวีดาวเทียม ซึ่งจะทำให้ผู้ประกอบการโดยเฉพาะกลุ่มผู้ผลิตรายการรายใหญ่ อย่าง อาร์เอส, จีเอ็มเอ็มแกรมมี่, เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ หรือแม้แต่กันตนา ที่เข้ามาลุยในทีวีดาวเทียมอยู่แล้ว จะยิ่งเข้ามาลงทุนในธุรกิจเหล่านี้มากขึ้นไปอีก
ขณะเดียวกันบรรดาฟรีทีวี อย่าง 3-5-7 และโมเดิร์นไนน์ ก็คงไม่พลาดที่จะเข้ามาร่วมวงขยายขอบข่ายสื่อของตนเองให้เพิ่มมากยิ่งขึ้นไป อีก เพราะอย่าลืมว่าปัจจุบันเม็ดเงินโฆษณาในทีวีดาวเทียม และเคเบิลทีวีกำลังเพิ่มสูงขึ้นทุกวัน ล่าสุดมีตัวเลขการใช้เงินผ่านสื่อนี้กว่า 5,000 ล้านบาท คิดเป็น 8-9% เมื่อเทียบกับอุตสาหกรรมโฆษณาโดยรวมทั้งปี แม้จะไม่มากมายนัก แต่ถ้ามองศักยภาพการเติบโตน่าจะไปได้สวย หากพิจารณาจากฐานผู้ชม โดยเฉพาะในส่วนของจานดำ PSI จากตัวเลขเมื่อสิ้นปี 2553 อยู่ที่ 6 ล้านจาน ปีนี้คาดจะเพิ่มเป็น 7.2 ล้านจาน และในภาพรวมของเคเบิลทีวีและทีวีดาวเทียมตอนนี้สามารถเข้าถึงผู้ชมได้ แล้วกว่า 31.2 ล้านคนทั่วประเทศ
เมื่อเป็นเช่นนี้จะยิ่งทำให้สถานการณ์การแข่งขันในสมรภูมิทีวีดาวเทียม ต่อไปสนุกขึ้นแน่นอน เนื่องจากแต่ละค่ายต่างมีเงินลงทุน และคอนเทนต์อยู่ในมือกันอย่างพรักพร้อมอยู่แล้ว แต่กรณีของฟรีทีวีบางรายอาจจะมีปัญหาเพิ่มขึ้นมาบ้างตรงที่ต้องมีค่าใช้จ่าย เกิดขึ้นมาอีก 2 ส่วนคือ ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตรายปีให้กสทช. ประมาณ 6% ของรายได้โฆษณา และจ่ายเงินเข้ากองทุนสาธารณะตั้งแต่ปี 2555 เป็นต้นไปในอัตรา 2% ของรายได้โฆษณาทั้งทางตรงและทางอ้อม ยกเว้นบริษัทเอกชนบางราย เช่น บีอีซี เวิลด์ (ช่อง 3), ช่อง7 และทรู วิชั่นส์ ให้ดำเนินงานภายใต้สัมปทานเดิมไปก่อนจนกว่าจะครบสัญญาในปี 2563 ส่วนหน่วยงานภาครัฐที่มีรายได้จากค่าสัมปทาน อย่าง อสมท. และช่อง 5 นั้นจะต้องปรับบทบาทตนเองมาเป็นผู้ดำเนินการอย่างเดียว ทำให้มีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นจาก 2 รายการข้างต้น จากปัจจุบันที่ไม่มีค่าใช้จ่ายดังกล่าว
กลุ่มที่สอง การขอใบอนุญาตกิจการวิทยุและโทรทัศน์ที่ใช้ย่านความถี่ กลุ่มนี้จะต้องรอแผนแม่บทจัดสรรคลื่นอีกระยะหนึ่ง โดยมีปัจจัยสำคัญ คือ การเปลี่ยนระบบการส่งสัญญาณและภาครับสัญญาณในประเทศไทย จากอนาล็อกไปเป็นดิจิตอลในปี 2558 ซึ่งมีข้อกำหนดร่วมกันในเวทีการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน ที่ให้ทุกประเทศสมาชิกอาเซียนยกเลิกแพร่ภาพโทรทัศน์ระบบอนาล็อกในปี 2558
ทว่า ปัจจัยการเปลี่ยนโทรทัศน์สู่ดิจิตอลคงจะไม่ใช่เรื่องง่ายนัก เนื่องจากจะต้องลงทุนด้านอุปกรณ์การส่งสัญญาณ และการผลิตใหม่ทั้งหมด ทำให้ผู้ประกอบการที่ต้องการขอใบอนุญาตคลื่นความถี่กิจการธุรกิจโทรทัศน์ ซึ่งใช้งบลงทุนสูงอาจมีจำนวนไม่มาก เพราะต้องรอความชัดเจนของการเปลี่ยนระบบดิจิตอลและแผนแม่บทการประมูลคลื่น ความถี่โทรทัศน์ก่อน
กสทช. ทั้ง 11 คน จะเป็นกลางและโปร่งใสตามที่วาดหวังได้หรือไม่ คงต้องรอหลังจัดทำแผนแม่บทเสร็จและมีผลบังคับ เมื่อยกเลิกสัญญาทีวี วิทยุ ทั้งหมดแล้ว กฎหมายให้ กสทช.นำคลื่นดังกล่าวออกประมูลใหม่ และแบ่งคลื่นออกเป็นสามระดับ คือ ระดับชาติ ระดับภูมิภาค และระดับท้องถิ่น
ในเวลานั้นจึงจะเป็นเครื่องตัดสินว่า กสทช.จัดสรรคลื่นความถี่อย่างเสรี และเป็นธรรม ได้สมดังที่ทุกฝ่ายรอคอยหรือไม่

| WiseKnow | Knowledge Blog

ประชาธิปไตยไม่ใช่เอาแต่ใจ

     สังคมไทยในขณะนี้เชิดชูประชาธิปไตยกันมาก   อ้างเสรีภาพของพลเมืองกันจนเฟ้อ
    
      เสรีภาพในการแสดงออกซึ่งความคิดเห็น ความเชื่อของตน  แม้จะเป็นสิทธิพื้นฐานของพลเมือง    แต่การแสดงเสรีภาพก็มีเรื่องที่ควรคำนึงอยู่มากด้วย  

     อย่างเช่น  การแสดงความคิดเห็นนั้น   ไปละเมิดสิทธิ์คนอื่น   หรือไปให้ร้ายทำลายชื่อเสียงคนอื่น   ละเมิดกฎหมาย    ผิดประเพณีดีงามที่คนอื่นเขายึดถือเชื่อมั่นอยู่
     หรือถึงแม้ไม่ผิดกฏหมาย  แต่มันหมิ่นเหม่ต่อการสร้างความร้าวฉานในสังคม   ก็ควรจะระมัดระวังในการอ้างถึงเสรีภาพ
    
     ประชาธิปไตยนั้นจะมั่นคง  พลเมืองก็ต้องเสียสละสิทธิเสรีภาพส่วนตัวบางส่วน  และพลเมืองมีขันติธรรม

     ลัทธิประชาธิปไตยคือลัทธิแห่งขันติธรรม  โดยเฉพาะอย่างยิ่งได้แก่ความอดทนในความคิดเห็นของผู้อื่นที่ไม่ตรงต่อความ คิดเห็นของตน  เสรีภาพต่าง ๆ นั้นอาจมีได้ในระบอบการปกครองแทบทุกชนิด  แม้ในระบอบการปกครองแบบที่เด็ดขาดที่สุด  แต่ประเทศใดที่ผู้คนยังขาด ‘ขันติธรรม’ แล้ว   ประชาธิปไตยจะเกิดขึ้นได้ยากที่สุด  หรือพูดง่าย ๆ ว่าไม่ได้เลย   ประชาธิปไตยนั้นต้องมีแพ้มีชนะในทางการเมือง  หากผู้แพ้ขาดขันติธรรมอดทนต่อการพ่ายแพ้ไม่ได้  ประชาธิปไตยก็ไม่เกิด  หรือหากผู้ชนะนั้นขาดขันติธรรมอดทนต่อชัยชนะรวมทั้งอำนาจวาสนาซึ่งจะติดตาม มานั้นไม่ได้  ประชาธิปไตยก็จะยังไม่เกิดเช่นเดียวกัน
     พิจารณาเหตุการณ์ทางการเมืองของโลกทุกวันนี้แล้ว  ก็จะเห็นว่าทั่วทั้งโลกนั้นคนเราชักจะขาดขันติธรรมมากขึ้น     เมืองฝรั่งที่ว่าเคารพสิทธิมนุษยชน เคารพสิทธิส่วนบุคคลมาก    ก็เริ่มเกิดความวุ่นวายจลาจลขึ้นได้ง่าย ๆ  ความวุ่นวายในตะวันออกกลาง  แม้ว่าภาพภายนอกจะดูเหมือนว่าเป็นการปฏิวัติเรียกร้องประชาธิปไตย  แต่ความเป็นจริงก็คือความวุ่นวาย สงครามกลางเมือง พลเมืองเข่นฆ่ากันเอง  โดยยังไม่รู้ว่าสุดท้ายจะเกิดประชาธิปไตยขึ้นในประเทศเหล่านั้นจริงหรือ เปล่า 
     กล่าวสำหรับประเทศไทย   บ้านเมืองเราเกิดความเสียหายใหญ่หลวงมาแล้วสองสามปี    จากสาเหตุที่พลเมืองไทยส่วนหนึ่งขาดขันติธรรม  ก่อความรุนแรงวุ่นวายขึ้นต่าง ๆ  เวรนั้นย่อมก่อเวรตอบเป็นหลักธรรมดา   เมื่อฝ่ายหนึ่งใช้ความรุนแรงขึ้นมา  อีกฝ่ายหนึ่งก็ย่อมจะรุนแรงตอบ    
     ความคิดเห็นทางการเมืองอย่างรุนแรงนั้น   ย่อมเกิดปฏิกิริยาอย่างรุนแรงหรือการถอยหลังอย่างรุนแรงเช่นเดียวกัน
      
     นี่เป็นสภาพการเมืองของไทย  แต่ดู ๆ ไปแล้วก็เห็นว่าเป็นจริงในประเทศอื่น ๆ หลายประเทศด้วย  แม้ในเมืองฝรั่งที่เขาเป็นประชาธิปไตยดีนั้น  เขาปล่อยเสรีให้เป็นคอมมิวนสิต์กันก็ได้  ไม่มีใครเดือดร้อน  เพราะทุกฝ่ายรวมทั้งคอมมิวนิสต์เองนั้นด้วย     มีขันติธรรมเข้าหากัน  แต่ระยะนี้ก็ชักจะวุ่นวายขึ้น  เพราะความขาดขันติธรรมของพลเมือง

     ประชาธิปไตยย่อมไม่ใช่การ เอาแต่ใจตน    ประชาธิปไตยไทยที่กำลังฟื้นจากไข้หนัก   อาจจะกลับไปสู่ห้วงอันตราย  เพราะผู้คนจำนวนไม่น้อย  ละทิ้ง “โลกปาลธรรม”  อันได้แก่ หิริโอตตัปปะ  -ความละอายและเกรงกลัวต่อบาป 

ถวายฎีกาฯร้องทุกข์ทุกกรณีต้องตรวจสอบข้อเท็จจริง-ข้อกม.


การถวายฎีกาฯร้องทุกข์หรือการถวายทรัพย์สินทุกกรณีต้องมีการตรวจสอบข้อเท็จ จริงและข้อกฎหมายก่อน : กระดานความคิด โดย พล.ท.นันทเดช เมฆสวัสดิ์

            การถวายฎีกาของกลุ่มคนเสื้อแดงเพื่อขอพระราชทานอภัยโทษให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เมื่อกลางปี 2552 ซึ่งผ่านพ้นไปนานแล้ว แต่ปัญหาก็ยังไม่จบ เมื่อมีการนำเรื่องนี้ขึ้นมาพูดกันอีกในปัจจุบันนี้ โดยเฉพาะในประเด็นที่อาจจะสร้างความสับสนให้แก่ประชาชนว่า เมื่อสำนักพระราชวังรับฎีกาแล้ว ทำไมต้องส่งให้รัฐบาลตรวจสอบอีก ส่งไปให้กรมราชทัณฑ์ตรวจสอบแล้ว ทำไมยังไม่นำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย อะไรทำนองนี้ ผมจึงขอสรุปเหตุผลสั้นๆ จากประสบการณ์ที่เคยทำการตรวจสอบเรื่องลักษณะนี้มามากกว่า 200 เรื่องขึ้นไป สรุปได้ว่า

             การถวายเรื่องใดๆ ทูลเกล้าฯ ถึงในหลวง ต้องมีการตรวจสอบก่อนทุกชนิด ไม่ว่าจะยื่นผ่านสำนักพระราชวัง ยื่นระหว่างที่เสด็จฯ ไปทรงเยี่ยมราษฎร ฯลฯ เพราะมีผู้ทูลเกล้าฯ เรื่องต่างๆ มากมายในแต่ละวัน จึงต้องมีการกลั่นกรองหา “ข้อเท็จจริง” ของแต่ละเรื่องเสียก่อน ดังนี้
             1ฎีการ้องทุกข์ต่างๆ ต้องส่งให้สำนักข่าวกรองแห่งชาติ, ศรภ., สันติบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตรวจสอบก่อน เพื่อหาข้อเท็จจริงว่า จริง ไม่จริง ไม่เป็นการกลั่นแกล้งใคร เข้าหลักเกณฑ์หรือขัดแย้งกับหลักกฎหมายหรือวัฒนธรรมอะไรหรือเปล่า ธรรมเนียมปฏิบัติเป็นอย่างไร ฯลฯ
             2.ส่วนฎีกาขอพระราช ทานอภัยโทษ เมื่อผ่านขั้นตอนการตรวจสอบต่างๆ แล้ว ก็จะส่งให้กระทรวงยุติธรรมซึ่งเป็นต้นสังกัดของกรมราชทัณฑ์นำไปตรวจสอบก่อน ในประเด็นสำคัญว่า “นักโทษรู้สำนึกถึงควมผิดหรือไม่” ซึ่งหมายความว่า “นักโทษที่จะขอพระราชทานอภัยโทษนั้น จะต้องได้รับโทษมาแล้วระยะหนึ่ง จึงจะพิจารณาได้ว่านักโทษมีความประพฤติอย่างไร รู้สำนึกว่าตัวเองทำผิดมาหรือเปล่า”
             3.หนังสือขอถวายที่ดินหรือทรัพย์สินอื่นๆ กรณีนี้ก็ต้องตรวจ สอบว่ามีคดีฟ้องร้องติดมาด้วยหรือเปล่า หรือผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียกับผู้ถวายเต็มใจหรือไม่ ถ้าบริจาคแล้วจะมีฐานะยากจนลงหรือเปล่า ฯลฯ ถ้ามีผู้ไม่เห็นด้วยกับการถวายเพียงคนเดียว หรือบริจาคแล้วผู้บริจาคจะไม่มีความสะดวก สบายในการดำรงชีวิตก็จะทรงไม่รับบริจาค สำหรับที่ดินที่ได้รับเกือบทั้งหมดจะนำไปจัดทำเป็นที่ตั้งของหน่วยงานบริการ สาธารณะทั่วๆ ไป ถ้าที่ดินมาก ก็จะแบ่งให้ประชาชนไปทำมาหากิน ซึ่งปัจจุบันมีอยู่มากมายหลายจังหวัด (ผู้ตรวจสอบ คือ สำนักข่าวกรองแห่งชาติ, ศรภ. และสันติบาล เช่นเดิม)
             ทั้ง หมดนี้จะเห็นได้ว่า การถวายฎีกาหรือการส่งจดหมายทุกกรณี ต้องมีการตรวจสอบทุกเรื่อง ยกเว้นเรื่องเร่งด่วนที่รัฐบาลเป็นผู้นำเข้าขอรับคำปรึกษา จึงมีการนำขึ้นกราบทูล แต่ก็ต้องผ่านการตรวจสอบขององคมนตรีก่อนเช่นกัน
             ส่วน การขอรับการพระราชทานอภัยโทษให้คุณทักษิณนั้น ต้องมีหลักเกณฑ์เบื้องต้น ประกอบด้วย (1) ตัวนักโทษร้องขอเองหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียร้องขอมา หรือหน่วยงานราชการเป็นผู้ร้องขอมาด้วยเหตุผลที่เกี่ยวข้องกับ “ประโยชน์สาธารณะ” และ (2.) ผู้ที่ถูกร้องขอนั้นจะต้องรับโทษอยู่ในขณะที่ตัวเองร้องขอ (ยกเว้นโทษยาเสพติด หรือโทษที่มีลักษณะรุนแรงบางเรื่องที่มุ่งกระทำต่อความมั่นคงของชาติ) ดังนั้นกรณีการร้องทุกข์ของคุณทักษิณ โดยกลุ่มคนเสื้อแดงจึงไม่น่าจะเข้าหลักเกณฑ์ หรือแบบธรรมเนียมที่เคยปฏิบัติกันมาทั้ง 2 ข้อ อย่างไรก็ตาม ถ้าคุณทักษิณยอมรับหลักเกณฑ์ดังกล่าว ความสุขก็จะเกิดขึ้นกับคุณทักษิณ เอง และเกิดขึ้นกับประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศด้วย คุณทักษิณก็จะได้รับการยกย่องจากประชาชนส่วนใหญ่ เช่นเดียวกับนายเนลสัน แมนเดลา หรือนางออง ซาน ซูจี ซึ่งคุณทักษิณมักจะอ้างอิงยกเป็นตัวอย่างอยู่เป็นประจำ
             สถาบัน พระมหากษัตริย์ของประเทศไทยเรานั้น มีวิวัฒนาการในการปกป้องชาติและบำบัดทุกข์ บำรุงสุขให้ราษฎรมาเป็นเวลาที่ยาวนาน จนกลายเป็น “สัญลักษณ์” และ “เกียรติภูมิ” ของชาติไทยและคนไทยไปแล้ว เพราะในหลวงทรงให้ความยุติธรรมต่อประชาชนของพระองค์อย่างเท่าเทียมกันทุกคน ภายใต้กรอบของกฎหมายและจารีตประเพณี ประเทศไทยจึงมีเอกราช มีศักดิ์ศรีและทุนสำรองของชาติที่มั่นคง มาตราบเท่าทุกวันนี้


คม ชัด ลึก

รัฐบาลยิ่งลักษณ์กับการฟื้นฟูระบอบทักษิณ

by มุสิกะตะวัน ,




สุริยันต์ ทองหนูเอียด

เรา มีนโยบายชัดเจนทุกอย่าง จะเป็นไปตามหลักนิติธรรม และความเสมอภาคของทุกคนเท่าเทียมกัน ฉะนั้น ไม่ว่าจะเป็นด้านของพี่ชายของตนที่จะได้รับ ก็ต้องได้รับเหมือนทุกคน เท่าเทียมกัน
นี่คือ คำสัมภาษณ์ของยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ในระหว่างการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งที่ผ่านมา กรณีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะระบุว่ามีแผนบันได 4 ขั้นเพื่อให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ได้รับการนิรโทษกรรม โดยบอกว่าไม่ทราบว่าแผนบันได 4 ขั้น คืออะไรแต่ขอเรียนว่าพรรคเพื่อไทยเร่งดำเนินการแก้ไขปัญหาปากท้องประชาชน เป็นอย่างแรกส่วนการทำอะไรเพื่อคนๆ เดียวตนและพรรคคงไม่ยอมทำอย่างนั้น
ซึ่งเมื่อสื่อมวลชนถามว่า การนิรโทษกรรม ต้องทำหลังแก้ไขปัญหาให้ประชาชน ใช่หรือไม่
น.ส.ยิ่งลักษณ์ ผู้สมัคร สส.บัญชีรายชื่อหมายเลข 1 พรรค เพื่อไทยในขณะนั้นกล่าวว่า ใช่ ตรงนี้ยังไม่อยากให้พูด ถึงเรื่องนิรโทษกรรมในวันนี้ อยากให้มองว่าจะทำอย่างไรให้บ้านเมืองเข้าสู่ความสามัคคี
เกือบ หนึ่งเดือนที่ผ่านมา หลังจากที่พรรคเพื่อไทยได้เป็นรัฐบาลแล้ว ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนที่หนักที่สุด คือ ปัญหาน้ำท่วมในหลายในพื้นที่ของภาคเหนือ ภาคกลาง กทม. และปริมณฑล
แต่ สิ่งที่เราเห็นจากสื่อมวลชนในการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมของรัฐบาล ก็คือความล่าช้าที่ไม่สามารถรับมือกับวิกฤติของปัญหาขนาดใหญ่ได้ รัฐบาลและนายกรัฐมนตรี ก็ยังไม่ได้มีมาตรการเชิงรุกเหมือนเดิม
ซึ่งการจ่ายเงินช่วยเหลือแก่ผู้ประสบภัยน้ำท่วมของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ก็จ่ายครัวเรือนละ 5,000 บาท เหมือนเดิม ก็ไม่ต่างอะไรกับการช่วยเหลือของรัฐบาลที่แล้ว และไม่อาจเยียวยาชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้านให้ดีขึ้นกว่าเดิมได้ขณะที่ นักการเมืองบางคนก็ยังฉวยโอกาสหาประโยชน์จากสถานการณ์น้ำท่วมเหมือนเดิม ทั้งการโฆษณาสร้างเขื่อนเพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วม และการของบประมาณช่วยเหลือต่างๆ เป็นต้น
ใน ขณะที่ประชาชนกำลังสาละวนอยู่กับปัญหาน้ำท่วม นักการเมือง พรรคร่วมรัฐบาล กลับคิดถึงทักษิณ บ้างจัดคนไปให้กำลังใจที่ต่างประเทศ บ้างก็คิดชวนทักษิณมาเตะฟุตบอลกระชับมิตรไทย-กัมพูชา
สถานการณ์ที่น่ากังวลของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ที่ประกาศว่า แก้ไข ไม่แก้แค้น กลับเป็นกระแสโยกย้ายข้าราชการระดับสูง โดยอ้างการไม่รับความเป็นธรรมของคนเครือญาติและล้างคนในระบบเดิม
รวมไปถึงปูนบำเหน็จให้คนเสื้อแดงในตำแหน่งอำมาตย์ทางการเมือง และการแต่งตั้งคนเก่าของนายใหญ่อย่างพลตำรวจตรีสุรสิทธิ์  สังขพงศ์ เป็นกรรมการในคณะกรรมการสลากกินแบ่งรัฐบาล เป็นต้น
ในสถานการณ์จากภัยพิบัติและกระแสข่าวโยกย้ายข้าราชการระดับสูง ก็เกิดกระแสนิรโทษกรรมให้กับทักษิณเกิดขึ้น โดย ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี ได้ให้สัมภาษณ์กรณีการถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 5 กันยายน 2554 ที่ผ่านมาว่า
เรื่องนี้มีประชาชน ดำเนินการมาเกือบ 3 ปี มีรายชื่อ 3.6 ล้านรายชื่อ ไปยื่นที่สำนักพระราชวัง จากนั้นสำนักพระราชวังส่งกลับมาให้กรมราชทัณฑ์ตรวจสอบ อธิบดีกรมราชทัณฑ์ใช้เวลาตรวจสอบ 2 ปีเศษ ข่าวก็ออกมาว่า 1.6 ล้านรายชื่อไม่ตรง ตรงแค่ 2 ล้านรายชื่อ ซึ่งเป็นเรื่องเก่า ส่วนผู้ที่ออกมาแสดงความเห็นเรื่องกฎหมายนั้น พูดไม่รู้เรื่องเลย ถ้าอยากรู้ให้มาหาตน เดี๋ยวจะอบรมให้
ซึ่ง เมื่อสื่อมวลชนถามถึง กรณีโฆษกกระทรวงยุติธรรมระบุว่า หากเป็นผู้หนีคดีต้องรับโทษก่อนที่จะยื่นฎีกาขอ พระราชทานอภัยโทษ ร.ต.อ.เฉลิมตอบว่า นั่นเป็นแนวทางหนึ่ง ตนไม่ขออธิบาย
ผู้ สื่อข่าวรายงานว่า ร.ต.อ.เฉลิม ได้แจกเอกสารชี้แจงเกี่ยวกับการขอพระราชทานอภัยโทษ ระบุกฎหมายที่เกี่ยวข้องและผู้ที่สามารถทูลเกล้าฯ ถวายฎีกา คือ  ผู้ต้องโทษคำพิพากษา  ผู้มีประโยชน์เกี่ยวข้อง และคณะรัฐมนตรี  รวม ทั้งชี้แจงกรณีข้อถกเถียงที่ผู้หลบหนีไม่มาฟังคำพิพากษา และศาลได้อ่านคำพิพากษาลับหลังให้ลงโทษจำคุก มีสิทธิได้พระราชทานอภัยโทษหรือไม่ โดยระบุว่า  
1.ไม่มีบทบัญญัติกฎหมายใดห้ามผู้หลบหนีตามคำพิพากษาศาลยื่นถวายฎีกา, 2.ไม่มีบทบัญญัติกฎหมายใดกำหนดเงื่อนไขว่าจะต้องถูกจำคุกจริงๆนานเท่าใด จึงจะถวายฎีกาได้, 3.การ พระราชทานอภัยโทษเป็นพระราชอำนาจเฉพาะพระองค์ ไม่มีกฎหมายบัญญัติกรอบอำนาจพระมหากษัตริย์ว่าจะอภัยโทษในกรณีใดบ้าง คดีประเภทใดอภัยโทษได้ คดีประเภทใดอภัยโทษไม่ได้ หรือการอภัยโทษจะต้องมีเงื่อนไขใดบ้าง ต้องจำคุกมาแล้วนานเท่าใด, 4.เมื่อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการอภัยโทษมิได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่น การแปลกฎหมายว่า ผู้หลบหนีจะต้องมามอบตัวและรับโทษจำคุกเสียก่อน จึงขออภัยโทษได้นั้น เป็นการแปลกฎหมายตามความคิดเห็นส่วนตัว หรือเป็นการเข้าใจเอาเอง ทั้งๆ ที่ไม่มีกฎหมายบัญญัติห้ามไว้
การเคลื่อนไหวดังกล่าว นายถาวร เสนเนียม รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ได้เรียกร้องไปยัง ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี ว่าให้ยุติการบิดเบือนประเด็น การให้ข้อมูลที่ไม่ใช่ข้อเท็จจริงกับประชาชน และอ้างกฎหมายมหาชน เพื่อนำไปสู่การแก้ไขรัฐธรรมนูญ ในมาตรา 291 และ 309 โดยเฉพาะความพยายามของรัฐบาลที่จะออกกฎหมายนิรโทษกรรม เพื่อ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี
การ ปูนบำเหน็จคนใหม่และโยกย้ายเอาคนเก่าที่รับใช้นายใหญ่เข้าสู่อำนาจรัฐ นี่เป็นจุดเริ่มต้นของกระบวนการแทรกแซงข้าราชการประจำ ไปสู่องค์กรอิสระอื่นๆ หลังจากที่ยึดกุมรัฐสภาและพรรคได้แล้ว
นี่คือการฟื้นฟูระบบทักษิณใหม่ ผ่านสถานการณ์โลกรอบล้อมเรา คนเสื้อแดงและรัฐบาลเพื่อไทย

----------------------------------------

หมายเหตุตีพิมพ์ครั้งแรกในหนังสือพิมพ์แทบลอยด์ไทยโพสต์
คอลัมน์ชานชาลาประชาชนฉบับวันที่ 11– 17 กันยายน 2554
ขอขอบคุณภาพจาก tnews.co.th
รีโมท ซื้อ รีโมท จากผู้ค้าส่งโดยตรง ที่มีหน้าร้านจริง ที่ บ้านหม้อ และ คลองถม ราคาถูกกว่าใคร ปลอดภัย มีรับประกัน

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

บทความย้อนหลัง