ขออนุญาตเจ้าของกระทู้ครับ ขอนำรูปมาลงใหม่ เนื่องจากที่มีอยู่เดิมหายไป เพื่อให้กระทู้นี้ สามารถโชว์รูปที่หน้าเวบได้ ครับ
ขอบคุณภาพจากลิงก์ http://image.ohozaa.com/io/__fwdder_...3q86286350.jpg ครับ
หากรูปที่เรานำมาไม่เหมาะสม ขอชวนเจ้าของกระทู้เข้ามาแก้ไขได้ครับ

ท่านอานันท์ ปันยารชุน อดีตนายกรัฐมนตรี 2 สมัย ที่สอนมวยนักข่าวฝรั่งเรื่องในหลวงของเรา อย่างตรงไปตรงมาดุเด็ดเผ็ดมัน ชนิดที่คนถามมีสิทธหงายหลังได้ง่าย ๆ ... จึงขออนุญาตนำมาฝากชุมชนนี้คะ
...........................................................

มาร์วัน มาคาร แห่งอินเตอร์เพรส เซอร์วิส :
ข้อจำกัดประการหนึ่งสำหรับนักข่าวต่างประเทศเมื่อรายงานเรื่องสถาบันกษัตริย์ก็­คือกฎหมายว่าด้วยความผิดอาญาฐานหมิ่นพระบรมราชานุภาพ
คุณได้กล่าวถึงพระราชดำรัสวันเฉลิมพระชนมพรรษา พ.ศ.2548
พระองค์รับสั่งว่าพระเจ้าแผ่นดินก็อาจพลาดได้
แต่ผู้สื่อข่าวไทยไม่ได้จับมาเป็นประเด็นและยังคงทำงานข่าวอย่างที่เคยทำมาก่อน­หน้านั้น
คุณคิดว่าจะมีโอกาสไหมที่นักการเมืองชั้นนำของไทยจะนำทางโดยกล่าวว่าเรามีความเ­คารพในสถาบัน
แต่ไม่เห็นเหตุผลที่จะต้องมีกฎหมายแบบนี้
ซึ่งควบคุมการรายงานข่าวเกี่ยวกับสถาบันตามที่เป็นอยู่
และแผนที่รายงานเรื่องที่จะเกิดขึ้นในอนาคต


นายอานันท์ ปันยารชุน :
นี่เป็นคำถามค่อนข้างยาก
เหมือนกับว่าคุณจะเอาแต่ประโยชน์โดยไม่ยอมเสียอะไรเลย
ด้านหนึ่งคุณจะต้องคำนึงถึงเจตนารมณ์ของประชาชน
ผมใคร่จะเรียนว่าผมไม่ทราบว่ากฎหมายมาตรานี้เกิดขึ้นได้อย่างไร แต่ใน 2
วาระที่ผมเป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งผมมีโอกาสได้เฝ้าฯ
พระเจ้าอยู่หัวเป็นครั้งคราว
พระองค์ท่านไม่เคยรับสั่งแม้แต่ครั้งเดียวเรื่องที่มีการวิพากษ์วิจารณ์
ทั้งที่หลายเรื่องก็ไม่เป็นธรรม เรื่องเล็กๆ น้อยๆ
เหล่านี้พระองค์ท่านไม่เอามาเป็นเรื่องรบกวนพระทัย
และไม่ทรงเห็นว่าสำคัญพอที่จะหยิบยกขึ้นมาเป็นประเด็นกับนายกรัฐมนตรีของพระองค­์

อีกด้านหนึ่งคุณก็ต้องเข้าใจว่าบางเรื่อง
เฉพาะอย่างยิ่งในบริบทของตะวันตก ความขลังของสถาบันกษัตริย์
ซึ่งกำลังลื่นไหลไปตามกระแสหลักด้วยคิดว่ากษัตริย์ควรทำตนให้เหมือนสามัญชน
นั่นก็อาจเป็นเรื่องดี คนไทยเราไม่ขัดข้องในกระแสดังกล่าว
แต่ผมคิดว่าพวกคุณก็ต้องเคารพแนวคิดและขนบประเพณีของผู้คนในประเทศนี้
พระเจ้าอยู่หัวไม่เคยรับสั่งเรื่องนี้กับผมเลย
แต่ในความเห็นส่วนตัวผมเองก็ไม่ค่อยชอบกฎหมายนี้
เผอิญผมได้รับการศึกษาในต่างประเทศ และใช้ชีวิตในต่างประเทศ
แต่พวกคุณต้องเข้าใจว่าในประเทศนี้
พระมหากษัตริย์ดำรงอยู่ในสถานะที่จะล่วงละเมิดมิได้โดยเจตนารมณ์ของประชาชน
ผมเชื่อแน่ว่าพระองค์ท่านไม่เคยทรงวิตกว่ากฎหมายมาตรานี้จะมีอยู่หรือไม่
แต่คนไทยจะไม่ยอมแน่ พวกคุณอาจจะต้องคอยนานถึง 20 หรือ 50 ปี
แต่คนไทยไม่ว่าจะผิดหรือถูกจะไม่ยอมทน "คำวิพากษ์วิจารณ์"
พระเจ้าอยู่หัวของเราโดยเด็ดขาด นี่คือความรู้สึกของคนไทย

ถ้าหากคุณทำประชามติ (เรื่องนี้) ในวันพรุ่งนี้
คุณก็จะได้เห็นว่ามีการออกเสียงเห็นชอบเพิ่มมากขึ้นกว่าครั้งที่แล้ว
ผมคิดว่านี่เป็นลักษณะการคิดของคนไทย เป็นสิ่งที่ฝังรากลึกมากว่า 800 ปี
ซึ่งคงจะล้มล้างกันไม่ได้ง่ายๆ
บางครั้งผมอดที่จะอัศจรรย์ใจไม่ได้ว่าคนไทยเรานี่ดูจะเป็นคาทอลิกยิ่งเสียกว่าอ­งค์พระสันตะปาปา
(เสียงหัวเราะ)
ผมเชื่อเสมอว่าคนไทยเป็นพวกสนับสนุนระบอบราชาธิปไตยยิ่งกว่าพระเจ้าอยู่หัวเสีย­อีก
(เสียงหัวเราะ)

ไม่เพียงแต่ประชาชนคนไทยเท่านั้น
รัฐบาลไทยเองก็วิตกกังวลไปด้วยทุกครั้งที่มีหนังสือ
หรือสิ่งตีพิมพ์ออกมาใหม่ วิจารณ์พระเจ้าอยู่หัว
ผู้ที่เดือดร้อนที่สุดคือรัฐบาลซึ่งจะจัดการห้ามจำหน่ายหนังสือเล่มนั้น
ภาพยนตร์เรื่องนี้สกัดนั่น สกัดนี่ ทำไมหรือ
เหตุผลก็คือรัฐบาลเกรงว่าถ้าไม่ทำอะไรเลยจะถูกประชาชนตำหนิ
ทั้งนี้ทั้งนั้น คุณจะตำหนิรัฐบาลก็ไม่ถูกนัก
เพราะที่ทำไปก็เพียงตอบสนองความรู้สึกของประชาชน


โจนาธาน เฮด จาก บีบีซี :
ผมสังเกตว่าเมื่อคุณพูดถึงความสำเร็จต่างๆ
ของพระเจ้าอยู่หัว ความสำเร็จประการหนึ่งก็คือ
การแทรกแซงของพระองค์มีความสำคัญอย่างยิ่งยวดต่อความสงบ
และความกลมเกลียวกันของสังคม แต่คุณก็เคยพูดอย่างไม่เป็นทางการว่า
คุณเองไม่ค่อยมั่นใจในความกลมเกลียวนัก
ผมทราบมาว่ามีคนจำนวนไม่น้อยตำหนิสุภาพบุรุษท่านหนึ่ง
ซึ่งขณะนี้กำลังปลาบปลื้มกับการเป็นเจ้าของสโมสรฟุตบอลระดับยอดของบริติชพรีเมี­ยร์ลีก
ว่าเป็นต้นเหตุของความร้าวฉานส่วนใหญ่ในสังคม
ผมชักจะสงสัยว่าสังคมไทยได้เปลี่ยนแปลงไปมากจนเกินกว่าที่พระองค์จะมีส่วน ช่วยธ­ำรงความสามัคคีของสังคมไว้ได้ปัจจุบันสังคมได้ก้าวไปไกลมาก
และปัญหาก็ซับซ้อนเกินจะเยียวยาด้วยการแทรกแซงของพระองค์แล้ว

นายอานันท์ :
คุณโจนาธาน แม้ว่าคุณกับผมจะศึกษามาในสถาบันเดียวกันก็ตาม
(เสียงหัวเราะ) ผมต้องขออนุญาตเห็นต่าง ผมไม่เคยใช้คำว่า "แทรกแซง" เลย
สำหรับผมพระองค์ท่านทรงยึดตัวบทกฎหมายตามตัวอักษรและเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญอย่­างเคร่งครัด
เรื่องซึ่งชาวต่างประเทศมองว่าพระองค์ท่าน "แทรกแซง" ผมขอแยกออกเป็น 2
ประเภท ประเภทแรกเป็นการแทรกแซงที่ริเริ่มด้วยบุคคลผู้นั้นเอง
ในกรณีของพระเจ้าอยู่หัว การแทรกแซงเป็นการเข้าไปโดยมีผู้ร้องขอ
จะเห็นได้ว่ามีความแตกต่างกันเล็กน้อย อีกประการหนึ่ง
ตลอดระยะเวลาที่ผมทำหน้าที่นายกรัฐมนตรีทั้ง 2 ครั้งนั้น
ผมได้มีโอกาสเข้าเฝ้าฯ ถวายรายงาน ไม่เคยมีรับสั่งใดๆ
แม้แต่ครั้งเดียวที่เกี่ยวข้องกับการเมืองของประเทศ
หากจะมีครั้งใดที่ทรงรู้สึกว่าอาจจะก้าวล้ำขอบเขต
พระองค์ท่านก็ทรงยับยั้งไว้ในกรอบวินัยที่ทรงตั้งไว้ จะรับสั่งกับผมว่า
"นี่เป็นเรื่องที่นายกฯ มาขอความเห็นนะ"

ฉะนั้น เมื่อผมเขียนสุนทรพจน์ครั้งนี้ ผมได้ชี้ให้เห็นชัดว่าไม่ใช่
"ปรึกษานายกรัฐมนตรี" แต่ "ขอเข้าเฝ้าฯ ปรึกษา"
ถ้าไม่ใช่เป็นเรื่องที่นายกรัฐมนตรีนำขึ้น
พระองค์จะไม่พระราชทานคำปรึกษาใดๆ เลย
หากจะทรงมีความเห็นก็จะให้เฉพาะเรื่องที่ทูลถามเท่านั้น
มีบางคนที่ไม่ได้มาจากประเทศที่มีกษัตริย์
หรือมาจากประเทศที่กษัตริย์ลดบทบาทลงตามกระแสความคิดของส่วนนั้นๆ ของโลก
แต่สำหรับประเทศไทย สถาบันกษัตริย์เป็นแบบกลางๆ
ยังคงรักษาพระราชพิธีและพระราชประเพณี ยังคงมีพิธีกรรมและพิธีการ
แต่กระนั้น กษัตริย์และพระราชวงศ์จะใกล้ชิดประชาชนกว่ากษัตริย์ในประเทศอื่นๆ
แม้ว่าในบางประเทศกษัตริย์และราชวงศ์จะปฏิบัติองค์ดั่งสามัญชน
เช่นขี่จักรยาน หรือไปซื้อของตามห้างร้านเหมือนคนทั่วไปก็ตาม
ในหลวงของเรารู้จักชีวิตความเป็นอยู่ของราษฎรของพระองค์เป็นอย่างดี
ทรงเข้าใจความคิดจิตใจของคนธรรมดาสามัญ
จนมีคำติติงว่าทรงให้เวลากับชาวไร่ ชาวนา คนยาก คนจน
มากกว่าให้เวลากับชาวเมือง
ในหลวงทรงเชื่อว่าประเทศไทยไม่ใช่เพียงผู้คนในกรุงเทพฯ
ประเทศไทยคือดินแดนในชนบท

ถ้าคุณได้เรียนรู้พระราชประวัติ และพระราชกรณียกิจต่างๆ ตลอดระยะ 60
ปีที่ผ่านมา จะเห็นว่าพระองค์ทรงมุ่งเป้าไปที่ชนบทและชาวบ้าน
ผู้ยากไร้ขัดสน พระองค์เป็นกษัตริย์พระองค์เดียวที่อาจจรรโลงเกียรติแห่งสถาบันนี้ไว้ได้
แต่ก็ยังแนบสนิทกับราษฎรยิ่งกว่ากษัตริย์พระองค์ใดในโลก


จอห์น ฮาร์เกอร์ - สมาชิก FCCT มาหลายทศวรรษ (นักข่าวอิสระ) :
ผมอยากถามความเห็นของคุณในการรายงานข่าวของผู้สื่อข่าวต่างประเทศเรื่องการปฏิว­ัติเมื่อเดือนกันยายนปีที่แล้ว

นายอานันท์ :
ความจริงผมคิดไม่ถึงเลยว่าจะมีโอกาสได้เห็นว่านักสังเกตการณ์ชาวตะวันตก เริ่มจะ­คิดเรื่องประชาธิปไตยทำนองเดียวกับคุณทักษิณ (เสียงหัวเราะและปรบมือ) ผมเป็นนักศึกษาในประเทศอังกฤษ 7 ปี
อยู่ในประเทศอเมริกา 12 ปี และเดินทางไปทั่วโลกในระยะเวลา 50 ปี
ผมมักถูกกล่าวว่าเป็นคนไทยนิสัยฝรั่ง อย่างไรก็ตาม
ผมไม่เคยคิดว่าคนตะวันตกจะคิดแบบง่ายๆ ขนาดที่คิดว่าสามารถจะยัดเยียดประชาธิปไตยให้กับอิรักได้
ต้องการเปลี่ยนทั้งโลกให้เป็นประชาธิปไตยด้วยการปลูกฝังกระบวนการ
ผมคิดไม่ถึงเลยว่าคนตะวันตกบางคนจะถือเอาว่าการเลือกตั้งคือประชาธิปไตย

ในที่นี้บางคนอาจได้อ่านบทสัมภาษณ์ของผมที่ลงพิมพ์ในบางกอกโพสต์
เมื่อวันเสาร์ที่แล้ว เราสนใจเพียงรูปแบบ มีรัฐธรรมนูญ มีการเลือกตั้ง
มีฝ่ายบริหาร ฝ่ายนิติบัญญัติ และฝ่ายตุลาการ เท่านั้นหรือ เราไม่รู้
หรือลืมไปแล้วว่าประชาธิปไตยนั้น เป็นเรื่องของสังคมเปิด
เรื่องหลักนิติธรรม เรื่องความโปร่งใส เรื่องเสรีภาพของสื่อมวลชน
เรื่องภาระความรับผิดชอบ
เรื่องการมีส่วนร่วมเรื่องความเป็นอิสระของฝ่ายตุลาการ
เรื่องการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน เรื่องการถ่วงดุลอำนาจ
ผมรู้สึกงงงวยอย่างมากกับสิ่งที่เกิดขึ้นทั่วโลกในช่วงไม่กี่ปีมานี่
เราพากันหลงทางจนขนาดไม่รู้ว่าเรามาจากไหน เราเป็นใคร
และเรากำลังจะไปไหนแล้วหรือ เราลืมค่านิยมต่างๆ ของเราแล้วหรืออย่างไร
เราเบาปัญญาขนาดนั้นเทียวหรือ
ผมไม่กังวลหรอกว่าอะไรจะเกิดขึ้นกับประเทศไทยในอนาคต
ที่ผมกังวลอย่างยิ่งก็คือ โลกของเราจะเป็นอย่างไร
นี่เป็นคำถามที่สาหัสสากรรจ์ที่คุณต้องถามตัวเอง
เรากำลังจะก้าวไปในทิศทางใด เราลืมหลักการพื้นฐานไปเสียแล้วหรือ
เราลืมหลักศีลธรรมไปเสียแล้วหรือ

ดอมินิก โฟลเดอร์ แห่งเอเชีย อิงก์ : ในคำนำของเดนิส (เกรย์)
ในหนังสือเล่มนี้ มีข้อสังเกตว่าพระเจ้าอยู่หัวได้การโฆษณาประชาสัมพันธ์มากมายชนิดที่หลายต่อหลา­ยคนได้แต่ฝัน
และหากคุณพิจาณาจากช่วงเวลา 60 ปีมานี่
คุณลงความเห็นได้ไหมว่าสถาบันกษัตริย์ในประเทศไทย
ในกาลข้างหน้าจะอยู่ในสภาพมั่นคงดีต่อไปเช่นที่พระองค์ท่านได้ดำเนินการไว้


นายอานันท์ :
ผมพูดอยู่เสมอว่าสถานภาพของพระเจ้าอยู่หัวของเราที่สูงขึ้นถึงระดับนี้หลังจากค­รองราชย์มา
60 ปี เป็นผลมาจากบารมีที่พระองค์ทรงสร้างมา มิได้เป็นเรื่องการสืบทอด
เมื่อพระองค์เสด็จขึ้นครองราชย์ในวัยเพียง 17-18 พระชันษา
ไม่มีใครคาดเดาได้ว่าพระองค์จะเป็นประมุขของชาติแบบใด
แต่ผมคิดว่าด้วยพระปรีชาสามารถ พระวิริยอุตสาหะ และมุ่งมั่น
พระองค์ทรงได้จำเริญขึ้นเป็นพระเจ้าแผ่นดินที่ดี
เมื่อกล่าวถึงพระเจ้าอยู่หัวของเรา
พระองค์ท่านไม่เพียงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่
แต่ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ดีด้วย ผมขอชี้ว่ามีความแตกต่าง
เพราะผู้ใดผู้หนึ่งอาจเป็นบุคคลที่ยิ่งใหญ่
ทั้งที่มีข้อบกพร่องและข้อเสียหลายประการ
แต่ถ้าหากเราพูดว่าผู้นั้นเป็นคนดีสำหรับผมมีความหมายมากกว่า ฉะนั้น
เมื่อเรากล่าวถึงพระองค์ท่านว่าทรงเป็นกษัตริย์ที่ดี
จึงมีความหมายลึกซึ้งกว่าที่กล่าวว่าพระองค์ท่านเป็นพระมหากษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่
การจะเป็นพระมหากษัตริย์ที่ดี เป็นคนดี
เป็นเรื่องที่จะต้องได้มาด้วยอุตสาหะของตนเอง
ไม่ใช่สืบทอดมาแต่อย่างไรก็ตาม
สถาบันพระมหากษัตริย์นั้นซึมลึกอยู่ในประเทศไทยและความเป็นไทย
ผมมั่นใจว่าสถาบันนี้จะยังคงอยู่ในสภาพสมบูรณ์และดำเนินต่อไป

มาถึงประเด็นที่ว่าผู้ใดจะเข้ามาแทนที่
และผู้นั้นจะพยายามทำได้ดีเท่าองค์ปัจจุบันไหม
ผมว่าไม่ค่อยยุติธรรมนักที่จะคาดหวังว่าผู้สืบทอดตำแหน่งนี้
จะสามารถเดินตามรอยเท้าของบุคคลที่ยิ่งใหญ่ได้
ถ้าหากคุณดูผู้นำระดับโลกที่มีบุตรชายและหญิงเดินตามรอยเท้าพ่อ อย่างเช่น
เชิตชิลล์ ผมว่ามันไม่ยุติธรรมที่จะคาดหวังว่าบุตรธิดาเหล่านั้นจะประสบความสำเร็จอย่างพ่­อ
กระนั้นก็ตาม ผู้ที่สืบทอดราชบัลลังก์คงจะพยายามจนสุดความสามารถที่จะทำให้ได้เทียมเท่าในหลว­งพระองค์นี้
จะสำเร็จหรือไม่เพียงใดนั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง
คำถามคือว่าผู้นั้นจะพยายามทำหรือไม่ และจะสำเร็จแค่ไหน
ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่อาจคาดเดาได้
และถึงแม้ว่าผู้นั้นจะพยายามแล้วแต่ไม่สำเร็จ
เขาผู้นั้นก็ยังคงเป็นพระเจ้าแผ่นดินได้
เป็นประมุขของสถาบันซึ่งจะคงอยู่ถาวรในประเทศไทย
ประชาชนจะยังคงรับได้ว่าเรามีพระเจ้าแผ่นดินที่ทรงสง่าราศี
แม้จะมีข้อจำกัดบางประการ
เราก็ยังคงเคารพนับถือว่าเป็นพระเจ้าแผ่นดินของเรา

นี่แหละที่ผมเห็นว่าเป็นการขัดแย้งในตัวเองของผู้สื่อข่าวและผู้สังเกตการณ์ต่า­งประเทศ
ทางหนึ่งพวกคุณตำหนิพระเจ้าอยู่หัวพระองค์นี้ว่า "แทรกแซง"
อีกทางหนึ่งคุณก็คล้อยตามคนไทย
และอาจจะไม่รู้ตัวว่ายังต้องการพึ่งพระราชอำนาจของพระองค์อยู่
พวกคุณไม่อาจจะเอาแต่ประโยชน์โดยไม่ยอมเสียอะไรเลย
ถ้าหากคุณไม่ต้องการให้พระเจ้าอยู่หัวพระองค์นี้ "แทรกแซง"
การที่พระเจ้าอยู่หัวองค์ต่อไปไม่ทรง "แทรกแซง" จะไม่ถูกต้องได้อย่างไร
ผมไม่แน่ใจว่าคำชี้แจงของผมชัดเจนหรือไม่ ที่ผมจะอธิบายก็คือ
พระบารมีของพระมหากษัตริย์เป็นสิ่งที่สร้างสมมาด้วยพระองค์เอง
เป็นสิ่งที่สืบทอดกันไม่ได้
ผู้ที่สืบทอดตำแหน่งต่อจากพระองค์อาจจะพยายามสร้าง
แต่จะสำเร็จหรือไม่ก็ได้ ถ้าหากไม่สำเร็จก็ไม่มีเหตุผลที่เราจะไม่พอใจ
ผู้นั้นยังคงอยู่เป็นพระเจ้าแผ่นดิน เป็นสัญลักษณ์ของสถาบัน

แต่พวกคุณไม่อาจจะกล่าวว่าเราคนไทยหวังพึ่งพระเจ้าแผ่นดินพระองค์นี้อย่างมาก
จนจะเกิดสุญญากาศหากขาดพระองค์ท่านไป
คุณตัดสินใจเองก็แล้วกันว่าต้องการพระเจ้าอยู่หัวที่มีบทบาทหรือนิ่งเฉย
คุณเองก็ตกอยู่ในกับดักเช่นเดียวกันกับคนไทยทั้งหลาย
คุณเองก็เริ่มที่จะจู้จี้ช่างเลือก ผมเคารพในสถาบันกษัตริย์
แต่ความเคารพหลักของผมคืออะไร ความเคารพหลักของผมคือสถาบัน
และถ้าเรามีพระมหากษัตริย์ผู้ทรงบารมีเช่นนี้ถือว่าเป็นรางวัลพิเศษ


เดนิส เกรย์ แห่งสำนักข่าวเอพี :
คุณคงทราบว่าคนไทยเกือบทุกคนและฝรั่งที่อยู่ในประเทศนี้
มักแสดงความวิตกกังวลว่า หากประเทศไทยไม่มีในหลวงก็จะมีแต่ความวุ่นวาย
มีปัญหา บางคนก็ว่าอาจถึงขั้นจลาจล


นายอานันท์ :
ก็เป็นฝรั่งพวกเดียวกันนี่แหละที่พร่ำบ่นว่าพระเจ้าอยู่หัวทรง "แทรกแซง"
ในเรื่องนั้น เรื่องนี้ แต่เมื่อไม่มีพระองค์ท่านแล้วก็จะพร่ำหา
เลือกเอาก็แล้วกันว่าต้องการอะไรกันแน่ แต่สำหรับตัวผมนั้นบอกได้เลยว่า
อะไรก็ตามที่พวกคุณกล่าวหา ล้วนไม่เป็นความจริง
พระองค์ท่านไม่เคยแทรกแซงในเรื่องใดๆ ทั้งสิ้น
พระองค์ท่านไม่มีวาระซ่อนเร้น

เดนิส เกรย์ แห่งสำนักข่าวเอพี :
ม่เว้นแต่ละวันที่ผมและเพื่อนๆ นักข่าว
บางทีคุณ หรือคนไทยบางคนจะพูดกันว่า แย่มากเลยนะถ้าประเทศไทยไม่มีในหลวง
เพราะประเทศจะวุ่นวายโกลาหล จริงไหมครับ

นายอานันท์ : คุณต้องเข้าใจนะ ผมก็เป็นคนส่วนน้อย
ผมเบื่อพวกนักข่าวต่างประเทศเสียจริงๆ (เสียงหัวเราะ เสียงปรบมือ)
แต่ผมก็เบื่อพวกคนไทยมากกว่า
ผมพูดที่โต๊ะอาหารว่าครั้งหนึ่งพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำรัสว่า
จะครองแผ่นดินโดยธรรมเพื่อประโยชน์สุขของมหาชนชาวสยาม ตลอดเวลา 15
ปีที่ผ่านมา ผมได้พยายามที่จะชี้ให้เห็นความแตกต่างระหว่าง "ประโยชน์"
ซึ่งหมายถึงผลประโยชน์ทางวัตถุ และ "ความสุข"
ซึ่งเป็นสิ่งที่คุณพอใจหรือไม่

ถ้าคุณวัดจีดีพีของประเทศ
ผลที่ได้จะไม่สะท้อนพัฒนาการของประชาชนอย่างแท้จริงเลย
คุณต้องดูดัชนีวัดความสุขของประชาชน แบบที่ทำกันที่ภูฏาน
ผมเคยเชื่อเสมอมาจนกระทั่ง 2-3 ปีที่แล้ว
ถ้าคุณวัดประเทศไทยตามดัชนีวัดความสุขมวลชนของประเทศ
คุณก็จะพบว่าแทนที่จะอยู่ในลำดับที่ 65 ตามจีดีพี
เราก็จะขึ้นไปอยู่ประมาณลำดับที่ 25 หรืออาจจะถึง 20 ก็ได้

แต่ผมต้องยอมรับว่าผมเลิกความคิดนี้แล้ว เพราะผมไม่สามารถเข้าใจคนไทยได้
(เสียงหัวเราะ) จะด้วยเหตุใดก็ตาม คนไทยไม่เพียงแต่จะมองสิ่งต่างๆ
ไปในแง่ร้ายเท่านั้น แต่ยังชอบลงแส้ทรมานตนอีกด้วย
เรามีการลงประชามติเรื่องรัฐธรรมนูญ ทันทีที่ผลออกมา
คนพวกนี้ก็เป็นกังวลว่าผลออกมาไม่ดี
เพราะเสียงส่วนใหญ่ที่เห็นชอบนั้นมีเพียง 57% เสียงที่ไม่เห็นชอบประมาณ
41% คะแนนเสียงต่างกัน 15%
และถ้าดูจำนวนเสียงทั้งหมดจะเห็นว่าเป็นความแตกต่างระหว่างเกือบ 15
ล้านเสียง กับ 11 ล้านเสียง ซึ่งก็คือส่วนต่าง 15% ของผู้ที่ออกไปลงเสียง
4 ล้านเสียง ถ้าคุณอ่านหนังสือพิมพ์ไทย อ่านบทความ
ฟังรายการวิพากษ์วิจารณ์ข่าว ล้วนแสดงความคิดเห็นว่าเสียงต่างกันน้อยมาก
ซึ่งผมไม่เข้าใจเลยจริงๆ
อีกประการหนึ่งทันทีที่ผลการลงประชามติออกมาส่วนใหญ่รับร่างรัฐธรรมนูญ
ก็มีการพูดถึงรัฐประหารครั้งต่อไป (เสียงหัวเราะ) ผมถามว่าพลาดตรงไหน
มันเป็นเรื่องที่ไม่สามารถจะอธิบายได้
เป็นเรื่องไร้ตรรกะและเหตุผลโดยสิ้นเชิง
ผมให้คำตอบเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ผมโทษคุณทักษิณ
(เสียงหัวเราะและเสียงปรบมือ)


จอห์น แอลลัน เรย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น :
คุณอานันท์ได้ชี้แจงและพูดถึงสถาบันกษัตริย์ และพระราชอำนาจของกษัตริย์
ผมสังเกตว่าตลอดเวลาคุณอานันท์ใช้สรรพนามเพศชายในภาษาอังกฤษ
เป็นไปได้ไหมในอนาคตที่ยาวนานจะมีการใช้สรรพนามเพศหญิง


นายอานันท์ :
ผมไม่เห็นมีอุปสรรคใดๆ ในอนาคต
ผมไม่ทราบว่ารัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันระบุไว้ว่าอย่างไร
ผมชื่อว่าเป็นผู้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับที่แล้ว
ผมไม่คิดว่าคนไทยจะเห็นเป็นเรื่องขบคิดกันมาก ไม่เหมือนชาวญี่ปุ่น
ซึ่งในเรื่องนี้ถึงกับมีสงครามกลางเมือง
ดูกรณีที่เจ้าชายชาวญี่ปุ่นองค์หนึ่งโทษนิสัยโปรดปรานการดื่มน้ำเมาของพระองค์ว­่าเกิดจากประเด็นที่ว่าสตรีอาจจะขึ้นครองบัลลังก์ได้
เราไม่เคร่งครัดถึงปานนั้น
ประการหนึ่งคนไทยไม่เอาจริงเอาจังกับเรื่องอย่างนั้น
ใครที่มาเมืองไทยและเอาจริงเอาจังกับคนไทยแล้วค่อนข้างจะอันตรายกับตนเองสักหน่­อยนะ
(เสียงหัวเราะและปรบมือ)

บทส่งท้าย

นายอานันท์ : เรื่องหนึ่งซึ่งผมไม่ค่อยสบายใจนักคือ
มีการกล่าวถึงพระเจ้าอยู่หัวว่าไม่เคยเห็นแย้มพระสรวล
ผมคิดว่าเป็นข้อจำกัดอันเนื่องมาจากธรรมเนียมประเพณีและความเคารพในพระองค์ท่าน
มีบุคคลไม่กี่คน
บทความหรือบทสัมภาษณ์ไม่กี่ชิ้นที่สามารถถ่ายทอดให้คนทั่วไปได้เห็นด้านที่ผ่อน­คลายของพระองค์
ผมจะเล่าเกร็ดเล็กๆ น้อยๆ ให้ฟังสัก 2-3 เรื่อง
ปกติแล้วผมจะไม่เปิดเผยเรื่องที่พระเจ้าอยู่หัวรับสั่งกับผมในฐานะนายกรัฐมนตรี
แต่ผมว่าสมควรในกรณีนี้เพื่อที่เราจะได้รู้จักพระองค์ท่านดีขึ้นในฐานะมนุษย์ธร­รมดา

เรื่องแรกนั้นเกิดขึ้นเมื่อผมทำหน้าที่เป็นประธานคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญฉบับ
2540 มีบางเรื่องซึ่งผมคิดว่าพระเจ้าอยู่หัวจะสนพระทัย
เมื่อฉบับร่างเสร็จสมบูรณ์แล้ว ผมได้ขอเข้าเฝ้าฯ ทูลเกล้าฯ ถวายรายงาน
และยก 3-4 ประเด็นที่คิดว่าจะสนพระทัย แต่พระองค์ท่านไม่ได้สนพระทัยนัก
แน่นอนพระองค์สนพระทัยประเด็นที่ว่าจะตราพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติหรือไม­่
นอกเหนือจากนั้นก็ไม่ค่อยสนพระทัยเรื่องที่ผมรายงานสักเท่าใด
ตอนสุดท้ายพระองค์รับสั่งว่า "คุณอานันท์
มันแปลกดีนะที่ในรัฐธรรมนูญฉบับนี้
กำหนดไว้ว่าพระมหากษัตริย์จะต้องเป็นพุทธมามกะ ต้องเป็นอัครศาสนูปถัมภก
ต้องเป็นนั่น ต้องเป็นนี่
แต่ไม่มีตรงไหนในรัฐธรรมนูญฉบับนี้ระบุว่าพระมหากษัตริย์ต้องเป็นคนไทย" (เสียงหัวเราะและปรบมือ)
ผมขอท้าพวกคุณว่าในบรรดาคนไทย 62 ล้านคน
มีใครไหมที่ปราดเปรื่องคิดถึงรายละเอียดด้านเทคนิคเล็กๆ น้อยๆ เช่นนี้

อีกเรื่องหนึ่งเมื่อผมเข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในวาระที่ 2
โดยอุบัติเหตุอีกนั่นแหละ (เสียงหัวเราะ) ในการเข้าเฝ้าฯ ครั้งแรก
ผมถวายคำนับแล้วลงกราบพระบาท พอผมยืนขึ้น ทรงรับสั่งว่า "Shane, come
back" (เสียงหัวเราะ)
พวกคุณที่อายุไม่มากนักอาจจะไม่รู้เรื่องเชนว่าเป็นมาอย่างไร
เชนเป็นภาพยนตร์ที่พวกเราได้ชมกันเมื่อ 40 หรือ 50 ปีก่อน
เชนเป็นคนเที่ยงธรรม เป็นนายอำเภอของเมืองเมืองหนึ่งที่มีปัญหาหนักมาก
เขาทำให้เมืองสงบเรียบร้อย กวาดล้างมือปืนวายร้าย
แล้วก็วางอาวุธปลดเกษียณตัวเองไปอยู่ในชนบท
แต่ความวุ่นวายก็เกิดขึ้นในเมืองนั้นอีก เราเลยพูดกันติดปากว่า "Shane,
come back" (เสียงหัวเราะและปรบมือ)


ที่มา : บทสัมภาษณ์ ฯพณฯ อานันท์ ปันยารชุน
"พระมหากษัตริย์ที่ดีและยิ่งใหญ่" จากหนังสือพิมพ์ไทยโพสต์
ฉบับวันจันทร์ที่ 24 กันยายน 2550

หมายเหตุ : คำถาม-คำตอบ ฯลฯ อานันท์ ปันยารชุน อดีตนายกรัฐมนตรี
หลังการกล่าวแนะนำหนังสือเรื่อง The King of Thailand in World Focus
กับผู้สื่อข่าวต่างประเทศ ที่โรงแรมโอเรียนเต็ล