บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันอังคารที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

สสร. ... อรหันต์รัฐธรรมนูญ?"


รายการคมชัดลึกจัดถก "สสร. ... อรหันต์รัฐธรรมนูญ?" ประธานวิปรัฐบาลยันไม่มีใครแตะหมวดพระมหากษัตริย์แน่ เตรียมหาช่อง"ทักษิณ"แสดงความเห็น "ธิดา" ยัน นปช.ทำหน้าที่กระตุ้นพรรคการเมืองที่ค้านแก้เตรียมจัดม็อบกระทุ้ง พันธมิตรห่วงล้างความผิด
27ก.พ.2555 รายการคมชัดลึกทางเนชั่นทีวี จัดรายการเรื่อง สสร. ... อรหันต์รัฐธรรมนูญ? โดยมีผู้ร่วมรายการประกอบด้วยนายอุดมเดช รัตนเสถียร ประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล ส.ส.นนทบุรี พรรคเพื่อไทย นายเดโช สวนานนท์ อดีตสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ สสร. พ.ศ.2540 และ 2550 นายเสรี สุวรรณภานนท์ อดีต สสร. พ.ศ.2540 และ 2550 นางธิดา ถาวรเศรษฐ ประธาน นปช. นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ โฆษกพันธมิตรฯ


นายอุดมเดช กล่าวว่า กระบวนการเลือก สสร.เป็นเรื่องของประชาชนที่จะเลือกในแต่ละจังหวัด แต่ขณะนี้กรรมาธิการยังไม่มีการถกเถียงว่าใครเป็นประธาน ใครเป็นโฆษก ที่หลายคนกังวลว่าจะมีการซื้อเสียงเป็นสสร.นั้น ตนเห็นว่าไม่เป็นประโยชน์ เพราะที่ได้ร่างไว้คือ ทำงานแค่ 160 วัน แล้วใครจะใช้เงิน 6 แสนเพื่อย้อนไปซื้อเสียง ซึ่งทั้ง 3 ร่างมีเวลาใกล้เคียงกันคือ 130 วัน ซึ่งก็มีผู้แสดงความเป็นว่าน้อยเกินไป ควรเป็น 180 วัน ซึ่งกมธ.ก็คงฟังโดยยึดร่างของรัฐบาลเป็นหลัก และไปทำประชามติ ส่วนของพรรคชาติไทยพัฒนาที่บอกว่าเมื่อร่างเสร็จแล้วให้นำเข้าสภาให้ความเห็นชอบ หากไม่เห็นชอบจึงทำประชามติ ซึ่งในร่างของพรรคเพื่อไทยใน ม.291/11 ว่าหากมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ก็ให้ตกไป แต่หากกังวลก็ให้กมธ.ไปร่างเลยว่าห้ามแตะในส่วนนี้ แต่ถ้าไปเขียนป้องกันไว้หมดก็ไม่ต้องแก้กันแล้ว ส่วนกฎหมายจะผ่านสภาเมื่อใดนั้น หาก กมธ.ใช้เวลา 1 เดือนหากเสร็จก็ส่งกลับเข้ามาในวาระ 2 หลังจากนั้นทิ้งไว้อีก 15 วัน จึงลงมติในวาระ 3 โดยใช้เวลาเกือบ 2 เดือน แต่กมธ.ใช้เวลาเกิน 1 เดือนแน่นอน เพราะให้มีการแปรญัตติ ดังนั้นสิ่งที่กังวลยังมีเวลาพิจารณาอีกเยอะ

"ความเห็นอะไรที่สังคมรับได้ กมธ.ก็พร้อมจะทำ เพราะต้องการให้กระบวนการแก้รธน.เป็นที่ยอมรับของคนส่วนใหญ่ ที่อ้างว่า รธน.50 มีการทำประชามตินั้น เราจึงกำหนดว่าเมื่อรธน.ที่ร่างมาแล้วต้องทำประชามติด้วย ถ้าเสียงส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยก็มาว่ากัน ไม่ใช่บีบบังคับว่าต้องเป็นไปตามที่ สสร.ร่างมา สำหรับในหมวดพระมหากษัตริย์นั้น ไม่มีใครไปแตะต้องอยู่แล้ว แต่หยิบยกมาพูดเพื่อให้เกิดกระแสต่อต้าน ให้เกิดแนวร่วม ซึ่งสสร.ที่จะเกิดขึ้น จะร่างอย่างไรให้สังคมยอมรับ เพราะยังมีการทำประชามติอยู่ ส่วนจะแก้มาตราไหนก็ว่ากันไป" อุดมเดช กล่าวและว่า
ตนคิดว่ามีหลายมาตราที่จะผ่าน โดยหลังจากมีการเลือกตั้ง สสร. ในการทำประชาพิจารณ์ทุกคนมีสิทธิแสดงความคิดเห็น ส่วนพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ให้ความเห็นได้หรือไม่นั้น ตนยังไม่ได้คุยกับ พ.ต.ท.ทักษิณ

นายเดโช กล่าวว่า เป็นภารกิจของสสร. ซึ่งปี 2540 ก็มีการกล่าวหาว่า ส.ส.ร.เป็นคนของพรรคการเมืองนั้นพรรคการเมืองนี้ โดยมาจากการเลือกตั้งทางอ้อม ซึ่งต่างจากสสร.ครั้งนี้ที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนโดยตรง และก็ไม่พ้นข้อครหาว่าเป็นคนของพรรคการเมือง จึงอยู่ที่กกต.ว่าจะตรวจสอบอย่างไร ซึ่งคนที่เคยเลือกตั้งแล้วจะรู้ดีว่าไม่มีใครที่จะสุ่มเสี่ยง หากไม่เป็นที่รู้จักของชาวบ้าน ก็คงไม่ลง จึงอย่าไปคิดว่าประชาชนเลือกไม่เป็น เช่น ในการเลือก ส.ว. ที่ห้ามให้หาเสียงให้ใช้วิธีแนะนำตัว จึงอยู่ที่กกต.จะกำหนด คนที่ไม่เป็นที่รู้จัก แล้วโดดสมัครหวังฟลุคก็คงยาก เพราะไม่ได้เป็นผู้แทนราษฎร ตัวรธน.ไม่ใช่วิชาชีพ แต่นี่คือกติกาของประชาชน เป็นอำนาจของประชาชน คนจะลงหรือไม่ลงต้องประเมินสถานะตัวเอง หากแพ้ร้อยเปอร์เซ็นต์ไม่ลงแน่นอน ต้องรู้ตัวเอง
นายเสรี กล่าวว่า การเลือกตั้ง สสร.ในครั้งนั้นไม่มีความขัดแย้งเหมือนปัจจุบัน เพราะทุกคนเรียกร้องให้มีการปฏิรูปการเมือง ให้มีการแก้ไขการเมือง เพราะการบริหารไม่นิ่ง ตำแหน่งนายกฯอยู่ในภาวะแวดล้อมของหลายพรรคการเมือง ทำให้ไม่มีเสถียรภาพ มีการทุจริตคอรัปชั่นเยอะ ทำให้หลายองค์กรต่างๆ เกิดขึ้นจากปัญหาหลายสภาวะในขณะนั้น ส่วนจะประชาธิปไตยหรือไม่อยู่ที่การเลือกตั้ง ส่วนวิธีการเลือกตั้งอยู่ที่เหตุผลว่าทำไมต้องการอย่างนี้ แต่การเลือกตั้งโดยตรงก็ถือว่าน่าลอง เพราะต้องยอมรับว่าเวลาเลือกตั้งฐานเสียงมาจากพรรค แต่เมื่อดูตัวบุคคลที่ถูกเลือกเข้ามาหลายคนก็ไม่ได้มาจากพรรค แม้แต่ในกทม.มี 18 คน ประชาชนเลือกโดยตรงคนละ 1 คะแนนก็ไม่ใช่คนของพรรคการเมือง แต่ก็ยอมรับว่าในต่างจังหวัด คนที่ถูกเลือกเข้ามาก็ผูกพันกับพรรคการเมือง ดังนั้นต้องคิดว่าจะทำอย่างไรให้เกิดน้อยที่สุด เช่น ทำอย่างไรใช้เงินให้น้อยที่สุด หากเลือกตั้งในจังหวัด คนที่เคยอยู่ในสายตาประชาชน ทำคุณความดีมา ก็เป็นปกติที่คนจะเลือก ใครที่ประชาชนเลือกแสดงว่ามีต้นทุน

"สิ่งที่ห่วงกังวลคือ หากเข้ามาแล้วไปเป็นตัวแทนใคร ไปรักษาผลประโยชน์ในการออกกฎหมาย เช่น ออกสัมปทาน การแทรกแซงการดำรงตำแหน่งส.ส.ที่เป็นผู้ช่วยรมต. เลขา ที่ปรึกษา ซึ่งครั้งที่แล้ว ส.ว. ส.ส. ก็ถูกวินิจฉัยเรื่องสัมปทาน ดังนั้นต้องสร้างระบบให้แข็งแรง หากเอาข้อยกเว้นมาเป็นหลักจะเสียหายหมด ประเทศไทยที่มีความสับสนแตกแยกเพราะมีการต่อสู้ ดิ้นรนให้พ้นจากคดีความ และเวลาต่อสู้ก็ดึงเสียงสนับสนุนจากประชาชนเข้ามา ทำให้เกิดการแยกกลุ่มออกเป็นฝ่าย ดังนั้นการแก้รธน.ควรจะดูว่าจะแก้ความแตกแยกได้อย่างไร นักการเมืองบ้านเราคือต้นตอทำให้เกิดปัญหาเหล่านี้" เสรี กล่าว

นางธิดา กล่าวว่า นปช.ไม่ได้ยอมใคร เราทำหน้าที่ของเราดีที่สุด แม้ต้องการจะแก้รธน. แต่กติกาในการแก้รธน.ต้องใช้เวลานาน การทำงานของเราเป็นการกระตุ้นพรรคการเมืองที่ไม่ต้องการแก้ทั้งหลาย จึงถือว่าเราทำงานของเราดีที่สุด ตอนแรกเราจะเขียนเองก็ได้ หรือจะเอาม็อบไปกระทุ้งก็ได้ ทั้งนี้กระบวนได้มาของสสร. ของเรายังไม่จบ หวังว่ากมธ.จะนำข้อเสนอของเราไปพิจารณา ส่วนเนื้อหาหากจะให้สสร.เป็นผู้ร่างก็ไม่ควรไปกำหนดอะไร เพราะเท่ากับเป็นการตั้งธง ถามว่าอาจจะมีความเห็นว่าไม่ควรมีตำแหน่งทางการเมือง 4 ปี แต่หากบอกว่าห้ามเกี่ยวข้องการเมืองถือว่าไม่ถูกต้อง พรรคประชาธิปัตย์ไม่ควรกลัว หรือขี้ขลาดทางการเมืองเกินไป ที่เราแสดงออกคือ ต่อต้านรัฐประหาร และต้องการให้มี รธน.ใหม่ที่เป็นของประชาชน ให้มีเหตุมีผล หากจะรักษา รธน.50 ก็ควรบอกว่าประเด็นไหน และดีตรงไหน
"ดิฉันไม่ต้องการเป็น สสร. ขอทำงาน นปช.เพราะยังมีภาระมากมาย ยังมีคนที่ถูกกระทำจากรัฐประหาร และต้องระวังว่าใครคิดที่จะรัฐประหาร และระหว่างเวลาที่มีสสร.ไปแล้ว เราก็จะส่งสัญญาณว่าประชาชนอยากให้แก้ไขประเด็นใดบ้าง" ประธานนปช. กล่าว
นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ โฆษกพันธมิตรฯ กล่าวว่า วันที่ 10 ก.พ. เป็นการประชุมแกนนำเพื่อพูดคุยกันระหว่างแกนนำ และนำมาเป็นมติว่าเราจะดำเนินมาตรการอย่างไรต่อการแก้ไขรธน. สิ่งที่พันธมิตรเป็นห่วงคือ การล้างความผิด และการกระชับฝ่ายทุนที่ใกล้ชิดการเมืองให้มีอำนาจมากขึ้น โดยเฉพาะ สสร. 92 คนที่บอกว่ามาจากการเลือกตั้ง แต่ที่จริงมีที่มาจากพรรคการเมือง การคัดเลือกสสร.จึงเป็นเพียงนิติกรรมอำพราง จะสังเกตได้ว่า ส.ส. มาจากส.ส. โดยมีนามสกุลเด่ยวกัน โดยส.ว.เลือกตั้งส่วนใหญ่ไม่มีบทบาทในการตรวจสอบรัฐบาล และการแก้รธน. ครั้งนี้ถือเป็นการล้มรธน.ทั้งฉบับ เจตนารมย์ของรธน.ให้แก้ไขบางมาตรา แต่ครั้งนี้เป็นการล้มทั้งฉบับ เพราะไม่ได้นำหัวข้อของรธน.แต่ละประเด็นมาว่าจะแก้ไขเพื่ออะไร ดังนั้นกระบวนการจึงเป็นเพียงนิติกรรมอำพรางเท่านั้น

คมชัดลึก

เปิดเบื้องหลังเปลี่ยนตัวบิ๊กชลประทานกลเกม“บรรหาร”ตีกันเพื่อไทยฮุบ ก.เกษตรฯ?



โดย isranewsalt
เปิดเบื้องหลังเปลี่ยนตัวอธิบดีกรมชลประทาน พรรคชาติไทยพัฒนายอมเสีย “โคน”รักษา “ขุน” หมากเกม “บรรหาร ศิลปอาชา” ตีกัน พรรคเพื่อไทย ยึด กระทรวงเกษตรฯ คืน!!
สร้างความตกตะลึงให้กับสังคมเป็นอย่างมาก สำหรับมติการโยกย้าย นายชลิต ดำรงศักดิ์ อธิบดีกรมชลประทาน ไปดำรงตำแหน่งรองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อสับเปลี่ยนให้ นายเลิศวิโรจน์ โกวัฒนะ รองปลัดกระทรวงเกษตรฯ มานั่งบริหารงานในตำแหน่งอธิบดีกรมชลประทานคนใหม่แทน ของที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) สัญจร จังหวัดอุดรธานี เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2555
   
แม้นายธีระ วงศ์สมุทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จะยืนยันชัดเจนว่า การเปลี่ยนตัวอธิบดีกรมชลประทาน ครั้งนี้ ไม่ได้ทำเพื่อหาแพะ รับบาปปัญหาน้ำท่วม เมื่อปีที่แล้ว แต่การโยกย้ายครั้งนี้ มาจากความต้องการของนายชลิตเอง
   
“เจ้าตัวบ่นว่าเหนื่อยอยากขอพัก เพราะที่ผ่านมาก็ต่ออายุในตำแหน่งไว้ 1 ปี หากสิ้นเดือนกันยายน ก็ต้องปรับใหม่ เพราะฉะนั้นขณะนี้ก็เป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมจะได้คนใหม่มาเตรียมรู้งานเพื่อ รับมือป้องกันอุทกภัยร่วมกับคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อวางระบบบริหาร ทรัพยากรน้ำ(กยน.) เหมือนนักกีฬา เขาวิ่งมาเหนื่อย ก็ให้เขาพัก”
   
แต่ ก็มีเสียงเล็ดลอดมาจากในกระทรวงเกษตรฯ ว่า การโยกย้ายนายชลิตครั้งนี้ เป็นข้อตกลงร่วมกันของผู้ใหญ่ ในพรรคชาติไทยพัฒนา ที่กำกับดูแลกระทรวงเกษตรฯ กับผู้ใหญ่ ในพรรคเพื่อไทย ซึ่งเป็นพรรคแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล ถึงการแสดงความรับผิดชอบ ต่อปัญหาน้ำท่วม ในช่วงที่ผ่านมา
    
โดยมีเป้าหมายสำคัญ เพื่อกระชับพื้นที่ ความมั่นใจ ของประชาชน ต่อความจริงใจของรัฐบาล ในการหาทางแก้ไขปัญหาน้ำท่วม หลังจากที่เสียคะแนนความนิยม ไปจำนวนมาก กับวลีเด็ด คำว่า “เอาอยู่”
   
ว่ากันว่า ในช่วงที่เกิดปัญหาน้ำท่วม ใหม่ๆ กรมชลประทาน เป็นหนึ่งในหน่วยงาน ที่ถูกสังคมตั้งคำถามถึงประสิทธิภาพในการดำเนินงานเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะการปล่อยน้ำในเขื่อน ที่ดูเหมือนจะมีความผิดพลาดหลายประการ ขณะที่กระแสข่าวการดึงกระทรวงเกษตรและสหกรณ์กลับไปอยู่ภายใต้การดูแลของพรรค เพื่อไทย พร้อมแลกข้อเสนอให้ดูแลกระทรวงอื่นแทน ก็ดังขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนทำให้ผู้ใหญ่ในพรรคชาติไทยพัฒนา เริ่มออกอาการหงุดหงิด
    
นาย ชลิต ดำรงศักดิ์ เคยยืนยันต่อนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ว่า “ถ้าต้องการให้ผมลาออก เพื่อแสดง สปีริต ก็พร้อมที่จะทำ” แต่นางสาวยิ่งลักษณ์ บอกปัดไป พร้อมกับขอให้อยู่ช่วยทำงานไปก่อน
   
ขณะ ที่ ผู้ใหญ่ ในพรรคชาติไทยพัฒนา ก็ออกมายืนยันเสียงแข็งว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จะอยู่ภายใต้การบริหารงานของพรรคชาติไทยพัฒนาต่อไป เพราะถ้ายอมรับข้อเสนอดังกล่าว กระแสความผิดพลาด จะตกมาอยู่ที่กระทรวงเกษตรฯ และพรรคชาติไทยพัฒนาทันทีทั้งที่ความผิดพลาดในการแก้ไขปัญหาเรื่องน้ำ มีองค์ประกอบจาก คน และหน่วยงานอื่น ด้วยจำนวนมาก
   
และที่สำคัญ ที่สุด พรรคชาติไทยพัฒนา บริหารงานกระทรวงเกษตรฯ มานาน วางฐานงานการเมืองไว้ ที่กระทรวงแห่งนี้ อย่างมั่นคงหมดแล้ว จึงไม่มีทางที่จะปล่อยมือจากกระทรวงแห่งนี้ไปอย่างเด็ดขาด
   
หลัง เหตุการณ์น้ำท่วมผ่านพ้นไป แม้ความกดดัน ของกระทรวงเกษตรฯ กรมชลประทาน ร่วมถึงตัวของนายชลิต ในตำแหน่งอธิบดีกรมชลประทานจะลดลง เนื่องจากงานแก้ไขปัญหาน้ำท่วมทั้งระบบ ถูกโอนไปอยู่ในความรับผิดชอบของคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อวางระบบการบริหาร จัดการทรัพยากรน้ำ (กยน.) ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน และคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อการฟื้นฟูและสร้างอนาคตประเทศ (กยอ.) ที่มีนายวีรพงษ์ รามางกรู เป็นประธาน หมดแล้ว
   
แต่เนื่องแผนงาน แก้ไขปัญหาน้ำท่วม ที่เตรียมไว้ ทั้งในส่วนของแผนระยะสั้น และ ระยะยาว เข้าไปเกี่ยวข้องกับเม็ดเงินในการลงทุนโครงการจำนวนหลายแสนล้านบาท แถมบุคลิกของนายชลิต ดูเหมือนจะไม่ค่อยยอมรับคำสั่งใคร นอกจากผู้ใหญ่ในกระทรวงเกษตรฯ เท่านั้น กระแสความต้องการที่จะดึงกระทรวงเกษตรฯ เข้ามาอยู่ภายใต้การบริหารงานของพรรคเพื่อไทย กำลังจะดังขึ้นมาอีกครั้ง
   
พร้อม กับเสนอข้อใหม่เหมือนเคยๆ คือ ให้เปลี่ยนตัวรับผิดชอบปัญหาเรื่องน้ำอีกครั้ง โดยมีเป้าหมายอยู่ที่ตัวอธิบดีกรมชลประทาน ด้วยข้อหาการทำงานล่าช้า หรือ ข้อเสนอเรื่องการแลกเปลี่ยนกระทรวงให้ดูแล
   
ภายหลังนั่งคิดคำนวณ อยู่นานผู้ใหญ่ ในกระทรวงเกษตรฯ ก็ได้ข้อยุติเกี่ยวในการหาทางออกเรื่องนี้ โดยการต่อสายไปถึงนายเลิศวิโรจน์ โกวัฒนะ รองปลัดกระทรวงเกษตรฯ ให้เตรียมความพร้อมเข้ามานั่งในตำแหน่งอธิบดีกรมชลประทาน แทน นายชลิต ในช่วงประมาณ1-2 สัปดาห์ ก่อนที่จะมีการ เสนอเรื่องต่อที่ประชุม ครม. เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา
   
ส่วน นายชลิต แม้จะเจ็บปวดกับเหตุการณ์นี้ไปบ้าง แต่ก็ไม่ถือว่า เสียหายมากนัก เพราะการโยกย้ายครั้งนี้ ไม่ใช่ “การลงโทษ” แต่เป็นการ “ตบรางวัล” ในการเสียสละ ด้วยการเตรียมตัวขึ้น ในตำแหน่งปลัดกระทรวงเกษตรฯ ต่อจาก น.ส.สุพัตรา ธนเสนีวัฒน์ ปลัดกระทรวงเกษตรฯ คนปัจจุบันที่กำลังจะเกษียณอายุในปีนี้
    
การเดินเกมทางการเมือง ของ พรรคชาติไทยพัฒนา ครั้งนี้ โดยการเปลี่ยนตัวอธิบดีกรมชลประทาน ตามความต้องการของพรรคเพื่อไทย จึงไม่ต่างอะไรกับการ ยอมเสียโคน เพื่อรักษา ขุน บนกระดานหมากรุก
     
อย่างไรก็ตาม แม้พรรคชาติไทยพัฒนา จะยอมเปลี่ยนตัวอธิบดีกรมชลประทานไปแล้ว แต่ความพยายามของพรรคเพื่อไทย ในการดึงงานที่เกี่ยวข้องกับเรื่องน้ำไปบริหารงานเอง ยังคงไม่ยุติลง ต้องไม่ลืมว่า นโยบายหลักในการบริหารงานรัฐบาลของรัฐบาลชุดนี้ ในช่วงที่เหลือ การลงทุนทำโครงการเรื่องน้ำ ถือเป็นหัวใจสำคัญอย่างมาก นอกเหนือจากงานโครงการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐาน และงานการเมือง
    
เพราะในช่วงเวลาต่อจากนี้ หากเกิดปัญหาน้ำท่วมซ้ำซากขึ้นมาอีก มีหวัง รัฐบาลชุดนี้ คงอยู่ต่อไปไม่ได้แน่
     
แนว คิดเรื่องการจัดตั้งกระทรวงน้ำขึ้นมาบริหารจัดการเรื่องน้ำทั้งระบบ พร้อมดึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับเรื่องการบริหารงานเรื่องน้ำในอยู่ในความ ดูแลของทุกกระทรวงไปดูแล รวมถึงกรมชลประทาน จึงเป็นสิ่งที่แกนนำพรรคเพื่อไทยกำลังหารือกันอยู่ในขณะนี้ โดยอาจจะใช้วิธีการต่อยอด การดำเนินงานของคณะกรรมการนโยบายน้ำและอุทกภัยแห่งชาติ(กนอช.) มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ซึ่งมีการทำงานแบบ ซิงเกิ้ล คอมมานด์ ออธอริตี้ (Single Command Authority) ที่ ครม.เพิ่งมีมติเห็นชอบ ให้จัดตั้งไปก่อนหน้านี้ไม่นานนัก
     
โดยมีเป้าหมายสำคัญ ในการล้วงลูกการบริหารงานกรมชลประทาน ที่พรรคชาติไทยพัฒนา ดูแลอยู่ทางอ้อมแทน งานนี้ จึงไม่แน่ใจว่า บนบรรทัดสุดท้าย ใครกันแน่ที่เป็นฝ่ายได้เปรียบระหว่างพรรคชาติไทยพัฒนาหรือพรรคเพื่อไทย
    
เมื่อ รูปเกมของพรรคเพื่อไทยออกมาแบบนี้ ก็ต้องคอยจับตาดูกันว่า นายบรรหาร ศิลปอาชา ประธานที่ปรึกษาหัวหน้าพรรคชาติไทยพัฒนา จะแก้หมากการเมืองครั้งใหม่อย่างไร ???

แล้ว “ทักษิณ” ก็เผยตัวตน


แล้ว “ทักษิณ” ก็เผยตัวตน
TS106004001
                                                                                               สำเริง คำพะอุ    
          ทักษิณ   ชินวัตร   นักโทษที่หนีคุก   ๒   ปี   แต่ยังระเหระหนอยู่ต่างประเทศ   วิดีโอลิงค์   มายังกลุ่มคนเสื้อแดง ที่ชุมนุมกันที่เขาใหญ่  เมื่อคืนวันเสาร์ที่   ๒๕     กุมภาพันธ์   ว่า  
           มี บางคนอาจสงสัยว่า   นายจตุพรที่เป็นน้องที่ตนรักมากคนหนึ่ง   และทุ่มเทให้พี่น้องเสื้อแดงมากทำไมกลับไม่ได้เป็นรัฐมนตรี    จึงขอตอบพี่น้องว่า   คนเสื้อแดงที่เหมาะสมเป็นรัฐมนตรีมากที่สุด   คือนายจตุพร    แต่มีวิธีที่จะตอบแทนและใช้หนี้ให้นายจตุพรแน่นอน    เห็นการต่อสู้และน้ำใจของคนเสื้อแดง รู้สึกว่าอยากกลับไปช่วยให้พี่น้องมีความสุขทุกคน   
          ซึ่งคิดว่าไม่นาน   คุยกับผู้ที่เกี่ยวข้องว่า   ขอให้เร่งเยียวยาพี่น้อง   เพราะนานเกินไปแล้ว   ขอให้แกนนำเสื้อแดงทั้งหลายทั้งที่มีตำแหน่งหรือไม่   ขอให้รวบรวมคนเสื้อแดงที่มีญาติพี่น้องที่บาดเจ็บและเสียชีวิต   ให้ส่งเอกสารมาให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง   เพื่อให้มีการเยียวยาให้หมดรวมทั้งคนที่ติดคุกด้วย
          คำพูดดังกล่าวของทักษิณ    ชินวัตร     เท่ากับบอกกล่าวให้ประชาชนทั้งหลายทั้งปวงในประเทศไทย    และทั่วโลกทราบว่า    น้องสาวของเขาคือ   นางสาวยิ่งลักษณ์    ชินวัตร    นายกรัฐมนตรี  นั้นเป็นเพียง    หุ่น    เท่านั้นเอง    และที่นางสาวยิ่งลักษณ์บอกกล่าวกับประชาชนว่า    การแต่งตั้งคณะรัฐมนตรีก็ดี     นโยบายสำคัญต่างๆก็ดี    นางสาวยิ่งลักษณ์พูดไม่จริง      หรือพูดกันอย่างตรงไปตรงมาก็คือ  “โกหก    ตอแหล”   ทั้งสิ้น
          ทั้งหลายทั้งปวงอยู่ที่ทักษิณ
          ผู้ที่สมัครใจโง่ยอมรับความรู้   ความสามารถของนางสาวยิ่งลักษณ์    ปกป้องนางสาวยิ่งลักษณ์ในทุกกรณี    แม้กระทั่งการเดินทางไปโรงแรมโฟร์ซีซั่น     โดยที่เจ้าตัวคือนางสาวยิ่งลักษณ์เอง   ก็ยังตอบสังคมไม่ได้       นอกจากอ้อมๆ  แอ้มๆว่า    ไม่มีเรื่องเสียหาย    ไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน    เป็นนายกรัฐมนตรีจะไปพบใครก็ได้    รับรู้เอาไว้ด้วยครับ     
          ทั้งที่คำถามคือ    ไปพบกับใคร    ทำไม   เรื่องส่วนตัวหรือเรื่องของประเทศชาติ   เรื่องของนโยบาย    ถ้าหากเป็นเรื่องส่วนตัวทำไมหนีการประชุมสภาไป     ถ้าหากเป็นเรื่องของชาติบ้านเมืองบอกได้ไหม   อธิบายได้ไหมคุยเรื่องอะไรบ้าง
          นางสาวยิ่งลักษณ์ก็ไม่กล้าตอบ   หรือตอบไม่ได้
          แต่ก็ยังเชิดหน้าอยู่ในตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
          เป็นนายกรัฐมนตรีที่มี   ทักษิณ    บงการอยู่เบื้องหลังทุกชอต
          แต่ก็ยังเชิดหน้าบอกประชาชนบอกสังคมอย่างไม่อายว่า       “ดิฉันตัดสินใจเองค่ะ      ดิฉันจะทำเพื่อประชาชนค่ะ    ธรรมาภิบาลค่ะ     ไม่ทำเพื่อคนๆเดียวค่ะ”
          แต่คำพูดเพียงขึ้นต้นของทักษิณ    ชินวัตร  ที่บอกกล่าวกับคนเสื้อแดงเท่านั้นก็เผยให้เห็นความจริงอย่างล่อนจ้อนว่า     การเยียวยาคนเสื้อแดงทั้งคนเจ็บ   คนตาย     หรือแม้กระทั่งที่ติดคุกอยู่นั้น      บงการมาจากทักษิณทั้งสิ้น
          เป็น การใช้หนี้     เช่นเดียวกับที่ยัง  ติดหนี้จตุพรอยู่ในตำแหน่ง    รัฐมนตรี   ที่    จตุพรสมควรหรือเหมาะสมที่สุดในสายตาของ  ทักษิณ    ชินวัตร
          และวันหนึ่งเขาก็จะต้องเอาตำแหน่ง     รัฐมนตรี    ไปใช้หนี้ จตุพร  ที่ขายชีวิต ขายวิญญาณให้    จตุพร
          ไม่แน่ใจว่า    เฉลิม   อยู่บำรุง   ยงยุทธ   วิชัยดิษฐ์   ปลอดประสพ   สุรัสวดี      สุกำพล    สุวรรณทัต   ฯลฯ  ได้ตำแหน่งเป็นใหญ่เป็นโตในบ้านในเมืองทุกวันนี้ถือเป็นการ   ใช้หนี้   ของทักษิณหรือไม่   ?    ยังสงสัยอยู่
          มิ น่าเล่า    ประเทศชาติและประชาชนไทยจึงต้องเผชิญปัญหาอยู่อย่างทุกวันนี้     ประเทศจนกรอบต้องกู้หนี้ยืมสินเขามาใช้ในการบริหารประเทศ     แต่รัฐบาลกลับใช้เงินอย่างมือเติบในโครงการต่างๆ    รวมทั้ง   เอาเงินที่จะต้อง    กู้  เขามานี่แหละมาใช้หนี้พวกเดียวกันที่อ้างว่าต่อสู้เพื่อความเป็น ประชาธิปไตย    เพื่อความเท่าเทียมกัน   เพื่อความเสมอภาคกัน
          แต่แท้ที่จริงสู้เพื่อ   ทักษิณ    
          จนทักษิณต้องออกมายอมรับว่าจะต้องใช้หนี้ให้    จะต้องเยียวยาให้
         ไม่ยุติธรรมกับประชาชน   และประเทศชาติเลย
          แต่จะทำอย่างไรเล่าครับ   พี่น้องทั้งหลาย      รัฐธรรมนูญที่เป็นกฎหมายสำคัญ    เป็นขื่อแปหลักของบ้านเมืองพวกเขาก็ใช้เสียงข้างมากลากไป    บอกว่าจะแก้ไข     ทั้งที่ความเป็นจริงก็คือ     เขากำลังจะยกร่างขึ้นมาใหม่แล้วฉีกรัฐธรรมนูญนี้ทั้งฉบับทิ้งเสีย    ซึ่งเท่ากับใช้เสียงข้างมากของรัฐสภา     ล้มล้างรัฐธรรมนูญ
         โดย ที่พวกเขาตอบคำถามไม่ได้ว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้เป็นอุปสรรคตรงไหนในการบริ หาร     เป็นอุปสรรคตรงไหนในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ      ปัญหาข้าวของแพง     พวกเขาก็ตอบไม่ได้
         บอกได้อย่างเดียวว่า    รัฐธรรมนูญฉบับนี้มาจากการรัฐประหาร   ๑๙   กันยายน   ๒๕๔๙    
         ต้องร่างขึ้นมาใหม่    จะต้องมี สสร.มาทำหน้าที่    ร่างมาแล้วจะต้องให้ประชาชนลงประชามติ     แต่ละขั้นตอนนั้นจะต้องใช้งบประมาณเกือบหมื่นล้านบาท    (ทั้งเงินเดือน  สสร     เบี้ยประชุม    การทำประชาพิจารณ์     การลงประชามติ)    
         แทนที่จะพิจารณาเนื้อหาของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันว่า     มีเนื้อหาในมาตราใดของรัฐธรรมนูญที่เป็นข้อบกพร่องก็แก้ไขมาตรานั้น     เป็นต้น   อยากจะยกเลิกบทบัญญัติที่ให้ยุบพรรค    ให้ลงโทษกรรมการบริหารพรรค   ก็แก้ไขเสีย     ไม่พอใจองค์กรอิสระก็แก้ไขหมวดที่ว่านี้เสีย    เป็นต้น  อยากยกเลิก   ศาลรัฐธรรมนูญ      กกต.     หรือ    ศาลยุติธรรม     อยากจะเข้าไปแทรกแซงตรงไหน    เอาศาลยุติธรรมกลับมาอยู่กระทรวงยุติธรรม   ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมแต่งตั้งตุลาการศาล     ก็ทำไปโดยสมาชิกรัฐสภา
         แต่เขาก็ไม่เอา   เขาก็ไม่กล้าทำ
         เอา   สสร.มาทำ   เพื่อให้ดูว่า   เป็นประชาธิปไตยจริงๆ    ร่างโดย   สสร.จริงๆ
         เหมือนกับที่เอานางสาวยิ่งลักษณ์     ชินวัตร   มาเป็นนายกรัฐมนตรี    โดยที่มี   ทักษิณ    คอยชี้นิ้วอยู่ข้างหลังนี่แหละครับ
         ไม่เชื่อก็คอยดู.

วันอาทิตย์ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

เงาร่างรธน.ฉบับใหม่ “รื้อองค์กรอิสระ ช่วยคนไกล”

ที่ สุดรัฐบาลก็เปิดเกมร้อนสู่การร่างกติกาใหม่ของประเทศ สำเร็จจากเสียงข้างมากที่มีอยู่ หลังเสนอร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขมาตรา 291 ของรัฐธรรมนูญ เปิดทางสู่การยกร่างรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับด้วยมติรับหลักการ 399 ต่อ 199 งดออกเสียง 14 เสียง
เกมยาวที่จะเกิดขึ้นจากนี้ร่วมปี คือ แรงต้านจากกลุ่มไม่เอาทักษิณที่เห็นว่า รัฐบาลใช้ประชาธิปไตยบังหน้าอ้างการแก้รัฐธรรมนูญเพื่อความเป็นประชาธิปไตย ลดวิกฤตความขัดแย้ง แต่วาระซ่อนเร้นที่แท้คือ เขียนกติกาปลอล็อคให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นักโทษคดีอาญาเดินทางกลับไทยโดยไม่ต้องมีความผิด
การเสนอร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขมาตรา 291 ล้มล้างรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ของรัฐบาลและพรรคเพื่อไทยร่วมกับพรรคชาติไทยพัฒนาที่ร่วมรัฐบาลอยู่ สะท้อนให้เห็นว่า รัฐบาลต้องการรวบรัดตัดตอน แก้ไขให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ ทั้งที่ยังมีร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขมาตรา 291 ของกลุ่มคนเสื้อแดงทั้งสามฉบับถึงแม้ว่าสองฉบับ เมื่อตรวจสอบรายชื่อแล้วจะไม่ครบก็ตาม แต่พรรคเพื่อไทยก็ไม่รอร่างของเสื้อแดงอย่างที่ได้อ้างว่าเคารพในเสียง ประชาชน
แม้แต่แกนนำเสื้อแดงอย่าง ธิดา ถาวรเศรษฐ์ ที่ประกาศศักดาในวันที่นำร่างรัฐธรรมนูญพร้อมรายชื่อคนเสื้อแดง 6 หมื่นกว่าชื่อ ยื่นต่อประธานสภาว่า “นี่คือประวัติศาสตร์ที่ร่างของภาคประชาชนได้เข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภา” แต่สุดท้าย ร่างรัฐธรรมนูญฉบับแก้ไขของเสื้อแดง ก็ถูกตัดทิ้งเพราะแกนนำนปช. ไม่รอให้ตรวจสอบเสร็จก่อนนำเข้าไปบรรจุในสภา เพียงเพื่อต้องการเร่งรัดแก้ไขรัฐธรรมนูญตามที่รัฐบาลต้องการ
การ อภิปรายตลอด 2 วันระหว่างการพิจารณาแก้มาตรา291 เห็นเนื้อหาที่สมาชิกรัฐสภา ทั้งฝ่ายรัฐบาลเพื่อไทย+ชาติไทยพัฒนา สว. รวมถึงฝ่ายค้าน มีแนวโน้มจะเปลี่ยนแปลงแก้ไข และเนื้อหาใหม่ที่อาจจะบรรจุอยู่ในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ อาจแยกย่อยประเด็นได้ ดังนี้
1. การแก้ไขในหมวด “พระมหากษัตริย์” ตั้งแต่มาตารา 8 จนถึงมาตรา 25
สว.สรรหา และ ฝ่ายค้านตั้งข้อสังเกตุไว้หนักหน่วงเนื่องจากไม่ไว้ใจสถานการณ์การเมืองขณะ นี้ จากกระแสให้แก้ไขมาตรา 112 ของประมวลกฎหมายอาญาเรื่องการหมิ่นสถาบันเบื้องสูงที่นำเสนอโดยกลุ่มนิติ ราษฎร์และแนวร่วมเสื้อแดง ฝ่ายค้านตั้งคำถามว่า บรรยากาศปัจจุบันมีการละเมิดสถาบันสูง เว็ปไซด์ที่โจมตีในขณะนี้ รัฐบาลได้ตรวจสอบหรือไม่ว่า เป็นของมวลชนกลุ่มไหน และแม้ว่า ร่างของรัฐบาลจะเขียนล็อคไว้ว่า “การแก้ไขรัฐธรรมนูญ มีเนื้อหาล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์จะกระทำไม่ให้และต้องตกไป” แต่ก็เป็นคนละประเด็นเพราะ ไม่มีหลักประกันว่าจะไม่มีการเข้าไปแก้ไขรัฐธรรมนูญในหมวดพระมหากษัตริย์
โดยอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้านได้ยื่นข้อเสนอถึงรัฐบาล ให้เขียนให้ชัดในชั้นกรรมาธิการว่า การจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่จะไม่เข้าไปแก้ไขในหมวดนี้ ทำให้ตัวแทนรัฐบาล สุนัย จุลพงศธร สส.พรรคเพื่อไทยที่อภิปรายสรุปรับปากว่าจะดำเนินการให้เพื่อลดความหวาดระแวง และ ทำหน้าที่ให้เป็นพสกนิกรที่ดีในการเทิดทูนสถาบัน
2. ให้มีการ “เลือกตั้งนายกรัฐมนตรีทางตรง” ชุมพล ศิลปอาชา หัวหน้าพรรคชาติไทยพัฒนา
จุด พลุเรื่องนี้ในการนำเสนอหลักการแก้ไขรัฐธรรมนูญตามร่างของพรรคชาติไทยพัฒนา ให้เหตุผลว่า ตอนยกร่างรัฐธรรมนูญ 2540 ส.ส.ร.ขณะนั้นไม่กล้าพิจารณาประเด็นที่มาของนายกรัฐมนตรีที่มาจากการเลือก ตั้งโดยตรง แต่วันนี้ในระดับท้องถิ่นตั้งแต่ระดับนายกอบจ.ก็เป็นการเลือกตั้งผู้นำโดย ตรงแล้ว ดังนั้น ก็ควรกลับมาพิจารณาได้ ซึ่งแกนนำพรรคเพื่อไทยก็ตอบรับ พ.อ.อภิวันท์ วิริยะชัย เห็นว่า เป็นข้อเสนอที่ดีและไม่ได้ทำให้ประเทศไทยเป็นรัฐเดี่ยวหรือ เลือกประธานาธิบดี เพราะการเลือกนายกรัฐมนตรีไม่ใช่เลือกในหลวง ถึงอย่างไรพระองค์ยังทรงเป็นประมุขต่อไป การเลือกแบบนี้เหมือนกับการเลือกนายก อบต.ทั้งหลาย
3. ยกเลิกความผิด “ยุบพรรค” และตัดทิ้ง บทลงโทษให้กรรมการบริหารพรรค (กก.บห.) ถูกตัดสิทธิ์เลือกตั้งหรือเว้นวรรคการเมือง 5 ปี กรณีกก.บห. ทำผิดกฎหมายเลือกตั้ง ประเด็น นี้ทั้งพรรคเพื่อไทยและพรรคชาติไทยพัฒนามีความคับแค้นอย่างมากเพราะได้รับผล กระทบที่ถูกยุบพรรคโดยตรง จนเขียนไว้ในหลักการของร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ที่สองพรรคนำเสนอว่า นี่เป็นปัญหาใหญ่ของรัฐธรรมนูญ2550 
พรรคชาติไทยพัฒนาโดยชุมพลระบุว่า รัฐธรรมนูญนี้ทำให้พรรคการเมืองเป็นอัมพาต ถูกยุบเป็นว่าเล่น ถ้าไม่ได้แก้ อนาคตพรรคการเมืองสูญพันธุ์แน่ สภาพพรรคการเมืองเป็นพรรคนอมินีทั้งนั้น กรรมการบริหารก็นอมินี ทุกคนหลบฉากหมด ขณะที่ นักการเมืองก็ตกเป็นของคนสวน คนใช้ อย่างที่เกิดขึ้นในเมืองไทยปัจจุบัน บทบัญญัตินี้บอกว่า ถ้าผิดไม่เฉพาะลงโทษผู้ถูกกล่าวหาเท่านั้น ยังถือว่าคนทั้งหมดในบ้านหรือพรรคผิดด้วย และยังถือว่าบ้านทำผิดด้วย ก็ต้องรื้อให้หมด
เช่นเดียวกับพรรคเพื่อไทยที่เขียนไว้ใน หลักการแก้ไขรัฐธรรมนูญตอนหนึ่งว่า รัฐธรรมนูญ2550 ไม่สอดคล้องกับหลักการประชาธิปไตย ไม่ส่งเสริมระบบพรรคการเมืองทำให้ระบบพรรคการเมืองอ่อนแอ เกิดความไม่มั่นคง ต่อเนื่องในการบริหารราชการแผ่นดิน
ประเด็น ยุบพรรค ความผิดเหมาเข่งจึงน่าจะถูกยกเลิกทิ้งแน่นอน
4. ล้างบาง “องค์กรอิสระ” ยุบ “ศาลฎีกานักการเมือง” ทิ้ง
เหตุผล ของร่างพรรคเพื่อไทยและพรรคชาติไทยพัฒนาเขียนตรงกันว่า ปัญหาอีกเรื่องในรัฐธรรมนูญ 2550 คือ กระบวนการ ได้มาซึ่งองค์กรที่ใช้อำนาจอธิปไตย และการ ได้มาซึ่งบุคคลองค์กรอิสระต่างๆ ขาดการเชื่อมโยงกับอำนาจของประชาชนและขัดต่อหลักความเป็นประชาธิปไตยและเปิด ช่องให้มีการตัดสิน “สองมาตรฐาน”
การอภิปรายของสส.สองพรรคนี้รวมถึง สว.เลือกตั้งสายรัฐบาลส่วนใหญ่ต่างถล่มไปที่องค์กรอิสระอย่างดุเด็ดเผ็ดร้อน ไม่แต่พุ่งที่ไปตัวองค์กรอย่างศาลรัฐธรรมนูญหรือ ปปช. ที่พรรคเพื่อไทยและพรรคชาติไทยได้รับผลกระทบตรงเท่านั้น ยังแตะไปยังศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง และศาลปกครองที่ถูกมองว่า พิจารณาซ้ำซ้อนกับ ศาลรัฐธรรมนูญ
คำอภิปรายที่แหลมคมสุดมาจาก วัฒนา เมืองสุข สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย คนใกล้ตัวพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และเป็นผู้เดินเกมปรองดองอยู่ ที่ว่า ต้องมีการปรับปรุงศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เนื่องจากมีหลักการขัดกับกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทาง การเมืองเกี่ยวกับเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น (International Covenant on Civil and Political Rights) หรือ ICCPR ที่กำหนดให้ผู้ถูกพิพากษามีสิทธิได้รับการต่อสู้คดีในศาลที่สูงกว่า แต่ของไทยเป็นระบบตัดสินแบบศาลเดียว แม้ว่าในรัฐธรรมนูญ 2550 จะกำหนดให้สามารถยื่นอุทธรณ์ได้หากมีหลักฐานใหม่โดยให้ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา พิจารณา แต่ก็ยังมีคำถามว่าที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาถือเป็นศาลสูงกว่าในความหมายตาม กติการะหว่างประเทศดังกล่าวหรือไม่
อย่างไรก็ตาม ฝ่ายค้านจับทางว่า นี่เป็นหัวใจหลักที่รัฐบาลต้องการแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อเปลี่ยนที่มาองค์กร อิสระและกำหนดกติกาใหม่ที่มาที่เอื้อกับเสียงข้างมากให้พรรคเพื่อไทย หรือเปิดช่องให้เกิดการแทรกแซงได้ เหมือนที่เกิดขึ้นในสมัยรัฐบาลทักษิณ และอาจถึงขั้น โละทิ้งองค์กรอิสระหมดก็ว่าได้ เนื่องจาก มีคำให้สัมภาษณ์ของฝ่ายกฎหมายเพื่อไทยว่า ควรยกเลิกองค์กรอิสระ เพราะเป็นอำนาจที่ 4 ที่ใช้อำนาจตรวจสอบเหนือสภาผู้แทนราษฎร และเหนือรัฐบาลซึ่งมาจากตัวแทนประชาชน
โดยองค์กรอิสระที่ทำหน้าที่ตรวจสอบการใช้ อำนาจรัฐและการทุจริต ปัจจุบัน ประกอบด้วย คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ปปช.) ผู้ตรวจการแผ่นดิน ศาลรัฐธรรมนูญ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน
ถ้ารัฐธรรมนูญฉบับใหม่ร่างเสร็จ มีแนวโน้มสูงที่ กรรมการในองค์กรอิสระเหล่านี้จะพ้นจากตำแหน่งและคัดเลือกกันใหม่ด้วยโครง สร้าง ที่มา ที่จะถูกกำหนดโดยสสร.ชุดใหม่
5. สว.ให้มาจากการเลือกตั้ง
ถึงแม้ประเด็นนี้พรรคเพื่อไทยจะไม่หยิบมาอภิปรายกันมาก เพราะยังต้องพึ่งเสียงสว.ในการผ่านร่างรัฐธรรมนูญมาตรา 291 ในวาระสุดท้าย แต่ก็มีซุ่มเสียงให้แก้ไขที่มาของ สว.จากปัจจุบันที่เป็นลูกผสมระหว่าง สว.เลือกตั้ง กับ สว.สรรหาฝ่ายละครึ่ง เป็นให้มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชนทั้งหมดโดยอ้างว่าอำนาจอธิปไตย เป็นของประชาชน และเมื่อวุฒิสภาใช้อำนาจตรวจสอบรัฐบาลด้วยดังนั้นก็ต้องมีที่มาจากประชาชน
6. แก้ไขที่มาตุลาการ ผู้พิพากษาให้ยึดโยงประชาชน
ประเด็น นี้ไม่มีบทสรุปหรือการนำเสนอว่า จะมีวิธีการ กลไกอย่างไร หรือจะแก้จุดไหน จะที่มาของ ผู้พิพากษา หรือ องค์คณะตุลาการ เพียงแต่พรรคเพื่อไทยและพรรคชาติไทยพัฒนาหลายคน พูดหลักการกว้างๆว่า ต้องหาระบบถ่วงดุลอำนาจขององค์กรตุลาการ ซึ่งตรงกับหลักคิดของ “ธิดา ถาวรเศรษฐ์” เมื่อตอนเสนอร่างรัฐธรรมนูญเข้าสู่สภาว่า จะต้องแก้ไขให้ตุลาการเชื่อมโยงกับประชาชน
อย่างไรก็ตาม อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ แย้งว่า เรื่องนี้ละเอียดอ่อนเพราะไม่มีที่ไหนในโลกให้ศาลมาจากการเลือกตั้งเพื่อมา ตัดสินสิ่งถูกสิ่งผิด เสียงข้างมากมีไว้เพื่อเลือกรัฐบาลมาปกครองประเทศ ไม่ใช่มาตัดสินคดีความถูกต้อง 
7.นิรโทษกรรม ล้างผิดให้พ.ต.ท.ทักษิณ และพวก
เป็น ประเด็นที่ฝ่ายค้านและสว.สรรหาอภิปรายอย่างกว้างขวางว่า นี่คือเบื้องหลังหรือวาระซ่อนเร้นในการล้มล้างรัฐธรรมนูญนี้และเขียนรัฐ ธรรมนูญใหม่เพื่อช่วยเหลือคนต่างประเทศ โดยจับคำพูดของร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง ที่ปราศรัยที่ทุ่งศรีเมือง จ.อุดรธานี มาเป็นหลักฐานที่ว่า หลังร่างรัฐธรรมนูญเสร็จ จะออกกฎหมายปรองดองเพื่อให้พ.ต.ท.ทักษิณเดินทางกลับบ้าน พร้อมกับคำให้สัมภาษณ์ของ นพ.เหวง โตจิราการ แกนนำนปช.และสส.พรรคเพื่อไทยที่ว่า เมื่อได้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่แล้ว พ.ต.ท.ทักษิณก็จะได้เดินทางกลับไทย ถึงแม้ทั้ง ร.ต.อ.เฉลิม และ นพ.เหวงจะปฏิเสธ แต่ฝ่ายค้านบอกว่า ถ้าไม่แก้รัฐธรรมนูญวันนี้ ก็ไม่มีใครเดือดร้อน นอกจากพรรคเพื่อไทยและคนทางไกลเท่านั้นที่เดือดร้อน
เหล่านี้เป็นพิมพ์เขียวหลักที่อาจปรากฎในเนื้อหา รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ซึ่งพรรคเพื่อไทยเป็นผู้กำหนดเกมอยู่ ...


  เขียนโดย isranews

โซดา-เหล้าอื้อ กองขยะสภา ปชป.ประจาน

 

 Pic_241282

นายบุญยอด สุขถิ่นไทย ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ อ้างบุกคุ้ยขยะรัฐสภา เจอทั้งโซดา-เครื่องดื่มแอลกอฮอล์เพียบ เตรียมชงวิปฝ่ายค้าน ตั้งกระทู้สดถาม ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี เชิงจริยธรรม-ข่มขู่ ส.ส. ...

เมื่อเวลา 12.00 น. วันที่ 26 ก.พ. ที่พรรคประชาธิปัตย์ นายบุญยอด สุขถิ่นไทย ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ แถลงเพื่อแสดงภาพถ่ายกองขยะ ที่รัฐสภา ซึ่งมีขวดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และขวดโซดาอยู่เป็นจำนวนมาก ว่า ในช่วงเช้าที่ผ่านมา ตนได้เดินทางไปรัฐสภาเพื่อไปสำรวจกองขยะภายในรัฐสภา และเท่าที่สอบถามทราบว่า สำนักงานเขตดุสิตจะมาเก็บขยะทุกวันในเวลาประมาณ 08.00 น. โดยขยะจะกองรวมกันอยู่บริเวณข้างประตูทางออกรัฐสภาด้านข้างของอาคารวุฒิสภา ซึ่งพบว่ามีขวดโซดากว่า 20 ขวด ขวดเซอร์มานอฟไอซ์ 4 ขวด เหล้าเชอร์รี่ที่เขียนข้างขวดว่า 3.5 VOL. จำนวน 2 ขวด และสปายไวน์คูลเลอร์ อีกประมาณ 4-5 ขวด ถึงแม้ว่าจะไม่เจอขวดเหล้าหรือไวน์ แต่ก็ไม่มีคนไทยกินโซดาเปล่าๆ แน่ เพราะฉะนั้นน่าจะอนุมานได้ว่า มีการดื่มเหล้าในรัฐสภากันจริง นอกจากนั้น ทางผู้จัดการห้องอาหารรัฐสภา ก็ยืนยันว่า ทางร้านอาหารของรัฐสภาไม่มีการจำหน่วยเหล้าและโซดาเด็ดขาด

“ขยะ ที่พบยังมีจำนวนมาก ขนาดเมื่อเช้าวันเสาร์ได้เก็บไปแล้วหนึ่งครั้ง ความจริงผมก็อยากเห็นเหมือนกันว่า ดื่มเหล้าหรือไวน์ยี่ห้ออะไร ดื่มไวน์ราคาขวดละเท่าไหร่ แต่ได้รับทราบมาว่า เวลาเอาเข้ามาก็จะใส่ถุงกระดาษใส่ซ้อนถุงพลาสติกเอากลับออกไปด้วย ไม่เอามาไว้ในสภาฯ” นายบุญยอด กล่าว

นายบุญยอด กล่าวต่อว่า ดังนั้น ตน และ น.ส.รังสิมา รอดรัศมี ส.ส.สมุทรสงคราม พรรคประชาธิปัตย์ จะยื่นเรื่องนี้เข้าที่ประชุมวิปฝ่ายค้านในวันที่ 28 ก.พ.นี้ เพื่อหารือว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไป ทั้งนี้คาดว่าน่าจะต้องยื่นกระทู้สดถาม ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกฯ ในวันที่ 1 มี.ค.นี้ โดยจะถามในเชิงจริยธรรม และพฤติกรรมการข่มขู่ เพราะในวันพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญ ร.ต.อ.เฉลิม ยืนชี้หน้าข่มขู่ น.ส.รังสิมา ด้วย ทั้งนี้ หากจะถามกันตรงๆ ว่าเมาหรือเปล่า ก็คงไม่มีใครยอมรับว่าเมา รวมทั้งจะนำหลักฐานที่ได้ยื่นต่อคณะกรรมการจริยธรรมสภาฯ เพื่อตรวจสอบต่อไปด้วย.

 

ไม่สอบเมาสภา พท.หนุนเฉลิม ขู่ฟ้องกลับปชป.

Pic_241258 พรรคเพื่อไทยประกาศหนุนหลัง ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี ยืนยันจะไม่ตั้งคณะกรรมการสอบจริยธรรม กรณี โดนกล่าวหา เมาในสภา พร้อมขู่ฟ้องกลับพรรคประชาธิปัตย์ ฐานหมิ่นประมาท หากยังพยายามขยายประเด็นไม่เลิกรา...

ที่พรรคเพื่อไทย นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย แถลงว่า พรรคเพื่อไทยขอบคุณสมาชิกรัฐสภาที่ผ่านร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 ในวาระแรก และต้องขอบคุณพรรคภูมิใจไทย และ ส.ว. ที่ร่วมกันช่วยโหวตจนได้คะแนนถึง 399 เสียง อย่างไรก็ตามขณะนี้มีกลุ่มบุคคลใช้สื่อโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม วิทยุชุมชน และกลุ่มบุคคลไปปลุกกระแสในพื้นที่ต่างๆ โดยเฉพาะภาคใต้ว่า การผ่านร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นการขับเคลื่อนให้พรรคเพื่อไทยเป็นเผด็จการ รัฐสภา ขอปฏิเสธว่า ไม่เป็นความจริง เพราะร่างรัฐธรรมนูญที่ได้รับความเห็นชอบในวาระ 1 มีทั้งเสียงจากพรรคภูมิใจไทย และ ส.ว. ไม่อยากให้มีการบิดเบือนปลุกกระแสต่อต้านรัฐธรรมนูญ เพื่อให้เกิดความขัดแย้งรอบใหม่ของประชาชน ที่สำคัญเมื่อผ่านวาระแรกแล้ว ยังสามารถไปแปรญัตติแก้ไขในชั้นกรรมาธิการฯได้ ซึ่งพรรคประชาธิปัตย์สามารถแปรญัตติในข้อคิดเห็นที่ต่างกันได้ ดังนั้นจึงไม่ใช่เผด็จการเสียงข้างมาก พวกมากลากไป และยืนยันไม่มีการแทรกแซงการทำงานของ ส.ส.ร.

นายพร้อมพงศ์กล่าวว่า ส่วนกรณีที่พรรคประชาธิปัตย์กล่าวหา ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี และนายอนันต์ ศรีพันธุ์ ส.ส.อุดรธานี พรรคเพื่อไทย อยู่ในอาการเมา ระหว่างการพิจารณาแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญนั้น ยืนยันว่า การประท้วงของ ร.ต.อ.เฉลิม ระหว่างการพิจารณาแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญทำถูกต้องตามข้อบังคับ การกล่าวหาว่า เมา ถือว่าไร้สาระ คนเมาจะประท้วงถูกต้องหรือ การที่พรรคประชาธิปัตย์เรียกร้องให้สอบจริยธรรม ร.ต.อ.เฉลิม และนายอนันต์ จึงไม่มีสาระ และเชื่อว่า พรรคเพื่อไทยคงไม่มีการตั้งคณะกรรมการตรวจสอบเรื่องนี้ เพราะเป็นการประชุมร่วมรัฐสภา จึงต้องให้เกียรติรัฐสภาเป็นผู้ตรวจสอบ พรรคประชาธิปัตย์อย่ามาตีรวน หากยังกล่าวหากันอยู่โดยไม่มีการพิสูจน์ข้อเท็จจริง ร.ต.อ.เฉลิมอาจฟ้องกลับได้ ตั้งข้อสังเกตว่า เป็นเรื่องที่เสียงโหวตในสภาสู้ไม่ได้ จึงหันไปโจมตี ร.ต.อ.เฉลิมแทน ตนอยู่ในเหตุการณ์ ยืนยัน ร.ต.อ.เฉลิม และนายอนันต์ไม่เมา
นอกจากนี้ นายพร้อมพงศ์ ยังแถลงถึงกรณีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และนายสุเทพ เทือกสุบรรณ ส.ส.สุราษฎร์ธานี ขอเลื่อนการให้ปากคำต่อ ป.ป.ช. ในวันที่ 28 ก.พ.กรณีการสั่งสลายการชุมนุมกลุ่มเสื้อแดงจนมีผู้เสียชีวิต 91 ศพ  ว่า สะท้อนให้เห็นว่า สมัยเป็นรัฐบาลที่บอกว่า มีข้อมูลพร้อมจะชี้แจง แต่มาวันนี้กลับปากกล้าขาสั่น ทราบจากวงในว่า ทั้งสองคนนี้กลัว และไม่รู้จริงหรือไม่ที่บอกว่า มีการไปหาบ้านแถวอังกฤษไว้แล้ว อยากถามนายอภิสิทธิ์ว่าจริงหรือไม่ที่มีบ้านแถวอังกฤษเตรียมพร้อมไว้แล้ว


ไทยรัฐ


ศธ.เด้งรับทักษิณ โปรยแท็บแล็ต ซื้อเพิ่มอีก8แสน


Pic_241269 สุชาติ ธาราดำรงเวช รมว.ศธ. เด้งรับ "ทักษิณ" จัดซื้อแท็บแล็ต อีก 8 แสนเครื่อง แจกเด็ก ม.1 แต่โอดงบฯ คงไม่พอ แย้ม เตรียมคิดแคมเปญ ให้ บ.เอกชนรายใหญ่ ช่วยบริจาคเงินสบทบ ลั่นพร้อม ฟัน 32 สถาบัน งาบเงิน กยศ.
วันที่ 26 ก.พ. นายสุชาติ ธาราดำรงเวช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวกับทีมข่าวไทยรัฐออนไลน์ กรณี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี วิดีโอลิงก์ที่โบนันซ่าเขาใหญ่ นครราชสีมา เมื่อคืนที่ผ่านมา ระบุอยากให้รัฐบาลจัดซื้อแท็บเล็ตเพิ่มอีก 8 แสนเครื่อง เพื่อแจกนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ทั่วประเทศ รวมเป็นจำนวน 1.6 ล้านเครื่อง ว่า กระทรวงศึกษาฯ จะรับเรื่องไว้พิจารณาจัดซื้อแท็บเล็ต อีก 8 แสนเครื่องทันที เชื่อว่ามีความเป็นไปได้อย่างแน่นอน
นาย สุชาติ กล่าวต่ออีกว่า ขณะนี้ส่วนตัวกำลังคิดแคมเปญ เป็นไปได้ว่า จะเปิดให้บริษัทเอกชนรายใหญ่ บริจาคทุนทรัพย์เพื่อสมทบทุนจัดซื้อแท็บเล็ตแจกเด็กนักเรียน เนื่องจากยอมรับว่า งบประมาณรัฐคงไม่เพียงพอ หากมีการจัดซื้อเพิ่มอีก 8 แสนเครื่อง อาจจูงใจบริษัทเอกชนที่บริจาค ด้วยการเสนอสิทธิพิเศษเพิ่มเติมนอกจากการหักภาษี ซึ่งขณะนี้กำลังคิดอยู่  ขณะเดียวกันยอมรับว่า เนื้อหาการศึกษาที่จะใช้บรรจุลงในแท็บแล็ตนั้น ศธ.เตรียมไว้แล้ว มี วิชาหลักอยู่ 8 สาขาวิชา  ทั้งนี้ มีการทดสอบเครื่องแท็บเล็ตบ้างแล้ว ตอนนี้ยังอยู่ที่ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ

อย่าง ไรก็ตาม นายสุชาติ กล่าวว่า กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ICT จะเป็นผู้ดูแลเรื่อง การเซ็นสัญญา และเครื่องสเปก การบรรจุเนื้อหา และเทคนิคเครื่อง เพราะมีความเชี่ยวชาญมากกว่ากระทรวงศึกษาธิการที่จะดูเรื่องเนื้อหาเป็นหลัก
"กรณี นี้ อาจมีข้อครหาเรื่องผลประโยชน์ หรือการทุจริตกับบริษัทเอกชนของประเทศจีนในการจัดซื้อเครื่องแท็บเล็ตนั้น นายสุชาติ ระบุว่า การจัดซื้อดังกล่าว เป็นระบบรัฐบาลต่อรัฐบาล หรือแบบจีทูจี  ดังนั้น รัฐบาลจีนเป็นผู้จัดหาบริษัทเอกชนมาดำเนินการเอง ไม่เกี่ยวทางการไทย รัฐบาลจีนจึงต้องการันตีในความโปร่งใสด้วย" รมว.ศธ. กล่าว

ส่วนเรื่องกรมสอบสวนคดีพิเศษตรวจพบ สถานบันการศึกษา 32 แห่ง มีการทุจริตเงินกู้ยืม กยศ.และเตรียมส่งเรื่องให้กระทรวงศึกษาธิการดำเนินการนั้น นายสุชาติระบุว่า เป็นเรื่องของหน่วยงานเหล่านั้นต้องไปดำเนินการเอาผิด เพราะความจริงหากเป็นในระดับมหาวิทยาลัยแล้ว แต่ละแห่งมีอิสระในการดำเนินการในตัวของมหาวิทยาลัยเอง เป็นเรื่องของกระบวนการยุติธรรม ทั้ง ตำรวจ อัยการ ศาลจะดำเนินการตามกระบวนการอำนาจตามกฎหมาย  ส่วนตัวไม่เคยเข้าไปสั่งการอะไรทั้งสิ้น  เพราะความจริงไม่จำเป็นต้องผ่านอำนาจรัฐมนตรี แต่หากกรมสอบสวนคดีพิเศษส่งเรื่องมาให้ ศธ.จริง ก็พร้อมที่จะพิจารณาและดำเนินการไปตามกฎหมายให้อำนาจไว้

อย่างไรก็ ตาม นายสุชาติไม่ขอออกความเห็นในกรณีการเมืองที่เริ่มปรากฏความร้อนแรงของการ เผชิญหน้าของกลุ่มมวลชนทั้ง 2 ฝ่าย เกี่ยวกับเรื่องการสนับสนุน-ต่อต้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่เกิดขึ้นในขณะนี้ โดยกล่าวเพียงสั้นๆ ว่า เป็นเรื่องของฝ่ายการเมืองจะต้องเป็นผู้ดูแล.

ไทยรัฐ

*นิติเรี่ยราด-ล่ม !


  by lima_j ,
..

* นิติเรี่ยราด-ล่ม !
..
.....................
..

ข่าวการเมือง
สภาทาสเมินข้อเสนอคปก. ฉีกรธน.50 อ้างเป็นผลพวงรัฐประหาร

..


..
ชทพ.เสนอเลือกตั้งนายกฯ ฝ่ายค้านรุมสับยับ-รั้งไม่อยู่
หวั่นลิดรอนพระราชอำนาจ มีวาระซ่อนเร้นช่วยนักโทษ

มีการประชุมรัฐสภา เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ เวลา 9.40 น. พิจารณาเรื่องด่วน ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่.. ) ซึ่งมีผู้เสนอ จำนวน 3 ฉบับ

คือ ร่างของ พรรคเพื่อไทย (พท.)ร่างของ พรรคชาติไทยพัฒนา(ชทพ.) และร่างของคณะรัฐมนตรี (ครม.) โดยหลักการสำคัญทั้ง 3 ร่าง เสนอแก้ไขมาตรา 291 ให้มีการตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ หรือ ส.ส.ร.ไปดำเนินการยกร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับใหม่ เพื่อใช้แทนรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน

การประชุมหนนี้นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานรัฐสภา ทำหน้าที่ประธานการประชุม โดยก่อนจะเข้าสู่ระเบียบวาระ สส.ฝ่ายค้าน อาทิ นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ สส. พัทลุง นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ สส.นครศรีธรรมราช ลุกท้วงติง ถึงความไม่เหมาะสมที่รัฐสภาจะพิจารณาร่างแก้ไขเพิ่มเติม รัฐธรรมนูญทั้ง 3 ฉบับ

โดยไม่รอพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญอีก 3 ฉบับ ที่ภาคประชาชนเข้าชื่อเสนอร่างแก้ไข อีกทั้ง เมื่อมีข้อเสนอของคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย (คปก.) ที่มี นายคณิต ณ นคร เป็น ประธานได้มีหนังสือเสนอให้รัฐบาลและประธานสภาผู้แทนฯ พร้อมเสนอให้ชะลอการ แก้ไขรัฐธรรมนูญ แต่รัฐบาลกลับปฏิเสธ อีกทั้ง ยังมีร่างของภาคประชาชนเสนอเข้าสภาแล้ว จึงควรชะลอเรื่องนี้ไปก่อน รอการตรวจสอบ รายชื่อร่างของประชาชนเสร็จสิ้นก่อน

ซีกรัฐบาลเดินหน้าลุยแก้รธน.

ขณะที่ในซีกรัฐบาล สส.จากพรรคเพื่อไทย อาทิ นายพีระพันธ์ พาลุสุข สส.ยโสธร นายสามารถ แก้วมีชัย สส.เชียงราย นายไพจิต ศรีวรขาน สส.นครพนม ลุกขึ้นตอบโต้ชี้แจง สนับสนุนให้มีการพิจารณาต่อไปอ้างร่างแก้ไข ของประชาชนเสนอมาต้องใช้เวลาในการตรวจรายชื่อประชาชนอีกนานเป็นปี ซึ่งเรื่องนี้ได้ชี้แจงประชาชนเข้าใจ ไม่ติดใจแล้วให้เดินหน้า แก้ไขรัฐธรรมนูญต่อไปซึ่งในขั้นแปรญัตติก็พร้อมจะเปิดโอกาสให้ประชาชนได้ ร่วมเสนอ ความเห็นได้จึงขอให้มีการพิจารณาต่อไป

โดยนายไพจิต ระบุว่า ร่างแก้ไขของ ภาคประชาชนอยู่ระหว่างตรวจสอบรายชื่อ ล่าสุดร่างของ นางธิดา ถาวรเศรษฐ� แกนนำคนเสื้อแดง รายชื่อถูกต้องครบตามกฎหมาย แล้ว ส่วนอีก 2 ร่างรายชื่อยังไม่ครบตามกฎหมายกำหนดจึงจำเป็นต้องแจ้งให้ส่งรายชื่อใหม่ ซึ่งตามระเบียบการตรวจสอบใช้เวลา อย่างน้อย 90 วัน

ฝ่ายค้านเสนอเลื่อนพิจารณา

จากนั้น ได้มีการอภิปรายถกเถียงกันนานพอสมควร นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ ประธานวิปฝ่ายค้าน เสนอญัตติด้วยวาจาขอให้เลื่อน วาระการพิจารณาแก้ไขรัฐธรรมนูญออกไปจน กว่าที่ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญที่ประชาชนเสนอจะได้รับการตรวจสอบแล้วเสร็จและ บรรจุเข้าสู่วาระพิจารณา ทำไมรัฐบาลพยายามเร่งรีบ รวบรัด แก้ไขรัฐธรรมนูญให้บรรลุเป้าหมายตามวาระ ซ่อนเร้น ตามที่สังคมสงสัย หากรัฐบาลต้อง การเร่งรีบเพื่อประชาชน ทำไมไม่นำระเบียบ วาระที่ค้างอยู่ในการประชุมร่วมซึ่งมีประโยชน์ มาพิจารณา ซึ่งประเด็นความเร่งรีบนี้เพื่อต้องการทำเพื่อบุคคลๆ หนึ่ง อย่างที่ สส. พรรครัฐบาลให้สัมภาษณ์กับหนังสือพิมพ์ ข่าวสดหรือไม่ นายจุรินทร์ กล่าว

หลังจากนายจุรินทร์ เสนอให้เลื่อนการพิจารณา ทำให้ นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว สส. น่าน พรรคเพื่อไทย ลุกขึ้นเสนอขอให้ที่ประชุม เดินหน้าพิจารณาตามระเบียบวาระต่อไป

เหลิมย้ำพาทักษิณกลับบ้าน

บรรยากาศการถกเถียง ระหว่างฝ่ายรัฐบาลกับฝ่ายค้านเริ่มดุเดือดเมื่อ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี ได้ตอบโต้ทันทีโดยยืนยันว่าเป็นคนระบุเองว่าจะพา พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร นักโทษหนีคดีอาญาแผ่นดิน กลับบ้าน คือต้องเสนอร่าง พ.ร.บ.ปรองดอง 6 มาตรา ส่วนผลจะออกมาอย่างไร ต้องให้สภาพิจารณา อย่าตกใจเกินเหตุ

ร.ต.อ.เฉลิมย้ำว่าส่วนประเด็นแก้ไขรัฐธรรมนูญรัฐบาลได้รณรงค์มาตั้งแต่ ปี2552 ไม่เอารัฐธรรมนูญที่เป็นกากเดนเผด็จการ ประเด็นแก้ไขใน มาตรา 291 เปิดทางให้มี ส.ส.ร.จำนวน 99 คน ยกร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญให้เสร็จภายใน 180 วัน แล้วทำประชามติก็ถือว่าทำตามนโยบายซึ่งพรรคประชาธิปัตย์จะทุกข์ร้อนอย่างไร ว่าใครจะกลับมา

ท่านเป็นเทวดา หรือถึงรู้ว่าสถาบัน การศึกษาจะส่งใครมา อย่าสร้างความปั่นป่วน จะเล่นการเมืองต้องมี หากคิดอย่างพวกท่าน ก็ร่างรัฐธรรมนูญเสร็จเลย แต่ผมเปิดทางให้มี ส.ส.ร. ส่วน ส.ส.ร.ทำอย่างไร เรื่องของเขา จะ เป็นจะตายกันหรืออย่างไรครับ ผมไม่ก้าวข้าม ทักษิณ มันเป็นสิทธิ์ของผม เพราะผมรักและเคารพ ผมพูด ผมแฟร์พอว่าจะยกร่าง พ.ร.บ.ปรองดอง การเมืองเข้าที่เข้าทาง ยกเว้น คนที่สั่งฆ่า 91 คน ร.ต.อ.เฉลิม ย้ำ

ฝ่ายค้านเตือนอย่าเซ็นเช็คเปล่า

นายจุรินทร์ ได้สวนกลับว่า การที่บอกว่าตั้ง ส.ส.ร. ไปทำอะไร ก็เรื่องของเขา เท่ากับว่าเป็นการลงนามเซ็นเช็คเปล่า หาก ส.ส.ร.ไปแก้รัฐธรรมนูญแล้วไปกระทบสถาบัน รัฐบาลจะเอาใช่หรือไม่ ต้องตอบให้ชัดเจน ร.ต.อ.เฉลิม ตอบโต้ว่า รัฐธรรมนูญจะไปลบล้างความผิดใครได้ ผมรับไม่ได้ในรัฐธรรมนูญ ฉบับนี้ โดยเฉพาะ มาตรา 309 แค่อ่านก็เสีย สายตา อย่าพูดกำกวม เซ็นเช็คเปล่าหมายความ ว่าไง อย่าพูดให้เสียหาย พร้อมได้ย้ำห้ามแก้ไข ในหมวดพระมหากษัตริย์

ขณะที่ นายอสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร ได้ลุกขึ้นถามว่า ร.ต.อ.เฉลิม ยืนยันหรือไม่ มีมาตราไหนที่ ระบุว่าห้ามไม่ให้แก้ไขหมวดพระมหากษัตริย์ แต่กลับไม่ได้รับการชี้แจงใดๆ จากร.ต.อ.เฉลิม

โหวตผ่านพิจารณาต่อไป

นายสุนัย จุลพงศธร สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ได้ลุกขึ้นขอร้องให้ ร.ต.อ.เฉลิม หยุดตอบโต้กับฝ่ายค้านพร้อมย้ำว่า ขอให้ใช้ความอดทน หนักนิดเบาหน่อย ขอให้อดทนเพื่อให้การเดินหน้าประชุมไปได้

ปรากฏว่าในที่ประชุมก็ยังมีการถกเถียง ระหว่างซีกฝ่ายค้านและรัฐบาล อย่างต่อเนื่อง จนทำให้ นายกฤษ อาทิตย์แก้ว สว.กำแพงเพชร ได้ลุกขึ้นเสนอว่าขอให้ที่ประชุมลงมติในญัตติที่ฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้านเสนอ เพราะอภิปราย มานานหลายชั่วโมงแล้ว ถ้าหากไม่จบ ทางสมาชิกวุฒิสภาจะเดินทางกลับ

จนกระทั่งเวลา 11.50 น. นายสมศักดิ์ ตัดบทขอให้ยุติการอภิปราย และประท้วงเพื่อขอให้ลงมติในญัตติที่นายจุรินทร์ เสนอให้เลื่อนการพิจารณาออกไป ปรากฏว่าที่ประชุมเสียงส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยให้เลื่อนการ พิจารณาด้วยเสียง 341 ต่อ 181 ในที่สุด การ ประชุมได้ดำเนินการไปตามระเบียบวาระต่อไป ได้ซึ่งใช้เวลาถกเถียงเสียเวลากว่า 2 ชั่วโมงเศษ

ถกพร้อมกันรวดเดียว3ร่าง

เวลา 12.00 น. พล.อ.ธีรเดช มีเพียร รองประธานรัฐสภาทำหน้าที่ประธานในการประชุม นายบุญยอด สุขถิ่นไทย สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ ได้เสนอให้ที่ประชุมแยกพิจารณาเนื้อหาและแยกการลงมติร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ทั้ง 3 ฉบับ เนื่องจากหลักการแต่ละร่างมีความแตกต่างกัน

อย่างไรก็ตาม นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว สส.น่าน พรรคเพื่อไทยคัดค้านเนื่องจากเห็น ว่าทั้ง 3 ร่างมีความคล้ายคลึงกัน ดังนั้นควรที่จะรวมพิจารณาไปในคราวเดียวหลัง สส.รัฐบาล และสส.ฝ่ายค้านถกเถียงกันอยู่ระยะเวลาหนึ่ง ประธานได้ตัดบทและขอให้ที่ประชุมลงมติเพื่อตัดสินว่าจะพิจารณาแบบใด ปรากฏว่า ที่ประชุมเห็นว่าควรพิจารณาเนื้อหาร่างรัฐธรรมนูญ ทั้ง 3 ฉบับในคราวเดียวกันแต่แยกกันลงมติด้วยเสียง 359 ต่อ 79 เสียง จากนั้นตัวแทน ผู้เสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้ง 3 ร่างทยอยนำเสนอร่างแก้ไขต่อที่ประชุมสภา

ชทพ.ย้ำขัดหลักปชต.-ไร้ถ่วงดุลศาล

จากนั้นที่ประชุมร่วมรัฐสภาได้เริ่มพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญเพิ่มเติม จำนวน 3 ฉบับซึ่งได้เปิดโอกาสให้เสนอร่างแก้ไขได้เสนอ หลักการและเหตุผลในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ

โดยนายชุมพล ศิลปอาชา รมว. การท่องเที่ยวและกีฬา ในฐานะหัวหน้าพรรค ชาติไทยพัฒนา ผู้เสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ฉบับของพรรคชาติไทยพัฒนากล่าวว่า รัฐธรรมนูญ 2550 มีบทบัญญัติหลายประการไม่สอดคล้อง กับหลักการประชาธิปไตย ไม่ส่งเสริมระบบพรรคการเมือง ทำให้ไม่เกิดความมั่นคงในการ บริหารราชการแผ่นดิน กระบวนการได้มาซึ่ง องค์กรที่ใช้อำนาจอธิปไตยและการได้มาซึ่งบุคคลในองค์กรอิสระต่างๆ ขาดการเชื่อมโยง กับประชาชน ขัดกับหลักประชาธิปไตย ไม่มีระบบถ่วงดุลขององค์กรตุลาการ และองค์อิสระ ที่มีประสิทธิภาพ ทำให้เกิดความเสียหาย ต่อ ระบบอำนวยความยุติธรรมต่อประชาชน เปิดช่องให้มีการเลือกปฏิบัติเป็นสองมาตรฐาน และมีการใช้ดุลพินิจเกินขอบเขต

ซัดต้องล้างผลพวงรัฐประหาร

นายชุมพลกล่าวว่าปัญหาทั้งหมดเป็น ผลมาจากการรัฐประหาร ทำให้เกิดผลกระทบ ต่อการบริหารราชการแผ่นดิน บทบัญญัติบางมาตรารองรับการกระทำของรัฐประหารโดยปราศจากการตรวจสอบ เป็นผลให้เกิดการเลือกปฏิบัติเกิดความไม่เท่าเทียมกันในสังคม ก่อให้เกิดความแตกแยกในสังคม แบ่ง ฝักแบ่งฝ่าย จึงสมควรร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ที่มีความเป็นประชาธิปไตยโดยให้ประชาชนมีส่วนร่วมและให้ความเห็นชอบกับร่าง รัฐธรรมนูญ อันส่งผลให้ประเทศชาติมีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมี พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขโดยแท้จริงคืออำนาจเป็นของปวงชนชาวไทย การปฏิบัติหน้าที่ของรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล และองค์กร ตามรัฐธรรมนูญรวมถึงหน่วยงานของรัฐ มีความเป็นนิติรัฐโดยสมบูรณ์

นายชุมพล กล่าวว่า ที่มาของ ส.ส.ร. จะมาจากสภาสถาบันอุดมศึกษา องค์กรทาง ด้านเศรษฐกิจ อีกส่วนจะเป็นผู้แทนมาจากประชาชนมาทำร่างรัฐธรรมนูญใหม่ ซึ่งตรงนี้จะเป็นการป้องกันข้อครหาว่าทำเพื่อบุคคลใด บุคคลหนึ่งเพื่อพรรคใดพรรคหนึ่งและจะช่วย ลดข้อโต้แย้งว่ารัฐธรรมนูญ 2540 หรือ 2550 ฉบับไหนดีกว่ากัน รูปแบบ ส.ส.ร.ที่เสนอมามีความโปร่งใสตรวจสอบได้ เพราะเมื่อมีการ

ยกร่างเสร็จต้องนำกลับมาให้ที่ประชุมรัฐสภา ให้ความเห็นชอบ ดังนั้น ข้อหวาดระแวงว่า ส.ส.ร.จะไปปู้ยี่ปู้ยำหรือทำอะไรซ่อนเร้นไม่มีแน่นอน เพราะคงทำได้ลำบาก

ปรับจุดแข็งรธน.ปี40-50ผนวกกัน

ขณะเดียวกัน ไม่จำเป็นต้องนำไปทำ ประชามติเพราะในรัฐสภาถือว่าเป็นตัวแทนของประชาชนสามารถตรวจสอบได้อยู่แล้ว แต่ถ้ารัฐสภาไม่เห็นชอบก็ยังสามารถนำร่างรัฐธรรมนูญไปประชามติถามประชาชนได้ การยกร่างรัฐธรรมนูญครั้งนี้ ต้องเอาจุดอ่อน และแข็งของรัฐธรรมนูญ 2540 และ 2550 มา พิจารณาโดยเอาจุดแข็งของทั้งสองฉบับมาผนวกกัน ที่ผ่านมาเราแก้ทีละประเด็นก็ ไม่สามารถทำให้การเมืองดีขึ้น แต่ทำให้ระบบ พรรคการเมืองเป็นอัมพาตถูกยุบเป็นว่าเล่น นายชุมพล กล่าว ทั้งประชดประชันว่า ขณะนี้เหลือเพียงพรรคเดียวที่มีอายุ 65 ปีซึ่งก็รอวันไม่รู้จะถูกยุบเมื่อไหร่ หากไม่แก้ไขอนาคตพรรค การเมืองสูญพันธุ์แน่นอน

เสนอให้เลือกตั้งนายกฯโดยตรง

ขอให้ทุกฝ่าย ลดทิฐิลงเพื่อประโยชน์ ของประเทศชาติส่วนรวม เพราะถ้าไม่ทำวิกฤติทางการเมืองก็ยังคงอยู่ต่อไป หากมีการ พิจารณาแก้ไขรัฐธรรมนูญควรมีการพิจารณา ที่มาของนายกรัฐมนตรีที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรงเพราะตอนยกร่างรัฐธรรมนูญ 2540 ส.ส.ร.ตอนนั้นไม่กล้าพิจารณาประเด็นนี้ แต่วันนี้ในระดับท้องถิ่นตั้งระดับนายก อบจ. เป็นการเลือกตั้งผู้นำโดยตรงแล้ว โครงสร้างระดับล่างทั้งหมดเป็นรูปแบบนี้ เราควรพิจารณา ประเด็นนี้หรือไม่ หรือหลายเรื่องควรมีการศึกษา อย่างเรื่องอำนาจของประธานสภาผู้แทน ราษฎร ที่ควรจะเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯพระราชบัญญัติ รวมไปถึงความไม่ชัดเจนในอำนาจขององค์กรอิสระหลายองค์กรที่ต้องปรับปรุงแก้ไข อย่างศาลปกครอง หรือ ศาลรัฐธรรมนูญ ควรมีหน้าที่พิจารณาเรื่องใดบ้าง นายชุมพล กล่าว

พท.ร่ายเหตุผลแก้รธน.เพียบ

ต่อมา นายอุดมเดช รัตนเสถียร สส. นนทบุรี พรรคเพื่อไทย และประธานวิปรัฐบาล ในฐานะตัวแทนผู้เสนอร่างแก้ไขของพรรคเพื่อไทย กล่าวหลักการและเหตุผลในการเสนอว่ารัฐธรรมนูญ 2550 มีบทบัญญัติหลาย ประการไม่สอดคล้องกับหลักการประชาธิปไตย ไม่ส่งเสริมระบบพรรคการเมืองทำให้ระบบพรรคการเมืองอ่อนแอ เกิดความไม่มั่นคง ต่อเนื่องในการบริหารราชการแผ่นดิน กระบวนการ ได้มาซึ่งองค์กรที่ใช้อำนาจอธิปไตย และการ ได้มาซึ่งบุคคลองค์กรอิสระต่างๆ ขาดการเชื่อมโยงกับอำนาจของประชาชนและขัดต่อหลักความเป็นประชาธิปไตย ไม่มีระบบการถ่วงดุลอำนาจขององค์กรตุลาการ และองค์กร อิสระตามรัฐธรรมนูญที่มีประสิทธิภาพ ทำให้เกิดความเสียหายต่อระบบอำนวยความยุติธรรม กับประชาชน เปิดช่องให้มีการเลือกปฏิบัติ เป็นสองมาตรฐาน และมีการใช้ดุลพินิจที่เกินขอบเขต

สับรธน.ต้นเหตุขัดแย้งไม่เป็นธรรม

นายอุดมเดชกล่าวว่าปัญหาทั้งหลายทั้งปวงดังกล่าวเป็นผลมาจากกระบวนการได้มา ซึ่งรัฐธรรมนูญมิได้เป็นไปตามหลักการ ของการปกครองในระบอบประชาธิปไตยที่อำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศเป็นของ ประชาชน แต่เป็นรัฐธรรมนูญที่สืบทอดอำนาจมาจากอำนาจของการทำรัฐประหารอันเป็นการได้ อำนาจการปกครองประเทศโดย วิธีการมิได้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ บทบัญญัติ ของรัฐธรรมนูญบางมาตราให้การรับรองการกระทำของคณะรัฐประหารโดยปราศจากการ ตรวจสอบเป็นผลให้เกิดการเลือกปฏิบัติโดย ไม่เป็นธรรมจนเกิดการแบ่งฝักแบ่งฝ่าย จึงเป็น การสมควรที่จะจัดให้มีการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่มีความเป็นประชาธิปไตย โดยกำหนดให้มี ส.ส.ร.มาจากการเลือกตั้งโดยตรง ของประชาชนจังหวัดละ 1 คนและจากการคัดเลือกจากที่ประชุมรัฐสภา 22 คน การที่ประเทศไทยมีความคิดเห็นที่หลากหลายและมี ส.ส.ร.มาจากทุกภาคส่วน จะเป็นความสวยงามของประชาธิปไตย เชื่อว่า ผู้มาเป็น ส.ส.ร.จะทำหน้าที่ตามหลักนิติรัฐนิติธรรมทำสิ่งประโยชน์ต่อประเทศชาติเพราะ ทุกคนมีที่มาและมีความน่าภาคภูมิใจ ถือเป็นตัวแทนจากภาคประชาชนเช่นเดียว กันกับสมาชิกรัฐสภาจึงขออย่ากังวลให้กับสิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้นนายอุดมเดช กล่าว

เหลิมโยน99สสร.ไปยกร่าง

ต่อมา ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายก รัฐมนตรี ในฐานะตัวแทนคณะรัฐมนตรี (ครม.) ผู้เสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ กล่าวว่าร่างแก้ไข รัฐธรรมนูญที่ครม.เสนอได้กำหนดให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูญ ประกอบด้วย ส.ส.ร.2 ประเภท 1.มาจากการเลือกตั้งในจังหวัด จังหวัดละ 1 คน และ 2.มาจากรัฐสภาคัดเลือกจาก บุคคลหลายสาขาอาชีพ 22 คน เพื่อปรับปรุง โครงสร้างทางการเมืองขึ้นใหม่ให้มีเสถียรภาพ และประสิทธิภาพยิ่งขึ้นทั้งเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการอนุมัติรัฐ ธรรมนูญ โดยการออกเสียงประชามติได้โดยยังคงรักษา ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขไว้ตลอดไป

ยันแก้ตามหาเสียงไม่ยุ่งม.112

รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่าบรรยากาศ ตอนนี้เกิดความสับสนโดยมีหลายคนแสดงความเห็นว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญคือ การรื้อ โครงสร้างประเทศและรอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ซึ่งในที่นี้ในนามรัฐบาลขอยืนยันจะรักษาสถาบัน พระมหากษัตริย์ต่อไปและการเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญไม่เกี่ยวกับประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และไปยกโทษยกความผิด ให้ใครไม่ได้ทั้งนั้น ไม่ได้เป็นการนิรโทษกรรม หรืออภัยโทษให้ใคร เพราะการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ของรัฐบาลได้ทำตามที่แถลงนโยบายต่อรัฐสภา เมื่อ 23 ส.ค. 2554 ว่าจะดำเนินการแก้ไขรัฐธรรมนูญภายใน1ปีซึ่งตอนนี้ถึงเวลาแล้วเท่านั้นเอง

ลั่นชงกม.ปรองดองพาแม้วกลับ

อย่างไรก็ตามรองนายกฯย้ำช่วงท้ายว่า หลังจากนี้จะเสนอ พ.ร.บ.ปรองดอง เข้าสภา ผู้แทนราษฎร เพื่อหาทางให้พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เข้ามาในประเทศ ให้ได้ ส่วนจะเข้ามาได้หรือไม่นั้น ต้องดูบริบท ทางการเมืองอีกครั้งหนึ่ง เพราะเป็นการทำ ตามที่หาเสียงเอาไว้ตอนเลือกตั้ง

บัญญัติไม่รับร่างทั้ง3ร่าง

เวลา 13.40 น. ที่ประชุมได้เริ่มอภิปราย ในสาระสำคัญ นายบัญญัติ บรรทัดฐาน สส. บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ อภิปรายเป็น คนแรกว่าไม่รับหลักการของการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ทั้ง 3 ฉบับ ด้วยเหตุผลหลายประการ ได้แก่

1.รัฐบาลไม่ได้รับฟังข้อเสนอแนะของคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย (คปก.) ที่เสนอให้ชะลอการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญวันนี้ออกไปจนกว่าร่างแก้ไขรัฐ ธรรมนูญของ ประชาชนจะได้รับการบรรจุในระเบียบวาระ

2.มีการเลี่ยงบาลีโดยการแก้ไขมาตรา 291 ทั้งที่ในบทบัญญัติมาตราดังกล่าวระบุให้สามารถดำเนินการได้โดยไม่ต้องตั้ง ส.ส.ร. และ 3.กระบวนการจัดทำรัฐธรรมนูญ 2550 ที่ผ่านการทำประชามติของประชาชนเท่ากับ มีความครบถ้วนในหลักประชาธิปไตยให้ประชาชนมีส่วนร่วม

แฉที่มาสสร.ทั้ง3ร่างบกพร่อง

นายบัญญัติ กล่าวต่อว่า หากพิจารณา ตัวร่างรัฐธรรมนูญ 3 ฉบับ ถือว่ามีข้อบกพร่อง ซึ่งควรปรับปรุงแก้ไข ได้แก่ 1.ที่มา ส.ส.ร. เลือกตั้ง ที่นำคุณสมบัติของผู้ที่จะลงสมัครรับเลือกตั้งสส.เข้ามาเป็นคุณสมบัติของผู้ ที่จะลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นส.ส.ร. ทั้งที่การแก้ไขรัฐธรรมนูญต้องกำหนดคุณสมบัติพิเศษ และห้ามให้อิทธิพลการเมืองครอบงำ หากเจ้าของร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญใจกว้าง ควรมีบทบัญญัติเพิ่มเติม ว่า ผู้จะสมัครเป็นส.ส.ร. ต้องไม่เป็นบุพการี คู่สมรส ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง หรือตำแหน่งอื่น, ไม่เป็น หรือเคยเป็น สส.ที่พ้นจากตำแหน่งมาแล้วไม่ถึงเวลา 5 ปี, ไม่ดำรงตำแหน่งสมาชิกการทาง การเมือง หรือสมาชิกพรรคการเมือง หากเป็น ต้องพ้นจากสมาชิกไม่น้อยกว่า 5 ปี

ส่วน ส.ส.ร.ที่มาจากสถาบันอุดมศึกษา ที่ ร.ต.อ.เฉลิม ระบุว่ารัฐบาลไม่สามารถครอบงำได้นั้น จากประสบการณ์ที่ผ่านมา แต่ บทบัญญัติที่ระบุว่าให้เพิ่มนักวิชาการด้านเศรษฐกิจ สังคม และเอกชนเข้ามานั้น เท่ากับ เป็นการเพิ่มจำนวนของนักวิชาการให้ได้จำนวนมาก เพื่อส่งผลต่อการคัดเลือกคนของรัฐบาลชั้นสุดท้าย ส่วนที่ให้รัฐสภาเป็น ผู้คัดเลือกส.ส.ร.ภาคนักวิชาการ จะเชื่อได้อย่างไรว่ามีความเป็นอิสระ หากรัฐบาลยังคง ถูกครอบงำ นายบัญญัติ กล่าว

หวั่นกระทบพระราชอำนาจ

นายบัญญัติ กล่าวต่อว่า กรณีที่ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกฯ ระบุว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้ ไม่แตะต้องหมวด พระมหากษัตริย์ เพราะเขียนไว้ชัดเจนว่า ตนไม่เข้าใจว่าระดับดอกเตอร์เฉลิม ไม่สามารถแปลความได้ว่า พระราชอำนาจอาจได้รับการ กระทบและเปลี่ยนแปลงได้ ทั้งนี้ตนมั่นใจในความจงรักภักดีของรัฐบาล แต่ด้วยช่องว่างของรัฐธรมนูญ ทำให้ไม่แน่ใจว่าจะได้ส.ส.ร.ที่มีความอิสระ ปราศจากการครอบงำของบุคคลได้ หากเสียงข้างมากในรัฐสภายังถูกครอบงำ คงไม่มีหลักประกันใดที่จะไม่ให้เกิด การปฏิรูปที่ไม่สุจริตและไม่ปรารถนาได้

สว.ไม่เชื่อลมปากเฉลิม

ต่อมา นางตรึงใจ บูรณสมภพ สว. สรรหา ได้อภิปรายว่าไม่เชื่อคำพูด ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกฯ ที่ระบุว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ครั้งนี้ จะไม่แก้ไขหมวดพระมหากษัตริย์ เพราะมีหลายครั้งที่รองนายกฯพูดแล้วข้อเท็จจริง ไม่ได้เป็นเช่นนั้น

ส่วนที่ไม่เห็นด้วยในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550 เนื่องจาก 1.ต้องการแก้ไขเพื่อให้สถาบัน พระมหากษัตริย์ เป็นเพียงสัญลักษณ์และตรายาง 2.แก้ไขหมวดอื่นๆ เพื่อเอื้อประโยชน์ ให้คนที่ต้องคำพิพากษาให้ยึดทรัพย์ ที่มาจากการประพฤติมิชอบ ทำให้ผู้ที่ถูกยึดทรัพย์ ได้รับเงินคืน และหากได้รับการนิรโทษกรรม บุคคลที่ถูกยึดทรัพย์สามารถลงสมัครรับเลือกตั้งได้และมาเป็นนายกฯได้

3.แก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อปูทางสู่ฐานอำนาจของกลุ่มบุคคลเพื่อเปลี่ยนประเทศให้ เป็นรัฐไทยใหม่ ให้เป็นเผด็จการทุนผูกขาด คือ แก้ไขมาตราที่ขัดขวางการทุจริตเลือกตั้ง ใช้เงินซื้อเสียงเลือกตั้ง หากแก้ไขประเทศไทย จะติดอันดับ 1 ของประเทศที่ทุจริต, แก้ไขให้พรรคการเมืองสามารถซื้อพรรคเล็กมา ควบรวมกับพรรคของตนเพื่อควบคุม สส. สภา นำไปสู่เผด็จการ สภาทาส และ สภาผัว-เมีย, แก้ไขการสรรหาที่มาองค์กรอิสระและที่มาของวุฒิสภา ทำให้นักการเมืองมีอิทธิพลเข้าเลือกคนของตนให้ไปดำเนินการในหน่วยงาน ดังกล่าวได้

ดังนั้นจึงเห็นว่าการแก้ไขครั้งนี้ ไม่เป็นประโยชน์ใดต่อประชาชน ทำให้เกิดระบบทุนผูกขาด เบ็ดเสร็จ สถาบันในสังคมทำให้อ่อนแอ และประชาชนจะถูกยึดครอง ดังนั้นประชาชนที่ต้องการประชาธิปไตยขณะนี้ กำลังถูกหลอก ส่วนพรรคการเมืองตกอยู่ภายใต้ทุน นางตรึงใจ กล่าว

หั่นวาระองค์กรอิสระทิ้ง

ด้าน พ.อ.อภิวันท์ วิริยะชัย สส. นนทบุรี พรรคเพื่อไทย อภิปรายว่า รัฐธรรมนูญ ปัจจุบันเป็นผลพวงมาจากการรัฐประหาร จึงต้องแก้ไข โดยเฉพาะผู้มาดำรงตำแหน่งองค์กรอิสระ ไม่ควรมีวาระดำรงตำแหน่ง 9 ปี เพราะทำให้เป็นผู้มีอิทธิพลเอง ควรลดเหลือ 5 ปี รวมถึงควรยกเลิกการยุบพรรค และตัดสิทธิการเมืองกรรมการบริหารพรรค พญ.พรพันธ์ บุญยรัตพันธุ์ สว. สรรหาอภิปรายว่า ตนก็ยังไม่ไว้วางใจต่อการมาทำหน้าที่ของส.ส.ร.ว่าจะไม่แตะต้องหมวดที่เกี่ยว ข้องกับสถาบันกษัตริย์ เพราะ ไม่ได้ระบุไว้ให้ชัดเจนว่า ไม่ให้มีการแก้ไขหมวด 2 แต่ไม่มีใครสามารถยืนยันได้

ดังนั้นขอเสนอให้เขียนไว้ในร่างรัฐธรรมนูญให้ชัดเจนไปเลยว่า ห้าม ส.ส.ร.แตะต้องหมวดดังกล่าวเพื่อให้ประชาชนได้เกิดความ สบายใจ

หมอตุลย์ค้านแก้ไขม.112

ก่อนหน้านี้ เวลา 10.00 น. เครือข่ายพลเมืองอาสาปกป้องแผ่นดิน นำโดย นพ.ตุลย์ สิทธิสมวงศ์ ได้นำรายชื่อผู้คัดค้านการแก้ไข หรือยกเลิกประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 จำนวน 3 หมื่นรายชื่อ ยื่นต่อนายเจริญ จรรย์โกมล รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 1 และพล.อ.ธีรเดช มีเพียร ประธานวุฒิสภา ทั้งยังคัดค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญขณะนี้ด้วย โดยเรียกร้องให้ทุกฝ่ายชี้แจง ให้ชัดก่อนว่าจะแก้ไขประเด็นไหน แก้อย่างไร มาตราใดบ้าง

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าการประชุมรัฐสภา หนนี้ มีกลุ่มผู้คัดค้าน และกลุ่มผู้สนับสนุนแก้ไขรัฐธรรมนูญ จำนวนมาก แต่ไม่มีเหตุการณ์ อะไรรุนแรง โดยตำรวจนครบาลได้ส่งกำลัง 400 นายดูแลความเรียบร้อย

หึ่งนิติราษฎร์ล่มสลายแล้ว

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า คณะนิติราษฎร์ โดยมีนายวรเจตน์ ภาคีรัตน์ อ.ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นแกนนำนั้น เป็นผู้เสนอแก้ไข มาตรา 112 ของประมวลกฎหมายอาญา โดยเสนอลดโทษ ของผู้กระทำผิดในคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ซึ่งได้สร้างกระแสและความขัดแย้งต่อสังคมไทย เป็นเวลาเกือบ 2 เดือนนั้น ล่าสุด มีข่าววงในจากนักข่าวในทำเนียบรัฐบาล เริ่มพูดกันเป็นเสียงเดียวว่า ล่าสุดคณะนิติราษฎร์ เริ่มถอดใจ กับการรณรงค์แก้ไข ม.112 เพราะประชาชนออกมา ต่อต้านแถมยังมีแนวต้านจากหลายๆ ฝ่าย ไม่เห็นด้วยทั่วบ้านทั่วเมือง ล่าสุดนั้น รัฐสภา ตอกย้ำยืนยันชี้ชัดว่าจะไม่มีวันแก้กฎหมายฉบับนี้แน่นอน
 
วันที่ 24/2/2012
..
ข่าวการเมือง
ประมวลภาพ "ขบวนพาเหรดล้อการเมือง"
งานฟุตบอลประเพณี จุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ ครั้งที่ 68


..
    งานฟุตบอลประเพณีฯ ระหว่างสองสถาบันที่จัดต่อเนื่องกันมาอย่างยาวนาน ตั้งแต่ปีที่ก่อตั้งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คือปี พ.ศ.2477 จากแนวคิดร่วมกันของนิสิตนักศึกษาทั้งสองสถาบัน เพื่อสร้างความสามัคคีและเป็นหนึ่งในกิจกรรมอันยิ่งใหญ่ของนักศึกษา ที่ทำขึ้นด้วยแรงกายแรงใจอย่างแท้จริง

     โดยในปีนี้ งานฟุตบอลประเพณี จุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 68 ซึ่งจะจัดขึ้นในวันเสาร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ 2555 ณ สนามศุภชลาศัย โดยมีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นเจ้าภาพ ภายใต้แนวคิดหลัก "เปิดรับ" โดยมีวลีเต็มคือ "ฟื้นคืนความหวัง สร้างพลังความคิด ทุกชีวิตเปิดรับความเปลี่ยนแปลง" ซึ่งเป็นแนวคิดที่ได้มาจากการมองเห็นปัญหาหลายอย่างในสังคมไทย โดยเฉพาะปัญหาอุทกภัยครั้งใหญ่ที่เพิ่งผ่านไป

     สำหรับตราสัญลักษณ์ของงานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ ในครั้งนี้ มีแนวคิดเน้นถึงความสามัคคี จากการใช้รูปลักษณ์ของเลขหกและแปด เป็นเส้นสายเข้ามารวมที่เป็นหนึ่งเดียวกัน ตราสัญลักษณ์นี้ยังถูกนำไปประดับบนเสื้อเชียร์

     ทั้งนี้ ภายในงานฟุตบอลประเพณี จุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ ครั้งที่ 68 มีกิจกรรมมากมาย อาทิ การแปรอักษร การแสดงจากผู้นำเชียร์และคณะฑูตกิจกรรม แสตนด์แปรอักษร และขบวนพาเหรดล้อการเมือง ที่รับรองว่า ต้องมีทีเด็ดไม่แพ้จากปีก่อนๆ แน่นอน









 
รีโมท ซื้อ รีโมท จากผู้ค้าส่งโดยตรง ที่มีหน้าร้านจริง ที่ บ้านหม้อ และ คลองถม ราคาถูกกว่าใคร ปลอดภัย มีรับประกัน

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

บทความย้อนหลัง