บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันอาทิตย์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2555

วิกิลีกส์แฉอดีตทูตสหรัฐระบุทักษิณคือตัวการก่อจลาจลทั้งพัทยาและกรุงเทพฯเสนองดให้วีซ่า

เปิดเอกสารลับ”วิกิลีกส์”ตบหน้าความกะล่อนของสหรัฐแฉทูตอีริค จอห์นเคยเสนอให้เพิกถอนวีซ่าทักษิณ ชินวัตร เหตุก่ออาชญากรรมเลวทรามต่ำช้าทางศีลธรรมมีหมายจับ 2 ฉบับ ก่อจลาจลเรียกร้องปฏิวัติ-คอรัปชั่น ม็อบบุกสถานทูตสหรัฐแต่เจ้าหน้าที่ไม่รับหนังสือ

หลังจากประเทศสหรัฐอเมริกาอนุญาตให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีได้รับวีซ่าเดินทางเข้าสหรัฐ ทั้งที่เป็นผู้ต้องโทษคดีอาญาและผู้ต้องหาคดีก่อการร้ายของทางการไทย ล่าสุดได้มีการเผยแพร่เอกสารลับทางการทูตของสหรัฐซึ่งเว็บไซต์จอมแฉ “วิกิลีกส์” เคยนำออกเผยแพร่เมื่อปี 2011 เปิดโปงไว้ชัดเจนว่า สถานทูตสหรัฐในกรุงเทพฯโดยนายอีริค จี. จอห์น เอกอัครราชทูตสหรัฐสมัยนั้น เคยเสนอต่อกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐให้เพิกถอนวีซ่าเข้าสหรัฐของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ในเอกสารหมายเลข 09BANGKOK1132 ลงวันที่ 2009-05-07 (วันที่ 7 เดือนพฤษภาคม 2009)พร้อมเอกสารอ้างอิง 3 ฉบับ

เสนอเพิกถอนวีซ่าทักษิณ

ในบทย่อและข้อเสนอเชิงปฏิบัติระบุไว้ว่า ข้อเสนอแนะให้กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐเพิกถอนวีซ่าของอดีตนายกรัฐมนตรีไทยเพื่อความรอบคอบนั้น มีเหตุผลมาจากความเชื่อที่ว่าทักษิณอาจก่ออาชญากรรมที่เกี่ยวข้องกับความเลวทรามต่ำช้าทางศีลธรรมและรัฐบาลไทยได้ออกหมายจับทักษิณไว้ 2 ฉบับ ฉบับหนึ่งนั้นอ้างว่าเขากระตุ้นให้เกิดความไม่สงบและการกระทำผิดกฎหมายอันเกี่ยวพันกับการก่อจลาจล โดยพวกผู้สนับสนุนเขาที่พัทยาและกรุงเทพฯเมื่อกลางเดือนเมษายน (2552)


อีริค จี. จอห์น
“แม้ว่ากระทรวงจะดำเนินการตามข้อเสนอหรือไม่ คุณสมบัติของทักษิณขณะนี้ก็ไม่เข้าเกณฑ์การขอวีซ่าประเภท บี1/บี2 ของสหรัฐ เนื่องจากรัฐบาลไทยได้เพิกถอนหนังสือเดินทางไทยของทักษิณทุกฉบับแล้ว มิติทางการเมืองดังกล่าวจึงสมควรที่จะเพิกถอนวีซ่าเพื่อความรอบคอบ เนื่องจากรัฐบาลไทยได้ให้ความสำคัญกับการจำกัดความเคลื่อนไหวและพฤติการณ์ของทักษิณในต่างแดน (รวมถึงการส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดนแก่ไทย) เป็นลำดับแรกของการดำเนินกิจการระหว่างประเทศ”

กระทรวงต่างประเทศยึดพาสปอร์ต 2 เล่มของทักษิณ

ข้อมูลในเอกสารลับยังมีอีกว่า จากเอกสารอ้างอิงหมายจับและการถอนหนังสือเดินทางของรัฐบาลไทย แจ้งว่ากระทรวงการต่างประเทศไทยได้ยึดหนังสือเดินทาง 2 เล่มของทักษิณ และแจ้งด้วยว่า “ทักษิณไม่ได้ถือหนังสือเดินทางไทยมานับตั้งแต่วันที่ 12 เมษายน 2552″ จึงเชื่อว่าทักษิณขาดคุณสมบัติ

โทรเลขของทูตสหรัฐแจ้งต่ออีกว่าขณะนั้นทักษิณมีหนังสือเดินทางทูตของนิการากัว และสถานทูตประจำพอดกอรีซาแจ้งด้วยว่ารัฐบาลมอนเตเนโกรได้ยืนยันว่าทักษิณถือพาสปอร์ตของมอนเตรเนโกรและยังมีข่าวลือโคมลอยด้วยว่าทักษิณอาจมีพาสปอร์ตกัมพูชาและอีกหลายประเทศ

ซัดทักษิณปลุกปฏิวัติ

ในเอกสารอ้างอิงที่กล่าวถึงคำตัดสินคดีของทักษิณ รายงานว่าเดือนตุลาคม 2551 ทักษิรถูกตัดสินว่ามีความผิดในกฎหมายคอรัปชั่นของไทย ระหว่างการพิจารณาตัดสินนั้น ทักษิณอยู่ต่างประเทศและไม่ได้กลับเมืองไทย

เอกสารอ้างอิงยังระบุถึง”หมายจับ”ที่กระทรวงการต่างประเทศไทยส่งถึงสถานทูต อ้างว่าทักษิณไม่มามอบตัวเพื่อรับโทษจำคุก 2 ปีตามคำพิพากษาคดีข้างต้น

นอกจากนี้ยังมีเนื้อหาหมายจับฉบับที่ 2 ที่กล่าวหาว่าทักษิณกระตุ้นให้เกิดความไม่สงบ และการทำผิดกฎหมายจากการชุมนุมใช้ความรุนแรงที่พัทยาและกรุงเทพฯ กลางเดือนเมษายน

ทั้งนี้ จากเอกสารอ้างอิงฉบับแรกอ้างถึงคำกล่าวปราศรัยของทักษิณ ที่เรียกร้องให้มีการ”ปฏิวัติ” และเชื่อว่าถ้อยคำของทักษิณยั่วยุอารมณ์และสามารถถูกตีความเป็นการเรียกร้องให้ก่อพฤติกรรมไร้ขื่อแป

ตอนท้ายเอกสารลับทูตสหรัฐให้ความเห็นตอนท้านว่า”ยังไม่ตัดทิ้งความเป็นไปได้ในอนาคตที่ทักษิณจะกลับมามีอิทธิพลครอบงำรัฐบาลไทย เชื่อว่าการเพิกถอนซึ่งชอบด้วยหมายจับของไทย คงจะทำร้ายสัมพันธไมตรีไทย-สหรัฐอย่างร้ายแรงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ หากทักษิณหรือพันธมิตรของเขากลับคืนสู่อำนาจ”

วันเดียวกัน กลุ่มภาคีเครือข่ายประชาชนทนไม่ไหว พร้อมสมาชิกภาคีจำนวน 150 คน ได้เดินทางมาชุมนุมบริเวณหน้าสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกา ถนนวิทยุ โจมตีกรณีที่ประเทศสหรัฐอเมริกาออกวีซ่าให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เดินทางเข้าประเทศได้ อย่างไรก็ตาม สถานทูตสหรัฐไม่ยอมรับหนังสือ แต่กลับยื่นข้อเสนอให้ส่งเอกสารทางไปรษณีย์แทน ทั้งนี้ กลุ่มภาคีเครือข่ายฯ จะเดินทางไปชุมนุมที่สำนักงานองค์การสหประชาชาติ (ยูเอ็น) ในวันที่ 21 ส.ค.อีกครั้ง

เปิดกรุวิกิลีกส์: เมื่อ ‘ทูตสหรัฐ’ พบ ‘ยิ่งลักษณ์’ เมื่อเดือน พ.ย. 2552 .

http://www.siamintelligence.com/us-ambassador-met-yingluck-2009/


เอกสารใน “เคเบิล” ของสถานทูตสหรัฐประจำประเทศไทยที่หลุดออกมาผ่านวิกิลีกส์ ไม่เพียงแต่มีเนื้อหาจากอำนาจฝั่งอนุรักษ์นิยมเท่านั้น เพราะเอกอัครราชทูตของสหรัฐอเมริกาในช่วงนั้นทั้งสองคนคือ ราล์ฟ บอยซ์ (Ralph Boylce) และ อีริค จี จอห์น (Eric G. John) ก็พบปะกับบุคคลระดับแกนนำของพรรคไทยรักไทย พรรคพลังประชาชน และพรรคเพื่อไทยด้วย


Eric G. John และยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
ใน “เคเบิล” ที่เพิ่งถูกปล่อยออกมาชิ้นหนึ่ง ได้ระบุเนื้อหาของการพบปะกันระหว่าง อีริค จี จอห์น กับ น.ส. ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และนายนพดล ปัทมะ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศในรัฐบาลสมัคร สุนทรเวช ซึ่งการพบปะกันครั้งนี้เกิดขึ้นที่สถานทูตอเมริกา เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 ก่อนการชุมนุมที่ราชประสงค์ของกลุ่มคนเสื้อแดงประมาณ 3 เดือน

ข้อมูลจากอีริค จี จอห์น เขียนไว้ว่าเขาพบกับ “ผู้นำอย่างไม่เป็นทางการ” ของพรรคเพื่อไทย เพื่อแสดงความเป็นห่วงต่อแผนการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดงที่กำลังจะเกิดขึ้น (ในตอนนั้น) และกระตุ้นให้ยิ่งลักษณ์และนพดลส่งข้อความไปถึง พ.ต.ท. ทักษิณ ไม่ให้เดินสายความรุนแรงกับการชุมนุม

ตามข้อมูลของอีริค จี จอห์น ใน “เคเบิล” ชิ้นนี้ ยิ่งลักษณ์และนพดลได้แสดงความไม่พอใจเรื่อง “ดับเบิลสแตนดาร์ด” ที่คนเสื้อแดงและกลุ่มผู้สนับสนุน พ.ต.ท. ทักษิณ ถูกเลือกปฏิบัติ โดยยกตัวอย่างการยึดสนามบินสุวรรณภูมิ ที่คนเสื้อเหลืองไม่โดนข้อหาใดๆ แต่คนเสื้อแดงกลับโดนกดขี่โดย พรบ. ความมั่นคงภายใน

ยิ่งลักษณ์และนพดลพูดถึงประเด็นอื่นๆ ดังนี้

นพดลไม่คิดว่าการประท้วงของกลุ่มคนเสื้อแดง จะทำให้รัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะต้องยุบสภาได้ ทั้งสองคนมองว่าในระยะสั้นถึงระยะกลาง พรรคเพื่อไทยน่าจะยังเป็นฝ่ายค้านต่อไป
นพดลเกรงว่าฝ่ายรัฐบาลจะโจมตีกลุ่มคนเสื้อแดง และทำให้เกิดการเผชิญหน้าระหว่างทั้งสองฝ่าย นพดลระบุว่าฝ่ายรัฐบาลไม่เคยรู้สึกผิดในการใช้ความรุนแรงต่อฝ่ายทักษิณ โดยยกตัวอย่าง “กรณีคาร์บอมบ์” ให้ทูตฟัง
นพดลได้พูดถึงกระบวนการยุติธรรมของไทยที่มุ่งทำลายฝ่าย พ.ต.ท. ทักษิณ โดยยกตัวอย่าง “กรณีทำกับข้าว” ของนายสมัคร สุนทรเวช และบอกกับทูตว่าทักษิณเป็นผู้นำด้านประชาธิปไตย (champions of democracy) ของไทย ส่วนอภิสิทธิ์สนใจแต่รักษาอำนาจในตำแหน่งนายกเท่านั้น
ทั้งยิ่งลักษณ์และนพดล แสดงความสนใจเรื่องกระบวนการปรองดองโดยบุคคล/พรรคที่สาม แต่ไม่สามารถระบุตัวได้ว่าควรให้ใครทำหน้าที่นี้ นพดลบอกว่าโดยทั่วไป หน้าที่นี้ควรเป็นของประธานองคมนตรี แต่ในสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ทำให้ พล.อ.เปรม ไม่เหมาะสำหรับหน้าที่นี้
ยิ่งลักษณ์บอกว่าทักษิณไม่ได้ดื้อ (stubborn) และสนใจการเจรจา เขาเป็นนักธุรกิจโดยธรรมชาติ เขาแค่ต้องการให้ฝ่ายรัฐบาลเสนอเงื่อนไขที่เห็นตรงกันเท่านั้น
นพดลยกตัวอย่างทรัพย์สิน 7.4 หมื่นล้านที่โดนยึดไป โดยบอกว่า พ.ต.ท. ทักษิณ มีทรัพย์สิน 4.5 หมื่นล้านอยู่แล้วก่อนเล่นการเมือง
ทั้งยิ่งลักษณ์และนพดล บอกว่าการเดินทางไปเยือนกัมพูชาของ พ.ต.ท. ทักษิณ รวมถึงการที่ พ.ต.ท. ทักษิณให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์ The Times จะส่งผลเสียในระยะยาว
นพดลบอกว่าพรรคเพื่อไทยได้ยกเลิกแผนการดึงรัฐธรรมนูญ 40 กลับมาใช้ใหม่ และหันไปมุ่งสู่การเลือกตั้งเป็นหลัก แต่ก็บอกว่ารัฐธรรมนูญปี 40 ควรใช้เป็นฐานในการปฏิรูป ไม่ใช่รัฐธรรมนูญปี 50
อีริค จี จอห์น ได้ถามถึงโอกาสที่ พล.อ. ชวลิต ยงใจยุทธ จะเป็นนายกรัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์และนพดลได้ตอบตรงกันว่า พล.อ.ชวลิต เป็นตัวเลือกที่ไม่เหมาะสม เพราะอายุ 77 ปีแล้ว และไม่ได้มีบทบาทบริหารงานภายในพรรคเพื่อไทย เป็นเพียงนักยุทธศาสตร์ที่ช่วยมองภาพกว้างเท่านั้น
ยิ่งลักษณ์พูดถึง “ผู้นำ” ของพรรคเพื่อไทยว่ายังไม่แน่นอน และอาจมี “ใครสักคน” ที่ก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำพรรคในภายหลัง เอาชนะการเลือกตั้ง และเป็นนายกรัฐมนตรีคนถัดไปได้ ยิ่งลักษณ์บอกว่าคนผู้นี้ควรจะมีความสามารถทางเศรษฐกิจเป็นทุนเดิม
ในการพบกับ น.ส. ยิ่งลักษณ์ครั้งนี้ อีริค จี จอห์น ตั้งข้อสังเกตว่ายิ่งลักษณ์ดูมั่นใจมากขึ้น เธอพูดถึงแผนงานและยุทธศาสตร์ของพรรคเพื่อไทย และพึ่งตัวช่วยจากนายนพดลน้อยลง

จอห์น บอกว่ายิ่งลักษณ์ไม่ได้มีธรรมชาติของนักการเมืองเท่ากับ พ.ต.ท. ทักษิณ พี่ชาย แต่เธอก็ดูมีอนาคตที่ดีภายในพรรค ก่อนการพบปะจะสิ้นสุดลง เมื่อจอห์นจับมือกับยิ่งลักษณ์ นพดลได้พูดว่า “คุณเพิ่งจับมือกับว่าที่นายกรัฐมนตรีคนถัดไป”

เอกสารต้นฉบับจากเคเบิลหมายเลข 09BANGKOK3003








Protesters besiege Asian leaders’ summit in Thailand

http://www.guardian.co.uk/world/2009/apr/10/thailand-protest-asean-summit


Anti-government protesters in Thailand this morning broke through a police cordon to reach the venue for a summit of Asian leaders in the resort town of Pattaya.

About 2,000 red-shirted supporters of the former Thai prime minister Thaksin Shinawatra, who was deposed in a coup in 2006, confronted police and troops outside the luxury hotel where the summit is being held, demanding that the government of the current prime minister, Abhisit Vejjajiva, step down.

But tensions eased later after an official from the Association of Southeast Asian Nations (Asean) emerged from the hotel to accept a letter from the demonstrators.

Protest leader Arisman Pongreungrong said they had agreed to leave the site for now and to unblock roads leading to the summit venue. But he said the protesters would regroup in the town, a few miles away from the hotel, and discuss whether to return to the summit if their demands were not met.

The action in the town, 90 miles south-east of Bangkok, follows three days of huge protests in the capital. Mass protests began on Wednesday, with 100,000 people surrounding Abhisit's office at Government House in the capital.

Abhisit has been forced to declare today a public holiday, hoping it will be easier to control the demonstrations with fewer people in Bangkok.

In a televised address yesterday, Abhisit said he wanted to ease the inconvenience to the public caused by the protests, and make it easier to identify troublemakers. He added he would not give in to Thaksin's demands for him to step down.

Thaksin, a telecommunications billionaire, lives in self-imposed exile, but his absence has not healed the divisions between the royalist, military and business elite, who say he was corrupt, and the poor, who benefited from his populist policies.

Abhisit became prime minister in December, after a pro-Thaksin government was dismissed by the courts.



ขอบคุณ Apacnews


รีโมท ซื้อ รีโมท จากผู้ค้าส่งโดยตรง ที่มีหน้าร้านจริง ที่ บ้านหม้อ และ คลองถม ราคาถูกกว่าใคร ปลอดภัย มีรับประกัน

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

บทความย้อนหลัง