บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันอาทิตย์ที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

คิกออฟปราบโกง จัดการมะเร็งร้ายกัดกร่อนประเทศ ...ใครเริ่มก่อน ?


 เขียนโดย isranews 

ถือเป็นนิมิตหมายอันดี วันศุกร์ที่ 18 พฤษภาคม  2555 เป็นอีกหนึ่งวัน ที่คนไทย ต้องจดจำ เพราะรัฐบาลเปิดยุทธศาสตร์ต้านโกง   ภายใต้แนวคิด “ประเทศไทยก้าวไกลไร้ทุจริต” งาน นี้ นายกฯ ยิ่งลักษณ์  นำครม. รวมทั้งหัวหน้าส่วนราชการประทับฝ่ามือทำพิธีเพื่อประกาศเจตนารมณ์ในการต่อ ต้านการทุจริตอย่างเป็นทางการ พร้อมกับเปิดศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น (Anti-Corruption War Room)

เนื้อหาสาระ ความน่าสนใจ อยู่ที่การนำเสนอตัวอย่างต่างประเทศที่เป็นเลิศ (Best Practices) ในการแก้ไขปัญหาทุจริตคอร์รัปชั่น: กรณีสาธารณรัฐสิงคโปร์ โดยนาย ชัว เชอร์ ยัค อดีตผู้อำนวยการ Corrupt Practices Investigation Bureau (CPIB) ประเทศสิงคโปร์  บินตรงข้ามประเทศมาถอดบทเรียนให้เห็น การคอร์รัปชั่นซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ที่เกิดขึ้นในประเทศกำลังพัฒนานั้น ในอดีตประเทศสิงคโปร์ก็มีปัญหาคอร์รัปชั่นอย่างรุนแรงเช่นกัน
ช่วงเวลานั้น สิงคโปร์ ยังประเทศที่ยากจนมากๆ แต่เมื่อทุกฝ่ายเห็นตรงกันว่า ทางเดียวที่จะอยู่รอดได้ คือ ต้องรวมกันแก้ไขปัญหาคอร์รัปชั่นให้ได้ เพื่อนำเม็ดเงินทุกบาททุกสตางค์มาใช้ในการพัฒนาประเทศ และพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนได้อย่างเม็ดเต็มหน่วย
เขาบอกเคล็ดลับและองค์ประกอบของความสำเร็จในการต่อต้านทุจริตในประเทศ สิงคโปร์  ประกอบด้วย 1.หน่วยงานที่ดูแลรับผิดชอบปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่น (Anti-Corruption Agency) 2.กฎหมาย 3.การทำงานของศาล และ 4. การจัดการ โดยผู้ที่เกี่ยวข้องต้องมีธรรมาภิบาล กฎหมายต้องมีประสิทธิภาพ และมุ่งเน้นผลในทางการบังคับใช้ ประการสำคัญรากฐานความสำเร็จในการต่อต้านคอร์รัปชั่นมาจากเจตนารมณ์ทางการ เมือง (Political will)
สิ่งที่อดีตผอ. CPIB ของสิงคโปร์ เน้นย้ำเป็นพิเศษ ก็คือ บทบาทเชิงรุกของผู้นำทางการเมือง ซึ่งมีความสำคัญอย่างมากในการแก้ปัญหานี้
โดยผู้นำต้องเป็นต้นแบบ ไม่ทุจริต เพื่อแสดงความตั้งใจจริงของรัฐบาล ขณะ เดียวกันเมื่อเจ้าหน้าที่ระดับสูงกระทำความผิด ต้องถูกลงโทษเช่นกัน เพื่อเป็นขวัญกำลังใจให้กับประชาชนในการต่อสู้กับปัญหาคอร์รัปชั่น
เพราทั้งหมดล้วนสะท้อนว่า ประเทศนั้นๆ มีการบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง
งบฯคอร์รัปชั่น ต้องเกลี่ยจากงบฯ อื่นมาใช้
สำหรับ แนวทางการแก้ไขปัญหาทุจริตประพฤติมิชอบในประเทศไทย หนึ่งในองค์กรอิสระ ที่เราต้องพูดถึง คือ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.)  นำเสนอการดำเนินการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ของ ป.ป.ช.ที่ผ่านมาว่า ได้ให้ความสำคัญกันตั้งแต่ต้นน้ำ คือ
1.การป้องกัน ปลูกฝังจิตสำนึก ค่านิยมให้กับทุกภาคส่วน
2.ปราบปรามการทุจริตที่ต้องรวมพลังกันทั้งแผ่นดิน
3.การสร้างความเข้มแข็งให้กับหน่วยงานต่อต้านการทุจริต เช่น ด้านกฎหมาย
และ4.สร้างบุคคลากรมืออาชีพ ที่มีความรู้ความสามารถเพื่อการขยายป้องกันและต่อต้านทุจริต
แต่แล้วการดำเนินการตามแผนงานดังกล่าว ก็ยังมีข้อจำกัด นายปานเทพ มองว่า ต้องมีการปรับปรุงพอสมควร อาทิ การให้ความสำคัญกับการต่อต้านคอร์รัปชั่น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การสนับสนุนด้านงบประมาณ
" ที่ ผ่านมารัฐบาลได้ระบุให้การแก้ปัญหาคอร์รัปชั่นเป็นวาระแห่งชาติ แต่ในทางปฏิบัติกลับมีปัญหาด้านงบประมาณ เนื่องจากส่วนกลางไม่ได้กำหนดลงไปชัดเจนว่า งบส่วนนี้ใช้เพื่อแก้ปัญหาคอร์รัปชั่น ทำให้พบว่า มีการเกลี่ยงบฯจากส่วนอื่นมาใช้ ซึ่งไม่พอต่อการแก้ปัญหาคอร์รัปชั่น"
ทั้งๆ  ที่ปัจจุบันปัญหาทุจริตคอร์รัปชั่น มีความซับซ้อน รุนแรง ฝังรากลงลึกไปในระดับองค์กรส่วนท้องถิ่น ขณะเดียวกัน รัฐบาลต้องมีมาตรการระยะสั้น และระยะยาวในการแก้ปัญหานี้
สำหรับมาตรการระยะสั้นนั้น ประธาน ป.ป.ช. เสนอให้ภาครัฐต้องมีเครื่องมือ ที่สร้างหลักประกันความเสี่ยงในการดำเนินโครงการต่างๆ ว่าจะต้องปลอดจากการทุจริต เช่น ในระดับรายละเอียดเสนอของบโครงการ ต้องระบุไว้ชัดเจนว่า จะประกันความเสี่ยง ไม่ให้เกิดการคอร์รัปชั่นอย่างไร เขียนไว้ให้ชัดเจน
ขณะเดียวกัน ระบบการศึกษา ก็เป็นเรื่องสำคัญ โดยหลักสูตรการศึกษาในช่วงต่อไปต้องเน้น "สร้างคนเก่ง มีคุณธรรมและจริยธรรม" ไม่ใช่คนเก่งอย่างเดียวอีกต่อไป
นอกจากนี้ต้องส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในการป้องกันและปราบปราม การทุจริตอย่างเต็มที่ด้วย
ส่วนการจัดซื้อจัดจ้างนั้น นายปานเทพ เห็นว่า  ควรกำหนดให้ข้อมูลจัดซื้อจัดจ้าง ราคากลาง เป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่ต้องเปิดเผย ซึ่งเรื่องนี้ ป.ป.ช. ได้เสนอไปแล้ว โดยคณะรัฐมนตรีระบุให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปศึกษารายละเอียดเพิ่มเติ่มอ ยู่
วงจรอุบาทว์ "โง่ จน เจ็บ"
ขณะที่การตรวจสอบการใช้งบประมาณแผ่นดินนั้น นายพิศิษฐ์ ลีลาวชิโรภาส รองผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน รักษาราชการแทนผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน  บอกว่า  การทุจริตคอร์รัปชั่นที่ชั่วช้าและเลวทรามที่สุด คือ การทุจริตเงินงบประมาณแผ่นดิน ซึ่งเป็นเงินภาษีของประชาชนทั้งชาติ
จุดนี้เองที่เขาเห็นว่า นำมาซึ่งวงจรอุบาทว์  "โง่ จน เจ็บ"  และสร้างความเจ็บช้ำให้กับคนที่เสียภาษีที่สุด
จากประสบการณ์ในการทำงานตรวจเงินแผ่นดิน  รองผู้ว่าฯ สตง. ได้พบการรั่วไหลเกี่ยวกับงบประมาณของรัฐหลายรูปแบบ เช่น การประกาศภัยพิบัติ น้ำแล้ง น้ำท่วม เพลี้ย ภัยเชื้อราต่างๆ ล้วนมาพร้อมกับสตางค์ทั้งสิ้น
"ภัยพิบัติจะหายไปได้นั้นก็ขึ้นอยู่กับสตางค์เช่นกัน"
หรือกรณีการใช้งบในสร้างสิ่งปลูกสร้างของภาครัฐ ซึ่งสุดท้ายพบปล่อยทิ้งร้าง ไม่ได้ใช้งาน เขาคาดว่า มีมูลรวมกันทั่วประเทศเป็นพันเป็นหมื่นล้านบาท
ก่อนจะสรุปเป็นความเห็นส่วนตัวว่า ปัญหาคอรัปชั่นในประเทศไทย มาจาก "ตัวบุคคล"  มากกว่า "ตัวระบบ"
"เพราะต่อให้ระบบดีแค่ไหน แต่ถ้าคนยังไม่ดี ปัญหาก็ยังคงมีอยู่ ฉะนั้น ผู้บริหารประเทศต้องเป็นแบบอย่าง เป็นผู้นำในการต่อต้านทุจริต ขณะเดียวกันข้าราชการไทยที่กระทำความผิดทางวินัยอย่างรุนแรง ถูก ป.ป.ช. ชี้มูล ต้องไม่พบว่า มีการล้างมลทินและกลับเข้ามาทำงานในตำแหน่งเดิมได้อีก"
ทุจริตเชิงนโยบาย ริเริ่มโครงการต่างๆ เพื่อใช้งบฯ
ส่วนนายประมนต์ สุธีวงศ์ ประธานภาคีเครือข่ายต่อต้านคอร์รัปชั่น  พาเราย้อยไปดูผลสำรวจของมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เกี่ยวกับสถานการณ์การจ่ายเงินตอบแทนผลประโยชน์ให้กับคู่ค้า ที่พบว่า เอกชนบางรายจ่ายเงินตอบแทนสูงสุดอยู่ที่ 25%-30% ของงบประมาณทั้งหมดของโครงการ เพื่อแลกกับการได้งาน
แตกต่างจากสมัยก่อน การให้สินน้ำใจแก่เจ้าหน้าที่ภาครัฐอยู่ที่ 3%-5% เท่านั้น
สิ่งเหล่านี้เขาสะท้อนว่า การทุจริตในโครงการเกิดขึ้นจริง โดยเฉพาะในปัจจุบันที่มีการทุจริตในเชิงนโยบาย การริเริ่มสร้างโครงการต่างๆ เพื่อใช้งบฯ
" ที่ผ่านมาประเทศไทยมีท่าเรือ สนามบิน ถนนที่สร้างขึ้นแล้วไม่ใช่ประโยชน์จำนวนมาก แต่นักการเมืองก็ถือโอกาสสร้างเพื่อหาเสียง หวังผลประโยชน์ เม็ดเงินจากโครงการมาสร้างอำนาจให้ตนเอง อีกทั้งในอนาคตอันใกล้นี้ ประเทศไทยกำลังกู้ยืมเงิน 4-5 แสนล้านบาทมาใช้เพื่อเป็นงบลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน พัฒนาประเทศ หากเกิดการทุจริตคิดคราวๆ เพียง 10 % เราต้องสูญเสียงบ 4-5 หมื่นล้านบาท ทั้งที่เงินจำนวนดังกล่าว ควรนำมาใช้เพื่อพัฒนาประเทศ" ผู้นำภาคีเครือข่ายต้านคอร์รัปชั่น ระบุพร้อมกับยอมรับว่า   ปัญหาทุจริต  ภาคเอกชนมีส่วนครึ่งหนึ่ง
แน่นอนว่า ถ้าไม่มีผู้จ่ายก็จะไม่มีผู้รับ
"ฉะนั้น เราพยายามที่จะร่วมตัวกัน จับมือกันประกาศเจตนารมณ์ไม่จ่าย ไม่ฮั้ว สร้างเครือข่ายต่อต้านคอร์รัปชั่น ตลอดจนปลุกฝังส่งเสริมค่านิยมให้กับเด็ก เยาวชน แต่การต่อต้านทุจริตคอร์รัปชั่นจะสำเร็จได้นั้น ก็ต้องมาจากรัฐบาลเป็นผู้นำ ประชาชน ภาคธุรกิจเอกชนต้องมีส่วนร่วม ขณะที่องค์กรอิสระต้องรวมกันตรวจสอบ"  ประมนต์  บอกสูตรสำเร็จ ปราบคอร์รัปชั่นในบ้านเรา ทิ้งท้าย
รีโมท ซื้อ รีโมท จากผู้ค้าส่งโดยตรง ที่มีหน้าร้านจริง ที่ บ้านหม้อ และ คลองถม ราคาถูกกว่าใคร ปลอดภัย มีรับประกัน

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

บทความย้อนหลัง