บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันเสาร์ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

การปฎิรูปประเทศ


โดย Prida Kunchol เมื่อ 25 มิถุนายน 2011 เวลา 2:47 น.
หมายเหตุ: เอกสารประกอบงานเสวนาเรื่อง "Vote No มุ่งสู่การปฏิรูปประเทศ"  24 มิถุนายน 2554 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
 

                                                              การปฏิรูปประเทศ


“ขออย่าให้การปฏิรูปหลงทางอีกเลย”...เป็น ข้อความทิ้งท้ายของบทความเรื่อง”ระวังปฏิรูปหลงทาง” ที่เขียนโดย อาจารย์ ดร.ปราโมทย์ นาครทรรพ ลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายวัน ฉบับวันศุกรที่ 22 กันยายน 2549 หลังจาก คณะปฏิรูปการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ทำรัฐประหารรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร เพียง 3 วัน เป็นคำเตือนสติของอาจารย์ ดร.ปราโมทย์ นาครทรรพ ให้คณะรัฐประหารนำโดย พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ผู้บัญชาการทหารบกขณะนั้นมิให้ปฏิรูปการเมืองหลงทางอีก หลังจากที่รัฐบาลชวน หลีกภัย และ รัฐบาลทักษิณ ชินวัตร ประสบความล้มเหลวปฏิรูปการเมืองอย่างซ้ำซากนับจากมีรัฐธรรมนูญฉบับปฏิรูปการ เมือง พ.ศ. 2540 ต่อเนื่องกันนานถึง 9 ปี
               
                       ชื่อของคณะรัฐประหารชี้ให้เห็นความต้องการปฏิรูปการเมืองเช่นเดียวกับความ มุ่งมั่นของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยในวันนี้ที่รณรงค์ให้ไปใช้ สิทธิ์เลือกตั้งโดยไม่ลงคะแนนให้ผู้ใด(Vote No)ในวันที่ 3 กรกฏาคม 2554 โดยมีเป้าหมายให้ปฏิรูปการเมือง อย่างไรก็ตาม คณะรัฐประหารและรัฐบาลของ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ประสบความล้มเหลวในการปฏิรูปอย่างสิ้นเชิง สาเหตุเป็นเพราะ 1. ขาดความรู้ต้นเหตุและเป้าหมายที่โลกปฏิรูปการบริหาร 2. แต่งตั้งคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญที่ขาดคุณสมบัติ 3. กระบวนการปฏิรูปการเมือง(Reinventing Government Process)ผิดขั้นตอน

1. ขาดความรู้ต้นเหตุที่โลกปฏิรูปการบริหาร: เมื่อคณะรัฐมนตรีไม่รู้สาเหตุที่โลกจำเป็นต้องปฏิรูปการบริหาร ทำให้รัฐบาลสุรยุทธ์ จุฬานนท์ไม่สามารถปฏิรูปที่ต้นเหตุได้ จึงสร้างความล้มเหลวให้การปฏิรูปประเทศทุกเรื่อง เช่น ความล้มเหลวปฏิรูปการศึกษาจนต้องให้มีการปฏิรูปทศวรรษที่สอง...ความล้มเหลว ของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมที่ไม่มีคุณภาพเพราะขาดระบบ และความล้มเหลวของการปฏิรูปการเมืองทุกกระทรวง

สาเหตุที่ทั่วโลกปฏิรูปสู่การบริหาร:บบ เกิดจากการวิจัยของ ดร.เดมมิ่ง (Edwards W. Deming) เมื่อต้นทศวรรษ 1970s พบว่า การทำงานของ”คน”มีประสิทธิภาพไม่เกิน 15% เท่านั้น อีก 85% ขึ้นอยู่กับ ”ระบบ”(System) ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของผู้บริหารสูงสุดขององค์กรที่ต้องสร้างระบบขึ้นใน องค์กร...เพื่อให้มีการบริหารระบบอันเป็นการปิดช่องว่าง 85% ที่ไร้ประสิทธิภาพ

เป้าหมายที่โลกปฏิรูปการบริหาร :  องค์กร มาตรฐานสากลโดยการสนับสนุนของ UN ให้นานาชาติปฏิรูปประเทศโดยมีเป้าหมายที่การบริหารคุณภาพ TQM (Total Quality Management)ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน...สาเหตุที่รัฐบาลไทยปฏิรูปหลงทางเพราะ ปฏิรูปไปในทิศทางอื่น เช่น ความเหลื่อมล้ำของสังคม ปฏิรูปที่ดินทำกิน ให้อำนาจท้องถิ่น(เทศาภิวัฒน์) หรือ การปรองดอง ล้วนไร้ค่าทั้งสิ้น หากการบริหารยังไม่มีคุณภาพเพราะขาดระบบ(ดู "Deming 85/15 rule" ที่ google)... TQM มีมาตรฐานการทำงานดีเลิศ(Criteria for Performance Excellence)ที่เป็นพื้นฐานการบริหารทุกเรื่องของทุกกระทรวงอยู่แล้ว  ทั้งการบริหารส่วนกลางและส่วนท้องถิ่น รวมทั้งการบริหารภาคธุรกิจเอกชน
                  "หากขาดความรู้การบริหารคุณภาพ TQM ย่อมขาดคุณสมบัติปฏิรูปประเทศ"
       ปฏิรูประบบราชการ ปฏิรูปการศึกษา ปฏิรูปรัฐสภาหรือปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม ฯลฯ...ต้องใช้ TQM

 การปฏิรูปให้การบริหารมีคุณภาพ ไม่สามารถใช้วิธีการเก่าด้วยการแต่งตั้งคณะกรรมการให้ช่วยกันคิดหาวิธี ปฏิรูปดังที่รัฐบาลชุดต่างๆนิยมทำเช่นนี้กันอย่างจำเจและล้มเหลวอย่างซ้ำ ซาก...ที่ล้มเหลวเพราะการบริหารของโลกได้เปลี่ยนไปบริหารที่”ระบบ” มิใช่บริหารที่”คน”(HR)โดยตรงเช่นสมัยก่อน แต่คณะกรรมการที่ตั้งขึ้นล้วนเชี่ยวชาญการบริหารล้าสมัย(Bureaucracy) ....ความสำเร็จของการปฏิรูปอยู่ที่มีพื้นฐานความรู้การบริหารคุณภาพ TQM และมีความสามารถออกแบบระบบ(System design) เพราะระบบเป็นหลักประกันคุณภาพ(Quality Assurance)  ในบทความนี้มีการใช้คำว่า "การบริหารคุณภาพ TQM" และ "การบริหารระบบ TQM" ทั้งสองมีความหมายเหมือนกันคือ ให้การบริหารมีคุณภาพที่แตกต่างจากการบริหารสมัยเก่าที่ไม่มีคุณภาพ...เพราะ ขาดระบบ

ความสำเร็จของการออกแบบระบบที่ดี จำเป็นต้องเสาะหาระบบที่ดีที่สุด(ของโลก)เพื่อนำมาเป็น ตัวอย่าง(Benchmarking Best Practices) มิฉะนั้น จะล้มเหลว...ระบบที่ดีชุดเดียวกันสามารถใช้ปฏิรูปการเมืองทุกกระทรวง ปฏิรูปแผนเศรษฐกิจและสังคมรวมทั้งปฏิรูปการศึกษาแล้ว ระบบที่ดีชุดเดียวกันนี้ยังใช้ปฏิรูปการบริหารของรัฐสภา ปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมและตำรวจได้ด้วย โดยใช้โครงร่างองค์กร(Organizational Profile)อันเดียวกัน และใช้ระบบที่ดีชุดเดียวกันคือ “ระบบงาน” และ “กระบวนการทำงาน”รองรับทุกหมวด(Categories and items)ในโครงร่างองค์กร หากขาดหรือไม่สามารถออกแบบระบบที่ดีทั้ง 2 รายการนี้ได้แล้ว นอกจากทำให้การบริหารและการปฏิบัติงานมีความยากลำบากและไม่ถูกต้องแล้ว ยังทำให้การปฏิรูปหลงทาง

* ระบบงาน (Work Systems): หมายถึงระบบที่ชี้ทางความสำเร็จให้การทำงานในองค์กร เป็นระบบแสดงขั้นตอนวิธีปฏิบัติงาน(Documented Procedures)ที่มีเป้าหมาย(Purpose)ชัดเจนในแต่ละเรื่อง ระบบงานทำหน้าที่ได้ถึง 4 ประการคือ 1.ใช้ระบบเป็นแผนงาน(Plan)ที่แสดงวิธีปฏิบัติตามแผน 2. สามารถใช้ระบบตัวนี้แสดงวิธีปฏิบัติงาน(Do) 3.ใช้เป็นเครื่องมือในการตรวจประเมิน(Check)โดยประเมินที่ระบบงานและกระบวน การทำงาน 4.ใช้เป็นพื้นฐานในการปรับปรุงคุณภาพ(Act for Improvement)ที่ได้จากการประเมินตาม ข้อ 3.....การออกแบบ”ระบบงาน”จึงไม่ง่าย ควรใช้วิธีศึกษาจากของดีที่สุดที่มีอยู่แล้ว(Benchmarking Best Practices). การออกแบบระบบงานเป็นปัญหาใหญ่ของประเทศไทยวันนี้เพราะไม่รู้รูปร่างหน้าตา ของระบบงานที่ดี(Good Governance) หน่วยงานต่างๆจึงใช้วิธีลองผิดลองถูก ประเด็นสำคัญยิ่งของระบบงานอยู่ที่ความสามารถในการออกแบบ(Design) บริหาร (Manage) และปรับปรุงระบบงานได้ดีแค่ไหน หากทำเช่นนี้ไม่ได้ก็คือความล้มเหลว เพราะไม่มีระบบที่ดีให้บริหาร

* กระบวนการทำงาน (Work Processes): เป็นเอกสารที่แสดงลักษณะงานทุกตำแหน่งในองค์กร ซึ่งเอกสารนี้เป็นพื้นฐานที่ดีในการวัด วิเคราะห์เพื่อการปรับปรุงคุณภาพ ยกระดับคุณภาพงานขององค์กรให้สูงขึ้นซึ่งหมายถึงการยกระดับความสามารถแข่ง ขัน...กระบวนการทำงานแสดงให้เห็นลักษณะสำคัญของงานที่เป็นประเด็นในการปรับ ปรุง (Key Work Process Requirements) เพื่อให้การวัดหรือการชี้วัด(Measures or Indicators)ในการปรับปรุงทำได้ง่าย...สำหรับการบริหารกระบวนการทำงานให้ ปฏิบัติตามขั้นตอนวิธีปฏิบัติที่แสดงใน ระบบงาน (Work Systems)

กระบวนการทำงานมีหน้าตาเป็นอย่างไร เป็นปัญหาใหญ่ของวันนี้ ทั้งๆที่ประเทศไทยเคยนำกระบวนการทำงานมาใช้แล้วก่อนประเทศต่างๆในยุโรปเสีย อีกโดย ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ เมื่อประมาณ 40 ปีก่อน โดยท่านใช้กระบวนการทำงานที่จำแนกเป็นตำแหน่งต่างๆในการบริหารค่าจ้างของ ราชการไทยเรียกว่าการจำแนกตำแหน่ง(Position Classification)ซึ่งเป็นระบบบริหารค่าจ้างที่ดีที่สุดในโลก(World Best)จวบจนปัจจุบัน และ รัฐบาลสหรัฐ(US. Federal Government)ยังใช้ระบบนี้บริหารค่าจ้างเจ้าหน้าที่ของรัฐกว่า 4 ล้านคนจวบจนทุกวันนี้ หลักฐานยืนยันความจริงเรื่องนี้ดูที่ www.opm.gov  และการบริหารตำแหน่งของทุกมลรัฐก็ยังคงใช้ระบบ P.C.นี้โดยไม่มีการเปลี่ยนไปใช้ระบบตำแหน่งและค่าจ้างที่มีคุณภาพต่ำกว่า เหมือนประเทศไทย

 2. แต่งตั้งคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญที่ขาดคุณสมบัติ: การร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 น่าจะสร้างความสำเร็จให้การปฏิรูปการเมืองได้ หากมีการแต่งตั้งผู้ที่มีคุณสมบัติความรู้เรื่องการบริหารระบบงาน และ กระบวนการทำงาน ได้ร่วมในคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ เนื่องจากการบริหารระบบดังกล่าวคือพื้นฐานสำคัญของความสำเร็จในการปฏิรูปการ เมือง

3. ขั้นตอนกระบวนการปฏิรูปการเมือง (Reinventing Government Process): ได้แก่การสร้างหรือออกแบบระบบ(System Design)ก่อนอื่น อันได้แก่”ระบบงาน” และ “กระบวนการทำงาน”ดังกล่าวเพื่อให้ประเทศมีการบริหารระบบ TQM ตามมาตรฐานสากลซี่งเป็นความสำเร็จของการปฏิรูปประเทศ...ขั้นตอนที่สร้างความ สำเร็จของการปฏิรูปการเมือง นอกจากการออกแบบระบบให้ได้ระบบที่ดีโดยการเปรียบเทียบกับระบบดีที่สุดของ โลก(Benchmarking Best Practices)แล้ว... ยังต้องจัดโครงสร้างให้เป็นระบบ(Organization as a system) และให้มีผู้นำ(Leadership)ทำหน้าที่ขับเคลื่อนระบบต่างๆ รวมทั้งมีระบบการวัด/วิเคราะห์(Measurement, Analysis)ที่กระบวนการทำงานอันมีผลให้เกิดการปรับปรุงคุณภาพที่ทำให้ประเทศ ไทยมีความสามารถแข่งขันเหนือกว่าชาติต่างๆในภูมิภาค

การปฏิรูปประเทศคืออะไร ? … คือ การปฏิรูปการบริหารทั้งภาครัฐและภาคเอกชนโดย เปลี่ยนจากการบริหารสมัยเก่า(Bureaucracy)ที่ไม่มีคุณภาพ ไปสู่การบริหารที่มีคุณภาพ TQM (Total Quality Management) การบริหารของประเทศจะมีคุณภาพได้ต้องมี”ระบบ” นั่นคือ ระบบงาน(Work Systems) และ กระบวนการทำงาน(Work Processes).

การปฏิรูปการเมืองคืออะไร ? …คือ การเปลี่ยนการบริหารภาครัฐจากการบริหารสมัยเก่า (Bureaucracy) ที่ขาดระบบ ไปสู่การบริหารที่มีระบบ หรือ การบริหารคุณภาพ TQM (Total Quality Management) การปฏิรูปการเมืองครอบคลุมการบริหารของรัฐบาลทุกกระทรวงและการบริหารของ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแล้ว ยังรวมถึงการปฏิรูปการบริหารของรัฐสภาและการปฏิรูปการบริหารของกระบวนการ ยุติธรรมและปฏิรูปตำรวจด้วย

TQM คืออะไร:  TQM (Total Quality Management) คำเดิมคือ TQC (Total Quality Control) ใน ค.ศ. 1985 (พ.ศ. 2528) เมื่อผู้ปฏิบัติงานภาครัฐบาลของสหรัฐทราบว่า รัฐบาลสหรัฐจะปฏิรูปประเทศให้ใช้การบริหาร TQM ทั้งรัฐบาลกลางและส่วนท้องถิ่น จึงพากันตื่นตัวไปเข้ารับการฝึกอบรมกันอย่างกว้างขวางโดยเฉพาะบุคลากรในกอง ทัพต่างๆ เช่น กองบินของทัพเรือ (Naval Air Systems) ส่งคนเข้าอบรมหลักสูตร TQC 4 วัน จำนวน 300 คนรวมทั้งผู้บัญชาการ คือ นายพลเรือ เคิร์ก แพทริก นายพลผู้นี้ไม่ชอบคำว่า Control จึงขอให้คิดคำอื่นแทน...บุคลากรพลเรือนนักจิตวิทยาสาวชื่อ แนนซี่ วอร์เรน(Nancy Warren) เสนอให้ใช้คำว่า TQM แทน TQC ซึ่งท่านนายพลเห็นชอบ...TQM จึงดังระเบิดไปทั่วโลก...TQM มาจากภาครัฐบาล มิใช่ภาคเอกชนและมิได้มาจากญี่ปุ่น
               
  TQM คือ ผู้นำ(Leadership)บริหาร"ระบบงาน"(Work Systems)และ"กระบวนการทำงาน"(Work Processes) โดยมีการทำงานเป็นทีม(Teamwork)เพื่อการปรับปรุงคุณภาพอย่างต่อ เนื่อง(Continuous Improvement)ให้มีการทำงานเป็นเลิศ(Performance Excellence)  เพื่อให้ลูกค้าพึงพอใจผลงานในระยะยาว(Customer Focus).  นี่คือภาพรวมวิธีการปฏิรูปประเทศหรือปฏิรูปการเมืองที่ดีที่สุดในระดับสากล

ภาษาที่เป็นอุปสรรคต่อการปฏิรูป: ระบบที่เป็นหัวใจของการบริหารคุณภาพ TQM นั้น ภาษาอังกฤษให้คำหลายคำ เช่น Quality System, Work Systems, Governance เป็นต้น มีบางองค์กรแปลความหมายระบบผิดไป เช่น แปลคำ Good Governance ซึ่งที่ถูกต้องหมายถึง ”ระบบที่ดี” แต่เมื่อแปลคำนี้ในความหมายที่แตกต่างออกไป เช่น ธรรมาภิบาล การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี อันเป็นเหตุทำให้การปฏิรูปของประเทศไทยหลงทาง.

บุคคลที่เป็นอุปสรรคในการปฏิรูป: การปฏิรูปประเทศหรือการปฏิรูปการเมือง คือ การปฏิรูปการบริหารโดยเฉพาะอย่างยิ่งการบริหารระบบ TQM ข้อสังเกต: การปฏิรูปการเมืองที่เริ่มมาตั้งแต่สมัยพฤษภาทมิฬ พ.ศ. 2535 ล้มเหลวอย่างต่อเนื่อง เป็นเพราะมอบหมายให้บุคคลที่ขาดคุณสมบัติความรู้การบริหารสมัยใหม่ดังกล่าว เช่น แต่งตั้งนักกฏหมายมหาชน และ เนติบริกรให้เข้ามามีบทบาทสำคัญจนเป็นเหตุให้การปฏิรูปการเมืองหลงทางและล้ม เหลวทุกครั้ง ต้องเสียเวลาถึง 20 ปี และสูญเงินงบประมาณของประชาชนจำนวนหลายล้านล้านบาท(฿ Trillion)เหมือนตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ นักกฏหมายจึงเป็นอุปสรรคสำคัญของการปฏิรูปการเมือง ยกเว้นผู้ที่มีความรู้การบริหารระบบ TQM...นักกฏหมายเป็นอุปสรรคโดยอาชีพที่อาศัยการตีความกฏหมาย  แต่ TQM คือการบริหารระบบที่สร้างความชัดเจนโดยไม่ต้องตีความ ...บุคคลอีกประเภท หนึ่งที่เป็นอุปสรรคต่อการปฏิรูปการเมืองคือ นักวิชาการหรือผู้เชี่ยวชาญสาขาวิชาการต่างๆที่มีชื่อเสียงโด่งดังใน สังคม...แต่ขาดความรู้การบริหารระบบ TQM.

ปฏิรูปการเมืองอย่างเป็นเอกภาพ : การปฏิรูปการเมืองของทุกหน่วยงานสามารถทำได้อย่างเป็นเอกภาพโดยให้มี องค์กรกลางรับผิดชอบการปฏิรูปเพียงแห่งเดียว ทั้งนี้ เพราะทุกองค์กรสามารถใช้โครงร่างองค์กร(Organizational Profile)อันเดียวกันและมีมาตรฐานในการประเมินมาตรฐานเดียวกัน ดังนั้น การปฏิรูปการบริหารทั้งองค์กรฝ่ายนิติบัญญัติเช่นรัฐสภา ฝ่ายบริหารทุกกระทรวงรวมทั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และองค์กรกระบวนการยุติธรรม...สามารถใช้องค์กรศูนย์กลางทำหน้าที่ปฏิรูปให้ องค์กรต่างๆดังกล่าวเพียงแห่งเดียวอย่างเป็นเอกภาพและมีประสิทธิภาพ โดยไม่จำเป็นต้องแยกกันปฏิรูปเหมือนในอดีต เช่น ปฏิรูปการศึกษาแยกให้เป็นหน้าที่ของกระทรวงศึกษาธิการ การปฏิรูประบบราชการโดย ก.พ.ร. หรือ แยกปฏิรูปตำรวจไว้ต่างหากแต่ประการใด การที่แยกปฏิรูปในอดีตเพราะมีมาตรฐานแตกต่างกันและมิใช่มาตรฐานการทำงานดี เลิศ (Criteria for Performance Excellence).
        
เมื่อ มหาชนไม่ประสงค์เลือกนักการเมืองผู้ได(Vote No)ในวันที่ 3 กรกฏาคม 2554 มีผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจนมีการปฏิรูปประเทศแล้ว...นั่นคือโอกาสอันดียิ่ง ที่ทำให้ประเทศไทยได้มีการปฏิรูปการเมืองเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์โดยไร้ นักการเมืองเป็นอุปสรรค ซึ่งโอกาสเช่นนี้ไม่สามารถเกิดขึ้นได้จากฝีมือของรัฐบาล เพราะเป็นไปไม่ได้ที่นักการเมืองจะสละอำนาจที่ได้รวมศูนย์ไว้ที่คณะรัฐมนตรี ตามการบริหารสมัยเก่า Bureaucracy ที่ทุกรัฐบาลยึดติดอำนาจไว้อย่างแน่นเหนียว เพราะนอกจากมีอำนาจเด็ดขาดข่มข้าราชการทั่วประเทศได้โดยไม่จำเป็นต้องคำนึง ถึงความพึงพอใจของข้าราชการแต่อย่างใด  แม้กระทั่งการรีดไถเรียกเงินซื้อตำแหน่งก็ยังทำกัน  การบริหารสมัยใหม่ TQM ถือว่าข้าราชการเป็นลูกค้าภายใน(Internal Customers)ที่รัฐบาลจำเป็นต้องให้เกียรติและศักดิ์ศรีความเป็นข้าราชการ เพื่อให้ข้าราชการมี ความพึงพอใจการบริหารของรัฐบาล(Customer Satisfaction)  การปฏิรูปการเมืองให้มีการบริหารระบบ TQM ตามวิธีการดังกล่าวข้างต้น เป็นการปฏิรูปที่ถูกต้องตามมาตรฐานสากลและไม่หลงทางตามความเป็นห่วงของ อาจารย์ ดร.ปราโมทย์ นาครทรรพ.

เลือกตั้ง 54 กลิ่นแบงก์พันหอมฟุ้ง ธปท.ระบุธนบัตร 1,000 บ. ปลิวว่อนกว่า 7 หมื่น ล.

Pic_183238

ความต้องการแบงก์ 1 พันบาท เลือกตั้ง 54 สะพัด ตัวเลขธนบัตรหมุนเวียนของ ธปท. ล่าสุด เดือน พ.ค. ยุบสภาเดือนแรก แบงก์พันบาทเพิ่มขึ้นในระบบอีก 509 ล้านบาท ขณะที่ย้อนไปเดือน เม.ย. เดือนที่นายกฯประกาศชัดว่าจะยุบสภาแน่ ปริมาณแบงก์พันเพิ่มมากอย่างน่าสังเกต เพราะเพิ่มขึ้นถึงเดือนเดียว 70,011 ล้านบาท ผู้ว่า ธปท. ระบุการใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นส่วนหนึ่งมาจากธรรมชาติเลือกตั้ง และเศรษฐกิจที่ดีขึ้น...


นาย ประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า การใช้จ่ายภาคเอกชนในเดือน พ.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งขยายตัวเพิ่มขึ้นมากถึง 5.1% จากระยะเดียวกันของปีก่อน ซึ่งถือเป็น อัตราเพิ่มที่สูงเมื่อเทียบช่วงที่ผ่านมานั้น ธปท.มองว่าส่วนหนึ่งของเม็ดเงินที่ใช้จ่ายเพิ่มขึ้นอาจจะมา จากความต้องการใช้จ่ายเงินในช่วงการรณรงค์หาเสียง เลือกตั้ง เพราะเป็นเรื่องธรรมชาติที่จะมีการใช้จ่าย เงินเพิ่มขึ้นในช่วงเลือกตั้งที่ มีกิจกรรมในด้านต่างๆ เพิ่มมากขึ้น ขณะที่อีกส่วนหนึ่ง การใช้จ่ายที่ดีขึ้น มาจากกำลังซื้อของประชาชนที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง จากเศรษฐกิจไทยที่ยังขยายตัวต่อเนื่อง และเมื่อเศรษฐกิจของเราใหญ่ขึ้น ทำให้ความต้องการธนบัตร เพิ่มมากขึ้นด้วย

“ในช่วงเดือน พ.ค. เป็นเดือนที่มีการยุบสภา การรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง ทำให้มีการใช้จ่ายเงินเพิ่มขึ้นส่วนหนึ่ง แต่ตามปกติการเร่งใช้จ่ายเงินเพื่อการเลือกตั้ง หรือ การใช้เงินเพื่อซื้อเสียงนั้น ธปท.ไม่ได้ตามว่าเม็ดเงินส่วนไหนไปทำอะไร และคงแยกแยะได้ยาก ขณะเดียวกัน ในเดือน พ.ค. ถึงจะมีการใช้จ่ายเพิ่มเห็นได้ชัด แต่ยังอีกไกลกว่าจะมีการเลือกตั้งจริง เพราะการเลือกตั้งจะ เกิดขึ้นในวันที่ 3 ก.ค. ที่จะถึงนี้ ดังนั้น มีความเป็นไปได้ที่ การเคลื่อนไหวของเงินหรือธนบัตรหมุนเวียนอาจจะเปลี่ยนไปอีกใกล้ๆช่วงเลือกตั้ง ถ้าต้องการตามดู ความเคลื่อนไหวของเงินว่าเกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งหรือไม่ คงจะต้องรอดูช่วงสิ้นเดือน มิ.ย. อีกครั้ง”

ผู้ว่าการ ธปท.กล่าวต่อว่า จากตัวเลขการใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นในช่วงนี้ ธปท.คงระบุไม่ได้ว่าเงินส่วนไหนเป็นเม็ดเงินที่ใช้จ่ายเพื่อการเลือกตั้ง และ ส่วนไหนเป็นเงินที่เพิ่มขึ้นจากกำลังซื้อของประ-ชาชนที่ดีขึ้น เพราะการดูเม็ดเงินในระดับมหภาคคงแยกแยะเม็ดเงินได้ค่อนข้างยาก แต่หากมองภาพรวมเศรษฐกิจไทยยังขยายตัวได้ การผลิตในส่วนรถยนต์ที่หายไปจากผลกระทบญี่ปุ่น ก็เริ่มกลับมาขยายตัวแล้ว

ทั้ง นี้ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ธนาคารแห่งประ-เทศไทย (ธปท.) ได้รายงานเงินสดหมุนเวียนใน ระบบเศรษฐกิจไทยล่าสุดสิ้นเดือน พ.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นเดือนที่มีการยุบสภา เดือนแรกเพื่อเข้าสู่การรณรงค์หาเสียงเพื่อการเลือกตั้งทั่ว ไป พบว่ามีธนบัตรหมุนเวียนอยู่ในระบบการเงิน ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับธนบัตรที่อยู่ในมือ ธปท.ทั้งสิ้น 1,214,485 ล้านบาท ซึ่งเป็นปริมาณธนบัตรหมุนเวียนที่เท่ากับเดือน เม.ย.ที่ผ่านมา

อย่างไรก็ตาม เป็นที่น่าสังเกตว่าระบบการเงินมีความต้องการธนบัตรชนิดราคา 1,000 บาท เพิ่มขึ้นเป็นพิเศษ เพราะเป็นธนบัตรชนิดราคาเดียว ที่มีการหมุนเวียนในระบบเพิ่มขึ้นในเดือนที่ผ่านมา ขณะที่ธนบัตรชนิดราคาอื่นๆ เช่น ราคา 500 บาท 100 บาท และ 50 บาท ลดลง ส่วนธนบัตร ชนิดราคา 20 บาท มีปริมาณหมุนเวียนเท่ากับเดือน เม.ย. โดย ณ สิ้นเดือน พ.ค. มีธนบัตรชนิดราคา 1,000 บาท หมุนเวียนในระบบทั้งสิ้น 961,643 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า 509 ล้านบาท ขณะที่ธนบัตรชนิดราคา 500 บาท มีหมุนเวียนในตลาด 108,599 ล้านบาท ลดลงจากเดือนก่อนหน้า 246 ล้านบาท ขณะที่ธนบัตรชนิดราคา 100 บาท มีหมุนเวียนทั้งสิ้น 100,449 ล้านบาท ลดลง 58 ล้านบาท ขณะที่ธนบัตรชนิดราคา 50 บาท หมุนเวียนทั้งสิ้น 12,189 ล้านบาท ลดลง 206 ล้านบาท

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ความต้องการธนบัตรชนิดราคา 1,000 บาท ที่เพิ่มขึ้นในระบบเศรษฐกิจในช่วงการเลือกตั้งนั้น เกิดขึ้นชัดเจนมาตั้งแต่เดือน เม.ย.ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นเดือนที่นายกรัฐมนตรีมีการประกาศชัดเจนว่าจะยุบสภาอย่างแน่นอนใน ช่วงปลายเดือน เม.ย. หรือต้นเดือน พ.ค.ที่ผ่านมา โดยสิ้นเดือน เม.ย. มีธนบัตรชนิดราคา 1,000 บาท หมุนเวียนในระบบ 961,134 ล้านบาท ซึ่งเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าถึง 70,011 ล้านบาท ซึ่งถือว่าเป็นเม็ดเงินที่เพิ่มขึ้นที่ค่อนข้างผิดปกติ เพราะหากย้อนกลับไปอีกเดือน ณ สิ้นเดือน มี.ค. ธนบัตรชนิดราคา 1,000 บาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าประมาณ 4,033 ล้านบาท

ทั้งนี้ ฝ่ายออกบัตรธนาคาร ธปท.ระบุว่า การเลือกตั้งครั้งนี้ถือเป็นครั้งแรกที่มีการพิมพ์ธนบัตรชนิดราคา 1,000 บาท เพิ่มขึ้นมาก โดยเฉพาะในช่วงสิ้นเดือน เม.ย.ที่ผ่านมา ต่างจากการเลือกตั้งครั้งก่อนๆ ที่ปริมาณธนบัตรที่เพิ่มขึ้นนั้นจะเป็นชนิดราคา 1,000 บาท และ 500 บาท แต่ครั้งนี้ เป็นธนบัตรชนิดราคา 1,000 บาท ล้วนๆ อย่างไรก็ตาม ฝ่ายออกบัตรธนาคาร ธปท.ตั้งข้อสังเกตว่าจำนวนธนบัตรที่เพิ่มขึ้นในช่วงสิ้นเดือน เม.ย. อาจจะไม่ได้เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งเพียง อย่างเดียว แต่เป็นช่วงของการปรับขึ้น เงินเดือนของพนักงาน และค่าจ้างแรงงานประจำปี ซึ่งมีส่วนทำให้ความต้องการเงินธนบัตรเพิ่มขึ้นด้วย

ไทยรัฐ

ศ.นพ.วิฑูรย์ อึ้งประพันธ์ กรรมการกฤษฎีกาและที่ปรึกษากฎหมายอาวุโสมธ.เตือนอย่าบิดเบือน “โหวตโน”

ASTVผู้จัดการ - ศ.นพ.วิฑูรย์ อึ้งประพันธ์ กรรมการกฤษฎีกาและที่ปรึกษากฎหมายอาวุโส มธ.เตือนอย่าบิดเบือน “โหวตโน” เป็นบัตรเสีย สะกิด กกต.ตีความมั่วระวังชะตากรรมเหมือนยุค 3 หนา ชี้ มาตรา 89 อยู่ภายใต้บังคับมาตรา 88 ไม่ต้องส่ง ศาล รธน.ตีความ เพราะใช้อยู่แล้วในหลายมาตรา ยันโหวตโนชนะ 26 เขต เปิดสภาไม่ได้ ประชาชนไม่เดือดร้อน นักการเมืองต่างหากที่เดือดร้อน
      
       วานนี้ (30 มิ.ย.) เว็บไซต์สำนักข่าวอิศรา ได้เผยแพร่บทความเรื่องความเป็นมาของคะแนนโหวตโน โดย ศาสตราจารย์ นพ.วิฑูรย์ อึ้งประพันธ์ กรรมการกฤษฎีกาและที่ปรึกษากฎหมายอาวุโส ศูนย์กฎหมายสุขภาพและจริยศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
      
       ศ.นพ.วิฑูรย์ ระบุว่า การกาช่องไม่ประสงค์จะลงคะแนน (หรือ โหวตโน) บนบัตรเลือกตั้ง ไม่ใช่บัตรเสียอย่างที่หลายๆ คนพยายามกล่าวบิดเบือน เพราะได้รับการบัญญัติไว้ตั้งแต่รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2540 และ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งฯ พ.ศ.2541
      
       “ในบัตรเลือกตั้งจึงมีช่องให้ผู้เลือกตั้งทำเครื่องหมาย (กากบาท) ในช่องผู้ไม่ประสงค์จะลงคะแนน (มาตรา 56 ของกฎหมายที่กล่าวมาแล้ว) และในมาตรา 70 ในกฎหมายฉบับนั้น บัญญัติให้มีการนับคะแนนสำหรับเลือกตั้งชนิดนี้ด้วย และต้องประกาศจำนวนบัตรดังกล่าวด้วย ไม่ได้ถือว่าเป็นบัตรเสียอย่างที่ใครๆ พยายามออกมาบิดเบือน” หนึ่งในคณะกรรมการกฤษฎีการะบุ
      
       ต่อมา ศ.นพ.วิฑูรย์ ยังแสดงความผิดหวังกับการที่ เลขาธิการ กกต.ออกมาตีความเรื่องมาตรา 88 และ มาตรา 89 ว่าคะแนนในช่องไม่ประสงค์ลงคะแนน หรือโหวตโนไม่มีผลทางกฎหมาย เพราะหากพิจารณาจากเนื้อหาของมาตรา 88 และ 89 แล้ว ตนไม่คิดว่าจะมีนักกฎหมายใดที่มีความเห็นเหมือน เลขาธิการ กกต.และไม่จำเป็นต้องส่งศาลรัฐธรรมนูญตีความ เนื่องจากสำนวนที่ใช้กับกฎหมายดังกล่าวนั้น มีบรรจุอยู่แล้วในกฎหมายหลายฉบับ
      
       “ผมไม่คิดว่าจะมีนักกฎหมายคนใดมีความเห็นเหมือนเลขาธิการ กกต. เพราะนักกฎหมายที่ใช้กฎหมายอยู่เป็นประจำทุกคน เข้าใจเหมือนกันทุกคนครับ ไม่ต้องส่งศาลรัฐธรรมนูญตีความให้เสียเวลา เพราะสำนวนแบบนี้มีใช้ในกฎหมายหลายฉบับ และรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันก็ใช้อยู่หลายมาตรา ตัวอย่างเช่นมาตรา 281 …” ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายระบุ และว่า “ผมออกจะเป็นห่วง กกต.ครับ ถ้าเลขาธิการ กกต.ยังแปลกฎหมายตามใจชอบอยู่อย่างนี้ อาจมีผลทำให้ กกต.เข้ารกเข้าพงไปอีกองค์กรหนึ่ง อยากจะเตือน กกต.ชุดนี้ให้ดูชะตากรรมของ “กกต.ชุด 3 หนา” เอาไว้บ้าง”
      
       ในตอนท้ายของบทความ ศ.นพ.วิฑูรย์ กล่าวยืนยันว่า จำนวนเสียงของผู้ไม่ประสงค์จะลงคะแนนนั้นหากมากจนสามารถยับยั้งไม่ให้ ส.ส.เขตได้รับการประกาศให้เป็นผู้ได้รับการเลือกตั้งเกินกว่าร้อยละ 5 ของ ส.ส.ทั้งหมด หรืออย่างน้อย 26 เขต ก็จะทำให้สภาผู้แทนราษฎรไม่สามารถเปิดประชุมสภาได้ ซึ่งตนเชื่อว่า สถานการณ์ดังกล่าวก็จะไม่สร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชนทั่วไป เพราะประเทศยังมีรัฐบาลรักษาการอยู่ แต่ผู้ที่เดือดร้อนและเกิดความวุ่นวายน่าจะเป็น พรรคการเมืองต่างๆ ที่ต้องหาคนลงสมัครใหม่
      
       “เพราะฉะนั้น อยากจะเชิญชวนผู้ที่เบื่อการเมืองน้ำเน่า สภาน้ำเน่า ส.ส.น้ำเน่า และในอดีตเคยต่อต้านด้วยการนอนหลับทับสิทธิ คราวนี้ต้องเห็นถึงความสำคัญของโหวตโน โดยช่วยกันออกไปใช้สิทธิกาช่องที่ไม่ประสงค์จะลงคะแนน จึงจะเป็นการ “เอาคืน” พวกน้ำเน่าทั้งหลายที่กล่าวมาข้างต้นได้ครับ” ศ.นพ.วิฑูรย์ กล่าวทิ้งท้าย
      
       สำหรับบทความ “ความเป็นมาของคะแนนโหวตโน” ของ ศ.นพ.วิฑูรย์ มีรายละเอียดดังนี้
      
       “ผมเกิดมาพร้อมๆ กับปีที่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชมาเป็นการ ปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข เคยใช้สิทธิเลือกตั้งมาตั้งแต่ผมมีสิทธิเลือกตั้งครั้งแรก เมื่อประมาณ 60 ปีมาแล้ว ผมนึกไม่ออกว่า ในบัตรเลือกตั้งมีช่องให้ผู้เลือกตั้งกาในช่องผู้ไม่ประสงค์จะลงคะแนนเริ่ม ตั้งแต่สมัยใด และผมไม่มีเวลาที่จะตรวจสอบกฎหมายเลือกตั้งย้อนไปดูว่า กฎหมายเลือกตั้งฉบับใดบัญญัติเรื่องให้มีการลงคะแนนในช่องไม่ประสงค์จะลง คะแนน แต่หลักฐานเท่าที่ผมมีอยู่คือ กฎหมายเลือกตั้งที่ออกตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 (พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและ สมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2541) ซึ่งกำหนดให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง มีหน้าที่ต้องไปใช้สิทธิ และหากผู้ไม่ไปใช้สิทธิ โดยไม่มีการแจ้งเหตุผลล่วงหน้าก่อนวันเลือกตั้งไม่น้อยกว่า 7 วัน ผู้นั้นจะถูกตัดสิทธิหรือเสียสิทธิบางประการที่ได้รับการช่วยเหลือจากรัฐ
      
       เมื่อกฎหมายบังคับให้ไปใช้ สิทธิ (ลงคะแนน) ก็จำต้องให้เสรีภาพต่อประชาชนผู้ถูกบังคับให้ไปใช้สิทธิโดยเสรี ที่จะลงคะแนนให้ผู้สมัครคนใด หรือไม่ลงคะแนนให้ใครก็ได้ นี่จึงเป็นเหตุว่า ในบัตรเลือกตั้งจึงมีช่องให้ผู้เลือกตั้งทำเครื่องหมาย (กากบาท) ในช่องผู้ไม่ประสงค์จะลงคะแนน (มาตรา 56 ของกฎหมายที่กล่าวมาแล้ว) และในมาตรา 70 ในกฎหมายฉบับนั้น บัญญัติให้มีการนับคะแนนสำหรับเลือกตั้งชนิดนี้ด้วย และต้องประกาศจำนวนบัตรดังกล่าวด้วย ไม่ได้ถือว่าเป็นบัตรเสียอย่างที่ใครๆ พยายามออกมาบิดเบือน และในมาตรา 74 ของกฎหมายฉบับเดียวกันบัญญัติว่า
      
       “ในเขตเลือกตั้งใด ถ้าในวันเลือกตั้งมีผู้สมัครรับเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งคนเดียวและผู้ สมัครรับเลือกตั้งนั้นได้คะแนนเสียงตั้งแต่ร้อยละยี่สิบของจำนวนผู้มีสิทธิ เลือกตั้งในเขตเลือกตั้งนั้น ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งผู้นั้นเป็นผู้ได้ รับการเลือกตั้ง
      
       ในกรณีที่เหลือผู้สมัครรับเลือกตั้ง คนเดียวตามวรรคหนึ่งและได้คะแนนเสียงน้อยกว่าร้อยละยี่สิบของจำนวนผู้มี สิทธิเลือกตั้งในเขตนั้น ให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง จัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ในเขตเลือกตั้งนั้น”
      
       จากผลของมาตรานี้ มีผลทำให้ กกต.ต้องจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ในหลายเขตเลือกตั้ง ในจังหวัดเล็กที่มี ส.ส.ในจังหวัดนั้นเพียงคนเดียว ในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 2 เมษายน 2549 ที่พรรคการเมืองต่างๆ พากันประท้วงพรรคไทยรักไทย (ต่อมาการเลือกตั้งคราวนั้น ถูกศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า เป็นการเลือกตั้งเป็นโมฆะ) คราวนั้นก็มีการรณรงค์ให้มีผู้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งไปกาในช่องผู้ไม่ประสงค์ จะลงคะแนนเหมือนกัน โดยประสงค์จะตัดคะแนนผู้สมัครรับเลือกตั้งที่มีคนเดียวจากพรรคไทยรักไทยให้ ได้คะแนนน้อยกว่าร้อยละ 20 ดังที่ทราบกันดีอยู่แล้ว
      
       เมื่อภายหลังที่เรามีรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 (ฉบับปัจจุบัน) กฎหมายเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ (พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและ การได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2550) ได้บัญญัติมาตรา 88 และมาตรา 89 ไว้ โดยให้ความสำคัญของคะแนนในช่องที่ไม่ประสงค์จะลงคะแนนเพิ่มขึ้นอีก ดังบทความในฉบับแรกของผม กล่าวคือ
      
       สาระสำคัญของ มาตรา 88 บัญญัติไว้ ดังนี้
      
       ในเขตเลือกตั้งใด ถ้าในวันเลือกตั้งมีผู้สมัครแบบแบ่งเขตเลือกตั้งเท่ากับหรือน้อยกว่าจำนวน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่จะพึงมีในเขตเลือกตั้งนั้น (1 ถึง3 คน) ผู้สมัครจะได้รับเลือกตั้งต่อเมื่อ
      
       (1) ได้รับคะแนนเลือกตั้งไม่น้อยกว่าร้อยละยี่สิบของจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งนั้น และ
       (2) มากกว่าจำนวนบัตรเลือกตั้งที่ไม่ประสงค์จะลงคะแนนเลือกตั้ง
      
       ในกรณีที่ผู้สมัครผู้ใด ไม่ผ่านเกณฑ์ 2 ข้อดังกล่าว ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศให้มีการเลือกตั้งใหม่ โดยให้รับสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งใหม่ เฉพาะตำแหน่งที่ได้รับคะแนนไม่ผ่านเกณฑ์ 2 ข้อดังกล่าว และให้นำความในมาตรา 9 มาใช้บังคับ
      
       “มาตรา 9 ในกรณีที่คณะกรรมการการเลือกตั้งสั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่ ให้คณะกรรมการ
      
       การเลือกตั้งมีอำนาจออกประกาศให้ย่น หรือขยายระยะเวลาหรืองดเว้นการดำเนินการที่เกี่ยวกับการเลือกตั้งตามที่ บัญญัติในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้เฉพาะในการเลือกตั้งนั้น เพื่อให้เหมาะสมและจำเป็นแก่การดำเนินการเลือกตั้งให้เป็นไปโดยรวดเร็ว สุจริต และเที่ยงธรรมได้”
      
       ดังนั้น ตามมาตรา 88 ของกฎหมายเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญ 2550 กลับให้ความสำคัญของคะแนนของจำนวนบัตรที่ไม่ประสงค์จะลงคะแนนเพิ่มขึ้น โดยทั้งนำมาแข่งกับคะแนนของผู้สมัครรับเลือกตั้งที่ได้คะแนนสูงสุดในจำนวน ผู้สมัครรับเลือกตั้งด้วยกันที่จะผ่านการได้รับการประกาศจาก กกต.ว่า เป็นผู้ได้รับการเลือกตั้งในเขตนั้น โปรดสังเกตว่า มาตรา 88 ใช้คำว่า มากกว่า สำหรับเกณฑ์ใน (2) เพราะฉะนั้น แม้คะแนนของผู้สมัครรับเลือกตั้งจะได้เท่ากับจำนวนบัตรของผู้ที่กาในช่องไม่ ประสงค์จะลงคะแนน ก็ยังไม่ผ่านเกณฑ์มาตรา 88 ครับ
      
       ส่วน มาตรา 89 วรรคแรก บัญญัติว่า
      
       “ภายใต้บังคับมาตรา 88 ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรให้ผู้สมัครซึ่งได้คะแนนเลือกตั้งมากที่ สุดเป็นผู้ได้รับเลือกตั้ง แต่ในเขตเลือกตั้งที่มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือก ตั้งได้มากกว่าหนึ่งคน ให้ผู้สมัครซึ่งได้คะแนนเลือกตั้งมากที่สุดเรียงตามลำดับลงมาในเขตเลือกตั้ง นั้นเป็นผู้ได้รับเลือกตั้งตามจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่จะพึงมีในเขต เลือกตั้งนั้น”
      
       สำหรับวรรคสองของมาตรา 89 ระบุถึงกรณีผู้สมัครเลือกตั้งฯ หลายคน มีคะแนนอยู่ในเกณฑ์ที่จะได้รับเลือกตั้งเท่ากันหลายคน ให้ใช้วิธีจับสลากเป็นผู้ได้รับเลือกตั้ง
      
       ต่อมาเมื่อรัฐบาลที่ผ่านมาได้แก้ไข รัฐธรรมนูญเรื่องเขตเลือกตั้ง ให้มีการแบ่งเขตเลือกตั้ง ส.ส.แบบแบ่งเขตเป็นเขตละ 1 คน มาตรา 88 และมาตรา 89 ของกฎหมายเลือกตั้ง ก็มีการแก้ไขใหม่ (พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้ มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2554) ซึ่งต้องนำมาใช้กับการเลือกตั้งครั้งที่จะถึงนี้เป็นครั้งแรกด้วย แต่สาระสำคัญของมาตรา 88 และมาตรา 89 ที่แก้ไขใหม่ เหมือนเดิมทุกประการ สาเหตุสำคัญที่เพิ่มความสำคัญของจำนวนบัตรของผู้ที่กาในช่องผู้ไม่ประสงค์จะ ลงคะแนนนั้น คงเป็นมาตรการในการป้องกันกรณีที่เขตที่ผู้สมัครคนเดียว พรรคเดียว หรือว่าจ้างพรรคเล็กลงแข่งขัน เพื่อให้พ้นเกณฑ์ 20 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งนั้น ซึ่งก็เคยเกิดขึ้นมาแล้ว
      
       ผมออกจะผิดหวังที่เลขาธิการ กกต.ออกมาให้สัมภาษณ์ว่า กรณีตามมาตรา 88 ในการเลือกตั้งครั้งนี้ ไม่มี เพราะไม่มีเขตใด มีผู้สมัครรับเลือกตั้งเพียงคนเดียว เพราะมาตรา 89 ตามกฎหมายปัจจุบันเขียนไว้ชัดเจนว่า
      
       “มาตรา 89 ภายใต้บังคับมาตรา 88 ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งให้ผู้สมัครซึ่งได้ รับคะแนนเลือกตั้งมากที่สุดในเขตเลือกตั้งนั้นเป็นผู้ได้รับการเลือกตั้ง ในกรณีที่มีผู้ได้รับคะแนนเลือกตั้งมากที่สุดเท่ากันหลายคน ให้ใช้วิธีการจับสลากซึ่งต้องกระทำต่อหน้าคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำเขต เลือกตั้งตามวิธีการที่คณะกรรมการการเลือกตั้งกำหนด”
      
       ที่ผมเขียนไปในบทความฉบับแรกที่ว่า มาตรา 88 ต้องนำมาใช้ในมาตรา 89 ด้วยนั้น ผมไม่คิดว่าจะมีนักกฎหมายคนใดมีความเห็นเหมือนเลขาธิการ กกต. เพราะนักกฎหมายที่ใช้กฎหมายอยู่เป็นประจำทุกคน เข้าใจเหมือนกันทุกคนครับ ไม่ต้องส่งศาลรัฐธรรมนูญตีความให้เสียเวลา เพราะสำนวนแบบนี้มีใช้ในกฎหมายหลายฉบับ และรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันก็ใช้อยู่หลายมาตรา ตัวอย่างเช่นมาตรา 281 บัญญัติว่า
      
       “มาตรา 281 ภายใต้บังคับมาตรา 1 รัฐจะต้องให้ความเป็นอิสระแก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามหลักแห่งการปกครอง ตนเองตามเจตนารมณ์ของประชาชนในท้องถิ่น และส่งเสริมให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นหน่วยงานหลักในการจัดทำบริการ สาธารณะ และมีส่วนร่วมในการตัดสินใจแก้ไขปัญหาในพื้นที่ ท้องถิ่นใดมีลักษณะที่จะปกครองตนเองได้ ย่อมมีสิทธิจัดตั้งเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ”
      
       มาตรานี้หมายความว่า การจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประเภทใด ๆ ก็ต้องอยู่ในบังคับของมาตรา 1 คือ ภายในราชอาณาจักรไทย ซึ่งไม่สามารถแบ่งแยกได้
      
       เมื่อยกตัวอย่างมาตรานี้ ทำให้ผมนึกถึงพรรคการเมืองพรรคหนึ่งที่ไปหาเสียงในภาคใต้ว่า พรรคเขามีนโยบายในการจัดการปกครองให้ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นเขตปกครองหรือรัฐอิสระ กกต.ช่วยดูด้วยนะครับว่า การหาเสียงของพรรคการเมืองนี้ จะเป็นไปตามมาตรา 281 หรือไม่
      
       ผมออกจะเป็นห่วง กกต.ครับ ถ้าเลขาธิการ กกต.ยังแปลกฎหมายตามใจชอบอยู่อย่างนี้ อาจมีผลทำให้ กกต.เข้ารกเข้าพงไปอีกองค์กรหนึ่ง อยากจะเตือน กกต.ชุดนี้ให้ดูชะตากรรมของ “กกต.ชุด 3 หนา” เอาไว้บ้าง
      
       สุดท้ายผมยืนยันว่า จำนวนเสียงของผู้ไม่ประสงค์จะลงคะแนน เป็นมติมหาชนหรือประชามติ ถ้าสามารถยับยั้งไม่ให้ ส.ส.เขตได้รับการประกาศให้เป็นผู้ได้รับการเลือกตั้งได้ถึงเกินกว่าร้อยละ 5 ของจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ควรจะมีทั้งหมด (คืออย่างน้อย 26 เขต) สภาผู้แทนราษฎรก็ไม่สามารถเปิดประชุมได้ ต้องรอให้ กกต.จัดการเลือกตั้งในเขตที่ยังไม่มี ส.ส.ใหม่ จนกว่าจะมี ส.ส.เกินกว่าร้อยละ 95
      
       ถามว่า เมื่อถึงขนาดนั้น ความวุ่นวายอะไรจะเกิดขึ้นหรือไม่
      
       ผมว่าประชาชนก็ยังอยู่เหมือนเช่นทุกวันนี้ โดยมีรัฐบาลยังรักษาการอยู่

      
       ความวุ่นวายน่าจะอยู่ในส่วนของพรรค การเมือง ที่จะต้องหาคนลงสมัครใหม่ ถ้า กกต.จะตีความว่า ผู้สมัครที่ได้คะแนนไม่เกินจำนวนบัตรของผู้ไม่ประสงค์จะลงคะแนน ไม่มีสิทธิสมัครใหม่ในเขตเดิม เพราะขัดประชามติของประชาชนในเขตนั้น ก็ยิ่งจะเพิ่มความปั่นป่วนในพรรคการเมืองต่าง ๆ ยิ่งขึ้น
      
       ส่วนภาคประชาชนก็ไม่มีใครเดือดร้อน
      
       เพราะฉะนั้น อยากจะเชิญชวนผู้ที่เบื่อการเมืองน้ำเน่า สภาน้ำเน่า ส.ส.น้ำเน่า และในอดีตเคยต่อต้านด้วยการนอนหลับทับสิทธิ คราวนี้ต้องเห็นถึงความสำคัญของโหวตโน โดยช่วยกันออกไปใช้สิทธิกาช่องที่ไม่ประสงค์จะลงคะแนน จึงจะเป็นการ “เอาคืน” พวกน้ำเน่าทั้งหลายที่กล่าวมาข้างต้นได้ครับ”

ยิ่งลักษณ์ ปราศรัย จะสังคยานาคำสอนของพระพุทธเจ้า

เอากันถึงขั้นนี้เลย เหรอ!!!


ยิ่งลักษณ์ ปราศรัย จะสังคยานาคำสอนของพระพุทธเจ้า




แบบนี้ยังไง .................




.

เลือกตั้ง รสนิยมทางเพศ กับโอกาสติดคุก

เลือกตั้ง รสนิยมทางเพศ กับโอกาสติดคุก


วีรพัฒน์ ปริยวงศ์
นิติศาสตรมหาบัณฑิต (รางวัลทุนฟุลไบรท์และวิทยานิพนธ์เกียรตินิยม) มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด

ที่มา: http://www.facebook.com/verapat.pariyawong


_______________________________________________________________

วันอาทิตย์ที่ 3 ก.ค. นี้จะออกไปเลือกตั้งทำไม?”


ตอบ เพราะ เราซื้อของต้องได้เงินทอน น้ำดื่มในขวดต้องสะอาดได้มาตรฐาน คุณตำรวจต้องวิ่งจับโจรและห้ามวิ่งมาจับเรา ไม่ว่าทรงผมหรือรสนิยมทางเพศของเราจะเป็นอย่างไร ฯลฯ


สิ่ง เหล่านี้คือสิทธิ เสรีภาพ หรือประโยชน์ที่เราเรียกร้องได้จากกฎหมายทุกวัน แต่กฎหมายก็ขอให้เราทำหน้าที่ เช่น ต้องชำระหนี้ จ่ายภาษี รวมถึงไปเลือกตั้ง


สิทธิ เสรีภาพ และหน้าที่ เป็นของคู่กัน เราจะเป็นเพียงคนเห็นแก่ตัวมัวแต่เอา มีมโนสำนึกแยกเป็นสองมาตรฐาน ใจหนึ่งเรียกร้องประโยชน์จากกฎหมาย แต่อีกใจละเลยหน้าที่เอาเปรียบกฎหมาย หาได้ไม่


จะ Vote No หรือ Vote ให้ใคร เป็นสิทธิของเรา เสรีภาพของเรา และหน้าที่ของเรา


โปรด วัดใจของเรา เรียนรู้จากอดีตให้ดี ใช้คะแนนที่มีให้คุ้ม 3 ก.ค. ผลออกมาเช่นไร ขอให้เรารับผิดชอบร่วมกัน เล่นตามกติกา และพาประเทศไทยเดินต่อไปพร้อมกันครับ!


สรุป Vote No มีผลหรือไม่?

ตอบ ล่าสุดคณะกรรมการการเลือกตั้ง ได้ออกมายืนยันว่า คะแนน Vote No นั้น ไม่มีผลต่อการเลือกตั้งในเขตที่มีผู้สมัครมากกว่า 1 คน ซึ่ง ณ ปัจจุบัน ทุกเขตเลือกตั้งทั่วประเทศล้วนมีผู้สมัครมากกว่า 1 คน (http://bit.ly/lGeCot)

หากผู้ใดยังหลง เชื่อว่า “มาตรา 89 ภายใต้บังคับ มาตรา 88” หมายความว่า มาตรา 89 กรณีผู้สมัครหลายคนต้องเอามาตรา 88 มาใช้ คือกรณีผู้สมัครคนเดียวผู้จะชนะการเลือกตั้งต้องได้คะแนนมากกว่า Vote No นั้น ก็ขอให้ผู้นั้นอธิบายให้เต็มปากว่า แล้วกฎหมายจะแยกมาตรา 88 และ 89 เพื่ออะไร และท่านจะอธิบายถ้อยคำว่า “มาตรา 81 ภายใต้บังคับ 85” ในกฎหมายฉบับเดียวกัน ส่วนเดียวกัน มาตราใกล้ๆกัน ในแบบที่ท่านเชื่อได้อย่างไร ในเมื่อ:

มาตรา 81 บัญญัติว่า  “ภายใต้บังคับ มาตรา 85 การนับคะแนนเลือกตั้งให้กระทำ ณ ที่เลือกตั้งโดยเปิดเผยจนเสร็จสิ้นในรวดเดียว ห้ามมิให้เลื่อนหรือประวิงการนับคะแนนเลือกตั้ง”

มาตรา 85 บัญญัติว่า “(หากน้ำท่วม หรือ ไฟไหม้ ฯลฯ) ให้คณะกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งประกาศงดการนับคะแนน...”

หรือท่านกำลังบอกว่า คะแนนต้องนับให้เสร็จทีเดียวแต่ (ภายใต้บังคับ) ก็ต้องประกาศงดไม่ให้นับต่อ?

ผู้ เขียนขอย้ำให้ชัดว่า คำว่า “ภายใต้บังคับ” แปลว่า “ยกเว้นในกรณี” ผู้ร่างตั้งใจเขียนกำกับไว้เพื่อเตือนให้ผู้อ่านกฎหมายรู้ว่ามาตรานี้มีข้อ ยกเว้น เช่น มาตรา 89 ให้ผู้ที่ได้คะแนนสูงสุดชนะ “ยกเว้นในกรณี” มาตรา 88 คือมีผู้สมัครคนเดียว ก็ต้องชนะ Vote No ด้วยถึงจะชนะในเขตนั้น เอาสองมาตรามาปนกันไม่ได้

ที่สำคัญ หากผู้ใดตีความ มาตรา 88 ปน 89 เพื่อตีหัวประชาชน จูงใจให้ประชาชนเข้าใจผิดในคะแนนนิยมของผู้สมัครหรือพรรคการเมืองใด เช่น Vote No เยอะๆ ชนะได้แน่ ตอนนี้ไม่มีใครไปเลือกคนของพรรคที่จะแพ้เพราะคะแนนไม่ผ่าน Vote No ฯลฯ ผู้นั้นอาจมีความผิดตามกฎหมายเลือกตั้งตามมาตรา 53 มีโทษจำคุก สูงสุดถึง 10 ปีตามมาตรา 137!

ส่วนคำถามว่า การไม่นับคะแนน Vote No ให้ชนะแม้คะแนน Vote No จะสูงสุดในเขตเลือกตั้งมีผู้สมัครหลายคนนั้น เป็นการไม่เคารพเสียงประชาชน และขัดแย้งกับ "หลักอำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทยตาม มาตรา 3 แห่งรัฐธรรมนูญอันเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศหรือไม่?

ตอบ การ ที่ มาตรา 89 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2550 (ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม) ทำให้คะแนน Vote No ไม่มีผลทางกฎหมายในเขตที่มีผู้สมัครหลายคนเช่นนี้ เป็นสิ่งที่ถูกต้องตาม "หลักอำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย" และไม่มีปัญหาเรื่องความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ดังอธิบายได้ดังนี้

รัฐธรรมนูญ มาตรา ๓ เป็นเรื่อง อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน ควบคู่กับ หลักการแบ่งแยกอำนาจหน้าที่ พวกเราผู้เป็นเจ้าของรัฐธรรมนูญต้องอ่านให้ครบถ้วน คือ

“มาตรา ๓  อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นประมุขทรงใช้อำนาจนั้นทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้

การปฏิบัติหน้าที่ของรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล รวมทั้งองค์กรตามรัฐธรรมนูญ และหน่วยงานของรัฐ ต้องเป็นไปตามหลักนิติธรรม”

หมาย ความว่า แม้อำนาจอธิปไตยจะเป็นของเราปวงชนชาวไทย แต่เราจะใช้อำนาจนั้นให้เกิดผลในทางปฏิบัติอย่างไร จะกำหนดกฎเกณฑ์รายละเอียดเรื่องต่างๆ ในสังคมอย่างไร ย่อมเป็นไปตามที่รัฐธรรมนูญจะแบ่งแยกอำนาจหน้าที่ไปยัง รัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล เป็นผู้ใช้อำนาจหรือทำหน้าที่แทนปวงชน (ส่วนจะเป็นไปตาม "หลักนิติธรรม" หรือไม่นั้น ผู้เขียนขอสงวนไปเขียนเป็นตำรา เพราะมิอาจสรุปสั้นๆได้)

ยกตัวอย่าง แม้ปวงชนจะเป็นเจ้าของอำนาจ แต่ปวงชนจะมาตั้งศาลเตี้ยใช้อำนาจวินิจฉัยลงโทษเพื่อรุมประหารชีวิตนักการ เมืองที่เลวทรามต่ำช้ากันเองมิได้ เพราะรัฐธรรมนูญ มาตรา 197 บัญญัติให้ศาลเป็นผู้รับแบ่งอำนาจอธิปไตยไปทำหน้าที่พิจารณาพิพากษาคดีแทน ปวงชน

ถามว่าแล้วเรื่องการนับไม่นับ Vote No นี้ ปวงชนเจ้าของอำนาจได้ตกลงในรัฐธรรมนูญให้เป็นอำนาจหน้าที่ของใคร ผู้เขียนตอบได้ชัดเจนและปราศจากข้อสงสัยใดๆว่า ปวงชนชาวไทยได้กำหนดให้รัฐสภาเป็นผู้ตรากฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย เรื่องการเลือกตั้ง (รัฐธรรมนูญ มาตรา 138-141)

ที่สำคัญ รัฐธรรมนูญ มาตรา 93 วรรคสาม บัญญัติว่า

“หลัก เกณฑ์และวิธีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติ ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่ง สมาชิกวุฒิสภา”

ดังนั้น จึงไม่มีข้อสงสัยว่า หลักเกณฑ์การนับคะแนน Vote No จะ เป็นอย่างไรนั้น ปวงชนชาวไทยได้ตกลงให้เป็นไปตามกฎหมายเลือกตั้ง มาตรา 88 และ 89 ที่เคยอธิบายไว้แล้ว และผู้มีอำนาจวินิจฉัยบังคับใช้กฎหมายย่อมได้แก่คณะกรรมการการเลือกตั้ง (หากมีการโต้แย้งว่าใช้อำนาจไม่ถูกต้อง ก็ย่อมไปโต้แย้งในศาลตามขั้นตอน)

ทั้งหมดทั้งปวงนี้ จึงสอดคล้องกับหลักการแบ่งแยกอำนาจหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 3  อย่างแท้จริง กล่าวคือ Vote No คืออำนาจอธิปไตยของปวงชนชาวไทยในลักษณะเป็นไปตามกฎหมาย เขตไหนผู้สมัครคนเดียว (มาตรา 88) Vote No อาจมีผล แต่หากผู้สมัครหลายคน Vote No ย่อมไม่มีผล (มาตรา 89)

แต่ทั้งนี้ หากเราเชื่อว่า เสียงข้างมากของการ Vote No เป็นเสียงของเจ้าของอำนาจที่ไม่เห็นด้วยกับ มาตรา 88 และ 89 ที่เป็นอยู่ในปัจจุบันแล้วไซร้ เสียง Vote No ข้าง มากเหล่านั้นย่อมชอบที่จะดำเนินการแก้ไขหรือยกเลิก มาตรา 88 และ 89 ตามกระบวนการทางรัฐธรรมนูญ เช่น การเข้าชื่อเสนอกฎหมาย การเลือกพรรคการเมืองที่มีนโยบายแก้ไขกฎหมายดังกล่าว การเรียกร้องการทำประชามติที่กำหนดประเด็นชัดเจน หรือการใช้สิทธิเสรีภาพประท้วงเรียกร้อง ซึ่งหากเลือกตั้งครั้งนี้มีคะแนน Vote No ล้นหลาม ก็ย่อมอาจจุดประกายการดำเนินการเช่นนั้น

ผู้เขียนย้ำว่า บางคนอาจต้องการ Vote No เพื่อแสดงออกด้วยพลังบริสุทธิ์ตามวิถีรัฐธรรมนูญ เพื่อแสดงความไม่พอใจต่อการเมืองที่ล้มเหลว ซึ่งผู้เขียนยืนยันอีกครั้งว่า Vote No เช่นนั้นเป็นการใช้สิทธิเสรีภาพอันประเสริฐยิ่ง

ผู้ เขียนย้ำอีกว่าสังคมไทยเป็นสังคมนิติรัฐ บ้านเมืองมีกฎหมาย มีกติกา แม้ปวงชนชาวไทยกว่า 67 ล้านคนจะเป็นเจ้าของอำนาจก็จริง แต่จะใช้อำนาจอย่างไรย่อมเป็นไปตามหลักการแบ่งแยกอำนาจ ตามรัฐธรรมนูญ มิฉะนั้นสังคมที่มีกว่า 67 ล้านความคิดเห็นก็มิอาจเคลื่อนเดินไปข้างหน้าได้

และการเหมารวมว่า Vote No ทุก เสียงคิดเห็นเหมือนกันหมดทุกประการ ก็คงมิใช่ตรรกะที่ถูกต้องนัก บางคนแสดงออกโดยบริสุทธิ์ใจ แต่บางคนอาจทำไปเพื่อขัดขวางวิถีรัฐธรรมนูญ หรือบางคนอาจ Vote No เพียงเพราะรักพี่เสียดายน้อง หรือไม่รู้จะเลือกใคร เมื่อเราสรุปอะไรโดยง่ายไม่ได้ เราจึงต้องมีกฎหมายเป็นกติกา

สรุป การไม่นับคะแนน Vote No ให้ชนะกรณีเขตเลือกตั้งมีผู้สมัครหลายคน มิได้ขัดต่อ "หลักอำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทยแต่อย่างใด.

ในทางตรงกันข้าม ผู้ใดล้มการเลือกตั้ง หรือวางแผนล้มรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง ผู้นั้นย่อมไม่เคารพ “อำนาจอธิปไตย" ไม่ต่างไปจากเป็นกบฏต่อปวงชนเจ้าของประเทศ อาจติดคุกเหมือนกันครับ!


ย้ำอีกครั้ง จะ Vote No หรือ Vote ให้ใคร เป็นสิทธิของเรา เสรีภาพของเรา และหน้าที่ของเรา


โปรด วัดใจของเรา เรียนรู้จากอดีตให้ดี ใช้คะแนนที่มีให้คุ้ม 3 ก.ค. ผลออกมาเช่นไร ขอให้เรารับผิดชอบร่วมกัน เล่นตามกติกา และพาประเทศไทยเดินต่อไปพร้อมกันครับ!
  
---

มีชัย ตอบกรณี โหวตโน

คำถาม
ช่อง No vote เป็นผลงานการร่าง ของท่านมีชัย ใช่ไหมครับ
กราบเรียนท่านอาจารย์มีชัยที่เคารพ
      ผมได้ติดตามการตอบคำถามของอาจารย์มานานมีประโยชน์มากเลยครับ  โดยเฉพาะล่าสุด "ภารกิจของกกต. เฉียบขาดจริงๆ ครับ สมกับเป็นสติให้กับสังคม ผมเคยอ่านข่าวการให้สัมภาษณ์ ของท่านรองนายกวิษณุ เครืองาม บอกว่ากติกา no vote  อาจารย์ มีชัยเป็นคนคิด และผลักดันให้มีในกฏหมาย น่าปลื้มใจนะครับว่า 8 ปีหลังการใช้ No vote จะเป็นทางออกให้กับคนในสังคมได้ขนาดนี้ อยากให้อาจารย์ช่วยเล่ารายละเอียด ว่าทำไมถึงอยากให้มี  คิดว่าจะเป็นประโยชน์อย่างไร ที่ไหนเขามีกันบ้าง  ในการเสนอครั้งนั้นมีคนเห็นด้วยทั้งหมด หรือคัดค้านบ้าง อาจารย์เคยคิดว่า No vote จะเป็นตัวช่วยระบายความอืดอัดของคนได้ขขนาดนี้  เห็นด้วยไหมที่กำหนดให้การเลือกตั้งเป็นหน้าที่ ไม่ใช่สิทธิ ขอบคุณครับ
คำตอบ
เรียน คุณยุทธพงศ์
      นับแต่มีการเลือกตั้งมาในประเทศไทย ยังไม่เคยมีช่อง "ไม่ใช่สิทธิ"  (no vote) ในบัตรลงคะแนน การมีช่องดังกล่าวในบัตรลงคะแนนมีขึ้นเมื่อมีรัฐธรรมนูญ ปัจจุบัน (๒๕๔๐)  เหตุทั้งนี้ก็เพราะตั้งแต่มีรัฐธรรมนูญมา ยังไม่เคยมีการกำหนดให้การเลือกตั้งเป็นหน้าที่ที่บุคคลจะต้องไปลงคะแนน   เมื่อรัฐธรรมนูญบังคับให้ผู้มีสิทธิต้องไปใช้สิทธิ  ผมจึงตั้งคำถามในชั้นที่มีการร่างกฎหมายเลือกตั้งว่า เมื่อบังคับให้ผู้คนเขาไปใช้สิทธิแล้ว หากเขาเห็นว่าพรรคการเมืองส่งใครก็ไม่รู้ที่เขาไม่ไว้วางใจเลยมาสมัคร จะมีช่องทางอะไรให้เขาบ้างไหม  ถ้ากฎหมายไม่ได้บังคับให้เขาต้องไปลงคะแนน หากเกิดกรณีเช่นนั้นขึ้น เขาก็ไม่ไปลงคะแนนได้ แต่เมื่อกฎหมายบังคับเขาเช่นนี้ ก็สมควรมีทางออกให้เขาด้วย
        ในขณะนั้นมีบ้างบางคนที่ไม่เห็นด้วย โดยเกรงว่าถ้าเกิดมีคนลงคะแนนในช่อง "ไม่ใช้สิทธิ์" จำนวนมาก พรรคการเมืองก็อาจเสียหน้าได้  แต่เขาให้เหตุผลว่า ถ้าไม่ประสงค์จะใช้สิทธิ ก็สามารถทำบัตรให้เสีย หรือส่งบัตรเปล่าได้  ซึ่งผมก็ชี้แจงว่าการทำบัตรเสียนั้นโดยเจตนานั้น เป็นความผิดตามกฎหมายเลือกตั้ง ส่วนการส่งบัตรเปล่านั้น กฎหมายก็ถือว่าบัตรที่ไม่ได้ทำเครื่องหมาย เป็นบัตรเสียเช่นกัน ในที่สุดเสียงข้างมากก็เห็นด้วย และกำหนดไว้ในกฎหมายให้มีช่อง "ไม่ใช้สิทธิ" หรือ no vote  พร้อมทั้งบังคับด้วยว่า กรรมการเลือกตั้งต้องประกาศให้ทราบทั่วกันด้วยว่ามีผู้ "ไม่ใช้สิทธิ" เป็นจำนวนเท่าไร
       เมื่อมีการเลือกตั้งครั้งแรก จำนวนผู้ "ไม่ใช้สิทธิ" แม้จะมีจำนวนพอสมควร แต่ก็ไม่ถึงขนาดที่จะมีผลอะไรต่อการเลือกตั้ง จึงไม่มีใครให้ความสนใจกับช่อง "ไม่ใช้สิทธิ์" อีก
       แต่เมื่อเกิดวิกฤติทางการเมืองในครั้งนี้ ช่อง "ไมใช้สิทธิ" จึงมีบทบาทอย่างเด่นชัด และกลายเป็นช่องหายใจสำหรับประชาชนจำนวนมากที่มีความรู้สึกอึดอัดขัดข้องต่อ กระบวนการจัดการเลือกตั้ง  และหลายสิบเขตเลือกตั้งผู้ได้รับเลือกตั้งได้รับคะแนนน้อยกว่า no vote  ซึ่งนับว่าเป็นการสมเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญที่ประสงค์จะให้ประชาชนมีส่วน ร่วมในทางการเมือง การแสดงออกในการลงคะแนน no vote จึงเป็นอีกช่องทางหนึ่งในการมีส่วนร่วมและมีบทบาทในทางการเมืองของประชาชน อย่างสำคัญ
        ในขณะนี้ความรู้สึกอึดอัดก็ใช่ว่าจะหมดไป เพราะยังรู้สึกกันว่า จำนวนคะแนน no vote ถึงแม้จะมากมายเพียงไร ก็ยังไม่มีความหมายในทางกฎหมาย เพราะไม่ได้มีผลต่อการได้รับเลือกตั้งของคนที่ได้คะแนนสูงสุด  จะเป็นไปได้ไหมที่หากจะมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญในวันข้างหน้า จะแก้ไขให้ คะแนน no vote มีบทบาททางกฎหมายขึ้น เช่น กำหนดว่า คนที่จะได้รับเลือกตั้ง จะต้องได้คะแนนมากกว่า คะแนน no vote  โดยถือว่าถ้าคะแนน no vote มีมากกว่าคนที่ได้รับคะแนนสูงสุด เป็นการแสดงเจตนาของประชาชนว่าไม่ต้องการผู้สมัครทุกคนที่สมัครในเขตนั้น  และต้องจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ โดยห้ามผู้สมัครเดิมลงสมัครใหม่ เพราะประชาชนได้ปฏิเสธไปแล้ว  ต้องเว้นวรรคไปสร้างความน่าเชื่อถือให้เกิดขึ้นเสียก่อน จึงค่อยมาสมัครในคราวเลือกตั้งทั่วไปครั้งต่อไป  ด้วยวิธีนี้ คะแนน no vote ก็จะมีความหมาย  ในขณะเดียวกันก็เป็นมาตรการหรือเป็นดุลถ่วงพรรคการเมืองที่จะ "มั่ว" ในการส่งคนลงสมัครรับเลือกตั้ง   ทั้งยังจะทำให้ประชาชนมีบทบาทในทางการเมืองเพื่อต่อต้านพรรคการเมืองที่ไม่ ดีได้
        สำหรับการบังคับให้ประชาชนไปใช้สิทธิเลือกตั้งนั้น ผมเห็นว่ายังสมควรอยู่  เพราะเมื่อทุกคนประสงค์จะได้ระบอบประชาธิปไตย และการเลือกตั้งเป็นส่วนหนึ่งของระบอบประชาธิปไตย จึงสมควรเป็นหน้าที่ของทุกคนที่มีสิทธิที่จะต้องไปใช้สิทธินั้น
รีโมท ซื้อ รีโมท จากผู้ค้าส่งโดยตรง ที่มีหน้าร้านจริง ที่ บ้านหม้อ และ คลองถม ราคาถูกกว่าใคร ปลอดภัย มีรับประกัน

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

บทความย้อนหลัง