วันเสาร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2554
โปรแกรมการตอบคำถาม หุ่นยนต์นายกหญิงตัวแรกของโลก
ได้สำรวจโปรแกรมการตอบคำถาม หุ่นยนต์นายกหญิงตัวแรกของโลก พบว่า 90 เปอร์เซ็นต์ ได้ตอบคำถามตามโพยสำรวจดังนี้
...
1. ถามเรื่องการบริหาร ตอบว่า ทุกอย่างต้องคำนึงถึงพี่น้องประชาชนส่วนรวม
2. ถามเรื่องกฎหมาย ตอบว่า ทุกอย่างต้องอยู่บนความถูกต้องของกฎหมาย
3. ถามเรื่องนโยบาย ตอบว่า ทุกอย่างต้องดูในรายละเอียด
4. ถามเรื่องรายละเอียด ตอบว่า ทุกอย่างต้องเป็นหน้าที่สภา
5. ถามเรื่องสภา ตอบว่า ทุกอย่างไม่เกี่ยวกับนายกทักษิณ
6. ถามเรื่องทักษิณ ตอบว่า ทุกอย่าง ไม่เกี่ยวกับรัฐบาล
7. ถามเรื่องรัฐบาล ตอบว่า ได้รับความไว้วางใจจากพี่น้องประชาชน
8. ถามเรื่องประชาชน ตอบว่า กำลังดำเนินการแก้ไข
9. ถามเรื่องวิธีแก้ไข ตอบว่า ตอนนี้ยังบอกไม่ได้
10. ถามว่าทำไมบอกไม่ได้ ตอบว่า ทุกอย่างเป็นหน้าที่สภา
11. ถามย้ำไปย้ำมา ตอบว่า ขอตัวก่อนนะคะ (จะแฮงค์แล้วค่า)
หมายเหตุ กรณีที่คำถามยากเกินไปมันจะ auto program นำคำตอบ 1-11 มารวมกันโดยไม่สนใจว่าคำถามจะเป็นยังไง
เช่น...
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ต้องดูในรายละเอียด และปรึกษาหารือในรัฐบาล ไม่ค่ะ เป็นการตัดสินใจของรัฐบาล ท่านนายกทักษิณไม่เกี่ยวค่ะ ทุกอย่างต้องคำนึงถึงความถูกต้องตามกฎหมายและพี่น้องประชนชนที่ไว้วางใจเราค่ะ ..ค่ะ ตอนนี้กำลังดำเนินการอยู่ค่ะ..ยังคงบอกอะไรในรายละเอียดไม่ได้ ต้องรอหารือในสภา ..ค่ะ ๆ ขอตัวก่อนนะคะ”"See More
ขอบคุณที่ไปที่มาจาก http://www.facebook.com/photo_search.php?oid=113378595341758&view=all#!/photo.php?fbid=223341871046559&set=o.113378595341758&type=1&theater
"พิชัย"อัดแบงก์ชาติเล่นการเมืองหวงทุนสำรองซื้อพลังงานระบุ
by ผู้ก่อการดี
"พิชัย"อัดแบงก์ชาติเล่นการเมืองหวงทุนสำรองซื้อพลังงานระบุดูเสียงตอบรับจากประชาชนเป็นหลัก หากไม่เห็นด้วยพร้อมเลิกแนวคิด ยก"จีน"ยังทำเลย
>>ทำไมต้องไปเลียนแบบจีนด้วย ไทยก็บริหารแบบของไทยสิ
นายพิชัย นริพทะพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยถึง กรณีที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ไม่เห็นด้วยกับการจัดตั้งกองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติ ที่จะมีการนำเงินสำรองระหว่างประเทศที่มีอยู่ 1.87 แสนล้านดอลลาร์ ไปลงทุนซื้อพลังงานเก็บไว้
>>เกิดลงทุนแล้วขาดทุน รัฐมนตรีจะจ่ายค่าเสียหายแทนไหม ใครกันแน่..เล่นการเมือง
ตนไม่ทราบว่าทำไมแนวคิดของธนาคารแห่งประเทศไทยจึงเปลี่ยนไป จากก่อนที่พรรคเพื่อไทยจะชนะการเลือกตั้งเข้ามาเป็นรัฐบาล หรือในช่วง 2-3 เดือนก่อนนี้ ยังมีการสนับสนุนแนวคิดดังกล่าว แต่ปัจจุบันมีความเห็นในทิศทางที่ตรงกันข้าม
"ก่อนหน้านี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยยังสนับสนุนอยู่เลย แต่พอเรามาเป็นรัฐบาลกลับไม่เห็นด้วยเสียแล้ว ทำไม่ก็ไม่ทราบได้ หรือไม่รู้เป็นเพราะว่าพรรคเพื่อไทยเข้ามาเป็นรัฐบาลหรือเปล่าเลยไม่เห็นด้วย
หากลองเป็นพรรคประชาธิปัตย์จัดตั้งรัฐบาล ธปท.อาจจะเห็นด้วยกับแนวคิดนี้ก็ได้" นายพิชัยกล่าว
>>อยากรู้ว่าใครเล่นการเมืองกัน รัฐมนตรีหรือธนาคารแห่งประเทศไทย
อย่างไรก็ตาม ประเด็นนี้คงจะต้องดูเสียงตอบรับจากประชาชนเป็นหลัก โดยหากมีเสียงคัดค้านจากประชาชนมาก
>>ดูแต่เสียง ไม่มีสมองบริหารหรือไง
ก็คงจะไม่มีการผลักดันในเรื่องนี้ แต่แหล่งพลังงานในอนาคตจะมีราคาสูงและหายากมากขึ้นเรื่อยๆ
>>ใช้พลังงานทดแทนไง
โดยมีตัวอย่างในหลายประเทศที่มีการลงทุนในแหล่งพลังงาน อาทิเช่น ประเทศจีน ที่มีเงินทุนสำรองระหว่างประเทศ จำนวน 2 ล้านล้านดอลลาร์ ก็มีการนำไปลงทุนในแหล่งพลังงานต่างๆ เพื่อสร้างความมั่นคงให้กับประเทศในอนาคต
"พิชัย"อัดแบงก์ชาติเล่นการเมืองหวงทุนสำรองซื้อพลังงานระบุดูเสียงตอบรับจากประชาชนเป็นหลัก หากไม่เห็นด้วยพร้อมเลิกแนวคิด ยก"จีน"ยังทำเลย
>>ทำไมต้องไปเลียนแบบจีนด้วย ไทยก็บริหารแบบของไทยสิ
นายพิชัย นริพทะพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยถึง กรณีที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ไม่เห็นด้วยกับการจัดตั้งกองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติ ที่จะมีการนำเงินสำรองระหว่างประเทศที่มีอยู่ 1.87 แสนล้านดอลลาร์ ไปลงทุนซื้อพลังงานเก็บไว้
>>เกิดลงทุนแล้วขาดทุน รัฐมนตรีจะจ่ายค่าเสียหายแทนไหม ใครกันแน่..เล่นการเมือง
ตนไม่ทราบว่าทำไมแนวคิดของธนาคารแห่งประเทศไทยจึงเปลี่ยนไป จากก่อนที่พรรคเพื่อไทยจะชนะการเลือกตั้งเข้ามาเป็นรัฐบาล หรือในช่วง 2-3 เดือนก่อนนี้ ยังมีการสนับสนุนแนวคิดดังกล่าว แต่ปัจจุบันมีความเห็นในทิศทางที่ตรงกันข้าม
"ก่อนหน้านี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยยังสนับสนุนอยู่เลย แต่พอเรามาเป็นรัฐบาลกลับไม่เห็นด้วยเสียแล้ว ทำไม่ก็ไม่ทราบได้ หรือไม่รู้เป็นเพราะว่าพรรคเพื่อไทยเข้ามาเป็นรัฐบาลหรือเปล่าเลยไม่เห็นด้วย
หากลองเป็นพรรคประชาธิปัตย์จัดตั้งรัฐบาล ธปท.อาจจะเห็นด้วยกับแนวคิดนี้ก็ได้" นายพิชัยกล่าว
>>อยากรู้ว่าใครเล่นการเมืองกัน รัฐมนตรีหรือธนาคารแห่งประเทศไทย
อย่างไรก็ตาม ประเด็นนี้คงจะต้องดูเสียงตอบรับจากประชาชนเป็นหลัก โดยหากมีเสียงคัดค้านจากประชาชนมาก
>>ดูแต่เสียง ไม่มีสมองบริหารหรือไง
ก็คงจะไม่มีการผลักดันในเรื่องนี้ แต่แหล่งพลังงานในอนาคตจะมีราคาสูงและหายากมากขึ้นเรื่อยๆ
>>ใช้พลังงานทดแทนไง
โดยมีตัวอย่างในหลายประเทศที่มีการลงทุนในแหล่งพลังงาน อาทิเช่น ประเทศจีน ที่มีเงินทุนสำรองระหว่างประเทศ จำนวน 2 ล้านล้านดอลลาร์ ก็มีการนำไปลงทุนในแหล่งพลังงานต่างๆ เพื่อสร้างความมั่นคงให้กับประเทศในอนาคต
เปิดเอกสารลับ คตส.ยึดทรัพย์“เสนาะ เทียนทอง”ในวันเจ็บปวด ก่อนเบ่งบารมี(อีกครั้ง)รัฐบาล“ยิ่งลักษณ์”
เปิดเอกสารลับ คตส.ยึดทรัพย์“เสนาะ เทียนทอง”ในวันเจ็บปวด ก่อนเบ่งบารมี(อีกครั้ง)รัฐบาล“ยิ่งลักษณ์”
เปิดแฟ้มลับ คตส. ยึดทรัพย์“เสนาะ เทียนทอง”ในวันที่เจ้าพ่อวังน้ำเย็นเจ็บปวดที่สุดในชีวิตยุค“บิ๊กจ๊อด” ก่อนตระกูลเทียนทองเบ่งบารมี(อีกครั้ง)รัฐบาล“ทักษิณ-ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร”
ตระกูลการเมืองที่ได้รับเลือกตั้งมากสุดในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2554 ที่ผ่านมาคือคนตระกูลเทียนทองของนายเสนาะ เทียนทอง เพราะได้รับการเลือกตั้งมากสุดถึง 5 คน ครบทั้งตัวเอง ลูก และ หลาน
พลันที่พรรคเพื่อไทยเป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาลคนในตระกูลเทียนทองได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร 1 คนคือ นายฐานิสร์ เทียนทอง ส.ส.สระแก้ว หลานชายนายเสนาะ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
หลังผลักดัน “อุไรวรรณ เทียนทอง”ภรรยา เป็นรัฐมนตรีในรัฐบาลร่มเงาทักษิณ ชินวัตร ก่อนหน้านี้
อย่างไรก็ตาม ก่อนที่ “เสนาะ” จะเบ่งบารมีอีกครั้ง เขาเคยผ่านประสบการณ์ความเจ็บปวดที่สุดในชีวิตอย่างน้อย1ครั้งนั่นคือถูกคณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สิน (คตส.) ยุคคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) นำโดย พล.อ.สุนทร คงสมพงษ์ รัฐประหารรัฐบาลพล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ (23 ก.พ.2534)ยึดทรัพย์ในข้อหาร่ำรวยผิดปกติ ต่อมาศาลฎีกามีพิพากษาว่าคำสั่งยึดทรัพย์ดังกล่าวขัดต่อประเพณีการปกครองประเทศไทยในระบอบประชาธิปไตย ตามธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2534 จึงใช้บังคับมิได้
ศูนย์ข้อมูล&ข่าวสืบสวนฯ(TCIJ)นำผลการตรวจสอบของ คตส.มาเสนอดังนี้
คำวินิจฉัยกรณี นายเสนาะ เทียนทอง
คณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สินได้ดำเนินการแล้ว จึงทำคำวินิจฉัยจากพยานหลักฐานที่ปรากฏจากผลการตรวจสอบดังต่อไปนี้
ประวัติของนายเสนาะ เทียนทอง
นายเสนาะ เทียนทองเกิดเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2477 บิดาชื่อ นายแสวง เทียนทอง (ถึงแก่กรรม) มารดาชื่อ นางทองอยู่ เทียนทอง (ถึงแก่กรรม) การศึกษามัธยมศึกษาตอนปลาย อยู่บ้านเลขที่ 999 ตำบลวัฒนานคร อำเภอวัฒนานคร จังหวัดปราจีนบุรี ภริยาชื่อ นางอุไรวรรณ เทียนทอง อาชีพรับราชการ ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง เสมียนตราจังหวัดนนทบุรี มีบุตรด้วยกัน 2 คน
ระยะเวลาดำรงตำแหน่งทางการเมือง
นายเสนาะ เทียนทองเคยเป็นสมาชิกสภาปฏิรูปเมื่อปี พ.ศ. 2519 สมาชิกสภานิติบัญญัติ เมื่อปี พ.ศ.2520 เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เมื่อ ปี พ.ศ.2523 รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เมื่อปี พ.ศ. 2529 และครั้งสุดท้าย เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ระหว่างเดือน สิงหาคม 2531 ถึงวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2534 สังกัดพรรคชาติไทย เป็นรัฐมนตรีในรัฐบาล พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ 1, 2 และ 3 รวม 2 ปี 6 เดือนเศษ
รายการทรัพย์สินของนายเสนาะ เทียนทอง ที่ถูกอายัดและที่ถูกอายัดเพิ่มเติม
3.1บัญชีในธนาคารพาณิชย์
3.1.1 ในชื่อนายเสนาะ เทียนทอง มี 9 บัญชี ที่ธนาคารกรุงเทพ จำกัด ธนาคารกสิกรไทย จำกัด ธนาคารทหารไทย จำกัด และธนาคารนครหลวงไทย จำกัด รวมเป็นเงิน 5,529,636.72 บาท
3.1.2 ในชื่อนางอุไรวรรณ เทียนทอง มี 29 บัญชี ที่ธนาคารกรุงเทพ จำกัดธนาคารกรุงไทย จำกัด ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด ธนาคารกสิกรไทย จำกัด ธนาคารทหารไทย จำกัด และธนาคารนครหลวงไทย จำกัด รวมเป็นเงิน58,233,914.28 บาท
3.2ที่ดิน
3.2.1 ในชื่อนายเสนาะ เทียนทอง ซึ่งเป็นที่ดินที่มีอยู่ก่อนดำรงตำแหน่งตามข้อ 2 จำนวน 50 แปลง รวมเนื้อที่ 2457 ไร่ 1 งาน 66 ตารางวา ในเขตจังหวัดปราจีนบุรีทั้งหมด
3.2.2 ในชื่อนางอุไรวรรณ เทียนทอง
ก) ที่ดินที่มีอยู่ก่อนตามข้อ 2 จำนวน 4 แปลง รวมเนื้อที่ 3 งาน 86 ตารางวา ในเขตจังหวัดปราจีนบุรีและนนทบุรี
ข) ที่ดินที่ได้มาระหว่างวันที่ 9 สิงหาคม 2531 ถึง 18 กุมภาพันธ์ 2534 จำนวน 22 แปลง รวมเนื้อที่ 50 ไร่ 3 งาน 18.5 ตารางวา ในเขตปราจีนบุรี ชลบุรี ปทุมธานี นนทบุรี และภูเก็ต ราคาที่แสดงในการจดทะเบียนซื้อขายรวม 13,372,874 บาท
3.3 รถยนต์
3.3.1 ในชื่อนายเสนาะ เทียนทอง
- รถยนต์นั่ง 2 แถว ยี่ห้อ อีซูซุ ทะเบียน ย-1743 กทม. จดทะเบียน เมื่อ 27 ม.ค. 26
- รถยนต์นั่งส่วนบุคคล ยี่ห้อ โตโยต้า โคโรน่า ทะเบียน 5 ธ-0783 กทม. จดทะเบียนเมื่อ 25
พ.ย.33 ราคา 697,000 บาท
3.3.2 ในชื่อนางอุไรวรรณ เทียนทอง
- รถยนต์นั่งส่วนบุคคล ยี่ห้อ เมอซิเดสเบ็นซ์ 500 SEL ทะเบียน ก-1771 ปจ. จดทะเบียนเมื่อ
14 มิ.ย.31
รถยนต์นั่งส่วนบุคคล ยี่ห้อ เมอซิเดสเบ็นซ์ 230 E ทะเบียน ก-1717 ปจ. จดทะเบียนเมื่อ 29 มิ.ย 31
รถยนต์กระบะดัดแปลงเป็นรถยนต์นั่ง 2 ตอน ยี่ห้อ อีซูซุ ทะเบียน 3 ห-9135 กทม. จดทะเบียนเมื่อ 7 มี.ค 32 ราคา 310,000 บาท
รถยนต์นั่งส่วนบุคคล ยี่ห้อ ฮอนด้า แอคคอร์ด ทะเบียน ค-2777 นบ. จดทะเบียนเมื่อ 22 มิ.ย. 33 ราคา 828,000 บาท
รถยนต์นั่งส่วนบุคคล ยี่ห้อ เมอซิเดสเบ็นซ์ 560 SELทะเบียน ก-2277 ปจ. จดทะเบียนเมื่อ 22 ต.ค. 33 ราคา 5.4 ล้านบาท
หุ้นของนายเสนาะ เทียนทอง ในห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. เทียนทอง เป็นเงินลงทุน จำนวน 40 ล้านบาท
ขั้นตอนที่1
การพิจารณารายชื่อนักการเมืองเพื่อประกาศให้สาธารณชนทราบเมื่อผู้นั้นมีพฤติการณ์ ร่ำรวยผิดปกติวิสัยของผู้ประกอบอาชีพโดยสุจริต
4.1 ยอดทรัพย์สินที่มีอยู่ในวันอายัด
ดูข้อ 3.
4.2 ทรัพย์สินที่มีอยู่ก่อนดำรงตำแหน่ง
ดูข้อ 3.
อนึ่ง นายเสนาะ เทียนทอง ยื่นแบบแสดงรายการสินทรัพย์และหนี้สินตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการแสดงสินทรัพย์และหนี้สินของเจ้าหน้าที่ของรัฐ พ.ศ. 2524 มาตรา 3 หนึ่งครั้งว่ามีรายได้สินทรัพย์และหนี้สินในวันที่ 28 เมษายน 2530 ดังนี้
รายได้
เงินเดือนๆ ละ 32,000 บาท ปีละ 384,000บาท
สินทรัพย์
เงินฝากในธนาคารพาณิชย์ (ธ.กรุงเทพ, ธ.ทหารไทย) 800,000 บาท
ที่ดิน 6,000,000 บาท
บ้านพักอาศัย 3,000,000 บาท
ยานพาหนะ 1,500,000บาท
รวมทรัพย์สิน 11,300,000 บาท
หนี้สิน
เงินกู้เบิกเกินบัญชีธนาคารนครหลวงไทย จำกัด สาขาปราจีนบุรี บัญชีเลขที่ 334-1-00579-2 และธนาคารกรุงเทพ จำกัด สาขาบางเขน (บัญชี หจก. ส. เทียนทอง) บัญชีเลขที่ 161-3-04218-1 รวม 6,600,000 บาท
4.3 รายได้โดยชอบ
นายเสนาะ และนางอุไรวรรณ เทียนทอง ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ภ.ง.ด 91) รวมกันมีเงินได้ดังนี้
ปี พ.ศ. นายเสนาะ นางอุไรวรรณ
2531 580,601.36 138,960.00
2532 818,280.00 165,300.00
2533 867,299.70 195,000.00
4.4 นายเสนาะ เทียนทอง มีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นในระหว่างดำรงตำแหน่ง ดังนี้
ก. เงินสดในธนาคาร เพิ่มขึ้น 41,781,492.71 บาท
ข. ที่ดิน เพิ่มขึ้น 1,337,2874.00 บาท
ค. รถยนต์ เพิ่มขึ้น 7,235,000.00 บาท
ง. ทรัพย์สินใน หจก. ส. เทียนทอง
เฉพาะส่วน เพิ่มขึ้น17,500,000.00บาท
สรุปรวมเพิ่มขึ้น 79,889,366.71 บาท
หมายเหตุ ข้อ ก. ยอดทรัพย์สินเงินฝากธนาคาร เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2531 นายเสนาะ ฯ มียอดเงินฝาก 673,157.61 บาท นางอุไรวรรณ ฯ มียอดเงินฝาก 21,308,900.68 บาท รวม 21,982,058.29 บาท ซึ่งเมื่อนำมาหักออกจากยอดเงินฝากในธนาคารเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2534 ซึ่งมีรวม 63,763,551.- บาท แล้วจึงมีเพิ่มขึ้น 41,781,492.71 บาท
ข้อ ข. ที่ดิน ให้ดู ข้อ 3.2 (ถือตามราคาที่จดทะเบียน)
ข้อ ค. รถยนต์ ให้ดู ข้อ 3.3
ข้อ ง. จากเอกสารแสดงงบการเงินของ หจก. ส. เทียนทอง สิ้นสุด ณ วันที่ 30 ธันวาคม 2531 เปรียบเทียบสิ้นสุด ณ วันเดียวกันของปี พ.ศ.2533 มีการเพิ่มทุนเฉพาะส่วนของนายเสนาะ ฯ จาก 22.5 ล้านบาท เป็น 40 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 17.5 ล้านบาท นอกจากนี้ หจก. ส. เทียนทอง ยังมีสินทรัพย์ที่เพิ่มขึ้นเป็นรถยนต์ และเครื่องจักรกลคิดเป็นมูลค่า 35,241,670 บาท
เมื่อเปรียบเทียบกับมูลค่าทรัพย์สินที่นายเสนาะ เทียนทองแสดง....แบบแสดงรายการสินทรัพย์และหนี้สินที่ยื่นต่อคณะกรรมการ ป.ป.ป. และรายได้จากแบบแสดงการเสียภาษีเงินได้แล้วถือว่า นายเสนาะ เทียนทอง มีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นขณะอยู่ในตำแหน่งทางการเมืองสูงกว่าเกณฑ์ที่จะมีรายได้ตามปกติ จึงน่าเชื่อว่า นายเสนาะ เทียนทอง มีรายได้ทางอื่นที่ยังไม่เปิดเผยอีกเป็นจำนวนมาก คณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สินพิจารณาแล้วเห็นว่า นายเสนาะ เทียนทอง เป็นนักการเมืองที่มีพฤติการณ์อันส่อแสดงให้เห็นได้ว่ามีทรัพย์สินร่ำรวยผิดปกติ ผิดวิสัยของผู้ประกอบอาชีพโดยสุจริต สมควรที่จะประกาศรายชื่อให้สาธารณชนทราบ เพื่อคณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สินจะได้ดำเนินการรวบรวมพยานหลักฐานและสืบสวนสอบสวนต่อไป คณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สินจึงได้ประกาศรายชื่อนายเสนาะ เทียนทอง เป็นนักการเมืองที่มีพฤติการณ์อันส่อแสดงให้เห็นว่ามีทรัพย์สินร่ำรวยผิดปกติ ผิดวิสัยของผู้ประกอบอาชีพโดยสุจริต ตามประกาศคณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สิน ฉบับที่ 2 ลงวันที่ 8 มิถุนายน 2534
การรวบรวมทรัพย์สินที่ถูกอายัดและทรพย์สินที่น่าเชื่อว่าเป็นของผู้ถูกอายัด
หลังการประกาศชื่อ นายเสนาะ เทียนทอง ได้ดำเนินการเรียกบุคคลที่เกี่ยวข้องมาให้ถ้อยคำและตรวจสอบ หจก. ส. เทียนทอง ซึ่งเป็นธุรกิจในครบครัวกับรายการทางบัญชีในธนาคารของนายเสนาะ เทียนทอง และภรรยา ผลการตรวจสอบปรากฏว่าไม่มีข้อสงสัยในกิจการที่ดำเนินทางธุรกิจ แต่รายการทางบัญชีที่ถูกอายัดไว้ทั้งหมดตามข้อ 4.4 พบข้อพิรุธซึ่งเป็นแนวทางไปพบบัญชีเงินฝากของนายสุทัศน์ เทศะแพทย์ น้องร่วมบิดา-มารดาของนางอุไรวรรณ เทียนทอง ที่ธนาคารกรุงเทพ จำกัด สาขา ลาดพร้าว เป็นบัญชี ออมทรัพย์เลขที่ 129-0-92122-8 ซึ่งเปิดบัญชีเมื่อวันที่ 3 เมษายน 2532 จำนวน 2,000 บาท และขณะตรวจสอบบัญชีนี้ปิดไปแล้วเมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2534 ที่มีข้อพิรุธเพราะมีการเคลื่อนไหวทางบัญชีสูงผิดปกติ กล่าวคือ เฉพาะรายการฝากตั้งแต่ 1 ล้านบาทขึ้นไป 15 ครั้ง 28 รายการ เป็นเงิน 78,974,390 บาท ดังนี้
18 ม.ค. 33 ฝาก 4,000,000 บาท
8 ก.พ. 33 ฝาก 2 รายการ 2,000,000 บาท
1 มี.ค. 33 ฝาก 4,000,000 บาท
22 มี.ค.33 ฝาก 7,500,000 บาท
27 มี.ค.33 ฝาก 2,000,000 บาท
4 พ.ค.33 ฝาก 5,100,000 บาท
15 มิ.ย. 33 ฝากเช็ค 3 ฉบับ 2 รายการ 3,200,000 บาท
6 ก.ค. 33 ฝาก 5,000,000 บาท
10 ก.ค. 33 ฝาก 12,642,000 บาท
11 ก.ค. 33 ฝาก 5,000,000 บาท
12 ก.ค. 33 ฝาก11 รายการ 10,000,000 บาท
24 ก.ค. 33 ฝาก 6,182,390 บาท
27 ก.ค. 33 ฝาก 5,350,000 บาท
28 ก.ค. 33 ฝาก 2 รายการ 5,000,000 บาท
2 ม.ค. 34 ฝาก 2,000,000บาท
รวม 78,974,390 บาท
ส่วนรายการถอนเงินจากบัญชีดังกล่าว เฉพาะที่มีเงินตั้งแต่ 1 ล้านบาทขึ้นไปมีจำนวน 18 ครั้ง 18 รายการ เป็นเงิน 77,895,490 บาท
14 ก.พ. 33 ถอน 1,701,100 บาท
15 ก.พ. 33 ถอน 3,778,400 บาท
9 มี.ค. 33 ถอน 3,972,240 บาท
19 เม.ย. 33 ถอน 3,000,000 บาท
27 เม.ย.33 ถอน 7,000,000 บาท
22 พ.ค. 33 ถอน 2,300,000 บาท
8 มิ.ย. 33 ถอน 2,000,000 บาท
20 มิ.ย. 33 ถอน 4,000,000 บาท
16 ก.ค. 33 ถอน 1,460,000 บาท
3 ส.ค. 33 ถอน 2,428,800 บาท
9 ส.ค. 33 ถอน 4,000,000 บาท
10 ส.ค. 33 ถอน 13,266,400 บาท
16 ต.ค. 33 ถอน 10,000,000 บาท
26 ต.ค. 33 ถอน 5,177,100 บาท
5 พ.ย. 33 ถอน 5,253,300 บาท
21 พ.ย. 33 ถอน 1,000,000 บาท
14 ม.ค. 34 ถอน 2,000,000 บาท
6 ก.พ. 34 ถอน 5,558,150 บาท
รวม 77,895,490 บาท
และเมื่อ 13 มี.ค. 34 ถอนปิดบัญชี จำนวน 238,429.10 บาท
ซึ่งเมื่อนำมาพิจารณาประกอบเหตุผลต่อไปนี้แล้วเชื่อว่า นายเสนาะ เทียนทองและภรรยา อาศัยบัญชีของนายสุทัศน์ เทศะแพทย์ เป็นบัญชีพัก กล่าวคือ
บัญชีนี้เมื่อเริ่มเปิดบัญชี (3 เม.ย. 32) มีการนำเงินเข้าฝากจำนวนเพียงหลักพันบาทอยู่ระยะหนึ่ง ซึ่งใกล้เคียงกับรายได้จากเงินเดือนของนายสุทัศน์ ฯ แต่นับจากวันที่ 18 มกราคม 2533 มีรายการฝาก-ถอน เป็นจำนวนนับล้านบาท บางรายการถึง 10 ล้านบาท ซึ่งเกินฐานะของนายสุทัศน์ ฯ
บัญชีนี้ปิดเมื่อ 13 มีนาคม 2534 หลังการประกาศรายชื่อนักการเมืองซึ่งรวมทั้งชื่อ นายเสนาะ
เทียนทอง ที่ถูกตรวจสอบด้วยเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2534
นายสุทัศน์ ฯ ได้ให้ถ้อยคำยืนยันหลายครั้งว่า บัญชีนี้ไม่เกี่ยวข้องกับ นายเสนาะ เทียนทอง แต่จากการตรวจสอบทางบัญชีพบว่า รายการถอนเกือบทั้งหมดเกี่ยวข้องกับบัญชีและกิจการของนายเสนาะ เทียนทอง และครอบครัว ดังนี้
ถอนเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2533 เข้าบัญชี หจก. ส.เทียนทอง ที่ธนาคาร
จำนวน 1,701,100 บาท กรุงเทพ จำกัด สาขาบางเขน บัญชีกระแส รายวัน
ถอนเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2533 โอนเข้าบัญชีนายสมนึก บู่น้อย หรือนาย
จำนวน 3,778,400 บาท พิชัย อุดมวงศ์ยนต์(บริษัทวรพัฒน์การุสรา
จำกัด) ที่ธนาคารนครหลวงไทย จำกัด
สาขาปราจีนบุรี บัญชีออมทรัพย์เลขที่
334-2-09145-0
ถอนเมื่อ 9 มีนาคม 2533 โอนเข้าบัญชีนายสมนึก บู่น้อย หรือนาย
จำนวน3,972,240 บาท พิชัย อุดมวงศ์ยนต์(บริษัทวรพัฒน์การุสรา
จำกัด) ที่ธนาคารนครหลวงไทย จำกัด
สาขาปราจีนบุรี บัญชีออมทรัพย์เลขที่
334-2-09145-0
ถอนเมื่อ 27 เมษายน 2533 โอนเข้าบัญชีนางอุไรวรรณ ฯ ที่ธนาคาร
จำนวน 7,000,000 บาท กรุงเทพ จำกัด สาขาลาดพร้าว บัญชีออมทรัพย์เลขที่ 129-0-85212-6 จำนวน 1 ล้านบาท โอนเข้าบัญชีนายเสนาะ ฯ ที่ธนาคารนครหลวงไทย จำกัด สาขาปราจีนบุรี บัญชีกระแสรายวันเลขที่ 334-1-00579-2 จำนวน 2ล้านบาทและทำแคชเชียร์เช็คสั่งจ่าย นายวิทยา เทียนทอง จำนวน 4 ล้านบาท
ถอนเมื่อ 8 มิถุนายน 2533 ถอนพร้อมกับบัญชีนางอุไรวรรณ ฯ บัญชี
จำนวน 2,000,000 บาท ออมทรัพย์ สาขาลาดพร้าว เลขที่ 129-0-85212-6 อีก 2 ล้านบาท แล้วทำแคชเชียร์เช็ค เข้าบัญชีนายเสนาะ เทียนทอง ธนาคารนครหลวงไทย จำกัด สาขาปราจีนบุรี บัญชีกระแสรายวันเลขที่ 334-1-00579-2 จำนวน 4 ล้านบาท
ถอนเมื่อ 20 มิถุนายน 2533 ถอนพร้อมกับบัญชีนางอุไรวรรณ ฯ ที่
จำนวน 4,000,000 บาท ธนาคารกรุงเทพ จำกัด สาขาลาดพร้าว
บัญชีกระแสรายวันเลขที่ 129-3-10555-5 อีก 2 ล้านบาท แล้วโอน เข้าบัญชีนายเสนาะ เทียนทอง ธนาคารนครหลวงไทย จำกัด สาขาปราจีนบุรี บัญชีกระแสรายวันเลขที่ 334-1-00579-2 จำนวน 6 ล้านบาท
ถอนเมื่อ 9 สิงหาคม 2533 โอนเข้าบัญชีนางอุไรวรรณ ฯ ที่ธนาคาร
กรุงเทพ จำกัด สาขาลาดพร้าว บัญชีออม ทรัพย์ เลขที่ 129-0-85212-6 จำนวน 3 ล้านบาทและทำแคชเชียร์เช็คจำนวน 1 ล้านบาท
ถอนเมื่อ 10 สิงหาคม 2533 โอนเข้าบัญชีนายเสนาะ เทียนทอง ที่
จำนวน 13,266,400 บาท ธนาคารนครหลวงไทย จำกัด สาขาปราจีนบุรี บัญชีกระแสรายวันเลขที่ 334-1-00579-2 จำนวน 9 ล้านบาท และโอนเข้าบัญชีนายสมนึก บู่น้อย และ/หรือนายพิชัย อุดมวงศ์ยนต์ (บริษัท วรพัฒน์การสุรา จำกัด) ที่ธนาคารกรุงไทย จำกัด สาขาปราจีนบุรี บัญชีออมทรัพย์เลขที่ 213-1-17717-8 จำนวน 4,266,400 บาท
ถอนเมื่อ 16 ตุลาคม 2533 โอนเข้าบัญชีนางอุไรวรรณ ฯ ที่ธนาคาร
จำนวน 10,000,000 บาท กรุงเทพ จำกัด สาขาห้าแยกปากเกร็ดบัญชีเงินฝากประจำเลขที่ 207-2-03383-6 และต่อมาถอนเงินไปซื้อที่ดิน โฉนดเลขที่ 34370 ตำบลทุ่งศุขลา อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี
ถอนเมื่อ 5 พฤศจิกายน 2533 โอนเข้าบัญชีนางอุไรวรรณ ฯ ที่ธนาคาร
กรุงเทพ จำกัด สาขาลาดพร้าว บัญชีออมทรัพย์เลขที่ 129-0-85212-6 ด้วยการทำแคชเชียร์เช็ค
ถอนเมื่อ 21 พฤศจิกายน 2533 โอนเข้าบัญชีนางอุไรวรรณ ฯ ที่ธนาคาร
กรุงเทพ จำกัด สาขาลาดพร้าว บัญชีออมทรัพย์เลขที่ 129-0-85212-6
ถอนเมื่อ 14 มกราคม 2534 โอนเข้าบัญชีนางอุไรวรรณ ฯ ที่ธนาคาร
กรุงเทพ จำกัด สาขาลาดพร้าว บัญชีออมทรัพย์เลขที่ 129-0-85212-6
นายสุทัศน์ ฯ ให้ถ้อยคำว่า ในปัจจุบันนี้มีเงินฝากหลายบัญชี แต่ทุกบัญชีมียอดเงินในบัญชีไม่เกิน 10,000 บาท ซึ่งขัดกับยอดเงินและการเคลื่อนไหวของบัญชีนี้
จากหลักฐานอาชีพรับราชการของ นายสกล เทศะแพทย์ (บิดาของนางอุไรวรรณ เทียนทอง และนายสุทัศน์ เทศะแพทย์) น่าเชื่อว่าไม่ใช่ผู้มีฐานะร่ำรวยในอดีต
นายสุทัศน์ ฯ อ้างว่า เงินในบัญชีส่วนใหญ่เป็นของนายสกล ฯ ซึ่งได้จากการขายของเก่า แล้วมอบให้นำเข้าบัญชีเพราะบิดาแก่แล้ว แต่นายสมบัติ เพชรตระกูล (ผู้จัดการ หจก.สามประสิทธิ์) อ้างว่านายสกล ฯ เป็นผู้นำไปติดต่อของเก่าให้แก่ตนเองทุกครั้ง ซึ่งหากเป็นความจริงแล้วก็ไม่มีเหตุจำเป็นใดที่นายสกล ฯ จะต้องใช้ให้นายสุทัศน์ ฯ เป็นผู้นำเงินไปเข้าบัญชี นอกจากนี้นายสมบัติ ฯ ยังอ้างว่านายสกล ฯ นำของเก่าไปขายให้หลายครั้ง และบางเดือนไปติดต่อขายให้ถึง 3 ครั้ง ซึ่งผิดลักษณะของคนที่นำของเก่าของตนเองมาขาย
นายสุทัศน์ ฯ อ้างว่าบางรายการ นายพิเชษฐ อเทียนทอง ยืมไปชำระค่าสุรา เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 25323 จำนวน 3,778,500 บาท ซึ่งหากเป็นเงินของนายสกล ฯ จริงแล้ว นายสุทัศน์ ก็ไม่น่าจะให้ยืม
คำชี้แจงของผู้ถูกอายัด
6.1 นายเสนาะ เทียนทอง ให้การสรุปว่าก่อนมาเป็นนักการเมือง ดำเนินธุรกิจในนามห้างหุ้นส่วนจำกัด ส.เทียนทอง โดยจดทะเบียนนิติบุคคล เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2513 ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับการรับเหมาก่อสร้าง จำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิง จำหน่ายสุรา ประจำอำเภอวัฒนานคร จังหวัดปราจีนบุรี โดยในช่วงแรกเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ ต่อมาเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2529 ได้ถอนตัวและให้นายพิเชษฐ์ เทียนทอง (น้องชาย) เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการแทนเนื่องจากได้รับการแต่งตั้งให้เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ แต่ในธุรกิจยังคงใช้เงินเบิกเกินบัญชีที่ ธนาคารนครหลวงไทย จำกัด สาขาปราจีนบุรี บัญชีเลขที่ 334-1-00579-2 กิจการของห้าง ฯ ดำเนินไปโดยการดูแลของนางอุไรวรรณ เทียนทอง (ภรรยา) นายพิเชษฐ์ เทียนทอง และนางขวัญเรือน เทียนทอง (น้องสะใภ้) ตนจะเป็นเพียงผู้ลงลายมือชื่อในเช็คเพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องทั้งสามไปดำเนินการต่อไป กิจการของห้าง ฯ ได้ดำเนินการมาเรื่อยๆ และเติบโตขึ้นเป็นลำดับโดยได้เพิ่มกิจการโรงโม่ขึ้นอีกเมื่อประมาน 10 กว่าปีที่ผ่านมา ทุนจดทะเบียนเริ่มจาก 10 ล้านบาท เป็น 30 ล้านบาทและปัจจุบันเป็น 70 ล้านบาท
แหล่งที่มาของรายได้ที่สำคัญระหว่างปี พ.ศ.2531-2534 คือ งานรับเหมาสร้างทางทั้งในนามของ หจก.ส.เทียนทอง และนิติบุคคลอื่น คือบริษัทบุญชัยพาณิชย์ (1979) จำกัด รวมเป็นเงิน 101,179,120 บาท รับเงินค่าน้ำมันเชื้อเพลิงจาก บริษัทวิจิตรภัณฑ์ก่อสร้าง จำกัด 39 ล้านบาท ขายหุ้น บริษัทอัลไพน์เรียลเอสเตท จำกัด 20 ล้านบาท และธุรกิจค่าจองตึกศูนย์การค้าวังป่าตอง อำเภออรัญประเทศ จังหวัดปราจีนบุรี จำนวน 20 ล้านบาท ส่วนรายละเอียดของ หจก.ส.เทียนทอง ให้สอบถามจากนางอุไรวรรณ ฯ และนายพิเชษฐ์ ฯ
แบบแสดงรายการสินทรัพย์และหนี้สินของเจ้าหน้าที่ของรัฐ พ.ศ.2524 เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2530 แสดงไว้เฉพาะทรัพย์สินในส่วนของตนเองเท่านั้น ไม่รวมถึงภรรยาและนิติบุคคลที่ตนดำเนินธุรกิจ รายการที่กรอกไว้ในแบบ ฯ มิได้ตรวจสอบความถูกต้อง แต่ใช้วิธีกะประมาณเอา
การเสียภาษีเงินได้ยื่นรวมกับภรรยา โดยยื่นเฉพาะเงินได้ที่เป็นเงินเดือนจากทางราชการเท่านั้น สำหรับนางอุไรวรรณ ฯ นอกจากมีรายได้เป็นเงินเดือนจากทางราชการแล้วยังมีรายได้จากการซื้อขาย อสังหาริมทรัพย์ และแลกเปลี่ยนเช็คด้วย
6.2 นางอุไรวรรณ เทียนทอง ให้การสรุปว่าการดำเนินกิจการของห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. เทียนทอง ในระหว่างที่นายเสนาะ ฯ เป็นรัฐมนตรี ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับราชการในกระทรวงมหาดไทย หากใช้ชื่อห้างฯ เป็นคู่สัญญาเห็นว่าไม่เหมาะสม จึงใช้ชื่อบุคคลอื่นเป็นผู้เข้าประมูลงานแทน และเมื่อได้งานกำไรทั้งหมดจะตกเป็นของ หจก. ส.เทียนทอง
เมื่อปี พ.ศ.2533 ได้ซื้อหุ้นของบริษัทอัลไพน์เรียลเอสเตส จำกัด เป็นเงิน 5 ล้านบาท ต่อมาได้ขายชำระหนี้ให้กับนายประยูร สงวนสิน นายสรศักดิ์ ตั้งประกิจ และนายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล เป็นเงิน 20 ล้านบาท ชำระหนี้ 15 ล้านบาท จึงเหลือเงิน 5 ล้านบาท นำเข้าฝากไว้ที่ธนาคารกรุงเทพ จำกัด สาขาลาดพร้าว บัญชีเลขที่ 129-2-30241-9 เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2533
นอกจากนี้ นางอุไรวรรณ ฯ ยังได้ตอบคำถามตามรายการที่สอบถามจากบัญชีในธนาคารที่ปรากฏ เงินฝาก-ถอน จำนวนสูงดังตัวอย่าง
รายการฝากธนาคารทหารไทย จำกัด สำนักงานใหญ่ บัญชีออมทรัพย์เลขที่ 001-2-55762-5 เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2532 จำนวน 3 ล้านบาท ถอนออกจากธนาคารนครหลวงไทย จำกัด สาขาปราจีนบุรี บัญชีกระแสรายวันเลขที่ 334-1-00579-2 เมื่อวันที่ 21 เมษายน 2532 จำนวน 2 ล้านบาท รวมกับเงินมาจากที่ใดไม่ทราบ
รายการฝากธนาคารกรุงเทพ จำกัด สาขาลาดพร้าว บัญชีออมทรัพย์เลขที่ 129-0-85212-6 เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2533 จำนวน 2 ล้านบาท นายพิเชษฐ์ เทียนทอง นำมาให้เป็นเงินสดทั้งจำนวน ส่วนรายการฝากเมื่อวันที่ 27 เมษายน 2533 จำนวน 1 ล้านบาท นายสุทัศน์ เทศะแพทย์ น้องชายให้ยืมมาใช้หมุนเวียน ซึ่งความจริงเป็นการยืมรวม 7 ล้านบาท
รายการฝากธนาคารกรุงเทพ จำกัด สาขาลาดพร้าว บัญชีกระแสรายวัน เลขที่ 129-3-10571-2 ของนายเสนาะ เทียนทอง เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2531 จำนวน 500,000 บาทเป็นเช็คของขวัญที่ได้ในโอกาสวันขึ้นปีใหม่
อนึ่ง นางอุไรวรรณ ฯ ยังให้การเกี่ยวกับบัญชีเงินฝากธนาคารกรุงเทพ จำกัด สาขาลาดพร้าว บัญชีออมทรัพย์ เลขที่ 129-0-92122-8 ว่า เป็นบัญชีของนายสุทัศน์ เทศะแพทย์ ซึ่งนายสกล ฯ (บิดา) อาศัยเดินบัญชีเพื่อประกอบธุรกิจร่วมกับนายสุทัศน์ ฯ ก่อนทำงานที่การประปานครหลวง นายสุทัศน์ ฯ ประกอบอาชีพรับจำนอง รับซื้อฝาก และเป็นนายหน้า ส่วนบิดามีรายได้จากการให้เช่าพระเครื่อง (จำหน่าย) โดยไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับ หจก.ส.เทียนทอง
การสอบพยานบุคคล
7.1 นายพิเชษฐ์ เทียนทอง ให้การสรุปว่า รถยนต์เบนซ์ 560 SEL หมายเลขทะเบียน ก-2277 ปจ. ซื้อจากนายประโยชน์ กุลจันทร์ ราคา 5.4 ล้านบาท และเพิ่งสนใจทำธุรกิจที่ดินเมื่อต้นปี พ.ศ.2534 จึงได้ซื้อที่ดิน น.ส.3 ก. จำนวน 1,427 ไร่ ซึ่งเป็นป่ายูคาลิปตัส จากบริษัทหย่วนเฮงลี่อุตสาหกรรมไม้ จำกัด ในราคาไร่ละประมาณ 5,000 บาท (คิดเป็นเงิน 1,427 x 5,000 = 7,135,000 บาท) และให้การภายหลังว่าซื้อมาในราคาประมาณ 11 ล้านบาท การชำระเงินค่าที่ดินใช้ แคชเชียร์เช็คที่ได้จากการขายหินและน้ำมัน ให้แก่นางสาววิภาภรณ์ วิโรจนาภิรมย์ ลูกสาวของนายธนา ฯ เจ้าของและผู้จัดการ หจก. บุญสหะการสร้าง ชำระโดยฝากให้นายสุทัศน์ เทศะแพทย์ ชำระค่าที่ดินแทนโดยแบ่งชำระเป็น 2 งวดๆ ละ5 ล้านบาทเศษ
7.2 นายสุทัศน์ เทศะแพทย์ ให้การสรุปว่า เป็นบุตรของนายสกลและนางสาคร เทศะแพทย์ มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน 2 คน คือ ตนกับนางอุไรวรรณ ฯ
นายสกล ฯ ถึงแก่กรรมแล้วเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2534 ขณะนายสกล ฯ ยังมีชีวิตและตนเพิ่งจบการศึกษา นายสกล ฯ ได้นำของเก่าจำพวก เพชร พลอยสี ทองเก่า และวัตถุโบราณซึ่งได้สะสมไว้ตั้งแต่สมัยคุณปู่ และซื้อเพิ่มตอนเขมรแตกออกขายเพื่อให้ตนมีทุนไปประกอบอาชีพระหว่างรองาน เมื่อขายของได้นายสกล ฯ ให้ตนเป็นผู้นำเงินหรือเช็คไปเข้าบัญชีออมทรัพย์เลขที่ 129-0-92122-8 ธนาคารกรุงเทพ จำกัด สาขาลาดพร้าว ซึ่งเปิดไว้ในนามของตน ตนจได้ใช้เงินในบัญชีนี้ทำธุรกิจ รับจำนอง รับซื้อฝากที่ดิน ซื้อขายที่ดิน ให้กู้ยืม บัญชีนี้ปิดก่อนบิดาถึงแก่กรรม เมื่อบิดาถึงแก่กรรมไม่มีมรดกอะไรตนและนางอุไรวรรณ ฯ คงได้เงินจากบัญชีนี้คนละประมาณ 10 ล้านบาท ตนเคยให้เงินนางอุไรวรรณ ฯ ยืม 7 ล้านบาทและเคยให้นายพิเชษฐ์ เทียนทอง ยืมชำระค่าสุรา เงินที่นำเข้าฝากในบัญชีนี้เป็นเงินที่ได้จากการดำเนินธุรกิจของบิดาและของตนเล็กน้อย นายธนา วิโรจนาภิรมย์ นายสมบัติ เพชรตระกูล เคยซื้อพระและเพชรพลอยจากบิดา และเคยให้นายสุปรีดิ์ ศรีผดุง ยืมเงินโดยยืมผ่าน นายนพ สัตยาศัย
7.3 เรือโทสุปรีดิ์ ศรีผดุง ให้การว่าประมาณกลางปี พ.ศ. 2533 เคยให้นายนพ สัตยาศัย หาเงินยืมให้3,000,000 บาท และได้ชำระคืนหลังจากยืมประมาณหนึ่งเดือน ด้วยเช็คของธนาคารแสตนดาร์ดชาร์เตอร์ด จำนวน 3 ฉบับ เป็นเงิน 3,200,000 บาท รู้จักนายเสนาะ เทียนทอง ในฐานะเคยเล่นกอล์ฟด้วยกัน
7.4 นายสมบัติ เพชรตระกูล ผู้จัดการ ห้างหุ้นส่วนจำกัด สามประสิทธิ์ ให้การว่าติดต่อซื้อเพชรพลอยและบูชาพระเครื่องกับนายสกล เทศะแพทย์ บิดาของนางอุไรวรรณ มานานหลายปีแต่เท่าที่จำได้ คือ
- เดือนมีนาคม 2533 จ่ายเป็นเงินสด 5.4 ล้านบาท
- วันที่ 6 กรกฎาคม 2533 ประมาณ 5.6 ล้านบาท โดยแบ่งเป็นเงินสด 6 แสนบาท และเช็คธนาคารกรุงเทพ จำกัด สาขาหัวลำโพง เลขที่ 1824276 จำนวน 5 ล้านบาท
- วันที่ 9 กรกฎาคม 2533 ประมาณ 5.7 ล้านบาท เป็นเงินสด 7 แสนบาท และเช็คธนาคารกรุงเทพ จำกัด สาขาหัวลำโพง เลขที่ 1824277 จำนวน 5 ล้านบาท
- วันที่ 12 กรกฎาคม 2533 ประมาณ 5.9 ล้านบาท เป็นเงินสด 9 แสนบาท และเช็คธนาคารกรุงเทพ จำกัด สาขาหัวลำโพง เลขที่ 1824278 จำนวน 5 ล้านบาท
7.5 นายพยนต์ ศักดิ์เดชยนต์ อาชีพนักธุรกิจซื้อขายที่ดิน เป็นผู้สั่งจ่ายเช็คของธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด สาขาถนนวิทยุ เลขที่ 7538476 ลงวันที่ 28 ธันวาคม 2533 เป็นเงิน 1 ล้านบาท ให้นางสาวนุชนาฏ เอกสิทธิชัย ยืมเพื่อช่วยเหลือกัน และได้รับชำระคืนแล้ว ปฏิเสธการรู้จักครอบครัวนายเสนาะ เทียนทอง
7.6 นางสาววิภาภรณ์ วิโรจนาภิรมย์ อาชีพแม่บ้าน เป็นบุตรนายธนา วิโรจนาภิรมย์ เจ้าของ หจก. บุญสหะการสร้าง เป็นผู้สั่งจ่ายเช็คเลขที่ 6006107, 6006135 ของธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด จำนวนเงิน 6,182,390 บาท และ 5,350,000 บาท ลงวันที่ 19 กรกฎาคม 2533 และ 24 กรกฎาคม 2533 ตามลำดับ โดยจ่ายค่าซื้อหินให้นายพิเชษฐ์ เทียนทอง เป็นการทำธุรกิจในฐานะคนกลางหรือนายหน้าปฏิเสธการรู้จักนายสุทัศน์ ฯ
7.7 นางสาวนุชนาฏ เอกสิทธิชัย ให้การรับว่าเป็นผู้กู้ยืมเงินจากนายพยนต์ ศักดิ์เดชยนต์ ตามเช็คธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด สาขาถนนวิทยุ เลขที่ 7538476 จำนวน 1 ล้านบาท และได้นำไปจ่ายค่าเล่นพนันกอล์ฟ จำไม่ได้ว่าได้จ่ายให้ผู้ใด ไม่เคยเล่นกอล์ฟกับนายเสนาะ เทียนทอง และปฏิเสธการรู้จักนายสุทัศน์ ฯ
7.8 นายธนา วิโรจนาภิรมย์ หุ้นส่วนผู้จัดการ หจก. บุญสหะการสร้าง ให้การว่า เมื่อเทศกาลปีใหม่ได้ติดตามเพื่อนไปอวยพรปีใหม่ให้นายเสนาะ ฯ ที่บ้านพักในหมู่บ้านเมืองทองนิเวศน์ ระหว่างรอ ได้พบกับนายสกล ฯ ซึ่งเสนอขายเพชรพลอย พระเครื่องสมเด็จวัดระฆัง รุ่นหลังขื่อ และพระบูชาทองคำ หนัก 80 บาทให้ หลังจากตรวจดูสินค้าแล้วตกลงกันในราคา 4 ล้านบาท นายสกล ฯ ไม่วางใจจึงนัดแลกเปลี่ยนกันที่ธนาคารกรุงไทย จำกัด สาขาถนนศรีอยุธยา โดยให้นายธนา ฯ ชำระเป็นแคชเชียร์เช็ค นอกจากนี้นายธนา ฯ ยังรับว่า หจก. บุญสหะการสร้าง เคยประมูลงานโดยฮั้วกันกับ หจก. ส. เทียนทอง แต่เป็นการฮั้วกันเพียงเพื่อขอเงินที่จ่ายค่าแบบคืน
8. การผ่อนผันการอายัดทรัพย์
บัญชีเงินฝากธนาคารกรุงเทพ จำกัด สาขาห้าแยกปากเกร็ด ชื่อบัญชีนางอุไรวรรณ เทียนทอง บัญชีเงินฝากประจำเลขที่ 207-2-03383-6 เดือนละ 50,000 บาท เป็นค่าใช้จ่ายส่วนตัว และค่าสาธารณูปโภคตามที่จ่ายจริงตามมติ กตส.ครั้งที่ 11/ เมื่อวันที่ 27เมษายน 2534
ขั้นตอนที่ 3
การพิจารณาและวินิจฉัย
คณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สิน ได้ทำการตรวจสอบและสอบสวนบัญชีเงินฝากธนาคารกรุงเทพ จำกัด สาขาลาดพร้าว บัญชีสะสมทรัพย์เลขที่ 129-0-92122-8 ชื่อบัญชีนายสุทัศน์ เทศะแพทย์ ซึ่งเป็นบัญชีเงินฝากที่มีการเคลื่อนไหวผิดปกติแต่ละรายการดังนี้
รายการฝากวันที่ 18 มกราคม 2533 แคชเชียร์เช็ค 4,000,000 บาท
จากหลักฐานปรากฏว่า มีชื่อนายธนา วิโรจนาภิรมย์ เป็นผู้สั่งจ่าย
นายสุทัศน์ ฯ และนายธนา ฯ ต่างชี้แจงตรงกันว่าเป็นเงินที่นายธนา ฯ สั่งจ่ายเป็นค่าซื้อเพชร 2 เม็ด พลอยสี
เม็ดเล็ก 1 เม็ด พระเครื่องสมเด็จวัดระฆัง รุ่นหลังขื่อ และพระบูชาทองคำหนัก 80 บาท จากนายสกล เทศะแพทย์
พิเคราะห์เห็นว่า นายสกล เทศะแพทย์ อยู่ในวัยสูงอายุ พักอาศัยอยู่กับนายเสนาะและนางอุไรวรรณ เทียนทองที่บ้านพักในกรุงเทพมหานคร จึงไม่น่าจะมีความจำเป็นที่จะต้องขายทรัพย์สินเหล่านี้ถ้าหากมี ให้แก่นายธนา ฯ ซึ่งไม่ใช่ผู้คุ้นเคย ทั้งยังเป็นช่วงที่นายเสนาะ ฯ ผู้เป็นบุตรเขยมีตำแหน่งเป็นรัฐมนตรี แม้นายธนา ฯ จะให้ถ้อยคำว่าเหตุที่นายสกล ฯ ยอมจำหน่ายทรัพย์สินดังกล่าว เนื่องจากนายสุทัศน์ ฯ ผู้เป็นบุตรชายต้องการใช้เงิน ก็ไม่ปรากฏว่าจะมีหลักฐานการใช้เงินของนายสุทัศน์ ฯ ในช่วงดังกล่าวแต่อย่างใด และจากประวัตินายสกล ฯ เป็นอดีตข้าราชการศุลการักษ์ 3 รับเงินเดือนครั้งสุดท้ายเมื่อปี พ.ศ. 2525 เดือนละ 5,205 บาท และรับบำเหน็จเป็นเงิน 208,200 บาท เมื่อออกจากราชการก็ได้พักอาศัยอยู่กับนายเสนาะและนางอุไรวรรณ เทียนทอง และเมื่อถึงแก่กรรม ก็ไม่ปรากฏว่ามีทรัพย์มรดกใดตกทอดแก่นางอุไรวรรณ ฯ และนายสุทัศน์ ฯ ทายาท คณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สิน ไม่เชื่อว่านายสกล ฯ จะมีเพชร พลอยสี ทองเก่า พระพุทธรูปทองคำ พระเครื่อง ที่มีราคาเป็นจำนวนนับสิบๆล้านบาท และเพิ่งจะนำออกขายตามคำกล่าวอ้างของนายสุทัศน์ ฯ คำชี้แจงไม่น่ารับฟัง นอกจากนั้น นายธนา ฯ เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการห้างหุ้นส่วนจำกัด บุญสหะการสร้าง ซึ่งทำธุรกิจเกี่ยวพันกับห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. เทียนทองของนายเสนาะ ฯ เคย…กับ หจก.ส. เทียนทองในการประมูลงานต่างๆ และเป็นผู้รับงานก่อร้างของกรมโยธาธิการ ในปีงบประมาณ 2532-2533 ซึ่งนายเสนาะ ฯ ในฐานะรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ผู้มีอำนาจหน้าที่ควบคุม กำกับ ดูแล ได้ลงนามอนุมัติถึง 6 โครงการเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 306,240,000 บาท อนึ่งยังมีเหตุผลที่ไม่น่าเชื่ออีกประการหนึ่งว่าการซื้อขายครั้งนี้นายธนา ฯ อ้างว่าเดิมชำระให้เป็นเช็คแต่นายสกล ฯ มีท่าทีไม่วางใจและขอเปลี่ยนเป็นนัดแลกเปลี่ยนกันที่ธนาคารในวันถัดไปซึ่งเป็นเรื่องผิดวิสัย เพราะการที่นายสกล ฯ ให้นายสุทัศน์ ฯ นำของมีค่าติดตัวไปเพื่อการแลกเปลี่ยนที่ธนาคารเป็นเรื่องที่น่าอันตราย ผิดลักษณะของคนที่มีความรอบคอบถึงกับไม่ยอมรับเช็คที่นายธนา ฯ นำมาชำระให้ที่บ้านพัก
รายการฝากวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2533 แคชเชียร์เช็ค 2,000,000 บาท วันที่ 22 มีนาคม 2533 เงินสด 7,500,000 บาท วันที่ 6 กรกฎาคม 2533 เงินสด 5,000,000 บาท วันที่ 12 กรกฎาคม 2533 เงินสด 10,000,000 บาท
นายสุทัศน์ ฯ ชี้แจงว่าเป็นเงินที่นายสกล ฯ บิดามอบให้นำเข้าฝากธนาคารเป็นค่าขายของเก่า พระเครื่อง ทองเก่า พลอยสี และเพชร ให้แก่นายสมบัติ เพชรตระกูล สำหรับรายการฝากวันที่ 22 มีนาคม 2533 นั้นเป็นค่าขายของให้นายสมบัติ ฯ 4.5 ล้านบาท รวมขายของให้นายสมบัติ ฯ เป็นเงิน 21.5 ล้านบาท
นอกจากนั้นเหตุผลไม่น่าเชื่อถือฐานะของนายสกล เทศะแพทย์ และความจำเป็นในการต้องการใช้เงินของนายสุทัศน์ เทศะแพทย์ ตามข้อ 9.1 แล้ว คำให้การของนายสมบัติ เพชรตระกูล พยานซึ่งรับว่าเป็นผู้ซื้อเพชร พลอย และพระบูชา จากนายสกล เทศะแพทย์ เกี่ยวกับจำนวนเงินที่ซื้อเพชรพลอยก็ไม่ตรงกับจำนวนเงินที่นำเข้าฝากอันเป็นพิรุธ กล่าวคือ
เดือนมีนาคม 2533 ซื้อเงินสด 5.4 ล้านบาท
6 กรกฎาคม 2533 ซื้อ 5.6 ล้านบาท (เงินสด 6 แสนบาท และเช็ค 5 ล้านบาท)
9 กรกฎาคม 2533 ซื้อ 5.7 ล้านบาท (เงินสด 7 แสนบาท และเช็ค 5 ล้านบาท)
12 กรกฎาคม 2533 ซื้อ 5.9 ล้านบาท (เงินสด 9 แสนบาท และเช็ค 5 ล้านบาท)
นอกจากนั้นนายสมบัติยังให้การว่าการซื้อขายนายสกล ฯ จะเป็นผู้นำของไปเสนอขายให้นายสมบัติ ฯ ถึงที่และชำระเงินส่วนใหญ่เป็นเช็ค ดังนั้นจึงไม่มีเหตุผลที่นายสกล ฯ จะนำเช็คของนายสมบัติ ฯ ไปแลกเป็นเงินสดหรือเปลี่ยนเป็นแคชเชียร์เช็คแล้วจึงมอบให้นายสุทัศน์ ฯ มิได้นำเข้าฝากเป็นเงินจำนวนเดียว แต่ได้แบ่งยอดเงินออกเป็นรายการย่อยๆ ดังการฝากวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2533 นายสุทัศน์ ฯ ได้นำเช็ค 1 ฉบับ จำนวน 3 ล้านบาท ของนายสมบัติ ฯ มาซื้อแคชเชียร์เช็คจ่ายตนเอง จำนวน 3 ฉบับ ๆ ละ 1 ล้านบาท และนำเข้าบัญชี 2 ล้านบาท วันที่ 12 กรกฎาคม 2533 ได้แบ่งรายการฝากแยกย่อยถึง 11 รายการทั้งที่บัญชีนี้เป็นบัญชีออมทรัพย์
พิเคราะห์เห็นว่า เหตุที่มีการเปลี่ยนจากเช็คเป็นเงินสดแล้วจึงนำเข้าฝากและแบ่งยอดเงินเป็นรายการย่อยๆ ก็เพื่อเป็นการปกปิดแหล่งที่มาของเงินยากแก่การตรวจสอบ และมีข้อสังเกตว่า ห้างหุ้นส่วนจำกัด สามประสิทธิ์ ซึ่งนายสมบัติ เพชรตระกูล เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ เป็นผู้รับงานก่อสร้างของกรมโยธาธิการในปีงบประมาณ 2532-2533 ซึ่งนายเสนาะ ฯ ในฐานะรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ผู้มีอำนาจหน้าที่ควบคุม กำกับ ดูแล ได้ลงนามอนุมัติเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 104,304,000 บาท คำชี้แจงของนายสุทัศน์ ฯ ไม่น่ารับฟัง
รายการฝากวันที่ 27 มีนาคม 2533 เงินสด 2,000,000 บาท
นายสุทัศน์ ฯ ชี้แจงว่า จำนวนเงิน 1 ล้านบาท เป็นการชำระหนี้จากนางอุไรวรรณ ฯ ที่ยืมไปเข้าบัญชีที่ธนาคารกรุงเทพ จำกัด สาขาลาดพร้าว บัญชีเลขที่ 129-0-85212-6 เมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2533 แต่นางอุไรวรรณ ฯ ชี้แจงเมื่อคราวตรวจสอบถามรายการตามบัญชีที่น่าสงสัยว่าเป็นเงินที่นายวิชัย ศันสนะพงษ์ปรีชา มอบให้ใช้จ่ายในงานสาธารณกุศล จึงเป็นการให้การที่ขัดแย้งกัน และจากการที่คณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สินเชื่อว่าบัญชีที่มีชื่อนายสุทัศน์ ฯ ดังกล่าว เป็นบัญชีของนายเสนาะ ฯ และนางอุไรวรรณ ฯ แล้ว จึงไม่มีเหตุที่จะต้องคืนเงินที่เบิกถอนไปแต่อย่างใด
สำหรับเงินอีก 1 ล้านบาทนั้น ได้แยกพิเคราะห์ไว้ในข้อ 9.10
รายการฝากวันที่ 4 พฤษภาคม 2533 เงินสด 5,100,000 บาท
นายสุทัศน์ ฯ ชี้แจงในคำให้การครั้งแรกว่า รับจากนายพิเชษฐ์ เทียนทอง เพื่อชำระหนี้ที่นางอุไรวรรณ ฯ ยืมไป ต่อมานายสุทัศน์ ฯ ชี้แจงเพิ่มเติมเป็นลายลักษณ์อักษรว่า เพื่อชำระหนี้ที่นางอุไรวรรณ ฯ ยืมไปเมื่อวันที่ 27 เมษายน 2533 จำนวน 6 ล้านบาท คงค้างอีก 1 ล้านบาท ในเรื่องนี้นางอุไรวรรณ ฯ รับว่า เป็นผู้ยืมไปรวม 7 ล้านบาท
จาการตรวจสอบหลักฐานปรากฏว่า มีการถอนเงินจากบัญชีนี้รวม 7 ล้านบาท โดยมีรายละเอียดดังนี้คือ
จำนวน 1 ล้านบาท โอนเข้าบัญชี นางอุไรวรรณ ฯ ที่ธนาคารกรุงเทพ จำกัด สาขาเดียวกัน บัญชีออมทรัพย์เลขที่ 129-0-85212-6
จำนวน 2 ล้านบาท โอนเข้าบัญชี นายเสนาะ ฯ ที่ธนาคารนครหลวงไทย จำกัด สาขาปราจีนบุรี บัญชีกระแสรายวันเลขที่ 334-1-00579-2
จำนวน 4 ล้านบาท ทำแคชเชียร์เช็คจ่ายนายวิทยา เทียนทอง
พิเคราะห์เห็นว่า คำชี้แจงไม่สมเหตุสมผลเพราะตัวเลขไม่ลงตัว นอกจากนี้ยังมีเหตุผลที่จะอธิบายเช่นเดียวกับข้อ 9.3 จึงเชื่อว่าเงินตามรายการนี้ได้มาโดยมิชอบ
ปรากฏในหน้าแรกที่:
ข่าวเจาะพาดหัว (สไลด์โชว์)
16 สิงหาคม 2011
เปิดแฟ้มลับ คตส. ยึดทรัพย์“เสนาะ เทียนทอง”ในวันที่เจ้าพ่อวังน้ำเย็นเจ็บปวดที่สุดในชีวิตยุค“บิ๊กจ๊อด” ก่อนตระกูลเทียนทองเบ่งบารมี(อีกครั้ง)รัฐบาล“ทักษิณ-ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร”
ตระกูลการเมืองที่ได้รับเลือกตั้งมากสุดในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2554 ที่ผ่านมาคือคนตระกูลเทียนทองของนายเสนาะ เทียนทอง เพราะได้รับการเลือกตั้งมากสุดถึง 5 คน ครบทั้งตัวเอง ลูก และ หลาน
พลันที่พรรคเพื่อไทยเป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาลคนในตระกูลเทียนทองได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร 1 คนคือ นายฐานิสร์ เทียนทอง ส.ส.สระแก้ว หลานชายนายเสนาะ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
หลังผลักดัน “อุไรวรรณ เทียนทอง”ภรรยา เป็นรัฐมนตรีในรัฐบาลร่มเงาทักษิณ ชินวัตร ก่อนหน้านี้
อย่างไรก็ตาม ก่อนที่ “เสนาะ” จะเบ่งบารมีอีกครั้ง เขาเคยผ่านประสบการณ์ความเจ็บปวดที่สุดในชีวิตอย่างน้อย1ครั้งนั่นคือถูกคณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สิน (คตส.) ยุคคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) นำโดย พล.อ.สุนทร คงสมพงษ์ รัฐประหารรัฐบาลพล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ (23 ก.พ.2534)ยึดทรัพย์ในข้อหาร่ำรวยผิดปกติ ต่อมาศาลฎีกามีพิพากษาว่าคำสั่งยึดทรัพย์ดังกล่าวขัดต่อประเพณีการปกครองประเทศไทยในระบอบประชาธิปไตย ตามธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2534 จึงใช้บังคับมิได้
ศูนย์ข้อมูล&ข่าวสืบสวนฯ(TCIJ)นำผลการตรวจสอบของ คตส.มาเสนอดังนี้
คำวินิจฉัยกรณี นายเสนาะ เทียนทอง
คณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สินได้ดำเนินการแล้ว จึงทำคำวินิจฉัยจากพยานหลักฐานที่ปรากฏจากผลการตรวจสอบดังต่อไปนี้
ประวัติของนายเสนาะ เทียนทอง
นายเสนาะ เทียนทองเกิดเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2477 บิดาชื่อ นายแสวง เทียนทอง (ถึงแก่กรรม) มารดาชื่อ นางทองอยู่ เทียนทอง (ถึงแก่กรรม) การศึกษามัธยมศึกษาตอนปลาย อยู่บ้านเลขที่ 999 ตำบลวัฒนานคร อำเภอวัฒนานคร จังหวัดปราจีนบุรี ภริยาชื่อ นางอุไรวรรณ เทียนทอง อาชีพรับราชการ ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง เสมียนตราจังหวัดนนทบุรี มีบุตรด้วยกัน 2 คน
ระยะเวลาดำรงตำแหน่งทางการเมือง
นายเสนาะ เทียนทองเคยเป็นสมาชิกสภาปฏิรูปเมื่อปี พ.ศ. 2519 สมาชิกสภานิติบัญญัติ เมื่อปี พ.ศ.2520 เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เมื่อ ปี พ.ศ.2523 รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เมื่อปี พ.ศ. 2529 และครั้งสุดท้าย เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ระหว่างเดือน สิงหาคม 2531 ถึงวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2534 สังกัดพรรคชาติไทย เป็นรัฐมนตรีในรัฐบาล พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ 1, 2 และ 3 รวม 2 ปี 6 เดือนเศษ
รายการทรัพย์สินของนายเสนาะ เทียนทอง ที่ถูกอายัดและที่ถูกอายัดเพิ่มเติม
3.1บัญชีในธนาคารพาณิชย์
3.1.1 ในชื่อนายเสนาะ เทียนทอง มี 9 บัญชี ที่ธนาคารกรุงเทพ จำกัด ธนาคารกสิกรไทย จำกัด ธนาคารทหารไทย จำกัด และธนาคารนครหลวงไทย จำกัด รวมเป็นเงิน 5,529,636.72 บาท
3.1.2 ในชื่อนางอุไรวรรณ เทียนทอง มี 29 บัญชี ที่ธนาคารกรุงเทพ จำกัดธนาคารกรุงไทย จำกัด ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด ธนาคารกสิกรไทย จำกัด ธนาคารทหารไทย จำกัด และธนาคารนครหลวงไทย จำกัด รวมเป็นเงิน58,233,914.28 บาท
3.2ที่ดิน
3.2.1 ในชื่อนายเสนาะ เทียนทอง ซึ่งเป็นที่ดินที่มีอยู่ก่อนดำรงตำแหน่งตามข้อ 2 จำนวน 50 แปลง รวมเนื้อที่ 2457 ไร่ 1 งาน 66 ตารางวา ในเขตจังหวัดปราจีนบุรีทั้งหมด
3.2.2 ในชื่อนางอุไรวรรณ เทียนทอง
ก) ที่ดินที่มีอยู่ก่อนตามข้อ 2 จำนวน 4 แปลง รวมเนื้อที่ 3 งาน 86 ตารางวา ในเขตจังหวัดปราจีนบุรีและนนทบุรี
ข) ที่ดินที่ได้มาระหว่างวันที่ 9 สิงหาคม 2531 ถึง 18 กุมภาพันธ์ 2534 จำนวน 22 แปลง รวมเนื้อที่ 50 ไร่ 3 งาน 18.5 ตารางวา ในเขตปราจีนบุรี ชลบุรี ปทุมธานี นนทบุรี และภูเก็ต ราคาที่แสดงในการจดทะเบียนซื้อขายรวม 13,372,874 บาท
3.3 รถยนต์
3.3.1 ในชื่อนายเสนาะ เทียนทอง
- รถยนต์นั่ง 2 แถว ยี่ห้อ อีซูซุ ทะเบียน ย-1743 กทม. จดทะเบียน เมื่อ 27 ม.ค. 26
- รถยนต์นั่งส่วนบุคคล ยี่ห้อ โตโยต้า โคโรน่า ทะเบียน 5 ธ-0783 กทม. จดทะเบียนเมื่อ 25
พ.ย.33 ราคา 697,000 บาท
3.3.2 ในชื่อนางอุไรวรรณ เทียนทอง
- รถยนต์นั่งส่วนบุคคล ยี่ห้อ เมอซิเดสเบ็นซ์ 500 SEL ทะเบียน ก-1771 ปจ. จดทะเบียนเมื่อ
14 มิ.ย.31
รถยนต์นั่งส่วนบุคคล ยี่ห้อ เมอซิเดสเบ็นซ์ 230 E ทะเบียน ก-1717 ปจ. จดทะเบียนเมื่อ 29 มิ.ย 31
รถยนต์กระบะดัดแปลงเป็นรถยนต์นั่ง 2 ตอน ยี่ห้อ อีซูซุ ทะเบียน 3 ห-9135 กทม. จดทะเบียนเมื่อ 7 มี.ค 32 ราคา 310,000 บาท
รถยนต์นั่งส่วนบุคคล ยี่ห้อ ฮอนด้า แอคคอร์ด ทะเบียน ค-2777 นบ. จดทะเบียนเมื่อ 22 มิ.ย. 33 ราคา 828,000 บาท
รถยนต์นั่งส่วนบุคคล ยี่ห้อ เมอซิเดสเบ็นซ์ 560 SELทะเบียน ก-2277 ปจ. จดทะเบียนเมื่อ 22 ต.ค. 33 ราคา 5.4 ล้านบาท
หุ้นของนายเสนาะ เทียนทอง ในห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. เทียนทอง เป็นเงินลงทุน จำนวน 40 ล้านบาท
ขั้นตอนที่1
การพิจารณารายชื่อนักการเมืองเพื่อประกาศให้สาธารณชนทราบเมื่อผู้นั้นมีพฤติการณ์ ร่ำรวยผิดปกติวิสัยของผู้ประกอบอาชีพโดยสุจริต
4.1 ยอดทรัพย์สินที่มีอยู่ในวันอายัด
ดูข้อ 3.
4.2 ทรัพย์สินที่มีอยู่ก่อนดำรงตำแหน่ง
ดูข้อ 3.
อนึ่ง นายเสนาะ เทียนทอง ยื่นแบบแสดงรายการสินทรัพย์และหนี้สินตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการแสดงสินทรัพย์และหนี้สินของเจ้าหน้าที่ของรัฐ พ.ศ. 2524 มาตรา 3 หนึ่งครั้งว่ามีรายได้สินทรัพย์และหนี้สินในวันที่ 28 เมษายน 2530 ดังนี้
รายได้
เงินเดือนๆ ละ 32,000 บาท ปีละ 384,000บาท
สินทรัพย์
เงินฝากในธนาคารพาณิชย์ (ธ.กรุงเทพ, ธ.ทหารไทย) 800,000 บาท
ที่ดิน 6,000,000 บาท
บ้านพักอาศัย 3,000,000 บาท
ยานพาหนะ 1,500,000บาท
รวมทรัพย์สิน 11,300,000 บาท
หนี้สิน
เงินกู้เบิกเกินบัญชีธนาคารนครหลวงไทย จำกัด สาขาปราจีนบุรี บัญชีเลขที่ 334-1-00579-2 และธนาคารกรุงเทพ จำกัด สาขาบางเขน (บัญชี หจก. ส. เทียนทอง) บัญชีเลขที่ 161-3-04218-1 รวม 6,600,000 บาท
4.3 รายได้โดยชอบ
นายเสนาะ และนางอุไรวรรณ เทียนทอง ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ภ.ง.ด 91) รวมกันมีเงินได้ดังนี้
ปี พ.ศ. นายเสนาะ นางอุไรวรรณ
2531 580,601.36 138,960.00
2532 818,280.00 165,300.00
2533 867,299.70 195,000.00
4.4 นายเสนาะ เทียนทอง มีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นในระหว่างดำรงตำแหน่ง ดังนี้
ก. เงินสดในธนาคาร เพิ่มขึ้น 41,781,492.71 บาท
ข. ที่ดิน เพิ่มขึ้น 1,337,2874.00 บาท
ค. รถยนต์ เพิ่มขึ้น 7,235,000.00 บาท
ง. ทรัพย์สินใน หจก. ส. เทียนทอง
เฉพาะส่วน เพิ่มขึ้น17,500,000.00บาท
สรุปรวมเพิ่มขึ้น 79,889,366.71 บาท
หมายเหตุ ข้อ ก. ยอดทรัพย์สินเงินฝากธนาคาร เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2531 นายเสนาะ ฯ มียอดเงินฝาก 673,157.61 บาท นางอุไรวรรณ ฯ มียอดเงินฝาก 21,308,900.68 บาท รวม 21,982,058.29 บาท ซึ่งเมื่อนำมาหักออกจากยอดเงินฝากในธนาคารเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2534 ซึ่งมีรวม 63,763,551.- บาท แล้วจึงมีเพิ่มขึ้น 41,781,492.71 บาท
ข้อ ข. ที่ดิน ให้ดู ข้อ 3.2 (ถือตามราคาที่จดทะเบียน)
ข้อ ค. รถยนต์ ให้ดู ข้อ 3.3
ข้อ ง. จากเอกสารแสดงงบการเงินของ หจก. ส. เทียนทอง สิ้นสุด ณ วันที่ 30 ธันวาคม 2531 เปรียบเทียบสิ้นสุด ณ วันเดียวกันของปี พ.ศ.2533 มีการเพิ่มทุนเฉพาะส่วนของนายเสนาะ ฯ จาก 22.5 ล้านบาท เป็น 40 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 17.5 ล้านบาท นอกจากนี้ หจก. ส. เทียนทอง ยังมีสินทรัพย์ที่เพิ่มขึ้นเป็นรถยนต์ และเครื่องจักรกลคิดเป็นมูลค่า 35,241,670 บาท
เมื่อเปรียบเทียบกับมูลค่าทรัพย์สินที่นายเสนาะ เทียนทองแสดง....แบบแสดงรายการสินทรัพย์และหนี้สินที่ยื่นต่อคณะกรรมการ ป.ป.ป. และรายได้จากแบบแสดงการเสียภาษีเงินได้แล้วถือว่า นายเสนาะ เทียนทอง มีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นขณะอยู่ในตำแหน่งทางการเมืองสูงกว่าเกณฑ์ที่จะมีรายได้ตามปกติ จึงน่าเชื่อว่า นายเสนาะ เทียนทอง มีรายได้ทางอื่นที่ยังไม่เปิดเผยอีกเป็นจำนวนมาก คณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สินพิจารณาแล้วเห็นว่า นายเสนาะ เทียนทอง เป็นนักการเมืองที่มีพฤติการณ์อันส่อแสดงให้เห็นได้ว่ามีทรัพย์สินร่ำรวยผิดปกติ ผิดวิสัยของผู้ประกอบอาชีพโดยสุจริต สมควรที่จะประกาศรายชื่อให้สาธารณชนทราบ เพื่อคณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สินจะได้ดำเนินการรวบรวมพยานหลักฐานและสืบสวนสอบสวนต่อไป คณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สินจึงได้ประกาศรายชื่อนายเสนาะ เทียนทอง เป็นนักการเมืองที่มีพฤติการณ์อันส่อแสดงให้เห็นว่ามีทรัพย์สินร่ำรวยผิดปกติ ผิดวิสัยของผู้ประกอบอาชีพโดยสุจริต ตามประกาศคณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สิน ฉบับที่ 2 ลงวันที่ 8 มิถุนายน 2534
การรวบรวมทรัพย์สินที่ถูกอายัดและทรพย์สินที่น่าเชื่อว่าเป็นของผู้ถูกอายัด
หลังการประกาศชื่อ นายเสนาะ เทียนทอง ได้ดำเนินการเรียกบุคคลที่เกี่ยวข้องมาให้ถ้อยคำและตรวจสอบ หจก. ส. เทียนทอง ซึ่งเป็นธุรกิจในครบครัวกับรายการทางบัญชีในธนาคารของนายเสนาะ เทียนทอง และภรรยา ผลการตรวจสอบปรากฏว่าไม่มีข้อสงสัยในกิจการที่ดำเนินทางธุรกิจ แต่รายการทางบัญชีที่ถูกอายัดไว้ทั้งหมดตามข้อ 4.4 พบข้อพิรุธซึ่งเป็นแนวทางไปพบบัญชีเงินฝากของนายสุทัศน์ เทศะแพทย์ น้องร่วมบิดา-มารดาของนางอุไรวรรณ เทียนทอง ที่ธนาคารกรุงเทพ จำกัด สาขา ลาดพร้าว เป็นบัญชี ออมทรัพย์เลขที่ 129-0-92122-8 ซึ่งเปิดบัญชีเมื่อวันที่ 3 เมษายน 2532 จำนวน 2,000 บาท และขณะตรวจสอบบัญชีนี้ปิดไปแล้วเมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2534 ที่มีข้อพิรุธเพราะมีการเคลื่อนไหวทางบัญชีสูงผิดปกติ กล่าวคือ เฉพาะรายการฝากตั้งแต่ 1 ล้านบาทขึ้นไป 15 ครั้ง 28 รายการ เป็นเงิน 78,974,390 บาท ดังนี้
18 ม.ค. 33 ฝาก 4,000,000 บาท
8 ก.พ. 33 ฝาก 2 รายการ 2,000,000 บาท
1 มี.ค. 33 ฝาก 4,000,000 บาท
22 มี.ค.33 ฝาก 7,500,000 บาท
27 มี.ค.33 ฝาก 2,000,000 บาท
4 พ.ค.33 ฝาก 5,100,000 บาท
15 มิ.ย. 33 ฝากเช็ค 3 ฉบับ 2 รายการ 3,200,000 บาท
6 ก.ค. 33 ฝาก 5,000,000 บาท
10 ก.ค. 33 ฝาก 12,642,000 บาท
11 ก.ค. 33 ฝาก 5,000,000 บาท
12 ก.ค. 33 ฝาก11 รายการ 10,000,000 บาท
24 ก.ค. 33 ฝาก 6,182,390 บาท
27 ก.ค. 33 ฝาก 5,350,000 บาท
28 ก.ค. 33 ฝาก 2 รายการ 5,000,000 บาท
2 ม.ค. 34 ฝาก 2,000,000บาท
รวม 78,974,390 บาท
ส่วนรายการถอนเงินจากบัญชีดังกล่าว เฉพาะที่มีเงินตั้งแต่ 1 ล้านบาทขึ้นไปมีจำนวน 18 ครั้ง 18 รายการ เป็นเงิน 77,895,490 บาท
14 ก.พ. 33 ถอน 1,701,100 บาท
15 ก.พ. 33 ถอน 3,778,400 บาท
9 มี.ค. 33 ถอน 3,972,240 บาท
19 เม.ย. 33 ถอน 3,000,000 บาท
27 เม.ย.33 ถอน 7,000,000 บาท
22 พ.ค. 33 ถอน 2,300,000 บาท
8 มิ.ย. 33 ถอน 2,000,000 บาท
20 มิ.ย. 33 ถอน 4,000,000 บาท
16 ก.ค. 33 ถอน 1,460,000 บาท
3 ส.ค. 33 ถอน 2,428,800 บาท
9 ส.ค. 33 ถอน 4,000,000 บาท
10 ส.ค. 33 ถอน 13,266,400 บาท
16 ต.ค. 33 ถอน 10,000,000 บาท
26 ต.ค. 33 ถอน 5,177,100 บาท
5 พ.ย. 33 ถอน 5,253,300 บาท
21 พ.ย. 33 ถอน 1,000,000 บาท
14 ม.ค. 34 ถอน 2,000,000 บาท
6 ก.พ. 34 ถอน 5,558,150 บาท
รวม 77,895,490 บาท
และเมื่อ 13 มี.ค. 34 ถอนปิดบัญชี จำนวน 238,429.10 บาท
ซึ่งเมื่อนำมาพิจารณาประกอบเหตุผลต่อไปนี้แล้วเชื่อว่า นายเสนาะ เทียนทองและภรรยา อาศัยบัญชีของนายสุทัศน์ เทศะแพทย์ เป็นบัญชีพัก กล่าวคือ
บัญชีนี้เมื่อเริ่มเปิดบัญชี (3 เม.ย. 32) มีการนำเงินเข้าฝากจำนวนเพียงหลักพันบาทอยู่ระยะหนึ่ง ซึ่งใกล้เคียงกับรายได้จากเงินเดือนของนายสุทัศน์ ฯ แต่นับจากวันที่ 18 มกราคม 2533 มีรายการฝาก-ถอน เป็นจำนวนนับล้านบาท บางรายการถึง 10 ล้านบาท ซึ่งเกินฐานะของนายสุทัศน์ ฯ
บัญชีนี้ปิดเมื่อ 13 มีนาคม 2534 หลังการประกาศรายชื่อนักการเมืองซึ่งรวมทั้งชื่อ นายเสนาะ
เทียนทอง ที่ถูกตรวจสอบด้วยเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2534
นายสุทัศน์ ฯ ได้ให้ถ้อยคำยืนยันหลายครั้งว่า บัญชีนี้ไม่เกี่ยวข้องกับ นายเสนาะ เทียนทอง แต่จากการตรวจสอบทางบัญชีพบว่า รายการถอนเกือบทั้งหมดเกี่ยวข้องกับบัญชีและกิจการของนายเสนาะ เทียนทอง และครอบครัว ดังนี้
ถอนเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2533 เข้าบัญชี หจก. ส.เทียนทอง ที่ธนาคาร
จำนวน 1,701,100 บาท กรุงเทพ จำกัด สาขาบางเขน บัญชีกระแส รายวัน
ถอนเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2533 โอนเข้าบัญชีนายสมนึก บู่น้อย หรือนาย
จำนวน 3,778,400 บาท พิชัย อุดมวงศ์ยนต์(บริษัทวรพัฒน์การุสรา
จำกัด) ที่ธนาคารนครหลวงไทย จำกัด
สาขาปราจีนบุรี บัญชีออมทรัพย์เลขที่
334-2-09145-0
ถอนเมื่อ 9 มีนาคม 2533 โอนเข้าบัญชีนายสมนึก บู่น้อย หรือนาย
จำนวน3,972,240 บาท พิชัย อุดมวงศ์ยนต์(บริษัทวรพัฒน์การุสรา
จำกัด) ที่ธนาคารนครหลวงไทย จำกัด
สาขาปราจีนบุรี บัญชีออมทรัพย์เลขที่
334-2-09145-0
ถอนเมื่อ 27 เมษายน 2533 โอนเข้าบัญชีนางอุไรวรรณ ฯ ที่ธนาคาร
จำนวน 7,000,000 บาท กรุงเทพ จำกัด สาขาลาดพร้าว บัญชีออมทรัพย์เลขที่ 129-0-85212-6 จำนวน 1 ล้านบาท โอนเข้าบัญชีนายเสนาะ ฯ ที่ธนาคารนครหลวงไทย จำกัด สาขาปราจีนบุรี บัญชีกระแสรายวันเลขที่ 334-1-00579-2 จำนวน 2ล้านบาทและทำแคชเชียร์เช็คสั่งจ่าย นายวิทยา เทียนทอง จำนวน 4 ล้านบาท
ถอนเมื่อ 8 มิถุนายน 2533 ถอนพร้อมกับบัญชีนางอุไรวรรณ ฯ บัญชี
จำนวน 2,000,000 บาท ออมทรัพย์ สาขาลาดพร้าว เลขที่ 129-0-85212-6 อีก 2 ล้านบาท แล้วทำแคชเชียร์เช็ค เข้าบัญชีนายเสนาะ เทียนทอง ธนาคารนครหลวงไทย จำกัด สาขาปราจีนบุรี บัญชีกระแสรายวันเลขที่ 334-1-00579-2 จำนวน 4 ล้านบาท
ถอนเมื่อ 20 มิถุนายน 2533 ถอนพร้อมกับบัญชีนางอุไรวรรณ ฯ ที่
จำนวน 4,000,000 บาท ธนาคารกรุงเทพ จำกัด สาขาลาดพร้าว
บัญชีกระแสรายวันเลขที่ 129-3-10555-5 อีก 2 ล้านบาท แล้วโอน เข้าบัญชีนายเสนาะ เทียนทอง ธนาคารนครหลวงไทย จำกัด สาขาปราจีนบุรี บัญชีกระแสรายวันเลขที่ 334-1-00579-2 จำนวน 6 ล้านบาท
ถอนเมื่อ 9 สิงหาคม 2533 โอนเข้าบัญชีนางอุไรวรรณ ฯ ที่ธนาคาร
กรุงเทพ จำกัด สาขาลาดพร้าว บัญชีออม ทรัพย์ เลขที่ 129-0-85212-6 จำนวน 3 ล้านบาทและทำแคชเชียร์เช็คจำนวน 1 ล้านบาท
ถอนเมื่อ 10 สิงหาคม 2533 โอนเข้าบัญชีนายเสนาะ เทียนทอง ที่
จำนวน 13,266,400 บาท ธนาคารนครหลวงไทย จำกัด สาขาปราจีนบุรี บัญชีกระแสรายวันเลขที่ 334-1-00579-2 จำนวน 9 ล้านบาท และโอนเข้าบัญชีนายสมนึก บู่น้อย และ/หรือนายพิชัย อุดมวงศ์ยนต์ (บริษัท วรพัฒน์การสุรา จำกัด) ที่ธนาคารกรุงไทย จำกัด สาขาปราจีนบุรี บัญชีออมทรัพย์เลขที่ 213-1-17717-8 จำนวน 4,266,400 บาท
ถอนเมื่อ 16 ตุลาคม 2533 โอนเข้าบัญชีนางอุไรวรรณ ฯ ที่ธนาคาร
จำนวน 10,000,000 บาท กรุงเทพ จำกัด สาขาห้าแยกปากเกร็ดบัญชีเงินฝากประจำเลขที่ 207-2-03383-6 และต่อมาถอนเงินไปซื้อที่ดิน โฉนดเลขที่ 34370 ตำบลทุ่งศุขลา อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี
ถอนเมื่อ 5 พฤศจิกายน 2533 โอนเข้าบัญชีนางอุไรวรรณ ฯ ที่ธนาคาร
กรุงเทพ จำกัด สาขาลาดพร้าว บัญชีออมทรัพย์เลขที่ 129-0-85212-6 ด้วยการทำแคชเชียร์เช็ค
ถอนเมื่อ 21 พฤศจิกายน 2533 โอนเข้าบัญชีนางอุไรวรรณ ฯ ที่ธนาคาร
กรุงเทพ จำกัด สาขาลาดพร้าว บัญชีออมทรัพย์เลขที่ 129-0-85212-6
ถอนเมื่อ 14 มกราคม 2534 โอนเข้าบัญชีนางอุไรวรรณ ฯ ที่ธนาคาร
กรุงเทพ จำกัด สาขาลาดพร้าว บัญชีออมทรัพย์เลขที่ 129-0-85212-6
นายสุทัศน์ ฯ ให้ถ้อยคำว่า ในปัจจุบันนี้มีเงินฝากหลายบัญชี แต่ทุกบัญชีมียอดเงินในบัญชีไม่เกิน 10,000 บาท ซึ่งขัดกับยอดเงินและการเคลื่อนไหวของบัญชีนี้
จากหลักฐานอาชีพรับราชการของ นายสกล เทศะแพทย์ (บิดาของนางอุไรวรรณ เทียนทอง และนายสุทัศน์ เทศะแพทย์) น่าเชื่อว่าไม่ใช่ผู้มีฐานะร่ำรวยในอดีต
นายสุทัศน์ ฯ อ้างว่า เงินในบัญชีส่วนใหญ่เป็นของนายสกล ฯ ซึ่งได้จากการขายของเก่า แล้วมอบให้นำเข้าบัญชีเพราะบิดาแก่แล้ว แต่นายสมบัติ เพชรตระกูล (ผู้จัดการ หจก.สามประสิทธิ์) อ้างว่านายสกล ฯ เป็นผู้นำไปติดต่อของเก่าให้แก่ตนเองทุกครั้ง ซึ่งหากเป็นความจริงแล้วก็ไม่มีเหตุจำเป็นใดที่นายสกล ฯ จะต้องใช้ให้นายสุทัศน์ ฯ เป็นผู้นำเงินไปเข้าบัญชี นอกจากนี้นายสมบัติ ฯ ยังอ้างว่านายสกล ฯ นำของเก่าไปขายให้หลายครั้ง และบางเดือนไปติดต่อขายให้ถึง 3 ครั้ง ซึ่งผิดลักษณะของคนที่นำของเก่าของตนเองมาขาย
นายสุทัศน์ ฯ อ้างว่าบางรายการ นายพิเชษฐ อเทียนทอง ยืมไปชำระค่าสุรา เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 25323 จำนวน 3,778,500 บาท ซึ่งหากเป็นเงินของนายสกล ฯ จริงแล้ว นายสุทัศน์ ก็ไม่น่าจะให้ยืม
คำชี้แจงของผู้ถูกอายัด
6.1 นายเสนาะ เทียนทอง ให้การสรุปว่าก่อนมาเป็นนักการเมือง ดำเนินธุรกิจในนามห้างหุ้นส่วนจำกัด ส.เทียนทอง โดยจดทะเบียนนิติบุคคล เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2513 ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับการรับเหมาก่อสร้าง จำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิง จำหน่ายสุรา ประจำอำเภอวัฒนานคร จังหวัดปราจีนบุรี โดยในช่วงแรกเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ ต่อมาเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2529 ได้ถอนตัวและให้นายพิเชษฐ์ เทียนทอง (น้องชาย) เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการแทนเนื่องจากได้รับการแต่งตั้งให้เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ แต่ในธุรกิจยังคงใช้เงินเบิกเกินบัญชีที่ ธนาคารนครหลวงไทย จำกัด สาขาปราจีนบุรี บัญชีเลขที่ 334-1-00579-2 กิจการของห้าง ฯ ดำเนินไปโดยการดูแลของนางอุไรวรรณ เทียนทอง (ภรรยา) นายพิเชษฐ์ เทียนทอง และนางขวัญเรือน เทียนทอง (น้องสะใภ้) ตนจะเป็นเพียงผู้ลงลายมือชื่อในเช็คเพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องทั้งสามไปดำเนินการต่อไป กิจการของห้าง ฯ ได้ดำเนินการมาเรื่อยๆ และเติบโตขึ้นเป็นลำดับโดยได้เพิ่มกิจการโรงโม่ขึ้นอีกเมื่อประมาน 10 กว่าปีที่ผ่านมา ทุนจดทะเบียนเริ่มจาก 10 ล้านบาท เป็น 30 ล้านบาทและปัจจุบันเป็น 70 ล้านบาท
แหล่งที่มาของรายได้ที่สำคัญระหว่างปี พ.ศ.2531-2534 คือ งานรับเหมาสร้างทางทั้งในนามของ หจก.ส.เทียนทอง และนิติบุคคลอื่น คือบริษัทบุญชัยพาณิชย์ (1979) จำกัด รวมเป็นเงิน 101,179,120 บาท รับเงินค่าน้ำมันเชื้อเพลิงจาก บริษัทวิจิตรภัณฑ์ก่อสร้าง จำกัด 39 ล้านบาท ขายหุ้น บริษัทอัลไพน์เรียลเอสเตท จำกัด 20 ล้านบาท และธุรกิจค่าจองตึกศูนย์การค้าวังป่าตอง อำเภออรัญประเทศ จังหวัดปราจีนบุรี จำนวน 20 ล้านบาท ส่วนรายละเอียดของ หจก.ส.เทียนทอง ให้สอบถามจากนางอุไรวรรณ ฯ และนายพิเชษฐ์ ฯ
แบบแสดงรายการสินทรัพย์และหนี้สินของเจ้าหน้าที่ของรัฐ พ.ศ.2524 เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2530 แสดงไว้เฉพาะทรัพย์สินในส่วนของตนเองเท่านั้น ไม่รวมถึงภรรยาและนิติบุคคลที่ตนดำเนินธุรกิจ รายการที่กรอกไว้ในแบบ ฯ มิได้ตรวจสอบความถูกต้อง แต่ใช้วิธีกะประมาณเอา
การเสียภาษีเงินได้ยื่นรวมกับภรรยา โดยยื่นเฉพาะเงินได้ที่เป็นเงินเดือนจากทางราชการเท่านั้น สำหรับนางอุไรวรรณ ฯ นอกจากมีรายได้เป็นเงินเดือนจากทางราชการแล้วยังมีรายได้จากการซื้อขาย อสังหาริมทรัพย์ และแลกเปลี่ยนเช็คด้วย
6.2 นางอุไรวรรณ เทียนทอง ให้การสรุปว่าการดำเนินกิจการของห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. เทียนทอง ในระหว่างที่นายเสนาะ ฯ เป็นรัฐมนตรี ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับราชการในกระทรวงมหาดไทย หากใช้ชื่อห้างฯ เป็นคู่สัญญาเห็นว่าไม่เหมาะสม จึงใช้ชื่อบุคคลอื่นเป็นผู้เข้าประมูลงานแทน และเมื่อได้งานกำไรทั้งหมดจะตกเป็นของ หจก. ส.เทียนทอง
เมื่อปี พ.ศ.2533 ได้ซื้อหุ้นของบริษัทอัลไพน์เรียลเอสเตส จำกัด เป็นเงิน 5 ล้านบาท ต่อมาได้ขายชำระหนี้ให้กับนายประยูร สงวนสิน นายสรศักดิ์ ตั้งประกิจ และนายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล เป็นเงิน 20 ล้านบาท ชำระหนี้ 15 ล้านบาท จึงเหลือเงิน 5 ล้านบาท นำเข้าฝากไว้ที่ธนาคารกรุงเทพ จำกัด สาขาลาดพร้าว บัญชีเลขที่ 129-2-30241-9 เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2533
นอกจากนี้ นางอุไรวรรณ ฯ ยังได้ตอบคำถามตามรายการที่สอบถามจากบัญชีในธนาคารที่ปรากฏ เงินฝาก-ถอน จำนวนสูงดังตัวอย่าง
รายการฝากธนาคารทหารไทย จำกัด สำนักงานใหญ่ บัญชีออมทรัพย์เลขที่ 001-2-55762-5 เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2532 จำนวน 3 ล้านบาท ถอนออกจากธนาคารนครหลวงไทย จำกัด สาขาปราจีนบุรี บัญชีกระแสรายวันเลขที่ 334-1-00579-2 เมื่อวันที่ 21 เมษายน 2532 จำนวน 2 ล้านบาท รวมกับเงินมาจากที่ใดไม่ทราบ
รายการฝากธนาคารกรุงเทพ จำกัด สาขาลาดพร้าว บัญชีออมทรัพย์เลขที่ 129-0-85212-6 เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2533 จำนวน 2 ล้านบาท นายพิเชษฐ์ เทียนทอง นำมาให้เป็นเงินสดทั้งจำนวน ส่วนรายการฝากเมื่อวันที่ 27 เมษายน 2533 จำนวน 1 ล้านบาท นายสุทัศน์ เทศะแพทย์ น้องชายให้ยืมมาใช้หมุนเวียน ซึ่งความจริงเป็นการยืมรวม 7 ล้านบาท
รายการฝากธนาคารกรุงเทพ จำกัด สาขาลาดพร้าว บัญชีกระแสรายวัน เลขที่ 129-3-10571-2 ของนายเสนาะ เทียนทอง เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2531 จำนวน 500,000 บาทเป็นเช็คของขวัญที่ได้ในโอกาสวันขึ้นปีใหม่
อนึ่ง นางอุไรวรรณ ฯ ยังให้การเกี่ยวกับบัญชีเงินฝากธนาคารกรุงเทพ จำกัด สาขาลาดพร้าว บัญชีออมทรัพย์ เลขที่ 129-0-92122-8 ว่า เป็นบัญชีของนายสุทัศน์ เทศะแพทย์ ซึ่งนายสกล ฯ (บิดา) อาศัยเดินบัญชีเพื่อประกอบธุรกิจร่วมกับนายสุทัศน์ ฯ ก่อนทำงานที่การประปานครหลวง นายสุทัศน์ ฯ ประกอบอาชีพรับจำนอง รับซื้อฝาก และเป็นนายหน้า ส่วนบิดามีรายได้จากการให้เช่าพระเครื่อง (จำหน่าย) โดยไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับ หจก.ส.เทียนทอง
การสอบพยานบุคคล
7.1 นายพิเชษฐ์ เทียนทอง ให้การสรุปว่า รถยนต์เบนซ์ 560 SEL หมายเลขทะเบียน ก-2277 ปจ. ซื้อจากนายประโยชน์ กุลจันทร์ ราคา 5.4 ล้านบาท และเพิ่งสนใจทำธุรกิจที่ดินเมื่อต้นปี พ.ศ.2534 จึงได้ซื้อที่ดิน น.ส.3 ก. จำนวน 1,427 ไร่ ซึ่งเป็นป่ายูคาลิปตัส จากบริษัทหย่วนเฮงลี่อุตสาหกรรมไม้ จำกัด ในราคาไร่ละประมาณ 5,000 บาท (คิดเป็นเงิน 1,427 x 5,000 = 7,135,000 บาท) และให้การภายหลังว่าซื้อมาในราคาประมาณ 11 ล้านบาท การชำระเงินค่าที่ดินใช้ แคชเชียร์เช็คที่ได้จากการขายหินและน้ำมัน ให้แก่นางสาววิภาภรณ์ วิโรจนาภิรมย์ ลูกสาวของนายธนา ฯ เจ้าของและผู้จัดการ หจก. บุญสหะการสร้าง ชำระโดยฝากให้นายสุทัศน์ เทศะแพทย์ ชำระค่าที่ดินแทนโดยแบ่งชำระเป็น 2 งวดๆ ละ5 ล้านบาทเศษ
7.2 นายสุทัศน์ เทศะแพทย์ ให้การสรุปว่า เป็นบุตรของนายสกลและนางสาคร เทศะแพทย์ มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน 2 คน คือ ตนกับนางอุไรวรรณ ฯ
นายสกล ฯ ถึงแก่กรรมแล้วเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2534 ขณะนายสกล ฯ ยังมีชีวิตและตนเพิ่งจบการศึกษา นายสกล ฯ ได้นำของเก่าจำพวก เพชร พลอยสี ทองเก่า และวัตถุโบราณซึ่งได้สะสมไว้ตั้งแต่สมัยคุณปู่ และซื้อเพิ่มตอนเขมรแตกออกขายเพื่อให้ตนมีทุนไปประกอบอาชีพระหว่างรองาน เมื่อขายของได้นายสกล ฯ ให้ตนเป็นผู้นำเงินหรือเช็คไปเข้าบัญชีออมทรัพย์เลขที่ 129-0-92122-8 ธนาคารกรุงเทพ จำกัด สาขาลาดพร้าว ซึ่งเปิดไว้ในนามของตน ตนจได้ใช้เงินในบัญชีนี้ทำธุรกิจ รับจำนอง รับซื้อฝากที่ดิน ซื้อขายที่ดิน ให้กู้ยืม บัญชีนี้ปิดก่อนบิดาถึงแก่กรรม เมื่อบิดาถึงแก่กรรมไม่มีมรดกอะไรตนและนางอุไรวรรณ ฯ คงได้เงินจากบัญชีนี้คนละประมาณ 10 ล้านบาท ตนเคยให้เงินนางอุไรวรรณ ฯ ยืม 7 ล้านบาทและเคยให้นายพิเชษฐ์ เทียนทอง ยืมชำระค่าสุรา เงินที่นำเข้าฝากในบัญชีนี้เป็นเงินที่ได้จากการดำเนินธุรกิจของบิดาและของตนเล็กน้อย นายธนา วิโรจนาภิรมย์ นายสมบัติ เพชรตระกูล เคยซื้อพระและเพชรพลอยจากบิดา และเคยให้นายสุปรีดิ์ ศรีผดุง ยืมเงินโดยยืมผ่าน นายนพ สัตยาศัย
7.3 เรือโทสุปรีดิ์ ศรีผดุง ให้การว่าประมาณกลางปี พ.ศ. 2533 เคยให้นายนพ สัตยาศัย หาเงินยืมให้3,000,000 บาท และได้ชำระคืนหลังจากยืมประมาณหนึ่งเดือน ด้วยเช็คของธนาคารแสตนดาร์ดชาร์เตอร์ด จำนวน 3 ฉบับ เป็นเงิน 3,200,000 บาท รู้จักนายเสนาะ เทียนทอง ในฐานะเคยเล่นกอล์ฟด้วยกัน
7.4 นายสมบัติ เพชรตระกูล ผู้จัดการ ห้างหุ้นส่วนจำกัด สามประสิทธิ์ ให้การว่าติดต่อซื้อเพชรพลอยและบูชาพระเครื่องกับนายสกล เทศะแพทย์ บิดาของนางอุไรวรรณ มานานหลายปีแต่เท่าที่จำได้ คือ
- เดือนมีนาคม 2533 จ่ายเป็นเงินสด 5.4 ล้านบาท
- วันที่ 6 กรกฎาคม 2533 ประมาณ 5.6 ล้านบาท โดยแบ่งเป็นเงินสด 6 แสนบาท และเช็คธนาคารกรุงเทพ จำกัด สาขาหัวลำโพง เลขที่ 1824276 จำนวน 5 ล้านบาท
- วันที่ 9 กรกฎาคม 2533 ประมาณ 5.7 ล้านบาท เป็นเงินสด 7 แสนบาท และเช็คธนาคารกรุงเทพ จำกัด สาขาหัวลำโพง เลขที่ 1824277 จำนวน 5 ล้านบาท
- วันที่ 12 กรกฎาคม 2533 ประมาณ 5.9 ล้านบาท เป็นเงินสด 9 แสนบาท และเช็คธนาคารกรุงเทพ จำกัด สาขาหัวลำโพง เลขที่ 1824278 จำนวน 5 ล้านบาท
7.5 นายพยนต์ ศักดิ์เดชยนต์ อาชีพนักธุรกิจซื้อขายที่ดิน เป็นผู้สั่งจ่ายเช็คของธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด สาขาถนนวิทยุ เลขที่ 7538476 ลงวันที่ 28 ธันวาคม 2533 เป็นเงิน 1 ล้านบาท ให้นางสาวนุชนาฏ เอกสิทธิชัย ยืมเพื่อช่วยเหลือกัน และได้รับชำระคืนแล้ว ปฏิเสธการรู้จักครอบครัวนายเสนาะ เทียนทอง
7.6 นางสาววิภาภรณ์ วิโรจนาภิรมย์ อาชีพแม่บ้าน เป็นบุตรนายธนา วิโรจนาภิรมย์ เจ้าของ หจก. บุญสหะการสร้าง เป็นผู้สั่งจ่ายเช็คเลขที่ 6006107, 6006135 ของธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด จำนวนเงิน 6,182,390 บาท และ 5,350,000 บาท ลงวันที่ 19 กรกฎาคม 2533 และ 24 กรกฎาคม 2533 ตามลำดับ โดยจ่ายค่าซื้อหินให้นายพิเชษฐ์ เทียนทอง เป็นการทำธุรกิจในฐานะคนกลางหรือนายหน้าปฏิเสธการรู้จักนายสุทัศน์ ฯ
7.7 นางสาวนุชนาฏ เอกสิทธิชัย ให้การรับว่าเป็นผู้กู้ยืมเงินจากนายพยนต์ ศักดิ์เดชยนต์ ตามเช็คธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด สาขาถนนวิทยุ เลขที่ 7538476 จำนวน 1 ล้านบาท และได้นำไปจ่ายค่าเล่นพนันกอล์ฟ จำไม่ได้ว่าได้จ่ายให้ผู้ใด ไม่เคยเล่นกอล์ฟกับนายเสนาะ เทียนทอง และปฏิเสธการรู้จักนายสุทัศน์ ฯ
7.8 นายธนา วิโรจนาภิรมย์ หุ้นส่วนผู้จัดการ หจก. บุญสหะการสร้าง ให้การว่า เมื่อเทศกาลปีใหม่ได้ติดตามเพื่อนไปอวยพรปีใหม่ให้นายเสนาะ ฯ ที่บ้านพักในหมู่บ้านเมืองทองนิเวศน์ ระหว่างรอ ได้พบกับนายสกล ฯ ซึ่งเสนอขายเพชรพลอย พระเครื่องสมเด็จวัดระฆัง รุ่นหลังขื่อ และพระบูชาทองคำ หนัก 80 บาทให้ หลังจากตรวจดูสินค้าแล้วตกลงกันในราคา 4 ล้านบาท นายสกล ฯ ไม่วางใจจึงนัดแลกเปลี่ยนกันที่ธนาคารกรุงไทย จำกัด สาขาถนนศรีอยุธยา โดยให้นายธนา ฯ ชำระเป็นแคชเชียร์เช็ค นอกจากนี้นายธนา ฯ ยังรับว่า หจก. บุญสหะการสร้าง เคยประมูลงานโดยฮั้วกันกับ หจก. ส. เทียนทอง แต่เป็นการฮั้วกันเพียงเพื่อขอเงินที่จ่ายค่าแบบคืน
8. การผ่อนผันการอายัดทรัพย์
บัญชีเงินฝากธนาคารกรุงเทพ จำกัด สาขาห้าแยกปากเกร็ด ชื่อบัญชีนางอุไรวรรณ เทียนทอง บัญชีเงินฝากประจำเลขที่ 207-2-03383-6 เดือนละ 50,000 บาท เป็นค่าใช้จ่ายส่วนตัว และค่าสาธารณูปโภคตามที่จ่ายจริงตามมติ กตส.ครั้งที่ 11/ เมื่อวันที่ 27เมษายน 2534
ขั้นตอนที่ 3
การพิจารณาและวินิจฉัย
คณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สิน ได้ทำการตรวจสอบและสอบสวนบัญชีเงินฝากธนาคารกรุงเทพ จำกัด สาขาลาดพร้าว บัญชีสะสมทรัพย์เลขที่ 129-0-92122-8 ชื่อบัญชีนายสุทัศน์ เทศะแพทย์ ซึ่งเป็นบัญชีเงินฝากที่มีการเคลื่อนไหวผิดปกติแต่ละรายการดังนี้
รายการฝากวันที่ 18 มกราคม 2533 แคชเชียร์เช็ค 4,000,000 บาท
จากหลักฐานปรากฏว่า มีชื่อนายธนา วิโรจนาภิรมย์ เป็นผู้สั่งจ่าย
นายสุทัศน์ ฯ และนายธนา ฯ ต่างชี้แจงตรงกันว่าเป็นเงินที่นายธนา ฯ สั่งจ่ายเป็นค่าซื้อเพชร 2 เม็ด พลอยสี
เม็ดเล็ก 1 เม็ด พระเครื่องสมเด็จวัดระฆัง รุ่นหลังขื่อ และพระบูชาทองคำหนัก 80 บาท จากนายสกล เทศะแพทย์
พิเคราะห์เห็นว่า นายสกล เทศะแพทย์ อยู่ในวัยสูงอายุ พักอาศัยอยู่กับนายเสนาะและนางอุไรวรรณ เทียนทองที่บ้านพักในกรุงเทพมหานคร จึงไม่น่าจะมีความจำเป็นที่จะต้องขายทรัพย์สินเหล่านี้ถ้าหากมี ให้แก่นายธนา ฯ ซึ่งไม่ใช่ผู้คุ้นเคย ทั้งยังเป็นช่วงที่นายเสนาะ ฯ ผู้เป็นบุตรเขยมีตำแหน่งเป็นรัฐมนตรี แม้นายธนา ฯ จะให้ถ้อยคำว่าเหตุที่นายสกล ฯ ยอมจำหน่ายทรัพย์สินดังกล่าว เนื่องจากนายสุทัศน์ ฯ ผู้เป็นบุตรชายต้องการใช้เงิน ก็ไม่ปรากฏว่าจะมีหลักฐานการใช้เงินของนายสุทัศน์ ฯ ในช่วงดังกล่าวแต่อย่างใด และจากประวัตินายสกล ฯ เป็นอดีตข้าราชการศุลการักษ์ 3 รับเงินเดือนครั้งสุดท้ายเมื่อปี พ.ศ. 2525 เดือนละ 5,205 บาท และรับบำเหน็จเป็นเงิน 208,200 บาท เมื่อออกจากราชการก็ได้พักอาศัยอยู่กับนายเสนาะและนางอุไรวรรณ เทียนทอง และเมื่อถึงแก่กรรม ก็ไม่ปรากฏว่ามีทรัพย์มรดกใดตกทอดแก่นางอุไรวรรณ ฯ และนายสุทัศน์ ฯ ทายาท คณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สิน ไม่เชื่อว่านายสกล ฯ จะมีเพชร พลอยสี ทองเก่า พระพุทธรูปทองคำ พระเครื่อง ที่มีราคาเป็นจำนวนนับสิบๆล้านบาท และเพิ่งจะนำออกขายตามคำกล่าวอ้างของนายสุทัศน์ ฯ คำชี้แจงไม่น่ารับฟัง นอกจากนั้น นายธนา ฯ เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการห้างหุ้นส่วนจำกัด บุญสหะการสร้าง ซึ่งทำธุรกิจเกี่ยวพันกับห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. เทียนทองของนายเสนาะ ฯ เคย…กับ หจก.ส. เทียนทองในการประมูลงานต่างๆ และเป็นผู้รับงานก่อร้างของกรมโยธาธิการ ในปีงบประมาณ 2532-2533 ซึ่งนายเสนาะ ฯ ในฐานะรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ผู้มีอำนาจหน้าที่ควบคุม กำกับ ดูแล ได้ลงนามอนุมัติถึง 6 โครงการเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 306,240,000 บาท อนึ่งยังมีเหตุผลที่ไม่น่าเชื่ออีกประการหนึ่งว่าการซื้อขายครั้งนี้นายธนา ฯ อ้างว่าเดิมชำระให้เป็นเช็คแต่นายสกล ฯ มีท่าทีไม่วางใจและขอเปลี่ยนเป็นนัดแลกเปลี่ยนกันที่ธนาคารในวันถัดไปซึ่งเป็นเรื่องผิดวิสัย เพราะการที่นายสกล ฯ ให้นายสุทัศน์ ฯ นำของมีค่าติดตัวไปเพื่อการแลกเปลี่ยนที่ธนาคารเป็นเรื่องที่น่าอันตราย ผิดลักษณะของคนที่มีความรอบคอบถึงกับไม่ยอมรับเช็คที่นายธนา ฯ นำมาชำระให้ที่บ้านพัก
รายการฝากวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2533 แคชเชียร์เช็ค 2,000,000 บาท วันที่ 22 มีนาคม 2533 เงินสด 7,500,000 บาท วันที่ 6 กรกฎาคม 2533 เงินสด 5,000,000 บาท วันที่ 12 กรกฎาคม 2533 เงินสด 10,000,000 บาท
นายสุทัศน์ ฯ ชี้แจงว่าเป็นเงินที่นายสกล ฯ บิดามอบให้นำเข้าฝากธนาคารเป็นค่าขายของเก่า พระเครื่อง ทองเก่า พลอยสี และเพชร ให้แก่นายสมบัติ เพชรตระกูล สำหรับรายการฝากวันที่ 22 มีนาคม 2533 นั้นเป็นค่าขายของให้นายสมบัติ ฯ 4.5 ล้านบาท รวมขายของให้นายสมบัติ ฯ เป็นเงิน 21.5 ล้านบาท
นอกจากนั้นเหตุผลไม่น่าเชื่อถือฐานะของนายสกล เทศะแพทย์ และความจำเป็นในการต้องการใช้เงินของนายสุทัศน์ เทศะแพทย์ ตามข้อ 9.1 แล้ว คำให้การของนายสมบัติ เพชรตระกูล พยานซึ่งรับว่าเป็นผู้ซื้อเพชร พลอย และพระบูชา จากนายสกล เทศะแพทย์ เกี่ยวกับจำนวนเงินที่ซื้อเพชรพลอยก็ไม่ตรงกับจำนวนเงินที่นำเข้าฝากอันเป็นพิรุธ กล่าวคือ
เดือนมีนาคม 2533 ซื้อเงินสด 5.4 ล้านบาท
6 กรกฎาคม 2533 ซื้อ 5.6 ล้านบาท (เงินสด 6 แสนบาท และเช็ค 5 ล้านบาท)
9 กรกฎาคม 2533 ซื้อ 5.7 ล้านบาท (เงินสด 7 แสนบาท และเช็ค 5 ล้านบาท)
12 กรกฎาคม 2533 ซื้อ 5.9 ล้านบาท (เงินสด 9 แสนบาท และเช็ค 5 ล้านบาท)
นอกจากนั้นนายสมบัติยังให้การว่าการซื้อขายนายสกล ฯ จะเป็นผู้นำของไปเสนอขายให้นายสมบัติ ฯ ถึงที่และชำระเงินส่วนใหญ่เป็นเช็ค ดังนั้นจึงไม่มีเหตุผลที่นายสกล ฯ จะนำเช็คของนายสมบัติ ฯ ไปแลกเป็นเงินสดหรือเปลี่ยนเป็นแคชเชียร์เช็คแล้วจึงมอบให้นายสุทัศน์ ฯ มิได้นำเข้าฝากเป็นเงินจำนวนเดียว แต่ได้แบ่งยอดเงินออกเป็นรายการย่อยๆ ดังการฝากวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2533 นายสุทัศน์ ฯ ได้นำเช็ค 1 ฉบับ จำนวน 3 ล้านบาท ของนายสมบัติ ฯ มาซื้อแคชเชียร์เช็คจ่ายตนเอง จำนวน 3 ฉบับ ๆ ละ 1 ล้านบาท และนำเข้าบัญชี 2 ล้านบาท วันที่ 12 กรกฎาคม 2533 ได้แบ่งรายการฝากแยกย่อยถึง 11 รายการทั้งที่บัญชีนี้เป็นบัญชีออมทรัพย์
พิเคราะห์เห็นว่า เหตุที่มีการเปลี่ยนจากเช็คเป็นเงินสดแล้วจึงนำเข้าฝากและแบ่งยอดเงินเป็นรายการย่อยๆ ก็เพื่อเป็นการปกปิดแหล่งที่มาของเงินยากแก่การตรวจสอบ และมีข้อสังเกตว่า ห้างหุ้นส่วนจำกัด สามประสิทธิ์ ซึ่งนายสมบัติ เพชรตระกูล เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ เป็นผู้รับงานก่อสร้างของกรมโยธาธิการในปีงบประมาณ 2532-2533 ซึ่งนายเสนาะ ฯ ในฐานะรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ผู้มีอำนาจหน้าที่ควบคุม กำกับ ดูแล ได้ลงนามอนุมัติเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 104,304,000 บาท คำชี้แจงของนายสุทัศน์ ฯ ไม่น่ารับฟัง
รายการฝากวันที่ 27 มีนาคม 2533 เงินสด 2,000,000 บาท
นายสุทัศน์ ฯ ชี้แจงว่า จำนวนเงิน 1 ล้านบาท เป็นการชำระหนี้จากนางอุไรวรรณ ฯ ที่ยืมไปเข้าบัญชีที่ธนาคารกรุงเทพ จำกัด สาขาลาดพร้าว บัญชีเลขที่ 129-0-85212-6 เมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2533 แต่นางอุไรวรรณ ฯ ชี้แจงเมื่อคราวตรวจสอบถามรายการตามบัญชีที่น่าสงสัยว่าเป็นเงินที่นายวิชัย ศันสนะพงษ์ปรีชา มอบให้ใช้จ่ายในงานสาธารณกุศล จึงเป็นการให้การที่ขัดแย้งกัน และจากการที่คณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สินเชื่อว่าบัญชีที่มีชื่อนายสุทัศน์ ฯ ดังกล่าว เป็นบัญชีของนายเสนาะ ฯ และนางอุไรวรรณ ฯ แล้ว จึงไม่มีเหตุที่จะต้องคืนเงินที่เบิกถอนไปแต่อย่างใด
สำหรับเงินอีก 1 ล้านบาทนั้น ได้แยกพิเคราะห์ไว้ในข้อ 9.10
รายการฝากวันที่ 4 พฤษภาคม 2533 เงินสด 5,100,000 บาท
นายสุทัศน์ ฯ ชี้แจงในคำให้การครั้งแรกว่า รับจากนายพิเชษฐ์ เทียนทอง เพื่อชำระหนี้ที่นางอุไรวรรณ ฯ ยืมไป ต่อมานายสุทัศน์ ฯ ชี้แจงเพิ่มเติมเป็นลายลักษณ์อักษรว่า เพื่อชำระหนี้ที่นางอุไรวรรณ ฯ ยืมไปเมื่อวันที่ 27 เมษายน 2533 จำนวน 6 ล้านบาท คงค้างอีก 1 ล้านบาท ในเรื่องนี้นางอุไรวรรณ ฯ รับว่า เป็นผู้ยืมไปรวม 7 ล้านบาท
จาการตรวจสอบหลักฐานปรากฏว่า มีการถอนเงินจากบัญชีนี้รวม 7 ล้านบาท โดยมีรายละเอียดดังนี้คือ
จำนวน 1 ล้านบาท โอนเข้าบัญชี นางอุไรวรรณ ฯ ที่ธนาคารกรุงเทพ จำกัด สาขาเดียวกัน บัญชีออมทรัพย์เลขที่ 129-0-85212-6
จำนวน 2 ล้านบาท โอนเข้าบัญชี นายเสนาะ ฯ ที่ธนาคารนครหลวงไทย จำกัด สาขาปราจีนบุรี บัญชีกระแสรายวันเลขที่ 334-1-00579-2
จำนวน 4 ล้านบาท ทำแคชเชียร์เช็คจ่ายนายวิทยา เทียนทอง
พิเคราะห์เห็นว่า คำชี้แจงไม่สมเหตุสมผลเพราะตัวเลขไม่ลงตัว นอกจากนี้ยังมีเหตุผลที่จะอธิบายเช่นเดียวกับข้อ 9.3 จึงเชื่อว่าเงินตามรายการนี้ได้มาโดยมิชอบ
ปรากฏในหน้าแรกที่:
ข่าวเจาะพาดหัว (สไลด์โชว์)
16 สิงหาคม 2011
คำขอถึงนายกฯหญิง
by ทนายเบิ้ม ,
คำขอถึงนายกฯหญิง
1. ขอให้นายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของไทยแสดงความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ อย่างจริงใจ ขอให้ระลึกตลอดเวลาว่าบ้านเมืองไทยและคนไทยทุกคนร่มเย็นเป็นสุขด้วยพระบารมี และพระมหากรุณาธิคุณของพระมหากษัตริย์ และฝากข้อคิดไปถึงคุณยิ่งลักษณ์ ชินวัตรว่าอย่าลืมเหตุการณ์เรื่องหนังสือเล่มหนึ่งซึ่งมี(ปก)พระบรมฉายาลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ฯ ซึ่งตกอยู่บนเครื่องบินของการบินไทย ซึ่งวันนั้นคุณยิ่งลักษณ์อยู่ในเหตุการณ์ด้วย (ใครคนหนึ่งใช้เป็นที่รองเท้า?จนมีเรื่องกับผู้โดยสารที่นั่งอยู่ใกล้ๆ)
2. ขอให้นายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกช่วยเร่งรัดให้นำตัวบรรดาผู้จ้วงจาบและกระทำการ อันหยาบช้าต่อพระเจ้าอยู่หัวและพระราชินี ไปลงโทษให้สาสม โดยเฉพาะคนที่บังอาจตีตนเทียบเท่าโดยการล่วงล้ำเข้าไปใช้พระอุโบสถวัดพระศรี รัตนศาสดารามกระทำพิธีการทางศาสนา รวมถึงบรรดาพวกที่เอ่ยวาจาสามหาวจาบจ้วงสถาบันกษัตริย์ อีกทั้งผู้จงใจทำร้ายประเทศชาติด้วยการยุยงให้เกิดการเผาทำลายสถานที่ต่าง ๆ โดยเฉพาะผู้ที่ยุยงให้ "พี่น้องชาวไทยเผา....เผาเข้าไปเลย ผมรับผิดชอบเอง" หรือผู้ปลุกระดม "ให้เอาขวดเปล่ามาคนละขวด มาเติมนำมันในกรุงเทพฯ ขวดละหนึ่งลิตร มาหนึ่งล้านคนก็จะได้หนึ่งล้านลิตร กรุงเทพฯ จะกลายเป็นทะเลเพลิงในพริบตา" ดิฉันเชื่อเหลือเกินว่าคุณยิ่งลักษณ์รับรู้และรับทราบเรื่องราวเหล่านี้เป็น อย่างดี เพราะฉะนั้นก็คงจะไม่ปฏิเสธการนำคนสามานย์ไปลงโทษตามกฎบ้านกบิลเมือง
3. ขอให้นายกรัฐมนตรีหญิงช่วยกราบขอประทานอภัยจากสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายกแทนผู้ที่ทำการอันหยาบช้าต่อพระองค์ท่าน ซึ่งทำให้พระองค์ท่านต้องถูกนำพระองค์อพยพหนีวินาศภัยและวินาศกรรมออกจากโรง พยาบาลจุฬาลงกรณ์เมื่อปี 2553 หลังจากมีผู้บุกรุกเข้าไปในเขตโรงพยาบาลจุฬาฯ ด้วยเจตนาไม่สุจริต
ดิฉันขอเพียง 3 ข้อเท่านั้น เพราะมั่นใจว่านายกรัฐมนตรีหญิงรับรู้เรื่องเหล่านี้เป็นอย่างดี และที่สำคัญคือนายกรัฐมนตรีหญิงคงจะระลึกได้เป็นอย่างดีว่า ตนเองเคยเข้าไปมีส่วนเกี่ยวพันหรือเกี่ยวข้องกับคนกลุ่มเสื้อแดงแบบต่างกรรม ต่างวาระด้วย ดังนั้นจึงอยากให้นายกฯหญิงสร้างความกระจ่างเรื่องนี้ให้บังเกิดกับสังคม เพื่อชื่อเสียงและเกียรติยศของท่านนายกฯหญิง
ดิฉันขอเพียงแค่นี้จริง ๆ และเชื่อว่าเรื่องที่ขอคงไม่เกินกำลังของผู้ที่กำลังจะก้าวขึ้นไปเป็นนายกฯ หญิงของประเทศไทย และขอเตือนด้วยความหวังดีว่า ในอนาคตนั้น นายกฯหญิงจะต้องเผชิญกับการทวงสัญญาจากผู้คนกลุ่มต่าง ๆ อีกมากมาย แล้ววันนั้นนายกฯหญิงอาจจะเข้าใจด้วยตนเองว่า "เออหนอ การเป็นนายกฯ มันคือการตกนรกชัด ๆ นี่เอง"
อย่าง ไรก็ตาม ขออำนวยพรให้นายกฯหญิงไม่ต้องตกนรก หากประพฤติตนดีและทำประโยชน์ให้ชาติบ้านเมืองโดยสุจริตใจ และหวังว่านายกฯหญิงจะไม่เดินไปบนหนทางแห่งความเสื่อมเหมือนพี่ชายคนหนึ่ง ที่เคยทำมาก่อน"
ด้วยความปรารถนาดี
หม่อมราชวงศ์ยงยุพลักษณ์ เกษมสันต์
ที่มา พระจันทร์ดอทคอม
"ระวังจะพังเพราะคนกันเอง" รัฐบาลยิ่งลักษณ์1
กลายเป็น "นารีให้โชค" แบบไม่รู้ตัว เมื่อรถตู้คันที่นายกรัฐมนตรีหญิง ใช้เดินทางไปไหนมาไหนเป็นประจำ ทะเบียนป้ายแดงที่ลงท้าย 62 ดันไปตรงกับหวยเลขท้าย 2 ตัวที่ออกงวดนี้พอดิบพอดี แถมมีคนทักอีกว่า ไปตรงกับเลขอายุปีนี้ของพ.ต.ท.ทักษิณอีก ถึงตอนนี้ "ยิ่งลักษณ์" ดวงกำลังขึ้น ทำอะไรก็เข้าทางไปหมด ติดลมบนได้เป็นนายกรัฐมนตรี แถมโชคยังดีอีกต่างหาก แต่อย่าเพิ่งชะล่าใจนัก
แม้ศึกภายนอก จะยังทำอะไรไม่ได้ แต่กับศึกภายในที่เริ่มระอุ ตั้งเค้าก่อตัวเป็นพายุ "ระวังจะพังเพราะคนกันเอง" คงจะไม่ถึงกับพูดเกินเลยไป สำหรับรัฐบาลยิ่งลักษณ์ 1 ที่กำลังจะมีการแถลงนโยบายต่อรัฐสภาในวันที่ 24 ส.ค.ที่จะถึงนี้ เสร็จแล้วก็จะเข้ามาทำงาน กุมบังเหียนแก้ปัญหาให้กับประเทศอย่างเป็นทางการ ด้วยการประเดิมงานแรกคือ แก้ปัญหาน้ำท่วมซ้ำซาก ถึงขนาดมีการปลุกผี โครงการก่อสร้าง "เขื่อนแก่งเสือเต้น" ออกมา รวมทั้งต้องเร่งช่วยเหลือประชาชนที่กำลังประสบความเดือดร้อนจากอุทกภัย โดยเฉพาะในพื้นที่ลุ่มน้ำยมอย่างเร่งด่วน
ขณะที่นโยบายค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท และเงินเดือนผู้จบปริญญาตรีใหม่ 15,000 บาท ที่ถูกจัดให้เป็นนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล ก็ต้องผลักดันต่อไป งานของรัฐบาลเพื่อไทยข้างหน้า เห็นชัดว่าหนักหนาสาหัสแน่ เพราะเอาเข้าจริง ยังไม่ทราบว่าจะสามารถดำเนินการได้หรือไม่ เนื่องจากต้องยอมรับว่า จะมีปัญหาหลายอย่างติดตามมา ไม่ว่าจะเป็นภาวะเงินเฟ้อ ราคาสินค้าอุปโภค-บริโภคที่จะพุ่งสูงขึ้น หรือภาคเอกชนที่ออกมาคัดค้าน แต่ถึงอย่างไร เรื่องนี้ประชาชนก็ยังให้โอกาสรัฐบาลในการทำงานอีกสักระยะหนึ่ง
แต่ กับกรณีที่นายจตุพร พรหมพันธ์ุ ส.ส.เพื่อไทย และแกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ที่จุดพลุเรียกร้องให้รัฐบาลต้องจ่ายชดเชยค่าเสียหายกับประชาชนผู้เสีย ชีวิต 91 รายๆ ละ 10 ล้านบาท รวมไปถึงเยียวยาผู้บาดเจ็บกว่า 2,000 คน ในเหตุการณ์เดือนเม.ย.-พ.ค.2553 นั้น กลับกลายเป็นประเด็นร้อนเพียงชั่วข้ามคืนของสังคม เพราะหลายฝ่ายเห็นว่า ไม่เหมาะสมที่รัฐบาลและประเทศชาติจะต้องจ่ายเงินชดเชยถึงขนาดนั้น แม้แต่ตัวน.ส.ยิ่งลักษณ์ นายกรัฐมนตรีเองก็ยังแสดงความไม่เห็นด้วย
ขณะที่นพ.สุรวิทย์ คนสมบูรณ์ รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ยังออกมาระบุให้คณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อความปรองดองแห่งชาติ (คอ ป.) ที่มีนายคณิต ณ นคร อดีตอัยการสูงสุด เป็นประธาน ได้สอบสวนและสรุปข้อเท็จจริงก่อน โดยรัฐบาลจะขอยึดผลการสอบสวนของคณะกรรมการคอป. จึงจะมีการเยียวยาผู้เสียหายอย่างเป็นธรรม และเป็นไปตามกรอบของกฎหมาย คือไม่เออออ รัฐต้องจ่ายค่าชดเชยคนละ 10 ล้าน ตามแกนนำนปช.ระบุ
เริ่ม ต้น รัฐบาลยิ่งลักษณ์ 1 ก็ทำท่าจะขัดแย้งกับกลุ่มมวลชนคนเสื้อแดง ที่ต้องยอมรับว่าเป็นฐานเสียงสำคัญที่ทำให้พรรคเพื่อไทยประสบชัยชนะในการ เลือกตั้งที่ผ่านมา หรือจะเรียกว่าเป็นคนกันเองทั้งนั้นก็ได้ ซึ่งเชื่อแน่ว่า นายกรัฐมนตรีหญิงก็ทราบว่าไม่เป็นผลดีแน่ หากเกิดความขัดแย้งกับแกนนำนปช. ซึ่งความเป็นจริงอีกสถานะหนึ่งก็คือลูกน้องของน.ส.ยิ่งลักษณ์นั่นเอง เพราะมีตำแหน่งเป็นส.ส.ในระบบบัญชีรายชื่อ (ปาร์ตี้ลิสต์) พท. ทั้งนั้น
น่า คิดว่าการที่นายจตุพรออกมา ทวงสัญญาโดยอ้างว่า พรรคเพื่อไทยเคยให้สัญญากับคนเสื้อแดง สุดท้ายแล้วในความเป็นจริงต้องการอะไรกันแน่ จะเรียกร้องไปด้วยความบริสุทธิ์ใจ ต้องการช่วยเหลือครอบครัวผู้เสียชีวิต จากเหตุความวุ่นวายทางการเมืองจริง หรือมีเหตุผลอื่นแฝงอยู่หรือไม่ คงไม่มีใครทราบได้นอกจากเจ้าตัวเท่านั้น
หากให้วิเคราะห์ ก็น่าเห็นใจรัฐบาล เพราะหากตกลงให้มีการจ่ายเงินชดเชยค่าเสียหายแก่ญาติผู้เสียชีวิต ตามที่นายจตุพรระบุถึงรายละ 10 ล้านบาทจริง รัฐบาลก็คงยากจะตอบคำถามกับสังคม และรวมถึงญาติของวีรชนผู้เสียชีวิต ทั้งจากเหตุการณ์ 14 ต.ค.2516 หรือ 6 ต.ค.2519 รวมไปถึง พ.ค.2535 เกี่ยวกับเรื่องความเป็นธรรม เหตุใดรัฐบาลชุดก่อนถึงไม่มีการเยียวยาให้ และอาจเลยเถิดไปถึงเรียกร้องให้มีการทบทวนจ่ายเงินชดเชยก็เป็นได้
นี่ ยังไม่นับรวมกรณีนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานสภาผู้แทนราษฎร จู่ๆ ก็ออกมาทดลองเรียก "แขกม็อบ" ชี้ช่องให้พรรคเพื่อไทยใช้วิธีการเลี่ยงกฎหมายไม่ต้องแก้ไขรธน.มาตรา 291 คือให้คงหมวด 1 และ 2 ที่เป็นเรื่องเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ไว้ แล้วเสนอแก้ไขเพิ่มเติมเป็นรายมาตรา นำรัฐธรรมนูญ ปี 2540 ที่เหลือ มาสวมใช้แทน เป็นการเลี่ยงข้อกฎหมาย ซึ่งใช้เวลา 3 เดือนก็จบ
ทำให้ รัฐบาลที่นำโดยน.ส.ยิ่งลักษณ์ ตอนนี้อยู่ในอาการที่เรียกว่า "กลืนไม่เข้าคายไม่ออก" แน่ ถ้าแกนนำนปช.ยังคงยืนกรานให้รัฐต้องจ่ายเงินมากถึงรายละ 10 ล้าน เพื่อเป็นการเยียวยาผู้เสียชีวิต ไม่ใช่ว่าเงินจำนวนดังกล่าวจะมีมากหรือน้อย เพราะชีวิตประชาชนผู้บริสุทธิ์ที่สูญเสียไป แน่นอนว่าไม่สามารถตีเป็นราคาค่างวดได้ แต่ถึงอย่างไร รัฐบาลก็คงต้องคำนึงถึงความเป็นธรรมกับประชาชนคนอื่นๆ ถ้าคิดจะช่วยด้วยการจ่ายค่าชดเชยขนาดนั้น
ดังนั้นปัญหานี้จึงน่าจะกลายเป็นเสมือนจุดตายรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ที่ดูเหมือนไม่สามารถแก้ไขได้ง่ายๆ ด้วยเวลาอันรวดเร็ว ยิ่งหากทิ้งให้นายกรัฐมนตรีหญิงเป็นคนแก้อยู่คนเดียว ในทางกลับกัน ถ้าบริหารจัดการไม่ดี อาจส่งผลกระทบอย่างใหญ่หลวงต่อรัฐบาลเพื่อไทยได้
สุด ท้าย บุคคลที่จะแก้ปัญหานี้ นอกจากน.ส. ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ที่อยู่หน้าฉากแล้ว ก็คงหนีไม่พ้นพ.ต.ท.ทักษิณ อดีตนายกรัฐมนตรี ที่อยู่หลังฉากและออกมายอมรับกับสื่อต่างประเทศว่า เป็นผู้แนะนำตั้งครม.ปู 1 กับมือ อาจนับรวมถึงคุณหญิงพจมาน ณ บ้านจันทร์ส่องหล้า ซึ่งสังคมเชื่อว่าเป็นผู้ถืออำนาจตัวจริง ทั้งในพรรคเพื่อไทย และในกลุ่มแนวร่วมนปช. จะป็นผู้เข้ามาไกล่เกลี่ยแทน...หรือใครจะเถียงว่าไม่จริง
มาทำความรู้จักกองทุนน้ำมันกันหน่อย
papa05:
ความเป็นมาของกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
นโยบาย การแทรกแซงกลไกราคาน้ำมันในประเทศไทยเริ่มต้นขึ้นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2516 เนื่องจากในขณะนั้นเกิดวิกฤตการณ์ราคาน้ำมันขึ้นทั่วโลกราคาน้ำมันดิบในตลาด โลกปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงในประเทศสูงขึ้น และเกิดการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิงขึ้น รัฐบาลจึงได้ดำเนินการการออกพระราชกำหนดแก้ไขและป้องกันภาวการณ์ขาดแคลน น้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2516 เพื่อให้อำนาจแก่นายกรัฐมนตรีในการออกมาตรการต่างๆ เพื่อป้องกันและแก้ไขสภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง
จนกระทั่งในปี 2520 กลุ่มประเทศผู้ส่งออกปิโตรเลียม (Organization of the Petroleum Exporting Countries : OPEC) ได้ประกาศขึ้นราคาน้ำมันดิบ แต่รัฐบาลได้ขึ้นราคาขายปลีกในสัดส่วนที่น้อยกว่าราคาน้ำมันดิบที่เพิ่มขึ้น รัฐบาลโดยใช้มาตรการลดอัตราภาษีผลิตภัณฑ์น้ำมันลงตามส่วนของต้นทุนน้ำมันดิบ แต่ในกรณีน้ำมันเตาการลดอัตราภาษีไม่พอเพียงกับต้นทุนราคาน้ำมันดิบ รัฐบาลจึงได้ใช้วิธีลดภาษีที่เก็บจากน้ำมันเบนซินมากกว่าต้นทุนที่เพิ่ม และกันเงินส่วนนี้ไว้ในกองทุน โดยได้อาศัยอำนาจตามพระราชกำหนดแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อ เพลิง พ.ศ. 2516 เรื่องการกำหนดให้ผู้ค้าน้ำมันส่งเงินเข้ากองทุนรักษาระดับราคาน้ำมันเชื้อ เพลิงและการจ่ายเงินชดเชยให้แก่ผู้ค้าน้ำมัน เพื่อจัดตั้งกองทุนรักษาระดับราคาน้ำมันเชื้อเพลิง โดยให้โรงกลั่นน้ำมัน และผู้นำเข้าส่งเงินเข้ากองทุน และเงินกองทุนนี้นำไปชดเชยให้ผู้ค้าน้ำมันเตา
ในปี พ.ศ. 2521 รัฐบาลได้ประกาศเพิ่มค่าเงินบาท ทำให้ผู้นำเข้าน้ำมันได้กำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน รัฐบาลเห็นว่ากำไรที่เกิดขึ้นไม่ใช่กำไรจากการดำเนินงาน จึงได้มีคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 206/2521 ลงวันที่ 29 ธันวาคม 2521 จัดตั้งกองทุนรักษาระดับราคาน้ำมันเชื้อเพลิง (เงินตราต่างประเทศ) และกำหนดให้ผู้นำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิงนำส่งกำไรที่เกิดจากการเพิ่มค่าเงิน บาทเข้ากองทุนรักษาระดับราคาน้ำมันเชื้อเพลิง (เงินตราต่างประเทศ) เพื่อเก็บไว้ใช้ทดแทนเมื่อราคาน้ำมันดิบเพิ่มสูงขึ้น
ในปี พ.ศ. 2522 ราคาน้ำมันในตลาดโลกมีความผันผวนมากขึ้นเพราะ กลุ่มประเทศผู้ส่งออกปิโตรเลียมได้ประกาศขึ้นราคาน้ำมันดิบ 4 ครั้ง ดังนั้นเพื่อเป็นการรักษาเสถียรภาพของราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงภายใน ประเทศ ไม่ให้ผันผวนไปตามการเปลี่ยนแปลงราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก และรัฐบาลต้องการรวมกองทุนต่างๆ ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อการรักษาระดับราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงให้เป็นกองทุน เดียว จึงได้จัดตั้งกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงขึ้น ตามคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ สร. 0201/9 ลงวันที่ 27 มีนาคม 2522 โดยรวมกองทุนรักษาระดับน้ำมันเชื้อเพลิง กับ กองทุนรักษาระดับราคาน้ำมันเชื้อเพลิง (เงินตราต่างประเทศ) เข้าด้วยกัน
ปี 2546 เกิดความผันผวนของราคาน้ำมันในตลาดโลกขึ้นมาอีกครั้งโดยมีสาเหตุสำคัญมาจากเหตุการณ์ต่างๆดังนี้
1.การทำสงครามของสหรัฐอเมริกาในประเทศอิรักซึ่งเป็นประเทศผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่
2.ปัญหา ทางการเมืองในประเทศเวเนซุเอลาซึ่งเป็นผู้ส่งออกน้ำมันรายใหญ่ของโลกจาก ปัญหาดังกล่าวทำให้เวเนซุเอลาไม่สามารถส่งออกน้ำมันดิบได้
3.น้ำมันสำรองของสหรัฐอเมริกาลดระดับลง
รัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ในขณะนั้น ไม่ต้องการให้ความผันผวนของราคาน้ำมันส่งผลกระทบต่อสภาวะเศรษฐกิจ จึงกำหนดมาตรการตรึงราคาน้ำมัน เพื่อรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจซึ่งมาตรการครั้งนี้มีประสิทธิภาพเพราะความ ผันผวนมีระยะสั้นราคาน้ำมันก็กลับสู่ภาวะปกติ
ในปี 2547 ราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องอีกครั้ง รัฐบาลจึงออกคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 4/2547 เรื่อง กำหนดมาตรการเพื่อแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง (มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 24
ธันวาคม 2547) เป็นคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามพระราชกำหนดแก้ไขและป้องกัน ภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2516 เพื่อดำเนินมาตรการแทรกแซงราคาน้ำมันโดยการตรึงราคาน้ำมัน
การบริหารจัดการกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของกองทุนเชื้อเพลิงมีดังนี้
คณะ กรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ ทําหน้าที่ เสนอนโยบายและแผนการบริหารและพัฒนาพลังงานของ ประเทศต่อคณะรัฐมนตรี กําหนดหลั กเกณฑ์และเงื่อนไขในการกําหนด ราคาพลังงานให้สอดคล้องกับนโยบายและแผนการบริหารและพัฒนา พลังงานของประเทศ รวมทั้งติดตาม ดูแล ประสาน สนับสนุ นและเร่งรั ด การดําเนินการของคณะกรรมการทั้ งหลายที่ มีอํานาจหน้าที่เกี่ยวข้องกับ พลังงาน ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องกับพลังงาน เพื่อให้มีการดําเนินการให้สอดคล้องกับนโยบายและแผนการบริหารและ พัฒนาพลังงานของประเทศ
คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน ทําหน้าที่กําหนดหลักเกณฑ์ ในการคํานวณราคา กําหนดราคาน้ำมัน เชื้อเพลิง และกําหนดนโยบายอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงหรือ อัตราเงินชดเชยของน้ำมันเชื้อเพลิงชนิดต่างๆ ทั้งนี้ คณะกรรมการบริหาร นโยบายพลังงาน จะพิจารณาเฉพาะในส่วนของนโยบายของกองทุน เท่านั้น
คณะ อนุกรรมการบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อพลิง ทําหน้าที่พิจารณาเรื่องการใช้จ่ายของกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงตามที่ได้รับ มอบหมายจากคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน
สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน เป็นฝ่ายเลขานุการของคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน ทําหน้าที่ พิจารณาปรับอัตราเงินส่ง เขัากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง อัตราเงินชดเชย ราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ราคาก๊าซปิโตรเลียมเหลว ค่าเก็บรักษาก๊าซ และค่า ขนส่งก๊าซไปยังคลังก๊าซส่วนภูมิภาคตามที่ได้รับมอบหมาย
กรมสรรพสามิต รับผิดชอบในการเก็บเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงและจ่ายเงินชดเชย จากกองทุนน้ำมั นเชื้อเพลิง ในส่วนของน้ำมันเชื้อเพลิงที่ผลิต ภายในประเทศ
กรม ศุลกากรรับผิดชอบในการเก็บเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงและจ่ายเงินชด เชย จากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ในส่วนของน้ำมันเชื้อเพลิงที่นําเข้า
กรม เชื้อเพลิงธรรมชาติ รับผิดชอบในการเก็บเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงและจ่ายเงินชดเชย จากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ในส่ วนของก๊าซที่ซื้อหรือได้มาจากผู้รับสัมปทานตามกฎหมายว่าด้วยปิโตรเลียม (ถ้ามี)
สถาบันบริหารกองทุนพลังงาน(องค์การมหาชน) รับผิดชอบในการบริหารจัดการด้านการเงินของกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ให้มีสภาพคล่องเพียงพอกับรายรั บและรายจ่ายที่เกิดขึ้น รวมทั้งจัดหา เงินทุนให้กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงไปใช้ในการดําเนินงานต่างๆ (ทั้งนี้ ตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันบริหารกองทุนพลังงาน (องค์ การมหาชน) พ.ศ. 2546)
รายรับของกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
รายรับที่เป็นรายได้ หลักของกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงมาจากภาษีสรรพสามิตที่กรมสรรพสามิตเรียกเก็บ จากผู้ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงในประเทศ และมาจากภาษีศุลกากรที่กรมศุลกากรเรียกเก็บจากผู้นำเข้าน้ำมันโดยทั้ง 2 หน่วยงานดังกล่าวจะนำเงินเข้าบัญชีเงินฝากของกองทุนเชื้อเพลิง ขณะที่กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติมีหน้าที่เก็บเงินส่งเข้า
กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับผู้ที่ได้รับสัมปทานก๊าซแต่เนื่องจากราคาที่ แท้จริงของก๊าซหุงต้มสูงกว่าที่รัฐกำหนดมาเป็นเวลานานทำให้ไม่มีการเก็บเงิน ส่วนนี้จากผู้รับสัมปทาน
โดยสถาบันบริหารกองทุนพลังงานจะนำรายได้ของกอง ทุนน้ำมันเชื้อเพลิงมาจ่ายชําระดอกเบี้ยและไถ่ถอนพันธบัตร ซึ่งรายได้ของกองทุนจะขึ้นอยู่กับ อัตราเงินส่ง เข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงที่กําหนดโดยคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงานและ ปริมาณการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง สำหรับอัตราเงินส่ง เข้ากองทุน โดยกำหนดอัตราสูงสุดที่สามารถเรียกเก็บได้ไว้ที่ 1.50 บาทต่อลิตรซึ่งการปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนจะขึ้นอยู่กับนโยบายของ ภาครัฐ และสถานการณ์ราคาน้ำมันในแต่ละช่วงเวลาเป็นหลัก
การลำดับเหตุการณ์การแทรกแซงราคาของกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
เดือน เหตุการณ์
10 ม.ค.2547 รัฐบาลกําหนดมาตรการตรึงราคาน้ำมันเชื้อเพลิง โดยกำหนดเพดานราคาน้ำมันเบนซินออกเทน 95 อยู่ที่ระดับ 16.99 บาทต่อลิตร เบนซินออกเทน 91 อยู่ที่ระดับ 16.19 บาทต่อลิตร และดีเซลหมุนเร็ว อยู่ที่ระดับ 14.59 บาทต่อลิตรโดยวิธีการที่รัฐนำมาใช้เพื่อตรึงราคาน้ำมัน จะใช้หลักการเดียวกับเมื่อครั้งเกิดสงคราม คือ การนำเงินจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงมาชดเชยราคาให้แก่ผู้ค้าน้ำมัน เพื่อรักษาเพดานราคาตามที่รัฐกำหนด จนกระทั่งเมื่อราคาน้ำมันกลับเข้าสู่ภาวะปกติ และต่ำกว่าเพดาน รัฐจึงจะเรียกเก็บเงินคืนเข้ากองทุนน้ำมัน
16 เมษ 47 ฐานะกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง มียอดคงเหลือประมาณ 1,000 ล้านบาท และมีการขอเปิดวงเงินกู้อีกประมาณ 8,000 ล้านบาท (OD) ซึ่งเพียงพอสำหรับใช้ในการตรึงราคาน้ำมันต่อไป
พ.ค.47 น้ำมันเบนซินทุกชนิดปรับขึ้น 60สตางค์
ก.ค.47 น้ำมันเบนซินทุกชนิดปรับขึ้น 60สตางค์
ส.ค.47 มีการปรับราคาขายปลีกน้ำมันเบนซินทุกชนิดขึ้น 4 ครั้งๆละ 40 สตางค์/ลิตร( วันที่ 6 11 17 24)
20 ต.ค.47 มีการปรับขึ้นราคาน้ำมันเบนซิน 60 สตางค์
21 ต.ค.47 รัฐบาลจึงได้ยกเลิก นโยบายตรึงราคาน้ำมันเบนซินในขณะที่ยังคงการตรึงราคาน้ำมันดีเซลและราคาก๊าซหุงต้มไว้ต่อไป
พ.ย.47 มีการปรับลดราคาน้ำมันเบนซิน 3 ครั้ง ๆ 40 สตางค์/ลิตร ( วันที่ 4 12 14)
ธ.ค. 47 น้ำมันเบนซินปรับลดลง 5 ครั้ง รวม 1.90 บาท/ลิตร (วันที่ 4 8 10 14 และ 17 ธ.ค.)
21 ก.พ.48 เพื่อเป็นการลดภาระการชดเชยราคาน้ำมันให้กับประเทศได้มีการปรับราคาขึ้นอีก 60 สตางค์ต่อลิตร ส่งผลให้ราคาน้ำมันดีเซลขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 15.19 บาทต่อลิตร
4 มี.ค.48 กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงมีภาระเงินชดเชยตามมาตรการตรึงราคาที่ได้ จ่ายไปนับตั้งแต่วันที่ 10 มกราคม 2547 เป็นต้นมา รวมทั้งสิ้น 68,616 ล้านบาท แบ่งเป็น ดีเซล ประมาณ 61,641 ล้านบาท เบนซินออกเทน 95 ประมาณ 2,673 ล้านบาท และเบนซินออกเทน 91 ประมาณ 4,302 ล้านบาท แม้ว่าจะช่วยลดภาระการชดเชยราคาน้ำมันดีเซลลงอีก 60 สตางค์/ลิตร แต่รัฐยังคงต้องชดเชยดีเซลอีกกว่า 3 บาทต่อลิตร หรือประมาณวันละ 180 ล้านบาท ซึ่งหากไม่มีการปรับราคาน้ำมัน รัฐจะมีหนี้ในการตรึงราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้น ซึ่งมีหนี้รวมกันแล้วกว่า 70,000 ล้านบาท
มี.ค.48 น้ำมันเบนซินปรับขึ้น 3 ครั้งๆละ 40 สตางค์/ลิตร ( วันที่ 1 5 และ 11)
8 พ.ค. 48 แม้จะมีการลอยตัวน้ำมันเบนซินแล้ว ( เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2547 ) กองทุนน้ำมันยังคงมีหนี้ในการตรึงค่าน้ำมันรวมทั้งสิ้นประมาณ 47,285 ล้านบาท แยกเป็นเบนซิน จำนวน 6,975 ล้านบาท และดีเซล จำนวน 40,310 ล้านบาท
พ.ค.48 มีการปรับราคาเบนซินลง 2 ครั้งๆละ 40 สตางค์/ลิตร ( วันที่ 5 17 พ.ค.)
1 มิ.ย.48 สํานักงานนโยบายและแผนพลังงานได้ประกาศให้ยกเลิ กการตรึงราคาน้ำมันดีเซล โดยผู้ค้าน้ำมันเชื้อเพลิงสามารถกําหนดราคาขายน้ำมันดีเซลให้เป็นไปตามกลไก ตลาดและการแข่งขัน
แต่จัดว่าเป็นการลอยตัวราคาน้ำมันดีเซล ในรูปแบบ "การบริหารจัดการของรัฐ (Manage Float)" โดย รูปแบบบริหารจัดการ คือ การทำให้ราคาน้ำมันดีเซลไม่สูงขึ้นตามราคาตลาดโลกทันที เพราะปัจจุบัน กองทุนน้ำมัน ต้องจ่ายชดเชยราคาน้ำมันดีเซลเฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 2.86 บาทต่อลิตร แต่เพื่อให้ราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลยังคงอยู่ที่ระดับเท่าเดิม รัฐได้ปรับลดภาษีน้ำมันดีเซลจำนวน 1.10 บาทต่อลิตร แบ่งเป็นภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซล จำนวน 1 บาทต่อลิตร และภาษีเทศบาลจำนวน 10 สตางค์ต่อลิตร ทำให้เหลือการชดเชยจำนวน 1.76 บาทต่อลิตรส่วนดีเซลหมุนช้าอยู่ที่ 1.96 บาทต่อลิตร ซึ่งเป็นอัตราเงินชดเชยสูงสุดที่กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงจะรับภาระจ่ายชดเชย ราคาน้ำมัน ดีเซลให้แก่ผู้ผลิตน้ำมันดีเซลและนําเข้าน้ำมันดีเซล ทำให้รัฐต้องสูญเสียรายได้จากการจัดเก็บภาษีประมาณ 14,000 ล้านบาท
20 มิ.ย. 48 ที่ประชุมร่วมระหว่างกระทรวงพลังงาน กระทรวงการคลัง และสํานักงบประมาณได้กําหนดให้สถาบันฯ ดำเนินการขอรับเงินอุดหนุนจากรัฐบาลเพื่อจ่ายชดเชยราคาน้ำมันเชื้อเพลิง เมื่อสถาบันฯ ออกพันธบัตรครบ 85,000 ล้านบาทแล้ว แต่ภาระการชดเชยราคาน้ำมันเชื้อเพลิงยังไม่สิ้นสุด และให้สถาบันฯ ขอรับเงินอุดหนุนจากรัฐบาลในวงเงิ นไม่ เกิน 12,000 ล้านบาท ในรูปเงินยืมไม่มีดอกเบี้ย ทยอยเบิกจ่ายเงินตามความจําเป็นในช่วงที่ สถาบันฯ มี ภาระในการชําระคืนหนี้ พันธบัตร และให้สถาบันฯ ชําระคื นเงินยืมนี้ให้แก่รัฐบาลเมื่อสถาบันฯ ไถ่ถอนพั นธบัตรครบถ้วนแล้ว โดยให้สถาบันฯ ตั้งเรื่องขอใน งบประมาณรายจ่ายประจําปี 2550 แต่หากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงขาดสภาพคล่องในช่วงก่อนปีงบประมาณ 2550 ให้สถาบันฯ นําเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อขอรับเงินอุดหนุนในรูปเงินยืมจากงบกลาง
25 มิ.ย.48
คณะ กรรมการบริหาร นโยบายพลังงานได้ลดอั ตราเงินชดเชยสูงสุดสําหรับน้ำมันดี เซลหมุนเร็วไว้ที่ 1.36 บาทต่อลิตร และน้ำมันดีเซลหมุนช้าไว้ที่ 1.56 บาทต่อลิตร
มิ.ย.48 น้ำมันเบนซินปรับราคาขึ้น 7 ครั้ง รวม 2.8 บาท/ลิตร และปรับขึ้นราคาดีเซลหมุนเร็ว ขึ้น 8 ครั้ง รวม 3.20 บาท/ลิตร
13 ก.ค.48 รัฐบาลได้ประกาศให้มีการลอยตัวน้ำมันดีเซลกลับไปเหมือนเดิมอย่าง สมบูรณ์แบบ โดยได้ยกเลิกการชดเชยน้ำมันดีเซลจาก 1.36 สตางค์ต่อลิตร (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม)ให้เป็น 0 ทําให้ภาระการจ่ายเงินชดเชยของ กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงสําหรับน้ำมันดีเซลหมดไปในที่สุด และได้สรุปภาระหนี้สินของกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงที่เกิดจากการตรึงน้ำมัน เบนซินและดีเซลไว้ที่ระดับ 92,070 ล้านบาท รัฐบาลจึงจัดหาเงินกู้จากสถาบันการเงินเข้ามาช่วยเหลือถึง 71,000 ล้านบาท และอีกส่วนหนึ่งเป็นเงินรายได้จากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงที่เรียกเก็บจากผู้ ใช้น้ำมัน
ก.ค.48 น้ำมันเบนซินปรับราคาขึ้น 2 ครั้ง รวม 0.8 บาท/ลิตร และปรับขึ้นราคาดีเซลหมุนเร็ว ขึ้น 4 ครั้ง และ ลง 2 ครั้ง รวม 1.20 บาท/ลิตร ปตท. ปรับขึ้นดีเซลหมุนเร็วขึ้น 4 ครั้ง ลง 1 ครั้ง รวมเป็น 1.6 บาท/ลิตร และสิ้นสุดการอุดหนุนราคาน้ำมันเชื้อเพลิงเมื่อวันที่ 13 ก.ค.48
20 ก.ย.48 มติคณะรัฐมนตรีเห็นชอบให้ สถาบันบริหารกองทุนพลังงาน (องค์การมหาชน) หรือ สบพ. สามารถจัดหาเงินกู้โดยการออกตราสารหนี้เสนอขายให้แก่นักลงทุนประเภทสถาบัน และหรือประชาชนทั่วไป และให้ สบพ. สามารถกู้เงินจากสถาบันการเงินได้ เพื่อนำไปชำระหนี้เดิม จ่ายดอกเบี้ย และเป็นค่าใช้จ่ายอื่นๆ ของกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง จำนวนรวมทั้งหมดไม่เกิน 85,000 ล้านบาท และให้ชำระหนี้ทั้งหมดให้ครบถ้วนภายในปี 2554 ทั้งนี้สบพ. ประมาณการแล้วพบว่า กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงมีความต้องการเงินประมาณ 74,000 ล้านบาท
ที่มา http://www.efai.or.th/index-theoil.html
รมว.พลังงาน กังขา ธปท.ค้านตั้งกองทุนฯ มั่งคั่ง
วันนี้(19ส.ค.2554) รมว.พลังงาน แปลกใจ ธปท.ค้านตั้งกองทุนฯ มั่งคั่ง ลงทุนแหล่งพลังงานใน ตปท. แนะ ธปท.ควรให้ ปชช. เป็นผู้ตัดสินใจ และเป็นแค่ผู้รับฟังความเห็น พร้อมเร่งเดินหน้าโครงการบัตรเครติดพลังงาน
รายงาน แจ้งว่า นายพิชัย นริพทะพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า ตนเองรู้สึกแปลกใจกลับท่าทีของ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ที่ออกมาคัดค้านข้อเสนอนำเงินทุนสำรองระหว่างประเทศ 1.87 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จัดตั้งกองทุนเพื่อความมั่งคั่งแห่งชาติ (Sovereign Fund) เพราะ ในช่วง 3 เดือนก่อนหน้านี้ ยังมีท่าทีเห็นด้วย เรื่องนี้ ควรปล่อยให้ประชาชนเป็นผู้ตัดสินใจ และทาง ธปท. ต้องรับฟังความคิดเห็นจากประชาชน เพราะกองทุนดังกล่าวสามารถนำไปลงทุนด้านพลังงาน ทองคำ หรืออัตราแลกเปลี่ยนสกุลอื่นๆ แทนการถือครองเงินดอลลาร์ฯ ที่มีความเสี่ยง และอนาคตแหล่งพลังงานในประเทศก็จะหมดลง จึงควรมีการลงทุนเพื่อสร้างความมั่นคงด้านพลังงาน
นอกจากนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เตรียมทบทวนแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้า (PDP) 2010 ใหม่ทั้งหมด โดยให้พึ่งพาแหล่งพลังงานในประเทศให้มากกว่าต่างประเทศ เพื่อกระจายความเสี่ยงในการจัดหาพลังงานในอนาคต หากมีปัญหากับประเทศเพื่อนบ้าน โดยควรใช้ ก๊าชธรรมชาติที่ผลิตได้ และอนาคตอยากเห็นการใช้ถ่านหินสะอาด
ส่วน โครงการบัตรเครติดพลังงาน ตนเองจะเร่งดำเนินการให้กับกลุ่มผู้ประกอบการ ทั้งรถจักรยานยนต์รับจ้าง รถแท็กซี่ และเกษตรกร โดยเร็วที่สุด ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการจัดทำรายละเอียด และหาวิธีให้กลุ่มผู้ประกอบการดังกล่าว สามารถมีสิทธิ์ใช้บัตรเครดิตได้ รวมถึง การพิจารณาในเรื่องของวงเงินในการใช้สิทธิ์ที่ยังไม่มีการสรุปว่าจะเป็น 500-1,000 บาทต่อเดือน ตามที่ พรรคเพื่อไทย ได้ประกาศหาเสียงไว้หรือไม่
นาย พิชัยกล่าวอีกว่า อย่างไรก็ตาม ในอนาคตจะต้องมีการลอยตัวราคาพลังงานในประเทศ ให้เป็นไปตามกลไกตลาด ซึ่งจำเป็นที่ กลุ่มผู้ประกอบการดังกล่าว จะต้องมีบัตรพลังงาน เพื่อใช้สิทธิ์ในการดูแลผลกระทบในอนาคต เพื่อไม่ให้มีผลต่อภาระค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้น
ยกเลิกกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพแล้วจะเกิดอะไรขึ้น
ยกเลิกกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพแล้วจะเกิดอะไรขึ้น
ปัจจุบันมีความเคลื่อนไหวของบุคคลบางคนออกมาเรียกร้องให้ยกเลิกกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ โดยอ้างว่าเป็นกฎหมายที่ได้มีการนำมาใช้ เพื่อวัตถุประสงค์ในการกลั่นแกล้งฝ่ายตรงข้ามทางการเมือง และในต่างประเทศที่มีสถาบันพระมหากษัตริย์ไม่ได้ใช้กฎหมายเหมือนประเทศไทย
ในความเป็นจริงสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นสถาบันหนึ่งของชาติที่มีความเป็นเอกลักษณ์ในด้านประวัติศาสตร์ ประเพณี วัฒนธรรม และศูนย์รวมจิตใจของคนในชาติ ดังนั้น จึงเป็นสถาบันที่มีความสำคัญเช่นเดียวกับสถาบันอื่นๆ ซึ่งสมควรจะรักษาไว้คู่บ้านเมือง
เจตนารมณ์ของการออกกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ สืบเนื่องจากสถาบันพระมหากษัตริย์อยู่ในฐานะที่ป้องกันตัวเองได้ยาก เมื่อมีการหมิ่นประมาท จะทรงเป็นโจทย์ดำเนินการฟ้องร้องผู้ใด ย่อมไม่เป็นการสมควรในฐานะที่ทรงเป็นประมุขของชาติ ดังนั้น จึงเป็นสาเหตุให้มีการออกกฎหมายนี้ขึ้นมา
สำหรับกรณีที่มีผู้ต้องการยกเลิกกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ มักจะกล่าวว่า มีการนำกฎหมายฉบับนี้มาใช้ เพื่อวัตถุประสงค์ในการกลั่นแกล้งฝ่ายตรงข้ามนั้น
ประเด็นนี้ ผู้ที่ตกเป็นจำเลยไม่ได้แตกต่างจากคดีความทั่วไป ขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริงพยานหลักฐานต่างๆ ที่ศาลจะเป็นผู้วินิจฉัยตัดสินคดี โดย ผู้ที่ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดสามารถต่อสู้ในศาลได้โดยไม่ได้เดือดร้อน อะไรมากไปกว่าจำเลยในคดีความอื่นๆ และควรที่จะกล้าต่อสู้คดีที่ตนเองสร้างขึ้นมาตามกระบวนการยุติธรรม
ดังนั้น การที่ใช้ข้ออ้างว่า “กลั่นแกล้ง” จึงเป็นความเจ้าเล่ห์ที่ต้องการยกเลิกกฎหมายนี้เท่านั้น หากเมื่อใดมีการยกเลิกกฎหมายฉบับนี้ ก็จะเข้าช่องทางของนักวิชาการบางคนและผู้ที่ต้องการบ่อนทำลายสถาบันพระมหากษัตริย์ สามารถจาบจ้วงโจมตีได้โดยสะดวก เพราะเขาทราบว่าสถาบันพระมหากษัตริย์อยู่ในฐานะที่จะป้องกันตัวเองได้ยาก ตามที่ได้กล่าวมาแล้วนั่นเอง
อย่าง ไรก็ตาม ที่ผ่านมาผู้ที่กระทำความผิดในคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ก็มักจะได้รับการพระราชทานอภัยโทษจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ อยู่เสมอ สำหรับ ในต่างประเทศโทษของผู้ที่กระทำผิดคดีหมิ่นสถาบันพระมหากษัตริย์ ก็มีทั้งปรับและจำขังแตกต่างกันไปตามกฎหมายของประเทศนั้นๆ ซึ่งเป็นเรื่องปกติ
กฎหมายของทุกประเทศในโลกนี้ไม่จำเป็นต้องเหมือนกัน ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมและความเหมาะสมที่จะออกกฎหมายในลักษณะใด
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)
รีโมท
ซื้อ รีโมท จากผู้ค้าส่งโดยตรง ที่มีหน้าร้านจริง ที่ บ้านหม้อ และ คลองถม ราคาถูกกว่าใคร ปลอดภัย มีรับประกัน
คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค
บทความย้อนหลัง
-
►
2012
(274)
- ► กุมภาพันธ์ (51)
-
▼
2011
(1241)
-
▼
สิงหาคม
(263)
-
▼
20 ส.ค.
(8)
- โปรแกรมการตอบคำถาม หุ่นยนต์นายกหญิงตัวแรกของโลก
- "พิชัย"อัดแบงก์ชาติเล่นการเมืองหวงทุนสำรองซื้อพลัง...
- เปิดเอกสารลับ คตส.ยึดทรัพย์“เสนาะ เทียนทอง”ในวันเจ...
- คำขอถึงนายกฯหญิง
- "ระวังจะพังเพราะคนกันเอง" รัฐบาลยิ่งลักษณ์1
- มาทำความรู้จักกองทุนน้ำมันกันหน่อย
- รมว.พลังงาน กังขา ธปท.ค้านตั้งกองทุนฯ มั่งคั่ง
- ยกเลิกกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพแล้วจะเกิดอะไรขึ้น
-
▼
20 ส.ค.
(8)
-
▼
สิงหาคม
(263)