บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันพฤหัสบดีที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2555

ข้อเสนอนิติราษฎร์ว่าด้วยการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่

Blog Icon
สืบเนื่องจาก คณะนิติราษฎร์ : นิติศาสตร์เพื่อราษฎร ได้จัดอภิปราย “ลบล้างผลพวงรัฐประหาร - นิรโทษกรรม - ปรองดอง” ไปเมื่อวันอาทิตย์ที่ ๒๒ มกราคม พ.ศ.๒๕๕๕ ณ หอประชุมศรีบูรพา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ซึ่งในงานดังกล่าว นอกจากการตอบคำถามเกี่ยวกับข้อเสนอให้ลบล้างผลพวงรัฐประหาร และแจก "คู่มือประชาชนล้มรัฐประหาร" แล้ว
คณะนิติราษฏร์ยังได้จัดทำข้อเสนอในรายละเอียดเพื่อทำให้ "การลบล้างผลพวงรัฐประหาร" เป็นรูปธรรมยิ่งขึ้น ด้วยการเขียนไว้ใน "กรอบเนื้อหาของรัฐธรรมนูญฉบับนิติราษฎร์" พร้อมทั้งเสนอ "รูปแบบองค์กรผู้ยกร่างและการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่" ให้ประชาชนร่วมพิจารณาด้วย จึงเรียนเชิญท่านที่สนใจดาวน์โหลดข้อเสนอทั้ง ๒ ฉบับ

และเพื่อไม่ให้เกิดความเข้าใจที่ผิดพลาดคลาดเคลื่อน รวมทั้งเพื่อให้การติชม หรือวิพากษ์วิจารณ์ข้อเสนอของคณะนิติราษฎร์เป็นไปอย่างสร้างสรรค์ อยู่ในกรอบของเนื้อหาและหลักวิชาการ ควรค่าแก่การน้อมรับฟังเพื่อการพิจารณาไตร่ตรอง จึงขอเรียนเชิญผู้สนใจชมคลิปวิดีโอ ทั้งช่วงตอบคำถาม และช่วงอธิบายรายละเอียดของข้อเสนอจัดทำรัฐธรรมนูญ เพื่อประกอบการอ่านข้อเสนอฯ ดังกล่าวด้วย

คณะนิติราษฎร์: นิติศาสตร์เพื่อราษฎร.


รูปแบบองค์กรผู้ยกร่าง การจัดทำรัฐธรรมนูญ
และกระบวนการยกร่างและจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่






กรอบเนื้อหาของรัฐธรรมนูญฉบับนิติราษฎร์

(คลิ๊กที่ชื่อหัวข้อเพื่อดาวน์โหลดข้อเสนอ)




คลิปวิดีโองานอภิปราย ทั้งช่วงตอบคำถาม และช่วงเสนอการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่







ผ่าข้อเสนอนิติราษฎร์


โดย Sattra Toaon


1.นิติราษฎร์เสนอให้ "ยกเลิก รธน ฉบับปี 50 และเสนอให้มีการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่" โดยเสนอกรอบการทำงานให้คณะกรรมการจัดทำรัฐธรรมนูญฯ มาจาการเลือกของ สส.และพรรคการเมืองรวม 20 คน สว.เลือกตั้ง 3 คน สว.สรรหา 2 คน

ข้อเสนอดังกล่าวเป็นความพยายามเปิดทางให้มีการแก้ไข รธน ตามที่นิติราษฎร์ต้องการ แต่ยังแสดงออกถึงตรรกะความคิดของคณะนี้ในเรื่อง หลักผลไม้พิษ ที่มองว่าต้องยกเลิกผลทุกประการของการรัฐประหารรวมทั้งรัฐธรรมนูญปี 50 ที่สมาชิกในคณะนี้มีส่วนในการทำงาน แต่จุดอ่อนของการตั้งหลักคิดที่ว่า เมื่อรัฐประหารไม่ชอบธรรม สิ่งที่ตามมาย่อมเสียไป จะมีขอบเขตเพียงใด ดูเหมือนเป็นสิ่งที่คณะนี้เท่านั้นที่เป็นคนกำหนดว่าสิ่งนั้นสิ่งนี้ควรถูกยกเลิก โดยมิได้คำนึงถึงบริบทใดๆ นอกจากหลักคิดที่วนเวียนไปมากับตรรกะแต่ไม่สอดคล้องกัีบสภาพความเป็นจริง

วิธีการอธิบายโลกและสังคมของนิติราษฎร์โดยไม่ดูสภาพความเป็นจริงและออกแบบมาตรการต่างๆให้สอดรับกับโลก การวนเวียนอยู่เพียงตรรกะของถ้อยคำทางกฎหมายและหลักการทำให้หลายครั้งการให้เหตุผลทางวิชาการของคณะนี้โดยเฉพาะ นายวรเจตน์ ภาคีรัตน์ เกิดผลประหลาดหลายครั้ง อาทิ กรณีการเสนอให้แก้ไขมาตรา 112 ป.อาญา โดยการลดโทษจนโทษของมาตราดังกล่าว (จำคุกไม่เกิน 3 ปี) ต่ำกว่าโืทษตาม ม.133 ป.อาญา ในความผิดฐานดูหมิ่น หมินประมาท ประมุขของรัฐต่างประเทศ ตัวอย่างนี้แสดงให้ถึงการบกพร่องทางวิชาการอย่างร้ายแรง เพราะเป็นการมุ่งแต่จะแก้ไขโดยไม่ได้คำนึงถึงระบบกฎหมายทั้งระบบ และยังมีลักษณะการมองสมมุติฐานทางข้อเท็จจริวผิดพลาดว่ามีการกลั่นแกล้งทางการเมือง ทั้งในความเป็นจริงได้ปรากฏว่ามีการดูหมิ่น หมิ่นประมาท อาฆาตมาดร้ายจริงในสังคมไทย

การตั้งสมมุติฐานที่ผิดยังปรากฎให้เห็นในข้อเสนอนี้อยู่ต่อไป โดยไม่เข้าใจว่า รัฐธรรมนูญ 50 แท้จริง คือ รธน ที่เสริมความแข็งแกร่งของ รธน 40 ที่ล้มเหลวลงเพราะการทำลายของ เผด็จการทุนนิยมผูกขาดโดยพรรคการเมือง ดังนั้นในจิตวิญญาณของ รธน 50 จึงมี รธน 40 อยู่อย่างครบถ้วน ดังนั้นการอ้างเหตุวนเวียนแต่เรื่องรัฐประหารที่ผ่านไปแล้วนานแล้ว จนวนเวียนไปสืบถึง การปฏิวัติแบบสุดโต่ง ของ ปรีดี ใน ธรรมนูญการปกครองฯ 2475 และ รธน 2475 เพื่อยกเลิก รธน 50 ที่แก้ไขปัญหาในยุคโลกาภิวัฒน์ ย่อมเป็นการเริ่มต้นที่ผิดฝาผิดตัว ผิดกาละ เทศะ เป็นอย่างยิ่ง ทั้งนี้มิพักต้องกล่าวถึง องค์ประกอบของคณะกรรมการร่างฯตามข้อเสนอของนิติราษฎร์ที่อิงแอบกับ สส และ พรรคการเมือง อันแสดงให้เห็นถึงความจงใจวาง รธน ไว้ให้ เผด็จการทุนนิยมโดยพรรคการเมือง เขียน กฎหมายสูงสุดของชาติ เท่านี้ก็เพียงพอที่จะมองว่า ข้อเสนอให้ยกเลิก รธน 50 และ จัดทำ รธน ใหม่จะมีหน้าตาอย่างไร เพราะนิติราษฎร์ไว้ใจโดยสุจริตเหลือเกินกับ ระบบการเลือกตั้ง รัฐสภา ที่ผู้เขียนเองก็ไม่ได้ปฏิเสธการดำรงคงอยู่ของทั้งสองสิ่ง แต่การไว้ใจโดยเชื่อแต่เฉพาะหลักการ เป็นการคิดที่ผิดหลักคิดตามธรรมชาติ เพราะรัฐธรรมนูญไม่ใช่เสื้อโหล ต้องตัดให้เหมาะกับสังคม แค่เลือกช่างตัดเสื้อให้พวกเราก็เลือกผิดแล้วครับ วรเจตน์และพวก

2.นิติราษฎร์เสนอให้มีสภาเดียวมาจากการเลือกตั้ง

การเสนอให้มีสภาเดียวมาจากการเลือกตั้ง ไม่มีวุฒิสภาคอยถ่วงดุลย์ตรวจสอบ ดูจะเป็นการไว้วางใจระบบการเืลือกตั้งมากเกินไปว่าเป็นคำตอบของคำว่า "อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน" เป็นการไว้วางใจกับคำว่า สภาคือตัวแทนเจตนารมณ์ของประชาชน และให้สภาคือศูนย์เดียวสูงสุดของประชาธิปไตย

กรณีในอดีตโดยเฉพาะอย่างยิ่งก่อนมีการจัดทำรัฐธรรมนูญ 40 ได้มีการคณะ ครป. ซึ่งนักวิชาการหลายท่านได้ทำวิจัยออกมาหลายเล่ม ซึ่งกลายศูนย์กลางของการออกแบบโมเดลต่างๆตาม รธน 40 ที่นิติราษฎร์เองถือเป็น รธน ฉบับประชาชน ในรายงานการวัจยชุดดังกล่าวล้วนเต็มไปด้วยความพยายามในการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับรัฐสภาทั้งสิ้น เช่น การออกแบบระบบรัฐสภาที่มีเหตุผล ( rational Parliament ) การจัดตั้งองค์กรอิสระเข้าตรวจสอบพฤติกรรมของ สส และผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ตลอดจน คณะรัฐมนตรี สิ่งเหล่านี้แสดงออกมาตลอดหลายสิบปีถึงความล้มเหลวของการทำงานโดยรัฐสภา การถอยหลังกลับไปไว้ใจรัฐสภาที่มาจากการเลือกตั้งของประเทศไทยที่อิงแอบกับ ระบบอุปถัมภ์ โดยนายทุนการเมืองที่มีเงินมหาศาล จึงเป็นความคิดที่สุดโต้งในการออกแบบองค์กรตามรัฐธรรมนูญ ที่ในทางสังคมวิทยาจะนำไปสู่ เผด็จการสภาเดียวอย่างไม่ต้องสงสัย

นอกจากนี้การมีสภาเดียวโดยไม่กล่าวถึงที่มาของ สส.ว่ามาจากระบบแบ่งเขต หรือ บัญชีรายชื่อ ในสัดส่วนเท่าใดยังเป็นข้อบกพร่องอย่างยิ่ง เพราะเมื่อพิจารณาบริบทสังคมไทยที่มีการใช้เงินในระดับพื้นที่กันอย่างมหาศาลแบบยิงกันเขตต่อเขตทำให้ง่ายต่อการซื้อเสียงแล้ว การดำรงสัดส่วน สส.ในระบบแบ่งเขตไว้มากไม่เป็นผลดีแก้ประเทศเท่าที่ควร แนวโน้มที่จะเพิ่มสัดส่วนของ สส.แบบบัญชีรายชื่อให้มากขึ้น อันเป็นข้อดีของประเทศเยอรมนีที่ีมี สส บัญชีรายชื่อกว่าครึ่ง การแหว่งวิ่นทางความคิดตามที่กล่าวมา สุ่มเสี่ยงยิ่งที่ทุนจะยึดชาติแบบเบ็ดเสร็จ หากประเทศไทยจะมาสภาเดียว

เหตุดังกล่าว การอ้างตนว่า นิติราษฎร์ เป็น นิติศาสตร์เพื่อราษฎร โดยเอาการเลือกตั้งและสภาเดียวเป็นศูนย์กลางของประชาธิปไตยแบบนิติราษฎร์ มาวางไว้บนบริบททุนครอบชาติจึงเป็นการออกแบบบ้านเมืองไปผิดทิศทาง และการผิดทิศนี้ยังส่งสะท้อนไปถึงมาตรการอื่นที่คณะนีั้้เสนอมา

3.การลดฐานะของสถาบันพระมหากษัตริย์ลงเป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญทั่วไปอย่างองค์กรตามรัฐธรรมนูญอื่นและให้องค์กรทุกองค์กรมีหน้าที่ต่อรัฐสภาที่มาจากการเลือกตั้ง ความข้อนี้สรุปมาจากข้อเสนอหลายประการของนิติราษฎร์ตั้งแต่ การปฏิรูป สถาบัน กองทัพและสถาบันการเมือง การจัดวางหมวดหมู่ของ รธน ให้มี 4 ส่วนแรกเป็น บททั่วไป สิทธิและเสรีภาพ สถาบันทางการเมืองและองค์กรอิสระ และ การต่อต้านรัฐประหาร ตลอดจนให้ประมุขของรัฐปฏิญาณตนต่อรัฐสภา และ ประธานศาลต้องได้รับการเสนอชื่อจาก ครมและสภาอนุมัติ

ข้อเสนอทั้งหมดมีหลักคิดง่ายๆตามสายโซ่ประชาธิปไตยแบบเลือกตั้ง คือ ปชช เลือก สส. เข้าสภา รัฐสภาจึงเป็นองค์กรสูงสุดที่สถาบันการเมืองและองค์กรอิสระต้องเคารพ โดยลดฐานะของพระมหากษัตริย์ลงเป็นประมุขรัฐที่ต้องปฏิญาณตนต่อรัฐสภา ความที่กล่าวมาจึงต้องจัดวางหมวดหมู่ รธนเสียใหม่ให้ หมวดสิทธิและเสรีภาพนำหน้า หมวดสถาบันการเมืองฯ ซึ่งแน่นอนที่ นิติราษฎร์ต้องการให้สถาบันพระมหากษัตริย์เป็นสถาบันการเมืองหนึ่งในหมวดที่ 3 ตาม รธนแบบนิติราษฎร์ ซึ่งไม่ต่างอะรไจาก รธน ฝรั่ง ซึ่งส่งผลโดยปริยายให้ต้องยุบหมวดที่ 2 พระมหากษัตริย์ที่เป็นบทบัญญัติที่อยู่คู่ รธน ไทยมายาวนานโดยให้ถอยหลังกลับไปสมัย 2475 แทน ความดังกล่าวส่งผลเป็นการลดพระราชฐานะของสถาบันกษัตริย์ เป็นการทำลายนิติประเพณีการปกครองของไทยที่มีมาอย่างยาวนาน ถึงขั้นเปลี่ยนแปลงรูปแบบการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ส่งเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ( รธน 50 ซึ่งสืบทอดบทบัญญัติ รธน ฉบับก่อนๆมาอย่างยาวนาน) กรณีจึงเป็นการล้มล้างการปกครองฯตาม มาตรา 68 วรรคหนึ่งแห่ง รธน 50 ซึ่งสามารถสั่งให้เลิกการกระทำได้โดยยื่นเรื่องให้อัยการและศาล รธน สั่งห้ามการกระทำ ตามวรรคสองของมาตราดังกล่าว

การจัดวางให้สถาบันพระมหากษัตริย์อยู่ในหมวด 3 ตามหลัง หมวดสองเรื่องสิทธิและเสรีภาพแสดงอย่างชัดเจนว่า นิติราษฎร์ต้องการให้พระมหากษัตริย์อยู่หลังรัฐสภาที่มาจาการเลือกตั้ง และการยุบหมวด 2 ของ รธน 50 โดยปริยายทำให้พระมหากษัตริย์กลายเป็นเพียงสัญญลักษณ์ในฐานะประมุขของรัฐโดยสมบูรณ์ เหตุนี่นิติราษฎร์จึงต้องการให้ประมุขของรัฐสาบานตนต่อรัฐสภาที่มาจากการเลือกตั้ง อันเป็นการตอกย้ำความคิดแบบ ลัทธิเลือกตั้ง และรัฐสภาแบบ สุดโต่ง ที่กระทั่งสถาบันพระมหากษัตริย์ยังต้องทรงปฏิญาณตนต่อสภาที่มี สส.อย่าง...(ใส่ชื่อกันเอาเอง) ความคิดดังกล่าวจึงไม่น่าแปลกใจที่นิติราษฎร์ผูกโยงประธานศาล กองทัพ เข้ากับ ครม และรัฐสภา ซึ่งหากเอามาใช้ในสังคมไทยเราที่มีเผด็จการทุนนิยมผูกขาดโดยพรรคการเมือง ซึ่งใช้เงินผ่านการเลือกตั้งขึ้นมาอำนาจโดย ทุกสถาบันต้องอยู่ภายใต้รัฐสภาที่ถูกซื้อ อะไรจะเกิดขึ้นกับประเทศไทย

ต่อไปนี้ ทักษิณ 1 ทักษิณ 2 ไปจนถึงนายทุนต่างๆคงอยู่เหนือทุกสถาบัน นายกรัฐมนตรีไทยก็ไม่ต่างอะไรจาก ประธานาธิบดีผู้เผด็จการ นี่คือการสถาปนาระบอบการปกครองอันน่าสะพรึงกลัว จากนักวิชาการเมาฝิ่นฝรั่งที่ชงชาติบ้านเมืองใส่มือนายทุน ไม่ว่าจะตั้งใจหรือไม่หรือก็ตาม ตื่นจากโรงฝิ่นวิชาการเถอะ อาจารย์ทั้งหลาย

กรอบแนวคิดปราบกบฎ

โดยดร.ไก่ Tanond


ก่อนอื่นใด การที่จะชี้ชัดให้เห็นถึงความผิดพลาดอย่างมหันต์ ของกลุ่มนิติราษฏร์ในทางรัฐศาสตร์นั้น ประกอบด้วย
 
1.โดยหลักของสิทธิของปวงชน - สิทธิในอันที่จะกระทำการใดๆได้โดยเสรี แต่จะต้องไม่ละเมิดสิทธิของผู้อื่นนี้นั้น จะพบว่าถึงแม้กลุ่มนิติราษฏร์ จะมีสิทธิ์มีเสียงในการวิพากษ์วิจารณ์ได้โดยเสรีก็จริงอยู่ แต่ทว่าสิ่งที่ฝ่ายนิติราษฏร์กำลังวิจารณ์อยู่ ได้ก้าวผ่านไปสู่การเรียงร้องกดดันต่อสถาบันฯ ที่ไม่อยู่ในสถานะที่จะออกมาตอบโต้ได้แต่อย่างใด จึงเป็นการเจตนา และจงใจละเมิดสิทธิ์ของสถาบันฯ ที่ก็มีแต่เพียงมาตรา๑๑๒นี้คุ้มครองอยู่ การเรียกร้องกดดันสถาบันฯจึงถือได้ว่าล่วงละเมิด ม.๑๑๒ นี้ไปแล้ว
 
2.โดยหลักของหน้าที่พลเมือง - กลุ่มนิติราษฏร์เอง ก็ไม่ต่างไปจากปวงชนชาวไทยคนอื่นๆ ที่มีหน้าที่ที่จะเคารพและเกรงกลัวต่อกฎหมาย โดยเฉพาะกฎหมายที่ใช้ปกป้องคุ้มครองสถาบันฯ ระบอบการปกครอง และความมั่นคงแห่งรัฐ การออกมาเคลื่อนไำหวกดดันเพื่อแก้ไขมาตรา๑๑๒ ที่มีกฎหมายแม่ หรือ รัฐธรรมนูญคุ้มครองไว้ ทั้งในมาตรา๒และมาตรา๘ของกลุ่มนิติราษฏร์ จึงเป็นการจงใจที่จะล้มล้างสถาบันฯ และระบอบการปกครองรูปแบบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือ Constitutional Monarchy
 
3.กอปรกับเมื่อถึงวันนี้เวลานี้แล้ว สังคมโดยรวม โดยเฉพาะในกลุ่มคนที่ "เสื้อสีไม่แดง" เมื่อได้เข้าใจถึงนิยามและความหมายของคำว่า"การก่อกบฏ" จนได้ทำให้สามารถเห็นภาพของพฤติกรรมดังกล่าวได้ ทั้งจากกลุ่มนิติราษฏร์ในปัจจุบัน และจากกลุ่มคนเสื้อแดงในหลากหลายเหตุการณ์ความรุนแรงทางการเมือง ที่ผ่านมาในช่วง2-3ปี การกระทำที่เข้าข่ายการก่อกบฏ ของกลุ่มคนทั้งสองนี้ จึงเป็นที่วิเคราะห์ได้เด่นชัดขึ้นทุกวัน
 
มาดูกันครับว่า แล้วพวกเราประชาชนจะต่อกรกับการกระทำผิดต่อความมั่นคงแห่งรัฐนี้ได้เช่นไรบ้าง
ก่อนอื่นต้องเข้าใจความสัมพันธ์ของคำ 3 คำนี้ให้ดีนะครับ
 
1.การก่อกบฏ
ความผิดฐานเป็นกบฏ คือ ความผิดอาญาฐานกระทําความผิดต่อความมั่นคงของรัฐภายในราชอาณาจักร โดยใช้กําลังประทุษร้าย หรือ ขู่เข็ญว่าจะใช้กําลังประทุษร้าย เพื่อล้มล้างหรือเปลี่ยนแปลงรัฐ ธรรมนูญ หรือ ล้มล้างอํานาจนิติบัญญัติ อํานาจบริหาร หรือ อํานาจตุลาการ หรือ แบ่งแยกราชอาณาจักร หรือ ยึดอํานาจปกครองในส่วนใดส่วนหนึ่งแห่งราชอาณาจักร
 
2.ความชอบธรรมทางการเมือง
ความชอบธรรมทางการเมือง หมายถึง ความชอบธรรมที่เกี่ยวพันกับความสามารถของระบบที่จะก่อให้เกิด และรักษาไว้ซึ่งความเชื่อที่ว่า การคงอยู่ของสถาบันในระบบเป็นความพึงพอใจสูงสุดของสังคม หรือ อีกนัยหนึ่งก็คือ ไม่ว่าในระบบการเมืองใดก็ตาม ที่สามารถสร้างประสิทธิภาพสูงสุดให้กับสังคมและประชาชน ระบบการเมืองนั้นก็ย่อมมีความชอบธรรมทางการเมืองทั้งสิ้น
 
โดย ไม่ว่าจะเป็นระบบการปกครองแบบกษัตริย์ เผด็จการ คอมมิวนิสต์ หรือ ประชาธิปไตย ปัจจัยสำคัญในการคงอยู่ของความชอบธรรมทางการเมือง จึงมาจากการยอมรับในตัวระบอบการปกครองนั้นๆของประชาชน ซึ่งมีรากฐานมาจากประสิทธิภาพในการดำเนินงานและทำหน้าที่ของกลไกภายในตัวระบบเอง
 
3.รัฐธรรมนูญ มาตรา๗๗
รัฐต้องพิทักษ์รักษาไว้ ซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์ เอกราช อธิปไตย และบูรณภาพแห่งเขตอำนาจรัฐ และต้องจัดให้มีกำลังทหาร อาวุธยุทโธปกรณ์ และเทคโนโลยีที่ทันสมัย จำเป็น และเพียงพอเพื่อพิทักษ์รักษาเอกราช อธิปไตย ความมั่นคงแห่งรัฐ สถาบันพระมหากษัตริย์ ผลประโยชน์แห่งชาติ และการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และเพื่อการพัฒนาประเทศ
 
กรอบแนวคิดการปราบกบฏ จึงมีองค์ประกอบดังนี้ -
การก่อกบฏ - หน้าที่พลเมืองตามรัฐธรรมนูญ มาตรา๗๐ ๗๑ - มาตรการในทางกฎหมาย - ความชอบธรรมทางการเมือง - มาตรการทางการทหาร - รัฐธรรมนูญมาตรา๗๗ 
 
1.มาตรการในทางกฎหมาย
1.1 ฟ้องร้อง และแจ้งความดำเนินคดีต่อกลุ่มนิติราษฏร์ ว่าด้วยการละเมิดมาตรา๑๑๒
1.2 ยื่นเรื่องต่ออัยการสูงสุด เพื่อวินิจฉัยถึงการกระทำผิดต่อมาตรา๒ มาตรา๘ และมาตรา๖๘ ของกลุ่มนิติราษฏร์
1.3 ยื่นฟ้องศาล เพื่อวินิจฉัยการกระทำของแกนนำกลุ่มคนเสื้อแดงที่ผ่านๆมา ว่าเป็นการร่วมกันก่อกบฏ และมีความผิดต่อการละเมิดรัฐธรรมนูญตามข้อ1.2 หรือไม่เช่นไร
1.4 ยื่นเรื่องต่อกองทัพไทย ในประเด็นของข้อ1.3 เพื่อให้เตรียมนำใช้มาตรา๗๗ ในกรณีที่รัฐบาลเพิกเฉยและละเว้นการปฏิบัติหน้าที่
 
ผลที่คาดหวัง -
จาก1.1 หากศาลประทับรับฟ้อง ตามข้อ1.1 กลุ่มนิติราษฏร์จะหมดความชอบธรรม และหยุดกิจกรรมในทันที พร้อมถูกดำเนินคดี
จาก1.2 หากอัยการสูงสุดรับเรื่อง ก็เท่ากับกลุ่มนิติราษฏร์ ได้ละเมิดรัฐธรรมนูญใน3มาตรา ที่มีความสำคัญยิ่ง
จาก1.3 หากศาลประทับรับฟ้อง ต่อพยานหลักฐาน และเอกสารหลักฐานต่างๆ ในช่วงที่เกิดการเผาบ้านเผาเมือง ก็จะเท่ากับเข้าข่ายการก่อกบฏ 
จาก1.4 หากรัฐบาลแข็งขืน จงใจไม่ดำเนินการปราบปรามผู้ก่อกบฏ ก็จะเท่ากับละเมิดกฎหมายในหลายมาตรา รวมทั้งรัฐธรรมนูญ มาตรา๖๘ด้วย ทหารจึงจำต้องนำใช้บทบัญญัติในมาตรา๖๘นี้ เข้าดูแลและควบคุมสถานการณ์ตามที่รัฐธรรมนูญได้กำหนดไว้
 
2.มาตรการทางสังคม
2.1 หากศาลได้มีการประทับรับฟ้องแล้ว การเรียกหาความชอบธรรมทางการเมืองของพวกตน ด้วยการแสดงออกผ่านการเคลื่อนไหวทางสังคม เพื่อประท้วงต่อผู้ที่คิดกระทำผิด  และประท้วงกดดันรัฐบาล ที่ไม่ห้ามปราบ และปราบปรามแต่อย่างใด จริงเสมือนหนึ่งเป็นใจ และจงใจให้เกิดการก่อกบฏขึ้นในราชอาณาจักร
 
ผลที่คาดหวัง - ภาคประชาชนได้สามารถร่วมกันทำหน้าที่พลเมือง ตามความในรัฐธรรมนูญมาตรา๖๘ และอ้างอิงถึงหลักการของความชอบธรรมทางการเมือง ได้โดยบริสุทธิ์ใจในการออกมาเรียกร้องกดดัน ขับไล่กลุ่มคนที่ก่อการกบฏ 
 
3.มาตรการทางการทหาร
3.1 หากศาลมีการประทับรับฟ้อง และประชาชนได้ออกมาเคลื่อนไหว เพื่อเรียกหาความชอบธรรมทางการเมืองของพวกตนแล้ว ทหารก็จำต้องนำใช้รัฐธรรมนูญ มาตรา๗๗ หากพบว่ารัฐบาลเพิกเฉย หรือ เป็นใจต่อการกระทำที่เป็นกบฏดังกล่าว อย่างหลีกเลี่ยงมิได้
 
ผลที่คาดหวัง - กองทัพได้นำใช้รัฐธรรมนูญมาตรา๗๗ เพื่อทำหน้าที่พิทักษ์รักษาไว้ซึ่งอำนาจอธิปไตย สถาบันฯ ระบอบการปกครอง ความมั่นคงแห่งรัฐ ตลอดจนพิทักษ์ความปลอดภัยของภาคประชาชน ที่ออกมาทำหน้าที่พลเมือง แสดงออกถึงความชอบธรรมทางการเมืองของพวกตน


รีโมท ซื้อ รีโมท จากผู้ค้าส่งโดยตรง ที่มีหน้าร้านจริง ที่ บ้านหม้อ และ คลองถม ราคาถูกกว่าใคร ปลอดภัย มีรับประกัน

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

บทความย้อนหลัง