บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันอังคารที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

นิยามและความเป็นจริงในเรื่องของ " ในหลวงทรงตรากฎหมาย "

ภายใต้ระบอบ Constitutional Monarchy หรือ พระมหากษัตริย์ทรงอยู่ใต้รัฐธรรมนูญนั้น ในส่วนของการออกกฎหมาย โดยรัฐสภา(ตามระบบการเมือง) และโดยพระมหากษัตริย์ (ในฐานะประมุขแห่งรัฐ) ที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับกฎหมาย 3 ประเภท กล่าวคือ

 

1.พรบ. พระราชบัญญัติ - เป็นกฎหมายที่ออก ที่แก้ไขเปลี่ยนแปลง ที่ถูกยกเลิก โดยภารหน้าที่โดยตรงของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

 

2.พรฎ. พระราชกฤษฎีกา - เป็นกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นโดยอาศัยอำนาจตามรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ หรือ พระราชกำหนด เพื่อใช้ในการบริหารราชการแผ่นดิน

 

 

3.พรก. พระราชกำหนด Emergency Decree;Royal ordinance คือ กฎหมายที่บัญญัติโดยฝ่ายบริหาร(คณะรัฐมนตรี)โดยพระมหากษตริย์ทรงให้คำแนะนำ โดยมีผลทันทีที่ประกาศใช้ และให้ผ่านสภาในภายหลัง ตามที่รัฐธรรมนูญให้อำนาจไว้ พระราชกำหนดมีอยู่ 2 ประเภท คือ

1. พระราชกำหนดทั่วไป เป็นกรณีที่ตราพระราชกำหนดเพื่อประโยชย์ในอันที่จะรักษาความปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ ความจำเป็นรีบด่วนอันมิอาจหลีกเลี่ยงได้ และ

2. พระราชกำหนดเกี่ยวกับภาษีและเงินตรา เป็นกรณีที่ตราพระราชกำหนดเกี่ยวกับภาษีอากรหรือเงินตรา ซึ่งต้องได้รับการพิจารณาโดยด่วนและลับเพื่อรักษาประโยชน์ของแผ่นดินใน ระหว่างสมัยประชุมสภา

 

หากเราพิจารณากันให้ดี จะพบว่า กฎหมายประเภทที่1.และ 3.นั้น ที่มา ผู้ออก กระบวนการตรากฎหมายนั้นค่อนข้างชัดเจนตามนิยามและความหมาย ว่าพรบ.ออกหรือตราขึ้นโดยสภานิติบัญญัติ ส่วน พรก.นั้นออกโดยรัฐบาล ..แต่สำหรับประเภทที่2พรฎ.พระราชกฤษฎีกานี่ซิ(ที่มีศักดิ์ของกฎหมายอยู่อันดับ2ตามไปด้วย) ที่ระบุชัดว่าพระเจ้าอยู่หัวทรงตราขึ้น หรือ เป็นผู้ออก แต่แล้วทำไม? พระองค์ท่านถึงมิได้เป็นผู้ออกตามนิยามและความเป็นจริงเลยแม้แต่ฉบับเดียว ในยุคสมัยหลังๆมานี่ และยิ่งซ้ำร้ายที่ พรฎ.นี้ ได้กลับกลายเป็นฝ่ายบริหาร(รัฐบาล)เป็นผู้ยกร่าง-เห็นชอบ-ผ่านขั้นตอนการตรวจสอบ-แล้วจึงส่งให้พระองค์ท่านทรงลงพระปรมาภิไธย

 

..ปัญหาจึงเกิดขึ้นที่ตรงนี้เรื่อยมา ..ไม่เว้น"พรฎ.อภัยโทษ"(ที่กำลังแฝงการเปลี่ยนอภัยโทษ เป็นนิรโทษกรรมเพื่อเอื้อต่อการเมืองและเอื้อต่อทักษิณตามไปด้วย) การคิดมิดีมิร้ายนี้เกิดขึ้นได้ก็เพราะรัฐบาลนี้เป็นผู้ชง เป็นผู้ใส่เจตนา เป็นผู้ใส่สิ่งที่ตนประสงค์ เขาไปในเนื้อหาของพรฎ.(ที่ปชป.ก็ดันไปแก้นำร่องไว้ให้ ทำไม???) โดยไม่ได้คำนึงถึงพระทัยของพระองค์ท่านเลยแม้แต่น้อย ..ทุกอย่างกำลังตกอยู่ภายใต้พระราชวินิจฉัย พระราชอำนาจ ที่ถูกรัฐบาลนี้จงใจแกล้ง หรือ จงใจที่จะทำให้พระองค์ท่าน .."กลืนไม่เข้าคายไม่ออก" แบบในระบบ เนื่องเพราะพวกตนถืออำนาจอยู่ในระบบ จึงต้องใช้วิธีที่เป็นไปตามระบบ (ซึ่งต่างกลับเมื่อครั้งเผาบ้านเผาเมือง ที่อยู่นอกระบบ ไม่มีอำนาจรัฐ จึงจงใจเผา เพื่อต้องการให้เกิด "พฤษภาทมิฬ โมเดล" เพื่อให้เกิดการยุติศึก หันเข้าหากันเพื่อเจราจาและได้เริ่มต้นกันใหม่ เมื่อพฤษภาทมิฬนี้ไม่บังเกิด ฝ่ายเสื้อแดงจึงโกรธแค้นกันยกใหญ่ ..เรื่อยมาจนถึงทุกวันนี้ ที่พวกเราทราบๆกันอยู่)

 

กลับมานิยามและความเป็นจริงที่ว่า...หากพรฎ. เป็น อยู่ คือ สิ่งพระมหากษัตริย์ทรงออก หรือ ทรงตราขึ้นได้เองจริงๆ ปัญหาล่าสุดนี้ในเรื่องของเนื้อหาการอภัยโทษ สำหรับวันที่5ธันวาที่จะถึงนี้ จะเกิดขึ้นมาได้ไหม? ไม่มีทางหรอกครับ!เพราะทุกอย่างจะเป็นไปขั้นตอนที่ปฏิบัติสืบทอดกันมาตามราชประเพณี

อีกทั้งปัจจัย/เงื่อนไข ที่ได้ทำให้พระองค์ท่านทรงออกพรฎ.นี้เองมิได้ตามนิยามและความหมาย ..ผมเองก็เคยถามอาจารย์ผู้สอนมาแต่ไหนแต่ไรแล้วว่าถึงเป็นเช่นนั้น..คำตอบที่ได้ก็มักจะวนๆอยู่แนวๆเพราะ "ทรงอยู่ใต้รัฐธรรมนูญ" หรือไม่ก็ "ผู้รับสนองพระราชโองการ..ต้องรับผิดหากมีอะไรไม่ดีไม่งามเกิดขึ้นตามมาในภายหลัง"..

 

สรุป - ก็คือ พระองค์ท่านกำลังโดนแกล้ง กำลังโดนถูกทำให้หลังชนฝา และกำลังโดนถูกทำให้เป็นเป้านิ่งในการตัดสินพระทัย แบบกลืนไม่เข้าคายไม่ออก ถูกมัดมือชกกันนะขอรับ

 

เส้นแบ่งระหว่างการเมืองภาคประชาชน กับ สังคมการเมือง ที่ควรจะเป็น!

 

(1) --------------- สังคมคมการเมือง ----------------

ในกรณีลงคะแนนเลือกตั้ง / ประชามติ / การมีส่วนร่วมทางการเมือง

 

เส้น***********************************************แบ่ง

 

(2) ------------การเมืองภาคประชาชน ---------------

   เมื่อจบภารหน้าที่พลเมืองตามข้อ1. ควรกลับสู่สถานะนี้

  เพื่อตรวจสอบการทำหน้าที่ของฝ่ายการเมือง ที่จะสามารถ

  แยกแยะความถูก-ผิดและมองปัญหาที่เกิดได้อย่างไร้อคติ      


ดร.ไก่ Tanond
รีโมท ซื้อ รีโมท จากผู้ค้าส่งโดยตรง ที่มีหน้าร้านจริง ที่ บ้านหม้อ และ คลองถม ราคาถูกกว่าใคร ปลอดภัย มีรับประกัน

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

บทความย้อนหลัง