บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันศุกร์ที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ว่าด้วยเรื่อง พรบ.ปรองดอง

Boon Wattanna

หมายเหตุ-หลังจากที่ ส.ส.พรรคเพื่อไทยและ ส.ส.พรรคร่วมรัฐบาล
ได้เสนอร่าง พ.ร.บ.เพื่อความปรองดองแห่งชาติ 4 ฉบับที่มีบทบัญญัติ
มุ่งที่จะนิรโทษกรรมบุคคล 4 กลุ่มคือ
กลุ่มผู้ชุมนุมระหว่างวันที่ 15 กันยายน 2548 - 10 พฤษภาคม 2548 ,
เจ้าหน้าที่รัฐซึ่งมีอำนาจหน้าที่ในการระงับเหตุ รักษาความสงบ
ผู้ถูกถูกกล่าวหา และดำเนินการจากองค์กรหรือคณะบุคคลจากคำสั่งของ
คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์
ทรงเป็นประมุข(คปค.),และผู้ที่ถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งจากคำวินิจฉัย
ยุบพรรค

เพื่อให้ข้อมูลว่า ในอดีตว่าประเทศไทยมีการตรากฎหมายนิรโทษกรรม
มาแล้วกี่ฉบับ จึงตรวจสอบพบว่า มีการตรากฎหมายนิรโทษกรรมไปแล้ว
23 ฉบับตั้งแต่ พ.ศ.2475 แบ่งเป็นพระราชบัญญัติจำนวน 19 ฉบับ
พระราชกำหนด 4 ฉบับดังนี้

1.พระราชกำหนดนิรโทษกรรมในคราวเปลี่ยนแปลงการปกครองแผ่นดิน พุทธศักราช 2475

2.พระราชบัญญัตินิรโทษกรรม ในการจัดการให้คณะรัฐมนตรีลาออกเพื่อให้มีการเปิดสภาผู้แทนราษฎรตามรัฐธรรมนูญ พุทธศักราช 2476

3.พระราชกำหนดนิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำความผิดฐานกบฏและจลาจล พุทธศักราช 2488

4.พระราชบัญญัติอนุมัติพระราชกำหนดนิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำความผิดฐานกบถและจราจล พุทธศักราช 2488 พุทธศักราช 2488

5.พระราชบัญญัตินิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำการต่อต้านการดำเนินการสงครามของญี่ปุ่น พุทธศักราช 2489

6.พระราชบัญญัตินิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำรัฐประหาร พ.ศ. 2490

7.พระราชบัญญัตินิรโทษกรรมแก่ผู้ที่ได้นำรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2475 กลับมาใช้ พ.ศ. 2494

8.พระราชบัญญัตินิรโทษกรรมในโอกาสครบ 25 พุทธศตวรรษ พ.ศ. 2499

9.พระราชบัญญัตินิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำการยึดอำนาจการบริหารราชการแผ่นดิน เมื่อวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2500 พ.ศ. 2500

10.พระราชบัญญัตินิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำการปฏิวัติ เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2501 พ.ศ. 2502

11.พระราชบัญญัตินิรโทษกรรมในโอกาสครบ 25 พุทธศตวรรษ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2502

12.พระราชบัญญัตินิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำการปฏิวัติ เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514 พ.ศ. 2515

13.พระราชบัญญัตินิรโทษกรรมแก่นักเรียน นิสิต นักศึกษาและประชาชน ซึ่งกระทำความผิดเกี่ยวเนื่องกับการเดินขบวน เมื่อวันที่13 ตุลาคม พ.ศ. 2516 พ.ศ. 2516

14.พระราชบัญญัติยกเลิกคำสั่งของหัวหน้าคณะปฏิวัติ ที่ 36/2515 ลงวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2515 พ.ศ. 2517

15.พระราชบัญญัตินิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำการยึดอำนาจการปกครองประเทศ เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 พ.ศ. 2519

16.พระราชบัญญัตินิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำการยึดอำนาจการปกครองแผ่นดิน เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2520 พ.ศ.2520

17.พระราชบัญญัตินิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำการอันเป็นความผิดต่อความมั่นคงของรัฐภายในราชอาณาจักร ระหว่างวันที่ 25 และวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2520 พ.ศ. 2520

18.พระราชบัญญัตินิรโทษกรรมแก่ผู้ซึ่งกระทำความผิดเนื่องในการชุมนุมในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ระหว่างวันที่ 4 ถึงวันที่ 6 ตุลาคม 2519 พ.ศ. 2521

19.พระราชบัญญัตินิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำการยึดและควบคุมอำนาจการปกครองแผ่นดิน เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 พ.ศ. 2534

20.พระราชกำหนดนิรโทษกรรมแก่ผู้ก่อความไม่สงบเพื่อยึดอำนาจการปกครองแผ่นดินระหว่างวันที่ 31 มีนาคม ถึงวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2524 พ.ศ. 2524

21.พระราชบัญญัตินิรโทษกรรมแก่ผู้ก่อความไม่สงบเพื่อยึดอำนาจการปกครองแผ่นดิน ระหว่างวันที่ 8 และวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2528 พ.ศ. 2531

22.พระราชบัญญัตินิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำการอันเป็นความผิดต่อความมั่นคงของรัฐภายในราชอาณาจักร ตามประมวลกฎหมายอาญาและความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ พ.ศ. 2532

23.พระราชกำหนดนิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำความผิดเนื่องในการชุมนุมกัน ระหว่างวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 ถึงวันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 พ.ศ. 2535

ที่มา คณะกรรมการพัฒนากฎหมาย สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา http://www.lawreform.go.th/lawreform/index.php?option=com_lawreform&task=showlaw&hidemainmenu=1&lid=316&gid=6&Itemid=1

เท่าที่ผ่านมา นิรโทษกรรม มีสองแบบ
แบบแรก คือ โล๊ะคดีเล็กๆ คดีมโนสาเร่ เพื่อให้กลับมาสู่ระบบ
แบบที่สอง คือ นิรโทษกรรมของผู้ทำรัฐประหารและผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย เพื่อให้เอาโทษย้อนหลังไม่ได้
แต่ในกรณีนิรโทษกรรมที่ย้อนหลังไปถึงคดีที่ศาลตัดสินแล้ว อันนี้เป็นอันแรก

เมื่อ พล.อ.สนธิ บุญยกลิน ได้เสนอร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยความปรองดองแห่งชาติเข้าสู่สภา โดยมีหลักการและเหตุผลว่าโดยที่ได้เกิดเหตุการณ์ความไม่สงบและความรุนแรง ในประเทศในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา โดยเฉพาะเหตุการณ์ความรุนแรงเมื่อเดือนเมษายน- พฤษภาคม 2553 จนนำไปสู่การสูญเสียชีวิต การบาดเจ็บทางร่างกายและจิตใจ ผู้ต้องหาหรือจำเลยจึงไม่ใช่เป็นผู้ร้ายหรืออาชญากรดังเช่นคดีอาญาปกติ………จึงสมควรใช้หลักเมตตาธรรมด้วยการให้อภัยและให้โอกาสกับทุกฝ่าย ซึ่งล้วนมีเจตนาดีต่อชาติบ้านเมือง อันเป็นไปตามประเพณีที่ประเทศไทยเคยปฏิบัติมาแล้วหลายครั้ง

โดยมีหลักการและเหตุผลว่าโดยที่ได้เกิดเหตุการณ์ความไม่สงบและความรุนแรง ในประเทศในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา โดยเฉพาะเหตุการณ์ความรุนแรงเมื่อเดือนเมษายน- พฤษภาคม 2553 จนนำไปสู่การสูญเสียชีวิต การบาดเจ็บทางร่างกายและจิตใจ ผู้ต้องหาหรือจำเลยจึงไม่ใช่เป็นผู้ร้ายหรืออาชญากรดังเช่นคดีอาญาปกติ………จึงสมควรใช้หลักเมตตาธรรมด้วยการให้อภัยและให้โอกาสกับทุกฝ่าย ซึ่งล้วนมีเจตนาดีต่อชาติบ้านเมือง อันเป็นไปตามประเพณีที่ประเทศไทยเคยปฏิบัติมาแล้วหลายครั้ง
และเป็นไปตามมาตรฐานสากลด้วยการนิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำความผิด อันมีสาเหตุจากความขัดแย้งทางการเมืองที่ได้กระทำระหว่างวันที่ 15 กันยายน 2548 จนถึงวันที่ 10 พฤษภาคม 2554 ฯลฯ โดยในร่างพ.ร.บ.ดังกล่าวมี 8 มาตรา ซึ่งเนื้อหาสาระทั้ง 8 มาตรานี้ เป็นกฎหมายที่มีลักษณะเป็นคำพิพากษาของศาล เพราะชี้การกระทำความผิด ความถูก ของบุคคลโดยไม่มีกระบวนการพิจารณา หรือมีพยานหลักฐานแต่อย่างใด เป็นกฎหมายที่เหนือกว่ากฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันและเหนือกฎหมายรัฐธรรมนูญ เช่น มาตรา 3 บัญญัติให้ การกระทำใดที่เป็นความผิดตามกฎหมาย ให้การกระทำนั้นไม่เป็นความผิดต่อไป และให้ผู้กระทำการนั้นพ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิดและความรับผิดโดยสิ้นเชิง โดยไม่มีบทนิยาม ( Definition )

ว่าการกระทำหรือการแสดงออกที่เกี่ยวเนื่องกับการชุมนุมในทางการเมืองตั้งแต่วันที่ 15 กันยายน 2548 ถึงวันที่ 10 พฤษภาคม 2554 นั้น มีขอบเขตอย่างไร เกิดขึ้น ณ ที่ใด หรือการกระทำอะไร ที่เรียกว่า “การกระทำที่เกี่ยวเนื่องกับการชุมนุมในทางการเมือง” เมื่อไม่มีคำนิยามดังกล่าว จึงไม่อาจกำหนดการกระทำใดๆ เป็นการกระทำความผิดที่จะอยู่ในข่ายที่จะให้การกระทำนั้นไม่เป็นความผิดตามกฎหมายได้ การกำหนดการชุมนุมในทางการเมืองที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาดังกล่าว เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย จึงเป็นการออกกฎหมายมาลิดรอนสิทธิและเสรีภาพของประชาชน

และมาตรา 8 บัญญัติให้นายกรัฐมนตรีเป็นผู้รักษาการตามพ.ร.บ.ความปรองดองฯ พ.ร.บ.ความปรองดองฯหากออกใช้บังคับก็เป็นระบบเผด็จการที่ฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหารจะทำอะไรก็ได้ตามใจชอบ โดยออกกฎหมายมาใช้บังคับ และเมื่อการเมืองเป็นระบบพรรคแล้ว การออกกฎหมายมาใช้บังคับโดยอาศัยเสียงข้างมากเพียงอย่างเดียว ก็จะทำให้สภาสามารถออกกฎหมายมาทำลายระบบพื้นฐานการปกครองในระบบรัฐสภาได้ คือ ออกกฎหมายมาทำลายระบอบประชาธิปไตยอันเป็นหลักการปกครองประเทศให้สิ้นซากไปได้โดยทางรัฐสภา และนั่นก็คือ การยึดอำนาจหรือการกบฏทางรัฐสภา

การเสนอร่างกฎหมาย ผู้เสนอและผู้รับร่างกฎหมายเพื่อพิจารณาในสภานั้น จะต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ ความสามารถที่จะพิจารณาได้ว่า ร่างกฎหมายนั้น เป็นอำนาจหน้าที่ที่ของผู้เสนอร่างกฎหมายหรือไม่ และมีอำนาจหน้าที่ที่จะรับร่างไว้พิจารณาในสภาได้หรือไม่ ผู้เสนอร่างและผู้รับร่างกฎหมายจะถือเอาแต่เฉพาะ “ วิธีการเสนอ ” ( Process ) โดยนับจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวนไม่น้อยกว่ายี่สิบคนตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญมาตร142 (2) แล้วจะถือว่าเป็น “อำนาจหน้าที่” ที่จะเสนอและเป็น “อำนาจหน้าที่” ที่จะพิจารณาออกกฎหมายนั้น หาอาจกระทำได้ไม่ เพราะ “ วิธีการเสนอ” ร่างกฎหมายกับ “ อำนาจหน้าที่” นั้น เป็นคนละเรื่องคนละกรณีกัน “ วิธีการเสนอ” ร่างกฎหมายไม่ใช่เป็น อำนาจหน้าที่ที่จะเสนอให้ออกกฎหมายมาใช้บังคับได้

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจะมีอำนาจหน้าที่ที่จะเสนอกฎหมายให้สภาพิจารณาได้หรือไม่ จะต้องเป็นอำนาจหน้าที่ที่รัฐธรรมนูญหรือกฎหมายบัญญัติให้อำนาจหน้าที่ไว้ เพราะสมาชิกสภาเป็น “ ผู้พิจารณาออกกฎหมาย ” เพื่อใช้บังคับกับประชาชน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจึงไม่มีอำนาจหน้าที่โดยตนเองที่จะเป็น “ ผู้เสนอกฎหมายเพื่อให้ตนเองเป็นผู้พิจารณาออกกฎหมายเองได้ ” อำนาจในการเสนอกฎหมายเพื่อให้ตนเองพิจารณาจึงถูกจำกัดโดยสภาพของการเป็นผู้พิจารณาออกกฎหมาย ซึ่งเป็นหลักการในระบอบประชาธิปไตยขั้นพื้นฐานในหลักการขัดกันแห่งผลประโยชน์ที่สมาชิกสภาจะต้องทราบถึงสถานะของตนเองในฐานะเป็นผู้พิจารณากฎหมายที่จะออกใช้บังคับเอง

แม้การพิจารณาในสภาของสมาชิกสภา รัฐธรรมนูญยังได้กำหนดขอบเขตของการดำเนินการประชุมหรือการพิจารณาของสมาชิกสภาไว้ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา127 วรรคสี่ โดยกำหนดให้สภาดำเนินการประชุมได้เฉพาะในกรณีที่บัญญัติไว้ในหมวด 2 ( พระมหากษัตริย์ ) หรือการพิจารณาร่างพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ หรือร่างพ.ร.บ.อนุมัติพระราชกำหนด และการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเท่านั้น เมื่อรัฐธรรมนูญได้กำหนดจำกัดอำนาจหน้าที่ในการพิจารณาของสภาไว้ การเสนอร่างกฎหมายของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการรับร่างกฎหมายไว้พิจารณาจึงถูกจำกัดให้มีได้เท่าที่จะมีอำนาจในการพิจารณากฎหมายได้เท่านั้น ซึ่งต้องไม่ขัดต่ออำนาจของฝ่ายบริหาร และไม่ขัดต่อแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ

แม้รัฐธรรมนูญไม่ได้ห้ามการเสนอร่างกฎหมายของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรโดยตรง แต่การเสนอออกกฎหมายของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจะเสนอออกกฎหมายได้จะต้องเป็นไปตาม “แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ” เพื่อให้สอดคล้องกับ “อำนาจบริหาร” และ “ อำนาจตุลาการ ” ตามที่บัญญัติไว้ตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ ซึ่งเป็นไปตามหลักการเบื้องต้นของระบอบประชาธิปไตยเท่านั้น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไม่มี “ อำนาจหน้าที่ ” ที่จะเสนอให้สภาออกกฎหมายได้ตามอำเภอใจ หรือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไม่มี “อำนาจหน้าที่” ที่จะเสนอกฎหมายให้ตนเองเป็นผู้พิจารณาออกกฎหมายได้ตามอำเภอใจ

เมื่อ พ.ร.บ.ความปรองดองฯ เป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรม ผู้เสนอร่างกฎหมายจะเสนอได้ก็แต่เฉพาะร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งองค์กรเพื่อการปฏิรูปกฎหมาย และร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งองค์กรเพื่อการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม ตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 81 ( 3 ) (4) เท่านั้น

การเสนอร่างพ.ร.บ.ความปรองดองฯ ที่มีผลยกเลิกการกระทำความผิด ให้การกระทำนั้นไม่เป็นความผิดอีกต่อไป ยกเลิกระบวนการยุติธรรมที่กำลังดำเนินการอยู่ทั้งปวงให้ยุติลงโดยคดีที่อยู่ในระหว่างการสอบสวนก็ให้ระงับการสอบสวน คดีอยู่ในระหว่างการฟ้องคดีก็ให้พนักงานอัยการหรือองค์กรที่เกี่ยวข้องระงับการฟ้องหรือถอนฟ้อง ถ้าคดีอยู่ในระหว่างการดำเนินคดีก็ให้ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดี หรือถ้ามีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้วก็ให้ถือว่าผู้นั้นไม่เคยต้องคำพิพากษาว่าเป็นผู้กระทำความผิด และถ้าผู้นั้นอยู่ในระหว่างการรับโทษก็ให้การลงโทษนั้นสิ้นสุดลงและปล่อยตัวผู้นั้น จึงเป็นการเสนอกฎหมาย โดยไม่มี “ อำนาจหน้าที่

แต่เป็นการเสนอกฎหมายเพื่อเอื้อประโยชน์ให้แก่บุคคลเฉพาะกลุ่ม เฉพาะคนที่จะไม่ต้องถูกกฎหมายใช้บังคับ และไม่บังคับใช้กฎหมายกับกลุ่มบุคคลหรือกับบุคคลใดโดยเฉพาะเท่านั้น พ.ร.บ.ความปรองดองฯจึงเป็นกฎหมายที่นอกจากจะริดรอนสิทธิและเสรีภาพของบุคคลแล้ว ยังเป็นกฎหมายที่ขัดต่อสิทธิและเสรีภาพของประชาชนโดยรวม เพราะทำให้เกิดความไม่เสมอภาคกันในกฎหมายและได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายไม่เท่าเทียมกัน เป็นการเลือกปฏิบัติต่อบุคคลซึ่งมีความคิดเห็นในทางการเมืองอย่างไม่เท่าเทียมกัน เพราะไม่มีการพิจารณาเลยว่า ความคิดเห็นในทางการเมืองที่จะได้รับความคุ้มครองตามพ.ร.บ.ความปรองดองฯนั้น เป็นความคิดเห็นที่ไม่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 30หรือไม่ เพราะการให้ความคุ้มครองกับการกระทำของบุคคลที่มีความคิดเห็นในทางการเมืองได้นั้น ความคิดเห็นทางการเมืองหรือที่เกี่ยวข้องกับการเมืองนั้น ต้องเป็นความคิดเห็นที่ไม่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 30 ดังกล่าวด้วย

และหากบุคคลที่ได้ประโยชน์จากพ.ร.บ.ความปรองดองฯดังกล่าว เป็นบุคคลที่ได้กระทำการอันกฎหมายบัญญัติเป็นความผิดและกำหนดโทษไว้ และกฎหมายที่บัญญัติเกี่ยวกับการกระทำความผิดดังกล่าวยังมีผลใช้บังคับอยู่ในขณะออกพ.ร.บ.ความปรองดองฯ พ.ร.บ.ความปรองดองดังกล่าวฯ จึงเป็นกฎหมายที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 39 เพราะรัฐธรรมนูญมาตรา 39 บัญญัติให้บุคคลไม่ต้องรับโทษทางอาญา เว้นแต่ได้กระทำการอันกฎหมายที่ใช้อยู่ในเวลาที่กระทำนั้นบัญญัติเป็นความผิดและกำหนดโทษไว้ แต่พ.ร.บ.ความปรองดองฯบัญญัติให้ผู้กระทำความผิดกลับไม่ต้องรับโทษทางอาญา อันเป็นการใช้อำนาจนิติบัญญัติยกเลิกความผิดของผู้กระทำความผิดอาญา และที่ต้องรับผิดในทางแพ่งอีกด้วย

พ.ร.บ.ความปรองดองฯที่เข้าสู่สภาในขณะนี้เป็นกฎหมายที่มีลักษณะเช่นเดียวกันกับกฎหมายสากลที่เรียกว่า Bill of attainder และ Bill of pains and penalties ซึ่งเป็นที่รู้และยอมรับกันในสากลว่าเป็นกฎหมายที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ ต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งจะออกใช้บังคับไม่ได้และเป็นโมฆะ การเสนอร่างพ.ร.บ.ความปรองดองฯ การรับร่างพ.ร.บ.ความปรองดองฯเข้าสู่การประชุมของสภา การพิจารณาร่างพ.ร.บ.ความปรองดองฯของสภา ( หากมีการดำเนินการพิจารณาต่อไป) ก็เป็นการร่วมกันปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ชอบ ร่วมกันปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต และร่วมกันปฏิบัติหน้าที่โดยขัดต่อรัฐธรรมนูญ ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 30 , 39 และ ฯลฯ

3 ชั่วโมงที่แล้ว · ถูกใจ · 1
รีโมท ซื้อ รีโมท จากผู้ค้าส่งโดยตรง ที่มีหน้าร้านจริง ที่ บ้านหม้อ และ คลองถม ราคาถูกกว่าใคร ปลอดภัย มีรับประกัน

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

บทความย้อนหลัง