บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันอาทิตย์ที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2555

ทักษิณ-ปูแดงเหิมหนัก เวนคืนที่ดินวังสระปทุมใจกลาง กทม.มีผลวันนี้


  by Canไทเมือง ,


(ภาพโดยขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด)
ผู้ สื่อข่าว มติชนออนไลน์ รายงานว่า วันนี้  ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๕ พระราชกฤษฎีกา กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ในท้องที่เขตราชเทวี และเขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๕๔  มีผลบังคับใช้
ทั้งนี้ เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากการทางพิเศษแห่งประเทศไทย ได้ทำการสำรวจเขตที่ดินเพื่อเวนคืนตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณ ที่ที่จะเวนคืน ในท้องที่เขตราชเทวี และเขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๕๐ เพื่อสร้างทางพิเศษสายแจ้งวัฒนะ – บางโคล่ ยังไม่แล้วเสร็จ
สมควรกำหนด เขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ในท้องที่เขตราชเทวี และเขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร เพื่อให้เจ้าหน้าที่หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่มีสิทธิเข้าไปทำ การสำรวจและเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับ อสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนที่แน่นอน จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้
บทบัญญัติและ มาตราสำคัญ มีดังนี้
 มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ ที่จะเวนคืน ในท้องที่เขตราชเทวี และเขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๕๔”
มาตรา ๒ พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๕ เป็นต้นไป
มาตรา ๓ พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับได้มีกำหนดสี่ปี
มาตรา ๔ ที่ดินที่จะเวนคืนตามพระราชกฤษฎีกานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ในการสร้างทางพิเศษ สายแจ้งวัฒนะ – บางโคล่
มาตรา ๕ ให้ผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทยเป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนตาม พระราชกฤษฎีกานี้
มาตรา ๖ เขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนตามพระราชกฤษฎีกานี้ อยู่ในท้องที่เขตราชเทวีและเขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร มีส่วนแคบที่สุดสามร้อยห้าสิบเมตร และส่วนกว้างที่สุดหกร้อยเมตร ทั้งนี้ ภายในแนวเขตตามแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกานี้
มาตรา ๗ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
นายกรัฐมนตรี

ประกาศในราชกิจานุเบกษา (คลิก)
เรืองเดิม

อ้างมา
ทางด่วนเวนคืนที่ดินกลางกรุง ราชเทวี-ปทุมวัน ชุมชนบ้านครัวโดนด้วย

การ ทางพิเศษแห่งประเทศไทยรับ ผิดชอบการเวนคืนที่ดินบริเวณเขตราชเทวี และเขตปทุมวัน กรุงเทพฯ สร้างทางด่วยสายแจ้งวัฒนะ- บางโคล่ เริ่มตั้งแต่ 1 ม.ค.นี้ ผ่านซอยพญานาคซึ่งเป็นที่ตั้งของชุมชนบ้านครัวผู้สื่อข่าวรายงานว่า มีการประกาศพระราชกฤษฎีกาเมื่อวันที่ 7 มกราคม 2551 กำหนดเขตที่ดินบริเวณที่จะเวนคืนในท้องที่เขตราชเทวี และเขตปทุมวัน กรุงเทพฯ เพื่อสร้างทางการพิเศษสายแจ้งวัฒนะ-บางโคล่ มีผลเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2551 ใช้บังคับนาน 4 ปี โดยให้ผู้ว่าการทางพิเศษแห่งประเทศไทยเป็นเจ้าหน้าที่เวนคืน มีส่วนที่แคบที่สุดสามร้อยห้าสิบเมตรและส่วนที่กว้างที่สุดหกร้อยเมตร โดยพื้นที่ที่ถูกเวนคืนเริ่มตั้งแต่ ถ.พระราม 6 ตัดตรงผ่านซ.พญานาค ทะลุถ.ราชปรารภบรรจบทางพิเศษเฉลิมมหา นคร บริเวณถนนเพลินจิตตัดกับถนนวิทยุสำหรับ เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ เนื่องจากการทางพิเศษแห่งประเทศไทยไห้ทํา การสำรวจเขตที่ดินเพื่อเวนคืนตามพ.ร.ก. กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ในท้องที่เขตราชเทวีและเขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร พ.ศ.2546 เพื่อสร้างทางพิเศษสายแจ้งวัฒนะ- บางโคล่ ยังไม่แล้วเสร็จ สมควรกำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่เขตราชเทวีและเขต ปทุมวัน กรุงเทพฯ เพื่อให้เจ้าหน้าที่หรือผู้ซึ่งได้รับ มอบหมายจากเจ้าหน้าที่มีสิทธิเข้าไปทําการสำรวจเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยว กับอสังหาริมทรัพย์จะต้องเวนคืนที่แน่นอน จึงจำเป็นต้องตราพ.ร.ก.นี้

รายงาน ข่าวว่าการเวนคืนที่ดินสร้างทางพิเศษยังครอบคลุมพื้นที่ชุมชนบ้านครัว ซึ่งเคยมีกรณีพิพาทกันตั้งแต่สมัย พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ เป็นนายกรัฐมนตรีเมื่อปี พ.ศ. 2536 โดยในสมัย นายชวน หลีกภัย เป็นนายกรัฐมนตรี ปี 2539 ได้มีการจัดทํา ประชาพิจารณ์ เนื่องจากเกิดความขัดแย้งระหว่างหน่วยงาน ของรัฐกับประชาชนชุมชนบ้านครัว อันเนื่องมาจากโครงการทางด่วนแยกอุรุพงษ์ - ราชดำริ ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย โดยชาวชุมชนบ้านครัวได้ร่วมกับชุมชนเพื่อนบ้านใกล้เคียงต่อสู้คัดค้าน โครงการดังกล่าวมานานกว่า 16 ปีตั้งแต่สมัยที่ พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยซึ่งรับผิดชอบการทางพิเศษแห่งประเทศไทย ให้ใช้มาตรการดังกล่าวเพื่อพิจารณาถึงความสมประโยชน์และความจำเป็นของ โครงการ เมื่อวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2536 โดยเรียกร้องให้ตั้งคณะกรรมการที่เป็นกลางขึ้นชุดหนึ่ง ทําหน้าที่ดำเนินการไต่สวนหา ข้อเท็จจริง และให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทยประกาศชี้แจงแผนงาน เอกสารข้อเท็จจริง พร้อมทั้งขอมีส่วนร่วมในการไต่ถามและเสนอพยานหลักฐานและข้อมูลโต้แย้ง ตลอดจนให้การดำเนินการดังกล่าวกระทํา โดยเปิดเผยต่อสาธารณชน และเสนอผลให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยหรือรัฐบาลตัดสินชี้ขาดอีกครั้ง โดยไม่ผูกพันตามความคิดเห็นของฝ่ายใด แต่ให้ชี้แจงเหตุผลอย่างชัดเจนและครบถ้วน

หลังจากนั้น พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ ได้มีคำสั่งกระทรวงมหาดไทยที่ 243/2536 ลงวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2536 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาประโยชน์ของถนนรวมและกระจายการจราจรต่อระบบทาง ด่วนขั้นที่ 2 ขึ้น โดยคณะกรรมการชุดนี้ประกอบด้วย27คณะกรรมการชุดนี้ได้ได้สรุปผลส่ง พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ เมื่อวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2536 โดยคณะกรรมการมีมติชี้ขาดว่า โครงการดังกล่าวไม่เป็นประโยชน์กับการจราจร และไม่เป็นประโยชน์ในทางเศรษฐกิจ นอกจากนี้ยังสร้างผลกระทบรุนแรงต่อชุมชนบ้านครัว โดยภาระที่เกิดจะตกแก่ชุมชนบ้านครัวมากจนไม่เป็นธรรม แต่เงื่อนไขของโครงการนี้คือ หากรัฐบาลตัดสินใจไม่สร้างจะต้องเจรจาขอแก้ไขสัญญากับบริษัททางด่วนกรุงเทพ จำกัด (มหา ชน) (BECL) ซึ่งเป็นบริษัทเอกชนที่รัฐทํา สัญญาด้วยเสียก่อน จึงทําให้ฝ่ายการเมืองตัดสินใจใด ๆ ออกมา ในขณะที่การทางพิเศษแห่งประเทศไทยไม่ยอมรับความเห็นของคณะกรรมการ โดยอ้างว่าข้อมูลที่คณะกรรมการนำมาพิจารณาเป็นข้อมูลเก่าจากข้อขัดแย้งดัง กล่าวส่งผลให้ไม่สามารถหาข้อยุติในเรื่องดังกล่าวได้ ทําให้ต้องมีการรับ ฟังความคิดเห็นรอบที่ 2 คณะกรรมการได้ยืนยันในมติเดิมว่าควรยกเลิกโครงการ แต่คณะรัฐมนตรีกลับมีมติเมื่อวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2538 ให้ก่อสร้างต่อไปได้ โดยเลี่ยงลงไปในคลองเพื่อให้เกิดผลกระทบน้อยที่สุด แม้ว่าการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนโดยวิธีประชาพิจารณ์ในครั้งนี้ รัฐบาลจะมีมติแย้งกับความเห็นของคณะกรรมการ

ต่อมาในปี พ.ศ. 2539 ได้มีการดำเนินการออกระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการรับฟังความคิดเห็น สาธารณะโดยวิธีประชาพิจารณ์ขึ้น เพื่อใช้เป็นแนวทางในการจัดการรับ ฟังความคิดเห็นของประชาชนโดยวิธีประชาพิจารณ์ ระเบียบฉบับนี้มีที่มาจากคำแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรี ซึ่งมีนายบรรหาร ศิลปอาชา เป็นนายกรัฐมนตรี ที่แถลงต่อรัฐสภาเมื่อวันพุธที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 ได้แต่งตั้ง "คณะอนุกรรมการพิจารณาปรับ ปรุงบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ คำสั่ง และวิธีปฏิบัติต่างๆ ที่เป็นอุปสรรคต่อการปฏิรูปการเมือง"ต่อมาคณะรัฐมนตรีได้พิจารณาและอนุมัติ หลักการร่างระเบียบดังกล่าว และมอบให้รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายโภคิน พลกุล) ร่วมกับเลขาธิการคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณาในรายละเอียด ทั้งสองท่านได้พิจารณาร่างระเบียบและได้ปรับปรุงชื่อเสียใหม่เป็น "ร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการรับ ฟังความคิดเห็นสาธารณะโดยวิธีประชาพิจารณ์ พ.ศ. …." หลังจากนั้นสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีได้นำเสนอนายกรัฐมนตรีพิจารณาลงนาม และประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2539 โดยมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2539 ระเบียบฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการรับฟังการแสดง ความคิดเห็นในปัญหา สำคัญของชาติที่มีข้อโต้เถียงหลายฝ่าย สำหรับ เป็นแนวทางประกอบการตัดสินใจของรัฐในการดำเนินงาน อันมีผลกระทบต่อประชาชนและยังไม่มีข้อยุติ

คอป.ชงแก้112ให้เลขาฯราชวังฟ้องแทน เชื่อนิติเรดคิดไกลกว่านั้น


“คณิต” ชงแนวทางแก้ไข ม.112 ฉบับ คอป.ให้ นายกฯ นกแก้วพิจารณา เปิดเนื้อหาให้เลขาธิการพระราชวังฟ้องแทนกษัตริย์ ลดโทษคุกไม่เกิน 7 ปี ถามนิติเรดใช้หลักวิชาการไหนห้ามมีพระราชดำรัส ติงใช้ความรู้สึกมากกว่าหลักกฎหมาย อดีต ส.ส.ร.เฉ่ง “ปิยบุตร” เด็กเมื่อวานซืน ไม่รู้จักสังคมไทย แกนนำกลุ่มสยามสามัคคีเชื่อกลุ่มนี้คิดไกลกว่าการแก้แค่ ม.112
ประเด็นการแก้ไขประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ยังคงเป็นที่สนใจในวงกว้าง ล่าสุด คณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.) ได้ส่งข้อเสนอแนะของ คอป.เกี่ยวกับความผิดที่ต้องให้อำนาจ ซึ่งมีบทสรุปการแก้ไขตามแนวทางของ คอป. ถึง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี นำไปพิจารณา
นายคณิต ณ นคร ประธาน คอป. เผยว่า คอป.ได้ทำหนังสือด่วนที่สุด ลงวันที่ 30 ธ.ค.54 เรื่องข้อเสนอแนะของ คอป.เกี่ยวกับความผิดที่ต้องให้อำนาจหรือการดำเนินคดีมาตรา 112 ซึ่งสังคมมีความสับสนมาก ฝ่ายหนึ่งได้ใช้ความผิดฐานดังกล่าวเป็นเครื่องมือในการดำเนินการทางการเมืองของตน อ้างว่าเพื่อเป็นการปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ โดยเรียกร้องให้ดำเนินคดีกับผู้ถูกกล่าวหา ม.112 อย่างเคร่งครัด ส่วนอีกฝ่ายหนึ่งเห็นว่าเป็นเรื่องของการใช้เสรีภาพในทางการเมืองตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งหากกระทำเป็นความผิดอาญาย่อมขัดต่อเสรีภาพในการแสดงความเห็น จึงเสนอให้ยกเลิก ม.112
เนื้อหาหนังสือระบุว่า เกี่ยวกับกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพที่กำลังเป็นที่โต้เถียงและขัดแย้งกันมา คอป.เห็นว่าการจะยกเลิก ม.112 เสียเลยน่าจะยังไม่เหมาะสมกับสภาพสังคมไทย แต่การที่จะคงสภาพเป็นความผิดอาญาในลักษณะปัจจุบันโดยไม่มีทางออกใดๆ ในการดำเนินคดีกับผู้ที่ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดก็ไม่ถูกต้องเช่นกัน เพราะยังมีการใช้ความผิดฐานนี้เป็นเครื่องมือทางการเมือง
จากการศึกษาของ คอป.พบว่า ความผิดฐานนี้มีช่องทางในทางกฎหมายที่จะสร้างความสมดุลได้ เช่นในเยอรมนีมีการบัญญัติความผิดอาญาบางฐานที่ไม่ร้ายแรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นความผิดที่ผู้เสียหายเป็นบุคคลสาธารณะ ซึ่งอาจแปลเป็นภาษาไทยได้ว่า เป็นความผิดที่ต้องให้อำนาจกล่าวคือแม้การกระทำของผู้ถูกกล่าวหาจะเป็นความผิดอาญา แต่การดำเนินคดีขึ้นอยู่กับความสมัครใจของผู้เสียหายเป็นสำคัญ เช่น การดูหมิ่นประธานาธิบดี การสอบสวนจะเริ่มได้ต่อเมื่อประธานาธิบดีให้อำนาจดำเนินการเท่านั้น
การสร้างความปรองดอง คอป.เห็นว่านอกจากฝ่ายกระบวนการยุติธรรมแล้ว ฝ่ายบริหารและนิติบัญญัติควรพิจารณาร่วมกันเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดย คอป.ขอยื่นข้อเสนอว่า ควรตรากฎหมายกำหนดให้ความผิดฐานหมิ่นพระบรมเดชานุภาพเป็นความผิดที่ต้องให้อำนาจ โดยถือว่าการตรากฎหมายดังกล่าวมีความสำคัญและเร่งด่วน
ความผิดฐานหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ เป็นความผิดที่คุ้มครองความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร อันเป็นคุณธรรมทางกฎหมายที่เป็นส่วนรวม เป็นเรื่องของสถาบัน หาใช่เรื่องส่วนพระองค์ไม่ ดังนั้นการจะให้พระมหากษัตริย์เป็นผู้มอบอำนาจให้ดำเนินคดีย่อมเป็นการไม่เหมาะสม และขัดต่อจารีตประเพณีของบ้านเมืองที่ต้องเทิดทูนสถาบัน เลขาธิการพระราชวังเป็นข้าราชการพลเรือนในพระองค์ที่ได้รับการแต่งตั้งตามพระราชอัธยาศัย จึงอาจกำหนดให้เลขาธิการพระราชวังเป็นผู้ให้อำนาจดำเนินคดี
ในส่วนของระวางโทษตาม ม.112 ควรมีความเป็นเสรีนิยมมากกว่าในปัจจุบัน หรือโทษควรเบาลง อย่างน้อยควรกลับไปนำโทษที่เคยกำหนดไว้เดิมมาใช้
คอป.เสนอให้แก้กฎหมายอาญา ม.112 เสนอต่อรัฐสภา ดังนี้ ใครหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 7 ปี หรือปรับไม่เกิน 14,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ความผิดตามวรรค 1 เป็นความผิดที่ต้องให้อำนาจ การสอบสวนดำเนินคดีจะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับอำนาจจากเลขาธิการพระราชวัง
ความผิดตาม ม.112 และ ม.133 เป็นเรื่องที่ยึดโยงกัน เมื่อแก้ ม.112 ก็ต้องแก้ ม.133 ในคราวเดียวกัน โดยให้บัญญัติว่า ผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายต่อราชาธิบดี ราชินี ราชสามี รัชทายาท หรือประมุขแห่งรัฐต่างประเทศ มีระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 6,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ทั้งนี้ นายคณิตให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่นายปิยบุตร แสงกนกกุล หนึ่งในกลุ่มคณะนิติราษฎร์ แสดงความคิดเห็นว่าพระมหากษัตริย์ไม่ควรมีพระราชดำรัสสดต่อสาธารณะว่า ตนไม่ทราบว่ากลุ่มนิติราษฎร์เอาเหตุผลและหลักวิชาการมาจากไหน เป็นความรู้สึกหรือไม่ เพราะปัจจุบันนี้นักกฎหมายในประเทศไทยหลายคนก็ไม่ค่อยใช้หลักกฎหมายกัน ใช้แต่ความรู้สึก แต่หากเป็นข้อเสนอที่ คอป.เสนอ ล้วนแล้วแต่ใช้หลักวิชาการมาเสนอแนะทั้งสิ้น ไม่ได้เสนอเลื่อนลอย มีที่มาที่ไป ซึ่งตนคิดว่าการที่เราจะเสนอแนะอะไรเราต้องมีหลักทางวิชาการในการแก้ไขปัญหา เราไม่ใช้ความรู้สึกว่าดีหรือไม่ดี
ผู้สื่อข่าวถามว่า นายปิยบุตรระบุว่าหากมีการแก้ไข ม.112 ต่อไปกษัตริย์ก็ไม่ควรใช้อำนาจใดๆ ผ่านรัฐ ประธาน คอป.ตอบว่าตามความรู้ของตน เรื่องกษัตริย์ใช้อำนาจผ่านรัฐนั้นไม่มี ไม่รู้ว่าเขาไปเอาหลักวิชาการมาจากไหน
นายคมสัน โพธิ์คง อดีตสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญปี 2550 กล่าวว่า กลุ่มนิติราษฎร์ออกมาไม่ได้มีเป้าหมายว่าจะแก้มาตรา 112 เพียงอย่างเดียว แต่เป้าหมายหลักของคนกลุ่มนี้คือ เพื่อล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์ หรือลิดรอนอำนาจมากกว่า ตนอยากบอกว่า ทุกคนมีสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกก็จริง แต่จากการแถลงการณ์ของกลุ่มนิติราษฎร์ จะพูดถึงแต่คำว่าทำเพื่อระบอบประชาธิปไตย แต่ไม่เคยเอ่ยคำว่าระบอบประชาธิปไตยโดยมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข นั่นก็คือการแสดงออกชัดเจนอย่างหนึ่งว่า ทุกวันนี้ต้องการล้มล้างกษัตริย์ แต่ไม่กล้าเปิดตัวพูดออกมาตรงๆ
“นายปิยบุตรพูดแบบนี้เหมือนเด็กเมื่อวานซืนที่ไม่รู้จักสังคมไทยหรือเปล่า เพราะแม้ประเทศไทยจะมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข แต่พระองค์ท่านก็ไม่เคยประพฤติอะไรที่นายปิยบุตรกล่าวมา แล้วที่ชี้นำในหัวข้อว่าไม่ควรอนุญาตให้กษัตริย์มีพระราชดำรัสต่อสาธารณะนั้น ถือว่าเป็นการลิดรอนสิทธิเสรีภาพของกษัตริย์ให้ยิ่งกว่านักโทษซะอีก เรียกว่านิติราษฎร์เผด็จการแล้ว ถ้ามีคนออกมาบอกให้นิติราษฎร์หุบปากมั่งล่ะ นายปิยบุตรพูดอย่างนี้พูดจาล่องลอยไม่มีกฎหมายรับรอง กล่าวเท็จ”
นายคมสันกล่าวว่า เรื่อง ม.112 ประเด็นปัญหามันไม่ได้อยู่ที่ตัวกฎหมาย เพราะเป็นกฎหมายคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ ถ้าไม่ไปละเมิดก็ไม่ผิด ซึ่งประมุขของรัฐสมควรที่จะมีกฎหมายไว้สำหรับคุ้มครอง ถ้าพูดว่ามีคนเป็นเหยื่อในมาตรานี้เยอะ ตนขอบอกว่าคนเป็นเหยื่อคดีอาญาทั่วไปเยอะกว่ามาก จะมีพวกที่ทำผิดในมาตรา 112 สักกี่คน ถ้าแก้ก็ควรแก้ทุกมาตรา ให้มีความเป็นธรรม มาตรา 112 นั้นไม่เกี่ยวเลย
ถามว่า หากไม่ใช่คณะนิติราษฎร์เป็นผู้เสนอการแก้ไข ม.112 แต่เป็นบุคคลที่มีความน่าเชื่อถือทางสังคมจะสามารถลดแรงเสียดทานได้หรือไม่ อดีต ส.ส.ร.50 กล่าวว่า หากเป็นบุคคลที่มีความน่าเชื่อถือ ภาพลักษณ์ที่ดี อย่างนายอานันท์ ปันยารชุน อดีตนายกรัฐมนตรี มาเสนอก็เห็นควรว่าแก้ได้ แต่ควรแก้ในกฎหมายที่เกี่ยวกับกระบวนการค้นหาข้อเท็จจริง ไม่ควรเกี่ยวกับบทลดโทษหรือเพิ่มโทษ แต่ถ้าแก้ก็ควรเพิ่มโทษซะด้วยซ้ำ
พล.อ.สมเจตน์ บุญถนอม แกนนำกลุ่มสยามสามัคคี กล่าวว่า กลุ่มบุคคลเหล่านี้ได้มีความคิดไปไกล และเกินกว่าขอบเขตที่มีความพยายามจะแก้มาตรา 112 แล้ว เนื่องจากในเนื้อหามีการกล่าวอ้างว่าสถาบันกษัตริย์เพิ่งจะถูกยกระดับให้มีอำนาจเท่าที่เป็นในปัจจุบัน ช่วงสมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ คล้ายจะเป็นการดิสเครดิตของสถาบัน แต่เชื่อว่ากลุ่มนี้มีความคิดไปไกลกว่านั้น
“ที่จริงแล้วระบบสถาบันมีความผูกพันกับรากฐานความเป็นประเทศไทยมาอย่างช้านาน และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ท่านได้สะสมความดีและสร้างอะไรให้กับประเทศไทยมาเกินกว่าจะอธิบาย แล้วสำหรับนายปิยบุตรคนนี้เขาคือใคร เคยทำอะไรให้ประเทศชาติหรือไม่” แกนนำกลุ่มสยามสามัคคีกล่าว
พล.อ.เชษฐา ฐานะจาโร อดีตผู้บัญชาการทหารบก ให้สัมภาษณ์ว่า ม.112 เป็นเรื่องของจิตใจคนไทย อย่าเพิ่งไปยุ่ง ก็ไม่เห็นมีปัญหาอะไร ขอให้ยึดมั่นก็มีแต่ประโยชน์
นายบวร ยสินทร แกนนำเครือข่ายราษฎรอาสาปกป้องสถาบัน แสดงความเห็นว่า อยากจะให้ทางกองทัพหันกลับมาดูสถานการณ์ในสังคม และอย่าปล่อยให้กลุ่มมวลชนมาเผชิญหน้ากันเอง แต่กองทัพควรตัดไฟตั้งแต่ต้นลม โดยใช้อำนาจตามหลักกฎหมายเข้าไปต่อสู้ เช่น การจัดการกับกลุ่มหมู่บ้านเสื้อแดง ที่มีการให้ข้อมูลที่ผิดๆ หรือกลุ่มอาจารย์ที่อยากให้มีการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ไม่ใช่รอเวลาให้เรื่องสุกงอม ก่อนใช้กำลังเข้าไปทำปฏิวัติ นอกจากนี้ อยากเรียกร้องให้ทางอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เข้าไปตรวจสอบกลุ่มคณาจารย์ที่มีความคิดอยากจะเปลี่ยนแปลงมาตรา 112 เหล่านี้อีกครั้ง เนื่องจากมีความคิดที่ไปไกลเกินกว่าที่จะรับได้.

ขอขอบคุณ ไทยโพสต์



“พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงรับสั่งว่า ไปให้ไว ไปให้ถึง ไปให้เร็ว”




ดิสธร วัชโรทัย


“ประเทศไทยโชคดีมาก เพราะพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระองค์ท่านไม่เคยเอาเปรียบประชาชน พระองค์ท่านมีแต่เป็นผู้ให้ ให้ความอนุเคราะห์ ให้ความช่วยเหลือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงรับสั่งว่า เมื่อใดก็ตามที่ผู้คนรู้สึกท้อแท้ ก็ให้นึกถึงพระองค์ท่าน”

นี่ก็คือ หน้าที่ของพวกเรา หน้าที่ของบุรุษไปรษณีย์ที่มีเจ้านายพระนามว่า “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู้หัว”

“มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ก็เปรียบเสมือนไปรษณีย์ เรามีหน้าที่นำพาความห่วงใยและความปรารถนาดีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ไปสู่ประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อน”

ดิสธร วัชโรทัย หรือคุณใหม่ รองเลขาธิการพระราชวัง และประธานกรรมการบริหารมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ บอกเล่าเรื่องราว “ไปรษณีย์” ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ผ่านบุรุษไปรษณีย์ ผู้นำความปรารถนาดีของพระองค์สู่ประชาราษฎร์

“ผมภูมิใจที่ได้รับความไว้วางพระราชหฤทัย ในการมอบหมายให้ไปปฎิบัติภารกิจหลายๆอย่าง ให้ความช่วยเหลือราษฎรที่เดือดร้อน ผมว่าเป็นความภูมิใจที่สุดนะ ถ้าเราได้ไปช่วยเหลือคนที่ได้รับความเดือดร้อนที่สุดในชีวิต ให้เขามีชีวิตที่ดีขึ้น ด้วยพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว”

จึงมิใช่เรื่องแปลกหากจะปรากฎภาพบุรุษไปรษณีย์ วัย 48 ปี กับอาสาสมัครมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ในชุดซาฟารีสีฟ้า ด้านซ้ายหน้าอกปักอักษรคำว่า “มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ในพระบรมราชูปถัมภ์” ลงพื้นที่พบปะพี่น้องประชาชน ในยามเกิดภัยธรรมชาติ พร้อมถุงยังชีพพระราชทานจากเหนือจรดใต้ ตลอดระยะเวลา 22 ปี

ปฎิบัติการรวดเร็วยิ่งกว่าไปรษณีย์โทรเลข

ผมยึดมั่นในพระบรมราโชบายของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานเรื่องการให้ความช่วยเหลืออย่างฉับไว คำว่า “ฉับไว” หมายความว่าองค์กรซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นเจ้าของหรือเป็นองค์อุปถัมภ์ ดังเช่น มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จะดำเนินการอย่างไรที่จะให้ความช่วยเหลือราษฎรให้ได้เร็วที่สุด

คำว่า “ฉับไว รวดเร็ว” เปรียบเสมือนคนกำลังจะจมน้ำ เขาก็ต้องไขว่คว้าหาอะไรยึดเหนี่ยว อะไรที่เกาะได้ เพื่อเอาชีวิตรอด เราก็เปรียบเสมือนพระหัตถ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ยื่นเข้าไปช่วยราษฎรได้คว้าพระหัตถ์ของพระเจ้าแผ่นดินเป็นอันดับแรก

“พระหัตถ์ของพระเจ้าแผ่นดิน” ในที่นี้ คือมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นองค์อุปถัมภ์ ซึ่งเป็นสิ่งแรกที่ดึงคนขึ้นจากน้ำ ด้วยพระหัตถ์ของพระองค์และพระหัตถ์เดียวกันนี้ก็จะส่งต่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาเยียวยา เพราะมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ฯ ไม่สามารถทำงานทุกอย่างเพียงลำพังได้ ความหมายคือรัฐบาลต้องเป็นเสาหลักในการที่จะเข้ามาช่วยเหลือ

คุณใหม่ หมายความว่า

คือมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ฯ เพียงแต่ดึงเขาขึ้นมา แล้วหน้าที่ต่อไปคือ ต้องไปตามหมอ ไปตามผู้ที่เกี่ยวข้องมาช่วยเหลือเขา เพราะเราคงไม่สามารถทำทุกอย่างเพียงลำพัง เราไปถึงที่เกิดเหตุก่อนเพื่อให้ความช่วยเหลือเบื้องต้นแก่เขา คำว่า “เบื้องต้น” คือ น้ำท่วม ไม่มีอาหารกินก็ส่งเครื่องบริโภคไปให้เขา ไฟใหม้บ้านพัง ก็ส่งเครื่องอุปโภคไปให้เขา เราทำหน้าที่อุ้มชูเขาขึ้นมาแล้วส่งต่อผ่านให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชนให้การช่วยเหลือต่อไป

เพราะมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ฯ มิได้มีเพียง “พระราชา” แต่โดยความหมายคือ พระราชา และประชาชน อนุเคราะห์ ซึ่งกันและกัน อันเป็นการแสดงนำพระราชหฤทัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ว่า เวลาทำงานควรให้ประชาชนมีส่วนร่วมด้วย

คุณใหม่ ประเมินภาวะน้ำท่วมในปีนี้อย่างไร

ผมว่า พอๆปี พ.ศ. 2548- 2549 แต่ยังตอบไม่ได้ว่าหนักที่สุดหรือเปล่า เพราะมันยังเพิ่งเริ่มต้นฤดูกาล แต่มันเริ่มต้นเร็ว เกิดพายุนำร่องมรสุมพัดผ่านประเทศไทย จำนวนมากตั้งแต่ 1 มกราคม 2554 จนถึงปัจจุบัน 9 เดือนกว่าๆ มูลนิธิฯ ได้ให้ความช่วยเหลือทั้งหมด 29 จังหวัด เหนือจรดใต้ คำว่า “เหนือจรดใต้” หมายความว่า ตั้งแต่เหนือสุด จนถึงใต้สุด ต้องบอกว่าปีนี้ค่อนข้างหนักมากคือฝนตกมาตั้งแต่พายุนกเต็น ปัจจุบันน้ำอิ่มตัว พอน้ำอิ่มตัวข้างบนพอลงมาก็จะมาร่วมกันที่นครสวรรค์ จากนครสวรรค์ก็จะไล่ลงมาเรื่อย ๆ จนถึงชัยนาท

วันนี้เราบีบแม่น้ำเจ้าพระยาให้เล็กลง โดยเรากั้นเขื่อน สมัยโบราณเลยน้ำไหลหลากลงมาตามทางน้ำของมัน ทางน้ำของมันก็หมายความว่า ผ่านทุ่ง ผ่านนา ผ่านอะไรต่างๆ แต่วันนี้บ้านเราถมดิน ทำถนนขวางทางน้ำหมด นอกจากขวางทางน้ำแล้ว เรายังไปทำเขื่อนข้างๆแม่น้ำอีก ที่สำคัญ วิถีชีวิตชาวบ้านก็เปลี่ยนไปจากเดิม ภาคกลางปลูกข้าวปีละ 2 ครั้ง คือ ปลูกนาปี นาปรัง แต่ปัจจุบันเปลี่ยนเป็นปีละ 4 ครั้ง น้ำไม่พอก็มีปัญหา น้ำมากก็มีปัญหาเพราะฉะนั้น วันนี้ผมถึงบอกว่าเราควรปรับวิถีชีวิตใหม่กลับไปใช้ชีวิตแบบโบราณเพราะสภาพบ้านเราเป็นอย่างนั้น

คุณใหม่ มีหลักในการบริหารงานอย่างไร

แนวความคิดของผมคือ พบกันเมื่อเกิดภัย เวลาที่ดอกไม้งามทัศนียภาพสวยอากาศเย็นสบาย ผมไม่เคยไปเที่ยวเลย ถ้าภาคเหนืออากาศเย็นผมก็ไปเหมือนกัน แต่ไปเจอกับภัยหนาว เราก็ไปแจกผ้าห่ม ภัยแห้งก้ไปทำฝนหลวง น้ำท่วมก็มาแจก อุทกภัยหมดแล้วปีหนึ่งอันนี้คือในส่วนของตัวเอง แต่ในส่วนของมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ฯ จะเข้าไปถึงก่อนแจกเครื่องอุปโภค จากนั้นหน่วยงานราชการก็จะตามเข้ามาบูรณาการต่อไป

จากนั้นเราจะกลับเข้าไปอีกรอบ ไปดูแลสงเคราะห์ว่ากินอยู่เป็นอย่างไร ลูกหลานตายเป็นอย่างไร เราไปให้ทุนการศึกษาไปสร้างโรงเรียนหรือสถานที่สาธารณประโยชน์ที่ทำให้เกิดประโยชน์อย่างยั่งยืน ปัจจุบันมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ฯ มีโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ในความดูแล 44 แห่งทั่วประเทศ เป็นโรงเรียนสังกัด สพฐ. (สำนักงานการศึกษาขั้นพื้นฐานของกระทรวงศึกษาธิการ)

นี่คือ ภารกิจของมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ฯ ถามบอกว่าราษฎรเขาดีใจไหม ผมบอกได้เลยว่า ไม่มีประชาชนประเทศไหนที่จะโชคดีเท่ากับประเทศไทย ไม่ว่าเกิดภัยธรรมชาติ ไม่ว่าเกิดสาธารณภัยอะไรก็ตาม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว หรือพระเจ้าแผ่นดินของเรา ไม่เคยทอดทิ้ง พวกเราเลยแม้แต่ครั้งเดียว

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นห่วงราษฎรตลอดเวลา

ถ้าผมบอกว่า วันที่ประเทศชาติมีความสุข พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็ทรงมีความสุข แต่ไม่เคยมีใครคิดถึงพระองค์ท่านบ้างเลย อาจจะมีความรู้สึกว่าฉันทำดีถวายพระเจ้าอยู่หัว ฉันมีความจงรักภักดี แต่ทำนองเดียวกัน ผมถามว่ามีใครนึกถึงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบ้างในวันที่พวกคุณมีความสุข แต่เมื่อไรก็ตามที่คุณมีทุกข์ พระเจ้าแผ่นดินของเราไม่เคยทรงอยู่นิ่งเฉยเลย เราจะเห็นพระบรมวงศานุวงศ์ จะเห็นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานความช่วยเหลือ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ก็ทรงให้สภากาชาดที่ทรงเป็นองค์อุปถัมภ์ดูแลเครื่องอุปโภค บริโภค ยารักษาโรค เครื่องนุ่งห่ม เราะจะแบ่งกันชัดเจนเลย นอกจากนี้ยังมีมูลนิธิเพื่อนพึ่งพา (ภา) ยามยา มูลนิธิสายใยรัก เป็นต้น

เพราะฉะนั้น เวลาที่ผมไปพบราษฎรผมจะบอกตลอดเวลาว่า 1. พบกันเมื่อเกิดภัย 2. ผมไม่ใช่ผู้แทนพระองค์ แต่ผมเป็นบุรุษไปรษณีย์ คือเรานำความห่วงใยและความปรารถนาดีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ไปพระราชทานให้กับเขา

ถุงพระราชทาน คือน้ำพระราชหฤทัย

ถามว่ามูลค่าของที่เขาได้มันเพียงแค่ประทังชีวิต แต่สิ่งที่ได้รับนั่นคือ ความปรารถนาดีที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีความเอื้ออาทร และพระราชทานกำลังใจ ลองนึกภาพเขากำลังโดนน้ำท่วมอยู่ วันดี คืนดี เหมือนฟ้ามีตา เอาของอะไรมามอบให้เราสักชิ้นหนึ่ง มันก็ทำให้เรามีกำลังใจขึ้น อย่างน้อยเวลาคนมันหมดหนทาง พอเขาได้อะไรมาค้ำชู หรือมีความรู้สึกว่าเป็นน้ำพระราชหฤทัยของพระเจ้าแผ่นดิน มีพระรูปพระเจ้าอยู่หัวมาเป็นกำลังใจ เราก็จะมีแรงที่มาต่อสู้ ผมไม่ได้บอกว่าเจ้านายผมหรือพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นพระเจ้า

แต่ผมกำลังบอกว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นมากกว่าพระเจ้าอีก

เพราะพระองค์ทรงเป็นพระเจ้าแผ่นดิน พระองค์เป็นสิ่งที่ทุกคนยึดเหนี่ยวรวบรวมจิตใจ ผมจะบอกราษฎรว่ามูลค่าสิ่งของมันน้อยนิด แต่น้ำพระราชหฤทัยมันเปี่ยมล้นไปด้วยพระเมตตาที่พระราชทานให้กับพวกเรา ผมลงพื้นที่วันเว้นวัน ถุงพระราชทานหนี่งชุดเท่ากับหนึ่งพันบาท และทุกๆหนึ่งพันชุดคือ หนึ่งล้านบาท

ทราบว่าคุณใหม่ มีวิธีแจกของไม่เหมือนใคร

ผมได้กราบบังคมทูลถึงขั้นตอนการแจกสิ่งของพระราชทานอย่างชัดเจนว่า ทำไมผมถึงไม่เอาสิ่งของใส่ถุงไปตั้งแต่แรกเพราะอะไร จะเห็นได้ว่าเวลาที่ผมไปแจก สิ่งของผมจะกองไว้ข้างนอก ไม่ใส่อยู่ในถุง มีหลายๆสาเหตุ และคนที่จะทำอย่างผมได้ก็ต้องไม่โกงกิน เราแสดงความโปร่งใสชัดเจนว่า สิ่งของที่เอามามีทั้งหมดกี่อย่าง แต่ละอย่างผมจะพูดแก่ราษฎรว่า แต่ละอย่างที่ใส่ให้คุณนั้น มีจำนวนเท่าไร เช่น เราจะใส่ปลากระป๋องปุ้มปุ้ย คัดพิเศษ 6 กระป๋อง น้ำมันพืช 1 ขวดลิตร น้ำปลา 700 ซีซี 1 ขวด ประชาชนจะเห็นได้ว่าของทั้งหมดใน 10 รายการที่เราแจก โดยทุกคนถือถุงพระราชทานเดินผ่านเหมือนการตักบาตร เราจะแบ่งเป็น 10 สถานี คนก็จะถือถุงพระราชทานเข้ามารับแต่ละสถานี

ฉะนั้น คนที่เดินเข้ามารับสิ่งของไปหนึ่งพันชุด ก้จะได้เหมือนกันหมด ทุกคนได้สิ่งของที่มีคุณภาพเท่าๆกัน ในเวลาเดียวกัน เป็นการลดการใช้กำลังในการจัดสิ่งของใส่ถุง และป้องกันการเสียหายด้วย

กำหนดพื้นที่ในการช่วยเหลืออย่างไร

ต้องเรียนว่าผมไปเยี่ยมได้ แต่เราเยี่ยมเฉพาะครอบครัวที่เดือดร้อนแสนสาหัส ใครละครับแสนสาหัสกว่ากัน ความเดือดร้อนนี้วัดไม่ได้ ฉะนั้น สิ่งที่เราทำก็คือ เราใช้กลไกของทางรัฐบาล ให้นายอำเภอมอบกำนัน- ผู้ใหญ่บ้าน เป็นคนคัดเลือกราษฎรที่ได้รับความเดือดร้อน เราไปเยี่ยมคนเขาต้องใช้เรือ 4-5 ลำ ผมบอกเอา 4-5 ลำ ไปรับคนมาลำละ 10 คนก็ได้ 50 คนแล้ว รับมาหาผมแล้วเขาก็เอาสิ้งของกลับไปใช้ เขามารับ ให้รู้ว่าเขาเดือดร้อน เราต้องเชื่อกลไกของบ้านเมือง เราต้องเชื่อกลไกในสิ่งที่เรามอบหมายให้เขา

ฉะนั้น ผมจะรู้เลยว่าเขตอำเภอนี้ เสียหายเท่าไร เขาเสียหายทั้งหมดแสนครัวเรือน ผมไม่ได้แจกทั้งแสน เพราะมีองค์กรการกุศลอื่นเขาเข้ามาแจกด้วย มีช่อง 3 ช่อง 5 มีรัฐบาลแจก ผมจะเข้าไปแจกในส่วนที่เดือดร้อนที่สุดและใครจะเป็นคนคัดให้ผม ใครเดือดร้อนที่สุด ผู้ว่าราชการจังหวัดทำงานร่วมกับฝ่ายปกครองท้องถิ่นรายงานและประเมินผลสู่ส่วนกลาง เวลาผมลงพื้นที่ก็จะมี อบต. อบจ. อะไรต่างๆ โดยผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นคนประสานไม่ใช้ต่างคนต่างไปถึง เอาของให้ มันไม่ใช่แค่ตรงนั้น

นี่คือเหตุผลที่ทำให้มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ฯ เข้าถึงพื้นที่เร็วที่สุด

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงรับสั้งว่า “ไปให้ไว ไปให้ถึง ไปให้เร็ว”

อุทกภัยครั้งนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงห่วงเรื่องอะไรเป็นพิเศษ

ตอนนี้ทรงห่วงเรื่องการจัดการระบายน้ำ พระองค์ท่านทรงมอบพระบรมราโชบายให้กับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายธีระ วงสมุทร เข้าเฝ้าฯ เมื่อ 2-3 วันที่ผ่านมา ผมก็อยู่ด้วย และทรงได้พระราชทานแนวพระราชดำริคือ ทำอย่างไรที่จะระบายน้ำให้เร็วที่สุด ไม่งั้นกรุงเทพฯ น้ำท่วมแล้วถ้าไม่มีคลองลัดโพธิ์วิธีเร่งน้ำที่ทหารเรือเอามาใช้ พระองค์ท่านทรงใช้ตั่งแต่ปี พ.ศ. 2538 โดยเอาเรือมาดันน้ำ ทำให้ทุกวันนี้กรุงเทพฯน้ำไม่ท่วม มีสองกลไกที่สำคัญ คือเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ มีแควน้อยบำรุงแดน ที่จะเป็นตัวล็อกน้ำจากแม่น้ำยม และก็แม่น้ำน่าน ซึ่งเราไปชะลอการไหลของน้ำ

ตอนนี้รัฐมนตรี ธีระ บอกผมว่า กำลังพิจารณาแม่น้ำยมหนึ่ง ยมสอง อยู่เหนือแก่งเสือเต้น แม่น้ำยมเหนือ กับยมใต้ เป็นอ่างเล็กๆ ซึ่งไม่มีผลกระทบกับเขื่อนป่าสักฯ อันนี้เราต้องไปมองว่าเงื่อนไขระยะยาว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ก็ท่านก็ไม่ได้นิ่งนอนพระทัย ในส่วนของมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ฯ ก็แบ่งการให้ความช่วยเหลือในเรื่องของการบูรณาการและการเข้าไปขับเคลื่อน เราเคยทำเรื่องของการป้องกันที่ชุมพร เราเคยไปช่วยที่อยุธยา เมื่อปี พ.ศ. 2542 อันนั้นช่วยนิคมอุตสาหกรรมโรจนะ ก็เป็นสิ่งหนึ่งที่ต้องกราบเรียนว่า เป็นพระอัจฉริยะของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระองค์ท่านทรงดูแลประชาชนของพระองค์

ข้อมูลเหล่านี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงรับทราบตลอด

ผมต้องกราบบังคมทูลถวายรายงานพระองค์ท่านทุกวัน การออกไปแจกสิ่งของพระราชทาน ผมก็กราบบังคมทูล ทุกบาททุกสตางค์ เป็นน้ำพระราชหฤทัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ไม่ใช่เงินของเรา

ความภาคภูมิใจในหน้าที่

ผมภูมิใจที่ได้รับความไว้วางพระราชหฤทัย ในการมอบหมายให้ไปปฎิบัติภารกิจหลายๆอย่าง ให้ความช่วยเหลืออราษฎรที่เดือดร้อน ผมว่าเป็นความภาคภูมิใจที่สุดนะ ถ้าเราได้ไปช่วยเหลือคนที่ได้รับความเดือดร้อนที่สุดในชีวิต ให้เขามีชีวิตที่ดีขึ้น ด้วยพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

สิ่งที่คนไทยควรภูมิใจในความเป็นไทย

สิ่งที่เราควรภูมิใจ คือเรามี Sunny คือ แสงแดด เราเป็น City ที่มีรอยยิ้มมากที่สุด เราเป็นเมืองที่มี Family ที่อยู่เป็นครอบครัวอบอุ่น เราเป็นประเทศที่มีการศึกษาระดับมหาวิทยาลัย เราเป็นเมืองการศึกษา และเราเป็น Country ที่มีความปรองดองกัน

ที่สำคัญที่สุดคือเรามี King of Kings พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเป็น The Greatest of the King.

สำนักข่าวเจ้าพระยา

แง่มุมหนึ่งอันน้อยนิดของ ความจริงสยาม

ความจริงจากชายแดนใต้ สงครามการผนวกรัฐชาติเป็นหนึ่งเดียว ย่อมเป็นวิวัฒนาการของอาณาจักร การล่มสลายของอาณาจักรก็อยู่ในวิถีที่เป็นจริง แต่ยุคสมัยของเรา เราจะยอมหรือมี เหตุผลอันสมควรหรือ ที่ทำให้ต้องเป็นไปอย่างนั้น ประชาชนสามจังหวัดชายแดนใต้ยินดีจะแบ่งแยกหรือ ? กลุ่มนำมวลชนต้องการหรือ มีศักยภาพพอที่จะสถาปนารัฐใหม่ได้หรือ หรือใครกำลังเล่นเกมส์ ขุนศึกภายในผู้ทรยศ หรือมิตรแท้ที่ใจไม่แท้ อาณาจักรตะวันตกผสมโรง ขยายอิทธิพลจักรวรรดิ์ หรือลงโทษผู้ต่อต้านการเป็นลูกแหง่ หรือทาสทางปัญญา

ตัวประกันก็คือมวลชนส่วนมากที่แทบจะไม่มีทางเลือก ไม่รู้เรื่อง ไม่รับรู้ ความขัดแย้งทางศาสนาคือข้ออ้างเป็นข้ออ้างที่เป็นอมตะ หาคำตอบไม่ได้ หาเหตุได้ง่ายแต่หาผลที่ดีมักไม่เจอ

การก่อการร้าย กองโจรเป็นเพียงวิธีการแสวงหาสงครามใหญ่ แต่จะไม่มีวันเกิดสงครามใหญ่เพราะมวลชลไม่สนับสนุน ผู้สนับสนุนมาจากภายนอกบ้าง ภายในบ้าง เป็นหมอเลี้ยงไข้บ้างเรียกได้ว่าเป็นผู้ทรยศที่สุภาพ

เหตุผลของความคับแค้นถึงขั้นการแบ่งแยกที่เกิดจากมวลชลใต้หล้านั้นยังไม่มี เพราะเขาเหล่านั้นยังรักผืนแผ่นดินนี้อยู่ ที่เป็นอยู่เช่นนี้ ที่เลวร้ายอยู่เช่นนี้ คือความจงใจให้เป็นปรากฎการณ์ของกลุ่มนำและขุนศึกที่ทรยศเพียงไม่กี่คน

แนวรบด้านตะวันออก ด้านเขาพระวิหารก็เป็นแนวรบหนึ่งที่อาจทำให้ไทยสูญเสียอธิปไตยเหนือดินแดน ที่หลายฝ่าย(ขุนศึก นักการเมือง ข้าราชการ ฯ บางกลุ่มบางคน) จงใจให้เป็นพื้นที่ข้อพิพาทเพื่อผลประโยชน์ส่วนตน พรรคพวกตน โดยละทิ้งผลประโยชน์อันยิ่งใหญ่ของราชอาณาจักรไทย และสนองตอบสำนักคิดจักรวรรดิตะวันตกที่เจ้าเล่ห์และแยบยล อาศัยความฉ้อฉล กลโกงของระบบกฎหมายโลกลูกแกะผู้อ่อนแอโดยขย้ำแน่นนอน

ทฤษฎีตะวันตกเป็นความสัมพันธ์ที่พยายามบอกว่าของเขาดี ถูกต้องและควรเชื่อ สงครามครูเสดเขาแพ้อย่างย่อยยับ ๘๐๐ ปีที่ผ่านมา เขาก็บอกแบบอ้อมแอ้ม ว่าเจงกีสข่านเป็นพายุตะวันออกที่เขาไม่อยากพบเจออีก ขลาดกลัวและศิโรราบแต่ก็บอกเล่าลูกหลานชาวตะวันตกน้อยมาก

เรียนทฤษฎีไหน เชื่อทฤษฏีนั้นเขียนให้มันสับสนเข้าไว้ คุณคือนักวิชาการผู้เยี่ยมยุทธ์ ที่ใจกับกระบี่อยู่คนประเทศ

กฎหมายไทยเหมือนใยแมงมุม ดักตรงไหนติดหมด ยกเว้นนักการเมือง บ้านเมืองแตกแยกหญ้าแพรกแหลกลาญ เป็นวิกฤตซ้อนวิกฤต ซ้ำเติมด้วยการฉ้อราชบังหลวงอย่างโจ่งแจ้ง เป็นความอ่อนแอที่น่ากลัว

ความหวังที่ปลายฟ้า ภูมิปัญญาจะสาดแสง การลุกขึ้นสู้กอบกู้บ้านเมืองคือหน้าที่ของชนชาวสยาม ทุกผู้ทุกนาม ภายใต้ฟ้าที่ร่มเย็นในดินแดนขวานทอง

โดย Anukul Thongmee

รีโมท ซื้อ รีโมท จากผู้ค้าส่งโดยตรง ที่มีหน้าร้านจริง ที่ บ้านหม้อ และ คลองถม ราคาถูกกว่าใคร ปลอดภัย มีรับประกัน

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

บทความย้อนหลัง