รพีพัฒน์ อิงคสิทธิ์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
เชื่อว่าผู้อ่านหลายท่านคงจะคุ้นเคยกับคำว่า ‘แลนด์บริดจ์’ ที่ถูกหยิบยกมาเป็นประเด็นในจากแผนพัฒนาเศรษฐกิจภาคใต้ของประเทศไทย ซึ่งเป็นแผนเก่าเก็บราว 30 ปีก่อนที่ถูกหยิบมาปัดฝุ่นใหม่สมัย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และสานต่อด้วยรัฐบาลอภิสิทธิ์ และสืบเนื่องมาจนกระทั่งรัฐบาลชุดปัจจุบัน
แผนพัฒนาดังกล่าวนอกจากจะมีการก่อสร้าง ท่าเรือน้ำลึกที่ปากบารา อ.ละงู จ.สตูล ยังรวมไปถึง การก่อสร้างรถไฟรางคู่ระหว่างสงขลาและสตูล การวางท่อขนส่งน้ำมันและก๊าซระหว่างอ่าวไทยและทะเลอันดามัน คลังน้ำมันขนาด 5,000 ไร่ การขุดเจาะอุโมงค์เชื่อมเส้นทางหลวงสตูล-เปอร์ลิส (ไทย-มาเลเซีย) ยังไม่รวมถึงพื้นที่อุตสาหกรรมหลากชนิด ที่กรีฑาทัพมาเพื่อริดรอนสิทธิและผลประโยชน์ที่มีมาแต่ดั้งเดิมของประชาชนในพื้นที่ และได้มีการดำเนินการไปแล้วบางส่วน โดยแทบจะไม่เปิดเผยข้อเท็จจริงในการพัฒนาดังกล่าวให้คนในพื้นที่รับรู้
ทะเลสตูล : ทรัพยากรธรรมชาติที่ยากจะตีค่าเป็นตัวเงิน
การสร้างท่าเรือปากบารา อาจจำเป็นต้องสูญเสียทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญตั้งแต่การใช้พื้นที่กว่า 4,700 ไร่ของอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา ซึ่งเป็นแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำตามธรรมชาติ การระเบิดภูเขาถึง 8 ลูก ที่อาจส่งผลกระทบถึงสภาวะอากาศและเป็นการเปิดช่องทางให้ฝุ่นควันและสารพิษจากเขตอุตสาหกรรมเข้ามาในเมืองสตูล
นอกจากนี้ ยังจำเป็นต้องใช้ทรายกว่า 20 ล้านคิวเพื่อถมทะเล และทรายเหล่านั้นก็มาจากชุมชนใกล้เคียงนั่นเอง ยังไม่นับการเวนคืนที่ดินอีกมหาศาลและการสูญเสียแหล่งทำกินที่ประชาชนต้องเผชิญ
อาจารย์ศักดิ์อนันต์ ปลาทอง อาจารย์ประจำสาขาภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ผู้เป็นหัวหน้าในโครงการจัดทำเอกสารนำเสนอพื้นที่แหล่งอนุรักษ์ทะเลอันดามัน จ.สตูล เพื่อขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก ได้กล่าวถึงความอุดมสมบูรณ์และความสำคัญของทะเลสตูลไว้อย่างหลากหลายมิติ
‘ทะเลสตูลเป็นแหล่งสะสมอาหารที่มาจากทั้งทางบกและทางทะเล เป็นพื้นที่ที่มีธาตุอาหารสูง เป็นแหล่งหญ้าทะเล แหล่งปะการังอุดมสมบูรณ์ และเป็นรอยต่อช่องแคบมะละกา ระหว่างคาบสมุทรอินเดียและคาบสมุทรแปซิฟิก ซึ่งมีความหลากหลายทางชีวภาพสูง นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งรวมระบบนิเวศน์ทางทะเลคือ ป่าชายเลน หาดหิน หาดทราย หาดโคลน แหล่งปะการัง และหญ้าทะเล ครบถ้วนสมบูรณ์’
นอกจากความสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติแล้ว อาจารย์ศักดิ์อนันต์ยังเสริมว่าบริเวณชายฝั่งแถบอันดามันตอนล่าง มีลักษณะที่มีภูเขาอยู่ด้านหลัง ซึ่งหากเกิดมลพิษหรือขยะ ทุกสิ่งทุกอย่างก็ไม่ได้ถูกพัดพาไปไหน แต่จะตกตะกอนหรือลอยอยู่ในบริเวณดังกล่าว จึงเป็นพื้นที่ที่อ่อนไหวต่อมลภาวะ แตกต่างจากนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จ.ระยอง ที่มลภาวะทุกอย่างจะถูกคลื่นพัดพาไปหมด
แต่อย่างไรก็ดี จากรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมหรือ EIA กลับได้ผลว่าปากบาราเป็นพื้นที่เสื่อมโทรม ซึ่งออกจะขัดจากความเป็นจริงที่ปากบารานั้นอุดมไปด้วยสัตว์ทะเลนานาชนิด เช่น หอยนางรม หอยปากเป็ด หอยเสียบ อีแปะทะเล หอยมะระ ไส้เดือนทะเล และปูทหาร ซึ่งสัตว์ทะเลเหล่านี้มีปริมาณค่อนข้างมากและกระจายอยู่ตามหน้าดิน
การประเมินต้นทุนทางธรรมชาติ : ตัวเลขที่นักเศรษฐศาสตร์ไม่อยากพูดถึง
แทบทุกครั้งในการประเมินมูลค่าโครงการ โดยเฉพาะโครงการที่จำเป็นต้องทำลายทรัพยากรธรรมชาติ นักเศรษฐศาสตร์ทั่วไปมักมองต้นทุนทางธรรมชาติเพียงผิวเผิน และประเมินอย่างฉาบฉวยเป็นตัวเงินง่ายๆ ที่มีมูลค่าน้อยนิดเมื่อนำมาเปรียบเทียบกับเมกะโปรเจกต์มูลค่ามหาศาล เช่นที่ปากบารา นักเศรษฐศาสตร์เพื่อการพัฒนามักมองเพียงว่า บนหาดนั้นมีสัตว์ทะเลเศรษฐกิจกี่ตัว คิดเป็นมูลค่ากี่บาท หรือการทำแบบสอบถามถึงผู้มีอาชีพประมง และประเมินเงินได้ที่ได้จากการประกอบอาชีพดังกล่าว โดยลืมมองไปว่า ธรรมชาตินั้นทรงคุณค่ามากกว่าต้นทุนทางเศรษฐกิจ
หากเรามองปากบาราใหม่ในมุมมองของนักเศรษฐศาสตร์สิ่งแวดล้อม จะพบว่าสัตว์ทะเลเช่นปูทหาร ที่ดูเหมือนจะไม่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจ แต่เป็นตัวแปรสำคัญในเชิงนิเวศ ซึ่งปูทหารนั้นนอกจากจะทำหน้าที่คุ้ยดินเพื่อกินเศษซากอินทรีย์ ยังขุดดินเพื่อเพิ่มคุณภาพดิน ทำให้เหมาะแก่การอยู่อาศัยของชีวิตอื่นๆ และสัตว์หน้าดินเหล่านั้นเองก็จะเติบโตเป็นอาหารในห่วงโซ่แก่สัตว์อื่นต่อไป
แม้แต่หอยนางรมเอง ก็เปรียบเสมือนเครื่องกรองน้ำตามธรรมชาติ ซึ่งหากมองในแง่นี้แล้ว ทรัพยากรธรรมชาติดังกล่าวก็เป็นสิ่งที่มนุษย์ต้องใช้เงินจำนวนมหาศาลเพื่อสร้างเครื่องจักรมาทดแทนหน้าที่ของเหล่าสัตว์ทะเลตามธรรมชาติ
นอกจากนี้ หอยปากเป็ด ก็ถือเป็นสัตว์ทะเลโบราณที่หายาก และแทบจะไม่มีการพบเห็นในพื้นที่อื่นของประเทศไทย ซึ่งถึงแม้จะไม่มีมูลค่าในตลาด ก็กลับมีมูลค่าสูงมากในเชิงนิเวศวิทยา ยังไม่นับผลกระทบต่อทะเลที่เป็นแหล่งหญ้า และแนวปะการัง ซึ่งผลกระทบเหล่านั้นอาจส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศของมรดกอาเซียน อย่างอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะตรุเตา
สิทธิชุมชนกับข้อมูลข่าวสารที่ถูกบิดเบือน
ท่าเรือปากบารา และสารพัดแผนพัฒนาที่รัฐหยิบยื่นให้ประชาชน ไม่ต่างอะไรจากนโยบาย ‘ขายฝัน’ ซึ่งถือเป็นยุทธศาสตร์ในการตะล่อมให้ประชาชนในพื้นที่ยินยอมให้เกิดการ ‘พัฒนา’ ดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นการกล่าวอ้างถึงเม็ดเงินจำนวนมหาศาลที่จะไหลเวียนสู่จังหวัดสตูล การเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น รวมทั้งตลาดแรงงานที่จะมีการขยายตัว คนสตูลจะมีงานทำ และนำไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจในระดับชาติ แต่หากประชาชนเชื่อภาพที่รัฐพยายามสร้างขึ้น สุดท้ายสตูลก็คงไปหนีไม่พ้นชะตากรรมที่จะกลายเป็นนิคมอุตสาหกรรมแห่งใหม่ ไม่ต่างจากมาบตาพุด
น้อยนักที่จะมีคนจากส่วนกลางไปพูดความจริง ไม่ว่าจะเป็นการจ้างงาน ที่จำเป็นต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญจากต่างถิ่น ที่พร้อมจะเบียดบังแรงงานไร้ฝีมือที่ช่ำชองในการประมงหรือการทำเกษตรกรรมให้ไม่มีอาชีพ และโครงการดังกล่าวย่อมไม่จบลงแค่เพียงท่าเรือ สิ่งที่จะตามมาคือระบบขนส่งน้ำมัน
การสร้างโรงไฟฟ้าเพื่อป้อนพลังงานให้โรงงานเหล่านั้น และการควบคุมแบบไทยๆ ที่ทำให้ทะเลปนเปื้อนไปด้วยสารพิษ ตามมาด้วยการปนเปื้อนในแหล่งน้ำ และการล่มสลายของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว แต่ในมุมกลับกัน ผลกำไรจำนวนมหาศาลจากการลงทุนก็จะไหลเข้าสู่กระเป๋าของนายทุน กลายเป็นเงินปันผลให้กับผู้ถือหุ้นทั้งชาวไทยและต่างประเทศ จะมีก็เพียงเศษเงินที่ปันส่วนให้กับประชาชนผู้มีถิ่นฐานในพื้นที่ และสุดท้ายผลกรรมทั้งหมดก็จะตกอยู่กับประเทศชาติ อยู่กับธรรมชาติ ที่ยากจะฟื้นคืน
สุดท้าย ผู้เขียนขอเตือนว่า GDP หรือผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศนั้น เป็นเพียงมาตรวัดการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจเพียงคร่าวๆ และมีข้อจำกัดมากมาย แต่ที่สำคัญที่สุดคือ GDP ที่เพิ่มขึ้นนั้น ไม่ได้ชี้วัดการกระจายรายได้หรือความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ไม่ได้บอกว่าทรัพยากรธรรมชาติของเรายังคงอุดมสมบูรณ์ และที่สำคัญที่สุด มันไม่ได้รับรองว่าประชาชนชาวไทยจะมีความสุขจากตัวเลขที่เพิ่มขึ้น ซึ่งถือเป็นข้อจำกัดสำคัญที่เราไม่ควรมองข้าม
inShare
ข้อมูลบทความ
วันที่: 31/03/2012
หมวดหมู่: headline, headline3, Practical Report, เศรษฐกิจ
ป้ายคำ: ทะเลสตูล, ท่าเรือน้ำลึกปากบารา สตูล, ท่าเรือปากบารา, รพีพัฒน์ อิงคสิทธิ์, ศักดิ์อนันต์ ปลาทอง, หอยปากเป็ด, แผนพัฒนาเศรษฐกิจภาคใต้
วันเสาร์ที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2555
ประวัติศาสตร์ไทย” : การสร้างชาติและอัตลักษณ์
การพัฒนาประเทศไทยให้เจริญก้าวหน้าย่อมเป็นเรื่องดียิ่ง หากทว่า ปัญหาสำคัญคือ จะพัฒนาอะไรและพัฒนาอย่างไร โดยเฉพาะเมื่อทรัพยากรและเวลามีจำกัด
หากถือตามประเทศมหาอำนาจเป็นแม่แบบ ก็จะพบปัญหาเดียวกันว่า อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมัน อเมริกา ญี่ปุ่น รัสเซีย และจีน แม้ว่าบางประเทศจะดูเหมือนมีความคล้ายคลึงกัน แต่เมื่อลงลึกในรายละเอียดแล้วต่างก็มีลักษณะพิเศษเฉพาะตัว
ความสำเร็จในการพัฒนาของแต่ละชาติ ส่วนหนึ่งย่อมเกิดจากการลอกเลียนและหยิบยืมกัน หากทว่าส่วนสำคัญที่ไม่ยิ่งหย่อนกว่า คือ การนำแนวคิดจากภายนอกมาปรับใช้ให้สอดคล้องกับลักษณะเฉพาะของตนที่ผ่านการสั่งสมมายาวนาน
การค้นหาลักษณะเฉพาะของประเทศ จึงไม่อาจหลีกเลี่ยงที่จะศึกษาประวัติศาสตร์ความเป็นมาที่บรรพบุรุษของชาติได้ร่วมกันสร้างขึ้น
ประเทศไทยที่เราคุ้นเคยและอาศัยหายใจอยู่ในปัจจุบัน ก็มีหลายสิ่งหลายอย่างที่สืบรากมาจากอดีตกาลที่ไกลโพ้น โดยอาจต้องนับย้อนไปถึงสมัยอาณาจักรอยุธยา ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นในการสร้างชาติและรวมเขตแดนทั้งหลายให้เป็นปึกแผ่น
ความได้เปรียบด้านชัยภูมิของอยุธยา ไม่ใช่เพียงเป็นแหล่งเพาะปลูกที่อุดมสมบูรณ์เท่านั้น หากยังมีสิ่งที่สำคัญกว่า นั่นคือ ทางออกทะเล ซึ่งทำให้สามารถติดต่อค้าขายกับอาณาจักรเพื่อนบ้านและชาวต่างชาติได้สะดวก จึงเป็นเหตุให้อยุธยาสั่งสมความมั่งคั่งและวิทยาการได้ดีกว่าหัวเมืองเหนือ ไม่ว่าจะเป็นสุโขทัย พิษณูโลก หรือเชียงใหม่
ยิ่งอยุธยาสามารถครอบครองและเรียกบรรณาการจากหัวเมืองเหนือได้มากเท่าไร อยุธยาก็จะยิ่งมีสินค้าไปขายให้กับพ่อค้าชาวต่างชาติได้หลากหลายมากขึ้นเท่านั้น จึงยิ่งทำให้อำนาจและความมั่งคั่งสามารถสั่งสมแปรเปลี่ยนไปสู่การพัฒนาระบบการปกครองให้เข้มแข้งยิ่งขึ้น
“เมืองลูกหลวง” เป็นกลไกเริ่มต้นในการขยายขอบเขตอำนาจของอยุธยาให้กว้างไกลออกไป โดยอาศัยสายสัมพันธ์ระหว่างกษัตริย์และเชื้อพระวงศ์ใกล้ชิดให้ไปปกครอง ซึ่งทำให้อาณาจักรอยุธยาสามารถขยายอิทธิพลออกไปครอบงำหัวเมืองที่อยู่ทางเหนือได้ดียิ่งขึ้น
ระบบนี้แม้ว่าจะมีจุดอ่อนที่ทำให้เชื้อพระวงศ์ซึ่งครอบครองเมืองลูกหลวงสามารถยกทัพเข้ามาแย่งชิงอำนาจในราชสำนักที่อยุธยาได้ แต่ก็เป็นเพียงการเปลี่ยนตัวกษัตริย์องค์ใหม่เท่านั้น ไม่ได้กระทบกับระบบการปกครองที่สถาปนาไว้มากมายนัก ที่สำคัญยังถือเป็นการคัดเลือกผู้เข้มแข็งกว่าให้สืบทอดราชบัลลังก์ต่อไปด้วย
หลังจากพระเจ้าอู่ทองสถาปนากรุงศรีอยุธยาในปี 1893 อาณาจักรแห่งนี้ก็ได้ขยายอำนาจตัวเองออกไปครอบครองดินแดนทางเหนือทีละเล็กทีละน้อย โดยการเปลี่ยนแปลงสถานะจากเมืองประเทศราชให้กลายเป็นเมืองลูกหลวงได้สำเร็จ
100 ปีต่อมา ในรัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ระบบราชการก็ยิ่งได้รับการสถาปนาให้เข้มแข็งขึ้น โดยเฉพาะการจัดระเบียบการปกครองส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ซึ่งทำให้ระบบเมืองลูกหลวงที่เคยเป็นประโยชน์ในช่วงเวลาหนึ่ง เริ่มลดบทบาทความสำคัญลง ขอบเขตของรัฐบาลที่กรุงศรีอยุธยาได้ขยายออกไปกว้างขวางกว่าบริเวณรอบแม่น้ำเจ้าพระยา
จนกระทั่ง สมัยสมเด็จพระไชยราชาธิราช (2077-2089) หัวเมืองทางเหนือก็ถูกควบคุมได้จากระบบราชการส่วนกลาง โดยอาศัยขุนนางทองถิ่นซึ่งเป็นเชื้อพระวงศ์เก่าของดินแดนประเทศราชเหล่านี้ เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของกลไกบริหาร
ระบบราชการที่สั่งสมขึ้นมาทีละน้อยนี้ แม้ว่าจะทำให้อาณาจักรอยุธยาสามารถขยายเขตแดนอิทธิพลได้เข้มแข็งกว้างไกลยิ่งขึ้น หากทว่าก็กลับทำให้เกิดกลุ่มอำนาจใหม่ที่จะสั่นคลอนกลไกการปกครองในเวลาต่อมา
เหตุการณ์เสียกรุงครั้งที่ 1 ส่วนหนึ่งก็มาจากความขัดแย้งของระบบราชการและกษัตริย์ แต่กระนั้นอยุธยาก็สามารถฟื้นตัวจากภาวะสงครามได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งย่อมเป็นข้อพิสูจน์ให้เห็นว่าระบบราชการที่สร้างขึ้นนี้มีความเข้มแข็งกว่าระบบเมืองลูกหลวงและสายสัมพันธ์ในเชิงสายเลือด
นับจากนี้ เราจะไม่พบเหตุการณ์ที่เจ้าเมืองยกกำลังเข้ามาช่วงชิงอำนาจได้อีกต่อไป การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองจะเกิดขึ้นภายในระบบราชการมากกว่า แม้ว่าอาณาจักรอยุธยาจะมีกษัตริย์ที่เข้มแข็งอย่างสมเด็จพระนเรศวรมหาราช สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง และสมเด็จพระนารายณ์มหาราช หากทว่าก็เพียงสามารถสะกดข่มขุนนางได้ชั่วคราวเท่านั้น สุดท้าย ระบบราชการก็จะเติบโตขึ้นมาเป็นขุมกำลังสำคัญในการบริหารบ้านเมืองและช่วงชิงอำนาจวาสนา
หลังจากเสียกรุงครั้งที่ 2 และการขึ้นครองราชย์ของพระเจ้าตากสินมหาราช ก็ดูเหมือนว่าระบบกระจายอำนาจโดยให้ขุนนางที่ไว้วางใจแยกตัวไปปกครองหัวเมืองจะกลับมาเข้มแข็งอีกครั้ง หากทว่า เมื่อสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชได้ปราบดาภิเษกขึ้นเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี ก็ได้รื้อฟื้นระบบราชการส่วนกลางที่เข้มแข็งของอาณาจักรอยุธยาขึ้นมาอีกครั้ง โดยปรับให้เหมาะสมกับกาลสมัยยิ่งขึ้น
การเติบโตทางการค้ากับต่างประเทศตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนปลาย โดยมีพ่อค้าและนักแสวงโชคจากทั้งโปรตุเกส ฮอลันดา และญี่ปุ่นได้เดินทางเข้ามาสร้างธุรกิจการค้า ทั้งหมดนี้ได้ส่งผลให้รัฐบาลที่ส่วนกลางทั้งพระมหากษัตริย์ เจ้านาย และขุนนาง ล้วนแต่มั่งคั่งขึ้นมาโดยถ้วนหน้า เมื่อมาถึงสมัยต้นรัตนโกสินทร์ การค้าขายก็ได้ขยายตัวกว้างขวางออกไป โดยเฉพาะเมื่อพระเจ้าตากสินมหาราชได้เป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการสร้างสภาพแวดล้อมและแรงจูงใจให้ชาวจีนอพยพเข้ามาทำมาหากินมากขึ้นกว่าในสมัยปลายอยุธยา
ระบบราชการที่ได้พัฒนาเติบโตขึ้นมาตลอดช่วงเวลา 417 ปีของอาณาจักรอยุธยา ได้ส่งผลให้รัฐบาลสมัยรัตนโกสินทร์สามารถรวบรวมทรัพยากรเพื่อใช้ในการค้าขายสั่งสมความมั่งคั่งได้อย่างเต็มที่ ในขณะที่ภัยคุกคามจากการแยกตัวของเจ้าเมืองทั้งหลายก็มีน้อยลง ซึ่งเท่ากับเป็นการเตรียมความพร้อมให้กับการปฏิรูปประเทศในสมัยรัชกาลที่ 4 และ 5 ในที่สุด
ลัทธิล่าอาณานิคมของตะวันตก ได้ถูกกล่าวหามาโดยตลอดว่าเป็นตัวการที่ทำให้ไทยสูญเสียดินแดน หากทว่า สิ่งที่ลืมนึกกันไปก็คือ หากไม่มีประเทศอังกฤษและฝรั่งเศส ไทยก็อาจต้องโดนคุกคามจากพม่าและเวียดนาม ที่มีแนวโน้มว่าจะร่วมมือกันมารุกรานไทยในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์
ที่สำคัญกว่านั้นก็คือ สนธิสัญญาเบอร์นี ได้ทำให้ไทยเริ่มปรับตัวในสมัยรัชกาลที่ 3 โดยการพัฒนาช่องทางการเก็บภาษีแบบใหม่ แทนที่จะใช้วิธีการผูกขาดทางการค้าแบบเดิม ยิ่งเมื่อมีการทำสนธิสัญญาบาวริ่ง ก็ยิ่งทำให้ไทยต้องเร่งปรับตัวขนานใหญ่ มีการขุดคลองและพัฒนาที่ดินเพื่อใช้ในการปลูกข้าว
รัชกาลที่ 5 ได้รับประโยชน์จากการพัฒนาในรัชกาลก่อน จึงเป็นเหตุให้การพัฒนาประเทศสามารถก้าวกระโดดไกลได้ ทั้งในเชิงเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และวัฒนธรรม
ระบบการรถไฟและกองทัพสมัยใหม่ ได้ทำให้รัชกาลที่ 5 มีความมั่นใจในการประกาศปฏิรูปการปกครองในปี 2535 อย่างไรก็ตาม แม้จะได้พยายามกระทำการอย่างละมุนละม่อม แต่ก็ยังเกิดกบฎของหัวเมืองขึ้นมากมาย หากทว่า รัฐบาลกลางก็สามารถปราบปรามได้โดยง่ายดาย จึงทำให้ภารกิจการรวมชาติที่ได้เริ่มต้นไว้ตั้งแต่สมัยอยุธยาสามารถกระทำสำเร็จลงได้ในรัชกาลนี้
การเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี 2475 ส่วนหนึ่งก็มาจากกลไกการปกครองแบบใหม่ที่รัชกาลที่ 5 ได้ทรงสถาปนาไว้ หากทว่าการยึดอำนาจโดยระบบราชการก็ยังไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่ประการใด หากเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นตั้งแต่สมัยอยุธยาแล้ว และเป็นต้นทุนที่ต้องจ่ายสำหรับผู้ปกครองทั้งหลายที่ต้องการสร้างชาติบ้านเมืองให้เจริญรุดหน้า
สิ่งที่ต่างออกไปก็คือ เหตุการณ์ในปี 2475 ได้เป็นจุดเริ่มต้นให้สามัญชนที่เริ่มหลุดพ้นจากความเป็นไพร่และทาสในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้มีโอกาสในการมีส่วนร่วมในการปกครองประเทศทีละเล็กทีละน้อย จนกระทั่งถึงปัจจุบัน
เราย่อมเห็นความคล้ายคลึงในการพัฒนาชาติไทยที่มีจุดร่วมกับประเทศทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาระบบราชการและระบบรัฐสภา หากทว่าสิ่งที่ต่างออกไปก็ยังมีอยู่มากมายนัก
เริ่มจากว่า ประเทศไทยไม่ได้อยู่ในบริเวณที่มีผืนแผ่นดินขนาดใหญ่เชื่อมต่อกัน จึงไม่สามารถเป็นต้นกำเนิดอารยธรรมเหมือนดั่งประเทศจีน อินเดีย หรือแม้กระทั่งยุโรปและอเมริกา
ประเทศไทยทำได้เพียงการพัฒนาตัวเองให้ดีจากภายใน และหยิบยืมนวัตกรรมจากต่างประเทศมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ตั้งแต่การสร้างระบบราชการในสมัยอยุธยาตอนต้น ซึ่งได้หยิบยืมต่อยอดรูปแบบส่วนหนึ่งมาจากอินเดีย การพัฒนาเมืองท่าค้าขายในสมัยอยุธยาตอนปลาย ที่เกิดจากการเข้ามาแสวงหาอาณานิคมและผลประโยชน์ของชาติตะวันตก ซึ่งจะกลายเป็นจุดเริ่มต้นครั้งสำคัญที่ไทยจะเก็บเกี่ยวความเจริญก้าวหน้าและความมั่งคั่งจากชาวต่างชาติ
การปฏิสัมพันธ์กับชาวต่างประเทศทั้งที่อยู่ในภูมิภาคเดียวกันและภูมิภาคที่ไกลโพ้น ก็ไม่ได้มีแต่ด้านดีเสมอไป หากยังเต็มไปด้วยการต่อสู้ช่วงชิงหรือแม้กระทั่งสงคราม ซึ่งไทยก็สามารถกำหนดยุทธศาสตร์เพื่อเอาตัวรอดได้ดีเสมอมา
ตั้งแต่สมัยพระนารายณ์มหาราช ที่หยิบยืมมือของประเทศฝรั่งเศสมาถ่วงดุลอิทธิพลกับฮอลันดาและอังกฤษ แม้ว่าจะนำไปสู่การยึดอำนาจของพระเพทราชาในเวลาต่อมา หากประเทศไทยก็อยู่รอดปลอดภัยมาจนกระทั่งการเสียกรุงครั้งที่ 2
ในสมัยพระเจ้าตากสินมหาราช ก็มีการหยิบยืมกำลังจากชาวต่างชาติในการแสวงหาอาวุธและข้าวปลาอาหาร เพื่อเอาตัวรอดจากภาวะข้าวยากหมากแพงภายหลังสงครามได้สำเร็จ แม้ว่าต้องแลกกับทรัพยากรธรรมชาติบนผืนแผ่นดินไทย โดยเฉพาะแร่ดีบุกจากทางภาคใต้ แต่ก็นับเป็นวิธีการเอาตัวรอดที่คุ้มค่ายิ่ง
รัชกาลที่ 4 ก็ทรงปรีชาสามารถในการโอนอ่อนผ่อนตามให้กับอังกฤษ แล้วจึงแปรความเสียเปรียบให้กลายเป็นการเร่งพัฒนาประเทศไทยให้สามารถรับมือกับระบบทุนนิยม ที่บีบบังคับให้รัฐบาลไม่สามารถใช้ยุทธศาสตร์ผูกขาดการค้าแบบเดิมได้อีกต่อไป
ในยุคใกล้นี้ ไทยก็ยังแสวงหาประโยชน์จากการเข้ามาของต่างชาติได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะการย้ายฐานการผลิตของญี่ปุ่น ที่ช่วยให้เศรษฐกิจไทยสามารถเติบโตขึ้นอีกระดับหนึ่ง แม้ว่าจะถูกโจมตีว่าไม่สามารถพัฒนาเทคโนโลยีเป็นของตัวเองก็ตาม
หากทว่า สิ่งที่ไทยได้รับโดยทางอ้อมก็มีคุณค่าไม่แพ้กัน โดยเฉพาะการเข้ามาตั้งโรงงานของคนญี่ปุ่น ก็ย่อมต้องมีค่าใช้จ่ายด้านอาหารและค่าที่พัก ยังไม่นับการท่องเที่ยวและช้อปปิ้ง ที่สำคัญ ยังอาจดึงดูดชาวญี่ปุ่นที่เหลือให้เข้ามาท่องเที่ยวเพิ่มเติมมากขึ้นกว่าเดิมได้
ยุทธศาสตร์การเป็นเมืองท่าของประเทศไทย จากอดีตสู่ปัจจุบันก็ยังใช้ได้ดีไม่เปลี่ยนแปลง หากทว่าก็ยังมีการปรับปรุงรูปแบบให้ซับซ้อนยิ่งขึ้นตามบริบทโลกที่เปลี่ยนแปลงไป
อัตลักษณ์ของคนไทย
ประเทศไทยในอดีตมีลักษณะที่แตกต่างจากในปัจจุบัน นั่นคือ จำนวนประชากรที่เบาบางเมื่อเทียบกับที่ดินทำกิน จึงทำให้ผู้ปกครองในอดีตต้องคิดค้นวิธีการในการควบคุมกำลังแรงงานไม่ให้หลบหนีเข้าป่าหรือไปเป็นพลเมืองของประเทศอื่น นี่จึงเป็นต้นกำเนิดของระบบไพร่
หากทว่า ชัยภูมิของอยุธยาที่ถูกกำหนดให้เป็นผู้ชนะในการรวมชาติ ก็ยังมีลักษณะพิเศษสำคัญ นั่นคือ การเป็นเมืองท่าค้าขาย จึงทำให้ศูนย์กลางการปกครองแห่งนี้ มีความยืดหยุ่นในการระดมทรัพยากรจากดินแดนทั้งหลาย โดยไม่ต้องใช้เพียงการเกณฑ์แรงงานผ่านระบบไพร่เพียงอย่างเดียว หากยังเปิดช่องให้มีการส่งส่วยและสินค้าหายากเข้ามาทดแทนได้
การสร้างชาติไทย จึงมีลักษณะประนีประนอมกันมากกว่า เพราะมีระบบที่หลากหลายให้ผู้คนในสังคมได้เลือกสรร ในระยะแรกระบบราชการเหมือนจะเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด หากทว่าในเวลาต่อมา อาชีพค้าขายและทำนาเพื่อส่งออกก็เป็นทางเลือกที่ดีไม่แพ้กัน หากคนผู้นั้นมียุทธศาสตร์ในการดำเนินชีวิตที่เฉลียวฉลาด
ในเมื่อที่ดินและทรัพยากรก็มีมากมาย ชนชั้นปกครองไทยจึงไม่มีความรู้สึกรังเกียจหรือกีดกันคนต่างชาติ ยิ่งกว่านั้น ยังกลับพัฒนายุทธศาสตร์ที่ชาญฉลาดในการดึงดูดคนต่างชาติให้มาร่วมพัฒนาความมั่งคั่งให้ผืนแผ่นดินไทย
หลายครั้งอาจมีการกระทบกระทั่งระหว่างคนไทยและคนต่างชาติบ้าง หากทว่าความหลากหลายยืดหยุ่นในการวางยุทธศาสตร์ของชนชั้นปกครองไทย จึงทำให้สามารถหลอมกลืนคนต่างชาติที่อยู่อาศัยมาเป็นเวลานานให้กลายเป็นคนไทยและรักเมืองไทยได้สำเร็จ ซึ่งเท่ากับเป็นการเพิ่มพูนความเข้มแข็งให้กับการพัฒนาประเทศให้เติบโตยิ่งใหญ่ต่อไป
นี่คือ ภูมิปัญญาในการบริหารจัดการคนที่แตกต่างหลากหลาย ซึ่งสืบทอดกันมาจนกระทั่งตกผลึกเป็นวัฒนธรรมไทยซึ่งสามารถสนิทสนมกับคนแปลกหน้าได้อย่างรวดเร็ว จนกระทั่งพัฒนาเป็นความสัมพันธ์ในการหาประโยชน์ร่วมกันได้ โดยแทบไม่มีข้อจำกัดด้านเชื้อชาติภูมิหลัง
อัตลักษณ์ของคนไทย จึงอาจไม่ได้เป็นผู้ทรงภูมิปัญญาทางปรัชญาและวิศวกรรมอย่างคนเยอรมัน ไม่ได้ฉลาดในการคิดค้นนวัตกรรมแบบคนอเมริกา และไม่ได้มีระเบียบวินัยยอดเยี่ยมเฉกเช่นคนญี่ปุ่น หากทว่า สิ่งที่เป็นคุณค่าแท้จริงของคนไทยก็คือ ความยืดหยุ่นและประนีประนอมในการใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่น ทำให้สามารถแสวงหาประโยชน์ร่วมกันได้เป็นอย่างดี ที่สำคัญยังสามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปมาได้ ซึ่งเป็นสินทรัพย์ที่มีค่ายิ่งโดยเฉพาะในศตวรรษที่ 21 ที่เศรษฐกิจโลกมีความผันผวนยิ่งกว่ายุคสมัยใด
บางคนอาจรู้สึกว่านี่เป็นข้อเสียที่ทำให้เมืองไทยไม่พัฒนาก้าวหน้า หากทว่าสิ่งที่ลืมคิดไปก็คือ อัตลักษณ์ของทุกชาติก็ล้วนแต่มีทั้งข้อดีและข้อเสียทั้งสิ้น หากเราจะพัฒนาคนไทยให้เป็นเหมือนชาติอื่นที่เราฝันไว้ นอกจากจะเป็นไปได้ยากเพราะขัดแย้งกับพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ที่ยาวนานฝังลึกแล้ว หากแม้ว่าทำได้จริง ก็จะต้องมีข้อเสียอย่างอื่นขึ้นมาให้แก้ไขไม่สิ้นสุด
อย่าลืมว่า คุณภาพและมาตรฐานแบบเยอรมัน ก็ยังเคยนำไปสู่ระบบเผด็จการแบบฮิตเลอร์มาแล้ว
ทางออกที่ดีกว่า คือ การพัฒนาประเทศให้สอดคล้องกับอัตลักษณ์ไทย แล้วเมื่อด้านดีที่แข็งแกร่งได้พัฒนาอย่างเต็มที่แล้ว ด้านที่ไม่ดีก็จะน้อยลงไปเอง เปรียบเสมือนร่างกายของคนที่แข็งแรง ก็ไม่ได้หมายความว่าจะไม่มีโรคภัยเบียดเบียน เพียงแต่ว่าเมื่อเจ็บป่วยแล้วก็สามารถฟื้นตัวได้เร็วกว่าคนทั่วไป
ในยุคสมัยเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy) ที่ความมั่งคั่งไม่จำเป็นต้องพัฒนามาจากวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเท่านั้น ประเทศไทยก็มีแนวโน้มที่จะใช้อัตลักษณ์ความเป็นไทยให้เกิดประโยชน์สูงสุดได้
ระบบราชการไทยที่พัฒนาขึ้นมาพร้อมกับการเป็นเมืองท่าค้าขาย จึงทำให้คนไทยมีความยืดหยุ่นสูงในการระดมทรัพยากรเพื่อใช้พัฒนาประเทศ แสวงหาประโยชน์และแข่งขันกับคนต่างชาติ
การเจริญเติบโตของห้างสรรพสินค้า ร้านสะดวกซื้อ และอุตสาหกรรมท่องเที่ยว จึงไม่ใช่เรื่องบังเอิญอย่างแน่นอน หากเป็นผลมาจากอัตลักษณ์ไทย ที่มีความยืดหยุ่นและผ่อนปรน ทำให้นักท่องเที่ยวต่างชาติมีความสนุกสบายในการจับจ่ายใช้สอยในเมืองไทย แม้ว่าอาจจะไม่ได้มีชายหาดที่สวยที่สุดในโลก ไม่ได้มีผลงานศิลปะและโบราณวัตถุที่ยิ่งใหญ่ในจักรวาล
ประเทศไทยยังสามารถพัฒนามูลค่าทางเศรษฐกิจได้อีกมากมาย โดยอาศัยอัตลักษณ์และความถนัดเฉพาะของคนไทย โดยเฉพาะการวางยุทธศาสตร์ประเทศให้เป็น “สถานที่ (Where)” ซึ่งผู้คนจากทั่วทุกมุมโลกสามารถเข้ามาใช้ชีวิต ทำงาน ช้อปปิ้ง และพักผ่อน ได้อย่างรื่นรมย์ใจ
ยุคสมัยที่ How เป็นใหญ่ในการคิดค้นเทคโนโลยีได้จบสิ้นไปแล้ว ยุคสมัยที่ What เป็นใหญ่ในการคิดค้นนวัตกรรมได้ถึงจุดอิ่มตัวแล้ว หากทว่ายุคสมัยที่ Where เป็นใหญ่ในการค้นหาสถานที่สำหรับการอยู่อาศัยกำลังเริ่มต้นขึ้น
“หาบเร่และแผงลอย” บางคนอาจมองว่าผิดกฎหมาย แต่หากไม่ยึดถือจริงจังเกินไป ก็จะพบว่าเป็นเสน่ห์อย่างหนึ่งของสินค้าและบริการแบบไทย ซึ่งนอกจากทำให้ราคาสินค้าและอาหารไทยมีราคาถูกได้อย่างยาวนานแล้ว ยังเป็นทางเลือกที่หลากหลายให้กับผู้บริโภคทั้งชาวไทยและต่างประเทศอีกด้วย
ประเทศที่มีกฎหมายเคร่งครัดเกินไป ก็ย่อมทำให้ชีวิตผู้คนเต็มไปด้วยความน่าเบื่อ ที่สำคัญยังมีต้นทุนในชีวิตที่แพงเป็นพิเศษอีกด้วย ในขณะเดียวกัน ประเทศที่ไร้ระเบียบขื่อแป ก็ย่อมนำไปสู่สภาพอนารยะที่ผู้คนฉกชิงวิ่งราวไร้ความปลอดภัย ซึ่งก็ทำให้ต้นทุนในการใช้ชีวิตสูงแพงไม่แพ้กัน
โชคดีที่ประเทศไทยไม่ได้อยู่ใน 2 ประเภทนี้ หากทว่าเป็นดินแดนที่มีกฎหมายบังคับใช้ให้คนอยู่ร่วมกันได้ แต่กระนั้นก็มีความยืดหยุ่นให้มากพอที่จะใช้ชีวิตกันอย่างมีสีสัน ซึ่งแม้จะกลายเป็นช่องว่างให้บางคนแสวงหาประโยชน์ได้ แต่คุณค่าจากการมีที่ว่างให้คนได้เลือกสรรก็มีมากมายเพียงพอที่จะชดเชยกันไปได้
ในยุคที่สินค้าและบริการมีคุณภาพหลากหลายล้นทะลักโลก ประเทศไทยจึงสามารถสร้างอัตลักษณ์และความได้เปรียบในการเป็นเมืองท่าค้าขายสินค้าได้ โดยผู้บริโภคอาจไม่ได้มีความนิยมสินค้าที่วางขายในประเทศไทยเป็นพิเศษ หากทว่าเมื่อเลือกที่จะมาท่องเที่ยวและใช้ชีวิตในเมืองไทยแล้ว ก็ย่อมถูกบังคับให้เลือกซื้อสินค้าไปโดยปริยาย ที่สำคัญ ประเทศไทยยังฉลาดในการคัดสรรสินค้าที่หลากหลายจากทั่วทุกมุมโลกให้มารวมอยู่ในที่เดียวกัน โดยมีการจำแนกประเภทให้สอดคล้องกับกลุ่มลูกค้าที่แตกต่าง ซึ่งก็จะเลือกไปเดินในสถานที่แตกต่างอีกด้วย นี่คือ หน้าที่ในการจับคู่ระหว่างผู้ผลิตและผู้บริโภค ในยุคที่ข้อมูลข่าวสารล้นทะลัก แต่เราก็กลับยุ่งยากในการพบเจอสิ่งที่ต้องการท่ามกลางสิ่งที่ไม่ต้องการซึ่งมีมากล้นกว่า
ประเทศไทยไม่เคยยิ่งใหญ่ และก็อาจไม่มีวันก้าวสู่ความยิ่งใหญ่ได้เลย หากทว่า คนไทยส่วนใหญ่ก็ยังมีความสุขรื่นรมย์ในชีวิตได้ในทุกฤดูกาล นั่นเพราะเราสามารถพัฒนาประเทศให้เป็นสถานที่น่าอยู่อาศัยและเต็มไปด้วยชีวิตชีวาได้เสมอมา ไม่ใช่ด้วยการปิดกั้นตัวเองให้ล้าหลัง หากทว่าเปิดใจปรับตัวให้เข้ากับความเปลี่ยนแปลงที่ถาโถมเข้ามาอย่างเป็นตัวของตัวเอง (Originality)
http://www.siamintelligence.com/
หากถือตามประเทศมหาอำนาจเป็นแม่แบบ ก็จะพบปัญหาเดียวกันว่า อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมัน อเมริกา ญี่ปุ่น รัสเซีย และจีน แม้ว่าบางประเทศจะดูเหมือนมีความคล้ายคลึงกัน แต่เมื่อลงลึกในรายละเอียดแล้วต่างก็มีลักษณะพิเศษเฉพาะตัว
ความสำเร็จในการพัฒนาของแต่ละชาติ ส่วนหนึ่งย่อมเกิดจากการลอกเลียนและหยิบยืมกัน หากทว่าส่วนสำคัญที่ไม่ยิ่งหย่อนกว่า คือ การนำแนวคิดจากภายนอกมาปรับใช้ให้สอดคล้องกับลักษณะเฉพาะของตนที่ผ่านการสั่งสมมายาวนาน
การค้นหาลักษณะเฉพาะของประเทศ จึงไม่อาจหลีกเลี่ยงที่จะศึกษาประวัติศาสตร์ความเป็นมาที่บรรพบุรุษของชาติได้ร่วมกันสร้างขึ้น
ประเทศไทยที่เราคุ้นเคยและอาศัยหายใจอยู่ในปัจจุบัน ก็มีหลายสิ่งหลายอย่างที่สืบรากมาจากอดีตกาลที่ไกลโพ้น โดยอาจต้องนับย้อนไปถึงสมัยอาณาจักรอยุธยา ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นในการสร้างชาติและรวมเขตแดนทั้งหลายให้เป็นปึกแผ่น
ความได้เปรียบด้านชัยภูมิของอยุธยา ไม่ใช่เพียงเป็นแหล่งเพาะปลูกที่อุดมสมบูรณ์เท่านั้น หากยังมีสิ่งที่สำคัญกว่า นั่นคือ ทางออกทะเล ซึ่งทำให้สามารถติดต่อค้าขายกับอาณาจักรเพื่อนบ้านและชาวต่างชาติได้สะดวก จึงเป็นเหตุให้อยุธยาสั่งสมความมั่งคั่งและวิทยาการได้ดีกว่าหัวเมืองเหนือ ไม่ว่าจะเป็นสุโขทัย พิษณูโลก หรือเชียงใหม่
ยิ่งอยุธยาสามารถครอบครองและเรียกบรรณาการจากหัวเมืองเหนือได้มากเท่าไร อยุธยาก็จะยิ่งมีสินค้าไปขายให้กับพ่อค้าชาวต่างชาติได้หลากหลายมากขึ้นเท่านั้น จึงยิ่งทำให้อำนาจและความมั่งคั่งสามารถสั่งสมแปรเปลี่ยนไปสู่การพัฒนาระบบการปกครองให้เข้มแข้งยิ่งขึ้น
“เมืองลูกหลวง” เป็นกลไกเริ่มต้นในการขยายขอบเขตอำนาจของอยุธยาให้กว้างไกลออกไป โดยอาศัยสายสัมพันธ์ระหว่างกษัตริย์และเชื้อพระวงศ์ใกล้ชิดให้ไปปกครอง ซึ่งทำให้อาณาจักรอยุธยาสามารถขยายอิทธิพลออกไปครอบงำหัวเมืองที่อยู่ทางเหนือได้ดียิ่งขึ้น
ระบบนี้แม้ว่าจะมีจุดอ่อนที่ทำให้เชื้อพระวงศ์ซึ่งครอบครองเมืองลูกหลวงสามารถยกทัพเข้ามาแย่งชิงอำนาจในราชสำนักที่อยุธยาได้ แต่ก็เป็นเพียงการเปลี่ยนตัวกษัตริย์องค์ใหม่เท่านั้น ไม่ได้กระทบกับระบบการปกครองที่สถาปนาไว้มากมายนัก ที่สำคัญยังถือเป็นการคัดเลือกผู้เข้มแข็งกว่าให้สืบทอดราชบัลลังก์ต่อไปด้วย
หลังจากพระเจ้าอู่ทองสถาปนากรุงศรีอยุธยาในปี 1893 อาณาจักรแห่งนี้ก็ได้ขยายอำนาจตัวเองออกไปครอบครองดินแดนทางเหนือทีละเล็กทีละน้อย โดยการเปลี่ยนแปลงสถานะจากเมืองประเทศราชให้กลายเป็นเมืองลูกหลวงได้สำเร็จ
100 ปีต่อมา ในรัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ระบบราชการก็ยิ่งได้รับการสถาปนาให้เข้มแข็งขึ้น โดยเฉพาะการจัดระเบียบการปกครองส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ซึ่งทำให้ระบบเมืองลูกหลวงที่เคยเป็นประโยชน์ในช่วงเวลาหนึ่ง เริ่มลดบทบาทความสำคัญลง ขอบเขตของรัฐบาลที่กรุงศรีอยุธยาได้ขยายออกไปกว้างขวางกว่าบริเวณรอบแม่น้ำเจ้าพระยา
จนกระทั่ง สมัยสมเด็จพระไชยราชาธิราช (2077-2089) หัวเมืองทางเหนือก็ถูกควบคุมได้จากระบบราชการส่วนกลาง โดยอาศัยขุนนางทองถิ่นซึ่งเป็นเชื้อพระวงศ์เก่าของดินแดนประเทศราชเหล่านี้ เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของกลไกบริหาร
ระบบราชการที่สั่งสมขึ้นมาทีละน้อยนี้ แม้ว่าจะทำให้อาณาจักรอยุธยาสามารถขยายเขตแดนอิทธิพลได้เข้มแข็งกว้างไกลยิ่งขึ้น หากทว่าก็กลับทำให้เกิดกลุ่มอำนาจใหม่ที่จะสั่นคลอนกลไกการปกครองในเวลาต่อมา
เหตุการณ์เสียกรุงครั้งที่ 1 ส่วนหนึ่งก็มาจากความขัดแย้งของระบบราชการและกษัตริย์ แต่กระนั้นอยุธยาก็สามารถฟื้นตัวจากภาวะสงครามได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งย่อมเป็นข้อพิสูจน์ให้เห็นว่าระบบราชการที่สร้างขึ้นนี้มีความเข้มแข็งกว่าระบบเมืองลูกหลวงและสายสัมพันธ์ในเชิงสายเลือด
นับจากนี้ เราจะไม่พบเหตุการณ์ที่เจ้าเมืองยกกำลังเข้ามาช่วงชิงอำนาจได้อีกต่อไป การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองจะเกิดขึ้นภายในระบบราชการมากกว่า แม้ว่าอาณาจักรอยุธยาจะมีกษัตริย์ที่เข้มแข็งอย่างสมเด็จพระนเรศวรมหาราช สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง และสมเด็จพระนารายณ์มหาราช หากทว่าก็เพียงสามารถสะกดข่มขุนนางได้ชั่วคราวเท่านั้น สุดท้าย ระบบราชการก็จะเติบโตขึ้นมาเป็นขุมกำลังสำคัญในการบริหารบ้านเมืองและช่วงชิงอำนาจวาสนา
หลังจากเสียกรุงครั้งที่ 2 และการขึ้นครองราชย์ของพระเจ้าตากสินมหาราช ก็ดูเหมือนว่าระบบกระจายอำนาจโดยให้ขุนนางที่ไว้วางใจแยกตัวไปปกครองหัวเมืองจะกลับมาเข้มแข็งอีกครั้ง หากทว่า เมื่อสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชได้ปราบดาภิเษกขึ้นเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี ก็ได้รื้อฟื้นระบบราชการส่วนกลางที่เข้มแข็งของอาณาจักรอยุธยาขึ้นมาอีกครั้ง โดยปรับให้เหมาะสมกับกาลสมัยยิ่งขึ้น
การเติบโตทางการค้ากับต่างประเทศตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนปลาย โดยมีพ่อค้าและนักแสวงโชคจากทั้งโปรตุเกส ฮอลันดา และญี่ปุ่นได้เดินทางเข้ามาสร้างธุรกิจการค้า ทั้งหมดนี้ได้ส่งผลให้รัฐบาลที่ส่วนกลางทั้งพระมหากษัตริย์ เจ้านาย และขุนนาง ล้วนแต่มั่งคั่งขึ้นมาโดยถ้วนหน้า เมื่อมาถึงสมัยต้นรัตนโกสินทร์ การค้าขายก็ได้ขยายตัวกว้างขวางออกไป โดยเฉพาะเมื่อพระเจ้าตากสินมหาราชได้เป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการสร้างสภาพแวดล้อมและแรงจูงใจให้ชาวจีนอพยพเข้ามาทำมาหากินมากขึ้นกว่าในสมัยปลายอยุธยา
ระบบราชการที่ได้พัฒนาเติบโตขึ้นมาตลอดช่วงเวลา 417 ปีของอาณาจักรอยุธยา ได้ส่งผลให้รัฐบาลสมัยรัตนโกสินทร์สามารถรวบรวมทรัพยากรเพื่อใช้ในการค้าขายสั่งสมความมั่งคั่งได้อย่างเต็มที่ ในขณะที่ภัยคุกคามจากการแยกตัวของเจ้าเมืองทั้งหลายก็มีน้อยลง ซึ่งเท่ากับเป็นการเตรียมความพร้อมให้กับการปฏิรูปประเทศในสมัยรัชกาลที่ 4 และ 5 ในที่สุด
ลัทธิล่าอาณานิคมของตะวันตก ได้ถูกกล่าวหามาโดยตลอดว่าเป็นตัวการที่ทำให้ไทยสูญเสียดินแดน หากทว่า สิ่งที่ลืมนึกกันไปก็คือ หากไม่มีประเทศอังกฤษและฝรั่งเศส ไทยก็อาจต้องโดนคุกคามจากพม่าและเวียดนาม ที่มีแนวโน้มว่าจะร่วมมือกันมารุกรานไทยในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์
ที่สำคัญกว่านั้นก็คือ สนธิสัญญาเบอร์นี ได้ทำให้ไทยเริ่มปรับตัวในสมัยรัชกาลที่ 3 โดยการพัฒนาช่องทางการเก็บภาษีแบบใหม่ แทนที่จะใช้วิธีการผูกขาดทางการค้าแบบเดิม ยิ่งเมื่อมีการทำสนธิสัญญาบาวริ่ง ก็ยิ่งทำให้ไทยต้องเร่งปรับตัวขนานใหญ่ มีการขุดคลองและพัฒนาที่ดินเพื่อใช้ในการปลูกข้าว
รัชกาลที่ 5 ได้รับประโยชน์จากการพัฒนาในรัชกาลก่อน จึงเป็นเหตุให้การพัฒนาประเทศสามารถก้าวกระโดดไกลได้ ทั้งในเชิงเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และวัฒนธรรม
ระบบการรถไฟและกองทัพสมัยใหม่ ได้ทำให้รัชกาลที่ 5 มีความมั่นใจในการประกาศปฏิรูปการปกครองในปี 2535 อย่างไรก็ตาม แม้จะได้พยายามกระทำการอย่างละมุนละม่อม แต่ก็ยังเกิดกบฎของหัวเมืองขึ้นมากมาย หากทว่า รัฐบาลกลางก็สามารถปราบปรามได้โดยง่ายดาย จึงทำให้ภารกิจการรวมชาติที่ได้เริ่มต้นไว้ตั้งแต่สมัยอยุธยาสามารถกระทำสำเร็จลงได้ในรัชกาลนี้
การเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี 2475 ส่วนหนึ่งก็มาจากกลไกการปกครองแบบใหม่ที่รัชกาลที่ 5 ได้ทรงสถาปนาไว้ หากทว่าการยึดอำนาจโดยระบบราชการก็ยังไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่ประการใด หากเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นตั้งแต่สมัยอยุธยาแล้ว และเป็นต้นทุนที่ต้องจ่ายสำหรับผู้ปกครองทั้งหลายที่ต้องการสร้างชาติบ้านเมืองให้เจริญรุดหน้า
สิ่งที่ต่างออกไปก็คือ เหตุการณ์ในปี 2475 ได้เป็นจุดเริ่มต้นให้สามัญชนที่เริ่มหลุดพ้นจากความเป็นไพร่และทาสในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้มีโอกาสในการมีส่วนร่วมในการปกครองประเทศทีละเล็กทีละน้อย จนกระทั่งถึงปัจจุบัน
เราย่อมเห็นความคล้ายคลึงในการพัฒนาชาติไทยที่มีจุดร่วมกับประเทศทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาระบบราชการและระบบรัฐสภา หากทว่าสิ่งที่ต่างออกไปก็ยังมีอยู่มากมายนัก
เริ่มจากว่า ประเทศไทยไม่ได้อยู่ในบริเวณที่มีผืนแผ่นดินขนาดใหญ่เชื่อมต่อกัน จึงไม่สามารถเป็นต้นกำเนิดอารยธรรมเหมือนดั่งประเทศจีน อินเดีย หรือแม้กระทั่งยุโรปและอเมริกา
ประเทศไทยทำได้เพียงการพัฒนาตัวเองให้ดีจากภายใน และหยิบยืมนวัตกรรมจากต่างประเทศมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ตั้งแต่การสร้างระบบราชการในสมัยอยุธยาตอนต้น ซึ่งได้หยิบยืมต่อยอดรูปแบบส่วนหนึ่งมาจากอินเดีย การพัฒนาเมืองท่าค้าขายในสมัยอยุธยาตอนปลาย ที่เกิดจากการเข้ามาแสวงหาอาณานิคมและผลประโยชน์ของชาติตะวันตก ซึ่งจะกลายเป็นจุดเริ่มต้นครั้งสำคัญที่ไทยจะเก็บเกี่ยวความเจริญก้าวหน้าและความมั่งคั่งจากชาวต่างชาติ
การปฏิสัมพันธ์กับชาวต่างประเทศทั้งที่อยู่ในภูมิภาคเดียวกันและภูมิภาคที่ไกลโพ้น ก็ไม่ได้มีแต่ด้านดีเสมอไป หากยังเต็มไปด้วยการต่อสู้ช่วงชิงหรือแม้กระทั่งสงคราม ซึ่งไทยก็สามารถกำหนดยุทธศาสตร์เพื่อเอาตัวรอดได้ดีเสมอมา
ตั้งแต่สมัยพระนารายณ์มหาราช ที่หยิบยืมมือของประเทศฝรั่งเศสมาถ่วงดุลอิทธิพลกับฮอลันดาและอังกฤษ แม้ว่าจะนำไปสู่การยึดอำนาจของพระเพทราชาในเวลาต่อมา หากประเทศไทยก็อยู่รอดปลอดภัยมาจนกระทั่งการเสียกรุงครั้งที่ 2
ในสมัยพระเจ้าตากสินมหาราช ก็มีการหยิบยืมกำลังจากชาวต่างชาติในการแสวงหาอาวุธและข้าวปลาอาหาร เพื่อเอาตัวรอดจากภาวะข้าวยากหมากแพงภายหลังสงครามได้สำเร็จ แม้ว่าต้องแลกกับทรัพยากรธรรมชาติบนผืนแผ่นดินไทย โดยเฉพาะแร่ดีบุกจากทางภาคใต้ แต่ก็นับเป็นวิธีการเอาตัวรอดที่คุ้มค่ายิ่ง
รัชกาลที่ 4 ก็ทรงปรีชาสามารถในการโอนอ่อนผ่อนตามให้กับอังกฤษ แล้วจึงแปรความเสียเปรียบให้กลายเป็นการเร่งพัฒนาประเทศไทยให้สามารถรับมือกับระบบทุนนิยม ที่บีบบังคับให้รัฐบาลไม่สามารถใช้ยุทธศาสตร์ผูกขาดการค้าแบบเดิมได้อีกต่อไป
ในยุคใกล้นี้ ไทยก็ยังแสวงหาประโยชน์จากการเข้ามาของต่างชาติได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะการย้ายฐานการผลิตของญี่ปุ่น ที่ช่วยให้เศรษฐกิจไทยสามารถเติบโตขึ้นอีกระดับหนึ่ง แม้ว่าจะถูกโจมตีว่าไม่สามารถพัฒนาเทคโนโลยีเป็นของตัวเองก็ตาม
หากทว่า สิ่งที่ไทยได้รับโดยทางอ้อมก็มีคุณค่าไม่แพ้กัน โดยเฉพาะการเข้ามาตั้งโรงงานของคนญี่ปุ่น ก็ย่อมต้องมีค่าใช้จ่ายด้านอาหารและค่าที่พัก ยังไม่นับการท่องเที่ยวและช้อปปิ้ง ที่สำคัญ ยังอาจดึงดูดชาวญี่ปุ่นที่เหลือให้เข้ามาท่องเที่ยวเพิ่มเติมมากขึ้นกว่าเดิมได้
ยุทธศาสตร์การเป็นเมืองท่าของประเทศไทย จากอดีตสู่ปัจจุบันก็ยังใช้ได้ดีไม่เปลี่ยนแปลง หากทว่าก็ยังมีการปรับปรุงรูปแบบให้ซับซ้อนยิ่งขึ้นตามบริบทโลกที่เปลี่ยนแปลงไป
อัตลักษณ์ของคนไทย
ประเทศไทยในอดีตมีลักษณะที่แตกต่างจากในปัจจุบัน นั่นคือ จำนวนประชากรที่เบาบางเมื่อเทียบกับที่ดินทำกิน จึงทำให้ผู้ปกครองในอดีตต้องคิดค้นวิธีการในการควบคุมกำลังแรงงานไม่ให้หลบหนีเข้าป่าหรือไปเป็นพลเมืองของประเทศอื่น นี่จึงเป็นต้นกำเนิดของระบบไพร่
หากทว่า ชัยภูมิของอยุธยาที่ถูกกำหนดให้เป็นผู้ชนะในการรวมชาติ ก็ยังมีลักษณะพิเศษสำคัญ นั่นคือ การเป็นเมืองท่าค้าขาย จึงทำให้ศูนย์กลางการปกครองแห่งนี้ มีความยืดหยุ่นในการระดมทรัพยากรจากดินแดนทั้งหลาย โดยไม่ต้องใช้เพียงการเกณฑ์แรงงานผ่านระบบไพร่เพียงอย่างเดียว หากยังเปิดช่องให้มีการส่งส่วยและสินค้าหายากเข้ามาทดแทนได้
การสร้างชาติไทย จึงมีลักษณะประนีประนอมกันมากกว่า เพราะมีระบบที่หลากหลายให้ผู้คนในสังคมได้เลือกสรร ในระยะแรกระบบราชการเหมือนจะเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด หากทว่าในเวลาต่อมา อาชีพค้าขายและทำนาเพื่อส่งออกก็เป็นทางเลือกที่ดีไม่แพ้กัน หากคนผู้นั้นมียุทธศาสตร์ในการดำเนินชีวิตที่เฉลียวฉลาด
ในเมื่อที่ดินและทรัพยากรก็มีมากมาย ชนชั้นปกครองไทยจึงไม่มีความรู้สึกรังเกียจหรือกีดกันคนต่างชาติ ยิ่งกว่านั้น ยังกลับพัฒนายุทธศาสตร์ที่ชาญฉลาดในการดึงดูดคนต่างชาติให้มาร่วมพัฒนาความมั่งคั่งให้ผืนแผ่นดินไทย
หลายครั้งอาจมีการกระทบกระทั่งระหว่างคนไทยและคนต่างชาติบ้าง หากทว่าความหลากหลายยืดหยุ่นในการวางยุทธศาสตร์ของชนชั้นปกครองไทย จึงทำให้สามารถหลอมกลืนคนต่างชาติที่อยู่อาศัยมาเป็นเวลานานให้กลายเป็นคนไทยและรักเมืองไทยได้สำเร็จ ซึ่งเท่ากับเป็นการเพิ่มพูนความเข้มแข็งให้กับการพัฒนาประเทศให้เติบโตยิ่งใหญ่ต่อไป
นี่คือ ภูมิปัญญาในการบริหารจัดการคนที่แตกต่างหลากหลาย ซึ่งสืบทอดกันมาจนกระทั่งตกผลึกเป็นวัฒนธรรมไทยซึ่งสามารถสนิทสนมกับคนแปลกหน้าได้อย่างรวดเร็ว จนกระทั่งพัฒนาเป็นความสัมพันธ์ในการหาประโยชน์ร่วมกันได้ โดยแทบไม่มีข้อจำกัดด้านเชื้อชาติภูมิหลัง
อัตลักษณ์ของคนไทย จึงอาจไม่ได้เป็นผู้ทรงภูมิปัญญาทางปรัชญาและวิศวกรรมอย่างคนเยอรมัน ไม่ได้ฉลาดในการคิดค้นนวัตกรรมแบบคนอเมริกา และไม่ได้มีระเบียบวินัยยอดเยี่ยมเฉกเช่นคนญี่ปุ่น หากทว่า สิ่งที่เป็นคุณค่าแท้จริงของคนไทยก็คือ ความยืดหยุ่นและประนีประนอมในการใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่น ทำให้สามารถแสวงหาประโยชน์ร่วมกันได้เป็นอย่างดี ที่สำคัญยังสามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปมาได้ ซึ่งเป็นสินทรัพย์ที่มีค่ายิ่งโดยเฉพาะในศตวรรษที่ 21 ที่เศรษฐกิจโลกมีความผันผวนยิ่งกว่ายุคสมัยใด
บางคนอาจรู้สึกว่านี่เป็นข้อเสียที่ทำให้เมืองไทยไม่พัฒนาก้าวหน้า หากทว่าสิ่งที่ลืมคิดไปก็คือ อัตลักษณ์ของทุกชาติก็ล้วนแต่มีทั้งข้อดีและข้อเสียทั้งสิ้น หากเราจะพัฒนาคนไทยให้เป็นเหมือนชาติอื่นที่เราฝันไว้ นอกจากจะเป็นไปได้ยากเพราะขัดแย้งกับพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ที่ยาวนานฝังลึกแล้ว หากแม้ว่าทำได้จริง ก็จะต้องมีข้อเสียอย่างอื่นขึ้นมาให้แก้ไขไม่สิ้นสุด
อย่าลืมว่า คุณภาพและมาตรฐานแบบเยอรมัน ก็ยังเคยนำไปสู่ระบบเผด็จการแบบฮิตเลอร์มาแล้ว
ทางออกที่ดีกว่า คือ การพัฒนาประเทศให้สอดคล้องกับอัตลักษณ์ไทย แล้วเมื่อด้านดีที่แข็งแกร่งได้พัฒนาอย่างเต็มที่แล้ว ด้านที่ไม่ดีก็จะน้อยลงไปเอง เปรียบเสมือนร่างกายของคนที่แข็งแรง ก็ไม่ได้หมายความว่าจะไม่มีโรคภัยเบียดเบียน เพียงแต่ว่าเมื่อเจ็บป่วยแล้วก็สามารถฟื้นตัวได้เร็วกว่าคนทั่วไป
ในยุคสมัยเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy) ที่ความมั่งคั่งไม่จำเป็นต้องพัฒนามาจากวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเท่านั้น ประเทศไทยก็มีแนวโน้มที่จะใช้อัตลักษณ์ความเป็นไทยให้เกิดประโยชน์สูงสุดได้
ระบบราชการไทยที่พัฒนาขึ้นมาพร้อมกับการเป็นเมืองท่าค้าขาย จึงทำให้คนไทยมีความยืดหยุ่นสูงในการระดมทรัพยากรเพื่อใช้พัฒนาประเทศ แสวงหาประโยชน์และแข่งขันกับคนต่างชาติ
การเจริญเติบโตของห้างสรรพสินค้า ร้านสะดวกซื้อ และอุตสาหกรรมท่องเที่ยว จึงไม่ใช่เรื่องบังเอิญอย่างแน่นอน หากเป็นผลมาจากอัตลักษณ์ไทย ที่มีความยืดหยุ่นและผ่อนปรน ทำให้นักท่องเที่ยวต่างชาติมีความสนุกสบายในการจับจ่ายใช้สอยในเมืองไทย แม้ว่าอาจจะไม่ได้มีชายหาดที่สวยที่สุดในโลก ไม่ได้มีผลงานศิลปะและโบราณวัตถุที่ยิ่งใหญ่ในจักรวาล
ประเทศไทยยังสามารถพัฒนามูลค่าทางเศรษฐกิจได้อีกมากมาย โดยอาศัยอัตลักษณ์และความถนัดเฉพาะของคนไทย โดยเฉพาะการวางยุทธศาสตร์ประเทศให้เป็น “สถานที่ (Where)” ซึ่งผู้คนจากทั่วทุกมุมโลกสามารถเข้ามาใช้ชีวิต ทำงาน ช้อปปิ้ง และพักผ่อน ได้อย่างรื่นรมย์ใจ
ยุคสมัยที่ How เป็นใหญ่ในการคิดค้นเทคโนโลยีได้จบสิ้นไปแล้ว ยุคสมัยที่ What เป็นใหญ่ในการคิดค้นนวัตกรรมได้ถึงจุดอิ่มตัวแล้ว หากทว่ายุคสมัยที่ Where เป็นใหญ่ในการค้นหาสถานที่สำหรับการอยู่อาศัยกำลังเริ่มต้นขึ้น
“หาบเร่และแผงลอย” บางคนอาจมองว่าผิดกฎหมาย แต่หากไม่ยึดถือจริงจังเกินไป ก็จะพบว่าเป็นเสน่ห์อย่างหนึ่งของสินค้าและบริการแบบไทย ซึ่งนอกจากทำให้ราคาสินค้าและอาหารไทยมีราคาถูกได้อย่างยาวนานแล้ว ยังเป็นทางเลือกที่หลากหลายให้กับผู้บริโภคทั้งชาวไทยและต่างประเทศอีกด้วย
ประเทศที่มีกฎหมายเคร่งครัดเกินไป ก็ย่อมทำให้ชีวิตผู้คนเต็มไปด้วยความน่าเบื่อ ที่สำคัญยังมีต้นทุนในชีวิตที่แพงเป็นพิเศษอีกด้วย ในขณะเดียวกัน ประเทศที่ไร้ระเบียบขื่อแป ก็ย่อมนำไปสู่สภาพอนารยะที่ผู้คนฉกชิงวิ่งราวไร้ความปลอดภัย ซึ่งก็ทำให้ต้นทุนในการใช้ชีวิตสูงแพงไม่แพ้กัน
โชคดีที่ประเทศไทยไม่ได้อยู่ใน 2 ประเภทนี้ หากทว่าเป็นดินแดนที่มีกฎหมายบังคับใช้ให้คนอยู่ร่วมกันได้ แต่กระนั้นก็มีความยืดหยุ่นให้มากพอที่จะใช้ชีวิตกันอย่างมีสีสัน ซึ่งแม้จะกลายเป็นช่องว่างให้บางคนแสวงหาประโยชน์ได้ แต่คุณค่าจากการมีที่ว่างให้คนได้เลือกสรรก็มีมากมายเพียงพอที่จะชดเชยกันไปได้
ในยุคที่สินค้าและบริการมีคุณภาพหลากหลายล้นทะลักโลก ประเทศไทยจึงสามารถสร้างอัตลักษณ์และความได้เปรียบในการเป็นเมืองท่าค้าขายสินค้าได้ โดยผู้บริโภคอาจไม่ได้มีความนิยมสินค้าที่วางขายในประเทศไทยเป็นพิเศษ หากทว่าเมื่อเลือกที่จะมาท่องเที่ยวและใช้ชีวิตในเมืองไทยแล้ว ก็ย่อมถูกบังคับให้เลือกซื้อสินค้าไปโดยปริยาย ที่สำคัญ ประเทศไทยยังฉลาดในการคัดสรรสินค้าที่หลากหลายจากทั่วทุกมุมโลกให้มารวมอยู่ในที่เดียวกัน โดยมีการจำแนกประเภทให้สอดคล้องกับกลุ่มลูกค้าที่แตกต่าง ซึ่งก็จะเลือกไปเดินในสถานที่แตกต่างอีกด้วย นี่คือ หน้าที่ในการจับคู่ระหว่างผู้ผลิตและผู้บริโภค ในยุคที่ข้อมูลข่าวสารล้นทะลัก แต่เราก็กลับยุ่งยากในการพบเจอสิ่งที่ต้องการท่ามกลางสิ่งที่ไม่ต้องการซึ่งมีมากล้นกว่า
ประเทศไทยไม่เคยยิ่งใหญ่ และก็อาจไม่มีวันก้าวสู่ความยิ่งใหญ่ได้เลย หากทว่า คนไทยส่วนใหญ่ก็ยังมีความสุขรื่นรมย์ในชีวิตได้ในทุกฤดูกาล นั่นเพราะเราสามารถพัฒนาประเทศให้เป็นสถานที่น่าอยู่อาศัยและเต็มไปด้วยชีวิตชีวาได้เสมอมา ไม่ใช่ด้วยการปิดกั้นตัวเองให้ล้าหลัง หากทว่าเปิดใจปรับตัวให้เข้ากับความเปลี่ยนแปลงที่ถาโถมเข้ามาอย่างเป็นตัวของตัวเอง (Originality)
http://www.siamintelligence.com/
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)
รีโมท
ซื้อ รีโมท จากผู้ค้าส่งโดยตรง ที่มีหน้าร้านจริง ที่ บ้านหม้อ และ คลองถม ราคาถูกกว่าใคร ปลอดภัย มีรับประกัน