บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันพฤหัสบดีที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

แยกส่วนนิติราษฎร์เพื่อเป้าหมายใหม่

: ขยายปมร้อน โดยสมถวิล เทพสวัสดิ์


จับตาปฏิกิริยากลุ่มก้อนซีกรัฐบาลทั้งจาก "ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร" นายกรัฐมนตรี "ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง" รองนายกรัฐมนตรี "ส.ส.เพื่อไทย" และ "แกนนำกลุ่มคนเสื้อแดง" ที่ขอให้ "กลุ่มนิติราษฎร์" หยุดการเคลื่อนไหวแก้ไข ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ว่าด้วยเรื่องปกป้องคุ้มครองสถาบันพระมหากษัตริย์ ที่ต้องการแสดงให้เห็นการแยกส่วนเคลื่อนไหวฝ่ายกลุ่มก้อนของรัฐบาลกับ "กลุ่มนิติราษฎร์" คนละส่วนกัน

นั่นเพราะมองออกว่าสังคมเริ่มมีปฏิกิริยาด้านลบต่อการเคลื่อนไหวของ "กลุ่มนิติราษฎร์" และอาจกลายเป็นชนวนทำให้เกิดการเมืองนอกระบบขึ้นได้

นอกจากจะแสดงอาการ "ไม่เอา" แนวคิดของกลุ่มนิติราษฎร์ ในประเด็นเคลื่อนไหวเรื่องมาตรา 112 แล้ว รัฐบาลและกลุ่มก้อนของพรรคเพื่อไทย ยังประสานเสียงกับ "ประยุทธ์ จันทร์โอชา" ผู้บัญชาการทหารบก ที่ออกมาปรามการเคลื่อนไหวของ "กลุ่มนิติราษฎร์" ด้วยเสียงปรามมีความถี่มากขึ้นกว่าเดิม

โดยมี "ผู้นำเหล่าทัพ" ทยอยออกมาแสดงความไม่เห็นด้วยกับแนวคิดเรื่องการแก้ไขมาตรา 112 ด้วยเช่นกัน

เมื่อฝ่ายการเมืองประสานเสียง "ไม่เอา" แนวคิดการแก้ไข มาตรา 112 โอกาสการเดินหน้าของ "กลุ่มนิติราษฎร์" ในประเด็นนี้แทบมองไม่เห็นแนวทางในการขับเคลื่อนต่อ

เพราะท้ายที่สุดการแก้ไขกฎหมายก็เป็นหน้าที่ของ "ฝ่ายนิติบัญญัติ" เมื่อเสนอมาแต่ "ส.ส." ไม่ขานรับ โอกาสแก้ไขก็เป็นไปได้ยาก

ขณะที่แนวคิดของ "นิติราษฎร์" เกี่ยวกับการแก้ไขมาตรา 112 เริ่มจะริบหรี่ลง แต่ "ฝ่ายการเมือง" พรรคเพื่อไทย ก็มีภารกิจใหม่ในการเคลื่อนไหวที่มีความคืบหน้ามากขึ้น คือ การแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับ 2550

ล่าสุด "คณะกรรมการประสานงาน" (วิป) รัฐบาล ได้มีมติเห็นชอบตามที่ "พรรคเพื่อไทย" มีมติดำเนินการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 เพื่อจัดตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) เข้ามายกร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ จำนวน 99 คน โดยจะยื่นเสนอต่อประธานรัฐสภาได้วันที่ 9 กุมภาพันธ์นี้

หากดูจากรายละเอียดมติ "วิปรัฐบาล" เกี่ยวกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 ซึ่งมีเนื้อหารวม 5 มาตรา ส่วนใหญ่เป็นการแจกแจงรายละเอียดถึงที่มาของ ส.ส.ร. ที่จะเข้ามาทำหน้าที่จัดทำร่างรัฐธรรมนูญใหม่ รวมทั้งหมด 99 คน มาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชนจังหวัดละ 1 คน และอีก 22 คน ให้ที่ประชุมรัฐสภาเป็นผู้คัดเลือกจากผู้เชี่ยวชาญในแต่ละสาขา

แต่มติดังกล่าวไม่ได้มีการพูดถึงประเด็นปัญหาของรัฐธรรมนูญฉบับ 2550 ที่เป็นสาเหตุให้ต้องมีการแก้ไข และเมื่อแก้ไขแล้วประชาชนจะได้ประโยชน์อะไรจากการแก้ไขรัฐธรรมนูญในครั้งนี้ และขอบเขตในการแก้ไขมีแค่ไหนเพียงใด จะใช้รัฐธรรมนูญฉบับใดเป็น "ต้นร่าง"

ขณะเดียวกันก็มีภาคประชาชน เช่น "แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ" (นปช.) เตรียมยื่นรายชื่อประชาชนที่เสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญตามมาตรา 291 ต่อประธานรัฐสภาในวันที่ 9 กุมภาพันธ์นี้ด้วยเช่นกัน

โดย "วรวุฒิ วิชัยดิษฐ" รักษาการโฆษก นปช. ยืนยันว่าจะไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับมาตรา 112 แม้ว่าจะมี "คนเสื้อแดง" บางกลุ่มไปร่วมสนับสนุน ก็ถือว่าเป็นสิทธิส่วนบุคคล

ส่วนความเคลื่อนไหวของ "วิปฝ่ายค้าน" ก็มีความเป็นห่วงเกี่ยวกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญจะมีวาระซ่อนเร้นล้างความผิดให้บุคคลเพียงคนเดียว, ห่วงว่า ส.ส.ร.ทั้ง 99 คน จะเป็นร่างทรงของรัฐบาล และกังวลการแก้ไขจะไปแตะหมวดที่เกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์, ยกเลิกองค์กรอิสระ, แก้ไขมาตรา 309 หรือมาตรา 102 ที่กำหนดคุณสมบัติของผู้มีสิทธิรับสมัครเลือกตั้งเป็น ส.ส.

เมื่อกระแสสังคมเริ่มไม่เห็นด้วยกับแนวคิดของ "กลุ่มนิติราษฎร์" การชงเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญก็ถูกจุดพลุขึ้นมาแทนที่ โดยยังไม่มีรายละเอียดประเด็นที่จะแก้ไขให้ชัดเจน

ความกังวลของสังคมก็จะเบนเข็มมาที่สาระของการแก้ไขรัฐธรรมนูญแทน โดยเฉพาะในหมวดที่เกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ หมวดศาล และองค์กรอิสระ

โดยเฉพาะในส่วนที่ต้องไปเกี่ยวโยงกับอำนาจตุลาการที่สังคมยังฝากความหวังไว้ได้ เนื่องจากขณะนี้ 2 อำนาจในการปกครองประเทศคือ "นิติบัญญัติกับบริหาร" ถูกมองว่าเป็นคนกลุ่มก้อนเดียวกันไปแล้ว เพราะพรรคการเมืองของไทยในขณะนี้ถูกมองว่าเป็นของบุคคลไม่ใช่ของประชาชน จะเห็นได้จากการขับเคลื่อนของพรรคจะถูกกำหนดโดยตัวบุคคล

จึงเหลือเพียง "อำนาจตุลาการ" เท่านั้นที่ยังเป็นที่พึ่งของสังคมได้

การแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้นอกจากจะต้องจับตามองเรื่องการแก้ไขในหมวดที่เกี่ยวข้องกับสถาบันพระมหากษัตริย์แล้ว ยังจะต้องจับตามองว่าจะมีการแก้ไขในประเด็นใดบ้างที่เข้าไปเชื่อมโยงเกี่ยวกับฝ่ายตุลาการ เพราะระบอบประชาธิปไตยอุปถัมภ์แบบไทยๆ บางครั้งก็เป็นจุดอ่อนที่อาจก่อให้เกิดประชาธิปไตยแบบเบ็ดเสร็จขึ้นได้

ดังนั้นจากนี้ไปต้องจับตาดูการขับเคลื่อนแก้ไขรัฐธรรมนูญจะออกมาในรูปแบบใด จะเป็นประชาธิปไตยโดยเนื้อแท้ หรือเป็นเพียงแค่ "เสื้อคลุมประชาธิปไตย แต่ใต้เสื้อเป็นเผด็จการ"

เปิด ‘งบภัยพิบัติ’ 8 หน่วยอุ้ม 3.8 พันล้าน

เปิด ‘งบภัยพิบัติ’ 8 หน่วยอุ้ม 3.8 พันล้าน ป.ป.ท.สอบพบส่อทุจริต 270 โครงการ ชงรัฐบาลตั้งเกณฑ์ให้ชัด

เปิดเกณฑ์ใช้ ‘งบภัยพิบัติ’ ทั่วประเทศ เกือบ 4 พันล้าน อนุมัติได้ตั้งแต่รัฐมนตรียันนายอำเภอ ทั้งภัยหนาว น้ำท่วม โคลนถล่ม ฯลฯ จังหวัดดูแลทุกอย่างตั้งแต่อาหาร เครื่องนุ่งห่ม รักษาการบาดเจ็บ-เจ็บป่วย ชดเชยกรณีเสียชีวิต-ทุพพลภาพ แค่ 3 วัน ก่อนส่งให้ปภ.รับผิดชอบต่อ ส่วนรัฐบาลตัดงบปภ.ถึง 900 ล้าน เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ป.ป.ท.ระบุสุ่มตรวจเมื่อปี 53 พบทุจริตใช้งบฯ 270 โครงการ จากกว่า 300 โครงการ แฉวิธีการมีทุกรูปแบบ ทั้งมั่วข้อมูลจนถึงจัดซื้อจัดจ้าง ขณะที่ผลสอบปภ.ซื้อถุงยังชีพยังไม่คืบ
โดย วรลักษณ์ ศรีใย ศูนย์ข่าว TCIJ
ในช่วงระยะเวลา 20ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยประสบปัญหาภัยพิบัติใหญ่น้อยอยู่ทั่วแทบทุกภูมิภาคของประเทศ ซึ่งมีข้อสันนิษฐานว่า ภัยพิบัติที่เกิดขึ้นมาจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลก ที่ส่งผลให้สภาพภูมิอากาศแปรปรวน และเกิดภัยต่างๆ ขึ้น ซึ่งหากสังเกตจะพบว่าในระยะหลังปรากฎการณ์ทางธรรมชาติ เกิดขึ้นไม่ตรงตามฤดูกาล มิหนำซ้ำยังเกิดความผิดปกติด้วย อาทิ ภัยหนาว ฝนตกมากเกินปกติ จนเกิดปัญหาน้ำท่วม ดินถล่ม ไฟป่า ฯลฯ ซึ่งเมื่อธรรมชาติผิดปกติได้ส่งผลกระทบโดยตรงทั้งต่อคนและสภาพแวดล้อม รวมทั้งก่อให้เกิดความเสียหายมากมาย รัฐบาลจึงจัดสรรงบประมาณขึ้นหลายล้านบาทเพื่อให้ความช่วยเหลือเบื้องต้นกับ ผู้ได้รับความเดือดร้อนทั้งครอบครัว บ้านเรือน และพืชผลทางการเกษตร ฯลฯ
อย่างไรก็ตามการใช้งบประมาณก้อนดังกล่าว ย่อมต้องเป็นไปตามระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ.2546 และที่แก้ไขเพิ่มเติม เพื่อให้เงินจำนวนมากไปถึงมือผู้ได้รับความเดือดร้อนอย่างแท้จริง ทั้งความช่วยเหลือเรื่องอาหาร ที่พักอาศัย ยารักษาโรค หรือแม้แต่การชดเชยกรณีที่มีการบาดเจ็บหรือเสียชีวิตจากภัยพิบัติ เป็นต้น แต่แม้จะมีการกำหนดกฎระเบียบอย่างไร ก็ยังพบว่ามีการดำเนินการที่ผิดระเบียบดังกล่าวอยู่มาก และมีการร้องเรียนให้หน่วยงานตรวจสอบด้วย แม้กระทั่งกรณีล่าสุดเมื่อปลายปี 2554ที่มีการร้องเรียนว่า กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ซื้อถุงยังชีพแพงเกินจริง และสิ่งของในถุงมีคุณภาพต่ำไม่เหมาะสมกับราคา การสอบสวนก็ยังไม่คืบหน้า

งบภัยพิบัติทั่วประเทศเกือบ 4 พันล้าน

นายวรพจน์ ศรีใย ปลัดอำเภอ ฝ่ายปกครอง อำเภอพระสุมทรเจดีย์ จ.สมุทรปราการ ให้สัมภาษณ์ศูนย์ข่าว TCIJ ถึงระเบียบการเบิกจ่ายงบภัยพิบัติว่า สำหรับการจัดการปัญหา เมื่อเกิดเหตุการณ์ภัยพิบัติขึ้นในพื้นที่  ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบคือหน่วยงานในพื้นที่ ดังนั้นทุกอำเภอจะมีงบประมาณในการจัดการภัยพิบัติ อำเภอละ 500,000 บาท ซึ่งรัฐบาลได้ตั้งเงินทดรองราชการเพื่อเป็นการบรรเทาความเดือดร้อนเบื้องต้น ภายใต้ระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยกรณีฉุกเฉิน พ.ศ.2546และที่แก้ไขเพิ่มเติม ซึ่งจะมีเพียงบางหน่วยงานเท่านั้นที่ได้เงินทดรองราชการนี้ คือ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี สำนักนายกรัฐมนตรี 100,000,000 บาท สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม 50,000,000 บาท สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ 10,000,000 บาท สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์  50,000,000 บาท สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย 50,000,000 บาท สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข 10,000,000 บาท กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย 50,000,000 บาท สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด จังหวัดละ 50,000,000  บาท (77 จังหวัด) รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 3,850,000,320 บาท โดยปลัดกระทรวงมีอำนาจในการจัดสรรวงเงินของแต่ละกระทรวง ส่วนของจังหวัด ผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจจัดสรรวงเงิน ครั้งและไม่น้อยกว่า 500,000 บาท

เกณฑ์ประกาศเป็นพื้นที่ภัยพิบัติ

นายวรพจน์กล่าวว่าการพิจารณาในการประกาศให้พื้นที่ใดเป็นพื้นที่ภัย พิบัติ หน่วยงานในพื้นที่แต่ละอำเภอ จะต้องพิจารณาจากองค์ประกอบต่างๆ ในพื้นที่เป็นสำคัญ เช่น ศึกษาข้อมูลจากหลายหน่วยงานประกอบกับสถานการณ์ในพื้นที่ โดยเฉพาะกรมอุตุนิยมวิทยา จะรายงานสภาพอากาศ ซึ่งจะมีเพียงการประกาศเป็นพื้นที่ภัยพิบัติหนาว จะต้องพิจารณาว่า หากในพื้นที่อุณหภูมิลดต่ำกว่า 15องศาเซลเซียส เกิน 3วัน ให้ประกาศเป็นพื้นที่ภัยหนาว
ส่วนภัยพิบัติในด้านอื่นให้พิจารณาจาก สถานการณ์ในพื้นที่และติดตามข้อมูลประกอบ เนื่องจากแต่ละพื้นที่มีสภาพพื้นที่ที่ต่างกัน โดยการประกาศเป็น พื้นที่ภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินนั้น ดำเนินการโดย ผู้ว่าราชการจังหวัด หากเกิดในกรุงเทพมหานคร ให้เป็นอำนาจของอธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ซึ่งรวมไปถึงการอนุมัติเงินทดรองราชการ เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยด้วย
สำหรับการช่วยเหลือ ผู้ประสบภัยในพื้นที่ประกาศภัยพิบัตินั้น แต่ละอำเภอจะแต่งตั้งคณะกรรมการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติอำเภอ (ก.ช.ภ.อ.) โดยมีนายอำเภอเป็นประธาน ก.ช.ภ.อ.จะมีหน้าที่สำรวจความเสียหายจากภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินที่เกิดขึ้นใน พื้นที่  และความต้องการรับความช่วยเหลือด้านต่างๆ ของผู้ประสบภัยพิบัติ
ในระดับจังหวัดจะมีการแต่งตั้ง คณะกรรมการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติจังหวัด (ก.ช.ภ.จ.) มีหน้าที่เหมือนกับ ก.ช.ภ.อ. โดยเลื่อนพิจารณาภาพรวมในระดับจังหวัด

จังหวัดช่วยเหลือเบื้องต้น 3 วัน ก่อนส่งต่อให้ปภ.

สำหรับการให้ความช่วยเหลือของกรมการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ใช้หลักเกณฑ์และวิธีการดำเนินการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุก เฉิน พ.ศ.2551 เป็นหลัก ในการช่วยเหลือผู้ประสบภัย โดยผ่านการพิจารณาตามความเหมาะสมจาก คณะกรรมการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติอำเภอ และคณะกรรมการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติจังหวัด ตามลำดับ
โดยการช่วยเหลือค่าอาหารมื้อละไม่เกิน 30 บาทต่อคน ถุงยังชีพครอบครัวละไม่เกิน 500 บาท ส่วนค่าจัดซื้อ หรือจัดหาน้ำ สำหรับบริโภคและใช้สอยในที่อยู่อาศัย จ่ายจริงตามความจำเป็นจนกว่าเหตุการณ์ประสบภัยพิบัติจะเข้าสู่ภาวะปกติ
อย่างไรก็ตาม ค่าอาหารและถุงยังชีพค่าขนย้ายครอบครัวผู้ประสบภัย สามารถดำเนินการได้ในระยะ3วันแรกนับแต่วันที่เกิดภัยเท่านั้น หลังจากนั้นผู้ว่าราชการจังหวัดจะมอบให้สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จังหวัด ดำเนินการช่วยเหลือต่อไปตามหลักเกณฑ์
ส่วนการก่อสร้างที่อยู่อาศัย ถ้าเสียหายทั้งหลังจ่ายจริงหลังละไม่เกิน  30,000 บาท แต่ถ้าเสียหายบางส่วนจ่ายจริงไม่เกิน 20,000 บาท  หากต้องเช่าที่พักให้ผู้ประสบภัย สามารถจ่ายค่าเช่าให้ได้ไม่เกิน 7วัน ไม่เกินคนละ 100 บาทต่อวัน หรือตามที่จ่ายจริง ถ้าหากมีการดัดแปลงสถานที่เป็นที่พักชั่วคราว ครอบครัวละไม่เกิน 2,000 บาท หรือเท่าที่จ่ายจริง แต่ถ้าเป็นการสร้างที่พักชั่วคราว ครอบครัวละไม่เกิน 4,000 บาท ในขณะที่ การก่อสร้าง ห้องน้ำ ห้องส้วม 1 ที่ต่อ 10 คน เฉลี่ยที่ละไม่เกิน 1,500 บาท
หากผู้ประสบภัยจำเป็นต้องย้ายถิ่นที่อยู่ใหม่ หรือกลับภูมิลำเนาเดิม ให้จ่ายค่าขนย้ายตามที่จ่ายจริง ครอบครัวละไม่เกิน 5,000 บาท
ในกรณีค่าเสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่มนั้น สามารถให้ได้คนละไม่เกิน 2 ชุด ไม่เกิน 1,000 บาท หรือเท่าที่จ่ายจริง  ค่าเครื่องนอน เท่าที่จ่ายจริงหรือคนละไม่เกิน 500บาท
แต่ในกรณีอากาศหนาวจัดผิดปกติ มีอุณหภูมิต่ำกว่า 15  องศาเซลเซียส และมีช่วงเวลาอากาศหนาวจัดยาวนานติดต่อกันเกิน 3 วัน ให้จ่ายค่าซื้อเครื่องกันหนาวได้เท่าที่จ่ายจริง คนละไม่เกิน 240บาท ทั้งนี้ จังหวัดหนึ่งไม่เกินงบประมาณปีละ 1,000,000 บาท
นอกจากนี้ ยังมีค่าเครื่องมือประกอบอาชีพ และหรือเงินทุนประกอบอาชีพสำหรับผู้ประสบภัย ครอบครัวละไม่เกิน 10,000 บาทด้วย

กรณีเสียชีวิต-ค่าทำศพไม่เกิน 25,000 บาท

สำหรับการช่วยเหลือด้านการแพทย์หรือสาธารณสุข มีการจัดให้บริการรักษาพยาบาลฟรีแก่ประชาชนที่เจ็บป่วยจากภัยพิบัติ หรือจัดหน่วยแพทย์ไปบริการในพื้นที่ โดยพื้นที่จะต้องจ่ายค่ารักษาพยาบาลให้กับสถานบริการตามที่จ่ายจริง ตามอัตราค่าบริการของกระทรวงสาธารณสุข ทั้งนี้ไม่เกิน 50,000 บาทต่อคนส่วนงบประมาณการช่วยเหลือผู้บาดเจ็บจากภัยพิบัตินั้น กรณีบาดเจ็บสาหัสที่ต้องรักษาในสถานพยาบาลตั้งแต่ 3วันขึ้นไป ให้จ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้น 3,000 บาท และหากต้องรักษาตัวเกิน 30 วัน ให้ช่วยเหลือเป็นเงินยังชีพอีกคนละ 2,000 บาท จนกว่าจะออกจากสถานพยาบาล
แต่หากบาดเจ็บถึงขั้นพิการไม่สามารถประกอบอาชีพตามปกติได้ ให้ช่วยเหลือเบื้องต้นเป็นเงิน 10,000 บาท และให้ช่วยเหลือเป็นเงินยังชีพคนละ 2,000บาทต่อเดือน เป็นระยะเวลาไม่เกิน 2 ปี
กรณีที่เป็นสาธารณภัยขนาดใหญ่หรือรุนแรง เป็นที่สะเทือนขวัญของประชาชน ให้จ่ายเงินและหรือสิ่งของปลอบขวัญผู้ที่ได้รับบาดเจ็บที่รักษาตัวในสถาน พยาบาล รายละไม่เกิน 2,000 บาท
ในกรณีผู้ประสบภัยเสียชีวิต ให้ค่าจัดการศพผู้เสียชีวิต รายละไม่เกิน 25,000 บาท และในกรณีที่ผู้ประสบภัยที่เสียชีวิตเป็นหัวหน้าครอบครัว หรือเป็นผู้หารายได้เลี้ยงครอบครัว ให้พิจารณาช่วยเหลือเงินสงเคราะห์ครอบครัวอีกไม่เกิน 25,000 บาท

ป.ป.ท.สุ่มตรวจพบใช้งบฯผิดปกติเพียบ

อย่างไรก็ตามแม้ว่าจะมีการกำหนดหลักเกณฑ์ในการใช้งบภัยพิบัติก็ตาม แต่หลังจากการตรวจสอบยังพบว่ามีความไม่ชอบมาพากลเกี่ยวกับการใช้งบประมาณดัง กล่าว ซึ่งเมื่อปี 2553 นายภิญโญ ทองชัย เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) ได้เปิดเผยการสรุปผลสอบการใช้งบภัยพิบัติ (อุทกภัย) ประจำปีงบประมาณ 2552 พบกว่ามี 270 โครงการผิดปกติ จากทั้งหมด 373 โครงการที่สุ่มตรวจ โดยโครงการงบประมาณกว่า 92 ล้านบาท ทั้งนี้มีหลักฐานทุจริตชัด เตรียมส่งคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) นอกจากนี้ยังพบด้วยว่านายอำเภอมีความผิดชัดเจนในการอนุมัติ
สำหรับโครงการที่พบว่าผิดปกติมีมากถึง 274 โครงการ ความเสียหายกว่า 51 ล้านบาท คือ ภาคอีสานสุ่มตรวจสอบ 6 จังหวัด 38 อำเภอ จำนวน 193 โครงการ พบความผิดปกติทุกโครงการ ความเสียหายประมาณ 28 ล้านบาท ภาคเหนือ ตรวจสอบ 7 จังหวัด 27 อำเภอ 98 โครงการ พบความผิดปกติใน 48 โครงการ ความเสียหายกว่า 16 ล้านบาท ภาคกลางตรวจสอบ 4 จังหวัด 11 อำเภอ 34 โครงการ พบโครงการผิดปกติ 15 โครงการ ความเสียหายกว่า 3 ล้านบาท ภาคตะวันออกสุ่มตรวจสอบจ.จันทบุรี เพียงจังหวัดเดียว ไม่พบความผิดปกติ ภาคใต้สุ่มตรวจสอบ 3 จังหวัด 31 โครงการ พบโครงการผิดปกติ 14 โครงการ ความเสียหายประมาณ 3 ล้านบาท

แฉช่องมั่วใช้งบผิดประเภท

สำหรับประเด็นปัญหาที่ตรวจสอบพบมีทั้งสิ้น 5 ประเด็น คือ 1.การประกาศเขตภัยพิบัติไม่ถูกต้อง ไม่มีภัยพิบัติเกิดขึ้นจริง มีเพียงเหตุฝนตกหรือน้ำท่วมปกติ และภาพถ่ายประกอบการขออนุมัติไม่ตรงกับพื้นที่จริง บางโครงการใช้ภาพซ้ำซ้อนกันมาขออนุมัติงบประมาณ 2.การอนุมัติให้ความช่วยเหลือไม่ถูกต้อง เช่น ถนนเสียหายเป็นหลุมเป็นบ่อ แต่ประเมินว่าเสียหายจนไม่สามารถสัญจรไปมาได้ และอนุมัติให้ซ่อมแซมถนนทั้ง สาย
3.การจัดซื้อจัดจ้างไม่ถูกต้อง บางพื้นที่ผู้รับจ้างไม่มีอาชีพหรือศักยภาพเพียงพอที่จะรับว่าจ้าง บางรายเป็นลูกหลานของผู้มีอิทธิพลในท้องถิ่น ต้องนำแรงงานชาวบ้านมาช่วยปรับเกลี่ยถนน ไม่มีช่างควบคุมงาน บางโครงการผู้รับจ้างเป็นลูกจ้างองค์การบริหารส่วนตำบล 4.การควบคุมงานไม่ทั่วถึง บางพื้นที่มีช่างควบคุมงาน 1 กรรมการตรวจการจ้าง 3 คน ต้องรับผิดชอบการตรวจรับงานถึง 15 โครงการ 5.การตรวจรับงานไม่ถูกต้อง เช่น สัญญากำหนดให้ซ่อมแซมเป็นถนนลูกรังแต่ผู้รับจ้างนำหินคลุกมาลงแทน
อย่างไรก็ตามป.ป.ท.ได้พยายามเสนอไปยังรัฐบาล เพื่อให้กำหนดเกณฑ์การพิจารณาหรือคำจำกัดความคำว่า “ภัยพิบัติ” ให้เกิดความชัดเจนขึ้น เพื่อให้ผู้ตัดสินใจประกาศพื้นที่ภัยพิบัติสามารถดำเนินการได้อย่างถูกต้อง เพราะที่ผ่านมาแม้จะมองจากสถานการณ์ที่เหมาะสม แต่ก็ไม่สามารถกำหนดได้อย่างชัดเจนว่าควรจะเป็นอย่างไร

ผลสอบปภ.ซื้อถุงยังชีพแพงก็ยังไม่คืบ

หรือแม้แต่กรณีล่าสุดในช่วงวิกฤตน้ำท่วมใหญ่ เมื่อปลายปี 2554 พบว่า มีการทุจริตจัดซื้อถุงยังชีพ 100,000 ถุง ราคาถุงละ 800 บาท วงเงิน 80 ล้านบาท ที่กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) จัดซื้อด้วยเงินจากกองทุนช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัย แต่กลับถูกร้องเรียนเนื่องจากคุณภาพสิ่งของที่บรรจุอยู่ในถุงดังกล่าวเป็น สิ่งของที่ไม่มีคุณภาพและไม่เหมาะสมกับราคา กระทั่งปัจจุบันผลการสอบสวนก็ยังไม่คืบหน้าเท่าที่ควร มีเพียงการเปิดเผยของกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ที่ออกมาระบุว่ามีข้าราชการระดับกลางของ ปภ. เพียง 10 ราย เท่านั้นที่เกี่ยวข้องในเรื่องนี้ แต่สำนวนการสอบสวนทั้งหมดก็ยังไม่มีการส่งต่อไปยังสำนักงานคณะกรรมการ ป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) แต่อย่างใด

รัฐบาลหั่นงบปภ.ลงกว่า 900 ล้านบาท

จากสถานการณ์ภัยพิบัติต่างๆ ที่เกิดขึ้น นอกจากสร้างความเสียหายต่อทรัพย์สินส่วนตัวของประชาชนแล้ว ยังมีพื้นที่สาธารณะ พื้นที่ป่า เส้นทางคมนาคม และสาธารณูปโภคเสียหายอีกจำนวนมาก ซึ่งแต่ละปีรัฐบาลต้องจัดสรรงบประมาณเพื่อให้ความช่วยเหลือ แก้ไขปัญหา และบรรเทาทุกข์นับล้านบาท แต่ล่าสุดในการพิจารณางบประมาณปี 2555 กลับพบว่า รัฐบาลได้ตัดงบประมาณในส่วนของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.)กระทรวงมหาดไทย ซึ่งมีหน้าที่โดยตรงกับการช่วยเหลือประชาชนเบื้องต้น ลงถึงกว่า 900 ล้านบาท จากแต่เดิมเมื่อปี 2554 ได้รับ 5,281,578,100 บาท แต่ปีงบประมาณใหม่ได้รับ 4,333,004,600 บาท ปรับลดลง 948,573,500 บาท
อย่างไรก็ตามกระทรวงมหาดไทย ยังมีงบประมาณในส่วนของกรมการส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ตามแผนงาน ส่งเสริมการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โครงการช่วยเหลือฟื้นฟูความเสียหายจากภัยพิบัติธรรมชาติและสาธารณภัย มีงบเงินอุดหนุน 10,000,000บาท ขณะที่มีแผนการเยียวยา ฟื้นฟู และป้องกันความเสียหายจากอุทกภัย เป็นแผนการที่ได้งบประมาณสูงสุดของประเทศ  ซึ่งงบประมาณดังกล่าวจะอยู่ในงบกลาง และงบของกระทรวงต่างๆ เช่น
  • แผนงานส่งเสริมการบริหารจัดการน้ำอย่างบูรณาการ 45,286,300ล้านบาท เพื่อเป็นแนวทางการบริหารจัดการน้ำอย่างเป็นระบบให้สามารถป้องกัน บรรเทาอุทกภัย และแก้ไขปัญหาภัยแล้ง
  • แผนงานเยียวยา ฟื้นฟู และป้องกันความเสียหายจากอุทกภัยอย่างบูรณาการ 120,000,000 ล้านบาท เพื่อบรรเทาความเสียหายอันเกิดจากอุทกภัยในลักษณะบูรณาการทุกภาคส่วน
  • แผนงานป้องกัน เตือนภัย แก้ไขและฟื้นฟูความเสียหายจากภัยพิบัติ 13,937 ล้านบาท เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนแก่ผู้ประสบภัยทางธรรมชาติและสาธารณภัย
ซึ่งงบประมาณในส่วนนี้ยังไม่รวมในส่วนของคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อวาง ระบบการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ (กยน.) อีกเกือบ300,000 ล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่เป็นโครงการก่อสร้างแทบทั้งสิ้น

กว่า 20 ปี ไทยสูญเสียแล้วนับล้านล้านบาท

สำหรับภัยพิบัติครั้งร้ายแรงที่เกิดขึ้นในประเทศไทย หากนับย้อนไปถึงปี 2532  เกิดพายุไต้ฝุ่นเกย์ถล่มที่ชุมพร มีผู้เสียชีวิตประมาณ 600 ราย คน มูลค่าความเสียหายกว่าหมื่นล้านบาท
ปี 2540 พายุไต้ฝุ่นลินดา ทำให้เกิดคลื่นซัดฝั่งในพื้นที่ 11จังหวัดของภาคใต้และภาคตะวันออก เกิดความเสียหายเป็นวงกว้าง
วันที่ 26พฤศจิกายน 2547คลื่นยักษ์สึนามิถล่มภาคใต้ฝั่งอันดามัน 6จังหวัดคือ ระนอง พังงา กระบี่ ภูเก็ต ตรังและสตูล มีผู้เสียชีวิตกว่า  5,000 คน สูญหายอีกกว่า 2,000 คน เกิดความสูญเสียต่อเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวกว่า 3 หมื่นล้านบาท
ต่อมาปี 2549เกิดอุทกภัยและดินโคลนถล่มภาคเหนือตอนล่าง ประชาชนได้รับความเดือดร้อนกว่า 3 แสนคน
ปี 2553 เหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายอย่างหนัก มีพื้นที่ประสบภัยทั้งสิ้น 39 จังหวัด 425 อำเภอ  ประชาชนได้รับความเสียหาย 2 ล้านกว่าครัวเรือน มีผู้เสียชีวิต 180 คน เฉพาะในอ.หาดใหญ่ เกิดน้ำท่วมสูงในตัวเมืองชั้นใน เสียหายกว่า 1 หมื่นล้านบาท
วันที่  1 พฤศจิกายน 2553 เกิดพายุดีเปรสชั่นคลื่นซัดฝั่ง ส่งผลกระทบชุมชนรอบอ่าวปัตตานี กว่า 3,000 ครัวเรือน ประชาชนได้รับผลกระทบกว่า 50,000 คน
ล่าสุดเมื่อเดือนกรกฎาคม 2554 พายุโซนร้อนนกเตน ทำให้เกิดมหาอุทกภัยใน 65 จังหวัดทั่วประเทศ จากการประเมินของศูนย์วิจัยกสิกรไทย ระบุว่า เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจ มูลค่า 242,200 ล้านบาท
นอกจากนี้ยังมีสถานการณ์ภัยแล้ง ที่เกิดขึ้นระหว่างปี 2545-2553 ในพื้นที่ 71 จังหวัด สร้างความเสียหายให้ประชาชนถึง 11 ล้านคน พื้นที่การเกษตรเสียหาย 13 ล้านไร่ คิดเป็นมูลค่าความเสียหายกว่า 7ล้านบาท
นอกจากนี้ยังมีภัยพิบัติที่ทำให้เกิดความเสียหายคือ เหตุการณ์ไฟป่าและหมอกควัน ปี 2553 มีการดับไฟป่ากว่า 6,000 ครั้ง มีพื้นที่เสียหายกว่า 80,000 ไร่
อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ที่น่าเป็นห่วง จากเหตุการณ์ไฟป่าและหมอกควันคือ ปัญหาด้านสุขภาพ ปี 2553 เป็นปีที่เกิดวิกฤติหมอกควันในพื้นที่ภาคเหนือตอนบนครั้งรุนแรง โดยตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2553 ตรวจพบปริมาณฝุ่นขนาดเล็ก (PM10) อยู่ในระดับเกินค่ามาตรฐานในหลายพื้นที่

ขอบคุณภาพจาก Google และ ไทยรัฐ
เปิดเกณฑ์ใช้ ‘งบภัยพิบัติ’ ทั่วประเทศ เกือบ 4 พันล้าน อนุมัติได้ตั้งแต่รัฐมนตรียันนายอำเภอ ทั้งภัยหนาว น้ำท่วม โคลนถล่ม ฯลฯ จังหวัดดูแลทุกอย่างตั้งแต่อาหาร เครื่องนุ่งห่ม รักษาการบาดเจ็บ-เจ็บป่วย ชดเชยกรณีเสียชีวิต-ทุพพลภาพ แค่ 3 วัน ก่อนส่งให้ปภ.รับผิดชอบต่อ ส่วนรัฐบาลตัดงบปภ.ถึง 900 ล้าน เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ป.ป.ท.ระบุสุ่มตรวจเมื่อปี 53 พบทุจริตใช้งบฯ 270 โครงการ จากกว่า 300 โครงการ แฉวิธีการมีทุกรูปแบบ ทั้งมั่วข้อมูลจนถึงจัดซื้อจัดจ้าง ขณะที่ผลสอบปภ.ซื้อถุงยังชีพยังไม่คืบ
โดย วรลักษณ์ ศรีใย ศูนย์ข่าว TCIJ
ในช่วงระยะเวลา 20ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยประสบปัญหาภัยพิบัติใหญ่น้อยอยู่ทั่วแทบทุกภูมิภาคของประเทศ ซึ่งมีข้อสันนิษฐานว่า ภัยพิบัติที่เกิดขึ้นมาจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลก ที่ส่งผลให้สภาพภูมิอากาศแปรปรวน และเกิดภัยต่างๆ ขึ้น ซึ่งหากสังเกตจะพบว่าในระยะหลังปรากฎการณ์ทางธรรมชาติ เกิดขึ้นไม่ตรงตามฤดูกาล มิหนำซ้ำยังเกิดความผิดปกติด้วย อาทิ ภัยหนาว ฝนตกมากเกินปกติ จนเกิดปัญหาน้ำท่วม ดินถล่ม ไฟป่า ฯลฯ ซึ่งเมื่อธรรมชาติผิดปกติได้ส่งผลกระทบโดยตรงทั้งต่อคนและสภาพแวดล้อม รวมทั้งก่อให้เกิดความเสียหายมากมาย รัฐบาลจึงจัดสรรงบประมาณขึ้นหลายล้านบาทเพื่อให้ความช่วยเหลือเบื้องต้นกับ ผู้ได้รับความเดือดร้อนทั้งครอบครัว บ้านเรือน และพืชผลทางการเกษตร ฯลฯ
อย่างไรก็ตามการใช้งบประมาณก้อนดังกล่าว ย่อมต้องเป็นไปตามระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ.2546 และที่แก้ไขเพิ่มเติม เพื่อให้เงินจำนวนมากไปถึงมือผู้ได้รับความเดือดร้อนอย่างแท้จริง ทั้งความช่วยเหลือเรื่องอาหาร ที่พักอาศัย ยารักษาโรค หรือแม้แต่การชดเชยกรณีที่มีการบาดเจ็บหรือเสียชีวิตจากภัยพิบัติ เป็นต้น แต่แม้จะมีการกำหนดกฎระเบียบอย่างไร ก็ยังพบว่ามีการดำเนินการที่ผิดระเบียบดังกล่าวอยู่มาก และมีการร้องเรียนให้หน่วยงานตรวจสอบด้วย แม้กระทั่งกรณีล่าสุดเมื่อปลายปี 2554ที่มีการร้องเรียนว่า กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ซื้อถุงยังชีพแพงเกินจริง และสิ่งของในถุงมีคุณภาพต่ำไม่เหมาะสมกับราคา การสอบสวนก็ยังไม่คืบหน้า

งบภัยพิบัติทั่วประเทศเกือบ 4 พันล้าน

นายวรพจน์ ศรีใย ปลัดอำเภอ ฝ่ายปกครอง อำเภอพระสุมทรเจดีย์ จ.สมุทรปราการ ให้สัมภาษณ์ศูนย์ข่าว TCIJ ถึงระเบียบการเบิกจ่ายงบภัยพิบัติว่า สำหรับการจัดการปัญหา เมื่อเกิดเหตุการณ์ภัยพิบัติขึ้นในพื้นที่  ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบคือหน่วยงานในพื้นที่ ดังนั้นทุกอำเภอจะมีงบประมาณในการจัดการภัยพิบัติ อำเภอละ 500,000 บาท ซึ่งรัฐบาลได้ตั้งเงินทดรองราชการเพื่อเป็นการบรรเทาความเดือดร้อนเบื้องต้น ภายใต้ระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยกรณีฉุกเฉิน พ.ศ.2546และที่แก้ไขเพิ่มเติม ซึ่งจะมีเพียงบางหน่วยงานเท่านั้นที่ได้เงินทดรองราชการนี้ คือ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี สำนักนายกรัฐมนตรี 100,000,000 บาท สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม 50,000,000 บาท สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ 10,000,000 บาท สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์  50,000,000 บาท สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย 50,000,000 บาท สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข 10,000,000 บาท กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย 50,000,000 บาท สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด จังหวัดละ 50,000,000  บาท (77 จังหวัด) รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 3,850,000,320 บาท โดยปลัดกระทรวงมีอำนาจในการจัดสรรวงเงินของแต่ละกระทรวง ส่วนของจังหวัด ผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจจัดสรรวงเงิน ครั้งและไม่น้อยกว่า 500,000 บาท

เกณฑ์ประกาศเป็นพื้นที่ภัยพิบัติ

นายวรพจน์กล่าวว่าการพิจารณาในการประกาศให้พื้นที่ใดเป็นพื้นที่ภัย พิบัติ หน่วยงานในพื้นที่แต่ละอำเภอ จะต้องพิจารณาจากองค์ประกอบต่างๆ ในพื้นที่เป็นสำคัญ เช่น ศึกษาข้อมูลจากหลายหน่วยงานประกอบกับสถานการณ์ในพื้นที่ โดยเฉพาะกรมอุตุนิยมวิทยา จะรายงานสภาพอากาศ ซึ่งจะมีเพียงการประกาศเป็นพื้นที่ภัยพิบัติหนาว จะต้องพิจารณาว่า หากในพื้นที่อุณหภูมิลดต่ำกว่า 15องศาเซลเซียส เกิน 3วัน ให้ประกาศเป็นพื้นที่ภัยหนาว
ส่วนภัยพิบัติในด้านอื่นให้พิจารณาจาก สถานการณ์ในพื้นที่และติดตามข้อมูลประกอบ เนื่องจากแต่ละพื้นที่มีสภาพพื้นที่ที่ต่างกัน โดยการประกาศเป็น พื้นที่ภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินนั้น ดำเนินการโดย ผู้ว่าราชการจังหวัด หากเกิดในกรุงเทพมหานคร ให้เป็นอำนาจของอธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ซึ่งรวมไปถึงการอนุมัติเงินทดรองราชการ เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยด้วย
สำหรับการช่วยเหลือ ผู้ประสบภัยในพื้นที่ประกาศภัยพิบัตินั้น แต่ละอำเภอจะแต่งตั้งคณะกรรมการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติอำเภอ (ก.ช.ภ.อ.) โดยมีนายอำเภอเป็นประธาน ก.ช.ภ.อ.จะมีหน้าที่สำรวจความเสียหายจากภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินที่เกิดขึ้นใน พื้นที่  และความต้องการรับความช่วยเหลือด้านต่างๆ ของผู้ประสบภัยพิบัติ
ในระดับจังหวัดจะมีการแต่งตั้ง คณะกรรมการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติจังหวัด (ก.ช.ภ.จ.) มีหน้าที่เหมือนกับ ก.ช.ภ.อ. โดยเลื่อนพิจารณาภาพรวมในระดับจังหวัด

จังหวัดช่วยเหลือเบื้องต้น 3 วัน ก่อนส่งต่อให้ปภ.

สำหรับการให้ความช่วยเหลือของกรมการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ใช้หลักเกณฑ์และวิธีการดำเนินการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุก เฉิน พ.ศ.2551 เป็นหลัก ในการช่วยเหลือผู้ประสบภัย โดยผ่านการพิจารณาตามความเหมาะสมจาก คณะกรรมการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติอำเภอ และคณะกรรมการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติจังหวัด ตามลำดับ
โดยการช่วยเหลือค่าอาหารมื้อละไม่เกิน 30 บาทต่อคน ถุงยังชีพครอบครัวละไม่เกิน 500 บาท ส่วนค่าจัดซื้อ หรือจัดหาน้ำ สำหรับบริโภคและใช้สอยในที่อยู่อาศัย จ่ายจริงตามความจำเป็นจนกว่าเหตุการณ์ประสบภัยพิบัติจะเข้าสู่ภาวะปกติ
อย่างไรก็ตาม ค่าอาหารและถุงยังชีพค่าขนย้ายครอบครัวผู้ประสบภัย สามารถดำเนินการได้ในระยะ3วันแรกนับแต่วันที่เกิดภัยเท่านั้น หลังจากนั้นผู้ว่าราชการจังหวัดจะมอบให้สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จังหวัด ดำเนินการช่วยเหลือต่อไปตามหลักเกณฑ์
ส่วนการก่อสร้างที่อยู่อาศัย ถ้าเสียหายทั้งหลังจ่ายจริงหลังละไม่เกิน  30,000 บาท แต่ถ้าเสียหายบางส่วนจ่ายจริงไม่เกิน 20,000 บาท  หากต้องเช่าที่พักให้ผู้ประสบภัย สามารถจ่ายค่าเช่าให้ได้ไม่เกิน 7วัน ไม่เกินคนละ 100 บาทต่อวัน หรือตามที่จ่ายจริง ถ้าหากมีการดัดแปลงสถานที่เป็นที่พักชั่วคราว ครอบครัวละไม่เกิน 2,000 บาท หรือเท่าที่จ่ายจริง แต่ถ้าเป็นการสร้างที่พักชั่วคราว ครอบครัวละไม่เกิน 4,000 บาท ในขณะที่ การก่อสร้าง ห้องน้ำ ห้องส้วม 1 ที่ต่อ 10 คน เฉลี่ยที่ละไม่เกิน 1,500 บาท
หากผู้ประสบภัยจำเป็นต้องย้ายถิ่นที่อยู่ใหม่ หรือกลับภูมิลำเนาเดิม ให้จ่ายค่าขนย้ายตามที่จ่ายจริง ครอบครัวละไม่เกิน 5,000 บาท
ในกรณีค่าเสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่มนั้น สามารถให้ได้คนละไม่เกิน 2 ชุด ไม่เกิน 1,000 บาท หรือเท่าที่จ่ายจริง  ค่าเครื่องนอน เท่าที่จ่ายจริงหรือคนละไม่เกิน 500บาท
แต่ในกรณีอากาศหนาวจัดผิดปกติ มีอุณหภูมิต่ำกว่า 15  องศาเซลเซียส และมีช่วงเวลาอากาศหนาวจัดยาวนานติดต่อกันเกิน 3 วัน ให้จ่ายค่าซื้อเครื่องกันหนาวได้เท่าที่จ่ายจริง คนละไม่เกิน 240บาท ทั้งนี้ จังหวัดหนึ่งไม่เกินงบประมาณปีละ 1,000,000 บาท
นอกจากนี้ ยังมีค่าเครื่องมือประกอบอาชีพ และหรือเงินทุนประกอบอาชีพสำหรับผู้ประสบภัย ครอบครัวละไม่เกิน 10,000 บาทด้วย

กรณีเสียชีวิต-ค่าทำศพไม่เกิน 25,000 บาท

สำหรับการช่วยเหลือด้านการแพทย์หรือสาธารณสุข มีการจัดให้บริการรักษาพยาบาลฟรีแก่ประชาชนที่เจ็บป่วยจากภัยพิบัติ หรือจัดหน่วยแพทย์ไปบริการในพื้นที่ โดยพื้นที่จะต้องจ่ายค่ารักษาพยาบาลให้กับสถานบริการตามที่จ่ายจริง ตามอัตราค่าบริการของกระทรวงสาธารณสุข ทั้งนี้ไม่เกิน 50,000 บาทต่อคนส่วนงบประมาณการช่วยเหลือผู้บาดเจ็บจากภัยพิบัตินั้น กรณีบาดเจ็บสาหัสที่ต้องรักษาในสถานพยาบาลตั้งแต่ 3วันขึ้นไป ให้จ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้น 3,000 บาท และหากต้องรักษาตัวเกิน 30 วัน ให้ช่วยเหลือเป็นเงินยังชีพอีกคนละ 2,000 บาท จนกว่าจะออกจากสถานพยาบาล
แต่หากบาดเจ็บถึงขั้นพิการไม่สามารถประกอบอาชีพตามปกติได้ ให้ช่วยเหลือเบื้องต้นเป็นเงิน 10,000 บาท และให้ช่วยเหลือเป็นเงินยังชีพคนละ 2,000บาทต่อเดือน เป็นระยะเวลาไม่เกิน 2 ปี
กรณีที่เป็นสาธารณภัยขนาดใหญ่หรือรุนแรง เป็นที่สะเทือนขวัญของประชาชน ให้จ่ายเงินและหรือสิ่งของปลอบขวัญผู้ที่ได้รับบาดเจ็บที่รักษาตัวในสถาน พยาบาล รายละไม่เกิน 2,000 บาท
ในกรณีผู้ประสบภัยเสียชีวิต ให้ค่าจัดการศพผู้เสียชีวิต รายละไม่เกิน 25,000 บาท และในกรณีที่ผู้ประสบภัยที่เสียชีวิตเป็นหัวหน้าครอบครัว หรือเป็นผู้หารายได้เลี้ยงครอบครัว ให้พิจารณาช่วยเหลือเงินสงเคราะห์ครอบครัวอีกไม่เกิน 25,000 บาท

ป.ป.ท.สุ่มตรวจพบใช้งบฯผิดปกติเพียบ

อย่างไรก็ตามแม้ว่าจะมีการกำหนดหลักเกณฑ์ในการใช้งบภัยพิบัติก็ตาม แต่หลังจากการตรวจสอบยังพบว่ามีความไม่ชอบมาพากลเกี่ยวกับการใช้งบประมาณดัง กล่าว ซึ่งเมื่อปี 2553 นายภิญโญ ทองชัย เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) ได้เปิดเผยการสรุปผลสอบการใช้งบภัยพิบัติ (อุทกภัย) ประจำปีงบประมาณ 2552 พบกว่ามี 270 โครงการผิดปกติ จากทั้งหมด 373 โครงการที่สุ่มตรวจ โดยโครงการงบประมาณกว่า 92 ล้านบาท ทั้งนี้มีหลักฐานทุจริตชัด เตรียมส่งคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) นอกจากนี้ยังพบด้วยว่านายอำเภอมีความผิดชัดเจนในการอนุมัติ
สำหรับโครงการที่พบว่าผิดปกติมีมากถึง 274 โครงการ ความเสียหายกว่า 51 ล้านบาท คือ ภาคอีสานสุ่มตรวจสอบ 6 จังหวัด 38 อำเภอ จำนวน 193 โครงการ พบความผิดปกติทุกโครงการ ความเสียหายประมาณ 28 ล้านบาท ภาคเหนือ ตรวจสอบ 7 จังหวัด 27 อำเภอ 98 โครงการ พบความผิดปกติใน 48 โครงการ ความเสียหายกว่า 16 ล้านบาท ภาคกลางตรวจสอบ 4 จังหวัด 11 อำเภอ 34 โครงการ พบโครงการผิดปกติ 15 โครงการ ความเสียหายกว่า 3 ล้านบาท ภาคตะวันออกสุ่มตรวจสอบจ.จันทบุรี เพียงจังหวัดเดียว ไม่พบความผิดปกติ ภาคใต้สุ่มตรวจสอบ 3 จังหวัด 31 โครงการ พบโครงการผิดปกติ 14 โครงการ ความเสียหายประมาณ 3 ล้านบาท

แฉช่องมั่วใช้งบผิดประเภท

สำหรับประเด็นปัญหาที่ตรวจสอบพบมีทั้งสิ้น 5 ประเด็น คือ 1.การประกาศเขตภัยพิบัติไม่ถูกต้อง ไม่มีภัยพิบัติเกิดขึ้นจริง มีเพียงเหตุฝนตกหรือน้ำท่วมปกติ และภาพถ่ายประกอบการขออนุมัติไม่ตรงกับพื้นที่จริง บางโครงการใช้ภาพซ้ำซ้อนกันมาขออนุมัติงบประมาณ 2.การอนุมัติให้ความช่วยเหลือไม่ถูกต้อง เช่น ถนนเสียหายเป็นหลุมเป็นบ่อ แต่ประเมินว่าเสียหายจนไม่สามารถสัญจรไปมาได้ และอนุมัติให้ซ่อมแซมถนนทั้ง สาย
3.การจัดซื้อจัดจ้างไม่ถูกต้อง บางพื้นที่ผู้รับจ้างไม่มีอาชีพหรือศักยภาพเพียงพอที่จะรับว่าจ้าง บางรายเป็นลูกหลานของผู้มีอิทธิพลในท้องถิ่น ต้องนำแรงงานชาวบ้านมาช่วยปรับเกลี่ยถนน ไม่มีช่างควบคุมงาน บางโครงการผู้รับจ้างเป็นลูกจ้างองค์การบริหารส่วนตำบล 4.การควบคุมงานไม่ทั่วถึง บางพื้นที่มีช่างควบคุมงาน 1 กรรมการตรวจการจ้าง 3 คน ต้องรับผิดชอบการตรวจรับงานถึง 15 โครงการ 5.การตรวจรับงานไม่ถูกต้อง เช่น สัญญากำหนดให้ซ่อมแซมเป็นถนนลูกรังแต่ผู้รับจ้างนำหินคลุกมาลงแทน
อย่างไรก็ตามป.ป.ท.ได้พยายามเสนอไปยังรัฐบาล เพื่อให้กำหนดเกณฑ์การพิจารณาหรือคำจำกัดความคำว่า “ภัยพิบัติ” ให้เกิดความชัดเจนขึ้น เพื่อให้ผู้ตัดสินใจประกาศพื้นที่ภัยพิบัติสามารถดำเนินการได้อย่างถูกต้อง เพราะที่ผ่านมาแม้จะมองจากสถานการณ์ที่เหมาะสม แต่ก็ไม่สามารถกำหนดได้อย่างชัดเจนว่าควรจะเป็นอย่างไร

ผลสอบปภ.ซื้อถุงยังชีพแพงก็ยังไม่คืบ

หรือแม้แต่กรณีล่าสุดในช่วงวิกฤตน้ำท่วมใหญ่ เมื่อปลายปี 2554 พบว่า มีการทุจริตจัดซื้อถุงยังชีพ 100,000 ถุง ราคาถุงละ 800 บาท วงเงิน 80 ล้านบาท ที่กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) จัดซื้อด้วยเงินจากกองทุนช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัย แต่กลับถูกร้องเรียนเนื่องจากคุณภาพสิ่งของที่บรรจุอยู่ในถุงดังกล่าวเป็น สิ่งของที่ไม่มีคุณภาพและไม่เหมาะสมกับราคา กระทั่งปัจจุบันผลการสอบสวนก็ยังไม่คืบหน้าเท่าที่ควร มีเพียงการเปิดเผยของกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ที่ออกมาระบุว่ามีข้าราชการระดับกลางของ ปภ. เพียง 10 ราย เท่านั้นที่เกี่ยวข้องในเรื่องนี้ แต่สำนวนการสอบสวนทั้งหมดก็ยังไม่มีการส่งต่อไปยังสำนักงานคณะกรรมการ ป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) แต่อย่างใด

รัฐบาลหั่นงบปภ.ลงกว่า 900 ล้านบาท

จากสถานการณ์ภัยพิบัติต่างๆ ที่เกิดขึ้น นอกจากสร้างความเสียหายต่อทรัพย์สินส่วนตัวของประชาชนแล้ว ยังมีพื้นที่สาธารณะ พื้นที่ป่า เส้นทางคมนาคม และสาธารณูปโภคเสียหายอีกจำนวนมาก ซึ่งแต่ละปีรัฐบาลต้องจัดสรรงบประมาณเพื่อให้ความช่วยเหลือ แก้ไขปัญหา และบรรเทาทุกข์นับล้านบาท แต่ล่าสุดในการพิจารณางบประมาณปี 2555 กลับพบว่า รัฐบาลได้ตัดงบประมาณในส่วนของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.)กระทรวงมหาดไทย ซึ่งมีหน้าที่โดยตรงกับการช่วยเหลือประชาชนเบื้องต้น ลงถึงกว่า 900 ล้านบาท จากแต่เดิมเมื่อปี 2554 ได้รับ 5,281,578,100 บาท แต่ปีงบประมาณใหม่ได้รับ 4,333,004,600 บาท ปรับลดลง 948,573,500 บาท
อย่างไรก็ตามกระทรวงมหาดไทย ยังมีงบประมาณในส่วนของกรมการส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ตามแผนงาน ส่งเสริมการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โครงการช่วยเหลือฟื้นฟูความเสียหายจากภัยพิบัติธรรมชาติและสาธารณภัย มีงบเงินอุดหนุน 10,000,000บาท ขณะที่มีแผนการเยียวยา ฟื้นฟู และป้องกันความเสียหายจากอุทกภัย เป็นแผนการที่ได้งบประมาณสูงสุดของประเทศ  ซึ่งงบประมาณดังกล่าวจะอยู่ในงบกลาง และงบของกระทรวงต่างๆ เช่น
  • แผนงานส่งเสริมการบริหารจัดการน้ำอย่างบูรณาการ 45,286,300ล้านบาท เพื่อเป็นแนวทางการบริหารจัดการน้ำอย่างเป็นระบบให้สามารถป้องกัน บรรเทาอุทกภัย และแก้ไขปัญหาภัยแล้ง
  • แผนงานเยียวยา ฟื้นฟู และป้องกันความเสียหายจากอุทกภัยอย่างบูรณาการ 120,000,000 ล้านบาท เพื่อบรรเทาความเสียหายอันเกิดจากอุทกภัยในลักษณะบูรณาการทุกภาคส่วน
  • แผนงานป้องกัน เตือนภัย แก้ไขและฟื้นฟูความเสียหายจากภัยพิบัติ 13,937 ล้านบาท เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนแก่ผู้ประสบภัยทางธรรมชาติและสาธารณภัย
ซึ่งงบประมาณในส่วนนี้ยังไม่รวมในส่วนของคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อวาง ระบบการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ (กยน.) อีกเกือบ300,000 ล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่เป็นโครงการก่อสร้างแทบทั้งสิ้น

กว่า 20 ปี ไทยสูญเสียแล้วนับล้านล้านบาท

สำหรับภัยพิบัติครั้งร้ายแรงที่เกิดขึ้นในประเทศไทย หากนับย้อนไปถึงปี 2532  เกิดพายุไต้ฝุ่นเกย์ถล่มที่ชุมพร มีผู้เสียชีวิตประมาณ 600 ราย คน มูลค่าความเสียหายกว่าหมื่นล้านบาท
ปี 2540 พายุไต้ฝุ่นลินดา ทำให้เกิดคลื่นซัดฝั่งในพื้นที่ 11จังหวัดของภาคใต้และภาคตะวันออก เกิดความเสียหายเป็นวงกว้าง
วันที่ 26พฤศจิกายน 2547คลื่นยักษ์สึนามิถล่มภาคใต้ฝั่งอันดามัน 6จังหวัดคือ ระนอง พังงา กระบี่ ภูเก็ต ตรังและสตูล มีผู้เสียชีวิตกว่า  5,000 คน สูญหายอีกกว่า 2,000 คน เกิดความสูญเสียต่อเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวกว่า 3 หมื่นล้านบาท
ต่อมาปี 2549เกิดอุทกภัยและดินโคลนถล่มภาคเหนือตอนล่าง ประชาชนได้รับความเดือดร้อนกว่า 3 แสนคน
ปี 2553 เหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายอย่างหนัก มีพื้นที่ประสบภัยทั้งสิ้น 39 จังหวัด 425 อำเภอ  ประชาชนได้รับความเสียหาย 2 ล้านกว่าครัวเรือน มีผู้เสียชีวิต 180 คน เฉพาะในอ.หาดใหญ่ เกิดน้ำท่วมสูงในตัวเมืองชั้นใน เสียหายกว่า 1 หมื่นล้านบาท
วันที่  1 พฤศจิกายน 2553 เกิดพายุดีเปรสชั่นคลื่นซัดฝั่ง ส่งผลกระทบชุมชนรอบอ่าวปัตตานี กว่า 3,000 ครัวเรือน ประชาชนได้รับผลกระทบกว่า 50,000 คน
ล่าสุดเมื่อเดือนกรกฎาคม 2554 พายุโซนร้อนนกเตน ทำให้เกิดมหาอุทกภัยใน 65 จังหวัดทั่วประเทศ จากการประเมินของศูนย์วิจัยกสิกรไทย ระบุว่า เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจ มูลค่า 242,200 ล้านบาท
นอกจากนี้ยังมีสถานการณ์ภัยแล้ง ที่เกิดขึ้นระหว่างปี 2545-2553 ในพื้นที่ 71 จังหวัด สร้างความเสียหายให้ประชาชนถึง 11 ล้านคน พื้นที่การเกษตรเสียหาย 13 ล้านไร่ คิดเป็นมูลค่าความเสียหายกว่า 7ล้านบาท
นอกจากนี้ยังมีภัยพิบัติที่ทำให้เกิดความเสียหายคือ เหตุการณ์ไฟป่าและหมอกควัน ปี 2553 มีการดับไฟป่ากว่า 6,000 ครั้ง มีพื้นที่เสียหายกว่า 80,000 ไร่
อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ที่น่าเป็นห่วง จากเหตุการณ์ไฟป่าและหมอกควันคือ ปัญหาด้านสุขภาพ ปี 2553 เป็นปีที่เกิดวิกฤติหมอกควันในพื้นที่ภาคเหนือตอนบนครั้งรุนแรง โดยตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2553 ตรวจพบปริมาณฝุ่นขนาดเล็ก (PM10) อยู่ในระดับเกินค่ามาตรฐานในหลายพื้นที่

ขอบคุณภาพจาก Google และ ไทยรัฐ


 
ศูนย์ข้อมูลและข่าวสืบสวนเพื่อสิทธิพลเมือง
รีโมท ซื้อ รีโมท จากผู้ค้าส่งโดยตรง ที่มีหน้าร้านจริง ที่ บ้านหม้อ และ คลองถม ราคาถูกกว่าใคร ปลอดภัย มีรับประกัน

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

บทความย้อนหลัง