“ หลายคนอาจคิดว่า
การต่อสู้ของเสื้อแดงนั้นซาไป การเรียกร้องให้มีการปฎิรูปประชาธิปไตย
เช่น การแก้ไขรัฐธรรมนูญ การเอาคนผิดมาลงโทษกรณีสังหารหมู่ประชาชน 91
ศพ ข้อเรียกร้องของนิติราษฎร์ เรื่องให้การทำรัฐประหารเป็นการสูญเปล่า
การแก้ไข พรบ.กลาโหม การเยียวยาผู้ที่ถูกสังหารทางการเมือง …
ผมว่าประเด็นต่างๆ เหล่านี้แค่ชะลอ
เรื่องความขัดแย้งทางการเมืองออกไปเท่านั้น
แต่ประเด็นทั้งหลายมันยังอยู่เหมือนเดิม ทัศนะคติทางการเมืองของคนไทย
ที่แยกออกเป็นสองขั้ว ยังเหมือนเดิม ……
เพราะความขัดแย้งทางการเมืองไทยครั้ง นี้เป็น "ความขัดแย้งที่รากฐานทางอุดมการณ์"
ร้าวลึก ถึงความเชื่อและอุดมการณ์พื้นฐานของคนไทยทุกคน
มันเป็นทางเลือกที่แตกต่างกันชัดเจนระหว่างระบอบอำมาตย์ กับประชาธิปไตย
เลือกได้ทางใดทางหนึ่งเท่านั้น
ดังนั้นการที่จะคิดว่าจะมีเหตุการณ์อะไรมาเบี่ยงเบนความสนใจของประชาชนออกไป
จากการ เมืองนั้น ผมคิดว่าแค่ชั่วคราวเท่านั้น ”
แนวคิดของ “ลูกชาวนาไทย”
ตอบโจทย์คำถามของคนไทยจำนวนไม่น้อย ที่ยังคงกังวลกับสถานการณ์บ้านเมือง
ท่ามกลางปัจจัยที่บ่งชี้ว่าหลายเงื่อนไขกำลังจะนำไปสู่การสุกงอมในไม่ช้า
และ “สนข.ทีนิวส์” ก็เชื่อว่า “พ.ต.ท.ทักษิณ”
จะไม่ใช่ผู้กุมสถานการณ์การเคลื่อนไหวของคนเสื้อแดงอีกต่อไป
เมื่ออุดมคติของคนเสื้อแดงแต่ละฝักฝ่ายเริ่มชัดเจนในจุดยืนของตัวเองมากขึ้น
เรื่อย ๆ
“รัฐบาล
พรรคเพื่อไทยนี้ไม่ใช่รัฐบาลของเรา ทั้งๆ
ที่เราเคยทุ่มเทคะแนนเสียงให้เพื่อตบหน้าพรรคประชาธิปัตย์ในการเลือกตั้งรอบ
ที่แล้ว เราขอประกาศว่าเราพร้อมที่จะต่อต้านรัฐบาลนี้อย่างถึงที่สุด
ในกรณีที่รัฐบาลไม่ทำตามผลประโยชน์ของเสื้อแดงที่เสียสละเพื่อประชาธิปไตย
... ”
“นายใจ อึ๊งภากรณ์”
หัวขบวนล้มเจ้า บอกย้ำความรู้สึกในเชิงคะคาน
กับแนวทางการบริหารราชการแผ่นดินของ น.ส.ยิ่งลักษณ์
ที่มีแนวโน้มอะลุ้มอล่วยกับผู้นำกองทัพ และ
การแสดงจุดยืนในหลายคำรบต่อความจงรักภักดีต่อสถาบันเบื้องสูง
“เสื้อแดงก้าวหน้า”
มีเป้าหมายร่วมคือ การสร้างประชาธิปไตยแท้ที่ไม่มีอำนาจนอกระบบมาแทรกแซง
เราคัดค้านอิทธิพลของทหารและต้องการลดงบประมาณทหาร
เราเรียกร้องให้ยกเลิกกฏหมาย 112 ซึ่งปฏิรูปไม่ได้
เราเรียกร้องให้มีการปล่อยนักโทษการเมืองเสื้อแดง และนักโทษ 112 ทันที
และเราต้องการให้นายอภิสิทธิ์ ประยุทธ์ อนุพงษ์ และสุเทพ
ถูกนำมาขึ้นศาลในฐานะที่สั่งฆ่าประชาชน … ”
กระแสความคิดของ “นายใจ”
ต่อรัฐบาลยิ่งลักษณ์ หากเปรียบเทียบในเชิงความรู้สึก
อาจคล้ายกับทิศทางที่เกิดขึ้นกับความคิดที่แตกต่าง ระหว่าง “นายสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล” ที่ออกมาวิพากษ์วิจารณ์แนวทางการทำงานของ “นางธิดา ถาวรเศรษฐ์”
รักษาการประธานนปช. ที่เอาแต่เคลื่อนไหวในเชิงสัญลักษณ์
โดยไม่ก้าวทะลุไปถึงความสำเร็จในเชิงเป้าหมาย โดยเฉพาะกรณี มาตรา
112 ที่เพิ่งจะออกมาส่งสัญญาณ หลังจากเกิดเคส “SMS อากง”
ขณะที่ทั้ง “ นายใจ” และ “นายสมศักดิ์” ดูเหมือนจะให้การสนับสนุนแนวคิดของ “กลุ่มนิติราษฎร์” อย่างชัดเจน แต่กับวิธีคิดของแดงนปช. กลับถูกทั้ง “นายใจ” และ “นายสมศักดิ์” มองว่าเป็นความต่างในระดับที่ “นางธิดา” ไม่ควรใช้คำว่าเป็นแนวทางเดียวกัน ???
ทั้งหมดทั้งมวลมีส่วนให้น่าคิด
ว่า ความขัดแย้งทางการเมืองยังคงดำรงอยู่จริงในสังคมไทย
และจะกลับมาปะทุใหม่ในไม่ช้า เป็นเรื่องจริงที่คงไม่อาจหลีกเลี่ยงได้
แม้ว่าในทางการเมืองจะพูดถึงความปรองดองกันตลอดเวลา
แต่เครือข่ายทางการเมืองของ พ.ต.ท.ทักษิณ กลับผุดเงื่อนไขใหม่ ๆ
ที่ทำให้เกิดความแตกแยกตลอดเวลา
รวมถึงความขัดแย้งนี้ก็มีแนวโน้ม จะรุนแรงกลายเป็นสงครามกลางเมืองได้ เพราะเหตุว่ามีโอกาสสูงที่ “ แนวรบแดง ”
ต่างจะเลิกท่าทีสงวนจุดร่วม สงวนจุดต่าง
และประกาศตัวเป็นอิสระไม่ขึ้นตรงกับ พ.ต.ท.ทักษิณ รวมถึงพรรคเพื่อไทย
เพราะพิสูจน์แล้วว่าเครือข่ายทางการเมือง
ก็มีเป้าหมายใช้มวลชนเป็นเครื่องมือทำทุกอย่างเพื่อผลประโยชน์ตัวบุคคล
และพวกพ้องเป็นการเฉพาะ ...
“
อย่าคิดว่าคน เสื้อแดงเป็นของตาย เป็นหมู่ในเล้า จะสั่งหันซ้ายหันขวาก็ได้
บอกความจริงให้ก็ได้ ตอนนี้ชื่อของทักษิณ คือสีแดงเข้มที่ค่อย ๆ
ซีดจางลงไปเรื่อย ๆ ในใจของมวลชนคนเสื้อแดง
จากพฤติกรรมที่แหยไม่สู้คนของคุณเอง ..
ที่จริงคุณคือคนที่มวลชนไม่เคย
คิดอยากจะก้าวข้าม แต่เมื่อคุณหลงทาง
และไม่ยอมเดินกลับเข้ามาในขบวนอย่างที่มันควรจะเป็นเสียที
คุณกำลังจะกลายเป็นแค่คนที่โดนทิ้งไว้ข้างหลังอย่างที่ไม่มีใครเหลียวแล ..
ขณะที่มวลชน
กำลังเดินตรงไปบนเส้นทางแห่งความก้าวหน้า
ของระบอบประชาธิปไตยที่ประชาชนต้องเป็นใหญ่อย่างแท้จริง
ทักษิณกลับเดินแยกตัวออกมา
ไปหลงวนเวียนอยู่ในป่าละเมาะข้างทางหาทางออกไม่เจอ ..
อย่าคิดว่า
คน เสื้อแดงเป็นของตาย เป็นหมูในเล้า จะสั่งหันซ้ายหันขวาก็ได้
บอกความจริงให้ก็ได้ ตอนนี้ชื่อของทักษิณ คือสีแดงเข้มที่ค่อย ๆ
ซีดจางลงไปเรื่อย ๆ ในใจของมวลชนคนเสื้อแดง
จากพฤติกรรมที่แหยไม่สู้คนของคุณเอง …” ( Fighttilldiered : เปะปะ หลงทาง และตามไม่ทันมวลชน คืออาการของคนที่กำลังจะโดนคนเสื้อแดงทิ้ง ชื่อทักษิณ ชินวัตร)
และท้ายที่สุดเมื่อสถานการณ์เลวร้ายไปถึงจุดที่ไม่มีใครห้ามใครได้ ... เมื่อ “พ.ต.ท.ทักษิณ” ไม่สามารถห้ามขบวนการล้มเจ้าให้หยุดคุกคาม จาบจ้วง (ความเป็นจริงก็ไม่เคยห้าม) ภาพการเผชิญหน้าระหว่าง “คนรักเจ้า” และ “คนล้มเจ้า” ย่อมเป็นสิ่งหลีกเลี่ยงไม่ได้
ไม่นับรวมไปถึงประเด็นเกี่ยวเนื่องอย่าง “ผู้สนับสนุน ม.112” และ “ผู้คัดค้าน ม.112” หรือ “คนรักทักษิณ” และ “ คนไม่เอาทักษิณ”
ที่เป็นร่องรอยความแตกแยกอยู่แต่เดิมระหว่างคนต่างสีเสื้อ
และกำลังยกระดับไปสู่จุดระเบิด กับ ประเด็นการออกกฎหมายนิรโทษกรรม ...
ถึงตรงนี้หลายคนเริ่มพูดถึงระเบิดแสวงเครื่องลูกแรกในรอบปี 2554
ที่ตรวจพบบริเวณสำนักงานกินแบ่งรัฐบาล
ซึ่งมีเป้าหมายสร้างความวุ่นวายให้กับบ้านเมือง
ในช่วงที่ประเทศกำลังอยู่วาระอันเป็นมิ่งมงคล ว่า
คือการส่งสัญญาณนับหนึ่งของเหตุความรุนแรงประเทศรอบใหม่ ที่
พ.ต.ท.ทักษิณ วางเชื้อชนวนไว้ตั้งแต่ต้น ( เมษายน 2552 ) โดยละเลยว่า
นี่เป็นต้นเหตุแห่งทุกข์ของพระเจ้าแผ่นดิน
ที่เห็นบ้านเมืองไม่เป็นปกติสุข ???
T-NEWS
วันศุกร์ที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2554
ปิด 6 สูตรนิรโทษ คดีการเมือง ล้างผิดทักษิณ
ความขัดแย้งทางการเมืองยังไม่จบลงง่าย หลังจากเกิดความเคลื่อนไหวของกลุ่มม็อบคัดค้านการออกกฎหมายให้พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีพ้นผิด
เมื่อปรากฎข่าวว่า ครม.ยิ่งลักษณ์ ได้พยายามช่วยเหลือพ.ต.ท.ทักษิณ โดยเห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษให้กับผู้กระทำความผิดเนื่อง ในวโรกาสวันคล้ายวันเฉลิมพระชนมพรรษา 5 ธ.ค.54 โดยตัดฐานความผิดกรณีผู้ต้องหาในคดียาเสพติด และคดีทุจริตออกไป เปิดโอกาสให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ซึ่งถูกศาลฎีกานักการเมืองพิพากษาจำคุกในคดีทุจริตที่ดินรัชดา 2 ปี ได้รับสิทธิ์พ่วงขอพระราชทานอภัยโทษด้วย
พลังของกลุ่มต่อต้านพ.ต.ท.ทักษิณ ทั้งม็อบเสื้อเหลือง กลุ่มเสื้อหลากสี กลุ่มสยามสามัคคี ที่ฝ่ายเพื่อไทยบอกว่า เป็น “ขาประจำ” แต่ด้วยเหตุผลคัดค้านเดียวกัน คือ การแก้ไขพรฎ.ครั้งนี้ล็อคเสปคให้กับพ.ต.ท.ทักษิณ และร่างพรฎ.ที่ส่งให้กฤษฎีกาเตรียมนำขึ้นทูลเกล้าก็ต่างจากเนื้อหาในพรฎ.พระ ราชทานอภัยโทษในยุครัฐบาลอภิสิทธิ์ รัฐบาลสุรยุทธ์ รวมถึงรัฐบาลทักษิณ ที่ยึดเนื้อหาเดียวกัน
แต่รัฐบาลชิงตัดไฟแต่ต้นลม เมื่อเห็นกระแสคัดค้านถักทอเป็นเครือข่ายที่เข้มแข็ง ทั้งม็อบพันธมิตรที่สนธิ ลิ้มทองกุล ประกาศชุมนุมใหญ่หน้าสำนักงานกฤษฎีกา กลุ่มเสื้อหลากสี กลุ่มอาสาปกป้องแผ่นดินเข้าชื่อถอดถอน ครม.ทั้งคณะ และยื่นเรื่องคัดค้านพรฎ.ต่อสำนักงานองคมนตรี รวมถึงจัดเสวนากึ่งปราศรัยที่สวนลุมพินี ซึ่งเป็นพื้นที่จุดเริ่มเมื่อครั้งขับไล่รัฐบาลทักษิณปี 2548
จนที่สุด พ.ต.ท.ทักษิณ ต้องออกแถลงการณ์ว่า ไม่ขอรับประโยชน์ใดๆ จากพรฎ.ฉบับนี้ และเชื่อว่า รัฐบาลจะเข้าใจเจตนาดี ผู้ที่เกี่ยวข้องอย่าง ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกฯ ที่รับบทประธานในที่ประชุมครม.ลับ ออกมารับลูกว่า พรฎ.พระราชทานอภัยโทษไม่ได้เอื้อประโยชน์พ.ต.ท.ทักษิณ ส่วน พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก รมว.ยุติธรรมสำทับว่า ไม่มีการแก้ไข ทุกตัวอักษรของร่างพรฎ.ฉบับนี้ เหมือนฉบับที่ผ่านมาสรุป ความพยายามช่วยเหลือ พ.ต.ท.ทักษิณ หลังรัฐบาลทำงานได้เพียง 3 เดือน ท่ามกลางปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนจากมหาอุทกภัยที่เกิดขึ้น ไม่สำเร็จ พ.ต.ท.ทักษิณ ประกาศอีกครั้งว่า จะยังไม่กลับไทยจะมาก็ต่อเมื่อ ความปรองดองเกิดขึ้น และไม่ต้องการเป็นส่วนหนึ่งของปัจจัยที่ทำให้เกิดความ ขัดแย้ง อยากเป็นคนช่วยแก้ปัญหามากกว่า
อย่างไรก็ตาม เป้าหมายของรัฐบาลเพื่อไทยได้ประกาศตั้งแต่หาเสียงแล้วว่า จะแก้กฎหมายคืนความเป็นธรรมให้แก่ผู้ถูกรังแกจากการปฏิวัติ และจะออกกฎหมายนิรโทษกรรมพ.ต.ท.ทักษิณ ดังนั้น เมื่อเป็นรัฐบาล จึงเดินหน้าผลักดันการนิรโทษกรรมล้างโทษความผิดในเหตุการณ์การชุมนุมตั้งแต่ หลังปฏิวัติ 19 ก.ย. 2549 โดยรวมคดีทุจริตที่เกี่ยวพันพ.ต.ท.ทักษิณและรัฐมนตรีในยุครัฐบาลเพื่อไทย
ร.ต.อ.เฉลิม บอกว่า จะให้มีการออกพรบ.นิรโทษกรรมล้างไพ่ใหม่ทุกคดีเพื่อหยุดความขัดแย้ง สร้างความปรองดองของคนในชาติ
หากดูช่องทางในการล้างโทษ เคลียร์คดีของพ.ต.ท.ทักษิณ มีอยู่หลายลู่ทาง
1. พรฎ.พระราชทานอภัยโทษ แม้แนวทางนี้จะปิดตายแล้ว แต่ในปี 2555 ยังมีวโรกาสสำคัญ ที่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ จะทรงเจริญพระชนมพรรษา 80 พรรษาในวันที่ 12 ส.ค. จึงต้องติดว่า จะมีการขอพระราชทานอภัยโทษให้กับนักโทษชั้นดีในวโรกาสนี้หรือไม่ และจะมีความพยายามแก้ไขพรฎ.พระราชทานอภัยโทษเพื่อเอื้อประโยชน์ให้พ.ต. ท.ทักษิณ อีกหรือไม่เช่นกัน2. การยื่นถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษให้พ.ต.ท.ทักษิณ โดยมวลชนกลุ่มเสื้อแดงจำนวน 3.6 ล้านคนที่ ได้ยื่นต่อสำนักราชเลขาธิการเมื่อเดือน ส.ค.ปี 2553 รัฐบาลเพื่อไทยได้ตั้งคณะทำงานกลั่นกรองและตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีนี้โดยมี นายวุฒิศักดิ์ ลาภเจริญทรัพย์ คณบดีคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัย รามคำแหง เป็นประธาน แต่ไม่มีกำหนดระยะเวลาที่ชัดเจน
3. การออกพรบ.นิรโทษกรรม วิธีนี้จะต้องผ่านความเห็นชอบในกลไกรัฐสภา โดยที่ประชุม สภาผู้แทนราษฎร และ ที่ประชุมวุฒิสภา เริ่มด้วยฝ่ายรัฐบาลต้องเสนอร่างเข้าที่ประชุมครม. คาดว่าจะเริ่มในปีหน้า 2555 จากนั้นส่งให้สภาผู้แทนราษฎรเห็นชอบซึ่งต้องอยูในช่วงเปิดสมัยประชุมนัดหน้า ระหว่างวันที่ 21 ธ.ค. 18 เม.ย.
ขั้นตอนการออกกฎหมายฉบับนี้ต้องเมื่อสภารับหลักการให้ความเห็นชอบ ต้องตั้งคณะกรรมาธิการขึ้นพิจารณาและส่งให้สภาเห็นชอบอีกครั้ง จากนั้นต้องเข้าที่ประชุมวุฒิสภา ตั้งคณะกรรมาธิการมาพิจารณา ทั้ง สองสภาอาจต้องใช้เวลาพิจารณาหลายเดือนคาดว่า ระหว่าง 3-6 เดือน ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ ความร้อนแรงทางการเมืองและแรงขับของรัฐบาลขณะนั้น เนื่องจากร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรม ยังเป็นปมที่กลุ่มต่อต้านพ.ต.ท.ทักษิณ เดินหน้าค้านที่อาจจุดม็อบเดือดขึ้นมาอีกครั้ง
และถึงแม้ว่า รัฐบาลมีเสียงข้างมากในสภาฯ แต่ชั้นในวุฒิสภา รัฐบาลไม่สามารถคุมสียง ส.ว. ได้ถนัดมือ อย่างไรก็ตาม หลักการตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดนั้น วุฒิสภาแก้ไขได้เพียงเล็กน้อย ถ้าแก้มาก สภาผู้แทนฯมีสิทธิ์ยืนยันกลับไป ใช้ร่างแรกที่เสนอโดยรัฐบาล
หันมาดูเนื้อหาที่รัฐบาลเพื่อไทยต้องการนิรโทษกรรมตามที่เคยประกาศไว้ คือ คดีการเมืองตั้งแต่หลังรัฐประหาร 19 ก.ย. 2549 เป็นต้นมาทั้งการชุมนุมของเสื้อเหลืองที่ยึดทำเนียบรัฐบาล ยึดสนามบิน ฝ่ายเสื้อแดงกับคดีฝ่าฝืนพรก.ฉุกเฉิน คดีหมิ่นสถาบัน คดีก่อการร้าย ฯลฯ รวมถึงคดีทุจริตที่คณะรัฐประหารได้แต่งตั้ง คตส. มาตรวจสอบความผิดซึ่งคดีที่ศาลฎีกานักการเมือง ตัดสินไปแล้วคือ คดีทุจริตจัดซื้อที่ดินรัชดาโดยให้จำคุก พ.ต.ท.ทักษิณ 2 ปี คดีหวยบนดินตัดสินจำคุก นายวราเทพ รัตนากร อดีตรมช.คลัง รวมถึงอดีต ผอ.สำนักงานสลากกินแบ่งฯ และอดีตประธานบอร์ดสำนักงานสลากกินแบ่งฯ 2 ปี แต่ให้รอลงอาญา ส่วนพ.ต.ท.ทักษิณ ศาลจำหน่ายคดีออกไปชั่วคราว เพราะหลบหนี
4. การแก้ไขรัฐธรรมนูญ รัฐบาลกำหนดว่า ต้นปีหน้าจะเริ่มกระบวนการแก้ไขได้โดยให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูญขึ้นมา แต่จะทำสองขยัก คือ แก้มาตรา 291 ของรัฐธรรมนูญเพื่อออกแบบสภาร่างรัฐธรรมนูญโดยให้มีสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) สองส่วนรวม 99 คน คือ สสร.จังหวัดที่จากการเลือกตั้ง กับ สสร. สายวิชาการ คาดว่าสภาร่างรัฐธรรมนูญจะใช้เวลาจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ 6-8 เดือน เมื่อร่างเสร็จ จะทำประชามติถามความเห็นประชาชนจะเห็นชอบกับร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่หรือไม่ ซึ่งการแก้ไขรัฐธรรมนูญสามารถเขียนบทนิรโทษกรรมล้างความผิดในบทเฉพาะกาลได้
5. ข้อเสนอของคณะกรรมการกลุ่มต่างๆ ที่เกี่ยวกับการปรองดองที่จะออกมาพร้อมๆ กันในช่วงกลางปีหน้าเป็นต้นไป จะมีน้ำหนักต่อการผลักดันให้เกิดการนิรโทษกรรมและการปรองดอง
โดยเฉพาะคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.)ที่เสนอให้ หยุดคดีแกนนำเสื้อเหลืองและเสื้อแดง และปล่อยตัวผู้ต้องหาทางการเมือง โดยให้หน่วยงานที่ฟ้องคดีคือ อัยการหรือตำรวจถอนคดีออกจากศาล ซึ่งรัฐบาลเพื่อไทยเห็นด้วยทุกประการ
อีกคณะคือ คณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการสร้างความปรองดองแห่งชาติ สภาผู้แทนราษฎร ที่มี พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน สส.พรรคมาตุภูมิ อดีตผู้นำการรัฐประหารขับไล่พ.ต.ท.ทักษิณ เป็นประธาน
รายงานข่าวจากสื่อระบุว่า กมธ.ชุดนี้ที่ประกอบทุกพรรคการเมือง แต่ส่วนใหญ่เป็นพรรคเพื่อไทยจะเสนอให้มีการนิรโทษกรรมยกแผงทั้งคดีการเมือง และคดีทุจริต แต่กมธ.ไม่มีอำนาจสั่งการ ทำได้ก็เพียงเสนอความเห็นต่อสาธารณะ
อีกหนึ่งคณะที่รัฐบาลได้แต่งตั้ง คือ คณะกรรมการอิสระว่าด้วยหลักนิติธรรมแห่งชาติ (คอ.นธ.) ที่มี ศ.อุกฤษ มงคลนาวิน เป็นประธาน มีหน้าที่กำหนดยุทธศาสตร์ แนวทาง มาตรการ ข้อเสนอแนะต่างๆในการใช้กฎหมายตามหลักนิติธรรม โดยต้องรายงานรัฐบาลทราบทุก 6 เดือน
ศ.อุกฤษออกแถลงการณ์ล่าสุดเมื่อวันที่ 22 พ.ย. ว่า แม้ไม่สามารถตั้งกรรมการได้ เพราะติดปัญหาน้ำท่วม แต่จะเดินหน้าทำงานหลังน้ำลดแน่นอน โดยจะให้ประชาชนได้รับความเป็นธรรมและเลี่ยง “ความยุติธรรมสองมาตรฐาน” รวมทั้งให้ความเห็นในการเตรียมออกกฎหมาย เพื่อใช้บังคับแก่ประชาชน
ขณะเดียวกัน ในปีหน้าเมื่อเริ่มเปิดสมัยประชุมสภาอีกครั้ง ที่ประชุมสภาจะลงมติแต่งตั้งคณะกรรมาธิการพิจารณาข้อเสนอลบล้างผลพวงของการ ทำรัฐประหาร 19 ก.ย. จากคณาจารย์กลุ่มนิติราษฎร์ ตามที่ แกนนำเสื้อแดง นายก่อแก้ว พิกุลทอง ส.ส. พรรคเพื่อไทย ได้เสนอญัตติด่วนคาไว้ นายก่อแก้ว บอกว่า จุดประสงค์ที่เสนอเพื่อต้องการปกป้องประชาธิปไตย และให้ยกประโยชน์กับกลุ่มต่างๆ หลังเกิดเหตุการณ์ 19 ก.ย. 2549 โดยอาจรวมถึงการนิรโทษกรรมของผู้ที่ถูกยึดอำนาจ ที่สำคัญต้องให้ความเป็นธรรมกับ พ.ต.ท.ทักษิณ และครอบครัวด้วย
ทั้งสามคณะ คอป. คอ.นธ. และกมธ.นิติราษฎร์ จะมีผลสรุปออกมาที่ใกล้เคียงกัน คาดว่าจะมีรายงานออกมาได้ประมาณกลางปีหน้าจนถึงสิ้นปี 2555 เป็นต้นไป ซึ่งประจวบเหมาะในช่วงแก้ไขรัฐธรรมนูญ
6. หากพ.ต.ท.ทักษิณ เดินทางกลับไทยเพื่อมารับโทษจำคุก 2 ปีหลัง จากเดินทางหนีออกนอกประเทศไป ก็ง่ายต่อการออกกฎหมายนิรโทษกรรมที่จะได้รับความเห็นใจจากสังคมว่า พ.ต.ท.ทักษิณก็กลับมารับโทษแล้วแม้อาจไม่ครบ 2 ปีก็ตามก็น่าจะนิรโทษกรรมกันได้
มติ ป.ป.ช. คดีทุจริตคลองด่าน “วัฒนา” มีมูลความผิด-“สุวัจน์” รอด
-
เขียนโดย ณัฐนันท์ อิทธิยาภรณ์
"กล้านรงค์" ระบุ"วัฒนา อัศวเหม" มีมูลคดีทุจริตโครงการบ่อบำบัดน้ำเสียคลองด่าน พร้อมเตรียมแจ้งข้อกล่าวหา ด้านสุวัจน์ รอด เหตุไต่สวน ไม่พบมีเอี่ยวทำความผิด
วันที่ 8 ธันวาคม นายกล้านรงค์ จันทิก กรรมการและโฆษก คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) แถลงผลการประชุมของคณะกรรมการ ป.ป.ช. เรื่องกล่าวหา นายวัฒนา อัศวเหม ขณะดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย กันพวก 35 คน ทุจริตโครงการก่อสร้างระบบบำบัดน้ำเสียเขตควบคุมมลพิษ จังหวัดสมุทรปราการ (คลองด่าน) ซึ่งเป็นสำนวนที่คณะอนุกรรมการไต่สวน ที่มี นายวิชัย วิวิตเสรี กรรมการ ป.ป.ช. เป็นประธานอนุกรรมการ ได้นำเสนอ
นายกล้านรงค์ กล่าวว่า จากการไต่สวนโดยดำเนินการสอบปากคำพยานบุคคล 114 ปาก รวบรวมพยานหลักฐานเอกสาร ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ จำนวน 403 รายการ มีจำนวนรวมกันทั้งสิ้น 17,985 แผ่น รวมทั้งให้ผู้ถูกกล่าวหาชี้แจ้งแก้ข้อกล่าวหาแล้ว สรุปความเห็นและมติของคณะกรรมการ ป. ป.ช. ได้ดังนี้ นายวัฒนา อัศวเหม ผู้ถูกกล่าวหาที่ 1 เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ระหว่างวันที่ 15 พ.ย. 2540 ถึงวันที่ 9 ก.พ. 2544 คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติเอกฉันท์ว่า พฤติการณ์ของนายวัฒนา มีมูลความผิดทางอาญา ฐานเป็นเจ้าพนักงานใช้อำนาจในตำแหน่งโดยมิชอบข่มขืนใจ หรือจูงใจ เพื่อให้บุคคลใดมอบให้หรือหามาให้ ซึ่งทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใด แก่ตนเองหรือผู้อื่น และฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยสุจริต ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 148 และมาตรา 157
แต่ขณะนี้ผู้ถูกกล่าวหาที่ 1 อยู่ระหว่างการหลบหนีหมายจับตามคำพิพากษาของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรง ตำแหน่งทางการเมือง ที่ อม.2/2552 คณะกรรมการ ป.ป.ช. จึงมีมติแจ้งข้อกล่าวหาให้ ผู้ถูกกล่าวหาทราบ เพื่อดำเนินการไต่สวนข้อเท็จจริงตามระเบียบต่อไป
นายกล้านรงค์ กล่าวต่อว่า สำหรับนายยิ่งพันธ์ มนะสิการ ผู้ถูกกล่าวที่ 2 เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2538 ได้เสนอโครงการออกแบบรวมก่อสร้างระบบรวบรวมและบำบัดน้ำเสียฝั่งตะวันออกและ ฝั่งตะวันตก เขตควบคุมมลพิษ จังหวัดสมุทรปราการ เมื่อพิจารณาแล้วเห็นว่า การกระทำของผู้ถูกกล่าวหาที่ 2 ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ทางราชการ ในส่วนของเงินที่จ่ายให้แก่ผู้รับจ้างไปเป็นค่าที่ดิน ค่าจ้าง ค่าแรง ค่าวัสดุอุปกรณ์ และค่าจ้างบริษัทที่ปรึกษา สำหรับการก่อสร้างโครงการดังกล่าว เป็นเงินจำนวน 17,045,889,431.40 บาทจำนวนหนึ่งและ 121,343,887.19 เหรียญสหรัฐอีกจำนวนหนึ่ง
“คณะกรรมการ ป.ป.ช. เห็นว่า การกระทำของนายยิ่งพันธ์ เป็นการฝ่าฝืนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2538 และมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2526 ฝ่าฝืนต่อระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.2535 ฝ่าฝืนต่อพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2502 มาตรา 23 วรรคสาม และมาตรา 26 รวมทั้งระเบียบก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ พ.ศ.2534 ข้อ 7 เป็นความผิดทางอาญา ฐานเป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่ซื้อ ทำ จัดการหรือรักษาทรัพย์ใดๆ ได้กระทำการทุจริตต่อหน้าที่อันเป็นการเสียหายแก่ภาครัฐ และฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก้ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริตตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 151 และมาตรา 157”
แต่เนื่องจากผู้ถูกกล่าวหาที่ 2 ถึงแก่ความตายเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2546 สิทธิการนำคดีอาญามาฟ้องจึงระงับไปด้วยความตายของผู้กระทำความผิดตามประมวล กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 39 (1) คณะกรรมการ ป.ป.ช. จึงมีมติให้จำหน่วยเรื่องออกจากสารระบบเรื่องกล่าวหา
ส่วนนายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ ผู้ถูกกล่าวหาที่ 3 นั้น นายกล้านรงค์ กล่าวว่า นายสุวัจน์ ได้เข้ามาเกี่ยวข้องกับโครงการดังกล่าวใน 2 ช่วงด้วยกัน คือ ในฐานะรัฐมนตีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ระหว่างวันที่ 17 ธันวาคม 2537 ถึงวันที่ 13 กรกฎาคม 2538 และในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ระหว่างเดือนธันวาคม 2539 ถึงเดือนพฤศจิกายน 2540
สำหรับประเด็นการพิจารณานั้น แบ่งออกเป็น 2ส่วนคือ 1.นายสุวัจน์ ได้เป็นผู้ริเริ่มผลักดันให้เกิดโครงการฯ หรือไม่ และ 2.ได้ใช้อำนาจหน้าที่เอื้อประโยชน์ให้กับบริษัทประยูรวิศว์ การช่าง ซึ่งเป็นบริษัทในครอบครัวของนายสุวัจน์ หรือไม่ซึ่งข้อเท็จจริงจากการไต่สวน ปรากฎว่า การดำเนินการโครงการฯ ดังกล่าว อยู่ภายใต้อำนาจหน้าที่รับผิดชอบของนายยิ่งพันธ์ มนะสิการ ผู้ถูกกล่าวที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ได้รับมอบอำนาจในการสั่งจ้างตามมติ ครม. เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2538 โดยนายสุวัจน์ ผู้ถูกกล่าวหาที่ 3 ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องและไม่มีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับการประกวดราคาดังกล่าว เพราะขณะนั้นนายสุวัจน์ เป็น ส.ส. พรรคฝ่ายค้าน”
นายกล้านรงค์ กล่าวอีกว่า นายสุวัจน์ ได้เข้ามาเกี่ยวข้องกับโครงการดังกล่าวอีกครั้งใน สมัยเป็น รมว.คมนาคม และถึงแม้ในตำแหน่ง รมว.คมนาคม ของผู้ถูกกล่าวหาที่ 3 จะเป็นกรรมการในคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ผู้หนึ่งด้วยก็ตาม แต่ก็ไม่ได้เป็นรัฐมนตรี ผู้รับผิดชอบงานของ คกก.สิ่งแวดล้อมแห่งชาติ เป็นเพียงกรรมการคนหนึ่งเท่านั้น นอกจากนี้ยังไม่ปรากฏพยานหลักฐานใดที่แสดงให้เห็นว่า นายสุวัจน์ ได้ใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่จูงใจ หรือครอบงำ คกก.สิ่งแวดล้อมแห่งชาติหรือ ครม. ให้ความเห็นชอบ ในเรื่องที่นายสุวัจน์ ได้ร่วมประชุม ซึ่งเป็นการประชุมเฉพาะในเรื่องการปรับปรุงแบบการก่อสร้างโครงการ หรืออนุมัติขยายระยะเวลาก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ ซึ่งเกิดจากการกระทำของนายยิ่งพันธ์ ฉะนั้น จึงถือไม่ได้ว่า นายสุวัจน์ ได้มีส่วนร่วมในการกระทำความผิดในโครงการดังกล่าว คณะกรรมการ ป.ป.ช. จึงมีมติเอกฉันท์ให้ข้อกล่าวหาตกไป
จากนั้นเมื่อถามว่า นายวัฒนาอยู่ระหว่างหลบหนีหมายจับ ป.ป.ช. จะดำเนินการแจ้งข้อกล่าวหาไปยังผู้ถูกกล่าวได้อย่างไรนายกล้านรงค์ กล่าวว่า สำหรับการดำเนินการดังกล่าวนั้น คณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้มอบหมายให้ คณะอนุกรรมการฯ ดำเนินการตามระเบียบต่อไป ส่วนถ้านายวัฒนา ไม่เดินทางมาด้วยตนเอง ก็สามารถชี้แจงข้อกล่าวหาเป็นลายลักษณ์อักษรได้ ทั้งนี้ จะต้องมีการชี้แจ้งข้อกล่าวภายใน 15 วันหลังจากได้รับแจ้งข้อกล่าวหาแล้ว หรือถ้ามีกรณีที่ไม่สามารถชี้แจ้งได้ภายในระยะเวลาที่กำหนด ก็สามารถขอขยายเวลาได้
ด้านนายวิชัย วิวิตเสรี กรรมการ ป.ป.ช. ในฐานะประธานอนุกรรมการ กล่าวว่า การแจ้งข้อกล่าวหาสามารถทำได้ โดยการส่งเอกสารไปยังภูมิลำเนาของผู้ถูกกล่าวหา
อ่านรายละเอียดมติ ป.ป.ช. เกี่ยวกับผู้ถูกกล่าวหาทั้ง 36 รายได้ที่ www.nacc.go.th
อำนาจตุลาการ/อำนาจที่พวกมันแทรกแซงไม่ได้
สำเริง คำพะอุ
หลังจากที่หลบหนีไปอยู่ต่างประเทศปีกว่า นายอริสมันต์ พงษ์เรืองรอง ผู้ต้องหาคนสำคัญก็เข้ามอบตัวที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ เพื่อรับทราบข้อกล่าวหาในคดีก่อการร้าย คดีบุกรุกอาคารรัฐสภา และคดีปราศัยยุยงปลุกปั่น ๓ ข้อหา โดยนายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดี พันตำรวจเอก ณรัชต์ เศวตนันทน์ รองอธิบดี และพันตำรวจโท ถวัลย์ มั่งคั่ง ผบ.สำนักคดีอาญาพิเศษ มาให้การต้อนรับ การมอบตัว
มีมวลชนคนเสื้อแดงประมาณ ๕๐ คน มามอบดอกกุหลาบสีแดง และชูป้ายให้กำลังใจ
ก่อนเข้ารับทราบข้อกล่าวหา นายอริสมันต์ให้สัมภาษณ์ว่า มามอบตัวเพื่อต่อสู้คดีตามขั้นตอน เนื่องจากเห็นว่าสถานการณ์ดีขึ้น และดีเอสไอจะเปลี่ยนแปลงข้อกล่าวหาเกี่ยวกับการก่อการร้าย การเดินทางมาครั้งนี้มั่นใจในกระบวนการยุติธรรม และมั่นใจในความปลอดภัย โดยจะปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา นอกจากนี้ยังเตรียมจะยื่นหนังสือต่อศาลรัฐธรรมนูญให้พิจารณาว่าข้อกล่าวหาทั้งหมดรุนแรงไปหรือไม่
นายอริสมันต์กล่าวอีกว่าได้ประสานกับรัฐบาลเป็ยการภายในพอสมควร เมื่อมีความมั่นใจจึงได้เดินทางกลับเข้ามา แต่รัฐบาลไม่ได้เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ เพราะเป็นเรื่องของขบวนการยุติธรรม
นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ ไม่คัดค้านการประกันตัว เนื่องจากได้สรุปสำนวนทั้ง ๓ คดีส่งให้อัยการคดีพิเศษแล้ว
โชคดีที่ กรมสอบสวนคดีพิเศษสรุปสำนวนคดีนี้ และ ส่งสำนวนการสอบสวนให่อัยการพร้อมความเห็น สั่งฟ้อง ให้อัยการเป็นที่เรียบร้อยแล้ว หาไม่นายธาริต เพ็งดิษฐ์ ก็ต้องมาสอบสวนใหม่ ระหว่างการสอบสวนจะควบคุมตัวไว้จนกว่าจะสอบสวนเสร็จ ระหว่างที่สอบสวนไม่เสร็จต้องขออำนาจศาลควบคุมตัวไว้สอบสวนต่อ คงจะยุ่งพิลึก ในสถานการณ์อย่างนี้ และรัฐบาลนี้
เมื่อพนักงานสอบสวนกรมสอบสวนคดีพิเศษคุมตัวนายอริสมันต์ส่งให้นายรุจ เขื่อนสวรรณ อัยการพิเศษฝ่ายคดีพิเศษ ๑ พนักงานอัยการนำตัวนายอริสมันต์ไปเซ็นรับทราบข้อกล่าวหา
และนำไปฟ้องต่อศาลอาญาเป็นจำเลยในความผิดฐานร่วมกันก่อการร้าย โจทก์ไม่ขอคัดค้านการประกัน เนื่องจากจำเลยเข้ามอบตัวกับเจ้าพนักงาน
ศาลรับคำฟ้องไว้เป็นคดีหมายเลขดำที่ อ. ๔๙๕๘ /๒๕๕๔
ศาลเรียกนายอริสมันต์เพื่อสอบถามคำให้การว่าจะรับสารภาพ หรือ ปฏิเสธ นายอริสมันต์แถลงให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา ศาลจึงมีคำสั่งนัดพร้อมคู่ความเพื่อตรวจสอบพยานหลักฐาน ในวันที่ ๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ เวลา ๑๓.๓๐ น.
และเวลา ๑๖.๓๐ น.ศาลอาญามีคำสั่งเรื่องการขอประกันตัวชั่วคราว นายอริสมันต์ ศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่า คดีนี้มีข้อหาร้ายแรง และอัตราโทษสูง หลังเกิดเหตุ จำเลยหลบหนีมาตลอด แม้ต่อมาได้เข้ามอบตัวต่อพนักงานก็เป็นเวลานาน และยังเป็นบุคคลที่ศาลอาญาออกหมายจับในคดีอาญาข้อหาหมิ่นประมาทผู้อื่น หมายเลขคดีดำที่ อ.๔๑๗๗ อ.๑๔๖๓ ในชั้นนี้ยังไม่มีเหตุผลเพียงพอให้ศาลเชื่อว่า หากอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราวแล้ว จะไม่หลบหนีอีก จึงให้ยกคำร้อง
หลังจากศาลมีคำสั่ง
เจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ คุมตัวนายอริสมันต์ไปคุมขังที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร
เรื่องนี้จะเป็นตัวอย่างให้นักโทษที่กำลังหลบหนีคุก และ ยังเป็นผู้หลบหนีบางคดีอยู่ในเวลานี้ได้คิดว่า แม้จะรอดคุกได้ในคดีหนึ่ง แต่ยังมีคดีอื่นที่จะต้องถูกดำเนินคดี และถ้าหากถูกดำเนินคดี แม้ ตำรวจ เจ้าพนักงานสอบสวน อัยการ จะไม่คัดค้านในการขอประกันตัว เพื่อให้ศาลปล่อยตัวชั่วคราวระหว่างถูกดำเนินคดี ก็อย่าได้ฝันหวานว่าจะรอดจากการคุมขังได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้ที่หนีประกัน ศาลท่านจะยิ่งพิจารณาเป็นพิเศษว่า ไอ้คนนี้มันจะหนีอีก หากมันเห็นว่า มันจะแพ้ เจรจากับศาลไม่ได้ (เพราะศาลท่านไม่รับเจรจาอยู่แล้ว) หรือเห็นว่า ถุงขนมที่มีเงินเป็นล้าน สองล้าน ไม่สามารถโยกคลอนวิจารณญาณของตุลาการได้
การชนะการเลือกตั้ง ได้จัดตั้งรัฐบาล ได้อำนาจรัฐอาจจะช่วยพรรคพวกได้โดยให้มารับตำแหน่ง เป็นรองนายกรัฐมนตรี เป็นรัฐมนตรี เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการ เป็นเลขานุการ เป็นที่ปรึกษา สุดแท้แต่จะสำคัญแค่ไหน รับใช้ นายใหญ่ มากน้อยแค่ไหน ลงทุน ลงแรงแค่ไหน เสี่ยงคุก เสี่ยงตะรางขนาดไหน อาจจะคุยกันได้ ช่วยกันได้ในอำนาจของฝ่ายบริหาร และนิติบัญญัติ (ซึ่งคาบเกี่ยวกันอยู่ เช่นจะให้ใครสมัคร ส.ส. ส่งเมีย หรือ ผัว หรือลูก ลงสมัคร ก็เห็นกันอยู่) แต่อย่างหนึ่งที่ไม่อาจจะไปเกี่ยวข้องได้คือ อำนาจตุลาการ
และเรื่องนี้อีกเหมือนกัน จะพิสูจน์ให้เห็นว่า คำพูดที่ว่า เชื่อในความยุติธรรมของศาลในการมอบตัวครั้งนี้ของนายอริสมันต์จะจริงแท้แค่ไหน จะขนพวกมากดดันศาล ป่วนศาล หรือไม่ เมื่อศาลไม่ให้ประกัน
ขณะเดียวกัน เหตุผลของศาลที่ว่า คดีนี้มีข้อหาร้ายแรง และอัตราโทษสูง หลังเกิดเหตุจำเลยหลบหนีมาตลอด แม้ต่อมาได้เข้ามอบตัวต่อพนักงานสอบสวน ก็เป็นเวลานาน และยังเป็นบุคคลที่ศาลอาญาออกหมายจับในคดีอาญาข้อหาหมิ่นประมาท ชั้นนี้จึงไม่มีเหตุผลเพียงพอให้ศาลเชื่อว่า หากอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราวแล้วจะไม่หลบหนีอีก นั้นจะเปลี่ยนไปหรือไม่ ถ้าหากเปลี่ยน เปลี่ยนด้วยเหตุผลใด
ต้องติดตาม อย่าได้กระพริบตา
นายโสภณ ธิติธรรมพฤกษ์ ผบ.เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ เปิดเผยว่า หลังศาลอาญาไม่ให้ประกันตัวนายอริสมันต์ พงศ์เรืองรอง จำเลยในคดีก่อการร้าย ส่งผลให้นายอริสมันต์ต้องถูกส่งตัวเข้าคุมขังในเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ โดยเรือนจำจะปฏิบัติตามระเบียบอย่างเคร่งครัด เมื่อผู้ต้องขังใหม่ถูกส่งมายังเรือนจำในวันแรกจะส่งตัวเข้าแดนแรกรับ เพื่อตรวจสอบประวัติผู้ต้องขังใหม่ แจกคู่มือติดคุก เพื่อให้ผู้ต้องขังใหม่ทราบถึงระเบียบการอยู่ร่วมกันในเรือนจำ
รายงานข่าวเปิดเผยว่า ภายหลังรับทราบข่าวว่านายอริสมันต์ไม่ได้ประกันตัวในชั้นศาล พ.ต.อ.สุชาติ วงศ์อนันต์ชัย อธิบดีกรมราชทัณฑ์ ได้รีบเดินทางไปยังเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯเพื่อตรวจสอบความเรียบร้อยในการรับ ตัวนายอริสมันต์ซึ่งถูกคุมขังเป็นครั้งแรกภายหลังหลบหนีหมายจับของศาล และออกนอกประเทศไปตั้งแต่เมื่อวันที่ 19 พ.ค.2553 นับเป็นเวลานานกว่า 1 ปี 6 เดือน
0000
น่าผิดหวังกับการไม่ค้านการประกันตัวของผู้ต้องหามีหมายจับและหลบหนีของอัยการ
รู้สึกว่าอัยการค่อนข้างจะใช้วิจารณญาณเป็นหลายมาตรฐาน
ปกติหากเป็นผู้ต้องหาที่หลบหนีหมายจับ มักจะถูกคัดค้านการประกันตัวระหว่างดำเนินคดี
ต้องขอขอบคุณศาลที่ทำให้เป็นมาตรฐานเดียว เพราะโทษหนักเช่นนั้น ให้ประกันตัวไปก็ไม่แน่ใจว่าจะหลบหนีคดีอีกหรือไม่
แคน ไทเมือง
ข้อมูลเสริม
ทางเข้าคุก…ประตูคุก
ห้องนอน
นายโสภณ ธิติธรรมพฤกษ์ ผบ.เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ เปิดเผยว่า หลังศาลอาญาไม่ให้ประกันตัวนายอริสมันต์ พงศ์เรืองรอง จำเลยในคดีก่อการร้าย ส่งผลให้นายอริสมันต์ต้องถูกส่งตัวเข้าคุมขังในเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ โดยเรือนจำจะปฏิบัติตามระเบียบอย่างเคร่งครัด เมื่อผู้ต้องขังใหม่ถูกส่งมายังเรือนจำในวันแรกจะส่งตัวเข้าแดนแรกรับ เพื่อตรวจสอบประวัติผู้ต้องขังใหม่ แจกคู่มือติดคุก เพื่อให้ผู้ต้องขังใหม่ทราบถึงระเบียบการอยู่ร่วมกันในเรือนจำ
รายงานข่าวเปิดเผยว่า ภายหลังรับทราบข่าวว่านายอริสมันต์ไม่ได้ประกันตัวในชั้นศาล พ.ต.อ.สุชาติ วงศ์อนันต์ชัย อธิบดีกรมราชทัณฑ์ ได้รีบเดินทางไปยังเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯเพื่อตรวจสอบความเรียบร้อยในการรับ ตัวนายอริสมันต์ซึ่งถูกคุมขังเป็นครั้งแรกภายหลังหลบหนีหมายจับของศาล และออกนอกประเทศไปตั้งแต่เมื่อวันที่ 19 พ.ค.2553 นับเป็นเวลานานกว่า 1 ปี 6 เดือน
0000
น่าผิดหวังกับการไม่ค้านการประกันตัวของผู้ต้องหามีหมายจับและหลบหนีของอัยการ
รู้สึกว่าอัยการค่อนข้างจะใช้วิจารณญาณเป็นหลายมาตรฐาน
ปกติหากเป็นผู้ต้องหาที่หลบหนีหมายจับ มักจะถูกคัดค้านการประกันตัวระหว่างดำเนินคดี
ต้องขอขอบคุณศาลที่ทำให้เป็นมาตรฐานเดียว เพราะโทษหนักเช่นนั้น ให้ประกันตัวไปก็ไม่แน่ใจว่าจะหลบหนีคดีอีกหรือไม่
แคน ไทเมือง
ข้อมูลเสริม
ทางเข้าคุก…ประตูคุก
ห้องนอน
ส่งอริสมันต์เข้าคุก-แดนแรกรับยินดีต้อนรับ ศาลยังพึ่งได้
ส่ง”อริสมันต์”เข้าแดนแรกรับ
เนชั่นทันข่าวนายโสภณ ธิติธรรมพฤกษ์ ผบ.เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ เปิดเผยว่า หลังศาลอาญาไม่ให้ประกันตัวนายอริสมันต์ พงศ์เรืองรอง จำเลยในคดีก่อการร้าย ส่งผลให้นายอริสมันต์ต้องถูกส่งตัวเข้าคุมขังในเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ โดยเรือนจำจะปฏิบัติตามระเบียบอย่างเคร่งครัด เมื่อผู้ต้องขังใหม่ถูกส่งมายังเรือนจำในวันแรกจะส่งตัวเข้าแดนแรกรับ เพื่อตรวจสอบประวัติผู้ต้องขังใหม่ แจกคู่มือติดคุก เพื่อให้ผู้ต้องขังใหม่ทราบถึงระเบียบการอยู่ร่วมกันในเรือนจำ
รายงานข่าวเปิดเผยว่า ภายหลังรับทราบข่าวว่านายอริสมันต์ไม่ได้ประกันตัวในชั้นศาล พ.ต.อ.สุชาติ วงศ์อนันต์ชัย อธิบดีกรมราชทัณฑ์ ได้รีบเดินทางไปยังเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯเพื่อตรวจสอบความเรียบร้อยในการรับ ตัวนายอริสมันต์ซึ่งถูกคุมขังเป็นครั้งแรกภายหลังหลบหนีหมายจับของศาล และออกนอกประเทศไปตั้งแต่เมื่อวันที่ 19 พ.ค.2553 นับเป็นเวลานานกว่า 1 ปี 6 เดือน
0000
น่าผิดหวังกับการไม่ค้านการประกันตัวของผู้ต้องหามีหมายจับและหลบหนีของอัยการ
รู้สึกว่าอัยการค่อนข้างจะใช้วิจารณญาณเป็นหลายมาตรฐาน
ปกติหากเป็นผู้ต้องหาที่หลบหนีหมายจับ มักจะถูกคัดค้านการประกันตัวระหว่างดำเนินคดี
ต้องขอขอบคุณศาลที่ทำให้เป็นมาตรฐานเดียว เพราะโทษหนักเช่นนั้น ให้ประกันตัวไปก็ไม่แน่ใจว่าจะหลบหนีคดีอีกหรือไม่
แคน ไทเมือง
ข้อมูลเสริม
ทางเข้าคุก…ประตูคุก
ห้องนอน
ส่งอริสมันต์เข้าคุก-แดนแรกรับยินดีต้อนรับ ศาลยังพึ่งได้
ส่ง”อริสมันต์”เข้าแดนแรกรับ
เนชั่นทันข่าวนายโสภณ ธิติธรรมพฤกษ์ ผบ.เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ เปิดเผยว่า หลังศาลอาญาไม่ให้ประกันตัวนายอริสมันต์ พงศ์เรืองรอง จำเลยในคดีก่อการร้าย ส่งผลให้นายอริสมันต์ต้องถูกส่งตัวเข้าคุมขังในเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ โดยเรือนจำจะปฏิบัติตามระเบียบอย่างเคร่งครัด เมื่อผู้ต้องขังใหม่ถูกส่งมายังเรือนจำในวันแรกจะส่งตัวเข้าแดนแรกรับ เพื่อตรวจสอบประวัติผู้ต้องขังใหม่ แจกคู่มือติดคุก เพื่อให้ผู้ต้องขังใหม่ทราบถึงระเบียบการอยู่ร่วมกันในเรือนจำ
รายงานข่าวเปิดเผยว่า ภายหลังรับทราบข่าวว่านายอริสมันต์ไม่ได้ประกันตัวในชั้นศาล พ.ต.อ.สุชาติ วงศ์อนันต์ชัย อธิบดีกรมราชทัณฑ์ ได้รีบเดินทางไปยังเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯเพื่อตรวจสอบความเรียบร้อยในการรับ ตัวนายอริสมันต์ซึ่งถูกคุมขังเป็นครั้งแรกภายหลังหลบหนีหมายจับของศาล และออกนอกประเทศไปตั้งแต่เมื่อวันที่ 19 พ.ค.2553 นับเป็นเวลานานกว่า 1 ปี 6 เดือน
0000
น่าผิดหวังกับการไม่ค้านการประกันตัวของผู้ต้องหามีหมายจับและหลบหนีของอัยการ
รู้สึกว่าอัยการค่อนข้างจะใช้วิจารณญาณเป็นหลายมาตรฐาน
ปกติหากเป็นผู้ต้องหาที่หลบหนีหมายจับ มักจะถูกคัดค้านการประกันตัวระหว่างดำเนินคดี
ต้องขอขอบคุณศาลที่ทำให้เป็นมาตรฐานเดียว เพราะโทษหนักเช่นนั้น ให้ประกันตัวไปก็ไม่แน่ใจว่าจะหลบหนีคดีอีกหรือไม่
แคน ไทเมือง
ข้อมูลเสริม
ทางเข้าคุก…ประตูคุก
ห้องนอน
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)
รีโมท
ซื้อ รีโมท จากผู้ค้าส่งโดยตรง ที่มีหน้าร้านจริง ที่ บ้านหม้อ และ คลองถม ราคาถูกกว่าใคร ปลอดภัย มีรับประกัน