วันอาทิตย์ที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2554
ความสัมพันธ์ของ สมศักดิ์ และ ธิดาแกนนำ นปช.
Create a playlist at MixPod.com
กดที่ video เพื่อขยายจอ
(นำมาเผยแพร่เพื่อต้องการปกป้องสถาบันกษัตริย์อันเป็นที่รักของปวงชนชาวไทย)
เสนาะ ทักษิณ กับความจริงที่ว่า เพื่อผลประโยชน์แล้วไม่มีอะไรที่นักการเมืองทำไม่ได้
ประชาชนอย่างเราจะหวังอะไรกับนักการเมืองสมัยนี้ได้ โหวตโนเถอะครับ ทางออกเดียวของเรา
ศ.ดร.จรัส สุวรรณมาลา “ถ้าไม่มีคนดีก็ไม่ต้องเลือก พรรคการเมืองอย่าดูถูกประชาชน”
ขณะ นี้พรรคการเมืองทุกพรรคต่างวิ่งเข้าสู่สงครามการเลือกตั้งกันอย่างเอาเป็น เอาตาย ต่างฝ่ายต่างโหมนโยบายขายฝันเพื่อหวังชิงที่นั่งในสภาในการเลือกตั้งครั้ง หน้าที่กำลังจะมาถึงในวันที่ 3 ก.ค.นี้ แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าผู้ลงสมัครแต่ละพรรคก็ยังคงเป็นนักการเมืองหน้าเดิม มีแนวคิดแบบเดิมๆ โดยหวังเพียงให้การหย่อนบัตรลงคะแนนเลือกตั้งเป็นเพียงทางผ่านที่จะนำพาพวก เขาเข้าไปนั่งในสภา เพื่อจะมีโอกาสใช้อำนาจหน้าที่แสวงประโยชน์ให้แก่ตนเองและพวกพ้อง
อย่างไรก็ดี ขณะนี้ได้มีหน่วยงานหนึ่งที่จัดตั้งขึ้นมาเพื่อจับตานักการเมืองเหล่านี้โดย เฉพาะ นั่นคือ 'เครือข่ายข้อมูลการเมืองไทย' ซึ่งจัดทำเว็บไซต์เครือข่ายข้อมูลการเมืองไทย หรือ www.tpd.in.th ที่มี 'ศ.ดร.จรัส สุวรรณมาลา' อดีตคณบดีคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นผู้ก่อตั้ง ซึ่งถือเป็นการสร้างปรากฎการณ์ใหม่ทางการเมือง
'ASTVผู้จัดการสุดสัปดาห์' จึงได้สัมภาษณ์พูดคุยกัย ศ.ดร.จรัส ถึงที่มาที่ไป และจุดมุ่งหมายในการจัดทำเว็บไซต์ดังกล่าว
**อยากทราบถึงความเป็นมาของว็บไซต์เครือข่ายข้อมูลการเมืองไทย
เว็บไซต์นี้เกิดจากการรวมตัวของนักวิชการจากมหาวิทยาลัยต่างๆ นอกจากนั้นยังมีอาสาสมัครที่อาสามาช่วยงานด้วย ก็มาช่วยกันรวบรวม วิเคราะห์ และสร้างฐานข้อมูลเกี่ยวกับการเมืองซึ่งหน่วยงานใดจะนำข้อมูลตรงนี้ไปใช้ก็ ได้ คือจากที่ในบ้านเราเนี่ยมีองค์กรที่ทำงานเกี่ยวกับการติดตามเรื่องการเมือง การคอร์รัปชั่น เรื่องธรรมภิบาล ความโปร่งใสของนักการเมืองและหน่วยงานราชการต่างๆอยู่หลายองค์กร เมื่อ 2 ปีที่แล้วก็เลยมานั่งคุยกันว่าเอาข้อมูลมาแลกเปลี่ยนกันไหม เราเลยจัดตั้งเป็นศูนย์เครือข่ายข้อมูลการเมืองไทย มีหน้าที่จัดทำข้อมูลเพื่อให้บริการกับองค์กรในเครือข่ายโดยไม่คิดค่าใช้ จ่าย หน่วยงานไหนมีข้อมูลก็ส่งมาที่เรา เราจะช่วยประมวล วิเคราะห์ และเชื่อมโยงกับข้อมูลที่มีอยู่ เกิดเป็นฐานข้อมูลที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ ซึ่งเรามีทั้งข้อมูลเกี่ยวกับ ส.ส. นักการเมือง พรรคการเมือง ข้อมูลธุรนกิจที่เชื่อมโยงกับการเมือง บริษัที่รับสัมปทานจากรัฐ ข้อมูลที่เกี่ยวกับหน่วยราชการต่างๆ
ต่อมาเมื่อ 5-6 เดือนที่ผ่านมาเครือข่ายนักวิชาการได้คุยกันว่าน่าจะนำข้อมูลมาเผยแพร่ต่อ สาธารณะ ประกอบกับเป็นช่วงที่ใกล้จะมีการเลือกตั้ง ก็คิดว่าน่าจะให้ความรู้กับประชาชนเพื่อเป็นประโยชน์ในการตัดสินใจทางการ เมือง ก็เลยจัดตั้งเป็นเว็บไซต์เครือข่ายข้อมูลการเมืองไทย หรือ www.tpd.in.th ซึ่งในช่วงแรกเนี่ยเราจะเน้นข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมของ ส.ส.เป็นหลัก เพื่อที่ชาวบ้านจะได้รู้ทันการเมือง รู้ทัน ส.ส.
**ในเว็บไซต์ฯมีข้อมูลอะไรบ้างที่ประชาชนสามารถนำมาพิจารณาเพื่อประกอบการตัดสินใจก่อนที่จะลงคะแนนเสียงเลือกตั้งในครั้งนี้
ก็มีข้อมูลเกี่ยวกับการทำหน้าที่ในสภาของ ส.ส.แต่ละคนที่อยู่ในรัฐบาลชุดนี้ ส.ส.คนนี้เข้าประชุมสภากี่ครั้ง ส.ส.คนไหน.บ้างที่ทำสภาล่ม มีการเสนอกฎหมายอะไรให้สภาพิจารณาบ้าง และในการพิจารณากฎหมายแต่ละเรื่องเนี่ย ส.ส.คนไหนเข้าประชุมบ้าง ส.ส.คนไหนโหวตให้กฎหมายฉบับนี้ผ่าน ใครโหวตไม่รับ ใครงดออกเสียง ซึ่งชาวบ้านจะรู้เลยว่ากฎหมายที่เป็นประโยชน์กับประชาชน หรือกฎหมายที่เอื้อประโยชน์ต่อบางกลุ่มเนี่ย ส.ส.คนไหนบ้างที่ผลักดันกฎหมายเหล่านี้ออกมา
มีข้อมูลเกี่ยวกับ ส.ส.ประเภทที่สืบทอดตำแหน่งทางการเมืองจากพ่อแม่ ประเภทพูดอย่างทำอย่าง เช่น บอกจะปฏิรูปที่ดิน จะกระจายที่ดินทำกินให้ประชาชน แต่ตัวเขาเองมีที่ดินเป็นพันไร่ เพราะฉะนั้นกฎหมายกระจายการถือครองที่ดินออกมาเมื่อไร พวกนี้ก็ไม่เอาเข้าสภาหรอก นอกจากนั้นหลังจากสิ้นสุดการเลือกตั้ง คือหลังเดือน ก.ค 2554 เราก็จะนำข้อมูลด้านอื่นๆมาใส่ในเว็บไซต์ด้วย เช่น ทุนกับการเมือง ธุรกิจกับการเมือง ข้าราชการกับธุรกิจ
**เว็บไซต์พูดถึงการหาเสียงของ ส.ส.ด้วยหรือเปล่า
พูดครับ เรามีหัวข้อเรื่องถอดรหัสนักการเมือง เป็นการอธิบายถึงแบบแผนในการหาเสียงของ ส.ส. และบอกว่าภาคไหนหาเสียงแบบไหน นักการเมืองที่มีภูมิหลังแบบไหนมีวิธธีหาเสียงแบบไหน เช่น นักการเมืองที่เริ่มจากเป้นคนหิ้วกระเป๋าให้นักการเมือง จะหาเสียงด้วยวิธีซื้อเสียงมากกว่าเพื่อน
นอกจากนั้นยังมีข้อมูลอื่นๆที่น่าสนใจ เช่น จากสถิติพบว่า ส.ส.ที่มีพฤติกรรมการหาเสียงแบบ ส.ส.ซุปเปอร์มาร์เก็ต คือแจกของ แจกเงิน มีถึง 57.38% พบมากที่สุดในภาคอีสาน คือมีถึง 80% , ส.ส.พึ่งหัวคะแนน มี 86% มากที่สุดคือภาคอีสาน รองลงมาเป็นภาคตะวนตก , ส.ส.ที่ทุจริตเชิงนโยบาย 44% มากที่สุดคืออีสาน 58% รองลงมาคือภาคเหนือ 52% , ส.ส.ที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายตำแหน่งในวงราชการ มี 22% พบมากในอีสานมากที่สุด 38% ที่น่าแปลกใจคือ กทม.มาเป็นอันดับ 2 แล้ว กทม.เนี่ยคุณคิดว่าจะเป็นพรรคไหน (ยิ้ม)
**มีการวิเคราะห์ถึงนโยบายของแต่ละพรรคหรือไม่
มีครับ ซึ่งการวิจัยก็พบว่านโยบายของแต่ละพรรคก็ไม่ได้ตรงกับปัญหาของชาวบ้าน เพราะมันเหมือนกับยาชุดที่กินกันทั้งประเทศ ใครไม่สบายก็กินยาชุดนี้ แต่ว่าแต่ละจังหวัดก็มีปัญหากันคนละแบบ บางจังหวัดอาจจะมีปัญหาบางอย่างที่รุนแรง เราวิจัยให้ดูว่านโยบายของแต่ละพรรคสอดคล้องกับปัญหาของแต่ละจังหวัดหรือไม่ ซึ่งพบว่าเกือบทั้งประเทศเนี่ยมันไม่สอดคล้องกันเลย อาจจะได้แค่ 30% หรือ 50%
**เห็นว่ามีข้อมูลบางอย่างที่ไม่สามารถเปิดเผยผ่านเว็บไซต์ได้
ใช่ครับ เพราะถ้าเอามาลงเราอาจถูกฟ้องได้ อย่างเช่น ข้อมูลของ ส.ส.ที่มีพฤติกรรมสีเทา เกี่ยวข้องกับยาเสพติด หวยใต้ดิน การค้าของเถื่อน น้ำมันเถื่อน เราบอกชื่อเป็นรายบุคคลได้เลย แต่ไม่สามารถเอาขึ้นเว็บฯได้ คือพวกนี้ไม่มีหลักฐาน ไม่มีใบเสร็จ
**จากข้อมูลเนี่ย ส.ส.ที่มีพฤติกรรมสีเทามีเยอะไหม
มีประมาณ 15% จากที่เก็บข้อมูลใน 18 จังหวัด จาก ส.ส.ระบบเขตที่ยังอยู่ในสภาชุดนี้ประมาณ 180 คน พบว่ามีนักการเมืองสีเทาประมาณ 35 คน ซึ่งดีกรีแตกต่างกันไป มีทั้งที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจบ่อนการพนัน ซึ่งมีมาก ทั้ง ส.ส.ที่อยู่ในฝ่ายค้านและรัฐบาล อย่าไปมองว่าพรรคไหนดีกว่าพรรคไหนเลย ทุกพรรคมีคนแบบนี้อยู่อาจจะมากน้อยต่างกัน แล้วก็ ส.ส.ที่บุกรุกที่สาธารณะ ทำลายทรัพยากรธรรมชาติ ประเภทนี้เยอะมาก มี ส.ส.ที่เกี่ยวพันกับการคอร์รัปชั่น ส.ส.ที่ปลอมวุมิการศึกษา
**สภาชุดนี้ มี ส.ส.ที่ถึงขั้นมีซุ้มมือปืนในสังกัดไหม
ก็มี พวกนี้มีอยู่ประมาณ 5-6 ราย มีทั้งคนที่มีซุ้มมือปืนเอง และคนที่เคยเป็นมือปืนมาก่อนเป็น ส.ส.ด้วย อยู่ในสภาเราเนี่ยแหล่ะ
**คนที่เป็นรัฐมนตรีแล้วมีพฤติกรรมลักษณะนี้มีไหม
มี รัฐมนตรีก็มีพฤติกรรมแบบนี้เยอะ มีทั้งเกี่ยวข้องกับบ่อนการพนัน และเกี่ยวข้องกับสถานเริงรมย์ที่ผิดกฎหมาย อันนี้มีเยอะ ยาเสพติด ค้ายา มีหมด นักการเมืองบางคนมีพฤติกรรมสีเทาหลายๆอย่างพร้อมกัน มีทั้งซุ้มมือปืน ค้ายาเสพติด เปิดสถานบันเทิงผิดกฎหมาย ขนาดบางคนไม่น่าเป็น ส.ส.เลย แต่มันก็อยู่ของมันได้
**การที่ ส.ส.พวกนี้สามารถเข้าไปอยู่ในสภาได้เนี่ย อาจารย์มองว่ามันสะท้อนถึงอะไร
มันสะท้อนถึงความไม่แยแสของประชาชน คือประชาชนในพื้นที่เขาก็รู้ว่านักการเมืองคนไหนเป็นยังไง แต่ก็ยังเลือกกันอยู่อย่างเนี้ย ผมมองเห็นปัญหา 2-3 ประการที่คนไทยต้องก้าวข้ามไปให้ได้ ประการที่ 1 คือ ประชาชนให้ความสำคัญกับคุณภาพของ ส.ส. น้อยมาก คือ ส.ส.ในจังหวัดเขาจะดีจะเลวเขาไม่สนใจ ส.ส.จังหวัดเขาทำความชั่ว โดดประชุมสภา สภาล่ม เขาไม่สนใจ
ประการที่ 2 คือ แม้จะรู้ว่าผู้สมัครคนนี้ไม่ดี แต่ก็เลือกเพราะมองว่าผู้สมัครคนนี้ให้ความช่วยเหลือเป็นการส่วนตัว เช่น มาช่วยงานบวช งานศพ งานแต่ง ลูกเข้าโรงเรียน ส.ส.ก็ฝากให้ ลูกจะเข้าทำงาน ส.ส.ก็ฝากให้ ลูกถูกตำรวจจับเพราะติดยา ส.ส.ก็ไปประกันให้ คือมอง ส.ส.แบบระบบอุปภัมภ์ เพราะฉะนั้น ส.ส.ก็จะไม่ได้มุ่งแก้ปัญหาในระดับพื้นที่
ประการที่ 3 คือ ชาวบ้านต้องกบฎกับหัวคะแนน เพื่อไม่ให้คะแนนจัดตั้งพา ส.ส.ไม่ดีเข้ามาในสภาได้
**จากข้อมูลของทางเครือข่ายฯ ช่วงใกล้เลือกตั้งนี่พบพฤติกรรมที่ผิดปกติของนักการเมืองบ้างหรือเปล่า
ก็มีข้อมูลจากทีดีอาร์ไอ (สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย) ที่ระบุว่ามีการขายหุ้นเพื่อนำเงินไปลงในการเมือง อาจารย์เดือนเด่น นิคมบริรักษ์ จากทีดีอาร์ไอ ซึ่งจับตาเรื่องตลาดหุ้นอยู่ ก็บอกว่าให้ระวังเพราะตอนนี้เริ่มมีบางบริษัทเริ่มเทขายหุ้น หุ้นของบางธุรกิจ เช่น หุ้นเทเลคอมมูนิเคชั่น เราก็รูว่ายี่ห้อไหนสนับสนุนพรรคตไหน จริงๆก็ทุกพรรคแหล่ะ
**อาจารย์คาดหวังว่าการให้ความรู้แก่ประชาชนในลักษณะนี้จะก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงมากน้อยขนาดไหน
คือผมหวังว่าถ้าประชาชนรู้ว่า ส.ส.คนไหนไม่ดี จะได้ไม่เลือกเข้ามาอีก และสามารถเลือก ส.ส.ที่ดีเข้าสภาได้ อยากให้ชาวบ้านดูว่าจังหวัดเขามีปัญหาอะไรบ้าง และปัญหาของเขามีนักการเมืองคนไหนหยิบมาแก้ไขบ้างไหม ถ้าไม่เคยทำเลย ก็อย่ามาพูดว่าเป็นตัวแทนของประชาชน ขณะที่พรรคการเมืองเองก็ต้องเปลี่ยนวิธีการคัดเลือกผู้ลงสมัครรับเลือกตั้ง ประเภทยี้เนี่ยพรรคต้องรับผิดชอบ คนที่ชาวบ้านยี้เนี่ยพรรคต้องไม่เอา
**แล้วถ้าในพื้นที่ของเราไม่มีผู้สมัครที่ดีเลยล่ะ
ก็ไม่ต้องเลือกเลย โนโหวต อย่างที่บางกลุ่มกำลังรณรงค์อยู่ตอนนี้เรื่องโหวตโนเนี่ย ผมเห็นด้วยนะ ถ้าไม่มีคนดีก็ไม่ต้องเลือก พรรคการเมืองอย่าดูถูกประชาชนด้วยการเอาพวกที่ประวัติไม่ดีมาเป็น ส.ส. ก็มีคนถามผมเหมือนกันว่าอาจารย์ถ้าผู้สมัครที่แต่ละพรรคส่งลงมันยี้หมดเลยจะ ทำยังไงดี ผมก็บอกว่าก็แล้วแต่คุณ... คุณจะไม่เลือกใครสักคนก็เป็นการดี แต่ปัญหาอย่างหนึ่งของบ้านเราคือกฎหมายเลือกตั้งที่ยังไม่เอื้อให้เราจัดการ คนพวกนี้ ในบางประเทศเนี่ยถ้าโนโหวตเกิน 50% เขาจะให้เลือกตั้งใหม่ และคนที่ลงสมัครในการเลือกตั้งครั้งนั้นเขาจะไม่ให้ลงสมัครใหม่เพราะการที่ มีโนโหวตเกิน 50% แสดงว่าประชาชนเขาไม่เอาคุณ เพราะฉะนั้นคุณอย่าลงสมัครเลย และจริงๆแล้วถึงกฎหมายจะไม่ได้ห้ามลงสมัครใหม่แต่ถึงลงสมัครไปชาวบ้านเขาก็ ไม่เลือก
ขณะที่คนดีๆที่คิดจะทำงานการเมืองก็กล้าที่จะเสนอตัวเพราะรู้ว่าชาว บ้านต้องการคนดี ซึ่งในประเทศเหล่านี้เขาเปิดโอกาสให้สมัคร ส.ส.ได้โดยไม่ต้องสังกัดพรรคการเมือง ซึ่งจะเป็นช่องทางให้คนดีแต่ไม่มีทุนและไม่มีพรรคไหนส่งลงสมัครเพราะไม่ใช่ พวกเขา บางคนก็เป็นคนที่ชาวบ้านส่งลงสมัครเอง พวกนี้ก็จะมีโอกาสเป็น ส.ส. พรรคกรีนในประเทศต่างๆก็เกิดจากวิธีการแบบนี้ คือมาจากคนที่มีอุดมการณ์แต่พรรคการเมืองไม่เอา ขณะที่ชาวบ้านชอบ พรรคกรีนในหลายๆประเทศเนี่ยได้ ส.ส.เขตไม่เยอะ แต่ได้ ส.ส.สัดส่วนเยอะเพราะประชาชนลงคะแนนให้พรรคกรีนกันเยอะ
**บางคนมองว่าเสียงโหวตโนมันเปล่าประโยชน์ กาโนโหวตไปก็ไม่ได้อะไร
ถ้ามองแค่ว่าการเลือกตั้ง ส.ส.เป็นระบบตัวแทนก็อาจจะไม่ได้ประโยชน์เพราะเขาจะไม่ได้ ส.ส. แต่ได้ประโยชน์ในแง่ของการแสดงสัญลักษณ์ว่าประชาชนเขายี้นักการเมืองกลุ่ม นี้ นักการเมืองกลุ่มนี้คนเขายี้ตั้ง 50% แน่ะ ถ้าเขาได้เป็น ส.ส.จะเป็นยังไง ? ชาวบ้านก็บอกว่า...ไอ้เนี่ยเหรอ มันเป็น ส.ส.ด้วยคะแนนเสียง 5% เอง ผมคิดว่าน่าอายฉิบเป๋งเลย พรรคการเมืองพรรคนี้ส่ง ส.ส.ที่ชนะมาด้วยคะแนน 5% เอง
ซึ่งตรงนี้ทางเครือข่ายข้อมูลทางการเมืองไทยตั้งใจไว้แล้วว่าการ เลือกตั้งครั้งนี้เขตไหนที่มีโนโหวตเยอะเราจะโชว์ให้ดูในเว็บไซต์ แล้วบอกด้วยว่า ส.ส.คนไหนบ้างที่มาจากเขตที่มีโนโหวตเยอะ การเลือกตั้งครั้งที่แล้ว จังหวัดสุราษฎร์ธานีซึ่งเป็นจังหวัดที่คุณสุเทพ เทือกสุบรรณ ลงสมัครเนี่ย โนโหวตสูงมาก
**แสดงว่าคนสุราษฎร์ฯมองว่าผู้สมัครที่ลงเลือกตั้งเนี่ยไม่มีใครดีเลย
ประมาณนั้น (หัวเราะ) ยกเว้นคุณสุเทพที่ได้คะแนนเยอะ แล้วสุราษฎร์ฯคือประชาธิปัตย์ คราวนี้เราออกแคมเปญในพื้นที่ภาคใต้ว่า...อย่าเลือกเพราะว่าเคยชินกับพรรคใด พรรคหนึ่ง อย่าเลือกเพราะว่าศรัทธาในตัวบุคคลใดบุคคลหนึ่ง แต่ให้เลือกโดยดูจากคุณภาพของผู้สมัคร ส.ส.จริงๆ ตอนนี้พรรคการเมืองก็เชื่อไม่ได้ ต้องพิจารณาที่ตัวคนเป็นหลัก
**หัวหน้าพรรคดีคนเดียวก็ไม่ได้หมายความว่าลูกพรรคจะดีด้วย
ใช่ เรารู้ว่าบางคนก็ดีนะ อย่างนายกฯอภิสิทธิ์เนี่ยเป็นคนที่เราเชื่อว่าแกดี เราก็เห็นอยู่แล้วว่าพรรคประชาธิปัตย์มีนายกฯอภิสิทธิ์ดีอยู่คนหนึ่ง คนอื่นจะดีไม่ดีไม่รู้ พูดตรงๆว่าจากข้อมูลที่เรามีอยู่เนี่ย..ประเภทถึงคอ ว่างั้นเถอะนะ (หัวเราะ) คนอยู่ข้างนายกฯก็ไม่ไหว รับไม่ได้ ผมเองก็คนใต้นะ ผมเชียร์พรรคประชาธิปัตย์มาตั้งแต่สายเลือดเลย แต่ถ้ารักกันจริงก็ต้องบอกว่าพรรคก็ต้องคัดคนที่ดีมาลงสมัครด้วย แต่ที่คัดมามันห่วยแตกน่ะ..พูดง่ายๆ คือไม่ใช่ว่าทำชั่วยังไง คุณภาพแย่ยังไงเราก็เลือก
**อย่าดูถูกประชาชนให้มากนัก
ใช่ ดูถูกเรามาก แหม..เอาอะไรมาลงให้ประชาชนเลือกเนี่ย ! เราต้องให้ชาวบ้านสั่งสอนนักการเมืองเสียบ้างว่าคุณอย่ามักง่าย พรรคไหนก็แล้วแต่ ประชาธิปัตย์ เพื่อไทย มันก็มีแบบนี้ ต้องให้ชาวบ้านสั่งสอนว่าอย่าส่งคนพวกนี้มา
**ตอนนี้ก็มีบางพรรคที่พยายามบอกว่าถ้าไม่เลือกพรรคเราซึ่งถึงจะเลวก็เลวน้อยกว่า เดี๋ยวพรรคที่เลวมากกว่าจะเข้ามาบริหารบ้านเมืองนะ
แต่ผมคิดว่าเราอย่ามองแค่พรรค มองที่ตัวคนดีกว่า เราไม่ได้รณรงค์เรื่องพรรคนะ ข้อมูลของเว็บไซต์เราเน้นที่ตัวบุคคลเพราะถ้า ส.ส.ดีเนี่ย อย่างน้อยเมื่อเข้าไปทำงานในสภาเขาก็น่าจะมีความรับผิดชอบ สถาบันทางการเมืองก็น่าจะเกิดความเปลี่ยนแปลง
**มีบางประเทศที่เกิดการเปลี่ยนทางการเมืองโดยภาคประชาชน
ครับ อย่างที่ประเทศเกาหลีองค์กรภาคประชาชนเขาจัดให้ชาวบ้านหย่อนบัตรลงคะแนนว่า นักการเมืองคนไหนยี้ที่สุดในพื้นที่ของเขา ส.ส.ยอดยี้ในเขตนี้มีใครบ้าง ลงคะแนนกันทุกจังหวัดเลย สื่อก็ช่วยเผยแพร่ข่าวออกไป บางจังหวัดก็จัดกิจกรรมหย่อนบัตร เอา ส.ส.ยอดยี้ขึ้นป้าย มีการนับคะแนนยี้ 1 คะแนน ยี้ 2 คะแนน พอได้ ส.ส.ที่ยี้สุดๆ เช่น คนเกิน 30% บอกว่ายี้นะ เขาจะขึ้นแบล็คลิสต์ แล้วส่งชื่อ ส.ส.เหล่านี้ไปให้พรรคการเมือง บอกเลยว่า ส.ส.ยี้ที่มีอยู่ประมาณ 60 คนเนี่ย คุณอย่าส่งลงสมัครนะ ถ้าส่งมาเราจะรณรงค์ไม่ให้เลือกคนพวกนี้ แล้วก็ไม่เลือกพรรคคุณด้วย คือการเลือกตั้งของเกาหลีก็มีทั้งเลือกพรรคและเลือกคน
ตอนแรกพรรคการเมืองของเกาหลีก็ไม่กลัวเพราะคิดว่าภาคประชาชนไม่เอา จริง เขาก็ส่งพวกยี้ลงสมัคร โดยส่งประมาณ 10 กว่าคน ชาวบ้านพอรู้สึกว่านักการเมืองดูถูกเขาก็เอาจริงเลย เดินถือป้ายรณรงค์กันทุกจังหวัด หัวหน้าโครงการนี้ก็ถูกฟ้อง เพราะ ส.ส.เกาหลีบอกว่าผิดกฎหมายเลือกตั้งทำให้เสียชื่อเสียง ก็เหมือนบ้านเราน่ะแหล่ะ ฟ้องกันทุกพื้นที่เลย พื้นที่ไหนรับเจ้งความแกก็ไปรายงานตัว แต่ขอประกันตัวออกมาก่อนนะ แล้วก็ไปรณรงค์ในพื้นที่อื่นต่อ จนกระทั่งว่า ส.ส.ยี้ผ่านเข้าไปในสภาได้แค่ 2-3 คน องค์กรภาคประชาชนก็เดินหน้าต่อ ปะกาศว่าถ้าพรรคการเมืองส่ง 2-3 คนนี้เข้าไปทำงานไม่ว่าจะรับตำแหน่งไหนก็จะตามดูทุกวินาทีเลยว่าแต่ละคนไปทำ อะไรบ้างและจะรายงานต่อประชาชน ปรากฎว่าพรรคไม่แต่งตั้งให้เป็นอะไรเลย เป็นแค่ ส.ส.ธรรมดา และสักพักก็ค่อยๆเปลี่ยนพฤติกรรม ส่วน ส.ส.ที่ได้คะแนนยี้แต่ไม่มาก แค่ 15% พวกนี้เป็นนักการเมืองเลวเหมือนกัน แต่หลังจากเจอแบบนี้เขาก็เปลี่ยนพฤติกรรมเป็นคนดีขึ้น
วิธีการนี้คนเกาหลีเริ่มใช้มาตั้งแต่ปี 2541 ถึงตอนนี้การเมืองเกาหลีเข้าที่เข้าทาง เขารณรงค์ทีเดียวนะแต่ประชาชนเขาตื่นตัวมาก พอการเลือกตั้งครั้งต่อมาในปี 2546 หรือ 2547 นี่แหล่ะ เขาแทบไม่ต้องรณรงค์อะไรเลย ชาวบ้านรู้กันเองว่าใครดีไม่ดี ขณะที่ ส.ส.ก็ทำตัวดีขึ้น ไม่รู้จะเอาอะไรมาตำหนิ ไม่เหมือนก่อนหน้านี้ที่มีทั้งการคอร์รัปชั่น บริษัทใหญ่ๆอย่างแดวูก็เป็นธุรกิจที่อาศัยอำนาจทางการเมืองผูกขาดทั้งนั้น หนีภาษี ใช้อภิสิทธิ์ในการรับสิทธิพิเศษในการลงทุน เหมือนบ้านเราทุกอย่าง แย่กว่าเราอีกเพราะคนเกาหลีก็ต้องพึ่งพาบริษัทเพวกนี้เป็นนายจ้าง การที่จะให้คนแสดงท่าทีต่อต้านพฤติกรรมของกลุ่มทุนเหล่านี้ก็เป็นเรื่องยาก มาก แต่สุดท้ายเขาก็ทำสำเร็จ ขณะที่การเข้ามากุมอำนาจทางการเมืองของกลุ่มทุนในบ้านเรายังเป็นแบบหลวมๆ
ดังนั้นบ้านเราเนี่ยถ้าเราให้ข้อมูลอย่างเข้มข้นกับประชาชนและให้เขา มีส่วนร่วมจริงๆ เขาอาจจะตื่นตัวมากกว่าที่เราคิด แล้วนักการเมืองเนี่ยท้ายที่สุดเขาก็กลัวประชาชนนะ
**ถ้าภาคประชาชนตื่นตัว การเมืองไทยก็น่าจะเกิดความเปลี่ยนแปลง
ก็เป็นสิ่งที่เราหวังอยู่ แต่เราก็คงต้องเผชิญกับคลื่นอีกหลายลูก อย่างครั้งนี้ผมคิดว่าเครือข่ายของเรากับพรรคการเมืองก็รณรงค์กันไปคนละทาง พรรคการเมืองอาจจะรณรงค์แบบสร้างกระแสกดดันว่าต้องเลือกพรคผมนะ พรรคนั้นมันไม่ดีนะ แต่เราบอกว่าต้องเลือกคนที่มันไม่ยี้นะ ถ้าพรรคไหนที่ส่งผู้สมัครแบบยี้มาคุณอย่าเลือกนะ พรรคไหนจะได้ ส.ส.กี่คนเราไม่สนใจหรอกเพราะถ้าพรรคไม่รับผิดชอบตั้งแต่เริ่มส่งคนเข้ามาก็ แสดงว่าเป็นพรรคที่ไม่ดี บอกว่าพรรคดีแต่ส่งเจ้าพ่อมาลง ส.ส. อย่างงี้เป็นพรรคที่ดีเหรอ.... พรรคดีแต่ส่งนักการพนัน เจ้าของบ่อน พ่อค้ายยาเสพติด ค้าของเถื่อน มาลงสมัคร พรรคอย่างงี้ดีเหรอ...
ใครมาก็ไม่สำคัญสำหรับพวกเรา คนอย่างคุณทักษิณจะกลับมาหรือไม่กลับมาผมไม่สนใจนะ เป็นเรื่องของสาธารณะที่ต้องช่วยกันดู แต่ผมมองว่าถ้านักการเมืองยังไม่ยอมเปลี่ยนพฤติกรรม ยังเล่นเกมกันแบบนี้ ต้องใช้อำนาจที่สามคืออำนาจของประชาชนมาช่วยกันคัดง้าง
**หลังจากการเลือกครั้งนี้ เว็บไซต์เครือข่ายข้อมูลการเมืองไทยจะขับเคลื่อนอย่างไรต่อไป
เราจะติดตามพฤติกรรม ส.ส.ที่ได้รับเลือกตั้งตั้งแต่วันแรกที่ก้าวเข้าสภาเลย แล้วก็จะมีการจัดเรตติ้ง ส.ส.ยอดเยี่ยม กับ ส.ส. ยอดแย่ คือชาวบ้านต้องมีความเป็นเจ้าของ ส.ส. ไม่ใช่เลือกมาแล้วเขาจะไปทำอะไรก็ช่าง และเมื่อ ส.ส.รู้ว่ามีคนติดตามพฤติกรรมของเขา เขาก็ต้องระมัดระวัง และถึงแม้ว่าเลือกตั้งคราวนี้เราจะเอา ส.ส.ไม่ดีออกไปไม่ได้ทั้งหมด แต่เชื่อว่าก็ต้องหลุดออกไปได้บ้าง จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับประชาชน และเราจะสร้างกระแสว่าเลือกตั้งคราวนี้จะสร้างความแตกต่างทางการเมืองได้ไหม เปลี่ยนการเมืองไทยได้ไหม
**อยากให้อาจารย์วิเคราะห์การเลือกตั้งในครั้งนี้
ผมว่าคงแข่งกันดุ ประการแรกคือ การเลือกตั้งครั้งนี้เดิมพันสูงมาก ฝั่งคุณทักษิณก็พยายามที่จะชนะการเลือกตั้ง ให้เป็นเสียงข้างมากให้ได้ เพราะเป็นเรื่องของการกลับมาหรือไม่ได้กลับมา ซึ่งทำให้พรรคประชาธิปัตย์และพรรคการเมืองที่เหลือต้องลงเดิมพันสูงตามไป ด้วย ประการที่ 2 เนื่องจากการเลือกตั้งคราวนี้เป็นแบบเขตเดียวเบอร์เดียว ซอยเป็นเขตเล็ก ตามสถิติเนี่ยใครที่มีคะแนนจัดตั้งเกิน 35% ชนะเลย เขาก็ใช้ระบบหัวคะแนน และมีการซื้อเสียงอย่ามโหฬาร ทางฝ่าย กกต.ในแต่ละพื้นที่ ก็มีปัญหานะ เพราะพรรคการเมืองก็ส่งคนของตัวเองมาเป็น กกต. ดังนั้นเครือข่ายเรานอกจากจะจับตาผู้สมัครแต่ละพรรคแล้ว ก็ต้องจับตา กกต.ด้วย
**ตอนนี้ผลสำรวจของโพลหลายสำนักก็ออกมาตรงกันว่าการเลือกตั้งครั้งนี้พรรคเพื่อไทยน่าจะมีคะแนนนำพรรคอื่นๆ
ก็ยังแน่ใจอะไรไม่ได้ เพราะเราไม่รู้ว่าแต่ละโพลมีที่มาที่ไปอย่างไร ชาวบ้านก็อาจถูกทำให้เชื่อว่าเพื่อไทยจะมา คือมันเป็นโพลแบบชี้นำ ทำโพลแล้วก็รีบออกมาพูด เราก็ไม่รู้ว่าเขาสำรวจในเขตไหนบ้าง อย่างในพื้นที่ภาคอีสานเนี่ย จากการวิจัยของเครือข่ายเราก็เห็นว่าพื้นที่อีสานเหนือเป็นฐานของเพื่อไทย ภูมิใจไทยจะชนะเพื่อไทยได้สักเท่าไรก็ยังอยู่ในเขตอีสาน คือเขตชนบทนี่ชัดเจนว่าเพื่อไทยกับภูมิใจไทยแข่งกัน แต่ถ้าเป็นเขตเมืองก็ไม่แน่ ประชาธิปัตย์ก็เคยครองพื้นทิ่อยู่ ถ้าเชตเลือกตั้งเล็กลง และกินเขตเมืองเข้าไปเกิน 35% ประชาธิปัตย์ก็อาจจะแทรกเข้ามได้บ้าง
**คิดว่าหลังเลือกตั้งการเมืองไทยจะเปลี่ยนไปจากเดิมไหม
ผมว่าจะลงเอยคล้ายกับปี 2550 คือผลการเลือกตั้งพรรคเพื่อไทยอาจมีคะแนนนำทุกพรรค แต่จะตั้งรัฐบาลได้ก็ต้องไปจีบพรรคการเมืองอื่นๆมาร่วมรัฐบาล ก็อยู่ที่ว่าเขาจะตอบรับหรือเปล่า เขาอาจจะกลัวบางเรื่อง ก็ต้องมาคุยกัน เรื่องคุณทักษิณจะว่าอย่างไร ถ้ารับได้พรรคเพื่อไทยก็อ่าจจะได้จัดตั้งรัฐบาล แต่ถ้ารับไม่ได้เพื่อไทยก็ตั้งรัฐบาลไม่ได้ เพื่อไทยก็ออกมาโวยวายว่าตั้งไม่ได้เพราะมีอำนาจแฝงเข้ามาบงการ มีทหารหนุน เพื่อให้เกิดกระแสขึ้นมา แต่พรรคอื่นก็อาจจะรับถ้าเพื่อไทยให้ตำแหน่งรัฐมนตรีกระทรวงดีๆ ก็เป็นไปได้เพราะนักการเมืองไม่ได้เห็นแก่ประเทศชาติอยู่แล้ว ขณะเดียวกันถ้าเพื่อไทยตั้งรัฐบาลไม่ได้ ประชาธิปัตย์ซึ่งอาจจะมีคะแนนมาเป็นอันดับ 2 ก็จะจับมือกับพรรคการเมืองอื่นๆ ซึ่งแน่นอนว่าพรรคอื่นก็ต้องต่อรองสูง ยิ่งต่อรองมากก็จะได้รัฐบาลที่ไม่ได้ความ เหมือนกับการจัดตั้งรัฐบาลครั้งเนี้ย พรรคที่มาร่วมก็เอากระทรวงหลักๆอย่าง มหาดไทย พาณิชย์ อุตสาหกรรม คมนาคม ไปหมด ประชาธิปัตย์ก็ไปดูแลเรื่องขี้หมา เพราะฉะนั้นรัฐบาลก็จะทำงานไม่ได้ ก็ต้องรอดู
ถ้าการเมืองยังเป็นแบบเดิม ไม่ว่าขั้วไหนมาก็ไม่มีเสถียรภาพ ผมเป็นกลางนะ ยิ่งทำวิจัยได้เห็นข้อมูลนักการเมืองแบบที่ผมว่าแล้วยิ่งเป็นกลางใหญ่ คือมันแย่เหมือนกันหมด ถ้าถามว่า ส.ส.คนไหนไม่จริงใจต่อประชาชน ก็ ส.ส.ทุกพรรคน่ะแหล่ะ พูดอย่างทำอย่างทั้งนั้น แหกตาชาวบ้านทั้งนั้น
อย่างไรก็ดี ขณะนี้ได้มีหน่วยงานหนึ่งที่จัดตั้งขึ้นมาเพื่อจับตานักการเมืองเหล่านี้โดย เฉพาะ นั่นคือ 'เครือข่ายข้อมูลการเมืองไทย' ซึ่งจัดทำเว็บไซต์เครือข่ายข้อมูลการเมืองไทย หรือ www.tpd.in.th ที่มี 'ศ.ดร.จรัส สุวรรณมาลา' อดีตคณบดีคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นผู้ก่อตั้ง ซึ่งถือเป็นการสร้างปรากฎการณ์ใหม่ทางการเมือง
'ASTVผู้จัดการสุดสัปดาห์' จึงได้สัมภาษณ์พูดคุยกัย ศ.ดร.จรัส ถึงที่มาที่ไป และจุดมุ่งหมายในการจัดทำเว็บไซต์ดังกล่าว
**อยากทราบถึงความเป็นมาของว็บไซต์เครือข่ายข้อมูลการเมืองไทย
เว็บไซต์นี้เกิดจากการรวมตัวของนักวิชการจากมหาวิทยาลัยต่างๆ นอกจากนั้นยังมีอาสาสมัครที่อาสามาช่วยงานด้วย ก็มาช่วยกันรวบรวม วิเคราะห์ และสร้างฐานข้อมูลเกี่ยวกับการเมืองซึ่งหน่วยงานใดจะนำข้อมูลตรงนี้ไปใช้ก็ ได้ คือจากที่ในบ้านเราเนี่ยมีองค์กรที่ทำงานเกี่ยวกับการติดตามเรื่องการเมือง การคอร์รัปชั่น เรื่องธรรมภิบาล ความโปร่งใสของนักการเมืองและหน่วยงานราชการต่างๆอยู่หลายองค์กร เมื่อ 2 ปีที่แล้วก็เลยมานั่งคุยกันว่าเอาข้อมูลมาแลกเปลี่ยนกันไหม เราเลยจัดตั้งเป็นศูนย์เครือข่ายข้อมูลการเมืองไทย มีหน้าที่จัดทำข้อมูลเพื่อให้บริการกับองค์กรในเครือข่ายโดยไม่คิดค่าใช้ จ่าย หน่วยงานไหนมีข้อมูลก็ส่งมาที่เรา เราจะช่วยประมวล วิเคราะห์ และเชื่อมโยงกับข้อมูลที่มีอยู่ เกิดเป็นฐานข้อมูลที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ ซึ่งเรามีทั้งข้อมูลเกี่ยวกับ ส.ส. นักการเมือง พรรคการเมือง ข้อมูลธุรนกิจที่เชื่อมโยงกับการเมือง บริษัที่รับสัมปทานจากรัฐ ข้อมูลที่เกี่ยวกับหน่วยราชการต่างๆ
ต่อมาเมื่อ 5-6 เดือนที่ผ่านมาเครือข่ายนักวิชาการได้คุยกันว่าน่าจะนำข้อมูลมาเผยแพร่ต่อ สาธารณะ ประกอบกับเป็นช่วงที่ใกล้จะมีการเลือกตั้ง ก็คิดว่าน่าจะให้ความรู้กับประชาชนเพื่อเป็นประโยชน์ในการตัดสินใจทางการ เมือง ก็เลยจัดตั้งเป็นเว็บไซต์เครือข่ายข้อมูลการเมืองไทย หรือ www.tpd.in.th ซึ่งในช่วงแรกเนี่ยเราจะเน้นข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมของ ส.ส.เป็นหลัก เพื่อที่ชาวบ้านจะได้รู้ทันการเมือง รู้ทัน ส.ส.
**ในเว็บไซต์ฯมีข้อมูลอะไรบ้างที่ประชาชนสามารถนำมาพิจารณาเพื่อประกอบการตัดสินใจก่อนที่จะลงคะแนนเสียงเลือกตั้งในครั้งนี้
ก็มีข้อมูลเกี่ยวกับการทำหน้าที่ในสภาของ ส.ส.แต่ละคนที่อยู่ในรัฐบาลชุดนี้ ส.ส.คนนี้เข้าประชุมสภากี่ครั้ง ส.ส.คนไหน.บ้างที่ทำสภาล่ม มีการเสนอกฎหมายอะไรให้สภาพิจารณาบ้าง และในการพิจารณากฎหมายแต่ละเรื่องเนี่ย ส.ส.คนไหนเข้าประชุมบ้าง ส.ส.คนไหนโหวตให้กฎหมายฉบับนี้ผ่าน ใครโหวตไม่รับ ใครงดออกเสียง ซึ่งชาวบ้านจะรู้เลยว่ากฎหมายที่เป็นประโยชน์กับประชาชน หรือกฎหมายที่เอื้อประโยชน์ต่อบางกลุ่มเนี่ย ส.ส.คนไหนบ้างที่ผลักดันกฎหมายเหล่านี้ออกมา
มีข้อมูลเกี่ยวกับ ส.ส.ประเภทที่สืบทอดตำแหน่งทางการเมืองจากพ่อแม่ ประเภทพูดอย่างทำอย่าง เช่น บอกจะปฏิรูปที่ดิน จะกระจายที่ดินทำกินให้ประชาชน แต่ตัวเขาเองมีที่ดินเป็นพันไร่ เพราะฉะนั้นกฎหมายกระจายการถือครองที่ดินออกมาเมื่อไร พวกนี้ก็ไม่เอาเข้าสภาหรอก นอกจากนั้นหลังจากสิ้นสุดการเลือกตั้ง คือหลังเดือน ก.ค 2554 เราก็จะนำข้อมูลด้านอื่นๆมาใส่ในเว็บไซต์ด้วย เช่น ทุนกับการเมือง ธุรกิจกับการเมือง ข้าราชการกับธุรกิจ
**เว็บไซต์พูดถึงการหาเสียงของ ส.ส.ด้วยหรือเปล่า
พูดครับ เรามีหัวข้อเรื่องถอดรหัสนักการเมือง เป็นการอธิบายถึงแบบแผนในการหาเสียงของ ส.ส. และบอกว่าภาคไหนหาเสียงแบบไหน นักการเมืองที่มีภูมิหลังแบบไหนมีวิธธีหาเสียงแบบไหน เช่น นักการเมืองที่เริ่มจากเป้นคนหิ้วกระเป๋าให้นักการเมือง จะหาเสียงด้วยวิธีซื้อเสียงมากกว่าเพื่อน
นอกจากนั้นยังมีข้อมูลอื่นๆที่น่าสนใจ เช่น จากสถิติพบว่า ส.ส.ที่มีพฤติกรรมการหาเสียงแบบ ส.ส.ซุปเปอร์มาร์เก็ต คือแจกของ แจกเงิน มีถึง 57.38% พบมากที่สุดในภาคอีสาน คือมีถึง 80% , ส.ส.พึ่งหัวคะแนน มี 86% มากที่สุดคือภาคอีสาน รองลงมาเป็นภาคตะวนตก , ส.ส.ที่ทุจริตเชิงนโยบาย 44% มากที่สุดคืออีสาน 58% รองลงมาคือภาคเหนือ 52% , ส.ส.ที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายตำแหน่งในวงราชการ มี 22% พบมากในอีสานมากที่สุด 38% ที่น่าแปลกใจคือ กทม.มาเป็นอันดับ 2 แล้ว กทม.เนี่ยคุณคิดว่าจะเป็นพรรคไหน (ยิ้ม)
**มีการวิเคราะห์ถึงนโยบายของแต่ละพรรคหรือไม่
มีครับ ซึ่งการวิจัยก็พบว่านโยบายของแต่ละพรรคก็ไม่ได้ตรงกับปัญหาของชาวบ้าน เพราะมันเหมือนกับยาชุดที่กินกันทั้งประเทศ ใครไม่สบายก็กินยาชุดนี้ แต่ว่าแต่ละจังหวัดก็มีปัญหากันคนละแบบ บางจังหวัดอาจจะมีปัญหาบางอย่างที่รุนแรง เราวิจัยให้ดูว่านโยบายของแต่ละพรรคสอดคล้องกับปัญหาของแต่ละจังหวัดหรือไม่ ซึ่งพบว่าเกือบทั้งประเทศเนี่ยมันไม่สอดคล้องกันเลย อาจจะได้แค่ 30% หรือ 50%
**เห็นว่ามีข้อมูลบางอย่างที่ไม่สามารถเปิดเผยผ่านเว็บไซต์ได้
ใช่ครับ เพราะถ้าเอามาลงเราอาจถูกฟ้องได้ อย่างเช่น ข้อมูลของ ส.ส.ที่มีพฤติกรรมสีเทา เกี่ยวข้องกับยาเสพติด หวยใต้ดิน การค้าของเถื่อน น้ำมันเถื่อน เราบอกชื่อเป็นรายบุคคลได้เลย แต่ไม่สามารถเอาขึ้นเว็บฯได้ คือพวกนี้ไม่มีหลักฐาน ไม่มีใบเสร็จ
**จากข้อมูลเนี่ย ส.ส.ที่มีพฤติกรรมสีเทามีเยอะไหม
มีประมาณ 15% จากที่เก็บข้อมูลใน 18 จังหวัด จาก ส.ส.ระบบเขตที่ยังอยู่ในสภาชุดนี้ประมาณ 180 คน พบว่ามีนักการเมืองสีเทาประมาณ 35 คน ซึ่งดีกรีแตกต่างกันไป มีทั้งที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจบ่อนการพนัน ซึ่งมีมาก ทั้ง ส.ส.ที่อยู่ในฝ่ายค้านและรัฐบาล อย่าไปมองว่าพรรคไหนดีกว่าพรรคไหนเลย ทุกพรรคมีคนแบบนี้อยู่อาจจะมากน้อยต่างกัน แล้วก็ ส.ส.ที่บุกรุกที่สาธารณะ ทำลายทรัพยากรธรรมชาติ ประเภทนี้เยอะมาก มี ส.ส.ที่เกี่ยวพันกับการคอร์รัปชั่น ส.ส.ที่ปลอมวุมิการศึกษา
**สภาชุดนี้ มี ส.ส.ที่ถึงขั้นมีซุ้มมือปืนในสังกัดไหม
ก็มี พวกนี้มีอยู่ประมาณ 5-6 ราย มีทั้งคนที่มีซุ้มมือปืนเอง และคนที่เคยเป็นมือปืนมาก่อนเป็น ส.ส.ด้วย อยู่ในสภาเราเนี่ยแหล่ะ
**คนที่เป็นรัฐมนตรีแล้วมีพฤติกรรมลักษณะนี้มีไหม
มี รัฐมนตรีก็มีพฤติกรรมแบบนี้เยอะ มีทั้งเกี่ยวข้องกับบ่อนการพนัน และเกี่ยวข้องกับสถานเริงรมย์ที่ผิดกฎหมาย อันนี้มีเยอะ ยาเสพติด ค้ายา มีหมด นักการเมืองบางคนมีพฤติกรรมสีเทาหลายๆอย่างพร้อมกัน มีทั้งซุ้มมือปืน ค้ายาเสพติด เปิดสถานบันเทิงผิดกฎหมาย ขนาดบางคนไม่น่าเป็น ส.ส.เลย แต่มันก็อยู่ของมันได้
**การที่ ส.ส.พวกนี้สามารถเข้าไปอยู่ในสภาได้เนี่ย อาจารย์มองว่ามันสะท้อนถึงอะไร
มันสะท้อนถึงความไม่แยแสของประชาชน คือประชาชนในพื้นที่เขาก็รู้ว่านักการเมืองคนไหนเป็นยังไง แต่ก็ยังเลือกกันอยู่อย่างเนี้ย ผมมองเห็นปัญหา 2-3 ประการที่คนไทยต้องก้าวข้ามไปให้ได้ ประการที่ 1 คือ ประชาชนให้ความสำคัญกับคุณภาพของ ส.ส. น้อยมาก คือ ส.ส.ในจังหวัดเขาจะดีจะเลวเขาไม่สนใจ ส.ส.จังหวัดเขาทำความชั่ว โดดประชุมสภา สภาล่ม เขาไม่สนใจ
ประการที่ 2 คือ แม้จะรู้ว่าผู้สมัครคนนี้ไม่ดี แต่ก็เลือกเพราะมองว่าผู้สมัครคนนี้ให้ความช่วยเหลือเป็นการส่วนตัว เช่น มาช่วยงานบวช งานศพ งานแต่ง ลูกเข้าโรงเรียน ส.ส.ก็ฝากให้ ลูกจะเข้าทำงาน ส.ส.ก็ฝากให้ ลูกถูกตำรวจจับเพราะติดยา ส.ส.ก็ไปประกันให้ คือมอง ส.ส.แบบระบบอุปภัมภ์ เพราะฉะนั้น ส.ส.ก็จะไม่ได้มุ่งแก้ปัญหาในระดับพื้นที่
ประการที่ 3 คือ ชาวบ้านต้องกบฎกับหัวคะแนน เพื่อไม่ให้คะแนนจัดตั้งพา ส.ส.ไม่ดีเข้ามาในสภาได้
**จากข้อมูลของทางเครือข่ายฯ ช่วงใกล้เลือกตั้งนี่พบพฤติกรรมที่ผิดปกติของนักการเมืองบ้างหรือเปล่า
ก็มีข้อมูลจากทีดีอาร์ไอ (สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย) ที่ระบุว่ามีการขายหุ้นเพื่อนำเงินไปลงในการเมือง อาจารย์เดือนเด่น นิคมบริรักษ์ จากทีดีอาร์ไอ ซึ่งจับตาเรื่องตลาดหุ้นอยู่ ก็บอกว่าให้ระวังเพราะตอนนี้เริ่มมีบางบริษัทเริ่มเทขายหุ้น หุ้นของบางธุรกิจ เช่น หุ้นเทเลคอมมูนิเคชั่น เราก็รูว่ายี่ห้อไหนสนับสนุนพรรคตไหน จริงๆก็ทุกพรรคแหล่ะ
**อาจารย์คาดหวังว่าการให้ความรู้แก่ประชาชนในลักษณะนี้จะก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงมากน้อยขนาดไหน
คือผมหวังว่าถ้าประชาชนรู้ว่า ส.ส.คนไหนไม่ดี จะได้ไม่เลือกเข้ามาอีก และสามารถเลือก ส.ส.ที่ดีเข้าสภาได้ อยากให้ชาวบ้านดูว่าจังหวัดเขามีปัญหาอะไรบ้าง และปัญหาของเขามีนักการเมืองคนไหนหยิบมาแก้ไขบ้างไหม ถ้าไม่เคยทำเลย ก็อย่ามาพูดว่าเป็นตัวแทนของประชาชน ขณะที่พรรคการเมืองเองก็ต้องเปลี่ยนวิธีการคัดเลือกผู้ลงสมัครรับเลือกตั้ง ประเภทยี้เนี่ยพรรคต้องรับผิดชอบ คนที่ชาวบ้านยี้เนี่ยพรรคต้องไม่เอา
**แล้วถ้าในพื้นที่ของเราไม่มีผู้สมัครที่ดีเลยล่ะ
ก็ไม่ต้องเลือกเลย โนโหวต อย่างที่บางกลุ่มกำลังรณรงค์อยู่ตอนนี้เรื่องโหวตโนเนี่ย ผมเห็นด้วยนะ ถ้าไม่มีคนดีก็ไม่ต้องเลือก พรรคการเมืองอย่าดูถูกประชาชนด้วยการเอาพวกที่ประวัติไม่ดีมาเป็น ส.ส. ก็มีคนถามผมเหมือนกันว่าอาจารย์ถ้าผู้สมัครที่แต่ละพรรคส่งลงมันยี้หมดเลยจะ ทำยังไงดี ผมก็บอกว่าก็แล้วแต่คุณ... คุณจะไม่เลือกใครสักคนก็เป็นการดี แต่ปัญหาอย่างหนึ่งของบ้านเราคือกฎหมายเลือกตั้งที่ยังไม่เอื้อให้เราจัดการ คนพวกนี้ ในบางประเทศเนี่ยถ้าโนโหวตเกิน 50% เขาจะให้เลือกตั้งใหม่ และคนที่ลงสมัครในการเลือกตั้งครั้งนั้นเขาจะไม่ให้ลงสมัครใหม่เพราะการที่ มีโนโหวตเกิน 50% แสดงว่าประชาชนเขาไม่เอาคุณ เพราะฉะนั้นคุณอย่าลงสมัครเลย และจริงๆแล้วถึงกฎหมายจะไม่ได้ห้ามลงสมัครใหม่แต่ถึงลงสมัครไปชาวบ้านเขาก็ ไม่เลือก
ขณะที่คนดีๆที่คิดจะทำงานการเมืองก็กล้าที่จะเสนอตัวเพราะรู้ว่าชาว บ้านต้องการคนดี ซึ่งในประเทศเหล่านี้เขาเปิดโอกาสให้สมัคร ส.ส.ได้โดยไม่ต้องสังกัดพรรคการเมือง ซึ่งจะเป็นช่องทางให้คนดีแต่ไม่มีทุนและไม่มีพรรคไหนส่งลงสมัครเพราะไม่ใช่ พวกเขา บางคนก็เป็นคนที่ชาวบ้านส่งลงสมัครเอง พวกนี้ก็จะมีโอกาสเป็น ส.ส. พรรคกรีนในประเทศต่างๆก็เกิดจากวิธีการแบบนี้ คือมาจากคนที่มีอุดมการณ์แต่พรรคการเมืองไม่เอา ขณะที่ชาวบ้านชอบ พรรคกรีนในหลายๆประเทศเนี่ยได้ ส.ส.เขตไม่เยอะ แต่ได้ ส.ส.สัดส่วนเยอะเพราะประชาชนลงคะแนนให้พรรคกรีนกันเยอะ
**บางคนมองว่าเสียงโหวตโนมันเปล่าประโยชน์ กาโนโหวตไปก็ไม่ได้อะไร
ถ้ามองแค่ว่าการเลือกตั้ง ส.ส.เป็นระบบตัวแทนก็อาจจะไม่ได้ประโยชน์เพราะเขาจะไม่ได้ ส.ส. แต่ได้ประโยชน์ในแง่ของการแสดงสัญลักษณ์ว่าประชาชนเขายี้นักการเมืองกลุ่ม นี้ นักการเมืองกลุ่มนี้คนเขายี้ตั้ง 50% แน่ะ ถ้าเขาได้เป็น ส.ส.จะเป็นยังไง ? ชาวบ้านก็บอกว่า...ไอ้เนี่ยเหรอ มันเป็น ส.ส.ด้วยคะแนนเสียง 5% เอง ผมคิดว่าน่าอายฉิบเป๋งเลย พรรคการเมืองพรรคนี้ส่ง ส.ส.ที่ชนะมาด้วยคะแนน 5% เอง
ซึ่งตรงนี้ทางเครือข่ายข้อมูลทางการเมืองไทยตั้งใจไว้แล้วว่าการ เลือกตั้งครั้งนี้เขตไหนที่มีโนโหวตเยอะเราจะโชว์ให้ดูในเว็บไซต์ แล้วบอกด้วยว่า ส.ส.คนไหนบ้างที่มาจากเขตที่มีโนโหวตเยอะ การเลือกตั้งครั้งที่แล้ว จังหวัดสุราษฎร์ธานีซึ่งเป็นจังหวัดที่คุณสุเทพ เทือกสุบรรณ ลงสมัครเนี่ย โนโหวตสูงมาก
**แสดงว่าคนสุราษฎร์ฯมองว่าผู้สมัครที่ลงเลือกตั้งเนี่ยไม่มีใครดีเลย
ประมาณนั้น (หัวเราะ) ยกเว้นคุณสุเทพที่ได้คะแนนเยอะ แล้วสุราษฎร์ฯคือประชาธิปัตย์ คราวนี้เราออกแคมเปญในพื้นที่ภาคใต้ว่า...อย่าเลือกเพราะว่าเคยชินกับพรรคใด พรรคหนึ่ง อย่าเลือกเพราะว่าศรัทธาในตัวบุคคลใดบุคคลหนึ่ง แต่ให้เลือกโดยดูจากคุณภาพของผู้สมัคร ส.ส.จริงๆ ตอนนี้พรรคการเมืองก็เชื่อไม่ได้ ต้องพิจารณาที่ตัวคนเป็นหลัก
**หัวหน้าพรรคดีคนเดียวก็ไม่ได้หมายความว่าลูกพรรคจะดีด้วย
ใช่ เรารู้ว่าบางคนก็ดีนะ อย่างนายกฯอภิสิทธิ์เนี่ยเป็นคนที่เราเชื่อว่าแกดี เราก็เห็นอยู่แล้วว่าพรรคประชาธิปัตย์มีนายกฯอภิสิทธิ์ดีอยู่คนหนึ่ง คนอื่นจะดีไม่ดีไม่รู้ พูดตรงๆว่าจากข้อมูลที่เรามีอยู่เนี่ย..ประเภทถึงคอ ว่างั้นเถอะนะ (หัวเราะ) คนอยู่ข้างนายกฯก็ไม่ไหว รับไม่ได้ ผมเองก็คนใต้นะ ผมเชียร์พรรคประชาธิปัตย์มาตั้งแต่สายเลือดเลย แต่ถ้ารักกันจริงก็ต้องบอกว่าพรรคก็ต้องคัดคนที่ดีมาลงสมัครด้วย แต่ที่คัดมามันห่วยแตกน่ะ..พูดง่ายๆ คือไม่ใช่ว่าทำชั่วยังไง คุณภาพแย่ยังไงเราก็เลือก
**อย่าดูถูกประชาชนให้มากนัก
ใช่ ดูถูกเรามาก แหม..เอาอะไรมาลงให้ประชาชนเลือกเนี่ย ! เราต้องให้ชาวบ้านสั่งสอนนักการเมืองเสียบ้างว่าคุณอย่ามักง่าย พรรคไหนก็แล้วแต่ ประชาธิปัตย์ เพื่อไทย มันก็มีแบบนี้ ต้องให้ชาวบ้านสั่งสอนว่าอย่าส่งคนพวกนี้มา
**ตอนนี้ก็มีบางพรรคที่พยายามบอกว่าถ้าไม่เลือกพรรคเราซึ่งถึงจะเลวก็เลวน้อยกว่า เดี๋ยวพรรคที่เลวมากกว่าจะเข้ามาบริหารบ้านเมืองนะ
แต่ผมคิดว่าเราอย่ามองแค่พรรค มองที่ตัวคนดีกว่า เราไม่ได้รณรงค์เรื่องพรรคนะ ข้อมูลของเว็บไซต์เราเน้นที่ตัวบุคคลเพราะถ้า ส.ส.ดีเนี่ย อย่างน้อยเมื่อเข้าไปทำงานในสภาเขาก็น่าจะมีความรับผิดชอบ สถาบันทางการเมืองก็น่าจะเกิดความเปลี่ยนแปลง
**มีบางประเทศที่เกิดการเปลี่ยนทางการเมืองโดยภาคประชาชน
ครับ อย่างที่ประเทศเกาหลีองค์กรภาคประชาชนเขาจัดให้ชาวบ้านหย่อนบัตรลงคะแนนว่า นักการเมืองคนไหนยี้ที่สุดในพื้นที่ของเขา ส.ส.ยอดยี้ในเขตนี้มีใครบ้าง ลงคะแนนกันทุกจังหวัดเลย สื่อก็ช่วยเผยแพร่ข่าวออกไป บางจังหวัดก็จัดกิจกรรมหย่อนบัตร เอา ส.ส.ยอดยี้ขึ้นป้าย มีการนับคะแนนยี้ 1 คะแนน ยี้ 2 คะแนน พอได้ ส.ส.ที่ยี้สุดๆ เช่น คนเกิน 30% บอกว่ายี้นะ เขาจะขึ้นแบล็คลิสต์ แล้วส่งชื่อ ส.ส.เหล่านี้ไปให้พรรคการเมือง บอกเลยว่า ส.ส.ยี้ที่มีอยู่ประมาณ 60 คนเนี่ย คุณอย่าส่งลงสมัครนะ ถ้าส่งมาเราจะรณรงค์ไม่ให้เลือกคนพวกนี้ แล้วก็ไม่เลือกพรรคคุณด้วย คือการเลือกตั้งของเกาหลีก็มีทั้งเลือกพรรคและเลือกคน
ตอนแรกพรรคการเมืองของเกาหลีก็ไม่กลัวเพราะคิดว่าภาคประชาชนไม่เอา จริง เขาก็ส่งพวกยี้ลงสมัคร โดยส่งประมาณ 10 กว่าคน ชาวบ้านพอรู้สึกว่านักการเมืองดูถูกเขาก็เอาจริงเลย เดินถือป้ายรณรงค์กันทุกจังหวัด หัวหน้าโครงการนี้ก็ถูกฟ้อง เพราะ ส.ส.เกาหลีบอกว่าผิดกฎหมายเลือกตั้งทำให้เสียชื่อเสียง ก็เหมือนบ้านเราน่ะแหล่ะ ฟ้องกันทุกพื้นที่เลย พื้นที่ไหนรับเจ้งความแกก็ไปรายงานตัว แต่ขอประกันตัวออกมาก่อนนะ แล้วก็ไปรณรงค์ในพื้นที่อื่นต่อ จนกระทั่งว่า ส.ส.ยี้ผ่านเข้าไปในสภาได้แค่ 2-3 คน องค์กรภาคประชาชนก็เดินหน้าต่อ ปะกาศว่าถ้าพรรคการเมืองส่ง 2-3 คนนี้เข้าไปทำงานไม่ว่าจะรับตำแหน่งไหนก็จะตามดูทุกวินาทีเลยว่าแต่ละคนไปทำ อะไรบ้างและจะรายงานต่อประชาชน ปรากฎว่าพรรคไม่แต่งตั้งให้เป็นอะไรเลย เป็นแค่ ส.ส.ธรรมดา และสักพักก็ค่อยๆเปลี่ยนพฤติกรรม ส่วน ส.ส.ที่ได้คะแนนยี้แต่ไม่มาก แค่ 15% พวกนี้เป็นนักการเมืองเลวเหมือนกัน แต่หลังจากเจอแบบนี้เขาก็เปลี่ยนพฤติกรรมเป็นคนดีขึ้น
วิธีการนี้คนเกาหลีเริ่มใช้มาตั้งแต่ปี 2541 ถึงตอนนี้การเมืองเกาหลีเข้าที่เข้าทาง เขารณรงค์ทีเดียวนะแต่ประชาชนเขาตื่นตัวมาก พอการเลือกตั้งครั้งต่อมาในปี 2546 หรือ 2547 นี่แหล่ะ เขาแทบไม่ต้องรณรงค์อะไรเลย ชาวบ้านรู้กันเองว่าใครดีไม่ดี ขณะที่ ส.ส.ก็ทำตัวดีขึ้น ไม่รู้จะเอาอะไรมาตำหนิ ไม่เหมือนก่อนหน้านี้ที่มีทั้งการคอร์รัปชั่น บริษัทใหญ่ๆอย่างแดวูก็เป็นธุรกิจที่อาศัยอำนาจทางการเมืองผูกขาดทั้งนั้น หนีภาษี ใช้อภิสิทธิ์ในการรับสิทธิพิเศษในการลงทุน เหมือนบ้านเราทุกอย่าง แย่กว่าเราอีกเพราะคนเกาหลีก็ต้องพึ่งพาบริษัทเพวกนี้เป็นนายจ้าง การที่จะให้คนแสดงท่าทีต่อต้านพฤติกรรมของกลุ่มทุนเหล่านี้ก็เป็นเรื่องยาก มาก แต่สุดท้ายเขาก็ทำสำเร็จ ขณะที่การเข้ามากุมอำนาจทางการเมืองของกลุ่มทุนในบ้านเรายังเป็นแบบหลวมๆ
ดังนั้นบ้านเราเนี่ยถ้าเราให้ข้อมูลอย่างเข้มข้นกับประชาชนและให้เขา มีส่วนร่วมจริงๆ เขาอาจจะตื่นตัวมากกว่าที่เราคิด แล้วนักการเมืองเนี่ยท้ายที่สุดเขาก็กลัวประชาชนนะ
**ถ้าภาคประชาชนตื่นตัว การเมืองไทยก็น่าจะเกิดความเปลี่ยนแปลง
ก็เป็นสิ่งที่เราหวังอยู่ แต่เราก็คงต้องเผชิญกับคลื่นอีกหลายลูก อย่างครั้งนี้ผมคิดว่าเครือข่ายของเรากับพรรคการเมืองก็รณรงค์กันไปคนละทาง พรรคการเมืองอาจจะรณรงค์แบบสร้างกระแสกดดันว่าต้องเลือกพรคผมนะ พรรคนั้นมันไม่ดีนะ แต่เราบอกว่าต้องเลือกคนที่มันไม่ยี้นะ ถ้าพรรคไหนที่ส่งผู้สมัครแบบยี้มาคุณอย่าเลือกนะ พรรคไหนจะได้ ส.ส.กี่คนเราไม่สนใจหรอกเพราะถ้าพรรคไม่รับผิดชอบตั้งแต่เริ่มส่งคนเข้ามาก็ แสดงว่าเป็นพรรคที่ไม่ดี บอกว่าพรรคดีแต่ส่งเจ้าพ่อมาลง ส.ส. อย่างงี้เป็นพรรคที่ดีเหรอ.... พรรคดีแต่ส่งนักการพนัน เจ้าของบ่อน พ่อค้ายยาเสพติด ค้าของเถื่อน มาลงสมัคร พรรคอย่างงี้ดีเหรอ...
ใครมาก็ไม่สำคัญสำหรับพวกเรา คนอย่างคุณทักษิณจะกลับมาหรือไม่กลับมาผมไม่สนใจนะ เป็นเรื่องของสาธารณะที่ต้องช่วยกันดู แต่ผมมองว่าถ้านักการเมืองยังไม่ยอมเปลี่ยนพฤติกรรม ยังเล่นเกมกันแบบนี้ ต้องใช้อำนาจที่สามคืออำนาจของประชาชนมาช่วยกันคัดง้าง
**หลังจากการเลือกครั้งนี้ เว็บไซต์เครือข่ายข้อมูลการเมืองไทยจะขับเคลื่อนอย่างไรต่อไป
เราจะติดตามพฤติกรรม ส.ส.ที่ได้รับเลือกตั้งตั้งแต่วันแรกที่ก้าวเข้าสภาเลย แล้วก็จะมีการจัดเรตติ้ง ส.ส.ยอดเยี่ยม กับ ส.ส. ยอดแย่ คือชาวบ้านต้องมีความเป็นเจ้าของ ส.ส. ไม่ใช่เลือกมาแล้วเขาจะไปทำอะไรก็ช่าง และเมื่อ ส.ส.รู้ว่ามีคนติดตามพฤติกรรมของเขา เขาก็ต้องระมัดระวัง และถึงแม้ว่าเลือกตั้งคราวนี้เราจะเอา ส.ส.ไม่ดีออกไปไม่ได้ทั้งหมด แต่เชื่อว่าก็ต้องหลุดออกไปได้บ้าง จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับประชาชน และเราจะสร้างกระแสว่าเลือกตั้งคราวนี้จะสร้างความแตกต่างทางการเมืองได้ไหม เปลี่ยนการเมืองไทยได้ไหม
**อยากให้อาจารย์วิเคราะห์การเลือกตั้งในครั้งนี้
ผมว่าคงแข่งกันดุ ประการแรกคือ การเลือกตั้งครั้งนี้เดิมพันสูงมาก ฝั่งคุณทักษิณก็พยายามที่จะชนะการเลือกตั้ง ให้เป็นเสียงข้างมากให้ได้ เพราะเป็นเรื่องของการกลับมาหรือไม่ได้กลับมา ซึ่งทำให้พรรคประชาธิปัตย์และพรรคการเมืองที่เหลือต้องลงเดิมพันสูงตามไป ด้วย ประการที่ 2 เนื่องจากการเลือกตั้งคราวนี้เป็นแบบเขตเดียวเบอร์เดียว ซอยเป็นเขตเล็ก ตามสถิติเนี่ยใครที่มีคะแนนจัดตั้งเกิน 35% ชนะเลย เขาก็ใช้ระบบหัวคะแนน และมีการซื้อเสียงอย่ามโหฬาร ทางฝ่าย กกต.ในแต่ละพื้นที่ ก็มีปัญหานะ เพราะพรรคการเมืองก็ส่งคนของตัวเองมาเป็น กกต. ดังนั้นเครือข่ายเรานอกจากจะจับตาผู้สมัครแต่ละพรรคแล้ว ก็ต้องจับตา กกต.ด้วย
**ตอนนี้ผลสำรวจของโพลหลายสำนักก็ออกมาตรงกันว่าการเลือกตั้งครั้งนี้พรรคเพื่อไทยน่าจะมีคะแนนนำพรรคอื่นๆ
ก็ยังแน่ใจอะไรไม่ได้ เพราะเราไม่รู้ว่าแต่ละโพลมีที่มาที่ไปอย่างไร ชาวบ้านก็อาจถูกทำให้เชื่อว่าเพื่อไทยจะมา คือมันเป็นโพลแบบชี้นำ ทำโพลแล้วก็รีบออกมาพูด เราก็ไม่รู้ว่าเขาสำรวจในเขตไหนบ้าง อย่างในพื้นที่ภาคอีสานเนี่ย จากการวิจัยของเครือข่ายเราก็เห็นว่าพื้นที่อีสานเหนือเป็นฐานของเพื่อไทย ภูมิใจไทยจะชนะเพื่อไทยได้สักเท่าไรก็ยังอยู่ในเขตอีสาน คือเขตชนบทนี่ชัดเจนว่าเพื่อไทยกับภูมิใจไทยแข่งกัน แต่ถ้าเป็นเขตเมืองก็ไม่แน่ ประชาธิปัตย์ก็เคยครองพื้นทิ่อยู่ ถ้าเชตเลือกตั้งเล็กลง และกินเขตเมืองเข้าไปเกิน 35% ประชาธิปัตย์ก็อาจจะแทรกเข้ามได้บ้าง
**คิดว่าหลังเลือกตั้งการเมืองไทยจะเปลี่ยนไปจากเดิมไหม
ผมว่าจะลงเอยคล้ายกับปี 2550 คือผลการเลือกตั้งพรรคเพื่อไทยอาจมีคะแนนนำทุกพรรค แต่จะตั้งรัฐบาลได้ก็ต้องไปจีบพรรคการเมืองอื่นๆมาร่วมรัฐบาล ก็อยู่ที่ว่าเขาจะตอบรับหรือเปล่า เขาอาจจะกลัวบางเรื่อง ก็ต้องมาคุยกัน เรื่องคุณทักษิณจะว่าอย่างไร ถ้ารับได้พรรคเพื่อไทยก็อ่าจจะได้จัดตั้งรัฐบาล แต่ถ้ารับไม่ได้เพื่อไทยก็ตั้งรัฐบาลไม่ได้ เพื่อไทยก็ออกมาโวยวายว่าตั้งไม่ได้เพราะมีอำนาจแฝงเข้ามาบงการ มีทหารหนุน เพื่อให้เกิดกระแสขึ้นมา แต่พรรคอื่นก็อาจจะรับถ้าเพื่อไทยให้ตำแหน่งรัฐมนตรีกระทรวงดีๆ ก็เป็นไปได้เพราะนักการเมืองไม่ได้เห็นแก่ประเทศชาติอยู่แล้ว ขณะเดียวกันถ้าเพื่อไทยตั้งรัฐบาลไม่ได้ ประชาธิปัตย์ซึ่งอาจจะมีคะแนนมาเป็นอันดับ 2 ก็จะจับมือกับพรรคการเมืองอื่นๆ ซึ่งแน่นอนว่าพรรคอื่นก็ต้องต่อรองสูง ยิ่งต่อรองมากก็จะได้รัฐบาลที่ไม่ได้ความ เหมือนกับการจัดตั้งรัฐบาลครั้งเนี้ย พรรคที่มาร่วมก็เอากระทรวงหลักๆอย่าง มหาดไทย พาณิชย์ อุตสาหกรรม คมนาคม ไปหมด ประชาธิปัตย์ก็ไปดูแลเรื่องขี้หมา เพราะฉะนั้นรัฐบาลก็จะทำงานไม่ได้ ก็ต้องรอดู
ถ้าการเมืองยังเป็นแบบเดิม ไม่ว่าขั้วไหนมาก็ไม่มีเสถียรภาพ ผมเป็นกลางนะ ยิ่งทำวิจัยได้เห็นข้อมูลนักการเมืองแบบที่ผมว่าแล้วยิ่งเป็นกลางใหญ่ คือมันแย่เหมือนกันหมด ถ้าถามว่า ส.ส.คนไหนไม่จริงใจต่อประชาชน ก็ ส.ส.ทุกพรรคน่ะแหล่ะ พูดอย่างทำอย่างทั้งนั้น แหกตาชาวบ้านทั้งนั้น
สำนักงานตำรวจแห่งชาติเปิดเผยรายชื่อ มือปืน
มือปืน
บุคคลเป้าหมาย |
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)
รีโมท
ซื้อ รีโมท จากผู้ค้าส่งโดยตรง ที่มีหน้าร้านจริง ที่ บ้านหม้อ และ คลองถม ราคาถูกกว่าใคร ปลอดภัย มีรับประกัน