วันพุธที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2554
ยุทธการสร้างความกลัวของ ประชาธิปัตย์
ข่าวสดรายวัน
ยุทธการ โค้งสุดท้าย ยุทธการ สร้างความกลัว ของ "ประชาธิปัตย์"
เหตุปัจจัยอันใดทำให้ชาวบ้าน "สยอง" ต่อ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ มากกว่าจะสยองต่อ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
แม้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร จะเป็นโคลนนิ่งของ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร
เหตุปัจจัย 1 เพราะว่าการได้เป็นนายกรัฐมนตรีของ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นไปตามพิมพ์เขียวที่การรัฐประหารเมื่อเดือนกันยายน 2549 กำหนดเอาไว้
กำหนดเอาไว้เหมือนกับที่เชิด พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี
ทั้งๆ ที่กลุ่มรัฐประหารเมื่อเดือนกันยายน 2549 รวมทั้ง พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ล้วนสำแดงตนเป็น "คนดี" แล้วเหตุใดชาวบ้านจึงบังเกิดอาการ "สยอง" แล้วกลายเป็นโรคระบาดแพร่ลามมาถึง นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ด้วย
เพราะการรัฐประหารก่อสภาพงันชะงักในการพัฒนาและก้าวไปข้างหน้าของประเทศ และอีกปัจจัยอันทำให้นำไปสู่บทสรุปอย่างเดียวกัน
นั่นก็คือ ปัจจัยที่ "คนดี" เหล่านี้ทำงานไม่เป็น บริหารบ้านเมืองไม่เอาอ่าว
ความเป็น "คนดี" ของ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ เด่นชัดอย่างยิ่ง ณ เบื้องหน้าชาวบ้านจากบทบาทในเรื่องเขา ยายเที่ยง
และการยึดกุมหลักการ "บริหารโดยไม่บริหาร" ในแบบพรรคประชาธิปัตย์
ความเป็น "คนดี" ของ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ก็เด่นชัดอย่างยิ่ง ณ เบื้องหน้าชาวบ้านจากบทบาทตลอด 2 ปีเศษที่เป็นนายกรัฐมนตรี
1 ก่อให้เกิดข้าวยากหมากแพงทุกหย่อมย่าน ชาวบ้าน เดือดร้อน
1 ผลงานอันโดดเด่นยิ่งของรัฐบาลก็คือ การตายจำนวน 90 กว่าศพ บาดเจ็บเกือบ 2,000 คนในเหตุการณ์เดือนเมษายน พฤษภาคม 2553
1 การโยกย้ายที่ไม่เป็นธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กระ ทรวงมหาดไทย ตั้งแต่ตำแหน่งนายอำเภอ ผู้ว่าราชการจังหวัด อธิบดี ไปจนถึงปลัดกระทรวง
ทั้งหมดนี้ล้วนเกิดขึ้นในยุค นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
เมื่อนำเอาผลงานของ "คนดี" อย่าง พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ประสานเข้ากับ "คนดี" อย่าง นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
อาการ "สยอง" ย่อมบังเกิดติดตามมา
ยิ่งคำนึงถึงความเป็นจริงที่บ้านเมืองแตกแยก ขัดแย้ง บ้านเมืองอยู่ในภาวะหยุดชะงักไม่ก้าวเดินไปข้างหน้านับแต่รัฐประหารเมื่อเดือนกันยายน 2549 เป็นต้นมา
ยิ่งบังเกิดอาการ "สยอง" ในระดับขนลุกขนพอง
ความต้องการ "ร่วม" อย่างหนึ่งซึ่งตรงกันก็คือ ต้องการยุติความขัดแย้ง แตกแยก ต้องการเดินไปข้างหน้าอย่างมีศักดิ์ศรีและเป็นธรรม
ถามว่าสิ่งที่พรรคประชาธิปัตย์นำเสนอในโค้งสุดท้ายสะท้อนให้เห็นแนวคิดอะไร
เด่นชัดยิ่งว่าสะท้อนแนวคิดก่อนและหลังรัฐประหารเดือนกันยายน 2549 อันเป็นปัญหาที่ก่อให้เกิดการสะดุดหยุดชะงักการพัฒนาทั้งทางเศรษฐกิจและการเมือง
ยิ่งสร้างความกลัว ชาวบ้านยิ่งจะกลัวพรรคประชาธิปัตย์เป็นทวิ ทวีคูณ
หน้า 6
ยุทธการ โค้งสุดท้าย ยุทธการ สร้างความกลัว ของ "ประชาธิปัตย์"
เหตุปัจจัยอันใดทำให้ชาวบ้าน "สยอง" ต่อ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ มากกว่าจะสยองต่อ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
แม้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร จะเป็นโคลนนิ่งของ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร
เหตุปัจจัย 1 เพราะว่าการได้เป็นนายกรัฐมนตรีของ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นไปตามพิมพ์เขียวที่การรัฐประหารเมื่อเดือนกันยายน 2549 กำหนดเอาไว้
กำหนดเอาไว้เหมือนกับที่เชิด พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี
ทั้งๆ ที่กลุ่มรัฐประหารเมื่อเดือนกันยายน 2549 รวมทั้ง พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ล้วนสำแดงตนเป็น "คนดี" แล้วเหตุใดชาวบ้านจึงบังเกิดอาการ "สยอง" แล้วกลายเป็นโรคระบาดแพร่ลามมาถึง นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ด้วย
เพราะการรัฐประหารก่อสภาพงันชะงักในการพัฒนาและก้าวไปข้างหน้าของประเทศ และอีกปัจจัยอันทำให้นำไปสู่บทสรุปอย่างเดียวกัน
นั่นก็คือ ปัจจัยที่ "คนดี" เหล่านี้ทำงานไม่เป็น บริหารบ้านเมืองไม่เอาอ่าว
ความเป็น "คนดี" ของ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ เด่นชัดอย่างยิ่ง ณ เบื้องหน้าชาวบ้านจากบทบาทในเรื่องเขา ยายเที่ยง
และการยึดกุมหลักการ "บริหารโดยไม่บริหาร" ในแบบพรรคประชาธิปัตย์
ความเป็น "คนดี" ของ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ก็เด่นชัดอย่างยิ่ง ณ เบื้องหน้าชาวบ้านจากบทบาทตลอด 2 ปีเศษที่เป็นนายกรัฐมนตรี
1 ก่อให้เกิดข้าวยากหมากแพงทุกหย่อมย่าน ชาวบ้าน เดือดร้อน
1 ผลงานอันโดดเด่นยิ่งของรัฐบาลก็คือ การตายจำนวน 90 กว่าศพ บาดเจ็บเกือบ 2,000 คนในเหตุการณ์เดือนเมษายน พฤษภาคม 2553
1 การโยกย้ายที่ไม่เป็นธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กระ ทรวงมหาดไทย ตั้งแต่ตำแหน่งนายอำเภอ ผู้ว่าราชการจังหวัด อธิบดี ไปจนถึงปลัดกระทรวง
ทั้งหมดนี้ล้วนเกิดขึ้นในยุค นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
เมื่อนำเอาผลงานของ "คนดี" อย่าง พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ประสานเข้ากับ "คนดี" อย่าง นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
อาการ "สยอง" ย่อมบังเกิดติดตามมา
ยิ่งคำนึงถึงความเป็นจริงที่บ้านเมืองแตกแยก ขัดแย้ง บ้านเมืองอยู่ในภาวะหยุดชะงักไม่ก้าวเดินไปข้างหน้านับแต่รัฐประหารเมื่อเดือนกันยายน 2549 เป็นต้นมา
ยิ่งบังเกิดอาการ "สยอง" ในระดับขนลุกขนพอง
ความต้องการ "ร่วม" อย่างหนึ่งซึ่งตรงกันก็คือ ต้องการยุติความขัดแย้ง แตกแยก ต้องการเดินไปข้างหน้าอย่างมีศักดิ์ศรีและเป็นธรรม
ถามว่าสิ่งที่พรรคประชาธิปัตย์นำเสนอในโค้งสุดท้ายสะท้อนให้เห็นแนวคิดอะไร
เด่นชัดยิ่งว่าสะท้อนแนวคิดก่อนและหลังรัฐประหารเดือนกันยายน 2549 อันเป็นปัญหาที่ก่อให้เกิดการสะดุดหยุดชะงักการพัฒนาทั้งทางเศรษฐกิจและการเมือง
ยิ่งสร้างความกลัว ชาวบ้านยิ่งจะกลัวพรรคประชาธิปัตย์เป็นทวิ ทวีคูณ
หน้า 6
จตุพร พรหมพันธุ์ ยังมีสิทธิ์เป็นสส.ตามรัฐธรรมนูญ(จริงหรือ ?)
by หมูสนาม ,
หมายเหตุ ก่อนอ่านต่อ กรุณาวางความชอบใจไม่ชอบใจลงก่อนนะครับจะได้ไม่
หมายเหตุ ก่อนอ่านต่อ กรุณาวางความชอบใจไม่ชอบใจลงก่อนนะครับจะได้ไม่
หงุดหงิดหรืออารมณ์เสีย
ผมอ่านข่าวความเห็นของคุณสดศรี สัตยธรรม กรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เปิดเผยว่า หากนายจตุพร พรหมพันธุ์ ผู้สมัคร ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคเพื่อไทย ไม่ได้รับอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวเพื่อไปใช้สิทธิเลือกตั้งในวันที่ 3 ก.ค.นี้ นายจตุพรมีปัญหาแน่นอนหากไม่ไปใช้สิทธิ เพราะถือว่าขัดต่อกฎหมาย ซึ่งก็มีความเป็นไปได้ว่า กกต.จะต้องพิจารณาไม่ประกาศรับรองให้นายจตุพรเป็น ส.ส. เพราะหน้าที่ตรวจสอบคุณสมบัติก็เป็นหน้าที่ของ กกต. ทันทีที่นายจตุพรไม่ได้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งก็ถือว่าขาดคุณสมบัติการเป็น ส.ส.ทันทีเช่นกัน
“เรื่อง นี้เป็นเรื่องของการขาดคุณสมบัติ มิใช่การกระทำความผิดกฎหมายเลือกตั้ง จึงไม่ใช่เรื่องการแจกใบเหลือง ใบแดง หรือการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง” นาง สดศรีกล่าว และว่าเรื่องนี้หากนายจตุพรไม่เห็นด้วยก็คงต้องยื่นเรื่องต่อศาลฎีกาแผนกคดี เลือกตั้งเพื่อให้พิจารณา เพราะเรื่องนี้ถือเป็นกรณีใหม่และไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ซึ่งในอดีตเคยเกือบจะเกิดเรื่องอย่างนี้ขึ้นมาในกรณีของนายก่อแก้ว พิกุลทอง แกนนำ นปช. หรือกลุ่มคนเสื้อแดง ซึ่งขณะนั้นก็ถูกคุมขังอยู่ ซึ่งศาลปล่อยตัวออกมาสมัครแต่ก็ไม่ได้อนุญาตให้ออกมาลงคะแนน แต่ในครั้งนั้นนายก่อแก้วไม่ได้รับเลือกตั้ง กกต.เลยไม่ได้พิจารณาเรื่องนี้ไว้เป็นบรรทัดฐาน
อย่าง ไรก็ตาม นายจตุพรนั้นอาจจะทำหนังสือแจ้งเหตุไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง แต่จะเป็นเหตุผลที่รับรับฟังหรือเข้าต่อข้อกฎหมายหรือไม่ ก็คงต้องพิจารณากันอีกครั้งและอาจจะต้องยื่นต่อศาลเพื่อให้เป็นผู้พิจารณา แต่ กกต. คงจะพิจารณาประกาศไม่รับรองให้เป็น ส.ส.ไปก่อน…………………………………………………….
“เรื่อง นี้เป็นเรื่องของการขาดคุณสมบัติ มิใช่การกระทำความผิดกฎหมายเลือกตั้ง จึงไม่ใช่เรื่องการแจกใบเหลือง ใบแดง หรือการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง” นาง สดศรีกล่าว และว่าเรื่องนี้หากนายจตุพรไม่เห็นด้วยก็คงต้องยื่นเรื่องต่อศาลฎีกาแผนกคดี เลือกตั้งเพื่อให้พิจารณา เพราะเรื่องนี้ถือเป็นกรณีใหม่และไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ซึ่งในอดีตเคยเกือบจะเกิดเรื่องอย่างนี้ขึ้นมาในกรณีของนายก่อแก้ว พิกุลทอง แกนนำ นปช. หรือกลุ่มคนเสื้อแดง ซึ่งขณะนั้นก็ถูกคุมขังอยู่ ซึ่งศาลปล่อยตัวออกมาสมัครแต่ก็ไม่ได้อนุญาตให้ออกมาลงคะแนน แต่ในครั้งนั้นนายก่อแก้วไม่ได้รับเลือกตั้ง กกต.เลยไม่ได้พิจารณาเรื่องนี้ไว้เป็นบรรทัดฐาน
อย่าง ไรก็ตาม นายจตุพรนั้นอาจจะทำหนังสือแจ้งเหตุไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง แต่จะเป็นเหตุผลที่รับรับฟังหรือเข้าต่อข้อกฎหมายหรือไม่ ก็คงต้องพิจารณากันอีกครั้งและอาจจะต้องยื่นต่อศาลเพื่อให้เป็นผู้พิจารณา แต่ กกต. คงจะพิจารณาประกาศไม่รับรองให้เป็น ส.ส.ไปก่อน…………………………………………………….
ตามความเข้าใจของผม ความ เห็นของคุณสดศรีคงเป็นเรื่องให้ถกเถียงกันอีกหลายยกเพราะผมคิดว่าคุณจตุพร พรหมพันธุ์ ยังมีสิทธิ์เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในครั้งนี้ตามรัฐธรรมนูญเพราะ
1. แม้คุณจตุพร เป็นบุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิ์เลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญมาตรา 100 (3) ต้องคุมขังอยู่โดยหมายของศาลหรือโดยคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย
2. แต่คุณจตุพร เป็นผู้มีสิทธิ์สมัครรับเลือกตั้งเป็นสส.ตามรัฐธรรมนูญ ม.101และ กกต.รับรองให้สมัครได้แล้ว
3. แม้ คุณจตุพรไม่ได้รับการประกันตัวให้ออกไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งในครั้งนี้ คุณจตุพรจะเสียสิทธิ์ สมัครรับเลือกตั้ง ตามพรบ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสส.สว.2550 มาตรา 26
4. แต่ ม. 27 ตาม พรบ.การเลือกตั้ง 2550 ก็เขียนไว้ชัดเจนแล้วว่า
การเสียสิทธิ์ตามมาตรา 26 ให้กำหนดตั้งแต่วันเลือกตั้งครั้งที่ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งไม่ไปใช้สิทธิ์เลือกตั้ง จนถึงวันเลือกตั้งที่ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งไปใช้สิทธิ์เลือกตั้ง ไม่ว่าจะเป็นการเลือกตั้ง สส. สว. สมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น
สรุป ถ้าคุณจตุพร ไม่ได้ไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งในครั้งนี้ คุณจตุพรจะเสียสิทธิ์สมัครสส.ในครั้งหน้า ไม่ใช่ครั้งนี้ครับ
แต่บาปของจตุพร พรหมพันธุ์ คงจะหนักหนาสาหัสมาก พรบ.ว่าด้วยพรรคการเมืองพ.ศ.2550 ม.20 เขียนไว้ว่า
ม. 20 สมาชิกภาพของสมาชิกสิ้นสุดเมื่อ
(1) ตาย
(2) ลาออก
(3) ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 19
ม.19 ผู้ซึ่งจะเป็นสมาชิก(พรรคการเมือง-จขบ.)ต้องเป็นบุคคลธรรมดามีสัญชาติไทย มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตาม มาตรา 8 วรรคหนึ่ง............................
ในหมวดหนึ่ง การจัดตั้งพรรคการเมือง
ม. 8 (วรรค หนึ่ง) ผู้มีสัญชาติไทยโดยการเกิด หรือผู้มีสัญชาติไทยโดยการแปลงสัญชาติซึ่งได้สัญชาติไทยมาแล้วไม่น้อยกว่า ห้าปี มีอายุไม่ต่ำกว่าสิบแปดปีบริบูรณ์ และไม่มีลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญ มีจำนานตั้งแต่ 15 คนขึ้นไปอาจรวมกันดำเนินการจัดตั้งพรรคการเมืองได้
คุณจตุพร พรหมพันธุ์เป็นบุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิ์เลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญมาตรา 100 (3) ต้องคุมขังอยู่โดยหมายของศาลหรือโดยคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย
เมื่อคุณจตุพร พรหมพันธุ์ เป็นผู้มีลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิเลือกตั้ง ซึ่งเป็นลักษณะต้องห้าม ตามมาตรา 8 วรรคหนึ่ง ตามพรบ.พรรคการเมือง พ.ศ.2550 จึงเป็นผู้ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา19 ทำให้สมาชิกภาพของสมาชิกพรรคการเมืองของคุณจตุพรสิ้นสุดลงด้วย เมื่อไม่ได้เป็นสมาชิกพรรคการเมืองก็ไม่มีสิทธิ์สมัครรับการเลือกตั้ง
เอวังก็มีด้วยประการฉะนี้แล สะใจ..................
กรรมออนไลน์ มาไวกว่าที่คิด 55555
พรบ.พรรคการเมือง พ.ศ. 2550
พรบ.เลือกตั้ง สส.สว.2550
http://www.ect.go.th/newweb/upload/cms10/download/398-1417-0.pdf
Wayne แห่ง Aljazeera จัดหนัก ทักษิณ
เมื่อวันที่ 25มิย.Wayne สัมภาษณ์ทักษิณที่คฤหาสน์หรู ใน emirate
บทบาทในอนาคตในทางการเมืองหลังการเลือกตั้งในประเทศไทยและเขาสามารถจะยอมรับความผิดที่อาจถือว่า นำไปสู่การรัฐประหาร19 กันยาฯ coup d'etat
Wayne :ทั้งๆที่ มีคฤหาสน์หรู ธุรกิจที่นี่ คุณ อยากกลับประเทศไทย?
ทักษิณ: ผมถูกป้ายสี ผมต้องการกอบกู้ชื่อเสียงของผมประชาชนต้องสามารถแสดงออกได้ว่า ต้องการบ้านเมืองเดินไปอย่างไร
ทักษิณกล่าวว่า "ผม ขอโทษแต่ ไม่มีใครที่สมบูรณ์แบบ เมื่อคุณปกครองประเทศเป็นเวลาหกปีที่ผ่านมา อาจจะมีสิ่งที่สร้างความไม่พอใจให้กับบางกลุ่ม แต่ประชาธิปไตยคือสิ่งที่ได้มาจากเสียงส่วนใหญ่. จากการเลือกตั้งครั้งล่าสุดเรามีส.ส.ที่ได้รับเลือกตั้งถึงที่นั่ง 377เสียงซึ่งเป็นคะแนนเสียงถีง76%ในสภา ก่อนที่จะถูกโค่นโดยการรัฐประหาร. "
เปรียบเทียบกระบวนการยุติธรรมไทยเป็นMickyMouse Courte
เมื่อถูกถามว่า ไม่คิดจะอยากได้เงินที่ถูกยึดคืนหรือ?
ทักษิณบอกว่าตนเอง ไม่แคร์ ตนถือว่า สามารถหาได้มากกว่านั้น นอกเหนือจากจะมีกระบวนการที่จะทำให้การกล่าวโทษโดยไม่เป็นธรรมต่อผม มีความยุติธรรมขึ้น
Wayneแห่งAljazeeraจัดหนัก
ทักษิณออกอาการแผ่นเสียงตกร่อง เมื่อถูกถามถึงการยึดทรัพย์ และการขอพบกองทัพและที่ออกอาการตกใจอีกทีเมื่อถามถึง การล้มสถาบัน
“ผมไม่แก้แค้น แต่จะแก้ไข”
ไม่แก้แค้น แต่หากตกใจ จะประท้วง
ข้อมูลจาก feng_shui , ขอบคุณครับ
โหวตโน แล้วได้อะไร
โหวตโน...แล้วได้อะไร?
โดย ศาสตราจารย์ ดร.ธีรภัทร์ เสรีรังสรรค์
ศาสตราจารย์ประจำสาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
10 มิถุนายน 2554
การเลือกตั้งเป็นหัวใจของระบอบประชาธิปไตยสมัยใหม่ เพราะเป็นกลไกสำคัญสำหรับพลเมือง ที่จะเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการทางการเมืองโดยตรง และสามารถกำหนดได้ว่าใครจะเข้ามาทำหน้าที่ในการปกครองในระยะเวลาจำกัด ซึ่งโดยปกติอยู่ในระยะเวลา 4 ปี หรือ 5 ปี
หรืออาจกล่าวได้ว่า การเลือกตั้งในระบอบประชาธิปไตยเป็นกระบวนการทางการเมืองที่สำคัญยิ่ง ในการถ่ายโอนอำนาจอธิปไตยของประชาชนไปให้ตัวแทนทำหน้าที่ใช้แทนประชาชน
อย่างไรก็ตาม จะต้องพิจารณาด้วยว่าการเลือกตั้งดังกล่าวนั้นเป็นไปโดยสุจริตเที่ยงธรรม สะท้อนเจตนารมณ์ของประชาชนได้อย่างแท้จริงมากน้อยเพียงไร หากสิทธิและเสรีภาพในการออกเสียงลงคะแนนเลือกตั้งเป็นเครื่องกำหนดที่มาของขอบเขตและอำนาจขององค์การทางการเมืองได้อย่างแท้จริงแล้ว สิทธิและเสรีภาพนั้นก็มีความสำคัญทางการเมือง
ตรงข้ามถ้าการเลือกตั้งเป็นไปในทิศทางของการผูกขาด เอารัดเอาเปรียบ หลอกลวง หรืออยุติธรรมแล้ว ความสำคัญของสิทธิและเสรีภาพของการเลือกตั้งก็จะหมดไป
การเลือกตั้งในระบอบประชาธิปไตยในทรรศนะของนักวิชาการมีความหมายไม่แตกต่างกันมากนัก ส่วนใหญ่มองว่าการเลือกตั้งเป็นการต่อสู้แข่งขันในการรณรงค์เพื่อชัยชนะ ในการดำรงตำแหน่งทางการเมือง ให้เกิดตามความคาดหวังอันเป็นที่พึงพอใจ
หรือ การเลือกตั้ง หมายถึง กระบวนการทางการเมืองรูปแบบหนึ่งที่แสดงถึงการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนผู้เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย โดยการใช้สิทธิออกเสียงเลือกตั้งผู้แทนของตนเข้าไปทำหน้าที่ในการปกครองประเทศและตัดสินใจในนโยบายสาธารณะที่มีผลกระทบต่อประชาชน
จากความหมายดังกล่าวข้างต้น การเลือกตั้งในระบอบประชาธิปไตยที่พึงปรารถนาจึงจำเป็นต้องมีลักษณะที่สำคัญอย่างน้อย 3 ประการ ได้แก่
ประการแรก ผู้สมัครรับเลือกตั้งต้องมีหลายคน หรือมีบัญชีรายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งหลายบัญชี (ในกรณีที่มีกฎหมายกำหนดให้เลือกตั้งตามบัญชีรายชื่อ) หากมีผู้สมัครรับเลือกตั้งเพียงคนเดียว หรือมีบัญชีรายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งเพียงบัญชีเดียว ย่อมไม่ถือว่าเป็นการเลือกตั้งที่พึงปรารถนา
ประการที่สอง ผู้มีสิทธิเลือกตั้งต้องมีเสรีภาพบริบูรณ์ที่จะเลือกหรือไม่เลือกผู้สมัครคนใดคนหนึ่ง หรือบัญชีรายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งบัญชีใดบัญชีหนึ่ง ฉะนั้น หากมีการบังคับให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งลงคะแนนเสียงให้ผู้สมัครคนใดคนหนึ่งหรือบัญชีรายชื่อบัญชีใดบัญชีหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นการบังคับโดยทางตรงหรือโดยทางอ้อม ย่อมถือว่าไม่ใช่การเลือกตั้งที่พึงปรารถนา
และ ประการที่สาม ผู้มีสิทธิเลือกตั้งมีสิทธิและเสรีภาพที่จะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับบุคคลอื่น และมีโอกาสที่จะทราบความคิดเห็นรวมทั้งข้อมูลข่าวสารของผู้สมัครรับเลือกตั้งได้ก่อนการตัดสินใจเลือก ทั้งนี้ เพื่อให้การเลือกตั้งถูกต้องตามความเป็นจริงที่แต่ละคนชอบ
ฉะนั้น การเลือกตั้งที่ขาดเสรีภาพในการรับฟังความคิดเห็น จึงย่อมไม่ใช่การเลือกตั้งที่พึงปรารถนา
การออกเสียงเลือกตั้งจึงเป็นสิทธิขั้นมูลฐานของมนุษย์ โดยเฉพาะในสังคมประชาธิปไตย ดังปรากฏในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ข้อ 21(1) ความว่า "เจตจำนงของประชาชนย่อมเป็นมูลฐานแห่งอำนาจของรัฐบาล ของผู้ปกครอง เจตจำนงดังกล่าวต้องแสดงออกโดยการเลือกตั้งอันสุจริต ซึ่งจัดขึ้นเป็นครั้งคราวตามกำหนดเวลา ด้วยการลงคะแนนเสียงอย่างทั่วถึง โดยถือหลักคนละหนึ่งเสียงเท่านั้น ด้วยกระทำเป็นการลับด้วยวิธีการต่างๆ เพื่อที่จะประกันให้การลงคะแนนเสียงเลือกตั้งเป็นไปโดยเสรี"
การเลือกตั้งยังมีนัยสำคัญในสองแง่มุม กล่าวคือ ส่วนแรก การเลือกตั้งในแง่มุมของปรัชญา และส่วนที่สอง การเลือกตั้งในแง่มุมของกฎหมาย
การเลือกตั้งในแง่มุมของปรัชญา สามารถพิจารณาได้เป็น 3 ประการ ได้แก่
ประการแรก การลงคะแนนเสียงเลือกตั้งมีสภาพเป็นสิทธิตามธรรมชาติ มาจากแนวคิดที่ว่า สิทธิเลือกตั้งเป็นสิทธิตามธรรมชาติที่ติดตัวมากับบุคคลในฐานะที่บุคคลเป็นหน่วยหนึ่งของรัฐ เพราะบุคคลย่อมเสมอภาคกัน อันเป็นลักษณะตามธรรมชาติของมนุษย์ หากบุคคลเป็นผู้บรรลุนิติภาวะ มีวุฒิภาวะ และไม่มีลักษณะต้องห้ามแล้ว ก็ย่อมจะมีสิทธิในการลงคะแนนเลือกตั้ง
ประการที่สอง การลงคะแนนเสียงเลือกตั้งมีสภาพเป็นภารกิจสาธารณะ มาจากแนวคิดที่ว่าความก้าวหน้าของสังคมย่อมขึ้นอยู่กับการปฏิบัติการของบุคคลให้เป็นไปตามหน้าที่อย่างชาญฉลาด ดังนั้น การให้สิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้งแก่บุคคล จึงจำกัดเฉพาะบุคคลที่มีความเหมาะสมและสามารถปฏิบัติหน้าที่ด้วยดีเท่านั้น การดำเนินการตามแนวคิดนี้ บุคคลอาจถูกจำกัดสิทธิในการลงคะแนนได้เสมอ หากเมื่อปรากฏว่าบุคคลนั้นเข้าลักษณะที่ไม่สามารถใช้สิทธิเลือกตั้งได้อย่างถูกต้อง
ประการที่สาม การลงคะแนนเสียงเลือกตั้งมีสภาพเป็นสิทธิคัดค้านการกระทำ มาจากแนวคิดที่ว่าผู้ออกเสียงเลือกตั้งที่ลงคะแนนเพื่อคัดค้านการกระทำหรือนโยบายของรัฐบาลรวมทั้ง เจ้าหน้าที่ทางราชการผู้ใดก็จะไม่ลงคะแนนสนับสนุนพรรคการเมืองหรือผู้สมัครรับเลือกตั้งซึ่งเป็นฝ่ายรัฐบาลหรือเจ้าหน้าที่ทางราชการนั้นๆ ตรงข้ามผู้ออกเสียงเลือกตั้งก็จะลงคะแนนให้กับผู้สมัครรับเลือกตั้ง หรือพรรคการเมืองที่ตรงกันข้ามกับผู้สมัครรับเลือกตั้งที่สังกัดพรรครัฐบาลหรือพรรคร่วมรัฐบาล
สำหรับ การเลือกตั้งในแง่มุมของกฎหมาย ก็สามารถพิจารณาออกได้เป็น 3 ประการเช่นเดียวกันได้แก่
ประการแรก การเลือกตั้งในฐานะที่เป็นสิทธิ (rights) หมายความว่า ความสามารถที่แต่ละบุคคลกระทำได้ ภายใต้การยอมรับของกฎหมาย สิทธิจึงเป็นสิ่งที่มีอยู่ในปัจเจกบุคคลแต่ละคน และกฎหมายให้การรับรอง หากถูกละเมิด กฎหมายจะให้การคุ้มครอง การลงคะแนนเสียงเลือกตั้งถือเป็นสิทธิที่สำคัญประการหนึ่งที่รัฐจะให้การคุ้มครอง
ประการที่สอง การเลือกตั้งในฐานะที่เป็นเอกสิทธิ์ (priviledge) หมายความว่า การที่บุคคลได้มาซึ่งเสรีภาพที่จะไม่ให้บุคคลอื่นแทรกสอดเข้ามาเกี่ยวข้องได้ การออกเสียงลงคะแนนจึงถือเป็นเอกสิทธิ์ที่ผู้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งมีความเป็นอิสระที่จะเลือกกระทำการอย่างใดก็ได้ ที่ได้รับการยอมรับจากกฎหมาย ปราศจากการแทรกแซงหรือเกี่ยวข้องของบุคคลอื่นเป็นสำคัญ
ประการที่สาม การเลือกตั้งในฐานะที่เป็นหน้าที่ (duty) หมายความว่า การที่บุคคลจำเป็นต้องกระทำหรืองดเว้นการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่ง การลงคะแนนเสียงเลือกตั้งมีสภาพเป็นหน้าที่ก็ต่อเมื่อ กฎหมายได้ระบุหรือบังคับให้ผู้ออกเสียงลงคะแนนไปใช้สิทธิออกเสียงเลือกตั้ง
หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง กฎหมายได้ระบุหรือบังคับว่าการใช้สิทธิออกเสียงเลือกตั้งถือเป็นหน้าที่อย่างหนึ่งที่ต้องกระทำ การลงคะแนนเสียงเลือกตั้งจึงเป็นหน้าที่อย่างหนึ่งในทางการเมืองที่บังคับโดยกฎหมาย
นอกจากนั้น การเลือกตั้งในระบอบประชาธิปไตยยังมีหลักเกณฑ์ที่เป็นแกนกลางที่ประเทศประชาธิปไตยทั่วโลกยอมรับกันโดยทั่วไป ได้แก่
ประการแรก หลักอิสระแห่งการเลือกตั้ง (freedom of election) หมายถึง การให้ความเป็นอิสระต่อการออกเสียงเลือกตั้ง โดยมิให้มีการขู่บังคับให้การเลือกตั้งถูกบิดเบือนไปจากเจตจำนงอันแท้จริงของผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้ง การลงคะแนนเสียงเลือกตั้งของประชาชนยังเป็นเอกสิทธิ์ของผู้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งโดยเด็ดขาด ดังนั้นจึงต้องมีการกำหนดให้มีการลงคะแนนที่เป็นความลับ เพื่อให้ประชาชนสามารถลงคะแนนได้อย่างอิสระ ปราศจากอิทธิพล อามิสสินจ้างหรือการข่มขู่ใดๆ อีกด้วย
ประการที่สอง หลักการเลือกตั้งตามกำหนดเวลา (periodic election) หมายความว่า การเลือกตั้งจะต้องมีการกำหนดเวลาไว้อย่างชัดเจนแน่นอน อาทิ การกำหนดให้มีการเลือกตั้งโดยปกติทุก 4 ปีหรือทุก 5 ปี เป็นต้น
ประการที่สาม หลักการเลือกตั้งอย่างแท้จริง (genuine election) หมายถึง การดำเนินการให้การเลือกตั้งเป็นไปโดยบริสุทธิ์ยุติธรรม รัฐบาลจะต้องถือเป็นหน้าที่สำคัญที่จะต้องป้องกันมิให้มีการคดโกงในการเลือกตั้งเกิดขึ้นได้ รวมทั้งอาจให้องค์กรที่เป็นกลางทำหน้าที่เป็นผู้จัดการเลือกตั้ง โดยเปิดโอกาสให้มีการคัดค้านการเลือกตั้งได้ เมื่อเห็นว่าการเลือกตั้งนั้นมิได้เป็นไปโดยบริสุทธิ์ยุติธรรมอย่างแท้จริง
ประการที่สี่ หลักการออกเสียงทั่วถึง (universal suffrage) หมายถึง การเปิดโอกาสให้มีการออกเสียงเลือกตั้งอย่างทั่วถึงแก่ประชาชนทุกหมู่เหล่า เว้นแต่ในกรณีที่มีข้อจำกัดอันเป็นที่รับรองหรือยอมรับกันโดยทั่วไป อาทิ การไม่อนุญาตสิทธิเลือกตั้งให้แก่เด็ก ภิกษุ สามเณร นักพรต นักบวช บุคคลวิกลจริต หรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ หรือผู้ที่ต้องคุมขังอยู่โดยหมายของศาล เป็นต้น
และ ประการที่ห้า หลักการเลือกตั้งอย่างเสมอภาค (equal suffrage) หมายความว่า บุคคลผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งย่อมมีสิทธิคนละหนึ่งเสียงเท่าเทียมกัน และคะแนนเสียงทุกคะแนนมีน้ำหนักเท่ากัน
ดังนั้น อาจกล่าวได้อย่างเต็มปากเต็มคำได้ว่า การเลือกตั้งเป็นการเลือกรัฐบาลที่จะมาทำการปกครอง ขณะเดียวกัน การเลือกตั้งก็อาจเป็นเสมือน "ห้ามล้อ" ของการปกครองได้เช่นเดียวกัน เพราะผู้เลือกตั้งอาจจะไม่เลือกผู้ที่เคยเป็นรัฐบาล
กระบวนการเลือกตั้งจึงเป็นทั้งการนำมาซึ่งการจัดตั้งรัฐบาลและจำกัดการกระทำของรัฐบาลไปด้วยในขณะเดียวกัน
สำหรับการเลือกตั้งในประเทศไทยหลังการปฏิรูปการเมืองเมื่อ พ.ศ.2540 เป็นต้นมา ถือได้ว่ามีทั้งความก้าวหน้าและความล้าหลังไปในขณะเดียวกัน กล่าวคือ
ประการแรก การมีคณะกรรมการการเลือกตั้งที่เป็นอิสระ เป็นกลาง ทำหน้าที่บริหารจัดการเลือกตั้งให้เกิดความบริสุทธิ์ยุติธรรมถือเป็นความก้าวหน้าของการปฏิรูปการเมือง
แต่ขณะเดียวกันก็เกิดความล้าหลัง ได้แก่ ความไร้ประสิทธิภาพของคณะกรรมการการเลือกตั้ง ที่ไม่สามารถจัดการเลือกตั้งให้เกิดความบริสุทธิ์ยุติธรรมได้
มิหนำซ้ำยังมีปรากฏการณ์ของการทุจริตในการเลือกตั้ง การซื้อสิทธิขายเสียงที่แพร่ระบาดมากขึ้น ประกอบกับการขาดความสามารถในการควบคุมการใช้จ่ายเงินในการหาเสียงเลือกตั้งให้เป็นไปตามที่กำหนด ได้นำไปสู่ความไม่เสมอภาคในการเลือกตั้งและเปิดโอกาสให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งบางคนหรือพรรคการเมืองบางพรรคได้เปรียบในการแข่งขัน ในการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง
ประการที่สอง กฎหมายเลือกตั้งที่สะท้อนหลักปรัชญาของการเลือกตั้ง คือ เมื่อมีการกำหนดให้ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งมีหน้าที่ต้องไปเลือกตั้งแล้ว ก็ต้องเปิดโอกาสให้ประชาชนมีสิทธิที่จะปฏิเสธผู้สมัครรับเลือกตั้งทุกคน หรือพรรคการเมืองทุกพรรคที่เขาไม่ชอบได้เช่นเดียวกัน
ดังนั้น ในบัตรเลือกตั้งที่มีการเปิดโอกาสให้ประชาชนสามารถกาเครื่องหมายในช่องที่ไม่ลงคะแนนให้แก่ผู้สมัครรับเลือกตั้งในระบบแบ่งเขตเลือกตั้ง และในช่องที่ไม่ลงคะแนนให้แก่พรรคการเมืองใดเลยในระบบบัญชีรายชื่อหรือเรียกกันสั้นๆ ว่าเป็นการ "Vote No" จึงเป็นการสะท้อนหลักปรัชญาของการเลือกตั้งที่แสดงถึงสิทธิในการคัดค้านการกระทำของนักการเมืองและพรรคการเมืองต่างๆ ได้เป็นอย่างดี ซึ่งนับเป็นความก้าวหน้าของกฎหมายเลือกตั้ง
ในขณะเดียวกันความล้าหลังที่เกิดขึ้นก็คือ การเขียนกฎหมายที่ไม่ครบถ้วนหรือไม่สมบูรณ์ ว่าในกรณีการเลือกตั้งทั้งในระบบแบ่งเขตเลือกตั้งหรือระบบบัญชีรายชื่อ ในกรณีที่เสียงของผู้ใช้สิทธิคัดค้านหรือ "Vote No" มีจำนวนสูงสุดมากกว่าผู้ที่ "Vote Yes" ผลลัพธ์ควรจะเป็นอย่างไร ควรจะต้องจัดการเลือกตั้งซ้ำใหม่หรือไม่ และจะต้องมีการนำเสนอผู้สมัครรับเลือกตั้งใหม่หรือไม่ อย่างไร
อย่างไรก็ตาม การ "Vote No" ที่แสดงถึงการไม่ลงคะแนนให้แก่ผู้สมัครรายใดเลย หรือพรรคการเมืองใดเลยนั้น ผลลัพธ์ในทางการเมืองที่จะเกิดขึ้นและสมควรจะต้องนำไปพิจารณาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ก็คือ
ประการแรก เป็นการสะท้อนสิทธิของการคัดค้านของประชาชน ซึ่งหมายถึงการสะท้อนถึงหลักปรัชญาของการเลือกตั้ง อันจะมีผลต่อความชอบธรรมของระบบการเมือง พรรคการเมืองหรือนักการเมืองได้เป็นอย่างดี
ประการที่สอง ในกรณีที่เสียง "Vote No" มีจำนวนมากที่สุดหรือเป็นเสียงข้างมาก ย่อมสะท้อนถึงหลักการปกครองโดยเสียงข้างมากที่เป็นหลักการสำคัญของการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตย แม้รัฐธรรมนูญและกฎหมายเลือกตั้งจะไม่ได้รองรับในประเด็นดังกล่าวไว้ก็ตาม แต่ในหลักปรัชญาของระบอบประชาธิปไตยแล้ว รัฐบาลหรือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่จะเกิดขึ้นจากเสียงข้างน้อยย่อมขาดความชอบธรรมในการปกครองโดยทันที
ประการที่สาม ในกรณีที่เสียง "Vote No" มีจำนวนน้อยจะจำนวนเท่าใดก็ตาม หลักการของระบอบประชาธิปไตย สิทธิของเสียงข้างน้อยย่อมจะต้องได้รับการพิทักษ์คุ้มครองหรือให้ความเคารพ เสียงส่วนใหญ่ย่อมต้องรับฟังเสียงข้างน้อยด้วยเช่นกัน
กล่าวโดยสรุป เสียง "Vote No" เป็นสิ่งที่มีคุณค่าต่อการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยเป็นอย่างยิ่ง เป็นสิ่งที่จะนำไปสู่การปฏิรูปการเมืองครั้งใหม่ เพื่อแก้ไขปัญหาการเมือง "น้ำเน่า" ที่ยังหมักหมมอยู่ในระบบสังคมการเมืองไทย
และหากไม่รีบดำเนินการตอบสนองต่อเสียงเรียกร้องดังกล่าวนี้ การเมืองไทยจะนำบ้านเมืองเข้าสู่กลียุค และการแก้ไขปัญหาด้วยความรุนแรงอย่างหลีกเลี่ยงมิได้
โดย ศาสตราจารย์ ดร.ธีรภัทร์ เสรีรังสรรค์
ศาสตราจารย์ประจำสาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
10 มิถุนายน 2554
การเลือกตั้งเป็นหัวใจของระบอบประชาธิปไตยสมัยใหม่ เพราะเป็นกลไกสำคัญสำหรับพลเมือง ที่จะเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการทางการเมืองโดยตรง และสามารถกำหนดได้ว่าใครจะเข้ามาทำหน้าที่ในการปกครองในระยะเวลาจำกัด ซึ่งโดยปกติอยู่ในระยะเวลา 4 ปี หรือ 5 ปี
หรืออาจกล่าวได้ว่า การเลือกตั้งในระบอบประชาธิปไตยเป็นกระบวนการทางการเมืองที่สำคัญยิ่ง ในการถ่ายโอนอำนาจอธิปไตยของประชาชนไปให้ตัวแทนทำหน้าที่ใช้แทนประชาชน
อย่างไรก็ตาม จะต้องพิจารณาด้วยว่าการเลือกตั้งดังกล่าวนั้นเป็นไปโดยสุจริตเที่ยงธรรม สะท้อนเจตนารมณ์ของประชาชนได้อย่างแท้จริงมากน้อยเพียงไร หากสิทธิและเสรีภาพในการออกเสียงลงคะแนนเลือกตั้งเป็นเครื่องกำหนดที่มาของขอบเขตและอำนาจขององค์การทางการเมืองได้อย่างแท้จริงแล้ว สิทธิและเสรีภาพนั้นก็มีความสำคัญทางการเมือง
ตรงข้ามถ้าการเลือกตั้งเป็นไปในทิศทางของการผูกขาด เอารัดเอาเปรียบ หลอกลวง หรืออยุติธรรมแล้ว ความสำคัญของสิทธิและเสรีภาพของการเลือกตั้งก็จะหมดไป
การเลือกตั้งในระบอบประชาธิปไตยในทรรศนะของนักวิชาการมีความหมายไม่แตกต่างกันมากนัก ส่วนใหญ่มองว่าการเลือกตั้งเป็นการต่อสู้แข่งขันในการรณรงค์เพื่อชัยชนะ ในการดำรงตำแหน่งทางการเมือง ให้เกิดตามความคาดหวังอันเป็นที่พึงพอใจ
หรือ การเลือกตั้ง หมายถึง กระบวนการทางการเมืองรูปแบบหนึ่งที่แสดงถึงการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนผู้เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย โดยการใช้สิทธิออกเสียงเลือกตั้งผู้แทนของตนเข้าไปทำหน้าที่ในการปกครองประเทศและตัดสินใจในนโยบายสาธารณะที่มีผลกระทบต่อประชาชน
จากความหมายดังกล่าวข้างต้น การเลือกตั้งในระบอบประชาธิปไตยที่พึงปรารถนาจึงจำเป็นต้องมีลักษณะที่สำคัญอย่างน้อย 3 ประการ ได้แก่
ประการแรก ผู้สมัครรับเลือกตั้งต้องมีหลายคน หรือมีบัญชีรายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งหลายบัญชี (ในกรณีที่มีกฎหมายกำหนดให้เลือกตั้งตามบัญชีรายชื่อ) หากมีผู้สมัครรับเลือกตั้งเพียงคนเดียว หรือมีบัญชีรายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งเพียงบัญชีเดียว ย่อมไม่ถือว่าเป็นการเลือกตั้งที่พึงปรารถนา
ประการที่สอง ผู้มีสิทธิเลือกตั้งต้องมีเสรีภาพบริบูรณ์ที่จะเลือกหรือไม่เลือกผู้สมัครคนใดคนหนึ่ง หรือบัญชีรายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งบัญชีใดบัญชีหนึ่ง ฉะนั้น หากมีการบังคับให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งลงคะแนนเสียงให้ผู้สมัครคนใดคนหนึ่งหรือบัญชีรายชื่อบัญชีใดบัญชีหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นการบังคับโดยทางตรงหรือโดยทางอ้อม ย่อมถือว่าไม่ใช่การเลือกตั้งที่พึงปรารถนา
และ ประการที่สาม ผู้มีสิทธิเลือกตั้งมีสิทธิและเสรีภาพที่จะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับบุคคลอื่น และมีโอกาสที่จะทราบความคิดเห็นรวมทั้งข้อมูลข่าวสารของผู้สมัครรับเลือกตั้งได้ก่อนการตัดสินใจเลือก ทั้งนี้ เพื่อให้การเลือกตั้งถูกต้องตามความเป็นจริงที่แต่ละคนชอบ
ฉะนั้น การเลือกตั้งที่ขาดเสรีภาพในการรับฟังความคิดเห็น จึงย่อมไม่ใช่การเลือกตั้งที่พึงปรารถนา
การออกเสียงเลือกตั้งจึงเป็นสิทธิขั้นมูลฐานของมนุษย์ โดยเฉพาะในสังคมประชาธิปไตย ดังปรากฏในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ข้อ 21(1) ความว่า "เจตจำนงของประชาชนย่อมเป็นมูลฐานแห่งอำนาจของรัฐบาล ของผู้ปกครอง เจตจำนงดังกล่าวต้องแสดงออกโดยการเลือกตั้งอันสุจริต ซึ่งจัดขึ้นเป็นครั้งคราวตามกำหนดเวลา ด้วยการลงคะแนนเสียงอย่างทั่วถึง โดยถือหลักคนละหนึ่งเสียงเท่านั้น ด้วยกระทำเป็นการลับด้วยวิธีการต่างๆ เพื่อที่จะประกันให้การลงคะแนนเสียงเลือกตั้งเป็นไปโดยเสรี"
การเลือกตั้งยังมีนัยสำคัญในสองแง่มุม กล่าวคือ ส่วนแรก การเลือกตั้งในแง่มุมของปรัชญา และส่วนที่สอง การเลือกตั้งในแง่มุมของกฎหมาย
การเลือกตั้งในแง่มุมของปรัชญา สามารถพิจารณาได้เป็น 3 ประการ ได้แก่
ประการแรก การลงคะแนนเสียงเลือกตั้งมีสภาพเป็นสิทธิตามธรรมชาติ มาจากแนวคิดที่ว่า สิทธิเลือกตั้งเป็นสิทธิตามธรรมชาติที่ติดตัวมากับบุคคลในฐานะที่บุคคลเป็นหน่วยหนึ่งของรัฐ เพราะบุคคลย่อมเสมอภาคกัน อันเป็นลักษณะตามธรรมชาติของมนุษย์ หากบุคคลเป็นผู้บรรลุนิติภาวะ มีวุฒิภาวะ และไม่มีลักษณะต้องห้ามแล้ว ก็ย่อมจะมีสิทธิในการลงคะแนนเลือกตั้ง
ประการที่สอง การลงคะแนนเสียงเลือกตั้งมีสภาพเป็นภารกิจสาธารณะ มาจากแนวคิดที่ว่าความก้าวหน้าของสังคมย่อมขึ้นอยู่กับการปฏิบัติการของบุคคลให้เป็นไปตามหน้าที่อย่างชาญฉลาด ดังนั้น การให้สิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้งแก่บุคคล จึงจำกัดเฉพาะบุคคลที่มีความเหมาะสมและสามารถปฏิบัติหน้าที่ด้วยดีเท่านั้น การดำเนินการตามแนวคิดนี้ บุคคลอาจถูกจำกัดสิทธิในการลงคะแนนได้เสมอ หากเมื่อปรากฏว่าบุคคลนั้นเข้าลักษณะที่ไม่สามารถใช้สิทธิเลือกตั้งได้อย่างถูกต้อง
ประการที่สาม การลงคะแนนเสียงเลือกตั้งมีสภาพเป็นสิทธิคัดค้านการกระทำ มาจากแนวคิดที่ว่าผู้ออกเสียงเลือกตั้งที่ลงคะแนนเพื่อคัดค้านการกระทำหรือนโยบายของรัฐบาลรวมทั้ง เจ้าหน้าที่ทางราชการผู้ใดก็จะไม่ลงคะแนนสนับสนุนพรรคการเมืองหรือผู้สมัครรับเลือกตั้งซึ่งเป็นฝ่ายรัฐบาลหรือเจ้าหน้าที่ทางราชการนั้นๆ ตรงข้ามผู้ออกเสียงเลือกตั้งก็จะลงคะแนนให้กับผู้สมัครรับเลือกตั้ง หรือพรรคการเมืองที่ตรงกันข้ามกับผู้สมัครรับเลือกตั้งที่สังกัดพรรครัฐบาลหรือพรรคร่วมรัฐบาล
สำหรับ การเลือกตั้งในแง่มุมของกฎหมาย ก็สามารถพิจารณาออกได้เป็น 3 ประการเช่นเดียวกันได้แก่
ประการแรก การเลือกตั้งในฐานะที่เป็นสิทธิ (rights) หมายความว่า ความสามารถที่แต่ละบุคคลกระทำได้ ภายใต้การยอมรับของกฎหมาย สิทธิจึงเป็นสิ่งที่มีอยู่ในปัจเจกบุคคลแต่ละคน และกฎหมายให้การรับรอง หากถูกละเมิด กฎหมายจะให้การคุ้มครอง การลงคะแนนเสียงเลือกตั้งถือเป็นสิทธิที่สำคัญประการหนึ่งที่รัฐจะให้การคุ้มครอง
ประการที่สอง การเลือกตั้งในฐานะที่เป็นเอกสิทธิ์ (priviledge) หมายความว่า การที่บุคคลได้มาซึ่งเสรีภาพที่จะไม่ให้บุคคลอื่นแทรกสอดเข้ามาเกี่ยวข้องได้ การออกเสียงลงคะแนนจึงถือเป็นเอกสิทธิ์ที่ผู้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งมีความเป็นอิสระที่จะเลือกกระทำการอย่างใดก็ได้ ที่ได้รับการยอมรับจากกฎหมาย ปราศจากการแทรกแซงหรือเกี่ยวข้องของบุคคลอื่นเป็นสำคัญ
ประการที่สาม การเลือกตั้งในฐานะที่เป็นหน้าที่ (duty) หมายความว่า การที่บุคคลจำเป็นต้องกระทำหรืองดเว้นการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่ง การลงคะแนนเสียงเลือกตั้งมีสภาพเป็นหน้าที่ก็ต่อเมื่อ กฎหมายได้ระบุหรือบังคับให้ผู้ออกเสียงลงคะแนนไปใช้สิทธิออกเสียงเลือกตั้ง
หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง กฎหมายได้ระบุหรือบังคับว่าการใช้สิทธิออกเสียงเลือกตั้งถือเป็นหน้าที่อย่างหนึ่งที่ต้องกระทำ การลงคะแนนเสียงเลือกตั้งจึงเป็นหน้าที่อย่างหนึ่งในทางการเมืองที่บังคับโดยกฎหมาย
นอกจากนั้น การเลือกตั้งในระบอบประชาธิปไตยยังมีหลักเกณฑ์ที่เป็นแกนกลางที่ประเทศประชาธิปไตยทั่วโลกยอมรับกันโดยทั่วไป ได้แก่
ประการแรก หลักอิสระแห่งการเลือกตั้ง (freedom of election) หมายถึง การให้ความเป็นอิสระต่อการออกเสียงเลือกตั้ง โดยมิให้มีการขู่บังคับให้การเลือกตั้งถูกบิดเบือนไปจากเจตจำนงอันแท้จริงของผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้ง การลงคะแนนเสียงเลือกตั้งของประชาชนยังเป็นเอกสิทธิ์ของผู้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งโดยเด็ดขาด ดังนั้นจึงต้องมีการกำหนดให้มีการลงคะแนนที่เป็นความลับ เพื่อให้ประชาชนสามารถลงคะแนนได้อย่างอิสระ ปราศจากอิทธิพล อามิสสินจ้างหรือการข่มขู่ใดๆ อีกด้วย
ประการที่สอง หลักการเลือกตั้งตามกำหนดเวลา (periodic election) หมายความว่า การเลือกตั้งจะต้องมีการกำหนดเวลาไว้อย่างชัดเจนแน่นอน อาทิ การกำหนดให้มีการเลือกตั้งโดยปกติทุก 4 ปีหรือทุก 5 ปี เป็นต้น
ประการที่สาม หลักการเลือกตั้งอย่างแท้จริง (genuine election) หมายถึง การดำเนินการให้การเลือกตั้งเป็นไปโดยบริสุทธิ์ยุติธรรม รัฐบาลจะต้องถือเป็นหน้าที่สำคัญที่จะต้องป้องกันมิให้มีการคดโกงในการเลือกตั้งเกิดขึ้นได้ รวมทั้งอาจให้องค์กรที่เป็นกลางทำหน้าที่เป็นผู้จัดการเลือกตั้ง โดยเปิดโอกาสให้มีการคัดค้านการเลือกตั้งได้ เมื่อเห็นว่าการเลือกตั้งนั้นมิได้เป็นไปโดยบริสุทธิ์ยุติธรรมอย่างแท้จริง
ประการที่สี่ หลักการออกเสียงทั่วถึง (universal suffrage) หมายถึง การเปิดโอกาสให้มีการออกเสียงเลือกตั้งอย่างทั่วถึงแก่ประชาชนทุกหมู่เหล่า เว้นแต่ในกรณีที่มีข้อจำกัดอันเป็นที่รับรองหรือยอมรับกันโดยทั่วไป อาทิ การไม่อนุญาตสิทธิเลือกตั้งให้แก่เด็ก ภิกษุ สามเณร นักพรต นักบวช บุคคลวิกลจริต หรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ หรือผู้ที่ต้องคุมขังอยู่โดยหมายของศาล เป็นต้น
และ ประการที่ห้า หลักการเลือกตั้งอย่างเสมอภาค (equal suffrage) หมายความว่า บุคคลผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งย่อมมีสิทธิคนละหนึ่งเสียงเท่าเทียมกัน และคะแนนเสียงทุกคะแนนมีน้ำหนักเท่ากัน
ดังนั้น อาจกล่าวได้อย่างเต็มปากเต็มคำได้ว่า การเลือกตั้งเป็นการเลือกรัฐบาลที่จะมาทำการปกครอง ขณะเดียวกัน การเลือกตั้งก็อาจเป็นเสมือน "ห้ามล้อ" ของการปกครองได้เช่นเดียวกัน เพราะผู้เลือกตั้งอาจจะไม่เลือกผู้ที่เคยเป็นรัฐบาล
กระบวนการเลือกตั้งจึงเป็นทั้งการนำมาซึ่งการจัดตั้งรัฐบาลและจำกัดการกระทำของรัฐบาลไปด้วยในขณะเดียวกัน
สำหรับการเลือกตั้งในประเทศไทยหลังการปฏิรูปการเมืองเมื่อ พ.ศ.2540 เป็นต้นมา ถือได้ว่ามีทั้งความก้าวหน้าและความล้าหลังไปในขณะเดียวกัน กล่าวคือ
ประการแรก การมีคณะกรรมการการเลือกตั้งที่เป็นอิสระ เป็นกลาง ทำหน้าที่บริหารจัดการเลือกตั้งให้เกิดความบริสุทธิ์ยุติธรรมถือเป็นความก้าวหน้าของการปฏิรูปการเมือง
แต่ขณะเดียวกันก็เกิดความล้าหลัง ได้แก่ ความไร้ประสิทธิภาพของคณะกรรมการการเลือกตั้ง ที่ไม่สามารถจัดการเลือกตั้งให้เกิดความบริสุทธิ์ยุติธรรมได้
มิหนำซ้ำยังมีปรากฏการณ์ของการทุจริตในการเลือกตั้ง การซื้อสิทธิขายเสียงที่แพร่ระบาดมากขึ้น ประกอบกับการขาดความสามารถในการควบคุมการใช้จ่ายเงินในการหาเสียงเลือกตั้งให้เป็นไปตามที่กำหนด ได้นำไปสู่ความไม่เสมอภาคในการเลือกตั้งและเปิดโอกาสให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งบางคนหรือพรรคการเมืองบางพรรคได้เปรียบในการแข่งขัน ในการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง
ประการที่สอง กฎหมายเลือกตั้งที่สะท้อนหลักปรัชญาของการเลือกตั้ง คือ เมื่อมีการกำหนดให้ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งมีหน้าที่ต้องไปเลือกตั้งแล้ว ก็ต้องเปิดโอกาสให้ประชาชนมีสิทธิที่จะปฏิเสธผู้สมัครรับเลือกตั้งทุกคน หรือพรรคการเมืองทุกพรรคที่เขาไม่ชอบได้เช่นเดียวกัน
ดังนั้น ในบัตรเลือกตั้งที่มีการเปิดโอกาสให้ประชาชนสามารถกาเครื่องหมายในช่องที่ไม่ลงคะแนนให้แก่ผู้สมัครรับเลือกตั้งในระบบแบ่งเขตเลือกตั้ง และในช่องที่ไม่ลงคะแนนให้แก่พรรคการเมืองใดเลยในระบบบัญชีรายชื่อหรือเรียกกันสั้นๆ ว่าเป็นการ "Vote No" จึงเป็นการสะท้อนหลักปรัชญาของการเลือกตั้งที่แสดงถึงสิทธิในการคัดค้านการกระทำของนักการเมืองและพรรคการเมืองต่างๆ ได้เป็นอย่างดี ซึ่งนับเป็นความก้าวหน้าของกฎหมายเลือกตั้ง
ในขณะเดียวกันความล้าหลังที่เกิดขึ้นก็คือ การเขียนกฎหมายที่ไม่ครบถ้วนหรือไม่สมบูรณ์ ว่าในกรณีการเลือกตั้งทั้งในระบบแบ่งเขตเลือกตั้งหรือระบบบัญชีรายชื่อ ในกรณีที่เสียงของผู้ใช้สิทธิคัดค้านหรือ "Vote No" มีจำนวนสูงสุดมากกว่าผู้ที่ "Vote Yes" ผลลัพธ์ควรจะเป็นอย่างไร ควรจะต้องจัดการเลือกตั้งซ้ำใหม่หรือไม่ และจะต้องมีการนำเสนอผู้สมัครรับเลือกตั้งใหม่หรือไม่ อย่างไร
อย่างไรก็ตาม การ "Vote No" ที่แสดงถึงการไม่ลงคะแนนให้แก่ผู้สมัครรายใดเลย หรือพรรคการเมืองใดเลยนั้น ผลลัพธ์ในทางการเมืองที่จะเกิดขึ้นและสมควรจะต้องนำไปพิจารณาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ก็คือ
ประการแรก เป็นการสะท้อนสิทธิของการคัดค้านของประชาชน ซึ่งหมายถึงการสะท้อนถึงหลักปรัชญาของการเลือกตั้ง อันจะมีผลต่อความชอบธรรมของระบบการเมือง พรรคการเมืองหรือนักการเมืองได้เป็นอย่างดี
ประการที่สอง ในกรณีที่เสียง "Vote No" มีจำนวนมากที่สุดหรือเป็นเสียงข้างมาก ย่อมสะท้อนถึงหลักการปกครองโดยเสียงข้างมากที่เป็นหลักการสำคัญของการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตย แม้รัฐธรรมนูญและกฎหมายเลือกตั้งจะไม่ได้รองรับในประเด็นดังกล่าวไว้ก็ตาม แต่ในหลักปรัชญาของระบอบประชาธิปไตยแล้ว รัฐบาลหรือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่จะเกิดขึ้นจากเสียงข้างน้อยย่อมขาดความชอบธรรมในการปกครองโดยทันที
ประการที่สาม ในกรณีที่เสียง "Vote No" มีจำนวนน้อยจะจำนวนเท่าใดก็ตาม หลักการของระบอบประชาธิปไตย สิทธิของเสียงข้างน้อยย่อมจะต้องได้รับการพิทักษ์คุ้มครองหรือให้ความเคารพ เสียงส่วนใหญ่ย่อมต้องรับฟังเสียงข้างน้อยด้วยเช่นกัน
กล่าวโดยสรุป เสียง "Vote No" เป็นสิ่งที่มีคุณค่าต่อการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยเป็นอย่างยิ่ง เป็นสิ่งที่จะนำไปสู่การปฏิรูปการเมืองครั้งใหม่ เพื่อแก้ไขปัญหาการเมือง "น้ำเน่า" ที่ยังหมักหมมอยู่ในระบบสังคมการเมืองไทย
และหากไม่รีบดำเนินการตอบสนองต่อเสียงเรียกร้องดังกล่าวนี้ การเมืองไทยจะนำบ้านเมืองเข้าสู่กลียุค และการแก้ไขปัญหาด้วยความรุนแรงอย่างหลีกเลี่ยงมิได้
app vote no
ไปยังลิงค์ http://www.pikanes.com ครับ ถ้าจะดาวน์โหลด
มีทั้งแอป ไอแพด และ วินโดว์
ปล. ผมไม่ได้เป็นคนทำนะครับ ผมไปเจอมาในไอแพด ขอปรบมือให้ผู้ทำนะครับ และขอบคุณมากๆครับ ผมโหลดแล้ว ยังไงถ้าผ่านมาเจอคอมเม้นแสดงตัวไว้หน่อยนะครับ!!!
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)
รีโมท
ซื้อ รีโมท จากผู้ค้าส่งโดยตรง ที่มีหน้าร้านจริง ที่ บ้านหม้อ และ คลองถม ราคาถูกกว่าใคร ปลอดภัย มีรับประกัน