รัฐบาล
หุ่นเชิดระบอบทักษิณภายใต้การนำของนายกฯนกแก้ว ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
ดูเหมือนจะลุแก่อำนาจมากขึ้นทุกขณะถึงกับปฏิบัติการแอบหักดิบอย่างสายฟ้าแล่
บเมื่อคณะรัฐมนตรีนัดล่าสุดเห็นชอบร่างพระราชกำหนด(พรก.)4
ฉบับซึ่งมีสาระสำคัญให้โอนภาระหนี้ก้อนโตกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการ
เงินมูลค่า 1,1
ล้านล้านบาทซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของรัฐบาลไปเป็นภาระของธนาคารแห่งประเทศ
ไทย(ธปท.)
ขณะเดียวกันก็เปิดทางให้ฝ่ายการเมืองเข้าไปควบคุมธปท.อันเป็นธนาคารกลางซึ่ง
ปกติเป็นหน่วยงานอิสระที่รักษาผลประโยชน์ของชาติและปลอดจากอิทธิพลทางการ
เมือง การโยนภาระหนี้กองทุนฟื้นฟูฯ 1.1 ล้านล้านบาทไปให้ธปท.ครั้งนี้ถือความเป็นเคลื่อนไหวครั้งสำคัญที่จะส่งผลต่อ ความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจของประเทศ และถือเป็นการใช้เล่ห์เล่นแร่แปรธาตุและไม่ต่างอะไรจากการปล้นแบงค์ชาติ โดยทำให้ยอดหนี้สาธารณะของประเทศที่ขณะนี้มีอยู่ราว 41 % ของจีดีพีเหลือประมาณ 30 % อันเป็นการเปิดช่องให้รัฐบาลก่อหนี้สาธารณะและผลาญงบประมาณแผ่นดินได้อย่าง ย่ามใจแต็มปากเต็มคำ สำหรับปฏิบัติการหักดิบปล้นแบงก์ชาติครั้งนี้รายงานข่าวระบุว่าผู้ที่อยู่ เบื้องหลังแนวคิดนี้ก็คือ นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกฯและรมว.พาณิชย์ และ ดร.วีรพงษ์ รามางกูร อดีตรองนายกฯและอดีตรมว.คลัง ยุครัฐบาลทักษิณ พ.ร.ก.ของรัฐบาลที่คณะรัฐมนตรีเห็นชอบครั้งนี้ยังถือเป็นการเปิดช่องให้มี การปล้นคลังหลวงนั่นคือบัญชีทุนสำรองพิเศษ โดยกำหนดให้สามารถนำเงินที่เหลือในบัญชีผลประโยชน์ประจำปีไปใช้ได้ทันทีโดย ไม่ต้องส่งเข้าคลังหลวง ซึ่งผิดวัตถุประสงค์ของบูรพกษัตริย์รวมทั้งหลวงตามหาบัว พระอริยะสงฆ์ อดีตเจ้าอาวาสวัดป่าบ้านตาด จ.อุดรธานี ที่ต้องการให้คลังหลวงมีแต่งอกเงยไม่มีลดลงเพื่อไว้ใช้ในยามที่ชาติบ้าน เมืองเกิดวิกฤติจริงๆเท่านั้น ที่ผ่านมาบุรพกษัตริย์ได้ตั้งคลังหลวงและบริจาคทรัพย์ส่วนพระองค์เพื่อเป็น ทุนประเดิมคลังหลวงจนเวลาผ่านไปมูลค่าทรัพย์สินของคลังหลวงได้งอกเงยเพิ่ม ขึ้นตามลำดับ และล่าสุดหลังเกิดวิกฤติเศรษฐกิจต้มยำกุ้งเมื่อปี 2540 หลวงตามหาบัว ได้รณรงค์งานบุญเพื่อระดมหาเงินและทองคำหลายครั้งได้เงินและทองคำเป็นจำนวน มากเพื่อเป็นกองทุนกู้ชาติโดยมอบแก่ธปท.เพื่อเก็บไว้ในคลังหลวง ตั้งแต่อดีตที่ผ่านมาไม่เคยมีรัฐบาลชุดไหนที่ไร้สำนึกและถังแตกจนตรอกถึง ขนาดคิดผลาญคลังหลวง แต่รัฐบาลหุ่นเชิดระบอบทักษิณชุดนี้กลับปฏิบัติการหักดิบอย่างต่ำช้าไร้ ยางอายด้วยการคิดปล้นคลังหลวง นอกจากปฏิบัติการรุกคืบมุ่งเข้าแทรกแซงครอบงำธนาคารกลางของประเทศแล้ว รัฐบาลหุ่นเชิดระบอบทักษิณชุดนี้ยังเดินแผนอย่างเป็นระบบหมายคุมอำนาจยึด ครองประเทศให้ได้อย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด โดยทันทีที่เข้ามาเป็นรัฐบาลบริหารประเทศก็เริ่งล้างบางแต่งตั้งโยกย้าย ผู้นำระดับสูงในหน่วยราชการและรัฐวิสาหกิจที่สำคัญทั้งหมดแล้วผลักดันคนของ ตัวเองเข้าไปคุมอำนาจแทน โดยเฉพาะการผลักดัน พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์ พี่ชายของคุณหญิงพจมาน ณ ป้อมเพ็ชร (ชินวัตร)อดีตภรรยาของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ขึ้นเป็นผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ(ผบ.ตร.)คนใหม่เพื่อยึดอำนาจในองค์กรตำรวจ จนขณะนี้หน่วยงานหลักด้านความมั่นคงของชาติที่เหลืออยู่เพียงหน่วยงานเดียว ที่ระบอบทักษิณยังเข้ายึดอำนาจไม่สำเร็จก็คือกองทัพ อย่างไรก็ตามระบอบทักษิณยังคงพยายามอยุ่ตลอดเวลา ที่จะแก้ไขพ.ร.บ.จัดระเบียบบริหารราชการกระทรงกลาโหมเพื่อยึดอำนาจจากกองทัพ ให้ได้อย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด นอกจากนี้ระบอบทักษิณยังเดินหน้าแก้ไขรัฐธรรมนูญซึ่งนอกจากจะมีเป้าหมายแอบ แฝงเพื่อลบล้างโทษความผิดทั้งหมดให้กับ พ.ต.ท.ทักษิณ และเหล่าแกนนำคนเสื้อแดงที่เป็นผู้ต้องหาเผาบ้านทำลายเมืองแล้ว ยังมีแนวคิดที่จะบ่อนทำลายสถาบันหลักของชาติ โดยเฉพาะระบบศาลยุติธรรม และยกเลิกองค์กรอิสระต่างๆตามรัฐธรรมนูญ ขณะเดียวกันก็สร้างเงื่อนไขในรัฐธรรมนูญใหม่ให้ระบอบทักษิณกระชับอำนาจยึด ครองประเทศได้สะดวกง่ายดายขึ้นโดยไร้อุปสรรคขวากหนาม นี่คือสัญญาณรุกคืบตามแผนยึดครองทุกองคพายพของประเทศสู่ความเป็น"รัฐไทย ใหม่"โดยระบอบทักษิณที่กระชับเข้ามาทุกขณะเพราะแม้แต่ธนาคารแห่งชาติซึ่ง เป็นหน่วยงานอิสระที่ปลอดจากการเมืองมาแต่ไหนแต่ไรก็ยังถูกหักดิบอย่างเหิม เกริมลุแก่อำนาจ | |
.....แนวหน้าออนไลน์
|
วันศุกร์ที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2555
ระบอบทักษิณหักดับปล้นธปท. สัญญาณรุกคืบยึดประเทศ
แดง ข้อมูลด้านเดียว- เหลือง มองแดงรุนแรงทำเพื่อแม้ว
นักศึกษาสถาบันพระปกเกล้า หลักสูตรเสริมสร้างสังคมสันติสุข รุ่น 3 จำนวน 45 คน ได้ลงพื้นที่ จ.อุบลราชธานี เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2554 เพื่อรับฟังความเห็นของตัวแทนกลุ่มพันธมิตรฯ และตัวแทนกลุ่มคนเสื้อแดง อุบลราชธานี พร้อมทั้งลงพื้นที่ “ราชธานีอโศก” และ “หมู่บ้านเสื้อแดง” เพื่อนำไปเป็นส่วนหนึ่งในการประกอบบทเรียน
ผู้อำนวยการสำนักสันติวิธีและธรรมาภิบาล ในฐานะผู้อำนวยการเสริมสร้างสังคมสันติสุข รุ่น 3 กล่าวถึงวัตถุประสงค์การลงพื้นที่ว่า อยากให้นักศึกษาหลักสูตรเสริมสร้างสันติสุขได้เรียนรู้และศึกษาร่วมกันว่า ความจริงแล้วทั้งกลุ่มคนเสื้อเหลืองและเสื้อแดง สามารถที่จะอยู่ร่วมกันได้ไม่จำเป็นต้องทะเลาะกัน แล้วใช้ความรุนแรง
“หลังจากลงพื้นที่แล้วสุดท้ายนักศึกษาก็สามารถกลับมาร่วมกันได้ เช่น นักศึกษารุ่นที่ 1 มี 3 คนมาจาก 3 พรรคการเมือง คือ พรรคเพื่อไทย ประชาธิปัตย์ และภูมิใจไทย ก็กอดคอคุยกันได้ไม่มีทะเลาะ ซึ่งผมคิดว่าถ้าคนเรามีพื้นที่ที่จะทำงานร่วมกัน อยู่ร่วมกัน เข้าใจกัน
ผมก็คิดว่าสามารถอยู่ร่วมกันได้ และผมถือคติว่าถ้าพวกคุณไม่สามารถอยู่ในชั้นเรียนที่ผมเปิดได้ แล้วยังทะเลาะกัน คุณก็ไม่ต้องอยู่ในประเทศไทย เพราะประเทศไทยก็มีคนทะเลาะเบาะแว้งกันอย่างนี้เยอะ แต่เราจะอยู่ร่วมกันได้อย่างไรภายใต้แนวคิดที่ต่างกัน”
นางนิชา หิรัญบูรณะ ธุวธรรม รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายสังคม ในฐานะภรรยา พล.อ.ร่มเกล้า ธุวธรรม อดีตเสธ.พล.ร.2 รอ. ที่เสียชีวิตจากเหตุปะทะแยกคอกวัวเมื่อวันที่ 10 เมษายน 2553 หนึ่งในนักศึกษาของหลักสูตรกล่าวว่า
“ดิฉันเป็นผู้สูญเสียที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์โดยตรง ความสูญเสียมันยิ่งใหญ่จนดิฉันไม่อยากให้สิ่งที่เกิดขึ้นกับดิฉันเกิดขึ้นกับครอบครัวของผู้ใดอีก ไม่ว่าจะเป็นสีใดก็ตาม ดิฉันจึงพยายามที่จะทำความเข้าใจกับสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นกับสังคมไทย
เพราะเชื่อว่าการเข้าใจและยอมรับสภาพปัญหาที่แท้จริง จึงจะนำไปสู่การแก้ปัญหาถูกจุด ทั้งนี้ แกนนำมวลชนกลุ่มใดก็ตาม เมื่อคุณตัดสินใจที่จะใช้มวลชนในการต่อสู้หรือท้าทายต่อความรุนแรงแล้ว
คุณต้องมีสำนึก มีความรับผิดชอบในความสูญเสียที่จะตามมา ต้องยอมรับในปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ที่คุณมิอาจควบคุมได้ที่อาจเกิดขึ้น หากคุณไม่มั่นใจแล้ว จงอย่าเอาชีวิตของคนไปเสี่ยง เพราะคุณไม่มีวันชดใช้ให้แก่ชีวิตของคนที่เสียไปได้”
กัปตันบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เผยผลการศึกษาว่า ทั้งสองฝ่ายเห็นตรงกัน คือ อยากเห็นการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างทางการเมือง อำนาจควรจะขึ้นอยู่กับประชาชน ส่วนชาวบ้านในหมู่บ้านเสื้อแดงมีความคิดไปในแนวทางเดียวกันหมด
ทำให้เห็นได้ว่าได้รับข้อมูลด้านเดียว ขณะที่แกนนำเสื้อเหลืองจะพูดทำนองว่า ปัญหาทั้งหมดเกิดจากเสื้อแดงใช้ความรุนแรง และขับเคลื่อนเพื่อประโยชน์ของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อย่างไรก็ตาม
คนทั้งสองกลุ่ม ไม่ต้องการให้เกิดสองมาตรฐาน และเห็นตรงกันว่ากระบวนการยุติธรรมมีปัญหา ส่วนแนวโน้มจะเกิดความปรองดองได้ขึ้นอยู่กับการขับเคลื่อนทางการเมืองของรัฐบาล ถ้าพยายามขับเคลื่อนเพื่อประโยชน์ของ พ.ต.ท.ทักษิณ โอกาสที่จะเกิดความรุนแรงก็มีสูง
ข่าวโดย : คมชัดลึก
ผู้อำนวยการสำนักสันติวิธีและธรรมาภิบาล ในฐานะผู้อำนวยการเสริมสร้างสังคมสันติสุข รุ่น 3 กล่าวถึงวัตถุประสงค์การลงพื้นที่ว่า อยากให้นักศึกษาหลักสูตรเสริมสร้างสันติสุขได้เรียนรู้และศึกษาร่วมกันว่า ความจริงแล้วทั้งกลุ่มคนเสื้อเหลืองและเสื้อแดง สามารถที่จะอยู่ร่วมกันได้ไม่จำเป็นต้องทะเลาะกัน แล้วใช้ความรุนแรง
“หลังจากลงพื้นที่แล้วสุดท้ายนักศึกษาก็สามารถกลับมาร่วมกันได้ เช่น นักศึกษารุ่นที่ 1 มี 3 คนมาจาก 3 พรรคการเมือง คือ พรรคเพื่อไทย ประชาธิปัตย์ และภูมิใจไทย ก็กอดคอคุยกันได้ไม่มีทะเลาะ ซึ่งผมคิดว่าถ้าคนเรามีพื้นที่ที่จะทำงานร่วมกัน อยู่ร่วมกัน เข้าใจกัน
ผมก็คิดว่าสามารถอยู่ร่วมกันได้ และผมถือคติว่าถ้าพวกคุณไม่สามารถอยู่ในชั้นเรียนที่ผมเปิดได้ แล้วยังทะเลาะกัน คุณก็ไม่ต้องอยู่ในประเทศไทย เพราะประเทศไทยก็มีคนทะเลาะเบาะแว้งกันอย่างนี้เยอะ แต่เราจะอยู่ร่วมกันได้อย่างไรภายใต้แนวคิดที่ต่างกัน”
นางนิชา หิรัญบูรณะ ธุวธรรม รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายสังคม ในฐานะภรรยา พล.อ.ร่มเกล้า ธุวธรรม อดีตเสธ.พล.ร.2 รอ. ที่เสียชีวิตจากเหตุปะทะแยกคอกวัวเมื่อวันที่ 10 เมษายน 2553 หนึ่งในนักศึกษาของหลักสูตรกล่าวว่า
“ดิฉันเป็นผู้สูญเสียที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์โดยตรง ความสูญเสียมันยิ่งใหญ่จนดิฉันไม่อยากให้สิ่งที่เกิดขึ้นกับดิฉันเกิดขึ้นกับครอบครัวของผู้ใดอีก ไม่ว่าจะเป็นสีใดก็ตาม ดิฉันจึงพยายามที่จะทำความเข้าใจกับสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นกับสังคมไทย
เพราะเชื่อว่าการเข้าใจและยอมรับสภาพปัญหาที่แท้จริง จึงจะนำไปสู่การแก้ปัญหาถูกจุด ทั้งนี้ แกนนำมวลชนกลุ่มใดก็ตาม เมื่อคุณตัดสินใจที่จะใช้มวลชนในการต่อสู้หรือท้าทายต่อความรุนแรงแล้ว
คุณต้องมีสำนึก มีความรับผิดชอบในความสูญเสียที่จะตามมา ต้องยอมรับในปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ที่คุณมิอาจควบคุมได้ที่อาจเกิดขึ้น หากคุณไม่มั่นใจแล้ว จงอย่าเอาชีวิตของคนไปเสี่ยง เพราะคุณไม่มีวันชดใช้ให้แก่ชีวิตของคนที่เสียไปได้”
กัปตันบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เผยผลการศึกษาว่า ทั้งสองฝ่ายเห็นตรงกัน คือ อยากเห็นการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างทางการเมือง อำนาจควรจะขึ้นอยู่กับประชาชน ส่วนชาวบ้านในหมู่บ้านเสื้อแดงมีความคิดไปในแนวทางเดียวกันหมด
ทำให้เห็นได้ว่าได้รับข้อมูลด้านเดียว ขณะที่แกนนำเสื้อเหลืองจะพูดทำนองว่า ปัญหาทั้งหมดเกิดจากเสื้อแดงใช้ความรุนแรง และขับเคลื่อนเพื่อประโยชน์ของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อย่างไรก็ตาม
คนทั้งสองกลุ่ม ไม่ต้องการให้เกิดสองมาตรฐาน และเห็นตรงกันว่ากระบวนการยุติธรรมมีปัญหา ส่วนแนวโน้มจะเกิดความปรองดองได้ขึ้นอยู่กับการขับเคลื่อนทางการเมืองของรัฐบาล ถ้าพยายามขับเคลื่อนเพื่อประโยชน์ของ พ.ต.ท.ทักษิณ โอกาสที่จะเกิดความรุนแรงก็มีสูง
ข่าวโดย : คมชัดลึก
กรณี พ.ร.ฎ.เวนคืนที่ดิน ราชเทวี -ปทุมวัน สร้างทางพิเศษ สายแจ้งวัฒนะ – บางโคล่
l
Boworn Yasintorn
ตามที่ปรากฎเป็นข่าว การออก พกฎ. เวนคืนที่ดินว่า บริเวณพื้นที่วังสระปทุม อยู่ในผังของการเวนคืนนั้น http://chorchangsinging.blogspot.com/2012/01/blog-post_9919.htm
ผมได้ตรวจสอบแล้ว พบว่าไม่เป็นความจริง จึงขอความร่วมมือ เพื่อนชาวเฟซบุ๊ค ได้ยุติการขยาย ข้อความดังกล่าวออกไป เพราะอาจก่อให้เกิดความเสีย หาย ตามที่ผู้ไม่ประสงค์ดี ได้เผยแพร่ออกมา...บวร ราษฎรอาสา
Boon Wattanna จากการตามรายละเอียดมา
1.พรฎ.มีมานานแล้ว สมัยบ้านครัวประเทศ
2.พรฎ.ต้องต่ออายุเป็นช่วงๆ เพราะหมดอายุ
3.เขตเวนคืนตามผังก็โดนเพรา ะคร่อมคลอง แต่
4.ไม่เวนคืนจริงๆหรอก ถ้าทำก็ทำไปนานแล้ว
5.ที่วังคงไม่โดนแต่ทัศนียภ าพคงไม่ดี
6.ที่ทางด่วนนี้ไม่ทำเพราะว ังนี่ละ
ตามเขตแผนที่มันโดน แต่เขาไม่ทำจริงๆครับ
เพราะโดนค้านมานานแล้ว ตั้งแต่สมัยจะทำทางด่วนผ่าน บ้านครัว
่ พรฎ. ได้ออกไปแล้วก็ต้องต่ออายุ
คาดว่า ไม่ได้ทำ ฉะนั้น ไม่ทำ ก็ไมโดนนะครับ
คิดว่าถ้าทำจริงๆ วังก็ไม่โดนอยู่ดี
มันเบี่ยงไปทางอดีตโรงหนังแ มคแคนน่่าแทน
เผยรายละเอียดแนวเวนคืนสร้างทางด่วนบางโคล่-แจ้งวัฒนะ ผ่านวังสระปทุม-สยามพารากอน ผู้ว่าฯ กทพ.แจง พ.ร.ฎ.เวนคืนล่าสุดเป็นขั้นตอนตามกฎหมายเพื่อต่ออายุ พ.ร.ฎ.เดิมที่ทำมาแล้ว 7 ครั้ง ครั้งละ 4 ปี หลังจากติดปัญหาชุมชนบ้านครัวไม่ยินยอม ส่วนจะมีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่ ขึ้นอยู่กับนโยบาย ยืนยันไม่เวนคืนวังสระปทุม-พารากอน-เซ็นทรัลเวิลด์
หลังจากที่มีกระแสข่าวว่า การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) ได้เตรียมที่จะเวนคืนที่ดินวังสระปทุม ซึ่งปัจจุบันที่ประทับของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อก่อสร้างทางพิเศษเชื่อมระหว่างทางด่วนศรีรัช และทางด่วนเฉลิมมหานคร ผู้สื่อข่าวได้ตรวจสอบพบว่า เมื่อวันที่ 30 ธ.ค. 2554 ที่ผ่านมา ราชกิจจานุเบกษาได้ตีพิมพ์พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวน คืน ในท้องที่เขตราชเทวี และเขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2554 โดยระบุว่า พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรกำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ในท้องที่เขตราชเทวี และเขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร เพื่อสร้างทางพิเศษสายแจ้งวัฒนะ-บางโคล่
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 187 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย กับมาตรา 5 วรรคสาม และมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพ บุคคล ซึ่งมตรา 29 ประกอบกับมตรา 42 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ประกอบกับมาตรา 34 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการทางพิเศษแห่งประเทสไทย พ.ศ. 2550 อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของ บุคคล ซึ่งมตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 และมาตรา 42 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤาฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้
มาตรา 1 พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ ที่จะเวนคืน ในท้องที่เขตราชเทวี และเขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2554”
มาตรา 2 พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2555 เป็นต้นไป
มาตรา 3 พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับได้มีกำหนดสี่ปี
มาตรา 4 ที่ดินที่จะเวนคืนตามพระราชกฤษฎีกานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ในการสร้างทางพิเศษ สายแจ้งวัฒนะ-บางโคล่
มาตรา 5 ให้ผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทยเป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนตามพระราชกฤษฎีกานี้
มาตรา 6 เขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนตามพระราชกฤษฎีกานี้ อยู่ในท้องที่เขตราชเทวีและเขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร มีส่วนแคบที่สุดสามร้อยห้าสิบเมตร และส่วนกว้างที่สุดหกร้อยเมตร ทั้งนี้ ภายในแนวเขตตามแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกานี้
มาตรา 7 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี
ทั้งนี้ ในตอนท้ายของพระราชกฤษฎีกาฉบับดังกล่าว ระบุว่า เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากการทางพิเศษแห่งประเทศไทย ได้ทำการสำรวจเขตที่ดินเพื่อเวนคืนตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณ ที่ที่จะเวนคืน ในท้องที่เขตราชเทวี และเขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2550 เพื่อสร้างทางพิเศษสายแจ้งวัฒนะ-บางโคล่ ยังไม่แล้วเสร็จ สมควรกำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ในท้องที่เขตราชเทวี และเขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร เพื่อให้เจ้าหน้าที่หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่มีสิทธิเข้าไปทำ การสำรวจและเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับ อสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนที่แน่นอน จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้
สำหรับแนวเวนคืนที่ดินตาม พ.ร.ฎ.ฉบับดังกล่าว ระบุว่ามีส่วนที่แคบที่สุด 350 เมตรและส่วนที่กว้างที่สุด 600 เมตร โดยแนวเวนคืนด้านถนนพระราม 6 เริ่มตั้งแต่สี่แยกพงษ์พระราม บริเวณใต้ทางด่วนศรีรัช ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ข้ามคลองมหานาคเข้าสู่พื้นที่เขตราชเทวี จากนั้นไปทางทิศตะวันออก ผ่านซอยพญานาค ซึ่งกินพื้นที่ชุมชนบ้านครัวเหนือ และชุมชนบ้านครัวใต้ ผ่านสะพานเฉลิมหล้า 56 (สะพานหัวช้าง) ในรัศมี 50 เมตรจากคลองแสนแสบ ก่อนขนานไปกับถนนเพชรบุรีด้านทิศใต้ ห่างจากแยกราชเทวี 370 เมตร ผ่านแยกประตูน้ำ ถนนราชปรารถ ถนนวิทยุ กินพื้นที่อาคารศูนย์การค้าพันธุ์ทิพย์พลาซา, ศูนย์การค้าแพลทินัม แฟชั่นมอลล์ และธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาสำนักเพลินจิต ก่อนจะบรรจบทางพิเศษเฉลิมมหานคร
จากนั้นแนวเวนคืนที่ดินจะไปทางทิศใต้ ขนานกับทางพิเศษเฉลิมมหานคร 200 เมตร จากนั้นไปทางทิศตะวันตก ขนานไปกับคลองแสนแสบ ผ่านถนนวิทยุ เมื่อผ่านถนนราชดำริไป 200 เมตร แนวเวนคืนที่ดินจะไปทางทิศใต้ บรรจบกับถนนพระราม 1 ผ่านสามแยกเฉลิมเผ่าในรัศมี 450 เมตร กินพื้นที่วัดปทุมวนารามวรวิหาร และพื้นที่บางส่วนของศูนย์การค้าสยามพารากอน จากนั้นแนวเวนคืนที่ดินจะขึ้นไปทางทิศเหนือ และทิศตะวันตก ผ่านพื้นที่วังสระปทุม สะพานเฉลิมหล้า 56 (สะพานหัวช้าง) กินพื้นที่ถนนพญาไทในรัศมี 50 เมตรจากคลองแสนแสบ จากนั้นจะเบี่ยงขนานไปกับถนนพระราม 1 ผ่านสี่แยกเจริญผล ซึ่งกินพื้นที่สถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน ห้างสรรพสินค้าเทสโก้ โลตัส พระราม 1 ถึงสี่แยกพงษ์พระราม
ก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 7 ม.ค. 2551 มีการประกาศพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินบริเวณที่จะเวนคืนในท้องที่เขตราช เทวี และเขตปทุมวัน กรุงเทพฯ เพื่อสร้างทางการพิเศษสายแจ้งวัฒนะ-บางโคล่ มีผลเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2551 ใช้บังคับนาน 4 ปี โดยให้ผู้ว่าการทางพิเศษแห่งประเทศไทยเป็นเจ้าหน้าที่เวนคืน โดยในช่วงที่ผ่านมาการทางพิเศษแห่งประเทศไทยมีโครงการก่อสร้างถนนรวมและ กระจายการจราจร หรือซีดีโรดบริเวณดังกล่าว นับตั้งแต่สมัยรัฐบาลนายชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรีเมื่อปี 2536 เป็นระยะเวลากว่า 19 ปีแล้ว ซึ่งได้บรรจุโครงการดังกล่าวอยู่ในแผนแม่บททางพิเศษที่ต้องดำเนินการ แต่เกิดปัญหาพิพาทกับชาวบ้านในชุมชนบ้านครัวมาโดยตลอด
อย่างไรก็ตาม วันนี้ (3 ม.ค.) เว็บไซต์กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ รายงานว่า นายอัยยณัฐ ถินอภัย ผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) เปิดเผยถึงการต่ออายุพระราชกฤษฎีกาฉบับดังกล่าว ว่า การต่ออายุ พ.ร.ฎ.ดังกล่าว เป็นการดำเนินงานตามกฎหมายเท่านั้น ส่วนในทางปฏิบัติจะเวนคืนหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับนโยบาย ซึ่งต้องหารือกับกระทรวงคมนาคมก่อน สำหรับปัญหาอุปสรรคสำคัญที่ส่งผลให้โครงการก่อสร้างทางลงช่วงถนนราชดำริไม่ แล้วเสร็จตามแผน คือ ไม่สามารถเวนคืนที่ดินบริเวณชุมชนบ้านครัวได้ เพราะประชาชนในพื้นที่คัดค้านอย่างหนัก แต่แนวเส้นทางเวนคืนจะไม่ผ่านพื้นที่วังสระปทุม ห้างสรรพสินค้าสยามพารากอน และเซ็นทรัลเวิลด์ โดยแนวเส้นทางจะเลียบคลองแสนแสบแต่ไม่ข้ามคลองแสนแสบมาฝั่งนี้
อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมา กทพ.ได้ปรับแบบก่อสร้างบริเวณนี้หลายครั้ง เพื่อเวนคืนที่ดินน้อยที่สุด แต่ชาวบ้านชุมชนบ้านครัวยังคงคัดค้าน ส่งผลให้ กทพ.ไม่สามารถเข้าพื้นที่เพื่อเวนคืนที่ดินได้จนถึงปัจจุบันเป็นเวลากว่า 10 ปีแล้ว การต่ออายุ พ.ร.ฎ.เวนคืน ถือเป็นการดำเนินงานปกติ ที่ต้องดำเนินการตามกฎหมาย ซึ่งดำเนินการมาแล้ว 7 ครั้ง ครั้งละ 4 ปี แต่การเวนคืนไม่สามารถดำเนินการได้มานานแล้ว เพราะมีปัญหามวลชนต่อต้านมาก ส่วนในอนาคตจะดำเนินการอย่างไรต่อไป ต้องเป็นเรื่องของระดับนโยบายที่จะตัดสินใจ
Boworn Yasintorn
ตามที่ปรากฎเป็นข่าว การออก พกฎ. เวนคืนที่ดินว่า บริเวณพื้นที่วังสระปทุม อยู่ในผังของการเวนคืนนั้น http://chorchangsinging.blogspot.com/2012/01/blog-post_9919.htm
ผมได้ตรวจสอบแล้ว พบว่าไม่เป็นความจริง จึงขอความร่วมมือ เพื่อนชาวเฟซบุ๊ค ได้ยุติการขยาย ข้อความดังกล่าวออกไป เพราะอาจก่อให้เกิดความเสีย
Boon Wattanna จากการตามรายละเอียดมา
1.พรฎ.มีมานานแล้ว สมัยบ้านครัวประเทศ
2.พรฎ.ต้องต่ออายุเป็นช่วงๆ
3.เขตเวนคืนตามผังก็โดนเพรา
4.ไม่เวนคืนจริงๆหรอก ถ้าทำก็ทำไปนานแล้ว
5.ที่วังคงไม่โดนแต่ทัศนียภ
6.ที่ทางด่วนนี้ไม่ทำเพราะว
ตามเขตแผนที่มันโดน แต่เขาไม่ทำจริงๆครับ
เพราะโดนค้านมานานแล้ว ตั้งแต่สมัยจะทำทางด่วนผ่าน
่ พรฎ. ได้ออกไปแล้วก็ต้องต่ออายุ
คาดว่า ไม่ได้ทำ ฉะนั้น ไม่ทำ ก็ไมโดนนะครับ
คิดว่าถ้าทำจริงๆ วังก็ไม่โดนอยู่ดี
มันเบี่ยงไปทางอดีตโรงหนังแ
เผยรายละเอียดแนวเวนคืนสร้างทางด่วนบางโคล่-แจ้งวัฒนะ ผ่านวังสระปทุม-สยามพารากอน ผู้ว่าฯ กทพ.แจง พ.ร.ฎ.เวนคืนล่าสุดเป็นขั้นตอนตามกฎหมายเพื่อต่ออายุ พ.ร.ฎ.เดิมที่ทำมาแล้ว 7 ครั้ง ครั้งละ 4 ปี หลังจากติดปัญหาชุมชนบ้านครัวไม่ยินยอม ส่วนจะมีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่ ขึ้นอยู่กับนโยบาย ยืนยันไม่เวนคืนวังสระปทุม-พารากอน-เซ็นทรัลเวิลด์
หลังจากที่มีกระแสข่าวว่า การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) ได้เตรียมที่จะเวนคืนที่ดินวังสระปทุม ซึ่งปัจจุบันที่ประทับของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อก่อสร้างทางพิเศษเชื่อมระหว่างทางด่วนศรีรัช และทางด่วนเฉลิมมหานคร ผู้สื่อข่าวได้ตรวจสอบพบว่า เมื่อวันที่ 30 ธ.ค. 2554 ที่ผ่านมา ราชกิจจานุเบกษาได้ตีพิมพ์พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวน คืน ในท้องที่เขตราชเทวี และเขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2554 โดยระบุว่า พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรกำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ในท้องที่เขตราชเทวี และเขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร เพื่อสร้างทางพิเศษสายแจ้งวัฒนะ-บางโคล่
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 187 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย กับมาตรา 5 วรรคสาม และมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพ บุคคล ซึ่งมตรา 29 ประกอบกับมตรา 42 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ประกอบกับมาตรา 34 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการทางพิเศษแห่งประเทสไทย พ.ศ. 2550 อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของ บุคคล ซึ่งมตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 และมาตรา 42 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤาฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้
มาตรา 1 พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ ที่จะเวนคืน ในท้องที่เขตราชเทวี และเขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2554”
มาตรา 2 พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2555 เป็นต้นไป
มาตรา 3 พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับได้มีกำหนดสี่ปี
มาตรา 4 ที่ดินที่จะเวนคืนตามพระราชกฤษฎีกานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ในการสร้างทางพิเศษ สายแจ้งวัฒนะ-บางโคล่
มาตรา 5 ให้ผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทยเป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนตามพระราชกฤษฎีกานี้
มาตรา 6 เขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนตามพระราชกฤษฎีกานี้ อยู่ในท้องที่เขตราชเทวีและเขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร มีส่วนแคบที่สุดสามร้อยห้าสิบเมตร และส่วนกว้างที่สุดหกร้อยเมตร ทั้งนี้ ภายในแนวเขตตามแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกานี้
มาตรา 7 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี
ทั้งนี้ ในตอนท้ายของพระราชกฤษฎีกาฉบับดังกล่าว ระบุว่า เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากการทางพิเศษแห่งประเทศไทย ได้ทำการสำรวจเขตที่ดินเพื่อเวนคืนตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณ ที่ที่จะเวนคืน ในท้องที่เขตราชเทวี และเขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2550 เพื่อสร้างทางพิเศษสายแจ้งวัฒนะ-บางโคล่ ยังไม่แล้วเสร็จ สมควรกำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ในท้องที่เขตราชเทวี และเขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร เพื่อให้เจ้าหน้าที่หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่มีสิทธิเข้าไปทำ การสำรวจและเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับ อสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนที่แน่นอน จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้
สำหรับแนวเวนคืนที่ดินตาม พ.ร.ฎ.ฉบับดังกล่าว ระบุว่ามีส่วนที่แคบที่สุด 350 เมตรและส่วนที่กว้างที่สุด 600 เมตร โดยแนวเวนคืนด้านถนนพระราม 6 เริ่มตั้งแต่สี่แยกพงษ์พระราม บริเวณใต้ทางด่วนศรีรัช ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ข้ามคลองมหานาคเข้าสู่พื้นที่เขตราชเทวี จากนั้นไปทางทิศตะวันออก ผ่านซอยพญานาค ซึ่งกินพื้นที่ชุมชนบ้านครัวเหนือ และชุมชนบ้านครัวใต้ ผ่านสะพานเฉลิมหล้า 56 (สะพานหัวช้าง) ในรัศมี 50 เมตรจากคลองแสนแสบ ก่อนขนานไปกับถนนเพชรบุรีด้านทิศใต้ ห่างจากแยกราชเทวี 370 เมตร ผ่านแยกประตูน้ำ ถนนราชปรารถ ถนนวิทยุ กินพื้นที่อาคารศูนย์การค้าพันธุ์ทิพย์พลาซา, ศูนย์การค้าแพลทินัม แฟชั่นมอลล์ และธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาสำนักเพลินจิต ก่อนจะบรรจบทางพิเศษเฉลิมมหานคร
จากนั้นแนวเวนคืนที่ดินจะไปทางทิศใต้ ขนานกับทางพิเศษเฉลิมมหานคร 200 เมตร จากนั้นไปทางทิศตะวันตก ขนานไปกับคลองแสนแสบ ผ่านถนนวิทยุ เมื่อผ่านถนนราชดำริไป 200 เมตร แนวเวนคืนที่ดินจะไปทางทิศใต้ บรรจบกับถนนพระราม 1 ผ่านสามแยกเฉลิมเผ่าในรัศมี 450 เมตร กินพื้นที่วัดปทุมวนารามวรวิหาร และพื้นที่บางส่วนของศูนย์การค้าสยามพารากอน จากนั้นแนวเวนคืนที่ดินจะขึ้นไปทางทิศเหนือ และทิศตะวันตก ผ่านพื้นที่วังสระปทุม สะพานเฉลิมหล้า 56 (สะพานหัวช้าง) กินพื้นที่ถนนพญาไทในรัศมี 50 เมตรจากคลองแสนแสบ จากนั้นจะเบี่ยงขนานไปกับถนนพระราม 1 ผ่านสี่แยกเจริญผล ซึ่งกินพื้นที่สถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน ห้างสรรพสินค้าเทสโก้ โลตัส พระราม 1 ถึงสี่แยกพงษ์พระราม
ก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 7 ม.ค. 2551 มีการประกาศพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินบริเวณที่จะเวนคืนในท้องที่เขตราช เทวี และเขตปทุมวัน กรุงเทพฯ เพื่อสร้างทางการพิเศษสายแจ้งวัฒนะ-บางโคล่ มีผลเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2551 ใช้บังคับนาน 4 ปี โดยให้ผู้ว่าการทางพิเศษแห่งประเทศไทยเป็นเจ้าหน้าที่เวนคืน โดยในช่วงที่ผ่านมาการทางพิเศษแห่งประเทศไทยมีโครงการก่อสร้างถนนรวมและ กระจายการจราจร หรือซีดีโรดบริเวณดังกล่าว นับตั้งแต่สมัยรัฐบาลนายชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรีเมื่อปี 2536 เป็นระยะเวลากว่า 19 ปีแล้ว ซึ่งได้บรรจุโครงการดังกล่าวอยู่ในแผนแม่บททางพิเศษที่ต้องดำเนินการ แต่เกิดปัญหาพิพาทกับชาวบ้านในชุมชนบ้านครัวมาโดยตลอด
อย่างไรก็ตาม วันนี้ (3 ม.ค.) เว็บไซต์กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ รายงานว่า นายอัยยณัฐ ถินอภัย ผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) เปิดเผยถึงการต่ออายุพระราชกฤษฎีกาฉบับดังกล่าว ว่า การต่ออายุ พ.ร.ฎ.ดังกล่าว เป็นการดำเนินงานตามกฎหมายเท่านั้น ส่วนในทางปฏิบัติจะเวนคืนหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับนโยบาย ซึ่งต้องหารือกับกระทรวงคมนาคมก่อน สำหรับปัญหาอุปสรรคสำคัญที่ส่งผลให้โครงการก่อสร้างทางลงช่วงถนนราชดำริไม่ แล้วเสร็จตามแผน คือ ไม่สามารถเวนคืนที่ดินบริเวณชุมชนบ้านครัวได้ เพราะประชาชนในพื้นที่คัดค้านอย่างหนัก แต่แนวเส้นทางเวนคืนจะไม่ผ่านพื้นที่วังสระปทุม ห้างสรรพสินค้าสยามพารากอน และเซ็นทรัลเวิลด์ โดยแนวเส้นทางจะเลียบคลองแสนแสบแต่ไม่ข้ามคลองแสนแสบมาฝั่งนี้
อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมา กทพ.ได้ปรับแบบก่อสร้างบริเวณนี้หลายครั้ง เพื่อเวนคืนที่ดินน้อยที่สุด แต่ชาวบ้านชุมชนบ้านครัวยังคงคัดค้าน ส่งผลให้ กทพ.ไม่สามารถเข้าพื้นที่เพื่อเวนคืนที่ดินได้จนถึงปัจจุบันเป็นเวลากว่า 10 ปีแล้ว การต่ออายุ พ.ร.ฎ.เวนคืน ถือเป็นการดำเนินงานปกติ ที่ต้องดำเนินการตามกฎหมาย ซึ่งดำเนินการมาแล้ว 7 ครั้ง ครั้งละ 4 ปี แต่การเวนคืนไม่สามารถดำเนินการได้มานานแล้ว เพราะมีปัญหามวลชนต่อต้านมาก ส่วนในอนาคตจะดำเนินการอย่างไรต่อไป ต้องเป็นเรื่องของระดับนโยบายที่จะตัดสินใจ
กทพ.ชี้การต่อ พ.ร.ฎ.เวนคืนที่ดิน ราชเทวี-ปทุมวัน เพื่อสร้างทางลงราชดำริเป็นขั้นตอนปกติ ยันไม่กระทบ วังสระปทุม-สยามพารากอน-เซ็นทรัลเวิลด์
นายอัยยณัฐ ถินอภัย ผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) เปิดเผยถึงการต่ออายุพระราชกฤษฎีกา กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ในท้องที่เขตราชเทวี และเขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร ปี 2554 จะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2555 กำหนดอายุ 4 ปี เพื่อดำเนินโครงการก่อสร้างทางพิเศษสายแจ้งวัฒนะ - บางโคล่ ยังไม่สามารถก่อสร้างช่วงทางลงบริเวณราชดำริได้ ว่า การต่ออายุ พ.ร.ฎ.ดังกล่าว เป็นการดำเนินงานตามกฎหมายเท่านั้น ส่วนในทางปฏิบัติจะเวนคืนหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับนโยบาย ซึ่งต้องหารือกับกระทรวงคมนาคมก่อน
สำหรับปัญหาอุปสรรคสำคัญที่ส่งผลให้โครงการก่อสร้างช่วงดังกล่าวไม่แล้วเสร็จตามแผน คือ ไม่สามารถเวนคืนที่ดินบริเวณชุมชนบ้านครัวได้ เพราะประชาชนในพื้นที่คัดค้านอย่างหนัก แต่แนวเส้นทางเวนคืนจะไม่ผ่านพื้นที่วังสระปทุม ห้างสรรพสินค้าสยามพารากอน และเซ็นทรัลเวิลด์ โดยแนวเส้นทางจะเลียบคลองแสนแสบแต่ไม่ข้ามคลองแสนแสบมาฝั่งนี้
อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมา กทพ.ได้ปรับแบบก่อสร้างบริเวณนี้หลายครั้ง เพื่อเวนคืนที่ดินน้อยที่สุด แต่ชาวบ้านชุมชนบ้านครัวยังคงคัดค้าน ส่งผลให้ กทพ.ไม่สามารถเข้าพื้นที่เพื่อเวนคืนที่ดินได้จนถึงปัจจุบันเป็นเวลากว่า 10 ปีแล้ว
“การต่ออายุ พ.ร.ฎ.เวนคืน ถือเป็นการดำเนินงานปกติ ที่ต้องดำเนินการตามกฎหมาย ซึ่งดำเนินการมาแล้ว 7 ครั้ง ครั้งละ 4 ปี แต่การเวนคืนไม่สามารถดำเนินการได้มานานแล้ว เพราะมีปัญหามวลชนต่อต้านมาก ส่วนในอนาคตจะดำเนินการอย่างไรต่อไป ต้องเป็นเรื่องของระดับนโยบายที่จะตัดสินใจ” นายอัยยณัฐ กล่าวกรุงเทพธุรกิจ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)
รีโมท
ซื้อ รีโมท จากผู้ค้าส่งโดยตรง ที่มีหน้าร้านจริง ที่ บ้านหม้อ และ คลองถม ราคาถูกกว่าใคร ปลอดภัย มีรับประกัน