วันอังคารที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2554
ผ่าปม 'ขุดก๊าซอ่าวไทย' ผลประโยชน์ทับซ้อนในพื้นที่ทับซ้อน!
โดย : ประสิทธิ์ ไชยชมพู
ล้วงลึกประเด็นรัฐบาลใหม่โยนหินถามสังคม จับมือกัมพูชาขุดแหล่งพลังงานในพื้นที่ทับซ้อนอ่าวไทย...ใครได้ประโยชน์?
นักวิเคราะห์สายความมั่นคงหลายรายประเมินตรงกันว่า ปมขัดแย้ง "ไทย-กัมพูชา" ว่าด้วยพื้นที่พิพาท 4.6 ตารางกิโลเมตร และปราสาทพระวิหาร จะเป็นหนึ่งใน "จุดตาย" ของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
แต่ดูเหมือนพรรคเพื่อ ไทยในฐานะแกนนำรัฐนาวาจะไม่ได้อนาทรร้อนใจ หนำซ้ำยังพยายามเปลี่ยนโจทย์จากประเด็นขัดแย้งแนวชาตินิยม ให้กลายเป็นเรื่องผลประโยชน์ร่วมแบ่งปันความโชติช่วงชัชวาลระหว่างกัน โดยเฉพาะการเจรจาตกลงเรื่องแหล่งพลังงานในอ่าวไทยซึ่งยังมีพื้นที่ทับซ้อน ทางทะเลเกี่ยวเนื่องผูกพันกันอยู่
เป็นจังหวะก้าวอันสำคัญ และน่าจับตา เพราะไทยกับกัมพูชายังมีคดีความร่วมกันอยู่บนศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ว่าด้วยการตีความคำพิพากษาศาลโลก พ.ศ.2505
บทสรุปของนักวิเคราะห์ สายความมั่นคงที่ฟันธงเปรี้ยง! ก็คือ เมื่อกลุ่มทุนการเมืองสองฟากปรองดองกันได้ ข้อพิพาทเรื่องปราสาทพระวิหารจะกลายเป็นเงื่อนไขหนึ่งเพื่อต่อรองผลประโยชน์ ทางทะเล!
สัญญาณกัมพูชา
ช่วงที่ศาลโลกพิจารณาคำร้องพิพาททางบก สมเด็จฮุน เซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชาเปิดประเด็นว่า "กัมพูชากับไทยไม่มีพื้นที่ทับซ้อนทางบก มีแต่ทับซ้อนทางทะเล" (6 มิ.ย.54)
3 ก.ค.54 พรรคเพื่อไทยชนะเลือกตั้ง นายฮอ นำฮง รัฐมนตรีต่างประเทศกัมพูชา ก็เชิญชวน (ว่าที่) รัฐบาลชุดใหม่ของไทยอย่างกระตือรือร้นให้เปิดเจรจาเปิดทางให้กลุ่มธุรกิจ พลังงานรับสัมปทานเข้าสำรวจขุดเจาะทรัพยากรทางทะเลได้
ขณะที่ เว็บไซต์วิกิลีกส์ (Wikileaks) เปิดข้อมูลว่า ช่วงเดือน พ.ค.50 คณะทำงานให้คำปรึกษาด้านเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาและอาเซียน รวมทั้งตัวแทนบริษัท โคนอโค ฟิลิปส์ กระตุ้นให้ไทยและกัมพูชาเร่งเจรจาจัดสรรพื้นที่ในอ่าวไทย นายเกา กิมฮวน อดีตเลขาธิการกระทรวงต่างประเทศกัมพูชา ชี้แจงการเจรจาที่ผ่านมาเป็น 3 สูตร กล่าวค่อ 1) พื้นที่ใกล้ฝั่งไทย ร้อยละ 80 เป็นของไทย ร้อยละ 20 เป็นของกัมพูชา 2)พื้นที่ส่วนกลาง สัดส่วน 50 ต่อ 50 และ 3) พื้นที่ใกล้ฝั่งกัมพูชา ร้อยละ 80 เป็นของกัมพูชา และร้อยละ 20 เป็นของไทย
"การทำความตกลงไม่คืบหน้า หลังจากรัฐบาลทักษิณพ้นอำนาจ" วิกิลีกส์ อ้างคำพูดนายเกา
สัญญาณฝ่ายไทย
นายพิชัย นริพทะพันธุ์ รมว.พลังงาน ซึ่งเพิ่งรับตำแหน่งหมาดๆ ยังไม่ได้แถลงนโยบาย ขายไอเดียว่าจะนำเงินสำรองระหว่างประเทศ 1.87 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ แบ่งก้อนใหญ่มาตั้งกองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติ ซื้อแหล่งพลังงานต่างประเทศ รวมถึงสินทรัพย์ที่มั่นคง เช่น ทองคำ เงินสกุลหยวน รวมทั้งเร่งเจรจาพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลเพื่อนำก๊าซขึ้นมาใช้ (16 ส.ค.54)
ระหว่างบรรทัดในคำกล่าวของ รมว.พลังงาน ปรากฏข่าว พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ พี่ชายของนายกรัฐมนตรีหญิงคนปัจจุบัน มีแผนเดินทางเข้ากัมพูชาก่อนห้วงเวลาไปปฏิบัติภารกิจที่ญี่ปุ่น ขณะที่มีข่าวบางกระแสระบุว่า ช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา 20-21 ส.ค. อดีตนายกฯ ทักษิณลงเครื่องบินแวะพำนักที่บ้านรับรองของนายกฯกัมพูชาเรียบร้อยแล้ว
ขณะที่ นายกฯ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร บอกเพียงว่า เป็นเรื่องส่วนตัวของพี่ชาย (17 ส.ค.54)
ข่าวนี้เสมือนเช็คกระแส คนในประเทศ และมีความเป็นไปได้สูงที่ พ.ต.ท.ทักษิณและรัฐบาลพรรคเพื่อไทยกำลังหยิบเอ็มโอยู 44 กลับมาใช้ให้เป็นประโยชน์ หลังจากรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์มีมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) 10 พ.ย.52 ให้ยกเลิก เมื่อกัมพูชาตั้ง พ.ต.ท.ทักษิณ เป็นที่ปรึกษาเศรษฐกิจ
ที่สำคัญเอ็มโอยู 44 นั้น แท้ที่จริงแล้วไม่ได้ถูกยกเลิกในทางปฏิบัติ เพราะรัฐบาลประชาธิปัตย์ไม่ได้ส่งเรื่องให้รัฐสภาพิจารณาเห็นชอบ ผลจริงๆ จึงแค่ "แขวน" เพื่อทำลายเครดิต พ.ต.ท.ทักษิณ
ถอดรหัสเอ็มโอยู 44
ย้อนไปเมื่อ 18 มิ.ย.44 รัฐบาลพรรคไทยรักไทยไปเยือนกัมพูชา นายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย รมว.ต่างประเทศ ลงนามร่วมกับ นายสก อาน รองนายกรัฐมนตรีกัมพูชา และประธานองค์การปิโตรเลียมกัมพูชา ในบันทึกความเข้าใจร่วมไทย-กัมพูชาว่าด้วยพื้นที่อ้างสิทธิในไหล่ทวีปทับ ซ้อน หรือ เอ็มโอยู 44
สาระสำคัญคือ 1) ปักปันหลักเขตแดนทางบก 2) พัฒนาร่วมกันในทะเล นำพลังงานขึ้นมาใช้
วันเดียวกัน นายกรัฐมนตรีทักษิณ กับนายกรัฐมนตรีฮุนเซน ลงนามแถลงการณ์ร่วม หรือ เจซี 44
ความพยายามตีตั๋วเพื่อเดินหน้าต่อในเรื่องนี้ คือ ตกลงเรื่องเขตแดนทางบกให้เสร็จในรัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช ตามแถลงการณ์ร่วม 18 มิ.ย.51 ซึ่ง นายนพดล ปัทมะ รมว.ต่างประเทศในขณะนั้น ลงนามร่วมกับ นายสก อาน เห็นชอบการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกฝ่ายเดียวของกัมพูชา
แต่ภาคประชาชนยื่นฟ้อง กระทั่งมีคำพิพากษาศาลรัฐธรรมนูญที่ 23 และ 24 พ.ศ.2551 และคำพิพากษาศาลปกครอง 30 ธ.ค.52 ทำให้กระบวนการทั้งหมดชะงักงัน
เปิดปูมเจรจาทางทะเล
สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติจัดสัมมนาเมื่อ 22 ก.ย.51 หัวข้อ “พื้นที่ทับซ้อนทางทะเลระหว่างไทย-กัมพูชา” ในเอกสารประกอบการสัมมนาของ กรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือ สาระสำคัญสรุปว่า รัฐบาลนายพลลอนนอล ประกาศเขตไหล่ทวีป พ.ศ.2515 ลากเส้นจากหลักที่ 73 ผ่าเกาะกูดของไทย (บ้างว่าอ้อมเกาะกูด) โดยไม่ใช้หลักเส้นมัธยะ ไม่มีค่าพิกัดแน่นอน
ส่วนไทยประกาศเขตไหล่ ทวีป พ.ศ.2516 แม้ค่าพิกัดไม่แน่นอน แต่ไทยใช้เส้นฐานตรง ช่วงแบ่งครึ่งมุมระหว่างเกาะกูดกับเกาะกงของกัมพูชา ที่เหลือเป็นเส้นแบ่งครึ่งทะเลระหว่างแนวเกาะของไทยกับกัมพูชา โดยใช้หลักเส้นมัธยะ (Equidistance Lines)
ต้นปี 2516 จอมพลประภาส จารุเสถียร รมว.มหาดไทย ประธานคณะกรรมการเจรจาฝ่ายไทย พูดคุยส่วนตัวกับนายพลลอนนอล ทราบ ว่าการลากเส้นไหล่ทวีปทำตามการเสนอของบริษัทขอรับสัมปทานปิโตรเลียม และพร้อมจะปรับปรุงเส้นไหล่ทวีป แต่ปี 2518 เขมรแดงยึดอำนาจได้เสียก่อน
เขมรแดงส่ง นายเอียง สารี รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีต่างประเทศเยือนไทย โดยได้หารือเรื่องทางทะเล แต่เขมรแดงไม่พร้อม ถึงสมัยรัฐบาลผสมรณฤทธิ์-ฮุนเซน พ.ศ.2538 จึงตกลงตั้งคณะกรรมการเทคนิคร่วม (Joint Technical Committee)
กัมพูชาเร่งเร้าให้ใช้ วิธีแสวงประโยชน์ร่วมกันในพื้นที่ทับซ้อนไปก่อน กระทั่ง พ.ศ.2545 ตกลงเจรจากำหนดเขตแดนทางทะเล แต่เจรจาหลายรอบก็ไม่เป็นผล จึงเสนอให้ฝ่ายเทคนิคหารือกัน แล้วนำผลส่งให้แต่ละฝ่ายพิจารณา
ต่อมา 16 ก.พ.52 พลเรือตรี วีรศักดิ์ จันหนู รองผู้บัญชาการทัพเรือภาคที่ 1 (ขณะนั้น) ระบุว่า ตั้งแต่ปี พ.ศ.2548 เชฟรอน บริษัทเดียวที่ได้รับอนุญาตจากไทยและกัมพูชาให้สำรวจพื้นที่อ้างสิทธิ์ทับ ซ้อนเนื้อที่ประมาณ 26,400 ตารางกิโลเมตร ประเมินว่ามีก๊าซธรรมชาติ มูลค่า 3.5 ล้านล้านบาท และน้ำมัน 1.5 ล้านล้านบาท (ภายหลังประเมินสูงกว่านี้)
พลเรือตรีวีระศักดิ์ ระบุด้วยว่า การเจรจาเขตไหล่ทวีป ตั้งแต่ 14 มี.ค.35 และ 27-28 เม.ย.38 ท่าทีคือ กัมพูชาไม่พิจารณาพื้นฐานกฎหมายต่อเส้นที่อ้างสิทธิ์ ไม่มีการต่อรองเส้นเดิมที่อ้างสิทธิ์ แต่เสนอให้ทำพื้นที่พัฒนาร่วม (JDA) เงื่อนไข คือ แบ่งผลประโยชน์เท่ากัน ไม่กระทบต่อการอ้างสิทธิ์และอธิปไตยของกัมพูชา ไม่คำนึงถึงสิทธิ์ใดๆ ที่เคยมีมาก่อนของบุคคลที่สามเกี่ยวกับการให้สัมปทาน
ประเด็นนี้ ม.ล.วัลย์วิภา จรูญโรจน์ นักวิชาการในนามภาคีเครือข่ายผู้ติดตามสถานการณ์ปราสาทพระวิหาร แย้งไว้โดยยกคำกล่าวของ พลเรือเอกถนอม เจริญลาภ (กรุงเทพธุรกิจ 10 ก.ค.54) “ไม่ว่าใครขีดเส้นในแผนที่ใดๆ ก็ตาม ถ้าไม่ผ่านข้อตกลงร่วมกันภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศ ย่อมไม่มีผล”
จับตาผลประโยชน์ทับซ้อน
สิ่งสำคัญในทางปฏิบัติ จะได้เปรียบเสียเปรียบจึงขึ้นอยู่กระบวนการกลไกเจรจา เมื่อพรรคเพื่อไทย (ลอกคราบจากพลังประชาชน และไทยรักไทย) จะตีตั๋วต่อโดยนำขุมทรัพย์พลังงานมหาศาลขึ้นมาใช้ คำถามคือจะมีข้อครหาเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อนอีกหรือไม่
มีข้อมูลมากมายชี้ว่าใน รัฐบาลไทยรักไทยออกมติ ครม.เอื้อประโยชน์กัมพูชา ทั้งในรูปเงินกู้ระยะยาว เงินให้เปล่า และโครงการร่วม อีกทั้งถือหุ้นร่วมกลุ่มพลังงาน บริษัท แฮร์รอดส์ เอ็นเนอร์ยี(ประเทศไทย) จดทะเบียนในไทย 22 พ.ค.41 บริษัท ปตท.สผ.(ทุนกลุ่มการเมืองถือหุ้นด้วย) ถือหุ้นร่วม 50% ไปรับสัมปทานในกัมพูชา รวมทั้งบล็อก B รหัส G9/43 ซึ่งสองประเทศอ้างสิทธิ์ทับซ้อน
ต่อมา 16 ก.พ.47 แอร์รอดส์ฯ เปลี่ยนชื่อเป็นบริษัท Pearl Energy PTE.Ltd กลุ่มเทมาเสก (ซื้อหุ้นชินคอร์ปทั้งหมด) ถือหุ้นร่วมใน Pearl oil โดยมี Pearl oil (Siam) ถือหุ้นใหญ่ และยังถือหุ้นไขว้โยงกับอีก 8 บริษัท
เมื่อเป็นอย่างนี้ ภาคประชาชนคงต้องออกแรงคัดค้านและกดดันให้ยกเลิกเอ็มโอยู 44 และเจซี 44 กันอีกรอบ!
---------------------------------
สัมภาษณ์
"ไม่มีความหวัง ไม่มีอะไรฝากรัฐบาล"
หม่อมหลวงวัลย์วิภา จรูญโรจน์ นักวิชาการ ในนาม ภาคีเครือข่ายผู้ติดตามสถานการณ์ปราสาท เขาพระวิหาร ให้สัมภาษณ์เสริมทั้งสองประเด็น พิพาททางบกกับทางทะเลเชื่อมโยงกันอย่างไร
คำสั่งคุ้มครองชั่วคราว และการจะพิจารณารับตีความคำพิพากษาศาลโลก 2505 จะเป็นอย่างไร
จากคำร้องของเขมรต่อศาล โลก เห็นขบวนการร่วมมือกันของประเทศเพื่อนำคดีสู่ศาลโลก หลังจากประชาชนจับได้ว่า เอ็มโอยู เจบีซี ทำเกินกว่ากรอบ ไม่มีกฎหมายรองรับ เช่น ข้อ 19 กัมพูชาร้องต่อศาลโลก ให้วางหลักเขตแดนใหม่ที่ไม่มีการวางมาก่อน นี่คือเกินอำนาจ แต่เมื่อเจบีซี 3 ฉบับเข้ารัฐสภา นักการเมืองก็ไม่กล้าลงมติ จึงต้องไปศาลโลก ถ้าประเมิน 1.ศาลโลกอาจตัดสินไปตามข้อมูลกัมพูชา เพราะไทยไม่ยืนยันเขตแดนตัวเอง ไม่สนใจภาคประชาชนร้องเรียน 2.น่าจะเจรจาให้ถอนจากศาลโลก
ฮุน เซน บอกไม่มีทับซ้อนทางบก แค่หาหลักมาปักปันตามที่ 100 กว่าปีมาแล้ว
เพราะไทยไม่ยืนยันเขต แดนตัวเองตามแผนที่ 1 ต่อ 5 หมื่น เขมรจึงเอา 1 ต่อ 2 แสนมาทับ มีนัยเท่ากับไทยก็ยอมรับอยู่แล้ว ใช้มาตลอดถึงสระแก้ว มาเรื่อยจนถึงเขตทางทะเล จากหลักเขตที่ 73 ลากผ่านเกาะกูดนั่นแหละ จึงเกิดทับซ้อน 26,000 ตารางกิโลเมตร แต่กรมอุทกศาสตร์ แสดงผังเป็น 3 รูป ตามหลักกฎหมายทะเล เขมรจะไม่ได้เป็นตัววายขนาดใหญ่ นอกจากปรองดองกัน ถอนฟ้องศาลโลก และเกาะกูดแค่เป้าหลอกให้หลงเท่านั้น เบนความสนใจว่าไม่เสียเกาะ
ถ้ารัฐบาลยิ่งลักษณ์ จะตีตั๋วต่อ ตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศจะทำได้หรือ
ทำไม่ได้หรอก ตามกฎหมายระหว่างประเทศ แต่ปัจจุบันใครจะไปคุ้ยไปรื้อ เห็นแต่ผูกปมเพิ่ม รัฐมนตรีพลังงานคนใหม่ก็พูดจะต้องร่วมลงทุนในแหล่งน้ำมันพื้นที่ทับซ้อน ต้องเป็นวาระแห่งชาติ ซึ่งไม่ถูกต้อง ไม่ดูความเป็นมา อันแรก การลากเส้นผิด และคณะรัฐบาลกัมพูชาแบ่งขายทรัพยากรประเทศไปเกือบหมดแล้ว ในนั้นมีนายหน้ากลุ่มทุนการเมืองไทยด้วย
พ.ร.บ.ปิโตรเลียม ค.ศ.1991 ยูเอ็นมาจัดการให้เขมรมีธรรมาภิบาล แต่เขมรออกแค่กฤษฎีกา ไม่ต้องผ่านรัฐสภา ตั้งองค์กรปิโตรเลียมเขมรหรือซีเอ็นพีเอ 22 มกราคม 2541 อำนาจใหญ่มาก ประธานปิโตรเลียมลงนามแล้วต้องผูกพันรัฐบาล ให้สัมปทานได้ทันที บล็อก เอ ให้เชฟรอน บล็อก อี ได้อินโดนีเซีย บล็อกเอฟ ของจีน ส่วน บล็อกบี ปตท.สผ.ร่วมสิงคโปร์กับมาเลเซีย ในนั้นมีชื่อ เฉิน หลิบ เกียง (Chen Lip Keong) ที่ปรึกษาส่วนตัวฮุนเซน ด้วย พวกนี้มีทั้งนอมินี นักฟอกเงิน เรื่องนี้ โกลบอล วิธเนส ทำไว้ปี 2008 หลังอันแท็กวางหลักกฎหมายให้เขมร แต่ตัวแทนกลุ่มทุนเข้าไปเขมือบทรัพยากรทั้งนั้น ไม่มีธรรมาภิบาลในกัมพูชา มีแต่ภาวะสนธยา
ทำไมไทยไม่ยกแผนที่มาตรา 1 ต่อ 5 หมื่นของไทย และแผนที่ 1 ต่อ 1 แสนตามรัฐธรรมนูญกัมพูชามาแย้ง เอา 1 ต่อ 2 แสน มาใช้ได้อย่างไร
ก็ทางเราตั้งหลักไว้ อย่าไปรับรองเรื่องเขตแดนนะ ต้องทำไม่รู้มี 1 ต่อ 5 หมื่น ไม่รู้สันปันน้ำ ต้องไม่รับรู้รัฐธรรมนูญเขมร ต้องไม่รู้อะไรทั้งสิ้น ไร้เดียงสามากเลย ศาลก็จะบอกว่า แกไม่รู้ใช่ไหม เดี๋ยวฉันจะตัดสินให้
อยากฝากอะไรถึงรัฐบาลคุณยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
ฮุนเซน พูดโกหก เรื่องคดีวีระ ราตรี อยู่ในชั้นอุทธรณ์ เครือข่ายคนไทยหัวใจรักชาติทำถูกต้องแล้ว เขาถูกจับบนดินแดนไทย เราไปร้องอุทธรณ์จนได้ แต่มีกระบวนการแทรกซ้อน จึงกลับลำขออภัยโทษ ก็เท่ากับยอมรับผิด รัฐบาลเอาเรื่องนี้เป็นเครื่องมือหาเสียง ตอนนี้สถานการณ์เปลี่ยนไป เราก็ถอยมายืนในจุดตัวเอง เราเป็นนักวิชาการ เราใจกว้างให้โอกาสรัฐบาล มาถึงขั้นกุมบังเหียนประเทศแล้ว ควรรับฟังสิ่งที่ประชาชนสะท้อน แต่ไม่มี กต.ก็จะปล่อยเรื่องทักษิณ พลังงานชูวาระแห่งชาติร่วมลงทุนเขมร มันเร็วไปหมด นี่ไม่เข้าใจภาคประชาชนเลย
เข้าใจว่า สลายภาคประชาชนได้แล้ว
ยอมรับภาคประชาชนอ่อนไป หมดเลย แต่เป็นทางกายภาพเท่านั้น สติปัญญายังมี ข้อเท็จจริงยังอยู่ หลักการสังคม กฎหมายระหว่างประเทศมีอยู่ จะไม่สนใจหรือ นี่คือปัญหาใหญ่ของรัฐบาล เร่งรีบ กระหาย อำนาจ ผลประโยชน์ จึงไม่มีความหวัง และไม่ฝาก นอกจากหวังการรวมตัวภาคประชาชน การให้ความรู้ประชาชน
ที่มา กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
คำถามจาก 'กอร์ปศักดิ์' นโยบายพลังงาน ใครได้ใครเสีย
พ.ต.ท. ทักษิณสั่งน้องสาวให้กระชากค่าครองชีพได้อย่างรวดเร็วทันใจ งานนี้หมูๆ ( ฝรั่งเรียก piece of cake ) ไม่ต้องคิดมากเพราะถือว่าเป็นมาตรการชั่วคราว ต้องสนองตอบนโยบายที่ได้หาเสียงไว้ก่อนอื่นใด
ถามว่าชั่วคราวแค่ไหน ตอบว่าขอดูสถานะการณ์ราคาน้ำมันในตลาดโลกอีกที คงไม่เกิน 1 ปี ( ในใจแอบคิดว่า รอให้แก้กฎหมายนิรโทษกรรมให้เสร็จ จากนั้นก็ตัวใครตัวมัน )
นโยบายนี้ใครได้ใครเสีย
ที่ได้เต็มร้อยน่าจะเป็นพตท.ทักษิณผู้คิดนโยบาย กองเชียร์ถูกใจมาก นี่ละนักบริหารมืออาชีพ พูดจริงทำจริง ทำทันที ผมว่า rating น่าจะกระฉูดนะ ทำให้ลืมเรื่อง 300 บาท 15,000 บาทได้ทีเดียวเชียว
สำหรับผู้บริโภคที่ดีใจ กลุ่มแรกจะเป็นผู้ที่จำเป็นต้องใช้เบนซิน 91 หรือ 95 เพราะไม่มีทางเลือก วินมอเตอร์ไซค์ เจ้าของรถเก่า เจ้าของรถหรู ( โรลส์รอยซ์ ปอร์เช่่ เฟอรารี่ จากัวร์ แลมโบ ฯลฯ ) นับจำนวนเทียบกับผู้บริโภคทั้งหมดประมาณร้อยละ 30
อีกกลุ่มที่ได้เฮด้วยคือผู้ใช้น้ำมันดีเซล ได้ลดไป 3 บาท ส่วนนี้มีผลดีกับค่าขนส่ง ทั้งขนคนและขนสินค้าถ้ามีการลดราคาทันทีเช่นกัน
มาดูคนค้าคนขายบ้าง
ผู้ค้าน้ำมันปวดหัวกันทั่วหน้า
เบนซิน 95 มีขายเฉพาะปั๊ม Chevron PT Susco Pure Petronas ส่วนที่เป็นปั๊มน้ำมันยักษ์ใหญ่ไม่ว่า ปตท. เอสโซ่ เชลล์ และบางจาก เลิกขายไปนานแล้ว บางจากมีกว่า 600 ปั้มที่จำหน่ายเฉพาะแก๊สโซฮอล์ ลูกค้าน่าจะหายหมด เจ๊งสนิท
เบนซิน 91 มีอยู่ทั่วไป คงจะขายดี ผู้ใช้เปลี่ยนใจกลับมาเติม 91 มากขึ้นเพราะเครื่องยนตร์จะกินน้ำมันน้อยกว่าโซฮอล์ เติมจำนวนลิตรเท่ากัน วิ่งได้ไกลกว่า
ผู้ค้าเอทานอลไม่ต้องพูดถึง ไม่ต้องวิเคราะห์ให้มากความก็พอจะมองเห็นอนาคตที่ไม่มีอนาคต ปริมาณการใช้เอทานอลลดลงแน่ สองสามปีที่ผ่านมา สมาคมผู้ค้าฯได้พยายามผลักดันให้รัฐฯส่งเสริมนโยบายพลังงานทดแทนอย่างจริง จังโดยขอให้ยกเลิกการจำหน่ายเบนซิน 91 เพื่อผู้บริโภคจะได้ใช้แก๊สโซฮอล์มากขึ้น ล๊อบบี้ไม่สำเร็จครับเพราะรัฐบาลต้องการให้ผู้บริโภคมีทางเลือกบ้าง น่าจะเป็นช่วงรัฐบาลของพลเอกสุรยุทธ์
วันนี้อาการหนัก ต้องจำกันไปอีกนานว่านโยบายพลังงานของไทยแลนด์คือการสนับสนุนพลังงานนำ เข้า ไม่สนับสนุนพลังงานทดแทน นโยบายอย่างนี้ มีได้ที่นี่ที่เดียวครับ
ที่น่าสงสารสุดคือเกษตรกรชาวไร่มันสำปะหลังจำนวนกว่าล้านครัวเรือน ส่วนใหญ่จากภาคอีสาน โคราช ชัยภูมิ บุรีรัมย์ ผมเคยเป็นผู้แทนโคราชหลายสมัย จำสภาพพื้นที่ในบางอำเภอได้เป็นอย่างดี แล้งครับ มีแต่ดินทราย ทำมาหากินแสนยาก ปลูกได้แค่มันสำปะหลัง ตอนผมรับจ๊อบเป็นรองนายกฯ ราคามันสำปะหลังประมาณบาทเศษ ผ่านไปปีเศษ ราคาขึ้นไปถึง 3 บาทกว่า ช่วงนี้ไม่ค่อยจะดี ลงมาที่ 2 บาทต้นๆ กลัวว่าจะร่วงไปเรื่อยๆ
คุยเพลินเรื่องผลกระทบ ลืมประเด็นตามไตเติ้ลไปซะงั้น มีคำถามสำหรับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานคนใหม่ ถอดด้ามครับ
ก่อนถาม ต้องปูพื้นปูเสื่อกันเล็กน้อย
ราคาน้ำมันที่ท่านทั้งหลายจ่ายที่ปั๊มนั้น ไม่ใช่เป็นราคาที่รวมเฉพาะต้นทุน ภาษี และ เงินส่งกองทุนเท่านั้น ยังมีอีก 1 รายการที่ไม่ค่อยจะพูดถึงกันนัก เรียกว่าค่าการตลาด หน้าตาเป็นอย่างนี้ครับ
ประเภท กองทุน ค่าการตลาด ปริมาณขาย
- 95 7.5000 4.9221 0.1 ล้านลิตรต่อวัน
- 91 6.7000 1.0622 7-8 ล้านลิตรต่อวัน
- sohol95 2.4000 1.0176 7-8 ล้านลิตรต่อวัน
- Sohol91 0.1000 1.1589 5.0 ล้านลิตรต่อวัน
- E20 -1.3000 1.6843 0.5 ล้านลิตรต่อวัน
- E85 -13.5000 8.7978 12,500 ลิตรต่อวัน
ถาม 1 ท่านรัฐมนตรีทราบเหตุผลไหม ว่าทำไมผู้ค้าเบนซิน 95 ถึงได้ค่าการตลาดสูงถึงลิตรละ 4.9221 บาท ขณะที่ประเภทอื่นๆได้เพียง 1.0 บาทเศษเท่านั้น ( ยกเว้น อี 85 ได้ 8.8978 บาท )
ขอตอบแทนว่า เพราะเบนซิน 95 ราคาสูง ผู้บริโภคหนีหมด รัฐฯจึงต้องไหว้วานให้ผู้ค้าช่วยขายให้หน่อยถึงแม้จะมีลูกค้าเพียงหยิบ มือ โดยการให้ค่าการตลาดอย่างงาม
วันนี้รัฐบาลเปลี่ยนนโยบาย เป็นนโยบายที่ส่งเสริมเบนซิน 95 ปรับราคาลงลิตรละ 8.02 บาท ลูกค้าจะเพิ่มขึ้นมาก ไม่ใช่หยิบมือเหมือนเดิมแล้ว
จึงขอ ถาม 2 ทำไมรัฐบาลไม่เจรจาปรับลดค่าการตลาดจาก 4.9221 บาทลงไปอีก
หมกเม็ด หรือว่าหลงลืม หรือไม่รอบคอบ
อย่าให้คนเขานินทากันนะว่าเริ่มปุ๊ป ก็ลุยปั๊ป หรือกล่าวหาว่าทำงานแบบมือสมัครเล่นคิดไม่ครบ เชียวนะ ขอบอก
พวกเราช่วยกันถามรัฐบาลหน่อยจะดีไหม
ที่มา
http://www.facebook.com/notes/korbsak-sabhavasu/%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B9%87%E0%B8%94%E0%B8%9B%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7-%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%9A%E0%B8%94%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%B2%E0%B8%B2%E0%B8%B2%E0%B8%B2/239073509467272
สถาบันอิศรา มูลนิธิพัฒนาสื่อมวลชนแห่งประเทศไทย
โรงเรียนการเมือง
ปชป.จ่อเปิดโรงเรียนการเมืองพรุ่งนี้ ย้ำคนละทางกับนปช.-ชอบพรรคไหนก็ได้
วัน ที่29ส.ค. นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ จ.สุราษฎร์ธานี และอดีตเลขาธิการพรรค เปิดเผยว่า ในวันพรุ่งนี้ (30ส.ค.) ที่ทำการพรรคประชาธิปัตย์จะมีพิธีเปิดโรงเรียนการเมือง โดยนายชวน หลีกภัย ประธานสภาที่ปรึกษาพรรคจะปาฐกถาปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่ที่เป็นส.ส. ซึ่งลงทะเบียนไว้จำนวน 69 คน ส่วนเนื้อหาการเรียนนั้น จะเน้นทั้งการเมือง เศรษฐกิจ โดยเฉพาะกฎหมายมหาชนที่มีความสำคัญในเรื่องการตรวจสอบรัฐบาล การบริหารราชการแผ่นดิน ซึ่งกำลังทาบทามวิทยากรทั้งคนในพรรค อาทิ นายชวน หลีกภัย, นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ว่าที่หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ นายไตรรงค์ สุวรรณคีรี ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ และอาจารย์มหาวิทยาลัยจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สถาบันพัฒนบัณฑิตบริหารศาสตร์ (นิด้า) รวมถึงมหาวิทยาลัยเอกชนต่างๆ อาทิ นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ, นายบรรเจิด สิงคเนติ และนายอมร จันทรสมบูรณ์ เป็นต้น
ทั้งนี้ นายสุเทพ ยืนยันว่า การดำเนินการดังกล่าวไม่ใช่แนวทางเดียวกับโรงเรียนนปช. เพราะโรงเรียนนปช. ใช้วิธีการปลุกระดม สร้างความเชื่อในแนวทางของตัวเองเพื่อตอบสนองความต้องการทางการเมือง และใช้เรื่องความรุนแรง แต่โรงเรียนการเมืองของพรรคประชาธิปัตย์ สุภาพเรียบร้อย มั่นคง ปกป้องประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข และแต่ละคนก็ไม่จำเป็นต้องมาชอบหรือผูกติดกับพรรคประชาธิปัตย์ จะชอบพรรคไหนก็ได้
อย่างไรก็ตาม โดยจะเรียนสัปดาห์ละ 2 วัน คือวันอังคาร เวลา 17.00-22.00 น. และวันพฤหัสฯ เวลา 19.00-22.00 น. รวมสัปดาห์ละ 7 ชั่วโมง หรือเรียนทั้งสิ้น 2 สมัยประชุม รวม 200 กว่าชั่วโมง
แล้วผมขอเอาความคิดเห็นของคนเสื้อแดงมาขยาย เพื่อจะได้พอรู้แนวทาง โรงเรียนการเมืองของคนเสื้อแดง คร่าวๆ เพื่อเปรียบเทียบ ครับ
ความคิดเสื้อแดง 1
อุตส่าห์ออกข่าวเสียใหญ่โตว่าจะเปิดโรงเรียนการเมืองแข่งกับ นปช. ผมก็นึกว่าน่ากลัวสำหรับฝายขวาที่จะเปิดหลักสูตรโรงเรียนการเมืองแบบ นปช. ขึ้นมาสู้กับอุดมการณ์ประชาธิปไตยของ นชป. ที่ประสพความสำเร็จมากมาย มีประชาชนสมัครเข้าอบรม มีส่วนร่วมกันมากมาย
พออ่านดูการเปิด โรงเรียนวันแรกของนายสุเทพฯ ผมนึกขำ นี่มันหลักสูตร ของสถาบันพระปกเกล้าของ บวรศักดิ์ นี่หว่า รุ่นแรกมี สส.เข้าเรียน 69 คน วิทยากรส่วนหนึ่งก็มีนายบวรศักดิ์ด้วย
หากเป็นแบบนี้ มันไม่ใช่โรงเรียนการเมือง แต่เป็น "หลักสูตรฝึออบรม" ไม่สามารถปลูกฝังอุดมการณ์ หรือแพร่ขยายได้
อัน ที่จริงโรงเรียนการเมืองนั้น มันต้องมี "ความตื่นตัวของมวลชนที่จะเข้าร่วมด้วย" แบบคนเสื้อแดง เรื่องหลักสูตรนั้นเป็นแค่ "สิ่งที่เสริมเข้ามา" แต่จริงๆ พื้นฐานคือ มวลชนเขาตื่นตัวต้องการ "การจัดตั้ง" ต้องการเครือข่ายในการต่อสู้ พวกเขาจึงเข้ามา
หากขาดสิ่งนี้ ต่อให้หลักสูตรเลอเลิศขนาดไหนมันก็ล้มเหลว
จาก ผลการเปิด "โรงเรียนการเมือง" ของพรรคประชาธิปไตยตามข่าวข้างล่างนี้ ผมว่า "มันตายแล้วตั้งแต่เปิด" ผมประเมินได้ว่า "มวลชนฝ่ายขวา" ยังไม่ได้มีการตื่นตัว ไม่สามารถ "ระดมสรรพกำลัง" ได้
โรงเรีนนการเมืองของ ปชป. ก็มุขแป๊กเรียบร้อย
การต่อสู้ทางการเมืองที่ ไม่มีอุดมการณ์ความตื่นตัวของมวลชนเป็นแรงขับ ก็ไม่มีทางไปรอด
พออ่านดูการเปิด โรงเรียนวันแรกของนายสุเทพฯ ผมนึกขำ นี่มันหลักสูตร ของสถาบันพระปกเกล้าของ บวรศักดิ์ นี่หว่า รุ่นแรกมี สส.เข้าเรียน 69 คน วิทยากรส่วนหนึ่งก็มีนายบวรศักดิ์ด้วย
หากเป็นแบบนี้ มันไม่ใช่โรงเรียนการเมือง แต่เป็น "หลักสูตรฝึออบรม" ไม่สามารถปลูกฝังอุดมการณ์ หรือแพร่ขยายได้
อัน ที่จริงโรงเรียนการเมืองนั้น มันต้องมี "ความตื่นตัวของมวลชนที่จะเข้าร่วมด้วย" แบบคนเสื้อแดง เรื่องหลักสูตรนั้นเป็นแค่ "สิ่งที่เสริมเข้ามา" แต่จริงๆ พื้นฐานคือ มวลชนเขาตื่นตัวต้องการ "การจัดตั้ง" ต้องการเครือข่ายในการต่อสู้ พวกเขาจึงเข้ามา
หากขาดสิ่งนี้ ต่อให้หลักสูตรเลอเลิศขนาดไหนมันก็ล้มเหลว
จาก ผลการเปิด "โรงเรียนการเมือง" ของพรรคประชาธิปไตยตามข่าวข้างล่างนี้ ผมว่า "มันตายแล้วตั้งแต่เปิด" ผมประเมินได้ว่า "มวลชนฝ่ายขวา" ยังไม่ได้มีการตื่นตัว ไม่สามารถ "ระดมสรรพกำลัง" ได้
โรงเรีนนการเมืองของ ปชป. ก็มุขแป๊กเรียบร้อย
การต่อสู้ทางการเมืองที่ ไม่มีอุดมการณ์ความตื่นตัวของมวลชนเป็นแรงขับ ก็ไม่มีทางไปรอด
ความคิดเสื้อแดง 2
จริง ๆ โรงเรียนการเมืองของ นปช. นั้น หลักสูตรก็ไม่ได้ดีเด่อะไร มากนัก หากเทียบในทางวิชาการ มีการ "อารัมภบท" ปัญหาทางการเมือง เชิงยุทธศาสตร์ของ อ.ธิดา ที่ผมเห็นว่าเป็นการปูภาพที่ดี การปราศรัยของคนอื่นๆ เช่นณัฐวุฒิ จตุพร ก็เป็นแค่การปราศรัยทางการเมืองเท่านั้น
แต่ "สาระสำคัญ" ของโรงเรียนการเมือง นปช. นั้นไม่ใช่หลักสูตร
แต่ เป็นการจัดตั้งเครือข่าย คนเสื้อแดงเขาอยากมาเจอหน้ากัน อยากมาจัดตั้งกลุ่มสำหรับเคลื่อนไหวต่อสู้ทางการเมือง อยากคุยกัน อยากแลกเปลี่ยนทัศนะคติกัน อยากรู้จักกัน อยากจัดโครงสร้างองค์กร
เป็นความต้องการพื้นฐานจาก "มวลชน" เอง ไม่ใช่แกนนำไป ชักจูงเอามา
แต่ มวลชนในท้องถิ่นต้องรวมตัวกันก่อนแล้ว "เรียกร้อง" ให้ นปช. ส่วนกลางไปช่วยเหลือในการจัดตั้ง มันจึงเกิดผลอย่างรวดเร็ว หากขาดความตื่นตัวทางการเมืองของ "คนเสื้อแดง" ต่อให้แกนนำ นปช.เก่งขนาดไหน ก็ไม่มีทางทำให้ โรงเรียนการเมือง เป็นอาวุธทางมวลชนที่มีประสิทธิภาพได้
แต่ "สาระสำคัญ" ของโรงเรียนการเมือง นปช. นั้นไม่ใช่หลักสูตร
แต่ เป็นการจัดตั้งเครือข่าย คนเสื้อแดงเขาอยากมาเจอหน้ากัน อยากมาจัดตั้งกลุ่มสำหรับเคลื่อนไหวต่อสู้ทางการเมือง อยากคุยกัน อยากแลกเปลี่ยนทัศนะคติกัน อยากรู้จักกัน อยากจัดโครงสร้างองค์กร
เป็นความต้องการพื้นฐานจาก "มวลชน" เอง ไม่ใช่แกนนำไป ชักจูงเอามา
แต่ มวลชนในท้องถิ่นต้องรวมตัวกันก่อนแล้ว "เรียกร้อง" ให้ นปช. ส่วนกลางไปช่วยเหลือในการจัดตั้ง มันจึงเกิดผลอย่างรวดเร็ว หากขาดความตื่นตัวทางการเมืองของ "คนเสื้อแดง" ต่อให้แกนนำ นปช.เก่งขนาดไหน ก็ไม่มีทางทำให้ โรงเรียนการเมือง เป็นอาวุธทางมวลชนที่มีประสิทธิภาพได้
แกน นำ นปช. จึงเป็นแค่ส่วนเสริม แต่ไม่ใช่ "สาเหตุหลัก" ที่ทำให้โรงเรียนการเมืองเข็มแข็ง ได้ผล (แต่ไม่มีแกนนำไปก็ไม่ได้ เพราะมวลชนก็ต้องการการประทับตรา ยอมรับ)
ดูผลการเปิดโรงเรียนการ เมืองของพรรคประชาธิปัตย์แล้ว ผมจึงไม่คิดว่าเป็นยุทธวิธีน่ากลัวอะไร ประเมินสภาพความตื่นตัวของฝ่ายโน้นได้เลยว่า "ตายสนิท" แล้ว การอบรมแบบนี้จะขยายเครือข่ายได้อย่างไร อีกกีปีจึงจะลงไปถึงหมู่บ้าน
ในขณะที่ นปช. เขาขยายไปถึงตำบล อำเภอ จังหวัด จะขึ้นมาระดับภาค และจะเปิด "สมัชชาคนเสื้อแดงแห่งชาติ" ได้อยู่แล้ว
หากเปิด "สมัชชาคนเสื้อแดงแห่งชาติ" ได้สำเร็จครั้งแรก ผมถือว่าการจัดตั้งของ นปช. ได้ขึ้นสู่ระดับสูงสุดแล้ว
ดูผลการเปิดโรงเรียนการ เมืองของพรรคประชาธิปัตย์แล้ว ผมจึงไม่คิดว่าเป็นยุทธวิธีน่ากลัวอะไร ประเมินสภาพความตื่นตัวของฝ่ายโน้นได้เลยว่า "ตายสนิท" แล้ว การอบรมแบบนี้จะขยายเครือข่ายได้อย่างไร อีกกีปีจึงจะลงไปถึงหมู่บ้าน
ในขณะที่ นปช. เขาขยายไปถึงตำบล อำเภอ จังหวัด จะขึ้นมาระดับภาค และจะเปิด "สมัชชาคนเสื้อแดงแห่งชาติ" ได้อยู่แล้ว
หากเปิด "สมัชชาคนเสื้อแดงแห่งชาติ" ได้สำเร็จครั้งแรก ผมถือว่าการจัดตั้งของ นปช. ได้ขึ้นสู่ระดับสูงสุดแล้ว
ความคิดเห็นเสื้อแดง 3
อะไรที่ล้า หลัง และพ้นสมัยไปแล้ว พยายามเอามาปัดฝุ่นขัดสีฉวีวรรณ มันก็ได้เป็นเพียงสิ่งลวงตา ก็จะตอบสนองได้แต่คนที่โหยหาความหลัง อย่างพวกชอบไปตลาดร้อยปี ก็แค่นั้น
แต่ถามว่าปัจจุบันสังคมโลก และสังคมไทย(ส่วนหนึ่งด้วย) ที่กำลังมุ่งหน้าไปสู่เสรีนิยม มุ่งไปสู่การกระจายอำนาจและลดทอนบทบาทอำนาจรัฐลงทุกวันๆ ความพยายามย้อนความหลังอย่างนั้น ก็คงเป็นได้แค่ของแปลก หรือถ้าพยายามมากไปจนเกินจริง ก็จะกลายเป็นของน่าขบขัน
จริงๆ โรงเรียน นปช มันก็ไม่ได้มีหลักสูตรเนื้อหาอะไรใหม่สักเท่าไหร่ วิทยากรนั้นก็พูดในสิ่งที่ผมก็เชื่อว่าแดงเข้มทั้งหลายนั้น รู้และเข้าใจอยู่แล้วล่ะ แต่บังเอิญสิ่งที่พูดในโรงเรียน มันเป็นสิ่งที่อยู่ในใจของทุกคน ก็ได้โอกาสเอามาเรียงร้อยให้ชัดเจนกระจ่างแจ้งขึ้นเท่านั้น เวลาเอาไปเล่าต่อจะได้ไม่ติดขัด
จัดอีกก็ดีครับ ถ้าจะให้ดี จัดเป็นสมัชชาเลย ยิ่งดีใหญ่ ส่วนโรงเรียนที่สอนอุดมการณ์ถอยหลัง (จริงๆมันคือหลักสูตร สส ใหม่ อย่างที่เพื่อไทยก็อบรมไปแล้ว) ไม่ต้องไปกังวล
ความคิดเสื้อแดงที่ 4
คือ ปชป. นี่ลอกเลียนอะไรก็ไม่เคยได้ "หัวใจ" ของสิ่งที่ลอกเลียนมา ลอกเรียนประชานิยมแบบทักษิณก็เอาแต่รูปแบบมากลายเป็น "ประชาสงเคราะห์" มากกว่าประชานิยม
ผมไม่ตกใจอะไรนะครับ หาก ปชป. สามารถทำ "โรงเรียนการเมือง" ได้มีประสิทธิภาพพอๆ กับ นปช. เพราะหากทำได้ก็ถือว่าเป็นการยกระดับของคนอีกฝากหนึ่งให้มีจิตสำนึกทางการ เมือง จะตรงข้ามกับเสื้อแดงก็ไม่มีปัญหาอะไร เพราะสุดท้ายก็จะเกิดระบบแบบสองพรรค สองอุดมการณ์ ซึ่งจะทำให้ระบอบประชาธิปไตยเข็มแข็ง ถ่วงดุลกันได้
แต่จัดแบบนี้เป็นการอบรมไป มีประโยชน์ตรงความรู้ แต่ไม่ใช่ การจัดตั้งทางการเมือง
จากความคิดเห็นข้างต้น คงทำให้เห็นแนวทางของ นปช. กันบ้างนะครับ ว่าทำไมถึงขยายตัวและเข้าลึกถึงใจชาวบ้านได้อย่างมีประสิทธิภาพนัก ต้องขอยอมรับ ทักษิณ เก่งการตลาดจริงๆครับ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)
รีโมท
ซื้อ รีโมท จากผู้ค้าส่งโดยตรง ที่มีหน้าร้านจริง ที่ บ้านหม้อ และ คลองถม ราคาถูกกว่าใคร ปลอดภัย มีรับประกัน