ในจำนวนผู้ไม่ดัดจริตและตรงไปตรงมากับนัยความ สัมพันธ์ ระหว่างคนเสื้อแดง ทักษิณ และพรรคเพื่อไทย ต้องยอมรับว่า นางธิดา ถาวรเศรษฐ์ รักษาการประธานนปช. เป็นคนจริงที่ทำให้เครือข่ายแดง พัฒนาก้าวไกลมาถึงจุดนี้
และถึงนาทีนี้นางธิดาก็ยังยืนยันว่า พรรคเพื่อไทย และคนเสิ้อแดง คือ 2 ขาที่จะแยกกันเดินไม่ได้ รวมถึงก็เป็นนางธิดา ที่ก็ยอมรับว่าไม่ใช่เรื่องแปลกหรือเสียหายแต่อย่างใด ที่มีขบวนการคนเสื้อแดงแยกตัว แยกกลุ่มเป็นแดงสยาม หรือ กลุ่มอิสระอื่น ๆ
ซึ่งถ้าจำกันได้ในนามของกลุ่มแดงสยาม ก็มีนักเคลื่อนไหว อย่าง นายสุรชัย แซ่ด่าน เป็นแกนนำหลักในการขับเคลื่อนกิจกรรม และมี นายจักรภพ เพ็ญแข ให้การสนับสนุนความคิดอ่าน ทั้งโดยตรงและอ้อม
นอกจากนี้นางธิดาก็ยอมรับด้วยว่า แกนหลักคนเสื้อแดงฟื้นตัวแข็งแกร่งได้อย่างรวดเร็ว จากเหตุการณ์เดือนเมษายน 2552 ก็เพราะความหลากหลายความคิดอ่าน และความแตกต่างในกิจกรรม ที่คนเสื้อแดงร่วมกันค่อย ๆ สร้างขึ้น จนทำให้การชุมนุมในเดือนเมษายน-พฤษภาคม 2553 กลายเป็นการชุมนุมครั้งใหญ่ที่สุด
22 สิงหาคม 2554 นางธิดา ประเมินสถานการณ์คนเสื้อแดงวันนี้ว่า สถานภาพแดงนปช.กำลังเปลี่ยนจากการตั้งรับมาเป็นการเปิดเกมส์รุกไล่ฝ่าย อำมาตย์ ทั้งในระดับมวลชนที่มีการจัดตั้งคณะกรรมการในระดับต่าง ๆ ขณะที่ภาพใหญ่ก็มีพรรคเพื่อไทยเป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล
และด้วยสภาพการณ์ที่เปลี่ยนไป นางธิดาจึงเสนอแนวคิดว่าคนเสื้อแดงต้องปรับเปลี่ยนยุทธวิธีการต่อไปให้สอด รับกับสถานการณ์ไปพร้อม ๆ กัน ยุทธศาสตร์ที่ 1 คือ ต้องถือว่ารัฐบาลเพื่อไทยเป็นมิตร ที่คนเสื้อแดงต้องสนับสนุน ด้วยการแสดงความเห็นหรือวิจารณ์อย่างเหมาะสม และแยกมิตรแยกศัตรูให้ชัดเจน โดยไม่กระทำการใดที่ผลักไสมิตรให้กลายเป็นศัตรู
“ เพราะเป้าหมายทางยุทธศาสตร์ที่จะต่อสู้มิใช่รัฐบาลยิ่งลักษณ์ แต่เป็น ระบอบอำมาตย์ที่ยังคงอำนาจอยู่อย่างเต็มที่ ทั้งในกองทัพ และในองคาพยพอื่นๆ ของสังคม ยุทธศาสตร์ยุทธวิธีจึงต้องพุ่งเป้าไปยังระบอบอำมาตย์ ”
ยุทธศาสตร์ที่ 2 ว่าด้วยแขนขาคนเสื้อแดง ซึ่งนางธิดาเห็นว่าต้องยกระดับบทบาทในเวทีรัฐสภา ไปพร้อมกับการขยายฐานองค์ประชาชนให้เข็มแข็ง เพื่อเสริมบทบาทกับอีก 1 ขา (พรรคเพื่อไทย) ที่ทำงานในสภาผู้แทนราษฎร ส่วนแขน 2 ข้าง นางธิดาระบุว่าต้องปรับปรุงฐานมวลชน ไปสู่ชนชั้นแรงงงาน ผ่านการตอบสนองข้อเรียกร้อง ค่าแรง และสวัสดิการให้มากขึ้น
ซี่งจากนโยบายของรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ก็ชัดเจนว่าแนวทางของ 2 ขา และ 2 แขน กำลังเดินไปตามทิศทางที่นางธิดานำเสนอไว้อย่างควรพิจารณา โดยเฉพาะทิศทางการเพิ่มค่าแรง การประกันรายได้ขั้นต่ำ หรือ แม้แต่การกลับใช้ 30 บาทรักษาทุกโรค การออกบัตรเครดิตให้กับเกษตรกร และ กลุ่มชนชั้นบางอาชีพ
และสุดท้ายยุทธศาสตร์ที่ 3 ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์ที่ควรจะได้มีการติดตามอย่างใกล้ชิด เพราะนางธิดาเห็นว่ามีความจำเป็นต้องปฏิบัติการเชิงรุก ในการทำให้ ชนชั้นกลางปัญญาชน พ่อค้า นักธุรกิจ ผู้ประกอบการขนาดเล็ก กลาง ใหญ่ และข้าราชการ ทหาร พลเรือน ซึ่งถือเป็นกลุ่มคนที่มีอิทธิพลในสังคมไทย เปลี่ยนแปลงแนวคิดจาก “อนุรักษ์นิยม” มาสู่ “เสรีนิยม” ...
“ ต้องทำเสื้อเหลืองให้เป็นเสื้อขาว แล้วค่อยเปลี่ยนมาเป็นเสื้อแดง โดยความเต็มใจในเหตุผลและความถูกต้องของทิศทาง เพราะคนเหล่านี้มิใช่คนที่เข้าใจยาก แต่การถูกครอบงำความคิดอนุรักษ์นิยมมายาวนาน และ การกลัวเสียผลประโยชน์ของตนจึงทำให้ไม่ยอมเปลี่ยน แม้ผลการเลือกตั้งครั้งนี้จะได้แสดงเจตจำนงค์ของประชาชนไทยชัดแจ้งแล้วก็ ตาม ”
ทั้งหมดนี้เป็นแนวคิดของนางธิดา ถาวรเศรษฐ์ รักษาการประธานนปช. ที่น่าสนใจยิ่งและเกาะติดกันต่อไปว่าจะบรรลุเป้าหมายในระดับใด
ท่ามกลางสัญญาณระทึกใจเช่นเดียวกันว่า เมื่อถึงเวลาอันสำคัญ พรรคเพื่อไทย ภายใต้การบังคับบัญชาของ พ.ต.ท.ทักษิณ จะยังจำเป็นอีกหรือไม่สำหรับคนเสื้อแดง
ในวันที่คนเสื้อแดง (นปช.) แข็งแรงถึงระดับ ไม่ต้องพึ่งพาการแสวงแนวร่วม (พรรคการเมือง) ด้วยการสงวนจุดต่าง (มวลชน) และห้วงจังหวะที่แนวร่วมแดงจำนวนมากเริ่มคิดถึงการก้าวข้าม "ทักษิณ ชินวัตร" ...
วันศุกร์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2554
ตำรวจไทย อย่าคิดว่าประชาชนโง่ ได้มั้ย??
จตช.นำกำลัง บุกตรวจบ่อนใหญ่กลางรัชดาฯ
วันนี้(26ส.ค.2554) จเรตำรวจแห่งชาตินำกำลัง ตรวจ สอบบ่อนการพนันใหญ่กลางย่านรัชดาฯ พบแต่ร่องรอยการทำลายพยานหลักฐาน ไม่พบโต๊ะบาคาร่า หรือตู้สล็อต แต่พบโต๊ะสำหรับเล่นพนัน ยันจะปูพรมตรวจทุกจุดที่ “ชูวิทย์” แฉ
รายงาน แจ้งว่าเมื่อเวลา 10.30 น. ที่ สน.สุทธิสาร พล.ต.อ.สถาพร หลาวทอง จเรตำรวจแห่งชาติ (จตช.) ในฐานะประธานตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีบ่อนการพนันภายในพื้นที่ สน.สุทธิสาร หลังจากที่นายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรครักประเทศไทย ได้นำคลิปมาเปิดเผยในการแถลงนโยบายรัฐบาลต่อรัฐสภา เมื่อวันที่ 23 ส.ค.ที่ผ่านมา พร้อมด้วย พล.ต.ต.วิมล เปาอินทร์ รองจเรตำรวจ (สบ 7) และคณะกรรมการสืบสวนข้อเท็จจริง ได้เดินทางมาที่ห้องประชุม สน.สุทธิสาร เพื่อร่วมประชุมวางแผน ก่อนเดินทางไปตรวจค้นสถานที่ที่ปรากฏในคลิป
พล.ต.อ. สถาพรกล่าวว่า ในวันนี้จะเดินทางไปตรวจสอบที่เกิดเหตุตามที่นายชูวิทย์นำคลิปหลักฐานมามอบ ให้ เบื้องต้นได้สั่งการให้พนักงานสอบสวนเดินทางไปขอหมายค้นเรียบร้อยแล้ว คาดว่าน่าจะยังไม่มีการเคลื่อนย้ายของกลางหนีไปไหน แต่เมื่อไปตรวจสอบแล้วจะพบหรือไม่ต้องไปดูกัน ทั้งนี้ หลังจากเข้าตรวจค้นแล้วจะต้องเชิญเจ้าของสถานที่มาให้ปากคำ พร้อมทั้งสอบสวนคนขับจักรยานยนต์รับจ้างหน้าปากซอยที่นายชูวิทย์ให้การว่าคน ขับไปส่งถูกทุกคัน และนำภาพในที่เกิดเหตุมาเปรียบเทียบกับภาพในคลิปของนายชูวิทย์ด้วย อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะไม่มีการจับกุมหรือพบของกลาง แต่สามารถตรวจสอบได้ว่ามีการลักลอบเล่นการพนันจริงก็จะต้องเอาผิดต่อท้องที่ ส่วนกรณีของท้องที่ สน.โชคชัย จะทำรายงานสรุปให้ พล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี ผบ.ตร.ทราบว่ามีการกล่าวพาดพิงไปถึงอย่างไรบ้าง ก่อนที่จะเข้าตรวจสอบในภายหลัง
ต่อ มา พล.ต.อ.สถาพร พร้อมด้วยกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจ สน.สุทธิสาร ได้นำหมายค้นศาลแขวงพระนครเหนือ ที่109/2554 ลงวันที่ 26 สิงหาคม 2554 เข้าตรวจค้นอาคารชั้นเดียว ไม่มีเลขที่ ภายในซอยรัชดา 14-16 หลังโชว์รูมรถยนต์ แขวงและเขตห้วยขวาง กทม. ซึ่งอยู่ห่างจาก สน.สุทธิสารประมาณ 400 เมตร และห่างจากโรงเรียนกุนนทีรุธารามวิทยาคม เพียง 200 เมตร จากการตรวจสอบพบว่า อาคารดังกล่าวเป็นลักษณะรูปตัวแอล มีพื้นที่ประมาณ 5 ไร่เศษ มีรั้วรอบขอบชิด แต่ยังสร้างไม่เสร็จ ด้านหลังเป็นลานจอดรถขนาดใหญ่เชื่อมกับทางเข้าโกดัง
รายงาน แจ้งอีกว่า ระหว่างที่เจ้าหน้าที่ตำรวจนำหมายค้นมาถึงที่เกิดเหตุ และขอเข้าไปตรวจค้น มีชาย 1 คนออกมารับหมายและเปิดประตูให้เจ้าหน้าที่ตำรวจเข้าไป แต่ไม่ยอมให้ผู้สื่อข่าวเข้าไปด้านใน โดยนำแม่กุญแจมาล็อกเอาไว้ พร้อมกับให้ชายฉกรรจ์ 4 คนคอยเฝ้าที่ประตูด้านหน้า
เจ้า หน้าที่ตำรวจสอบสวนนางน้อย (นามสมมติ) อายุ 40 ปี แม่ค้าขายก๋วยเตี๋ยวให้การว่า ตนขายของมากว่า 4 ปีแล้ว เพิ่งจะมาขายภายในโกดังแห่งนี้ได้ประมาณประมาณ 2 เดือน มาขายให้กับคนงาน ส่วนใหญ่เป็นคนเขมร หลังจากที่โกดังสร้างเสร็จก็เห็นผู้คนเข้าออกจำนวนมาก และเปิดตลอด 24 ชั่วโมง คนที่เข้ามามีตั้งแต่วัยรุ่น นักศึกษา คนวัยทำงาน และชาวต่างชาติ โดยจะขับรถยนต์มาและนำรถไปจอดที่ลานจอดด้านหลัง บางคนก็นั่งรถรับจ้างมา ก่อนหน้านี้เคยเข้าไปด้านในพบว่ามีห้องหลายห้องมีการเล่นไพ่ และมีคนคอยดูแลอย่างแน่นหนา แต่ไม่เคยเห็นเจ้าหน้าที่ตำรวจเลย หรืออาจจะมาในช่วงที่ตนไม่ได้มาขายของ ซึ่งหลังจากที่เป็นข่าวก็ปิดไปเลย ไม่มีคนเข้ามาเหมือนเมื่อก่อน
ภาย หลังการตรวจสอบนานกว่า 2 ชั่วโมงเสร็จสิ้น พล.ต.อ.สถาพรได้ออกมากล่าวว่า จากการตรวจสอบภายในโกดังไม่พบอุปกรณ์ที่ใช้เล่นการพนัน เช่น โต๊ะบาคาร่า หรือตู้สล็อต แต่พบร่องรอยของการพยายามทำลายหลักฐาน ฝ้าเพดานถูกรื้อออก และมีบางส่วนที่บ่งชี้ว่าเป็นสถานที่ที่ใช้เล่นการพนัน มีโพย มีโต๊ะที่ถูกรื้อทำลายไปบ้างแล้ว และมีบางส่วนกำลังจะสร้างขึ้นใหม่ ทั้งนี้ จากการสอบถามบุคคลในพื้นที่ทราบว่า สถานที่ดังกล่าวเคยเป็นร้านอาหาร โดยเช่าพื้นที่ต่อจากผู้ประกอบการรายหนึ่ง วันนี้จะประชุมและสรุปผลรายงานให้ พล.ต.อ.วิเชียรทราบ
พล.ต.อ. สถาพรกล่าวอีกว่า สภาพของฝ้าเพดานมีลักษณะเป็นหลุม และพรมที่ยังเหลืออยู่ และมีบางส่วนที่รื้อแล้วนำไปเก็บกองรวมๆ ไว้ เป็นการเช่าพื้นที่จากผู้ประกอบการรายหนึ่ง อย่างไรก็ตาม การดำเนินการจะแยกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่เกี่ยวข้องกับตำรวจและส่วนของสถานที่ที่ใช้ในการกระทำผิด เมื่อตรวจสอบแน่ชัดแล้วว่าสถานที่ดังกล่าวเคยลักลอบเล่นการพนันมาก่อนก็จะ ต้องตรวจสอบว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจมีส่วนเกี่ยวข้องในการปล่อยปละละเลยหรือไม่ กับอีกส่วนคือคลิปวิดีโอซึ่งถือว่าเป็นพยานหลักฐานทางคดีอาญา ซึ่งจะต้องรวบรวมพยานหลักฐานเพื่อดำเนินคดีตามที่ปรากฏในคลิปต่อไป และหลังจากนี้จากทำการปูพรหมตรวจสอบพื้นที่ทุกจุดที่นายชูวิทย์ได้ให้ข้อมูล ไว้ เพราะตนต้องการให้ทุกพื้นที่เป็นเขตปลอดอบายมุข
สำนักข่าวเจ้าพระยา
ตำรวจไทย อย่าคิดว่าประชาชนโง่ ได้มั้ย??
ถามจริงๆ ก่อนที่จะถูกแฉ ไม่รู้กันจริงๆหรือว่ามีบ่อนใหญ่ๆขนาดนี้ อยู่กลางกรุง แฉแล้วค่อยไป จับ คงเจอหรอก!! แต่ถ้าไม่รู้ว่ามีจริงๆ ก็ย้ายไปทั้งโรงพักได้เลยครับ เพราะอยู่ไปก็ไม่ได้สอดส่องพื้นที่ที่ต้องรับผิดชอบเลย ( ช.ช้าง )
ช่วยผู้หนีความผิด มาตรา 189 และ 192 สองมาตรา 5 ปีเชียวนะ !!!
ท่าน รมต.ต่างประเทศ “สุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล” อย่าทำเป็นเล่นไป ช่วยผู้หนีความผิด มาตรา 189 และ 192 สองมาตรา 5 ปีเชียวนะ !!!
เสต็ปเทพ
ทำตามสัญญาครับ ! ว่าจะขอตามติดในส่วน รมต.ต่างประเทศ ซึ่งหมายถึง ท่าน รมต.ต่างประเทศ “สุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล” ผู้ซึ่งเริ่มงานเรกชิ้นแรก ให้พี่น้องประชาชน ด้วยการหาทางช่วยเหลือนายใหญ่ทันที
เดือดร้อน ! พรรคฝ่ายค้าน พรรค ปชป. นำ โดย นายวิรัตน์ กัลยาศิริ ส.ส.สงขลา เข้าแจ้งความที่สถานีตำรวจพญาไท กล่าวหา นายสุรพงษ์ โตวิจักษ์ชัยกุล รมว.ต่างประเทศ ให้การสนับสนุนขอร้องรัฐบาลญี่ปุ่นออกวีซ่าเข้าประเทศญี่ปุ่นให้กับพ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี โดยอ้างมาตรา 189 และ มาตรา 192 ในการเอาผิด
ท่าน รมต.ต่างประเทศ “สุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล” ออกมาแสดงท่าทีต่อข้อหาดังกล่าว ในลักษณะ ปากกล้า พร้อมเอ่ยว่า ยันไม่กลัว ปชป.ยื่นถอดถอนฐานร้องขอญี่ปุ่นออกวีซ่าให้ “พ.ต.ท.ทักษิณ” ผู้มีคดีติดตัว
ท่าน รมต.ต่างประเทศ ยังยืนยันอีกว่า ญี่ปุ่นออกวีซ่าให้เอง ไม่ได้ไปขอ ยังคงนั่งยัน นอนยัน ยืนยัน ตีลังกายัน ว่าไม่ได้ขอ “ญีปุ่น” ให้เอง
แล้วที่ นายยูกิโอะ เอดาโนะ โฆษกรัฐบาลญี่ปุ่น เผยเมื่อ (15 ส.ค.54 ) ว่าญี่ปุ่นได้อนุมัติวีซ่าเข้าประเทศเป็นกรณีพิเศษให้กับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี หลังรัฐบาลชุดใหม่ของไทย
ตรงนี้ หมายความยังไง !!!
ทั้งนี้ เมื่อนักข่าว ถามว่าจะมีหลักฐานชี้แจงในเรื่องนี้จากญี่ปุ่นได้หรือไม่ ?
ท่าน รมต.ต่าง ประเทศ ยังคงยืนยันอีกว่า ไม่ต้องมี เพราะเราไม่ได้กระทำในสิ่งที่ถูกกล่าวหา ไม่มีหลักฐานใดๆ เพราะการออกวีซ่าเป็นเอกสิทธิของญี่ปุ่น นายกรัฐมนตรีก็ได้ชี้แจงไปแล้ว
ท่าน รมต.ต่าง ประเทศ กล่าวอย่างมั่นใจว่า ขอเรียนย้ำว่ามันเป็นเอกสิทธิ์ของประเทศนั้นๆ ที่จะออกวีซ่า เช่น อเมริกา อังกฤษ หากคนไทยจะขอเข้าประเทศนั้นๆ ก็ต้องไปขออนุญาต และเรื่องนี้ทำไมตนต้องปฏิสเธ เพราะตนไม่ได้ทำอะไร
จากตรงนี้ ผมจะพูดอะไรไปมากไม่ได้ครับ เพราะ ท่าน รมต.ต่างประเทศ ดูมีความมั่นใจว่า “ญี่ปุ่น” ออกวีซ่าให้เอง ไม่ได้ไปขอ มั่นใจด้วยรัฐบาลชี้แจงไปแล้ว
ผมละห่วง ท่านจริงๆๆๆๆๆๆ
ท่าน รมต.ต่างประเทศ อย่าทำเป็นเล่นไปครับ หากท่านตะแบง อาจมีความผิดตามองค์ประกอบของมาตรา 189 และ 192 นะครับ ท่าน !!!
ข้อกฎหมาย ว่าด้วยดังนี้ครับท่าน …..
มาตรา 189 ผู้ ใดช่วยผู้อื่นซึ่งเป็นผู้กระทำความผิด หรือเป็นผู้ต้อง หาว่ากระทำความผิด อันมิใช่ความผิดลหุโทษ เพื่อไม่ให้ต้องโทษ โดยให้พำนักแก่ผู้นั้น โดยซ่อนเร้นหรือโดยช่วยผู้นั้นด้วยประการใด เพื่อไม่ให้ถูกจับกุม ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปีหรือปรับไม่เกิน สี่พันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 192 ผู้ ใดให้พำนัก ซ่อนเร้นหรือช่วยด้วยประการใดให้ ผู้ที่หลบหนีจากการคุมขังตามอำนาจของศาลของพนักงานสอบสวน หรือของเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจสืบสวนคดีอาญา เพื่อไม่ให้ถูกจับกุม ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ
ท่านอย่าทำเป็นเล่นเชียวนะครับ 2 มาตรานี้ อาจทำให้ท่านต้องระวางโทษจำคุกถึง 5 ปี เชียวนะ !!!
ปัญหานโยบายในการหาเสียง
ความ จริงแล้ว กฎหมายเป็นกติกาของสังคมที่ กำหนดและควบคุมการกระทำหรือความประพฤติของคน เพื่อให้ประชาชนอยู่ในสังคมหรืออยู่ในประเทศอย่างมีความสุข และเพื่อไม่ให้ผู้ใดไปสร้างความเดือดร้อนให้กับผู้อื่น
ส่วนใดในสังคมหากมีความเป็นอยู่ดีแล้ว กฎหมายไม่จำเป็นต้องใช้หรือไม่จำเป็นต้องออกกฎหมายก็ได้
แต่หากสังคมใดยุ่งเหยิง สังคมไม่มีระเบียบ ประชาชนขาดความเกรงใจอื่น ๆ อยากทำอะไรก็ทำ อันก่อให้เกิดความเดือดหรือเกิดความวุ่นวายในสังคมหรือในบ้านในเมือง การออกกฎหมายหรือการใช้กฎหมายก็มีความจำเป็นที่จะต้องนำออกมาบังคับใช้ให้มี ประสิทธิภาพ หรือเอาจริงเอาจังกับการบังคับใช้กฎหมาย
นอกจากกฎหมายจะเป็นขับเคลื่อนกลไกของรัฐ และรักษาความสงบเรียบร้อยในบ้านเมืองแล้ว การกระทำหรือพฤติกรรมของคนบริหารบ้านเมืองจะต้องมีจริยธรรม มีมโนธรรม และมีคุณธรรม ในการรับผิดชอบต่อบ้านเมืองหรือรับผิดชอบประชาชนเป็นส่วนรวม
คนที่เข้ามาเล่นการเมือง หรือเข้ามาทำงานทางการเมือง จะต้องเป็นคนที่คุณภาพและมีความรับผิดชอบต่อประเทศชาติและประชาชน
แต่การเมืองไทยเรา ยังอยู่ในวังวนของผลประโยชน์เป็นสำคัญ
การแข่งขันทางการเมือง ยังเวียนวนอยู่กับการลงทุนเพื่อให้ได้รับชัยชนะ มากกว่าอุดมการณ์หรือความรับผิดชอบทางการเมือง
จึงทำให้กติกาทางการเมือง ยังเป็นลำดับรองกว่า ความรับผิดชอบทางการเมือง
การรับผิดชอบทางการเมือง ไม่ใช่มีเฉพาะในการเข้ามาบริหารบ้านเมือง
ความรับผิดชอบทางการเมืองควรมีความรับผิดชอบตั้งแต่ก่อนเข้าสู่อำนาจทางการเมืองด้วยซ้ำ
ซึ่งในการหาเสียงเลือกตั้ง ได้มีการวางเกณฑ์ของ กกต. เอาไว้ว่า หากเป็นเรื่องนโยบายการหาเสียงแล้ว ไม่ถือว่าเป็นการให้ที่ผิดกฎหมาย
ดังนั้น ในการหาเสียงของทุกพรรคการเมือง จึงเน้นไปที่นโยบายที่จะให้อะไรที่โดนใจประชาชน
ในนโยบายต่าง ๆ นั้นเอง เหมือนเป็นสัญญาประชาคมที่นำเสนอต่อประชาชนว่า เมื่อได้รับการเลือกตั้งแล้วจะต้องไปทำอะไร ตามที่ได้หาเสียงไว้
ซึ่งในการขายนโยบายหาเสียงนั้นเอง นักการเมืองหรือพรรคการเมืองเอง จะต้องเสนอในสิ่งที่เป็นไปได้ เป็นสิ่งที่ไม่ก่อให้เกิดปัญหาแก่บ้านเมืองและประชาชนในอนาคตหรือในปัจจุบัน
แต่มันไม่เป็นเช่นนั้น นักการเมืองเองเมื่อต้องการได้รับชัยชนะ อะไรก็ได้ที่จะได้คะแนนเสียงขอให้นำเสนอกับประชาชนไปก่อน
ส่วนประชาชนเอง เมื่อมีการนำเสนอในสิ่งที่รัฐไม่เคยจัดให้ ย่อมเป็นสิ่งใหม่สัมผัสและจับต้องได้ ย่อมยอมรับการนำเสนอ โดยไม่ต้องพิจารณาต่อไปจะเป็นผลเสียในอนาคตหรือไม่ ?
จะก่อให้เกิดเงินเฟ้อหรือไม่ หรือ จะก่อให้เกิดรายจ่ายที่สูงขึ้นตามหรือไม่
สิ่งที่ประชาชนได้รับ จะก่อให้เกิดระบบหรือเกิดปัญหาไปทั้งประเทศหรือไม่
ประชาชนก็จะไม่ให้ความสำคัญในส่วนนี้ !
นักการเมืองเอง เมื่อหาเสียงไปแล้วจะไม่ทำก็ไม่ได้ ทำไปก็รู้ว่าจะมีปัญหาอย่างแน่นอน จึงกล้ำกลืนฝืนทนทุรังทำไป
ก็หาเสียงไว้แล้วนี่ เมื่อพูดแล้วก็ต้องทำ
ในอนาคตต้องมีการแก้กฎหมายเกี่ยวกับการเลือกตั้งแน่นอน
ต้องสร้างกฎสร้างกติกาในเรื่องของการนำเสนอนโยบายหาเสียง ให้มีความชัดเจนว่า การเสนอนโยบายหาเสียงอย่างไรที่ไม่ใช่การเสนอให้ที่ผิดกฎหมาย
การเสนอนโยบายอย่างไร ที่จะไม่ก่อให้เกิดนโยบายที่เป็นภาระหรือสร้างปัญหาให้กับประเทศ
การลดแลกแจกแถม ที่ทำลายระบบเศรษฐกิจของประเทศ ทำลายระบบการค้า ทำลายระบบการเงินของประเทศ อันเป็นการสร้างภาระปัญหาให้กับประเทศชาติและประชาชน ก็คงต้องสร้างกติกาให้ชัดเจนในการป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นดังกล่าว
อย่าไปโทษประชาชนหรือไปโยนบาปให้กับประชาชน ที่เขาลงคะแนนให้ โดยอย่าบอกว่าประชาชนเขาชอบ แต่เป็นเพราะประชาชนเขาไม่มีทางเลือกมากกว่า เพราะเกือบทุกพรรคการเมืองพยายามสร้างความพึงพอใจให้กับประชาชนในส่งเหล่า นี้
นักการเมืองเองควรเป็นฝ่ายที่ต้องมีความรับผิดชอบมากกว่า
แต่เมื่อความรับผิดชอบของนักการเมืองบ้านเรามีเพียงแค่นี้และพยายามทำในสิ่ง เหล่านี้ ก็มีความจำเป็นอยู่เองที่จะต้องออกกฎหมายเพื่อกำหนดแนวทางในการหาเสียงเสนอ นโยบายที่ไม่เป็นปัญหาแก่บ้านเมืองและแก่ประชาชนต่อไป
Cost/Benefit Analysis เครื่องมือหลักในการเลือกแนวทางดำเนินโครงการของหน่วยงานภาครัฐและรัฐวิสาหกิจ
อาจารย์จิรพร สุเมธีประสิทธิ์
sumetheeprasit@hotmail.com การกำหนดโครงการเป็นเครื่องมือสำคัญในการแปลงยุทธศาสตร์ลงมาสู่ภาคปฏิบัติ จึงพบว่าในระยะหลัง ๆ นี้องค์กรจำนวนมากเริ่มให้ความสำคัญกับการวางแผนและการบริหารโครงการที่จะนำไปสู่ผลผลิต ผลลัพธ์และผลกระทบตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ โดยทั่วไป โครงการ ถือเป็นกิจกรรมการลงทุนของกิจการ จึงต้องมีความมั่นใจว่ากระบวนการวิเคราะห์ก่อนที่นำไปสู่การตัดสินใจลงทุน เป็นไปอย่างเพียงพอและมีประสิทธิภาพ รวมทั้งมีความคุ้มค่าในการจัดสรรทรัพยากรและเงินงบประมาณมาใช้ในการดำเนิน โครงการนั้นๆ เครื่อง มืออย่างหนึ่งที่มีความสำคัญในการพิสูจน์ว่าโครงการที่จะพิจารณานั้นมีคุณ ค่าและมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจและทางสังคม (ในกรณีของโครงการบริการสาธารณะเชิงสังคมของหน่วยงานภาครัฐ)คือ Cost/Benefit Analysis Cost/Benefit Analysis มีจุดประสงค์เพื่อแสดงผลการคำนวณให้แก่ผู้บริหารระดับสูงและคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจเป็นภาพของต้นทุน ผลประโยชน์ และความเสี่ยงของแต่ละวิธีการที่จะใช้ในการดำเนินโครงการ เพื่อ นำไปสู่การพิจารณาตัดสินใจดำเนินงานโครงการเปรียบเทียบกับการเลือกจัดสรร ทรัพยากรและเงินงบประมาณไปใช้ในการลงทุนด้านอื่นที่มีโอกาสจะเป็นไปได้ หรือ กล่าวอีกนัยหนึ่ง Cost/Benefit Analysis ก็คือมาตรฐานการวิเคราะห์และคำนวณมาตรฐานหนึ่งที่จะสะท้อนความเป็นไปได้และความเหมาะสมเชิงเศรษฐศาสตร์ (Economic feasibility) และใช้เปรียบเทียบ หรือ การเลือกสรรโอกาสในการลงทุนในด้านต่างๆ 1. ความนำ Cost/Benefit Analysis เป็นแนวปฏิบัติของการคำนวณวิธีการดำเนินโครงการว่าวิธีการใดที่เหมาะสมมากกว่ากัน หรือ เหมาะสมที่สุดในบรรดาวิธีการหลายวิธีที่พิจารณา เพื่อใช้ในการพิจารณาว่าควรจะดำเนินโครงการรูปแบบใดในอนาคต เพื่อให้เกิดผลผลิต ผลลัพธ์ในระยะยาวที่ดีที่สุด แนวปฏิบัติแบบนี้มักจะนิยมใช้ในการประเมินโครงการบริการสาธารณะ หรือระบบเศรษฐกิจสวัสดิการที่ต้องการให้เกิดผลต่อประชาชนให้อยู่ดีมีสุขมากขึ้น ซึ่งแนวคิดของ Cost/Benefit Analysis กลับมาได้รับการกล่าวถึงในระยะ 1-2 ปีนี้ เมื่อสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจร่วมกับบริษัท ทริสหยิบยกขึ้นมาเป็นแนวพึงปฏิบัติของรัฐวิสาหกิจ และสำนักงบประมาณเองก็พยายามผลักดันให้ส่วนราชการใช้เป็นวิธีพิสูจน์ความคุ้มค่าของโครงการที่ขอเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปี ความเป็นมาของแนวคิด Cost/Benefit Analysis พบว่าย้อนหลังไปเมื่อปี ค.ศ.1844 ด้วยการใช้ในการประเมินโครงการงานบริการสาธารณะในฝรั่งเศส และต่อมาก็ถูกใช้ในการวิเคราะห์และเปรียบเทียบโครงการในสหรัฐ เช่นตามกฎหมายที่มีชื่อว่า The River and Harbour Act 1902 ระบุให้มีการรายงานความเหมาะสมในการดำเนินโครงการโดยอาศัย Cost/Benefit Analysis และยังมีกฎหมายอื่นๆ ที่ต้องระบุผลประโยชน์ที่เกิดกับท้องถิ่นประกอบการนำเสนอโครงการ 2. เศรษฐศาสตร์สวัสดิการพื้นฐานของ Cost/Benefit Analysis แนวคิดของ Cost/Benefit Analysis เป็นแนวคิดที่นักเศรษฐศาสตร์ในอดีตหยิบยกขึ้นมาใช้ในการกำหนดกรอบแนวคิดของเศรษฐศาสตร์สวัสดิการประยุกต์ โดยเชื่อว่าผลประโยชน์มวลรวมที่เป็นตัวเงิน (aggregate money gain) และส่วนที่เป็นความสูญเสียมวลรวม (aggregate money losses) เป็นเครื่องวัดผลประโยชน์ที่มีประสิทธิภาพ (efficiency gains) ของการดำเนินงานโครงการใดๆ ได้ กล่าวคือ กรณีที่ผลสุทธิของมวลรวมที่เป็นผลประโยชน์ลบด้วยส่วนของความสูญเสียออกมาเป็นบวก ก็ถือว่าเป็นดัชนีชี้ว่าส่วนที่เป็นผลประโยชน์ทางการเงินเพียงพอที่จะชดเชยความสูญเสียออกมาเป็นบวก ก็ถือว่าเป็นดัชนีชี้ว่าส่วนที่เป็นผลประโยชน์ทางการเงินเพียงพอที่จะชดเชยความสูญเสียหรือความเสียหายของผู้ที่ได้รับผลกระทบทางลบได้ และยังคงมีผลประโยชน์คงเหลือหรือสวัสดิการที่ขึ้นหลังจากการดำเนินโครงการเสร็จสิ้นแล้ว รวมทั้งแสดงประสิทธิภาพการดำเนินโครงการบริการสาธารณะของภาครัฐ (Harberger 1971) Efficiency gains= Aggregate money gain - Aggregate money losses = positive gains = net monetary gains กรอบแนวคิดสำคัญคือ (1) เมื่อ เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงนโยบายผ่านการดำเนินโครงการบริการสาธารณะของรัฐก็มัก จะมีทั้งผู้ที่ได้รับประโยชน์และผู้ที่ได้รับผลกระทบทางลบ แต่ผลโดยสุทธิควรจะออกมาเป็นบวก หรือผลประโยชน์ทางการเงินสุทธิ หลังจากชดเชยความเสียหายให้กับผู้ที่ได้รับผลกระทบทางลบแล้ว ยังคงมีค่าเป็นบวก (2) การ ดำเนินโครงการจึงต้องให้ความสำคัญกับการประมาณขนาดของเงินที่ต้องชดเชยแก่ ผู้ที่ได้รับผลกระทบทางลบอย่างเหมาะสมและพอเพียงที่จะไม่ทำให้ระดับ สวัสดิการของผู้ที่ได้รับผลกระทบทางลบลดต่ำลง (3) เงินชดเชยกลุ่มผู้ที่ได้รับผลกระทบคือเป็นเงื่อนไขหนึ่งของระบบเศรษฐศาสตร์สวัสดิการ 3. การยอมรับแนวคิด Cost/Benefit Analysis ในทางวิชาการในต่างประเทศ ขณะที่เทคนิคและแนวคิด Cost/Benefit Analysis ในงานเชิงวิชาการ เป็นที่ยอมรับและมีชื่อเสียงลดลงมากในสถาบันการศึกษาในสหรัฐอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน แนวคิด Cost/Benefit Analysis กลับได้รับความนิยมอย่างมากมายในส่วนราชการและหน่วยงานภาครัฐในสหรัฐ และทำท่าว่าจะมีแนวโน้มดีขึ้นในอนาคต ทั้งนี้ศาสตราจารย์ทางกฎหมายทางเศรษฐศาสตร์และทางปรัชญา มีความเชื่อว่าการใช้ Cost/Benefit Analysis เป็นการเปิดช่องให้เกิดการสร้างตัวเลขและไม่ช่วยสนับสนุนการตัดสินใจอย่างมี จรรยาบรรณ จึงไม่ควรใช้ในการประเมินทางเลือกในการดำเนินโครงการ มีผู้ให้ความเห็นบางคนระบุว่าข้อมูลที่ใช้ในการประเมินทางเลือกในการดำเนิน โครงการ มีผู้ให้ความเห็นบางคนระบุว่าข้อมูลที่ใช้ในการคำนวณทางการเงินใน Cost/Benefit Analysis เชื่อถือไม่ได้ และไม่มีการอ้างอิงที่มาที่ไปอย่างสมเหตุสมผลเป็นส่วนใหญ่ ฝ่ายที่ออกมาโต้แย้งแนวคิดที่ต่อต้านการใช้ Cost/Benefit Analysis เป็นกลุ่มนักเศรษฐศาสตร์ประยุกต์ที่ได้ใช้แนวคิดทางวิชาการของ Cost/Benefit Analysis ในการประเมินโครงการจริงๆ เห็นว่าวิธีการทำงานของตนตามกระบวนการ Cost/Benefit Analysis ไม่ได้แย่และเลวร้ายอย่างที่นักทฤษฎีทั้งหลายกล่าวหากัน ในระยะหลังๆ นี้มีตำราทางวิชาการออกมาหลายเล่มที่สนับสนุนและชี้ประโยชน์ของการใช้แนวคิด Cost/Benefit Analysis และมีมุมมองในแง่ที่ดีเกี่ยวกับประโยชน์ของการนำกระบวนการดังกล่าวในการตัดสินใจคัดเลือกโครงการ ขณะเดียวกันก็ยอมรับว่าผู้ใช้ Cost/Benefit Analysis ต้องใช้ความระมัดระวัง ในการอิงวิธีการตั้งสมมุติฐาน และที่มาที่ไปของข้อมูลที่อาจจะไม่เพียงพอและไม่น่าเชื่อถือ (1) หน่วยงานภาครัฐจะนำเอากระบวนการคำนวณ Cost/Benefit Analysis มาใช้เป็นการถาวรก่อนการพิจารณาคัดเลือกทางเลือกในการดำเนินงานโครงการ เพราะหากจุดเริ่มต้นไม่ถูกต้อง และได้รับการยอมรับจะทำให้เกิดการผิดพลาดต่อๆ ไปในระยะยาว (2) หากจะใช้ Cost/Benefit Analysis จะต้องใช้ในลักษณะที่เป็นกฎเกณฑ์ภาคบังคับใช้ให้ครบถ้วนทุกหน่วยงาน เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมในการจัดสรรเงินและทรัพยากรไปใช้กับการดำเนินงานโครงการ (3) เงื่อนไขในการใช้ Cost/Benefit Analysis ควรจะรวมเรื่องของผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมด้วย (4) การ พิจารณาการดำเนินโครงการควรจะมีลักษณะของการส่งเสริมชักจูงและผลักดันให้ หน่วยงานภาครัฐแต่ละแห่งเริ่มที่จะมีการปรับปรุงประสิทธิภาพของการดำเนินงาน โครงการอย่างต่อเนื่อง (Self improvement) ทั้งในด้านต้นทุนที่มีประสิทธิภาพ และผลประโยชน์สุทธิที่เพิ่มขึ้น ในส่วนของกลุ่มที่ออกมาตอบโต้ว่าการใช้ Cost/Benefit Analysis ในการประเมินทางเลือกของโครงการชี้ว่า (1) การโจมตีว่าการคำนวณต่างๆ ใน Cost/Benefit Analysis ไม่มีจรรยาบรรณไม่น่าเชื่อถือเป็นประเด็นที่ไม่ถูกต้อง เพราะเทคนิค Cost/Benefit Analysis เป็นเครื่องมือที่พยายามหาคำตอบเพื่อประกอบการตัดสินใจอนุมัติโครงการ จึงไม่ใช่เรื่องของการยึดมาตรฐานด้านจรรยาบรรณหรือคุณธรรมแต่อย่างใด และการพิจารณาเพื่อตัดสินใจก็มุ่งที่จะหาช่องทางดำเนินงานเพื่อให้บรรลุผลตามเป้าหมายได้ดีที่สุด แม้ว่าจะไม่สามารถสร้างผลลัพธ์ที่ดีที่สุดได้ตามที่คาดหมาย แต่ ก็ยังดีที่โครงการจะแสดงได้ว่ามีต้นทุนการดำเนินโครงการต่ำกว่าผลประโยชน์ ที่เกิดขึ้นมากที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับทางเลือกอื่นๆ ที่มี (2) เทคนิคการวิเคราะห์ Cost/Benefit Analysis เป็นวิธีที่เสียค่าใช้จ่ายในการวิเคราะห์ต่ำ เมื่อเทียบกับเทคนิคการวิเคราะห์แบบอื่น เช่น Risk-Risk Analysis หรือมาใช้อย่างเหมาะสมในวิธีการที่ถูกต้องก็ถือว่าเป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์เช่นเดียวกัน โดยแต่ละหน่วยงานของรัฐจะต้องทำการปรับปรุงแนวคิดของ Cost/Benefit Analysis จากต้นแบบเชิงทฤษฎีเป็นแนวคิดที่ประยุกต์ให้เหมาะสมเชิงสังคมนั้นๆ ซึ่งสิ่งนี้จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมีความเข้าใจเกี่ยวกับแนวคิดของ Cost/Benefit Analysis อย่างถ่องแท้ (3) มีบางกรณีเหมือนกันที่ Cost/Benefit Analysis อาจจะใช้ไม่ได้ หรือพูดอีกนัยหนึ่ง ผู้ปฏิบัติรู้ดีว่าไม่อาจจะใช้แนวคิดนี้ได้ในกรณีที่ (3.1) ผลกระทบของโครงการที่มีต่อประชาชนไม่เหมือนกัน ไม่เท่ากันจนไม่อาจจะประเมินผลกระทบแบบเหมาๆ แบบค่าเฉลี่ยได้ ก็จะไม่สามารถคำนวณผลประโยชน์สุทธิในรูปของมูลค่าปัจจุบันสุทธิ (Net Present Value) (3.2) ประเด็นที่พิจารณาตามแนวคิด Cost/Benefit Analysis ไม่ได้รับการยอมรับจากทุกภาคส่วน ซึ่งทำให้ต้องแสดงวิธีการวิเคราะห์แบบอื่นที่เป็นที่ยอมรับมากกว่า 4. แนวคิดการประยุกต์ใช้แนวคิด Cost/Benefit Analysis การนำเอาแนวคิด Cost/Benefit Analysis มาใช้ต้องเป็นไปด้วยความระมัดระวังและใช้อย่างมีสติ มีเหตุมีผล และที่สำคัญต้องมีการดัดแปลงและประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับเงื่อนไขที่เกี่ยวข้องกับโครงการนั้นๆ แนวทางในการดัดแปลงและประยุกต์ใช้ Cost/Benefit Analysis ที่เป็นไปได้ ได้แก่ (1) การกำหนดน้ำหนักของต้นทุนการดำเนินโครงการ เป็นการนำเอาปัจจัยที่มีความสำคัญในการสะท้อนอรรถประโยชน์ส่วนเพิ่ม (Marginal Utility) ของการลงทุนดำเนินโครงการต่อกลุ่มเป้าหมาย หรือ ที่เป็นตัวสำคัญในการผลักดันต้นทุนและประโยชน์ที่เกิดจากการดำเนินโครงการ มากำหนดเป็นน้ำหนักต่อการคำนวณต้นทุนและผลประโยชน์ เพื่อให้ได้ค่าที่ใกล้เคียงกับความเป็นจริง ซึ่งมักจะใช้ในการเป็นส่วนต้นทุนเป็นสำคัญ และการกำหนดความสำคัญของกลุ่มเป้าหมาย (2) การปรับแต่วิธีการ (methodology) จากที่เคยใช้วิธีการมาตรฐานเดียวในการคำนวณต้นทุน และผลประโยชน์ มาตรฐานการคำนวณต้นทุนมักจะมาจากมาตรฐานทางบัญชีซึ่งเป็นมาตรฐานกลางในการบันทึกรายการทางบัญชีในระบบ General Ledger (G/L) ซึ่งอาจจะไม่เหมาะสมกับการประเมินต้นทุนของทุกโครงการ แนวทางดัดแปลงได้ คือการใช้วิธีการที่เรียกว่า (2.1) Willingness to pay หรือการคำนวณต้นทุนตามความสามารถในการจ่ายของผู้ที่มีระดับความมั่งคั่งแตกต่างกัน (2.2) Willingness to accept หรือการคำนวณต้นทุนตามระดับที่ได้รับการยอมรับ หรือเกณฑ์ที่ยอมรับได้ เพื่อมิให้ผลกระทบทางลบทำให้ระดับความกินดีอยู่ดีหรือความมั่งคั่งของผู้ที่ได้รับผลกระทบลดลง อย่างไรก็ตาม การจัดแปลงและประยุกต์ใช้แนวคิด Cost/Benefit Analysis จะมากหรือน้อย และซับซ้อนเพียงใด ยังขึ้นอยู่กับศักยภาพหรือสมรรถนะในการใช้เทคนิค Cost/Benefit Analysis ของแต่ละหน่วยงานภาครัฐเป็นสำคัญด้วย ในหน่วยงานภาครัฐกับแนวคิด Cost/Benefit Analysis ก็จะได้ประโยชน์ในการนำเอาแนวคิดนี้ไปใช้ได้ในระยะยาว และในบางกรณีอาจจะต้องขึ้นอยู่กับรูปแบบความต้องการบริการสาธารณะเชิงสังคมของกลุ่มเป้าหมาย และทางเลือกที่มีอยู่มีมากน้อยแค่ไหน กรณีที่มีบริการเชิงพาณิชย์ที่ดำเนินการให้บริการโดยธุรกิจเอกชนเป็นตัวเปรียบเทียบและเสมือนแข่งขันกับบริการสาธารณะเชิงสังคม แนวทางการใช้ Cost/Benefit Analysis ก็จะมีความจำเป็นต้องดัดแปลงและประยุกต์ใช้ให้แตกต่างกัน (3) การใช้ Cost/Benefit Analysis ที่สอดคล้องกับหลักจริยธรรมและธรรมาภิบาลที่ผู้บริหารประเทศหรือรัฐบาลใช้เป็นปรัชญาหรือหลักการในการบริหารประเทศ อย่างเช่น รัฐบาลที่ยึดหลักประโยชน์นิยม (Utilitarianism)จะ เชื่อว่าโครงการนั้นๆ ควรจะดำเนินการตราบเท่าที่บุคคลที่ได้รับประโยชน์จากการดำเนินงานของโครงการ มากกว่าบุคคลที่ได้รับผลกระทบทางลบ โดยเชื่อว่าทุกคนต้องการบริการสาธารณะเชิงสังคมเช่นเดียวกัน และยอมรับกลุ่มที่ได้รับผลกระทบทางลบได้ แต่ถ้ารัฐบาลยึดหลักว่าการดำเนินโครงการใดๆ จะต้องสร้างประโยชน์แก่ผู้ที่เกี่ยวข้องทุกคน หมาย ความว่าผู้ที่ได้รับผลกระทบทางลบจะต้องได้รับการชดเชยอย่างพอเพียงที่จะไม่ ทำให้สถานะของความกินดีอยู่ดีเลวลงจากก่อนที่จะเกิดการดำเนินโครงการนั้นๆ หากการดัดแปลงและประยุกต์ใช้ Cost/Benefit Analysis อย่างเหมาะสมก็จะสามารถใช้เป็นเครื่องมือในการคัดเลือกโครงการที่ตอบสนองกับนโยบายของรัฐบาลได้ ประเด็นที่ต้องระมัดระวังในการนำเอา Cost/Benefit Analysis มาใช้ในการประเมินประสิทธิภาพของการดำเนินโครงการบริการสาธารณะเชิงสังคมของภาครัฐ คือ (1) Cost/Benefit Analysis เป็นกระบวนการในการระบุต้นทุนและประโยชน์ที่คาดว่าจะเกิดจากการดำเนินโครงการ เพื่อประเมินหาผลประโยชน์สุทธิว่ามีมูลค่าทางการเงินเป็นบวกหรือเป็นลบ และมีทางเลือกในการดำเนินการกี่ทางเลือกแต่ละทางเลือกให้ผลประโยชน์สุทธิที่เป็นตัวเงินแตกต่างกันอย่างไร โดยแต่ละทางเลือกมุ่งไปสู่เป้าหมายของการให้บริการสาธารณะเหมือนกัน (2) Cost/Benefit Analysis จึงเป็นเครื่องมือที่อยู่ในขั้นตอนของการตัดสินใจแก้ไขปัญหา (decision problem solving) และการใช้หลักการเลือกทางเลือกที่ดีกว่า โดยใช้ต้นทุนและผลประโยชน์ที่เป็นตัวเงินเป็นเงื่อนไขในการพิจารณา (3) Cost/Benefit Analysis ใช้หลักเกณฑ์ของมูลค่าปัจจุบันสุทธิ (net present value creation) เป็นแนวทาง ซึ่งมูลค่าปัจจุบันเป็นสุทธินี้เป็นเกณฑ์ที่ได้รับการยอมรับกันโดยทั่วไป เพื่อให้ผู้ตัดสินใจคัดเลือกโครงการเลิกการใช้มูลค่าที่เป็นตัวเงินรายปี (annual value) ซึ่งทำให้การตัดสินใจเกิดการบิดเบือน เนื่องจากต้นทุนในการดำเนินโครงการอาจจะเกิดขึ้นจริงในระหว่างการดำเนินโครงการ เช่น โครงการระยะ 1 ปี จะเกิดต้นทุนในช่วง 1 ปี แต่ต้นทุนที่จ่ายออกไปในช่วง 1 ปีจะก่อให้เกิดผลประโยชน์ในอีกหลายปีในอนาคต เช่นอีก 10 ปี ไม่ใช่เพียงปีเดียวเหมือนรายจ่ายด้านต้นทุน จึงจะประเมินประสิทธิภาพของการดำเนินโครงการต่อความกินดีอยู่ดีที่แท้จริงของประชาชน หรือแสดงผลลัพธ์ (out comes) ได้อย่างแท้จริง (4) การประเมินผลประโยชน์จากการดำเนินโครงการจะต้องใช้ราคาตลาด (market price) เป็นตัวชี้วัดเงื่อนไขการดำเนินโครงการ เพื่อให้มูลค่าที่เป็นตัวเงินเป็นมูลค่าที่แท้จริง ในกรณีที่มีการใช้ราคาควบคุม (shadow price) ซึ่งต่ำกว่าราคาตลาด ต้องถือส่วนต่างระหว่างราคาตลาดกับราคาที่ถูกควบคุมเพดานไว้เป็นส่วนหนึ่งของผลประโยชน์ที่เป็นตัวเงินที่เกิดจากการดำเนินโครงการ (5) ในฐานะที่เป็นโครงการของภาครัฐ การประเมินต้นทุนและผลกระทบจากการดำเนินโครงการ จึงต้องวิเคราะห์ผลกระทบทางสังคมและผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม (Social and environmental impact analysis) และการวิเคราะห์ความอ่อนไว (Sensitivity analysis) ซึ่งกำหนดสถานการณ์ที่แตกต่างกันอย่างน้อย 3 สถานการณ์คือ best case, normal cast และ worst case (6) ความมีประสิทธิภาพของการดำเนินโครงการยังขึ้นอยู่กับอัตราส่วนลด 9discount rate) ที่ ใช้ในการคำนวณหามูลค่าปัจจุบันของผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นว่าคิดค่าเสียโอกาส ในการดำเนินโครงการหรือค่าที่ควรจะเป็นของผลตอบแทนจากโครงการในการดำเนิน โครงการหรือค่าที่ควรจะเป็นของผลตอบแทนจากโครงการบริการสาธารณะเชิงสังคม ต่างๆ อย่างไร และแตกต่างกันมากน้อยขนาดไหนในระหว่างรัฐวิสาหกิจและส่วนราชการที่แตกต่างกันตามยุทธศาสตร์ (Agenda) (7) ผลที่ได้จากการใช้ Cost/Benefit Analysis อาจจะออกมาแตกต่างกันมาก ระหว่างโครงการที่มีการจัดเก็บข้อมูล ผลประโยชน์เชิงสังคม (social benefit or out comes) กับที่ไม่เคยมีการจัดเก็บข้อมูล เพราะอาจจะขาดแนวทางในการประเมินผลประโยชน์เหล่านี้ออกมาเป็นมูลค่าทางการเงิน และพิสูจน์ทางเลือกที่เหมาะสมของโครงการ |
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)
รีโมท
ซื้อ รีโมท จากผู้ค้าส่งโดยตรง ที่มีหน้าร้านจริง ที่ บ้านหม้อ และ คลองถม ราคาถูกกว่าใคร ปลอดภัย มีรับประกัน
คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค
บทความย้อนหลัง
-
►
2012
(274)
- ► กุมภาพันธ์ (51)
-
▼
2011
(1241)
-
▼
สิงหาคม
(263)
-
▼
26 ส.ค.
(11)
- เป้าหมาย"ธิดา"เปลี่ยนเหลืองเป็นแดง!!
- ตำรวจไทย อย่าคิดว่าประชาชนโง่ ได้มั้ย??
- ช่วยผู้หนีความผิด มาตรา 189 และ 192 สองมาตรา 5 ปีเ...
- ปัญหานโยบายในการหาเสียง
- Cost/Benefit Analysis เครื่องมือหลักในการเลือกแนวท...
- ประธานศาลอุทธรณ์เห็นแย้ง-คดีหุ้นชิน
- รัฐบาลบิดพลิ้ว
- ความรู้สึกของชาวมุกจาร์ ต่อพระมหากษัตริย์ไทย
- ไม่แก้กฎหมายมาตรา 112 ล้านเปอร์เซ็นต์
- “รายได้ขั้นต่ำ ๓๐๐ บาท” กับ “ค่าแรงขั้นต่ำ ๓๐๐ บาท...
- รัฐบาล "ยิ่งหลอก"
-
▼
26 ส.ค.
(11)
-
▼
สิงหาคม
(263)